การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 29 https://conference.thaince.org/index.php/ncce29 <h4><strong>การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 29</strong><br><strong>The 29<sup>th</sup>&nbsp;National Convention on Civil Engineering</strong></h4> <p><strong>การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ</strong> เป็นงานประชุมวิชาการที่จัดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่องในทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 29 ซึ่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (<a href="https://eit.or.th/homepage/" target="_blank" rel="noopener">The Engineering Institute of Thailand</a>) ในพระบรมราชูถัมภ์ (วสท.) เป็นผู้ดำเนินการ โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมโยธา</p> <p>การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอข้อมูลและผลงานทางด้านวิศวกรรมโยธาให้กับนักวิชาการ นักวิจัย วิศวกร นิสิตนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงประชาชนผู้สนใจ ได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ รวมถึงประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรม และเป็นช่องทางในการต่อยอดนวัตกรรม งานวิจัย และประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรม รวมทั้งการนำผลงานวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงอย่างไร้ขีดจำกัดให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมที่สนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆ ในท้ายที่สุด ผลได้จากการประชุมนี้จะช่วยสนับสนุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมของประเทศ รวมทั้งพัฒนางานวิชาการทางด้านวิศวกรรมอย่างยั่งยืน</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุม NCCE&nbsp; ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) (Engineering Institute of Thailand)&nbsp;</p> ncce29@gmail.com (ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์) ncce29@gmail.com (ฝ่ายจัดการประชุม) Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.1.2.1 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 พฤติกรรมการรับแรงเฉือนของคานลึกคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน https://conference.thaince.org/index.php/ncce29/article/view/3278 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของคานลึกคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมใยคาร์บอน(CFRP) โดยตัวแปรที่ศึกษา คือ รูปแบบการเสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP และอัตราส่วนระหว่างช่วงแรงเฉือนต่อความลึกประสิทธิผล โดยรวม โดยศึกษาผ่านตัวอย่างคานลึก 6 &nbsp;ตัวอย่าง &nbsp;ที่มีขนาดหน้าตัด กว้าง 200 มม. ยาว 2400 มม. และลึก 450 มม. โดยมี คานตัวอย่าง 2 คานเป็นคานควบคุมและ 4 คานเป็นที่ได้รับการเสริมกำลัง คานชนิดเสริมกำลังถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ในแต่ละรูปแบบจะมีการเสริมแรง 2 ชั้น คือ เสริมแบบแถบและเสริมแบบตัวยู ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการเสริมกำลังภายนอกด้วยแผ่นโพลิเมอร์เสริมใยคาร์บอน CFRP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรับแรงได้ดี โดยรูปแบบการเสริมกำลังการเสริมแบบแถบให้ประสิทธิภาพในการรับกำลังสูงกว่าการเสริมแบบตัวยู เนื่องจากการเสริมแบบตัวยู ส่งผลให้เกิดการหลุดล่อนออกจากกันระหว่างคานและวัสดุเสริมกำลัง (Debonding)</p> ดนุเดช ตันสุวรรณ, ชนะชัย ทองโฉม, เพ็ญพิชชา สนิทอินทร์, ภาณุวัฒน์ จ้อยกลัด Copyright (c) 2024 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://conference.thaince.org/index.php/ncce29/article/view/3278 Tue, 04 Jun 2024 00:00:00 +0700 คุณสมบัติทางกลของส่วนผสมแอสฟัลติกโดยใช้เบกาไลต์ในผิวทางยืดหยุ่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce29/article/view/3252 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกลของแอสฟัลติกคอนกรีต ตามมาตรฐาน ในงานผิวทาง เทียบกับ แอสฟัลติกคอนกรีตที่ทดแทนมวลรวมด้วยพลาสติกเบกาไลต์ด้วยอัตราส่วน 0, 50, 75, 90 และ 100 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เตรียมตัวอย่างแอสฟัลติกคอนกรีต แล้วบ่มไว้ 14 วัน การทดสอบโดยวิธี Marshall ทล.-ท 604/2517 (ASTM D 1559) พบว่า เปอร์เซ็นต์ยางที่เหมาะสมของแอสฟัลติกคอนกรีตจากมวลรวมธรรมชาติ คือ 7.9% ความหนาแน่น 2.510 g./ml. และมีค่าเสถียรภาพ 2310 ปอนด์ ตัวอย่างที่ทดแทนมวลรวมด้วยเบกาไลต์ คือ AB50 AB75 AB 90 และ AB100 ต้องใช้ปริมาณยางมากขึ้นเมื่อการทดแทนมากขึ้นเป็น 8% 8.1% 8.4% 8.5% ตามลำดับ ความหนาแน่นลดลงเป็น 1.733 1.362 1.312 และ 1.304 g./ml. ตามลำดับ มีค่าเสถียรภาพลดลงเป็น 1738 1588 1480 และ 608 ปอนด์ ตามลำดับ ส่วนค่า ค่าการไหลที่เปอร์เซ็นต์ยางเหมาะสมมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อทดแทนมากขึ้น การศึกษาพบว่า AB50 ที่ใช้ปริมาณยาง CMS – 2h 8% ค่าเสถียรภาพ 1738 ปอนด์ มากว่า 1600 ปอนด์ สามารถใช้กับงานไหล่ทางและเหมาะกับงานซ่อมผิวทาง โดยมีค่าใช้จ่าย 1.27 บาท/กรัม น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ AB0 ที่มีค่าใช้จ่าย 1.35 บาท/กรัม อักทั้งยังมีปริมาตรใช้งานมากกว่า AB0 ถึง 1.48 เท่า ตอบโจทย์การจัดการขยะอย่างถูกวิธี และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน</p> พนารัตน์ แสงปัญญา, พานิช วุฒิพฤกษ์ Copyright (c) 2024 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://conference.thaince.org/index.php/ncce29/article/view/3252 Wed, 05 Jun 2024 18:34:05 +0700 การปรับปรุงวัสดุกากแอสฟัลต์คอนกรีตเพื่อใช้ทดแทนหินคลุกสำหรับชั้นรองพื้นทาง กรณีศึกษา กากแอสฟัลต์คอนกรีตถนนสาย 418 สายงาแม่–ท่าสาป จังหวัดปัตตานี https://conference.thaince.org/index.php/ncce29/article/view/3151 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาคุณสมบัติกากแอสฟัลต์ของถนนคอนกรีตถนนสาย 418 งาแม่–ท่าสาป อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อปรับปรุงวัสดุกาก แอสฟัลต์คอนกรีตเพื่อใช้ทดแทนหินคลุก ทดลองโดยแบ่งอัตราส่วนระหว่าง กากแอสฟัลต์คอนกรีตกับหินคลุกเป็น 6 อัตราส่วนผสม ได้แก่ 100:0, 70:30, 60:40, 50:50, 40:60 และ 30:70 ทำการทดสอบคุณสมบัติด้วย Sieve Analysis, Atterberg Limits, Abrasion Test, Compaction Test, California Bearing Ratio Test พบว่าอัตราส่วนผสม 70:30 มีขนาดคละ อยู่ในช่วง Grade B มีค่าดัชนีพลาสติก (Plasticity Index, PI) เป็น Non ค่าสึกหรออยู่ที่ร้อยละ 53.7 และมีค่า C.B.R. อยู่ที่ร้อยละ 36.5 ซึ่งตัวอย่าง มีขนาดคละที่ดี เป็นคุณสมบัติที่เหมาะสมในการใช้เป็นชั้นรองพื้นทางตาม มาตรฐาน ทล.-ม 205/2532 จึงทำให้อัตราส่วนนี้เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด ตามมาตรฐานจากกรมทางหลวง ในงานพื้นทางการทดลอง California Bearing Ratio Test ต้องมีค่า ≥ ร้อยละ 80 เมื่อนำดินลูกรังผสมกับกาก แอสฟัลต์คอนกรีตทำให้ค่า California Bearing Ratio Test เพิ่มจากร้อย ละ 30.3 เป็น ร้อยละ 36.5 คิดเป็น ร้อยละ 20.5 โดยประมาณ ซึ่งค่าที่ได้ จากทดลองไม่ถึงเกณฑ์ตามมาตรฐานกรมทางหลวง จึงทำให้ไม่สามารถ นำมาใช้ทดแทนหินคลุกได้ แต่สามารถนำไปใช้ในงานชั้นรองพื้นทางได้</p> วรท บุญสิงห์, รุ่งรวิน ไชยมุสิก, กิติศักดิ์ กาญจนันท์, ฆนากานต์ มาศโอสถ, ชัชฎาภัทร ไชยชนะ, สรธัญ ระโซ๊ะโซ๊ะ Copyright (c) 2024 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://conference.thaince.org/index.php/ncce29/article/view/3151 Wed, 05 Jun 2024 18:49:53 +0700