การพัฒนาดัชนีความเหมาะสมทางกายภาพของการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าบนถนนในเมือง

  • ปรัตถกร กษิรวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จิตติชัย รุจนกนกนาฎ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ: สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า, ดัชนีความเหมาะสมทางกายภาพ, แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกแบบเรียงลำดับ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยสภาพทางกายภาพที่มีผลต่อการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าบนถนนและทางเท้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มผู้ใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้ามีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นด้วย และประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับพาหนะชนิดนี้ ในการศึกษานี้ ได้ใช้ข้อมูลจากการทดสอบของอาสาสมัครผู้ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 30 คน ในเส้นทางที่กำหนดไว้ 54 เส้นทาง ซึ่งมีลักษณะเส้นทางและองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป เพื่อประเมินคะแนนความรับรู้ความพึงพอใจในด้าน ความสะดวกสบาย ความเร็ว ความปลอดภัย และผลในภาพรวมของการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกแบบเรียงลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ในส่วนของถนน ปัจจัยสภาพทางกายภาพที่มีผลต่อความสะดวกสบาย คือ ไม่มีความเสียหายของพื้นผิว มีช่องทางจักรยาน และพื้นผิวลาดยาง ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็ว คือ ไม่มีความเสียหายของพื้นผิว มีช่องทางจักรยาน พื้นผิวลาดยาง และเป็นทางตรง และปัจจัยที่ส่งผลด้านความปลอดภัย คือ การมีช่องทางจักรยาน พื้นผิวลาดยาง ความเร็วของยานพาหนะ และปริมาณจราจร ในส่วนของทางเท้านั้น ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์ก็มีความใกล้เคียงกัน โดยเพิ่มความกว้างสุทธิของทางเท้า และสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสิ่งรบกวนข้างทางเข้ามาประกอบด้วย ทั้งนี้พบว่าปัจจัยด้านความปลอดภัยมีผลต่อภาพรวมของการใช้งานมากที่สุดทั้งกรณีถนนและทางเท้า ผลที่ได้จากการวิเคราะห์นี้นำมาซึ่งแนวทางในการออกแบบปรับปรุงหรือคัดเลือกเส้นทางที่มีความเหมาะสมของการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ในการจัดทำคู่มือและแผนที่แนะนำเส้นทางในพื้นที่ได้ต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

จิตติชัย รุจนกนกนาฎ, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ. ดร. จิตติชัย รุจนกนกนาฎ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมขนส่ง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์