การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28 <h4><strong>การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28</strong><br><strong>The 28<sup>th</sup>&nbsp;National Convention on Civil Engineering</strong></h4> <p><strong>การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ</strong> เป็นงานประชุมวิชาการที่จัดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่องในทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 28 ซึ่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (<a href="https://eit.or.th/homepage/" target="_blank" rel="noopener">The Engineering Institute of Thailand</a>) ในพระบรมราชูถัมภ์ (วสท.) เป็นผู้ดำเนินการ โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมโยธา</p> <p>&nbsp;</p> <p>การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอข้อมูลและผลงานทางด้านวิศวกรรมโยธาให้กับนักวิชาการ นักวิจัย วิศวกร นิสิตนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงประชาชนผู้สนใจ ได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ รวมถึงประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรม และเป็นช่องทางในการต่อยอดนวัตกรรม งานวิจัย และประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรม รวมทั้งการนำผลงานวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงอย่างไร้ขีดจำกัดให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมที่สนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆ ในท้ายที่สุด ผลได้จากการประชุมนี้จะช่วยสนับสนุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมของประเทศ รวมทั้งพัฒนางานวิชาการทางด้านวิศวกรรมอย่างยั่งยืน</p> th-TH ncce28@gmail.com (สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม) fatimah.h@psu.ac.th (ฝาติหม๊ะ โปติล่ะ) Thu, 01 Jun 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.1.2.1 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การตรวจวัดความถี่ธรรมชาติของอาคารพักอาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2633 <p><span style="font-weight: 400;">พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวสูงที่สุด และจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในอดีตได้สร้างความเสียหายในระดับต่าง ๆ ต่ออาคารและระบบโครงสร้างพื้นฐาน อาคารที่ได้รับความเสียหายส่วนใหญ่เป็นอาคารขนาดเล็ก เช่น บ้านพักอาศัยที่ไม่ได้รับการออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว และยังไม่มีการศึกษาด้านคุณสมบัติเชิงพลศาสตร์ของอาคารเหล่านี้ ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าคาบธรรมชาติของกลุ่มอาคารที่พักอาศัยขนาดเล็กด้วยการตรวจวัดการสั่นสะเทือนในสภาพแวดล้อม โดยทำการศึกษากับอาคารจำนวน 33 หลังในจังหวัดเชียงราย ที่ประกอบด้วย อาคารคอนกรีตจำนวน 15 หลัง อาคารคอนกรีต-ไม้ จำนวน 18 หลัง อาคารขั้นเดียว จำนวน 4 หลัง อาคาร 2 ชั้น จำนวน 27 หลัง และอาคาร 3 ชั้น จำนวน 2 หลัง การตรวจวัดสัญญาณการสั่นสะเทือนระดับต่ำใช้เครื่องมือแบบวัดความเร็วที่มีความละเอียดสูงจำนวน 2 ชุด และวิเคราะห์หาค่าคาบธรรมชาติของการสั่นไหวในแนวการโยกตัวทางข้างของอาคาร และพิจารณาคุณลักษณะของโครงสร้าง เช่นจำนวนเสา ปริมาณกำแพงอิฐก่อในแต่ละแนวของอาคารเพื่อศึกษาผลที่มีต่อสติฟเนสด้านข้างของอาคาร โดยผลการศึกษาพบว่าความถี่ธรรมชาติของอาคารส่วนใหญ่ มีค่าอยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 Hz. อย่างไรก็ตาม พบความแปรปรวนของค่าความถี่ธรรมชาติในอาคารอื่น ๆ บางอาคารพบว่าค่าความถี่ธรรมชาติหลักมีค่าอยู่ในช่วง 5 ถึง 10 Hz. ซึ่งแสดงถึงความหลากหลายของรูปแบบอาคารขนาดเล็กที่ศึกษา ที่มีความแตกต่างของรูปแบบโครงสร้างและวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง นอกจากนั้นพบด้วยว่าในอาคารที่ใช้วัสดุผสมเช่น โครงสร้างคอนกรีตผสมไม้การตรวจวัดพบความถี่ธรรมชาติที่ต่างกันในส่วนที่ใช้วัสดุต่างกันได้</span></p> นิธิศ จำปางาม, นคร ภู่วโรดม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2633 Wed, 07 Jun 2023 09:23:08 +0700 ผลกระทบของรูปแบบการสั่นไหวที่สูงขึ้นต่อแรงลมและการตอบสนองของอาคารสูง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2431 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลตอบสนองของอาคารสูงภายใต้แรงลม โดยการทดสอบแบบจำลองอาคารสูงในอุโมงค์ลมด้วยเทคนิคการรวบรวมผลของแรงดันลม (High Frequency Pressure Integration, HFPI) ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีแรงลมเชิงโหมด (Generalized wind force analysis) เพื่อศึกษาผลตอบสนองเนื่องจากโหมดการสั่นไหวที่สูงขึ้น หรือรูปแบบการสั่นไหวที่สูงขึ้น (Higher mode) ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนตัวที่ยอดอาคาร ความเร่งตอบสนองที่ยอดอาคาร และโมเมนต์พลิกคว่ำที่ฐานของอาคาร ทั้งในทิศทางตามลม ตั้งฉากกับทิศทางลม และทิศทางบิด จากการศึกษาพบว่าผลของแรงลมในโหมดการสั่นไหวที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการเคลื่อนตัวที่ยอดอาคาร กับโมเมนต์พลิกคว่ำที่ฐานของอาคารสูงรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสน้อยมาก ซึ่งการวิเคราะห์โดยการรวมผลเพียงแค่โหมดแรกเพียงโหมดเดียวนั้นเพียงพอแล้ว แต่ผลของโหมดการสั่นไหวสูง ๆ สำหรับความเร่งตอบสนองที่ยอดอาคารในทิศทางลมมีผลอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการไม่พิจารณาผลของโหมดการสั่นไหวสูง ๆ สำหรับความเร่งตอบสนองของอาคารสูงอาจนำไปสู่การประมาณผลที่ต่ำไปได้</p> วศิน แท่งทอง, วิโรจน์ บุญญภิญโญ, จิรวัฒน์ จันทร์เรือง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2431 Wed, 07 Jun 2023 09:31:23 +0700 อุปสงค์การเสียรูปแบบไม่เชิงเส้นของระบบ SDOF ที่มีต่อคลื่นแผ่นดินไหวของบริเวณกรุงเทพฯ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2369 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงอุปสงค์การเสียรูปของระบบ SDOF แบบพลาสติกโดยสมบูรณ์ที่มีต่อชุดคลื่นแผ่นดินไหวของบริเวณแอ่งกรุงเทพฯ ในโซนที่ 5 ตามการจัดแบ่งพื้นที่ของมาตรฐาน มยผ.1301/1302-61 คลื่นแผ่นดินไหวที่ใช้ในการศึกษาได้จากฐานข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวของมาตรฐาน มยผ.1301/1302-61 ของพื้นที่ศึกษา ผลการวิเคราะห์แสดงในรูปของอัตราส่วนระหว่างการเสียรูปสูงสุดระหว่างกรณีแบบจำลองแบบไม่เชิงเส้นและแบบจำลองแบบเชิงเส้น อัตราส่วนดังกล่าวเป็นค่าที่ขึ้นกับประเภทของชั้นดินและเป็นหนึ่งในค่าสัมประสิทธิ์ที่มีความสำคัญในการประมาณค่าการเคลื่อนที่เป้าหมายของอาคารด้วยวิธีสถิตไม่เชิงเส้นตามข้อกำหนดของมาตรฐาน มยผ.1303-57 งานวิจัยได้นำเสนอสูตรในการประมาณค่าอัตราส่วนดังกล่าวที่เหมาะสมกับกรุงเทพ ฯ</p> โสธร พรหมแก้ว, นเรศ ลิมสัมพันธ์เจริญ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2369 Wed, 07 Jun 2023 09:40:26 +0700 ผลการประเมินความเสี่ยงขั้นต้นของอาคารที่อาจได้รับ ความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหวในภาคเหนือ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2358 <p>กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดทำคู่มือการประเมินความเสี่ยงขั้นต้นของอาคารที่อาจได้รับความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหว และได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ของจังหวัดที่อยู่ในบริเวณแรงแผ่นดินไหวระดับสูงทำการประเมินความเสี่ยงขั้นต้นตามแนวทางการประเมินของคู่มือดังกล่าว โดยได้ทำการประเมินอาคารประเภทตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่ได้ก่อสร้างก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าวบังคับใช้ ซึ่งจะไม่ได้มีการออกแบบโครงสร้างอาคารรองรับแรงแผ่นดินไหวไว้ โดยในการประเมินได้จำแนกชนิดของโครงสร้างอาคารตามที่ตรวจพบ และประเภทของชั้นดิน 2 ประเภท ได้แก่ ชั้นดินแข็งและชั้นดินปกติเนื่องจากไม่มีผลทดสอบดินในพื้นที่ ผลการประเมินอาคารจำนวน 175 หลังจาก 4 จังหวัดในภาคเหนือ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก พบว่ามีอาคารที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากแผ่นดินไหวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 62 กรณีพิจารณาเป็นชั้นดินแข็ง และประมาณร้อยละ 86 กรณีพิจารณาเป็นชั้นดินปกติ โดยอาคารเหล่านี้ควรต้องมีการทำการประเมินโดยละเอียดเพื่อยืนยันสมรรถนะของอาคารในการต้านทานแรงแผ่นดินไหวอีกครั้ง เพื่อสามารถเตรียมพร้อมป้องกันและลดความเสียหายหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวได้</p> บดินทร์กรณ์ เรืองเดชอังกูร, ธนิต ใจสอาด, ชานนท์ โตเบญจพร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2358 Wed, 07 Jun 2023 09:46:26 +0700 การศึกษาความต้านทานต่อการสั่นสะเทือนจากแรงแผ่นดินไหวของอาคารเตี้ยตามแบบก่อสร้างมาตรฐาน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2283 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถความต้านทานต่อแรงแผ่นดินไหวของอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย 3 บริเวณ ตามกฎกระทรวง พ.ศ.2564 ตัวอย่างอาคารที่ใช้ในการศึกษามี 3 ลักษณะ ตามแบบมาตรฐานของหน่วยงานราชการต่างๆ ประกอบด้วย อาคารเรียน อาคารสำนักงาน และบ้านพักอาศัย อาคารเหล่านี้ถูกวิเคราะห์โครงสร้างในการต้านทานแรงแผ่นดินไหวด้วยวิธีสถิตเทียบเท่าและวิธีสเปกตรัมการตอบสนองเชิงเส้นซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน มยผ.1302-2561 ของกรมโยธาธิการและผังเมือง โปรแกรมสำเร็จรูปทางไฟไนต์เอลิเมนต์ Etabs V.17 ถูกใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร&nbsp; จากผลการศึกษาพบว่า อาคารตามแบบมาตรฐานที่มีโครงสร้างลักษณะสมมาตรและตั้งอยู่ในบริเวณที่ 1 และบริเวณที่ 2 จะปลอดภัยจากการเกิดแผ่นดินไหว ขณะที่อาคารที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ 3 ซึ่งเป็นบริเวณที่มีแรงแผ่นดินไหวระดับรุนแรงสูงถึงสูงมากในประเทศไทย อาจไม่ปลอดภัยจากแรงแผ่นดินไหว เนื่องจากจะเกิดโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนในเสาที่สูงกว่าความสามารถในการรับโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนของเสานั้น ดังนั้นอาคารเหล่านี้ควรมีการปรับปรุงรายละเอียดโครงสร้างเพื่อลดทอนแรงภายในที่เกิดขึ้นในเสา หรือโครงสร้างเสาควรมีการเสริมกำลังโดยการเพิ่มปริมาณเหล็กปลอกและเหล็กยืน</p> อนิรุตต์ นุชประเสริฐ, ชูชัย สุจิวรกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2283 Wed, 14 Jun 2023 15:00:41 +0700 The Field Measurement of Fundamental Period of Buildings in Thailand by Using HVSR Method https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2168 <p>Seismicity of Bangkok is different with other cities as it is situated on the low seismic zone but placed on the border of the Indo-Australian and Eurasian plates which can produce the large earthquake. Evaluation of fundamental period by using ambient vibration data is the frequently used method. A group of the existing reinforced concrete buildings, height range from 17 m to 124 m, situated in the Bangkok City; Thailand have performed the ambient vibration test and HVSR method will be used to compute the fundamental frequencies and fundamental periods of the buildings in this paper. A numerical analysis developing the finite element technique (FEM) will be done to verify the accuracy of the measurement results. FEM has also been used to assess the impact of infill wall stiffness and infill wall opening percentage on the fundamental period and higher modes of RC frame constructions.</p> Tun Tun Tha Toe, Teraphan Ornthammarath Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2168 Wed, 14 Jun 2023 15:06:11 +0700 Flexural Behavior of Corroded Steel Fiber Reinforced Concrete Beams with Variable Fiber Contents https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2598 <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> Seihak Heang, Pornpen Limpaninlachat, Punyawut Jiradilok, Thatchavee Leelawat, Withit Pansuk Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2598 Wed, 14 Jun 2023 00:00:00 +0700 Experimental and Evaluation of Flexural Capacity in Voided RC Slab with Internal Truncated Pyramid Shaped Voids https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2590 <p>Truncated Pyramid Shaped (TPS) voided former is an alternative voided shape embedded inside the reinforced concrete slab to reduce concrete quantity. The main purposes of this study were to investigate the one directional flexural behavior of TPS voided slab through the four-point bending test and compared the experimental results with the evaluation of flexural capacity. Two TPS voided slabs with dimension of 2700x1500 mm2 and different thickness of 260 mm and 300 mm were subjected to the loading test. During the loading test, the results of load, deflection and strains in concrete and steel bars were recorded to observe their relevant behaviors. Consequently, the evaluation method for flexural capacity of the TPS voided slab was proposed by using the fundamental flexural analysis. Finally, the loading capacities from both specimens showed good agreement results between the experiment and evaluation method with an accuracy of up to 94.93%.</p> ชัชวาล พวงเรืองศรี, พรเพ็ญ ลิมปนิลชาติ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2590 Wed, 14 Jun 2023 15:35:18 +0700 Finite Element Method of Normal Reinforced Concrete Slab under Contact Explosion https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2587 <p>Blast load is a special and specific situation that rarely occurs in structural engineering, but it can cause severe damage to the structure and user due to the high energy dissipation in both tension and compression. The experiment under blast conditions is difficult to conduct because of safety and taken high cost. Therefore, the Finite Element Method (FEM) is the effective method to investigate the blast load behaviors. This research aims to study the FEM analysis to create a numerical simulation of Normal Reinforced Concrete (NRC) slabs under blast conditions. The experimental results from the previous study were employed to validate the numerical simulation model with FEM software. The NRC slabs in 2000mm x 1000mm x 75mm of dimension under 1 lb and 2 lbs of TNT at 500 mm of standoff distance were used as the validated specimens. To model the structure under blast loads, additional properties regarding high strain rate condition were required, such as erosion. The validation between results from models and experiments such as maximum deflection and overpressure regarding the blasting of normal RC slabs with different blast loads were examined. According to the numerical results, with increase of the explosive charge weight from 1 lb to 2 lbs resulted in the more damage on slab surface and higher maximum deflection.</p> คณาธิป ปราปต์บุณฑริก, Pornpen Limpaninlachat, Withit Pansuk Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2587 Wed, 14 Jun 2023 15:45:38 +0700 Chatree Ngamsangiem การประยุกต์ใช้ท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมเพื่อทดแทนเสาคานไม้ไผ่ สำหรับฟาร์มเลี้ยงหอยนางรมแบบลอยทุ่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2586 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาและประยุกต์ใช้ท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟม เพื่อทดแทนเสา-คานไม้ไผ่ที่ใช้ผูกทุ่นลอยสำหรับการเลี้ยงหอยนางรม ท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ 1.) ปลอกหุ้มด้านนอกทำจากท่อพีวีซีเกษตรสีเทาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม. หนา 2.6 มม. 2.) ซีเมนต์ผสมเม็ดโฟมบรรจุภายใน ซีเมนต์ผสมเม็ดโฟมออกแบบให้มีความหนาแน่น 250 กก./ม.3 และ 500 กก./ม.3 ของคานและเสาตามลำดับ ทำการวิเคราะห์โครงสร้างเสาและคานจากน้ำหนักบรรทุกที่กระทำ พบว่าเสารับความเค้นอัดและคานรับความเค้นดัดสูงสุด 0.06 MPa และ 7.36 MPa ตามลำดับ จากนั้นนำตัวอย่างท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมที่สร้างขึ้นไปทดสอบแรงอัดและแรงดัดในห้องปฏิบัติการ ผลการทดสอบพบว่า ตัวอย่างเสารับความเค้นอัดเฉลี่ยสูงสุด 3.38 MPa ตัวอย่างคานรับความเค้นดัดสูงสุด 50.61 MPa การประยุกต์ใช้ท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมเพื่อทดแทนเสา-คานไม้ไผ่ ทำโดยปักเสาลงในน้ำและฝังอยู่ในพื้นดินใต้น้ำ 1.5 เมตร ส่วนคานผูกยึดติดกับเสาแบบหลวมๆโดยให้สามารถขยับขึ้น-ลงตามระดับน้ำได้ จากนั้นใช้คานเป็นตัวยึดราวเชือกเลี้ยงหอยนางรม ทำการเก็บข้อมูลทุกๆ 1 เดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งแต่เริ่มเลี้ยงหอยจนเก็บจำหน่ายจากข้อมูล พบว่าท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมมีลักษณะทางกายภาพที่สมบูรณ์แสดงถึงความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เหมาะสมต่อการใช้งาน</p> ชาตรี งามเสงี่ยม, ปฤษฎางค์ เพิ่มสุข Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2586 Wed, 14 Jun 2023 15:51:18 +0700 ประสิทธิภาพการรับแรงอัดของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสริมกําลังด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2396 <p>งานวิจัยนี้ทำการทดสอบเสาสั้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสริมกำลังด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน (Carbon Fiber Reinforced Polymer, CFRP) โดยตัวแปรการศึกษาประกอบด้วยรูปแบบการเสริมกำลังของแผ่น CFRP และปริมาณการติดตั้ง CFRP ในงานวิจัยนี้ทำการทดสอบเสาสั้นคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 250×250×1000 มม. ทุกตัวอย่างเสามีอัตราส่วนเหล็กเสริมคอนกรีต 3.0 เปอร์เซ็นต์ ทำการเสริมกำลังภายนอกด้วย CFRP โดยทำการศึกษาพฤติกรรมการรับแรงอัดของเสาตัวอย่าง รวมถึงลักษณะการวิบัติ จากผลการทดสอบพบว่า กำลังรับแรงอัดของเสาตัวอย่างมีกำลังเพิ่มขึ้นเมื่อทำการเสริมกำลังภายนอกด้วย CFRP โดยตัวอย่างเสาคอนกรีตเสริมกำลังที่ตำแหน่งเหล็กปลอก 3 รอบ มีกำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้น 23.2% เมื่อเทียบกับตัวอย่างที่ไม่ได้เสริมกำลัง โดยการวิบัติของตัวอย่างทดสอบทุกตัวอย่างเกิดจากการวิบัติของคอนกรีต</p> ชานน อนันต์ศุภมงคล, ชนะชัย ทองโฉม, สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2396 Wed, 14 Jun 2023 16:03:12 +0700 Punching Shear Behavior of Reinforced Concrete Isolated Footings Reinforced with GFRP Rebars https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2390 <p>The punching shear strength of isolated footings varies considerably for different codes, partly due to varying amounts of soil reaction considered when calculating the punching shear resistance. The present study aimed to investigate the punching shear behavior of reinforced concrete isolated footings reinforced with GFRP rebars, taking into account soil-structure interaction. Full-scale specimens were divided into two groups based on the type of foundation support and were tested separately. One group was supported on a bed of elastic springs to simulate an elastic foundation based on Winkler-type soil reactions, while the other was supported on a rigid support to examine the effect of soil-structure interaction on the punching shear behavior. The specimens were tested to investigate the load-carrying capacity, failure mode, subgrade reaction, crack development, footing slab deflection, and rebar strain distribution. Results from the tests showed that the elastic spring system maintained a constant k value despite the vertical settlement. Both tested specimens failed in punching shear failure mode, and the specimen supported by the elastic spring system had a little higher punching shear resistance than the one supported on a rigid support. Additionally, the resistance of the specimens exceeded the calculated value according to the ACI code, suggests that the code is reliable and perhaps more conservative.</p> Sothea Som, Supakorn Tirapat Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2390 Wed, 21 Jun 2023 14:15:49 +0700 ตารางหน้าตัดสำเร็จรูป สำหรับออกแบบคานคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีกำลัง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2400 <p>บทความนี้นำเสนอการทำตารางสำเร็จรูปแบบแสดงหน้าตัดสำหรับออกแบบคานคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีกำลัง เพื่อช่วยออกแบบคานหรือตรวจสอบคานที่ออกแบบมาแล้ว โดยมีขอบเขตไว้คือใช้ fc 5 แบบคือ 240, 320, 420, 500 และ 600 ksc เหล็กเสริมหลัก SD-50 6 ขนาด คือ 12, 16, 20, 25, 28 และ 32 mm เหล็กลูกตั้งใช้ขนาด 6 mm SR-24 และ 10 mm SD-50 คานใช้ความกว้าง 4 ขนาดคือ 15, 20, 25 และ 30 cm ความลึก 11 ขนาดคือ 25, 30, 35, 40, 45, 50, 55, 60, 65, 70 และ 80 cm รวมจัดได้ 60 รูปแบบ ในแต่ละรูปแบบกำหนดจำนวนเหล็กเสริมหลักให้รับแรงดึงเท่านั้น คือ min    max โดยมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมคือ ระยะเรียงเหล็กเสริมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และเหล็กลูกตั้งเสริมแบบเดี่ยวเท่านั้น การสร้างตารางทำโดยพัฒนาโปรแกรมด้วยไมโครซอฟต์วิชวลเบสิกเพื่อช่วยคำนวณและแสดงรายละเอียดของหน้าตัดคาน ซึ่งในแต่ละหน้าตัดจะแสดง รายละเอียดขนาดหน้าตัดคาน จำนวนเหล็กเสริม และแสดงค่าตัวเลขของ d, , Mu,max และ Vu,max ผลที่ได้คือตารางออกแบบคานจำนวน 4,993 หน้าตัด ในรูปแบบไฟล์ pdf สามารถเปิดดูได้ผ่านคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์พกพาอื่น ซึ่งวิศวกรผู้ออกแบบหรือควบคุมงานสามารถนำไปใช้ได้โดยสะดวก และเป็นแนวทางในการทำตารางคานโดยใช้เหล็กเสริมชั้นคุณภาพอื่นต่อไป</p> รัตนพงษ์ แก้วจู, ทักษิณา ทานต์วิรุฬห์, อริสรา สุดเจริญ, สรกานต์ ศรีตองอ่อน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2400 Wed, 21 Jun 2023 14:20:03 +0700 การออกแบบขนาดและรูปร่างของโครงถักสามมิติอย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการปรับปรุงการเรียนรู้อย่างครอบคลุมเพื่อหาค่าเหมาะสมที่สุด ของกลุ่มอนุภาคร่วมกับแบบจำลองการถดถอยของกระบวนการเกาส์เซียน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2381 <p>บทความนี้นำเสนอหนึ่งในเครื่องมือการเรียนรู้ของเครื่อง คือวิธีการถดถอยของกระบวนการเกาส์เซียน (Gaussian process regression, GPR) ร่วมกับอัลกอริทึมการปรับปรุงการเรียนรู้อย่างครอบคลุมเพื่อหาค่าเหมาะสมที่สุดของกลุ่มอนุภาค (Enhanced Comprehensive Learning Particle Swarm Optimization, ECLPSO) เพื่อหาขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมอย่างพร้อมกันของโครงถัก 3 มิติ ภายใต้แรงกระทำจากภายนอก เมื่อเทียบกับเทคนิคการออกแบบด้วยวิธีเมตา-ฮิวริสติก แนวทางนี้จะสามารถลดขั้นตอนในการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ที่ใช้เวลานานได้ โดยเป็นการสร้างแบบจำลองการทำนายพฤติกรรมของโครงสร้าง จากชุดข้อมูลอินพุต เช่น ตำแหน่งพิกัดข้อต่อและขนาดชิ้นส่วน และข้อมูลเอาต์พุตที่สร้างโดยชุดข้อมูลการวิเคราะห์โครงสร้าง เช่น แรงภายในชิ้นส่วนและการเคลื่อนที่ของตำแหน่งข้อต่อ จากนั้นอัลกอริทึม ECLPSO จะดำเนินการร่วมกับแบบจำลอง GPR ที่มีการคาดคะเนการตอบสนองที่แม่นยำเพียงพอ ผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีการที่นำเสนอ คือน้ำหนักรวมของโครงสร้างที่มีค่าต่ำที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแม่นยำและประสิทธิภาพของอัลกอริทึม</p> วรัญญา เจริญยิ่ง, อาณัติ สุธา, เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2381 Wed, 21 Jun 2023 14:24:58 +0700 แนวทางการออกแบบราวกันตกอะคริลิกในประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2244 <p>บทความนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาแนวทางการออกแบบราวกันตกอะคริลิกในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางในการออกแบบวัสดุแผ่นราวกันตกอะคริลิก และเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล อย่างปลอดภัย เพื่อวิเคราะห์แรงลมที่เกิดขึ้นกับแผ่นราวกันตกในพื้นที่ประเทศไทยโดยใช้มาตรฐานการวิเคราะห์แรงลม มยผ.1311-50 และเพื่อศึกษาพฤติกรรมของวัสดุแผ่นวัสดุราวกันตกอะคริลิกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับแรง โดยจัดกลุ่มภาคต่าง ๆของพื้นที่ในประเทศไทยตามความเร็วลมอ้างอิงที่เกิดขึ้นแล้วนำแรงลมที่เกิดขึ้นเหล่านั้นมาศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์ผลด้วยวิธีการ Finite Element โดยใช้ซอฟท์แวร์ SJ-MEPLA จึงสรุปเป็นข้อมูลผลการวิเคราะห์สำหรับออกแบบราวกันตกและเสนอแนวทางการออกแบบราวกันตก โดยสรุปผลได้ดังนี้คือ ในกรณีติดตั้งแผ่นราวกันตกอะคริลิกที่ความสูง ตั้งแต่ 6 เมตร ถึง 40 เมตร ผู้ติดตั้งสามารถออกแบบการติดตั้งราวกันตกอะคริลิกความหนา 10 มิลลิเมตร ได้อย่างปลอดภัยทุกกรณี แต่ในกรณีติดตั้งแผ่นราวกันตก ที่มีความสูง มากกว่า 40 เมตร ถึง 80 เมตร ควรติดตั้งแผ่นราวกันตกที่มีความหนามากกว่า 10 มิลลิเมตร เป็นต้นไป เพื่อสามารถรับแรงลมในพื้นที่ประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย</p> คะณาธิป เรืองหิรัญ, อาทิตย์ เพชรศศิธร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2244 Wed, 21 Jun 2023 14:43:39 +0700 การศึกษาภาระ และความต้านทานของโครงสร้าง จากการบูรณะอาคารอนุรักษ์ กรณีศึกษา: ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2236 <p>This article objectives are to study methods for renovating, improving, repairing, and strengthening foundation and building structure conserved by a case study of Dome Building,Thammasat University Tha Phrachan Campus. This is the first building of the university. Due to the use of the dome building for more than 87 years, the structure was damaged and deteriorated. This restoration of the dome building is the first repair since the building was built and changed the new usable area while maintaining the original identity of the dome building as much as possible to be a learning center to continue. The building had its original foundation, that was a timber foundation. and is a reinforced concrete type building It will be renovated, repaired, strengthened the original foundation, and improved the superstructure of the dome building. Then analyzed the structure loads and resistances of superstructure and substructure both before and after the renovation.</p> อรณิชา ปะลิเตสังข์, มนัญชยา แก้วอยู่, ภูมินทร์ ทองสืบสาย, วรวลัญช์ รุ่งอนันต์ชัย, สหรัฐ พุทธวรรณะ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2236 Wed, 21 Jun 2023 14:51:12 +0700 การเปรียบเทียบค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงที่ได้จากการวิเคราะห์ ตามมาตรฐาน ACI 423.10R และมาตรฐาน AASHTO https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2120 <p>การศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงของชิ้นส่วนคอนกรีตอัดแรงตามมาตรฐาน ACI 423.10R ซึ่งมาตรฐาน ACI-318 ที่ใช้สำหรับการออกแบบอาคาร ค.ส.ล. ได้กล่าวอ้างอิงถึง เนื่องจากมาตรฐาน ACI-318 ไม่ได้ระบุถึงการวิเคราะห์ค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงไว้ในรายละเอียด และเปรียบเทียบผลของค่าการสูญเสียแรงดึงกับการวิเคราะห์ตามมาตรฐาน AASHTO-LRFD (2012) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เหมาะสำหรับงานสะพานแต่อาจไม่เหมาะสำหรับงานอาคาร โดยการศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ชิ้นส่วนโครงสร้างกรณีตัวอย่างจำนวน 8 รูปแบบ ประกอบด้วยโครงสร้างระบบอัดแรงก่อน 4 กรณีและระบบอัดแรงภายหลัง 4 กรณี เพื่อเปรียบเทียบผลค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงแต่ละรูปแบบ อีกทั้งยังได้พิจารณาลดทอนปริมาณเหล็กเสริมอัดแรงจากการสมมติว่าเกิดการกัดกร่อนในเหล็กเสริมอัดแรงตั้งแต่ 0-50% และวิเคราะห์หาค่ากำลังรับโมเมนต์ดัดที่ลดลงสำหรับตัวอย่างสุดท้ายของสะพานจริงในประเทศไทยซึ่งใช้คานกล่องต่อเนื่องชนิดอัดแรงภายหลัง เปรียบเทียบกันระหว่างมาตรฐานทั้งสอง ผลการศึกษาพบว่าการวิเคราะห์มาตรฐาน ACI ให้ค่าการสูญเสียแรงดึงในเหล็กเสริมอัดแรงจากเฉลี่ยสูงกว่าการวิเคราะห์ตามมาตรฐาน AASHTO ประมาณ 3.84 % และการกัดกร่อนของเหล็กเสริมอัดแรงทำให้เหล็กเสริมอัดแรงที่เหลืออยู่ต้องรับแรงดึงเพิ่มมากขึ้นทำให้ต้องการกำลังต้านทานโมเมนต์ดัดในหน้าตัดเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับเหล็กเสริมที่ถูกกัดกร่อนหายไปตามลำดับ</p> ประทีป กล่ำฉ่ำ, ทรงพล จารุวิศิษฏ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2120 Wed, 21 Jun 2023 14:56:48 +0700 การศึกษาวิเคราะห์และออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คานสะพานคอนกรีตอัดแรงชนิด I-Girder https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2008 <p>ในการออกแบบโครงสร้างสะพานในปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีคอนกรีตอัดแรงมาใช้ในการออกแบบกันอย่างแพร่หลาย จากการศึกษาข้อมูลคานคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการก่อสร้างสะพานที่ทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักและรับแรงดัด ได้ดีกว่าคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วๆไป และรวดเร็วในการก่อสร้าง สำหรับการก่อสร้างสะพานที่มีช่วงของสะพานที่ยาวมากๆ การก่อสร้างจะพิจารณาใช้คานคอนกรีตอัดแรงในลักษณะหน้าตัดรูปตัวไอ ( Prestress Concrete I Girder ) งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและออกแบบคานคอนกรีตอัดแรงชนิด I-Girder ขนาดหน้าตัดตามมาตรฐานกรมทางหลวง ความยาว 15 เมตร โดยมีการปรับเปลี่ยนขนาดหน้าตัด ลดจำนวนเหล็กเสริมลง โดยที่โครงสร้างยังสามารถรับน้ำหนักใช้งานและน้ำหนักประลัยได้อย่างปลอดภัย จากผลการศึกษาและออกแบบดังกล่าวพบว่าเมื่อพิจารณาการรับน้ำหนักบรรทุกตามมาตรฐาน AASHTO HL-93 แล้วนั้น หน้าตัดคานยังสามารถปรับลดขนาดหน้าตัดและลดลวดอัดแรงลงได้</p> สิวนารถ อยู่นาน, ปรินทร ส่องแสงศิริศักดิ์, ศิรภพ เฉลิมเกียรติ, วัชรา ณ ระนอง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2008 Wed, 21 Jun 2023 15:11:10 +0700 กำลังรับแรงดัดของพื้นคอนกรีตเสริมกำลังด้วยแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใยแก้วภายหลังสภาวะเพลิงไหม้ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2345 <p>งานวิจัยนี้เป็นการทดสอบเพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดภายหลังเผาไฟของพื้นคอนกรีตเสริมกําลังด้วยแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใยแก้ว (Glass fiber reinforced polymer; GFRP) พื้นตัวอย่างคอนกรีตที่ศึกษาเป็นพื้นคอนกรีตรับแรงทางเดียว (One-way stab) มีขนาดความกว้าง ความยาว และความหนา 900 มิลลิเมตร 3300 มิลลิเมตร และ 200 มิลลิเมตร ตามลำดับ จำนวนทั้งหมด 4 พื้นตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ทดสอบ ณ อุณหภูมิห้อง (กลุ่มพื้นตัวอย่างควบคุม) และกลุ่มที่ทดสอบภายหลังการจำลองสภาวะเพลิงไหม้ซึ่งถูกปล่อยให้เย็นตัวลงแล้ว 24 ชั่วโมง พฤติกรรมที่ศึกษาได้แก่ กําลังการรับแรงดัด ค่าการโก่งตัว ลักษณะการวิบัติ และรูปแบบรอยร้าว โดยศึกษาผลกระทบของระยะหุ้มคอนกรีต (ระยะหุ้มคอนกรีต 20 มิลลิเมตร และ 40 มิลลิเมตร) จากผลการทดสอบพบว่าพื้นคอนกรีตที่มีระยะหุ้มคอนกรีตมากกว่า สามารถต้านทานแรงดัดได้สูงกว่า และอุณหภูมิที่แท่ง GFRP ได้รับมีค่าน้อยกว่าพื้นที่มีระยะหุ้มคอนกรีตต่ำกว่า</p> ศุภวิชญ์ ไทรวิมาน, ชนะชัย ทองโฉม, สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2345 Wed, 21 Jun 2023 15:18:44 +0700 การพัฒนาจุดต่อเสา – เสาคอนกรีตหล่อสำเร็จแบบสลักเกลียว https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2212 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาจุดต่อเสา - เสาคอนกรีตหล่อสำเร็จแบบสลักเกลียว โดยได้นำระเบียบวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Method; FEM) มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบจุดต่อ การศึกษามุ่งเน้นไปที่การหาขนาดชิ้นส่วนจุดต่อที่เหมาะสมจากวัสดุที่หาได้ทั่วไปตามท้องตลาด การออกแบบจุดต่อจะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับเหล็กยืนในเสา 3 ขนาดคือ DB12 DB16 และ DB20 (ชั้นคุณภาพ SD40) การศึกษาเริ่มจากการใช้สมการอย่างง่ายเพื่อกำหนดขนาดของชิ้นส่วนสำหรับใช้ในการสร้างแบบจำลองทางไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยแบบจำลองประกอบด้วย 5 ชิ้นส่วนได้แก่ 1. เหล็กทาบ (Splice bar) 2. รอยเชื่อม 1 (Weld 1) 3. เหล็กแผ่นตั้ง (Plate) 4. รอยเชื่อม 2 (Weld 2) และ 5. เหล็กแผ่นฐาน (Baseplate) จากนั้นทำการกำหนดเงื่อนไขของแรงและจุดรองรับให้กับแบบจำลองเพื่อศึกษาพฤติกรรมของจุดต่อขณะรับแรงดึงผ่านกระบวนการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์แบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยให้ทราบถึงปริมาณหน่วยแรงวอนมิสเซสที่เกิดขึ้นภายในชิ้นส่วนและหน่วยแรงเฉือนสูงสุดบริเวณรอยเชื่อมซึ่งช่วยระบุถึงสภาพการวิบัติ ลำดับการคราก และกำลังรับแรงดึงสูงสุดของจุดต่อ ผลเหล่านี้จะยืนยันถึงความปลอดภัยในการออกแบบ อีกทั้งยังเป็นข้อมูลสนับสนุนในการกำหนดแนวทางพัฒนาปรับปรุงชิ้นส่วนจุดต่อในโอกาสต่อไป</p> วศิน พงศ์ไพบูลย์สิริ, ชูชัย สุจิวรกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2212 Wed, 21 Jun 2023 15:23:41 +0700 วงการวิบัติของเสาเข็มวงกลมในดินเหนียว ภายใต้แรงกระทำในแนวราบและโมเมนต์ร่วมกัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2157 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาขอบเขตการวิบัติของเสาเข็มวงกลมในดินเหนียวภายใต้แรงกระทำในแนวราบและโมเมนต์ร่วมกัน การวิเคราะห์ไฟไนต์อิลิเมนต์แบบการวิเคราะห์ลิมิตในระบบสามมิติถูกนำมาใช้วิเคราะห์ปัญหานี้ โดยพิจารณาเสาเข็มวงกลมมีความลึกและความกว้าง สำหรับการวิเคราะห์ไฟไนต์อิลิเมนต์ เสาเข็มวงกลมถูกจำลองด้วยวัสดุแบบแข็งเกร็ง ไม่เกิดการวิบัติ และดินเหนียวถูกจำลองเป็นวัสดุแบบเทรสกาในสภาพไม่ระบายน้ำ ชิ้นส่วนเชื่อมต่อระหว่างเสาเข็มและดินเหนียวให้เป็นแบบไม่มีแรงดึง ผลเฉลยขอบเขตการวิบัติของเสาเข็มวงกลมในดินเหนียวภายใต้แรงกระทำในแนวราบและโมเมนต์ร่วมกันนี้ถูกนำเสนอในรูปแบบของพารามิเตอร์ไร้มิติของแรงกระทำในแนวราบและโมเมนต์ จากผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนระหว่างความลึกและความกว้างของเสาเข็มวงกลมมีผลต่อลักษณะและขอบเขตการวิบัติของเสาเข็มวงกลมในดินเหนียว</p> สุทธิกาญจน์ พนมชัยวัฒน์, สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์, สายันต์ ศิริมนตรี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2157 Tue, 27 Jun 2023 13:37:13 +0700 การศึกษาพฤติกรรมการรับแรงของเสาเหล็กที่มีแผ่นเอวเป็นลอน ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2104 <p>บทความนี้นำเสนอการศึกษาพฤติกรรมการรับแรงของเสาที่มีแผ่นเอวเป็นลอน (corrugated-web I-section column) ด้วยแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยในขั้นตอนแรกแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์จะถูกตรวจสอบความสามารถต่อผลการทดสอบจริงและผลของแบบจำลองเชิงตัวเลข ในเสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นเส้นตรง (flat-web I-section column) จากงานวิจัยที่ถูกอ้างอิง ในขั้นตอนที่สองแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของของเสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นลอนจะถูกสร้างและถูกนำมาเปรียบเทียบกับเสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นเส้นตรง หลังจากนั้นการศึกษาทางพารามิเตอร์ได้ถูกดำเนินไปเพื่อพิจารณาถึงอิทธิพลของค่าอัตราส่วนพารามิเตอร์ต่างๆ ของหน้าตัด ต่อพฤติกรรมการโก่งเดาะ (buckling behaviour) และกำลังรับน้ำหนักสูงสุด (Ultimate load capacity) จากการศึกษาพบว่าในเสาที่รับแรงดัดรอบแกนหลัก พฤติกรรมการโก่งเดาะของเสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นลอนจะถูกควบคุมด้วยการโก่งเดาะของเสา (flexural buckling) จนกระทั่งผ่านจุดรับน้ำหนักสูงสุดของเสา การโก่งเดาะเฉพาะที่ (local buckling) จะเกิดขึ้นในแผ่นปีก และกำลังรับน้ำหนักสูงสุดของเสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นเส้นตรงจะมีค่ามากกว่าเสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นลอน ขณะที่ในเสาที่รับแรงดัดรอบแกนรอง พฤติกรรมการโก่งเดาะของเสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นลอนจะยังคงถูกควบคุมด้วยการโก่งเดาะของเสา และกำลังรับน้ำหนักสูงสุดของเสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นเส้นตรงจะมีค่ามากกว่าเสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นลอนอยู่เล็กน้อย ในการศึกษาทางพารามิเตอร์ พบว่าในเสาที่เกิดการโก่งเดาะด้านข้างเนื่องจากการบิด เสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นลอนสามารถให้กำลังรับน้ำหนักสูงสุดมากกว่าเสาหน้าตัดรูปตัวไอที่มีแผ่นเอวเป็นเส้นตรงได้ในบางกรณี</p> ชยสิทธิ์ สีห์โสภณ, อาทิตย์ เพชรศศิธร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2104 Tue, 27 Jun 2023 13:39:38 +0700 พฤติกรรมโครงสร้างชั้นวางสินค้าสำหรับระบบ ASRS ภายใต้แรงสลับทิศ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2096 <p>ปัจจุบันมีการใช้งานชั้นวางสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับระบบจัดเก็บสินค้าแบบอัตโนมัติ (Automatic Storage and Retrieval System, ASRS) การศึกษาและทดสอบโครงสร้างชั้นวางสินค้าในงานวิจัยในอดีต จะเน้นไปที่การทดสอบโครงชั้นวางสินค้าปรกติทั่วไปที่มีความสูงไม่มาก โครงสร้างชั้นวางสินค้าสำหรับระบบ ASRS ที่มีใช้ในประเทศ ในปัจจุบันจะมีความสูงกว่า 20 ถึง 30 เมตร ซึ่งยังไม่เคยมีข้อมูลการทดสอบพฤติกรรมและการรับแรงของโครงชั้นวางสินค้ารูปแบบนี้ในห้องปฏิบัติการมาก่อน บทความนี้นำเสนอการทดสอบพฤติกรรมของโครงสร้างชั้นวางสินค้าสำหรับระบบ ASRS ภายใต้แรงสลับทิศ โดยอาศัยการทดสอบส่วนของโครงสร้างชั้นวางสินค้า (Sub-assemblage) ที่ใช้องค์อาคารขนาดเท่าของจริง ตัวอย่างทดสอบโครงชั้นวางสินค้านี้กำหนดให้มีความสูงรวม 4 เมตร ความกว้างสองช่วงเสารวม 5 เมตร และความลึก 0.98 เมตร ที่เป็นตัวแทนของชั้นวางสินค้า 2 ชั้นล่างสุดของโครงสร้าง การทดสอบจะกระทำโดยการให้น้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งที่มีค่าคงที่ ร่วมกับการให้แรงด้านข้างจำนวน 2 จุดตามความสูง โดยให้อัตราส่วนของแรงกระทำด้านข้างตามความสูงคงที่ ผลจากการทดสอบที่สำคัญประกอบด้วย ระยะการเคลื่อนตัว แรงเฉือนที่ฐาน และ รูปแบบการวิบัติของโครงชั้นวางสินค้า</p> ปารณัท รัตนธรรมสกุล, เอกชัย อยู่ประเสริฐชัย, วงศา วรารักษ์สัจจะ, สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์, ชัยณรงค์ อธิสกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2096 Tue, 27 Jun 2023 13:45:26 +0700 พฤติกรรมการรับแรงตามแนวแกนของเสาสั้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่หล่อในแบบหล่อเสาถาวร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2091 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงตามแนวแกนของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่หล่อในแบบหล่อถาวรที่มีขายกันทั่วไปในปัจจุบัน แบบหล่อถาวรที่ใช้เป็นแบบหล่อที่ซื้อได้จากร้านขายวัสดุก่อสร้างชั้นนำขนาดหน้าตัด 21x21 เซนติเมตร ยาว 86 เซนติเมตร หนา 2 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่โรงงานผลิตแนะนำสำหรับใช้หล่อแทนเสาขนาดหน้าตัด 20x20 เซนติเมตร การศึกษาทำโดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่ 1.เสาคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดสี่เหลี่ยมขนาด 20x20 เซนติเมตรที่หล่อในแบบหล่อชั่วคราว 2.เสาคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดสี่เหลี่ยมขนาด 17x17 เซนติเมตรที่หล่อในแบบหล่อชั่วคราว 3.เสาคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดสี่เหลี่ยมขนาด 21x21 เซนติเมตรที่หล่อในแบบหล่อถาวร และ 4.แบบหล่อถาวรขนาด 21x21 เซนติเมตร ที่ไม่มีการหล่อคอนกรีตด้านใน โดยทำการทดสอบกลุ่มละ 5 ตัวอย่าง การทดสอบทำโดยออกแรงกดตามแนวแกนเสาแล้วบันทึกการเสียรูปตามแนวแกนและการเสียรูปด้านข้าง (การขยายตัว) ของเสา รวมถึงวัดการขยายตัวของเหล็กปลอกทั้งในเสาและในแบบหล่อถาวร ผลการศึกษาแสดงว่าเสาที่หล่อในแบบหล่อถาวรนั้นมีความสามารถในการรับแรงตามแนวแกนลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับเสาที่หล่อในแบบหล่อชั่วคราว</p> พัสกร วิมลสุต, พรชัย จำรูญ, สุวัชรพงษ์ หมั่นมา, ฐิติวัสส์ แสนปัญญา, ประกิต ชมชื่น Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2091 Tue, 27 Jun 2023 13:55:11 +0700 ข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติและการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ของวัดพระราม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2368 <p>วัดพระรามเป็นวัดที่สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งเป็นโบราณสถานที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เจดีย์องค์ประธานเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ โดยได้อิทธิพลมาจากเมืองละโว้ หรือเขมรโบราณ การทราบลักษณะทางกายภาพที่ชัดเจนร่วมกับองค์ความรู้เชิงลึกในพฤติกรรมของตัวโครงสร้างมีความสำคัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญแห่งนี้ ด้วยเหตุนี้งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะนำเสนอการใช้เทคโนโลยีสแกนวัตถุ 3 มิติ ด้วยแสงเลเซอร์และการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับวัดพระราม โดยข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติที่ได้จากเทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์สภาพตำแหน่งปัจจุบันรวมถึงความโน้มเอียงที่ตำแหน่งยอดของเจดีย์ ผลการศึกษาพบว่าเจดีย์มีความสูงอยู่ที่ 40.54 เมตร และพบว่าเจดีย์เอียงตัวไปในทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นมุม 0.34 องศา จากข้อมูลการสำรวจพบว่าวัสดุหลักที่ใช้สร้างเจดีย์ประกอบด้วยวัสดุพื้นฐาน 2 ชนิดได้แก่อิฐโบราณและศิลาแลงซึ่งทำให้การวิเคราะห์โครงสร้างวัดพระรามเป็นปัญหาที่ท้าทาย ดังนั้นการศึกษานี้จึงนำวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มาใช้ในการประเมินการกระจายความเค้นและวิเคราะห์พฤติกรรมการสั่นอิสระของเจดีย์ พบว่าค่าความเค้นดึงสูงสุดมีค่าเท่ากับ 233.80 กิโลปาสคาล และค่าความเค้นอัดมีค่าเท่ากับ 1241.02 กิโลปาสคาล ซึ่งในที่สุดจะทำให้สามารถแสดงข้อมูลการกระจายความเค้นที่เกิดขึ้น รูปแบบความเสียหายที่สามารถเป็นไปได้ รวมถึงค่าความถี่ธรรมชาติและรูปแบบการสั่นของเจดีย์ โดยจะแสดงการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการใช้สมบัติวัสดุสองชนิดที่แตกต่างกันในแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์</p> ฐานวัฒน์ จินานุสรณ์, พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย, สุวัจน์ชัย แก้วมาคูณ, ชัยณรงค์ อธิสกุล, สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2368 Tue, 27 Jun 2023 14:27:27 +0700 การตรวจสอบรอยร้าวหรือการตรวจสอบความเสียหายอาคารชลประทานด้วยเทคโนโลยีสามมิติจากภาพถ่ายและการเรียนรู้เชิงลึกโดยโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชั่นแบบสมบูรณ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2071 <p>ปัจจุบันกรมชลประทานใช้วิธีการตรวจสภาพอาคารชลประทานด้วยสายตา (Visual Inspection) หรือวิธีการตรวจสอบแบบพินิจ โดยการเดินตรวจสภาพในทุกองค์ประกอบของอาคารเพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจสภาพอาคารชลประทานด้วยสายตา มาทำการประเมินสภาพอาคารชลประทานโดยวิธีดัชนีสภาพ (Dam assessment by Condition Index Method) ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ทั่วถึง เช่น บริเวณที่ผู้ตรวจสอบเข้าถึงได้ยากหรือไม่สามารถเข้าถึงได้ และอาจเป็นอันตรายต่อผู้ทำการสำรวจ อีกทั้งอาจเกิดข้อผิดพลาดจากผู้ตรวจสอบเอง เพื่อการรักษาความปลอดภัยของอาคารชลประทาน งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการตรวจสอบโดยเทคโนโลยีภาพถ่ายผ่านทางกล้องถ่ายรูปที่มีความละเอียดสูง การใช้อากาศยานไร้คนขับในการเก็บรวบรวมข้อมูล ร่วมกับเทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองสามมิติด้วยภาพถ่ายด้วยเทคนิค photogrammetry ร่วมกับการพัฒนากระบวนการตรวจหารอยแตก รอยร้าวด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชั่นแบบสมบูรณ์ Fully Convolutional Network (FCN) เพื่อตรวจหารอยร้าวบนอาคารชลประทาน ผลปรากฏว่าวิธีที่นำเสนอสามารถตรวจจับรอยร้าวในระดับพิกเซลได้อย่างแม่นยำกว่า 90%</p> สโรชา ช่วงชู, กฤษฎา ไชยสาร, ศวิษฐ์ ธรรมวิชิต, อภิชาติ บัวติก Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2071 Tue, 27 Jun 2023 14:34:50 +0700 การตรวจสอบการเสื่อมสภาพและประเมินสมรรถนะกำลังรับ การรับน้ำหนักของโครงสร้างทางยกระดับทางพิเศษ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2257 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงแนวทางการตรวจสอบการเสื่อมสภาพของโครงสร้างและการประเมินสมรรถนะกำลังการรับน้ำหนักของโครงสร้างทางยกระดับของทางพิเศษ ในปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้บริการทางพิเศษแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 8 สายทางรวมระยะทางกว่า 224.60 กิโลเมตร ซึ่งโครงสร้างทางยกระดับทางพิเศษมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 7 ปีจนถึง 42 ปี จึงต้องดำเนินการตรวจสอบการเสื่อมสภาพของโครงสร้างคอนกรีต เพื่อพิจารณาลักษณะความเสียหายของการแตกร้าวของโครงสร้างที่เกิดขึ้น และประเมินสมรรนะกำลังของโครงสร้างทางยกระดับทางพิเศษ เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโครงสร้างให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด สามารถรองรับปริมาณจราจรในสายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดการพังถล่มของโครงสร้างทางยกระดับอันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างที่อาจส่งผลต่อความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอีกด้วย โดยในการศึกษานี้จะดำเนินการตรวจสอบลักษณะความเสียหาย และวิเคราะห์ ประเมินสมรรถนะกำลังของโครงสร้างทางยกระดับทางพิเศษ ในตำแหน่งของชิ้นส่วนโครงสร้างต่าง ๆ โดยการทดสอบโครงสร้างด้วยวิธีแบบไม่ทำลายโครงสร้าง (Non-Destructive Testing) และนำผลการทดสอบดังกล่าวมาใช้ประเมินสมรรถนะกำลังของโครงสร้างทางยกระดับในการรับน้ำหนักของปริมาณจราจรที่เกิดขึ้นในสายทาง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการบำรุงรักษาเพื่อยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้าง รวมถึงการเสริมกำลังของโครงสร้างให้มีความมั่นคง แข็งแรงและช่วยยืดอายุการใช้งานของโครงสร้างทางยกระดับทางพิเศษให้สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> นายธราดล หงส์อติกุล, นันทวรรณ พิทักษ์พานิช, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร, สราวุธ พรหมาด Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2257 Tue, 27 Jun 2023 14:46:12 +0700 การปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจวัดการสั่นสะเทือนระดับต่ำของโครงสร้าง ด้วยระบบตรวจสอบสมรรถภาพของโครงสร้างต้นทุนต่ำ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2123 <p>การตรวจสอบสมรรถภาพของโครงสร้างต่าง ๆ เช่น อาคารขนาดต่าง ๆ สะพาน หรือหอคอยชมเมือง เป็นต้น ทั้งที่เป็นโครงสร้างเก่าที่มีความสำคัญ หรือโครงสร้างใหม่ที่ต้องการให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจต่อการใช้งาน จำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์วัดระดับการสั่นสะเทือนของโครงสร้างตลอดเวลา เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลตอบสนองของโครงสร้างภายใต้แรงกระทำรูปแบบต่าง ๆ ปัจจุบันการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดการสั่นสะเทือนบนโครงสร้างยังไม่ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากอุปกรณ์ตรวจวัดการสั่นสะเทือนที่มีความละเอียดสูงมักมีราคาสูง นอกจากนี้ การพัฒนาอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบสมรรถภาพของโครงสร้างที่มีต้นทุนต่ำ อาจมีข้อจำกัดเรื่องของความสามารถในการวัดการสั่นสะเทือนระดับต่ำของโครงสร้างอาจทำได้ไม่ดีมาก ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจวัดการสั่นสะเทือนระดับต่ำของโครงสร้างด้วยระบบตรวจสอบสมรรถภาพของโครงสร้างต้นทุนต่ำให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการนำไปใช้งานจริงบนโครงสร้างประเภทต่าง ๆ ในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มจำนวนอุปกรณ์วัดระดับการสั่นสะเทือนเป็น 2 ชุด สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในตรวจวัดการสั่นสะเทือนระดับต่ำได้ดีขึ้น โดยเฉลี่ยประมาณ 10-15 %</p> อมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี, นคร ภู่วโรดม, สุเพชร จิรขจรกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2123 Fri, 07 Jul 2023 14:56:30 +0700 Influence of Forward Layered Models for Backcalculation Analysis Based on Falling Weight Deflectometer https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2645 <p>Backcalculation analysis is a commonly used non-destructive testing (NDT) procedure for assessing the in situ material properties of pavements. The accuracy of pavement moduli estimates obtained from FWD backcalculation analysis depends significantly on the forward model employed in the backcalculation process. In order to address this issue, this paper investigates the influence of the forward dynamic model on falling weight deflectometer backcalculation analysis. A dynamic layered model is considered and a corresponding computer code is developed to assess soil system response based on recorded FWD load impulses reported in the literature. This model is applicable to flexible layered pavements. The investigation presented in this study indicates the need for a careful interpretation of the predicted backcalculation moduli which is essential for the development of dynamic backcalculation programs and application in pavement design and construction.</p> Hudsadin Sirithepmontree, Poranic Jitareekul, ยโสธร ทรัพย์เสถียร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2645 Fri, 07 Jul 2023 14:58:54 +0700 การจำลองกระบวนการทดสอบน้ำหนักบรรทุกของสะพานด้วยการสร้างแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1979 <p>สะพานในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ถูกสร้างและใช้งานมามากกว่า 25 ปี ควรต้องได้รับการตรวจสอบและประเมินโครงสร้าง ในกรณีที่จะมีการขนส่งน้ำหนักบรรทุกหรือขนาดรถซึ่งมากกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นเดียวกันกับการก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่จะต้องมีการขนส่งคานทางวิ่งด้วยรถบรรทุกพ่วงขนาดใหญ่ ซึ่งต้องผ่านสะพานข้ามแยกหลักสี่ ดังนั้นการศึกษานี้จึงใช้สะพานข้ามแยกหลักสี่ ถนนแจ้งวัฒนะเป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ที่ให้ผลทางวิศวกรรมที่แม่นยำเพียงพอและใช้เวลาดำเนินการที่รวดเร็ว เพื่อใช้ในการจำลองกระบวนการทดสอบน้ำหนักบรรทุกของสะพาน รวมไปถึงการจำลองการขนส่งด้วยรถบรรทุกพ่วงขนาดใหญ่ ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ มีผลความคลาดเคลื่อนของการโก่งตัวไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดเมื่อเทียบกับการทดสอบภาคสนาม รวมทั้งยังใช้ระยะเวลาในการดำเนินการที่รวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ที่ได้จะถูกนำไปใช้ในการจำลองกระบวนการทดสอบสะพาน และการขนส่งของรถบรรทุกพ่วงขนาดใหญ่ในทางปฏิบัติต่อไป</p> กฤษฎา ลาภพาณิชยกุล, ชัยศักดิ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1979 Fri, 07 Jul 2023 15:01:44 +0700 การศึกษาพฤติกรรมและความสามารถในการรับแรงเฉือนทะลุ ของระบบจุดต่อระหว่างแผ่นพื้นคอนกรีตและเสาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2035 <p>งานวิจัยนี้เป็นการนำตัวอย่างทดสอบผลิตภัณฑ์ “ระบบจุดต่อฝังในพื้นคอนกรีตใช้งานร่วมกับเสาโครงสร้างเหล็กรูปพรรณกลวง (โพสต์คอนเน็คส์)” คิดค้นโดยนักวิจัยจาก บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี มากดทดสอบร่วมกับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1) หมุดเหล็กเสริมรับแรงเฉือน (Shear headed stud) 2) ความหนาของแผ่นเหล็กเสริมกำลังทั้งทางดิ่งและทางขวาง (Vertical and horizontal stiffeners) 3) เส้นผ่านศูนย์กลางของสลักเกลียว 4) กำลังดึงครากของเหล็กแผ่นหัวเสา โดยทดสอบเงื่อนไขละ 2 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบกำลังรับแรงเฉือนทะลุ (Punching shear) และศึกษาพฤติกรรมของผลิตภัณฑ์เมื่อรับน้ำหนักตรงศูนย์ในแนวดิ่ง โดยนำผลการทดสอบที่ได้มาประเมินเปรียบเทียบกับกำลังรับแรงเฉือนทะลุที่ได้จากการคำนวณตามมาตรฐาน ACI318-19 และทฤษฎี Critical Shear Crack Theory (CSCT) ผลการเปรียบเทียบพบว่า กำลังรับแรงเฉือนทะลุจากผลทดสอบที่มีและไม่มีหมุดเหล็กเสริมรับแรงเฉือนมีค่ามากกว่าที่คำนวณได้จากสมการประมาณ 42% และ 28% ตามลำดับ รวมถึงค่าจากผลทดสอบยังสอดคล้องไปกับทฤษฎี CSCT ดังนั้นจากผลการทดสอบสามารถสรุปได้ว่า “โพสต์คอนเน็คส์” มีความปลอดภัยจากการวิบัติแบบเฉือนทะลุ สามารถทำนายกำลังรับแรงเฉือนทะลุได้จากทฤษฎี CSCT และอนุมานได้ว่าสามารถนำมาใช้งานเป็นเสาโครงสร้างสำหรับงานอาคารเพื่อรับแรงในแนวดิ่งได้จริง</p> เมธี สุวรรณสนธิ์, ณัฐพล สุทธิธรรม, วิศาล ตรงศรีพาณิชย์, เอกชัย อยู่ประเสริฐชัย Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2035 Fri, 07 Jul 2023 15:07:51 +0700 การศึกษาน้ำหนักบรรทุกวิกฤตของการโก่งเดาะสำหรับกระบอกไฮดรอลิก เนื่องจากแรงที่กระทำแบบอยู่กับที่จากหอคอยกังหันลมด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1982 <p>การติดตั้งหอคอยกังหันลมสามารถใช้กระบอกไฮดรอลิกเพื่อช่วยในการติดตั้งและซ่อมบำรุงตามวงรอบการใช้งาน น้ำหนักบรรทุกวิกฤตเนื่องจากแรงที่กระทำแบบอยู่กับที่ของหอคอยกังหันลมส่งผลโดยตรงกับการโก่งเดาะของกระบอกไฮดรอลิก เพื่อศึกษาการโก่งเดาะของกระบอกไฮดรอลิกที่ถูกกระทำโดยน้ำหนักบรรทุกคงที่จากหอคอยกังหันลมระหว่างการใช้งานสามารถศึกษาได้จากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์การโก่งเดาะด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ผ่านโปรแกรม ANSYS® ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเมื่อความยาวของกระบอกไฮดรอลิกมีความชะลูดเพิ่มขึ้นความสามารถในการรับความเค้นของการโก่งเดาะของกระบอกจะลดลงตามลำดับ</p> ธนินทร์ ชื่นมาลัย, จิรวัฒน์ ยุทธประเวศน์, สมิทธิภัทร คำประพันธ์, Byungik Chang Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1982 Fri, 07 Jul 2023 15:14:33 +0700 การศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างอาคารด้วยโปรแกรม Etabs. กรณีศึกษา : โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง อาคารอยู่อาศัยรวมแปลงG https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1965 <p>การศึกษานี้ได้ให้ความสำคัญต่อระบบโครงสร้างอาคารสูงเพื่อความปลอดภัยขององค์รวมอาคารซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกำหนดเนื่องจากแรงกระทำภายนอกส่งผลต่อการหาแรงภายในที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากการเคหะแห่งชาติซึ่งอนุญาตให้ศึกษาอาคารอยู่อาศัยรวมแปลง G ขนาดความสูง 28 ชั้น ในโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ดังนั้นผู้จัดทำจึงกำหนดใช้โปรแกรม ETABS ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์โครงสร้างประเภทอาคารสูง โดยเฉพาะการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวที่กระทำต่ออาคารแบบพลศาสตร์ structure dynamics analysis ซึ่งอาคารหลังนี้ได้ใช้หลักเกณฑ์ มยผ.1301/1302-52 และได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2559 แต่ปัจจุบันได้มีการปรับใช้ มยผ.1301/1302-61 ดังนั้นผู้เขียนจึงได้ใช้มาตรฐานใหม่เพื่อเปรียบเทียบโดยการจำลองรูปแบบอาคารที่ถูกต้องเป็นสำคัญ เพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์โครงสร้างด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (FEM) เทียบเคียงกับแบบก่อสร้างต้นฉบับเดิม (as-built drawing) ของอาคารหลังนี้</p> ศรีเดช ใจสูง, ชาญชัย รัตน์นราทร, ถาวร ล่องตี้ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1965 Fri, 07 Jul 2023 15:18:29 +0700 ตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์การพังทลายต่อเนื่องด้วยวิธีสถิตยศาสตร์ไม่เชิงเส้น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2639 <p>งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์การพังทลายต่อเนื่องด้วยวิธีสถิตยศาสตร์ไม่เชิงเส้นของโครงข้อแข็งใน 2 มิติ พร้อมทั้งเลือกรูปแบบการวิบัติเริ่มต้น 3 ประเภทคือการวิบัติของเสาภายนอก การวิบัติของเสาภายในต่อเนื่อง 1 ช่วง และการวิบัติของเสาภายในต่อเนื่อง 2 ช่วง แบบอาคารที่ใช้ศึกษาเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีความสูง 2 ถึง 7 ชั้นโดยแต่ละชั้นสูง 3.0 ม. กว้างช่วงละ 5.0 ม. ใช้หน้าตัดคานขนาด 25x65 ซม. และหน้าตัดเสาขนาด 25x25 ซม. การศึกษาจะวิเคราะห์สถิตยศาสตร์ไม่เชิงเส้นเทียบกับพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการพังทลายต่อเนื่องจะทำการวิเคราะห์โครงสร้างทางพลศาสตร์ด้วยวิธีการจำลองมวลแบบเป็นก้อนด้วยการแบ่งชิ้นส่วนคานออกเป็น 8 ชิ้นส่วนย่อย และการวิเคราะห์โครงสร้างแบบไม่เป็นเชิงเส้นใช้วิธีการจำลองจุดหมุนแบบพลาสติกที่ปลายของชิ้นส่วนคาน จากการศึกษาโครงสร้างจำนวน 108 ตัวอย่างพบว่าการวิเคราะห์โครงสร้างสถิตยศาสตร์ไม่เชิงเส้นจะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์คืออัตราส่วนของโมเมนต์ดัด จำนวนชั้น และประเภทของโครงสร้าง ซึ่งอัตราส่วนของโมเมนต์ดัดที่มีค่าลดลงจะส่งผลให้ตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์มีค่าเพิ่มมากขึ้น จำนวนชั้นที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้ตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์มีค่าเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน และภายใต้เงื่อนไขเดียวกันลักษณะโครงสร้างไม่มีผลต่อตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อนำผลของตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์มาสร้างสมการทางคณิตศาสตร์จะสามารถสร้างสมการที่มีร้อยละของความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 0.0-8.8 เปอร์เซ็นต์ โดยสมการที่ใช้วิเคราะห์จะกำหนดให้อยู่ในรูปของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล</p> ฉัตรชัย อัครอำนวย, เกรียงศักดิ์ แก้วกุลชัย Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2639 Fri, 07 Jul 2023 15:23:02 +0700 การตรวจสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของโครงข้อแข็งคอนกรีตอัดแรงภายนอก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2620 <p>ปัจจุบันคอนกรีตอัดแรง ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น อาคาร โครงสร้างใต้ดิน โครงสร้างนอกชายฝั่ง โรงไฟฟ้า และสะพานชนิดต่างๆ เช่น สะพานขึง สำหรับในงานอาคารที่มีการใช้คอนกรีตอัดแรง ได้มีการออกแบบเป็นโครงสร้างต่างๆในองค์อาคาร เช่น คานคอนกรีตอัดแรง ระบบพื้นคอนกรีตอัดแรง หรือแม้กระทั่งโครงข้อหมุน บางครั้งก็ถูกออกแบบโดยใช้คอนกรีตอัดแรงเช่นกัน แต่โครงสร้างโครงข้อแข็งหรือเฟรม กลับยังไม่ค่อยพบว่ามีการออกแบบให้เป็นคอนกรีตอัดแรงในอาคารมากนัก เพราะมีความยุ่งยากและซับซ้อน ทำให้การตรวจสอบความปลอดภัยของโครงสร้างมีความซับซ้อนตามไปด้วย โครงงานนี้ศึกษาว่าหากใช้คอนกรีตอัดแรงในโครงสร้างเฟรมแล้ว จะส่งผลต่อพฤติกรรมของโครงสร้างโครงข้อแข็งคอนกรีตอัดแรงดังกล่าวอย่างไร และความปลอดภัยของโครงสร้างยังอยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้หรือไม่ ซึ่งจะทำการศึกษาโครงสร้างตัวอย่างกรณีศึกษา โดยจะมีการสร้างแบบจำลองในโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง SAP2000 และวิเคราะห์ผลเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกที่สภาวะทันทีที่ถ่ายแรงจากลวดสู่คอนกรีต สภาวะใช้งาน และสภาวะประลัย ทั้งนี้จะพิจารณาผลของการจัดน้ำหนักบรรทุกจร<br>ร่วมด้วย</p> สิกขพันธ์ วรปฏิสัมภิทา, สุรวุฒิ กิตติไกวัล, วัฒนชัย สมิทธากร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2620 Fri, 07 Jul 2023 15:25:35 +0700 แบบจำลองการพังทลายของอาคารด้วยแรงระเบิดเพื่อประโยชน์ในการรื้อถอนอาคาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2395 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพังทลายของอาคารจากแบบจำลองที่กำหนดขึ้นในกระบวนการศึกษา และหาแบบจำลองที่เหมาะสมในการนำเสนอรูปแบบการพังทลายที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการรื้อถอนอาคารด้วยแรงระเบิด โดยการสร้างแบบจำลองอาคารที่มีขนาดอัตราส่วน 1 ต่อ 10 ของขนาดอาคารจริง และทำการตั้งสมมุติฐานการพังทลายของอาคารด้วยการกำหนดขอบเขตการพังทลายจากแบบจำลองอาคารจำนวน 25 รูปแบบ พร้อมทั้งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของทิศทางการพังทลายของอาคารที่เกิดขึ้นและนำผลที่ได้มากำหนดชุดทดสอบด้วยการให้แรงกระทำตรงบริเวณที่กำหนดให้เกิดการวิบัติของอาคาร เพื่อนำผลการวิเคราะห์มาสร้างแบบจำลองจำนวน 3 รูปแบบ และใช้แรงระเบิดกระทำต่อจุดที่กำหนดในแบบจำลองเพื่อทำการวิเคราะห์ทิศทางการพังทลายของอาคารตามขอบเขตที่กำหนดและพิจารณาเปรียบเทียบขนาดของอาคารต่อขนาดของวัตถุประเบิดที่ใช้ในการทดสอบ จากผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองที่มีการกำหนดจุดให้พังทลายจากแรงระเบิดบริเวณกึ่งกลางเสาทุกต้นมีทิศทางการพังทลายของอาคารเป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้ โดยการพังทลายอยู่ในขอบเขตที่กำหนด รูปแบบการพังทลายดังกล่าวมีความเหมาะสมต่อการพัฒนาการกำหนดจุดพังทลายของอาคารด้วยการใช้แรงระเบิดสำหรับรื้อถอนอาคารในอนาคต</p> ชยานนท์ เจริญรัตน์, ชาคริต แสงจันทร์, เมธา ทัพซ้าย, ศักดินะ ไทยลา, วรานนท์ คงสง; พงศกร พรมสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2395 Fri, 07 Jul 2023 15:29:10 +0700 การเสริมกำลังเสาคอนกรีตเสริมเหล็กให้รับแรงแผ่นดินไหว ด้วยการคาดรัดของเหล็กเส้นแบน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2500 <p>ประเทศไทยมีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีข้อกังวลว่าเสาของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างมาก่อนมีกฎหมายบังคับเกี่ยวกับแรงแผ่นดินไหวนั้น จะมีกำลังรับแรงแผ่นดินไหวไม่เพียงพอหรือมีลักษณะการวิบัติแบบเฉือนที่ไม่สามารถสลายพลังงานได้ดี เสาของอาคารที่ตั้งในพื้นที่เสี่ยงภัยจึงควรได้รับการเสริมกำลังให้มีสมรรถนะในการรับแรงแผ่นดินไหวที่เหมาะสม การศึกษานี้จึงเสนอแนวทางการเสริมกำลังเสาด้วยการคาดรัดของเหล็กเส้นแบนเพื่อเพิ่มกำลังรับแรงเฉือนและป้องกันการโก่งเดาะของเหล็กเส้นตามยาว การพิจารณาประสิทธิภาพการเสริมกำลังทำด้วยการทดสอบเสาคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดหน้าตัดกว้าง 200 มิลลิเมตร และยาว 300 มิลลิเมตร สูง 1.25 เมตร โดยให้แรงอัดคงที่และแรงด้านข้างแบบสลับทิศ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการคาดรัดด้วยเหล็กเส้นแบนช่วยเปลี่ยนรูปแบบการวิบัติจากการวิบัติแบบเฉือนเป็นการวิบัติแบบดัดได้ จึงทำให้เสามีกำลังรับแรงด้านข้างที่สูงขึ้น และการคาดรัดช่วยเพิ่มความเหนียวและประสิทธิภาพในการสลายพลังงานได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การคาดรัดด้วยเหล็กเส้นแบนที่นำเสนอในงานวิจัยฉบับนี้ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการเสริมกำลังในเสาคอนกรีตเสริมเหล็กของอาคารที่ไม่ได้ออกแบบให้รับแรงแผ่นดินไหวในประเทศไทย</p> สมบูรณ์ เซี่ยงฉิน, อนันทพงษ์ กระจาย, ปรีดา ไชยมหาวัน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2500 Fri, 07 Jul 2023 15:32:04 +0700 เทคนิคการปรับปรุงโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเดิมแบบเยื้องศูนย์เพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหว ตาม มยผ.1303-57 และกฎกระทรวงปี 2564 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2463 <p>บทความนี้นำเสนอ เทคนิคการปรับปรุงโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเดิมแบบเยื้องศูนย์เพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหวจากการศึกษาพบว่า เมื่อใช้ค่าความเร่งเนื่องจากแรงแผ่นดินไหวตามกฎกระทรวงปี 2564 โดยอาคารอยู่ในเขต อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่ อาคารโครงสร้างเดิมที่ถูกออกแบบมาก่อนกฎกระทรวงประกาศใช้มีความไม่ปลอดภัยในส่วนของเสาและผนังรับแรงเฉือน จึงต้องทำการปรับปรุงโครงสร้างและเนื่องจากเงื่อนไขในงานก่อสร้างจึงต้องทำการปรับปรุงโครงสร้างโดยใช้เทคนิคในการก่อสร้างหลายวิธี อันได้แก่การเสริมเสาเข็มและฐานรากใหม่ การเสริมเสาเข็มใหม่ฐานรากเดิมด้วยวิธีต่อเหล็ก การเสริมผนังรับแรงเฉือนเดิมด้วยวิธีการ Fiber Reinforced Polymer, FRP การสร้างผนังรับแรงเฉือนใหม่</p> ภาณุภัค วิมลสันติรังษี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2463 Fri, 07 Jul 2023 15:34:44 +0700 การประเมินสมรรถนะของอาคารเหล็กรูปพรรณที่มีระบบโครงสร้างต้านทานแรงด้านข้างและความเหนียวแตกต่างกันภายใต้แรงแผ่นดินไหว https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2427 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวของอาคารเหล็กรูปพรรณที่มีความแตกต่างทางด้านระบบโครงสร้างต้านทานแรงด้านข้าง ความเหนียว และพื้นที่ตั้งของอาคาร ระบบโครงสร้างที่นำมาใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ประเภทประกอบด้วย 1.โครงต้านแรงดัดเหล็ก (Moment Resisting Frame) 2.โครงแกงแนงเหล็กตรงศูนย์ (Concentric Braced Frame) 3.โครงแกงแนงเหล็กเยื้องศูนย์ (Eccentric Braced Frame) ในแต่ละระบบโครงสร้างประกอบด้วยระดับความเหนียว 3 ระดับ 1.แบบธรรมดา (Ordinary) 2.ความเหนียวปานกลาง (Intermediate/Limited) 3.มีความเหนียวพิเศษ (Special/Ductile) ของอาคารที่มีความสูง 8 ชั้น ที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร จากนั้นทำการออกแบบและประเมินความสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวด้วยวิธีการผลักอาคารแบบสถิตไม่เชิงเส้น (Nonlinear-Static Pushover Analysis) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นพฤติกรรมการวิบัติของโครงสร้างอาคารเหล็กรูปพรรณตั้งแต่ช่วงยืดหยุ่นไปจนถึงช่วงไม่ยืดหยุ่น ที่มีการพิจารณาถึงผลของกำแพงอิฐก่อ โดยผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นถึงเส้นโค้งกำลัง (Capacity Curve) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงเฉือนที่ฐาน (Base Shear) กับการเคลื่อนตัวด้านข้างที่ชั้นหลังคา (Roof displacement) ของอาคารเหล็กรูปพรรณที่ถูกออกแบบให้มีระบบโครงสร้างต้านทานแรงด้านข้างและความเหนียวแตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่าอาคารโครงต้านแรงดัดเหนียวปานกลางมีค่ากำลังส่วนเกิน 2.36 เท่า โดยความสามารถในการดูดซับและสลายพลังงานจะขึ้นอยู่กับระดับความเหนียวของอาคาร ซึ่งจะทำให้โครงสร้างสามารถดูดซับและสลายพลังงานจากแผ่นดินไหวได้มากขึ้น สำหรับผลของระบบโครงสร้างพบว่าอาคารโครงแกงแนงตรงศูนย์สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้สูงสุด อีกทั้งผลของกำแพงอิฐก่อจะช่วยเพิ่มกำลังการต้านทานแรงแผ่นดินไหวของอาคารในขณะที่กำแพงอิฐก่อยังไม่เกิดการวิบัติเป็นประมาณ 210%</p> นารเมธ ปรีไทย, วิโรจน์ บุญญภิญโญ, จิรวัฒน์ จันทร์เรือง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2427 Fri, 07 Jul 2023 21:16:16 +0700 Comparative Study on Seismic Resistant Design Using Base Isolation System https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2128 <p>Earthquakes are the most destructive natural hazards throughout human history. Seismic-resistant design is important in areas of the world where earthquakes are common as it can help to reduce the risk of loss of life and property damage. To reduce the effects of earthquakes on buildings, a base isolation system is a type of seismic-resistant design to improve the seismic performance of the buildings. This study investigates and compares the seismic performance of the buildings with and without the base isolation system. A seven-storey RC building is used as a target numerical model. The high-damping rubber bearings with three different damping ratio values are used as the seismic isolation device. The isolators are placed at the base of all columns of the building to lengthen the period of vibration of the building. This affects the reduction of the base shear which induced by the earthquake. According to International guidelines, isolators are designed based on support reaction under only gravity load after performing static analysis to obtain unfactored column loadings. The response spectrum analysis is used in dynamic analysis. The displacement of the base isolation system is larger than that of the fixed base buildings even as having lower story accelerations, story drifts ratios, and story shears. The high-damping rubber bearings have a high damping coefficient which can dissipate a significant amount of energy during an earthquake, reducing the seismic forces and displacements on the structure.</p> ภาณุมาศ ไทรงาม, Hnin Hnin Hlaing Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2128 Fri, 07 Jul 2023 21:19:04 +0700 อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับฐานรากชิดเขตต่อผลตอบสนองของโครงสร้างภายใต้แรงแผ่นดินไหว https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2037 <p>งานวิจัยนี้ศึกษากรณีของโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้นที่ตั้งอยู่บนฐานรากชิดเขตที่มีการโยกตัว 2 กรณี ได้แก่ อาคารที่ไม่ได้ออกแบบต้านทานแรงแผ่นดินไหวและอาคารที่ออกแบบต้านทานแรงแผ่นดินไหว ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวของมาตรฐานกรมโยธิการและผังเมือง มยผ.1302-52 อีกทั้งศึกษาอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างฐานรากกับดิน โดยพิจารณาขนาดของฐานรากชิดเขตที่ตั้งอยู่บนชั้นดิน 3 ชนิด ได้แก่ ดินทราย ดินเหนียวอ่อน และดินเหนียวแข็ง โดยเปรียบเทียบกับฐานรากแบบยึดแน่น และประเมินความเสียหายของโครงสร้างตามมาตรฐาน Federal Emergency Management Agency, (FEMA356) โดยพิจารณาค่ามุมบิดพลาสติกที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้างเมื่อรับแรงแผ่นดินไหว จากการศึกษาพบว่า โครงสร้างที่ตั้งอยู่บนฐานรากชิดเขตที่มีการโยกตัวบนชั้นดินเหนียวอ่อน สามารถลดแรงเฉือนที่ฐานและความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าฐานรากแบบยึดแน่น</p> วิศรุต จันทร์สุวรรณ, สุชาติ ลิ่มกตัญญู, วรเทพ แซ่ล่อง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2037 Fri, 07 Jul 2023 21:23:42 +0700 การเสริมกําลังต้านทานแผ่นดินไหวโครงเฟรมคอนกรีตเสริมเหล็กภายนอกที่มีเสาอ่อนแอ ด้วยค้ำยันที่จุดต่อ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2021 <p>มีอาคารที่อ่อนแอต่อแผ่นดินไหวจำนวนมากในพื้นที่ภาคเหนือที่ออกแบบและก่อสร้างก่อนกฎหมายควบคุมการออกแบบต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวโดยลักษณะของโครงสร้างนั้นต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งบทความนี้ได้นำเสนอผลการทดสอบการให้แรงสลับทิศของตัวอย่างโครงเฟรมคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็กภายนอก จำนวน 3 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 1 เป็นตัวอย่างโครงเฟรมที่มีลักษณะเสาอ่อน-คานแข็ง ตัวอย่างที่ 2 และ 3 มีรายละเอียดเหมือนกับตัวอย่างที่ 1 แต่มีการเสริมกำลังจุดต่อด้วยค้ำยันเหล็กกล่องกลวงและค้ำยันเหล็กกล่องกรอกมอร์ต้ากำลังอัดสูงไม่หดตัว ผลการทดสอบพบว่าตัวอย่างที่ไม่เสริมกำลังเกิดรอยร้าวแนวทแยงที่จุดต่อคาน-เสาอย่างรุนแรง ทำให้กำลังรับแรงด้านข้างลดลงอย่างรวดเร็ว มีค่ากำลังสูงสุด 15.02 กิโลนิวตัน ส่วนตัวอย่างที่มีการเสริมกำลังด้วยการค้ำยันที่จุดต่อคาน-เสานั้นสามารถเพิ่มกำลังในการรับแรงสลับทิศ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ไม่ได้เสริมกำลังสามารถรับได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยทั้งสองทิศทาง 64.86% และ 157.27% ตามลำดับ ในบริเวณพื้นที่จุดต่อคาน-เสาพบรอยแตกร้าวแนวทแยงในทุกตัวอย่าง ซึ่งในสภาวะประลัยตัวอย่างที่มีการเสริมกำลังเหล็กกล่องเกิดการโก่งเดาะที่บริเวณใกล้เคียงกับรอยเชื่อมระหว่างเหล็กกล่องกับแผ่นเหล็ก</p> เมธาวิกร สืบก่ำ, ชยานนท์ หรรษภิญโญ, ปิยะพงษ์ วงค์เมธา, กิตติศักดิ์ ขอนเอิบ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2021 Fri, 07 Jul 2023 21:28:40 +0700 การประยุกต์ใช้แถบยางพาราอัดแรงในการลดการสั่นของคานคอนกรีตอัดแรง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2549 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประยุกต์ใช้แถบยางพาราอัดแรงมาใช้ในการลดระยะเวลาการสั่นของคานคอนกรีตอัดแรงโดยการเพิ่มอัตราส่วนความหน่วง ในงานวิจัยนี้จะนำยางรองคานสะพานชนิดที่ทำจากยางธรรมชาติ มาติดตั้งบริเวณด้านล่างและกึ่งกลางคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ ที่มีความยาวช่วงคาน 20 เมตร การทดสอบจะทำโดยใช้ก้อนคอนกรีตขนาด 50x80x40 เซนติเมตร มากระแทกเพื่อหาอัตราส่วนความหน่วง (damping ratio) ของคาน โดยการทดสอบจะมีทั้งหมด 4 กรณี โดยกรณีที่ 1 จะไม่เสริมแถบยางพาราอัดแรง และกรณีที่ 2 3 และ 4 จะเสริมยางพาราจำนวน 1 แผ่น 3 แผ่น และ 5 แผ่นตามลำดับ จากผลการทดสอบพบว่า คานเดิมจะมีอัตราส่วนความหน่วงอยู่ที่ระดับ 1.34% เมื่อเสริมแถบยางพาราจำนวน 1 แผ่น อัตราส่วนความหน่วงของคานมีค่าเท่ากับ 1.68 % และเมื่อเสริมแถบยางพารา 3 แผ่น และ 5 แผ่น อัตราส่วนความหน่วงจะมีค่าเท่ากับ 1.99% และ 3.31% ตามลำดับ จากผลการทดสอบสามารถสรุปได้ว่า แถบยางพาราอัดแรงสามารถช่วยเพิ่มอัตราส่วนความหน่วงให้กับคานคอนกรีตอัดแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอัตราส่วนความหน่วงจะเพิ่มได้มากถึงสองเท่า เมื่อใช้แถบยางพาราจำนวน 5 แผ่นการประยุกต์ใช้แถบยางพาราอัดแรงในการลดการสั่นของคานสะพานคอนกรีตอัดแรงที่มีปัญหาการสั่นสะเทือนจากการจราจรควรมีการศึกษาในอนาคตต่อไป</p> นครินทร์ ชาญณรงค์, กิตติภูมิ รอดสิน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2549 Fri, 07 Jul 2023 21:31:34 +0700 การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของกำลังรับแรงเฉือนเจาะของพื้นสะพานคอนกรีต: กรณีศึกษา สะพานสิริลักษณ์ จังหวัดราชบุรี https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2529 <p>ประเทศไทยมีการอัตราการขนส่งที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการขนส่งทางบกและการสัญจรบนโครงสร้างสะพาน การสัญจรของยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้พื้นสะพานได้รับความเสียหายเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นรวมถึงน้ำหนักบรรทุกที่กระทำต่อโครงสร้างสะพานเป็นเวลานาน การประเมินสภาพสะพานต้องคำนึงถึงพฤติกรรมการรับน้ำหนักบรรทุกและสภาพปัจจุบันของโครงสร้างสะพานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ขับขี่และประชาชนผู้ใช้ทาง ส่งผลให้งานวิจัยนี้พิจารณาสะพานสิริลักษณ์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นกรณีศึกษาเพื่อดำเนินการตรวจสอบสภาพสะพานโดยวิธีแบบไม่ทำลายและนำข้อมูลจากภาคสนามมาใช้ในการสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ร่วมกับสมการเชิงวิเคราะห์สำหรับการทำนายน้ำหนักบรรทุกภายใต้การวิบัติแบบแรงเฉือนเจาะของพื้นสะพาน ผลการศึกษาพบว่าการลดลงของกำลังรับแรงอัดประลัยส่งผลต่อสติฟเนทเริ่มต้นและกำลังต้านทานแรงสูงสุด รวมถึงพื้นสะพานมีการกระจายตัวของรอยร้าวลดลง</p> ปฏิภาณ สางห้วยไพร, วิทิต ปานสุข, ธัญพิสิฐ มโนมัยพิบูลย์, บพิตร ศรีหัตถกรรม, ทศพร ประเสริฐศรี, ปัญญาวุธ จิรดิลก, วีรพร พงศ์ติณบุตร, ธิดารัตน์ วิสุทธิ์เสรีวงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2529 Fri, 07 Jul 2023 21:36:01 +0700 ผลกระทบของน้ำท่วมต่อคุณสมบัติทางพลศาสตร์ของโครงสร้างทางรถไฟแบบมีหินโรยทาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2512 <p>โครงสร้างทางรถไฟแบบมีหินโรยทาง (Ballasted Track) เป็นโครงสร้างทางหลักที่ใช้ในประเทศไทย และมีการขยายตัวของโครงข่ายทั่วประเทศเนื่องจากมีความง่ายและสะดวกในการก่อสร้างทำให้เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าต่อการก่อสร้างทางรถไฟ ภาวะโลกร้อนได้ส่งผลให้เกิดความผันผวนในสภาพอากาศมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มีฝนตกหนักมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้เกิดน้ำท่วมในโครงสร้างทางรถไฟหลายแห่งในประเทศไทย ดังนั้นผลกระทบของน้ำท่วมที่มีต่อคุณสมบัติทางพลศาสตร์ของโครงสร้างทางรถไฟแบบมีหินโรยทางเป็นสิ่งที่ควรทำการศึกษาอย่างยิ่ง การศึกษาในอดีตได้มีความพยายามในการศึกษาถึงผลกระทบของการน้ำท่วมที่มีต่อพฤติกรรมทางพลศาสตร์ของโครงสร้างทางรถไฟแบบมีหินโรยทางไว้มากมาย อย่างไรก็ตามปัญหาที่ยังไม่ได้มีการศึกษามากนัก นั้นคือการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของ รูปแบบการสั่นพื้นฐาน (Fundamental Mode Shape) และ ค่าความถี่ธรรมชาติ (Natural Frequency) ของไม้หมอนทางรถไฟภายใต้การพัดพาไปของชั้นหินโรยทาง จากการศึกษาพบว่า ความเปลี่ยนแปลงของความถี่ธรรมชาติในแต่ละโหมดจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมือนกัน ยิ่งโหมดของการสั่นมีค่ามากขึ้นเท่าไหร่ ค่าร้อยละความเปลี่ยนแปลงของความถี่ธรรมชาติยิ่งจะมีค่าที่น้อยตามลงไป ความเปลี่ยนแปลงของความถี่ธรรมชาติจะมีการเพิ่มขึ้นในช่วงที่หินโรยทางหายไปเป็นบางส่วน (25%) แล้วค่อยๆลดลงจนกลับไปใกล้เคียงค่าเดิมเมื่อไม่มีผลกระทบของการพัดพาชั้นหินโรยทาง และ รูปแบบการสั่นพื้นฐาน 2 โหมดแรกของโครงสร้างนั้นไม่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียฐานรองรับมากนัก อย่างไรก็ตามในโหมดที่ 3 จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสั่นพื้นฐานในกรณีที่ชั้นหินโรยทางมีการรองรับแบบไม่สมมาตร</p> รตภัทร หวังทวีทรัพย์, ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี, ชยุตม์ งามโขนง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2512 Fri, 07 Jul 2023 21:41:46 +0700 การศึกษาการยกโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนแผ่นยางรองคานทางพิเศษเฉลิมมหานคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2190 <p>โครงสร้างทางพิเศษส่วนใหญ่ประกอบด้วย โครงสร้างส่วนบน และโครงสร้างส่วนล่าง โดยมีแผ่นยางรองคานติดตั้งอยู่ระหว่างโครงสร้างทั้งสองเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักที่เกิดจากโครงสร้างส่วนบนและน้ำหนักที่เกิดจากยานพาหนะ รวมถึงรองรับการเคลื่อนตัวของโครงสร้าง จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่าแผ่นยางรองคานของทางพิเศษเฉลิมมหานครบางตำแหน่งมีการเสื่อมสภาพเนื่องจากมีอายุการใช้งานมากกว่า 30 ปี ทำให้พฤติกรรมเชิงโครงสร้างบริเวณฐานรองรับไม่เป็นไปตามที่ออกแบบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแผ่นยางรองคานและวัสดุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการบำรุงรักษาโครงสร้างทางพิเศษให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต่อไป บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแผ่นยางรองคาน ได้แก่ การสำรวจและประเมินความเสียหายของแผ่นยางรองคาน แนวทางการวิเคราะห์และออกแบบวิธีการยกโครงสร้าง การวิเคราะห์โครงสร้างก่อนดำเนินการยก ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินการยกโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนแผนยางรองคาน ภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือทางพิเศษต้องสามารถเปิดให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง โดยต้องคำนึงถึงผู้ใช้ทางพิเศษ และประชาชนที่สัญจรผ่านใต้ทางพิเศษ หรือประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ให้มีความปลอดภัยตลอดเวลา</p> อิศราพงษ์ ขานทอง, นันทวรรณ พิทักษ์พานิช, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร, สราวุธ พรหมาด Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2190 Fri, 07 Jul 2023 21:45:04 +0700 ผลของอาคารข้างเคียงต่อแรงลมเฉพาะที่ของอาคารสูงโดยวิธีการทดสอบแบบจำลองในอุโมงค์ลม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2145 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของอาคารข้างเคียงในรูปแบบการจัดเรียงที่แตกต่างกันที่ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์หน่วยแรงลมของอาคารหลักโดยการทดสอบในอุโมงค์ลมด้วยวิธีวัดแรงดันเฉพาะที่ (Local Pressure Measurement) โดยทำการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์หน่วยแรงลมอาคารหลักที่ไม่มีอาคารข้างเคียง (อาคารเดียว) กับอาคารหลักที่ถูกบดบังจากอาคารข้างเคียงในระยะต่างๆและนำเสนอในรูปแบบของค่าตัวประกอบการรบกวนลม (Interference Factor) ในอาคารหลักที่มีอาคารข้างเคียง ณ ตำแหน่งที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาพบว่าค่าสัมประสิทธิ์หน่วยแรงลมของอาคารหลักที่มีอาคารข้างเคียงอยู่ในลักษณะเฉียง ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์หน่วยแรงดูดสูงสุดรุนแรงกว่าอาคารหลักที่มีอาคารข้างเคียงอยู่ในลักษณะในแนวเดียวกัน ผลกระทบการรบกวนระหว่างอาคารสูงทั้งสองอาคารสำหรับค่าสัมประสิทธิ์หน่วยแรงดันสูงสุดและค่าสัมประสิทธิ์หน่วยแรงดูดสูงสุดที่จุดวัดแต่ละจุดของอาคารหลักที่มีอาคารข้างเคียงถูกนำเสนอและอภิปราย</p> ชุติสุดา ผดุงโอษฐ, รศ.ดร.วิโรจน์ บุญญภิญโญ, ดร.จิรวัฒน์ จันทร์เรือง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2145 Fri, 07 Jul 2023 21:48:35 +0700 การวิเคราะห์โครงสร้างกังหันลมขณะหมุนด้วยพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2357 <p>ในปัจจุบันพลังงานทางเลือกได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เพิ่มมากขึ้นและจากแนวโน้มการใช้พลังงานทางเลือกของโลกพบว่า ลมเป็นแหล่งพลังงานที่มีความนิยมอันดับต้นๆ และ ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างกังหันลมนั้นมีความน่าสนใจ ในงานวิจัยนี้จึงทำการวิเคราะห์แรงจากกระแสลมที่กระทำต่อตัวกังหันขนาด 5 MW ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้า พิจารณาสภาวะที่กังหันลมสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุดที่ความเร็วลม 11.4 เมตรต่อวินาที ณ รอบความเร็วการหมุนกังหัน 12 รอบต่อนาที โดยในการวิจัยได้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ขั้นตอน ในขั้นตอนแรก ผู้วิจัยได้สร้างแบบจำลองโครงสร้างที่มีความละเอียดสูงโดยพิจารณาการหมุนของใบพัดกังหันไปพร้อมกันซึ่งจะมีความละเอียดถูกต้องมากยิ่งขึ้นในเชิงพฤติกรรม ซึ่งผลของแรงลมที่เกิดจากการไหลผ่านของอากาศกระทำต่อแบบจำลองด้วยการวิเคราะห์พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ Computational Fluid Dynamics (CFD) พบว่ามีค่าใกล้เคียงกับงานวิจัยในอดีต ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำผลของแรงลมที่ได้จากการวิเคราะห์ในขั้นต้นมาวิเคราะห์โครงสร้างเสากังหันที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมลมที่ความหนาเหล็กที่แตกต่างกันโดยใช้แบบจำลองอย่างง่าย (Simplified structural model) ซึ่งจากการศึกษาพบว่าโครงสร้างเสากังหันที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีความแข็งแรงเพียงพอภายใต้เงื่อนไขแรงลมดังกล่าว</p> ธรา ทานวีร์, ทรงพล จารุวิศิษฏ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2357 Fri, 07 Jul 2023 21:52:13 +0700 การศึกษาพฤติกรรมของเหล็กเสริมที่ฝังในท่อ Corrugated Duct https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2556 <p>งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมและลักษณะการวิบัติของรอยต่อโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปซึ่งใช้เหล็กเสริมที่ฝังในท่อเหล็กลูกฟูกชุบสังกะสี ภายใต้อัตราส่วนของวัสดุประสานที่แตกต่างกัน 4 สัดส่วน คือ อัตราส่วนการผสมระหว่างปูนเกร้าท์ (Non-Shrink Grout) กับปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 (Portland Cement Type 1) ในอัตราส่วนปูนเกร้าท์ต่อปูนซีเมนต์ 1:0, 1:1, 1:2 และ 1:3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสามารถในการรับแรงดึงและพฤติกรรมของรอยต่อประเภทนี้ผ่านกำลังที่พัฒนาร่วมกันระหว่างเหล็กเสริมกับวัสดุประสานในท่อลูกฟูก จากผลการทดสอบพบว่าเหล็กเสริมที่ทำงานในท่อเหล็กลูกฟูกร่วมกับวัสดุประสานในอัตราส่วน 1:0, 1:1 และ 1:2 สามารถรับกำลังดึงจนเกิดการวิบัติที่เหล็ก ในส่วนของเหล็กเสริมที่ทำงานในท่อเหล็กลูกฟูกร่วมกับวัสดุประสานในอัตราส่วน 1:3 อาจจะยังไม่ชัดเจนว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานก่อสร้างจริงได้ เนื่องจากพฤติกรรมการรับกำลังดึงของเหล็กเสริมของชิ้นตัวอย่างทดสอบ 1 จาก 3 ชิ้น รับกำลังได้ถึงจุดครากและจุดประลัยแต่ไปไม่ถึงจุดวิบัติของเหล็ก เนื่องจากเกิดการรูดระหว่างเหล็กเส้นกับวัสดุประสาน</p> วัฒนพงศ์ หิรัญมาลย์, ศิรัณ หงษ์ยศ, ชวลิต แซ่ฟ้า, วุฒิชัย หาญสุวรรณชัย, สิทธิพร กุลวงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2556 Fri, 07 Jul 2023 21:58:33 +0700 กำลังรับแรงดึงของแท่งพอลิเมอร์เสริมใยแก้วภายหลังสภาวะเพลิงไหม้ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2416 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของแท่งพอลิเมอร์เสริมใยแก้วในด้านความต้านทานการรับแรงดึงสูงสุด ภายหลังจากการเผาไหม้ โดยในการศึกษาครั้งนี้จะทำการทดสอบแท่งพอลิเมอร์เสริมใยแก้วขนาด 16, 20 และ 25 มิลลิเมตร และให้ความร้อนกับแท่งพอลิเมอร์เสริมใยแก้วด้วยอัตราความร้อนคงที่เท่ากับ 20 องศาเซลเซียสต่อนาที ซึ่งอุณหภูมิเป้าหมายที่ศึกษาคือ 25, 100, 200, 300 และ 400 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่าการเผาไหม้ที่ระดับอุณหภูมิ 100 และ 200 องศาเซลเซียส ค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดของแท่งพอลิเมอร์เสริมใยแก้วมีค่าที่สูงขึ้นมากกว่าที่ระดับอุณหภูมิห้องเล็กน้อย และมีค่าลดลงเมื่อระดับอุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่าหากอุณหภูมิมีค่าเกิน 400 องศาเซลเซียส ค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดของแท่งพอลิเมอร์เสริมใยแก้วจะมีค่าลดลงอย่างมากแบบไม่เป็นเชิงเส้น สำหรับขนาดตัวอย่างในการทดสอบของแท่งพอลิเมอร์เสริมใยแก้วนั้นพบว่าการเผาไหม้ที่อุณหภูมิเดียวกันค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่กว่ามีค่ามากกว่าขนาดที่เล็กกว่าเพียงเล็กน้อย</p> ชนะชัย ทองโฉม, สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2416 Fri, 07 Jul 2023 22:13:00 +0700 การศึกษาแรงยึดเหนี่ยวของแท่ง GFRP กับคอนกรีตและการรับแรงภายในของคานคอนกรีตที่เสริมแรงด้วยเหล็กเสริมและแท่ง GFRP https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2271 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังยึดเหนี่ยวของแท่ง GFRP (Glass Fiber Reinforce Polymer) กับคอนกรีต และพฤติกรรมการรับแรงภายในของคานคอนกรีตที่เสริมกำลังด้วยเหล็กเสริมและแท่ง GFRP ด้วยระบบการติดตั้งใกล้ผิว (Near-Surface-Mount System, NSM) ตัวอย่างทดสอบกำลังยึดเหนี่ยวเป็นรูปทรงลูกบาศก์ขนาด 150 มิลลิเมตร โดยแท่ง GFRP จะถูกฝังในคอนกรีตที่ระยะฝังและระยะขอบจากผิวแตกต่างกัน โดยแท่ง GFRP จะถูกเชื่อมประสานด้วยอีพ๊อกซี่ คานที่ศึกษาพฤติกรรมการรับแรงภายในมีขนาดหน้าตัด 150x250 มิลลิเมตร ยาว 2000 มิลลิเมตร ตัวอย่างคานคอนกรีตเสริมเหล็กจะถูกเสริมกำลังด้วยเหล็กเส้นและแท่ง GFRP และถูกทดสอบด้วยการดัดแบบ 4 จุด ผลการทดสอบได้พบว่า การกรีดร่องและการเชื่อมประสานแท่ง GFRP กับคอนกรีตด้วยอีพ๊อกซี่สามารถช่วยให้กำลังยึดเหนี่ยวมากกว่าการฝังแท่ง GFRP ลงในคอนกรีตโดยตรง การเพิ่มระยะฝังของแท่ง GFRP ในคอนกรีตส่งผลทำให้แรงถอนมีค่ามากขึ้น แต่กำลังยึดเหนี่ยวมีค่าลดลง นอกจากนี้ การเพิ่มระยะหุ้มของคอนกรีต(ระยะขอบ) ให้กับแท่ง GFRP ไม่ส่งผลทำให้กำลังยึดเหนี่ยวมากขึ้น การทดสอบแรงภายในของคานคอนกรีตพบว่า คานคอนกรีตเสริมแท่ง GFRP ให้ค่าแรงดัดและสตีฟเนสหลังการแตกร้าวน้อยกว่าคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เนื่องจากแท่ง GFRP มีค่ามอดุลัสยืดหยุ่นน้อยกว่าเหล็กเส้นอย่างมาก นอกจากนี้การเสริมกำลังคานด้วยแท่ง GFRP ให้ค่าแรงดัดมากขึ้นเมื่อเทียบกับคานควบคุม แต่ไม่ได้เพิ่มสตีฟเนสของคานหลังการแตกร้าว</p> วรากร อุ่นสมบัติ, ชูชัย สุจิวรกุล, ประวีณ ชมปรีดา Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2271 Fri, 07 Jul 2023 22:18:34 +0700 พฤติกรรมรอยต่อของคานคอนกรีตสมรรถนะสูงเสริมเส้นใย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2154 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เชื่อมต่อด้วยคอนกรีตสมรรถนะสูงและปูนแบบไม่หดตัว โดยทำการทดสอบแรงดัดแบบ 4 จุด มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะของการเชื่อมต่อในการถ่ายเทแรงในคานและสังเกตการณ์บริเวณวิกฤตของรอยเชื่อมต่อ ตัวอย่างคานที่ใช้ทดสอบมีความยาว 700 มิลลิเมตร หน้าตัดคาน 150 มิลลิเมตร และลึก 150 มิลลิเมตร โดยพิจารณาขนาดของตัวอย่างคานจากแบบคอนกรีต และขนาดของเครื่องทดสอบ ออกแบบคอนกรีตกำลังอัดรูปทรงกระบอกมาตรฐานบ่มด้วยอากาศที่ 28 วัน มีค่าเท่ากับ 320 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ใช้เหล็กข้ออ้อยรับแรงดึงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มิลลิเมตร ชั้นคุณภาพ SD40 ตัวแปรที่ใช้ในการทดสอบ คือ ระยะทาบของเหล็กเสริมและอัตราส่วนความลึกของคอนกรีตสมรรถนะสูงกับปูนแบบไม่หดตัว ในช่วงกลางคานที่มีการเชื่อมต่อใช้ระยะทาบของเหล็กที่ 3 6 และ 9 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเสริม ความลึกของคอนกรีตสมรรถนะสูงจะมี 3 ระดับคือ 50 มิลลิเมตร 75 มิลลิเมตร และ 100 มิลลิเมตร ของความลึกคาน โดยทำการหล่อตัวอย่างทั้งหมด 30 ตัวอย่าง และทดสอบภายใต้ตัวแปรที่กำหนดแบบละ 3 ตัวอย่าง ทำการบันทึกรูปแบบการวิบัติ การแตกร้าว และการตอบสนองต่อแรง แล้วทำการอภิปรายผลการทดสอบภายใต้พารามิเตอร์การทดสอบที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาระยะทาบ และความลึกที่รับแรงได้มากที่สุดคือ 85.05 กิโลนิวตัน ในระยะทาบที่ 9 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเสริม ความลึก 100 มิลลิเมตร แต่ความแข็งแรงยังน้อยกว่าคานที่ไม่มีการเชื่อมต่อคือ 148.11 กิโลนิวตัน อยู่ถึง 43 เปอร์เซ็นต์</p> นฤสรณ์ ศรีสวัสดิ์, ชิตพล เรืองกูล, ณัฐนันท์ โชติพัฒนกิจ, วิชัยรัตน์ แก้วเจือ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2154 Fri, 07 Jul 2023 22:22:56 +0700 ผลกระทบของการใช้สารเชื่อมประสานที่ผิวสัมผัสและความขรุขระ ที่มีต่อแรงยึดหน่วงแบบเฉือนตรงระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2322 <p>การประสานคอนกรีตใหม่บนคอนกรีตเดิมสำหรับการซ่อมแซมหรือการเสริมกำลังโครงสร้าง จะต้องคำนึงถึงการถ่ายแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างจุดต่อได้แก่ แรงดึง แรงอัด และโมเมนต์ การส่งถ่ายแรงที่สำคัญหนึ่งคือแรงเฉือนระหว่างจุดต่อ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ หลากหลายงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาตัวแปรต่างๆ ที่ส่งผลต่อแรงยึดเหนี่ยวแบบเฉือนตรงระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตใหม่ ตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 mm ยาว 300 mm โดยทำการต่อกันในช่วงกลางระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตใหม่ ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1) ลักษณะของผิวสัมผัส 2 ลักษณะ ผิวเรียบ และผิวขรุขระ และ (2) การใช้สารเชื่อมประสานชนิดต่างๆ (อีพ็อกซี เรซิน, ลาเทกซ์, กาวซีเมนต์ และคลิสตัลไลน์) บนผิวสัมผัส จากการศึกษาพบว่า ลักษณะผิวสัมผัสบริเวณจุดต่อที่มีความขรุขระจะให้ความสามารถในการรับแรงยึดหน่วงแบบเฉือนตรงได้ดีกว่าผิวสัมผัสแบบเรียบ และการใช้สารเชื่อมประสานเป็นชั้นกลาง โดยเฉพาะสารเชื่อมประสานประเภทอีพ็อกซี เรซิน สามารถเพิ่มแรงยึดหน่วงแบบเฉือนตรงได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน</p> ชูชัย สุจิวรกุล, วาสิฏฐกฤษ จันทร์เกตุ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2322 Fri, 07 Jul 2023 22:27:42 +0700 พฤติกรรมการต้านทานของคานไม้ยางพาราประกอบภายใต้แรงกระแทก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1977 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการต้านทานและการโก่งตัวของคานไม้ยางพาราประกอบและคานไม้ยางพาราประกอบเสริมแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ภายใต้แรงกระแทก โดยทำการทดสอบแบบคานช่วงเดียวที่มีความยาวคาน 1.00 m, 1.50 m และ 2.00 m โดยปล่อยน้ำหนัก 15 kg ที่ความสูงคือระยะ 0.60 m, 0.80 m &nbsp;และ 1.00 m เพื่อนำมาศึกษาพฤติกรรมการต้านทานแรงกระแทกของคานไม้ยางพาราประกอบก่อนใช้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มาเสริมกำลัง และหลังใช้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มาเสริมกำลัง ผลการทดสอบพบว่าไม้ยางพาราจัดอยู่ในประเภทไม้เนื้ออ่อน ตามมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) เมื่อนำข้อมูลการทดสอบแรงกระแทกแบบการปล่อยน้ำหนักลงเพียงหนึ่งครั้งมาเปรียบเทียบโดยคิดค่าความแตกต่างของการโก่งตัวระหว่างคานไม้ยางพาราประกอบที่เสริมและไม่เสริมแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ ตามความสูงของการปล่อยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ในกลุ่มของความยาวคานที่ 1.00, 1.50 และ 2.00 m พบว่าคานไม้ยางพาราประกอบที่เสริมแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ให้ค่าการโก่งตัวน้อยกว่าคานที่ไม่เสริมแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ โดยอยู่ในช่วงร้อยละ 30.43 ถึง 33.33, 30.23 ถึง 35.29 และ 33.17 ถึง 35.38 ตามลำดับ สำหรับการทดสอบคานจนกระทั่งให้การวิบัติ พบว่าลักษณะการวิบัติของคานไม้ยางพาราประกอบเสริมแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มีลักษณะการวิบัติที่เหนียวกว่า คานไม้ยางพาราประกอบที่ไม่ได้เสริมแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์</p> พงศ์ศักดิ์ ศุขมณี, นันทชัย ชูศิลป์; นภดล คงเพชร, อาศิส อัยรักษ์, สมมาตร์ สวัสดิ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1977 Wed, 05 Jul 2023 11:52:30 +0700 พฤติกรรมของคานไม้ประกอบร่วมกับแผ่นเหล็กบางภายใต้การดัด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2568 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับน้ำหนัก การโก่งตัว และการวิบัติของคานไม้ประกอบจากไม้สะเดาเทียมและไม้ยางพาราภายใต้การดัด โดยคานไม้ประกอบมีขนาดหน้าตัดกว้าง 5 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตร ยาว 140 เซนติเมตร เชื่อมติดด้วยกาวร่วมกับตะปูและเสริมด้วยแผ่นเหล็กบางกว้าง 2 เซนติเมตร ตลอดความยาวคาน โดยคานทั้งหมดมี 4 รูปแบบ และทำการทดสอบภายใต้การทดสอบการดัดแบบ 4 จุด บันทึกค่าการโก่งตัวในช่วงที่ยอมให้เท่ากับ L/156 ผลการทดสอบพบว่าสมบัติทางกลของไม้สะเดาเทียมและไม้ยางพาราที่นำมาใช้ทดสอบ จัดเป็นไม้เนื้ออ่อน ตามมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) คานไม้ประกอบที่ประกอบจากไม้สะเดาเทียมสามารถรับน้ำหนักภายใต้การดัดได้สูงกว่าคานไม้ประกอบที่ประกอบจากไม้ยางพาราเฉลี่ยเท่ากับ 26.28 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากผลคุณสมบัติเชิงกลของไม้สะเดาเทียมมีค่าสูงกว่าไม้ยางพารา เมื่อนำคานไม้ประกอบทั้ง 2 ชนิด มาเสริมแผ่นเหล็กบาง ทำให้สามารถรับน้ำหนักภายใต้การดัดได้เพิ่มมากขึ้นโดยคานไม้ประกอบจากไม้สะเดาเทียมมีค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 9.23 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคานไม้ประกอบจากไม้ยางพารามีค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 18.35 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมการวิบัติของคานไม้ประกอบพบว่าการวิบัติเกิดขึ้นบริเวณจุดต่อของคานไม้ประกอบโดยมีลักษณะการวิบัติแบบรอยแตกขนานเสี้ยน</p> พงศ์ศักดิ์ ศุขมณี, ทวีศักดิ์ ทองขวัญ, นันทชัย ชูศิลป์, พรนรายณ์ บุญราศรี, รจณา คูณพูล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2568 Wed, 05 Jul 2023 00:00:00 +0700 สมบัติทางกลของอิฐโบราณ และกำลังรับแรงอัดของอิฐก่อ เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานในเชียงแสน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2214 <p>บทบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาสมบัติทางกลของอิฐโบราณจากโบราณสถานในเชียงแสน โดยได้ทำการทดสอบสมบัติทางกลในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ กำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และความพรุน โดยทดสอบกำลังรับแรงอัดของอิฐในรูปแบบลูกบาศก์ และนำเสนอวิธีการทดสอบอิฐก่อทดแทนรูปแบบปริซีมแบบมีวัสดุประสานเพื่อหากำลังอัดและค่าคงที่ยืดหยุ่น โดยตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบนั้นได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร ตัวอย่างอิฐทดแทนที่ใช้ในการทดสอบผลิตขึ้นตามแนวทางของกรมศิลปากรสำหรับใช้ในงานเชิงอนุรักษ์โบราณสถานของไทย วัสดุประสานที่ใช้ในงานทดสอบจะใช้ส่วนผสมโดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ขาว ปูนหมัก และทรายในอัตราส่วน 1:8:24 ตามลำดับ อิฐก่อที่ใช้ในการทดสอบก่อด้วยอิฐทดแทนขนาด 15x30x5 ซม3 ในรูปแบบปรึซึมสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อเต็มผ่านตามแนวราบ 6 แผ่น ในการทดสอบนั้นใช้เครื่องมือวัดระยะการยุบตัวเพื่อใช้ในการหาค่าคงที่ยีดหยุ่นของอิฐก่อ ผลที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณสถานในเชียงแสน</p> ชวัลวิทย์ ภ่ารสงัด, พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย, กันตภณ จินทราคำ, วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, ชัยณรงค์ อธิสกุล, สุทัศน์ ลีลาวทวีวัฒน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2214 Wed, 05 Jul 2023 16:59:56 +0700 การศึกษาและพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบความเสียหายของลวดเหล็กกล้าตีเกลียว โดยอาศัยการตรวจจับสนามแม่เหล็กรั่วไหล https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2269 <p>บทความนี้นำเสนอการพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบความเสียหายแบบไม่ทำลายของลวดเหล็กกล้าตีเกลียวที่ใช้ในโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น เสาส่งสัญญาณ สะพานขึง และระบบอัดแรงภายนอก โดยอาศัยการตรวจจับสนามแม่เหล็กรั่วไหลในบริเวณที่เกิดความเสียหายเมื่อเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กความเข้มสูงให้กับลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ในงานวิจัยได้ศึกษารูปแบบการรั่วไหลของสนามแม่เหล็กผ่านการสร้างและคำนวณแบบจำลองเชิงตัวเลข 3 มิติ (3 D Numerical model) ของลวดเหล็กกล้าตีเกลียวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15.2 มิลลิเมตร ที่มีการจำลองความเสียหายชนิดรอยบาก (Notch) ขนาดต่าง ๆ ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (FEM) โดยมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กรูปแบบต่าง ๆ และการเปลี่ยนตำแหน่งการตรวจจับสนามแม่เหล็ก ผลการคำนวณแบบจำลองเชิงตัวเลขสามารถแสดงให้เห็นถึงการรั่วไหลของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากความเสียหายที่มีขนาดแตกต่างกันได้ และเพื่อยืนยันผลการคำนวณแบบจำลองดังกล่าว ในงานวิจัยยังได้ทำการทดลอง โดยใช้เซ็นเซอร์วัดสนามแม่เหล็กแบบความไวสูงในการตรวจจับสนามแม่เหล็กรั่วไหล ผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่สอดคล้องกันของรูปแบบและขนาดของการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กที่ได้จากการคำนวณผ่านแบบจำลอง จากผลการศึกษาทำให้สามารถออกแบบและปรับปรุงเทคนิคการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก ที่เกิดจากความเสียหายของลวดเหล็กกล้าตีเกลียวที่ใช้ติดตั้งในโครงสร้างขนาดใหญ่ได้ดียิ่งขึ้น</p> รภัสสิทธิ์ มัดธนู, เชิดพงษ์ จอมเดช, บวรโชค ผู้พัฒน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2269 Wed, 05 Jul 2023 17:08:51 +0700 พฤติกรรมการดัดของคานไม้ประกอบอัดกาวจากไม้ยางพาราและไม้อัด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2398 <p>งานวิจัยนี้ได้ศึกษาพฤติกรรมการรับน้ำหนัก และการแอ่นตัวของคานไม้ยางพาราประกอบ เสริมกำลังด้วยไม้อัด โดยนำไม้ยางพาราขนาด 5×2×50 เซนติเมตร มาจัดเรียงติดกัน เสริมกำลังด้วยไม้อัด 5x1x150 เซนติเมตร ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของหน้าตัดคาน การจัดเรียงหน้าตัดมี 2 รูปแบบ คือ วางไม้แนวนอน (1) และวางไม้แนวตั้ง (2) ให้มีความกว้าง 5 เซนติเมตร ความหนา 4, 5, 8, 9 และ 10 เซนติเมตร และความยาว 150 เซนติเมตร เรียงประสานติดกันด้วย 2 วิธี คือ การใช้กาวเพียงอย่างเดียว และการใช้กาวร่วมกับตะปู เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดของคานไม้ประกอบโดยมีวิธีทดสอบแบบ 3 จุด ช่วงความยาวของฐานรองรับ 100 เซนติเมตร ตามมาตรฐาน ASTM D143 การแอ่นตัวในช่วงที่ยอมให้เท่ากับ L/360 หรือ 100/360 = 0.277 เซนติเมตร ผลการทดสอบพบว่าไม้ยางพาราประกอบเสริมกำลังด้วยไม้อัดทั้งสองรูปแบบรับน้ำหนักภายใต้แรงดัดได้สูงกว่าคานไม้ยางพาราประกอบที่ไม่มีการเสริมกำลัง คานไม้ประกอบที่ใช้กาวเป็นวัสดุประสานสามารถรับกำลังต้านทานแรงดัดสูงกว่าคานไม้ประกอบที่ใช้กาวร่วมกับตะปูเป็นวัสดุเชื่อมประสาน เนื่องจากไม้ยางพาราเป็นไม้เนื้ออ่อนมาก ทำให้กำลังต้านทานแรงเฉือนที่ผิวของตะปูได้น้อย ส่งผลให้กำลังรับแรงดัดของคานไม้ประกอบติดกาวร่วมกับตะปูมีค่าน้อยกว่าคานไม้ประกอบติดกาว</p> ทวีศักดิ์ ทองขวัญ, นันทชัย ชูศิลป์, เปรมณัช ชุมพร้อม, จุฑามาศ ลักษณะกิจ, อรุณ ลูกจันทร์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2398 Wed, 05 Jul 2023 17:19:08 +0700 คุณสมบัติเบื้องต้นของแคนนาบิสคอนกรีตจากแกนกัญชาผสมเถ้าลอย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1983 <p>งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอการใช้ลำต้นแกนกัญชาแห้งที่ผ่านการย่อยบดละเอียดมาใช้เป็นมวลรวมหยาบในส่วนผสมของคอนกรีต แกนกัญชาแห้งจะถูกบดย่อยให้มีขนาดเล็กเลือกใช้ส่วนของแกนกัญชาที่ค้างตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 4# และเบอร์ 8# ร้อยละ 35 และ 65 ใช้อัตราส่วนแกนกัญชาแห้งต่อซีเมนต์ไฮดรอลิก (CS/C) เท่ากับ 0.16, ใช้เถ้าลอย (F) แทนที่ซีเมนต์ไฮดรอลิก ในอัตราส่วนร้อยละ 0, 10, 20, 30, 40, 50 และ 90 โดยน้ำหนัก ใช้อัตราส่วนซีเมนต์ไฮดรอลิกต่อมวลรวมละเอียด (HC/S) เท่ากับ 1:2 ใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ไฮดรอลิก (W/C) เท่ากับ 0.48 ใช้สารเคมีลดน้ำอย่างมากร้อยละ 1 โดยน้ำหนักซีเมนต์ไฮดรอลิก ใช้อัตราส่วน 〖" Al" 〗_"2" "(" 〖"SO" 〗_"4" ")" : Ca〖"(OH" 〗_"2" ")" เท่ากับ 1:2 เป็นสารละลายประเภทด่าง และใช้ปริมาณของสารละลายในการปรับปรุงคุณภาพแกนกัญชาที่ร้อยละ 54 โดยน้ำหนักของแกนกัญชา ก่อนนำไปใช้เป็นมวลรวมผสมหยาบ ทดสอบคุณสมบัติทางกลและกายภาพ เช่น กำลังอัด หน่วยน้ำหนัก การดูดซึมน้ำ และการหดตัวแบบแห้งเชิงปริมาตรของแคนนาบิสคอนกรีต เปรียบเทียบกับคอนกรีตปกติชุดควบคุม ที่อายุ 7, 14, 28 และ 56 วัน จากผลการทดสอบพบว่า ที่อายุ 28 และ 56 วัน ค่ากำลังอัดอยู่ในช่วง 90.59 ถึง 155.44 กก./ตร.ซม. หน่วยน้ำหนัก 1,373 ถึง 1,781 กก./ลบ.ม. การดูดซึมน้ำร้อยละ 9.23 ถึง 25.13 และค่าการหดตัวแบบแห้งเชิงปริมาตรร้อยละ 0.89 ถึง 1.75 จากผลการทดสอบยังพบว่า การใช้เถ้าลอยแทนที่ซีเมนต์ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการพัฒนากำลังที่เพิ่มขึ้นและลดลงของแคนนาบิสคอนกรีตอย่างมีนัยสำคัญ อัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ที่เข้าเกณฑ์ข้อแนะนำ ACI213R-87 คือ อัตราส่วน CSCF20</p> พุฒิพัทธ์ ราชคำ, ภาณุพงศ์ จันฤาไชย, อุกฤษฎ์ โข่ศรี, ปิโยรส ทะเสนฮด, คำภี จิตชัยภูมิ, ศักดิ์สิทธิ์ พันทวี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1983 Wed, 05 Jul 2023 21:26:45 +0700 ความแข็งแรงของวัสดุก่อที่ผลิตจากแกนลำต้นของกัญชงและลำต้นพร้อมเปลือกลำต้นของกัญชง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2129 <p>บทความนี้นำเสนอผลการทดสอบความแข็งแรงของอิฐดินซีเมนต์ที่ใช้กัญชงที่ผ่านสับย่อยให้มีขนาดเล็กเป็นวัสดุในการผลิตผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ดิน และน้ำ เปรียบเทียบความต้านแรงอัดของอิฐดินซีเมนต์ที่ผลิตจากแกนลำต้นของกัญชงกับลำต้นพร้อมเปลือกลำต้นของกัญชง ตัวอย่างอิฐดินซีเมนต์ที่ผลิตจากแกนลำต้นของกัญชง 0.3 กิโลกรัม ผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ปริมาณแตกต่างกัน 5 กรณี คือ 0.25 0.5 0.75 1.00 1.50 และ 2.00 กิโลกรัม มีความต้านแรงอัด 0.48 0.54 0.58 0.64 0.58 และ 0.48 เมกะปาสคาล ตามลำดับ ส่วนอิฐดินซีเมนต์ที่ผลิตจากลำต้นพร้อมเปลือกลำต้นของกัญชงที่มีปริมาณแตกต่างกัน 4 กรณี คือ 0.3 0.4 0.5 และ 0.6 กิโลกรัม มีความต้านแรงอัด 2.88 2.53 1.02 และ 0.58 เมกะปาสคาลตามลำดับ จากผลวิจัยดังกล่าว สรุปได้ว่า อิฐดินซีเมนต์ที่ผลิตจากลำต้นพร้อมเปลือกของกัญชงมีความแข็งแรงมากกว่าอิฐดินซีเมนต์ที่ผลิตจากแกนลำต้นของกัญชง โดยตัวอย่างที่ผลิตจากลำต้นพร้อมเปลือกลำต้นของกัญชงปริมาณ 0.3 และ 0.4 กิโลกรัม มีความต้านแรงอัดอยู่ในเกณฑ์อิฐประเภทไม่รับน้ำหนัก จึงเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมที่จะพัฒนาให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นด้วยการปรับสภาพกัญชงก่อนนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตอิฐดินซีเมนต์เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงาน</p> สุดนิรันดร์ เพชรัตน์, รุ่งอรุณ บุญถ่าน, รุ่งโรจน์ ฤกษ์หร่าย, ปกรณ์ภัทร บุดชา, ภาณุวัตน์ จ้อยกลัด Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2129 Wed, 05 Jul 2023 21:33:30 +0700 การปรับปรุงคุณสมบัติแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลด้วยวัสดุมวลรวมขนาดใหญ่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2325 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาคุณสมบัติของแอสฟัลต์ซีเมนต์รีไซเคิลจากผิวทางเก่า (RAP) จากหลวงหมายเลข 12 บริเวณตอนควบคุมที่ 0201 แม่ละเมา - ตาก ระหว่าง กม.74+000 ถึง กม.76+607 ปรับปรุงคุณสมบัติด้วยการผสมวัสดุมวลรวมหินปูนขนาด 1 นิ้ว (25 มม.) ซึ่งถือว่าเป็นขนาดโตสุดของวัสดุมวลรวมในการออกแบบผิวทาง และใช้วัสดุประสานแอสฟัลต์ซีเมนต์เกรด AC60/70 ทำการทดสอบหาคุณสมบัติปริมาณแอสฟัลต์ซีเมนต์ที่เหลืออยู่ในวัสดุแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลและหาปริมาณของแอสฟัลต์ซีเมนต์ที่เหมาะสมในอัตราส่วนผสม ซึ่งจากการทดสอบพบว่าปริมาณแอสฟัลต์ซีเมนต์ที่เหมาะสมที่ใช้ในการออกแบบอัตราส่วนผสมอยู่ที่ร้อยละ 0.8 จากนั้นออกแบบอัตราส่วนผสมตามมาตรฐานการออกแบบแอสฟัลต์คอนกรีตผสมร้อนด้วยวิธีมาแชลล์ตามมาตรฐานกรมทางหลวงที่ ทล.-ม. 408/2532 โดยการผสมวัสดุมวลรวมหินปูนขนาด 1 นิ้ว ที่อัตราส่วนผสมร้อยละ 4, 6, 8 และ 10 ผลการทดสอบประสิทธิภาพด้วยการทดสอบหาค่าเสถียรภาพและการไหลพบว่าวัสดุมวลรวมให้ค่าเสถียรภาพที่มากขึ้นเมื่ออัตราส่วนผสมของวัสดุมวลรวมลดลง และอัตราการไหลลดลงเมื่ออัตราส่วนผสมของวัสดุมวลรวมเพิ่มขึ้น ซึ่งผลการทดสอบดังกล่าวเป็นไปตามค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ของกรมทางหลวง การนำวัสดุแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลจากผิวทางเก่ามาปรับปรุงคุณสมบัติเพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่ด้วยการออกแบบอัตราส่วนผสมวัสดุมวลรวมใหญ่ขนาด 1 นิ้ว (25 มม.) ไม่เพียงแต่จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อวงการอุตสาหกรรมงานก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนที่เกิดจากขั้นตอนการผลิตวัสดุสำหรับงานก่อสร้างจากเหมืองหินหรือโรงโม่หินได้อีกด้วย ตอบสนองต่อนโยบายระดับท้องถิ่นและนโยบายประเทศ และสอดคล้องกับ BCG Economy Model ในด้านการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นการเน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ ตลอดวัฏจักรชีวิต และการนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม</p> ขวัญชัย เทศฉาย, บำรุง บัวชื่น Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2325 Wed, 05 Jul 2023 21:38:45 +0700 สมบัติเชิงกลของ Alkali-activated Fly Ash Concrete ในงานถนน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2520 <p>บทความนี้เสนอผลการทดลองจากการเก็บตัวอย่าง Alkali-activated Fly Ash (AFA) คอนกรีตที่มีกำลังอัดออกแบบ 280 กก/ซม2 ที่อายุ 28 วัน ในการเทถนนคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 50 ม3 บริเวณหน้าด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุกเถ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คอนกรีตที่ใช้ในการวิจัยนี้มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 อยู่เพียง 60 กก/ม3 ในการกระตุ้นให้คอนกรีตมีกำลังอัดในระยะต้นสูงขึ้น เพื่อที่จะได้เปิดการจราจรได้โดยเร็ว นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ในการวิจัยนี้ยังประกอบด้วย NaOH ที่มีความเข้มข้น 6M และใช้เถ้าถ่านหิน 380 กก/ม3 เป็นส่วนผสมของวัสดุประสานหลัก ผลการทดสอบปรากฏว่ากำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 7 วัน มีกำลังอัดมากกว่า 320 กก/ซม2 ซึ่งเพียงพอต่อการเปิดการจราจร และกำลังอัดที่อายุ 28 วันมีค่าสูงถึง 400 กก/ซม2 นอกจากนี้ผลการทดสอบเชิงกลอื่นๆ เช่น การขัดสี ค่าการซึมผ่านน้ำ การแทรกซึมคลอไรด์ และปริมาณโพรงอากาศ ก็ได้รายงานในบทความนี้ด้วยเช่นกัน</p> สมิตร ส่งพิริยะกิจ, ฟองจันทร์ จิราสิต, อดิสรณ์ พงษ์สุวรรณ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2520 Wed, 05 Jul 2023 21:42:22 +0700 ผลิตภัณฑ์อิฐบล็อกประสานผสมขยะเศษกล่องนม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2542 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ขยะกล่องนมบดย่อยผ่านตะแกรงเบอร์ 4 เป็นส่วนผสมในการผลิตอิฐบล็อกประสานแทนที่มวลรวมหินฝุ่นบางส่วน โดยกำหนดอัตราส่วนควบคุม คือ ปูนซีเมนต์: หินฝุ่น เท่ากับ 1: 7 โดยน้ำหนัก ปริมาณน้ำต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 1 และทำการแทนที่หินฝุ่นด้วยเศษกล่องนมบดย่อยในอัตราส่วนร้อยละ 0, 3, 6, 9, 12, 16 และ 20 โดยน้ำหนักของหินฝุ่น ขึ้นรูปตัวอย่างด้วยเครื่องอัดอิฐบล็อกประสานแบบมือโยกขนาด 10x12.5x25 เซนติเมตร และทดสอบสมบัติตามมาตรฐาน มผช.602–2547 ผลการทดสอบพบว่า ปริมาณเศษกล่องนมที่เพิ่มขึ้น ทำให้สมบัติทางกายภาพให้ดีขึ้น ได้แก่ น้ำหนัก ความหนาแน่น การดูดกลืนน้ำ และสัมประสิทธิ์การนำความร้อนมีค่าลดลง โดยอัตราส่วนอิฐบล็อกประสานที่มีคุณสมบัติผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน สามารถใช้เศษกล่องนมมากที่สุดในปริมาณการแทนที่หินฝุ่นไม่เกินร้อยละ 12 โดยน้ำหนักของหินฝุ่น</p> ประชุม คำพุฒ, ทวิช กล้าแท้, อมเรศ บกสุวรรณ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2542 Wed, 05 Jul 2023 21:49:42 +0700 คุณสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุงานทางในพื้นที่จังหวัดสงขลา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2627 <p>จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดที่มีหินคลุกและดินลูกรังจำนวนมาก ซึ่งเป็นวัสดุหลักที่กรมทางหลวงหรือหน่วยงานอื่น ๆได้นำมาใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างถนน การทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างถนนที่จำเป็นได้แก่ การทดสอบหาขนาดคละ ความต้านทานการสึกกร่อน การทดสอบขีดแอตเตอร์เบิร์ก การบดอัด และการทดลองแคลิฟอร์เนีย แบริ่ง เรโช โดยผลการทดสอบที่ได้จะนำไปเปรียบกับค่ามาตรฐานของกรมทางหลวง บทความนี้จะทำศึกษาและทดสอบเพื่อหาค่าคุณสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุงานทาง แนวทางการปรับปรุงดินให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานและแนวโน้มของการขาดแคลนวัสดุในพื้นที่ จากการศึกษาพบว่าหินคลุกและดินลูกรังผ่านเกณฑ์มาตรฐาน หลังจากนั้นจึงจัดทำฐานข้อมูลเผยแพร่ลงอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างจากแหล่งต่าง ๆในพื้นที่จังหวัดสงขลาได้อย่างมีความรับผิดชอบและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัสดุในการสร้างถนน</p> สราวุธ จริตงาม, โอภาส สมใจนึก, ธีรภัทร ขุนชิต, หัสนัย จันทร์มี, จิรภัทร พรหมประสาท, สมัตถ์ สมันตรัฐ, ธิดารัตน์ โปจีน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2627 Wed, 05 Jul 2023 21:58:13 +0700 การพัฒนามอร์ต้าร์ที่ไม่ชอบน้ำสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1995 <p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนามอร์ต้าร์ที่ไม่ชอบน้ำสำหรับใช้งานในกระบวนการพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้แคลเซียมสเตียเรต (CS) แทนที่ปูนซีเมนต์ ไฮดรอลิกในอัตราร้อยละ 10.0, 12.5 และ 15.0 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน นอกจากนี้ใช้เส้นใยไมโครพอลิพรอพิลีน (PP) ขนาดความยาว 6 มม. ในปริมาณร้อยละ 0.2 และ 0.4 โดยปริมาตร ควบคุมความสามารถในการไหลของมอร์ต้าร์อยู่ระหว่าง 180 – 190 มม. โดยแปรเปลี่ยนอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน ทำการทดสอบสมบัติในสภาวะสดและสภาวะแข็งตัวแล้วของมอร์ต้าร์ ได้แก่ ระยะเวลาการก่อตัว, การดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์, กำลังรับแรงอัด, มุมผิวสัมผัสของหยดน้ำบนพื้นผิว และความสามารถในการขึ้นรูปด้วยการพิมพ์ 3 มิติ จากการศึกษาพบว่าการใช้แคลเซียมสเตียเรตในปริมาณมากขึ้นทำให้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาการก่อตัวของมอร์ต้าร์นานขึ้น และกำลังรับแรงอัดลดลง อย่างไรก็ตามการใช้เส้นใย ไมโครพอลิพรอพิลีนช่วยให้กำลังรับแรงอัดของมอร์ต้าร์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การใช้แคลเซียมสเตียเรตร้อยละ 15 ยังช่วยลดอัตราการดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์ได้ถึงร้อยละ 91.0 และมีมุมผิวสัมผัสเท่ากับ 142 องศา และการใช้เส้นใยไมโครพอลิพรอพิลีนร่วมกับแคลเซียมสเตียเรต ส่งผลกระทบต่ออัตราการดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์และมุมผิวสัมผัสเล็กน้อย สำหรับการพิมพ์ 3 มิติแคลเซียมสเตียเรต ส่งผลให้พื้นผิวของตัวอย่างพิมพ์หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการพิมพ์มีความสามารถที่ไม่ชอบน้ำ และการทำความสะอาดตัวเอง นอกจากนี้เมื่อใช้ร่วมกับเส้นใยไมโครพอลิพรอพิลีนร้อยละ 0.2 ทำให้ความสามารถในการขึ้นรูปของมอร์ต้าร์สำหรับการพิมพ์ 3 มิติดีขึ้น</p> ณัฏฐณิชา สกลอารีย์, กฤษณะ สังข์ศิริ, จุฑามาศ ทวีสินธุ์, สิริกมล อัศวมั่นคงเจริญ, วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล, ธนกร สุทธิอาภา, วราลักษณ์ แผ่นสุวรรณ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1995 Wed, 05 Jul 2023 22:51:03 +0700 ผลกระทบของนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตต่อสมบัติของคอนกรีตมวลเบาและสมบัติการพิมพ์ ของมอร์ตาร์สำหรับงานพิมพ์ 3 มิติ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2199 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตต่อสมบัติของคอนกรีตมวลเบาและสมบัติการพิมพ์ของมอร์ตาร์สำหรับงานพิมพ์ 3 มิติ โดยแปรผันปริมาณของนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตในส่วนผสม ตั้งแต่ 0 – 4% ของน้ำหนักซีเมนต์ ทำการทดสอบสมบัติของคอนกรีตมวลรวมเบา ได้แก่ ค่าการยุบตัว ระยะเวลาก่อตัว หน่วยน้ำหนักคอนกรีต การซึมผ่านของน้ำ กำลังรับแรงอัดและดัด องค์ประกอบเคมีและโครงสร้างจุลภาค รวมถึงสมบัติด้านของงานพิมพ์ 3 มิติ ได้แก่ ทดสอบการไหลแผ่ ระยะเวลาเริ่มต้นพิมพ์ และกรอบเวลาในการพิมพ์ ผลการทดลองพบว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ส่งผลให้ค่าหน่วยน้ำหนักและค่ากำลังรับแรงดัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันค่าการยุบตัวและระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตนั้นลดลง ในส่วนของค่ากำลังรับแรงอัดพบว่า เมื่อปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตเพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่ากำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้น จนถึงปริมาณนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ 2% โดยน้ำหนักซีเมนต์จากนั้นมีแนวโน้มลดลง และ ค่าการซึมผ่านน้ำของคอนกรีตที่มีแนวโน้มลดลงตามปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่เพิ่มขึ้นจนถึง 2% โดยน้ำหนักซีเมนต์จากนั้นมีแนวโน้มกลับมาเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลยืนยันการเพิ่มขึ้นของนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วย XRD และ การเติมเต็มในช่องว่างด้วย SEM ในส่วนของงานพิมพ์ 3 มิติ พบว่า ระยะเวลาเริ่มต้นในการพิมพ์และความกว้างของเส้นพิมพ์ลดลง เมื่อเพิ่มปริมาณนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต</p> ภูไผท ชุมพล, ปิติ สุคนธสุขกุล, ภัทรชัย พงศ์โสภา Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2199 Wed, 05 Jul 2023 22:56:51 +0700 การศึกษาพฤติกรรมการรับแรงของคานจากการใช้แบบด้วยการพิมพ์ 3 มิติ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2250 <p>ในปัจจุบันลักษณะการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นทำให้งานก่อสร้างมักจะประสบปัญหาในการตั้งแบบหล่อชิ้นส่วนโครงสร้างต่าง ๆ เช่น คานโค้ง หรือคานที่เป็นรูปแบบอิสระที่ยากต่อการทำงาน และด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ ที่มีความอิสระต่อการพิมพ์ชิ้นงานต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในด้านงานก่อสร้าง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตที่ใช้กรอบแบบ (Formwork) จากการพิมพ์คอนกรีต 3 มิติ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติด้านการรับกำลังของคานช่วงเดียว (Simple beam) กรอบแบบดังกล่าวถูกพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบระบบฉีดเส้นวัสดุ หรือ Fused Deposition Modeling (FDM) ซึ่งเป็นการพิมพ์คอนกรีตซ้อนกันไปจนได้กรอบแบบ โดยในการวิจัยนี้ได้สร้างกรอบแบบที่มีความสูงของแต่ละชั้นการพิมพ์แตกต่าง 3 แบบ ได้แก่ ชั้นการพิมพ์ความสูง 15.0 mm (BH1.50) 17.5 mm (BH1.75) และ20.0 mm (BH2.00) และสังเกตลักษณะการวิบัติของคานที่เกิดขึ้น จากนั้นผลการทดสอบจะถูกนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลเพื่อหาความแตกต่างจากการออกแบบคานคอนกรีตเสริมเหล็กปกติ (NB)</p> ณัฏฐา เวสสะภักดี, วิทิต ปานสุข, ทศวัฒน์ ดวงวิไลลักษณ์, กันตวิชญ์ สุพรรณแสง, ลาภยศ ประสิทธิโศภิน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2250 Wed, 05 Jul 2023 23:04:42 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของวัสดุซีเมนต์สำหรับการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์คอนกรีต 3 มิติ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เป็นสัดส่วนผสม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2569 <p>ในปัจจุบันงานก่อสร้างยังคงมีปัญหาหลายอย่างที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เครื่องพิมพ์คอนกรีต 3 มิติ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาในด้านของต้นทุนวัสดุและค่าแรงที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นในอนาคต เนื่องจากใช้แรงงานน้อยและไม่ต้องใช้ไม้แบบ อย่างไรก็ตาม ในการพิมพ์คอนกรีตจำเป็นต้องใช้วัสดุซีเมนต์ (Cementitious materials) สำหรับการพิมพ์โดยเฉพาะ โดยจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม อาทิ ความสามารถในก่อตัว และเสถียรภาพขณะพิมพ์ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบคอนกรีตสำหรับใช้ในการพิมพ์ชิ้นส่วนโครงสร้าง 3 มิติ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ 2 ชนิดที่แตกต่างกันเป็นส่วนผสม ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เนื่องจากปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกนั้นมีข้อดีคือลดการปล่อยคาร์บอน (Carbon emission) ในขั้นการผลิตซึ่งนับว่าเป็นวัสดุที่มีความยั่งยืน โดยจะทำการทดสอบคุณสมบัติทางกล ได้แก่ การไหลแผ่ ระยะเวลาการก่อตัวและกำลังรับแรงอัด จากนั้นจะวิเคราะห์เปรียบเทียบผลที่ได้เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของการใช้ปูนทั้ง 2 ชนิดในการพิมพ์ขึ้นรูปคอนกรีต</p> ทศวัฒน์ ดวงวิไลลักษณ์, ประสาน ขันธรัตน์, สลิลลาลัญ ตั้งเสถียร, วีรนันท์ มณีรัฐรุ่งเรือง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2569 Wed, 05 Jul 2023 23:08:41 +0700 ผลของเถ้าลอย เถ้าก้นเตา และเส้นใยสังเคราะห์ ต่อโมดูลัสยืดหยุ่นไดนามิกของคอนกรีต https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2115 <p>งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นไดนามิก (Ed) ของคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วน คอนกรีตผสมเถ้าลอย คอนกรีตผสมเถ้าก้นเตา และคอนกรีตผสมเส้นใยสังเคราะห์ โดยใช้เถ้าก้นเตาในรูปแบบการเป็นวัสดุบ่มภายใน ใช้วิธีทดสอบแบบไม่ทำลายด้วยวิธีใช้คลื่นอัลตราโซนิกเพื่อหาความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก (UPV) และนำไปคำนวณค่า Ed ของคอนกรีต วัสดุประสานที่ใช้เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.55 ปูนซีเมนต์ในส่วนผสมถูกแทนที่ด้วยเถ้าลอยร้อยละ 0, 30 และ 50 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ใช้เถ้าก้นเตาแทนที่มวลรวมละเอียดร้อยละ 10 และ 30 โดยปริมาตรของมวลรวมละเอียด ปริมาณเส้นใยสังเคราะห์ในส่วนผสมเท่ากับ 2 และ 4 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากผลการศึกษา พบว่า Ed ที่ประเมินจาก UPV มีค่าสูงกว่าโมดูลัสยืดหยุ่น (Ec) ประมาณร้อยละ 13-39 คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วนมีค่า Ec และ Ed ใกล้เคียงกับคอนกรีตผสมเส้นใยสังเคราะห์ ส่วนคอนกรีตผสมเถ้าลอยและเถ้าก้นเตา มีค่า Ec และ Ed น้อยกว่าคอนกรีตใช้ปูนซีเมนต์ล้วน โดยมีค่าลดลงตามปริมาณเถ้าลอยและเถ้าก้นเตาที่เพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่าง Ec และ Ed มีความสัมพันธ์แบบเส้นตรง ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและ UPV มีความสัมพันธ์แบบเอกซ์โพเนนเชียล</p> สนธยา ทองอรุณศรี, พร้อมพงศ์ ฉลาดธัญญกิจ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2115 Wed, 05 Jul 2023 23:13:40 +0700 ความสามารถทำงานได้ และความสามารถดูดซึมน้ำของนาโนซิลิกากับแร่ใยธรรมชาติ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของคอนกรีตมวลรวมรีไซเคิล https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2131 <p>งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอเศษวัสดุที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมการก่อสร้างมาทำการรีไซเคิล เพื่อนำมาทดแทนมวลรวมหยาบตามธรรมชาติ โดยแทนที่ในอัตราส่วนร้อยละ 0 และ 100 ต่อน้ำหนักของมวลรวมหยาบ ใช้นาโนซิลิกาที่มีขนาดระดับอนุภาคเฉลี่ยประมาณ 12 นาโนเมตร แทนที่ปูนซีเมนต์ในอัตราส่วนร้อยละ 3 ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ แร่เส้นใยธรรมชาติที่ใช้สำหรับงานวิจัยนี้ เส้นใยป่านศรนารายณ์ และเส้นใยปาล์มน้ำมันที่ใช้มีความยาวของเส้นใย 20 มิลลิเมตร ใส่เพิ่มในตัวอย่างแต่ละชนิดร้อยละ 3 ต่อน้ำหนักของมวลรวมหยาบ ทดสอบความสามารถทำงานได้ในด้าน การยุบตัว และการไหลตัวของคอนกรีต ส่วนการทดสอบความคงทนในด้านอัตราการซึมผ่านน้ำของคอนกรีต จากผลการทดสอบพบว่า การใช้วัสดุนาโนซิลิกา หรือการใช้วัสดุมวลรวมรีไซเคิลจะลดความสามารถทำงานได้ของคอนกรีตลงอย่างมาก มีค่าการยุบตัวของคอนกรีตอยู่ที่ 5.9-7.3 เซนติเมตร ค่าการไหลของคอนกรีตสดอยู่ที่ 35-44 เซนติเมตร ซึ่งต้องมีการใช้สารลดน้ำพิเศษตามปริมาณสัดส่วนที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามาถทำงานได้ของคอนกรีต ส่วนผลการทดสอบความคงทนของคอนกรีต ในส่วนการดูดซึมน้ำพบว่า คอนกรีตที่ผสมนาโนซิลิกา มีค่าความสามารถดูดซึมน้ำที่สูงสุด ทั้งการใช้มวลรวมหยาบตามธรรมชาติ และมวลรวมรีไซเคิล มีค่าร้อยละ 10.06 และ 8.87 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับคอนกรีตปกติ และคอนกรีตที่ใส่วัสดุเส้นใยธรรมชาติ ซึ่งสรุปได้ว่าวัสดุนาโนซิลิกาสามารถที่ปรับปรุงคุณสมบัติของคอนกรีตทั้งมวลรวมหยาบตามธรรมชาติ และมวลรวมรีไซเคิล</p> กาณฑ์ ทะนนท์, ศตวรรษ หฤหรรษพงศ์, ณรงค์เดช อินทรัตน์ชัยกิจ, วชิรภรณ์ เสนาวัง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2131 Wed, 05 Jul 2023 23:21:44 +0700 สมบัติเชิงกลของคอนกรีตที่มีส่วนผสมของทรายแกรนิตและมวลรวมพลาสติกรีไซเคิล https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2175 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติเชิงกลของคอนกรีตที่มีส่วนผสมของทรายแกรนิตและมวลรวมพลาสติกรีไซเคิลชนิดพอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต โดยทรายธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยทรายแกรนิตและมวลรวมหยาบถูกแทนที่บางส่วนด้วยมวลรวมพลาสติกในปริมาณร้อยละ 10 30 และ 50 โดยปริมาตรของมวลรวมหยาบ การทดสอบประกอบไปด้วย ค่าการยุบตัว เวลาการก่อตัว กำลังรับแรงอัด และปริมาณโพรงและการดูดซึมน้ำ จากผลการทดสอบพบว่าคอนกรีตที่ใช้ทรายแกรนิตแทนที่ทรายธรรมชาติมีค่าการยุบตัวลดลงแต่มีกำลังรับแรงอัดใกล้เคียงกับคอนกรีตจากทรายธรรมชาติล้วน และเมื่อใช้มวลรวมพลาสติกแทนที่มวลรวมหยาบตามธรรมชาติพบว่าค่าการยุบตัวลดลงตามปริมาณพลาสติกที่เพิ่มขึ้น ค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่มีการแทนที่มวลรวมหยาบด้วยมวลรวมพลาสติกไม่เกินร้อยละ 30 มีค่าใกล้เคียงคอนกรีตไม่มีการแทนที่พลาสติก อย่างไรก็ตามค่ากำลังรับแรงอัดลดลง 28% เมื่อใช้มวลรวมพลาสติกร้อยละ 50 ในขณะที่ระยะเวลาการก่อตัวไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ</p> ทรงกลด วงค์เจริญ, กานต์ธิปก ฮามคำไพ, พิชชา จองวิวัฒสกุล, เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์, สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2175 Wed, 05 Jul 2023 23:26:11 +0700 การพัฒนาผิวทางคอนกรีตโดยใช้เม็ดยางจากเศษยางรถยนต์แทนที่วัสดุมวลรวมละเอียด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2256 <p>ชั้นผิวทางสามารถแบ่งตามลักษณะของผิวทางที่เป็นผิวทางแบบยืดหยุ่นและผิวทางคอนกรีต โดยผิวทางแบบยืดหยุ่น เช่น ผิวทางแอสฟัลส์ จะให้ความรู้สึกสบายในการขับขี่มากกว่า แต่ความทนทานและความแข็งแรงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผิวทางคอนกรีต โดยแนวทางที่สามารถพัฒนาคุณสมบัติของคอนกรีตให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นคือคอนกรีตที่มีเม็ดยางเป็นส่วนประกอบ ซึ่งการนำเศษยางรถยนต์มาทำการบดละเอียดเพื่อใช้ทดแทนวัสดุมวลรวมตามธรรมชาติในคอนกรีตดังกล่าว ถือเป็นวัสดุหนึ่งที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากเม็ดยางมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในด้านความยืดหยุ่น ความโค้งงอได้ และการดูดซับพลังงาน จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้พื้นผิวคอนกรีตมีความสบายได้ใกล้เคียงกับผิวทางแบบยืดหยุ่น งานวิจัยผิวทางคอนกรีตเม็ดยางนั้นทำการทดสอบคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตที่มีการใช้ปริมาณเม็ดยางในการแทนที่มวลรวมละเอียดในอัตราส่วนร้อยละ 10, 20, 40 โดยปริมาตรของมวลรวมละเอียด จากการทดสอบขั้นต้นพบว่าปริมาณเม็ดยางที่เพิ่มขึ้นนั้นส่งผลต่อคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตทำให้ความสามารถในการรับแรงอัด ความสามารถในการรับแรงดึงแยก และความสามารถในการรับแรงดัดของคอนกรีตนั้นลดลง แต่อย่างไรก็ตามสัดส่วนการแทนที่ของเม็ดยางที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานอยู่ที่ร้อยละ 10 ในการแทนที่วัสดุมวลรวมละเอียดเนื่องจากส่งผลต่อคุณสมบัติทางกลน้อยมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนแทนที่อื่น อีกทั้งงานวิจัยนี้เป็นอีกหนึ่งการพัฒนาแนวทางการออกแบบส่วนผสมคอนกรีตเม็ดยาง เพื่อเพิ่มการใช้งานและมูลค่าทางเศรษฐกิจ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากเทคโนโลยีผิวทางคอนกรีต</p> ณัชพล ชูสาย, พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม, ธีวรา สุวรรณ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2256 Wed, 05 Jul 2023 23:33:03 +0700 กำลังอัดของมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วน ด้วยโคลนเผาบดและผงฝุ่นหินปูน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2321 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาคุณสมบัติด้านกำลังอัดของมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วนด้วยโคลนเผาบดและผงฝุ่นหินปูน (LC2) ตัวแปรที่ใช้ศึกษาคือ ปริมาณการแทนที่ LC2 ที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ ร้อยละ 15 30 และ 50 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ และทำการหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมในส่วนผสมของมอร์ตาร์ โดยทำการควบคุมค่าการไหลตัวให้อยู่ในระหว่างร้อยละ 105–115 ตามมาตรฐาน ASTM C1437 ตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบกำลังอัดเป็นลูกบาศก์ขนาด 5 x 5 x 5 เซนติเมตร เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM C109 โดยทำการทดสอบที่อายุของมอร์ตาร์เท่ากับ 7 14 และ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อมีการแทนที่ LC2 ที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้ส่วนผสมต้องการน้ำมากขึ้น เพื่อให้การไหลตัวของมอร์ตาร์มีค่าเท่าเดิม และกำลังอัดของมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนด้วยโคลนเผาบดและผงฝุ่นหินปูน (LC2) มีการพัฒนามากขึ้นตามอายุการบ่ม นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อมีการแทนที่ LC2 ในปริมาณมากคือร้อยละ 50 จะทำให้กำลังอัดในช่วง 7 วันแรกจะลดลง และตัวอย่างที่มีกำลังอัดสูงสุด คือตัวอย่างที่มีการแทนที่ LC2 ในปริมาณร้อยละ 30 โดยได้ค่ากำลังอัดที่ 28 วัน เท่ากับ 73.9 เมกะปาสคาล</p> ชูชัย สุจิวรกุล, ธัญวรัตม์ สันติสุทธิกุล, ธีระวุฒิ มูฮำหมัด Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2321 Wed, 05 Jul 2023 23:37:42 +0700 สมบัติของคอนกรีตผสมเศษมวลรวมและน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2519 <p>บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติของคอนกรีตผสมเศษมวลรวมจากเศษคอนกรีตและน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์ โดยใช้เศษมวลรวมจากเศษคอนกรีตซึ่งผ่านการบดในช่วงขนาดอนุภาคตั้งแต่ 0.15 ถึง 25.0 มม. มาทำการผสมเป็นคอนกรีตสมรรถนะสูงที่มีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) โดยน้ำหนักเท่ากับ 0.34 และใช้ทั้งเป็นมวลรวมละเอียดและมวลรวมหยาบเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่ผสมทรายแม่น้ำ (NAR) และหินปูนบด (NCA) ตามมาตรฐาน ASTM C33 และผสมน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์ที่อัตราส่วนร้อยละ 5 โดยน้ำหนักของน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีต สมบัติของคอนกรีตที่ทำการทดสอบได้แก่ กำลังอัดและความสมบูรณ์ของคอนกรีตด้วยคลื่นความถี่สูง จากผลการทดสอบพบว่าน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์มีผลต่ออัตราการพัฒนากำลังอัดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตควบคุมและลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่ออายุเพิ่มขึ้นจนถึงที่อายุ 28 วัน มีค่าลดลงของกำลังอัดคอนกรีตควบคุม แต่อย่างก็ตามคอนกรีตผสมเศษมวลรวมละเอียด (RCAF) และหินปูนบด (NCA) อัตราการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อผสมน้ำยาเคลือบโพลิเมอร์ชนิดที่ 1 (PA1) มีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.26</p> ปัณณภัสร์ ปัณณภัสร์ เฮงเติม, ประกาศิต โสไกร, ณัฏฐ์​ มากุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2519 Thu, 06 Jul 2023 00:12:28 +0700 กระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นผสมยางรถยนต์ใช้แล้ว https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1985 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำผงยางรถยนต์แทนที่ทรายในการผลิตกระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น มีขนาด 30 × 30 × 5 เซนติเมตร ซึ่งใช้อัตราส่วนปูนซีเมนต์ : ทราย เท่ากับ 1 : 2.75 โดยน้ำหนัก และนำยางรถยนต์เก่าบดละเอียดมาใช้แทนที่ทรายร้อยละ 0, 2.5, 5, 7.5 และ 10 โดยปริมาตร อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (W/C) ได้จากการทดสอบการไหลแผ่ของมอร์ต้าร์ ทำการทดสอบความต้านทานแรงดัดตามขวางในสภาพแห้งที่อายุ 7, 14 และ 28 วัน ทดสอบการดูดซึมน้ำ และความต้านการขัดสีที่อายุ 28 วัน ซึ่งพิจารณาเปรียบเทียบกับ มอก.826-2531 ผลการทดลองพบว่าเมื่อปริมาณผงยางรถยนต์แทนที่ทรายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าการดูดซึมน้ำ ความต้านทานการขัดสี และค่าความต้านทานแรงดัดตามขวางลดลง อัตราส่วนผงยางรถยนต์แทนที่ทรายร้อยละ 0, 2.5, 5 และ 7.5 ผ่านตามเกณฑ์ มอก.826-2531 โดยอัตราส่วนกระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นที่ใช้ผงยางรถยนต์แทนที่ทรายร้อยละ 7.5 เหมาะสมที่สุดในการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งมีค่าความต้านทานแรงดัดตามขวางในสภาพแห้ง 5.08 เมกกะพาสคาล ค่าการดูดซึมน้ำร้อยละ 2.23 และค่าความต้านทานการขัดสี 0.086 กรัม ที่อายุการบ่ม 28 วัน</p> ชูเกียรติ ชูสกุล, ทวิช กล้าแท้, ดุสิต ชูพันธ์, สุพร ฤทธิภักดี, ขวัญชีวา หยงสตาร์, สุนันท์ มนต์แก้ว Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1985 Thu, 06 Jul 2023 00:20:10 +0700 แนวทางการพัฒนาแผ่นซีเมนต์บอร์ดผสมเส้นใยจากกล่องเครื่องดื่มร่วมกับเส้นใยจากผักตบชวา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2522 <p>บทความนี้นำเสนอแนวทางการพัฒนาแผ่นซีเมนต์บอร์ดผสมเส้นใยจากกล่องเครื่องดื่มร่วมกับเส้นใยจากผักตบชวา เพื่อเป็นแนวทางในการลดต้นทุนในการผลิตแผ่นซีเมนต์บอร์ดและประยุกต์ใช้วัชพืชเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์ โดยทำการขึ้นรูปแผ่นซีเมนต์บอร์ดความหนาแน่น (Density) 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อัตราส่วนระหว่างปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ และปริมาณเส้นใย (C:B) สําหรับการผสม 70:30 โดยน้ำหนัก จากแบบสำหรับทำแผ่นซีเมนต์บอร์ดขนาด กว้าง 30 ซม. ยาว 30 ซม. หนา 2 ซม. และ ใช้อัตราส่วนเส้นใยจากผักตบชวาในอัตราส่วนร้อยละ 0 50 และ 100 ของเส้นใยกล่องเครื่องดื่ม โดยอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (w/c) คงที่ เท่ากับ 0.6 และดำเนินการทดสอบตามข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม แผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์ความหนาแน่นสูง มอก. 878-2532 และ DIN 1101:1989ประกอบด้วย มอดุลัสแตกหัก (MOR) มอดุลัสยืดหยุ่น (MOE) การดูดซึมน้ำ (WA) การพองตัว (TS) ความต้านทานต่อการเผาไหม้ของแผ่นซีเมนต์บอร์ด รวมถึงการดูดซับเสียง จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าปริมาณเส้นใยจากผักตบชวาที่มีอัตราส่วนสูงขึ้นในแผ่นซีเมนต์บอร์ดมีคุณสมบัติทางกลและกายภาพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้อัตราส่วนเส้นใยจากผักตบชวาในอัตราส่วนร้อยละ 50 มีผลใกล้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐาน เหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาต่อเพื่อสามารถที่จะประยุกต์ใช้กับงานภายในอาคารได้ต่อไป</p> ปิยรัตน์ เปาเล้ง, อิทธิพล มีผล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2522 Thu, 06 Jul 2023 08:50:40 +0700 การประยุกต์ใช้เถ้าลอยจากระบบเตาเผาน้ำกากส่าในการผลิตบล็อกประสานซีเมนต์ผสม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2495 <p>บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้เถ้าลอยจากระบบเตาเผาน้ำกากส่าในการผลิตบล็อกประสานซีเมนต์ผสมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนและเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์จากของเสียจากระบบเตาเผาน้ำกากส่า โดยใช้ขนาดตัวอย่างของการผลิตบล็อกประสานซีเมนต์ผสมขนาด 12.2x25x10 ซม.3 อัตราส่วนระหว่างปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ต่อเถ้าลอยน้ำกากส่าและดินลูกรัง(C/B ratio) 1:6 โดยใช้อัตราส่วนการแทนที่ระหว่างเถ้าลอยน้ำกากส่าและดินลูกรังในอัตราร้อยละ 0 10 30 50 75 และ 100 และทำการบ่มชื้นตามอายุเวลาที่กำหนด 7 14 และ 28 วัน และดำเนินการทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.602/2547) ประกอบด้วย การทดสอบกำลังรับแรงอัด การทดสอบคุณสมบัติการดูดกลืนน้ำ ซึ่งจากผลการทดสอบสรุปได้ว่าที่อัตราส่วนที่มีเถ้าลอยจากน้ำกากส่าผสมอยู่ในอัตราร้อยละ 30 มีความเหมาะสมและผ่านตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนอิฐบล็อกประสาน มผช.602/2547 ชนิดไม่รับน้ำหนัก มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุผสมในการทำบล็อกประสานและสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนได้</p> ปิยรัตน์ เปาเล้ง, อิทธิพล มีผล, ศักดา กตเวทวารักษ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2495 Thu, 06 Jul 2023 08:55:13 +0700 การใช้เถ้ากะลามะพร้าวเป็นมวลรวมในการผลิตคอนกรีตบล็อกและอิฐบล็อกประสาน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2541 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์จากเถ้ากะลามะพร้าวเป็นมวลรวมในการผลิตวัสดุก่อสร้างประเภทคอนกรีตบล็อกและอิฐบล็อกประสาน กำหนดอัตราส่วนของทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1: เถ้ากะลามะพร้าว: หินฝุ่น เท่ากับ 1: 0: 7, 1: 0.2: 6.8, 1: 0.4: 6.6, 1: 0.6: 6.4, 1: 0.8: 6.2 และ 1: 1: 6 โดยน้ำหนัก ใช้อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 0.6 โดยน้ำหนัก ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยเครื่องอัด โดยที่คอนกรีตบล็อกมีขนาด 7 x 19 x 39 เซนติเมตร และอิฐบล็อกประสานมีขนาด 12.5 x 25 x 10 เซนติเมตร ทำการทดสอบคอนกรีตบล็อกตามมาตรฐาน มอก.58–2560 ทำการทดสอบอิฐบล็อกประสานตามมาตรฐาน มผช.602–2547 ผลการทดสอบพบว่า บล็อกที่ผสมเถ้ากะลามะพร้าวในปริมาณมาก มีน้ำหนัก การดูดกลืนน้ำ และความต้านทานแรงอัด ต่ำกว่าบล็อกที่ผสมเถ้ากะลามะพร้าวในปริมาณน้อย โดยอัตราส่วน 1: 0.6: 6.4 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตทั้งคอนกรีตบล็อกและอิฐบล็อกประสาน ซึ่งในสัดส่วนนี้สมบัติของทั้งสองผลิตภัณฑ์ที่อายุการบ่ม 28 วัน มีสมบัติความต้านทานแรงอัดต่ำกว่าส่วนผสมควบคุมประมาณร้อยละ 58, ปริมาณความชื้นมากขึ้นประมาณร้อยละ 31, การดูดซึมน้ำมากขึ้นประมาณร้อยละ 80 และความหนาแน่นลดลงประมาณร้อยละ 5</p> ประชุม คำพุฒ, อมเรศ บกสุวรรณ, อรรถพล มาลัย, สาโรจน์ ดำรงศีล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2541 Thu, 06 Jul 2023 00:00:00 +0700 การทำนายอายุการใช้งานของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสื่อมสภาพจากคลอไรด์ ด้วยความน่าจะเป็น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2057 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่เหล็กเสริมเริ่มเกิดสนิม (TCo) ของโครงสร้าง ซึ่งคอนกรีตจะเริ่มแตกร้าว (TCr) ภายหลังจากที่เหล็กเสริมเกิดสนิม โดยการใช้แบบจำลองเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดสนิมสองแบบจำลองคือ (1) แบบจำลองที่ใช้สัมประสิทธิ์การแพร่กระจายของคลอไรด์คงที่ (DCC) และ (2) แบบจำลองที่ใช้สัมประสิทธิ์การแพร่กระจายของคลอไรด์ที่ลดลงตามระยะเวลา (DCV) ซึ่งจะทำการสุ่มตัวแปรต้นในการนำเข้าแบบจำลองด้วยการสุ่มเลือกค่าตามลักษณะการกระจายตัวของตัวแปรนั้นๆ และทำการหาความน่าจะเป็นของการเกิด TCr ด้วยการจำลองแบบมอนติคาร์โล (Monti Carlo Simulation) โดยงานวิจัยนี้ได้นำเสนอการใช้ Harmonic mean ซึ่งเป็นค่ามัธยฐานของ TCr สองกลุ่มที่มาจากผลลัพธ์ของ TCr ทั้งหมด โดยจะทำการคำนวณค่า Harmonic mean ตั้งแต่จำนวนรอบที่ 1,000 เป็นต้นไป และหยุดทำการจำลองเมื่อค่า Harmonic mean มีค่าไม่เกิน 0.001 การใช้วิธีนี้ทำให้สามารถคำนวณระยะเวลาที่เหล็กเสริมเริ่มเกิดสนิมและระยะเวลาที่โครงสร้างเริ่มแตกร้าวได้โดยใช้ระยะเวลาและจำนวนครั้งในการทำ Monti Carlo Simulation ที่น้อยกว่า โดยผลลัพธ์จากแบบจำลองพบว่าที่ความน่าจะเป็น 10% แบบจำลองแบบ DCC ให้ผลของ TCo คือ 4.00 ปี และ TCr คือ 4.03 ปี แบบจำลองแบบ DCV ให้ผลของ TCo คือ 4.05 ปี และ TCr คือ 4.11 ปี ที่ความน่าจะเป็น 50% แบบจำลองแบบ DCV ให้ผลของ TCo คือ 11.58 ปี และ TCr คือ 12.18 ปี ซึ่งคิดเป็นค่าประมาณ 2 เท่าของแบบจำลอง DCC ซึ่งให้ผลของ TCo คือ 6.01 ปี และ TCr คือ 6.31 ปี ตามลำดับ</p> ธีรนาถ ราชรองเมือง, วันชัย ยอดสุดใจ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2057 Thu, 06 Jul 2023 09:10:15 +0700 ผลของเถ้าลอยและเถ้าก้นเตาต่อค่าสะท้อนกลับ ความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก และกำลังอัดของคอนกรีตหลังถูกไฟเผา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2111 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าสะท้อนกลับ ความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก และกำลังอัดของคอนกรีตผสมเถ้าลอย และคอนกรีตบ่มภายในที่ใช้เถ้าก้นเตาเป็นวัสดุบ่มภายในหลังถูกไฟเผา ทั้งในคอนกรีตปกติและคอนกรีตกำลังอัดสูง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสะท้อนกลับกับกำลังอัดและความเร็วคลื่นอัลตราโซนิกกับกำลังอัดทั้งก่อนและหลังถูกไฟเผา ส่วนผสมคอนกรีตใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.35 และ 0.55 ใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ในอัตราร้อยละ 10 และ 30 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ใช้เถ้าก้นเตาแทนที่มวลรวมละเอียดในปริมาณร้อยละ 10 และ 30 โดยปริมาตร อุณหภูมิที่ใช้ได้แก่ 300 500 และ 700 องศาเซลเซียส เผาเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ผลการทดสอบพบว่ากำลังอัดมีค่าลดลงตามอุณหภูมิการเผาที่สูงขึ้น การใช้เถ้าลอยผสมคอนกรีตมีแนวโน้มทำให้ความสามารถในการทนไฟของคอนกรีตดีขึ้น ส่วนการใช้เถ้าก้นเตามีแนวโน้มทำให้ความสามารถในการทนไฟของคอนกรีตลดลง ค่าสะท้อนกลับ และความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก มีค่าลดลงตามอุณหภูมิการเผาที่สูงขึ้น</p> พร้อมพงศ์ ฉลาดธัญญกิจ, สนธยา ทองอรุณศรี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2111 Thu, 06 Jul 2023 09:13:22 +0700 ผลของเส้นใยใบสับปะรดต่อประสิทธิภาพการรับแรงดัดและการแพร่คลอไรด์ในคอนกรีต https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2124 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้านทานการซึมผ่านของคลอไรด์ และคุณสมบัติในการรับกำลังของคอนกรีตเสริมเส้นใยใบสับปะรด โดยใช้ปริมาณเส้นใยใบสับปะรดที่ร้อยละ 0, 0.25, 0.5 และ 1 โดยปริมาตร กำหนดค่ากำลังรับแรงอัดของคอนกรีตปกติที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 30 เมกะปาสคาล ทดสอบการซึมผ่านของคลอไรด์และคุณสมบัติเชิงกล หลังจากการบ่มด้วยน้ำที่ 28, 56 และ 90 วัน จากผลการทดสอบ พบว่าการเติมเส้นใยใบสับปะรดในคอนกรีต จะสามารถรับแรงหลังจากเกิดรอยแตกร้าวในคอนกรีตได้ โดยมีพฤติกรรมแบบอ่อนตัวตามระยะการโก่ง (Deflection Softening) และมีค่าความเหนียว (Toughness) เพิ่มขึ้นตามปริมาณการเติมเส้นใย ทำให้คอนกรีตไม่เกิดการวิบัติในทันที อย่างไรก็ตาม เส้นใยใบสับปะรดยังส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของคลอไรด์เพิ่มขึ้นสูงสุด ความสามารถในการทำงาน ความหนาแน่น และกำลังรับแรงอัดลดลง</p> ธาวิน สังขวิภาพจพิบูล, มาโนช สรรพกิจทิพากร, สิทธิศักดิ์ แจ่มนาม, ปิติ สุคนธสุขกุล, ศุภฤกษ์ จันทร์ศุภเสน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2124 Thu, 06 Jul 2023 09:16:28 +0700 การปรับปรุงคุณภาพวัสดุประสานจากเถ้าก้นเตา เพื่อพัฒนาศักยภาพในการต้านทานการกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2171 <p>การศึกษานี้มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถในการรับกำลังและการต้านทานการเกิดสนิมในเหล็กเสริมในคอนกรีตที่ใช้เถ้าก้นเตาบางส่วนเป็นวัสดุประสาน ทำการปรับปรุงคุณภาพเถ้าก้นเตาโดยการนำมาร่อนผ่านตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 30 จากนั้นนำมาบดให้มีความละเอียดค้างบนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 325 ประมาณร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในอัตราร้อยละ 35 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน (BA) ผลการทดสอบพบว่าคอนกรีต BA มีกำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 7 และ 28 วัน สูงถึง 394 กก/ซม2 และ 496 กก/ซม2 ตามลำดับ โดยสามารถลดการใช้ปูนซีเมนต์ได้ถึง 135 กก/ม3 ผลการทดสอบการเกิดสนิมโดยวิธีเร่งด้วยไฟฟ้าพบว่าการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าในคอนกรีต BA มีค่าต่ำกว่าคอนกรีตควบคุมถึง 3-4 เท่าโดยประมาณ นอกจากนี้ความสามารถในการการต้านทานการเกิดสนิมของเหล็กเสริมคอนกรีตอยู่ในระดับที่มีความเป็นไปได้ร้อยละ 90 ที่จะไม่เกิดสนิม รวมทั้งการทดสอบการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมพบว่าการใช้เถ้าก้นเตาเป็นวัสดุประสานทำให้คอนกรีตเสริมเหล็กมีการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมเพียงร้อยละ 0.46 โดยน้ำหนัก ในขณะที่คอนกรีตควบคุมที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากัน 0.45 และ 0.55 มีการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมมากกว่า ซึ่งมีค่าเท่ากับร้อยละ 1.09 และ 1.27 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้เถ้าก้นเตาจึงมีศักยภาพสูงที่จะใช้เป็นวัสดุปอซโซลานในงานคอนกรีตได้เป็นอย่างดี</p> สุบรรณ สนิทอินทร์, ธีรเดช ทัพภะ, เพ็ญพิชชา สนิทอินทร์, นันทวัฒน์ ขมหวาน, ชิษณุพงษ์ สุธัมมะ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2171 Thu, 06 Jul 2023 10:10:30 +0700 การประเมินประสิทธิภาพของแอโนดในการยับยั้งการกัดกร่อน ของเหล็กเสริมในคอนกรีต โดยวิธีการเร่งปฏิกิริยาไฟฟ้า https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2299 <p>บทความนี้ได้นำเสนอการศึกษาประสิทธิภาพการป้องกันสนิมของเหล็กเสริมโดยวิธีกัลป์วานิกคาโทดิก โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแอโนด ได้แก่ สังกะสี, อะลูมิเนียม และแมคนีเซียม เมื่อใช้วัสดุผสมเพิ่มที่แตกต่างกัน คือ ซีเมนต์ประเภทที่ 5 เถ้าลอย 35% และเถ้าแกลบที่ 10%, 20%, และ 30% ซึ่งมีตัวอย่างทดสอบทั้งหมด 24 ตัวอย่างทดสอบ ทำการทดสอบโดยการติดตั้งแอโนดกับเหล็กเสริมในคอนกรีตขนาด 20 x 80 x 10 เซนติเมตร เมื่อตัวอย่างทดสอบมีอายุที่ 28 วัน ทำการจำลองโครงสร้างใกล้ทะเลโดยการแช่ตัวอย่างทดสอบในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ที่ 4% และทำการเร่งปฏิกิริยาสนิมของเหล็กเสนิมด้วยวิธีเซลล์ไฟฟ้าเคมี จากนั้นทำการประเมินการเกิดสนิมด้วยวิธีไฟฟ้าครึ่งเซลล์ตามมาตรฐาน ASTM C876 ทำการตรวจสอบสภาพเหล็กเสริม และปริมาณคลอไรด์ภายในตัวอย่างทดสอบด้วยวิธีไทเทรต ผลการทดสอบพบว่าแอโนดสังกะสีมีประสิทธิภาพดีที่สุด จากการตรวจสอบสภาพภายนอกของเหล็กเสริม โดยที่แอโนดแมทนีเซียมมีประสิทธิภาพต่ำที่สุด ในส่วนของวัสดุผสมเพิ่มพบว่าตัวอย่างที่ใช้ซีเมนต์ประเภทที่ 5 มีแนวโน้วที่สามารถต้านทานคลอไรด์ และป้องกันการเกิดสนิมได้ดีกว่าตัวอย่างทดสอบอื่น</p> รัตชัยน์ สลับศรี, ศุภกร ประพัสสร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2299 Thu, 06 Jul 2023 21:00:15 +0700 ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตผสมเถ้าหนักจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2600 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเถ้าหนักที่เหลือใช้จากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะมาใช้ในพัฒนาคุณภาพของคอนกรีต โดยจะศึกษาคุณสมบัติการแทรกซึมของคลอไรด์ เถ้าหนักจากการเผาขยะมาแทนที่มวลรวมละเอียดที่อัตราส่วนร้อยละ 0, 10, 20, 30, 40 และ 50 โดยน้ำหนัก กำหนดให้ค่ากำลังอัดออกแบบของคอนกรีตในการขึ้นรูปทรงลูกบาศก์มีค่าเท่ากับ 240 และ 320 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ที่อายุ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่า การแทนที่มวลรวมละเอียดด้วยปริมาณเถ้าหนักที่เพิ่มมากขึ้นในคอนกรีต ส่งผลทำให้ค่ากำลังอัดและค่าความหนาแน่นของคอนกรีตมีค่าลดลง มีค่าการดูดซึมน้ำมีค่าเพิ่มขึ้น ความสามารถในการแทรกซึมของคลอไรด์ในเนื้อคอนกรีตใช้วิธีการวัดการผ่านของกระแสไฟฟ้าตามมาตฐาน ASTM C1202 อยู่ในระดับสูงสำหรับทุกส่วนผสมการแทนที่ของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน เถ้าหนักจากการเผาขยะสามารถนำมาแทนที่เถ้าหนักในการผสมคอนกรีตได้ คอนกรีตที่ได้มีคุณสมบัติการต้านการแทรกซึมของคลอไรด์ได้น้อย สามารถนำคอนกรีตไปใช้งานได้ในบริเวณที่มีปริมาณคลอไรด์น้อย ๆ เช่น บริเวณที่ห่างจากทะเล</p> เจนณรงค์ จันทร์ยัง, พีระ ปานเขียว, ชลธิชา จันทร์เต็ม, ธนิยา เกาศล, วิชัยรัตน์ แก้วเจือ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2600 Thu, 06 Jul 2023 21:03:52 +0700 กำลังอัดของซีเมนต์มอร์ตาร์ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันในปริมาณสูง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1994 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้เถ้าปาล์มน้ำมันบดละเอียด (GPOFA) แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (OPC) ในปริมาณสูง ที่มีต่อกำลังอัดของซีเมนต์มอร์ตาร์ โดยนำเถ้าปาล์มน้ำมันจากโรงงาน (OPOFA) มาบดละเอียดจนมีขนาดอนุภาคเฉลี่ย (Median particle size, d50) เท่ากับ 7.7 ไมโครเมตร แทนที่ OPC ที่ร้อยละ 0, 20, 50, 60 และ 70 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน (CT, 20GPOFA, 50GPOFA, 60GPOFA และ 70GPOFA) กำหนดอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานจากค่าปริมาณน้ำซึ่งทำให้เกิดค่าการไหลแผ่ร้อยละ 110±5 ผลการทดสอบพบว่า ซีเมนต์มอร์ตาร์ 20GPOFA, 50GPOFA, 60GPOFA และ 70GPOFA สามารถพัฒนากำลังอัดที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 33.4, 30.1, 23.9 และ 16.1 เมกะปาสคาล หรือคิดเป็นร้อยละ 86, 77, 61 และ 41 ของ CT ตามลำดับ สำหรับการประเมินต้นทุนการผลิต พบว่า ซีเมนต์มอร์ตาร์ที่แทนที่ OPC ด้วย GPOFA มีต้นทุนวัสดุลดลงร้อยละ 12 ถึง 42 ในขณะที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พบว่าซีเมนต์มอร์ตาร์ 20GPOFA, 50GPOFA, 60GPOFA และ 70GPOFA มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงร้อยละ 16 ถึง 56 เมื่อเทียบกับ CT จากผลการทดสอบ สรุปได้ว่า GPOFA เป็นวัสดุปอซโซลานที่สามารถใช้แทนที่ OPC ได้ถึงร้อยละ 50 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน เพื่อผลิตเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถลดต้นทุนในการผลิตลงได้ด้วย</p> ทวิช กล้าแท้, นภดล ศรภักดี, ชูเกียรติ ชูสกุล, สุพร ฤทธิภักดี, ประชุม คำพุฒ, เซาฟีร์ ดือราแม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1994 Thu, 06 Jul 2023 21:11:38 +0700 สมบัติของมอร์ตาร์จากปอร์ตแลนด์ซีเมนต์เมื่อเติมน้ำยางข้นที่ปรับปรุงด้วย สารลดแรงตึงผิวโนนิลฟีนอลอีทอกซีเลต https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2122 <p>งานวิจัยนี้ทดสอบกำลังรับแรงอัด, กำลังรับแรงดัด, กำลังรับแรงดึงและความทนทานต่อการขัดสีของซีเมนต์มอร์ตาร์เมื่อเติมน้ำยางข้นที่ปรับปรุงด้วยสารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ Nonyl Phenol Ethoxylate (NPE) โดยใช้อัตราส่วน NPE ร้อยละ 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ ทำการทดสอบตัวอย่างที่อายุ 7 และ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่ากำลังรับแรงอัดของมอร์ตาร์มีแนวโน้มลดลงตามร้อยละที่เพิ่มขึ้นของ NPE และกำลังรับแรงดัดของซีเมนต์มอร์ตาร์เมื่อเติมน้ำยางข้นที่ปรับปรุงด้วยสาร NPE จากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 2 ที่อายุบ่ม 28 วัน ทำให้กำลังรับแรงดัดของซีเมนต์มอร์ตาร์มีค่าเพิ่มขึ้นจาก 85.76 กก./ซม.2 เป็น 88.01 กก./ซม.2 และกำลังรับแรงดึงของซีเมนต์มอร์ตาร์มีค่าสูงขึ้นเมื่อเติมน้ำยางข้นที่ปรับปรุงด้วยสาร NPE 2 เปอร์เซ็นต์ ที่อายุบ่ม 28 วัน โดยมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 60.86 กก./ซม.2 เป็น 72.87 กก./ซม.2 และความทนทานต่อการขัดสีพบว่าซีเมนต์มอร์ตาร์ทนต่อการขัดสีเพิ่มขึ้นเมื่อเติมน้ำยางข้นที่ปรับปรุงด้วยสาร NPE ทุกอัตราส่วนผสม สรุปได้ว่าสาร NPE ที่นำมาใช้ในการเตรียมน้ำยางข้นสามารถทำให้น้ำยางข้นมีการกระจายตัวที่ดีและช่วยให้เนื้อยางไม่จับตัวกันเป็นก้อนก่อนที่จะนำไปผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จากนั้นเนื้อยางที่ผสม NPE จะเข้าไปช่วยทำให้เกิดแผ่นฟิล์มและเส้นใยยางแทรกอยู่ในเนื้อมอร์ต้าร์ เมื่อยางคงรูปแล้วจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแรงดัดและแรงดึงได้</p> รฐนนท์ ภูนาแก้ว, เจริญชัย ฤทธิรุทธ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2122 Thu, 06 Jul 2023 21:17:14 +0700 สมบัติทางกลและคสมบัติทางกลและความคงทนของมอร์ตาร์ไหลอัดแน่นด้วยตนเอง ผสมร่วมขยะจากแผงวงจรพิมพ์และเถ้าลอยวามคงทนของมอร์ตาร์ไหลอัดแน่นด้วยตนเอง ผสมร่วมขยะจากแผงวงจรพิมพ์และเถ้าลอย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2159 <p>งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสมบัติทางกลและความคงทนจากสภาวะการกัดกร่อนของกรดซัลฟูริก เมื่อนำขยะจากแผงวงจรพิมพ์และเถ้าลอยมาผสมร่วมในการผลิตมอร์ตาร์ไหลอัดแน่นด้วยตนเอง ในการออกแบบส่วนผสมมอร์ตาร์ได้นำเอาเถ้าลอยมาทำการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ในอัตราส่วนร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก และขยะจากแผงวงจรพิมพ์นำมาเป็นวัสดุผสมเพิ่มในอัตราส่วนร้อยละ 5, 10, 15, และ 20 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.47 กำหนดระยะการไหลแผ่ของมอร์ตาร์ไหลอัดแน่นด้วยตนเองคงที่ทุกส่วนผสมอยู่ในช่วง 255 เซนติเมตร ทำการทดสอบความสามารถในการไหล กำลังอัด กำลังดัด การดูดซึมน้ำและความคงทนจากสภาวะการกัดกร่อนของกรดซัลฟูริกที่อายุการบ่มสูงสุด 90 วัน ผลการทดสอบพบว่าความสามารถในการไหลมีแนวโน้มลดลงเมื่อปริมาณขยะจากแผงวงจรพิมพ์ในส่วนผสมเพิ่มขึ้น ในขณะที่กำลังอัด กำลังดัด การดูดซึมน้ำและความคงทนจากสภาวะการกัดกร่อนของกรดซัลฟูริกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณขยะจากแผงวงจรพิมพ์ในส่วนผสมเพิ่มขึ้น โดยมอร์ตาร์ไหลอัดแน่นด้วยตนเองผสมร่วมขยะจากแผงวงจรพิมพ์ปริมาณที่เหมาะสมไม่ควรเกินร้อยละ 15 ซึ่งมีกำลังอัดและกำลังดัดเท่ากับ 38.25 และ 8.23 MPa ในขณะที่ร้อยละการดูดซึมน้ำและการสูญเสียกำลังอัดจากสภาวะการกัดกร่อนของกรดซัลฟูริกเท่ากับ 7.06 และ 55.05 ตามลำดับ</p> ธนกร กลางบุรัมย์ชากร, บุรฉัตร ฉัตรวีระ, กฤษฎา เสือเอี่ยม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2159 Thu, 06 Jul 2023 21:21:24 +0700 กําลังรับแรงอัดและโครงสร้างทางจุลภาคของเพสต์จีโอโพลิเมอร์จากเถ้าปาล์มน้ำมันผสมอลูมิเนียมฟอยล์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2188 <p>งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดที่อายุ 7 วัน และโครงสร้างทางจุลภาคของเพสต์จีโอโพลิเมอร์จากเถ้าปาล์มน้ำมันผสมอลูมเนียมฟอยล์ โดยการแทนที่เถ้าปาล์มน้ำมันด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ ในอัตราร้อยละ 0, 2.5 และ 5.0 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนสารละลายด่างต่อวัสดุประสาน เท่ากับ 0.9, 1.0 และ 1.1 อัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เท่ากับ 1.0 ความเข้มข้นของสารละลายด่าง เท่ากับ 12.5 โมลาร์ บ่มที่อุณหภูมิ 30, 40, และ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง และบ่มต่อที่อุณหภูมิห้อง อีก 5 วันก่อนทดสอบกำลังอัด จากการศึกษาพบว่าค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้นตามปริมาณการแทนที่ด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ เนื่องจากเป็นการเพิ่มปริมาณไอออนของอลูมิเนียมให้กับระบบ ทำให้อัตราส่วน Si/Al มีค่าเหมาะสม เกิดการเชื่อมต่อพันธะ Si-O-Al ในปริมาณมาก ซึ่งส่งผลต่อกำลังอัดที่เพิ่มมากขึ้น แต่ปริมาณของอลูมิเนียมฟอยล์ที่มากกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก ทำให้เพสต์จีโอโพลิเมอร์เกิดการก่อตัวเร็ว ไม่สามารถขึ้นรูปได้ ผลของการบ่มที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ให้ค่ากำลังอัดสูงขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิสูงจะช่วยเร่งปฏิกิริยาจีโอโพลิเมอร์ไรเซชัน ทำการศึกษาโครงสร้างทางจุลภาคของเพสต์จีโอโพลิเมอร์ โดยการศึกษาภาพถ่ายกำลังขยายสูงของเพสต์จีโอโพลิเมอร์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและการศึกษาหมู่ฟังก์ชันของเพสต์จีโอโพลิเมอร์ ทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี</p> อุกฤษฏ์ โข่ศรี, กรกนก บุญเสริม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2188 Thu, 06 Jul 2023 21:25:31 +0700 สมบัติของมอร์ตาร์ไหลอัดแน่นด้วยตัวเอง ผสมร่วมทรายพ่นเหลือทิ้งและผงแคลเซียมคาร์บอเนต https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2224 <p>การพ่นทรายเป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรก การกัดกร่อนสีหรือวัสดุเคลือบต่าง ๆ บนพื้นผิววัตถุ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการต่อเรือและบำรุงรักษา การบำรุงรักษาสะพานหรือการปฏิบัติการทางทหาร เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและประหยัดแต่ในขณะเดียวกันก็สร้างของเหลือทิ้งจำนวนมากเช่นเดียวกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของมอร์ตาร์ไหลอัดแน่นด้วยตัวเองผสมร่วมทรายพ่นเหลือทิ้งจากกระบวนการพ่นทรายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยการนำทรายพ่นเหลือทิ้งมาแทนที่มวลรวมละเอียดในอัตราส่วนร้อยละ 0, 20, 40, 60, 80 และ 100 โดยน้ำหนัก ผสมร่วมผงแคลเซียมคาร์บอเนตแทนที่ปูนซีเมนต์ในอัตราส่วนร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก โดยกำหนดค่าการไหลแผ่ของทุกส่วนผสมอยู่ในช่วง 25±5 เซนติเมตร ทำการทดสอบความสามารถในการไหลและสมบัติของมอร์ตาร์แข็งตัวซึ่งประกอบไปด้วยกำลังอัด และกำลังดัด ที่อายุบ่มสูงสุด 90 วัน ผลการทดสอบพบว่าอายุบ่ม 90 วัน มอร์ตาร์ไหลอัดแน่นด้วยตัวเองผสมร่วมทรายพ่นเหลือทิ้งร้อยละ 60 และผงแคลเซียมคาร์บอเนตร้อยละ 10 มีค่ากำลังอัดและกำลังดัดสูงสุดเท่ากับ 673.60 และ 82.43 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สูงกว่ามอร์ตาร์ควบคุมถึงร้อยละ 8 และ 25 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราการดูดกลืนน้ำมีแนวโน้มลดลงเมื่ออัตราส่วนการแทนที่ด้วยทรายพ่นเหลือทิ้งเพิ่มมากขึ้น</p> กัญวรรธน์ โสขุมา, บุรฉัตร ฉัตรวีระ, กฤษดา เสือเอี่ยม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2224 Thu, 06 Jul 2023 21:28:40 +0700 การเปรียบเทียบลักษณะทางฟิสิกส์ระหว่างปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2371 <p>กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุใช้ในงานโครงสร้างอาคาร มยผ. 1101 - 52 ถึง มยผ. 1106 - 52 เป็นมาตรฐานกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุใช้ในงานโครงสร้างอาคาร มยผ. 1101 - 64 ถึง มยผ. 1106 - 64 ซึ่ง มยผ. 1101 - 64 มาตรฐานงานคอนกรีตและคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้มีการเพิ่มเติมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกให้เป็นปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานก่อสร้างโครงสร้างได้ ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย (TCA) และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SIIT) ศึกษาสมบัติที่สำคัญของปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเปรียบเทียบกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยทำการศึกษาลักษณะทางฟิสิกส์ ได้แก่ ค่าความข้นเหลวปกติ ระยะเวลาในการก่อตัว กำลังอัด และการซึมผ่านของคลอไรด์ ของปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกตาม มอก.2594-2556 จากผู้ผลิต 6 ราย เปรียบเทียบกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 โดยผลการทดสอบพบว่าซีเมนต์เพลสที่ทำจากปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมีระยะเวลาก่อตัวต้นและระยะการก่อตัวปลายเร็วกว่าซีเมนต์เพลสที่ทำจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และกำลังอัดที่อายุ 28 วัน ของคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมีค่าสูงกว่าคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 นอกจากนี้การทดสอบการซึมผ่านของคลอไรด์ของคอนกรีตทั้ง 2 ชนิด พบว่าค่าความต้านทานต่อการซึมผ่านของคลอไรด์ได้ใกล้เคียงกัน โดยผลการทดสอบในครั้งนี้ได้นำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง มยผ.1101-64 มาตรฐานงานคอนกรีตและคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งปัจจุบันกรมโยธาธิการและผังเมืองได้เผยแพร่มาตรฐานนี้ให้ทั้งหน่วยงานของกรมโยธาธิการและผังเมืองและหน่วยงานอื่นของรัฐในทุกจังหวัด เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมาใช้ในงานก่อสร้างของตน เพื่อร่วมขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยต่อไป</p> สุวัฒน์ รามจันทร์, ธนิต ใจสอาด Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2371 Thu, 06 Jul 2023 21:31:51 +0700 แรงยึดเหนี่ยวของวัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาสในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้ทรายละเอียด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1981 <p>บทความนี้นำเสนอกำลังรับแรงอัดและแรงยึดเหนี่ยวของวัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาสในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้ทรายละเอียด ตัวแปรด้านกำลังรับแรงอัดที่ศึกษาประกอบด้วย อัตราสารละลายของโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 1.0 ถึง 2.5 อัตราส่วนมวลรวมต่อจีโอโพลิเมอร์เพสต์เท่ากับ 2.5 ถึง 4.5 และโมดูลัสความละเอียดทรายเท่ากับ 1.90 และ 2.65 โดยความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 10 โมลาร์ อัตราส่วนสารละลายต่อสารตั้งต้นเท่ากับ 0.65 และขนาดโตสุดของหินเท่ากับ 20 มิลลิเมตร สำหรับแรงยึดเหนี่ยวของวัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาสในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตทดสอบมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 6 ถึง 20 มิลลิเมตร ผลทดสอบพบว่า อัตราส่วนมวลรวมต่อจีโอโพลิเมอร์เพสต์และอัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 2.5 และ 1.5 ตามลำดับ เมื่อใช้ทรายละเอียด เป็นสัดส่วนที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม เมื่อพิจารณาสมบัติด้านกำลังและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับหน่วยแรงยึดเหนี่ยวของไฟเบอร์กสาลรีบาร์ในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตเท่ากับ 3.43√F'c/D เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐาน วสท. จะมีค่าต่ำกว่าร้อยละ 24</p> ปิโยรส​ ทะเสนฮด, ณรงค์พล พัศดร, ประทักษ์ ซิมทิม, เริงฤทธิ์ ปุริทัศ, พัฒนศักดิ์ ชัยพรรณา, นัฐวุฒิ เหมะธุลินุ, พุฒิพัทธ์ พุฒิพัทธ์ ฉ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1981 Thu, 06 Jul 2023 22:00:53 +0700 การประเมินกำลังอัดประลัยของคอนกรีตด้วยวิธีทดสอบแบบไม่ทำลาย โดยวิธีค้อนกระแทก วิธีใช้คลื่นอัลตราโซนิก และวิธีทดสอบแบบรวม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2107 <p>งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการประเมินกำลังอัดประลัยของคอนกรีตด้วยวิธีการทดสอบแบบไม่ทำลาย ใช้วิธีทดสอบแบบรวม SonReb เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนกลับและความเร็วคลื่นอัลตราโซนิกกับกำลังอัดประลัยของคอนกรีต คอนกรีตมีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.35 0.45 0.55 0.65 และ 0.75 และมีสภาพการบ่มตัวอย่างคอนกรีตในน้ำและในอากาศ ผลการศึกษาพบว่าเมื่อคอนกรีตมีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานมากขึ้นทำให้กำลังอัดประลัย ค่าการสะท้อน และความเร็วคลื่นอัลตราโซนิกมีค่าลดลง ขณะที่คอนกรีตที่มีสภาพการบ่มตัวอย่างในน้ำให้ค่ากำลังอัดประลัย ค่าการสะท้อน และความเร็วคลื่นอัลตราโซนิกมากกว่าของคอนกรีตที่มีสภาพการบ่มตัวอย่างในอากาศ และยังพบว่าค่าการสะท้อนกลับและกำลังอัดประลัยของคอนกรีตมีความสัมพันธ์แบบเส้นตรง ส่วนค่าความเร็วคลื่นอัลตราโซนิกและกำลังอัดประลัยของคอนกรีตมีความสัมพันธ์แบบฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนกลับ (Q) และความเร็วคลื่นอัลตราโซนิก (V) กับกำลังอัดประลัยของคอนกรีต (f’c) ตามวิธีทดสอบแบบรวมมีค่าเป็นไปดังสมการ 〖"f '" 〗_"c" "=" 〖" 5.5308×" 〖"10" 〗^"-17" " " 〖"V " 〗^"4.6093" " Q" 〗^"1.0491" โดยมี "R" ^"2" "= 0.9628"</p> สนธยา ทองอรุณศรี, พร้อมพงศ์ ฉลาดธัญญกิจ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2107 Thu, 06 Jul 2023 22:08:54 +0700 แผ่นไม้อัดจากเส้นใยทางปาล์มน้ำมันผสมน้ำยางพารา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2329 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นไม้อัดจากเส้นใยทางปาล์มน้ำมันที่ยึดประสานด้วยกาวติดไม้ผสมน้ำยางพารา เป็นการนำทางปาล์มน้ำมันที่เหลือทิ้งจากภาคเกษตรมาทำการบดให้ละเอียด หลังจากนั้นคลุกเคล้ากับกาวติดไม้พร้อมกับพรมน้ำยางพาราในอัตราส่วนต่าง ๆ อัดขึ้นรูปโดยเครื่องอัดอเนกประสงค์ควบคุมแรงกดที่ 30 Ton จากการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราร้อยละ 0 10 20 30 40 และ 50 โดยน้ำหนักของกาวผงติดไม้ ส่งผลให้แผ่นไม้อัดจากเส้นใยทางปาล์มน้ำมันผสมน้ำยางพารามีค่าความหนาแน่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.19 11.60 19.24 19.46 และ 19.48 ตามลำดับ ความชื้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.61 23.20 26.86 32.74 และ 34.86 การพองตัวตามความหนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.66 21.85 5.88 26.89 และ 22.69 ความต้านแรงดัดลดลงร้อยละ 30.21 33.71 48.90 66.12 และ 69.11 มอดุลัสยืดหยุ่นลดลงร้อยละ 28.77 40.19 46.54 55.53 และ 61.03 การเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราในแผ่นไม้อัดจากเส้นใยทางปาล์มน้ำมัน เป็นการเสริมสร้างคุณสมบัติที่โดดเด่นให้กับแผ่นไม้อัดด้านการดัดโค้งงอได้ดียิ่งขึ้น จากการพยากรณ์ผลการทดสอบพบว่าหากเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราไม่เกินร้อยละ 4 จะทำให้แผ่นไม้อัดจากเส้นใยทางปาล์มน้ำมันมีค่าความต้านแรงดัด 21 MPa และค่ามอดุลัสยืดหยุ่นเท่ากับ 1800 MPa ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ มอก. 876-2547</p> เปรมณัช ชุมพร้อม, จรูญ เจริญเนตรกุล, จุฑามาศ ลักษณะกิจ, วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง, ทวีศักดิ์ ทองขวัญ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2329 Thu, 06 Jul 2023 22:13:36 +0700 การพัฒนากำลังของไม้ปาล์มน้ำมันด้วยน้ำยางพาราและการบีบอัด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2331 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงกลสมบัติของไม้ปาล์มน้ำมันด้วยน้ำยางพารา โดยใช้ไม้ปาล์มน้ำมันที่ช่วงอายุระหว่าง 25-30 ปี ตำแหน่งการเก็บตัวอย่างของชิ้นไม้อยู่ในช่วงความสูงไม่เกิน 2 m จากโคนต้น นำมาแปรรูปให้ได้ขนาดตามมาตรฐานการทดสอบไม้ ASTM D 143 อบให้ค่าความชื้นอยู่ในช่วงค่ามาตรฐานร้อยละ 12 - 16 นำตัวอย่างไม้ปาล์มน้ำมันมาอัดน้ำยางพาราด้วยเครื่องอัดใช้กำลังอัดขนาด 5.6 ksc เพื่อให้น้ำยางพาราแทรกซึมไปตามช่องว่างของเนื้อไม้ให้มากที่สุดซึ่งจะช่วยเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเนื้อไม้ได้ดีขึ้น จากนั้นนำมาบีบอัดเพื่อรีดน้ำยางพาราส่วนเกินออกด้วยเครื่องอัดเอนกประสงค์ใช้หน่วยแรงขนาด 15 30 และ 45 ksc ผลทดสอบกลสมบัติของไม้ปาล์มน้ำมันอัดน้ำยางพาราพบว่า ไม้ปาล์มน้ำมันที่ผ่านการอัดน้ำยางพาราและบีบอัดด้วยหน่วยแรง 30 ksc มีค่ากลสมบัติเพิ่มขึ้นสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับไม้ปาล์มน้ำมันทั่วไป โดยมีค่ากำลังต้านทานแรงอัดในแนวขนานเสี้ยนเพิ่มขึ้นร้อยละ 96.50 กำลังต้านทานแรงอัดในแนวตั้งฉากเสี้ยนเพิ่มขึ้นร้อยละ 147.55 กำลังต้านทานแรงเฉือนในแนวขนานเสี้ยนเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.47 และมีกำลังต้านทานแรงดัดโค้งงอเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.95 ดังนั้นการนำน้ำยางพารามาปรับปรุงกลสมบัติของไม้ปาล์มน้ำมันโดยใช้การอัดแรงดันร่วมกับการบีบอัดจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถนำมาปรับปรุงกลสมบัติของไม้ปาล์มน้ำมันได้เป็นอย่างดี</p> เปรมณัช ชุมพร้อม, จรูญ เจริญเนตรกุล, พรนรายณ์ บุญราศรี, สมมาตร์ สวัสดิ์, ถาวร เกื้อสกูล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2331 Thu, 06 Jul 2023 22:18:40 +0700 การคัดเลือกเทคโนโลยีวิธีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่เหมาะสมโดยใช้ ค่าคะแนนปัจจัยในการตัดสินใจแบบถ่วงน้ำหนัก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1972 <p>ปัจจุบันการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในบริเวณพื้นที่จำกัดที่มีอุปสรรค ยังไม่มีเกณฑ์ในการคัดเลือกวิธีการก่อสร้างที่ชัดเจน ครอบคลุมปัจจัยในหลายๆ ด้านที่สำคัญ เช่น ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านวิศวกรรม และ ด้านสังคมฯ งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาปัจจัยและหาค่าน้ำหนักของปัจจัยสำหรับการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีวิธีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ารูปแบบต่างๆ ด้วยการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบลำดับชั้นสำหรับปัจจัยหลักทั้ง 3 และวิเคราะห์ด้วยวิธี ROC สำหรับปัจจัยรองจำนวน 7-8 ปัจจัยในแต่ละปัจจัยหลักที่แยกตามส่วนโครงสร้างที่พิจารณา โดยพบว่าสำหรับโครงการรถไฟฟ้าแบบ Monorail ปัจจัยหลักด้านวิศวกรรมฯ มีความสำคัญที่สุด 54% ปัจจัยด้านสังคมฯ 26% และ ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ 20% ตามลำดับ ค่าน้ำหนักของปัจจัยต่างๆ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือกวิธีก่อสร้างของกรณีศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงบริเวณบนถนนประเสริฐมนูกิจ ที่มีแนวเส้นทางซ้อนทับกับโครงการก่อสร้างทางด่วนใหม่ขั้นที่ 3 ผลการวิเคราะห์พบว่าค่าน้ำหนักที่ได้จากงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือและสามารถใช้งานได้จริง</p> ทรงพล จารุวิศิษฏ์, ศุภวุฒิ มาลัยกฤษณะชลี, เทอดศักดิ์ รองวิริยะพานิช, ปิยะ โชติกไกร, วันชัย ยอดสุดใจ, สุสิทธิ์ ฉายประกายแก้ว, อัญชลี เจนพานิชทรัพย์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1972 Wed, 05 Jul 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความล่าช้าของการก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1999 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความล่าช้าของการก่อสร้างในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายสัญญาที่ 3 และเสนอแนวทางป้องกันความล่าช้า โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชากร กลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคลากรด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างนี้ จำนวน 57 คน และกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการของ ทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า ลำดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความล่าช้าในโครงการได้ดังนี้ 1.ปัจจัยความล่าช้าจากวิธีการก่อสร้าง ค่าเฉลี่ย 3.28 2.ปัจจัยความล่าช้าจากด้านบุคลากร ค่าเฉลี่ย 3.18 3.ปัจจัยความล่าช้าจากด้านการบริหารจัดการ ค่าเฉลี่ย 3.06 4.ปัจจัยความล่าช้าจากระเบียบและข้อกฎหมาย ค่าเฉลี่ย 2.93 5.ปัจจัยความล่าช้าจากด้านการเงิน ค่าเฉลี่ย 2.80 6.ปัจจัยความล่าช้าจากด้านเครื่องจักรกล ค่าเฉลี่ย 2.78 และ 7.ปัจจัยความล่าช้าจากด้านวัสดุ ค่าเฉลี่ย 2.51 จากผลการศึกษาได้นำมาเสนอแนวทางในการบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง เพื่อป้องกันและลดปัญหาจากความล่าช้า ทำให้การบริหารงานบรรลุผลสำเร็จตามเงื่อนไขสัญญา</p> สิทธิโชค สุนทรโอภาส, สิวิมล สายโกมล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1999 Fri, 07 Jul 2023 22:47:03 +0700 การวิเคราะห์หาระยะเวลาสัมปทานที่เหมาะสมของโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนโดยใช้การจำลองมอนติคาร์โลและทฤษฎีเกม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2225 <p>ปัจจุบันมีการใช้สัญญาการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมากขึ้น โดยรัฐเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนและดำเนินการในโครงการ เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณและความสามารถในการกู้ อีกทั้งสัญญาการร่วมทุนยังส่งเสริมการแข่งขันของภาคเอกชนในการบริหารจัดการ ตลอดจนการแบ่งสรรความเสี่ยงที่เหมาะสมระหว่างรัฐและเอกชน อย่างไรก็ตามสัญญาร่วมทุนมักมีระยะเวลาคงที่และนานหลายปี เช่น 25-30 ปี เป็นต้น ซึ่งสัญญาระยะยาวย่อมมีความเสี่ยงสูง ทำให้มักเกิดเหตุการณ์ขอเจรจาแก้ไขสัญญาจากเอกชนผู้รับสัมปทานในช่วงดำเนินงาน กรณีที่หากเกิดเหตุการณ์เสี่ยงที่ส่งผลเชิงลบต่อผลการดำเนินงาน อีกทั้งโครงการร่วมลงทุนแต่ละโครงการมีบริบท ต้นทุน ผลประโยชน์และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ดังนั้นการกำหนดระยะเวลาสัมปทานที่เป็นแบบคงที่อาจทำให้ภาครัฐเสียโอกาสในรายได้ที่ควรจะได้รับกรณีที่โครงการมีผลการดำเนินงานดีกว่าที่ประเมินในรายงานผลการศึกษาโครงการ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อใช้วิเคราะห์ระยะเวลาสัมปทานที่เหมาะสมของโครงการภายใต้การจำลองแบบมอนติคาร์โล และใช้หลักทฤษฎีเกมเพื่อหาระยะเวลาสัมปทาน กรอบแนวคิดเชิงคำนวณยังสามารถนำไปใช้หาระยะเวลาปรับเพิ่มลดลงของสัญญา หากมีการระบุเงื่อนไขของการปรับเพิ่มลดระยะเวลา เช่น การเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันของรายได้ที่ภาคเอกชนได้รับภายหลังจากการเปิดให้บริการจริงกับรายได้ที่คาดว่าจะได้รับในตอนทำสัญญา</p> ชานน อธิปัญญา, นคร กกแก้ว Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2225 Fri, 07 Jul 2023 22:52:21 +0700 การประเมินปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยโดยรูปแบบสภาพการณ์ดัชนี https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2022 <p>การประเมินความเสี่ยงในการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากการทำงานในการก่อสร้างรถไฟฟ้ามีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง อีกทั้งมีหลายหน่วยงานเกี่ยวข้องจึงยากแก่การป้องกันและส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมบริเวณเขตการก่อสร้างที่ตามมา การศึกษารูปแบบการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยอย่างมีระบบผ่านกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิศวกรโครงการ กลุ่มวิศวกรภาคสนาม กลุ่มเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และกลุ่มหัวหน้าช่าง เพื่อนำมาสร้างรูปแบบการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลสภาพการณ์ปัจจุบันมาช่วยในการตัดสินใจประเมินความเสี่ยงบริเวณพื้นก่อสร้างในอนาคต ผลจากการประเมินความเสี่ยงบริเวณพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยด้วยรูปแบบสภาพการณ์ดัชนี พบว่า มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 4 ปัจจัยหลักที่จะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบริเวณพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงด้านบุคคล ปัจจัยเสี่ยงด้านลักษณะงาน ปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำงาน และปัจจัยเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน รูปแบบในการประเมินความเสี่ยงบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโดยรูปแบบสภาพการณ์ดัชนีจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานและสามารถปรับใช้กับข้อมูลปัจจุบันได้</p> ฐิติวัฒน์ ตรีวงศ์, จำรูญ หฤทัยพันธ์, ปภาวี แสงสุข แสงสุข, ธนาคาร ทับทิมเหล้า, ศรัณย์ ศรีสุพล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2022 Fri, 07 Jul 2023 23:00:32 +0700 การประมาณระยะเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินงานสำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ด้วยวิธี PERT/CPM https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2286 <p>สำหรับกรอบระยะเวลาในโครงการก่อสร้าง มักเป็นปัญหาให้กับทีมบริหารโครงการเสมอ โครงการก่อสร้างทั่วไปที่มีระยะเวลาในการดำเนินงานมากเกินความเป็นจริง ซึ่งขาดการบริหารจัดการโครงการที่ดีนั้น ทำให้ส่งผลเสียต่อเจ้าของโครงการ จากการที่ จำเป็นจะต้องใช้สิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นหาผลประโยชน์ ทำให้สูญเสียรายได้ในส่วนที่จะต้องได้จากส่วนระยะเวลาที่ใช้เกินความเป็นจริงในการก่อสร้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เทคนิควิธีประเมินผลงานและปรับปรุงแก้ไข ( Project Evaluation and Review Technique ; PERT ) และ วิธีเส้นทางวิกฤติ ( Critical Path Method ; CPM ) ศึกษาวิธีการวางแผนงานก่อสร้าง และเปรียบเทียบหาระยะเวลาในการดำเนินงานที่เหมาะสม จากโครงการตัวอย่างจำนวน 5 โครงการ ที่มีประเภทของงานก่อสร้างในลักษณะงานที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาโดยการจำลองแผนการดำเนินงานที่อ้างอิงจากแผนการดำเนินงานจริง พบว่า ทั้ง 5 โครงการ จากความน่าจะเป็นที่งานจะแล้วเสร็จคือ 50% , 70% และ 90% ได้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่เหมาะสมเฉลี่ยจากระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา คือ 73.99% , 82.19% และ 89.52% ตามลำดับ</p> วศิน นันตสุข, นัทกาญจน์ ประเสริฐสังข์, พิทักษ์ ปักษานนท์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2286 Fri, 07 Jul 2023 23:06:47 +0700 การศึกษาอัตราส่วนพื้นที่อาคารสําหรับการบริหารโครงการก่อสร้างอาคารชุดแนวราบ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2003 <p>โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เหตุผลหลักมาจากการพัฒนาของเมืองและการขยายตัวของโครงข่ายคมนาคม ซึ่งทำให้รูปแบบการอยู่อาศัยในเขตกรุงเทพและปริมณฑลจึงมีการปรับเปลี่ยนจากบ้านพักอาศํยแนวราบเป็นอาคารชุดแนวราบโดยเฉพาะทำเลตามรถไฟฟ้า ดังนั้นการกำหนดพื้นที่และข้อมูลทางกายภาพของอาคารที่เหมาะสมจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าเฉลี่ยสัดส่วนของพื้นที่ใช้สอยและข้อมูลทางกายภาพของอาคารสำหรับการจัดวางผังอาคารแต่ละประเภท ซึ่งข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มาจากอาคารชุดแนวราบในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 70 โครงการ และวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและค่าอัตราส่วน ผลการวิจัยหลักๆพบว่า สัดส่วนค่าเฉลี่ยร้อยละของพื้นที่ขายต่อพื้นที่ก่อสร้างในแต่ละลักษณะของผังอาคารมีค่าร้อยละ 65.76-66.84 จำนวนที่จอดรถต่อจำนวนห้องพักมีค่าร้อยละ 35.31-43.98 และอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินโครงการมีค่าเท่ากับ 2.7-3.11 สุดท้ายนี้ผู้บริหารโครงการก่อสร้างในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบโครงการ, การบริหารต้นทุน และการบริหารโครงการก่อสร้างอาคารชุดแนวราบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> ปัญญา ธัญมณีสิน, มงคล อัศวดิลกฤทธิ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2003 Sat, 08 Jul 2023 09:31:39 +0700 ข้อแตกต่างของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคส าหรับหมู่บ้านจัดสรร ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2020 <p>กฎหมายเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภคสำหรับหมู่บ้านจัดสรรในประเทศไทยได้ถูกบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีบทบัญญัติในกฎหมายอีกหลายฉบับที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสาธารณูปโภคของบ้านจัดสรรอยู่ด้วย ประกอบด้วยประกาศและระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จำนวน 35 ฉบับ ข้อกำหนดที่ออกโดยคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด เป็นจำนวน 181 ฉบับ รวมทั้งกฎหมายและมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บทบัญญัติต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน รวมทั้งมีความซับซ้อนในการทำความเข้าใจเมื่อจะนำไปใช้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและบ่งชี้ข้อแตกต่างของกฎหมาย ข้อกำหนด และมาตรฐานต่าง ๆ ของรายการระบบสาธารณูปโภคในกฎหมายเหล่านั้น เพื่อให้สะดวกต่อการอ้างอิงและการนำไปใช้งาน พร้อมทั้งนำเสนอข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับกฎหมายเหล่านี้ คณะผู้วิจัยได้แบ่งระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้านจัดสรรออกเป็น 19 รายการ โดยจำแนกได้เป็น 2 หมวดหมู่ ประกอบด้วยระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดินและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 รายการ และอีก 7 รายการที่แนะนำโดยคณะอนุกรรมการ วสท. ให้เป็นสาธารณูปโภคเพื่อความปลอดภัยและเพื่อความสะดวกในการใช้งาน คณะผู้วิจัยได้บ่งชี้ความแตกต่างของกฎหมายเหล่านี้ไว้ทั้งในรูปการจัดกลุ่มแบบตารางและในลักษณะของคำอธิบายสำหรับแต่ละรายการของสาธารณูปโภค</p> บุญส่ง ธัญกิจ, จิรวัฒน์ ดำริห์อนันต์, กันตวิชญ์ สุพรรณแสง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2020 Sat, 08 Jul 2023 09:37:36 +0700 การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในยุคปัจจุบัน ด้วยการวิเคราะห์ PESTLE https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2110 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การสำรวจความต้องการของตลาดและการศึกษาความเป็นไปได้ก่อนเริ่มโครงการหรือธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องในปัจจัยหลายด้าน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย และด้านสิ่งแวดล้อมโครงการ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรในการลงทุนสูงและการแข่งขันในตลาดความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง การสำรวจความต้องการของตลาดและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอสังหาริมทรัพย์ก่อนเริ่มโครงการจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสามารถส่งผลให้ผู้ประกอบการมองมิติทางธุรกิจได้รอบด้านและลึกซึ้งมากขึ้นโดยงานวิจัยนี้ได้สำรวจข้อมูลลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคนไทย 50 คนและคนต่างชาติ 50 คนและนำข้อมูลจากการสำรวจมาสรุปแนวทางการพัฒนาโครงการและต้นแบบบ้านเดี่ยวและการดีไซน์โครงการใหม่ในอำเภอสันกำแพงและอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อคำนวนความเป็นไปได้โครงการใน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย และด้านสิ่งแวดล้อมโครงการและสรุปผลความเป็นไปได้โครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่โดยผลการค้นคว้าสามารถสรุปการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการ ความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่และผลของการศึกษาสามารถใช้เป็นกรอบความคิดในการบริหารงาน การจัดการทรัพยากรทุกด้านให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด</p> <p>คำสำคัญ: สำรวจความต้องการตลาด, ศึกษาความเป็นไปได้, อสังหาริมทรัพย์</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>Market survey and feasibility study in every type of businesses are necessary and inevitable. Especially in real estate business sector which is a complex business that involves many related aspects ; Economic, Social, Technological, Legal and Environmental. Due to real estate is a business which requires high investment resources and quite competitive in the market. In additions market’s demands constantly change according to the current situations. Surveying the market demand and studying the feasibility of real estate projects before starting the project is essential and can lead entrepreneurs or decision makers of the project to understand at business dimensions more comprehensively. This research has surveyed the target group of 50 Thai people and 50 foreigners and used the survey data to summarize the project development guidelines and prototypes of detached house and project design to calculate the feasibility of the project in Economic, Social, Technological, Legal and Environmental aspects of the project and summary of the feasibility of residential real estate projects in Sankampang and Hang Dong districts in Chiang Mai. The results of the research can summarize the appropriate investment of the project. The needs of new target group of customers and the results of the study can be used as a conceptual framework for resource management in all aspects.</p> <p>Keywords: Market Survey, Feasibility Study, Real Estate<span class="Apple-converted-space">&nbsp;</span></p> ธันญ์วริน สกุลเจริญรัตน์, มานพ แก้วโมราเจริญ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2110 Sat, 08 Jul 2023 09:40:53 +0700 กรณีศึกษาการปรับปรุงแบบอาคารชุดพักอาศัยเพื่อขอการรับรองมาตรฐานอาคารเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (well building) ในประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2402 <p>ในปัจจุบัน ผู้ที่กำลังเลือกซื้อที่พักอาศัยนั้นให้ความสำคัญกับลักษณะสภาพแวดล้อม บรรยากาศและสุขภาวะของโครงการมากขึ้น มาตรฐาน Well เป็นหนึ่งในมาตรฐานที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กร The International WELL Building Institute (IWBI) จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าโครงการที่พักอาศัยที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานนั้น ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงสุขอนามัย สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัย การรับรองมาตรฐาน WELL ในเวอร์ชันที่ 1 นั้นจะเน้นไปที่อาคารเชิงพานิชย์และสถาบัน อย่างไรก็ตาม โครงการประเภทอื่นสามารถขอการรับรองผ่าน WELL Pilot Program ซึ่งในงานวิจัยนี้สนใจไปที่การรับรองมาตรฐาน Well Pilot Program v1 ประเภทอาคารชุดพักอาศัย (Multifamily residences) มาตรฐาน WELL แบ่งเกณฑ์การประเมินออกเป็นสามระดับ ได้แก่ SILVER , GOLD , PLATINUM โดยพิจารณาคุณลักษณะของอาคาร 7 ด้าน ได้แก่ อากาศ น้ำ สาธารณูปโภค แสง การออกกำลังกาย สภาพแวดล้อม และจิตใจ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาอาคารเพื่อขอการรับรองตามมาตรฐาน WELL โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมเอกสาร สัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่ได้รับรองตามมาตรฐาน WELL Multifamily Certified TM ระดับ Gold นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังได้วิเคราะห์ต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงแบบอาคาร ตลอดจนศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนามาตรฐานอาคาร ผลการศึกษาที่ได้สามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังวางแผนพัฒนาโครงการลักษณะนี้ในอนาคต</p> เกศินี ศาสตร์ศิริ, กวิน ตันติเสวี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2402 Sat, 08 Jul 2023 09:44:22 +0700 มุมมองปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารโครงการก่อสร้าง กรณีศึกษาอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัยของภาครัฐ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2417 <p>ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัยเกิดขึ้นมากมายทั้งในส่วนของโครงการภาครัฐและเอกชน ในส่วนของหน่วยงานรัฐ มีการลงทุนที่สำคัญในโครงการก่อสร้างอยู่หลายโครงการ ซึ่งมีทั้งโครงการที่ดำเนินการเป็นไปตามแผนงาน เร็วกว่าแผนงานและล่าช้ากว่าแผนงาน รวมไปถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปีให้เป็นไปตามกำหนดของปริมาณกรอบวงเงินกู้ที่ได้ทำการกู้มานับเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการบริหารโครงการด้วยเช่นกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการบริหารโครงการก่อสร้าง ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายเจ้าของโครงการ ฝ่ายผู้ออกแบบ ฝ่ายที่ปรึกษา และฝ่ายผู้รับเหมา งานวิจัยนี้แบ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารโครงการก่อสร้างออกเป็น 6 ปัจจัยประกอบไปด้วย 1) ปัจจัยด้านบุคคล 2) ปัจจัยด้านเงิน 3) ปัจจัยด้านเครื่องจักร 4) ปัจจัยด้านวัสดุ 5) ปัจจัยด้านวิธีการก่อสร้าง 6) ปัจจัยด้านอื่น ๆ โดยศึกษาโครงการก่อสร้างประเภทอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัยของหน่วยงานรัฐ จำนวน 8 โครงการ ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการบริหารโครงการก่อสร้างตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารโครงการก่อสร้าง และทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารโครงการก่อสร้างอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้</p> ชยุตม์ ธรรมิกพงษ์, สุชัญญา โปษยะนันทน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2417 Sat, 08 Jul 2023 09:48:34 +0700 คาร์บอนฟุตพรินต์องค์กร: กรณีศึกษา โรงหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป บริษัท กาญจน์กนก พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2030 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและวิเคราะห์ค่าคาร์บอนฟุตพรินต์องค์กรของโรงหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูปของบริษัท กาญจน์กนก พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ตามแนวทางขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยจำแนกเป็น 3 ขอบเขต ได้แก่ ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้า และขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (จำนวน 5 กลุ่มกิจกรรม) ระยะเวลาติดตามผลคือ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ผลการศึกษาแสดงว่าคาร์บอนฟุตพรินต์องค์กรของบริษัท กาญจน์กนก พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เท่ากับ 1,195.70 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) โดยขอบเขตที่ 3 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์มากที่สุดเท่ากับ 1,153.73 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 96.49 รองลงมาคือขอบเขตที่ 1 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์เท่ากับ 31.17 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 2.61 และขอบเขตที่ 2 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์เท่ากับ 10.79 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 0.90 ผลการเปรียบเทียบค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ต่อปริมาณงานหลัก พบว่า คาร์บอน ฟุตพรินต์ต่องานหล่อคอนกรีตและงานติดตั้งเหล็กเสริม เท่ากับ 0.516 tCO2e ต่อลูกบาศก์เมตร และ 6.002 tCO2e ต่อตัน ตามลำดับ</p> รัชชานนท์ สุขสวัสดิ์, นที สุริยานนท์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2030 Sat, 08 Jul 2023 00:00:00 +0700 ระบบการจัดเก็บองค์ความรู้แนวทางป้องกันการเสี่ยงภัยในโครงการก่อสร้างอาคาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2047 <p>งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการจัดเก็บองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการเสี่ยงภัยสำหรับโครงการก่อสร้างอาคาร เพื่อเป็นเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลและองค์ความรู้ ทำให้ความรู้ไม่สูญหายไปกับบุคคลหรือโครงการที่สิ้นสุด ใช้สื่อสารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุที่สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และผลกระทบต่อการบริหารงานก่อสร้าง โดยฐานข้อมูลหลักของระบบประกอบด้วย (1) ข้อมูลทั่วไป (2) ข้อมูลประเภทอุบัติเหตุและสาเหตุ (3) แนวทางในการป้องกัน องค์ความรู้ต้นแบบมาจากการเปรียบเทียบข้อกำหนดแนวทางการป้องกันของหน่วยงานภาครัฐในประเด็นที่เหมือนและแตกต่างเพื่อพัฒนาแบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการระบบความปลอดภัยในโครงการก่อสร้างอาคารถึงความสอดคล้องของข้อกำหนดกับการนำมาใช้จริงในทางปฏิบัติ ผู้วิจัยเลือกแนวทางการป้องกันภัย 4 อันตรายร้ายแรงในงานก่อสร้างจากข้อมูลสถิติของ OSHA มาเป็นกรณีศึกษา คือ (1) การตกจากที่สูง (2) การชนทับกระแทกด้วยวัสดุ (3) อันตรายจากไฟฟ้า (4) การติดด้านในหรือระหว่างเครื่องจักรกลหรือวัสดุ ความสามารถของระบบ คือ ผู้ใช้งานสามารถทำการบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อติดตามความคืบหน้าการปรับปรุงแก้ไข การค้นหาข้อมูลที่ต้องการทราบเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและวิธีการปฏิบัติตามเงื่อนไขประเภทอุบัติเหตุและสาเหตุ รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุแสดงให้เห็นถึงระดับความสามารถของการจัดการความปลอดภัยในหน่วยงานก่อสร้าง</p> ยุทธศิลป์ บูรณมณีศิลป์, ชลลดา เลาะฟอ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2047 Sat, 08 Jul 2023 09:58:58 +0700 การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยปัญหาที่เกิดจาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโครงการก่อสร้างในประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2118 <p>โรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก ทำให้เกิดภาวะเศรษกิจถดถอยและอุตสาหกรรมหลายภาคส่วนได้รับผลกระทบ รวมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 การแพร่ระบาดในโครงการทำให้โครงการก่อสร้างหยุดชะงักเนื่องจากการล็อคดาวน์ และจำเป็นต้องหยุดโครงการก่อสร้างไว้ชั่วคราว ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ในโครงการก่อสร้างในประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลผู้เกี่ยวข้องจำนวน 400 คนด้วยแบบสอบถามที่ประกอบไปด้วยปัจจัยจำนวน 37 ปัจจัยและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยปัญหาที่เกิดจาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ของโครงการก่อสร้างในประเทศไทย สามารถจัดกลุ่มได้ 5 กลุ่ม ประกอบไปด้วย ปัญหาในการดำเนินการโครงการ ปัญหาด้านเวลา ปัญหาด้านการส่งมอบโครงการ ปัญหาด้านความกังวลของพนักงาน และ ปัญหาความพร้อมในการรับมือโรคระบาด</p> เฉลิมเกียรติ คำหงษา, พีร์นิธิ อักษร, ณรงค์ เหลืองบุตรนาค Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2118 Sat, 08 Jul 2023 10:04:43 +0700 A Comparative Study of Life Cycle Cost and Carbon Emission of Precast and Cast-in Place Systems https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2471 <p>อุตสาหกรรมการก่อสร้างสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ และยังมีแนวโน้มที่จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อความต้องการวัสดุ แรงงาน และมลพิษที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อลดปัญหาด้านแรงงาน เจ้าของโครงการได้หันมาใช้วิธีการก่อสร้างใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น ระบบหล่อสำเร็จรูป เป็นต้น โดยมีการประเมินว่าระบบหล่อสำเร็จช่วยลดการใช้แรงงานได้ถึง 50% และลดเวลาก่อสร้างได้ 30% อย่างไรก็ตาม ต้นทุนก่อสร้างเป็นเพียงส่วนหนึ่งของต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน และราคาวัสดุและค่าแรงในช่วงการใช้งานก็มีความไม่แน่นอน ทำให้ผลการประเมินต้นทุนรวมในช่วงก่อสร้างและใช้งานอาจแตกต่างจากที่ได้ประเมินในช่วงก่อนการก่อสร้าง ดังนั้นการประเมินต้นทุนค่าใช้จ่ายตลอดอายุโครงการควรนำปัจจัยที่สำคัญมารวมในการวิเคราะห์ด้วย งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนรวมตลอดอายุของระบบคอนกรีตหล่อในที่และระบบหล่อสำเร็จรูป โดยประเมินต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการทำงาน พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายตลอดอายุโครงการด้วยวิธีการวิเคราะห์ความอ่อนไหว นอกจากนี้ยังศึกษาถึงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นในกิจกรรมก่อสร้างโดยวิธี Coefficient method เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานและปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของการก่อสร้างทั้ง 2 แบบ</p> รัชชานนท์ เอี่ยมรอด, นคร กกแก้ว Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2471 Sat, 08 Jul 2023 10:10:04 +0700 A Conceptual Framework for Evaluating Construction Safety Awareness Using Virtual Safety Games https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2480 <p>The construction industry is considered one of the most dangerous jobs globally, and lack of safety awareness is a major cause of accidents. Therefore, it is essential to evaluate the level of safety awareness among construction personnel at the site. Past research attempts evaluated safety awareness levels based on passive methods such as questionnaires and interviews, but these are self-evaluated and do not assess the ability of the person to apply safety knowledge in real-world scenarios. Recently, Virtual Reality (VR) games have been widely recognized for their applications in safety education and training and have been effectively used to assess safety knowledge, attitude, and hazard inspection. This research aims to develop a framework for assessing the existing level of safety awareness using VR games. The Input-Process-Output (IPO) model has been a popular game design model with improvements in components of game characteristics in the newer IPO models. Based on the ideology of these methods, a new conceptual framework was developed to assess safety awareness, which consists of safety knowledge and hazard detection as indicators. The details of steps involved in developing the key components of game design are explained in detail. In this research, safety awareness has been recognized in terms of safety knowledge and hazard detection. Player performance is reflected in each indicator; therefore, it provides clarity on the areas of awareness in which players lack or excel and can be managed accordingly. Thus, this framework can be used as a guideline in the development of assessment tools for safety awareness with VR games.</p> Sabnam Thapa, Vachara Peansupap Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2480 Sat, 08 Jul 2023 10:14:25 +0700 การพัฒนาแบบจำลองโดยใช้เทคนิคฟัซซีเอเอชพีสำหรับการประเมินความปลอดภัยในงานก่อสร้าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2404 <p>อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) ในโครงการก่อสร้าง มีความสำคัญในการที่จะช่วยลดอันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุจากการทำงานได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้ปฏิบัติงานบางกลุ่ม ยังมีการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง หรือผลเสียทางอ้อมต่อโครงการได้ งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อที่จะพัฒนากรอบงาน การประเมินพฤติกรรมแรงงานก่อสร้างที่ใช้/ไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลตามหลักความปลอดภัย ของโครงการก่อสร้างอาคารสูง ด้วยเทคนิคฟัซซีเอเอชพี (Fuzzy AHP) ซึ่งเป็นวิธีการที่ประยุกต์รวมเอาทฤษฎีฟัซซีเซท (Fuzzy Set) ที่มีความสามารถในการจัดการกับการตัดสินใจที่มีความคลุมเครือ เข้ากับวิธีกระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) ที่มีความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในโครงการ พิจารณาเป็นลำดับชั้น จะได้ค่าน้ำหนักระดับความสำคัญของเกณฑ์หรือปัจจัย จากนั้นนำไปพัฒนาแบบจำลอง (Model) เพื่อคำนวณค่าเปอร์เซ็นต์รวมความปลอดภัยของโครงการ</p> ธนิตเชษฐ์ ดวงโสมา, สุทธิชัย เจริญกิจ, พลกฤษณ์ ค้าขาย Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2404 Sat, 08 Jul 2023 10:17:40 +0700 การปฏิบัติงานและความตระหนักด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง กรณีศึกษาของพนักงานบริษัท 7 มกรา จำกัด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2611 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปฏิบัติงานและความตระหนักด้านความปลอดภัยของพนักงานบริษัท 7 มกรา จำกัด และ (2) เน้นย้ำอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานหากพนักงานไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ (3) ใช้ในการวางแผนให้พนักงานปฏิบัติงานตามข้อกำหนดขององค์ประกอบต่างๆ ของระบบการจัดการด้านความปลอดภัย (4) นำผลวิเคราะห์มาปรับปรุงเพื่อพัฒนาพนักงานขององค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานบริษัท 7 มกรา จำกัดจำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) t-test และสถิติ one-way anova ผลการศึกษาพบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ และระดับการ ศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานและความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพศที่ต่างกันของพนักงานเป็นตัวแปร ที่ทำให้มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและความตระหนักด้านความปลอดภัย พนักงานที่มีอายุต่างกันก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่เป็นปัจจัย ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ระดับการศึกษาก็มีผลที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพราะพนักงานส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในเรื่องของอุบัติเหตุจากการทำงาน ส่วนตำแหน่งงาน และรายได้ ที่ต่างกัน ไม่มีผล กระทบต่อการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการลดอุบัติเหตุในหน่วยงาน และสร้างพฤติกรรมให้พนักงานตระหนักถึงความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ</p> ธีระศักดิ์ ศิริวิทย์, ธนากร ภูเงินขำ, ทศพร ประเสริฐศรี, กฤษฎา อนันตกาลต์ , เอนก เนรมิตครบุรี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2611 Sat, 08 Jul 2023 10:24:27 +0700 การศึกษาปัญหาความล่าช้าในงานก่อสร้างของสัญญาจ้างออกแบบและก่อสร้าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2473 <p>สัญญาประเภทจ้างออกแบบและก่อสร้าง ได้ถูกนำมาใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชนมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยลดระยะเวลาของโครงการลง โดยการโอนความเสี่ยงมาอยู่ที่ฝ่ายผู้รับจ้าง และทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในหลายด้าน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการทำงาน วิเคราะห์ปัญหาความล่าช้าที่พบในโครงการ จากกรณีศึกษาจำนวน 2 โครงการ คือ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง บางปะอิน-นครราชสีมา (M6) และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง บางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) โดยการใช้แบบสอบถามในการสำรวจรายละเอียดข้อมูลทั่วไปของโครงการ ขั้นตอนการทำงานออกแบบและก่อสร้าง และการวัดระดับความสำคัญของปัญหาความล่าช้า ผลการเก็บข้อมูลจากผู้รับจ้างในโครงการ จำนวน 28 คน พบว่ามีการทำงาน 2 ลักษณะ คือ บริษัทผู้รับจ้างหลักของคนไทย กับบริษัทผู้รับจ้างช่วงของชาวต่างชาติ บริษัทผู้รับจ้างหลักจะทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการ และบริษัทผู้รับจ้างช่วงจะทำหน้าที่ส่วนออกแบบและส่วนก่อสร้าง ซึ่งได้ว่าจ้างบริษัทผู้ออกแบบช่วงของชาวต่างชาติทำการออกแบบงานก่อสร้างหลักที่สำคัญ สำหรับปัญหาในการทำงานเกิดจากปัญหาการสื่อสารและประสานงานภายในของคณะทำงานออกแบบและก่อสร้าง ปัญหาการออกแบบงานก่อสร้างล่าช้าและผิดพลาด ปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอและขาดความเชี่ยวชาญ ปัญหาการบริหารจัดการภายในคณะทำงานออกแบบและก่อสร้างจากวัฒนธรรมองค์กรและระบบการทำงานที่แตกต่างกัน ปัญหาการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างและการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างของเจ้าของโครงการ ผลการศึกษาพบว่าความล่าช้าที่พบเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) การออกแบบล่าช้า 2) การขาดสภาพคล่องทางการเงินของผู้รับจ้าง 3) การออกแบบที่ผิดพลาด 4) รายละเอียดของแบบก่อสร้างไม่ชัดเจน และ 5) การไม่จ่ายเงินให้ผู้รับจ้างย่อย</p> รัชชวิทย์ ระวังสำโรง, วรรณวิทย์ แต้มทอง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2473 Sat, 08 Jul 2023 10:28:22 +0700 การศึกษาปัญหาและอุปสรรคงานก่อสร้างอาคารในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2050 <p>ปัญหาและอุปสรรคของงานก่อสร้างอาคาร ที่มักจะเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำคือความล่าช้าของงานก่อสร้างที่ไม่แล้วเสร็จตามสัญญา ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และส่งผลกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น รวมถึงผู้ที่ใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ได้รับ ความเดือดร้อน การรู้ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา และการเตรียมการที่ดีจากข้อมูลของผู้ที่มีประสบการณ์ จะสามารถป้องกัน หรือลดผลกระทบที่อาจทำให้การก่อสร้างเกิดปัญหาได้ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคงานก่อสร้างอาคารในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคงานก่อสร้างอาคาร ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ควบคุมงาน กลุ่มผู้ตรวจการจ้าง และกลุ่มผู้รับเหมางานก่อสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้บริหาร พนักงาน คนงานหรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างอาคารในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคงานก่อสร้างอาคาร ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานที่มีผลกระทบมากที่สุด 5 อันดับแรกโดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ แรงงานไม่เพียงพอ ต่อปริมาณงาน ซึ่งมีค่าผลกระทบอยู่ในระดับมาก ( = 4.08) แรงงานหยุดงานเนื่องจากช่วงเทศกาล ซึ่งมีค่าผลกระทบอยู่ในระดับมาก ( = 4.00) ฝนตก (ทำให้ทำงานไม่ได้ หรือทำงานไม่สะดวก) ซึ่งมีค่าผลกระทบอยู่ในระดับมาก ( = 3.75) ผู้รับเหมาเริ่มงานช้า ทำให้ทำงานล่าช้า ซึ่งมีค่าผลกระทบอยู่ในระดับมาก ( = 3.58) การขาดสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทรับเหมา ซึ่งมีค่าผลกระทบอยู่ในระดับมาก ( = 3.50) ดังนั้นปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการควบคุมอย่างระมัดระวังเพื่อลดการเกิดปัญหาและอุปสรรคในงานก่อสร้างอาคาร</p> จันทิมา มณีโชติวงศ์, ศราวุธ จันทะราช, ศุภชัย ชัยบุรี, กิตติศักดิ์ ทองสุวรรณ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2050 Sat, 08 Jul 2023 10:34:25 +0700 ปัญหาในการบริหารงานก่อสร้างที่ส่งผลกระทบจนเกิดความล่าช้าของงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2272 <p>งานก่อสร้างโรงไฟฟ้ามีความสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า หากโครงการก่อสร้างเกิดปัญหาความล่าช้าจะส่งผลให้ปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงต่อความต้องการของประชาชน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความล่าช้าประเภทยอมรับไม่ได้จากการบริหารงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่มีการดำเนินงานก่อสร้างในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 2 ระยะได้แก่ ระยะดำเนินงานโครงการ และระยะปิดโครงการ โดยเก็บข้อมูลจาก (1) ข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบด้วย รายงานความก้าวหน้า เอกสารโต้ตอบระหว่างกลุ่มบริหารโครงการก่อสร้างและบริษัทคู่สัญญาตั้งแต่เริ่มต้นงานก่อสร้างจนถึงระยะปิดโครงการ และ (2) ข้อมูลปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลที่มีความรู้และทำงานในด้านการบริหารงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ผลการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิพบว่า ความล่าช้าประเภทยอมรับไม่ได้ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ในระยะดำเนินงานโครงการ คือ การติดตั้งวัสดุอุปกรณ์และทดสอบระบบนานกว่าแผนงานที่กำหนดไว้ ส่วนความล่าช้าประเภทยอมรับไม่ได้ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ในระยะปิดโครงการคือ การแก้ไขซ่อมแซมงานก่อสร้างนานกว่าแผนงานที่กำหนดไว้ โดยความล่าช้าของทั้ง 2 ระยะเกิดจากปัจจัยในการบริหารโครงการด้านขั้นตอนและการจัดการ เนื่องจาก 1) ขาดการประสานงานทำให้ใช้วิธีก่อสร้างที่ไม่เหมาะสม 2) ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในแบบก่อสร้างทำให้ก่อสร้างผิดไปจากแบบ 3) การจัดหาแรงงานไม่เพียงพอต่อปริมาณงานซึ่งอาจเกิดจากการประเมินจำนวนผิดพลาดหรือต้องการลดต้นทุน จึงมุ่งเน้นการดำเนินงานในพื้นที่ที่เป็นอุปกรณ์หลัก ทั้งนี้ หากมีการปรับปรุงการบริหารงาน โดยการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนในการดำเนินงานร่วมกัน การติดตามความก้าวหน้างานอย่างต่อเนื่องและปรับเปลี่ยนแผนงานอย่างเหมาะสมต่อสภาพการดำเนินงาน จะช่วยลดการเกิดปัญหาความล่าช้าได้ และเป็นประโยชน์ต่อโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่มีแผนจะดำเนินการก่อสร้างในอนาคต</p> พรทิวา บัวแดง, สุชัญญา โปษยะนันทน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2272 Sat, 08 Jul 2023 10:37:14 +0700 การศึกษาความสำคัญของข้อมูลรายงานบันทึกประจำวันเพื่อโครงการก่อสร้างในประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2537 <p>โครงการก่อสร้างมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของการรวบรวม ประมวลผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ ซึ่งชุดข้อมูลที่รวบรวมระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างจะถูกเรียกว่า รายงานประจำวัน โดยภายในรายงานประจำวันจะประกอบไปด้วย งานประเภทต่าง ๆ ที่มีดำเนินงาน ปริมาณงาน การใช้อุปกรณ์ ชั่วโมงแรงงานและวัสดุที่ใช้ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดัชนีตัวชี้วัดในรายงานบันทึกประจำวัน โดยการทำแบบสอบถามเพื่อใช้ในการหาความความสำคัญของข้อมูลในบันทึกประจำวันของโครงการก่อสร้าง แบบสอบถามถูกสร้างขึ้นจาก 53 ปัจจัยที่ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและถูกนำไปเก็บข้อมูลจากผู้มีข้อมูลจำนวน 30 ท่าน ข้อมูลที่ถูกเก็บมาจะถูกวิเคราะห์ด้วยค่าความเชื่อมั่น โดยผลการศึกษาพบว่าค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.939 และค่าดัชนีความสำคัญของปัจจัยที่มีความสำคัญในรายงานบันทึกประจำวันโครงการก่อสร้าง 5 ลำดับแรก คือ 1) ปริมาณการปฎิบัติงานที่ทำได้ 2) รายการปัญหาและอุปสรรคและแผนความปลอดภัย 3) แผนงานประจำวันและสาเหตุของความล่าช้าของงานในวันนี้ 4) ตารางความคืบหน้า 5) เวลาปัจจุบันกิจกรรมดำเนินงานและแผนการสั่งวัสดุ มีค่าระดับคะแนน RII สูงสุดเท่ากับ 0.953, 0.933, 0.927, 0.913 และ0.907 ตามลำดับ</p> ปริญญา น่าบัณฑิต, กอปร ศรีนาวิน, วุฒิพงษ์ กุศลคุ้ม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2537 Sat, 08 Jul 2023 10:42:38 +0700 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความล่าช้าในการส่งมอบระบบสุขาภิบาลและดับเพลิง สำหรับอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2422 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความล่าช้าในการส่งมอบงานระบบสุขาภิบาลและดับเพลิงอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษโดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษรวม จำนวน 3 โครงการและมีผู้ให้สัมภาษณ์ประกอบด้วย ได้แก่ วิศวกรผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงานที่ปรึกษาโครงการ ผู้จัดการโครงการ วิศวกรโครงการ วิศวกรสนาม ดราฟท์แมน โฟร์แมน ผู้รับเหมา จำนวนทั้งสิ้น 30 ราย การศึกษาปัญหาโครงการแบ่งกระบวนการติดตั้งระบบสุขาภิบาลและระบบดับเพลิงออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. กระบวนการผลิตและจัดเตรียม 2. กระบวนการติดตั้งและทดสอบ และ 3. กระบวนการส่งมอบงาน จากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้ปัญหาที่พบในแต่ละขั้นตอนพร้อมกับเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาตามผลกระทบด้านเวลาค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้วนำมาวิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนะแนวทางการป้องกันต่อไป โดยผลจากการศึกษาพบปัญหาความล่าช้าที่มีผลกระทบในการส่งมอบงานระบบสุขาภิบาลและดับเพลิงมากที่สุด 3 ลำดับคือ 1. การควบคุมงานติดตั้งและทดสอบไม่ดี 2. การประสานงานกันระหว่างผู้รับเหมา และ 3. การทำแบบเพื่อใช้ติดตั้งงานผิดคลาดเคลื่อน มีผลกระทบด้านเวลาค่าใช้จ่ายและต้นทุนมากที่สุดในโครงการอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ</p> ธนวัฒน์ เลิศกิจจานุวัฒน์, กวิน ตันติเสวี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2422 Sat, 08 Jul 2023 10:45:16 +0700 การตัดสินใจวางแผนพัฒนาระบบแหล่งผลิตผลิตปิโตรเลียมลุ่มแอ่งฝาง จังหวัดเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2027 <p>แหล่งผลิตปิโตรเลียมลุ่มแอ่งฝางเป็นแหล่งน้ำมันดิบแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการสำรวจและผลิตโดยศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร เพื่อเป็นการรองรับการผลิตที่มากขึ้นในแหล่งแม่สูน การศึกษานี้ได้ประยุกต์วิธีการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนและกำหนดแนวทางการพัฒนาของแหล่งปิโตรเลียม ดังนั้นการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม ลุ่มแอ่งฝาง สำหรับใช้ในการประเมิณการตั้งหน่วยแยกน้ำน้ำมันดิบแห่งใหม่ ในการสนับสนุนการตัดสินใจในการประเมิณตัวคูณและค่าคะแนนความสำคัญของปัจจัย ผลการศึกษาพบว่าในกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น(Analytic Hierarchy Process) ผู้เชี่ยวชาญให้น้ำหนักข้อมูลการผลิตสูงที่สุด(65.55%) ปัจจัยในการเลือกพื้นที่(12.45%) ปัจจัยความคุ้มค่า (11.00%) และ ปัจจัยการขนส่ง(11.00%) ตามลำดับ โดยปัจจัยทั้งหมดถูกนำไปประมวลผลด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นเพื่อประกอบการตัดสินใจในการวางแผนและกำหนดแนวทางการพัฒนาของแหล่งปิโตรเลียม โดยผลการศึกษาสามารถเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพการผลิตและขยายแหล่งผลิตปิโตรเลียมในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> นราธร อุปทอง, ดำรงศักดิ์ รินชมภู Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2027 Sat, 08 Jul 2023 10:49:01 +0700 การจัดการนั่งร้านในโครงการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้แบบจำลองเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2162 <p>นั่งร้านเป็นอุปกรณ์เพื่อใช้ประกอบเป็นโครงสร้างชั่วคราว ซึ่งมีความสำคัญในขั้นตอนการดำเนินงานก่อสร้าง ใช้สำหรับการทำงานเพื่อรองรับน้ำหนักผู้ปฏิบัติงาน, เครื่องมือ, วัสดุก่อสร้าง และใช้เป็นเป็นโครงค้ำยันเพื่อรองรับน้ำหนักแบบหล่อคอนกรีต ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างแทบจะทุกขั้นตอน การบริหารจัดการนั่งร้านที่ไม่ดีจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานก่อสร้างคือ สิ้นเปลืองงบประมาณและแรงงาน ในปัจจุบันการบริหารจัดการนั่งร้านในโครงการก่อสร้างมักจะใช้คนตัดสินใจ ส่งผลให้การบริหารจัดการอาจจะยังทำได้ไม่ดีพอหรือยังไม่ได้ค่าคำตอบที่ดีที่สุด และยังส่งผลให้สามารถเกิดข้อผิดพลาดจากตัวบุคคลได้ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบจำลองเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสมเพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการเลือกขนาดนั่งร้านที่ใช้, การจัดการนั่งร้าน, การเช่านั่งร้านในโครงการก่อสร้าง และการขนส่งเข้าออกระหว่างสถานที่ก่อสร้างกับผู้ใช้เช่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ควบคุมค่าใช้จ่ายและทำงานให้ได้ตามแผนงานที่วางเอาไว้ จากการศึกษาพบว่าเมื่อนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ศึกษามาใช้ทดสอบกับข้อมูลตัวอย่างพบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึงร้อยละ 27.9 และในการทดสอบทั้ง 5 ข้อมูลตัวอย่างพบว่าสามารถหาคำตอบที่มีค่าความต่างระหว่างค่าที่ดีที่สุดและคำตอบปัจจุบันไม่เกินร้อยละ 10 ภายในเวลา 30 นาที</p> ศริณ พีระบูล, มาโนช โลหเตปานนท์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2162 Sat, 08 Jul 2023 10:52:04 +0700 The การศึกษาความเป็นไปได้ในการประเมินควบคืบหน้างานด้วยแบบจำลองสามมิติในรูปแบบพอยต์คลาวด์โครงการก่อสร้างบ้านระบบพรีคาสท์ด้วยซีทูซีอัลกอริทึม และไพทอน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2061 <p>อุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวตามการพัฒนาของเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันเป้าหมายการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานระบบดังเดิมสามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้จึงเป็นการประยุกต์ใช้แบบจำลองสามมิติในรูปแบบพอยต์คลาวด์เพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ในการประเมินความคืบหน้าโครงการก่อสร้างบ้านพักอาศัยระบบพรีคาสท์ โดยเก็บข้อมูลด้วยอากาศยานไร้คนขับ และเก็บถาพถ่ายด้วยระบบบินอัตโนมัติจากโครงการก่อสร้างที่ผนังคอนกรีตสำเร็จ ณ วันที่ส่วนงานชั้น 1 แล้วเสร็จ และส่วนงานชั้น 2 แล้วเสร็จ โดยประเมินความเป็นไปได้ในการประเมินควบก้าวหน้างาน จะทำการประเมินด้วยด้วยจำนวนพอยต์คลาวด์จากซอฟแวร์ Cloud compare และไพทอน และประเมินด้วยการทับซ้อนของแบบจำลองด้วยซีทูซีอัลกอริทึม เพื่อหาความแต่งต่างของแบบจำลองสามมิติจากวิธีทั้งสอง จากการศึกษาพบว่าจำนวนพอยต์คลาวด์ของทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันน้อยกว่าร้อยละ 1 และแตกต่างตากแผนงานร้อยละ 5 ถึง 6 และผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบด้วยการประเมินการทับซ้อนของแบบจำลองด้วยซีทูซีอัลกอริทึมมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาแนวคิดในการใช้เป็นหนึ่งในการติดตามความคืบหน้างานก่อสร้าง</p> วราภรณ์ มีตา, วุฒิพงษ์ กุศลคุ้ม, ชัยชาญ ยุวนะศิริ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2061 Sat, 08 Jul 2023 11:00:52 +0700 การศึกษาปัจจัยในการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) สำหรับองค์กรในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2095 <p>เนื่องจากโครงการก่อสร้างมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนในกระบวนการก่อสร้าง ทำให้เกิดความขัดแย้งในกระบวนการก่อสร้างที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการก่อสร้างประเภทหนึ่งที่เรียกว่า แบบจำลองสารสนเทศอาคาร หรือ BIM จึงเป็นทางเลือกในการลดปัญหาดังกล่าว แต่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี BIM ยังคงเป็นสิ่งใหม่สำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทย ทำให้การนำ BIM มาประยุกต์ใช้จึงต้องมีศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อองค์กร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยใช้เครื่องมือ SWOT analysis เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม ในการประยุกต์ใช้ BIM สำหรับองค์กรในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าองค์กรในอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีความคิดเห็นในปัจจัยด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เช่น การใช้เทคโนโลยี BIM ช่วยส่งเสริมการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่าง งานสถาปัตยกรรม งานโครงสร้าง และงานระบบได้เป็นอย่างดี และการศึกษาและส่งเสริมองค์ความรู้เรื่อง BIM จะทำให้การใช้ BIM มีความแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต เป็นต้น</p> ภฤศ มาตรไพจิตร์, วัชระ เพียรสุภาพ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2095 Sat, 08 Jul 2023 11:04:13 +0700 การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับในการจัดการงานดินตามหลักประมาณราคางานก่อสร้าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2063 <p>หลังสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) แพร่ระบาดทั่วโลกส่งกระทบไปทั่ว และอุตสาหกรรมการก่อสร้าง แต่สถานการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การนำเทคโนโลยี และเทคนิควิธีการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว และใช้ทรัพยากรที่น้อยมาทดแทน เกิดเป็นประเด็นสำคัญที่นำอากาศยานไร้คนขับประยุกต์ใช้เป็นเทคนิคการประเมินปริมาณดินจากอากาศยานไร้คนขับ เพื่อนำมาจัดการจำนวนรถที่ใช้ขนส่งดินตามหลักการประมาณราคางานก่อสร้าง ด้วยการประมวลผลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Agisoft Matashape) เพื่อหาปริมาณดิน เปรียบเทียบผลการหาปริมาณวัตถุรูปทรงเรขาคณิต ทราบถึงความคลาดเคลื่อน จากนั้นนำมาวิเคราะห์จำนวนรถขนย้ายดิน ตามหลักการประมาณการเผื่อวัสดุงานดิน งานวิจัยนี้ทำการสำรวจกองดินด้วยอากาศยานไร้คนขับและประมวลผลได้จำนวน 777.35 ลบ.ม. เปรียบเทียบกับปริมาณรูปทรงเรขาคณิต พบว่าโปรแกรมมีความคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.8 ดังนั้นปริมาณดินลดลงเป็น 724.49 ลบ.ม. และตามหลักการอัตราเผื่อประเภทงานดินที่ ร้อยละ 30 มีจำนวนดินที่ขนปริมาณ 941.84 ลบ.ม เมื่อขนส่งด้วยรถบรรทุก 10 ล้อ มาตรฐาน ใช้รถขนส่งจำนวน 63 เที่ยว จำนวนเงินทั้งสิ้น 21,512 บาท จากการทำวิจัยฉบับนี้แสดงถึงเทคนิควิธีการประเมินปริมาณดินด้วยอากาศยานไร้คนขับในการจัดการจำนวนรถที่ใช้ขนส่งดิน ตามหลักการประมาณราคางานก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานจริงเพื่อจัดการต้นทุนงานก่อสร้างได้</p> ยอดชาย สิงห์ทอง, กำพล ทรัพย์สมบูรณ์, กรกฏ นุสิทธิ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2063 Sat, 08 Jul 2023 11:09:42 +0700 การวิเคราะห์ผลกระทบเชิงปริมาณของความละเอียดภาพถ่ายดิจิทัลต่อการสร้างพอยต์คลาวด์ ด้วยวิธี Structure from Motion สำหรับการตรวจสอบนั่งร้านค้ำยัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2412 <p>นั่งร้านค้ำยันเป็นโครงสร้างชั่วคราวที่ส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยในสถานที่ก่อสร้าง การตรวจสอบนั่งร้านค้ำยันอยู่เสมอจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน การตรวจสอบนั่งร้านค้ำยันมักให้ผู้ตรวจสอบเดินตรวจบนนั่งร้านค้ำยันซึ่งนอกจากไม่ปลอดภัยแล้ว ยังใช้เวลาและแรงงานมาก ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีหลายชนิดที่สามารถช่วยให้ผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบโครงสร้างเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว เช่น Structure from Motion ซึ่งเป็นการสร้างพอยต์คลาวด์หรือแบบจำลองด้วยภาพถ่ายดิจิทัลจำนวนมาก อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าคุณภาพของผลลัพธ์ด้วยวิธี Structure from Motion ขึ้นกับคุณภาพของรูปถ่ายโดยตรง หากแต่ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับผลกระทบเชิงปริมาณของคุณภาพรูปถ่ายต่อการสร้างพอยต์คลาวด์ด้วยวิธี Structure from Motion งานวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบของคุณภาพรูปถ่ายต่อการสร้างพอยต์คลาวด์ ซึ่งเป็นข้อมูลแรกเริ่มในการสร้างแบบจำลองสำหรับการตรวจสอบนั่งร้านค้ำยัน และจัดทำแนวทางให้ผู้สนใจสามารถเลือกใช้ภาพถ่ายดิจิทัลที่มีความละเอียดเหมาะสมต่อการสร้างแบบจำลองด้วยวิธี Structure from Motion ในการตรวจสอบนั่งร้านค้ำยันต่อไป</p> ณัฏฐพล เสาวนะ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2412 Sat, 08 Jul 2023 11:13:40 +0700 A Development of Optimization Model for Construction Site Layout Planning Using Genetic Algorithm https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2459 <p>An effective construction site layout planning (CSPL) is essential to ensure site safety and enhance work efficiency. The primary task of CSPL process is to identify suitable location for temporary facilities (TFs) so that the safety and work efficiency can be improved. The problem of CSLP is generally formulated as an optimization problem, where a specific objective can be achieved with a set of constraints. Dealing with a large number of facilities, multiple tower cranes, and additional constraints can make the problem particularly challenging. In this study, a model is proposed to solve the problem of CSLP using Genetic Algorithm (GA). The model searches all free areas by using grid system to minimize the bias for facility location. In addition, the model can layout the location for tower cranes optimally. Flexibility of the model is increased by optimizing not only location for TFs, but also location for tower cranes. Moreover, this study investigated the effectiveness of closeness relationships on the developed model. A novel prototype was developed and tested to evaluate efficiency of the model. The results indicate that the proposed model can efficiently optimize the site layout for building projects. It can assist project managers in arranging facilities and tower cranes more effectively.</p> Chakrey Duong, Vachara Peansupap Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2459 Sat, 08 Jul 2023 11:18:19 +0700 การศึกษาปัญหาความเสี่ยงที่มีผลต่อการดำเนินงานและการเงินของผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย โครงการก่อสร้างอาคารของหน่วยงานราชการ ในเขตพื้นที่ภาคกลาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2387 <p>งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาปัญหาความเสี่ยงที่มีผลต่อการดำเนินงานและการเงินของผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย โครงการก่อสร้างอาคารของหน่วยงานราชการ ในเขตพื้นที่ภาคกลาง งานวิจัยนี้ได้ประเมินค่าระดับโอกาสที่จะเกิดและระดับผลกระทบของเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและส่งผลเสียต่อการดำเนินงานและการเงินของผู้รับเหมา โดยมีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย จำนวน 27 ราย ซึ่งเป็นข้อจำกัดของงานวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโครงการก่อสร้าง ผู้บริหารระดับกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ วิศวกรโครงการ หลังจากที่ได้เก็บข้อมูล งานวิจัยนี้ได้นำความเสี่ยงด้านการเงินที่มีอันดับสูงสุด 5 อันดับแรก มาวิเคราะห์ความอ่อนไหวของความเสี่ยงด้านการเงินที่ส่งผลต่อสัดส่วนกำไรโครงการกรณีศึกษา ผลการศึกษา พบว่า เหตุการณ์ความเสี่ยงมีทั้งหมด 76 เหตุการณ์ แบ่งออกเป็น ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน 54 เหตุการณ์ และด้านการเงิน 22 เหตุการณ์ โดยเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงด้านการเงินสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การปรับขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้าง การปรับขึ้นของราคาเชื้อเพลิง การปรับขึ้นของราคาค่าแรง หน่วยงานราชการจ่ายเงินงวดล่าช้า การใช้ข้อมูลราคาที่ไม่เป็นปัจจุบันในการประมาณราคา ตามลำดับ และความเสี่ยงด้านการเงินที่ส่งผลต่อสัดส่วนกำไรของโครงการกรณีศึกษาสูงสุด คือ การปรับขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างกับการปรับขึ้นของราคาเชื้อเพลิง การปรับขึ้นของราคาค่าแรง ตามลำดับ</p> นัจนันท์ มิตรสัมพันธ์, กวิน ตันติเสวี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2387 Sat, 08 Jul 2023 11:24:22 +0700 การศึกษาสมรรถนะที่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพในมุมมองของ สถาปนิก และ วิศวกร ในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2476 <p>การศึกษาเรื่องของความก้าวหน้าในสายอาชีพของสถาปนิกและวิศวกร ซึ่งมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่เฉพาะด้านรวมไปถึงการศึกษาประสบการณ์ และคุณสมบัติที่เฉพาะ จากการศึกษาที่ผ่านมามีเพียงการมุ่งเน้นสมรรถนะในการปฏิบัติงานเท่านั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพของสถาปนิกและวิศวกร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อโอกาสในการพัฒนาอาชีพและรวมไปถึงนโยบายขององค์กรสำหรับการพัฒนาบุคลากร ศึกษาโดยเก็บข้อมูลความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 218 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการจำแนกจากปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างในด้านของ อายุ ประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา และอาชีพ และใช้วิธีการทดสอบสถิติไค-สแควร์ (Chi square) เพื่อหาความแตกต่างของตัวแปรกับปัจจัยส่วนบุคคลจากผลการศึกษาสรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง 218 คนได้ให้ความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยกลุ่มตัวอย่างได้มีความคิดเห็นเรื่องสมรรถนะในการปฏิบัติที่ควรมุ่งเน้นพัฒนาคือ สมรรถนะด้านการบริหาร สมรรถนะด้านความรู้ สมรรถนะด้านทักษะ และ ปัจจัยที่เป็นโอกาสในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพคือ การพัฒนาบุคคลจากประสบการณ์ การเลือกบุคคลให้เหมาะสมกับงาน และการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยนี้สามารถเป็นประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของสถาปนิกและวิศวกร และนโยบายแผนการดำเนินงานในเรื่องของการพัฒนาอาชีพในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งบุคคลและองค์กร</p> วรธร ทองรุ่ง, สุชัญญา โปษยะนันทน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2476 Sat, 08 Jul 2023 11:28:11 +0700 การออกแบบโครงสร้างเชิงเปรียบเทียบโดยใช้โปรแกรมวิเคราะโครงสร้างกรณีศึกษาอาคาร 2 ชั้น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2564 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการออกแบบโครงสร้างเชิงเปรียบเทียบโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้างกรณีศึกษาอาคาร 2 ชั้น โดยเปลี่ยนวัสดุโครงสร้างอาคารดังต่อไปนี้ แบบที่ 1 โครงสร้างคอนกรีตหล่อในที่ พื้นคอนกรีตหล่อในที่ ผนังอิฐมอญ แบบที่ 2 โครงสร้างคอนกรีตหล่อในที่ พื้นคอนกรีตท้องเรียบ ผนังอิฐมวลเบา และแบบที่ 3 โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พื้นคอนกรีตท้องเรียบ ผนังอิฐมวลเบา จากการศึกษาประเมินแต่ละกรณีในแง่ค่าใช้จ่าย เวลาก่อสร้างและการใช้งานจริง กรณี 1 สามารถปรับเปลี่ยนลักษณะโครงสร้างหน้างานได้ แต่ต้องใช้จ่ายเงินและเวลาก่อสร้างมากขึ้น กรณี 2 เป็นรูปแบบที่มีความพอดีระหว่างระยะเวลาก่อสร้างและงบประมาณมากที่สุด เหมาะสำหรับโครงการที่มีงบประมาณและกำหนดเวลาในแผนจำกัด กรณี 3 เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการความแข็งแรงสูงและสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน้างานได้ โดยมีเวลาก่อสร้างที่เร็วที่สุดและต้นทุนสูงที่สุดแต่จำเป็นต้องมีทักษะพิเศษของคนงานและเครื่องมือที่เหมาะสมในการก่อสร้าง จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าความแข็งแรงโครงสร้างจากมากไปน้อย ได้แก่ แบบที่ 3 2 และ 1 ต้นทุนในการก่อสร้างจากสูงไปต่ำ ได้แก่ แบบที่ 3 1 และ 2</p> พิพัฒน์ จันทรังสีวรกุล, รัฐวุฒิ รู้แทนคุณ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2564 Sat, 08 Jul 2023 11:31:24 +0700 แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคาเหล็กเส้นก่อสร้างในประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2311 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการประมาณราคาเหล็กเส้นก่อสร้างในประเทศไทย ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีวิเคราะห์สมการทางคณิตศาสตร์และสถิติประเภทกำลังสองน้อยที่สุดด้วยการเปรียบเทียบตัวแปรตามที่กำหนดใช้ในการศึกษาและให้ราคาเหล็กเส้นก่อสร้างเป็นตัวแปรตาม เพื่อวิเคราะห์หาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ให้ผลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด และทำการพัฒนาแบบจำลองนั้นด้วยการหาความคลาดเคลื่อนระหว่างชุดของตัวแปรต้นและตัวแปรตามเพื่อประกอบการพิจารณาความถูกต้องของแบบจำลองแต่ละชุด โดยในกระบวนการศึกษาได้สร้างแบบจำลองจำนวนทั้งสิ้น 3 แบบจำลองจากตัวแปรต้นที่ต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองที่ 3 ของการศึกษาให้ผลความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงเส้นว่าตัวแปรต้นจากแบบจำลองนี้สามารถอธิบายค่าของราคาเหล็กได้ถึงร้อยละ 90.89 อยู่ในเกณฑ์ดีมากในเชิงสถิติ และเป็นแบบจำลองไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนเนื่องจากมีการใช้ตัวแปรต้นในการวิเคราะห์ไม่มากทำให้สะดวกแก่ผู้นำไปใช้งาน</p> นภสินธุ์ เศวตะดุล, วินัย พรรณา, ธิติสุดา อ่วมประเสริฐ, วรานนท์ คงสง; พงศกร พรมสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2311 Sat, 08 Jul 2023 11:34:31 +0700 การศึกษาความแม่นยำของวิธีการสำรวจแบบต่าง ๆ เพื่อการก่อสร้าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2470 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการวางแนวตำแหน่งหมุดอาคารเพื่อการก่อสร้างด้วยเครื่องมือสำรวจ โดยใช้หลักการทางสถิติวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีระบบจากผู้ทำการทดลอง ซึ่งเป็นเงื่อนไขการทดลองที่ควบคุมไม่ได้ ความคลาดเคลื่อนทำให้ค่าที่วัดได้มากกว่าหรือน้อยกว่าที่ควรเป็น การวิจัยเริ่มจากกำหนดตำแหน่งหมุดของอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีขนาดพื้นที่แตกต่างกัน 3 อาคาร โดยในขั้นตอนการวางตำแหน่งหมุดอาคารใช้เครื่องมือสำรวจ 4 ประเภท ได้แก่ อากาศยานไร้คนขับ เครื่องรับสัญญานดาวเทียม กล้องประมวลผลรวม กล้องวัดมุม จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความแม่นยำกับขนาดพื้นที่ วิธีที่ให้ความแม่นยำที่สุดคือ กล้องประมวลผลรวม วิธีเครื่องรับสัญญานดาวเทียม วิธีกล้องวัดมุม วิธีอากาศยานไร้คนขับ ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าการเลือกใช้เครื่องมือสำรวจในการวางตำแหน่งหมุดอาคารเพื่อการก่อสร้าง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของโครงการ</p> มศวรรณ เสนาสวัสดิ์, ไพจิตร ผาวัน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2470 Sat, 08 Jul 2023 11:39:11 +0700 An Automated BIM-Based System for Generating Shop Drawings and Material Takeoffs: A Case Study of Ceiling Work https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2462 <p>During the construction phase, the detail shop drawing and material takeoff are required for supporting construction operations. These processes are labor intensive and take longer time. Recently, the implementation of Building Information Modeling (BIM) technology is an approach that can be used to assist in shop drawing and accurate material takeoff. However, the traditional method of using two-dimensional drawings is still extensively applied to various current practices, which is time-consuming and error prone. Furthermore, previous BIM technology was limited to performing material takeoff for building elements consisting of multiple material layers. This paper proposes a BIM-based automated system for generating detailed shop drawings and material quantities. This research focuses on developing systems for ceiling work. To develop the system, the design algorithm for the ceiling frame and fixed light system is formalized according to the provided construction layout plan. Then, the concept of BIM-based clash detection is applied to automatically detect the overlap between the fixed light system and ceiling frame. A prototype system is being developed in BIM technology that is integrated with Dynamo. An apartment room ceiling layout is utilized to determine the feasibility and effectiveness of the proposed system. The result indicates that the proposed system can automatically generate clear shop drawings in accordance with the designed standard, which provides more accurate material takeoff for C-line and gypsum board in the ceiling system. Moreover, the system will assist engineers in resolving purchase order conflicts during the construction stage as it can automatically generate the quantity of materials based on standard material product sizes.</p> Sonya Thearith, Vachara Peansupap, Tanit Tongthong Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2462 Sat, 08 Jul 2023 11:44:01 +0700 แนวทางการจัดทำบัญชีรายการตัดเหล็กให้เหลือเศษเหล็กเส้นน้อยที่สุดด้วยวิธีเชิงพันธุกรรม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2552 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำบัญชีรายการตัดเหล็กให้ได้ปริมาณเหล็กเส้นและเศษเหล็กเส้นน้อยที่สุด โดยวิธีเชิงพันธุกรรม งานวิจัยเริ่มจากการนำแบบ 2 มิติ ของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กต้านแผ่นดินไหว 4 ชั้น มาสร้างเป็นแบบจำลอง 3 มิติ ด้วยระดับความละเอียดของโมเดล LOD300 และ LOD350 โดยอาศัยซอฟท์แวร์บิม (Software BIM) จากนั้นกำหนดรูปแบบจำลองการต่อทาบเหล็กเส้น ตามมาตรฐานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กต้านแผ่นดินไหว มยผ. 1301/1302-61 ด้วยรูปการต่อทาบเหล็กเสา 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 (C1-1) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางชั้น 2 รูปแบบที่ 2 (C1-2) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางชั้น 3 และ รูปแบบที่ 3 (C1-3) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางทุกชั้น ลงในแบบจำลอง ซึ่งการประมวลผลของซอฟท์แวร์บิมได้แสดงผลออกมาในรูปแบบตารางบัญชีรายการตัดเหล็กที่ประกอบด้วยข้อมูลความยาวเหล็กเส้น และจำนวนเหล็กที่ต้องการใช้ จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการออกแบบจีเนติกอัลกอริทึมแบบจุดประสงค์เดียว และกำหนดพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ สำหรับการแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีรายการตัดเหล็ก ด้วยวิธีการขั้นตอนเชิงพันธุกรรมคำนวณหาค่าความเหมาะสมในการใช้ปริมาณเหล็กและเศษเหล็กเส้น งานวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบปริมาณการใช้เหล็กเส้นจากการจัดทำบัญชีรายการตัดเหล็กของวิศวกรที่มีประสบการณ์ กับการจัดทำบัญชีรายการตัดเหล็กวิธีเชิงพันธุกรรม การศึกษาพบว่าการจัดทำบัญชีรายการตัดเหล็กวิธีเชิงพันธุกรรม ของเสารูปแบบ C1-2 ใช้เหล็กที่ความยาว 12 เมตร ได้ปริมาณการใช้เหล็กเส้นน้อยที่สุด คือ 33,557.16 กิโลกรัม เศษเหล็กเหลือ 1,781.78 กิโลกรัม คิดเป็นอัตราส่วนเศษเหล็กต่อปริมาณการใช้เท่ากับ 5.31 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้วิธีเชิงพันธุกรรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีใกล้เคียงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรก่อสร้าง</p> ปัณณาสิศ สัญญาโณ, ไพจิตร ผาวัน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2552 Sat, 08 Jul 2023 11:47:43 +0700 การลดจำนวนให้น้อยที่สุดของเศษที่เหลือจากการตัดเหล็กเสริมในการก่อสร้างอาคาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2634 <p>บทความนี้นำเสนอกระบวนการออกแบบหาค่าที่เหมาะสมที่สุด ในการระบุตำแหน่งจุดต่อทาบของเหล็กเสริมภายในเสา เพื่อให้เหลือเศษจากการตัดเหล็กเสริมน้อยที่สุดในการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ขั้นตอนการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ การสร้างแบบจำลองโครงสร้างสามมิติโดยใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) เพื่อให้ได้ข้อมูลความสูงเสา ขนาด และปริมาณของเหล็กเสริม จากนั้นจึงนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยการกำหนดสมการที่อธิบายจำนวนของเศษเหล็กเสริมที่เหลือจากการตัด โดยการกำหนดพิกัดและระยะทาบเหล็กเสริมภายในเสา ตามมาตรฐาน ACI318-19 และ มยผ. 1103-52 ขั้นตอนสุดท้ายทำการหาตำแหน่งจุดต่อทาบที่ทำให้เหลือเศษเหล็กเสริมจากการตัดให้น้อยที่สุด และนำข้อมูลออกมาเป็นรายละเอียดแบบก่อสร้างในการกำหนดจุดต่อทาบภายในเสา และรูปแบบการตัดเหล็กเสริมที่ทำให้เหลือเศษน้อยที่สุด ผลลัพธ์ที่ได้จากกรณีศึกษาอาคาร 6 ชั้นสามารถลดเศษเหล็กเสริมจากการปรับเปลี่ยนจุดต่อทาบภายในเสาได้ 2,123.520 กิโลกรัมเมื่อเทียบกับการไม่พิจารณาการปรับเปลี่ยนจุดต่อทาบ 10,465.920 ซึ่งสามารถลดปริมาณเหล็กเสริมที่ใช้ในเสาทั้งหมดได้ 20.29%</p> เจตณัฐ ประภพรัตนกุล, ชญานนท์ พรเจริญ, ภูริเดช ศิลป์ไพบูลย์พานิช, เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2634 Sat, 08 Jul 2023 11:53:05 +0700 Factors Affecting the Competencies of Quantity Surveyors in Tendering for Construction Projects in Cambodia https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2356 <p>Quantity surveyors are involved in every stage of construction project, particularly in developing countries such as Cambodia's construction industry, where they play a crucial role in managing costs from the initiation as in tendering phase to the closure of the project. Despite their importance, issues such as a high risk of failure during tendering, poor cost management and cost overruns are still prevalent. This is largely attribute to a lack of competency among quantity surveyors who rely on traditional skills, hindering their ability to compete in an emerging market. To address these issues, especially those related to tendering, this research aimed to determine the factors affecting quantity surveyor competencies in the tendering procedure. Data collections were gathered through online surveys from 416 civil engineers with varying levels of experience and analyzed through exploratory factor analysis. Results showed that six group factors influencing quantity surveyor’s competencies in tendering procedure were identified: 1. technical factors in cost estimating and information technology (17 items); 2. technical factors in construction methodology and site analysis group (8 items); 3. managerial factors impacting project success (contract, schedule, stakeholders, cost, and manpower management planning) (18 items); 4 managerial factors in soft skill (9 items); 5 attitude (4 items); 6. external factors in education and training, experience and market. The finding helps Cambodians civil engineers who work as quantity surveyor to understand the significant influencing factors to be strengthen their competencies in practicing in tendering construction project</p> Chakreya Heng, Preenithi Aksorn Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2356 Sat, 08 Jul 2023 11:56:44 +0700 การศึกษาประสิทธิผลการทำงานของคนงานในงานก่อสร้าง กรณีศึกษางานปูกระเบื้อง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2359 <p>การทำงานของกิจกรรมต่างๆ ในงานก่อสร้างต้องอาศัยกำลังของแรงงานเป็นหลักในการให้ได้ผลผลิตออกมา ดังนั้น การประเมินประสิทธิผลการทำงานของแรงงานมีความสำคัญเพื่อใช้ในการวางแผนการทำงาน รวมถึงลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่เกิดงาน และลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นของคนงานให้น้อยลงเพื่อให้ได้ประสิทธิผลในการทำงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการทำงานในงานก่อสร้าง โดยเลือกกิจกรรมปูกระเบื้องของโครงการหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดชลบุรี ซึ่งแบ่งวิธีการเก็บข้อมูลเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) การประเมินภาพรวมการทำงานของโครงการด้วยวิธี Field Rating และ (2) การประเมินประสิทธิผลการทำงานของคนงานด้วยวิธี Five Minute Rating ของงานปูกระเบื้อง ข้อมูลของกิจกรรมปูกระเบื้องนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธี Crew Balance Chart เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานให้ดีขึ้นและการจัดลำดับงานให้เหมาะสม จากผลการเก็บข้อมูลพบว่า ผลการประเมินภาพรวมของโครงการมีค่าเท่ากับ 44.90% ส่วนของกิจกรรมปูกระเบื้องมีค่าประสิทธิผลการทำงาน 74.16% และของผู้ปฏิบัติงานในกิจกรรมปูกระเบื้องจำนวน 3 คน มีค่าเท่ากับ 90% 92.50% และ 40% ข้อมูลการวิเคราะห์และปรับปรุงการทำงานของกิจกรรมปูกระเบื้องด้วยวิธี Crew Balance Chart พบว่าค่าประสิทธิผลการทำงานของกิจกรรมปูกระเบื้องเพิ่มขึ้นจาก 74.16% เป็น 84.90% ซึ่งในการปรับปรุงการทำงานของกิจกรรมปูกระเบื้อง ได้แก่ การปรับวิธีการปฏิบัติงานของคนงานแต่ละคนในกิจกรรมปูกระเบื้องเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการทำงานให้มากขึ้น นอกจากนี้บริเวณโครงการก่อสร้างควรมีการจัดพื้นที่เก็บวัสดุก่อสร้างที่เหมาะสมเพื่อสามารถขนส่งวัสดุจากพื้นที่เก็บไปยังพื้นที่ก่อสร้างได้สะดวก ซึ่งจะทำให้ลดระยะเวลาและระยะทางในการขนส่งวัสดุภายในโครงการ</p> พรรณพิมล วีระศิลปเลิศ, ภัทรพร พรเทพเกษมสันต์, สุพิชฌาย์ ทับพุ่ม, ธนากร ดอนแก้ว , สิทธิชัย สงเคราะห์, ธัณธร ประสิทธิ์สุวรรณ์ , ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2359 Sat, 08 Jul 2023 12:00:12 +0700 A Prediction of Cement and Iron Product Price Index Based on Machine Learning Algorithm by Using Extreme Gradient Boosting (XGBoost) https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2580 <p>Construction cost significantly impacts the analysis of feasibility, budget planning, and project success. For contractors, construction cost can be used to determine the bid price and profit. Construction Material Price Index (CMI) is a useful indicator for estimating costs and planning projects, as changes in material price can impact a contractor's ability to control construction costs. This research aims to apply an Extreme Gradient Boosting (XGBoost) for developing time series forecasting model of construction material prices in Thailand. The scope of this paper is focused on cement and iron products price index. The study collected eight influencing factors over a 276-month period from January 2000 to December 2022. The data was divided into three sections: model training, model validation, and model testing. The study evaluated the model using the walk-forward optimization technique. The evaluation of forecasting accuracy was done using Root Mean Squared Error (RMSE) and Mean Absolute Percentage Error (MAPE). The research results showed that the XGBoost models with multivariate and rolling window technique outperformed the univariate models and models without the rolling window technique in terms of RMSE and MAPE on both material price index. The developed models in this study offer an approach for forecasting construction material price index, providing an accurate short-term forecast of the material price index. The developed models can serve as a tool for stakeholders in the construction industry to forecast construction material price index.</p> วิชญ์พล สุดสงวน, วัชระ เพียรสุภาพ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2580 Sat, 08 Jul 2023 12:03:33 +0700 กรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่องโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมตามหลัก 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2555 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่องโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม ตามหลัก 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบข้อบกพร่องในโครงการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียม โดยที่จะสามารถพบเจอหลักการใช้ 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพในด้านอุตสาหกรรมโรงงานได้บ่อยครั้ง จึงถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ในการนำมาใช้ควบคุมคุณภาพสำหรับโครงการก่อสร้าง จากแนวคิดในการนำ 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพในอุสาหกรรมก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจสอบข้อบกพร่อง จากผลงานวิจัยในอดีตได้มีการนำเครื่องมือควบคุมภาพมาใช้เพียงไม่กี่ตัว ซึ่งจากเดิมที่มีอยู่ถึง 7 ตัว ก็ทำให้สามารถลดปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีแนวคิดในการสร้างกรอบงานเพื่อให้สามารถใช้ 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการพิจารณาลำดับขั้นตอนของ 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพ โดยได้จัดลำดับขั้นตอนในการพัฒนากรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่องตามลำดับแบ่งกรอบงานออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Visualization) จากการจัดเรียงลำดับความสำคัญของเครื่องมือแล้ว การศึกษานี้ได้ทำการเก็บข้อมูลจากโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม 31 ชั้น จำนวน 800 ยูนิต (A) ที่ไม่ได้ใช้กรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่องมีจำนวน 23,361 รายการ และโครงการคอนโดมิเนียม 37 ชั้น จำนวน 800 ยูนิต (B) ได้ใช้กรอบงานการตรวจสอบคุณภาพข้อบกพร่องมีจำนวน 31,207 รายการ พบว่าโครงการ (A) สามารถลดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมได้ลดลง 47.86% (23,361 เหลือ 12,181) และโครงการ (B) สามารถลดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมได้ลดลง 92.29% (31,207 เหลือ 2,405) แสดงให้เห็นว่าการนำกรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่องสามารถนำมาใช้ในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าโครงการที่ไม่ได้นำกรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่อง</p> อาทิตพล คลังพหล, ไพจิตร ผาวัน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2555 Sat, 08 Jul 2023 12:07:19 +0700 การประยุกต์ใช้การเรียนรู้ของเครื่องเพื่อตรวจจับภาพชิ้นส่วน ที่มีสนิมของโครงสร้างเหล็กอาคารโกดังสินค้า https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2511 <p>ปัจจุบันอุตสาหกรรมขนส่งสินค้ามีความต้องการใช้พื้นโกดังในแต่ละจุดสำคัญในแต่ละเมืองภายในประเทศไทย เนื่องด้วยการเข้าถึงสินค้า และความต้องการสินค้าของกลุ่มผู้ใช้บริการสูงขึ้นต่อกลุ่มธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้อาคารโกดังสินค้ามีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นโดยรูปแบบอาคารชนิดนี้โดยส่วนมากมีเหล็กเป็นวัสดุหลักในส่วนของงานโครงสร้าง เหล็กเป็นวัสดุโครงสร้างที่สำคัญประเภทหนึ่งในอุตสาหกรรมก่อสร้าง แต่ถึงแม้จะเป็นวัสดุที่สำคัญแต่เหล็กนั้นเป็นวัตถุที่ไม่เสถียร เมื่อนำมาใช้จะเกิดการกัดกร่อนและสึกหรอ การกัดกร่อนที่มักจะเกิดกับเหล็กนั้นคือสนิม สนิมเป็นรูปแบบหนึ่งของการกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยายาออกซิเดชันของเหล็กเมื่อสัมผัสกับอากาศและความชื้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ตรวจจับภาพชิ้นส่วนที่มีสนิมเพื่อให้การบริหารจัดการซ่อมแซมอาคารสามารถดำเนินการวางแผนได้มีประสิทธิภาพ โดยทำการเก็บข้อมูลจากภาพชิ้นส่วนที่เกิดสนิมและไม่มีสนิมในโครงการก่อสร้างโกดังสินค้าจำนวน 133 ภาพ ด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพกพา จากนั้นนำมาจำแนกปริมาณพิกเซลของสี สีแดง สีเขียว สีฟ้า และสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินประสิทธิภาพด้วยอัลกอริทึมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด ผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองมีค่าความถูกต้องร้อยละ 70 ในการทำนายภาพที่มีสนิม ซึ่งสามารถใช้แบบจำลองเพื่อประเมินสนิมในโครงสร้างเหล็กในเบื้องต้นได้ เพื่อที่จะวางแผนการบำรุงรักษาต่อไป</p> ณิศวรา ศรีแก้ว, กอปร ศรีนาวิน, วุฒิพงษ์ กุศลคุ้ม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2511 Sat, 08 Jul 2023 12:25:05 +0700 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อประเมินความเสี่ยงโครงสร้างอาคารอนุรักษ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2482 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงโครงสร้างอาคารอนุรักษ์ โดยอาศัยกระบวนการแบบจำลองสารสนเทศอาคารช่วยในการวิเคราะห์องค์ประกอบของโครงสร้างอาคาร งานวิจัยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการทดสอบหาค่ากำลังอัดของคอนกรีตของ เสา คาน และพื้น จากนั้นทำการสำรวจขนาดหน้าตัด เสา คาน พื้น และขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น แล้วนำมาพัฒนาเป็นแบบจำลอง 3 มิติ ด้วยโปรแกรมจำลองสารสนเทศอาคาร(Software BIM) ผู้วิจัยได้กำหนดค่ากำลังดึงที่จุดครากของเหล็กเสริม คือ 2,400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สำหรับค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตคือ 160 170 180 190 200 210 220 240 และ 300 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ลงในโปรแกรมจำลองสารสนเทศอาคาร พบว่า อาคารมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความน่าจะเป็นที่องค์อาคาร (เสา) จะเสียหาย มี่ค่าเท่ากับ 0.0984 ที่กำลังอัดประลัยของคอนกรีต 150 160 และ170 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร อาคารมีความเสี่ยงปานกลาง เนื่องจากความน่าจะเป็นที่องค์อาคาร (พื้น) จะเสียหาย มี่ค่าเท่ากับ 0.1633 ที่กำลังอัดประลัยของคอนกรีต 150 160 และ 170 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และอาคารมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากความน่าจะเป็นที่องค์อาคาร (คาน) จะเสียหาย มี่ค่าเท่ากับ 0.0727 ที่กำลังอัดประลัยของคอนกรีต 150 160 และ170 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากระบวนการแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารความเสี่ยงของอาคารได้เป็นอย่างดี</p> คชานน ขวัญพฤกษ์, ไพจิตร ผาวัน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2482 Sat, 08 Jul 2023 12:29:59 +0700 การวิเคราะห์ทางเลือกการก่อสร้างถนนระดับดินแบบชิ้นส่วนสำเร็จด้วยวิธี ELECTRE II https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2051 <p>การสร้างถนนระดับดินโดยหล่อคอนกรีตในที่นั้น มีลักษณะที่กิจกรรมก่อนหน้าจะต้องทำให้เสร็จก่อนจึงจะสามารถเริ่มกิจกรรมต่อไปได้ แต่สำหรับผิวทาง หากแยกขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูป(Precast Concrete Pavement system, PCPs) แล้วนำไปติดตั้งบนผิวชั้นรองพื้นทาง จะช่วยลดเวลาทั้งหมดของโครงการลง วิธีนี้ยังสามารถควบคุมคุณภาพของชั้นผิวทางได้ดีกว่าการหล่อแบบอยู่กับที่ ทั้งนี้ เพื่อทราบความแตกต่างของผลลัพธ์โดยรวมของโครงการจำเป็นต้องวิเคราะห์การก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูปเข้าร่วมและเปรียบเทียบภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ทั้งในด้านเวลา ต้นทุน และคุณภาพของวิธีการก่อสร้างทั้งสองรูปแบบภายใต้เงื่อนไขของปัจจัยหลายอย่างพร้อมกัน โดยงานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการก่อสร้างทั้ง 2 วิธี ด้วย ELECTRE II และนำผลที่ได้มาสร้างเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกวิธีการก่อสร้างสำหรับสร้างถนนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งมีสภาพแวดล้อมและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เงื่อนไขทั้งหมดจะถูกกำหนดภายใต้หลักการของวิศวกรรมถนนและจราจร รวมถึงหลักการบริหารโครงการ จากเส้นทางตัวอย่างที่ศึกษา พบว่าสามารถเลือกใช้ PCPs โดยวิธีนี้อาจใช้ในรูปแบบของการหล่อคอนกรีตแบบผสมผสานที่มีการติดตั้งส่วนโค้งด้วยการหล่อในที่ และทำแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปเฉพาะในแนวเส้นตรง และอาจใช้การก่อสร้างหลายช่วงควบคู่กันไปด้วย หากสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปปฏิบัติใช้ในการก่อสร้างได้ ระยะเวลารวมของโครงการจะลดลงและคุณภาพในงานก่อสร้างจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตามความเห็นที่ได้มาจากการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญแล้ว ความเห็นในการเลือกใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปในแง่ของความคุ้มค่าสำหรับโครงการเดียวอาจยังทำได้ยาก เนื่องจากเงินลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างสูงเพื่อผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปและติดตั้ง นอกจากนี้ความรู้และความชำนาญสำหรับผู้ปฏิบัติงานก็มีความสำคัญ และจะต้องมีการลงทุนและจัดการในเรื่องนี้ร่วมด้วย อีกทั้งปัจจัยทางอ้อมที่ไม่ได้คำนึงถึง เช่น การฝึกอบรมและการจัดสรรบุคลากรเพื่อทำงานในการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป</p> คมกฤษณ์ เวฬุดิตถ์, วัชระ สัตยาประเสริฐ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2051 Sat, 08 Jul 2023 12:34:31 +0700 Modeling Tree-Induced Ground Subsidence in Compacted Clay: An Investigation into the Effects of Contrasting Tree Species https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2437 <p>The subsidence of structures founded on clay soils has been an increasingly prevalent issue in recent years, primarily due to the cyclic contraction and expansion of soil in response to root-water uptake by neighbouring trees and the seasonal variations. Traditional models for simulating the complex interplay between soil, vegetation, structure, and climate often entail intricate root-water uptake models that require extensive empirical data. This study employed a simplified modelling approach to assess the impact of tree root-water uptake on seasonal changes in pore water pressure and ground movement in unsaturated soils. By defining a root zone and incorporating multiple internal head boundaries in PLAXIS 2D, the hydromechanical behaviour of the unsaturated soil can be effectively modelled. The results of this model, which consider the soil moisture changes induced by mature deciduous Silver Birch and evergreen Leyland Cypress trees, were validated against reported case studies. Our findings suggest that significant differential settlements (ranging from 1/100 to 1/10, depending on water uptake, soil plasticity, and season) may occur near the edge of the root zone as a result of tree root-water uptake.</p> Yuliana, Arwan Apriyono, Viroon Kamchoom, Anthony Kwan Leung, Laemthong Laokhongthavorn Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2437 Thu, 06 Jul 2023 22:32:27 +0700 Numerical Study of Water Infiltration in Biochar-amended Landfill Covers under Seasonal Variations https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2442 <p>The utilization of biochar as an environmentally sustainable material has garnered attention in recent years for its ability to enhance soil properties, such as mechanical and hydraulic characteristics. Nevertheless, a comprehensive understanding of the effects of biochar on water infiltration in landfill covers, especially with regards to variations in rainfall and evaporation patterns, is limited. This study aims to investigate the effects of biochar on soil water infiltration extreme climate. To do this research, finite element analyses were conducted using SEEP/W under a two-dimensional axis-symmetry condition. Both drying and wetting SWRC data from the experiment were fitted with the van Genuchten model and implemented into the numerical models. Moreover, A series of numerical analysis was performed to observe the PWP response during extreme rainfall and evaporation events. The results of this study indicate that the addition of biochar to CDG led to a delay in the response time of water infiltration, reducing the depth of the wetting front and slowing down water infiltration. Furthermore, the addition of biochar can significantly reduce the increasing of PWP during infiltration under extreme climate.</p> Arwan Apriyono, Yuliana, Zhongkui Chen, Viroon Kamchoom Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2442 Thu, 06 Jul 2023 22:36:06 +0700 การศึกษาผลของดินที่ถูกรบกวนรอบแถบระบายน้ำตามแนวดิ่งต่อประสิทธิภาพการอัดตัวคายน้ำของ ดินเหนียวกรุงเทพฯ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2594 <p>งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาอิทธิพลของดินที่ถูกรบกวน (Smear Zone) จากการติดตั้งแถบระบายน้ำตามแนวดิ่ง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการอัดตัวคายน้ำ (Consolidation) ที่เกิดขึ้น ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวิธีระบบสุญญากาศร่วมกับ PVD ของชั้นดินเหนียวกรุงเทพฯ โดยในการวิเคราะห์จะแบ่งขอบเขตของดินที่ถูกรบกวนรอบ PVD ออกเป็น 3 โซนหลัก 1).โซนที่ติดกับ PVD (Highly Disturbed Zone) 2).โซนที่ได้รับผลกระทบเล็กน้อย (Marginal Disturbance Zone) และ 3).โซนที่ไม่ได้รับผลกระทบ (Insignificant Disturbance Zone) [8] ในแต่ละโซนจะมีค่าของความสามารถในการซึมผ่านของน้ำในมวลดินที่แตกต่างกัน และให้ค่าลดลงเป็นเชิงเส้นเข้าหา PVD [11] โดยจะกำหนดขอบเขตการทดลอง ที่จะศึกษาพารามิเตอร์ทั้งหมด 3 ตัวดังนี้ 1) ค่าอัตราส่วนระหว่างระยะของดินที่ถูกรบกวน (Smear zone) กับ ขนาดของ mandrel (Extent Ration), ds/dm อยู่ระหว่าง 2 ถึง 5เท่า 2) ค่าอัตรส่วนของความสามารถซึมผ่าน (Permeability Ratio) บริเวณดินที่ถูกรบกวน (Smear Zone) กับบริเวณดินที่ไม่ถูกรบกวน (Undisturbed Zone), kh/ks อยู่ระหว่าง 2 ถึง 6 เท่า และ3) แบ่งจำนวนของพื้นที่ที่ถูกรบกวน(Smear Zone) ออกเป็น 2 ถึง 5 โซน [11] โดยการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบค่าการทรุดตัวและแรงดันน้ำส่วนเกินที่เกิดขึ้นของแต่ละเคสตัวอย่าง จะใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โปรแกรม Plaxis 2D ผลจากการศึกษาการพิจารณาผลของพื้นที่ที่ถูกรบกวน (Smear zone) จากการติดตั้งแถบระบายน้ำตามแนวดิ่ง (PVD) พบว่าค่าของ kh/ks มีผลต่ออัตราการทรุดตัวมากสุดเมื่อเทียบค่าการทรุดตัวสุดท้ายที่ระยะเวลาที่กำหนด มีค่าผลต่างมากสุดประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลกระทบของค่า ds/dm มีผลต่ออัตราการทรุดตัวเมื่อเทียบค่าการทรุดตัวสุดท้ายที่ระยะเวลากำหนด มีค่าผลต่างมากสุดที่ประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ และผลกระทบของการแบ่งจำนวนขอบเขตของดินที่ถูกรบกวนรอบ PVD ,n หากไม่สนใจผลของดินที่ถูกรบกวน (Smear Zone) พบว่าให้ค่าการทรุดตัวมากกว่าประมาณ 18.5 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ</p> ธนัท ทิพย์มณี, ธนันท์ ชุบอุปการ, ธนิต เฉลิมยานนท์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2594 Thu, 06 Jul 2023 22:41:35 +0700 กำลังรับแรงดึงของรากกระถินเทพาและจามจุรีที่เจริญเติบโตในระยะแรก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2080 <p>การนำพืชมาใช้ในงานชีววิศวกรรมดินเพื่อเสริมเสถียรภาพและป้องกันการพังทลายของลาดดินนั้นได้รับการสนใจมากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในงานวิจัยนี้จะศึกษากำลังรับแรงดึงของไม้ยืนต้นสองชนิด คือ กระถินเทพาและจามจุรี สำหรับการเสริมกำลังและการเพิ่มเสถียรภาพลาดดิน ดำเนินการทดสอบหากำลังรับแรงดึงของรากด้วยการทดสอบแรงดึงในแนวแกน ใช้เถ้าแกลบแทนดินสำหรับการปลูกพืชเป็นเวลา 7 เดือน จากการศึกษาพบว่ารากของกระถินเทพาและจามจุรีมีกำลังรับแรงดึง 11.78 และ 11.08 เมกะปาสคาล ตามลำดับ โดยรากกระถินเทพามีกำลังรับแรงดึงมากกว่ารากจามจุรีที่อายุการปลูกเท่ากัน กระถินเทพาน่าจะเป็นพืชที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานชีววิศวกรรมดินเพื่อเสริมเสถียรภาพและป้องกันการพังทลายของลาดดินได้</p> ภิญญาพัชญ์ ไกรทอง, ตรังเหงีย พาน, สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2080 Thu, 06 Jul 2023 22:43:45 +0700 ประสิทธิภาพของเกราท์ด้วยซิลิเกตเจลในทรายชั้นแรกของชั้นดินกรุงเทพ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2196 <p>บทความนี้นำเสนอการทดสอบการเกราท์ในชั้นทรายด้วยสารละลายโซเดียมซิลิเกตโดยวิธีอัตราการฉีดคงที่ เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของอัตราการฉีด และความหนืดของเกราท์ ที่ส่งผลต่อเกราท์ที่เกิดขึ้น ในทรายชั้นแรกของชั้นดินกรุงเทพ การทดสอบใช้ตัวอย่างทรายอิ่มตัวด้วยน้ำที่จำลองสถาพทรายที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดินทำการเกราท์ทรายด้วยสารละลายโซเดียมซิลิเกตที่ความหนืดเท่ากับ 110 และ 130 centipoise ที่อัตราการฉีดเท่ากับ 4.56, 6.08 และ 7.60 มิลลิลิตรต่อนาที ผลการวิจัยพบว่า อัตราการฉีดส่งผลต่อรูปแบบเกราท์ที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนความหนืดเกราท์ไม่ได้ส่งผลต่อรูปแบบเกราท์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่าอัตราการฉีดที่ต่ำเกิดจากการเกราท์เพื่ออุดรอยเแตก (fracture grout) ส่วนอัตราการฉีดที่สูงกว่าจะเกิดแบบผสมระหว่างการเกราท์เพื่อป้องกันน้ำแทรกซึม (permeable grout) และ fracture grout ซึ่งสัมพันธ์กับแรงดันของการอัดเกราท์ลงในตัวอย่าง</p> อรยา คำหนองไผ่, พรพจน์ คูหาเรืองรอง, สุทิน คูหาเรืองรอง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2196 Thu, 06 Jul 2023 22:49:00 +0700 กำลังอัดแกนเดียวของผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1992 <p>บทความนี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกสำหรับวัสดุพื้นทาง ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิล (Recycled asphalt pavement, RAP) ได้จากโครงการก่อสร้างถนนของแขวงทางหลวงชนบทกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตัวแปรต้นของงานวิจัยนี้ประกอบด้วยชนิดของปูนซีเมนต์ (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1), ปริมาณปูนซีเมนต์ (ร้อยละ 1, 3 และ 5) และเงื่อนไขการทดสอบกำลังอัดแกนเดียวที่อายุบ่ม 7 วัน (แช่น้ำและไม่แช่น้ำ) ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า กำลังอัดแกนเดียว (Unconfined compressive strength, UCS) ของ RAP ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับทุกชนิดของปูนซีเมนต์ เนื่องจาก Calcium silicates hydrates (CSH) ในตัวอย่างเพิ่มขึ้น USC ของ RAP ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมีค่าใกล้เคียงกับ USC ของ RAP ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ในขณะที่ USC แบบแช่น้ำของ RAP ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์มีค่าน้อยกว่า USC แบบไม่แช่น้ำของ RAP ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ สำหรับทุกชนิดของปูนซีเมนต์ และปริมาณปูนซีเมนต์</p> กรองกาญจน์ เทือกกอง, เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์, วีระวัฒน์ วรรณกุล, วรวิทย์ โพธิ์จันทร์, ศักดิ์ชัย ศรีจันทร์ดำ, ชินะวัฒน์ มุกตพันธ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1992 Thu, 06 Jul 2023 22:53:22 +0700 พฤติกรรมของโครงสร้างฐานรากทางรถไฟภายใต้แรงกระทำเนื่องจากน้ำหนักรถไฟ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2255 <p>โครงสร้างฐานรากของทางรถไฟ ประกอบด้วย ชั้นดินเดิม (Subsoil) ชั้นรองพื้นทาง (Subgrade) ชั้นรองหินโรยทาง (Sub ballast) และชั้นหินโรยทาง (Ballast) ซึ่งพฤติกรรมการสั่นสะเทือนที่เกิดจากแรงกระทำแบบพลศาสตร์เนื่องจากการเดินรถเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โครงสร้างฐานรากทางรถไฟเกิดความเสียหาย จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ความล่าช้า และความไม่สะดวกสบายในการโดยสาร แต่การวิเคราะห์การสั่นสะเทือนโดยตรงทำได้ยาก เนื่องจากโครงสร้างฐานรากของทางรถไฟมีส่วนประกอบหลายชั้น ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ จะทำการประเมินพฤติกรรมของโครงสร้างฐานรากของทางรถไฟ เมื่อได้รับแรงกระทำเนื่องจากน้ำหนักรถไฟแบบสถิตยศาสตร์ (Static Load) เปรียบเทียบที่คุณภาพวัสดุต่าง ๆ ของโครงสร้างฐานรากทางรถไฟ โดยใช้แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์แบบ 3 มิติ ด้วยโปรแกรม PLAXIS 3D ผลการวิเคราะห์ พบว่า เมื่อชั้นวัสดุโครงสร้างมีคุณภาพแย่ โครงสร้างทางรถไฟมีค่าการทรุดตัวสูงสุดประมาณ 30.0 มิลลิเมตร มีค่าการกระจายความเค้นสูงสุดในแนวดิ่ง ประมาณ 0.11 MPa และค่าโมดูลัสมีค่าการกระจายตัวมากที่สุดอยู่ในช่วง 5,000 – 80,000 MPa ในโครงสร้างชั้นดินเดิม แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติในชั้นดินเดิมมีผลต่อการโก่งตัวของรางรถไฟมากกว่าชั้นทางอื่น ๆ ดังนั้นในการซ่อมบำรุงทางรถไฟควรให้ความสำคัญในการปรับปรุง ซ่อมแซมในโครงสร้างชั้นดินเดิมด้วย นอกเหนือจากการปรับปรุงในชั้นหินโรยทาง</p> ฐิตินันท์ อินธนู, ธนันท์ ชุบอุปการ, ธนิต เฉลิมยานนท์, ชยุตพงศ์ มานะกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2255 Thu, 06 Jul 2023 22:57:28 +0700 พฤติกรรมของทางรถไฟที่เสริมด้วยวัสดุสังเคราะห์เชิงประกอบภายใต้การใช้งานจริง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2160 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมภายใต้การใช้งานจริงของทางรถไฟที่มีการติดตั้งวัสดุสังเคราะห์เชิงประกอบ (Geogrid และ Geotextile) โดยทำการศึกษาทางรถไฟสายตะวันออก กม.67+500 ถึง 68+000 ระหว่างสถานีดอนสีนนท์ และ สถานีแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา การศึกษาได้ทำการทดสอบต่างๆต่อทางรถไฟระหว่างการใช้งานจริง โดยประกอบด้วยการทดสอบในสนามคือ (i) การวัดการเคลื่อนตัวของสันราง และ (ii) การตรวจวัดคุณภาพทางด้วย TGM นอกจากนี้ยังทำการเก็บตัวอย่างหินโรยทางและนำมาทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของหินโรยทาง ผลการศึกษาพบว่าการเสริมกำลังมีผลช่วยลดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการเปลี่ยนแปลงของค่าระดับสันรางลงได้เมื่อเทียบกับทางรถไฟที่ไม่มีการเสริมกำลัง นอกจากนี้การเสริมกำลังยังช่วยลดดัชนีความไม่สม่ำเสมอของทาง (P-index) ลงได้ แต่พบว่าการเสริมกำลังนี้ไม่ได้มีผลต่อการลดการแตกหักของหินโรยทางลง</p> พัดยศ โคตรมา, สยาม ยิ้มศิริ, สิทธิภัสร์ เอื้ออภิวัชร์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2160 Thu, 06 Jul 2023 23:01:07 +0700 การศึกษาพฤติกรรมของกำแพงดินเสริมกำลังภายใต้แรงกระทำเคลื่อนที่บนรางรถไฟด้วยโปรแกรมไฟไนต์ เอลิเมนต์อ้างอิงการทดสอบขนาดจริง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2084 <p>กำแพงกันดินเสริมกำลัง เป็นโครงสร้างเสริมกำลังของลาดดิน ช่วยเพิ่มเสถียรภาพ และความลาดชันของลาดดิน เพิ่มพื้นที่การใช้ประโยชน์บริเวณที่ก่อสร้างให้มีมากขึ้น ในปัจจุบันการก่อสร้างกำแพงกันดินเสริมกำลังถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น การก่อสร้างบริเวณคอสะพาน โดยเฉพาะในงานถนน ในขณะที่การก่อสร้างกำแพงกันดินเสริมกำลังยังไม่ถูกพัฒนาและก่อสร้างให้รองรับโครงสร้างทางรถไฟอย่างกว้างขวาง งานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของกำแพงกันดินที่ก่อสร้างบนชั้นดินแข็ง รองรับแรงกระทำเคลื่อนที่จากการจำลองการเคลื่อนที่ของรถไฟด้วยความเร็วต่างๆ ได้แก่ 100, 150 และ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้โปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์ แบบ 3 มิติ แบบจำลองโครงสร้างทางรถไฟ มีขนาดกว้าง 4.10 เมตร วางอยู่บนกำแพงกันดินเสริมกำลัง ขนาดกว้าง 20.4 เมตร สูง 6 เมตร ที่มีความลาดชัน 70 องศา ตรวจสอบพฤติกรรมของกำแพงกันดินเสริมกำลังภายใต้การเปลี่ยนแปลงความเร็ว ได้แก่ การเคลื่อนตัวด้านข้าง การทรุดตัว และ ความเครียดที่เกิดขึ้นในแถบวัสดุเสริมกำลัง จากการศึกษาพบว่าการเคลื่อนตัวด้านข้างและการทรุดตัวมีค่ามากขึ้นเมื่อความเร็วของน้ำหนักกระทำมากขึ้น ความเค้นในวัสดุเสริมแรงเมื่อความเร็วมากขึ้นจะเกิดความเค้นจากแรงอัด</p> โอจักรพรรดิ์ สุขชัยสิทธิ์, ศลิษา ไชยพุทธ, วุฒิชัย ชาติพัฒนานันท์, ธนาดล คงสมบูรณ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2084 Fri, 07 Jul 2023 08:39:02 +0700 การออกแบบฐานรากเสาเข็มเจาะโดยใช้มาตรฐานการออกแบบของประเทศจีนในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (กรุงเทพ-นครราชสีมา) สัญญา 4-3 นวนคร - บ้านโพ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1969 <p>บทความนี้นำเสนอการออกแบบเสาเข็มในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา) สัญญาช่วงที่ 4-3 นวนคร-บ้านโพ โดยใช้วิธีการอ้างอิงตามมาตรฐาน TB10002-2017 Code for Design on Railway Bridge and Culvert และ TB10093-2017 Code for Design Subsoil and Foundation for Railway Bridge and Culvert ซึ่งเป็นมาตรฐานเฉพาะด้านในการออกแบบโครงสร้างทางรถไฟของประเทศจีนในการออกแบบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มร่วมกับการใช้ข้อมูลดินจากการเจาะสำรวจชั้นดินในบริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างรวมไปถึงการวิเคราะห์และประยุกต์รวมของแรงที่กระทำต่อโครงสร้างตามมาตรฐานและกฎหมายในประเทศไทยได้แก่แรงลมและแรงแผ่นดินไหวของบริเวณพื้นที่ก่อสร้างดังกล่าวเพื่อให้ได้แรงกระทำที่มีนัยสำคัญตามข้อกำหนดของมาตรฐานในการวิเคราะห์หาแรงกระทำทั้งหมดที่กระทำต่อโครงสร้างเพื่อถ่ายลงสู่ฐานรากเสาเข็มได้อย่างปลอดภัย และเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในการเลือกใช้มาตรฐานดังกล่าวข้างต้นในการออกแบบจึงดำเนินการเปรียบเทียบกับหลักการออกแบบที่ใช้ในประเทศไทยโดยใช้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของเสาเข็มเดียวกันกับที่ใช้ออกแบบในโครงการ จากผลการเปรียบเทียบของการออกแบบพบว่ากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มที่ได้มีค่าใกล้เคียงกัน เมื่อสรุปผลการออกแบบพบความแตกต่างในการใช้งานออกแบบมาจากปัจจัยหลักสองส่วนได้แก่มาตรฐานหรือหลักการที่ใช้ในการวิเคราะห์และค่าสัดส่วนความปลอดภัยในการออกแบบ</p> นพฤทธิ์ ทวีชัย, Zhang Jiu Ming Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1969 Fri, 07 Jul 2023 08:42:09 +0700 การศึกษากำลังต้านทานแรงฉุดของเหล็กเสริมกำลังแบกทานในคอนกรีตมวลเบา สำหรับการออกแบบโครงสร้างเสริมกำลังทางดิน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2206 <p>บทความนี้ ศึกษากลไกการต้านทานแรงฉุดของเหล็กเสริมกำลังแบกทาน (Bearing reinforcement) ฝังในคอนกรีตมวลเบา (Light weight cellular concrete; LCC) เหล็กเสริมกำลังแบกทานถูกใช้เป็นวัสดุเสริมกำลังทางดิน ประกอบด้วยเหล็กเสริมกำลังตามยาว (longitudinal member) คือ เหล็กข้ออ้อย (Deformed bar) และเหล็กเสริมกำลังตามขวาง (transverse members) คือ เหล็กฉาก (Equal angle steel) ปัจจุบัน การประยุกต์ใช้ LCC เป็นวัสดุทดแทนวัสดุถม (Backfill) สำหรับโครงสร้างเสริมกำลังทางดิน เนื่องจาก น้ำหนักเบาและกำลังรับแรงอัดสูง เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุดินถม การทดสอบหากำลังรับแรงฉุดของวัสดุเสริมกำลังแบกทาน ประกอบด้วยเหล็กเสริม 3 ลักษณะ คือ เหล็กเสริมกำลังตามยาวไม่มีเหล็กเสริมตามขวาง (เหล็กข้ออ้อยขนาด 16 มิลลิเมตร ความยาวฝัง 1,100 มิลลิเมตร) และเหล็กเสริมกำลังแบกทานที่มีเหล็กเสริมกำลังตามยาวที่มีเหล็กเสริมตามขวางจำนวน 1 และ 2 ชิ้น (เหล็กฉากขนาด 25.40 มิลลิเมตร ความยาวเหล็กฉาก 150 มิลลิเมตร) การทดสอบกำลังรับแรงฉุดของเหล็กเสริมกำลังแบกทานใน LCC ที่มีค่าหน่วยน้ำหนักอยู่ในช่วงระหว่าง 600-1,650 กิโลนิวตันต่อลูกบาศก์เมตร กำลังต้านทานแรงฉุดรวม (Total pullout resistance) เป็นผลรวมระหว่าง แรงเสียดทานและแรงแบกทานของเหล็กตามยาวและเหล็กตามขวาง ตามลำดับ ความสัมพันธ์ของกำลังรับแรงอัดประลัยกับหน่วยน้ำหนักของ LCC แสดงในฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล รูปแบบการวิบัติของเหล็กเสริมกำลังแบกทานภายในการฉุด ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นและค่ากำลังของคอนกรีตมวลเบา</p> กัมปนาท สุขมาก, ศิวกร คอนกำลัง, ศรายุทธ รักวงค์, อันชรี ศรีเมือง, อิรฟาน มะเกะ, เสมอเทพ สังข์เพชร, ซีตีฟาตีหมะห์ อาแว, กฤษกร หนูเจริญ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2206 Fri, 07 Jul 2023 08:48:32 +0700 การศึกษากระบวนการจีโอโพลิเมอร์ไรเซชั่นของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพด้วยเถ้าลอย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2609 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจีโอโพลิเมอร์ไรเซชั่น ของจิโอโพลิเมอร์จากเถ้าลอยน้ำกากส่า (GFA) ที่ส่งผลต่อกำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัดเมื่อนำปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ โดยเมื่อสังเคราะห์จิโอโพลิเมอร์ โดยใช้สารละลายด่างคือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 4, 6, 8 และ 10 โมลาร์ อัตราส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ในแต่ละความเข้มข้นต่อเถ้าลอยน้ำกากส่า เท่ากับ 0.5, 0.7 และ 1.0 พบว่าที่ความเข้มข้น 6 โมลาร์ อัตราส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่อเถ้าลอยน้ำกากส่าเท่ากับ 0.5 ให้ค่ากำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัดสูงที่สุดที่ 1,862 kPa เมื่อนำจิโอโพลิเมอร์ที่เหมาะสมไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนกรุงเทพที่แปลงสภาพให้มีค่าปริมาณความชื้น 1.1 เท่าของขีดจำกัดเหลว เมื่อใช้สัดส่วนดินเหนียวแปลงสภาพต่อจิโอโพลิเมอร์ 1:2, 1:1.5, 1:1 และ 2:1 โดยน้ำหนัก พบว่าค่ากำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัดสูงที่สุดที่อายุ 28 วัน และอุณภูมิการบ่ม 25 และ 70 องศาเซลเซียส เท่ากับ 925 และ 1,175 kPa ตามลำดับ</p> ศิริพัฒน์ มณีแก้ว, ปิยรัตน์ เปาเล้ง, รักษ์ศิริ สุขรักษ์, พานิช วุฒิพฤกษ์, อิทธิพล มีผล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2609 Fri, 07 Jul 2023 08:54:55 +0700 การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์แบบลิมิตสำหรับเสถียรภาพอุโมงค์ โดยพิจารณาผลของแผ่นดินไหว https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2150 <p>บทความนี้นำเสนอการศึกษาเสถียรภาพของอุโมงค์หน้าตัดกลมในดินเหนียวที่ได้รับผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหว เพื่อตรวจสอบความเสถียรภาพของอุโมงค์ในระบบสองมิติด้วยซอฟต์แวร์ OptumG2 ซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์แบบลิมิต ในการหาผลเฉลยค่าขอบเขตบนของอุโมงค์หน้าตัดกลม เนื่องจากวิธีการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ ให้ความแม่นยำสูงและสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ สำหรับปัญหาที่จะศึกษาเป็นปัญหาของดินที่มีกำลังรับแรงเฉือนที่ประกอบด้วย C และ Ø โดยใช้แบบจำลอง Mohr-coulomb โดยแต่ละการทดสอบจะเปลี่ยนแปลงค่าอัตราส่วนความลึกจากผิวดินถึงดาดอุโมงค์ต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของอุโมงค์ และค่าสัมประสิทธิ์แผ่นดินไหวในแนวราบ ผลเฉลยที่ได้จากการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าค่าสัมประสิทธิ์แผ่นดินไหวในแนวราบมากขึ้น จะส่งผลให้แรงดันภายในอุโมงค์หน้าตัดกลมเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของอุโมงค์ในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว</p> ชมพูนุท สืบสินสัจจวงศ์, ผศ.ดร.สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2150 Fri, 07 Jul 2023 08:58:20 +0700 การศึกษาปฏิสัมพันธ์ด้านจลนศาสตร์ระหว่างชั้นดินและโครงสร้างในแอ่งดินเหนียวกรุงเทพฯ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1970 <p>แรงกระทำต่อฐานรากเสาเข็มขณะเกิดแผ่นดินไหวสามารถจำแนกเป็น “แรงเฉื่อย” ที่เป็นผลจากความเร่งสัมพัทธ์ระหว่างอาคารและฐานราก และ “แรงเชิงจลนศาสตร์” ที่เป็นผลจากการดัดตัวของเสาเข็มตามการเคลื่อนตัวของชั้นดิน พฤติกรรมของเสาเข็มภายใต้แรงเชิงจลนศาสตร์นั้นยังไม่เป็นที่ได้รับความสนใจมากนัก ต่างจากมาตรฐานการออกแบบของต่างประเทศ เช่น IBC2021 ซึ่งมีการระบุให้ตรวจสอบแรงเชิงจลนศาสตร์ด้วย การศึกษานี้ทำการศึกษาพฤติกรรมของฐานรากเสาเข็มในแอ่งดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ต่อแรงเชิงจลนศาสตร์ ว่าเกิดแรงภายในที่มีลักษณะเป็นอย่างไร โดยเปรียบเทียบกับแรงภายในที่เกิดจากแรงเฉื่อยที่คำนวณด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่า และได้ทำการเปรียบเทียบแรงภายในโครงสร้างเสาเข็มจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์กับค่าจากสมการประมาณค่าอย่างง่าย ว่ามีความแตกต่างกันเพียงใด จากการศึกษาพบว่า แรงภายในเสาเข็มที่เกิดจากแรงเชิงจลนศาสตร์จะมีค่าน้อยกว่าแรงภายในเสาเข็มจากแรงเฉื่อยที่ได้จากการคำนวณ ยกเว้นบริเวณรอยต่อระหว่างชั้นดินเหนียว ซึ่งแรงภายในที่เกิดจากแรงเชิงจลนศาสตร์จะมีค่าสูงขึ้นกว่าปรกติมาก จึงควรมีการตรวจสอบการเสริมเหล็กในบริเวณดังกล่าวให้เพียงพอ โดยสามารถใช้สมการประมาณค่าอย่างง่ายในการประมาณแรงภายในที่เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ความคลาดเคลื่อนเมื่อเทียบกับการวิเคราะห์จะมีค่าไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์</p> ปฏิพัทธิ์ นิมิตพงศ์ถาวร, ฐิรวัตร บุญญะฐี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1970 Fri, 07 Jul 2023 09:02:06 +0700 การวิเคราะห์ผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหวของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2137 <p>งานวิจัยชิ้นนี้นำเสนออิทธิพลของการวิเคราะห์แบบไฟไนต์อิลิเมนต์สามมิติของการวิเคราะห์ผลตอบสนองทางแผ่นดินไหวของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล การวิเคราะห์ถูกกระทำเปรียบเทียบระหว่างการวิเคราะห์สามมิติและสองมิติโดยอ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยในอดีต การวิเคราะห์ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ธรณีวิทยาแผ่นดินไหวเชิงความน่าจะเป็นด้วยโปรแกรม R- CRISIS และการวิเคราะห์ไฟไนต์อิลิเมนต์ด้วยโปรแกรม PLAXIS 2D และ PLAXIS 3D ผลการวิจัยที่ได้บ่งชี้ว่า การเคลื่อนตัวในแนวเหนือน้ำ - ท้ายน้ำ จากการวิเคราะห์ทั้งสองกรณีมีค่าใกล้เคียงกัน ในขณะที่ผลการทรุดตัวจากการวิเคราะห์สามมิติมีค่ามากกว่า</p> ณัฐนนท์ หนุนอนันต์, ฐิรวัตร บุญญะฐี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2137 Fri, 07 Jul 2023 09:07:19 +0700 การประมาณความยาวเสาเข็มด้วยการตรวจวัดคลื่นสั่นสะเทือนจากหลายจุดกำเนิด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2338 <p>ความยาวของเสาเข็มที่มีอยู่ก่อนแล้วเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับการปรับปรุงอาคารหรือการขุดเจาะอุโมงค์ลอดใต้อาคาร การตรวจวัดเพื่อระบุความยาวเสาเข็มที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วิธี Parallel seismic test ที่จำเป็นต้องเจาะหลุมสำรวจเพิ่มเติมในบริเวณด้านข้างของเสาเข็มเดิมเพื่อทำการทดสอบ, วิธี Side echo test และ Sonic echo test ซึ่งต้องเคาะด้วยค้อนที่บริเวณด้านข้างหรือที่หัวเสาเข็มเพื่อสร้างคลื่นสั่นสะเทือน สำหรับงานวิจัยนี้จะศึกษาวิธีการประมาณความยาวเสาเข็มจากการตรวจวัดคลื่นสั่นสะเทือนที่เกิดจากจุดกำเนิดหลายตำแหน่ง (Ultra seismic test, Jalinoos and Olson, 1996) โดยใช้มาตรวัดการสั่นสะเทือนติดที่ด้านข้างของเสาเข็มแล้วเคาะด้านข้างของเสาเข็มด้วยค้อนที่ตำแหน่งที่อยู่ห่างจากมาตรวัดเป็นระยะที่แตกต่างกันไปจำนวน 10 จุด ซึ่งทำให้สามารถพิสูจน์ทราบความยาวของเสาเข็มได้แม่นยำกว่าวิธี Side echo test ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบกับเสาเข็มตอกในพื้นที่กรุงเทพ โดยจัดวางตำแหน่งของจุดกำเนิดและจุดรับสัญญาณคลื่นในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบ และ หาวิธีการตรวจวัดและประมวลผลที่ให้ผลการตรวจวัดที่ดีที่สุด ซึ่งพบว่าความคลาดเคลื่อนในการประเมินความยาวเสาเข็มจากการจัดวางตำแหน่งที่ดีที่สุดที่ใช้ในการศึกษานี้อยู๋ในช่วง 2.96% ถึง 6.29%</p> อชิรพงศ์ ภิวัฒน์ธนบูรณ์, พลพัชร นิลวัชราภรณ์, ฐิรวัตร บุญญะฐี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2338 Fri, 07 Jul 2023 09:09:29 +0700 การประเมินโมดูลัสของชั้นทางจาก Light Weight Deflectometer ที่มีจีโอโฟนเพิ่มเติมในแนวรัศมี https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2198 <p>ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น (Elastic Modulus) เป็นตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการออกแบบและควบคุมคุณภาพการบดอัดของโครงสร้างชั้นทาง ในอดีตที่ผ่านมาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นจะได้จากการทดสอบกับแท่งตัวอย่างที่เจาะเก็บจากโครงสร้างชั้นทางในสนาม ความเสียหายจากการเจาะเก็บตัวอย่างนี้อาจหลีกเลี่ยงได้โดยการใช้วิธีการทดสอบแบบไม่ทำลาย เช่น การทดสอบด้วยเครื่องมือ Light Weight Deflectometer (LWD) ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน อุปกรณ์ LWD ในการศึกษานี้จะมีเซนเซอร์วัดความเร็วคลื่น (Geophone) เพิ่มเติมจำนวน 2 ตัว ติดตั้งในแนวรัศมีจากจุดทดสอบ ซึ่งทำให้สามารถประเมินค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของวัสดุโครงสร้างชั้นทางที่ไม่เป็นเนื้อเดียวได้ดีขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดสอบบนโครงสร้างชั้นทางด้วยเครื่องมือ LWD และสอบเทียบผลกับการตรวจวัดด้วยคลื่นขนาดเล็กที่ผิวดิน (Microtremor) และเครื่องมือตอกหยั่งแบบเบา (DPL) จากผลการศึกษาพบว่าค่าโมดูลัสยืดหยุ่นในแต่ละชั้นโครงสร้างทางที่ได้จากการทดสอบด้วยเครื่องมือ LWD มีความสอดคล้องกับผลที่ได้จากเครื่องมือ Microtremor แต่มีการแกว่งตัวมากขึ้นเมื่อเทียบกับเครื่องมือ DPL ทั้งนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ดีในการนำเครื่องมือ LWD ที่มีเซนเซอร์วัดความเร็วคลื่นไปใช้สำหรับการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างชั้นทางในประเทศไทย</p> ฐิติพัฒน์ รุ่งพัฒนาชัยกุล, ฐิรวัตร บุญญะฐี, ถิรวัฒน์ ซิ้มเล่มกิม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2198 Fri, 07 Jul 2023 09:12:51 +0700 การประเมินความยาวเสาเข็มตอกด้วยวิธีการตอกหยั่งพลวัต https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2038 <p>การเจาะสำรวจชั้นดินด้วยวิธีตอกทดสอบทะลุทะลวงมาตรฐานเป็นการหาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินในสนามแบบพลศาสตร์ และถูกนำไปใช้ในการออกแบบประเภท หน้าตัด ขนาด และความยาวเสาเข็มโดยใช้วิธีทางสถิตศาสตร์ ระยะจมในการตอกเสาเข็มถูกนำมาใช้ประเมินความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มในการก่อสร้าง บ่อยครั้งที่ความยาวเสาเข็มที่ออกแบบไว้ไม่จมอยู่ในชั้นดินที่ต้องการ อาจเนื่องมาจากความแปรปรวนของลักษณะชั้นดิน ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายและเวลาในการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น วิธีการตอกหยั่งพลวัตเป็นวิธีการสำรวจชั้นดินรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีวิธีการสำรวจที่มีขั้นตอนง่าย และประหยัดกว่าการเจาะสำรวจวิธีมาตรฐาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่างระยะจมของการตอกหยั่งพลวัตกับความสามารถในการรับแรงของเสาเข็มที่ได้จากสมการ Hiley จากข้อมูลจำนวนครั้งการตอกหยั่งพลวัตและการตอกเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน 3 ขนาดคือ 0.35*0.35 0.22*0.22 และ 0.18*0.18 เมตร โดยมีความยาว 8.5-11 เมตร จำนวนทั้งหมด 118 ต้น ที่ตอกในชั้นดินทรายแป้งปนดินเหนียว และ ทรายแน่น ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาพบว่า ผลการทดสอบตอกหยั่งพลวัตมีความสอดคล้องกับกำลังของเสาเข็ม ระยะจมในการตอกหยั่งพลวัตสามารถนำมาประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มตอกด้วยสมการตอก Hiley ได้และพบว่ารูปแบบการตอกหยั่งพลวัตแบบ DPSH-B ให้ความน่าเชื่อถือมากที่สุด การประมาณความยาวเสาเข็มจากการทดสอบตอกหยั่งพลวัตสามารถประมาณการได้จากจำนวนครั้งในการตอกหยั่งพลวัต</p> นัฐวุฒิ เหมะธุลิน, พัฒนศักดิ์ ชัยพรรณา, ปิโยรส ทะเสนฮด, ฐิรวัตร บุญญะฐี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2038 Fri, 07 Jul 2023 09:18:25 +0700 การใช้แกนกัญชงและเส้นใยกัญชงเสริมแรงดินเหนียวบดอัด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2618 <p>กัญชงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศไทยหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศปลดล็อคให้สามารถผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ด้วยคุณประโยชน์มากมายจากทุกส่วนของกัญชงทำให้กัญชงมีศักยภาพที่จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของไทย ซึ่งปัจจุบันพบแหล่งเพาะปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่มีการเพาะปลูกกัญชงและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาคุณสมบัติทางกลของแกนและเส้นใยของกัญชงมาผสมดินเหนียวซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างชีวภาพ โดยนำแกนและเส้นใยของกัญชงมาผ่านกระบวนการจนได้ความยาวขนาด 0.5 และ 2 ซม. ผสมกับดินเหนียวจากแหล่งดินเหนียวจังหวัดพิษณุโลก ทำการทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานของวัสดุและออกแบบอัตราส่วนผสมด้วยการกำหนดอัตราส่วนผสมร้อยละ 0.5 และร้อยละ 1 ต่อน้ำหนักของดินเหนียว จากนั้นทำการทดสอบประสิทธิภาพกำลังอัดด้วยการทดสอบคุณสมบัติกําลังอัดแกนเดียว (Unconfined Compression Test) และการทดสอบแรงอัดแบบสามแกน (Triaxial Test) ผลการทดสอบพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณแกนกัญชงในอัตราส่วนผสมทำให้กำลังรับแรงเฉือนลดลง แต่เมื่อเพิ่มเส้นใยกัญชงกำลังรับแรงเฉือนจะสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่ากระบวนการแปรรูป การกำหนดขนาด และการกำหนดปริมาณของกัญชงมีผลต่อประสิทธิภาพการรับแรงของกัญชงผสมดินเหนียว</p> วรรณิกา ขันคำนันต๊ะ, ภูริชัย แก้วมา, ณัฐนนท์ คุ้มครุฑ, กรกฎ นุสิทธิ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2618 Fri, 07 Jul 2023 09:21:34 +0700 การปรับปรุงคุณภาพของวัสดุคัดเลือกประเภท ก และ ข โดยใช้น้ำยางพาราชนิด HA60 และซีเมนต์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางด้าน California Bearing Ratio (CBR) https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2547 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของวัสดุคัดเลือกประเภท ก และ ข ตามมาตรฐานกรมทางหลวงแห่งประเทศไทยโดยใช้น้ำยางพาราชนิด HA60 และซีเมนต์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางด้าน California bearing ratio (CBR) และสัมประสิทธิ์ความซึมน้ำ โดยขั้นตอนแรกผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วน 10%, 15%, 20%, 25% และ 30% โดยน้ำหนัก เพื่อหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมสำหรับวัสดุทั้งสองประเภทโดยอาศัยผลการทดสอบ CBR เป็นเกณฑ์ จากนั้นผสมซีเมนต์ที่ 2%, 4%, 6% และ 8% โดยน้ำหนักในขั้นตอนที่สอง จากผลการศึกษาวัสดุคัดเลือกประเภท ก พบว่าอัตราส่วนผสมของน้ำยางพาราและซีเมนต์ที่ 15% และ 2% ตามลำดับ ให้ค่า CBR สูงที่สุด สำหรับวัสดุคัดเลือกประเภท ข อัตราส่วนผสมของยางพาราและซีเมนต์ที่ 20% และ 4% ตามลำดับ ให้ค่า CBR สูงที่สุด นอกจากนั้นผลการศึกษาค่าสัมประสิทธิ์ความซึมน้ำของวัสดุทั้งสองประเภทมีแนวโน้มลดลงตามอัตราส่วนน้ำยางพาราและซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น</p> อุมาพร ปฏิพันธ์ภูมิสกุล, ดวงนภา วานิชสรรพ์, เอกนรา จันดา Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2547 Fri, 07 Jul 2023 09:24:59 +0700 พฤติกรรมแรงอัดแกนเดี่ยวของดินตะกอนกว๊านพะเยาผสมซีเมนต์ที่ผสมเส้นใยเปลือกข้าวโพด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2319 <p>งานวิจัยเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือทิ้งมาพัฒนาสมบัติทางวิศวกรรมเพื่อเป็นทางเลือกในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง นอกจากจะเป็นการลดต้นทุนการก่อสร้างและเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งแล้วนั้น ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ดังเช่น ดินตะกอนกว๊านพะเยา และเปลือกข้าวโพด ซึ่งจัดว่าเป็นวัสดุเหลือทิ้งและมีจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดพะเยา การกองเก็บและการกำจัดวัสดุดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอย่างมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมแรงอัดแกนเดี่ยวของดินตะกอนกว๊านพะเยาผสมปูนซีเมนต์ที่เสริมเส้นใยข้าวโพด โดยทําการทดสอบกําลังอัดแกนเดี่ยวที่ปริมาณปูนซีเมนต์ร้อยละ 7 ปริมาณเส้นใยร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนักของดินแห้ง และความยาวเส้นใย 10 20 และ 40 มิลลิเมตร ตามลำดับ ที่อายุการบ่ม 7 วัน ผลการทดสอบกําลังอัดแกนเดี่ยวพบว่าการเพิ่มเส้นใยช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมเปราะของตัวอย่างดินตะกอนกว๊านพะเยาผสมปูนซีเมนต์ ให้เป็นพฤติกรรมเหนียวและช่วยลดการสูญเสียกําลังหลังจากกําลังอัดสูงสุด ท้ายสุดของงานวิจัยนี้จะนำเสนออัตราส่วนและความยาวที่เหมาะสมของเส้นใยข้าวโพดสำหรับนำไปใช้ในงานวิศวกรรม</p> พิสิษฐ์ ผลาสิงห์, ธนกร ชมภูรัตน์, ธนกฤต เทพอุโมงค์, สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2319 Fri, 07 Jul 2023 09:27:20 +0700 การปรับปรุงคุณภาพผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลผสมหินคลุกด้วยเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์แบบผง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2240 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลผสมหินคลุกผสมเถ้าลอย และใช้สารเร่งปฏิกิริยาคือ โซเดียมไฮดรอกไซด์แบบเกล็ด (NaOH) ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่อัตราส่วน ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลต่อหินคลุกเท่ากับ 100:0, 75:25, 50:50 และ 25:75 อัตราส่วนเถ้าลอย (FA) เท่ากับร้อยละ 30 ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 5 โมลาร์ อายุบ่มตัวอย่างเท่ากับ 7 และ 28 วัน แปรผันความชื้นที่ ร้อยละ 80, 100 และ 120 ตามลำดับจากนั้นทำการทดสอบกำลังอัดแกนเดียว (USC) ของผิวทางที่ปรับปรุงคุณภาพจากผลการทดสอบกำลังอัดแกนเดียว พบว่าค่ากำลังอัดแกนเดียว (USC) มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณหินคลุกที่เพิ่มขึ้น ค่ากำลังอัดสูงสุดพบที่ปริมาณความชื้นที่จุดเหมาะสม นอกจากนี้ค่ากำลังอัดจะมีค่าสูงขึ้นตามระยะเวลาอายุบ่มที่เพิ่มขึ้นโดยสูงสุดที่อายุบ่ม 28 วัน จากการศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำแอสฟัลต์คอนกรีตเก่ามาใช้เป็นวัสดุทางเลือกในการก่อสร้างหรือปรับปรุงถนนได้ ซึ่งผ่านตามข้อกำหนดของกรมทางหลวงที่ชั้นพื้นทาง หินคลุกผสมปูนซีเมนต์ที่กำหนดให้ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวต้องไม่น้อย กว่า 24.50 ksc ที่ระยะเวลาการบ่ม 7 วัน</p> กนกพล จันทรา, ชยกฤต เพชรช่วย, วรวิทย์ โพธิ์จันทร์, วีระวัฒน์ วรรณกุล, ชินะวัฒน์ มุกตพันธุ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2240 Fri, 07 Jul 2023 09:33:54 +0700 สมบัติการไหลและกำลังช่วงแรกของวัสดุควบคุมกำลังต่ำที่ผลิตจากยางก้อนถ้วย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2127 <p>ปัจจุบันผลผลิตยางพารามีจำนวนมากขึ้นแต่การใช้งานและการส่งออกยางพาราลดลงจึงเป็นสาเหตุของราคายางตกต่ำ การใช้ยางก้อนถ้วยเป็นวัสดุในส่วนผสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำยางพาราไปใช้ให้หลากหลายและยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย ในการศึกษานี้เป็นการศึกษาสมบัติเชิงกลของวัสดุควบคุมกำลังต่ำและความเป็นไปได้ในการใช้ยางก้อนถ้วยเป็นส่วนผสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำโดยมีส่วนประกอบ ได้แก่ ซีเมนต์ เถ้าลอย น้ำ ทรายธรรมชาติ และยางก้อนถ้วย ซึ่งจะนำยางก้อนถ้วยไปแทนที่การใช้ทรายธรรมชาติในปริมาณร้อยละ 20, 30 และ 40 โดยปริมาตรของมวลรวมละเอียด การทดสอบประกอบไปด้วย ความสามารถในการไหลและการรับกำลังแรงอัดแกนเดียวที่อายุบ่ม 7 และ 14 วัน จากผลการศึกษาพบว่าความสามารถในการไหลและการรับกำลังอัดแกนเดียวมีค่าลดลงเมื่อปริมาณของยางก้อนถ้วยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของ ACI 229R ดังนั้นยางก้อนถ้วยจึงน่าจะสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำได้</p> นิธิพร แสงสาย, ธนกร ชมภูรัตน์, พิชชา จองวิวัฒสกุล, สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2127 Fri, 07 Jul 2023 09:36:15 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมระบบปกคลุมดินแบบธรรมชาติสำหรับลาดเหนือคันทาง กรณีศึกษาลาดเหนือคันทางทล. 1192 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2446 <p>ปัญหาการกัดเซาะลาดเหนือคันทางมักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงฝนตกหนัก บทความนี้นำเสนอพฤติกรรมของระบบปกคลุมแบบธรรมชาติ 3 รูปแบบได้แก่ 1) หญ้าแฝกและรั้วไม้ไผ่ 2) ผ้าห่มดินและหมอนกันดิน 3) ระบบป้องกันคาปิลลารี่ ในแปลงทดลองฝั่งลาดเหนือคันทางทล. 1192 (กม. 11+500) จังหวัดเชียงใหม่ ความชันประมาณ 45 องศา สูง 10 เมตร ซึ่งเป็นดินคงค้างในที่จากหินแกรนิตผุมีการกัดเซาะรุนแรง ผลการศึกษาการตรวจวัดความชื้น แรงดันน้ำค่าบวกและลบ และน้ำฝน พบว่า ระบบป้องกันคาปิลลารี่ซึ่งประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพและวัสดุมวลรวมแอสฟัลต์รีไซเคิล สามารถป้องกันกัดเซาะได้ดีที่สุด และสามารถรักษาค่าแรงดูดในลาดดินได้อย่างดี และพบว่าการใช้เสาเข็มสกรูร่วมกับกระสอบแบบมีปีกและไม้ปักชำเพื่อป้องกันการกัดเซาะที่ฐานเชิงลาดสามารถป้องกันการพังทลายของลาดดินระดับตื้นได้อย่างดี เมื่อเปรียบเทียบกับลาดซึ่งไม่มีระบบป้องกัน</p> อภินิติ โชติสังกาศ, บวรพงศ์ สุขเจริญ, วชิรวัติ ประภัสสร, ดีเซลล์ สวนบุรี, อัคคพัฒน์ สว่างสุรีย์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2446 Fri, 07 Jul 2023 16:21:46 +0700 การศึกษาความเหมาะสมของการใช้ดินเหนียวจังหวัดสงขลา ผสมเถ้าลอยไม้ยางพาราสำหรับชั้นกันซึมของบ่อฝังกลบมูลฝอย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2116 <p>ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการใช้วัสดุผสมจากดินเหนียวท้องถิ่นจังหวัดสงขลาและเถ้าลอยไม้ยางพาราสำหรับใช้เป็นชั้นกันซึมบ่อฝังกลบมูลฝอย งานวิจัยของ Benson และ Daniel (1990) แสดงให้เห็นว่า ช่วงของค่าคุณสมบัติที่เหมาะสมของชั้นกันซึม ประกอบด้วย ค่าสัมประสิทธ์การซึมผ่านของน้ำต้องมีค่าต่ำกว่า 1x10-7cm/s ค่ากำลังอัดแกนเดียวต้องไม่น้อยกว่า 200 kPa และค่าการหดตัวเชิงปริมาตรต้องต่ำกว่า 4% ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้อัตราส่วนของดินเหนียวต่อเถ้าลอยของว้สดุผสมโดยน้ำหนักแห้งได้แก่ 100:0 และ 80:20 และมีการแปรผันระยะเวลาในการบ่มที่ 0, 7 และ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า ดินเหนียวอย่างเดียว (อัตราส่วน 100:0) ถึงแม้ว่าจากอัตราส่วนนี้มีค่าสัมประสิทธ์การซึมผ่านของน้ำต่ำกว่า 1x10-7cm/s แต่ก็ยังไม่เหมาะสมในการนำไปใช้เป็นชั้นกันซึมเนื่องจากมีค่ากำลังอัดแกนเดียวไม่เกิน 200 kPa และค่าการหดตัวเชิงปริมาตรมากกว่า 4% อย่างไรก็ตาม สำหรับวัสดุผสมในอัตราส่วน 80:20 ที่ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน ผลการทดสอบทำให้ค่าทุกคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น วัสดุผสมในอัตราส่วน 80:20 จึงเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้เป็นชั้นกันซึมของบ่อฝังกลบขยะมูลฝอย คำสำคัญ: ชั้นกันซึมดินเหนียวบดอัด, ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำ, ค่ากำลังอัดแกนเดียว, ค่าการหดตัวเชิงปริมาตร</p> ณัฐรัตน์ ไชยพลฤทธิ์, ธนิต เฉลิมยานนท์, ธนันท์ ชุบอุปการ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2116 Fri, 07 Jul 2023 16:23:38 +0700 การประยุกต์ใช้วัสดุไบโอชาร์ในการป้องกันการกัดเซาะและเสถียรภาพของทางลาด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2130 <p>การกัดเซาะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ทางลาดมีเสถียรภาพลดลง เนื่องจากในช่วงฤดูฝนจะเกิดการชะล้างหน้าดินและเกิดกัดเซาะเป็นร่องลึกบริเวณตีนลาด (Toe slope) อาจส่งผลให้ลาดดินเกิดการพิบัติได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้ถ่านไบโอชาร์จากซังข้าวโพดเพื่อปรับปรุงคุณภาพดินที่มีการกัดเซาะสูง โดยทำการทดสอบการกัดเซาะของดินด้วยวิธี Submerged Jet Test (JET) และศึกษาพฤติกรรมการไหลซึมของน้ำโดยการสร้างแบบจำลองคอลัมน์ดินในห้องปฏิบัติการ พื้นที่ศึกษาบริเวณเขตทางหลวง ทล.1192 ต.ท่าพระ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยใช้ทฤษฎีระบบกั้นคาพิลารี (Capillary barrier System) จากผลการศึกษาพบว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยการผสมไบโอชาร์ที่มากขึ้น โดยปราศจากการบ่ม ทำให้การยึดเกาะอนุภาคของดินต่ำลงในช่วงแรก การจัดเรียงอนุภาคหลวมขึ้นเนื่องจากไบโอชาร์เป็นวัสดุที่มีรูพรุนสูง หากไม่มีการบ่มจะส่งผลให้เกิดการกัดเซาะมากกว่าดินที่ไม่ได้ผสมไบโอชาร์ และพบว่าการใช้ระบบกั้นคาพิลารีช่วยลดการแทรกซึมของน้ำได้ในช่วงแรก จึงควรบรรจุดินที่ได้รับการปรับปรุงในวัสดุจีโอเซล (Geocell) ในลักษณะของระบบกั้นพิลารี่ ซึ่งส่งผลให้เสถียรภาพของลาดดินเพิ่มขึ้น จนถึงจุดที่ปริมาณน้ำฝนเกิดค่าวิกฤติซึ่งมีการไหลซึมทะลุผ่านชั้นคาพิลารี่ และเสถียรภาพของลาดมีค่าลดลง</p> ธนนพ เหมือนเหลา, อภินิติ โชติสังกาศ, อภินิติ โชติสังกาศ, ศุภกิจ นนทนานันท์, สุรเชษฐ์ อร่ามรักษ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2130 Fri, 07 Jul 2023 16:31:49 +0700 Study on the Application of the Concrete Model in PLAXIS to Bangkok Clay Improved with Portland Cement https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2374 <p>Ground improvement by admixing the natural soil with Portland cement is one of the effective soil treatment techniques to improve the engineering properties of soft Bangkok clay. The objective of this study is to investigate the application of the Concrete Model in PLAXIS for cement-treated Bangkok clay. The Concrete Model is a constitutive model which has the features to simulate the non-linear behavior of cementitious materials both in the hardening and softening regimes. This study presents the formulation and calibration of the Concrete Model, particularly for cement-treated cohesive soils. The time- independent strength and stiffness parameters for the Concrete Model are calibrated from the laboratory unconfined compression tests and undrained triaxial compression tests of cement-treated Bangkok clay. The relationships between the undrained stiffness and shear strength parameters and cement content and water-cement ratio are discussed. The applicability of the Concrete Model for cement treated Bangkok clay is assessed. The SoilTest feature in PLAXIS finite element software is employed to calibrate the relevant model parameters. Parameter values for the Concrete Model and laboratory experiments that result in accurate simulation of the behavior of cement-treated Bangkok clay are provided and discussed.</p> Soe Thinzar Than, Pongpipat Anantanasakul Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2374 Fri, 07 Jul 2023 16:34:54 +0700 ข้อคำนึงในการก่อสร้างลาดคันดินในการป้องกันน้ำท่วมแบบมีและแบบไม่มีแผ่นใยสังเคราะห์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2036 <p>ในปี 2564 โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่อำเภอด่านช้าง เกิดน้ำท่วมฉับพลัน จากพายุฝนที่ตกหนัก ได้รับผลกระทบคือเซลล์รับพลังงานแสงอาทิตย์เสียหาย และไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้แม้ว่าจะมีกำแพงดินกันน้ำท่วมในระดับหนึ่งก็ตาม น้ำก็ยังสามารถทะลักเข้าพื้นที่ได้ ดังนั้นในปี 2565 จึงมีการออกแบบและก่อสร้างกำแพงกันดินที่ป้องกันน้ำท่วมให้สูงขึ้นและมีความแข็งแรงมากขึ้น แต่ด้วยสภาพเนินดินเดิมที่มีความสูงมากอยู่แล้ว และเป็นการก่อสร้างใกล้กับขอบเขตที่ดิน จึงต้องใช้ความชันของลาดดินที่มีค่าสูงถึง 2.5:1 อีกทั้งยังต้องป้องกันการเลื่อนไถลของดินถมใหม่ จึงมีการเลือกใช้แผ่นใยสังเคราะห์ในการป้องกันดินเลื่อนไถล และการป้องกันน้ำท่วม บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ความรู้ด้านการก่อสร้างลาดคันดินแบบมีและแบบไม่มีแผ่นใยสังเคราะห์ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูง เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการออกแบบ การก่อสร้าง และการควบคุมงานด้านวิศวกรรม โดยมีการวิเคราะห์ตรวจสอบสภาพดินถมทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ และระดับภาคสนาม อีกทั้งยังมีการเสริมความแข็งแรงของลาดดินโดยใช้แผ่นใยสังเคราะห์ และการเลือกใช้กำแพงกันดินคอนกรีตเพื่อช่วยในการป้องกันดินไถลในพื้นที่ใกล้เขตที่ดิน การศึกษาพบว่าในการก่อสร้างกำแพงกันดินป้องกันน้ำท่วมจำเป็นต้องมีการทดสอบตามมาตรฐานหลายขั้นตอนในขณะก่อสร้าง ได้แก่ การทดสอบกำลังรับแรงเฉือนของดินและการหาค่ามุมของความเสียดทานของดิน การทดสอบเสถียรภาพต่อการเลื่อนไถล และการทดสอบการบดอัดดิน การทดสอบการซึมผ่านของน้ำในดิน การตรวจวัดระดับและความลาดของดินถมเป็นข้อที่ควรคำนึงถึง เพื่อให้การก่อสร้างกำแพงกันดินและการป้องกันน้ำท่วมหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยตามวัตถุประสงค์</p> ดร.พิณิช ธนชัยโชคศิริกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2036 Fri, 07 Jul 2023 00:00:00 +0700 การทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นยางพาราเสริมกำลังคันดินในสนามทดสอบ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2001 <p>จากสถานการณ์ราคายางพาราในประเทศไทยที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปี พ.ศ. 2554 ถึง ปัจจุบัน งานวิจัยนี้จึงนำแผ่นยางพารารมควัน ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีความยืดหยุ่น มีคุณสมบัติด้านการรับแรงดึง เช่นเดียวกับคุณสมบัติของแผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินมาประยุกต์ใช้ โดยการทดสอบประสิทธิภาพการเสริมกำลังของคันดินด้วยแผ่นยางพารารมควันในสนามทดสอบขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3.5 เมตร สูง 0.5 เมตร มีการติดตั้งแผ่นยางพารารมควัน จำนวน 2 ชั้น ที่ตำแหน่ง 0.05 เมตร และ 0.25 เมตร จากผิวดิน ทดสอบเปรียบเทียบกำลังการรับน้ำหนักของคันดินที่ไม่มีการเสริมกำลังและเสริมกำลังด้วยแผ่นยางพารารมควันด้วยการจำลองน้ำหนักของยานพาหนะขนาด 160 กิโลกรัม บรรทุกผ่านจำนวน 250 รอบ ตรวจวัดค่าการทรุดตัว (Settlement) และ ค่าความลึกของร่องล้อ (Rutting depth) จากการศึกษาตรวจวัดพฤติกรรมของคันดินในสนามทดสอบพบว่า คันดินบริเวณที่มีการเสริมกำลังด้วยแผ่นยางพารารมควัน มีค่าการทรุดตัว และ ค่าความลึกของร่องล้อ ลดลงน้อยกว่าคันดินบริเวณที่ไม่มีการเสริมกำลังด้วยแผ่นยางพารารมควันเฉลี่ยร้อยละ 32.63 และ 18.75 ตามลำดับ ดังนั้นแผ่นยางพารารมควันจึงมีประสิทธิภาพช่วยเสริมกำลังการรับแรงของคันดินในสนาม</p> ภัคภณ จรูญรัตน์, อนุพุทธ์ เลียงสุนทรสิทธิ์, ศลิษา ไชยพุทธ, จิรัชญา อายะวรรณา, ทรงกลด แซ่อึ้ง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2001 Fri, 07 Jul 2023 16:40:06 +0700 ค่าสัมประสิทธิ์กำลังรับแรงเฉือนที่ผิวของแผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินที่ผลิตจากแผ่นยางพารารมควัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1991 <p>แผ่นตาข่ายเสริมกำลังดิน (Geogrid) เป็นวัสดุที่ผลิตจากพอลิเมอร์สังเคราะห์ มีลักษณะคล้ายตาข่าย สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาความแข็งแรงและเพิ่มเสถียรภาพให้แก่โครงสร้างชั้นดิน ในการศึกษานี้แผ่นยางพารารมควัน (Ribbed Smoked Sheet; RSS) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากยางพาราและนับเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติถูกนำมาศึกษา เพื่อใช้เป็นวัสดุทางเลือกใหม่ทดแทนแผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินที่ผลิตจากพอลิเมอร์สังเคราะห์ การศึกษาประสิทธิภาพในการเสริมกำลังดินของแผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินที่ผลิตจากแผ่นยางพารารมควัน (RSS geogrid) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์กำลังรับแรงเฉือนที่ผิว (Interface shear strength coefficient ; Rin) จากการทดสอบการเฉือนตรงขนาดใหญ่ (Large-scale direct shear) ภายใต้เงื่อนดินเสริมกำลังและไม่เสริมกำลัง แผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินที่ผลิตจากแผ่นยางพารารมควันถูกนำไปติดตั้งเพื่อเสริมกำลังดิน 2 ชนิด ได้แก่ ดินเหนียว (ดินเม็ดละเอียด) และ ดินทราย (ดินเม็ดหยาบ) จากการศึกษาพบว่า ค่า Rin ของดินเหนียว และ ดินทราย มีค่าเท่ากับ 1.033 และ 1.479 ตามลำดับ แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการเสริมกำลังดินของแผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินที่ผลิตจากแผ่นยางพารารมควัน โดยเฉพาะดินทราย ซึ่งเป็นดินเม็ดหยาบ</p> อนุพุทธ์ เลียงสุนทรสิทธิ์, ภัคภณ จรูญรัตน์, ศลิษา ไชยพุทธ, จิรัชญา อายะวรรณา, อุบะ ศิริแก้ว Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1991 Fri, 07 Jul 2023 16:54:40 +0700 Finite Element Analysis for Underground Deep Excavation Behavior in Phnom Penh City https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2055 <p>Underground space is urgently required to be used in economic imperative for landscape purposes in the Phnom Penh City of Cambodia due to the rapidly increasing economy and population over a few decades. Within the excavation work, lateral wall movement and ground surface settlement are critical concerns for engineers that could be affected the adjacent buildings, roads, etc. In this study, a deep excavation site located in Phnom Penh soft ground is selected to investigate. The 2D and 3D finite element analyses are utilised for predicting deep excavation behaviour, including lateral wall movement and ground surface settlement. The Mohr-Coulomb plasticity model was employed in deep excavation modelling. Empirical equations based on the maximum lateral wall movement and maximum ground surface settlement relationship are used to predict the wall movement and ground settlement profile. Finally, the results from finite element simulations, empirical analysis, and monitoring data are compared and discussed.</p> Daro Roeun, Raksiri Sukkarak, Suched Likitlersuang Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2055 Sat, 08 Jul 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของดินที่เกิดจากการติดตั้งบ่อเปิดคอนกรีตหน้าตัดกลม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2090 <p>เนื่องด้วยสภาพพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดของแต่ละเมืองทั่วโลกส่งผลให้เกิดการขยายตัวของการก่อสร้างใต้ดินอย่างรวดเร็วเป็นผลให้ความสนใจในด้านงานขุดมีเพิ่มมากขึ้นตามมา เช่น งานก่อสร้างอุโมงค์ งานติดตั้งบ่อคอนกรีต ภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่ การก่อสร้างบ่อคอนกรีตใหม่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีโครงสร้างเดิมอยู่แล้วได้ส่งผลให้โครงสร้างเดิมมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการติดตั้งบ่อคอนกรีต ดังนั้น จึงต้องมีวิธีประเมินผลกระทบที่เหมาะสม ในการศึกษานี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาวิธีการจำลองการติตตั้งบ่อกลมคอนกรีตแบบเปิดที่สามารถสะท้อนการเคลื่อนตัวของดินรอบข้างที่เกิดขึ้นเนื่องจากขั้นตอนการก่อสร้าง โดยนำแบบจำลองทางกลศาสตร์-จลศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกับวิธีการวิเคราะห์เชิงตัวเลขแบบ 3 มิติ และทำการสอบเทียบความน่าเชื่อถือของแบบจำลองกับข้อมูลผลตรวจวัดภาคสนามของการติดตั้งบ่อกลมคอนกรีตแบบเปิดของโครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำ จากการศึกษาพบว่าผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นมีความใกล้เคียงกับผลตรวจวัดจริงในระดับที่น่าพอใจ และยังพบว่าการเคลื่อนตัวในแนวราบนั้นจะเกิดขึ้นมากในชั้นดินเหนียวอ่อน ในขณะที่การทรุดตัวที่ผิวดินจะเกิดในระยะ 0.75 เท่าของความลึกบ่อคอนกรีต จากข้อสรุปที่กล่าวมานั้น แบบจำลองการติดตั้งบ่อคอนกรีตที่พัฒนาขึ้นนั้น จึงสามารถนำไปใช้ไปหนึ่งในทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้</p> สันติสุข ทองใบใหญ่, รศ.ดร.พรเกษม จงประดิษฐ์, ดร.ชนา พุทธนานนท์, กังวาน กานดาวรวงศ์, เอกพงศ์ รุ่งเรือง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2090 Sat, 08 Jul 2023 00:23:52 +0700 การศึกษาอิทธิพลของการจัดเรียงเสาเข็มดินซีเมนต์ที่มีต่อกำลังต้านทานแรงด้านข้างในดินเหนียวอ่อน โดยใช้แบบจำลองเฉือนตรงขนาดใหญ่ในสนาม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2215 <p>บทความนี้นำเสนอการศึกษาอิทธิพลของการจัดเรียงเสาเข็มดินซีเมนต์ที่มีต่อกำลังต้านทานแรงด้านข้างในดินเหนียวอ่อน โดยใช้แบบจำลองเฉือนตรงขนาดใหญ่ในสนาม การทดสอบใช้การสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์แบบย่อสัดส่วนลงในชั้นดินเหนียวอ่อนธรรมชาติ ในแปลงทดสอบที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาใช้แบบจำลองเสาเข็มดินซีเมนต์เส้นผ่านศูนย์กลาง 70 มิลลิเมตร ซึ่งใช้สัดส่วนย่อขนาดจริง 10 ต่อ 1 การผสมใช้การผสมเชิงกลแบบเปียกในระดับลึกโดยใช้ใบกวนหมุนด้วยสว่านไฟฟ้า ในการศึกษาใช้รูปแบบการจัดเรียงเสาเข็มดินซีเมนต์ 4 รูปแบบ เพื่อศึกษาอิทธิพลของการจัดเรียงและระยะห่างระหว่างเสาเข็มดินซีเมนต์ที่มีผลต่อกำลังต้านทานแรงกระทำด้านข้าง ซึ่งใช้วิธีการเฉือนตรงขนาดใหญ่โดยใช้กล่องเฉือนที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อการศึกษานี้โดยเฉพาะ ที่สามารถเปิดด้านข้างของกล่องเพื่อศึกษารูปแบบการวิบัติของดินและเสาเข็มดินซีเมนต์ได้เมื่อทดสอบจนถึงจุดวิบัติแล้ว การเฉือนกระทำในสนามโดยไม่มีการเคลื่อนย้ายดินเพื่อลดการรบกวนตัวอย่างน้อยที่สุด ผลการทดสอบเฉือนตรงขนาดใหญ่ในสนามแสดงให้เห็นว่าแรงยึดเกาะระหว่างเสาเข็มดินซีเมนต์มีอิทธิพลอย่างมากต่อกำลังต้านทานแรงด้านข้างจากการจัดเรียง SCCW</p> ศรุตาภรณ์ ทรงศรี, พรพจน์ ตันเส็ง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2215 Sat, 08 Jul 2023 00:26:34 +0700 ประสิทธิภาพของกำแพงกันดินเสาเข็มดินซีเมนต์สำหรับอุโมงค์ทางลอดในชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2211 <p>บทความนี้กล่าวถึงประสิทธิภาพของกำแพงกันดินเสาเข็มดินซีเมนต์ (soil cement column wall, SCC wall) ของการขุดดินลึกในชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพที่ใช้กำแพงขวาง (cross wall) ในการปรับปรุงเสถียรภาพก้นบ่อขุดแทนการติดตั้งค้ำยันชั่วคราว การศึกษานี้ใช้โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดของรถยนต์สำหรับอาคารชุดพักอาศัย ที่ผนังอุโมงค์อยู่ใกล้กับอาคารคอนโดมิเนียม ในงานวิจัยนี้ได้มีการเก็บข้อมูลการเคลื่อนตัวของดินหลังกำแพงกันดินในระหว่างการก่อสร้าง และนำมาใช้ในการวิเคราะห์โดยการจำลองด้วยวิธีไฟไนท์อีลิเมนต์สามมิติเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกำแพงกันดินและเปรียบเทียบการเคลื่อนตัวของกำแพงกันดินที่ไม่มีการเพิ่มเสถียรภาพก้นบ่อขุดด้วยกำแพงขวาง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กำแพงเสาเข็มดินซีเมนต์ที่มีการปรับปรุงเสถียรภาพด้วยผนังขวางที่ก้นบ่อขุดมีการเคลื่อนตัวทางด้านข้างของดินหลังกำแพงที่ต่ำและยังสามารถใช้ในงานขุดดินลึกในชั้นดินเหนียวอ่อนได้เป็นอย่างดี</p> บุญญฤทธิ์ บุญเกิด, พรพจน์ ตันเส็ง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2211 Sat, 08 Jul 2023 00:32:16 +0700 การวิเคราะห์กำลังแบกทานของฐานรากบนดินทรายแน่น โดยใช้แบบจำลองของ Bolton https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2307 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์หากำลังแบกทานของฐานรากบนดินทรายแน่นที่ใช้เกณฑ์การวิบัติของดินทรายด้วยหลักการของ Bolton โดยทำการศึกษาฐานรากแนวยาวภายใต้สภาวะระนาบความเครียด โดยใช้ทฤษฏีขอบเขตบนและขอบเขตล่างของไฟไนต์เอลิเมนต์แบบวิเคราะห์ลิมิต (FELA) ในการวิเคราะห์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของดินทรายแน่น แบบจำลองของ Bolton ทำการศึกษาระหว่างความเค้นและการขยายตัว โดยศึกษาปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของดินทรายแน่น และผลการวิเคราะห์ที่ได้จะนำมาเปรียบเทียบกับงานวิจัยในอดีตเพื่อใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการศึกษาในครั้งนี้ และมีการนำแบบจำลอง ANN ที่เปรียบเสมือนหลักการทำงานของระบบประสาทของมนุษย์ มาใช้สำหรับศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลนำเข้าและข้อมูลส่งออก เพื่อใช้ในการทำนายผลกำลังแบกทานของปัญหาดังกล่าว และทำการวัดผลความแม่นยำของการใช้แบบจำลอง ANN ด้วยวิธีการวัดผลทางสถิติที่ใช้ในการประเมินความแม่นยำ ทั้งหมด 3 วิธี ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย, ค่าเฉลี่ยผลต่างสัมบูรณ์, และรากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 0.99, 152.16, และ 203.92 ตามลำดับ ซึ่งกล่าวได้ว่าการทำนายผลกำลังแบกทานโดยใช้แบบจำลอง ANN ให้ผลเฉลยที่ใกล้เคียงกับผลกำลังแบกทานจากการใช้วิธี FELA</p> วิทยา จิตชัยเจริญ, สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2307 Sat, 08 Jul 2023 00:43:22 +0700 การประยุกต์ใช้ ANN และ FELA เพื่อทำนายกำลังรับแรงถอนของฐานรากปล่องในดินเหนียว แบบไม่สมนัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2026 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับค่ากำลังรับแรงถอนของฐานรากนอกชายฝั่งในดินเหนียวแบบไม่สมนัย (Anisotropic) โดยปัญหาที่ศึกษาจะอยู่ภายใต้สภาพสมมาตรรอบแกน (Axisymmetric) โดยมีตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมดสามตัวแปร ได้แก่ ค่าอัตราส่วนระหว่างความลึกต่อความกว้าง ค่าปัจจัยที่ทำให้เกิดผลของการยึดเกาะระหว่างฐานรากและดินเหนียว ค่ากำลังรับแรงเฉือนที่ได้จากการทดสอบแรงอัดสามแกนและแรงดึงสามแกน โดยคำนวณออกมาเป็นค่ากำลังรับแรงถอนของฐานรากในรูปตัวแปรไร้มิติโดยใช้โปรแกรมFinite elementโดยงานวิจัยนี้เลือกใช้โปรแกรม OptumG2 ซึ่งผลการคำนวณที่ได้ค่าปัจจัยที่ทำให้เกิดผลของการยึดเกาะระหว่างฐานรากและดินเหนียว ผลการศึกษาพบว่าการวิบัติของฐานรากเกิดขึ้นที่ปลายฐานรากและขอบด้านบนของดินเหนียวจากปลายล่างสุดของฐานไปจนถึงผิวดินและค่าค่ากำลังรับแรงเฉือนที่ได้จากการทดสอบแรงอัดสามแกนและแรงดึงสามแกน มีผลกระทบต่อค่ากำลังรับแรงถอนเพิ่มขึ้นกำลังรับแรงถอนเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากนี้ งานวิจัยนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม (ANN) สำหรับทำนายค่ากำลังรับแรงถอนของฐานรากนอกชายฝั่งในดินเหนียวโดยพบว่ามีค่าความถูกต้องแม่นยำถึง R2 = 99.94 %</p> สรวิศ สีหะวงษ์, นาย สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2026 Sat, 08 Jul 2023 00:46:54 +0700 กำลังแบกทานของดินเหนียวแบบไม่สมนัยแบบสุ่มเชิงพื้นที่ ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2309 <p>บทความนี้นำเสนอวิธีการสุ่มเชิงพื้นที่ (Random Field) ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ ใช้เทคนิค Random Adaptive Finite Element Limit Analysis (RAFELA) และการวิเคราะห์ขีดจำกัดบนและขีดจำกัดล่าง (Upper and Lower bound analysis) ของโปรแกรม OPTUM G2 โดยศึกษาอิทธิพลความยาวสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของกำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของกำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย เงื่อนไขของสภาพชั้นดิน และรูปทรงเรขาคณิต ที่มีผลต่อค่าตัวเลขเสถียรภาพ ความน่าจะเป็นของการวิบัติ อัตราส่วนความปลอดภัย และรูปแบบการวิบัติ ของปัญหาเสถียรภาพของฐานรากตื้นภายใต้เงื่อนไขระนาบความเครียด การศึกษานี้กำหนดให้กำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัยมีรูปแบบการแจกแจงปกติแบบล็อก ซึ่งการวิเคราะห์เสถียรภาพแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ด้วยการกำหนดค่าที่แน่นอน (Deterministic Analysis) ของกำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย และการสุมค่า (Random) โดยใช้การวิเคราะห์สโตคาสติก (Stochastic Analysis) ประมาณค่าพารามิเตอร์ของตัวแปรสุ่ม (Random Variable) โดยใช้กระบวนการทำวนซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ด้วยวิธีการจำลองมอนตีคาร์โล (Monte Carlo Simulation) ของกำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย ซึ่งนำผลลัพธ์ที่ได้จากทั้งสองวิธีมาวิเคราะห์หาค่าอัตราส่วนความปลอดภัย (Factor of Safety) ที่ทำให้ความน่าจะเป็นของการวิบัติ (Propability of Failure) มีค่าน้อยกว่า 0.001 นำเสนอค่าอัตราส่วนความปลอดภัยและความน่าจะเป็นของการวิบัติที่เหมาะสมสำหรับปัญหาเสถียรภาพฐานรากตื้น จากการศึกษาพบว่า อิทธิพลความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของกำลังต้านทานแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย ค่าตัวเลขเสถียรภาพจากการสุ่มค่าส่งผลให้ความน่าจะเป็นของการวิบัติสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับค่าตัวเลขเสถียรภาพจากการกำหนดค่าที่แน่นอน นอกจากนี้ยังพบว่า สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนกำลังต้านทานแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัยมีอิทธิพลต่อค่าเสถียรภาพ ความน่าจะเป็นของการวิบัติ อัตราส่วนความปลอดภัย และรูปแบบการวิบัติมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ</p> ก้องตะวัน แสงจินดา, สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2309 Sat, 08 Jul 2023 00:49:29 +0700 ผลกระทบของการแปรเปลี่ยนเชิงพื้นที่ต่อการทรุดตัวของดินจากการอัดตัวคายน้ำในพื้นที่ถมขนาดใหญ่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2065 <p>การถมที่ดินชายฝั่ง เป็นวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาพื้นที่ทางราบไม่เพียงพอในประเทศต่าง ๆ และมักจะถมเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากการทรุดตัวจากการอัดตัวคายน้ำหลังการถมที่ดินเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องประเมินการทรุดตัวอย่างถูกต้อในขั้นตอนการออกแบบการถมที่ดิน ในทางปฏิบัติ ดินมักจะถูกพิจารณาให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยไม่คำนึงถึงความไม่แน่นอนในสมบัติของดิน งานวิจัยก่อนหน้ามีการประยุกต์ใช้วิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสุ่มในการศึกษาพฤติกรรมการอัดตัวคายน้ำของดิน อย่างไรก็ตาม มีเพียงงานวิจัยส่วนน้อยเท่านั้นที่ศึกษาเกี่ยวกับการทรุดตัวจากการอัดตัวคายน้ำในพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสุ่ม งานวิจัยนี้ศึกษาการทรุดตัวจากการอัดตัวคายน้ำในบริเวณดินถามขนาดใหญ่ด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสุ่ม โดยแบบจำลองถูกสร้างขึ้นด้วยโปรแกรม PLAXIS 2D ตัวแปรเชิงสถิติสำหรับการวิเคราะห์จะถูกคำนวณจากข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัด ผลจากการวิเคราะห์เมื่อเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เชิงกำหนดแสดงให้เห็นว่า ผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสุ่มมีความสอดคล้องกับค่าการทรุดตัวสุดท้ายมากกว่าผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เชิงกำหนด การวิเคราะห์โดยคำนึงถึงความไม่แน่นอนในสมบัติของดินจึงเหมาะสมกว่าที่จะพิจารณาความเสี่ยงจากปัญหาการทรุดตัวที่อาจเกิดขึ้น</p> สนั่น พิรุณจินดา, ชนา พุทธนานนท์, พรเกษม จงประดิษฐ์, Hyung Mok Kim Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2065 Sat, 08 Jul 2023 00:54:41 +0700 การศึกษาคุณภาพของกระบวนการควบคุมการก่อสร้างคันดินในงานทาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2561 <p>มาตรฐานการบดอัดคันดินสำหรับงานทางสามารถดำเนินการได้บนพื้นฐานของการทดสอบการบดอัดดินตัวอย่างในห้องปฏิบัติการเพื่อหาความหนาแน่นแห้งสูงสุดและปริมาณความชื้นที่เหมาะสม จากนั้นทำการบดอัดดินในสนามโดยอาศัยรถบดอัดจนได้ความหนาแน่นแห้งที่ใกล้เคียงกับผลทดสอบที่ได้จากห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐานการก่อสร้างโครงสร้างชั้นทางของหน่วยงานหลักทางด้านงานทาง เช่น กรมทางหลวง กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมทางหลวงชนบท มักกำหนดให้ผลการบดอัดดินในสนามต้องมีค่าความหนาแน่นแห้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของความหนาแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดสอบการบดอัดในห้องปฏิบัติการและปริมาณความชื้นดินต้องมีค่าอยู่ระหว่าง OMC2% อย่างไรก็ตามกระบวนการบดอัดและการควบคุมงานบดอัดในสนามมีความแปรปรวนมากกว่าสภาพในห้องปฏิบัติการ เช่น กระบวนการเพิ่มปริมาณน้ำในดินและการควบคุมจำนวนเที่ยววิ่งของรถบด ดังนั้นการควบคุมคุณภาพของการก่อสร้างและการตรวจสอบค่าความหนาแน่นและความชื้นของดินในสนามระหว่างทำการบดอัดของผู้ควบคุมงานจึงมีความสำคัญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของกระบวนการควบคุมการก่อสร้างคันดินของโครงสร้างทางในจังหวัดชลบุรี</p> สยาม ยิ้มศิริ, วรรณวรางค์ รัตนานิคม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2561 Sat, 08 Jul 2023 00:58:40 +0700 ข้อมูลธรณีเทคนิคของแอ่งเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับ การวิเคราะห์การเหลวตัวของดิน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2058 <p>แอ่งเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของตัวเมืองเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนมีพลัง ซึ่งแผ่นดินไหวอาจส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์การเหลวตัวของดินได้ เนื่องจากชั้นดินของแอ่งเมืองเชียงใหม่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวตะกอนทราย ที่เกิดจากการทับถมกันของดินเหนียว ดินทราย และตะกอนตามการพัดพาของน้ำ งานวิจัยนี้จึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคประกอบไปด้วย ข้อมูลหลุมเจาะสํารวจดิน ข้อมูลระดับน้ำใต้ดิน ข้อมูลค่าอัตราเร่งสูงสุดของพื้นดิน ข้อมูลค่าความเร็วคลื่นเฉือนของดิน และแผนที่ธรณีวิทยาแสดงชั้นตะกอน จากนั้นทำการนำข้อมูลเข้าสู่วิธีการประมาณค่าที่ประกอบไปด้วยวิธีการระยะทางผกผัน วิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุด วิธีการเพื่อนบ้านธรรมชาติ และวิธีคริกิง โดยใช้ค่าความคลาดเคลื่อนรากกำลังสองเฉลี่ยในการตรวจสอบความแม่นยำของวิธีการประมาณค่า และระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะทางธรณีวิทยาของแอ่งเมืองเชียงใหม่ ซึ่งผลของการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดการเหลวตัวของดินได้ต่อไปในอนาคต</p> ธนพร สิทธิกรวนิช, วีรยุทธ โกมลวิลาศ, วีรเดช ธนพลังกร, สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2058 Sat, 08 Jul 2023 01:27:48 +0700 พฤติกรรมแบบสถิตของดินอ่อนขึ้นรูปใหม่ที่สภาวะความเค้นสูงสุดในอดีตที่แตกต่างกัน ภายใต้การทดสอบแรงอัดสามแกน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2233 <p>ดินอ่อน (Soft soil) มักพบในบริเวณที่ความลึกตื้น ๆ บ่อยครั้งดินถูกรบกวนจากการเก็บตัวอย่าง อีกทั้งพบปัญหาความแปรปรวนของสมบัติดิน เช่น ความชื้น หน่วยน้ำหนัก การรับน้ำหนักในอดีต รวมไปถึงการเจือปนของอินทรีย์วัตถุในดินบริเวณตื้น (แรงดันดินโอบรัดที่ต่ำ) ซึ่งทำให้ผลการทดสอบขาดความน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะลดความแปรปรวนของสมบัติเริ่มต้นของดิน ในงานวิจัยนี้ดินอ่อนจำลองเกาลินจะถูกเตรียมตัวอย่างโดยวิธีการเร่งการอัดตัวคายน้ำ จากการให้ความเค้นสูงสุดที่แตกต่างกัน 3 ตัวอย่าง เพื่อสร้างตัวอย่างดินที่อัดตัวแบบปกติ (OCR = 1) และตัวอย่างดินที่อัดตัวมากกว่าปกติ (OCR = 3, 5) จากนั้นตัวอย่างจะถูกทดสอบกำลังรับแรงเฉือนแบบอัดตัวไม่ระบายน้ำ (CU test) ที่ระดับแรงดันดินโอบรัด 40 กิโลปาสคาล ผลจากการเตรียมตัวอย่างดินพบว่าสามารถควบคุมและลดความแปรปรวนของสมบัติดินเบื้องต้นได้ และผลการทดสอบด้านกำลัง พบว่ากำลังดินจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อสัดส่วนของการอัดตัวสูงขึ้น และค่าของแรงดันน้ำในมวลดินจะลดลงหลังจากที่ดินเริ่มขยายตัวออก และค่าจะลดลงมากเมื่อการอัดตัวของดินเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การประมาณกำลังของดินเกาลินจากแรงเฉือนปรับแก้ (Normalized shear strength) พบว่าสมการที่ได้ใกล้เคียงกับดินทรายแป้งที่มีความเป็นพลาสติกต่ำ</p> ภูริวิทย์ ใจแก้ว, พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม, ธวัชชัย ตันชัยสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2233 Sat, 08 Jul 2023 01:31:56 +0700 การสูญเสียแรงเสียดทานผิวเสาเข็มเนื่องจากการหดตัวของดินเหนียวบวมตัว https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2296 <p>งานวิจัยนี้กล่าวถึงการสูญเสียแรงเสียดทานผิวเสาเข็มเนื่องจากการหดตัวของดินเหนียวบวมตัวธรรมชาติ ที่พบใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยได้ทดสอบแรงเสียดทานผิวของเสาเข็มที่ฝังในดินเหนียวบวมตัวผสมกับดินเหนียวกระจายตัว ที่พบเป็น ปริมาณมากในบริเวณเดียวกัน การทดสอบใช้ดินบดอัดในแบบทดสอบบดอัดด้วยวิธีมาตรฐาน ดินบวมตัวที่ใช้มีอัตราส่วนผสมร้อยละ 0, 50 และ 100 และใช้ท่อนเหล็กกลมขนาด16 มิลลิเมตร กดลงในดินที่บดอัด โดยออกแบบให้แรงต้านต่อการกดเกิดเฉพาะแรงเสียดทานผิวเท่านั้น จากนั้นปล่อยให้ตัวอย่างดินแห้งในสภาวะแวดล้อมปกติ แล้วทำการทดสอบแรงต้านทาน ต่อการกดของแท่งเหล็กที่ฝังในดิน จากผลการทดสอบพบว่า แรงต้านที่ผิวเสาเข็มมีค่าลดลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในดิน ซึ่งเกิดจากการหดตัวของดิน จึงได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงเสียดทานผิวกับการการทรุดตัวของเสาเข็ม เป็นค่า Modulus of pile-soil reaction ของแรงเสียดทาน ( ) พบว่า แปรผันตาม การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในดินสำหรับดินที่มีดินเหนียวบวมตัวปนอยู่เกินกว่าร้อยละ 50 และในงานวิจัยนี้ได้เสนอความสัมพันธ์ระหว่าง Adhesion factor ( ) กับปริมาณน้ำในดินซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเสาเข็มในดินที่มีดินเหนียวบวมตัวเป็นองค์ประกอบได้</p> กาญจนา หิรัญวัฒนะ, พรพจน์ ตันเส็ง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2296 Sat, 08 Jul 2023 01:34:14 +0700 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่ใช้ในการดันตัวอย่างดินเหนียว ออกจากกระบอกบางกับค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2527 <p>การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่ใช้ในการดันตัวอย่างดินเหนียวออกจากกระบอกบางกับค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำจากการทดสอบการอัดตัวแบบอิสระ สถานที่เก็บตัวอย่างคือ กองวิเคราะห์วิจัย ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างดินที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บตัวย่างด้วยกระบอกบางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ทำการเจาะเก็บตัวย่างที่ระดับความลึกทุก ๆ 1 เมตร จนถึง 15เมตร จำนวนทั้งสิ้น 7 หลุมเจาะ จำนวนตัวอย่างรวม 105 ตัวอย่าง ค่าขีดจำกัดแอตเตอร์เบิร์ก โดยที่ค่าขีดจำกัดเหลวอยู่ในช่วง 26.33-88.10% ค่าขีดจำกัดพลาสติกอยู่ในช่วง 15.42-49.31% และค่าปริมาณความชื้นอยู่ในช่วง 12.41-75.88% ผลการศึกษาพบว่าแรงที่ใช้ในการดันตัวอย่างดินออกจากกระบอกบางมีความสัมพันธ์แบบแปรผันตรงกับค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ</p> สิทธิภัสร์ เอื้ออภิวัชร์, ภัณฑิลา กองศรี, นครินทร์ ศรีวิชัย Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2527 Sat, 08 Jul 2023 01:38:21 +0700 การทดสอบฟังก์ชั่นความซึมน้ำของวัสดุงานทางในสภาวะดินไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ และการประยุกต์ใช้ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2411 <p>ปัญหาความแข็งแรงของโครงสร้างชั้นทาง มักสัมพันธ์กับความชื้นของวัสดุสร้างทาง บทความนี้จึงนำเสนอการศึกษาฟังก์ชันสัมประสิทธิ์ความซึมน้ำในสภาวะไม่อิ่มน้ำของวัสดุชั้นทาง ด้วยการทดสอบ Insantaneous Profile Method, IPM ของวัสดุ 2 ชนิด ได้แก่ หินคลุก และดินลูกรัง โดยทดสอบในช่วงแรงดูดระหว่าง 0 ถึง 100 กิโลปาสคาล ผลการศึกษาพบว่าได้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมน้ำอยู่ในช่วง 1x10-5 ถึง 1x10-10 เมตรต่อวินาที และได้เส้นอัตลักษณ์ของวัสดุมีค่า Air Entry Suction อยู่ในช่วง 1 ถึง 3 กิโลปาสคาล ผลการศึกษานี้ได้นำไปประยุกต์ใช้หาความชื้นที่เปลี่ยนแปลงไปในชั้นทาง เนื่องจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำใต้ดินที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นแนวทางในการหาแนวทางป้องกันปัญหาความเสื่อมสภาพของวัสดุชั้นทางเนื่องจากความชื้นต่อไป</p> ปลื้ม ประทุมขำ, ธีรภัทร์ ศิริรัตนฉัตร, อภินิติ โชติสังกาศ, อัคคพัฒน์ สว่างสุรีย์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2411 Sat, 08 Jul 2023 01:41:06 +0700 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางจากการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกันในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2557 <p>ปัจจุบันการใช้ Micromobility ซึ่งหมายถึง อุปกรณ์ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เดินทางด้วยความเร็วต่ำไม่เกิน 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและเหมาะกับการเดินทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร สามารถใช้ร่วมกันหรือเป็นเจ้าของได้ เช่น จักรยานไฟฟ้า สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกัน มีปริมาณการใช้ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายเมืองทั่วโลก เนื่องจากสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า เป็นโหมดการขนส่งที่ค่อนข้างใหม่ เหมาะกับการเดินทางระยะสั้นและได้รับการส่งเสริมให้เป็นทางเลือกที่เข้าถึงได้ บทความนี้จึงได้ศึกษาถึงบทบาทของสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ที่เคยใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกันในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์ และสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพฤติกรรมการเดินทางจากการเดินหรือปั่นจักรยานเป็นการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกัน และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางยังมีความสัมพันธ์กับเพศ ระดับการศึกษาและรายรับต่อเดือน ผลที่ได้จากการวิจัยทำให้ทราบว่ารูปแบบการเดินทางของผู้ใช้เปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสำหรับการวางแผนหรือกำหนดนโยบายในการควบคุมดูแลหรือส่งเสริมรูปแบบการเดินทางดังกล่าว เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการขนส่งโดยรวมต่อไป</p> รัฐพล ทองแป้น, ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์, อรณิชา อนุชิตชาญชัย Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2557 Sat, 08 Jul 2023 01:45:04 +0700 การศึกษาคุณลักษณะของครัวเรือนและพฤติกรรมการเดินทางของประชากรและโอกาสในการใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้าชุมชนเมืองขนาดกลางในภูมิภาคของประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2054 <p>บทความนี้นำเสนอผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของครัวเรือนและระยะทางการเดินทางของประชากรต่อโอกาสในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในเขตชุมชนเมืองภูมิภาคของประเทศไทยโดยใช้ชุมชนเมืองขอนแก่นเป็นพื้นที่ศึกษาหลักโดยใช้ข้อมูลการเดินทางของครัวเรือนเป็นฐานการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าประมาณ 1 ใน 5 ของกลุ่มครัวเรือนที่ทำการสำรวจเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพและมีโอกาสในการถือครองรถยนต์ไฟฟ้าในระดับสูง นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างมีระยะทางเฉลี่ยอยู่ที่ 12.14 กิโลเมตรต่อวัน และที่ Percentile ที่ 85 อยู่ที่ 20.71 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่สามารถทดแทนได้ด้วยการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีในท้องตลาดในปัจจุบันได้ทั้งสิ้นและอาจมีข้อจำกัดด้านระยะทางในการเดินทางแต่ละวันที่น้อยกว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย ผลจากงานวิจัยครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองภูมิภาคยังคงเป็นตลาดใหญ่และมีศักยภาพหากได้รับการกระตุ้นด้วยนโยบายหรือมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเหมาะสมและตรงจุด</p> จารุวิสข์ ปราบณศักดิ์, ธนานนท์ เงินสูงเนิน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2054 Sat, 08 Jul 2023 01:47:40 +0700 พฤติกรรมการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่าในช่วงเดือนแรกของการเปิดให้บริการ: กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2496 <p>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานจัดการทรัพย์สินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งเสริมการเดินทางที่ยั่งยืนปราศจากมลพิษ ภายใต้โครงการสามย่านสมาร์ทซิตี้ โดยให้บริการสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่า ในบริเวณพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ สวนหลวง และสามย่าน ซึ่งเป็นรูปแบบการเดินทางใหม่ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2565 งานวิจัยนี้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพฤติกรรมของผู้ขับขี่ และความปลอดภัยในการเดินทางด้วยสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่า จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่าในช่วงเดือนแรกของการเปิดให้บริการ และพัฒนาแบบจำลองปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าในอนาคต ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก โดยสำรวจข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ และได้รับการตอบกลับจากผู้ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่าทั้งสิ้น จำนวน 332 คน ผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า กลุ่มผู้ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่าร้อยละ 70 เป็นผู้มีประสบการณ์ในการใช้มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง ช่วงเวลาที่ผู้ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่าใช้มากที่สุดอยู่ระหว่างเวลา 16.00 – 18.00 น.คิดเป็นร้อยละ 21.5 และกลุ่มผู้ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่ามากกว่าร้อยละ 97 นิยมขี่สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่าบนถนน นอกจากนี้พบว่า ร้อยละ 14.57 ของผู้ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่าเคยประสบอุบัติเหตุจากการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่า ผลจากแบบจำลองพบว่าปัจจัยที่อิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่า ได้แก่ เพศ และวัตถุประสงค์การเดินทาง ผลการศึกษานี้สามารถเป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการ และการออกกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้เช่าต่อไป</p> อุษณีย์ ระหา Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2496 Sat, 08 Jul 2023 01:51:10 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตนาในการเลือกใช้บริการ Mobility as a Service (MaaS) ในกรุงเทพมหานคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2290 <p>ในปัจจุบัน การคมนาคมได้รับการพัฒนามากขึ้นและมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น รวมไปถึงการนำแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางที่ทำให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกขึ้น จึงทำให้เกิดแนวคิดบูรณาการบริการเดินทางซึ่งเรียกแนวความคิดนี้ว่า บริการเดินทางรวมครบวงจร (Mobility as a Service หรือ MaaS) ที่มีการบูรณาการการวางแผน การจอง และการชำระค่าบริการในการขนส่งทุกชนิดตามความต้องการของผู้ใช้ได้ในแพลตฟอร์มเดียว แนวคิดนี้ยังเป็นเรื่องใหม่และยังไม่มีการนำมาใช้ในประเทศไทย การวิจัยนี้จึงศึกษาทัศนคติในการเดินทางและเจตนาหรือความตั้งใจของผู้เดินทางในกรุงเทพมหานครว่าปัจจัยใดส่งผลต่อเจตนาที่จะใช้ MaaS มากน้อยเพียงใด งานวิจัยนี้ได้ใช้แบบจำลองที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยี (Unified Theory of Acceptance of Technology; UTAUT) เนื่องจากตัวเลือกการเดินทางส่วนใหญ่มีให้บริการอยู่แล้วในกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้จึงให้ความสนใจทางด้านประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อมีการใช้บริการเดินทาง MaaS เครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในงานนี้คือแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันของผู้เดินทาง รวมไปถึงความตั้งใจใช้ MaaS การวิเคราะห์ทำโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling; SEM) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและเจตนาเชิงพฤติกรรมภายในแบบจำลอง ตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น 291 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี มีความถี่ในการใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า ยกเว้นแอปพลิเคชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น แอปพลิเคชันการเงิน ส่วนผลการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง พบว่า ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ ความคาดหวังด้านความพยายาม และอิทธิพลทางสังคม มีผลต่อเจตนาในการใช้ MaaS ที่น้ำหนัก 0.219 0.213 และ 0.365 ตามลำดับ</p> รัชกร ภัคพิสุทธิ์กุล, สรวิศ นฤปิติ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2290 Sat, 08 Jul 2023 01:55:18 +0700 Barriers to the Implementation of Shared Micro-Mobility Services in a Highly Motorized Context https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2045 <p>Shared Micro-Mobility (SMM) services are a popular sustainable alternative to private vehicle use globally, particularly in European and Western cities, offering flexible, cost-effective, and on-demand transportation for short-distance trips and as a first/last-mile service. However, implementing SMM services in developing countries faces challenges, such as poor road conditions, private mode habits, and lack of connectivity. This research examines factors hindering SMM implementation and operation in Bangkok, Thailand, using a combination of a Systematic Literature Review (SLR) and stakeholder interviews. The SLR approach used a keyword-based search to identify relevant articles and applied stringent criteria to exclude irrelevant ones. Subsequently, further articles were sourced to complement the selected ones. For stakeholder interviews, a total of 33 stakeholders related to the implementation of SMM services in Bangkok, including researchers, government agencies, and service providers, were included. The study found 53 potential barriers to implementing SMM in Bangkok, including 35 from stakeholder interviews and 34 from the literature review. After filtering out duplicates and irrelevant barriers, 26 barriers were identified and categorized into six groups including User Barriers, Institutional and Governance Barriers, City Infrastructure Barriers, Technological Barriers, Geographical Barriers, and Operational Barriers. The findings of this research can assist practitioners and decision-makers in formulating planning policies that can address the challenges facing the implementation of SMM services in both developing countries and Bangkok. SMM service providers can also utilize the findings to improve the service’s operation and implementation.</p> Worakanya Khankhokkruad, Saroch Boonsiripant, Peraphan Jittrapirom Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2045 Sat, 08 Jul 2023 01:58:44 +0700 การนำเทคโนโลยีตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition: ALPR) มาใช้แทนบัตร Transit Card ในโครงการปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทาง ทางพิเศษบูรพาวิถี https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2530 <p>บทความนี้นำเสนอการนำเทคโนโลยีตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition: ALPR) มาใช้แทนบัตร Transit Card ในโครงการปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด (MTC) และแบบอัตโนมัติ (ETC) ทั้งในส่วนของช่องทางขาเข้า ณ ด่านต้นทาง และช่องทางขาออก ณ ด่านปลายทาง บนทางพิเศษบูรพาวิถี เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการรับชำระค่าผ่านทางพิเศษตามระยะทางและลดค่าใช้จ่ายในเชิงปฏิบัติการและบำรุงรักษาในอีก 5 ปีถัดไป จากการใช้งบประมาณมากกว่า 214 ล้านบาท เหลือไม่เกิน 25 ล้านบาท ทั้งนี้ยังเพิ่มความสามารถในการรองรับปริมาณจราจรผ่านทางที่เพิ่มขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณช่องทาง ณ หน้าด่านต้นทาง จากเดิมมากกว่า 600 คัน/ชั่วโมง/ช่องทาง เป็นมากกว่า 1,800 คัน/ชั่วโมง/ช่องทาง และช่องทาง ณ หน้าด่านปลายทาง จากเดิมมากกว่า 300 คัน/ชั่วโมง/ช่องทาง เป็นมากกว่า 450 คัน/ชั่วโมง/ช่องทาง ประกอบกับการรองรับการเดินทางแบบไร้รอยต่อทำให้ลดขั้นตอนการบริหารจัดการการคิดอัตราค่าผ่านทางตามระยะทางร่วมกันได้ระหว่างทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต รวมถึงประโยชน์อื่นๆ ที่จะได้รับในอนาคต เมื่อเปิดให้บริการโครงการปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทาง ทางพิเศษบูรพาวิถี โดยการใช้เทคโนโลยี ALPR จะสร้างผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าต่อทั้งประชาชนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย</p> สุมิตร ตุงโสธานนท์, วัลลภ ศิลปกุล, จุไรรัตน์ ปรีชาศิลป์, ทักษิณา กรไกร, สันติ ชาติวิวัฒนาการ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2530 Sat, 08 Jul 2023 02:07:22 +0700 การคาดการณ์ปริมาณจราจรและปริมาณผู้ใช้งานระบบ M-Flow บนโครงข่ายทางพิเศษ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2327 <p>การเปิดบริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (M-Flow) ทำให้ผู้ใช้ทางพิเศษได้รับความสะดวก รวดเร็วและชำระ ค่าผ่านทางได้หลากหลายช่องทางซึ่งส่งผลให้แนวโน้มของปริมาณจราจรบนทางพิเศษเพิ่มมากขึ้น บทความนี้นำเสนอการคาดการณ์ปริมาณจราจรและปริมาณของผู้ใช้งานระบบ M-Flow บนโครงข่ายทางพิเศษ โดยประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อจำนวนประชากรในรูปแบบผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระหว่างปี พ.ศ 2554 - 2562 สำหรับการวิเคราะห์อัตราการเติบโตของปริมาณจราจรบนทางพิเศษ 4 สายทาง ได้แก่ ฉลองรัช บูรพาวิถี กาญจนาภิเษก และเฉลิมมหานคร การศึกษานี้ใช้อัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นสำหรับการวิเคราะห์เพื่อใช้คาดการณ์ปริมาณจราจรที่เกิดขึ้นในอนาคตของแต่ละทางพิเศษในช่วงระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ.2566-2580) ซึ่งในระยะที่ 1 เปิดให้บริการจำนวน 3 ด่าน ในปี พ.ศ. 2566 คาดการณ์ว่าปริมาณยานพาหนะที่ใช้ M-Flow 24,000 คัน/วัน และปลายปี พ.ศ.2567 ซึ่งเปิดให้บริการทุกสายทางคาดว่าจะมีปริมาณยานพาหนะที่ใช้ M-Flow 464,525 คัน/วัน บนโครงข่ายทางพิเศษ ปีที่ 5 ของการเปิดให้บริการจะมีปริมาณยานพาหนะที่ใช้ M-Flow 689,747 คัน/วัน ปีที่ 10 1,092,449 คัน/วัน และปีที่ 15 1,383,699 คัน/วัน</p> เสาวนี ศรีสุวรรณ, ธนุตม์ กล่อมระนก, ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2327 Sat, 08 Jul 2023 02:09:39 +0700 การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ M-Flow บนทางพิเศษฉลองรัช https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2221 <p>ระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น Multi-Lane Free Flow (M-Flow) เป็นระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษรูปแบบใหม่ ซึ่งช่วยลดปัญหา การติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ลดการปล่อยมลภาวะในอากาศ และเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้ทางสามารถชำระเงินในภายหลังได้ (Post-paid) บทความนี้นำเสนอการประเมินต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ M-Flow บนทางพิเศษฉลองรัชเพื่อใช้วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยการวิเคราะห์ต้นทุนในโครงการนั้น ได้แบ่งการวิเคราะห์ต้นทุนออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีไม่มีการดำเนินการระบบ M-Flow (Without M-Flow) และกรณีมีการดำเนินการระบบ M-Flow (With M-Flow) เพื่อใช้เปรียบเทียบความคุ้มค่าและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการดำเนินงานระบบ M-Flow จากตัวชี้วัด เช่น มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return: EIRR) และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio) พบว่า ณ อัตราดอกเบี้ยคิดลดทางสังคมร้อยละ 12 มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (Net Present Value: NPV) มีค่าเป็นบวก อัตราผลประโยชน์ส่วนต้นทุน (Benefit-Cost Ratio) อยู่ที่ 11.28 เท่า และอัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (EIRR) มากกว่าอัตราดอกเบี้ยคิดลดเท่ากับร้อยละ 120 ซึ่งหมายถึงหากดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางด้วยระบบ M-Flow บนทางพิเศษฉลองรัช โครงการฯ จะให้ผลตอบแทนคุ้มค่าที่จะลงทุน</p> ทักษิณา กรไกร, ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2221 Sat, 08 Jul 2023 02:14:58 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษระหว่างการใช้ทางยกระดับ และถนนพื้นราบ โดยการใช้กล้องบันทึกภาพหน้ารถยนต์ชนิดบันทึกพิกัดโลก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2288 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเปรียบเทียบการประเมินปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง/การปล่อยมลพิษทางอากาศ และระยะเวลาการเดินทาง ระหว่างการใช้เส้นทางยกระดับกับถนนพื้นราบ ที่บริเวณจุดต้นทางปลายทางเดียวกัน แต่การวัดปริมาณการใช้น้ำมันโดยตรงทำได้ยาก ซึ่งปัจจุบันกล้องที่ติดตั้งหน้ารถยนต์ สามารถบันทึกข้อมูล เวลา ความเร็วในการเดินทาง (Speed Trajectorial Data) รวมถึงตำแหน่ง ที่มีการบันทึกข้อมูลที่มีความละเอียดเพียงพอ หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง จึงได้นำข้อมูลที่ได้จากกล้องหน้ารถยนต์มาคำนวณโดยใช้ Power Based-Motor Vehicle Model ในการประมาณหาปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และมลพิษทางอากาศ (CO, CO2, HC, NOx) จากนั้นนำข้อมูลมาเปรียบเทียบผลความประหยัดจากการใช้เส้นทางยกระดับเปรียบเทียบกับถนนพื้นราบ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากมูลค่าของเวลา ปริมาณการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษทางอากาศ จากผลทดสอบการใช้ทางยกระดับสามารถได้ผลประโยชน์มากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี และโอกาสการเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าถนนพื้นราบที่มีสภาพการจราจรเคลื่อนตัวได้ช้าสลับหยุดนิ่งอย่างมีนัยสำคัญจากการศึกษานี้</p> วิทวงศ์ กาญจนชมภู, เอกรินทร์ เหลืองวิลัย, นครินทร์ ผอมจีน, ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2288 Sat, 08 Jul 2023 02:19:11 +0700 การประมาณตารางปริมาณจราจรของจุดเริ่มต้น-จุดปลายทางบนทางพิเศษ โดยใช้ข้อมูลจากระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติและด่านเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2258 <p>ตารางปริมาณจราจรของจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางของการเดินทางเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญสำหรับการวางแผนโครงข่ายของระบบการขนส่งและจราจร วิธีที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้ใช้ทาง ซึ่งมีข้อจำกัดของปริมาณผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีจำนวนน้อย และไม่สามารถระบุยานพาหนะรายคันได้ อีกทั้งความถูกต้องที่ได้อาจไม่แม่นยำพอสมควร ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีการอ่านป้ายทะเบียนแบบอัตโนมัติสามารถทำได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และสามารถนำมาใช้ในการจับคู่จุดเริ่มต้น-จุดปลายทางได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้ระบบการอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition, ALPR) ซึ่งเป็นระบบการอ่านป้ายทะเบียนของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ผ่านจุดสังเกตและนำมาจับคู่ป้ายทะเบียนในตำแหน่งจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางที่สนใจ อีกทั้งปริมาณการใช้งานระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection, ETC) ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการประมาณปริมาณจราจรของจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางของการเดินทาง โดยใช้ข้อมูลจากระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติและข้อมูลจากด่านเก็บค่าผ่านทาง และทำการตรวจสอบความถูกต้องของตารางการเดินทาง โดยใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจนับยานพาหนะ (Screenline Sensor) บนทางพิเศษ พบว่าวิธีการสร้างตารางปริมาณจราจรของจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางที่ใช้ข้อมูลจากระบบ ALPR มีค่าความถูกต้องที่ยอมรับได้ และสามารถนำตารางการเดินทางที่ได้ไปประยุกต์ใช้งานต่อในการวิเคราะห์ด้านอื่นๆได้ และการใช้ข้อมูลจากระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ (ETC) สามารถช่วยเพิ่มความถูกต้องให้กับตารางจุดเริ่มต้นและจุดเดินทางของการเดินทางได้และทำให้ความถูกต้องต่ำลงในบางกรณี</p> <p>&nbsp;</p> จิรวัฒน์ เพลิงศรีทอง, ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร, สโรช บุญศิริพันธ์, จุฑาทิพย์ อาจหาญ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2258 Sat, 08 Jul 2023 02:25:01 +0700 การศึกษาอัตราการเกิดการเดินทาง ของโครงการอาคารชุดพักอาศัยในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2434 <p>โครงการอาคารชุดพักอาศัย (Condominium) เป็นหนึ่งในรูปแบบการพัฒนาที่ดินที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีการก่อสร้างทั้งในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นหรือย่านศูนย์กลาง(CBD) ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงแตกต่างกันไป การประเมินผลกระทบจากการจราจร (Traffic Impact Assessment) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการวางแผนกำหนดความเป็นไปได้ของผลกระทบโครงการ ต่อโครงข่ายระบบการจราจรได้อย่างถูกต้อง วิศวกรต้องส่งรายงานการประเมินผลกระทบด้านการจราจรให้กับคณะกรรมการผู้ตรวจสอบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการอนุมัติโครงการ เพื่อกำหนดการลดผลกระทบด้านการจราจรของโครงการอย่างสมเหตุสมผล จะมีการรวบรวมข้อมูลการเดินทางจากโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนการพยากรณ์โครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การพยากรณ์หากไม่มีการสร้างตัวแปรที่แม่นยำและเหมาะสม ข้อมูลการจราจรที่สร้างขึ้นจะนำไปสู่มาตรการการจัดการด้านจราจรอย่างไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดปัญหาการจราจรมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีมาตรฐานเกี่ยวกับอัตราการเกิดการเดินทางของโครงการอาคารชุดพักอาศัยในประเทศไทย ตามวัตถุประสงค์ที่นำเสนอ ในการศึกษานี้จะเป็น การวิเคราะห์อัตราการเกิดการเดินทางเฉลี่ยของโครงการอาคารชุดพักอาศัย (Condominium) โดยอยู่ที่ 1.23 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลต่อจำนวนห้องพัก ขาเข้าโครงการอยู่ที่ 0.58 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลต่อจำนวนห้องพัก และขาออกโครงการอยู่ที่ 0.65 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลต่อจำนวนห้องพัก การวิเคราะห์เพื่อศึกษาอัตราการเกิดการเดินทางเชิงทำนายเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนที่จอดรถที่จัดเตรียมร้อยละ 1 จะมีอัตราการเกิดการเดินทางเพิ่มขึ้น 0.94 เที่ยวต่อจำนวนห้องพัก</p> ชนิดา อินทเศียร, สุพรชัย อุทัยนฤมล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2434 Sat, 08 Jul 2023 02:28:00 +0700 Investigation of Contributing Factors to Road Traffic Accidents in Thailand by Using Latent Class Analysis https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2523 <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> Tarn Laochareonsuk, Sahassawat Runganothai, Mongkut Piantanakulchai Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2523 Sat, 08 Jul 2023 02:33:15 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุย้อนศรบนทางหลวงของประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2077 <p>การการขับขี่ยานพาหนะย้อนศรเป็นพฤติกรรมการขับขี่ที่ผิดกฎจราจรและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการย้อนศรขึ้นจะมีแนวโน้มความรุนแรงของการบาดเจ็บและอัตราการเสียชีวิตที่สูง ซึ่งสามารถพบการขับขี่ย้อนศรได้ทั่วไปบนทางหลวงของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบนถนนที่มีการแบ่งทิศทางการจราจร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุย้อนศรบนทางหลวงของประเทศไทย เพื่อเสนอแนวทางในการลดความรุนแรงของอุบัติเหตุย้อนศรบนทางหลวงของประเทศไทย งานวิจัยนี้วิเคราะห์อุบัติเหตุย้อนศรบนโครงข่ายถนนทางหลวงของประเทศไทยย้อนหลัง 10 ปี ระหว่างปี 2556-2565 ของกรมทางหลวง เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงของอุบัติเหตุย้อนศร ด้วยการวิเคราะห์หลักสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และ ใช้แบบจำลองสมการถดถอยโลจิสติคประเภทไบนารี่ (Binary logistic regression) ปัจจัยที่ศึกษาแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ วันและช่วงเวลาในการเกิดอุบัติเหตุ, ลักษณะกายภาพของถนน, ลักษณะสิ่งแวดล้อม และลักษณะอุบัติเหตุ โดยกำหนดความรุนแรงของอุบัติเหตุของรถย้อนศรออกเป็น 2 ประเภท คือ การเสียชีวิต และการบาดเจ็บ ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการเพิ่มโอกาสของการเสียชีวิตสูงของอุบัติเหตุย้อนศร ได้แก่ ช่วงเวลากลางคืน, ทางหลวงที่ไม่มีทางคู่ขนาน, การชนกันระหว่างรถจักรยานยนต์กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ และการชนกันระหว่างรถจักรยานยนต์กับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล สุดท้ายงานวิจัยนี้ยังได้เสนอแนวทางการลดความรุนแรงและการเสียชีวิตของอุบัติเหตุย้อนศรบนทางหลวงของประเทศไทย</p> ศิรวิทย์ ชาวระ, ธเนศ เสถียรนาม, วิชุดา เสถียรนาม, ชัยวุฒิ กาญจนะสันติสุข Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2077 Sat, 08 Jul 2023 02:35:49 +0700 การศึกษาจุดอันตรายด้วยข้อมูลอุบัติเหตุจากสถานีตำรวจ กรณีศึกษาถนนประชาอุทิศ ช่วงระหว่างซอยประชาอุทิศ 56 - ซอยประชาอุทิศ 98 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2134 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อุบัติเหตุทางถนนจากข้อมูลคดีจราจรของสถานีตำรวจ รวมทั้งศึกษาปัญหาของข้อมูลอุบัติเหตุ โดยใช้ข้อมูลอุบัติเหตุบนถนนประชาอุทิศช่วงซอยประชาอุทิศ 56 ถึงซอยประชาอุทิศ 98 เนื่องจากถนนบริเวณดังกล่าวมักเกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง แม้จะเป็นเพียงช่วงถนนสั้น ๆ โดยใช้ข้อมูลคดีอุบัติเหตุจราจรจากสถานีตำรวจนครบาลทุ่งครุในช่วงตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2565 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีสถิติเชิงพรรณนา พบว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีจำนวน 1105 คดี มีผู้เสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุ 13 คน และมีจำนวนผู้บาดเจ็บ 999 คน ส่วนใหญ่จะเป็นการเฉี่ยวชนและชนท้ายบริเวณทางแยก โดยช่วงเวลาที่พบการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งมากที่สุดคือช่วงเวลากลางวันระหว่าง 06:01 น.-12:00น. และ 12:01น.-6:00น. และพบว่าจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดเป็นสัดส่วน 49.7% นอกจากนี้ได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อระบุตำแหน่งของอุบัติเหตุด้วยเครื่องมือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ที่สามารถช่วยบอกตำแหน่งของจุดอันตรายที่เกิดซ้ำซ้อน จากข้อมูลคดีจราจร พบว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณทางแยกบนช่วงถนนที่ศึกษา ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดบริเวณทางแยกซอยประชาอุทิศ 90 และส่วนใหญ่มีสาเหตุจากความประมาทของผู้ขับขี่เป็นสัดส่วน 97.5% ในส่วนของการศึกษาปัญหาของข้อมูลอุบัติเหตุ พบว่า ประมาณ 11% ของข้อมูลคดีจราจรที่ใช้ในการศึกษาไม่สามารถระบุพิกัดของสถานที่เกิดอุบัติเหตุได้ และประมาณ 9.5% ของข้อมูลไม่สามารถระบุรายละเอียดทิศทางของยานพาหนะขณะเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญในการวิเคราะห์อุบัติเหตุเชิงลึกเพื่อทราบถึงปัจจัยแวดล้อมของการเกิดอุบัติเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> วันชนก เชื้อทอง, วศิน เกียรติโกมล, ตรีรัตน์ อานุรักขวาปี, สุจิตรา คิดค้า, ธนพงษ์ สุขสอน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2134 Sat, 08 Jul 2023 02:40:23 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน และแนวทางการปรับปรุง: กรณีศึกษา ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2316 <p>ประเทศไทยมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีส่วนสำคัญในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน แต่เนื่องด้วยลักษณะของโครงข่ายถนน ลักษณะของพื้นที่ หรือสิ่งแวดล้อม ในการเดินทางสัญจรทางด้านถนน มีลักษณะ และพฤติกรรมของผู้ใช้ทางแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อปัจจัย และลักษณะพฤติกรรมของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน การศึกษานี้จึงได้ทำการศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน และแนวทางการปรับปรุง ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จากรายงานการบันทึกข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในปี พ.ศ. 2565 ของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม โดยได้ทำการวบรวมข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลสถิติ จากนั้นนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ในรูปแบบของการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก แบบไบนารี่ พบว่า ปัจจัยกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในการสัญจรบนถนนหลวง ในช่วงเวลากลางคืน เมื่อมีการใช้การใช้ความเร็ว และไม่ได้ใช้อุปกรณ์นิรภัย เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ที่มีความน่าจะเป็นของความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต และบริเวณ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 321 (ถนนมาลัยแมน) มีอัตราของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงสุด โดยจากปัจจัยข้างต้น เห็นควรปรับปรุงในด้านของ กลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ในการสร้างจิตสำนึกการขับขี่ด้วยความเร็วที่เหมาะสม และการใช้หมวกนิรภัย เพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ลดอัตราการสูญเสียชีวิต หรือทรัพย์สินในวันข้างหน้า อีกทั้งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาของพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยต่อไป</p> ฐาฤทธิ์ ส่งแสง, วัชระ จันทร์อนันต์, วิศวินทร์ อัครปัญญาธร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2316 Sat, 08 Jul 2023 02:44:27 +0700 การคาดการณ์อุบัติเหตุในขณะใช้ถนนร่วมกัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1974 <p>ความปลอดภัยในสัญจรทางถนนได้ถูกกล่าวถึงในเวทีระดับนานาชาติและระดับโลกมาอย่างต่อเนื่องและเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580) ได้ถูกประกาศขึ้นโดยมีเกณฑ์หนึ่งที่ท้าทาย คือ ต้องลดจำนวนการตายลงให้เหลือ 12 คนต่อแสนประชากรในทศวรรษนี้ให้ได้ (ภายในปี พ.ศ.2569) ภายใต้สถานะความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยล่าสุด พบว่าสถิติอุบัติเหตุทางถนนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยลดลงประมาณ 0.5-2 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละปี โดยในปี พ.ศ.2564 มีผู้เสียชีวิต 16,957 คน (25.9 คนต่อแสนประชากร) แต่ที่เราตั้งไว้ต้องน้อยกว่า 8,478 คน หมายความว่าต้องลดลงจากปัจจุบันอีกกว่า 50% เลยทีเดียว คณะวิจัยได้ศึกษาปัญหาทั้งในเชิงโครงสร้างและวิเคราะห์ในหนึ่งหน่วยการเดินทาง เพื่อถอดบทเรียน ชี้ประเด็นเสี่ยง โดยใช้ข้อมูลจากงานสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึกกว่า 1,500 กรณีของกรมทางหลวงชนบท มาอ้างอิงและต่อยอดการศึกษาวิจัย กรองข้อมูล 10 เรื่องราวปัญหาแรกออกมา แล้วนำเสนอในรูปแบบสื่อวีดีโอและออนไลน์ มากไปกว่านั้น ได้เสนอแนะขั้นตอนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนที่ทันสมัยภายใต้บริบทของประเทศไทย พร้อมทั้งวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์สัญจรด้วย</p> นรบดี สาละธรรม; ณฐพนธ์ เดชมณี, ณัฐวิทย์ เวียงยา Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1974 Sat, 08 Jul 2023 02:47:25 +0700 แนวคิดการออกแบบทางหลวงสายหลักที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับประเทศไทย เพื่อสร้างสมดุลการใช้ความเร็วกับวิถีชีวิตของชุมชนสองฝั่งทางหลวง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2004 <p>กว่าทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาทางหลวงในประเทศไทยส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตต่อชุมชนที่อาศัยอยู่สองฝั่งทาง หรือ เกิดผลกระทบในการไปมาหาสู่ระหว่างชุมชนหรือหมู่บ้านที่อยู่อาศัยอยู่แต่ละฟากฝั่ง กล่าวคือ บนทางหลวงสายหลักที่มีการขยายทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจราจร มุ่งเน้นการให้บริการยานพาหนะเคลื่อนตัวได้รวดเร็ว ส่งผลให้การเข้าถึงพื้นที่ยากลำบากมากขึ้น เนื่องจากการก่อสร้างเกาะกลางเพื่อให้ความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ และกระแสจราจรที่ไหลต่อเนื่องด้วยความเร็วสูง เป็นอุปสรรคทำให้ผู้อาศัยอยู่สองข้างทางไม่ได้รับความสะดวก ดังนั้นการออกแบบหรือพัฒนาทางหลวงที่สร้างสมดุลระหว่าง Mobility และ Accessibility จึงเป็นความท้าทายในยุคปัจจุบัน การออกแบบทางหลวงที่ลงตัวเข้ากันได้กับชุมชน จำเป็นต้องเข้าถึงความต้องการ เข้าใจในวิถีชุมชน และบริการให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะใช้ความเร็วได้โดยอิสระ (Free Flow Speed on Ideal Condition) อย่างต่อเนื่อง โดยยังคงมาตรฐานความปลอดภัย เป็นทางหลวงที่ใช้งานง่ายในทุกฤดูกาล ตามแนวคิดและวิธีการออกแบบ (Conceptual Design) 5 องค์ประกอบ คือ Mobility, Accessibility, Serviceable under flood situation, Safely highways และ Simply driving and riding หรือ เรียกว่า MASSS Highways</p> ปฏิเวชวุฒิศักย์ สุขขี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2004 Sat, 08 Jul 2023 02:50:41 +0700 การกำหนดขีดจำกัดความเร็วบนโครงข่ายถนนในเขตเมืองของประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2059 <p>การใช้ความเร็วสูงเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย แต่ยังไม่มีวิธีการที่เหมาะสมในการกำหนดขีดจำกัดความเร็ว (Setting speed limit, SSL) โครงข่ายถนนในประเทศไทย ในขณะที่กฎหมายขีดจำกัดความเร็ว (Speed limit, SL) บนโครงข่ายถนนในเขตเมืองของประเทศไทยเท่ากับ 80 กม./ชม. ซึ่งอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มใช้รถใช้ถนนที่เปราะบาง ดังนั้นบทความนี้จึงได้นำเสนอการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ และผลประเมินการ SSL บนช่วงถนน 8 แห่งในโครงข่ายถนนในเขตเมืองในจังหวัดขอนแก่นของประเทศไทย ซึ่งได้จากการประยุกต์ใช้วิธีการ SSL บนโครงข่ายถนนในเขตเมืองของต่างประเทศ ได้แก่ วิธี City Limits (CLimits) และวิธี 85th Percentile Limits (PLimits) ประเทศสหรัฐอเมริกา วิธี VLimits ประเทศออสเตรเลีย และ วิธีของ Bellalite Limits (BLimits) ของประเทศแคนาดา ผลจากการวิจัยพบว่าการ SSL บนช่วงถนนในเขตเมืองที่ได้จาก 4 วิธีที่แตกต่างกัน โดยค่า SL ในเขตเมืองที่ได้จากวิธี CLimits มีค่าต่ำที่สุด ตามมาด้วย วิธี BLimits, PLimits และ VLimits ตามลำดับ</p> ศศิกร คัมภีระ, พนกฤษณ คลังบุญครอง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2059 Sat, 08 Jul 2023 02:54:44 +0700 การศึกษาพฤติกรรมความเร็วในการขับขี่บนทางยกระดับ ช่วง Lockdown ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2068 <p>ทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงดินแดง-อนุสรณ์สถานเป็นทางยกระดับขนาด 3 ช่องจราจรต่อทิศทาง มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร มีให้บริการลักษณะเดียวกันกับทางพิเศษ กล่าวคือเป็น Freeway ที่ออกแบบด้วยมาตรฐานเรขาคณิตทางถนนสูง ไม่มีสัญญาณไฟจราจร มีการควบคุมทางขึ้น-ลง ควบคุมประเภทยานพาหนะ มีการจัดให้มีอุปกรณ์ให้ข้อมูลด้านการจราจรและอุปกรณ์ความปลอดภัยด้านการจราจรที่ดี มีการบำรุงรักษาและคงระดับการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ด้วยความที่เป็นถนนมาตรฐานสูง ทำให้ใช้ความเร็วได้เป็นอย่างดี ต่อมามีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนการจำกัดความเร็ว (Speed Limit) บนทางยกระดับ จึงต้องมีการศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็วบนทางยกระดับ แต่ในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา มีการ Lockdown เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโรค COVID-19 ดังนั้น นอกจากพฤติกรรมการการใช้ความเร็วในช่วงเวลาของวัน และ ในวันของสัปดาห์แล้ว จึงได้ศึกษาด้วยว่า การ Lockdown จะมีผลต่อพฤติกรรมการใช้ความเร็วบนทางยกระดับด้วยหรือไม่ Speed Limit ใช้ค่าความเร็วที่ 85th Percentile ของรถแต่ละประเภทเป็นค่าความเร็วสำคัญ วิธีการตรวจวัดได้ใช้ Microwave Radar ที่ติดตั้งบนทางยกระดับตลอดความยาวทางยกระดับ จำนวน 14 จุด ตรวจวัดความเร็วรถยนต์ทุกคันตลอด 24 ชั่วโมง ในช่วงปี 2564 ตั้งแต่ก่อนมีการแพร่ระบาดของ COVID19 (ระลอกที่ 3 สายพันธ์ Delta) ระหว่างการแพร่ระบาด ระหว่างการ Lockdown และภายหลังการ Lockdown นำมาคำนวณหาความเร็วสำคัญสำหรับรถ 2 ประเภท คือรถยนต์และรถบรรทุก พบว่า ค่าความเร็วสำคัญของรถยนต์เท่ากับ 119 กม./ชม. และ เท่ากับ 97 กม./ชม. สำหรับรถบรรทุก โดยที่ความเร็วสำคัญ ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ไม่ว่าจะเป็นช่วงกลางวันหรือกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นวันธรรมดาหรือวันสุดสัปดาห์ หรือ แม้แต่ช่วงเวลาที่มีสถานการณ์ COVID19 ก็ตาม ดังนั้น Speed Limit สามารถกำหนดเป็นค่าคงที่ได้ ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามช่วงเวลา</p> เอกรินทร์ เหลืองวิลัย, มนตรี ปุณวัฒนา, เกริกฤทธิ์ ศรีรุ่งวิกรัย, เกษม ชูจารุกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2068 Sat, 08 Jul 2023 21:52:33 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ความเร็วของยานพาหนะตามกฎหมายที่ 120 กม./ชม. ระหว่างทางหลวงหมายเลข 32 กับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2268 <p>ปัจจุบันสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยเกิดจากสาเหตุการใช้ความเร็วสูงในการขับขี่ยานพาหนะ โดยสอดคล้องกับรายงานข้อมูลทางสถิติอุบัติเหตุบนทางหลวงของกรมทางหลวงที่พบว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตร้อยละ 70-80 มีมูลเหตุสันนิษฐานว่าเกิดจากการใช้ความเร็วสูง และยานพาหนะที่ประสบเหตุกว่าร้อยละ 60 คือยานพาหนะประเภทรถยนต์เก๋งและกระบะ ในวันที่ 10 มีนาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนที่ 17 ก ได้เผยแพร่ “กฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด พ.ศ. 2564” ของกระทรวงคมนาคม ประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากคือการกำหนดให้ “รถยนต์ส่วนบุคคล” ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. และถ้าอยู่ในช่องขวาสุดให้ใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง งานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการประเมินความเร็วระหว่างทางหลวงหมายเลข 32 กับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ซึ่งเป็นสายทางที่กำหนดให้ยานพาหนะใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. ทั้งขาเข้าและขาออก ด้วยกล้องตรวจจับความเร็วชนิดเลเซอร์ โดยเก็บข้อมูลความเร็วของยานพาหนะทุกช่องจราจรแบบการไหลอิสระ และเก็บข้อมูลความเร็วนอกเวลาเร่งด่วนทั้งสองสายทาง ผลการศึกษาพบว่าค่าความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะทั้งขาเข้าและขาออกเปอร์เซ็นไทล์ที่ 85 ของทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 คือ 130.47 กม./ชม. และค่าเฉลี่ยความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงหมายเลข 32 คือ 127.23 กม./ชม. ถือได้ว่าผู้ขับขี่ยานพาหนะทั้งสองสายทางใช้ความเร็วในการขับขี่ที่การไหลอิสระสูงกว่าความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด นำไปสู่ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน</p> วรรณิกา ขันคำนันต๊ะ, ทวีศักดิ์ แตะกระโทก, ทิพย์วิมล แตะกระโทก, บุญพล มีไชโย, ดลยฤทธิ์ เสฏฐสุวจะ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2268 Sat, 08 Jul 2023 22:04:59 +0700 การประเมินประสิทธิภาพของป้ายแสดงความเร็วของยานพาหนะ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2138 <p>ป้ายแสดงความเร็ว เป็นป้ายวัดความเร็วของยานพาหนะและแสดงความเร็ว ณ ขณะนั้นให้ผู้ขับขี่รับรู้ เพื่อแจ้งให้ผู้ขับขี่รับทราบถึงความเร็วของตนเองและความเร็วที่จำกัดไว้ ณ บริเวณนั้น ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรับ (Passive) เพื่อเตือนการใช้ความเร็วของผู้ขับขี่ ป้ายประเภทนี้มีการติดตั้งกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของป้ายอย่างแน่ชัด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและผลกระทบจากป้ายแสดงความเร็ว ต่อการใช้ความเร็วของผู้ขับขี่ยานพาหนะ โดยพื้นที่ศึกษาเป็นโครงข่ายถนนภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีโครงการติดตั้งป้ายแสดงความเร็วบนโครงข่ายถนน ทั้งหมด 18 จุด มีการกำหนดขีดจำกัดความเร็วที่ 50 กม./ชม. ทั้งโครงข่ายถนนครอบคลุมพื้นที่ทั้งมหาวิทยาลัย และทำการวิเคราะห์ผลโดยการเปรียบเทียบระหว่างความเร็วก่อนและหลังการติดตั้ง แต่จะเลือกตำแหน่งเก็บข้อมูลมา 7 ตำแหน่ง จากทั้งหมด 18 ตำแหน่ง จากนั้นการประเมินผลจะแบ่งแยกตามประเภทของยานพาหนะ และเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลากลางวันกับเวลากลางคืน ผลการศึกษา จากการทดสอบทางสถิติพบว่า ยานพาหนะประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลมีความเร็วลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่ร้อยละ 11.04 ในช่วงเวลากลางวัน และร้อยละ 11.41 ในช่วงเวลากลางคืน ในขณะที่ความเร็วเฉลี่ยของรถจักรยานยนต์ ความเร็วลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่ร้อยละ 8.5 ในช่วงเวลากลางวัน และร้อยละ 12.2 ในช่วงเวลากลางคืน</p> วรากรณ์ วรลักษณ์, ธเนศ เสถียรนาม, วิชุดา เสถียรนาม, เฉลิมเกียรติ ศรีละกูล, นพดล กรประเสริฐ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2138 Sat, 08 Jul 2023 00:00:00 +0700 การประเมินประสิทธิภาพของป้ายบอกความเร็วบริเวณโค้งราบ: กรณีศึกษาทางหลวงหมายเลข 107 (แม่ทะลาย - หัวโท) https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2593 <p>ปัญหาการขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนดเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งมักจะเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงบ่อยครั้งในบริเวณทาง โค้งราบที่มีรัศมีน้อย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว และมีการเสนอแนะมาตรการต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ ซึ่งมาตรการแจ้งให้คนขับยานพาหนะทราบถึงความเร็วของการขับขี่ก็เป็นอีกแนวทางที่จะช่วยทำให้ความเร็วของการ ขับขี่ลดลงได้ งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนำป้ายบอกความเร็วมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการความเร็วและอุบัติเหตุ บนถนนบริเวณทางโค้งราบบนทางหลวงหมายเลข 107 แม่ทะลาย - หัวโท (เชียงใหม่ - เชียงดาว) บริเวณ กม.66+525 โดยศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ความเร็วในการขับขี่ ก่อนและหลังมีการติดตั้งป้ายบอกความเร็วบนทางโค้ง จากการศึกษาพบว่ามาตรการฯ ทำให้ ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วในการขับขี่ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และความเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะมีแนวโน้มที่ลดลง ร้อยละ 12 และสัดส่วนการใช้ความเร็วเกินอัตราที่กำหนดที่ 50 กม./ชม. มีแนวโน้มที่ลดลงร้อยละ 20 แสดงให้เห็นว่าการติดตั้งป้ายบอกความเร็วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการความเร็ว ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในบริเวณทางโค้งราบ และในอนาคตควรเพิ่มมาตรการอื่นเพิ่มเติมเพื่อคงประสิทธิภาพไว้ เช่น การบังคับ ใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เป็นต้น</p> อิทธินันท์ ใสสุขสอาด, วินัย รักสุนทร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2593 Sat, 08 Jul 2023 22:13:54 +0700 การประเมินการรับรู้ของผู้ขับขี่ต่อกฎหมายกำหนดความเร็ว 120 กม/ชม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2300 <p>อุบัติเหตุทางถนน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 –2564 จากรายงานของกระทรวงคมนาคมพบว่าเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่โดยมีสาเหตุเกิดจากการขับรถ เร็วเกินอัตรากำหนดมากถึง 78% ในขณะที่กระทรวงคมนาคมได้ประกาศกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือ ทางหลวงชนบทที่กำหนด พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ที่กำหนดให้ “รถยนต์ส่วนบุคคล” ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. และถ้าอยู่ในช่องขวาสุด ให้ใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง งานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการประเมินการรับรู้ของผู้ขับขี่ต่อกฎหมายกำหนดความเร็ว 120 กม./ชม. ระหว่างทางหลวงหมายเลข 32 กับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ซึ่งเป็นสายทางที่กำหนดให้ยานพาหนะใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. ผลการประเมิน การรับรู้ของผู้ขับขี่ต่อกฎหมายกำหนดความเร็ว 120 กม./ชม. ของผู้ขับขี่บนถนน 2 เส้นทาง คือ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ ทางหลวงหมายเลข 32 พบว่า การรับรู้ต่อความเร็วที่ปลอดภัยสำหรับยานพาหนะบนถนนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ ถนนทางหลวงหมายเลข 32 ที่ต่ำกว่าความเร็วตาม กฎหมายกำหนดที่ 120 กม./ชม. และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดความเร็วจำกัดที่ปลอดภัยบนถนนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ ทางหลวง หมายเลข 32 ได้แก่ ปริมาณผู้ใช้รถใช้ถนนที่เปราะบาง (จักรยาน จักรยานยนต์ คนเดินเท้า), ทางแยก และ จุดกลับรถ อย่างไรก็ตาม ถนนทั้ง 2 เส้นทาง มีสภาพถนนที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะกิจกรรม 2 ข้างทางแตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อมีการเพิ่มความเร็วมากขึ้น จึงควรมีการจัดการความ ปลอดภัยสำหรับการทางเชื่อมและจำกัดความเร็วพื้นที่ในเขตชุมชนเพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุทางถนน นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีการประเมินการรับรู้ ความปลอดภัยร่วมกับสภาพ/ลักษณะของถนนที่ปลอดภัยเพื่อกำหนดความเร็วที่ปลอดภัยสำหรับพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้กิจกรรมข้างทางหนาแน่น และชุมชน</p> เพ็ญนภา พรสุพิกุล, ดารารัตน์ ช้างด้วง, ทวีศักดิ์ แตะกระโทก Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2300 Sat, 08 Jul 2023 22:17:45 +0700 ผลกระทบจากการเบนแนวทางดิ่งต่อความเร็วรถ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2102 <p>การเบนแนวทางดิ่งเป็นเทคนิคการสยบการจราจรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อควบคุมความเร็วรถ การติดตั้งเนินเปลี่ยนระดับถนน ซึ่งผู้ขับขี่จะปรับความเร็วเพื่อรักษาระดับความสบายขณะเคลื่อนผ่าน มาตรการนี้พัฒนาขึ้นในบริบทถนน สภาพการจราจรและพฤติกรรมของผู้ขับขี่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงมีข้อกังขาต่อประสิทธิภาพเมื่อถูกนำมาใช้ควบคุมความเร็วรถในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของการเบนแนวทางดิ่งต่อความเร็วรถและ 2) ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการลดความเร็วของผู้ขับขี่ การศึกษานี้ใช้อากาศยานไร้คนขับบันทึกพฤติกรรมของผู้ขับขี่บริเวณเนินชะลอความเร็ว 3 แห่ง และเนินราบชะลอความเร็ว 6 แห่ง เนินมีขนาดที่หลากหลาย กว้าง 4 ถึง 14 เมตร สูง 5 ถึง 14 เซนติเมตร และชัน 1:43 ถึง 1:20 การศึกษาสังเกตความเร็วรถยนต์ 1,068 คัน และรถจักรยานยนต์ 840 คัน ทุกระยะ 10 เมตรในช่วง 50 เมตรก่อนและหลังเนิน สร้างกราฟหน้าตัดความเร็วและระบุปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการลดความเร็วด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่ารถเคลื่อนผ่านเนินด้วยความเร็วเฉลี่ย 25-37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นต์ไทล์ 29-44 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้บนถนนช่วงก่อนหน้า ความเร็วของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลง 18-46 % และ 12-34 % ตามลำดับ เนินสามารถควบคุมความเร็วรถในช่วง 20-30 เมตรก่อนและหลังตำแหน่งติดตั้ง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการลดความเร็วได้แก่ ความเร็วขณะสัญจรบนช่วงถนนก่อนหน้า รูปทรงของอุปกรณ์ และประเภทรถ โดยเนินส่งผลกระทบต่อรถยนต์มากกว่ารถจักรยานยนต์</p> ธนวิชญ์ เลิศพรประสพโชค, วิชุดา เสถียรนาม, ธเนศ เสถียรนาม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2102 Sat, 08 Jul 2023 22:21:48 +0700 พฤติกรรมการยอมรับช่องว่างของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์บริเวณทางเข้าวงเวียนภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2195 <p>วงเวียนสมัยใหม่เป็นมาตรการควบคุมทางแยกที่มีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้ความเร็วของผู้ขับขี่และลดความขัดแย้งบริเวณทางแยกได้ อย่างไรก็ตาม กายภาพวงเวียนอาจไม่สามารถบังคับพฤติกรรมของรถขนาดเล็ก เช่น ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ซึ่งเลือกวิ่งได้ทุกตำแหน่งในทางช่องจราจร ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดช่องว่างวิกฤตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยอมรับช่องว่างของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในบริเวณทางเข้าวงเวียน การศึกษานี้ตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่ทางเข้า 14 ตำแหน่ง ในบริเวณวงเวียน 4 แห่ง ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) บันทึกสภาพการจราจร สังเกตและบันทึกข้อมูลการตัดสินใจของผู้ขับขี่ต่อการยอมรับหรือปฏิเสธช่องว่าง 813 ครั้ง วิเคราะห์ขนาดช่องว่างวิกฤตด้วยวิธีการของ Raff และใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิอธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับช่องว่าง ผลการศึกษาพบว่าช่องว่างวิกฤตของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มีขนาด 2.63 วินาที โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้โอกาสยอมรับช่องว่างมากขึ้น ได้แก่ ขนาดช่องว่างที่ใหญ่ขึ้น การที่ผู้ขับขี่ที่เลือกเข้าวงเวียนในด้านไกลจมูกวงเวียนและเลือกชิดซ้ายในทางวิ่งวน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกาะกลางวงเวียนที่มีขนาดใหญ่ และรัศมีการเบนแนวทางเคลื่อนที่กว้าง ในขณะที่ปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ทำให้การยอมรับช่องว่างลดลงคือ การมีผู้โดยสารซ้อนท้าย และในกรณีที่รถคันหลังในช่องว่างเป็นรถยนต์</p> อิศรศักดิ์ ไชยโคตร, วิชุดา เสถียรนาม, ธเนศ เสถียรนาม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2195 Sat, 08 Jul 2023 22:24:45 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโอกาสเกิดการชนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขณะเข้าสู่วงเวียน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2173 <p>วงเวียนเป็นมาตรการควบคุมการจราจรบริเวณทางแยกที่มีประสิทธิภาพและถูกใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อนำวงเวียนมาใช้ในประเทศไทย ยังคงมีข้อกังขาถึงความปลอดภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะเข้าและออกจากวงเวียน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโอกาสในการเกิดการชนของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ขณะเข้าสู่วงเวียน งานวิจัยนี้สำรวจกายภาพวงเวียนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 35 - 50 เมตร จำนวน 4 แห่งภายในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น บันทึกวิดีโอสภาพการจราจรด้วยอากาศยานไร้คนขับ (UAVs) สังเกตและบันทึกเหตุการณ์ที่รถจักรยานยนต์รวมกระแสจราจรกับรถในวงเวียน 785 ครั้ง คำนวณค่าดัชนีระยะเวลาหลังการรุกล้ำ (Post-Encroachment Time, PET) ของแต่ละเหตุการณ์ และสร้างแบบจำลองระยะเวลาหลังการรุกล้ำด้วยเทคนิคการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่ออธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโอกาสเกิดการชน ผลการศึกษาพบว่าลักษณะพฤติกรรมของผู้ขับขี่ ลักษณะการรวมกระแสจราจร และลักษณะทางกายภาพของวงเวียน มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อโอกาสเกิดการชน โดยพฤติกรรมที่ผู้ขับขี่ไม่ให้ทางรถในวงเวียน เข้ามาให้ทางบนทางวิ่งวนในวงเวียน ใช้ความเร็วเข้าสู่วงเวียนที่เพิ่มขึ้น การรวมกระแสจราจรกับรถชนิดเดียวกัน และการเข้าสู่วงเวียนในทิศทางที่มีรัศมีการเบนแนวทางการเคลื่อนที่ ๆ มากขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการเกิดการชน ผลจากการศึกษานี้ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญในขณะออกแบบและดำเนินการวงเวียน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขณะเข้าสู่วงเวียน</p> พงศ์พิวัชร์ จันทร์วงษา, วิชุดา เสถียรนาม, ธเนศ เสถียรนาม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2173 Sat, 08 Jul 2023 22:27:15 +0700 คุณลักษณะวงเวียนที่เป็นที่พึงพอใจต่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2285 <p>ประเทศไทยปัจจุบันวงเวียนเป็นตัวเลือกที่ใช้ควบคุมการจราจรบริเวณทางแยกที่นิยมใช้มากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน แต่การออกแบบวงเวียนในปัจจุบันของประเทศไทย พบว่ายังไม่คำนึงถึงความปลอดภัยสำหรับกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เท่าที่ควร จึงเกิดปัญหาการเฉี่ยวชนของรถจักรยานยนต์กับยานพาหนะอื่นๆบริเวณวงเวียน และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุคุณลักษณะของวงเวียนที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์พึงพอใจในด้านความปลอดภัยต่อการใช้งานวงเวียน โดยผู้วิจัยศึกษาลักษณะของวงเวียน 5 ลักษณะ ได้แก่ ขนาดเกาะกลางวงเวียน จำนวนช่องจราจรในวงเวียน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับรถจักรยานยนต์ ปริมาณจราจร และความเร็วจำกัด โดยผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามประเภทการสมมติสถานการณ์ (Stated Preference Survey) ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างสถานการณ์สมมติของวงเวียนหลายๆวงเวียนที่มีลักษณะแตกต่างกันขึ้นมา และจับคู่วงเวียนที่มีลักษณะแตกต่างกันเพื่อให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เลือกวงเวียนที่รู้สึกปลอดภัยมากกว่าเมื่อขับขี่เข้าสู่วงเวียน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มคนขับรถจักรยานยนต์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 640 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองโลจิตทวินาม (Binary Logit Model) ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์พึงพอใจด้านความปลอดภัยต่อวงเวียนที่มีลักษณะ ดังนี้: เกาะกลางของวงเวียนมีขนาดเล็ก, จำนวนช่องจราจรเดินรถในวงเวียนน้อย ,ความเร็วจำกัดต่ำ, ปริมาณจราจรต่ำ และแยกช่องจราจรระหว่างรถจักรยานยนต์กับรถยนต์ ผลการศึกษาสามารถระบุคุณลักษณะของวงเวียนที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์พึงพอใจในด้านความปลอดภัยและใช้เป็นแนวทางการออกแบบวงเวียนให้มีความปลอดภัยสำหรับรถจักรยานยนต์มากขึ้น</p> ก้องภพ จิตขาว, ธเนศ เสถียรนาม , วิชุดา เสถียรนาม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2285 Sat, 08 Jul 2023 22:35:30 +0700 Difference Between Male and FemDifference Between Male and Female Motorcyclist-Injury Severity: Accommodating Unobserved Heterogeneity in the Dataale Motorcyclist-Injury Severities: Accommodating Unobserved Heterogeneity in the Data https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2531 <p>In Thailand, the frequency of crashes and mortality rates are significantly higher for male motorcyclists than for their female counterparts. This study aims to investigate the effect of various associated risk factors on motorcyclist-injury outcome separated by gender. Using motorcycle-crash data in Thailand from 2016 to 2019, random parameter binary probit with heterogeneity in mean and variances was employed to explore the effects of a wide range of risk characteristics on severity of different motorcyclist gender. In the male model, significant factors are improper overtaking, riding under influence, inner-lane crashes, four-lane crashes, crashes on road with no median, flush median, depressed median, and barrier median, crashes within public area, crashes on wet road, nighttime crashes on lit or unlit road, non-rush hour crashes, evening crashes, weekend crashes, and single-motorcycle crashes. In the female model, significant factors are fatigued rider, three-leg intersection, and midnight/early morning crashes). However, some factors generated contradicting effect between male and female such as hitting a sudden crossing object, U-turn crashes, and hitting passenger car. The split in model estimation between gender is particularly important that could potentially assist policymaker, safety professionals, practitioners, trainer, government agency or highway designer in future planning and serves as guidance for mitigation policies directed at safety improvement for motorcyclist.</p> Chamroeun Se, Panuwat Wisutwattanasak, Thanapong Champahom, Sajjakaj Jomnonkwao, วัฒนวงศ์ รัตนวราห Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2531 Sat, 08 Jul 2023 22:38:53 +0700 พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางแยกสัญญาณไฟจราจร ความสัมพันธ์ระหว่างทางแยกในเขตเมือง และเขตชานเมือง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2209 <p>พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ เป็นหนึ่งในพฤติกรรมการขับขี่ด้วยความประมาท งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่ ระหว่างทางแยกสัญญาณไฟจราจรในเขตเมือง และเขตชานเมือง โดยการประยุกต์ใช้หลักการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก จากกลุ่มตัวอย่างผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่สัญจรผ่านพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 7,094 ตัวอย่าง พบว่า มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่ทั้งหมด 873 ตัวอย่าง (ร้อยละ 12.3) จำแนกประเภทการใช้งานเป็นการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยการถือขึ้นมา 710 ตัวอย่าง (ร้อยละ 10.0) และการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่ถือขึ้นมา(ใช้งานบนอุปกรณ์ช่วยจับโทรศัพท์เคลื่อนที่) 163 ตัวอย่าง (ร้อยละ 2.3) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางแยกในเขตเมือง กับเขตชานเมือง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าปัจจัย การมีผู้โดยสาร, เพศ, อายุ, การจอดติดสัญญาณไฟแดง, ช่วงเวลา, วันของสัปดาห์ และอาชีพผู้ขนส่งสินค้า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน</p> เอกรินทร์ สุรินอุด, ปิยณัฐ จันโทสุทธิ์, วีระชัย หิรัญวัฒนเกษม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2209 Sat, 08 Jul 2023 22:41:03 +0700 พฤติกรรมการขับขี่จักรยานยนต์และความเสี่ยง ของการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ในกรุงเทพมหานคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2146 <p>องค์การอนามัยโลกระบุว่าการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 8 ของโลกและอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยอยู่ในอันดับสูงที่สุดในอาเซียน ทั้งนี้สัดส่วนผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยเป็นผู้เสียชีวิตที่เกิดจากรถจักรยานยนต์มากที่สุด งานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมการขับขี่จักรยานยนต์ ทัศนคติต่อการรับรู้อันตรายจากพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่จักรยานยนต์และปัจจัยที่อิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับรถเร็วเกินอัตรากำหนดของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ประเภทพนักงานส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยปัจจัยที่สนใจ ได้แก่ ลักษณะทางประชากร ความเครียดและความเหนื่อยล้าขณะทำงาน ทัศนคติต่อการขับรถเร็วและการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่ พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์เร็วเกินอัตรากำหนด การรับรู้ความเสี่ยง ระยะเวลาและความถี่ในการเดินทาง การรายงานการประสบอุบัติเหตุด้วยตนเอง ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 450 ชุด และทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับรถเร็วเกินอัตรากำหนดของพนักงานส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้การทดสอบทางสถิติ ได้แก่ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า อายุ ระดับการศึกษา จำนวนบุตร ความเครียดและความเหนื่อยล้าขณะทำงาน การรับรู้ความเสี่ยง ทัศนคติต่อการขับรถเร็วและการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่ ส่งผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์เร็วเกินอัตรากำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ปฐมพร พงษ์อารีย์, เกษม ชูจารุกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2146 Sat, 08 Jul 2023 22:43:07 +0700 การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่ปลอดภัย: กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดนครราชสีมา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2332 <p>จากรายงานขององค์กรอนามัยโลก ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในบริบทของประเทศไทย พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์เป็นประจำ การศึกษานี้มีความตระหนักถึงความรุนแรงและปัจจัยที่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่ปลอดภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัย การศึกษานี้ใช้แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแบบแผน ประกอบกับการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณและการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีจำนวนมากที่สุด 3 อันดับ ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน จากการศึกษาพบว่านักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่ปลอดภัยที่แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีใบขับขี่และนักศึกษาที่ไม่มีใบขับขี่มีพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่ปลอดภัยแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาจากปัจจัยทฤษฎีพฤติกรรมตามแบบแผน พบว่า ทัศนคติต่อการกระทำพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับขี่ทีไม่ปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาสามารถนำไปพัฒนาเป็นนโยบายเพื่อลดพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย การรณรงค์และการสร้างสื่อโฆษณาในเรื่องพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยและผู้ที่สนใจอื่นได้ต่อไป</p> วัฒนวงศ์ รัตนวราห, สัจจากาจ จอมโนนเขวา, ฌัชชา คำมูล, นายธนกร โพธิ์แจ่ม, อดิศร แดงบุตร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2332 Sat, 08 Jul 2023 22:45:50 +0700 การสำรวจการรับรู้และการมองเห็นทางข้ามถนนของผู้ขับขี่บนถนนในเขตเมืองเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2277 <p>ในปัจจุบัน ทางข้ามถนนในเขตเมืองได้รับการปรับปรุงและติดตั้งอุปกรณ์แนะนำและเตือนผู้ขับขี่ถึงตำแหน่งทางข้ามหลายมาตรการ ตัวอย่างเช่น เครื่องหมายทางม้าลาย ป้ายแนะนำตำแหน่งทางข้าม ป้ายเตือนระวังคนข้าม เส้นจราจรหยุดรถ เส้นจราจรชะลอความเร็ว ไฟกระพริบเตือน และสัญญาณไฟจราจรทางข้าม เป็นต้น ซึ่งเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึงประสิทธิภาพด้านการรับรู้และมองเห็นทางข้ามของผู้ขับขี่จากการติดตั้งอุปกรณ์บริเวณทางข้ามในรูปแบบที่แตกต่างกันนั้นยังมีอยู่อย่างจำกัด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้และการมองเห็นทางข้ามถนนที่มีรูปแบบของมาตรการเพิ่มความปลอดภัยบริเวณทางข้ามที่แตกต่างกันของผู้ขับขี่บนถนนในเขตเมืองเชียงใหม่ โดยการสำรวจวิเคราะห์ระยะการตรวจจับทางข้ามของผู้ขับขี่ผ่านการวิเคราะห์ด้วยภาพวิดีโอขณะเดินทางผ่านทางข้ามทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งนี้ระยะตรวจจับทางข้ามจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในการเตือนและแนะนำผู้ขับขี่ให้รับรู้ถึงทางข้าม ผลของการศึกษานี้พบว่าระยะการตรวจจับมาตรการสัมพันธ์กับช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลและรูปแบบของมาตรการ โดยในช่วงเวลากลางคืน ระยะการตรวจจับเฉลี่ยน้อยกว่าในช่วงเวลากลางวัน มาตรการที่มีระยะการตรวจจับเฉลี่ยมากสุดคือมาตรการสัญญาณไฟจราจรทางข้าม อยู่ที่ 87.9 เมตร มาตรการที่มีระยะการตรวจจับเฉลี่ยน้อยสุดคือมาตรการป้ายตำแหน่งทางข้าม อยู่ที่ 52.7 เมตร</p> ปาณัสม์ ศรีนนท์, นพดล กรประเสริฐ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2277 Sat, 08 Jul 2023 22:47:47 +0700 ผลกระทบของตัวเลขนับเวลาถอยหลังต่อพฤติกรรมการเดินข้ามทางแยกของคนเดินข้าม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2385 <p>กรุงเทพมหานครได้นำตัวเลขนับถอยหลังมาใช้ร่วมกับสัญญาณคนเดินข้ามมาเป็นระยะเวลากว่าทศวรรษ โดยการนับเวลานับถอยหลังถูกกำหนดให้นับตั้งแต่การเริ่มให้สัญญาณไฟคนเดินข้ามและมีค่าเป็นศูนย์เมื่อสัญญาณไฟคนเดินข้ามสิ้นสุดลง ซึ่งการนับถอยหลังดังกล่าวจะเป็นเพียงการบอกให้คนเดินข้ามรับรู้ว่า เฟสสัญญาณไฟคนเดินข้ามจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ดังนั้น เมื่อคนเดินเท้ามาถึงทางแยกหลังจากมีการให้สัญญาณไฟคนเดินข้ามไปแล้ว คนเดินข้ามต้องพิจารณาเองว่าจะสามารถข้ามทางแยกได้ทันตามเวลาที่เหลืออยู่หรือไม่ จึงเป็นสาเหตุให้พบคนเดินข้ามยังคงอยู่บนทางแยกหลังจากสัญญาณไฟคนเดินข้ามสิ้นสุดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงตามมากรมทางหลวงตระหนักถึงปัญหาการใช้ตัวเลขนับถอยหลังร่วมกับสัญญาณไฟคนเดินข้ามในลักษณะดังกล่าว จึงได้เริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้เวลานับถอยหลังในจังหวะเตือนไม่ให้ข้าม แล้วนำมาติดตั้งที่แยกรินคำและแยกหัวหิน หลังจากมีการให้ไฟเขียวสำหรับการเดินข้ามไประยะหนึ่งแล้ว ซึ่งในการศึกษานี้ จะเป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมการเดินข้ามทางแยกของคนเดินข้ามบนทางแยกที่มีการนำตัวเลขนับเวลาถอยหลังรูปแบบใหม่นี้มาใช้งาน ได้แก่ ความสำเร็จของการเดินข้ามทางแยก การยอมรับของคนเดินข้าม ความเร็วในการเดินข้าม เป็นต้น</p> วิฑูรย์ สิทธิบุตร์, วินัย รักสุนทร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2385 Sat, 08 Jul 2023 22:50:13 +0700 พฤติกรรมการข้ามถนนของผู้สูงอายุบนทางข้ามที่มีสัญญาณไฟแบบนับถอยหลังในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาทางข้ามบนถนน 6 ช่องจราจร ที่มีเกาะกลางถนน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2222 <p>ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 18.94 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ใกล้เคียงกับนิยามสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ควรมีความพร้อมสำหรับรองรับการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงการข้ามถนน ซึ่งสัญญาณไฟสำหรับคนข้ามถนนแบบมีชุดนับเวลาถอยหลัง ก็เป็นหนึ่งในมาตรการที่ส่งเสริมความปลอดภัยแก่คนเดินเท้า โดยจะแสดงเวลานับถอยหลังให้คนเดินข้าม พร้อมทั้งกำกับให้ยานพาหนะหยุดรอ งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาพฤติกรรมการข้ามถนนของผู้สูงอายุบนถนน 6 ช่องจราจร ที่มีเกาะกลางถนนในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วในการข้ามของผู้สูงอายุ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับความเร็วที่ใช้ในการออกแบบสัญญาณไฟในพื้นที่จริง และความเร็วมาตรฐานต่างประเทศ โดยใช้การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว จากนั้นใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย เพื่อหาความเร็วที่เหมาะสมสำหรับใช้ออกแบบสัญญาณไฟตามสัดส่วนคนข้ามที่เป็นผู้สูงอายุ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอีกแนวทางสำหรับใช้ออกแบบระยะสัญญาณไฟสำหรับทางข้ามแห่งอื่น ๆ ที่จะให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุมากขึ้น</p> ธาตรี รักมาก, เกษม ชูจารุกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2222 Sat, 08 Jul 2023 22:52:42 +0700 การประเมินความปลอดภัยสำหรับถนนในเขตพื้การประเมินความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่ท่องเที่ยวชายทะเล ด้วยเทคนิคการประเมินระดับดาวของ iRAPนที่ท่องเที่ยวชายทะเลด้วยวิธีการประเมินระดับดาวของ iRAP https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2149 <p>ปัญหาสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งประเทศไทยเป็นกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง โดยจะพบว่าลักษณะทางกายภาพของถนน และพฤติกรรมการใช้ความเร็วบนท้องถนนที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นเพื่อยกระดับความปลอดภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล งานวิจัยนี้จึงได้นำกระบวนการการประเมินความปลอดภัยทางถนนด้วยวิธีการประเมินของ iRAP (International Road Assessment Programme) ที่จะประเมินค่าระดับดาวตามลักษณะทางกายภาพของถนนซึ่งมีผลสัมพันธ์กับความเร็วที่ใช้จริงโดย iRAP จะทำการประเมินเป็น 4 กลุ่มได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ คนเดินเท้า และรถจักรยาน ผู้วิจัยได้ทำการประเมินพื้นที่ท่องเที่ยวเป้าหมาย 2 จังหวัดได้แก่ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากเป็นถนนในเขตพื้นที่ที่มีปริมาณการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศ โดยผลการวิจัย พบว่า ถนนในพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่มีระดับความปลอดภัย iRAP (Star Rating) อยู่ที่ 1 – 3 ดาว ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้ โดยผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงที่ได้เพื่อจะเป็นแนวทางที่สำคัญของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านถนนในการนำไปปรับปรุงถนนให้มีความปลอดภัยได้มากขึ้นและเป็นไปตามมาตรฐานสากล</p> ฐิติชญา สระทองแมว, บุญพล มีไชโย, พลปรีชา ชิดบุรี, ทวีศักดิ์ แตะกระโทก, ดลยฤทธิ์ เสฎฐสูวจะ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2149 Sat, 08 Jul 2023 22:56:26 +0700 การใช้เทคนิคผสมผสาน RSA และ iRAP เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่ท่องเที่ยว https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2229 <p>จากข้อมูล World Economic Forum (WEF) ปี2564 ระบุว่าประเทศไทยถูกจัดอันดับด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวอยู่ที่อันดับ 92 จากทั้งหมด 117 ประเทศ ความปลอดภัยทางถนนก็เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับดังกล่าว ดังนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อป้องกันและลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนมีความครอบคลุมในพื้นที่ท่องเที่ยว โดยใช้กระบวนการการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (RSA) ประกอบกับการประเมินระดับความปลอดภัย (iRAP) ของถนนมาเป็นเครื่องมือการดำเนินงานบริหารจัดการปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทั้งด้านพฤติกรรมคน ถนน ยานพาหนะ และสภาพแวดล้อม โดยมีพื้นที่เป้าหมายคือจังหวัดชลบุรี (พัทยา) และจังหวัดภูเก็ต จากการศึกษาพบว่าสามารถใช้เทคนิคทั้ง 2 เทคนิคผสมผสานกันแล้วพบว่าสามารถตรวจพบความเสี่ยงที่สอดคล้องและแตกต่างกัน และสามารถนำไปปรับใช้ให้กับพื้นที่ท่องเที่ยวได้</p> เยาวภา สีทอง, บุญพล มีไชโย, พลปรีชา ชิดบุรี, ทวีศักดิ์ แตะกะโทก, ดลยฤทธิ์ เสฏฐสุวจะ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2229 Sat, 08 Jul 2023 22:59:49 +0700 การสำรวจผลกระทบของไฟกระพริบเตือนที่มีต่อพฤติกรรมการขับขี่ ที่ทางแยกในเขตเทศบาลเมืองเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2280 <p>Road traffic deaths in Thailand are mostly occurred in urban areas with a large number of motorcyclists. One of the hazardous locations is the intersections with no traffic control in urban areas, or known as Wat Jai intersection, where motorcycle accidents are frequent and severe. The major causes of accidents are the insufficient visibility of intersections and sometimes no traffic lights at night leading to indecisive driving while traveling through an intersection. Flashing warning lights are among safety countermeasures widely used to warn road users to be aware of an intersection and reduce the speed while approaching at an intersection. Flashing warning lights are currently implemented in 19 locations in Chiang Mai municipality area. This study aims to examine the effectiveness of flashing warning lights at intersections by performing the before-and-after observation study. The indicators used in this study are the speed profile of vehicles passing intersections, the time to collision, and the risk of collision.</p> ศิขรินทร์ เกิดศิริ, นพดล กรประเสริฐ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2280 Sat, 08 Jul 2023 23:03:42 +0700 การศึกษาระยะการมองเห็น ณ จุดเปิดเกาะกลาง สำหรับกลับรถ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2315 <p>หนี่งในตำแหน่งที่มีสถิติของการเกิดอุบัติเหตุบนถนน ได้แก่ บริเวณจุดเปิดเกาะกลางสำหรับกลับรถ (Median opening for U-turn) เป็นจุดที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงสูง เนื่องด้วยเป็นบริเวณที่เกิดจุดตัดของกระแสจราจร (Cross conflict) อีกทั้งการที่ออกแบบอนุญาตให้สามารถกลับรถได้ทั้งสองทิศทาง ณ จุดเปิดเกาะกลางนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการบดบังทัศนวิสัยการมองเห็น ส่งผลให้ระยะมองเห็น (Sight distance) มีระยะที่ลดลง เนื่องจากรถที่จอดรอกลับรถในอีกทิศทาง จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อตรวจสอบระยะการมองเห็น ณ จุดเปิดเกาะกลางลักษณะนี้ว่ามีระยะทางเท่าใด และรถทางตรงจะมีระยะการหยุดปลอดภัย (Stopping sight distance, SSD) เพียงพอหรือไม่ โดยจุดเปิดเกาะกลางสำหรับกลับรถในงานวิจัยนี้มีจำนวน 6 แห่ง แบ่งออกเป็น เกาะกลางแบบยก (Raised median) และเกาะกลางแบบกดเป็นร่อง (Depressed median) เป็นจุดกลับรถแบบมีการเพิ่มพื้นที่สำหรับรถบรรทุก (Loons) และไม่มี โดยผลลัพธ์การศึกษาพบว่า ระยะมองเห็น ณ จุดเปิดเกาะกลางโดยมากจะมีระยะต่ำกว่าระยะการหยุดปลอดภัย (SSD) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุดกลับรถที่มีรถบรรทุกมาทำการกลับรถ การปรับปรุงจุดเปิดเกาะกลาง โดยอนุญาตให้กลับรถเพียงทิศทางเดียว จะช่วยแก้ปัญหาระยะมองเห็นของจุดกลับรถเหล่านี้ได้</p> อ. นพคุณ บุญกระพือ, กิตติพศ มณีสาร, จันทรกานต์ ลือชา Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2315 Sat, 08 Jul 2023 23:07:25 +0700 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะสำหรับการเดินทางไปโรงเรียน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2342 <p>ความปลอดภัยในระบบขนส่งสาธารณะถือเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มผู้โดยสารที่เป็นเด็กในวัยเรียนที่สามารถใช้รถโดยสารสาธารณะในการเดินทางทำให้ผู้ปกครองต่างตระหนักและเป็นห่วงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญจึงได้คาดหวังถึงความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะในด้านต่าง ๆ หากเด็กจะใช้บริการ ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะในจังหวัดนครราชสีมา ทำการเก็บตัวอย่างในจากผู้ปกครองในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาด้วยแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง 650 ตัวอย่าง แบบจำลองประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ พฤติกรรมความปลอดภัยของผู้ขับขี่ ความปลอดภัยของระบบขนส่ง และนโยบายความปลอดภัย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยยืนยันบ่งชี้ว่าปัจจัยทั้งสามเป็นไปตามข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 139.445, df = 41, χ2/df = 3.401, CFI = 0.983, TLI = 0.977, SRMR = 0.025, RMSEA = 0.061) ซึ่งผลลัพธ์สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของการใช้รถโดยสารสาธารณะสำหรับเด็กในอนาคต</p> วัฒนวงศ์ รัตนวราห, สัจจากาจ จอมโนนเขวา, ศุภนิดา นันทะวงศ์, ธนัญญา จันทร์หัวโทน, อักษรสวรรค์ บัวจูม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2342 Sat, 08 Jul 2023 23:17:52 +0700 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาคสำหรับวางแผนบริหารจัดการจราจร : กรณีศึกษาการติดตั้งโครงเหล็กคร่อมทางบนทางพิเศษ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2023 <p>ปัจจัยสูงสุดที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมีสาเหตุมาจากความผิดพลาดของผู้ขับขี่ แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน คือ ความบกพร่องของยานพาหนะ ถนนและสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีการก่อสร้างซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและสภาพแวดล้อมเดิมของถนน ซึ่งการบริหารจัดการจราจรที่ดีจะสามารถลดปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ในฐานะหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม จึงเล็งเห็นถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ทางพิเศษเป็นอันดับแรก กล่าวคือ การก่อสร้างบนทางพิเศษจะต้องมีการจัดการจราจรตามมาตรฐานการปฏิบัติงานบนทางพิเศษ โดยเฉพาะงานก่อสร้างที่ต้องปิดทางพิเศษทุกช่องจราจร เช่น การติดตั้งโครงเหล็กคร่อมทางบนทางพิเศษ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลต่อผู้ใช้ทางพิเศษได้โดยตรง ดังนั้น เพื่อให้การจัดการจราจรมีประสิทธิภาพ กทพ. จึงได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค AIMSUN เพื่อประเมินทางเลือกและผลกระทบ และวางแผนการจัดการจราจรที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ทางพิเศษน้อยที่สุด โดยกำหนดทางเลือก คือ 1) ปิดการจราจรระยะสั้นทุก 10 นาที และ 2) ปิดการจราจรระยะสั้นทุก 5 นาที พร้อมทั้งประเมินผลกระทบทั้ง 2 ทางเลือกดังกล่าวโดยใช้ตัวชี้วัด คือ ความยาวแถวคอย เวลาสูญเสียเนื่องจากการล่าช้า และปริมาณจราจร โดยผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบทางเลือกที่ 2 มีค่าของตัวชี้วัดดีกว่า และเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการจราจรจริงพบว่าความยาวแถวคอยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นมีค่าใกล้เคียงกับแบบจำลอง ซึ่งทำให้การจัดการจราจรในวันติดตั้งมีความปลอดภัย และส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ทางพิเศษน้อยที่สุด</p> นาย ปิยภัค มหาโพธิ์, จิรวัตน์ เพลิงศรีทอง, นันทวรรณ พิทักษ์พานิช, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2023 Sat, 08 Jul 2023 23:19:31 +0700 การประเมินสภาพการจราจรของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดงเมื่อเปิดให้บริการระบบเก็บ ค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-lane Free Flow (M-Flow) โดยใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2178 <p>ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการศึกษาและติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (M-Flow) ให้ครอบคลุมโครงข่ายทางพิเศษ เพื่อลดปัญหาการติดขัดบริเวณหน้าด่านทางพิเศษ ซึ่งการเปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและสภาพการจราจรของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ บทความนี้นำเสนอการประเมินสภาพการจราจรของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดง และเปรียบเทียบผลกระทบด้านการจราจรทั้งก่อนและหลังปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษเพื่อรองรับการให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow ในปีที่ 1 ปีที่ 5 และปีที่ 10 ทั้งช่วงเวลาเร่งด่วนและนอกช่วงเวลาเร่งด่วนผ่านโปรแกรม Aimsun จากผลการศึกษาพบว่าการเปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow ของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดงในปีที่ 1 ปีที่ 5 และปีที่ 10 ทั้งช่วงเวลาเร่งด่วนและนอกช่วงเวลาเร่งด่วนจะสามารถลดความล่าช้า แถวคอย และเวลาการเดินทางลงได้เมื่อสัดส่วนผู้ใช้งานระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow เพิ่มขึ้น นอกจากนี้สัดส่วนผู้ใช้งานระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow มีผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการจำนวนช่องจราจรบริเวณทางออกของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ</p> ธนุตม์ กล่อมระนก, นันทวรรณ พิทักษ์พานิช, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2178 Sat, 08 Jul 2023 23:21:39 +0700 การศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านจราจรจากการเปิดใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบ Multi-lane Free Flow (M-Flow) กรณีศึกษาด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ บางนา กม.6 (ขาเข้า) https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2413 <p>ปัญหาความแออัดของรถบริเวณหน้าด่านเป็นหนึ่งในปัญหาจราจรหลักที่เกิดขึ้นบนทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงได้มีการศึกษาและพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบ Multi-lane Free Flow (M-Flow) เพื่อให้รถสามารถผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางได้อย่างรวดเร็ว ไม่หยุดชะงัก ทั้งนี้ การพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ M-Flow จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกายภาพของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษและกระทบต่อสภาพจราจรบนทางพิเศษเช่นเดียวกัน บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบด้านจราจรของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางนา กม.6 (ขาเข้า) เมื่อเปิดใช้ระบบ M-Flow โดยอาศัยเทคนิคการพัฒนาแบบจำลองด้านจราจร ผ่านโปรแกรม Aimsun เพื่อประเมินสภาพจราจรที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งในช่วงเวลาเร่งด่วนและนอกช่วงเวลาเร่งด่วน โดยแบ่งสถานการณ์สอดคล้องกับการคาดการณ์ปริมาณจราจรในปีที่ 1 ปีที่ 5 และปีที่ 10 ตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ M-Flow ทำให้ค่าความล่าช้าเฉลี่ย แถวคอย และระยะเวลาเดินทางรวมลดลง ขณะที่ความเร็วเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของค่าตัวแปรสภาพจราจรดังกล่าวขึ้นอยู่กับสัดส่วนผู้ใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ M-Flow โดยหากมีปริมาณผู้ใช้ M-Flow สูงขึ้นก็จะส่งผลให้สภาพจราจรบนทางพิเศษมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น</p> พลฉัตร ยงญาติ, ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2413 Sat, 08 Jul 2023 23:24:55 +0700 การประเมินการแก้ไขปัญหาการจราจรโดยวิธีการตัดสลับทิศทางจราจร กรณีศึกษาต่างระดับพญาไท ทางพิเศษศรีรัช https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2298 <p>การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เก็บข้อมูลการจราจรบนทางพิเศษ เพื่อนำมาบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาการจราจรในภาพรวม จากข้อมูล พบว่า ทางพิเศษศรีรัช บริเวณต่างระดับพญาไท (ทิศทางมุ่งหน้าประชาชื่น) ในช่วงเวลาเร่งด่วนเย็น (16.00 – 19.00 น.) มีปริมาณจราจรเดินทางจากในเมืองออกนอกเมืองเป็นจำนวนมาก จนเกิดเป็นปัญหาท้ายแถวคอยสะสมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และเกิดอุบัติเหตุจากการเบียดเฉี่ยวชนกรณีแย่งใช้ช่องทาง ซึ่งปัญหาการเกิดอุบัติเหตุนั้นสอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพที่เป็นทางร่วมของ 2 ทิศทาง คือ ทิศทางจากอโศก และทิศทางจากบางโคล่เพื่อมุ่งหน้างามวงศ์วาน จากปัญหาดังกล่าว กทพ. จึงได้ดำเนินมาตรการบริหารจัดการจราจรโดยเลือกใช้วิธีการตัดสลับทิศทางการจราจร คือ การ ปิด/เปิด การจราจรทิศทางจากบางโคล่ ทุกๆ 5 นาที โดยมีเจ้าหน้าที่จราจรทำหน้าที่ตัดสลับการจราจรทุก ๆ 5 นาที เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาแถวคอยสะสม และลดการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน ซึ่งผลจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว พบว่า ในช่วงเวลา 16.00 – 19.00 น. ทิศทางจากอโศกมีอัตราการไหลของการจราจรเฉลี่ยมากขึ้นร้อยละ 8.56 และความยาวช่วงชะลอความเร็วลดลงร้อยละ 38 และทิศทางจากบางโคล่มีอัตราการไหลของการจราจรเฉลี่ยมากขึ้นร้อยละ 7.77 และความยาวช่วงชะลอความเร็วลดลงร้อยละ 21.1 ดังนั้น มาตรการการตัดสลับนี้จะช่วยให้ปัญหาแถวคอยสะสมลดลง อัตราการไหลดีขึ้น</p> เกื้อกูล เอี่ยมชูแสง, นันทวรรณ พิทักษ์พานิช, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2298 Sat, 08 Jul 2023 23:27:49 +0700 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการควบคุมสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยกรินคำ โดยใช้วิธีโครงข่ายประสาทเทียม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2119 <p>การจราจรที่ติดขัดเป็นปัญหาสำคัญของเมืองใหญ่ในหลายประเทศ การจัดการระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น การศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network: ANN) ในการเลียนแบบการควบคุมสัญญาณไฟจราจรของตำรวจในช่วงเวลาเร่งด่วน และทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการบริหารการจราจรบริเวณทางแยกรินคำ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้โปรแกรม PTV VISSIM ผลการวิเคราะห์ พบว่า แบบจำลองที่นำเสนอสามารถเลียนแบบการควบคุมสัญญาณไฟจราจรของตำรวจ ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดี ทั้งนี้ ยังคงสามารถพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารการจราจรได้</p> ประมัย ชัยวัณณคุปต์, ทรงยศ กิจธรรมเกษร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2119 Sat, 08 Jul 2023 23:30:17 +0700 A Study of Sam Yan Intersection Traffic Signal Management Optimization https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2133 <p>Traffic lights are essential tools for controlling the flow of traffic at intersections, ensuring smooth and safe movement of vehicles and pedestrians. Nowadays, the traffic volume in cities has significantly increased, resulting in traffic congestion. This congestion causes unnecessary energy waste, air pollution that harms public health, and various social and economic problems. It is crucial to find solutions to traffic congestion for the betterment of the environment and the well-being of city residents. Developing more effective signal timing will result in positive changes in traffic flows and is key to addressing traffic congestion problems. This research project aims to study traffic characteristics and the relationship between traffic signals and traffic flows. Data was collected through field traffic observations over a period of several months and analyzed using Anylogic modeling software, which simulates various traffic scenarios. The study found that altering the green light duration affects overall traffic flow and delay. For instance, optimizing the green light duration based on real-time traffic conditions significantly improved traffic flow and reduced delays at intersections. However, the optimal duration may vary depending on factors such as time of day, traffic volume, and intersection design. The results of this study can be useful for temporary or permanent improvement of traffic signals at intersections and can also serve as valuable information for traffic officers in the area. Future research could explore the impact of other traffic management strategies, such as adaptive signal control technologies and traffic demand management techniques, to further alleviate traffic congestion in cities.</p> สมิทธิภัทร คำประพันธ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2133 Sat, 08 Jul 2023 23:34:29 +0700 เปรียบเทียบ จำนวนและตำแหน่งของการติดตั้งหน้าสัญญาณไฟ บริเวณทางแยกสัญญาณไฟจราจร กรณีศึกษา ทางแยกในประเทศออสเตรเลียและประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2410 <p>รูปแบบ จำนวน และตำแหน่งของการติดตั้งหน้าสัญญาณไฟจราจร (Signal faces) เป็นหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญ ที่จะทำให้การควบคุมการจราจรบริเวณทางแยกสัญญาณไฟ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และควบคุมให้ผู้ขับขี่เคารพกฎจราจรมากยิ่งขึ้น การติดตั้งหน้าสัญญาณไฟจราจรที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นตามคู่มือการติดตั้ง ย่อมส่งผลให้ผู้ใช้ทางเกิดความสับสน ไม่เคารพกฎจราจร และฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรได้ งานศึกษานี้ได้ทำการตรวจสอบและเปรียบเทียบ คู่มือการติดตั้งที่ใช้ในการติดตั้งหน้าสัญญาณไฟจราจร และการติดตั้งจริงบริเวณทางแยก ของประเทศไทยและประเทศออสเตรเลีย โดยพิจารณา จำนวน และตำแหน่งของการติดตั้ง ได้ทำการสำรวจทางแยกสัญญาณไฟฯ ของประเทศไทยและประเทศออสเตรเลีย จำนวน 277 ทางแยก (463 ทิศทาง) และ 94 ทางแยก (168 ทิศทาง) ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าทางแยกขนาดใหญ่ ประเทศออสเตรเลีย 95% ที่มีการติดตั้งจำนวนหน้าสัญญาณไฟมากกว่าข้อคู่มือการติดตั้ง ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ และตำแหน่งการติดตั้งเป็นไปตามคู่มือการติดตั้ง สำหรับประเทศไทย มีเพียง 53% ที่มีจำนวนหน้าสัญญาณตามคู่มือการติดตั้ง ส่วนที่เหลือจะน้อยกว่า ตำแหน่งการติดตั้งส่วนใหญ่พบว่าขาดหน้าสัญญาณไฟหลัก (Primary) บริเวณเส้นหยุด และหน้าสัญญาณไฟรอง (Secondary) บริเวณเกาะกลาง ข้อเสนอแนะ ประเทศไทยควรปรับปรุงคู่มือการติดตั้ง ให้มีความชัดเจนมากขึ้น และควบคุมจำนวนและตำแหน่งการติดตั้งหน้าสัญญาณไฟจราจร อย่างน้อยให้เป็นไปตามคู่มือการติดตั้ง</p> นพคุณ บุญกระพือ, ฐิติมา โพธิพันธ์, ชยาภรณ์ หน่อทอง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2410 Sat, 08 Jul 2023 23:38:20 +0700 การประยุกต์ใช้วิธีการตัดสินใจแบบหลายปัจจัยอย่างผสมผสาน (HMADM) ในการคัดเลือกที่ตั้งของการก่อสร้างท่าเรือบก (Dry port) ที่เหมาะสม: กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2187 <p>ท่าเรือบก เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าสิ่งที่มีความสำคัญที่สนับสนุนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ของประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จ โดยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ลดความเสียหายและการสูญหายของสินค้า ลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ ลดอุบัติเหตุทางถนน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างท่าเรือบก เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน ไม่มีโครงสร้างการตัดสินใจที่ชัดเจนและจะต้องพิจารณาหลากหลายปัจจัย กระบวนการการตัดสินใจเช่นนี้จึงมีความสอดคล้องกับวิธีการตัดสินใจแบบหลายปัจจัย (Multiple attributes decision making (MADM) method) งานวิจัยนี้จะประยุกต์ใช้วิธีการที่ตัดสินใจแบบหลายปัจจัยอย่างผสมผสาน (HMADM) ในการกลั่นกรองพื้นที่ทางเลือกที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือบกในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้ปรัชญาการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการประยุกต์ใช้วิธี AHP เพื่อหาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยที่พิจารณา วิธี FSM เพื่อใช้ในการเปลี่ยนค่าคะแนนที่เป็นคำพูดให้เป็นค่าคะแนนที่เป็นตัวเลข และวิธี TOPSIS เพื่อคำนวณหาค่าคะแนนรวมของแต่ละทางเลือก ปัจจัยหลักที่ใช้พิจารณาประกอบไปด้วย ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบด้านสังคม และการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยได้ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คน ผลจากการวิจัยพบว่า พื้นที่สถานีรถไฟโนนพะยอม ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีความเหมาะสมมากที่สุด</p> อารียา กุลโท, พนกฤษณ คลังบุญครอง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2187 Sat, 08 Jul 2023 23:43:04 +0700 การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่าในการตัดสินใจขนส่งด้วยตนเองหรือจัดจ้าง กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำดื่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2318 <p>บทความนี้เป็นการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อดำเนินงานด้านการขนส่งด้วยตนเองหรือจัดจ้าง โดยมีกรณีศึกษา คือ โรงงานผลิตน้ำดื่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีการพยากรณ์ยอดขายน้ำดื่ม ด้วยวิธีการพยากรณ์ 6 วิธี และเลือกวิธีที่มีความแม่นยำมากที่สุด เพื่อให้ได้ข้อมูลยอดขายในอนาคตนำมาประกอบการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนการขนส่งด้วยตนเองหรือการจัดจ้างบริษัทภายนอก หลังจากนั้นจะทำการเปรียบเทียบความคุ้มค่าด้วยวิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break Even Point) เพื่อเลือกราคาและความคุ้มค่าของรถที่จะใช้ในการขนส่งมาทำการเปรียบเทียบกับการจัดจ้างบริษัทภายนอก ผลจากการพยากรณ์ยอดขายล่วงหน้า 4 ปี พบว่ามียอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ระหว่าง 107,903 – 114,748 แพ็ค โดยใช้วิธีค่าเฉลี่ยน้ำหนักเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) มีความแม่นยำในการพยากรณ์ดีที่สุด หลังจากนั้นนำข้อมูลต้นทุนในการจัดซื้อรถเพื่อขนส่งด้วยตนเองมาเปรียบเทียบกับการจัดจ้างบริษัทภายนอกเพื่อขนส่ง ผลการศึกษา พบว่า จากยอดขายข้างต้นนั้น การจัดซื้อรถเพื่อดำเนินการขนส่งด้วยตนเองใช้ต้นทุนน้อยกว่าการจัดจ้างบริษัทภายนอกถึง 2.35 แสนบาทต่อปี</p> วัฒนวงศ์ รัตนวราห, สุภัชชญา สติภา, ลักขณา สีสงค์, วิภาวี วิมลกลาง , ฟารีดา อายุโย, รัตนาภรณ์ เกษมศรี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2318 Sun, 09 Jul 2023 00:44:29 +0700 การใช้ปัญญาประดิษฐ์ระดับการเรียนรู้เชิงลึกในการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถที่มีความจุ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2025 <p>ปัญหาการจัดลำดับเส้นทางการเดินรถเป็นปัญหาในการหาคำตอบที่ดีที่สุดที่มีความยากประเภท NP-Hard เนื่องจากเป็นปัญหายากต่อการหาชุดคำตอบที่ดีที่สุดภายใต้ เวลาพหุนามหรือเป็นปัญหาที่ใช้ระยะเวลาในการแก้ปัญหานานเพื่อให้ได้ซึ่งมาของชุดคำตอบที่ดีที่สุด ซึ่งจุดประสงค์หลักของการจัดเส้นทางการเดินรถเพื่อให้เกิดระยะทางโดยรวมที่ต่ำที่สุด งานวิจัยนี้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ระดับการเรียนรู้เชิงลึกประเภทโครงข่ายประสาทเทียม ในการเลือกอัลกอริทึมประเภทฮิวริสติกส์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในแก้ปัญหาการจัดลำดับเส้นทางการเดินรถในแต่ละกลุ่ม โดยประกอบไปด้วย 6 อัลกอริทึมดังนี้ 2-Optimize, 2-Approximate, Nearest_2Opt, Improve nearest, Rep improve nearest และ OR tools และสำหรับการจัดกลุ่มโดยใช้การจัดกลุ่มด้วยวิธีการกวาดมุม การจัดลำดับเส้นทางทางเดินของรถ กำหนดให้ใช้รถที่มีขนาดใหญ่ในการจัดลำดับเส้นทางเป็นอันดับแรก และให้รถที่มีขนาดความจุรองลงมาจัดลำดับเส้นทางในลำดับถัดมา อันเนื่องจากการใช้รถที่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดระยะทางที่ต่ำกว่าการใช้รถที่มีขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลมาตรฐานที่มีชุดคำตอบที่ให้ระยะทางต่ำที่สุดและระยะทางที่ได้จากการแก้ปัญหาจากปัญญาประดิษฐ์ จากจำนวนตัวอย่าง 98 ตัวอย่าง โดยเฉลี่ยระยะทางที่ได้จากปัญญาประดิษฐ์มากกว่าระยะทางที่ต่ำที่สุดอยู่ไม่เกินร้อยละ 17 ภายใต้ระดับความเชื่อมั่น 95%</p> ณนน ศลณัฏฐนน, มาโนช โลหเตปานนท์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2025 Sun, 09 Jul 2023 00:48:00 +0700 การกำหนดคุณภาพบริการจัดส่งพัสดุภัณฑ์โดยอยู่บนพื้นฐานของความคาดหวังของผู้ใช้บริการ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2099 <p>อุตสาหกรรมธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์มีแนวโน้มการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนแบ่งการตลาดและกำไร ผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุภัณฑ์จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถเชิงกลยุทธ์การดำเนินงานที่มีความแข็งแกร่ง ทั้งนี้โครงสร้างปัจจัยคุณภาพการให้บริการจัดส่งพัสดุภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้กำหนดนโยบายต้องทราบจากลูกค้าเพื่อปรับปรุงการให้บริการจัดส่งพัสดุภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่เหมาะสมของรูปแบบคุณภาพการให้บริการจัดส่งพัสดุภัณฑ์ จากการสำรวจผู้ใช้บริการจัดส่งพัสดุในพื้นที่นครราชสีมา จำนวน 418 ราย โดยผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสามารถจัดกลุ่มตัวชี้วัดคุณภาพบริการได้ 7 ปัจจัย คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ ด้านบุคคล ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการตลาด ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านราคา ผลการศึกษานี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการจัดส่งพัสดุภัณฑ์และผู้กำหนดนโยบายเพื่อความเข้าใจในมิติที่สำคัญของคุณภาพการบริการจัดส่งพัสดุภัณฑ์ ตลอดถึงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการให้บริการจัดส่งพัสดุภัณฑ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอย่างเหมาะสม ตลอดถึงความยั่งยืนในธุรกิจและผลประกอบการที่ดีในระยะยาว</p> ดิสกุล ชลศาลาสินธุ์, กฤษดา มงคลดี, ไพลิน หาญขุนทด, กฤษฎิ์ ต.ศิริวัฒนา, สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2099 Sun, 09 Jul 2023 00:49:56 +0700 การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าเวชภัณฑ์: กรณีศึกษา น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2306 <p>การวิจัยนี้มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ในคลังสินค้า โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตามประเภทของสินค้าที่เข้าก่อนจะถูกหมุนเวียนออกไปก่อนเพื่อลดความเสียหายจากกรณีสินค้าที่เข้ามาก่อนเสื่อมสภาพหรือหมดอายุ (First In First Out: FIFO) และเทคนิคการศึกษาเวลา (Time Study) ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการคลังสินค้าเวชภัณฑ์ และเสนอแนะแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าเวชภัณฑ์ กรณีศึกษา น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาปัญหาของการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าเวชภัณฑ์ โดยใช้แผนผังก้างปลา (Fishbone diagram) วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาทำให้ทราบปัญหาการจัดการพื้นที่คลังสินค้าเวชภัณฑ์ดังกล่าว อาทิ การจัดเรียงสินค้าไม่เป็นระเบียบ สินค้าเก่าและสินค้าใหม่ถูกจัดวางรวมกัน รวมถึงการจัดวางสินค้าในคลังสินค้าไม่แยกตามประเภทของสินค้า ผลการวิจัยพบว่า การใช้หลักการวิเคราะห์แบบ FIFO ช่วยให้ระยะเวลาการค้นหาและเคลื่อนย้ายสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดแผนผังคลังสินค้ารูปแบบใหม่ทำให้สามารถค้นหาสินค้าได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ระยะเวลาเฉลี่ยในการการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในคลังสินค้าลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6.34 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> สุดนิรันดร์ เพชรัตน์, ณัฐิญา วงละคร, สุรางคณา สุขเดช, นฤมล สูงสุด, โยษิตา โผแพ, อานนท์ จันทรตัง, วิลาสินี กีรกิตติสกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2306 Sun, 09 Jul 2023 00:54:20 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการทำงานของพนักงานส่งอาหาร กรณีศึกษาเขตบางซื่อ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2278 <p>จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผลกระทบกับหลายธุรกิจ ผู้คนไม่กล้าออกจากบ้าน ธุรกิจร้านอาหารที่เหลือเพียงช่องทางการซื้อกลับและการจัดส่งอาหารไปส่งยังที่พักผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ โดยมีพนักงานส่งอาหารเป็นตัวกลางระหว่างร้านอาหารและผู้บริโภค พนักงานส่งอาหารต้องทำงานภายใต้สภาพการทำงานที่มีความเสี่ยงและไม่แน่นอน รายได้ของพนักงานส่งอาหารขึ้นอยู่กับจำนวนเที่ยวในการให้บริการส่งอาหาร เพื่อให้ได้รับรายได้ที่มากที่สุดพนักงานส่งอาหารส่วนใหญ่ จึงมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานมากกว่าการทำงานทั่วไป งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการทำงานของพนักงานส่งอาหาร และเพื่อนำเสนอมาตรการที่จะช่วยเพิ่มสภาพการทำงานที่ดีขึ้นให้แก่พนักงานส่งอาหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานส่งอาหารในเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ด้วยโปรแกรมทางสถิติ (SPSS) ผลการการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการทำงานของพนักงานส่งอาหารมีจำนวน 4 องค์ประกอบ เรียงลำดับจากค่าพิสัยของน้ำหนักองค์ประกอบน้อยไปมากได้ดังนี้ 1) จำนวนวันที่ทำงานบริการส่งอาหารต่อสัปดาห์ 2) จำนวนชั่วโมงในการทำงานบริการส่งอาหารต่อวัน 3) จำนวนเที่ยวการให้บริการส่งอาหารต่อวัน และ 4) รายได้จากการทำงานบริการส่งอาหารต่อวัน และผลงานวิจัยนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการนำเสนอมาตรการที่จะช่วยยกระดับสภาพการทำงานของพนักงานส่งอาหาร ได้แก่ มาตรการการประกันค่าแรงขั้นต่ำ, การลาโดยได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยในการเลิกจ้าง และมาตรการการจัดให้มีสถานที่พักคอยระหว่างรอรับงานบริการส่งอาหาร</p> เมธัส ศรีคำสุข, เทอดศักดิ์ รองวิริยะพานิช Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2278 Sun, 09 Jul 2023 00:56:55 +0700 การคัดเลือกระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยวิธีการวิเคราะห์ทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ และวิธีการจัดลำดับชนิดเข้าศูนย์กลาง: กรณีศึกษา เส้นทางเมืองภูเก็ตถึงหาดป่าตอง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2260 <p>การคัดเลือกระบบขนส่งมวลชนขนาดรองในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตโดยวิธีการวิเคราะห์ทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ (Multi Attribute Utility Theory, MAUT) และวิธีการจัดลำดับชนิดเข้าศูนย์กลาง (Rank Order Centroid, ROC) กรณีศึกษา เส้นทาง เมืองภูเก็ต ถึง หาดป่าตอง มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกระบบขนส่งมวลชนขนาดรองที่เหมาะสมกับเส้นทางดังกล่าว โดยกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งมีการจำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ออกแบบและกำหนดโครงการ 2. ภาคสังคม 3. ผู้ให้บริการ และ 4. ผู้ใช้บริการ ให้คะแนนตัวแปรการตัดสินใจในแต่ละทางเลือก และจัดลำดับความสำคัญของตัวแปรการตัดสินใจตามเกณฑ์ จากนั้นวิเคราะห์คะแนนตัวแปรด้วยวิธี MAUT และวิเคราะห์น้ำหนักตัวแปรตามการจัดลำดับด้วยวิธี ROC ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละกลุ่มได้คัดเลือกระบบขนส่งมวลชนขนาดรองที่เหมาะสมที่สุด และจัดอันดับตัวแปรการตัดสินใจที่สำคัญที่สุด ตามลำดับดังนี้ 1.ผู้ออกแบบและกำหนดโครงการเลือก Tram และความยากในการก่อสร้าง 2.ภาคสังคมเลือก Bus Rapid Transit (BRT) และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 3.ผู้ให้บริการเลือก Electric Vehicle Bus (EV Bus) และต้นทุนโครงการ และ 4.ผู้ใช้บริการ คัดเลือกระบบ Automated Rapid Transit (ART) และการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน เป็นหลัก จากการกำหนดให้ผู้ตอบแบบสอบถามทุกกลุ่มมีความสำคัญเท่ากัน ผลวิเคราะห์การคัดเลือกระบบขนส่งมวลชนขนาดรองที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตสำหรับทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วย (1) ART (2) BRT (3) Tram และ (4) EV Bus ตามลำดับ</p> นางสาวสิรินุช ไชยพิทักษ์, รศ.ดร.เอกชัย ศิริกิจพาณิชย์กูล, รศ.ดร.ชวเลข วณิชเวทิน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2260 Sun, 09 Jul 2023 00:59:00 +0700 การวิเคราะห์ปัจจัยการเข้าร่วมของผู้ใช้บริการรถตู้ร่วมมหาวิทยาลัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1993 <p>การให้บริการรถตู้ร่วมเป็นรูปแบบการให้บริการที่มหาวิทยาลัยควรจัดหาเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางของนักศึกษาและบุคลากรที่ต้องเดินทางไปเรียนระหว่างวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย โดยรูปแบบรถตู้ร่วมควรเป็นรูปแบบการเดินทางที่สะอาด สะดวก คุ้มค่าและมีความยั่งยืน เพื่อที่จะส่งเสริมการให้บริการรถตู้ ข้อมูลทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ตัดสินใจในการกำหนดแผนและนโยบายที่เหมาะสม งานศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้รถตู้ร่วม โดยใช้ข้อมูลการสำรวจด้วยแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่เดินทางระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอแม่ริมจำนวน 200 คน ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการรถตู้ร่วมมหาวิทยาลัยสามารถจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปัจจัยความรู้สึกด้านลบ กลุ่มปัจจัยด้านด้านการให้บริการ กลุ่มปัจจัยความรู้สึกด้านบวก กลุ่มปัจจัยด้านความตั้งใจ กลุ่มปัจจัยการรับรู้ถึงการถูกควบคุม หรือปรับพฤติกรรม และกลุ่มปัจจัยพฤติกรรมในอดีต</p> ศุภณัฐ เสนชุ่ม, อรรถวิทย์ อุปโยคิน, เกรียงไกร อรุโณทยานันท์, เสริมศักดิ์ พงษ์เมษา, สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1993 Sun, 09 Jul 2023 01:05:13 +0700 การวิเคราะห์การให้บริการและราคาที่เหมาะสมของรถตู้ร่วมมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1998 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การให้บริการและราคาที่เหมาะสมของรถตู้ร่วมมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่เป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนด้วยรถตู้ร่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยให้บริการการเดินทางสำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่ต้องเดินทางไปศึกษาและทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ วิทยาเขตเวียงบัว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กับวิทยาเขตศูนย์แม่ริม(สะลวง) อำเภอแม่ริม มีระยะทาง 29 กิโลเมตร โดยการสำรวจข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเฉพาะนักศึกษาจำนวน 196 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมของราคาด้วยแบบจำลอง Kishi’s Logit Price Sensitivity Measurement และความพึงพอใจในการให้บริการ พบว่าอัตราค่าโดยสาร ราคาที่เหมาะสม (Reasonable Price) มีค่า 19.38 บาท ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในด้านการบริการ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 40-50 มีความพึงพอใจปานกลางในด้านความน่าเชื่อถือ/ตรงเวลาของการให้บริการ ด้านความปลอดภัย และด้านความสะดวกสบาย สำหรับความพึงพอใจในด้านราคาอัตราค่าโดยสาร พบว่ากลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจปานกลางและเห็นด้วยกับราคาอัตราค่าโดยสารปัจจุบัน</p> ณัฐพล อรุณสวัสดิ์, อรรถวิทย์ อุปโยคิน, เสริมศักดิ์ พงษ์เมษา, เกรียงไกร อรุโณทยานันท์, สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1998 Sun, 09 Jul 2023 01:07:21 +0700 การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพการบริการ และความพึงพอใจในการใช้บริการรถโดยสารไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยขอนแก่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2341 <p>ปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญที่ได้รับการตระหนักถึงจากรัฐบาลเมืองทั่วโลก ซึ่งการส่งเสริมบริการขนส่งสาธารณะไฟฟ้าเพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสารเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อภาคขนส่งทางถนน และยังช่วยลดปัญหาจากการใช้รถส่วนบุคคล การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้ใช้เกี่ยวกับขนส่งสาธารณะไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการดึงดูดผู้โดยสารให้มาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถโดยสารไฟฟ้า ผ่านการประเมินคุณภาพการบริการของรถโดยสารสาธารณะไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (KST-EV) ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้างจากมาตรวัดคุณภาพการบริการ (SERVQUAL) ร่วมกับการรับรู้ประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้ต่อคุณภาพการบริการและความพึงพอใจ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 611 คน (n=611) และใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) ในการวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการศึกษาพบว่า ความน่าเชื่อถือ การประกันคุณภาพการให้บริการ และการรับรู้ประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อคุณภาพการบริการของรถโดยสารอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด้วย บ่งชี้ให้เห็นว่าการปรับปรุงความตรงต่อเวลาของรถบัส ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลตารางเวลาของรถโดยสาร ช่วงเวลาที่ให้บริการ สิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณป้ายรอรถโดยสาร พฤติกรรมการขับขี่ ความเร็วในการขับขี่ ทักษะการขับขี่ และการเปลี่ยนมาใช้รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า จะช่วยเพิ่มคุณภาพการบริการและความพึงพอใจที่ผู้โดยสารรับรู้ได้ ผลการวิเคราะห์สามารถประยุกต์ใช้เพื่อกำหนดนโยบายเพื่อปรับปรุงคุณภาพบริการของรถโดยสารไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้ดียิ่งขึ้นต่อไป</p> พัฒนาพงศ์ งอสอน, ธเนศ เสถียรนาม, วิชุดา เสถียรนาม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2341 Sun, 09 Jul 2023 01:10:21 +0700 การศึกษาปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อความพึงพอใจและความคาดหวังในการเดินทาง โดยรถรับ-ส่งสาธารณะ ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2346 <p>ปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่นและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยพบปัญหาจราจรติดขัด เนื่องจากมีการเดินทางโดยการใช้รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ส่วนตัวเป็นจำนวนมาก หนึ่งในทางเลือกในการลดปัญหาจราจรติดขัดคือการเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งสาธารณะ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อความพึงพอใจและความคาดหวังในการเดินทางโดยรถรับ-ส่งสาธารณะ ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทำการศึกษาความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการและความคาดหวังจากผู้ไม่ใช้บริการรถรับ-ส่งสาธารณะ และศึกษาทัศนคติต่อการกำหนดพื้นที่เขตควบคุม (Car free zone)/จำกัดการเดินรถ (Car less zone) พร้อมทั้งหาแนวทางและมาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มอุปสงค์ในการใช้บริการรถรับ-ส่งสาธารณะ ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำรวจข้อมูลโดยการสำรวจทางกายภาพและใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 800 ชุด จากผลเบื้องต้นในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ โดยวิธีการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) พบว่ามี 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้และไม่ใช้บริการรถรับ-ส่งสาธารณะ ได้แก่ ด้านการให้บริการ ด้านกายภาพ ด้านเวลาและความน่าเชื่อถือ ด้านความปลอดภัย และด้านความคุ้มค่า จากปัจจัยดังกล่าว พบว่า ปัจจัยด้านกายภาพและด้านเวลาและความน่าเชื่อถือนั้น ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้และไม่ใช้บริการรถรับ-ส่งสาธารณะมากที่สุด และจากการสำรวจทัศนคติต่อการกำหนดพื้นที่เขตควบคุม (Car free zone)/จำกัดการเดินรถ (Car less zone) พบว่าการจัดสรรพื้นที่ให้จอดรถส่วนบุคคล แล้วเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางเป็นรถรถรับ-ส่งสาธารณะ เพื่อเข้ามายังบริเวณพื้นที่เขตควบคุม (Car free zone)/จำกัดการเดินรถ (Car less zone) ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด</p> วัชชิราภรณ์ วงศ์หมั่น, ลัดดา ตันวาณิชกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2346 Sun, 09 Jul 2023 01:17:38 +0700 การศึกษาการดำเนินการจราจรในสถานการณ์ที่มีรถโดยสารสาธารณะไร้คนขับ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2098 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการจราจรบนถนนในกรณีที่มีการใช้รถโดยสารสาธารณะไร้คนขับ โดยทำการวิเคราะห์สภาพจราจรปัจจุบันและสร้างแบบจำลองเพื่อเปรียบเทียบการจราจรระหว่างสถานการณ์ที่มีและไม่มีรถโดยสารสาธารณะไร้คนขับ โดยเก็บข้อมูลการจราจรบนถนนพหลโยธินฝั่งขาเข้ากรุงเทพมหานคร บริเวณป้ายรถโดยสารประจำทางตรงข้ามสวนจตุจักร แล้วสร้างแบบจำลองโดยใช้พฤติกรรมการขับขี่ตามกันของยานพาหนะทั่วไปในโปรแกรม VISSIM ด้วยพารามิเตอร์ของ Wiedemann 99 และใช้พฤติกรรมการขับขี่ของรถโดยสารสาธารณะไร้คนขับด้วยพารามิเตอร์ของ CoEXist All-knowing ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของสภาพการจราจรหลังเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะเป็นระบบไร้คนขับมีแนวโน้มดีขึ้น Queue Delay ลดลงร้อยละ 24 และความเร็วของยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในส่วนของรถโดยสารประจำทาง Queue Delay ลดลงร้อยละ 21 และความเร็วของยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 และทำให้เวลาในการเดินทางของยานพาหนะบนท้องถนนลดลง โดยส่งผลให้ความล่าช้าจากการหยุดของจราจรโดยรวมลดลงถึงร้อยละ 53 จำนวนครั้งการหยุดโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 20 และความล่าช้าลดลงร้อยละ 17 ความล่าช้าจากการหยุดของรถโดยสารประจำทางลดลงร้อยละ 50 จำนวนครั้งการหยุดโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และความล่าช้าลดลงร้อยละ 10</p> อริสรา รุ่งอินทร์, วศิน เกียรติโกมล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2098 Sun, 09 Jul 2023 00:00:00 +0700 National-scale Level of Service Determining of Urban Streets Using Online Traffic Data https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2052 <p>Level of service (LOS) is one of the widely used highway performance measurements. Road authorities can develop road improvement programs for roadways with poor levels of service, such as upgrading the road infrastructure or optimizing traffic signal timings. However, traditional methods of determining the level of service at a regional or national scale could be costly and time-consuming, and they cannot determine the priority of road subsections that require improvement. To implement the challenges of high cost and time-consuming data collection, using online traffic data such as Google Maps can provide real-time and comprehensive traffic information at a relatively low cost and without the effort of collecting large amounts of field data. In this paper, we propose a methodology to determine the level of service of the urban streets of road network at a national scale using online traffic data, i.e., travel speed and free-flow speed with traffic condition from Google Maps. The methodology includes road subsections, data input preparation, and level of service determination. The analysis is divided into three time periods (i.e., AM, MD, and PM) for both weekdays and weekends. The analysis results yielded a level of service from A to F for urban street links in Thailand. The challenges and limitations of this proposed methodology were also discussed in the paper. Road authorities can use the proposed methodology as a screening tool to identify links with the level of service issues at a regional/national scale to improve the roadway network.</p> Saroch Boonsiripant, Suphawut Malaikrisanachalee, Sorawit Supavetch, Akachai Preeda, Monthira Phamornmongkhonchai Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2052 Sun, 09 Jul 2023 01:23:33 +0700 Traffic Volume Forecast Models with High Sensor Data Uncertainty https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2053 <p>Traffic volume forecasting is an important task for the motorway planning and management. The performance of these forecasts is often degraded by the high uncertainty of sensor data, particularly when the data are subject to delay. This study aims to develop methods for imputing and forecasting traffic volume under high uncertainty and delayed data conditions. The objective is to enhance the precision of predictions for traffic volume. This study introduced a new data imputation method as well as a sequence-based machine learning model, namely, Long Short-term Memory (LSTM) model, to handle highly uncertain sensor data. The model's performance is evaluated using Root Mean Squared Error (RMSE), Mean Absolute Error (MAE) and Mean Absolute Percentage Error (MAPE) with a result of 26.67 vehicles, 17.31 vehicles and 9.26% respectively. Specifically, the model demonstrated a high level of sensitivity to delayed data, 17.45% of delayed data, meaning that it was able to accurately adjust its predictions based on changes in data availability and processing times. This suggests that the proposed approach has the potential to significantly improve the accuracy and reliability of traffic volume forecasting in real-world settings, where delays and disruptions are common occurrences. Overall, our study provides strong evidence for the efficacy of the proposed approach in the face of delayed data and highlights its potential as a valuable tool for traffic management and planning in Thailand and beyond.</p> Kuljira Jinakub, Jaruwit Prabnasak, P. Ngamdee, Saroch Boonsiripant Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2053 Sun, 09 Jul 2023 01:32:11 +0700 ความแม่นยำของการพยากรณ์เวลามาถึงโดยแอพพลิเคชั่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2453 <p>การเดินทางสมัยใหม่ มีแอพพลิเคชั่นจำนวนมากช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางได้เป็นอย่างดี การศึกษานี้ให้ความสนใจแอพพลิเคชั่นซึ่งพยากรณ์เวลามาถึงของรถโดยสารประจำทาง ได้แก่ Google Maps และ Moovit ซึ่งไม่เสียค่าบริการ และ ViaBus (Fan) ซึ่งต้องชำระค่าบริการพิเศษ 99 บาทต่อเดือน เพื่อต้องการทราบความแม่นยำในการพยาการณ์ของแต่ละแอพพลิเคชั่น จะได้พิจารณาเลือกใช้งานแอพพลิเคชั่นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษานี้เลือกกลุ่มตัวอย่างรถโดยสารประจำทางสาย 515 เส้นทางระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร โดยเก็บข้อมูล 3 วัน คือ วันอาทิตย์ที่ 13 วันพุธที่ 16 และวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ความแม่นยำของการพยากรณ์เปรียบเทียบระหว่างเวลามาถึงที่ได้มาจากการพยากรณ์โดยแอพพลิเคชั่นทั้งสาม กับเวลามาถึงจริงของรถโดยสารประจำทาง จำนวนรวมทั้งสิ้น 40 เที่ยววิ่ง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ViaBus (Fan) พยากรณ์เวลามาถึงได้แม่นยำมากที่สุด ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 1 นาที ความคลาดเคลื่อนมากที่สุด 6 นาที ทั้งนี้เพราว่า ViaBus (Fan) พยากรณ์เวลามาถึงล่วงหน้าเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น รองลงมา คือ Google Maps และ Moovit คลาดเคลื่อนเฉลี่ยเท่ากับ 6 และ 32 นาที ตามลำดับ แอพพลิเคชั่นทั้งสามมีแนวโน้มจะพยากรณ์รถโดยสารประจำทางจะมาล่าช้ากว่าความเป็นจริง ความเต็มใจจ่ายให้กับ ViaBus (Fan) เพื่อแลกกับความแม่นยำของเวลามาถึงที่เหนือกว่าการใช้แอพพลิเคชั่น Google Maps มีค่าเท่ากับ 0.50 บาทต่อนาที</p> รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ปฐมศิริ, ขนากานต์ อภิวงศ์เจริญ, ทณสรวง วรรณสีปี, นิธิศ นวลกลาง, พัชรพร ใจมัง, พัฒนชัย จิรรัตน์สกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2453 Sun, 09 Jul 2023 01:39:46 +0700 Simulation of Train Scheduling and Evaluation of Passenger Level of Service : A Case Study of Mass Rapid Transit Blue Line https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2481 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;</p> Kanticha Machoo, จิรภัทร ภักดิ์แจ่มใส, ชยุตม์ งามโขนง , บุญชัย แสงเพชรงาม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2481 Sun, 09 Jul 2023 01:44:23 +0700 ลักษณะของผู้ใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้า https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2351 <p>ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าตามการเจริญเติบโตของเมือง ซึ่งจักรยานเป็นพาหนะชนิดหนึ่งที่มีความคล่องตัวสูงสามารถเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าว่าเป็นใครและได้ใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าอย่างไร โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างของผู้เดินทางด้วยรถไฟฟ้าจากแบบสอบถามโดยการสัมภาษณ์ผู้ที่อาศัยรอบสถานีรถไฟฟ้าในระยะไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากสถานี และสัมภาษณ์ที่สถานีรถไฟฟ้า จากการสังเกตลักษณะของผู้ใช้รถไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 68.4 อายุอยู่ในช่วง 21 – 40 ปี มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานในองค์กรและเป็นเจ้าของกิจการ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีรายได้อยู่ในช่วง 20,000 ถึง 30,000 บาท มีจุดประสงค์การเดินทางเพื่อไปทำงาน โดยระยะทางจากที่พักอาศัยไปยังสถานีเฉลี่ย 1.36 กิโลเมตร และผู้ที่ใช้จักรยานเพื่อเชื่อต่อรถไฟฟ้าร้อยละ 52.6 มีรถจักรยานอย่างน้อย 1 คัน มีการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันร้อยละ 81.6 จากการวิเคราะห์ลักษณะของผู้ใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าจะมีลักษณะได้แก่ มีวัตถุประสงค์เพื่อไปทำงาน การมีจักรยานในครอบครอง และใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน</p> ภานุทัต วีระชาติ, รศ.ดร.วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2351 Sun, 09 Jul 2023 01:47:03 +0700 การวิเคราะห์โครงสร้างการตัดสินใจเพื่อหาปัจจัยที่ทำให้รางหักหรือรางร้าว โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2574 <p>องค์ประกอบของโครงสร้างทางที่สำคัญที่สุดนั้น คือ ราง สภาพการชำรุดของรางที่ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงสุดต่อการเกิดอุบัติเหตุรถตกราง ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านการใช้งาน โดยพบรูปแบบชำรุดของรางหักหรือรางร้าว โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process (AHP) เพื่อวิเคราะห์หาน้ำหนักและจัดลำดับความสำคัญของของปัจจัยที่มีผลทำให้รางหักหรือรางร้าว จากการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการซ่อมบำรุงรักษาเป็นปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดรางหักหรือรางร้าวมากที่สุดโดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 35.7 รองลงมาอันดับสอง คือ ปัจจัยเนื่องจากการใช้งานมีค่าน้ำหนักความสำคัญ ร้อยละ 30.4 รองลงมาอันดับสาม คือปัจจัยเนื่องจากการออกแบบมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 18.2 และลำดับสุดท้าย คือปัจจัยภายนอกมีค่าน้ำหนักความสำคัญ ร้อยละ 15.7 และ ค่านํ้าหนักความสำคัญของปัจจัยรองภายใต้ปัจจัยหลักพบว่าปัจจัยรองเนื่องจากการอัดหินโรยทาง (Tamping) ซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยหลักด้านการซ่อมบำรุงรักษามีค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดร้อยละ 20.9 รองลงมาอันดับสอง คือปัจจัยเนื่องจากน้ำหนักผ่านทางต่อปีและสะสมมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 17.30 รองลงมาอันดับสามคือปัจจัยเนื่องจากการกำจัดวัชพืชและการทำความสะอาดหินโรยทางมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 10.10</p> ธวัชชัย ปัญญาคิด Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2574 Sun, 09 Jul 2023 01:51:54 +0700 Development of Model for Predicting the Flexible Pavement Strength https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2343 <p>-</p> ธนพล เทพวงษ์, บุญชัย แสงเพชรงาม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2343 Sun, 09 Jul 2023 02:13:01 +0700 An Evaluation of Stripping Between Asphalt Emulsion and Aggregate Including the Use of Natural Rubber Latex in Asphalt Emulsion https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2361 <p>แอสฟัลต์อิมัลชัน (Asphalt Emulsion) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดประจุไฟฟ้าเป็นบวก (Cationic Asphalt Emulsion) และ ชนิดประจุไฟฟ้าเป็นลบ (Anionic Asphalt Emulsion) โดยประจุไฟฟ้าของแอสฟัลต์อิมัลชันสามารถส่งผลต่อการยึดเกาะระหว่างมวลรวมชนิดต่างๆ เนื่องด้วยมวลรวมแต่ละชนิดก็มีประจุไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป และการนำน้ำยางธรรมชาติมาใช้ผสมกับแอสฟัลต์อิมัลชันจะทำให้ประจุของแอสฟัลต์อิมัลชันเปลี่ยนแปลงไป โดยการยึดเกาะระหว่างแอสฟัลต์และมวลรวมมีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพของถนนแอสฟัลต์ และเพื่อหลีกเลี่ยงการหลุดลอกของผิวถนนซึ่งอาจก่อให้เกิดผิวทางชำรุดก่อนเวลาอันควร งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาและทดสอบค่าการหลุดลอกระหว่างแอสฟัลต์อิมัลชันกับมวลรวมชนิดต่างๆ ที่มีประจุไฟฟ้าแตกต่างกัน โดยใช้การทดสอบ Rolling Bottle Test (RBT) ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อหาค่าร้อยละการครอบคุมของแอสฟัลต์บนผิวของมวลรวม เพื่อประเมินการหลุดลอกระหว่างแอสฟัลต์กับมวลรวม โดยนำแอสฟัลต์อิมัลชันทั้งชนิดประจุบวกและประจุลบ รวมไปถึงการนำยางธรรมชาติในรูปแบบน้ำยางข้นชนิด Pre-vulcanized Latex ผสมเข้ากับแอสฟัลต์อิมัลชันชนิดประจุลบ มาทดสอบกับมวลรวมทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ หินปูนจากจังหวัดชลบุรี หินปูนจากจังหวัดสระบุรี และ หินบะซอลต์จากจังหวัดบุรีรัมย์ การทดสอบใช้เวลาประเมินผลที่ 6 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง โดยจากการทดสอบที่เวลา 24 ชั่วโมง พบว่า หินปูนชลบุรี แอสฟัลต์อิมัลชันประจุบวกมีค่าร้อยละการครอบคุมเฉลี่ยของแอสฟัลต์มากกว่าแอสฟัลต์อิมัลชันประจุลบ ส่วนหินปูนสระบุรี แอสฟัลต์อิมัลชันประจุลบมีค่าร้อยละการครอบคุมเฉลี่ยของแอสฟัลต์มากกว่าแอสฟัลต์อิมัลชันประจุบวก และ หินบะซอลต์บุรีรัมย์ แอสฟัลต์อิมัลชันประจุบวกมีค่าร้อยละการครอบคุมเฉลี่ยของแอสฟัลต์มากกว่าแอสฟัลต์อิมัลชันประจุลบ และจากการผสมน้ำยางธรรมชาติในแอสฟัลต์อิมัลชันประจุลบและประจุบวกสามารถเพิ่มค่าคุณสมบัติด้านการต้านทานการหลุดลอกได้มากขึ้น คำสำคัญ: แอสฟัลต์อิมัลชัน, น้ำยางธรรมชาติ, การหลุดลอก, การยึดเกาะ, การทดสอบ</p> ไม้ไท เกษสุวรรณ์, บุญชัย แสงเพชรงาม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2361 Sun, 09 Jul 2023 02:15:28 +0700 การประเมินการใช้คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุคันทางสำหรับถนนแอสฟัลต์คอนกรีตในกรุงเทพมหานคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2526 <p>การก่อสร้างถนนบนฐานรากดินเหนียวอ่อนของกรุงเทพมหานครมักประสบปัญหาการทรุดตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เนื่องจากน้ำหนักของดินถมมากกว่ากำลังรับแรงเฉือนของดินฐานราก และกระบวนการรวมตัวของดินฐานรากในสภาพชุ่มน้ำ ซึ่งปัจจุบันมีเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพดินฐานราก 2 หลักการคือ การถ่ายน้ำหนักของดินถมลงไปสู่ชั้นที่แข็งแรง และการเร่งการทรุดตัวด้วยน้ำหนักกดทับล่วงหน้า บทความนี้นำเสนอ การใช้คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุทางเลือกในชั้นคันทาง เพื่อลดน้ำหนักของวัสดุที่กระทำบนฐานรากดินเหนียวอ่อน โดยการประเมินคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตมวลเบาประกอบด้วย การทดสอบกำลังรับแรงอัด การทดสอบกำลังรับดึงแยก การทดสอบหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นและค่าอัตราส่วนปัวซอง และการทดกำลังรับแรงอัดแบบไดนามิค เพื่อคัดเลือกความหนาแน่นของคอนกรีตมวลเบาที่เหมาะสมมาใช้ในการประเมินหาความหนาสำหรับการประยุกต์ใช้ในชั้นคันทางของโครงสร้างถนนแอสฟัลต์คอนกรีตผ่านแบบจำลองในโปรแกรม ANSYS จากผลการศึกษาพบว่าความหนาแน่นของคอนกรีตมวลเบาที่ 600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และมีความหนา 0.4 เมตร สามารถลดความเค้น ความเครียด และการทรุดตัวบนชั้นดินฐานรากลงได้ดีกว่าโครงสร้างถนนแบบดั่งเดิม ซึ่งส่งผลให้โครงสร้างถนนมีเสถียรภาพระยะยาวจากการเสียรูปถาวร</p> ธนุตม์ กล่อมระนก, ชลลดา เลาะฟอ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2526 Sun, 09 Jul 2023 02:18:02 +0700 การศึกษาการเก็บเกี่ยวพลังงานโดยใช้ผลเทอร์โมอิเล็กทริกต่อถนนคอนกรีต https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2414 <p>ปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นผลมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือพลังงานสิ้นเปลือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินกระจายไปทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นการเลือกใช้พลังงานทางเลือกจึงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา แม้ยังคงมีอุปสรรคทางด้านเทคนิคและการปฏิบัติในการใช้งานจริงในการดำเนินการของพลังงานทางเลือก ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเก็บเกี่ยวพลังงานจากผลเทอร์โมอิเล็กทริกต่อโครงสร้างคอนกรีตในถนนและปรับปรุงประสิทธิภาพคอนกรีตในถนน เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณสมบัติทางด้านความร้อน ไฟฟ้า และกำลังรับแรงอัดจากการเพิ่มวัสดุผสมซีเมนต์ในคอนกรีต ได้แก่ กราไฟต์ โดยเตรียมตัวอย่างคอนกรีต และคอนกรีตที่มีส่วนผสมของกราไฟต์ในปริมาณร้อยละ 0.5, 1 และ 2.5 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ โดยจำลองสถานการณ์ในตอนกลางวันและตอนกลางคืนของคอนกรีต จากผลการทดสอบชี้ให้เห็นว่าการผสมเพิ่มกราไฟต์ในปริมาณร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ ให้อุณหภูมิสูงสุดบริเวณด้านบน 45.9 องศาเซลเซียส จึงทำให้แรงดันไฟฟ้าที่ได้จากผลเทอร์โมอิเล็กทริกสูงสุด 0.25 V อย่างไรก็ตาม ค่าที่ได้จากด้านข้างมีผลที่แตกต่างกัน ตำแหน่งการติดตั้งตัวแปลงพลังงานมีผลต่อแรงดันไฟฟ้าที่ได้ ดังนั้นความลึกการติดตั้งตัวแปลงพลังงานไว้ใกล้เคียงบริเวณด้านบนคอนกรีตที่ได้รับความร้อนให้ได้มากที่สุด จึงสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> คฑาวุธ วิชัย, เขมิสรา ยอดประเสริฐ, จุฬาลักษณ์ ภิกขุวาโย, ภีม เหนือคลอง, จินตหรา ลาวงศ์เกิด Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2414 Sun, 09 Jul 2023 02:20:34 +0700 การเก็บเกี่ยวพลังงานโดยใช้ผลเทอร์โมอิเล็กทริกต่อวัสดุผิวทาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2443 <p>ในปัจจุบันมีความพยายามในการหาแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อมาแทนที่พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งจากแสงอาทิตย์ น้ำ ลม หรือแหล่งอื่นๆ ซึ่งผลเทอร์โมอีเล็กทริกก็เป็นอีกแหล่งพลังงานที่น่าสนใจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีเทอร์โมอิเล็กทริกต่อวัสดุผิวทาง (แอสฟัลต์) มาเป็นพลังงานทดแทน ในอนาคต และศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติการนำความร้อนของแอสฟัลต์ที่มีวัสดุผสมแตกต่างกัน ซึ่งในการวิจัยนี้ใช้เป็น เส้นใยเหล็กปลายตะขอ (Steel Fiber) และผงแกรไฟต์ (Graphite) ทางคณะผู้วิจัยได้อ้างอิงมาตรฐานงานทางของกรมทางหลวงมาใช้ในการสร้างแบบจำลองผิวทางทำการวิจัยโดยจำลองสภาพแวดล้อมของผิวทางโดยให้ความร้อนเป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมง และหยุดให้พลังงานเป็นเวลา 6 ชั่วโมงเท่ากัน เพื่อจำลอง สภาพแวดล้อมในตอนกลางวันและกลางคืน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลค่าอุณหภูมิ ค่าแรงดันไฟฟ้า และค่ากระแสไฟฟ้า เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าการสร้างพลังงานด้วยเทคโนโลยี เทอร์โมอิเล็กทริกนั้นสามารถเป็นไปได้จริงกับวัสดุผิวทาง (แอสฟัลต์) ซึ่งแบบจำลองผิวทางที่ ทำการผสมด้วยผงแกรไฟต์มีคุณสมบัติด้านการเก็บพลังงานความร้อน (Heat retention)ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ และการเพิ่มเส้นใยเหล็กปลายตะขอจะทำให้การเก็บพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ยังน้อยกว่าแกรไฟต์เล็กน้อย</p> ภูมิกิติ ทำเนียบ, หฤษฎ์ หงษ์ทอง, สุรนารถ สุขี, จินตหรา ลาวงศเ์กิด Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2443 Sun, 09 Jul 2023 02:24:42 +0700 Estimation of Highway Maintenance Cost due to Heavy Truck Traffic https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2372 <p>This article aims to study a predictive model of pavement damage that is suitable for highways in Thailand. The damage results are sufficient to account for long-term maintenance costs. and analyze the cost of damage to cover the cost of maintenance of the road structure caused by heavy trucks in the future The study modeled the paved road structure using the HDM-4 program using the data of Highway 344 Rayong-Ban Bueng. which is located not far from the truck weighing station in the modeling The model is 1 km long and has 4 traffic lanes. The test was performed by using models of all 4 types namely, medium trucks, heavy trucks, semi-trailers and trailers. The damage caused by heavy trucks for 20 years was simulated, namely cracking, ravelling, potholing and rutting. The relationship between structural strength, truck volume and road section It tends to indicate future damage. Therefore, the maintenance model used in the HDM-4 program was considered to estimate the cost of pavement maintenance and quality control over a 20-year period appropriate to the highway.</p> ภาณุพงศ์ เย็นฉ่ำ, บุญชัย แสงเพชรงาม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2372 Sun, 09 Jul 2023 02:29:36 +0700 การคัดเลือกมาตรการ Travel Demand Management (TDM) เบื้องต้นที่เหมาะสม สำหรับพื้นที่ปลอดรถหรือจำกัดการเดินรถ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2238 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกมาตรการจัดการความต้องการเดินทาง (Travel demand management, TDM) เบื้องต้นที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาแนวทางมุ่งสู่พื้นที่ปลอดรถ(Car-free zone) และพื้นที่จำกัดการเดินรถ(Car-less zone) ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นปีการศึกษา พ.ศ.2565 แบ่งเป็น 2 พื้นที่ คือ 1)พื้นที่ปลอดรถ ได้แก่ วิทยาลัยนานาชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น 2)พื้นที่จำกัดการเดินรถ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะบริหารและการบัญชี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม(Focus group discussion) จำนวน 18 คน ผลการสนทนากลุ่มครั้งนี้พบว่า มาตรการเชิงบังคับ(Push) ที่ยอมรับได้และควรมีในพื้นที่ศึกษาคือ 1.Traffic calming 2.มาตรการอนุญาตเฉพาะยานพาหนะพลังงานทางเลือกเข้าพื้นที่ 3.มาตรการเก็บค่าที่จอดรถส่วนบุคคล แต่มาตรการเก็บค่าผ่านทางและลดพื้นที่จอดรถส่วนบุคคลมีความคิดเห็นไปในทางยอมรับไม่ได้และคิดว่ายังไม่ควรมีมาตรการนี้ สำหรับมาตรการเชิงโน้มน้าว(Pull) ให้ความเห็นว่าเป็นมาตรการที่ดี ควรมีในพื้นที่ศึกษาและยอมรับได้ทุกมาตรการ และจากการจัดอันดับมาตรการปรับปรุงShuttle bus ด้วยวิธีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักพบว่านักศึกษาทั้ง 2 พื้นที่ให้ความสำคัญอันดับ 1 ด้านเวลาและความน่าเชื่อถือ อันดับ 2 คือด้านการให้บริการ อันดับ 3 คือด้านกายภาพ และอันดับที่ 4 คือด้านความสะดวกสบาย</p> ณัฐชุตา ไหลหลั่ง, ลัดดา ตันวาณิชกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2238 Tue, 23 Jan 2024 13:26:24 +0700 การทดลองเชิงแนวคิดเกี่ยวกับการลดทอนของคลื่นเนื่องจากระบบรากของต้นโกงกาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1967 <p>เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เข้าสู่ป่าชายเลน พลังงานของคลื่นจะถูกลดทอนลง เนื่องจากสาเหตุที่สำคัญคือ แรงเสียดทานที่พื้น และแรงลากจากลำต้นและรากของต้นไม้ป่าชายเลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบรากค้ำยัน (prop roots) ของต้นโกงกาง (Rhizophora) บทความนี้นำเสนอการทดลองเชิงแนวคิดในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาปัจจัยทางอุทกพลศาสตร์และปัจจัยทางพฤกษศาสตร์ที่มีผลต่อการลดทอนของคลื่นเมื่อเคลื่อนที่ผ่านระบบรากค้ำยันของกลุ่มต้นโกงกางจำลอง การทดลองถูกดำเนินการในรางจำลองคลื่นขนาดความยาว 16 เมตร หน้าตัดกว้าง 60 เซนติเมตร ลึก 80 เซนติเมตร กำเนิดคลื่นแบบปกติ (regular waves) ลำต้นและรากของต้นโกงกางถูกจำลองด้วยเหล็กเส้น ตัวแปรอิสระที่สนใจ ได้แก่ ความชันคลื่น ความลึกน้ำสัมพัทธ์กับความสูงราก ความกว้างของแนวราก ความหนาแน่นของต้นโกงกาง และตัวแปรตาม คือ ร้อยละการลดทอนคลื่น จากการทดลอง พบว่า เมื่อความชันคลื่น ความกว้างของแนวราก และความหนาแน่นของต้นโกงกาง เพิ่มขึ้น ร้อยละการลดทอนคลื่นจะเพิ่มขึ้นด้วย ในขณะที่เมื่อความลึกน้ำสัมพัทธ์กับความสูงรากเพิ่มขึ้น ร้อยละการลดทอนคลื่นจะลดลง การศึกษานี้ยังนำเสนอสมการเพื่อทำนายร้อยละการลดทอนคลื่นจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นด้วย</p> ธรรมนูญ รัศมีมาสเมือง, ฐาปนี หอมจำปา, เอกลักษณ์ โอดสะอาด, พณิชพล วัชรพงศ์ธนสาร, ธนชล อาจทวีกุล, ปฏิพล วงษ์พระจันทร์, สิริชล คามีศักดิ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1967 Sun, 09 Jul 2023 11:03:54 +0700 ผลตอบสนองแบบไม่เป็นเชิงเส้นของท่อลำเลียงของไหลใต้ทะเลเนื่องจากคลื่นทะเลและการไหลภายในท่อ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2144 <p>ท่อลำเลียงของไหลใต้ทะเลเป็นท่อยืดหยุ่นที่ดัดตัวได้ซึ่งใช้ในการผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง โดยใช้ประโยชน์ในการผลิตปิโตรเลียม และการลำเลียงของไหล ซึ่งท่อลำเลียงอาจอยู่ในสภาวะที่มีการเคลื่อนที่มากและมีผลตอบสนองทางพลศาสตร์แบบไม่เป็นเชิงเส้นภายใต้แรงกระทำจากสภาวะแวดล้อม จากการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับท่อลำเลียงของไหลแบบไม่คงมีอยู่จำกัด บทความนี้นำเสนอผลตอบสนองแบบไม่เป็นเชิงเส้นของท่อลำเลียงของไหลใต้ทะเลในสภาวะที่เกิดการเคลื่อนที่มาก โดยสมการการเคลื่อนที่พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการของงานและพลังงาน จากนั้นพัฒนาแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ที่ไม่เป็นเชิงเส้นเพื่อหาคำตอบเชิงตัวเลข โดยในการศึกษานี้ผลตอบสนองแบบไม่เป็นเชิงเส้นของท่อลำเลียงของไหลใต้ทะเลคำนวณจากวิธีการอินทิเกรตตามเวลาด้วยวิธีการของ Newmark ซึ่งงานวิจัยนี้ได้นำเสนอผลกระทบของแอมพลิจูดของคลื่น ความถี่เชิงมุมของคลื่น ความเร็วของกระแสน้ำ และการไหลภายในท่อที่มีต่อผลตอบสนองแบบไม่เชิงเส้นของท่อลำเลียงของไหลใต้ทะเล ซึ่งพบว่าความถี่เชิงมุมของคลื่นมีผลต่อผลตอบสนองของท่อลำเลียงค่อนข้างมากทั้งในการเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากและแนวสัมผัส อย่างไรก็ดี ผลของแอมพลิจูดคลื่นและความถี่เชิงมุมของการไหลภายในไม่ค่อยส่งผลต่อผลตอบสนองของท่อลำเลียงมากนัก</p> ภาคิน วัฒนอังกูร, ธนิยพรรธน์ ศรีมนตริภักดี, การันต์ คล้ายฉ่ำ, ชัยณรงค์ อธิสกุล, สมชาย ชูชีพสกุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2144 Sun, 09 Jul 2023 11:07:37 +0700 Physical Modeling of Flotilla Wave Reducer System for Mitigation of Erosive Beach Profile https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2602 <p>Beach profile evolution is an energetic natural phenomenon which directly affects the coastal community, sometimes in an unfortunate form of shorefront erosion and shoreline retreat. For prevention of such miserable outcomes, a revolutionary patented Flotilla wave reducer system was developed and its physical model was tested here in a laboratory wave flume. Unprotected beach profiles evolving under various wave conditions were first recorded over the time and, more importantly, at their equilibrium states. The Flotilla model was later positioned in the flume before the tests were repeated for finding a new set of beach profiles under its protection. The two sets of resulting profiles were then compared to evaluate the effectiveness of the Flotilla system. As per the results, the following significant features were found in the presence of the structure: 1) reduced overall shorefront erosion due to smaller wave run-up, 2) much flatter sandbar troughs due to less intensive wave breaking, and 3) less pronounced sandbar crests located closer to the shoreline, due to smaller pre-breaking waves. The morphodynamics underlying these features could be very complex, yet the Flotilla structure introduces a straightforward principal alteration in the process. It functions to attenuate incident waves thus allowing milder wave conditions to impose on the beach profiles which, therefore, evolve to an unsurprisingly less erosive pattern at the equilibrium states.</p> CHATCHAWIN SRISUWAN, Pichit Boonlikitcheva, Payom Rattanamanee, Vichit Phanumphai Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2602 Sun, 09 Jul 2023 11:11:31 +0700 การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งของหาดท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2553 <p>ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต มีการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวสูง การสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งจึงส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในอนาคต ปี ค.ศ. 2100 จาก 3 สถานการณ์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในอนาคตจากการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตโดยใช้ระบบการวิเคราะห์เส้นชายฝั่งดิจิตอล, การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลด้วยแบบจำลองบรูน และการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากแบบจำลอง GENESIS โดยวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากภาพถ่ายดาวเทียม ปี ค.ศ. 2008 ถึง 2022 บริเวณหาดท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ หาดในทอน หาดกมลา หาดป่าตอง หาดกะรน และหาดกะตะ ผลการศึกษาพบว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในอดีตอยู่ระหว่าง -1.73 ถึง -0.43 ม./ปี และการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในอนาคตจากข้อมูลในอดีต มีระยะการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยเท่ากับ -82.68 ม., การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล มีระยะการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยในสถานการณ์ SSP1 2.6 และ SSP5 8.5 เท่ากับ -32.66 ม. และ -53.81 ม. ส่วนการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากแบบจำลอง GENESIS มีระยะการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยเท่ากับ 9.98 ม. พบว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งเมื่อพิจารณาเฉพาะปัจจัยในอดีตและจากปัจจัยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล พบว่าในอนาคตพื้นที่ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบกัดเซาะ และหากพิจารณาเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลอง GENESIS โดยไม่คำนึงถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและการเคลื่อนที่ของตะกอนทรายในทิศทางตั้งฉากกับแนวชายฝั่งมีค่าคงที่ พื้นที่ชายฝั่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบทับถมในอนาคต ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นมาตรการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลของหาดท่องเที่ยวในประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป</p> นิรัตติยากร แสนนาใต้, สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2553 Sun, 09 Jul 2023 11:14:02 +0700 การระบุแนวชายฝั่งด้วยชุดเครื่องมือ CoastSat พื้นที่ศึกษาหาดท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2389 <p>พื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายในการใช้ประโยชน์สูง นอกจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและพายุซัดฝั่งที่มีความรุนแรงและความถี่มากขึ้นเนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว การกัดเซาะชายฝั่งตามฤดูกาลเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณา เพื่อป้องกันความเสียหายต่อชายหาด โดยเฉพาะหาดท่องเที่ยวที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้นการระบุแนวชายฝั่ง จึงเป็นตัวแปรสำคัญในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการระบุแนวชายฝั่งคือภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูล การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งของชายหาดท่องเที่ยวฝั่งตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต ด้วยชุดเครื่องมือ CoastSat ที่สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Google Earth Engine และระบุแนวชายฝั่งอัตโนมัติด้วยกระบวนการจำแนกประเภทข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ปี พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2564 ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าชายหาดจำนวน 8 พื้นที่ เผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ด้วยอัตรา -0.96 ถึง -4.10 เมตร/ปี ผลการศึกษาสามารถใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการวางแผนรับมือต่อการกัดเซาะชายฝั่งที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต</p> ภัทรกร นิธินรางกูร, สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2389 Sun, 09 Jul 2023 11:16:55 +0700 การคาดการณ์น้ำท่วมแบบ Near Real Time (NRT) สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ด้วยแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2583 <p>อุทกภัยเป็นสาธารณภัยที่เกิดจากฝนตกหนัก และฝนตกสะสมเป็นเวลานาน ซึ่งสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศน์อย่างมาก สำหรับประเทศไทย ในระยะหลังปัญหาอุทกภัยเริ่มมีความรุนแรงขึ้น มีมูลค่าความเสียหายสูงมากขึ้น โดยอุทกภัยที่มีความสูญเสียมากที่สุด คือ มหาอุทกภัย ปี พ.ศ. 2554 ที่มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท สำหรับการคาดการณ์น้ำท่วมแบบ Near-Real-Time (NRT) จะมีส่วนช่วยในการลดความรุนแรง บรรเทาผลกระทบและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการคาดการณ์น้ำท่วมแบบ Near Real Time ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ด้วยแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก (RRI model) โดยขั้นแรกจะทำการจำลองระดับน้ำ อัตราการไหลในแม่น้ำ และความสูงน้ำท่วมจากข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด เช่น ปริมาณน้ำฝน การระเหย และการปล่อยเขื่อน เป็นต้น จากนั้นนำข้อมูลน้ำฝนพยากรณ์ล่วงหน้า 10 วันของกรมอุตุนิยมวิทยา และผลที่ได้จากขั้นแรกมาใช้ในการคาดการณ์น้ำท่วม ซึ่งกราฟน้ำท่าและแผนที่น้ำท่วมที่ได้จากการคาดการณ์น้ำท่วมแบบ Near Real Time จะถูกนำไปใช้ในการเตือนภัยล่วงหน้าซึ่งอาจช่วยลดความเสียหายจากน้ำท่วมได้ อย่างไรก็ตามแบบจำลอง NRT Flood Forecasting ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่ ซึ่งอาจเกิดจากความคลาดเคลื่อนสะสม ดังนั้นในการศึกษาเบื้องต้นนี้จะนำไปสู่การพัฒนาต่อไปให้มีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น</p> พงษ์สิทธิ์ ผลสมบูรณ์, อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2583 Sun, 09 Jul 2023 11:20:36 +0700 การจำลองสภาพการไหลบนผิวดินที่ได้รับอิทธิพลการไหลเสริมจากเครือข่ายลำน้ำ กรณีศึกษา: ลุ่มน้ำลำน้ำชีส่วนที่ 4 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2006 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือการใช้แบบจำลองทางอุทกวิทยา SWAT วิเคราะห์สภาพการไหลของน้ำผิวดินในลำน้ำชีที่ไหลผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำลำน้ำชีส่วนที่ 4 ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของพื้นที่ลุ่มน้ำชี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพิจารณาถึงอิทธิพลของปริมาณน้ำท่าจากเครือข่ายลำน้ำที่ไหลเติมเข้าสู่ลำน้ำชี ได้แก่ ลำน้ำพองซึ่งอยู่บริเวณพื้นที่ต้นน้ำ และลำน้ำลำปาวในด้านท้ายน้ำ ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง SWAT มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมในการประเมินปริมาณน้ำท่าเมื่อพิจารณาจากค่าดัชนีทางสถิติ R2 NS และ PBIAS ตามลำดับ ภายหลังการเปรียบเทียบกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัดจำนวน 4 สถานี สำหรับการจำลองสภาพปริมาณน้ำท่าที่ไหลเสริมสู่ลำน้ำชีนั้น พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงแบบพลวัตรตามช่วงระยะเวลาที่ศึกษาระหว่าง พ.ศ. 2535 – 2564 (30 ปี) โดยปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี ณ จุดออกของลุ่มน้ำย่อยที่รับน้ำจากลำน้ำพอง ลำน้ำชี และลำน้ำปาว มีค่าเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1,630, 288 และ 853 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ ซึ่งมีค่ารวมใกล้เคียงกับปริมาณน้ำท่าที่ตำแหน่งจุดออกของลุ่มน้ำของพื้นที่ศึกษา ในการวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าจากเครือข่ายลำน้ำแยกเป็นช่วงฤดูฝน พบว่ามีปริมาณน้ำท่าไหลเติมเข้าสู่ลำน้ำหลักประมาณร้อยละ 68 - 70 ในขณะที่ช่วงฤดูแล้งจะลดลงอยู่ระหว่างร้อยละ 29 – 31 ด้วยเหตุนี้ ระเบียบวิธีศึกษาและผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษานี้ จึงคาดว่าสามารถนำไปใช้เพื่อสื่อสาร และทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจในการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำโดยหน่วยงานรับผิดชอบในพื้นที่ลุ่มน้ำชีส่วนที่ 4 และพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นที่มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกัน</p> หริส ประสารฉ่ำ, วินัย เชาวน์วิวัฒน์, อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง, รัตนา หอมวิเชียร, สมพินิจ เหมืองทอง, จิรวัฒน์ ศุภโกศล, โกวิท บุญรอด, กฤษณ์ ศรีวรมาศ, เกวรี พลเกิ้น Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2006 Sun, 09 Jul 2023 11:27:47 +0700 การศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ลุ่มน้ำหมัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2031 <p>ลุ่มน้ำน้ำหมันเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน เป็นประจำเกือบทุกปี โดยสาเหตุเนื่องจากพื้นที่มีความลาดชัน และเป็นพื้นที่ราบลุ่มของลำน้ำหมันประกอบกับลำน้ำหมันเป็นลำน้ำมีขนาดไม่กว้างมากนักเมื่อเกิดฝนตกหนักต่อเนื่องปริมาณน้ำไหลอย่างรวดเร็วทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน จึงเกิดปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีกำลังจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังต้นน้ำ แต่ยังไม่มีเครื่องมือและแผนที่เสี่ยงภัยในการเตือนภัยจากปริมาณฝนที่ตกได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการไหลการเคลื่อนตัว และจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน โดยใช้เกณฑ์ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. 60 ,90,150 และ 200 มม./วัน ในการศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าจากปริมาณฝนด้วยแบบจำลอง MIKE11 (RR) คำนวณสภาพการไหลในลำน้ำด้วย MIKE11 (HD) ผลการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของน้ำหลาก อัตราการไหลในลำน้ำหมันจากต้นน้ำถึงจุดบรรจบลำน้ำเหือง ใช้เวลา 54 ชม. โดยอัตราการไหลสูงสุดที่สถานี 021101 ณ.วันที่ 13 สิงหาคม 2001 เท่ากับ 89 .392 ลบ.ม./วินาที และจุดบรรจบลำน้ำเหือง 168.738 ลบ.ม./วินาที จากนั้นได้ไปจำลองระดับน้ำในลำน้ำที่วันพยากรณ์ล่วงหน้าต่าง ๆ และพยากรณ์ระดับตามเกณฑ์ปริมาณฝน โดยใช้แบบจำลอง MIKE11 (DA) ผลการพยากรณ์น้ำล่วงหน้า 7 วัน โดยค่าความคาดเคลื่อน วันที่ 1 ถึง 3 ให้ความถูกต้องมากที่สุด มีค่า 0.207 0.174 และ 0.157 ม. แล้วจึงนำระดับน้ำพยากรณ์นั้นไปสร้างแผนที่น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน โดยใช้แบบจำลอง MIKE FLOOD พบว่าพื้นที่เสี่ยงภัยจากน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันมีพื้นที่ 6,745, 7,095, 7,884, และ 8,026 ไร่ ตามลำดับ พื้นที่ชุมชน 207, 301, 414, และ 424 ไร่ และสิ่งปลูกสร้าง 212, 309, 410, และ 423 หลังจากผลการจัดทำแบบจำลองสามารถนำแผนที่ไปใช้ในการแจ้งเตือนภัย และวางแผนหรือจัดพื้นที่อพยพ ที่ปลอดภัยได้ทันท่วงที และในอนาคตพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ในการพัฒนาโครงการสามารถนำแผนที่ไปประกอบการพิจารณาในการวางโครงการต่าง ๆของหน่วยงานรัฐได้อีกต่อไปฐได้อีกต่อไป</p> อุเทน เกตุแก้ว, จิระวัฒน์ กณะสุต, ดนย์ปภพ มะณี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2031 Sun, 09 Jul 2023 11:31:47 +0700 การประเมินน้ำท่าในลุ่มน้ำชีและปิงด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2184 <p>การประเมินปริมาณน้ำท่าได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริหารจัดการน้ำ ในบรรดาแบบจำลองที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่นำไปใช้กับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่า แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม (ANN) มีความโดดเด่นในด้านการประเมินปริมาณน้ำท่าโดยพิจารณาจากข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ดังกล่าวนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอ ทำให้มีหลายงานวิจัยได้มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มความแม่นยำของแบบจำลอง ในบางงานวิจัยได้มีการใช้ข้อมูลน้ำท่าในช่วงเวลาก่อนหน้าหรือการแยกองค์ประกอบของน้ำท่า (ปริมาณน้ำที่ไหลเร็วและช้า) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแบบจำลอง ในการศึกษานี้ พวกเราใช้ตัวทำนายปริมาณน้ำฝนก่อนหน้าและปริมาณฝนสะสมที่เป็นตัวแทนขององค์ประกอบของน้ำท่าเพื่อประเมินน้ำท่าในลุ่มน้ำชีตอนบนและลุ่มน้ำปิงตอนบน ผลการประเมินน้ำท่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แบบจำลอง ANN นั้นสามารถประเมินน้ำท่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในลุ่มน้ำชีตอนบน โดยมีค่า NSE เฉลี่ยเท่ากับ 0.87 ในขณะที่ ลุ่มน้ำปิงตอนบนมีค่า NSE เฉลี่ยเท่ากับ 0.75 นอกจากนี้ แบบจำลอง ANN นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบจำลอง NAM ในทางด้านของ NSE R2 RMSE ยกเว้นค่า KGE ที่มีค่าน้อยกว่า</p> ศรัณภัสร์ เอี่ยมอำไพ, เปรม รังสิวณิชพงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2184 Sun, 09 Jul 2023 11:35:26 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำและพื้นที่หน้าตัดการไหลของลำน้ำ ในลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2253 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำและพื้นที่หน้าตัดการไหลของลำน้ำ ในลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพิจารณา ณ ตำแหน่งที่สถานีติดตั้งโทรมาตรวัดระดับน้ำของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล จำนวนทั้งสิ้น 10 สถานี กับการตรวจวัดความเร็วการไหลด้วยเครื่องวัดกระแสน้ำด้วยคลื่นเสียง (Acoustic Doppler Current Profiler, ADCP) ทำการเก็บข้อมูลในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง จากนั้นนำผลการทดสอบในภาคสนามมาวิเคราะห์ความเร็วการไหล อัตราการไหลเฉลี่ยของลำน้ำและข้อมูลพื้นที่หน้าตัดการไหล ถูกนำมาแปรผลเพื่อทำการต่อขยายข้อมูลค่าระดับน้ำและพื้นที่หน้าตัดการไหลของลำน้ำ โดยพิจารณาจากการขึ้น-ลงของระดับน้ำ ในรูปแบบอนุกรมเวลา ผลที่ได้คือ ความสัมพันธ์ของพื้นที่หน้าตัดกับความลึกของการไหลที่ช่วงค่าระดับต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับวัดอัตราการไหลด้วยเทคนิคการประมวลภาพถ่ายวีดีโอร่วมกับข้อมูลระดับน้ำจากสถานีโทรมาตรของ สสน.</p> โกวิท บุญรอด, สมพินิจ เหมืองทอง, หริส ประสารฉ่ำ, วินัย เชาวน์วิวัฒน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2253 Sun, 09 Jul 2023 11:41:56 +0700 ความผันแปรของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2629 <p>ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเป็นข้อมูลสำคัญในการบริหารจัดการน้ำทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผันแปรของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทย ทั้ง 35 แห่ง ในการศึกษาได้ใช้ข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำที่บันทึกไว้โดยกรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างรายปีทั้งปี ฤดูฝนรายปี และฤดูแล้งรายปี ด้วยวิธีทางสถิติทั่วไปและวิธี Mann-Kendall (MK) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างรายปีทั้งปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 5 แห่ง มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 2 แห่ง ในขณะที่ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างในฤดูฝนรายปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 5 แห่ง ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างในฤดูแล้งรายปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 6 แห่ง และมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 4 แห่ง ผลจากการศึกษานี้เป็นข้อมูลสำคัญการการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำอย่างยั่งยืนทั้ง 35 แห่ง และเฝ้าระวังปัญหาในการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งของอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำภูมิพล ขุนด่านปราการชล น้ำอูน และแม่งัดสมบูรณ์ชล</p> เมธาฤทธิ์ แนมสัย, ธเรศ ปาปะกัง, ฤทัยทิพย์ มะมา Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2629 Sun, 09 Jul 2023 11:46:32 +0700 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการพยากรณ์ฝนเรดาร์ระยะสั้นระหว่างเทคนิค S-PROG และ LINDA https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2048 <p>เทคโนโลยีเรดาร์ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ฝนระยะสั้นและสามารถเพิ่มความถูกต้องของระบบการเตือนภัยล่วงหน้าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้เทคนิคการพยากรณ์ฝนระยะสั้นยังต้องการการพิสูจน์ให้มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมของการเกิดฝนและสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ที่พิจารณา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการพยากรณ์ฝนเรดาร์ระยะสั้นระหว่างการใช้เทคนิค S-PROG และ LINDA ที่เหมาะสมต่อพฤติกรรมฝนในพื้นที่รัศมีของเรดาร์สัตหีบ ทั้งนี้ได้คัดเลือกข้อมูลการสะท้อนกลับจากสถานีเรดาร์สัตหีบ ราย 6 นาที สำหรับการพยากรณ์ฝนล่วงหน้าตั้งแต่ 6, 12, …, 120 นาที ภายใต้เหตุการณ์ฝนตกหนักจำนวน 14 เหตุการณ์ในปี พ.ศ.2564 ผลการศึกษาพบว่า เทคนิค S-PROG พยากรณ์กลุ่มฝนในรูปแบบพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยไม่สามารถจำลองกลุ่มฝนขนาดเล็กได้ ในขณะที่เทคนิค LINDA สามารถพยากรณ์รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของฝนได้หลากหลายทั้งการรวมตัว การสลายตัว และสามารถจับตำแหน่งศูนย์กลางพายุของกลุ่มฝนได้ค่อนข้างดี เมื่อพิจารณาดัชนีประเมินความแม่นยำของการพยากรณ์จำนวน 2 ดัชนี ได้แก่ Critical Success Index (CSI) และ Correlation พบว่าเทคนิค LINDA ให้ความแม่นยำเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณได้ดีกว่า S-PROG โดยค่าดัชนี CSI ของเทคนิค S-PROG และ LINDA จะอยู่ในช่วง 0.87 – 0.45 และ 0.81 – 0.42 และค่าดัชนี Correlation ของเทคนิค S-PROG และ LINDA จะอยู่ในช่วง 0.85 – 0.15 และ 0.89 – 0.18 ตามลำดับ</p> รัชชานนท์ คุณวิเศษกุล, มลฑล เมธาประยูร, พรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2048 Sun, 09 Jul 2023 11:49:05 +0700 การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในลุ่มน้ำห้วยสามหมอด้วยดัชนีความแห้งแล้งตามฤดูกาลมรสุม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2069 <p>ห้วยสามหมอเป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำชีตอนบนในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ปัญหาวิกฤตของลุ่มน้ำนี้คือการขาดแคลนน้ำจนเกิดความแห้งแล้งเนื่องจากหลายสาเหตุ อาทิ ปริมาณฝนมีปริมาณน้อย แหล่งกักเก็บน้ำไม่เพียงพอหรือค่อนข้างตื้นเขิน และดินอุ้มน้ำได้น้อย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยดัชนีความแห้งแล้งตามฤดูกาลในลุ่มน้ำห้วยสามหมอ ซึ่งเป็นการสำรวจความแห้งแล้งทางด้านเกษตรกรรมที่สามารถวิเคราะห์การขาดแคลนน้ำอันมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชใช้น้ำฝนที่ปลูกในฤดูมรสุม โดยรวบรวมข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลอุทกวิทยา และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งจากข้อมูลปริมาณน้ำฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาจำนวน 4 สถานี ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยสามหมอ ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ สถานีอำเภอโคกโพธิ์ไชยประสบกับระดับแล้งมาก คิดเป็น 42% ของความถี่การเกิดระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ทั้งหมด รองลงมาคือ สถานีอำเภอภูเขียว คิดเป็น 42% ของความถี่การเกิดระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ทั้งหมด ในส่วนของช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนั้น สถานีอำเภอคอนสวรรค์ ประสบกับระดับแล้งมากถึง 44% ของความถี่การเกิดระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ทั้งหมด รองลงมาคือสถานีอำเภอภูเขียว คิดเป็น 22% ของความถี่การเกิดระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ทั้งหมด</p> ชิณรภัธ ศรีเนตร, อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง, หริส ประสารฉ่ำ, กิตติเวช ขันติยวิชัย, รัตนา หอมวิเชียร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2069 Sun, 09 Jul 2023 11:55:10 +0700 การใช้ข้อมูลอากาศจาก Climate Forecast System Reanalysis ประเมินปริมาณน้ำท่าและตะกอน ในลุ่มน้ำยมตอนบน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2191 <p>การใช้ข้อมูลสภาพอากาศเพื่อการประเมินปริมาณน้ำท่าและตะกอนด้วยแบบจำลองแบบจำลอง Soil and Water Assessment Tool (SWAT) นั้นต้องการข้อมูลภูมิอากาศหลากหลายตัวแปร ซึ่งข้อมูลตรวจวัดดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมและครบถ้วนโดยเฉพาะลุ่มน้ำขนาดเล็ก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณปริมาณน้ำท่าและปริมาณตะกอนในลุ่มน้ำยมตอนบน ด้วยแบบจำลอง SWAT โดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศจาก Climate Forecast System Reanalysis (CFSR) และใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากสถานีในพื้นที่ลุ่มน้ำ การสอบเทียบและการทวนสอบปริมาณน้ำท่าของแบบจำลองที่สถานีวัดน้ำท่า Y.20 Y.24 Y.31 และ Y.36 ในช่วงปีน้ำ 2534-2563 ได้ค่า PBIAS ทั้ง 4 สถานี มีค่าอยู่ในช่วง -34.43-1.06 และ -18.3-1.01 ค่า R2 มีค่าอยู่ในช่วง 0.65-0.87 และ 0.59-0.86 ค่า NSE มีค่าอยู่ในช่วง 0.25-0.86 และ 0.32-0.85 สำหรับการสอบเทียบและการทวนสอบตามลำดับ ส่วนการสอบเทียบและการทวนสอบปริมาณตะกอนแขวนลอยที่สถานี Y.20 ในช่วงปี 2552-2563 และY.24 ในช่วงปี 2540-2563 ค่า PBIAS มีค่าอยู่ในช่วง -4.23-0.69 และ -1.74-30.00 ค่า R2 มีค่าอยู่ในช่วง 0.59-0.83 และ 0.59-0.64 ค่า NSE มีค่าอยู่ในช่วง 0.57-0.78 และ 0.57-0.82 ของการสอบเทียบและการทวนสอบตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าความเชื่อมั่นที่เชื่อถือได้ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ข้อมูลจาก CFSR เป็นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้กับลุ่มน้ำขนาดเล็กที่ขาดแคลนข้อมูลภูมิอากาศสำหรับแบบจำลอง SWAT ได้เป็นอย่างดี</p> จิรวัฒน์ ศุภโกศล, กฤษณ์ ศรีวรมาศ, โกวิท บุญรอด, พานทอง ศุภโกศล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2191 Sun, 09 Jul 2023 12:02:10 +0700 การจำลองเหตุการณ์อุทกภัยเนื่องจากธารน้ำแข็งแตกรัฐอุตตราขัณฑ์ อินเดีย โดยแบบจำลอง iRIC-Nays2DFlood https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2304 <p>ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ธารน้ำแข็งของเทือกเขานันทาเทวีเกิดการพังทลาย ในรัฐอุตตราขัณฑ์ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในแม่น้ำ Dhauliganga และแม่น้ำ Rishi Ganga สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินและโครงสร้างพื้นฐานของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ท้ายน้ำ ดังนั้นงานวิจัยในครั้งนี้มุ่งเน้นในการนำโปรแกรมแบบจำลองทางชลศาสตร์ iRIC-Nays2DFlood ที่ได้รับการพัฒนาจาก Foundation of Hokkaido River Disaster Prevention Research Center ประเทศญี่ปุ่น มาใช้ในการทดสอบและจำลองเหตุการณ์น้ำท่วมในแม่น้ำ Dhauliganga และแม่น้ำ Rishi Ganga ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ พบว่าโปรแกรมแบบจำลอง iRIC-Nays2DFlood สามารถลอกเลียนแบบและแสดงพฤติกรรมทางชลศาสตร์ได้คล้ายคลึงกับเหตุการณ์น้ำท่วมในแม่น้ำ Dhauliganga และแม่น้ำ Rishi Ganga ได้จริง ถึงแม้ว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลและไม่มีข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หรือข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยาก็ตาม นอกจากนี้ผลที่ได้รับจากโปรแกรมแบบจำลอง iRIC-Nays2DFlood สามารถนำมาสร้างภาพเคลื่อนไหวที่เข้าใจได้ง่าย และนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการประเมินผลกระทบและแนวทางการป้องกันของเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้</p> นางสาวชลลดา ยวงใย, สนิท วงษา Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2304 Sun, 09 Jul 2023 12:07:31 +0700 การประเมินพื้นที่น้ำท่วมในลุ่มน้ำลำพระเพลิงด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2543 <p>ลุ่มน้ำลำพระเพลิงเป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ต้นน้ำในจังหวัดนครราชสีมา เมื่อเกิดฝนตกหนักทำให้หลายครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ เช่น ในปี 2553 และปี 2563 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และการอยู่อาศัยของประชากรในพื้นที่อย่างมาก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ณ คาบการเกิดซ้ำ 5 10 25 50 และ 100 ปี ด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD ซึ่งมีแบบจำลองย่อยคือ แบบจำลอง MIKE NAM เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณน้ำท่าที่เกิดขึ้นจากข้อมูลน้ำฝน แบบจำลอง MIKE-HD เพื่อคำนวณหาการไหลของแม่น้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และแบบจำลอง MIKE 21 เพื่อจำลองสภาพการไหลของน้ำผิวดินแบบอิสระในสองมิติ โดยใช้ข้อมูลรายวันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 และผลการสอบเทียบตรวจพิสูจน์จำลองทั้งหมดพบว่า แบบจำลอง MIKE NAM มีค่า WBL ระหว่าง 1.0% - 12.3% และค่า R2 ระหว่าง 0.772 - 0.849 แบบจำลอง MIKE-HD มีค่า NSE ระหว่าง 0.906 – 0.916 และค่า R2 ระหว่าง 0.918 - 0.927 จากผลการศึกษาพบว่า พื้นที่น้ำท่วม ณ คาบการเกิดซ้ำ 5 10 25 50 และ 100 ปี เท่ากับ 25.53, 37.28, 48.42, 55.63, 61.83 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.10, 1.60, 2.08, 2.39, 2.66 ของพื้นที่ลุ่มน้ำลำพระเพลิง ตามลำดับ ซึ่งตำบลตูม อำเภอปักธงชัย มีพื้นที่น้ำท่วมสูงที่สุดของทุกคาบการเกิดซ้ำ โดยมีพื้นที่น้ำท่วมเท่ากับ 4.60, 6.35, 7.68, 8.58, 9.56 ตารางกิโลเมตร ณ คาบการเกิดซ้ำ 5 10 25 50 และ 100 ปี ตามลำดับ</p> ธนภัทร อุทารสวัสดิ์, ปรียาพร โกษา, ธนัช สุขวิมลเสรี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2543 Sun, 09 Jul 2023 12:09:58 +0700 การศึกษากระบวนการพัฒนา และแนวทางการบริหารจัดการระบบประปาน้ำบาดาลที่เหมาะสมกับพื้นที่ ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2261 <p>พื้นที่ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ไม่สามารถเก็บกักน้ำผิวดินไว้ให้เพียงพอต่อความต้องการอุปโภค-บริโภค ดังนั้นน้ำบาดาลจึงสามารถเข้ามาแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำดังกล่าวได้ ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบโครงการระบบประปาน้ำบาดาล ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่เหมาะสมในพื้นที่ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม และออกแบบระบบประปาน้ำบาดาลให้มีแรงดันที่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ EPANET เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบโครงการระบบประปาน้ำบาดาล คือ โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภค-บริโภคขนาดเล็ก โดยมีส่วนประกอบหลัก คือ บ่อน้ำบาดาล หอถังสูงขนาดความจุ 80 ลูกบาศก์เมตร และท่อกระจายน้ำ โดยรูปแบบโครงการจะกระจายไปตามการตั้งฐานที่อยู่อาศัยหรือกลุ่มผู้ใช้น้ำที่มีความต้องการใช้น้ำแต่ละพื้นที่ในตำบล เทียบกับโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภค-บริโภค ขนาดใหญ่ ซึ่งมีส่วนประกอบหลักคือบ่อน้ำบาดาล หอถังสูงขนาดความจุ 300 ลูกบาศก์เมตร ร่วมกับถังเหล็กเก็บน้ำขนาดความจุ 2,000 ลูกบาศก์เมตร และท่อกระจายน้ำ โดยรูปแบบโครงการ จะมีที่ตั้ง ณ จุดที่มีความเหมาะสมเพียงจุดเดียว และกระจายน้ำให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ในตำบล จากผลการศึกษาพบว่าโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภค-บริโภค ขนาดใหญ่ เพียงจุดเดียวสามารถกระจายน้ำได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ในตำบลโดยมีความคุ้มค่าในการดำเนินการมากกว่าโครงการขนาดเล็ก คำนวณจากราคาการเจาะบ่อน้ำบาดาล มูลค่าการก่อสร้างโครงการ การออกแบบระบบกระจายน้ำ และอัตราค่าการใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโครงการตลอดอายุการใช้งาน อย่างไรก็ตามความคุ้มค่าดังกล่าวเป็นเพียงผลการเปรียบเทียบในพื้นที่ตำบลลาดใหญ่เท่านั้น ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพพื้นที่และความต้องการน้ำอุปโภค-บริโภคของประชากรที่แตกต่างกัน</p> วิชญ์ธาร หนูนุ่ม, ณัฐ มาแจ้ง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2261 Sun, 09 Jul 2023 12:13:18 +0700 Flood Damage Assessment on Rice Field: Case Study for Cambodia https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2232 <p>Flood is the primary natural hazard occurrence in Cambodia causing damage in both direct and indirect on majorities of development factor. Due to inadequate flood preparedness and mitigation, the damage estimation of flooding during historical extreme flood occurrences revealed significant damage to rice fields. The objective of this study was to estimate the damage value of rice over the whole country of Cambodia during the flood event in 2020. The flood map data in October 2020 through the World Food Program was used and overlaid with rice field map to generate rice damage map. The value of rice damage was estimated based on flood damage curve and average value of rice, showing value with different damage levels including 25%, 50%, and 100% damage. The resulting damage area was compared with government field-scale investigation and shown 66% consistency. From the result of this study are expected to support decision-making for better understanding of flood impact on rice to implement rice monitoring and update for planning to help mitigate damage impact and managing the restoration program over flood-vulnerable area after disaster.</p> Dydarong Ket, Pongsak Suttinon Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2232 Sun, 09 Jul 2023 12:15:40 +0700 การบริหารจัดการน้ำท่วมในพื้นที่ปิดล้อมโครงการมหาชัย-สนามชัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2245 <p>พื้นที่ปิดล้อมโครงการมหาชัย-สนามชัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งระบายน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ออกสู่ทะเลโดยเร็วที่สุดโดยใช้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่โครงการอันประกอบด้วยประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำ โดยแก้มลิงจะทำหน้าที่รวบรวมรับน้ำและดึงน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนมาเก็บไว้ในคลองมหาชัย-สนามชัยซึ่งเป็นคลองหลักในการรับน้ำของโครงการหลังจากนั้นจะสูบลงแม่น้ำท่าจีนเพื่อระบายน้ำออกสู่ทะเลอ่าวไทยต่อไป ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการน้ำท่วมในพื้นที่ปิดล้อมโครงการมหาชัย-สนามชัย ให้สามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากน้ำทะเลหนุนสูงและระดับน้ำในคลองมหาชัย-สนามชัยเพิ่มมากขึ้นไหลเข้าท่วมชุมชนตามแนวริมตลิ่งโดยเฉพาะชุมชนบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในการวิจัยนี้ได้จำลองสภาพการไหลด้วยแบบจำลอง Mike 11 Hydrodynamic โดยกำหนดจุดควบคุมด้านเหนือน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองสนามชัยและจุดควบคุมด้านท้ายน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองมหาชัย จากการสอบเทียบและตรวจสอบแบบจำลองพบว่าค่า Manning’s n ที่เหมาะสมในคลองมหาชัย-สนามชัยเท่ากับ 0.03 ซึ่งให้ค่า RMSE อยู่ที่ 0.26 เมตร และค่า R2 อยู่ที่ 0.97 จากแบบจำลองพบว่าระดับน้ำในคลองมหาชัย-สนามชัยโดยเฉลี่ยตลอดเส้นลำน้ำอยู่ที่ 1.1 - 1.8 ม.รทก. เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาน้ำในคลองมหาชัย-สนามชัยล้นระดับตลิ่งและไหลเข้าท่วมชุมชนจึงมีมาตรการแนะนำเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีก่อสร้างผนังกั้นน้ำที่ระดับความสูง 1.80 ม.รทก. โดยเป็นความสูงที่พิจารณารอบปีการเกิดซ้ำที่ 100 ปี ตลอดแนวตลิ่งริมคลองมหาชัย-สนามชัยเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน</p> ณัฐชัย รุ่งโรจน์วิทยกุล, นภาพร เปี่ยมสง่า, จิระวัฒน์ กณะสุต Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2245 Sun, 09 Jul 2023 12:20:36 +0700 ผลกระทบการก่อสร้างเขื่อนต่อน้ำเค็มและทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำบางปะกงตอนล่าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2312 <p>การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลส่งผลทำให้หลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยได้รับผลกระทบเนื่องจากปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็มสูงขึ้นไปบริเวณปากแม่น้ำ ได้สร้างปัญหาอย่างมากต่อการบริหารจัดการน้ำอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และน้ำอุปโภค-บริโภค สำหรับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางชลศาสตร์และประเมินผลกระทบของการรุกตัวของน้ำเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกงตอนล่างเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนโดยใช้แบบจำลอง MIKE11 ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองทางชลศาสตร์มีค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระของท้องน้ำ n = 0.025-0.030, R2 = 0.90-0.99, IA = 0.71-0.98, RMSE = 0.12-0.28 กับแบบจำลองการพัดพาและแพร่กระจายมีค่าสัมประสิทธิ์การแพร่กระจาย Df = 100-1,400 m2/s, R2 = 0.80-0.99 IA = 0.54-0.98, RMSE = 0.16-0.31 เมื่อประยุกต์ใช้ศึกษาผลกระทบของการสร้างเขื่อนและการผันน้ำไปโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ พบว่าน้ำเค็มรุกเข้าไปในบริเวณปากแม่น้ำเป็นระยะทางเพิ่มมากขึ้นกว่าในปัจจุบันและอาจจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางเกษตรกรรมกับความหลากหลายทางชีวภาพในอนาคต ซึ่งผลจากการวิจัยได้นำไปประยุกต์ใช้เพื่อประเมินพื้นที่ความเสี่ยงน้ำเค็มเพื่อใช้เป็นแนวทางกับวางแผนการปรับตัวสำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกงตอนล่างได้</p> สนิท วงษา, สุนารี เสือทุ่ง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2312 Sun, 09 Jul 2023 12:25:31 +0700 การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำปิง น่าน และเจ้าพระยา เชิงกลยุทธ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2367 <p>ประเทศไทยประสบปัญหาด้านอุทกภัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมักจะเกิดในช่วงที่มีฝนตกหนักและพายุถล่ม ส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นและเข้าท่วมบ้านเรือนจนเสียหาย รวมถึงพื้นที่เชิงภูมิศาสตร์ของจังหวัดต่าง ๆ เป็นพื้นที่ราบลุ่มและเป็นทางผ่านของน้ำจึงยากที่จะหลีกเลี่ยงอุทกภัยได้ ในปี 2554 ประเทศไทยประสบมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่เกือบทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ได้นำโปรแกรมแบบจำลองทางชลศาสตร์ Nays2DFlood มาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางชลศาสตร์ของลุ่มน้ำปิง น่าน และเจ้าพระยา และเสนอแนวทางในการจัดการพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงเสนอให้มีการขุดลอกคลองท่อทองแดงและผันน้ำจากแม่น้ำปิงตอนล่างไปยังฝั่งตะวันออกสู่คลองแม่ระกา จังหวัดตาก ในพื้นที่ลุ่มน้ำน่านเสนอให้มีการขุดลอกคลองบางระกำและผันน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ ปรับปรุงระบบระบายน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเสนอให้มีการจัดทำแก้มลิง ทุ่งรับน้ำ ขุดลอกคลอง และปรับปรุงคลองระบายน้ำ จัดทำที่พักน้ำฝน ยกระดับถนน การผันน้ำ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์เพื่อใช้วางแผนในการจัดการพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในอนาคตได้</p> กาญจนาภรณ์ บุญยัง, วราพร ดวนจันทึก, สนิท วงษา Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2367 Sun, 09 Jul 2023 12:28:19 +0700 Flood Damage Map and Economic Loss Assessment by Google Earth Engine in Case of Rice in 2021 of Ayutthaya Province, Thailand https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2049 <p>The central region of Thailand is the most economical flow. Nevertheless, Ayutthaya Province has suffered from flood events annually. Near real-time flood mapping has potential for flood damage reduction measurement. This flood map is generated, using Google Earth Engine (GEE) Cloud-based by gathering the global surface imageries from Sentinel-1 synthetic aperture radar (SAR) by analyzing the pre- and post-flooded images, with land use dataset from MODIS and digital elevation model (DEM) from WWF's HydroSHEDS to determine the affected areas and to evaluate direct-damage of rice in term of economic loss. This research concentrates on the damage matters to rice only. In 2021, a storm named Dian-Mu was the worst that impacted the central region of Thailand. As a result, Ayutthaya flooded over 475,512.36 RAI, and we estimated rice would be lost 1.877 billion THB.</p> Souliya Keola, Pongsak Suttinon Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2049 Sun, 09 Jul 2023 12:31:04 +0700 การศึกษาศักยภาพโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงหล่ม จังหวัดนครสวรรค์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2273 <p>โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงหล่ม มีพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ 27.58 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในตำบลบ้านไร่และตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,139 มิลลิเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีความลาดเอียง แหล่งน้ำบึงหล่มเป็นบึงขนาดใหญ่สามารถรองรับปริมาณน้ำหลากจากทุ่งรับน้ำในฤดูฝน ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำบึงหล่ม ทั้งการอุปโภคบริโภค และการเกษตร รวมถึงการประปาส่วนภูมิภาค ที่ได้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำบึงหล่มเป็นหลัก ปัจจุบันบึงหล่มมีหลายหน่วยงานเข้ามาอนุรักษ์และฟื้นฟูแต่ทำได้เพียงบางส่วนทำให้ยังคงมีสภาพเสื่อมโทรม ส่วนในฤดูแล้งปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชาชน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งน้ำบึงหล่มที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับบรรเทาปัญหาภัยแล้ง โดยใช้แบบจำลอง MIKE HYDRO BASIN ในการจำลองระบบโครงข่ายอ่างเก็บน้ำเพื่อวิเคราะห์สมดุลน้ำในระบบฯ เพื่อเสนอแนะแนวทางรูปแบบในการบริหารจัดการแหล่งน้ำบึงหล่ม ในการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง พบว่าการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยในฤดูแล้ง การเพิ่มช่องทางน้ำเข้าบึง และเพิ่มปริมาณเก็บกักของบึงหล่มโดยการขุดลอกจะสามารถช่วยให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการทางด้านเกษตรกรที่สูงขึ้นได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต</p> ธวัช เหล่าโรจน์ทวีกุล, จิระวัฒน์ กณะสุต, เปรม รังสิวณิชพงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2273 Sun, 09 Jul 2023 12:34:08 +0700 การวิเคราะห์การจัดสรรน้ำ กับความคุ้มทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์ การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลและการส่งน้ำระยะไกลขนาดใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำวิกฤตภัยแล้ง ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด และ ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2227 <p>จากสถานการณ์ภัยแล้งที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยพบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี ส่งผลให้น้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ได้อย่างเพียงพอ ทำให้การวิเคราะห์การจัดสรรน้ำและวิเคราะห์ความคุ้มทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นในการวัดผลการลงทุนในการจัดหาน้ำของโครงการต่างๆที่นำมาแก้ไขปัญหาโดยพื้นที่ที่นำมาวิเคราะห์ ได้แก่ พื้นที่ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด และ พื้นที่ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี โดยทั้งสองพื้นที่มีความแตกต่างกันทางด้านภูมิประเทศและจุดประสงค์การใช้น้ำ โดยพื้นที่ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด มีโครงการประเภทส่งน้ำระยะไกล เพื่อให้ประชาชนใช้น้ำอุปโภค-บริโภค รวมถึงส่งน้ำไปยังโรงพยาบาล โดยพื้นที่นี้จะทำการวิเคราะห์น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค รวมถึงน้ำที่ส่งไปยังโรงพยาบาลเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยปริมาณน้ำที่ได้จะมีปริมาณที่น้อยกว่าที่ประเมินไว้ก่อนทำโครงการ เนื่องจากมีการรุกล้ำของน้ำเค็มเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวของประชากรมากขึ้น โดยปัจจุบันเป็นเวลา 3 ปี หลังจากทำโครงการ ทำให้ต้องมาวิเคราะห์การจัดสรรน้ำและความคุ้มทุนของโครงการอีกครั้ง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ใกล้เคียงได้ พื้นที่ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโครงการที่มีการจัดสรรน้ำให้กับประชาชนทั้งน้ำอุปโภค-บริโภค รวมถึงน้ำชลประทาน โดยจะทำการวิเคราะห์น้ำชลประทานด้วยโปรแกรม WUSMO เพื่อนำมาผลมาวิเคราะห์การจัดสรรน้ำทั้งระบบด้วยโปรแกรม EPANET ซึ่งจะทำการวิเคราะห์เช่นนี้ทั้งสองพื้นที่ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้คือ การจัดสรรน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเพียงพอในแต่ละกิจกรรม ซึ่งจะต้องมีการจัดสรรที่พิจารณาทั้งด้านเวลาการส่งน้ำและปริมาณน้ำ เพื่อให้โครงข่ายท่อส่งน้ำสามารถส่งได้อย่างเพียงพอ โดยแนวทางการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ทราบถึงการจัดสรรน้ำและการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อประชาชน สำหรับพื้นที่ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่อัตราค่าน้ำที่ 19 บาทต่อลูกบาศก์เมตร จะได้ค่า B/C เท่ากับ 1.04 และ EIRR เท่ากับร้อยละ 6.48 และพื้นที่ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี อัตราค่าน้ำที่ 15 บาทต่อลูกบาศก์เมตร จะได้ค่า B/C เท่ากับ 1.01 และ EIRR เท่ากับร้อยละ 6.16</p> พุธิตา ตั้งกิจวนิชกุล, ณัฐ มาแจ้ง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2227 Sun, 09 Jul 2023 12:37:33 +0700 การวิเคราะห์งบประมาณประเทศไทยด้านการลงทุนด้านน้ำภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ กรณีศึกษาปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2142 <p>การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินภารกิจเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติิ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเทศไทยได้กำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย 3,185,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.09 ของผลิตภัณฑ์์มวลรวมในประเทศ น้ำเป็นประเด็นที่สำคัญที่ถูกบรรจุอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติิ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ผลการวิเคราะห์งบประมาณประเทศไทยด้านการลงทุนด้านน้ำพบว่า งบลงทุนด้านน้ำได้รับงบประมาณ 110,751 ล้านบาทหรือ 22.5 % ของงบลงทุนทั้งหมด โดยมีเป้าหมายคือ ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านน้ำเพิ่มขึ้น การเพิ่มผลิตภาพการใช้น้ำ การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ งบลงทุนด้านน้ำประกอบด้วย (1) งบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จำนวน 54,100 ล้านบาท หรือ 48.8 % ของการลงทุนด้านน้ำทั้งหมด และ (2) งบประมาณนอกแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำประมาณ 51.2 % ของการลงทุนด้านน้ำทั้งหมด ข้อเสนอแนะเชิงนโนบายคือ ประเทศไทยต้องการระบบติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์เพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย</p> ธนพล อำไพ, พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2142 Sun, 09 Jul 2023 12:41:46 +0700 การปรับการบริหารจัดการน้ำด้วยข้อมูลและเทคนิคสมัยใหม่ จากงานวิจัยเชิงปฏิบัติการสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2518 <p>ตามที่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ให้ความสำคัญกับทรัพยากรน้ำที่เป็นปัจจัยการผลิตเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากความสำคัญดังกล่าว “โครงการวิจัยเข็มมุ่งด้านสังคม การบริหารจัดการน้ำปีที่ 2” จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมให้ประเทศมีทรัพยากรน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่สามารถรองรับการเติบโตในอนาคตด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยแผนงานวิจัยปีที่ 2 มุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดการประหยัดน้ำโดยเฉพาะในหน้าฝน และเพิ่มน้ำต้นทุนสำหรับหน้าแล้งปีต่อไปโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย ตลอดจนการพัฒนาและประเมินความสามารถของกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อให้สามารถจัดกลุ่ม เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำแผน และดำเนินการโครงการนำร่อง เพื่อให้การวางแผนการใช้และรับน้ำได้เอง และร่วมกับหน่วยงานได้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จะช่วยให้เห็นการนำวิชาการและงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและการดำเนินงานในโครงการด้านน้ำ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการวางแผนทรัพยากรน้ำ การบริหารเขื่อนและโครงการชลประทาน และการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำ ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า ตามเป้าหมายในแผนแม่บทของยุทธศาสตร์ชาติต่อไป</p> ภวิสร ชื่นชุ่ม, พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์, สุจริต คูณธนกุลวงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2518 Sun, 09 Jul 2023 12:44:46 +0700 การทดสอบหาจุดควบคุมภาคพื้นดินและความสูงบินที่เหมาะสม สำหรับการคำนวณปริมาตรงานดินจากข้อมูลอากาศยานไร้คนขับ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2010 <p>ปัจจุบันการคำนวณปริมาตรงานดินจะใช้กล้องระดับหรือกล้องประมวลผลรวมในการเก็บรายละเอียดพื้นผิวภูมิประเทศเพื่อนำมาคํานวณหาปริมาตรงานดินโดยใช้เก็บรายละเอียดพื้นผิวภูมิประเทศแบบเฉลี่ยตามพื้นที่ ซึ่งทำให้ปริมาตรงานดินที่คํานวณได้มีความคลาดเคลื่อน เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องดังกล่าวงานวิจัยนี้จึงนำอากาศยานไร้คนขับชนิดปีกหมุนมาใช้ในการเก็บรายละเอียดภูมิประเทศโดยใช้ทฤษฎีภาพถ่ายทางอากาศและทำการศึกษาผลกระทบของข้อมูลพื้นผิวภูมิประเทศที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับที่เกิดจากจุดควบคุมภาคพื้นดินและความสูงบิน โดยกำหนดจุดควบคุม 4 รูปแบบคือ แบบไม่มีจุดควบคุมภาคพื้นดิน แบบรอบพื้นที่ แบบเกาะกลุ่มกลางพื้นที่ และตารางกริดกระจายทั่วพื้นที่ และกำหนดความสูงบิน 3 ระดับความสูงคือ ระดับความสูงที่ 50 เมตร 60 เมตร และ 70 เมตร ผลของการทดสอบหาตำแหน่งจุดควบคุมภาคพื้นดินที่เหมาะสมสำหรับการคํานวณปริมาตรงานดินพบว่าการวางตำแหน่งจุดควบคุมภาคพื้นดินแบบตารางกริดกระจายทั่วพื้นที่และความสูงบินที่ระดับ 50 เมตร มีความถูกต้องมากที่สุดโดยมีความคลาดเคลื่อนของปริมาตรงานดินเมื่อเทียบกับปริมาตรงานดินที่ได้จากกล้องระดับอยู่ที่ 1.78 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นความคลาดเคลื่อนของปริมาตรร้อยละ 1.13</p> พีรภพ โพธิ์พงษ์, ภาณุพล เล็กประเสริฐ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2010 Sun, 09 Jul 2023 11:16:25 +0700 การศึกษาความลึกร่องน้ำด้วยเครื่องซาวเดอร์สำหรับใช้ค้นหาตำแหน่งของปลาที่ติดตั้งร่วมกับเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมต้นทุนต่ำ พื้นที่ศึกษาทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2066 <p>การสำรวจความลึกร่องน้ำเพื่อการเดินเรือมีความสำคัญอย่างมากสำหรับหมู่นักเดินเรือ เนื่องจากร่องน้ำในการเดินเรือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจากปริมาณตะกอนที่พัดพาและทับถมกันบริเวณใต้น้ำผ่านการทำกิจกรรมของมนุษย์และธรรมชาติ ซึ่งปริมาณของตะกอนที่ทับถมและสะสมมากขึ้นส่งผลให้ความลึกของร่องน้ำมีการเปลี่ยนแปลงที่อาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยต่อการเดินเรือและการนำเรือเข้าสู่ท่าเรือ อย่างไรก็ตามต้นทุนของเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านการสำรวจทางอุทกศาสตร์มีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีความเฉพาะทาง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จะเสนอแนวทางการสำรวจร่องน้ำผ่านการหยั่งความลึกของน้ำและกำหนดตำแหน่งของตะกอนโดยการบันทึกพิกัดในเวลาที่โซนาร์สะท้อนกลับกับตำแหน่งของเรือผ่านเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมต้นทุนต่ำที่ติดตั้งมากับเครื่องซาวเดอร์สำหรับใช้ในการเดินเรือและค้นหาตำแหน่งของปลาที่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักเดินเรือ ณ ทะเลสาบสงขลา เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายทางชนิดของน้ำ ได้แก่ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็มผสมกัน โดยจะทำการเปรียบเทียบค่าทางดิ่งที่ได้จากไม้เมตรหยั่งน้ำ กับค่าทางดิ่งที่ได้จากวิธีการหยั่งความลึกด้วยเครื่องซาวเดอร์ในพื้นที่ที่ชนิดของน้ำแตกต่างกัน จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ชนิดของน้ำไม่ส่งผลต่อความถูกต้องทางดิ่งที่ได้จากวิธีการหยั่งความลึกด้วยเครื่องซาวเดอร์สำหรับใช้ในการเดินเรือและค้นหาตำแหน่งของปลา นอกจานี้สามารถนำค่าทางดิ่งที่ได้จากการหยั่งความลึกมาประยุกต์ใช้ในงานขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลได้เช่นเดียวกับค่าทางดิ่งที่ได้จากการระดับ</p> ภูวิศะ กิ้มตั้น, ถิรวัฒน์ บรรณกุลพิพัฒน์, พรนรายณ์ บุญราศรี, รจณา คูณพูล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2066 Sun, 09 Jul 2023 11:21:19 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและความเข้มข้นคลอโรฟิลล์-เอ บริเวณทะเลชายฝั่ง อ่าวไทยตอนบน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2072 <p>การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเล (SST) และความเข้มข้นคลอโรฟิลล์-เอ (Chl-a) มีส่วนช่วยในการสนับสนุนการติดตามและประเมินสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งคลอโรฟิลล์-เอ เป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอนพืชและมวลชีวภาพในแหล่งน้ำชายฝั่ง ในขณะที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช จึงเลือกใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแบบรายเดือนซึ่งเป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์ระดับ 3 โดยผ่านการปรับแก้ทางเรขาคณิตและระบบการฉายให้ความละเอียดเชิงพื้นที่ 4.6 กิโลเมตร จากดาวเทียม Aqua ระบบ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) ในช่วงเวลาปี พ.ศ.2558–2565 นำมาประมวลผลสร้างเป็นข้อมูลค่าเฉลี่ยภูมิอากาศของแต่ละเดือนรายเดือนจากช่วงระยะเวลา 8 ปี ในการใช้หาความสัมพันธ์ อีกทั้งเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงเชิงเวลาและเชิงพื้นที่บริเวณทะเลชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน จากผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเดือนและช่วงลมมรสุมพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคมอุณหภูมิผิวน้ำทะเลมีอุณหภูมิค่อยๆเพิ่มขึ้นและค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่เดือนพฤษภาคมจากนั้นอุณหภูมิจะเริ่มลดลง ในขณะที่ความเข้มข้นคลอโรฟิลล์มีค่ามากที่สุดอยู่ที่เดือนกันยายน โดยค่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละปีของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและความเข้มข้นคลอโรฟิลล์ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงบวกในช่วงลมมรสมตะวันออกเฉียงเหนือ และความสัมพันธ์เชิงลบในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามอิทธิพลของลมมรสุม นอกจากนี้ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำผุด (Upwelling) ซึ่งเป็นการพัดพามวลน้ำเย็นและสารอาหารจากน้ำลึกขึ้นมาสู่ผิวน้ำทะเล ก่อให้เกิดอิทธิพลต่อการเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์และอุณหภูมิผิวน้ำทะเลลดลง</p> ภูภัส ทองจับ, ธงทิศ ฉายากุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2072 Sun, 09 Jul 2023 11:23:08 +0700 การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องระดับความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2126 <p>การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ร่วมกับกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process, AHP) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทั้งหมด 7 ปัจจัย ได้แก่ ข้อมูลปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง ระยะห่างจากแม่น้ำสายหลัก กลุ่มชุดดิน สิ่งกีดขวางทางน้ำ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความลาดชันของพื้นที่ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน มาทำการซ้อนทับข้อมูล (Overlay) ร่วมกับค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัยซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมาทำการวิเคราะห์ และจำแนกพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยต่ำที่สุด พื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยต่ำ พื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยปานกลาง พื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยสูง และพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยสูงที่สุด จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้มากที่สุดคือ ข้อมูลปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง และจากการประเมินความเสี่ยง พบว่าระดับความเสี่ยงเกิดอุทกภัยสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 9.64 ของพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำสายหลัก พื้นที่ลุ่มต่ำ และบริเวณริมชายฝั่ง ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบจากอุทกภัยที่จะเกิดขึ้น ควรมีการบูรณาการมาตรการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งมาตรการที่ใช้โครงสร้าง และมาตรการที่ไม่ใช้โครงสร้าง</p> เศรษฐา บุตรประเสริฐ, รศ.ร.อ.พิพัฒน์ สอนวงษ์, รศ.ดร.ชวเลข วณิชเวทิน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2126 Sun, 09 Jul 2023 11:25:13 +0700 การประเมินความถูกต้องเชิงตำแหน่งของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ต้นทุนต่ำ สำหรับนำมาใช้ในการเฝ้าติดตามแผ่นดินถล่ม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2231 <p>ในปัจจุบันระบบดาวเทียมแบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Navigation Satellite System: GNSS) ได้ถูกนำมาใช้ในการเฝ้าติดตามการเคลื่อนตัวของแผ่นดินอย่างแพร่หลาย โดยนำเทคนิคการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบสัมพัทธ์และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบยีออเดติกมาใช้ในการรังวัด ทำให้ได้ค่าพิกัดที่มีความถูกต้องเชิงตำแหน่งสูง แต่อย่างไรก็ตามการนำเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบยีออเดติกมาใช้ในการเฝ้าติดตามการเคลื่อนตัวของแผ่นดินยังมีข้อจำกัดอยู่ คือราคาที่ค่อนข้างสูง ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การทดสอบความถูกต้องเชิงตำแหน่งของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ต้นทุนต่ำซึ่งประกอบขึ้นจากบอร์ดรับสัญญาณดาวเทียมยี่ห้อ u-blox รุ่น ZED-F9P และจานรับสัญญาณราคาประหยัด โดยได้เลือกใช้เทคนิคการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ในทันที (Real Time Kinematic : RTK) ซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถให้ค่าพิกัดที่มีความถูกต้องสูงได้แบบทันทีทันใด ผู้วิจัยจำลองการเคลื่อนตัวของแผ่นดินจากการนำเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ต้นทุนต่ำและเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบยีออเดติกมาติดตั้งบนเสาทดสอบที่สามารถเคลื่อนที่ได้ในแนวราบและแนวดิ่ง จากนั้นแบ่งการทดสอบออกเป็นการเคลื่อนตัวแนวราบ และการเคลื่อนตัวแนวดิ่ง เพื่อนำค่าการเคลื่อนตัวที่ได้จากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ทั้งสองประเภทมาประเมินและเปรียบเทียบความถูกต้องกับค่าการเคลื่อนตัวที่แท้จริง ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ต้นทุนต่ำให้ความถูกต้องเชิงตำแหน่งดีกว่าระดับเซนติเมตรและมีความถูกต้องด้อยกว่าเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบยีออเดติกเล็กน้อย</p> พรชัย พรชัยพูลทวี, พุทธิพล ดำรงชัย, เขตโสภณ ภิญโญ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2231 Sun, 09 Jul 2023 11:29:51 +0700 การหาค่าระดับด้วยค่าพิกัดภูมิศาสตร์และค่าพิกัดยูทีเอ็ม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2507 <p>การหาค่าระดับด้วยค่าพิกัดภูมิศาสตร์และค่าพิกัดยูทีเอ็ม เป็นการหาค่าระดับบนแบบจำลองหมุดหลักฐานทางดิ่งของกรุงเทพมหานคร(2550) จัดทำโดยสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 879 หมุด ซึ่งหมุดหลักฐานทางดิ่งใช้วิธีการเดินระดับและตำแหน่งทางราบใช้วิธีการรังวัดด้วยดาวเทียมจีพีเอส ข้อมูลหมุดหลักฐานทางดิ่งและตำแหน่งทางราบนำมาสร้างเป็นแบบจำลองค่าระดับความสูงแบบกริด ซึ่งมีจำนวนกริด 49 แถว คูณ 67 หลัก ขนาดของกริด 1000x1000 เมตร ขอบเขตของค่าพิกัดยูทีเอ็มกรุงเทพมหานคร มุมซ้ายล่าง(N1495940.000,E643360.000) มุมขวาบน(N1543940.000,E709360.000) ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ กรุงเทพมหานคร มุมซ้ายล่าง(133134.93312,1002146.656996) และมุมขวาบน (135736.778341,1005610.364321) สมการที่ใช้ในการแปลงค่า พิกัด ระหว่างค่าพิกัดภูมิศาสตร์ กับ ค่าพิกัดยูทีเอ็ม ใช้สมการของ NGS (Nation Geodetic Survey) หรือ Kruger หรือ Snyder หรือ Redfearn สมการที่ใช้ในการหาค่าระดับ ใช้สมการเส้นตรง(Bi-Linear) สมการเส้นโค้งกำลังสอง(Bi-Quadratic) และสมการเส้นโค้งกำลังสาม(Bi-Cubic) โปรแกรมในการประมวลผลใช้ โปรแกรมออโต้แคดซีวิทีดี(AutoCAD Civil 3D) และไมโครซอฟต์เอกซ์เซล(Microsoft Excel) บนชีต และสร้างโปรแกรมฟังก์ชันด้วยวิชวลเบสิกฟอร์แอปพลิเคชันส์ จุดทดสอบในการหาค่าระดับด้วยค่าพิกัดภูมิศาสตร์และค่าพิกัดยูทีเอ็มใช้จุดศูนย์กลาง(Centroid) ของแต่ละเขตในกรุงเทพมหานคร การหาค่าระดับด้วยค่าพิกัดภูมิศาสตร์และค่าพิกัดยูทีเอ็ม สามารถหาค่าระดับได้ทุกตำแหน่งบนพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการป้อนค่าพิกัดภูมิศาสตร์ หรือค่าพิกัดยูทีเอ็ม เข้าไปในแบบจำลองความสูงแบบกริดที่สร้างขึ้น ค่าระดับที่ได้จากค่าพิกัดภูมิศาสตร์และค่าพิกัดยูทีเอ็ม โดยใช้สมการเส้นตรง(Bi-Linear) ให้ความละเอียดถูกต้องเฉลี่ย 0.0300.191 เมตร สมการเส้นโค้งกำลังสอง(Bi-Quadratic) ให้ความละเอียดถูกต้องเฉลี่ย 0.0590.372 เมตร และสมการเส้นโค้งกำลังสาม(Bi-Cubic) ให้ความละเอียดถูกต้องเฉลี่ย 0.0650.392 เมตร</p> กนกศักดิ์ ซื่อธานุวงศ์, วรพันธ์ แก้วพิทยาภรณ์, กฤษณา ชูลิตพันธ์พงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2507 Sun, 09 Jul 2023 11:37:47 +0700 การติดตามการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงปี ค.ศ. 2017 – 2022 ด้วยเทคนิคอินซาร์แบบอนุกรมเวลา โดยใช้ซอฟต์แวร์ MintPy https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2079 <p>การทรุดตัวของแผ่นดินมีสาเหตุจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งทางตรง เช่น การสูบน้ำบาดาล และทางอ้อม เช่น การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เมื่อขนาดการทรุดตัวสะสมมากเกินขีดจำกัดอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการติดตามได้หลายวิธีแต่ยังมีข้อจำกัดที่ความละเอียดของข้อมูลในเชิงตำแหน่งไม่เพียงพอและมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งการสำรวจระยะไกลสามารถลดข้อจำกัดนี้ได้โดยใช้เทคนิคอินซาร์แบบอนุกรมเวลาเพื่อตรวจสอบการทรุดตัวของแผ่นดิน งานวิจัยนี้ใช้การประมวลผลด้วยเทคนิค Small Baseline โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-1 ในวงโคจรขาขึ้น ช่วงปี ค.ศ. 2017 – 2022 และในวงโคจรขาลง ช่วงปี ค.ศ. 2018 – 2022 ด้วยซอฟต์แวร์ MintPy ซึ่งมีระยะเวลาในการประมวลผลอัพเดทข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เหมาะแก่การใช้เป็นระบบติดตามการทรุดตัวของแผ่นดิน โดยพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาคือกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเนื่องจากเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จากการวิจัยพบว่าพื้นที่ที่มีอัตราการทรุดตัวสูง คือ ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จ.สมุทรสาคร โดยมีค่าอัตราการทรุดตัวมากกว่า 30 มิลลิเมตรต่อปี และมีค่าสหสัมพันธ์ของสองชุดข้อมูลอยู่ในช่วง 0.6 – 0.9 แสดงถึงความสอดคล้องกันระหว่างผลลัพธ์ ดังนั้นควรมีการติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว</p> ณัฏฐริณีย์ เอี้ยวรัตนวดี, ปวัน ภิรมย์ทอง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2079 Sun, 09 Jul 2023 11:39:46 +0700 การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับในการติดตามยางพารา กรณีศึกษา ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2117 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการติดตามยางพาราในเขตพื้นที่ตัวอย่างตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ด้วยอากาศยานไร้คนขับ พื้นที่ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีทั้งหมด 4 แปลง ได้แก่ แปลงยางพาราที่ 1 มีอายุ 6 ปี แปลงยางพาราที่ 2 มีอายุ 8 ปี แปลงยางพาราที่ 3 มีอายุ 10 ปี และแปลงยางพาราที่ 4 มีอายุ 17 ปี โดยทำการบินเก็บข้อมูลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ ในเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ผลที่ได้จากการคำนวณดัชนีพืชพรรณ พบว่า ข้อมูลจากการคำนวณดัชนี GLI มีค่าเฉลี่ย 0.390, 0.461, 0.496, และ 0.510 ตามลำดับ ค่าดัชนี GRVI มีค่าเฉลี่ย 0.167, 0.128, 0.087 และ 0.117 ตามลำดับ ค่าดัชนี VARI มีค่าเฉลี่ย 0.332, 0.320, 0.291 และ 0.352 ตามลำดับ และค่าดัชนี ExG มีค่าเฉลี่ย -0.241, -0.192, -0.207 และ -0.163 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลดัชนีพืชพรรณมาเปรียบเทียบ พบว่า มีแนวโน้มของดัชนีในทิศทางเดียวกันและสามารถนำมาใช้ในการดูความผิดปกติของต้นยางพาราจากค่าโทนสีเขียวได้</p> จิรวัฒน์ จันทองพูน, กนกพร อินทะรัตน์, สุนทรี ไข่หุน, ฟารีดา นิสัน, พรนรายณ์ บุญราศรี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2117 Sun, 09 Jul 2023 11:42:27 +0700 การประเมินสถานะของการเก็บเกี่ยวแปลงอ้อย จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย โดยใช้ข้อมูล Sentinel-1 SAR https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2176 <p>การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยนำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมระบบ SAR (Synthetic Aperture Radar) มาประยุกต์ใช้ในการติดตามสถานะของแปลงอ้อยว่ามีการเก็บเกี่ยวแล้วหรือไม่ ในช่วงของฤดูการปิดหีบของโรงงานอ้อยในจังหวัดขอนแก่น โดยมีการใช้ข้อมูลภาพดาวเทียม L1 Ground Range Detection (GED) Polarization VV จากดาวเทียม Sentinel-1 ช่วงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564 กับ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น (Path 164 Frame 538/ Path 164 Frame 533) และข้อมูลแปลงอ้อยที่ผ่านการสำรวจสถานะการเก็บเกี่ยวจากภาคสนามในช่วงเดือน เมษายน 2564 จำนวน 14,971 แปลง เพื่อนำมาใช้ในการหาแนวโน้มค่าการสะท้อนกลับ (Backscatter) ที่เหมาะสมในการที่จะประเมินสถานะของแปลงอ้อย พบว่าช่วงค่าการสะท้อนกลับกลับที่ -7.000 ถึง -12.999 dB เป็นค่าที่มีแนวโน้มแสดงถึงแปลงอ้อยที่ผ่านการเก็บเกี่ยวแล้ว โดยผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องด้วยการนำข้อมูลการสะท้อนกลับไปเปรียบเทียบกับแปลงที่ได้รับการสำรวจมาจากภาคสนาม ของวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566 พบว่ามีผลลัพธ์ความถูกต้องอยู่ที่ 83.017เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความถูกต้องใกล้เคียงกับระบบที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นดาวเทียมระบบ Optical มีผลลัพธ์ความถูกต้องอยู่ที่ 83.135 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สามารถใช้ระบบ SAR ในการตรวจสอบการเก็บเกี่ยวได้เช่นกัน</p> แพรวา วิจิตรธนสาร, อนุเผ่า อบแพทย์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2176 Sun, 09 Jul 2023 11:45:41 +0700 การวิเคราะห์ความเสี่ยงพื้นที่น้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2228 <p>น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดจากหลายปัจจัย สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัยหลายด้านเช่น การดำรงชีวิต สภาพสิ่งแวดและเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาตินี้อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต่อการวิเคราะห์ความเสี่ยงพื้นที่น้ำท่วม ในการวิจัยใช้กระบวนการวิเคราะห์ลำดับขั้นรูปแบบวิธี AHP (The Analytical Hierarchy Process) ด้วยเทคนิควิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ของโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (QGIS) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดทำแผนที่พื้นที่น้ำท่วมสำหรับการจัดการและบรรเทาอุทกภัยโดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (DEM), ความลาดชัน, ปริมาณน้ำฝน, พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก และการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากนั้นได้ทำการคัดเลือกค่าน้ำหนักปัจจัยที่ส่ง ผลกระทบต่อน้ำท่วมและดำเนินการจัดประเภทใหม่ โดยสามารถแสดงข้อมูลคำนวณออกมาเป็นแผนที่ความเสี่ยงน้ำท่วมของพื้นที่วิจัย การจำแนกความเสี่ยงเป็นความเสี่ยงอันตรายสูงสุด ความเสี่ยงอันตรายสูง ความเสี่ยงอันตราย เฝ้าระวัง และปกติ ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงพื้นที่น้ำท่วมพบว่าพื้นอยู่ในเกณฑ์สถานการณ์อยู่ในสภาวะความเสี่ยงอันตรายประมาณ 1,842.72 ตร.กม. คิดเป็น 45.71% ของพื้นที่ สภาวะเฝ้าระวังประมาณ 1,474.59 ตร.กม. คิดเป็น 36.58% ของพื้นที่ สภาวะความเสี่ยงอันตรายสูงประมาณ 458.89 ตร.กม. คิดเป็น 11.38% ของพื้นที่ สภาวะปกติ 132.23 ตร.กม. คิดเป็น 3.28% ของพื้นที่ และสภาวะความเสี่ยงอันตรายสูงสุดประมาณ 122.47 ตร.กม. คิดเป็น 3.04% ของพื้นที่ ซึ่งการตรวจสอบความถูกต้องโดยรวมของข้อมูลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของพื้นที่ เท่ากับ 77.6% และค่าสัมประสิทธิ์แคปปา เท่ากับ 0.68 ดังนั้นความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ระดับดี</p> ดนุลดา เนียมทอง, อนุเผ่า อบแพทย์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2228 Sun, 09 Jul 2023 11:48:06 +0700 การประเมินความถูกต้องทางตำแหน่งการรังวัดด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับในพื้นที่เหมืองเปิด แบบไม่ใช้จุดควบคุมภาคพื้นดินด้วยวิธีการแปลงพิกัด https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2399 <p>การรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศจาก UAV ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากอุปกรณ์มีราคาที่เข้าถึงได้ การบินสำรวจและการประมวลผลสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ ทำให้บุคคลทั่วไปนิยมนำมาใช้ในงานสำรวจมากขึ้น การสำรวจที่แม่นยำต้องอาศัยเครื่องมือสำรวจด้วยดาวเทียม GNSS แบบสองความถี่ด้วยวิธีแบบสัมพัทธ์ ในการกำหนดตำแหน่งให้กับ UAV หรือจุดควบคุมภาคพื้นดิน (GCP) ซึ่งอุปกรณ์มีราคาที่ค่อนข้างแพง ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ยาก อย่างไรก็ตามการรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศมีการประยุกต์ใช้งานในหลายด้าน ซึ่งต้องการความถูกต้องที่แตกต่างกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้ทดสอบความถูกต้องทางตำแหน่งการรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศจาก UAV ในพื้นที่เหมืองเปิดที่ความลาดชันสูง โดยไม่ใช้ GCP แต่เนื่องด้วยการกำหนดตำแหน่งของ UAV กับจุดตรวจสอบความถูกต้องใช้วิธีแตกต่างกัน ดังนั้นต้องแปลงค่าพิกัดให้อยู่ในระบบเดียวกัน เพื่อทดสอบความถูกต้อง ผลการทดสอบความถูกต้องทางราบมีค่า RMSEr เท่ากับ 0.144 เมตรและทางดิ่งมีค่า RMSEz เท่ากับ 0.470 เมตร ค่าความถูกต้องที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ทางราบอยู่ที่ 0.230 เมตร และทางดิ่งอยู่ที่ 0.913 เมตร ซึ่งข้อมูลทางราบสามารถใช้ทำแผนที่ตามมาตรฐานในมาตราส่วนเล็กกว่า 1:400 สามารถประยุกต์ใช้ตามมาตรฐานงานแผนที่และ GIS ส่วนความถูกต้องทางดิ่งสามารถใช้ทำแผนที่เส้นชั้นความสูงตามมาตรฐานกำหนดช่วงเส้น 1.400 เมตรขึ้นไป</p> สรศักดิ์ ชัยทวี, ฐิติน บัวทอง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2399 Sun, 09 Jul 2023 11:50:07 +0700 การติดตามการเคลื่อนตัวของลาดดินบริเวณถนนหมายเลข 12 โดยใช้การสำรวจด้วยภาพถ่ายระยะใกล้ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2510 <p>ถนนหมายเลข 12 เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในเส้นทางดังกล่าว ในช่วงอำเภอเมืองตากถึงอำเภอแม่สอดเป็นเส้นทางที่ใช้ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยทั้งภาคเหนือ และภาคอีสานรวมไปถึงสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานมิตรภาพแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร สำหรับเส้นทางที่ทางคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษา คือ เส้นทางระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดตาก ไปยังสะพานมิตรภาพแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าเขาสองข้างทางมีการตัดลาดดินที่มีความลาดชันสูงและเกิดดินถล่มบ่อยครั้งส่งผลกระทบต่อการขนส่ง ส่งผลต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ งานวิจัยนี้จึงทำการใช้เทคนิคการสำรวจด้วยภาพถ่ายระยะใกล้มาช่วยในการตรวจสอบและติดตามการเคลื่อนตัวของลาดดินบริเวณถนนหมายเลข 12 เพื่อใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจเพื่อการซ่อมแซมลาดดินหรือแจ้งเตือนภัยพิบัติ ที่เกิดขึ้นจากดินถล่มได้ล่วงหน้า โดยทางคณะผู้วิจัยยกตัวอย่างความลาดดิน 3 ลักษณะคือ ลาดดินดินแดง ลาดดินหิน และลาดดินคอนกรีตพ่น และทำการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล โดยมีการกำหนดค่าพิกัดของจุดควบคุมภาคพื้นดินและจุดตรวจสอบด้วยกล้องประมวลผลรวม จากนั้นนำข้อมูลภาพถ่ายมาทำการประมวลผลเพื่อจัดทำเป็นแบบจำลอง 3 มิติ โดยใช้เวลาในการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี เก็บข้อมูลจำนวน 12 ครั้ง โดยแบ่งการเก็บข้อมูลเดือนละ 1 ครั้ง และนำแบบจำลอง 3 มิติที่ได้จากการประมวลผลภาพถ่ายระยะใกล้ มาวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของลาดดินในแต่ละเดือน ผลการวิจัยพบว่าตัวอย่างลาดดินทั้ง 3 ลักษณะไม่พบการเคลื่อนตัว แต่มีการตรวจพบร่องรอยการกัดเซาะของน้ำบริเวณลาดดินดินแดงและลาดดินหิน สามารถสรุปได้ว่าการใช้เทคนิคการสำรวจด้วยภาพถ่ายระยะใกล้ สามารถทราบลักษณะทางกายภาพของลาดดิน โดยมีความถูกต้องระดับเซนติเมตร</p> กนกพรรณ บัวน้อย, พีรภพ โพธิ์พงษ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2510 Sun, 09 Jul 2023 11:53:46 +0700 การทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองโครงสร้างอาคารสามมิติที่สร้างโดยข้อมูลจุดเมฆ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2011 <p>ปัจจุบันการนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ในงานทางด้านวิศวกรรมได้รับความนิยมมากขึ้นโดยเฉพาะการใช้อากาศยานไร้คนขับในการถ่ายภาพเพื่อสร้างแบบจำลองสามมิติ สำหรับงานทางด้านโครงสร้างแบบจำลองสามมิติสามารถนำมาใช้ในการประมาณราคาก่อสร้าง การวิเคราะห์สเถียรภาพของโครงสร้าง การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงแบบโครงสร้างเป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยแบบจำลองที่มีความถูกต้องใกล้เคียงกับสิ่งปลูกสร้างจริง ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองโครงสร้างสามมิติที่สร้างขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจุดเมฆที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายด้วยอากาศยานไร้คนขับ โดยกำหนดลักษณะของโครงสร้างอาคาร 2 รูปแบบคือ โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและโครงสร้างโบราณสถาน โดยกำหนดให้ความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบและทางดิ่งของภาพถ่ายไม่เกิน 6 เซนติเมตรและทำการสร้างรูปโครงสร้างตามลักษณะของจุดเมฆที่ปรากฏ จากนั้นทำการตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองโครงสร้างสามมิติโดยการเปรียบเทียบกับขนาดของโครงสร้างจริง ผลการทดสอบแบบจำลองโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กมีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยทางราบและทางดิ่งเท่ากับ 2.5 เซนติเมตรและโครงสร้างโบราณสถานพบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยทางราบและทางดิ่งเท่ากับ 1.8 เซนติเมตรและ 2.4 เซนติเมตรตามลำดับ</p> พีรภพ โพธิ์พงษ์, รุ่งโรจน์ จักภิระ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2011 Sun, 09 Jul 2023 11:57:11 +0700 การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยเทคนิค InSAR เพื่อการตรวจสอบ การทรุดตัวของจังหวัดนครสวรรค์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2234 <p>ในปัจจุบันการทรุดตัวของแผ่นดินเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนประชาชน โครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางคมนาคม รวมถึงระบบน้ำใต้ดินในอนาคตได้ โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นเพื่อการตรวจวัดหาอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยเทคนิคอนุกรมเวลาอินซาร์ (Time-Series Interferometric Synthetic Aperture Radar, TSInSAR) ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมที่สามารถวัดระยะทางและติดตามการเปลี่ยนแปลงความสูงบนพื้นผิวโลกได้ โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อติดตามการทรุดตัวของแผ่นดิน การเฝ้าระวังและตรวจสอบสภาพโครงสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ด้วยคุณสมบัติของภาพถ่ายจากดาวเทียมนั้น จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายการสำรวจรังวัดและช่วยประหยัดงบประมาณและแรงงานได้ และได้ใช้ข้อมูลแบบอนุกรมเวลาจากดาวเทียม Sentinel–1 จำนวน 34 ภาพ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 โดยการสร้าง Interferogram ด้วยโปรแกรม SNAP และโปรแกรม MATLAB เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินโดยรอบที่ข้อมูลได้ครอบคลุมถึง รวมถึงจุดตรวจสอบที่โปรแกรมได้ประมวลผลออกมา เพื่อที่จะได้นำมาวิเคราะห์และประเมินผลพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการทรุดตัวได้ และสามารถที่จะดำเนินการในขั้นตอนการปฏิบัติการต่อไปได้ จากผลลัพธ์ที่ได้ โดยได้ตรวจสอบพบการเคลื่อนตัวประมาณ -5.2 มิลลิเมตรต่อปี ถึง 4.4 มิลลิเมตรต่อปี แสดงให้เห็นว่าการทรุดตัวของจังหวัดนครสวรรค์ เกิดการเคลื่อนตัวอยู่มากในบางพื้นที่ ได้แก่ บริเวณที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน และบริเวณที่มีการใช้น้ำบาดาลที่มาก เช่น บริเวณอำเภอโกรกพระ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และอำเภอเก้าเลี้ยว จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการของใช้เทคโนโลยีอนุกรมเวลาอินซาร์มาประยุกต์ใช้ในการติดตามการทรุดตัวที่เกิดขึ้น</p> จุฬพัฒน์ บุญสุยา, อนุเผ่า อบแพทย์, สรวิศ สุภเวชย์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2234 Sun, 09 Jul 2023 12:00:14 +0700 การใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิดในการประมวลผลข้อมูลเรดาร์ทะลุผิวดิน: กรณีศึกษาสาธารณูปโภคใต้ผิวทาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2349 <p>ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่นำมาประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการสำรวจธรณีวิทยาใต้ดินด้วยเรดาร์ทะลุผิวดิน หรือ Ground Penetrating Radar (GPR) มักเป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่าย โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการทดสอบซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Open source software) ในการประมวลผลข้อมูล GPR โดยผู้วิจัยได้ใช้ซอฟต์แวร์ Rstudio และ Reflex2DQuick ในการศึกษาลักษณะของสัญญาณที่ได้จากเครื่องมือสำรวจธรณีวิทยาใต้ดินด้วย GPR โดยใช้ข้อมูลสำรวจบนถนนสายโรจนะในบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและถนนสาย 7 พัทยา-มาบตาพุด เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ปี พ.ศ. 2565 เป็นกรณีศึกษา โดยอ้างอิงจากค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้า และ ค่าคงที่ไดอิเล็กทริก (Dielectric constant) ซึ่งเป็นคุณสมบัติทางไฟฟ้า (Electrical properties) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความมีขั้ว (Polarity) ของวัสดุที่อุณหภูมิใด ๆ เพื่อจัดกลุ่มของชั้นข้อมูลเป็น 2 ประเภท ได้แก่บริเวณที่พบวัตถุที่เป็นอโลหะ (Non-Metallic Pipe) และบริเวณที่พบวัตถุที่เป็นโลหะ (Metallic Pipe) เพื่อให้ทราบว่าวัตถุนั้นเป็นวัตถุชนิดใด โดยผลลัพธ์ที่จะได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปแบบของกราฟเส้นโค้งไฮเพอร์โบลาที่สามารถบ่งบอกลักษณะของวัตถุที่ GPR ตรวจพบ เช่น ท่อคอนกรีต ท่อโลหะ หรือกำแพงโบราณที่ถูกฝังอยู่ใต้พื้นดิน เป็นต้น โดยซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Open source software) ที่นำมาใช้งานนั้นสามารถปรับแต่งคลื่นสัญญาณและยังสามารถขจัดคลื่นรบกวนที่ปะปนมากับสัญญาณ ทำให้ผู้สำรวจสามารถระบุชนิดของ สาธารณูปโภคใต้ผิวทางได้อย่างถูกต้องและแม่นยำโดยไม่มีค่าใช้จ่ายทางด้านซอฟท์แวร์</p> อนุเผ่า อบแพทย์, สุชาญพงศ์ อบน้ำ, สาริษฐ์ สามคุ้มพิมพ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2349 Sun, 09 Jul 2023 12:02:10 +0700 การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการสำรวจงานทางหลวง กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข 3574 แยกมาบปู จังหวัดชลบุรี https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2576 <p>บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการสำรวจทำแผนที่งานทางหลวง ขอบเขตพื้นที่โครงการอยู่บริเวณ บนทางหลวงหมายเลข 3574 ช่วง แยกมาบปู อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี. ระยะทางประมาณ 5 กม. โดยบินถ่ายตามแนวเส้นทางหลวงและขยายพื้นที่ออกด้านข้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งและจำนวนจุดควบคุมภาคพื้นดินที่เหมาะสมกับงานทางหลวง และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องเชิงตำแหน่งของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ได้ โดยการศึกษานี้ภาพถ่ายมีค่าจุดภาพอยู่ที่ 4.11 เซนติเมตร ส่วนซ้อนด้านหน้าตามแนวบินร้อยละ 85 และส่วนซ้อนด้านข้างระหว่างแนวบินร้อยละ 75 พื้นที่โครงการสำรวจทั้งหมดทำการบินทั้งหมดจำนวน 4 เที่ยวบิน ซึ่งจะได้ภาพถ่ายดิ่งทั้งโครงการ 987 ภาพ จำนวนจุดควบคุม 17 จุด จุดตรวจสอบ 20 จุด โดยแยกรังวัดหมายจุดควบคุมภาคพื้นดิน 3 แบบ เพื่อประเมินค่าความถูกต้องของจุดตรวจสอบ ผลที่ได้คือการรังวัดหมายจุดควบคุมภาพถ่ายฯ แบบแบ่งเป็นบล็อก ๆ ละ 1 กม. จุดควบคุมฯ 5 จุด ระยะห่างระหว่างจุด 500 ม. ให้ค่าความคลาดเคลื่อนของจุดตรวจสอบดีที่สุด คือค่าความคลาดเคลื่อนของการหมายจุดควบคุม ค่า RMSE x y และ z เท่ากับ 0.37 0.42 และ 0.80 มม. ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของ Projection error เท่ากับ 0.095 จุดภาพ ค่าความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งจุดตรวจสอบ ค่า RMSE x y และ z เท่ากับ 5.43 5.25 และ 6.56 ซม. ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่องานวิศวกรรม และได้แผนที่ภาพถ่ายแนวดิ่งและข้อมูลแบบจำลองระดับพื้นผิวเชิงเลข</p> ต่อลาภ การปลื้มจิตร, ณัฐพล แก้วทอง, พรนรายณ์ บุญราศี, จิรวัฒน์ จันทองพูน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2576 Sun, 09 Jul 2023 12:05:59 +0700 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการให้บริการขนส่งมวลชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1978 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและหาแนวทางในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการให้ บริการรถขนส่งมวลชน ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยรถขนส่งมวลชนมีทั้งหมด 15 คัน ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 11 คัน รถนํ้ามันดีเซล 4 คัน การเดินรถให้บริการ 3 เส้นทางคือ สายที่ 1 สีน้ำเงิน สายที่ 2 สีแดง และสายที่ 3 สีเขียว ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งหมดของรถขนส่งมวลชนเท่ากับ 54,929 kgCO2eq/ปี โดยสายที่ 1 สีน้ำเงินปล่อยก๊าซเรือนกระจก 21,566 kgCO2eq /ปี สายที่ 2 สีแดงปล่อยก๊าซเรือนกระจก 19,208 kgCO2eq /ปี สายที่ 3 สีเขียวปล่อยก๊าซเรือนกระจก 14,155 kgCO2eq /ปี รถไฟฟ้า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ย 2,251 kgCO2eq /คัน/ปี ในขณะที่รถน้ำมันดีเซลมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ย 7,543 keCO2eq /คัน/ปี เมื่อเปรียบเทียบระหว่างรถไฟฟ้ากับรถน้ำมันดีเซลพบว่า รถน้ำมันดีเซลมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ารถไฟฟ้าถึง 5,292 kgCO2eq /คัน/ปี ซึ่งรถน้ำมันดีเซลมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ารถไฟฟ้าคิดเป็น 3.35 เท่าของรถไฟฟ้าปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีการใช้รถขนส่งมวลชนสองประเภท ซึ่งในอนาคตหากมหาวิทยาลัยเปลี่ยนรถน้ำมันดีเซลจำนวน 4 คันมาเป็นรถไฟฟ้า จะทำให้รถขนส่งมวลชนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เท่ากับ 21,168 keCO2eq /ปี (คิดเป็นร้อยละ 30)</p> สมชาย โอตป์ฉิมพลี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1978 Sun, 09 Jul 2023 02:35:15 +0700 การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2040 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในช่วงการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาซึ่งท่าเรือน้ำลึกสงขลาเปิดใช้งานตั้งแต่ปี 2531 โดยท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาได้ทำการตอกเสาเข็มทดแทนเสาเข็มเดิมที่เกิดการชำรุด โดยกำหนดช่วงเวลาดำเนินการประมาณ 4 เดือน โดยระหว่างการดำเนินการปรับปรุงท่าเรือ ได้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้แก่ 1) คุณภาพน้ำทะเลบริเวณหน้าท่าเทียบเรือ ได้แก่ ความโปร่งใส ออกซิเจนละลาย ความเป็นกรด-ด่าง ความนำไฟฟ้า และความเค็ม 2) ระดับเสียงบริเวณปรับปรุงท่าเทียบเรือและระดับเสียงบริเวณพื้นที่ทางเข้าท่าเรือ ได้แก่ ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ระดับเสียงสูงสุด และระดับเสียงต่ำสุด และ 3) ฝุ่นละอองบริเวณปรับปรุงท่าเทียบเรือและระดับเสียงบริเวณพื้นที่ทางเข้าท่าเรือ ได้แก่ ฝุ่นละอองรวมไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP) และฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ทำการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมจำนวน 5 ครั้ง ซึ่งผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบกับประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยจากผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเล จำนวน 5 ครั้ง มีค่าความโปร่งใส ออกซิเจนละลาย ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด ความเป็นกรด-ด่าง และความเค็ม มีค่าอยู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทการใช้ประโยชน์ประเภทที่ 5 เพื่ออุตสาหกรรมและการท่าเรือ 2) ผลการตรวจวัดคุณภาพเสียง จำนวน 4 ครั้ง พบว่า บริเวณสถานีตรวจวัดใกล้พื้นที่ปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกมีค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินเกณฑ์มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไปที่กำหนดไว้ แต่บริเวณพื้นที่ทางเข้าท่าเรือน้ำลึกสงขลามีค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงและระดับเสียงสูงสุดมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ และ 3) ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ จำนวน 4 ครั้ง พบว่า ค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงของขนาดฝุ่นละอองรวม ขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน และฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ไมครอน มีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นการปรับปรุงท่าเทียบเรือควรมีการกำหนดมาตรการในการลดผลกระทบของเสียง เพื่อให้คนงานที่ทำงานในบริเวณดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบจากเสียงที่เกินมาตรฐานที่กำหนด</p> สุรางคนา ตรังคานนท์, อมรรัตน์ หวลกะสิน, เพ็ญนภา ทองประไพ, ธนิยา เกาศล, หทัยรัตน์ หิตาชาติ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2040 Sun, 09 Jul 2023 02:42:02 +0700 การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ : กรณีศึกษาคลองสามกองและคลองสำโรง จังหวัดสงขลา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2041 <p>คลองสามกองและคลองสำโรงเป็นคลองสำคัญของสงขลา โดยเฉพาะคลองสำโรงที่เชื่อมต่อระหว่างอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา น้ำทิ้งจากการทำประมง การเกษตร และบ้านเรือนจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดมลพิษกับคลองทั้ง 2 ส่งผลให้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมีจุดเก็บตัวอย่าง 2 สถานีต่อคลอง เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ได้แก่ ความเป็นกรดด่าง ออกซิเจนละลาย อุณหภูมิ ของแข็งทั้งหมด ของแข็งละลายทั้งหมด ไนเตรด-ไนโตรเจน บีโอดี แมงกานีส โคลิฟอร์มทั้งหมดฟีคอลโคลิฟอร์ม และโลหะหนัก นำผลการตรวจวิเคราะห์ได้เปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2537 ผลการตรวจติดตามคุณภาพน้ำคลองทั้งสองแหล่งพบว่า คลองทั้งสองแห่งมีค่า ออกซิเจนละลาย บีโอดี โคลิฟอร์มทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ที่ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 กำหนด สำหรับผลการตรวจวิเคราะห์โลหะหนัก พบว่า ปริมาณโลหะหนักในน้ำตัวอย่างจากคลองทั้งสองแห่งมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทั้งสองประเภท ผลการวิเคราะห์ WQI พบว่า ค่า WQI ของคลองสามกองและคลองสำโรงเท่ากับ 40.5 และ 11.75 คะแนน ตามลำดับ พบว่าคลองสามกองคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมเทียบได้กับแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 4 และคลองสำโรงคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมเทียบได้กับแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 5 ซึ่งคุณภาพน้ำของคลองทั้งสองมีความเสื่อมโทรมมากกว่าแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ที่ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 กำหนด</p> สุรางคนา ตรังคานนท์, วิชัยรัตน์ แก้วเจือ, นูรนาเดีย เส็นเหร็ม, พรชิตา ชูอินทร์, ธนิยา เกาศล, ณัฐชา โรยสุวรรณ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2041 Sun, 09 Jul 2023 02:48:24 +0700 การศึกษาเชิงเปรียบเทียบการประเมินความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการทำเกษตร กรณีศึกษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเกษตรผสมผสาน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2140 <p>ปัจจุบัน ประเทศไทยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและการรายงานสถานภาพความยั่งยืน เช่น เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDGs ในการดำเนินงานด้านธุรกิจนั้น มีความต้องการที่สูงขึ้นในด้านเครื่องมือที่จะสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ ในภาคเหนือของประเทศไทยนั้นการทำลายป่าเพื่อปลูกพืชเกษตรเป็นการผลิตและบริโภคที่ไม่ยั่งยืนส่งผลต่อการกีดกันทางค้าและกำแพงภาษีในห่วงโซ่อุปทานปศุสัตว์ของโลก ระบบการประเมินความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการทำเกษตร หรือ Sustainability Assessment of Food and Agriculture systems (SAFA) คือกรอบในการประเมินความยั่งยืนในตลอดห่วงโซ่ของเกษตรและอาหาร ซึ่งถูกนำเสนอโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) ในบทความนี้ระบบ SAFA ถูกใช้ในการประเมินด้านธรรมาภิบาลจาก 4 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และธรรมาภิบาล ในกรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเกษตรผสมผสาน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการทำเกษตรกรณีศึกษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเกษตรผสมผสาน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กรเป็นหลัก โดยองค์กรขนาดใหญ่จะมีการดำเนินการด้านเอกสารและระบบที่ชัดเจนทำให้ผลการประเมินมีค่าสูง แต่องค์กรขนาดเล็กไม่มีการดำเนินงานข้างต้นเนื่องจากต้องการองค์ความรู้และค่าใช้จ่าย ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือการที่หน่วยงานกลางสนับสนุนองค์ความรู้และเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการทำเกษตร</p> พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2140 Sun, 09 Jul 2023 10:42:38 +0700 การประเมินความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการปลูกและอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2143 <p>การลงทุนอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันทั่วโลกได้มีการนำเงินไปลงทุนในบริษัทที่มีการดำเนินงานด้านสิ่งเเวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล (ESG) โดยการขยายตัวของความต้องการที่จะลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเพิ่มสูงถึงกว่า 10 เท่า นอกจากนี้ SET พัฒนาดัชนีชี้วัดด้านความยั่งยืน หรือ ที่เรียกกันว่า Sustainability Index วัดการบริหารงานอย่างมีหลักบรรษัทภิบาล พร้อมกับการสร้างผลประกอบการที่ดีในทางเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่สำคัญ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับระบบเกษตรกรรม การประเมินความยั่งยืนของระบบการเกษตรกรรมและอาหารในมิติธรรมาภิบาลภายใต้มาตรฐานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยในโครงการนี้ประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก (1) ส่วนที่ 1 การประเมินจริยธรรมในองค์กร (2) ส่วนที่ 2 จิตสำนึกความรับผิดชอบ (3) ส่วนที่ 3 การมีส่วนร่วม (4) ส่วนที่ 4 หลักนิติธรรม (5) ส่วนที่ 5 การบริหารจัดการแบบองค์รวม ผลการประเมินประเมินความยั่งยืนของระบบการเกษตรกรรมในมิติธรรมาภิบาลของอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยพบว่า ประเทศไทยมีคะแนนระดับดีระดับ 4.0 จากคะแนนเต็ม 5 สาเหตุเนื่องมาจาก โรงงานมีข้อบังคับตามระเบียบและกฎหมายเป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน ทำให้มีการดำเนินงานตามมาตรฐาน แต่เมื่อประเมินภายใต้ประเด็นขนาดของกลุ่มโรงงานหรือองค์กร ได้แก่ (1) กลุ่มโรงงานหรือองค์กร ที่มีขนาดใหญ่ และ (2) กลุ่มขนาดกลางและเล็ก พบว่า มีคะแนนต่างกันถึงประมาณ 20 % (คะแนน 4.4 และ 3.7 ตามลำดับ) สัดส่วนดังกล่าวแสดงถึงช่องว่างความพร้อมของการดำเนินงานความยั่งยืนด้านธรรมาภิบาลของประเทศไทย</p> พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์, อุ่นเรือน เล็กน้อย Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2143 Sun, 09 Jul 2023 10:45:40 +0700 การคาดการณ์การติดเชื้อไข้เลือดออกในอนาคตภายใต้สภาพอากาศโลก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2344 <p>โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก ซึ่งเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญ คาดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้นโดยการขยายถิ่นที่อยู่ของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะหลักในการแพร่เชื้อไข้เลือดออก ซึ่งบทความนี้ได้ทำการวิเคราะห์การคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดจากโรคไข้เลือดออกภายใต้ผลการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในอนาคต โดยการใช้ผลการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ได้จากแบบแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก (GCMs) ห้าแบบ ได้แก่ CMCC, IPSL, NESM3, TaiESM1 และ MIROC6 ในการประมาณค่าการติดเชื้อไข้เลือดออกในอนาคตในจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้ multiple linear regression และ Quartile mapping จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมหลายปัจจัยมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการแพร่กระจายของโรค ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และช่วงอุณหภูมิ ซึ่งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกโดยเมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาประมาณการข้อมูลผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกในอนาคตในจังหวัดเชียงใหม่พบว่าสามารถคาดการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้จากการคาดการณ์มีความใกล้เคียงกับสถานการณ์ปัจจุบัน</p> บารมี กันทะวงศ์, เทพไท ไชยทอง, เปรม รังสิวณิชพงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2344 Sun, 09 Jul 2023 10:50:03 +0700 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดสารตั้งต้นของสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนโดยการใช้ เรซินแลกเปลี่ยนประจุที่มีคุณสมบัติแม่เหล็กและการสร้างและรวมตะกอน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1988 <p>คุณภาพน้ำประปาที่สะอาดปลอดภัย เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน การเติมสารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อโรค อาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการรับสัมผัสสารพลอยได้จากการฆ่าเชื้อโรค (disinfection by products, DBPs) อันเกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารอินทรีย์ละลายน้ำและคลอรีน งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการกำจัดสารอินทรีย์ละลายน้ำจากน้ำดิบคลองอู่ตะเภา จ. สงขลา วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ ศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์และการลดศักยภาพการเกิด DBPs กลุ่มไตรฮาโลมีเทน (trihalomethanes, THMs) โดยกระบวนการสร้างและรวมตะกอนด้วยโพลีอะลูมินัมคลอไรด์ เปรียบเทียบกับการบำบัดด้วยเรซินแลกเปลี่ยนประจุที่มีคุณสมบัติแม่เหล็ก (magnetic ion exchange (MIEX) resin) น้ำดิบมีปริมาณสารอินทรีย์คาร์บอนละลายน้ำ (dissolved organic carbon, DOC) เท่ากับ 2.31 mg/L เมื่อเติมคลอรีนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อให้เกิด THMs 349 µg/L เรซิน MIEX มีประสิทธิภาพในการกำจัด DOC มากกว่ากระบวนการสร้างและการรวมตะกอน กล่าวคือ การใช้กระบวนการสร้างและรวมตะกอน สามารถกำจัด DOC ได้ 43% และลดการเกิด THMs ได้ 45% ในขณะที่การบำบัดด้วยเรซิน MIEX สามารถกำจัด DOC ได้ 64% และลดการเกิด THMs ได้ 63% การสร้างและรวมตะกอนลดการเกิดคลอโรฟอร์มได้ดี แต่ส่งผลให้เกิด THMs ที่มีโบรไมด์เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลเพิ่มสูงขึ้น การบำบัดน้ำด้วยเรซิน MIEX สามารถลดการเกิด THMs ทั้งที่มีโบรไมด์และไม่มีโบรไมด์เป็นองค์ประกอบได้ ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมสูงกว่า การบำบัดขั้นต้นด้วยเรซิน MIEX ก่อนการสร้างและรวมตะกอนยังสามารถลดความต้องการสารสร้างแกนตะกอนและความต้องการคลอรีนได้ดี จากผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของสารอินทรีย์ด้วยเทคนิคฟลูออเรสเซนต์เอ็กซ์ไซเทชัน-อีมิสชัน เมทริกซ์ บ่งชี้ว่าการสร้างและรวมตะกอนแสดงพฤติกรรมเลือกกำจัดสารอินทรีย์กลุ่มฮิวมิก ในขณะที่เรซิน MIEX สามารถกำจัดสารอินทรีย์กลุ่มฮิว-มิก ฟุลวิค และโปรตีน ได้ดีทุกกลุ่ม</p> นารีนาฏ รันทม, ปณิธาน จูฑาพร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1988 Sun, 09 Jul 2023 10:52:23 +0700 ผลของการปรับสภาพกกอียิปต์ด้วยกระบวนการแบบสองขั้นตอน ระหว่างไฮโดรเทอร์มอลและการปรับสภาพทางเคมีด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2007 <p>กกอียิปต์เป็นพืชลิกโนเซลลูโลสที่มีเส้นใยเซลลูโลสสูง อัตราผลผลิตสูงและเจริญเติบโตได้ง่าย เหมาะสมในการผลิตเป็นเซลลูโลสไฟเบอร์ เพื่อดูดซับมลสารที่ปนเปื้อนในน้ำเสีย จึงจำเป็นต้องมีการปรับสภาพที่เหมาะสม โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของกกอียิปต์ก่อนและหลังการปรับสภาพแบบสองขั้นตอน โดยทำการปรับสภาพในขั้นตอนแรกด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลที่อุณหภูมิ 220 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 15 นาที และการปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส โดยทำการแปรเปลี่ยนระยะเวลาการปรับสภาพที่ 30 45 และ 60 นาที จากผลการศึกษาพบว่ากกอียิปต์ก่อนการปรับสภาพมีปริมาณเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน เท่ากับ ร้อยละ 48.88 11.1 และ 7.69 ตามลำดับ เมื่อทำการปรับสภาพแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยาโดยมีลักษณะมีพื้นผิวแตกหัก ไม่ยึดเกาะกัน แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของลิกนินที่เป็นตัวยึดเกาะเซลลูโลสถูกทำลาย องค์ประกอบทางเคมีหลังการปรับสภาพมีปริมาณเซลลูโลสเพิ่มขึ้นมากที่สุดที่การปรับสภาพด้วยระยะเวลา 60 นาที ให้ปริมาณเซลลูโลสดีที่สุด เท่ากับ ร้อยละ 89.23 และสามารถกำจัดปริมาณเฮมิเซลลูโลสและลิกนินได้มากที่สุด</p> ฐนียา รังษีสุริยะชัย, มณฑิรา พงษ์พยัคฆ์, กาญจนา ลอยทะเล, คฑาพล ปิ่นพัฒนพงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2007 Sun, 09 Jul 2023 10:54:19 +0700 ผลของการปรับสภาพสองขั้นตอนต่อองค์ประกอบของหญ้าเนเปียร์ ด้วยการอบไอน้ำร่วมกับการใช้สารละลายด่าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2024 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับสภาพหญ้าเนเปียร์แบบสองขั้นตอนโดยทำการปรับสภาพร่วมกันระหว่างการอบไอน้ำกับ การปรับสภาพด้วยสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ การทดลองนี้ได้ทำการปรับสภาพแบบสองขั้นตอนซึ่งในขั้นตอนแรกทำการปรับสภาพด้วย การอบไอที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส ทำการแปรเปลี่ยนระยะเวลาในการปรับสภาพที่ 45 และ 60 นาที จากนั้นทำการปรับสภาพในขั้นตอนที่สองด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 3.5 และ 5.5 ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 40 นาที ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน ของหญ้าเนเปียร์ทั้งก่อนปรับสภาพและหลังปรับสภาพในทุกขั้นตอน ปัจจัยที่มีผลในกระบวนการปรับสภาพด้วยวิธีนี้ คือ เวลาที่ใช้ อุณหภูมิ ขนาดของวัสดุตั้งต้นที่ใช้ และความเข้มข้นของสารละลายด่าง โดยผลการทดลองพบว่าองค์ประกอบทางเคมีมีการเปลี่ยนแปลงหลังการปรับสภาพสองขั้นตอน โดยสามารถกำจัดลิกนิน และเพิ่มปริมาณเซลลูโลสได้ดีกว่าการปรับสภาพขั้นตอนเดียว ทำให้มีความสามารถในการนำไปผลิตเป็นวัสดุเซลลูโลสไฟเบอร์ในการดูดซับโลหะหนักในน้ำเสียได้ต่อไป</p> ฐนียา รังษีสุริยะชัย, กาญจนา ลอยทะเล, มณฑิรา พงษ์พยัคฆ์, พัฒน์ คำเพราะ, พัชราภา สวัสดิ์ขวัญเมือง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2024 Sun, 09 Jul 2023 11:00:41 +0700 การกำจัดไอออนโลหะหนักจากน้ำเสียอุตสาหกรรมโดยใช้เปลือกเมล็ดทานตะวันปรับสภาพ: การดูดซับและจลนพลศาสตร์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2197 <p>เปลือกเมล็ดทานตะวันปรับสภาพด้วย K2CO3 0.8 โมลาร์ เผาที่อุณหภูมิ 400°C (400-K2CO3MSSH) ได้ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุดูดซับเพื่อทำการดูดซับ Ni (II) Zn (II) Pb (II) และ Cd (II) จากน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียอุตสาหกรรมแบบกะที่สารละลาย pH 5 ความเข้มข้นเริ่มต้นของไอออนโลหะหนักเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าการกำจัด Ni(II) Zn(II) Pb(II) และCd(II) ออกจากสารละลายไอออนเดี่ยวมีค่าร้อยละ 96.50, 97.03, 96.98 และ 97.54 ตามลำดับ ส่วนการกำจัด Ni(II) Zn(II) Pb(II) และCd(II) แบบแข่งขันจากสารละลายไอออนผสมทั้งสี่มีค่าเป็น 87.16, 94.30, 98.02 และ 97.01 ตามลำดับ สำหรับน้ำเสียจากอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งรวบรวมจากหน่วยบำบัดกากสีพบว่าตัวดูดซับสามารถกำจัด Ni(II) และ Zn(II) ได้ร้อยละ 75.25 และ 87.50 ตามลำดับ ส่วนในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมโรงกลึงสามารถกำจัด Zn(II) และ Pb(II) ได้ร้อยละ 78.18 และ 88.34 ตามลำดับ พบว่าไอออนทุกชนิดให้ผลแบบจำลองการดูดซับสอดคล้องกับแบบแลงเมียร์มากกว่าแบบฟรุนดลิช จลนศาสตร์ของการดูดซับของน้ำเสียสังเคราะห์เดี่ยวและน้ำเสียสังเคราะห์ผสมของไอออนทั้ง 4 ชนิดสอดคล้องกับสมการอันดับสองเทียม โดยการดูดซับไอออนเดี่ยวพบมีค่าคงที่อัตราสำหรับการดูดซับมีค่าเป็น 0.032, 0.134, 0.108,และ 0.156 กรัมต่อมิลลิกรัม-นาที และมีค่าความสามารถในการดูดซับเป็น 7.39, 10.56, 10.76 และ 10.52 มิลลิกรัมต่อกรัม สำหรับ Ni (II) Zn (II) Pb (II) และCd (II) ตามลำดับ</p> ศิริวรรณ ศรีสรฉัตร์, จันจิรา จับศิลป์, สุธิดา ทีปรักษพันธุ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2197 Sun, 09 Jul 2023 11:04:21 +0700 การเตรียมและการหาลักษณะเฉพาะของถ่านกัมมันต์ไมโครกากกาแฟ เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียโรงงานยาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2525 <p>งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมและการหาลักษณะเฉพาะของถ่านกัมมันต์ไมโครกากกาแฟเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียโรงงานยาง เนื่องจากน้ำเสียจากโรงงานยางมีสารประกอบอินทรีย์ ไนโตรเจน สารซัลเฟตและสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ที่มีความเข้มข้นสูง สารซัลเฟตก่อให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ ที่มีกลิ่นเหม็น น้ำเสียโรงงานยางมีค่าความขุ่นเท่ากับ 29.8 NTU และค่าความเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับ 8.4 เมื่อทำการเตรียมผงถ่านกัมมันต์ไมโครกากกาแฟด้วยเครื่องบดย่อยพลังงานสูงเป็นเวลา 60 นาที ผ่านกระบวนการคาร์บอไนเซซันที่ 400 °C กระตุ้นด้วยสารโซเดียมคลอไรด์ 30% สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำได้ โดยจากการถ่ายภาพผงถ่านกัมมันต์ไมโครกากกาแฟด้วยเครื่องจุลทรรศ์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่ารูพรุนมีขนาดอยู่ในช่วง 1-4 ไมโครเมตร และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุพบว่าผงถ่านกัมมันต์ไมโครกากกาแฟประกอบด้วยธาตุ C, O, Na และ Cl หลังจากนั้นนำผงถ่านกัมมันต์ไมโครกากกาแฟแช่ในน้ำเสียเป็นเวลา 5 วัน พบว่าน้ำเสียมีค่าความขุ่นเท่ากับ 9.6 NTU มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับ 8.5 และพบว่าผงถ่านกัมมันต์ไมโครกากกาแฟกระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์ที่แช่ในน้ำเสียตรวจพบธาตุ K, Mg, Ca, P และ S เพิ่มขึ้นมาซึ่งจากเดิมประกอบด้วยธาตุ C, O, Na และ Cl</p> ชลธิรา แสงสุบัน, สุปานดี มณีโลกย์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2525 Sun, 09 Jul 2023 11:07:20 +0700 Textile Wastewater Treatment by Mutant Enterobacter sp. https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2548 <p>The current study aimed to enhance the ability of Enterobacter to decolorize textile wastewater (TW) by sequential mutation using the UV irradiation method. The wild type was exposed to UV for 60 sec at a distance of 60 cm. The mutant strain showed the highest decolorization efficiency at 87.52±0.11% after using the UV irradiation for 60 sec. While, only 81.15% was observed by wild type. Afterward, the effects of environmental conditions were optimized to enhance the decolorization of TW. The mutant strain showed the highest decolorization efficiency at 90.88% using 100% of TW under pH 7, 100 rpm, 35 °C and 12 h of incubation. Moreover, mutant not only decolorize dye in TW but also improved the quality of the water under optimal conditions. The treated TW met the criteria of the Water Quality Standard, Thailand.</p> Assoc. Prof. Dr. Kanokphorn Sangkharak Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2548 Sun, 09 Jul 2023 11:09:41 +0700 Effect of Nickel Doping on Electrochemical Ozone Generation of Nickel and Antimony Doped Tin Oxide Anodes https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2582 <p>Ozonization has been recognized as a highly effective agent for water and wastewater treatment, therefore, it has been applied for disinfection, oxidation of organic and inorganic compound, and destruction of microorganisms. Ozone can be generated by electrochemical process using the nickel and antimony doped tin oxide (NATO) catalyst. This study presents the optimal Ni content of NATO and their surface properties to correlate with ozone generation. The NATO anodes were prepared by sol-gel and dip-coating method with varying the Ni content between 0.5% and 3% with calcination temperature at 450 oC. The significant findings show that XRD pattern of all NATO anodes showed a single rutile phase, resulting Sb5+ and Ni2+ ions replaced into Sn4+ ions in the SnO2 lattice due to the ion radius. The morphology of NATO anodes demonstrated spherical shape and well disperse. Regarding the chemical oxidation state from XPS technique, the binding energies of the Sb3d3/2 peak at 540.61 eV and 541.49 eV agree with Sb3+ and Sb5+, respectively. These chemical oxidation state can drive to active sites of oxygen adsorption and ozone activity. The optimal Ni content at 1.5% on the NATO anode was obtained the maximum ozone current efficiency of 18.7% and the current density ca. 0.08 A cm-2 in 0.5 M H2SO4 with potential of 2.7V. The ozone current efficiency and current density decreased as a function of nickel content. An electrochemical oxidation rate is observed at high current densities due to production of •OH and O3.</p> สุปานดี มณีโลกย์; ชลธิรา แสงสุบัน Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2582 Sun, 09 Jul 2023 11:12:03 +0700 ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2019 <p>ระบบตรวจสุขภาพเขื่อนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปรับปรุงขั้นตอนในการประเมินสถานะความปลอดภัยเขื่อน โดยระบบจะดึงข้อมูลแบบ Real Time จากเครื่องมือที่ทำการติดตั้งตามเขื่อนต่างๆ เช่น เครื่องวัดความดันน้ำในตัวเขื่อน/ฐานรากเขื่อน (Piezometer), เครื่องมือวัดการไหลซึมผ่านตัวเขื่อน (Seepage Weir), เครื่องมือตรวจวัดข้อมูลแผ่นดินไหว (Seismic instrument) เป็นต้น มาวิเคราะห์ด้วยระบบเสมือนผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ซึ่งได้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเขื่อน เพื่อให้ระบบสามารถประเมินสถานะความปลอดภัยของเขื่อนได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องตามหลักวิชาการมากที่สุด จากนั้นจะทำการแจ้งผลไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยเขื่อน ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบถึงสิ่งผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันการณ์ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงปลอดภัยเขื่อนต่อภาคประชาชน</p> สิริเชษฐ์ สำราญอยู่ดี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2019 Sat, 08 Jul 2023 15:59:34 +0700 การติดตามการเคลื่อนตัวของโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้เทคโนโลยี InSAR : กรณีศึกษาอ่างพักน้ำตอนบน โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2193 <p>ปัญหาการเคลื่อนตัวของโครงสร้างพื้นฐานสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย หากไม่ได้รับการติดตามหรือตรวจสอบจะส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเรดาร์อินเตอร์เฟอโรเมตรีจึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับการติดตามและตรวจสอบโครงสร้างที่สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้มากขึ้น ลดการใช้ทรัพยากรบุคคล ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงในระยะยาว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลลัพธ์จากการติดตามการเคลื่อนตัวของโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้เทคโนโลยี InSAR ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-1 ในแนวการโคจรของดาวเทียมทั้งขาขึ้น (Ascending) และขาลง (Descending) จำนวนอย่างละ 34 ภาพ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึง เดือนมกราคม 2566 มาทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอนุกรมเวลาอินซาร์ (TSInSAR) พื้นที่ศึกษาคือ อ่างพักน้ำตอนบน โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา จากผลลัพธ์ที่ได้พบค่าการเคลื่อนตัวของโครงสร้างประมาณ -04.69 ถึง +05.62 มิลลิเมตรต่อปี ในแนวการโคจรแบบขาขึ้น ขณะที่ค่าการเคลื่อนตัวในแนวการโคจรแบบขาลง ประมาณ -03.84 ถึง +05.84 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งค่าการเคลื่อนตัวของโครงสร้างที่แตกต่างกันอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ การวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลในแนวการโคจรของดาวเทียมแบบขาขึ้นหรือแบบขาลงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงสามารถเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์บริเวณพื้นที่ที่มีการทรุดตัวโดยการใช้ข้อมูลในแนวการโคจรแบบขาขึ้นและแบบขาลงร่วมกัน นอกจากนี้ ผลจากการวิเคราะห์ในงานวิจัยสามารถนำไปใช้ร่วมกับเทคนิคทางวิศวกรรมและสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้แม่นยำมากขึ้น</p> ชญาภา เลาหะอุดมโชค, อนุเผ่า อบแพทย์, สรวิศ สุภเวชย์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2193 Sun, 09 Jul 2023 09:39:02 +0700 การศึกษาผลของช่วงเวลาในการควบคุมการใช้งานของแอร์แว ต่อความดันและอัตราการไหลของระบบส่งน้ำ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2242 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของช่วงเวลาในการควบคุมการใช้งานของแอร์แวต่อค่าความดันและอัตราการไหลในระบบส่งน้ำที่ติดตั้งแอร์แว โดยผู้ศึกษาได้ใช้ระบบส่งน้ำที่มีการติดตั้งแอร์แวสูงสุด 3 ตัว ผ่านท่อส่งน้ำหลักขนาด 2 นิ้ว โดยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 9 กรณีที่แตกต่างกันจากการใช้งานแบบควบคุมการใช้งานของแอร์แว และควบคุมการเปิดปิดประตูด้านท้ายน้ำ โดยจะทดสอบในช่วงอัตราการไหลระหว่าง 140 ถึง 300 ลิตรต่อนาที พบว่าการใช้งานโดยการติดตั้งแอร์แว 2 ตัวไม่แตกต่างกับ 3 ตัว ในส่วนของการควบคุมการใช้งานของแอร์แว พบว่ากรณีศึกษาที่ 8 ที่ทำการทดสอบโดยการปิดประตูน้ำด้านท้ายน้ำพร้อมกับเปิดการใช้งานของแอร์แวจนกว่าความดันในแอร์แว ขึ้นถึงจุดสูงสุดประมาณ 6 วินาที แล้วค่อยปล่อยให้น้ำไหลผ่านท่อส่งน้ำ หลังจากนั้นจึงควบคุมการเปิด-ปิดการใช้งานของแอร์แวพร้อมกับควบคุมการเปิด-ปิดประตูน้ำด้านท้ายน้ำที่เวลา 10 วินาที เป็นช่วงๆของทดสอบ 80 วินาที จะช่วยดักอากาศที่อยู่ในเส้นท่อซึ่งสามารถลดการผันผวนของอัตราการไหล และความดันได้ดีที่สุด</p> พนิดา สีมาวุธ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2242 Sun, 09 Jul 2023 09:43:16 +0700 ต้นแบบเครื่องมือวัดมิติตามขวางของอุโมงค์ทางรถไฟด้วยเลเซอร์วัดระยะ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2436 <p>ในปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีเขตโครงสร้าง (Structure gauge) ตามทางรถไฟตลอดเส้นทางของประเทศ ขนาดของ เขตบรรทุก (Loading gauge) จำเป็นต้องมีขนาดปลอดภัยที่จะผ่านเขตโครงสร้าง อุโมงค์ก็เช่นกันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเขตโครงสร้างที่ระยะห่าง ระยะระหว่างผนังของอุโมงค์กับขบวนรถมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเคลื่อนตัวของผนังอุโมงค์เอง จากการมีหัวรถจักร ขบวนรถโดยสารหรือ รถขนตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ที่มีขนาดใหม่ ตลอดจนจากการซ่อมบำรุงทางรถไฟให้มีระดับสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลจนเกิดปัญหาขบวนรถดังกล่าวเบียดชนกับผนังของอุโมงค์ได้ จากรายงานคณะทำงานตรวจสอบโครงสร้างทางของ รฟท. รายงานว่าเกิดการเบียดชนระหว่างรถจำลองเขตบรรทุก (Mock up car) ในอุโมงค์ช่องเขา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยที่ไม่ทราบจุดที่ชนแน่นอน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการเดินรถในอุโมงค์จึงจำเป็นต้องดำเนินกาตรวจสอบมิติของอุโมงค์ดังกล่าวโดยละเอียด ว่าจุดใดเป็นจุดที่เกิดการชน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขไม่ให้เกิดการเบียดชนอีก ดังนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบของ รฟท. จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสม ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาต้นแบบเครื่องมือ อุปกรณ์ประกอบ และขบวนการวัดมิติหน้าตัดตามขวางของอุโมงค์ ต้นแบบเครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์แบบมือถือที่ทำงานร่วมกับการใช้และไม่ใช้แผ่นจานองศาถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้สามารถนำข้อมูลการวัดระยะทางจากศูนย์กลางแนวรางถึงผนังอุโมงค์ตามองศาต่างๆจากแนวราบมาจำลองหน้าตัดตามขวางของผนังอุโมงค์ ผลการพัฒนาและทดลองใช้งาน สรุปได้ว่า ต้นแบบเครื่องมือ อุปกรณ์ประกอบ และขบวนการวัด สามารถระบุตำแหน่งของอุโมงค์ช่องเขาที่มีปัญหาการเบียดชนได้อย่างถูกต้องภายใต้ความแม่นยำที่เพียงพอที่จะตรวจจับความผิดปกติของผนังอุโมงค์ ขนาดของขบวนรถที่ใหญ่เกินไป การยกตัวของโครงสร้างทางและรางเนื่องจากการซ่อมบำรุง ตลอดจนต้นแบบมีความเหมาะสมต่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งานตามแขวงและเขตทางต่างๆของ รฟท. ทั่วประเทศ</p> กิติเดช สันติชัยอนันต์, สุริยา พิทักษ์กุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2436 Sun, 09 Jul 2023 09:47:57 +0700 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ เพื่อประเมินความรุนแรงและจัดทำแผนที่อันตราย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2458 <p>ระบบการประเมินความเสี่ยงทางน้ำสำหรับใช้ในการระบุและวิเคราะห์จุดอันตรายและความเสี่ยงในการขนส่งทางน้ำเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในระบบการจัดการจราจรทางน้ำที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความล่าช้าและลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ เพื่อประเมินความรุนแรงและจัดทำแผนที่จุดอันตรายโดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ขององค์กรทางทะเลระหว่างประเทศและหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ความเสี่ยง บทความนี้ยังได้นำเสนอการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของอุบัติเหตุระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564 โดยแสดงแผนที่จุดเสี่ยงของอุบัติเหตุสำคัญในการสัญจรในแม่น้ำเจ้าพระยาอันมีสาเหตุร่วมระหว่างความผิดพลาดของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เรือเสียการทรงตัวหรือการชนกับสะพานที่มีช่องลอดและระยะตอม่อจำกัด จุดบรรจบแม่น้ำ จุดเสี่ยงใกล้ท่าเรือ จุดอันตรายใต้น้ำ เช่น เสาไม้ เสาตอม่อคอนกรีต เป็นต้น ระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสำรวจและการแสดงผลข้อมูลและการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ระบบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับโครงการก่อสร้างหรือการอำนวยการจราจรทางน้ำในอนาคตได้ โดยสามารถช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงและแสดงผลเป็นแผนที่ความเสี่ยงและภาพความจริงเสริมที่จะช่วยในการคาดการณ์เหตุการณ์อันตรายและลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้</p> สโรชา ดิษฐพูล, ฆนิศา รุ่งแจ้ง, พงษ์ศักดิ์ สุริยวนากุล, กิตติพศ ประภัศร Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2458 Sun, 09 Jul 2023 09:53:19 +0700 แบบจำลองความจริงเสริม (AR) สำหรับงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าใต้ดิน และการประเมินผลการเลือกใช้แบบจำลองด้วย FUZZY AHP https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2469 <p>แบบจำลองความจริงเสริม (Augmented Reality, AR) เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการวิเคราะห์และแสดงผลที่มีการประยุกต์ใช้ในหลายศาสตร์รวมทั้งการวางแผนและการจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐาน การนำ AR มาใช้ในงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าใต้ดินนอกจากจะเป็นการพัฒนาแบบจำลองทางวิศวกรรมเพื่อช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุและความล่าช้าระหว่างการก่อสร้างแล้วยังเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่และความน่าอยู่ตามแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) และยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองความจริงเสริม (AR) สำหรับงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าใต้ดิน และเพื่อทำการประเมินผลการเลือกใช้แบบจำลองโดยวิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Fuzzy AHP) งานวิจัยนี้สามารถนำเสนอแบบจำลอง AR สำหรับการก่อสร้างใต้ดินทั้งในระยะก่อนการก่อสร้าง ระยะการก่อสร้าง และระยะหลังการก่อสร้างตามข้อกำหนดในการปฏิบัติงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แบบจำลอง AR ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปช่วยในการจัดการและการแสดงผลขั้นตอนการก่อสร้างที่ซับซ้อนซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งในงานก่อสร้างและงานอบรมในงานระบบไฟฟ้าใต้ดินด้วยวิธีการเจาะเพื่อดึงท่อ (HDD) ในจังหวัดเพชรบุรี สำหรับการประเมินผลการเลือกใช้แบบจำลองนั้นได้ทำการวิเคราะห์ Fuzzy AHP เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยในการเลือกใช้และวิเคราะห์ทางเลือกของแบบจำลองโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 30 ท่าน จาก กฟภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ การประปาส่วนภูมิภาค องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการวิเคราะห์การเลือกใช้แบบจำลองพบว่าปัจจัยที่สำคัญในการเลือกใช้ ได้แก่ โปรแกรมและคอมพิวเตอร์ องค์กร การนำไปใช้ และความสามารถของบุคลากร ตามลำดับ แบบจำลองที่เหมาะสมสำหรับงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าใต้ดิน ได้แก่ แบบจำลองที่ผสมผสานแบบ 3 มิติและ AR รองลงมาเป็นแบบจำลอง 2 มิติ แบบจำลองที่ผสมผสานแบบจำลอง 2 มิติ และ 3 มิติ และแบบจำลอง AR ตามลำดับ ทั้งนี้การพัฒนา AR ควรพิจารณาระดับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความถูกต้องของแบบจำลองและการวางแนวสาธารณูปโภคที่เหมาะสมกับการใช้งาน การร่วมกันพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจะช่วยให้มีการใช้นวัตกรรมและแบบจำลองอย่างมีประสิทธิภาพ</p> สรรเพชร คงถาวร, ฆนิศา รุ่งแจ้ง, พงษ์ศักดิ์ สุริยวนากุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2469 Sun, 09 Jul 2023 09:58:53 +0700 การทดสอบคุณสมบัติผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตบนทางยกระดับจากการใช้งานกว่า 26 ปี https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2067 <p>ทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงดินแดง-อนุสรณ์สถานเป็นทางยกระดับขนาด 3 ช่องจราจรต่อทิศทาง มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร มีทางขึ้นลงจำนวน 24 จุด โครงสร้างส่วนบนมีความกว้างรวม 25.35 เมตร เป็นคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวที (T-Girder) จำนวน 10 ตัว พื้นคอนกรีตเทในที่หนา 18 เซนติเมตร ปูลาดทับด้วยผิวแอสฟัลต์คอนกรีต หนา 5 เซนติเมตร มีรอยต่อเพื่อการขยายตัวในทุกๆ เสา เป็นชนิด Strip Seal และปูทับด้วย Asphaltic Plug Joint รองรับปริมาณจราจรประมาณ 100,000 เที่ยวต่อวัน ทางเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2537 ยังไม่พบความเสียหายของผิวทางที่แสดงถึงการเสื่อมกำลังวัสดุ อาทิ หลุมบ่อ หรือ ร่องล้อ ได้ปรับปรุงเพื่อเพิ่มความฝืดด้วยวิธี Micro Surfacing ในปี 2550 และ 2559 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผิวทางใช้งานมาตั้งแต่ 2537 เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพของผิวทาง จึงได้ทดสอบคุณสมบัติวัสดุและประเมินคุณภาพ หลังจากใช้งานผิวทางมาเป็นระยะเวลากว่า 26 ปี ได้เจาะตัวอย่างวัสดุทุกๆ 1 กิโลเมตร ทั้ง 3 ช่องทาง ทดสอบความหนาแน่น ปริมาณช่องว่าง ร้อยละของแอสฟัลต์ในส่วนผสม ค่ากำลังและการไหล (Stability &amp; Flow) และทำการตรวจวัดความผืด (IFI) ของผิวทางด้วยวิธี Fixed Slip พร้อมกับตรวจวัดความขรุขระ (IRI) และความลึกร่องล้อแบบต่อเนื่องด้วย Laser Profilometer จากนั้นเอาผลการเจาะสำรวจวัสดุ วางซ้อนกับค่า IFI, IRI และค่าร่องล้อ โดยอ้างอิงกับพิกัด GPS ควบคู่กับภาพถ่าย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์คุณสมบัติผิวทางด้วยข้อมูลที่รอบด้านเท่าที่ตรวจวัดได้ ตัวอย่างวัสดุจำนวน 197 ก้อน มีความหนาแน่น 2.22-2.46 กรัม/ลบ.ซม ปริมาณช่องว่าง 1.7-11.3% ปริมาณแอสฟัลต์ 4.95-5.13% ค่า Stability 1,523-6,850 ปอนด์ ตัวอย่าง 99% มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานกรมทางหลวง ทล.-ม. 408 ความลึกร่องล้อเฉลี่ย 5.11 มิลลิเมตรปริมาณพื้นที่เป็นไปตามมาตรฐาน 99.5% ค่าความขรุขระเฉลี่ย 2.74 เมตร/กิโลเมตร ปริมาณพื้นที่เป็นไปตามมาตรฐาน 94.9% และ ค่าความฝืดเฉลี่ย 0.41 ปริมาณพื้นที่เป็นไปตามมาตรฐาน 95.6% โดยรวมแล้วถือว่าวัสดุแอสฟัลต์มีคุณสมบัติดีกว่าที่คาดสำหรับผิวทางอายุ 26 ปี และยังคงมีความเรียบและความฝืดเป็นตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง</p> เอกรินทร์ เหลืองวิลัย, เอกพล เพชรศรีช่วง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2067 Sun, 09 Jul 2023 10:04:00 +0700 การศึกษาคุณสมบัติของอิฐทดแทนเพื่อใช้อนุรักษ์อาคารก่ออิฐโบราณ ชุมชนบ้านท่าแร่ จังหวัดสกลนคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2125 <p>อาคารก่ออิฐโบราณในชุมชนบ้านท่าแร่ เป็นโครงสร้างผนังก่ออิฐรับน้ำหนัก ปัจจุบันอาคารก่ออิฐโบราณทั้ง 4 หลัง พบรอยแตกร้าวหลายแห่งโดยเฉพาะผนังก่ออิฐและซุ้มก่ออิฐวงโค้ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของอิฐทดแทน โดยใช้ดินเหนียวในพื้นที่มาผลิตอิฐด้วยวิธีการเผาแกลบ จากการศึกษา พบว่า&nbsp;1) ลักษณะของดินที่ใช้ผลิตอิฐเป็นดินเหนียวปนทราย&nbsp;2) การทดสอบกำลังรับแรงอัดของอิฐทดแทน&nbsp;กลุ่มตัวอย่าง&nbsp;A ดินเหนียวผสมเถ้าแกลบในอัตราส่วน ร้อยละ&nbsp;4 % มีค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด&nbsp;ส่วนในกลุ่มตัวอย่าง B ดินเหนียวผสมทรายอัตราส่วน 20 % และเถ้าแกลบที่ 4 %&nbsp;มีค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด&nbsp;เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่าง A มีค่ากำลังรับแรงอัดมากกว่ากลุ่มตัวอย่าง B แต่ผลการทดสอบของอิฐทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน (มอก. 77-2517) และ 3) การทดสอบการดูดซึมน้ำของอิฐทดแทนในกลุ่มตัวอย่าง&nbsp;A และ B พบว่า กลุ่มตัวอย่าง B มีค่าดูดซึมน้ำน้อยกว่า โดยผลทดสอบค่าการดูดซึมน้ำทั้ง 2 ตัวอย่าง มีค่าไม่เกินมาตรฐาน (มอก. 77-2517) การศึกษาอิฐทดแทนครั้งนี้เป็นหนึ่งในวิธีการอนุรักษ์อาคารเก่าให้คงสภาพดั้งเดิมและคงเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเอาไว้&nbsp;โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถส่งเสริมให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมให้กับผู้ที่สนใจต่อไปได้</p> จารุวัฒน์ ถาวรไพศาลชีวะ, ปกรณ์ พัฒนานุโรจน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2125 Sun, 09 Jul 2023 10:09:05 +0700 คุณสมบัติเชิงกลของวัสดุชั้นพื้นทางเดิมปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์ร่วมกับยางอิมัลชัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2287 <p>บทความนี้ต้องการนำเสนอคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุชั้นพื้นทางเดิมปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์ร่วมกับยางอิมัลชัน ที่กรมทางหลวงชนบทได้ทำการทดลองปรับปรุงคุณภาพวัสดุชั้นพื้นทางเดิมของถนนสาย นม.3038 แยกทางหลวงหมายเลข 201 - บ้านดอนใหญ่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา โดยทำการปรับปรุงวัสดุชั้นพื้นทางเดิม 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 เป็นวัสดุชั้นพื้นทางเดิมที่ไม่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์ กลุ่ม 2 เป็นวัสดุชั้นพื้นทางเดิมที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์มาแล้ว การทดลองปรับปรุงนี้ใช้ปริมาณปูนซีเมนต์คงที่ที่ร้อยละ 4.75 โดยน้ำหนักของวัสดุพื้นทางเดิม ร่วมกับยางอิมัลชันในปริมาณร้อยละ 0, 1 และ 2 โดยน้ำหนักของวัสดุพื้นทางเดิม จากผลการทดลองพบว่าค่ากำลังอัดแกนเดียว (Unconfined Compressive Strength; UCS) มีค่าลดลงแปรผันกับปริมาณยางอิมัลชันที่เพิ่มขึ้น ค่าความต้านทานแรงดึงทางอ้อม (Indirect Tensile Strength; ITS) และค่าโมดูลัสคืนตัว (Resilient Modulus; Mr) มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณยางอิมัลชันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเห็นได้ว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์ร่วมกับยางอิมัลชันของกลุ่ม 1 มีคุณสมบัติเชิงกลดีกว่ากลุ่ม 2</p> จักรพงษ์ วงค์คำจันทร์, ณัฐวิทย์ เวียงยา, สกนธ์ พิทักษ์วินัย, ประจักษ์ ทูลกสิกร, พิทยุตม์ เจริญพันธุ์, นางสาวนูรีฮัน ซา, กฤษดา เหมือนเนียม Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2287 Sun, 09 Jul 2023 10:14:09 +0700 การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการก่อสร้างทางเท้าและทางจักรยานโดยใช้วัสดุรีไซเคิลสำเร็จรูป https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2430 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาประเภททางจักรยานที่เหมาะสม โดยงานวิจัยนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักโดยในส่วนแรกจะศึกษาลักษณะทางกายภาพและข้อเด่นข้อด้อยของทางจักรยานในแต่ละแบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วย ทางจักรยานแบบกรวด, ทางจักรยานแบบ spray seal treatment, ทางจักรยานแบบพื้นผิวคอนกรีต, ทางจักรยานแบบ Asphalt Surface, ทางจักรยานแบบ Concrete Block Pavers (CBPs) และทางจักรยานแบบ Recycle plastic road โดยการศึกษาส่วนที่สอง จะเป็นการนำกระบวนการวิเคราะห์เชิงโครงข่าย (Analytic Network Process, ANP) มาวิเคราะห์หาทางจักยานที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับกรณีศึกษา ภายใต้หลักเกณฑ์หลัก 3 ประการ และหลักเกณฑ์รอง 10 ประการ ได้แก่ 1.ปัจจัยด้านการก่อสร้าง ซึ่งจะประกอบไปด้วยต้นทุนราคาค่าก่อสร้าง, ระยะเวลาในการก่อสร้าง และความยุ่งยากในก่อสร้าง 2.ปัจจัยด้านประสิทธิภาพทางวิ่ง ซึ่งจะประกอบไปด้วย คุณภาพของผิวทาง, อายุการใช้งาน, ความสวยงามของผิวทาง และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.ปัจจัยด้านการซ่อมบำรุง ซึ่งจะประกอบไปด้วย ความสะดวกในการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุง, ราคาค่าซ่อมบำรุง และการปรับเปลี่ยนในอนาคต โดยจัดทำแบบสอบถาม-สัมภาษณ์ แก่ผู้ดำเนินงานการก่อสร้างถนน ผู้รับเหมา และผู้ใช้งานทางจักรยาน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์เชิงโครงข่าย (ANP) เพื่อหาประเภททางจักรยานที่เหมาะสม</p> จอมพล เณรน้อย Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2430 Sun, 09 Jul 2023 10:16:37 +0700 การประยุกต์ใช้เสาเข็มเหล็กในงานโครงสร้างพื้นฐาน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2439 <p>เสาเข็มเหล็กถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการก่อสร้างฐานรากของโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการในไทยเช่น เสาไฟถนนแบบสูง ป้ายจราจร ฐานรากถนนและกำแพง เป็นต้น การออกแบบที่โดดเด่นทำให้ลักษณะการรับน้ำหนักของเสาเข็มเหล็กซับซ้อนกว่าเสาเข็มทั่วไปมาก เสาเข็มเหล็กมีข้อดีคือความสามารถในการรับน้ำหนักสูง การใช้งานที่หลากหลาย การติดตั้งเสาเข็มที่รวดเร็ว ไม่มีเสียงรบกวนและไม่สั่นสะเทือน บทความนี้จะนำเสนอแนวคิดในการออกแบบและพฤติกรรมการรับน้ำหนักของฐานรากเสาเข็มเหล็กในโครงการก่อสร้างรูปแบบต่างๆ การวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะการรับน้ำหนักของฐานรากของเสาเข็มเหล็กและเสาเข็มแบบทั่วไปจากการตรวจสอบภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่าในฐานรากแบบที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของเสาเข็มเท่ากันเสาเข็มเหล็กจะมีความสามารถในการรับน้ำหนักสูงสุดของสูงกว่าเสาเข็มแบบทั่วไป</p> นพดล ชูคง, สราวุธ จริตงาม, เชิงชาย ทิพย์วีรกุล, ประเสริฐ ธรรมมนุญกุล, สมเกียรติ ชูแสงสุข Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2439 Sun, 09 Jul 2023 10:21:31 +0700 การศึกษาคุณสมบัติของแอสฟัลต์ซีเมนต์ผสมกากยางเหนียวจากน้ำมันยางนา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2475 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาคุณสมบัติของแอสฟัลต์ซีเมนต์ผสมกากยางเหนียวจากน้ำมันยางนาสำหรับการประยุกต์ใช้ในงานผิวถนน โดยทำการศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานของแอสฟัลต์ซีเมนต์ กากยางเหนียว และแอสฟัลต์ซีเมนต์ผสมกากยางเหนียว โดยใช้อัตราส่วนผสมของกากยางเหนียวร้อยละ 3 7 และ 15 โดยน้ำหนัก ด้วยการทดสอบเพนิเทรชั่น (Penetration) การทดสอบความดึงยืดของวัสดุ (Ductility) การทดสอบจุดอ่อนตัวของวัสดุ (Softening point) และทำการทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์คอนกรีตผสมกากยางเหนียวตามมาตรการทดสอบแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยวิธีมาร์แชลล์ (Marshall) จากผลการทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานพบว่า กากยางเหนียวมีลักษณะคล้ายแอสฟัลต์ซีเมนต์ แต่เป็นวัสดุที่มีความเปราะ ซึ่งการเพิ่มปริมาณกากยางเหนียวในอัตราส่วนผสมต่าง ๆ จะส่งผลต่อพฤติกรรมของแอสฟัลต์ซีเมนต์ และผลการทดสอบแอสฟัลต์คอนกรีตผสมกากยางเหนียว พบว่าการเพิ่มปริมาณกากยางเหนียวในอัตราส่วนผสมร้อยละ 3 และ 7 โดยน้ำหนัก ส่งผลทำให้ความสามารถในการรับแรงและการเสียรูปถาวรมากขึ้น ดังนั้นกากยางเหนียวจากน้ำมันยางนาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมผิวทางได้</p> ศุภกร ติระพัฒน์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2475 Sun, 09 Jul 2023 10:24:58 +0700 การประยุกต์ใช้งานเสริมผิวคอนกรีตแบบไม่เชื่อมประสานสำหรับผิวทางคอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ – กรณีศึกษาจากลานจอดเครื่องบินเดิมของท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2612 <p>บทความนี้นำเสนอกรณีศึกษาการปรับปรุงออกแบบและขั้นตอนการก่อสร้างที่ถูกต้องจนสามารถทำให้โครงการการปรับปรุงพื้นลานจอดเครื่องบินเดิมขนาด 45,000 ตร.ม. โดยการเททับหน้าแบบไม่เชื่อมประสานด้วยคอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ณท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เนื่องจากโครงสร้างพื้นลานจอดเครื่องบินเดิมที่ใช้งานมาระยะหนึ่ง เกิดการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน อาทิ เกิดการแตกร้าว มีน้ำขัง และผิวหน้าหลุดร่อน เป็นต้น จึงจำเป็นต้องซ่อมแซมเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดีตามปกติ และยืดอายุการใช้งานคงเหลือออกไป โดยใช้วิธีการออกแบบซ่อมแซมผิวคอนกรีตตามแนวทางของ AASHTO และจากการสำรวจพื้นลานจอดเดิมพบว่า โครงสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตเดิมยังคงมีความแข็งแรงดี ดังนั้นการซ่อมแซมโดยใช้วิธีการเททับหน้าแบบไม่เชื่อมประสาน จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะสามารถซ่อมได้ง่าย รวดเร็ว ประหยัด และคุ้มค่า เนื่องจากไม่ต้องรื้อพื้นลานบินเดิมออก อย่างไรก็ตามวิธีการนี้จะต้องพิจารณาถึงความหนาของพื้นลานจอดเดิม รวมถึงวิธีการออกแบบรอยต่อให้ถ้วนถี่ด้วย</p> พรเลิศ อู่สินสกุล, วรุตม์ ตันติวงษ์, จตุพร สาเมือง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2612 Sun, 09 Jul 2023 10:29:12 +0700 การพัฒนาแฝดดิจิทัลในการประเมินสภาพของสะพานจากแบบจำลองสารสนเทศด้วยอากาศยานไร้คนขับ สำหรับการดูแลรักษาทรัพย์สินของกรมทางหลวง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2265 <p>แบบจำลองเสมือนในโลกดิจิทัลเป็นแนวคิดของอุตสาหกรรม 4.0 ที่สามารถนำไปประยุกต์ในงานหลายๆด้าน หนึ่งในนั้นคือการสร้างแบบจำลองเพื่อใช้ตรวจสอบและประเมินสภาพของโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะสะพาน แบบจำลองช่วยให้ผู้ใช้สามารถคาดการณ์และวางแผนสำหรับตรวจสอบและประเมินเพื่อการบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีของการดูแลรักษาสะพานนั้น การใช้เทคนิคโฟโตแกรมเมทรีโดยการเก็บภาพจากอากาศยานไร้คนขับ เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแบบจำลองดิจิทัล ด้วยกระบวนการ 3D-Reconstruction งานวิจัยฉบับนี้นำเสนอขั้นตอนสำหรับการพัฒนาแบบจำลองฝาแฝดดิจิทัลสำหรับการตรวจสอบและประเมินสะพานที่ใช้ข้อมูลจากเทคนิคโฟโตแกรมเมทรีโดยการเก็บภาพจากอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งได้ดำเนินการกับโครงสร้างจริงที่สะพานธนะรัชต์ ในจังหวัดราชบุรี โดยการเก็บข้อมูลจะเก็บภาพจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อสร้างโมเดลดิจิทัล 3 มิติในรูปแบบแบบจำลองจุดก้อนเมฆ จากนั้นผสานเข้ากับแบบจำลองสารสนเทศ เพื่อสร้างแบบจำลองแฝดเสมือนของสะพาน ที่ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานของโครงสร้างและลักษณะพื้นผิว ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแบบจำลองแฝดดิจิทัลจากการใช้เทคนิคโฟโตแกรมเมทรีโดยการเก็บภาพจากอากาศยานไร้คนขับ เพื่อพัฒนากระบวนการตรวจสอบและประเมินสะพาน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆในอนาคต</p> ภัททิยะ พึ่งวงศ์, วิทิต ปานสุข, พชร Puengwong Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2265 Sun, 09 Jul 2023 10:31:58 +0700 การวิเคราะห์ความเปราะบางของโครงข่ายทางรถไฟในประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2324 <p>ระบบขนส่งทางรางมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการเกิดเหตุขัดข้อง (Disruption) บนโครงข่ายทางรถไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภัยพิบัติธรรมชาติยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการให้บริการระบบขนส่งทางราง บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์หาจุดเปราะบางของโครงข่ายทางรถไฟไทยอันเนื่องมาจากปัญหาอุทกภัย การศึกษาเป็นระดับมหภาค (Macroscopic level) โดยใช้วิธี Flow-based method ในการวิเคราะห์ผลกระทบของโครงข่ายทางรถไฟเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง และใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ในการวิเคราะห์หาโอกาสการเกิดอุทกภัยบนโครงข่ายทางรถไฟ ผลการศึกษาพบว่าเส้นทางรถไฟในประเทศไทยที่มีความเปราะบางสูงสุด 10 อันดับแรกจะอยู่ในช่วงภาคกลางและภาคกลางตอนบนซึ่งเป็นที่ลุ่มและเป็นที่รองรับน้ำจากภาคเหนือจึงทำให้ทางรถไฟในบริเวณนี้มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยค่อนข้างมาก ผู้บริหารหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปจัดลำดับมาตรการและวางแผนงบประมาณเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยบนโครงข่ายทางรถไฟ รวมถึงจัดการระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยให้มีความยืดหยุ่น (Resilience) และมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) มากขึ้น</p> ดรุณี ทองสุข, ภัทรศยา วราภิวัฒนพงศ์, ศิริยากรณ์ แกมขุนทด, รัฐพงศ์ มีสิทธิ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2324 Sun, 09 Jul 2023 10:35:48 +0700 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ด้วยวิธี FAHP และ TOPSIS https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2405 <p>การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าโดยการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดของภาคขนส่งเป็นการดำงานตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ข้อ 7 ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations 2022, UN) การกำหนดแนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญ นโยบายการลงทุนที่เอื้อต่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วย การลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้า การใช้แอพพลิเคชั่น การส่งเสริมความปลอดภัย และการสร้างความเชื่อมั่นซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าภายใต้มุมมองด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม การวิเคราะห์ปัจจัยด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี (FAHP) และการจัดลำดับทางเลือกรถยนต์ไฟฟ้าด้วยวิธีเทคนิคการเรียงลำดับตามอุดมคติ (TOPSIS) ผลการตัดสินใจรวบรวมได้จากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลได้แก่ ความปลอดภัย ความคุ้มค่าด้านราคา ความคุ้มค่าด้านวิศวกรรม การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความเชื่อมั่นในนวัตกรรม ผลการเลือกใช้รถยนต์ที่เหมาะสมได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด และรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน ตามลำดับ ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวทางการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2566 มุ่งเน้นไปที่การรองรับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่และในระยะยาวมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงเมื่อมีความพร้อมมากขึ้น</p> ฐิติพงศ์ ชัยวรรณคุปต์, ฆนิศา รุ่งแจ้ง, พงษ์ศักดิ์ สุริยวนากุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2405 Sun, 09 Jul 2023 10:38:57 +0700 การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อประเมินค่าการสะท้อนแสงของเส้นจราจร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2517 <p>เส้นและสัญลักษณ์บนผิวทาง มีความสำคัญต่อการสัญจรของผู้ใช้รถใช้ถนน เพื่อให้ข้อมูลที่ต่อเนื่องกับผู้ขับขี่ในการควบคุมยานพาหนะ เพื่อให้การขับขี่เป็นไปอย่างมีระเบียบและปลอดภัย การสะท้อนแสงของเส้นจราจรที่ดีนั้นจะทำให้เส้นและสัญลักษณ์นี้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันการตรวจสอบค่าการสะท้อนแสงของเส้นจราจรนั้นจำเป็นต้องให้วิศวกรขับโดยวิ่งรถสำรวจซึ่งติดตั้งเครื่องมือในพื้นที่จริง ซึ่งอาจส่งผลในเรื่องความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ใช้ระยะเวลานานในการเก็บข้อมูล และก่อให้เกิดความไม่สะดวกสบายต่อผู้ขับขี่อื่น บทความนี้จึงได้เสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) หรือโดรน (Drone) เพื่อบันทึกข้อมูลภาพถ่ายการสะท้อนแสง และเสนอวิธีวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลภาพถ่าย จากนั้นจึงเปรียบเทียบค่าการสะท้อนแสงของเส้นจราจรที่ได้กับวิธีทางปฏิบัติปกติที่กรมทางหลวงใช้ ท้ายที่สุดนี้ บทความจะสรุปประเมินว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถใช้ทดแทนวิธีปฏิบัติเดิมได้หรือไม่ หรือมีความเที่ยงตรง ข้อจำกัดอย่างไร</p> จินตสิทธิ์ ภู่พิชิต, จิตติชัย รุจนกนกนาฏ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2517 Sun, 09 Jul 2023 10:41:15 +0700 ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดรางหักหรือรางร้าวด้วยโค้ดข้อบกพร่องของรางตามมาตรฐาน UIC 712R https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2573 <p>เมื่อระบบโครงสร้างทางรถไฟถูกใช้งานนาน ๆ ประสิทธิภาพของระบบจะค่อย ๆ ลดลงเนื่องจากรางถือว่าเป็นองค์ประกอบของทางรถไฟเป็นส่วนที่จะต้องสัมผัสกับล้อรถโดยตรง จากรายงานสถิติที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดจากรถไฟตกรางส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับจุดชำรุดของรางรถไฟเกือบทั้งสิ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วอุบัติเหตุเหล่านี้สามารถที่จะป้องกันได้หากได้รับการตรวจหาจุดชำรุดของราง อย่างสม่ำเสมอ จากสถิติของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางถนนจิระ-สถานีหนองคาย พบว่าในช่วง ระยะเวลา 10 ปี มีจำนวนรางหักหรือร้าวมาก ถึง 122 ครั้ง โดยส่วนใหญ่เป็นรางหักหรือร้าวด้วยโค้ดข้อบกพร่องตามมาตรฐานสมาคมรถไฟสากล (UIC Code 712R) ผลการให้ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดรางหักหรือรางร้าวด้วยโค้ดข้อบกพร่องของรางตามมาตรฐานสมาคมรถไฟสากล ผลการศึกษาพบว่ารางหักหรือรางร้าวด้วยโค้ดข้อบกพร่องของรางตามมาตรฐานสมาคมรถไฟสากลมากที่สุดคือโค้ด 200 โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ37.70 รองลงมาอันดับสองคือโค้ด 135 มีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 23.70 รองลงมาอันดับสามคือโค้ด 421 มีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 18 และรองลงมาอันดับสี่ คือโค้ด 1321 ซึ่งเป็นโค้ดข้อบกพร่องของรางที่จะเกิดรางหักหรือรางร้าวด้วยโค้ดนี้น้อยที่สุดมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 17</p> ธวัชชัย ปัญญาคิด, เอนก เนรมิตรครบุรี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2573 Sun, 09 Jul 2023 10:45:45 +0700 แบบจำลองการพยากรณ์ต้นทุนของสำนักงานอาคารเขียว ภายใต้การทำงานแบบวิถีชีวิตใหม่ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2581 <p>อาคารเขียวเป็นอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) การลงทุนพัฒนาอาคารเขียวเป็นเรื่องที่ทำได้ยากและมีความท้าท้ายเนื่องจากต้นทุนสูง อาคารเขียวตามเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย (TREES) ประกอบด้วย 4 ระดับ ได้แก่ ระดับผ่าน (Certified) ระดับดี (Silver) ระดับดีมาก (Gold) และระดับดีเด่น (Platinum) การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลก กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายการปรับตารางเวลาทำงานและการใช้งานอาคาร เมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายการวางแผนการลงทุนต้องรอบคอบมากขึ้นโดยเฉพาะการพิจารณารูปแบบการทำงานแบบวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เช่น การทำงานทางไกล (Remote Working) การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) และการทำงานที่สำนักงาน (Work from Office) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองการพยากรณ์ต้นทุนของสำนักงานอาคารเขียวภายใต้การทำงานแบบวิถีชีวิตใหม่ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 และวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนด้วยความผันแปรของอุปสงค์และอุปทาน อุปสงค์คือการทำงานแบบวิถีชีวิตใหม่ซึ่งมีผลต่อจำนวนผู้เข้าใช้อาคาร การผันแปรของอุปทาน ได้แก่ ระดับการลงทุนความเป็นอาคารเขียว อาคารที่ไม่เป็นอาคารเขียว และพื้นที่เชิงพาณิชย์ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบสำนักงานที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนสูงที่สุดคือสำนักงานที่ไม่เป็นอาคารเขียวพร้อมพื้นที่เชิงพาณิชย์ 1 ชั้น เมื่อพิจารณามูลค่าปัจจุบันสุทธิเฉลี่ยจากการวิเคราะห์การตัดสินใจแผนภูมิต้นไม้มีผลตอบแทนทางการเงินเท่ากับ 206,152,328 บาท ในระยะเวลาโครงการ 25 ปี ที่อัตราคิดลดร้อยละ 10 ซึ่งมีค่าสูงที่สุด ดังนั้นการลงทุนในการพัฒนาสำนักงานอาคารเขียวจะมีความคุ้มค่าเมื่อมีการวางแผนระยะเวลาการลงทุนให้สอดรับกับสถานการณ์การใช้งานอาคาร</p> นงนภัส รัตนไพร, ฆนิศา รุ่งแจ้ง, พงษ์ศักดิ์ สุริยวนากุล Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2581 Sun, 09 Jul 2023 10:49:07 +0700 การลดปริมาณการใช้วัสดุมุงหลังคาทรงจั่วให้เหลือน้อยที่สุดในขั้นตอนการออกแบบ โดยใช้วิธีเชิงพันธุกรรมประเมินระยะห่างระหว่างแป https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2579 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้วิธีเชิงพันธุกรรมวิเคราะห์หาระยะห่างแปโครงหลังคาทรงจั่วให้ใช้วัสดุมุงน้อยที่สุด งานวิจัยเริ่มจากการนำแบบ 2 มิติ ของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้นหลังคาทรงจั่ว มาสร้างเป็นแบบจำลอง 3 มิติ ด้วยระดับความละเอียดของโมเดล LOD350 โดยอาศัยซอฟท์แวร์บิม (BIM Software) จากนั้นกำหนดรูปแบบจำลองระยะห่างแปตามหลักวิศวกรรมและข้อกำหนดต่างๆ ของผู้ผลิตวัสดุมุง (กระเบื้องลอนคู่) โดยกำหนดตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณหาปริมาณกระเบื้องลอนคู่ คือ ระยะห่างแป ความสูงดั้ง ความกว้างและความยาวของหลังคา ด้วยการปรับเปลี่ยนตัวแปรความสูงดั้งตั้งแต่ความสูง 3.00-5.00 เมตร จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการออกแบบจีเนติกอัลกอริทึมแบบจุดประสงค์เดียว และกำหนดพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ด้วยวิธีการขั้นตอนเชิงพันธุกรรมคำนวณหาค่าความเหมาะสมในการใช้ปริมาณกระเบื้องลอนคู่ พบว่าปริมาณกระเบื้องลอนคู่ที่ได้จากการใช้วิธีเชิงพันธุกรรมเท่ากับการทำแบบรายละเอียดก่อสร้าง (Shop Drawing) คือ 3,310 แผ่น แสดงให้เห็นว่าการใช้วิธีเชิงพันธุกรรมร่วมกับแบบจำลองสารสนเทศอาคารสามารถนำมาใช้ในการหาระยะห่างแปได้เป็นอย่างดี และการใช้วิธีเชิงพันธุกรรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีใกล้เคียงตามวัตถุประสงค์ของโครงการก่อสร้างโดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อลดปริมาณการใช้วัสดุก่อสร้างหรือลดปริมาณวัสดุเหลือใช้เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน</p> ไพจิตร ผาวัน, วริสรา เลิศไพฑูรย์พันธ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2579 Sat, 08 Jul 2023 15:45:33 +0700 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรน้ำภายในอาคาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2614 <p>บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรน้ำภายในอาคาร ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการประยุกใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร Building Information Modeling หรือ BIM เป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ ของการออกแบบและการก่อสร้างรวมไปถึงงานระบบภายในอาคารโดยมีเป้าหมายเพื่อลดขั้นตอน ลดความซํ้าซ้อน ลดความขัดแย้งและลดปัญหาที่เกิดจากข้อมูลที่ผิดพลาดรวมถึงการบริหารการใช้ทรัพยากรภายในอาคาร การพิจารณาถึงความเหมาะสมของการใช้ขนาดท่อที่เหมาะสมภายในอาคารให้สอดคล้องกับปริมาณการใช้งานที่เกิดขึ้นเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายปริมาณน้ำและวัสดุในโครงการได้ โดยการวิจัยนี้จะดำเนินการศึกษาและเปรียบเทียบผลของค่าใช้จ่ายของวัสดุท่อที่ใช้ภายในอาคารและค่าใช้จ่ายการใช้ทรัพยากรน้ำของอาคารจริง เปรียบเทียบกับการใช้แบบจำลองสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรน้ำภายในอาคาร เพื่อเป็นฐานข้อมูลงานระบบปะปาของอาคารและเป็นแนวทางสำหรับการใช้แบบจำลองสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรน้ำภายในอาคารได้ปริมาณวัสดุและค่าใช้จ่ายที่แม่นยำมากขึ้นรวมถึงช่วยในการวางแผนการใช้ทรัพยากรน้ำภายในอาคารได้อย่างเหมาะสมต่อไป</p> ปิยรัตน์ เปาเล้ง, สยาม แกมขุนทด, ศิริศักดิ์ คงสมศักดิ์สกุล, ไกรโรจน์ มหรรณพคุณ, เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2614 Sat, 08 Jul 2023 15:50:28 +0700 แผนปฏิบัติการเพื่อให้นักศึกษาเรียนสำเร็จการศึกษาตามเวลาของหลักสูตร: กรณีศึกษานักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมโยธาและหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2039 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนปฺฎิบัติการในการทำให้นักศึกษาของหลักสูตรวิศวกรรมโยธาและหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลา 4 ปี ตามเกณฑ์ของหลักสูตรและเกณฑ์การประกันคุณภาพหลักสูตรตามมาตรฐานของการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) โดยงานวิจัยนี้มีการใช้หลักการกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัย และใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพการสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านบทสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อให้ได้ข้อมูลจากนักศึกษาที่ใช้เวลาจบมากกว่า 4 ปีหรือตกออกระหว่างการศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์มี 2 กลุ่มคือ 1.นักศึกษาที่ใช้เวลาเรียนมากกว่า 4 ปี จำนวน 33 คน และ 2. บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ได้แก่ อาจารย์ ครูช่าง นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และธุรการประจำสาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม จำนวน 14 คน ผลการวิเคราะห์โดยวิธีการอุปนัยพบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้นักศึกษาใช้เวลาเรียนมากกว่าที่หลักสูตรกำหนดหรือตกออกระหว่างการศึกษาคือ 1) โครงสร้างหลักสูตร 2) การจัดการของผู้รับผิดชอบหลักสูตร 3) อาจารย์ และ 4) นักศึกษาเอง จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า แนวทางที่สำคัญในการที่ทำให้นักศึกษาจบหลักสูตรภายในระยะเวลาที่กำหนด จะต้องมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างหลักสูตรและแนวทางในการจัดการหลักสูตร การแนะแนวนักศึกษาที่เข้ามาใหม่ และการปรับเกณฑ์และกระบวนการในการเก็บและให้คะแนน</p> สุพิศ นนทะสร, ธนิยา เกาศล, สุรางคนา ตรังคานนท์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2039 Sat, 08 Jul 2023 12:58:21 +0700 การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ และแบบโครงงานในการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการกระจายโมเมนต์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2085 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ และแบบโครงงาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อน และหลังเรียน ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการศึกษา ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2/2562 จำนวน 25 คน ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ และแบบโครงงาน แบบฝึกหัด แบบทดสอบ แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา และห้องเรียนออนไลน์ Edpuzzle ผลการวิจัยพบว่า การประเมินความสอดคล้องวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมกับแบบฝึกหัด และแบบทดสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 0.87 และแผนการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.67, S.D. = 0.52) ประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนการสอน มีคะแนนเฉลี่ยแบบฝึกหัดคิดเป็นร้อยละ 95 และมีคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบคิดเป็นร้อยละ 84.2 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการกระจายโมเมนต์ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.63, S.D. = 0.54)</p> วรท บุญสิงห์, ประสิทธิ์ ประมงอุดมรัตน์, ศักดา กตเวทวารักษ์, กิติศักดิ์ กาญจนันท์, ฆนากานต์ มาศโอสถ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2085 Sat, 08 Jul 2023 15:09:06 +0700 ผลสัมฤทธิ์ของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธาด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้านโดยใช้ ICT เป็นฐาน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2276 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนจากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้านโดยใช้ Information and communication technology (ICT) เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรวิศวกรรมโยธา) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบทดสอบก่อนเรียน (pre-test) และแบบทดสอบหลังเรียน (post-test) จำนวน 15 คำถาม 2) แบบสอบถามความพึงพอใจหลังการใช้สื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธาด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้านโดยใช้ ICT เป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ t-test for dependent sample ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้านโดยใช้ ICT เป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคห้องเรียนกลับด้านโดยใช้ ICT เป็นฐานมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทุกด้านอยู่ในระดับมาก</p> วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง, ถาวร เกื้อสกูล, จุฑามาศ ลักษณะกิจ, เปรมณัช ชุมพร้อม, เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2276 Sat, 08 Jul 2023 15:13:22 +0700 การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิศวกรรมโยธา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2279 <p>บทความนี้มุ่งที่การค้นหาปัจจัยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิศวกรรมโยธาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้สำรวจนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิศวกรรมโยธาภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนที่สำคัญคือ การที่ผู้สอนถ่ายทอดความรู้ได้ดี การใช้เทคนิคต่างๆในการเรียนการสอน การตอบคำถามและให้คำปรึกษา ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือ ห้องปฏิบัติการที่เพียงพอ บุคลากรสนับสนุน ลักษณะของห้องเรียน เป็นแนวทางให้สถาบันการศึกษาพัฒนาคณาจารย์และทรัพยากรสนับสนุนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น</p> ศลิษา เปลี่ยนดี Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2279 Sat, 08 Jul 2023 15:15:50 +0700 การศึกษากลไกการป้องกันตนเองของผู้เรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ในห้องเรียน https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2297 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการป้องกันตนเองของผู้เรียนในห้องเรียนโดยจำแนกบุคลิกลักษณะ ที่ประกอบด้วย Dominance (กระทิง) Influence (อินทรี) Steadiness (หนู) และ Conscientiousness (หมี) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกลไกการป้องกันตนเองแบบ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test ค่า ANOVA test ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีการใช้กลไกการป้องกันตนเองมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การกดระงับ การชดเชย การเห็นประโยชน์ผู้อื่น การเลียนแบบ และการแสดงออกด้วยการกระทำ นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีการใช้กลไกลการป้องกันตนเองด้านการปลดเปลื้องที่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรต่างกันมีการใช้กลไกการป้องกันตนเอง ด้านการบิดเบือนความจริง การใช้เชาวน์ปัญญา และการปฏิเสธ ที่แตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีบุคลิกลักษณะต่างกันจำแนกตามหลักการของ DISC มีการใช้กลไกการป้องกันตนเองด้านอารมณ์ขัน ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาสามารถสะท้อนกลไกการป้องกันตนเองของผู้เรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้</p> นายเอกรัตน์ รวยรวย, เพียงเพ็ญ จิรชัย, ชุติกาญจน์ นารินรักษ์, ปิยะรัตน์ มั่นคง Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2297 Sat, 08 Jul 2023 15:21:00 +0700 ตาทิพย์เวอร์ชั่น 1: การประยุกต์ใช้เทคนิคตรวจค้นการเปลี่ยนแปลงกับข้อมูลการรับรู้ระยะไกลระบบคลาวด์บนกูเกิลเอิร์ธเอนจินแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาด้านความมั่นคง https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2384 <p>การประยุกต์ใช้ความสามารถด้านวิศวกรรมโยธาเพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง การศึกษานี้ได้นำเสนอ “ตาทิพย์เวอร์ชั่น 1” ซึ่งเป็นเวปแอปพลิเคชั่นหนึ่งในการใช้เทคนิคตรวจค้นการเปลี่ยนแปลงกับข้อมูลการรับรู้ระยะไกลในระบบคลาวด์ของกูเกิลเอิร์ธเอนจินแพลตฟอร์ม เพื่อการเฝ้าติดตามพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความมั่นคง โดยการศึกษานี้ได้เลือกภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-1 SAR บนพื้นที่ฐานทัพเรือเรียม, สนามบินนานาชาติสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา, สนามบินมิทาห์ลุท ประเทศเมียนมา, และสนามบินดอนเมือง ประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2562 ถึง 2565 นำมาใช้วิเคราะห์เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาของความถี่ของการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ศึกษา โดยฐานทัพเรือเรียมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับสนามบินสีหนุวิลล์โดยเฉพาะในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 สำหรับสนามบินมิทาห์ลุทมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งอย่างชัดเจนในช่วงของเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนในแต่ละปี และสนามบินดอนเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2563 สำหรับการประเมินความถูกต้องของการศึกษานี้ใช้การเปรียบเทียบกับข่าวสารช่วงเวลาจริงที่ออกสื่อสาธารณะซึ่งพบว่ามีความสอดคล้องกับผลการศึกษานี้ ดังนั้นการศึกษานี้ (ตาทิพย์เวอร์ชั่น 1) สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางและเครื่องมือหนึ่งเพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงในด้านต่าง ๆ สำหรับการเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ได้ เช่น ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ, ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ, ความมั่นคงทางทหาร เป็นต้น</p> พงศ์พันธุ์ จันทะคัต, พีรศักดิ์ เอี่ยมละออ, เยาวเรศ จันทะคัต, แอน กำภู ณ อยุธยา, จอมภัค จันทะคัต Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2384 Sat, 08 Jul 2023 15:27:38 +0700 ผลการเรียนรู้ออนไลน์บนระบบจัดการ Thai MOOC ในรายวิชา kmutt001 การอ่านแบบ เขียนแบบทางวิศวกรรมโยธา https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2478 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ด้านการเขียนแบบก่อสร้าง บนระบบจัดการ Thai MOOC ที่มีประสิทธิภาพ 2. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้านการเขียนแบบก่อสร้างเบื้องต้น ในรายวิชา การเขียนแบบ ทางวิศวกรรมโยธา และ 3.ศึกษาพฤติกรรมทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนรู้และความพึงพอใจของผู้เรียนในรายวิชา การอ่านแบบ เขียนแบบทางวิศวกรรมโยธา ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือผู้เรียนออนไลน์จำนวน 3,867 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา kmutt001 การอ่านแบบ เขียนแบบทางวิศวกรรมโยธา บนระบบจัดการ Thaimooc.org ซึ่งเป็นโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยเพื่อการจัดการเรียนการสอนในระบบเปิด ซึ่งในจำนวน 3,867 คนนี้เป็นผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์ของหลักสูตร 2,106 คนคิดเป็น ร้อยละ 54.50 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผู้เรียนสามารถทำคะแนนรวม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 จำนวน 2,069 คิดเป็น ร้อยละ 53.50 และพฤติกรรมของผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนทั้งหมดของเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ ครบทั้ง 8 หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 2,119 คิดเป็น ร้อยละ 54.79 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิด ในรายวิชา kmutt001 การอ่านแบบ เขียนแบบทางวิศวกรรมโยธา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 (SD=0.75)</p> อินทร์ธิรา คำภีระ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2478 Sat, 08 Jul 2023 15:30:27 +0700 การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เพื่อประกอบการเรียนออนไลน์วิชาปฏิบัติพื้นฐานงานไม้ เรื่อง การวัดระยะร่างแบบ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2606 <p>เนื่องจากสถานการณ์ ในประเทศและทั่วโลกประสบปัญหาโรค Covid-19 ทำให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้ ส่งผลกระทบต่อการเรียนวิชาปฏิบัติเป็นอย่างมากโดยเฉพาะวิชาพื้นฐานงานไม้ ซึ่งเป็นวิชาที่นักศึกษาจะต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง การเรียนการสอนแบบออนไลน์ทั่วไปนักศึกษาไม่สามารถเข้าใจเทคนิคและวิธีการได้โดยเฉพาะวิธีการร่างแบบและวัดระยะชิ้นงานไม้ ทำให้นักศึกษาไม่สามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้อย่างถูกต้อง ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาประสิทธิภาพของสื่อการสอนในรูปแบบวีดิทัศน์ (Video) เรื่องการร่างแบบการวัดระยะงานไม้ให้กับนักศึกษาโดยมอบไม้และเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้นักเรียนนำไปทำที่บ้าน ผลการวิจัยพบว่าการทดสอบก่อนเรียนของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.90 คะแนน และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.45 คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และมีค่าประสิทธิภาพสื่อการสอน E1/E2 เท่ากับ 82.25/91.5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสื่อการเรียนการสอนวีดีโอนั้นเป็นส่วนช่วยให้เรียนออนไลน์ในวิชาปฏิบัติพื้นฐานงานไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> ศิริพัฒน์ มณีแก้ว, ศุริวรรณ ชุมสุวรรณ Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2606 Sat, 08 Jul 2023 15:35:27 +0700