การศึกษาปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน จากการเผาตอซังต้นข้าวโพด

ผู้แต่ง

  • ศุภรดา ปั้นมยุรา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ชลิดา อู่ตะเภา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

ฝุ่นละออง, ตอซังต้นข้าวโพด, มลพิษทางอากาศ

บทคัดย่อ

ปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทยประมาณร้อยละ 54 มีสาเหตุมาจากการเผาในที่โล่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเผาเพื่อกำจัดเศษวัสดุทางการเกษตร อาทิ ตอชังข้าวโพด อ้อย ฟางข้าว เป็นต้น โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นมีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ในประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่า 7 ล้านไร่ การกำจัดตอซังต้นข้าวโพดโดยการเผานั้น จะใช้เวลาไม่นานและมีต้นทุนต่ำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) จากการเผาตอซังต้นข้าวโพด โดยทำการทดลองเผาตอซังต้นข้าวโพดในพื้นที่ปิด เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนจากปัจจัยภายนอก โดยขนาดห้องที่ทำการทดลองมีปริมาตรอากาศ 60 ลูกบาศก์เมตร แล้วตรวจวัดปริมาณฝุ่นด้วยเครื่อง DustTrak II Aerosol Monitor Model 8532 โดยน้ำหนักของตอซังต้นข้าวโพดที่ใช้ในการทดลองเผามีน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 214.463 – 388.143 กรัม และมีความชื้นในตอซังต้นข้าวโพดร้อยละ 4 ถึง 77 จากการทดลองพบว่าปริมาณฝุ่นละอองขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้น โดยที่ความชื้น 4-10%, 26-49%, 65-77% ก่อให้เกิดฝุ่นละอองภายในห้องทดลอง 14.46-40.08, 15.04-56.64, 21.92-64.24 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ และพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อย (Emission factor) ของฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ในช่วงระหว่าง 3.02 ± 1.6 กรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งพบว่าการปล่อยตอซังต้นข้าวโพดทิ้งไว้แห้งหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้ระยะเวลามากกว่า 5 สัปดาห์ จะทำให้ความชื้นในตอซังลดลง 10 เท่า ส่งผลให้ปริมาตรฝุ่นที่เกิดขึ้นลดลงร้อยละ 36

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

ปั้นมยุรา ศ., & อู่ตะเภา ช. (2021). การศึกษาปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน จากการเผาตอซังต้นข้าวโพด. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, ENV-03. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1055