เกี่ยวกับการประชุม

การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 30
The 30th National Convention on Civil Engineering

หลักการและเหตุผล 

การจัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มาจนถึงปัจจุบัน ในปีนี้เป็นครั้งที่ 30 ซึ่งภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการครั้งนี้ โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ หน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมโยธา จะมีกำหนดจัดขึ้นใน ระหว่างวันที่ 28-30 พฤษภาคม พ.ศ. 2568โรงแรมเดอะ เกษตร หัวหิน (The Kaset, Hua Hin) จ.ประจวบคีรีขันธ์

การประชุมครั้งนี้อยู่ภายใต้หัวข้อ “ส่งเสริมจิตสำนึกในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน ผ่านวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Promoting Awareness for the Establishment of a Sustainable Society through Environmentally Friendly Infrastructure Engineering and Carbon Neutrality.) โดยสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาทิ ภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟป่า และแผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งทำให้การเติบโตของผลผลิตในประเทศลดลงและเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินต่าง เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบกับงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรโยธา ดังนั้นการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี ทางด้านวิศวกรรมโยธาจะช่วยส่งเสริมให้เกิดสังคมที่ยั่งยืน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความเป็นกลางทางคาร์บอน

การจัดประชุมครั้งนี้มีแนวคิดให้ผู้นำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับจากผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรโยธา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในส่วนของผู้นำเสนอและผู้เข้าร่วมการประขุมในครั้งนี้ นอกจากนี้ในการจัดประชุมครั้งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้สนับสนุนจาก หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัท และห้างร้านต่างๆ ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี สินค้า และบริการ กับผู้เข้าร่วมประชุม ร่วมทั้งยังช่วยสร้างโอกาสให้นิสิตและนักศึกษาได้รับข้อมูลและประสบการณ์จริงในสายงานวิศวกรรมโยธา ทำให้มีโอกาสพัฒนาทักษะและความรู้ในสายงานนี้ นอกจากนี้ยังได้มีการเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาเสวนาประสบการณ์ รวมทั้งเป็นเวทีให้ผู้เกี่ยวข้องในสายงานวิศวกรรมโยธาได้มาพบเจอกันเพื่อสร้างมิตรภาพ และความทรงจำร่วมกัน

ด้วยความร่วมมือกันระหว่างผู้สนับสนุนแลผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จะสามารถพัฒนาสังคมและอุตสาหกรรมในประเทศ การนำความรู้มาปรับปรุงและพัฒนาสายงานวิศวกรรมโยธาจึงเป็นการลงทุนที่มีค่าและมีผลในการเพิ่มความยั่งยืนของสังคมและอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยในปีที่แล้วมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาประมาณ 600 คน ดังนั้นจึงนับเป็นโอกาสสำคัญที่ดีในปีนี้ ในการเปิดโลกของการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมโยธาระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย นิสิต/นักศึกษา วิศวกรโยธาที่ประกอบวิชาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน บริษัท ห้างร้านต่างๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่สนใจ เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในสายงานวิศวกรรมโยธาอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อยอดงานวิจัยเพื่อส่งต่อสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคตที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืนมากขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านวิศวกรรมโยธาและเป็นเวทีในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพ
  2. เพื่อเป็นช่องทางในการต่อยอดนวัตกรรม งานวิจัย และประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรมโยธา ไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
  3. เพื่อนำเสนอความรู้ เทคนิคการก่อสร้าง และเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมโยธาใหม่ๆ ผ่านการออกบูธจัดงานของบริษัทผู้ให้การสนับสนุน

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประชุม 

อาจารย์ นักวิจัย วิศวกรโยธาที่ปฏิบัติวิชาชีพ ผู้ประกอบการธุรกิจ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในงานด้านวิศวกรรมโยธา

หัวข้อการประชุม

  1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering : STR)
  2. วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง (Construction Material Engineering : MAT)
  3. วิศวกรรมการก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management : CEM )
  4. วิศวกรรมปฐพี (Geotechnical Engineering : GTE)
  5. วิศวกรรมขนส่ง และโลจิสติกส์ (Transport and Logistics Engineering : TRL)
  6. วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource Engineering : WRE)
  7. วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Survey and Geographic Information System Engineering : SGI)
  8. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environment and Energy Engineering : ENV)
  9. วิศวกรรมโยธาและการศึกษา (Civil Engineering and Education : CEE)

รูปแบบการจัดการประชุม

  1. การนำเสนอผลงานวิจัยและการประยุกต์ ในรูปแบบบรรยาย (Oral presentation)
  2. การบรรยายพิเศษด้านวิศวกรรมโยธา โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. นิทรรศการความก้าวหน้าด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีทางวิศวกรรมโยธา

กำหนดการสำคัญ

เปิดรับบทคัดย่อ 1 ธ.ค. 2567 - 31 ม.ค. 2568 14 ก.พ. 2568
แจ้งผลการพิจารณาบทคัดย่อ 10 ก.พ. 2568 21 ก.พ. 2568
วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับสมบูรณ์ 31 มี.ค. 2568 ขยายเวลาถึง 10 เม.ย. 2568
แจ้งผลการพิจารณาบทความฉบับสมบูรณ์ 22 เม.ย. 2568
วันสุดท้ายของการชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า 30 เม.ย. 2568
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ 28 พ.ค. 2568 - 30 พ.ค. 2568

อัตราค่าลงทะเบียน

บทความที่ได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ เพื่อรับการตีพิมพ์ Proceeding ซึ่งมีอัตราค่าลงทะเบียน (Registration Fee) ดังนี้

 
ลิงค์สำหรับลงทะเบียนเข้าร่วมงานและแจ้งชำระเงิน

1. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 30 
(ต้อง login google account เพราะมีการอับโหลดไฟล์)

ลิงค์ตรวจสอบสถานะการโอนเงิน
2. ตรวจสอบข้อมูล หรือ อับโหลดหลักฐานการโอนเงิน
(ต้อง login google account เพราะมีการอับโหลดไฟล์)