เกี่ยวกับการประชุม

การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 30
The 30th National Convention on Civil Engineering

หลักการและเหตุผล

การจัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มาจนถึงปัจจุบัน ในปีนี้เป็นครั้งที่ 30 ซึ่งภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการครั้งนี้ โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ หน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมโยธา จะมีกำหนดจัดขึ้นใน ระหว่างวันที่ 28-30 พฤษภาคม พ.ศ. 2568โรงแรมเดอะ เกษตร หัวหิน (The Kaset, Hua Hin) จ.ประจวบคีรีขันธ์

การประชุมครั้งนี้อยู่ภายใต้หัวข้อ “ส่งเสริมจิตสำนึกในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน ผ่านวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Promoting Awareness for the Establishment of a Sustainable Society through Environmentally Friendly Infrastructure Engineering and Carbon Neutrality.) โดยสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาทิ ภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟป่า และแผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งทำให้การเติบโตของผลผลิตในประเทศลดลงและเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินต่าง เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบกับงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรโยธา ดังนั้นการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี ทางด้านวิศวกรรมโยธาจะช่วยส่งเสริมให้เกิดสังคมที่ยั่งยืน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความเป็นกลางทางคาร์บอน

การจัดประชุมครั้งนี้มีแนวคิดให้ผู้นำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับจากผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรโยธา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในส่วนของผู้นำเสนอและผู้เข้าร่วมการประขุมในครั้งนี้ นอกจากนี้ในการจัดประชุมครั้งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้สนับสนุนจาก หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัท และห้างร้านต่างๆ ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี สินค้า และบริการ กับผู้เข้าร่วมประชุม ร่วมทั้งยังช่วยสร้างโอกาสให้นิสิตและนักศึกษาได้รับข้อมูลและประสบการณ์จริงในสายงานวิศวกรรมโยธา ทำให้มีโอกาสพัฒนาทักษะและความรู้ในสายงานนี้ นอกจากนี้ยังได้มีการเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาเสวนาประสบการณ์ รวมทั้งเป็นเวทีให้ผู้เกี่ยวข้องในสายงานวิศวกรรมโยธาได้มาพบเจอกันเพื่อสร้างมิตรภาพ และความทรงจำร่วมกัน

ด้วยความร่วมมือกันระหว่างผู้สนับสนุนแลผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จะสามารถพัฒนาสังคมและอุตสาหกรรมในประเทศ การนำความรู้มาปรับปรุงและพัฒนาสายงานวิศวกรรมโยธาจึงเป็นการลงทุนที่มีค่าและมีผลในการเพิ่มความยั่งยืนของสังคมและอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยในปีที่แล้วมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาประมาณ 600 คน ดังนั้นจึงนับเป็นโอกาสสำคัญที่ดีในปีนี้ ในการเปิดโลกของการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมโยธาระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย นิสิต/นักศึกษา วิศวกรโยธาที่ประกอบวิชาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน บริษัท ห้างร้านต่างๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่สนใจ เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในสายงานวิศวกรรมโยธาอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อยอดงานวิจัยเพื่อส่งต่อสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคตที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืนมากขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านวิศวกรรมโยธาและเป็นเวทีในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพ
  2. เพื่อเป็นช่องทางในการต่อยอดนวัตกรรม งานวิจัย และประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรมโยธา ไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
  3. เพื่อนำเสนอความรู้ เทคนิคการก่อสร้าง และเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมโยธาใหม่ๆ ผ่านการออกบูธจัดงานของบริษัทผู้ให้การสนับสนุน

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประชุม

อาจารย์ นักวิจัย วิศวกรโยธาที่ปฏิบัติวิชาชีพ ผู้ประกอบการธุรกิจ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในงานด้านวิศวกรรมโยธา

หัวข้อการประชุม

  1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering : STR)
  2. วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง (Construction Material Engineering : MAT)
  3. วิศวกรรมการก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management : CEM )
  4. วิศวกรรมปฐพี (Geotechnical Engineering : GTE)
  5. วิศวกรรมขนส่ง และโลจิสติกส์ (Transport and Logistics Engineering : TRL)
  6. วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource Engineering : WRE)
  7. วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Survey and Geographic Information System Engineering : SGI)
  8. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environment and Energy Engineering : ENV)
  9. วิศวกรรมโยธาและการศึกษา (Civil Engineering and Education : CCE)

รูปแบบการจัดการประชุม

  1. การนำเสนอผลงานวิจัยและการประยุกต์ ในรูปแบบบรรยาย (Oral presentation)
  2. การบรรยายพิเศษด้านวิศวกรรมโยธา โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. นิทรรศการความก้าวหน้าด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีทางวิศวกรรมโยธา

กำหนดการสำคัญ

เปิดรับบทคัดย่อ 1 ธ.ค. 2567 - 31 ม.ค. 2568
แจ้งผลการพิจารณาบทคัดย่อ 10 ก.พ. 2568
วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับสมบูรณ์ 31 มี.ค. 2568
แจ้งผลการพิจารณาบทความฉบับสมบูรณ์ 22 เม.ย. 2568
วันสุดท้ายของการชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า 30 เม.ย. 2568
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ 28 พ.ค. 2568 - 30 พ.ค. 2568

อัตราค่าลงทะเบียน

บทความที่ได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ เพื่อรับการตีพิมพ์ Proceeding ซึ่งมีอัตราค่าลงทะเบียน (Registration Fee) ดังนี้

 

 

 

 

 

ลิงค์สำหรับลงทะเบียนเข้าร่วมงานและแจ้งชำระเงิน

 

ลิงค์ตรวจสอบสถานะการโอนเงิน