การศึกษาหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการสร้างอ่างเก็บน้ำ กรณีศึกษา อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • ปภัสสร นามจิรโชติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาสิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ: กระบวนการวิเคราะห์แบบศักภาพเชิงพื้นที่, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาพื้นที่เหมาะสมในการสร้างแหล่งเก็บน้ำต้นทุนที่เหมาะสมพอกับปริมาณความต้องการน้ำในการ
อุปโภค-บริโภค และ การเกษตรกรรมของประชาชนในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับกระบวนการวิเคราะห์แบบศักภาพเชิงพื้นที่ ในการจำลองพื้นที่กักเก็บน้ำ ใช้ปัจจัยสำหรับทำการศึกษา 5 ปัจจัย ซึ่งหาค่าน้ำหนัก
ปัจจัยโดยการวิเคราะห์ศักภาพเชิงพื้นที่ ได้ดังนี้ ปริมาณน้ำฝนค่าน้ำหนักเท่ากับ 4 สภาพใช้ที่ดินในปัจจุบันค่าน้ำหนักเท่ากับ 4 การรายน้ำของดิน
ค่าน้ำหนักเท่ากับ 3 ลักษณะภูมิประเทศค่าน้ำหนักเท่ากับ 2 ลักษณะทางธรณีวิทยาค่าน้ำหนักเท่ากับ 2 นำมาซ้อนทับข้อมูลทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อหาพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนาอ่างเก็บน้ำได้ 3 ระดับดังนี้ พื้นที่เหมาะสมมาก 125,280,155.52 ตารางเมตรคิดเป็นพื้นที่
ร้อยละ14.19 เหมาะสมปานกลาง 125,280,155.52 ตารางเมตรคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 64.25 และเหมาะสมน้อย 190,427,396.25 ตารางเมตร
คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 21.56 และการนำข้อมูลมาบูรณาการคำนวณหาความจุของพื้นที่อ่างเก็บน้ำ รวมทั้งความต้องการใช้น้ำของประชาชน
ในพื้นที่นั้น พบว่าควรพัฒนาสร้างอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ดังนี้ อ่างเก็บน้ำที่ 1 ตั้งอยู่ ตำบล นาหลวง อำเภอ ทุ่งสง จังหวัด นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่
พิกัด WGS 1984 UTM Zone 47N โดยมีพิกัด E: 575728 N: 906188 เก็บกักน้ำจากคลองวังหีบ มีความจุอ่างเก็บน้ำ 109,837,759.45 ลูกบาศก์เมตร และอ่างเก็บน้ำที่ 2 ตั้งอยู่ ตำบล ถ้ำใหญ่ อำเภอ ทุ่งสง จังหวัด นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่พิกัด WGS 1984 UTM Zone 47N โดยมีพิกัด
E: 581171 N: 906188 เก็บน้ำจากคลองเปิก มีความจุอ่างเก็บน้ำ 66,584,757.92 ลูกบาศก์เมตร ความจุอ่างเก็บทั้ง 2 อ่างมีความจุรวมกัน176,422,517.37 ลูกบาศก์เมตร โดยความต้องการน้ำสูงสุดรายเดือนมีปริมาณ 150,259,910.22 ลูกบาศก์เมตร เหลือปริมาณน้ำเก็บกัก 26,162,607.15 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งปริมาณน้ำเก็บกักมีแนวโน้มของน้ำเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามฤดูกาล สามารถเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้งได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์