https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/issue/feed การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 2023-04-07T11:06:15+07:00 กองบรรณาธิการ NCCE27 ncce27@gmail.com Open Journal Systems การประวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1662 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความปลอดภัยทางถนน: กรณีศึกษาชุมชนทองเอน 2022-09-20T18:20:28+07:00 ดนัย เรืองสอน danai_r@hotmail.com บุษริน เพ็งบุญ danai_r@hotmail.com กานต์ สินสืบผล danai_r@hotmail.com พิพัฒน์ ชื่นสุขจิตต์ danai_r@hotmail.com กฤษดา พงษ์ประเสริฐ danai_r@hotmail.com กฤษฏิ์ จ่างตระกูล danai_r@hotmail.com สิริมา ทองอมร danai_r@hotmail.com <p class="Contentnew"><span lang="TH">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะขับเคลื่อนชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยอาศัยหลักการ: (1) การจัดการชุมชนแบบประชาชนมีส่วนร่วม (</span>Bottom-up Approach) <span lang="TH">คือ ประชาชนเป็นผู้ร่วมกำหนดทิศทางนโยบายและกระบวนการพัฒนาโดยมี “การออกแบบตามบริบท (</span>Context Sensitive Solution Design, CSD)<span lang="TH">” เป็นเครื่องมือ</span>, (<span lang="TH">2) <a name="_Hlk100864158"></a>การเสริมพลัง (</span>Empowerment) <span lang="TH">เพื่อสร้างความยั่งยืนของชุมชน ระบบการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ความสมัครใจ และความไว้วางใจ</span>,<span lang="TH"> และ</span> (<span lang="TH">3) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือในกระบวนการดำเนินงานแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (</span>Community-based Research, CBR) <span lang="TH">ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ ทำให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาจัดการปัญหาด้วยตัวเอง ภายใต้การหนุนเสริมจากพี่เลี้ยง เปลี่ยนจากงานวิจัยที่คนนอกเป็นคนทำหรือเป็นคนตั้งโจทย์ มาเป็นการลงมือทำโดยคนในชุมชนเอง โจทย์เป็นของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดพลังชุมชนในการจัดการปัญหาต่างๆ เป้าหมายของโครงการนี้คือ เพื่อพัฒนาความสามารถของชุมชนในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางถนนโดยมีชุมชน (โรงเรียน วัด ท้องถิ่น) เป็นศูนย์กลาง พื้นที่ศึกษาของโครงการนี้อยู่ในชุมชนทองเอน ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ผลการศึกษา ก่อให้เกิดทองเอน </span>Model <span lang="TH">ซึ่งได้ใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนระดับชุมชน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น การจัดการความปลอดภัยหน้าโรงเรียน ทางแยก ทางข้าม การสร้างวินัยจราจร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การบริหารจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนนนั้น จะต้องจะดำเนินการจัดการทั้งในแบบบนลงล่าง (</span>Top-down) <span lang="TH">และแบบล่างขึ้นบน (</span>Bottom-up) <span lang="TH">ตามลักษณะเฉพาะตัวของประเด็นปัญหา พร้อมกันนี้ จะผลักดันทองเอน </span>Model <span lang="TH">นี้ สู่การขยายผลการดำเนินงานไปสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป</span></p> 2022-09-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1544 การศึกษาวิธีซ่อมแซมบ้านไม้พื้นถิ่น ย่านเมืองเก่าสกลนคร 2022-09-20T18:20:29+07:00 จารุวัฒน์ ถาวรไพศาลชีวะ jaruwat_th@hotmail.com ปกรณ์ พัฒนานุโรจน jaruwat.th@rmuti.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจตรวจสอบสภาพบ้านไม้พื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนคร และเสนอแนะวิธีการซ่อมแซมให้สอดคล้องกับตามแนวทางการอนุรักษ์ โดยมีขอบเขตการศึกษา คือ บ้านไม้ชั้นเดียว 7 หลัง และบ้านไม้สองชั้นจำนวน 24 หลัง รวม 31 หลัง ที่ตั้งอยู่ริมสองฝั่งถนนเจริญเมือง ถนนมรรคาลัย ถนนใจผาสุก และถนนเรืองสวัสดิ์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพความเสียหายด้านโครงสร้าง คือ ตอม่อไม้ผุพัง ตัวบ้านทรุดตัว เสาเอียงตัว&nbsp;และมีรอยแตกตามแนวขนานเสี้ยน ตงไม้และแปหลังคาผุพัง ส่วนความเสียหายด้านสถาปัตยกรรม คือ ผนัง พื้น วงกบ บานประตู และเชิงชาย ผุพัง&nbsp;ความเสียหายที่เกิดกับตัวบ้านยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมให้ของกรมโยธาธิการและผังเมือง สำหรับวิธีซ่อมแซมงานโครงสร้างทรุดตัวใช้เทคนิคการยกและดีดบ้าน แล้วเสริมความแข็งแรงที่ฐานใหม่ วิธีซ่อมแซมงานสถาปัตยกรรมใช้วิธีการเปลี่ยนวัสดุเดิมหรือเลียนแบบ โดยยังคงรูปแบบที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของบ้านไม้ในย่านนี้ งานวิจัยนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในย่านประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสกลนครต่อไปได้</p> 2022-09-20T08:38:10+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1740 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารกับการจัดการโครงการก่อสร้างโคกหนองนา 2022-09-20T18:20:30+07:00 ปรัชญา แสนแปง pratya.sa@up.ac.th ฤทธิ์ทยุต ก้อนทอง rittayut.go@up.ac.th ธนกฤต เทพอุโมงค์ thanakit.th@up.ac.th อภิชาติ บัวกล้า apichat.bu@up.ac.th ธนกร ชมภูรัตน์ thanakorn.ch@up.ac.th <p>งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร(Building Information Modeling,BIM) และเทคโนโลยีการถ่ายภาพทางอากาศด้วยโดรน (Drone Technology) เข้ามาช่วยในการออกแบบโครงการโคกหนองนาร่วมถึงการใช้หาปริมาตรกักเก็บน้ำเทียบวิธีการหารังวัดปริมาตรแบบปกติ ข้อกำหนดในโครงการโคกหนองนาต้องสามารถกักเก็บน้ำรวมทั้งสิ้น 4,000 ลบ.ม.ต่อพื้นที่3ไร่ ในการออกแบบได้ทำการบินโดรนสำรวจประมวลผลภาพแล้วนำมาออกแบบด้วยโปรแกรม Revit ให้ปริมาตรกักเก็บน้ำรวมอยู่ที่ 4,057.65 ลบ.ม. นำแบบที่ออกแบบสร้างในหน้างานจริง ทำการตรวจสอบปริมาตรกักเก็บน้ำ 2 วิธี 1.รังวัดปริมาตรแบบปกติด้วยเทปวัดระยะได้ปริมาตรกักเก็บอยู่ที่ 4,043.75 ลบ.ม. วิธีที่ 2.การรังวัดด้วยพิกัดภาพถ่ายทางอากาศ สามารถหาปริมาตรกักเก็บน้ำรวมทั้งสิ้น 4,042.14 ลบ.ม. จากการศึกษาพบว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีBIM เข้ามา ช่วยในการจัดการโครงการโคกหนองนาสามารถแสดงค่าปริมาตรของดินขุด ดินถมในโครงการ และยังสามารถแสดงรูปแบบจำลองโมเดล 3 มิติ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับวิธีการหาปริมาตรแบบปกติค่าที่ได้มีค่าใกล้เคียงกัน และยังช่วยลดระยะเวลา ลดจำนวนคน ในการทำงาน พร้อมทั้งยัง สามารถสร้างแบบ 3 มิติแสดงให้ผู้ที่ต้องการจะทำโครงการโคกหนองนา หรือผู้รับเหมาในการขุดบ่อใด้มองเห็นภาพ และเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น</p> 2022-09-20T08:40:17+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1277 Validation of Hertzian Theory of a Cylinder Contact with a Plane Surface Using Finite Element Analysis 2022-09-20T18:20:30+07:00 Thanin Chanmalai thanin.ch@crma.ac.th Byungik Chang bchang@newhaven.edu Jirawat Yuttapravest jirawatyut@gmail.com <p>In general, contact stress is generated when a force is applied between solids in contact. Contact stress addressed sufficiently severe defects that occur within the construction design, and the end material may fail to qualify. Hertz's theory illustrates the contact stress issues at the contact regions between two elastic solids in frictionless contact. As a result, analyze the structural behavior, it requires Hertz contact stress to calculate the contact pressure between two elastic solids. In addition, the issues including complicated structural systems need to rely on numerical solutions to create an accurate solution for contact stress between two elastic solids. Therefore, the finite element method (FEM) is a numerical solution to achieve many complicated problems relevant to the contact mechanic. The primary objective of this research is to achieve the validation between Hertz contract stresses of a cylinder contact with a flat surface by using FEM.</p> 2022-09-19T23:43:36+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1722 ผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของหน่วยแรงทีสำหรับรอยร้าววงกลมในตัวกลางทรานเวอร์สลีย์ไอโซทรอปิกยืดหยุ่นภายใต้แรงกระทำความร้อน 2022-09-20T18:20:31+07:00 อภิสิทธิ์ ตุ้ยสา tuisaapisit@gmail.com ธนดล จันทร์โคตร thanadonjankrot21@gmail.com ปิยะฉัตร ฉัตรตันใจ piyachatc@eng.buu.ac.th วีรพร พงศ์ติณบุตร weeraporn@buu.ac.th ยโสธร ทรัพย์เสถียร yasothorn.sap@mahidol.edu ทศพร ประเสริฐศรี tosporn_pr@rmutto.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอผลเฉลยรูปแบบปิดของหน่วยแรงทีของรอยร้าววงกลมในตัวกลางทรานเวอร์สลีย์ไอโซทรอปิกยืดหยุ่นเชิงเส้นไร้ขอบเขตสามมิติภายใต้แรงกระทำความร้อน ผลเฉลยกรณีมีอุณหภูมิแบบแผ่กระจายสม่ำเสมอกระทำที่ผิวรอยร้าวถูกพัฒนาขึ้น โดยใช้ผลเฉลยแม่นตรงของสนามหน่วยแรงที่มีอยู่ในอดีตร่วมกับสูตรที่ได้จากการกระจายสนามหน่วยแรงบริเวณใกล้ขอบรอยร้าว และการหาค่าอนุพันธ์และการหาลิมิตทำให้ได้ผลเฉลยของหน่วยแรงทีในรูปฟังก์ชันพื้นฐานเท่านั้น ตัวอย่างการคำนวณเชิงตัวเลขบ่งชี้ว่า หน่วยแรงทีภายใต้แรงกระทำความร้อนขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุ ผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ที่ได้นี้สามารถนำมาใช้เป็นผลเฉลยอ้างอิงสำหรับการวิเคราะห์ปัญหารอยร้าวในกรณีอื่นๆ ได้</p> 2022-09-19T23:45:51+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1276 กราฟการออกแบบคานเหล็กโดยวิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก สำหรับหน้าตัดเหล็กในประเทศไทย 2022-09-20T18:20:32+07:00 ทักษกร พรบุญญานนท์ thaksakorn.p@rmutsv.ac.th ภัทรพงศ์ พรหมเพ็ญ tote.mammee@gmail.com ธีรนาฏ เวียงอินทร์ teeranat33709@gmail.com <p>การออกแบบคานเหล็กโดยทั่วไปแล้วจะมีขั้นตอนในการออกแบบหลายข้นัตอน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบประเภทของหน้าตัด การคำนวณกำลงัรับแรงดัดระบุของหน้าตัด ซึ่งขึ้นอยู่กับ การคราก การโก่งเดาะทางด้านข้างเนื่องจากแรงบิด รวมไปถึงการโก้งเฉพาะที่ของหน้าตัด โดยจะมีสูตรการคำนวณตามชนิดของหน้าตัด เพื่อที่จะช่วยลดขั้นตอน ระยะเวลา และความผิดพลาดจากการคำนวณที่อาจเกิดขึ้น งานวิจัยนี้จึงนำเสนอกราฟการออกแบบคานเหล็กโดยวิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก (LRFD) ตามมาตรฐานการออกแบบของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สำหรับหน้าตัดเหล็กรูปตัว W, C และ HSS ที่นิยมใชและมีขายในประเทศไทยตามมาตรฐาน มอก. โดยในงานวิจัยนี้จะพัฒนากราฟสำหรับหน้าตัดเหล็กชนิดอัดแน่นเท่านั้น ผลจากการวจิัยจะได้กราฟความสมัพันธ์ระหว่างระยะความยาวค้ำยันและค่าโมเมนต์ดัดออกแบบของหน้าตัด</p> 2022-09-19T23:47:20+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1528 การวิเคราะห์ราคาค่าก่อสร้างของอาคารเตี้ยที่ออกแบบให้รับแรงแผ่นดินไหว 2022-09-20T18:20:32+07:00 ภูวดล กลพิมาย therung.36@gmail.com บุญมี ชินนาบุญ boonme.chi@kmutt.ac.th สมชาย ชูชีพสกุล somchai.chu@kmutt.ac.th <p>ตามประกาศกฎกระทรวง พ.ศ.2564 ได้กำหนดให้พื้นที่ที่รับผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหวออกเป็น 3 บริเวณ ตามลำดับความรุนแรงของผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหว กฎกระทรวง พ.ศ.2564 (2) บริเวณที่ 3 ได้ระบุถึงอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร หรือ 3 ชั้นขึ้นไป และ อาคารอยู่อาศัยที่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรนั้น ซึ่งเป็นอาคารที่มีการก่อสร้างปริมาณสูงในปัจจุบัน ซึ่งการออกแบบอาคารตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยออกแบบอาคารให้ต้านทานแผ่นดินไหวด้วยนั้นทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น การศึกษานี้จึงได้ทำการวิเคราะห์ราคาค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นกับอาคารที่ทำการออกแบบโครงสร้างต้านทานแผ่นดินไหว โดยเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2-3 ชั้น ก่อสร้างในพื้นที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ โดยมีอัตราเร่งตอบสนองที่ 0.2 วินาทีที่ 1.080g เพื่อใช้เป็นพื้นที่วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากการก่อสร้างอาคารที่ออกแบบโครงสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว โดยใช้แบบก่อสร้างที่ทำการออกแบบใหม่ ทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีสถิตเทียบเท่าและวิธีพลศาสตร์เชิงเส้น ตามที่มาตรฐานกำหนดของ มยผ.1301/1302-61 โดยใช้พื้นที่ในบริเวณที่ 3 ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2564 ผลการวิเคราะห์พบว่า วิธีสถิตเทียบเท่าและพลศาสตร์เชิงเส้นมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างงานโครงสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15% เมื่อเทียบกับอาคารที่มิได้ออกแบบและมิได้เสริมเหล็กให้มีความเหนียวตามมาตรฐานของ มยผ.1301/1302-61</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-19T23:48:46+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1296 การเปรียบเทียบการวิเคราะห์โครงสร้างกับการทดสอบโครงสร้างภายใต้การเคลื่อนที่ของผิวดิน 2022-09-20T18:20:33+07:00 ณรงค์ฤทธิ์ พร้อมจะบก 6319310002@mutacth.com ประกิต ชมชื่น 6319310002@mut.ac.th <p>บทความนี้วิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้างในระนาบ 4 ชั้นด้วยวิธีประวัติเวลาเชิงเส้น 2 หลักการคือ 1.หลักการความเร่ง และ 2.หลักการเคลื่อนที่ผลตอบสนองจากการวิเคราะห์โครงสร้างแสดงในรูปแบบของความเร่งแต่ละชั้น นอกจากนี้ยังทำการทดสอบแบบจำลองโครงสร้างด้วยโต๊ะจำลองแผ่นดินไหวพร้อมทั้งตรวจวัดความเร่งที่เกิดขึ้นจริงแต่ละชั้นเพื่อเปรียบเทียบกับผลการวิเคราะห์โครงสร้างทั้ง 2 หลักการ การทดสอบทำโดยกำหนดการเคลื่อนที่ของฐานแบบจำลองแบบฮาร์โมนิก จำนวน 4 ความถี่ได้แก่ 1.0 Hz 2.0 Hz 3.0Hz และ 4.0 Hz การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์กับผลการทดสอบพบว่าผลการวิเคราะห์ประวัติเวลาของแบบจำลองโครงสร้างด้วยหลักการความเร่งมีค่าสูงกว่าวิธีการวิเคราะห์ด้วยหลักการการเคลื่อนที่และผลจากการทดสอบจำลองโครงสร้างด้วยโต๊ะจำลองแผ่นดินไหวอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความถี่ของการเคลื่อนที่ของฐานสูงขึ้น</p> 2022-09-19T23:50:25+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1761 การทำนายอุณหภูมิภายในหน้าตัดคานคอนกรีตเสริมด้วยแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใย 2022-09-20T18:20:33+07:00 ณัฐนุช พูนปาน nat_nuch39@hotmail.com ชนะชัย ทองโฉม Tchanach@engr.tu.ac.th <p>บทความนี้ได้ประยุกต์หลักการวิเคราะห์อุณหภูมิในสภาวะชั่วครู่แบบไร้เชิงเส้น 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อศึกษาการกระจายอุณหภูมิของคานคอนกรีตแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใย โดยการศึกษาเป็นการศึกษาผ่านแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์โดยใช้โปรแกรม ANSYS โดยสร้างแบบจำลองคานคอนกรีตเสริมแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใยแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เปรียบเทียบกับผลการทดสอบในอดีตของ Abbasi และ Hogg (2004) และ Rafi (2007) และ แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ในอดีตของ Kodur และคณะ (2013) ผลการวิเคราะห์จะเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา และอุณหภูมิวิกฤติ โดยค่าของอุณหภูมิวิกฤติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ จะใช้ค่าอุณหภูมิวิกฤติของแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใยแก้วแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนเท่ากับ 300°C และ 360°C ตามลำดับ ผล<br>การวิเคราะห์พบว่า ค่าการวิเคราะห์การกระจายตัวอุณหภูมิใกล้เคียงกับผลการทดสอบและแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ในอดีต และทำการศึกษาผลกระทบของความร้อนตามคุณสมบัติของคอนกรีตที่แตกต่างกัน การสร้างแบบจำลองคานคอนกรีตเสริมแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใยแบบ 2 มิติ และ 3 มิติมีค่าใกล้เคียงกัน</p> 2022-09-19T23:51:39+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1321 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวง และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไร้คานท้องเรียบ 2022-09-20T18:20:34+07:00 กรวิชญ์ หงส์ธารารักษ์ korawit.hon@student.mahidol.ac.th ปกรณ์ธรรม นันทวิสิทธิ์ pakorntham.nun@student.mahidol.ac.th ธีชวีร์ ลีละวัฒน์ thatchavee.lee@mahidol.ac.th พรเพ็ญ ลิมปนิลชาติ pornpen.lim@mahidol.ac.th <p>พื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวงคือโครงสร้างพื้นไร้คานที่มีการนำบอลพลาสติกมาแทนที่คอนกรีตบางส่วนของโครงสร้างพื้น โดยเมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในองค์อาคารพาณิชย์ขนาดกลาง ส่งผลให้สามารถลดน้ำหนักบรรทุกคงที่ที่กระทำต่อชิ้นส่วนโคงรสร้างอื่นเช่น เสา และโครงสร้างฐานรากได้ ซึ่งส่งผลดีต่อการควบคุมงบประมาณการก่อสร้าง แต่อย่างไรก็ตามพื้นไร้คานประเภทนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศมากนัก งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาเพื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพของพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวงเมื่อเทียบกับพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไร้คานทั่วไป ผ่านการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของพื้นทั้งสองประเภทข้างต้นในด้านความหนา น้ำหนัก และเปอร์เซ็นต์การลดลงของน้ำหนักบรรทุก เมื่อแผ่นพื้นมีขนาดตั้งแต่ 6 m ถึง 12 m นอกจากนี้จากผลการออกแบบพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวง และพื้นไร้คานท้องเรียบทั่วไปในองค์อาคาร 5 ชั้น มีขนาดความยาวช่วงเสา 9 m ทำให้ทราบว่าระบบพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวงสามารลดน้ำหนักโดยรวมขององค์อาคารลงได้เป็นผลมาจากการใช้บอลพลาสติกแทนที่คอนกรีตบางส่วน ซึ่งทำให้ขนาดของเสาและจำนวนของเสาเข็มลดลงตามไปด้วย จากผลการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่าอาคารที่ใช้พื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวงสามารถลดน้ำหนักที่ถ่ายลงฐานรากได้ถึง 16 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับระบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไร้คานท้องเรียบทั่วไป</p> 2022-09-19T23:52:58+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1660 พฤติกรรมการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นคอมโพสิต Metal deck ที่มีช่องเปิดภายใต้น้ำหนักบรรทุกคงค้าง และไฟไหม้ 2022-09-20T18:20:35+07:00 สมฤทัย คงระกำ pakjira.ao@mail.wu.ac.th เวธนี ฤกษสโมสร thanongsak_im@wu.ac.th วิศรุตา ฤกษสโมสร thanongsak_im@wu.ac.th ภัคจิรา อ่อซ้าย pakjira.ao@mail.wu.ac.th ทนงศักดิ์ อิ่มใจ thanongsak_im@wu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการรับน้้าหนักของแผ่นพื้นคอมโพสิต Metal deck ที่มีช่องเปิดภายใต้น้้าหนักบรรทุกคงค้างและไฟไหม้ สำหรับคอนกรีตที่ใช้เททับบนแผ่นพื้น Metal deck จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ คอนกรีตที่ใช้มวลรวมธรรมชาติทั่วๆ ไป และคอนกรีตที่ใช้มวลรวมจากเศษ คอนกรีตย่อย ซึ่งมันส่งผลดีในด้านการใช้วัสดุทดแทน ทั้งในด้านคุณสมบัติ ด้านก้าลังของคอนกรีตผสมจากมวลรวมจากเศษคอนกรีตขึ้นอยู่กับก้าลังของเศษคอนกรีต การให้น้้าหนักบรรทุกคงค้างและไฟไหม้ โดยการตรวจวัด<br>ระหว่างเวลากับอุณหภูมิ และ การแอ่นตัวกับการให้น้้าหนักบรรทุกคงค้าง ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการทนไฟ ประกอบด้วยคุณสมบัติของคอนกรีตประกอบด้วย ประเภท และ คุณสมบัติของพื้นเหล็ก คานเหล็ก การยึดรั้ง และ พฤติกรรมเชิงประกอบ(Composite Action) การเกิดไฟไหม้ในแต่ละ ครั้งจะมีอุณหภูมิ 600°C - 1000°C โดยเหล็กภายในอาคารสามารถหลอม<br>ละลายภายใต้อุณหภูมิ1500°C</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-19T23:54:48+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1307 สมรรถนะของอาคารโครงสร้างเหล็กที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองในการต้านทานแผ่นดินไหว 2022-09-20T18:20:35+07:00 ณัฐธีร์ ยศพลจิรกิตต์ nutthee@outlook.com ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี fceccn@eng.chula.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาสมรรถนะของอาคารโครงสร้างเหล็กที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองในการต้านทานแผ่นดินไหว ซึ่งในมาตรฐานการ ออกแบบอาคารต้านการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ. 1301/1302-61 ได้มีการปรับปรุงวิธีสเปกตรัมผลตอบสนอง (Response Spectrum Analysis,RSA) เป็นวิธี Modified Response Spectrum Analysis (MRSA) ซึ่งเป็นการปรับวิธีค านวณแรงเฉือนที่ต้องต้านทานให้มีความปลอดภัย ซึ่งได้มาจากการศึกษาวิจัยจากอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นอาคารสูง แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาความจ าเป็นที่จะต้องใช้วิธี MRSA กับอาคารโครงสร้างเหล็ก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความเพียงพอของค่าแรงที่ต้องต้านทานสำหรับการออกแบบด้วยวิธีRSA ในการออกแบบโครงสร้างเหล็กที่ต้องต้านแผ่นดินไหว โดยพิจารณาอาคารโครงแกงแนงเหล็กแบบตรงศูนย์แบบพิเศษ มีความสูง 3, 6 และ 9 ชั้น โดยสมมติที่ตั้งของอาคารตัวอย่างอยู่ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอาคารที่นำมาศึกษาจะถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนอง อ้างอิงตามมาตรฐาน มยผ. 1301/1302-61, มยผ. 1304-61 และ AISC 360-16 และทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีประวัติเวลาไม่เชิงเส้น (Nonlinear Response History Analysis) เพื่อประเมินสมรรถนะของโครงสร้างในการต้านทานแผ่นดินไหว โดยพิจารณาการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ระหว่างชั้น การโก่งเดาะของเสาเหล็ก และแรงที่ต้องต้านทานส าหรับการออกแบบจุดต่อ จากผลการวิเคราะห์พบว่าอาคารโครงแกงแนงเหล็กที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองแบบเดิมสามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้</p> 2022-09-19T23:56:02+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1316 การวิเคราะห์สมรรถนะการต้านทานแรงเฉี่ยวชนของกำแพงกันชนคอนกรีตบนทางพิเศษ 2022-09-20T18:20:36+07:00 ธราดล หงส์อติกุล titharadon@gmail.com นันทวรรณ พิทักษ์พานิช mai_ba@hotmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร thepp9@hotmail.com สัณห์ พันธ์อุไร sun231219@gmail.com <p>จากปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางพิเศษในหลาย ๆ สายทางที่ผ่านมา พบว่ามีสาเหตุมาจากการเฉี่ยวชนจากการใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดของผู้ใช้ทางส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อเป็นการลดระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ และป้องกันการตกของยานพาหนะจากทางยกระดับอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุการเฉี่ยวชน การติดตั้งใช้งานกำแพงกันชนคอนกรีตบนทางยกระดับเพื่อป้องกันการตกหล่นของยานพาหนะจากทางยกระดับ และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ทาง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ปัจจุบันบนทางพิเศษได้มีการติดตั้งใช้งานกำแพงกันชนคอนกรีต 2 รูปแบบ สำหรับใช้ป้องกันการตกหล่นของยานพาหนะจากการเฉี่ยวชน คือ กำแพงกันชนคอนกรีตรูปแบบ New Jersey Safety Shape Barrier และกำแพงกันชนคอนกรีตรูปแบบ F-Shape Barrier ในการศึกษาวิจัยนี้ จะพิจารณาวิเคราะห์สมรรถนะของกำแพงกันชนคอนกรีตแต่ละรูปแบบที่ได้มีการติดตั้งใช้งานบนทางพิเศษ เพื่อประเมินสมรรถนะกำลังในการต้านทานแรงจากการเฉี่ยวชน โดยพิจารณาจำลองการเฉี่ยวชน<br>ด้วยความเร็วที่ 80 – 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง ของยานพาหนะกระทำในทิศทางการเฉี่ยวชนทำมุม 20 องศา 25 องศา และ 45 องศา ที่เป็นทิศทางการเฉี่ยวชนที่เกิดขึ้นจริงบนทางพิเศษ และอ้างอิงตามมาตรฐานการทดสอบการเฉี่ยวชนจริง NCHRP 350 ซึ่งในการจำลองแรงเฉี่ยวชนจะอยู่ในรูปแบบของแรงกระทำแบบสถิตย์ (Static Load) สำหรับใช้วิเคราะห์สมรรถนะกำลังต้านทานของกำแพงกันชนคอนกรีตต่อแรงเฉี่ยวชนที่เกิดขึ้น และการเสริมกำลังกำแพงกันชนคอนกรีตในกรณีที่มีกำลังต้านทานแรงเฉี่ยวชนไม่เพียงพอ</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-19T23:57:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1893 การวิเคราะห์คานคอนกรีตอัดแรงในสะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรีด้วยแบบจำลอง FEM โดยโปรแกรม ATENA 2022-09-20T18:20:37+07:00 ณิชารินทร์ นิธิเมธาพร nicharin.ni@ku.th เกียรติศักดิ์ สุรสิห์ไกรสร kiattisak.sur@ku.th เจตญา ศิลาบุญศักดิ์ Jetaya.s@ku.th ปัญญาวุธ จิรดิลก punyawut.j@ku.th ธิดารัตน์ จิระวัฒนาสมกุล Tidarut.W@chula.ac.th กวิน สายประเสริฐกิจ Ss.kawin@gmail.com <p>สะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรีเป็นสะพานคอนกรีตอัดแรงแบบอัดแรงทีหลังโดยแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณปากแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับทะเลจึงมีแนวโน้มสูงที่จะสูญเสียเหล็กรับแรงเสริมเนื่องจากการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียอัตราส่วนการเสริมแรงและการหลุดลอกของคอนกรีต รวมทั้งยังมีการสูญเสียเนื่องจากการเสื่องแรงของลวดอัดแรงที่ส่งผลให้โครงสร้างสะพานเกิดการโก่งตัวและรอยแตกร้าว ทำให้สูญเสียความสามารถในการรับน้ำหนักและส่งผลต่อเสถียรภาพของโครงสร้าง รวมถึงมีปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพโครงสร้างคานสะพานส่วนบน โดยการศึกษาพฤติกรรมและทำนายรูปแบบความล้มเหลวของโครงสร้างสะพานโดยใช้แบบจำลอง 2 มิติ ด้วยการวิเคราะห์ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบไม่เชิงเส้น (Non-linear Finite Element) โดยโปรแกรม ATENA 2D และใช้ข้อกำหนดต่างๆโดยอ้างอิงจาก AASHTO LRFD-2007 จากผลการวิเคราะห์แบบจำลองนี้พบว่าอิทธิพลของการเสื่อมแรงของลวดอัดแรงมีผลมากกว่าอิทธิพลจากการกัดกร่อนของปฎิกิริยาคลอโรชั่น นอกจากนี้สะพานมีค่ามากกว่ามาตรฐาน AASHTO ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคานมีการเสื่อมสภาพเพียงเล็กน้อย ดังนั้นสะพานยังสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของโครงสร้าง รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้าง เพื่อยืดอายุการใช้งานในอนาคต</p> 2022-09-19T23:58:31+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1293 วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับวิเคราะห์การแอ่นตัวมากของคานที่มีจุดรองรับเลื่อนสไลด์ได้อิสระในแนวราบ 2022-09-20T18:20:38+07:00 ธัญญลักษณ์ วงษ์นุช thanyalak.wo@ku.th อภิรักษ์ เงินรี aphirak.ng@ku.th สหัสวัต เลิศสำราญ sahassawat.l@ku.th ผศ.ดร.การันต์ คล้ายฉ่ำ karun.klay@gmail.com <p>งานวิจัยฉบับนี้นำเสนอการวิเคราะห์การแอ่นตัวมากของคานที่มีจุดรองรับเคลื่อนที่ภายใต้น้ำหนักของคานและแรงอัดที่ปลาย แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของคานได้รับการพัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการงานและพลังงานเสมือน การศึกษานี้ได้ใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Method) แบบไม่เชิงเส้นร่วมกับขั้นตอนทำซ้ำด้วยวิธีนิวตัน-ราฟสันในการหาคำตอบเชิงตัวเลข นอกจากนั้นระบบสมการเชิงอนุพันธ์อันดับที่หนึ่งแบบไม่เป็นเชิงเส้น สำหรับการคำนวณหาแรงภายในคานได้จากการพิจารณาสมดุลของแรงและโมเมนต์ของชิ้นส่วนย่อยของคาน&nbsp; ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการคำนวณตามวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ได้รับการพัฒนาโดยภาษาฟอร์แทรน 90&nbsp; ผลการตรวจสอบเชิงตัวเลขพบว่าคำตอบที่ได้จากวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มีความสอดคล้องกับคำตอบจากวิธียิงเป้า (Shooting Method) ผลคำตอบเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่า น้ำหนักคานและแรงอัดที่กระทำที่จุดรองรับทำให้จุดรองรับของคานเคลื่อนที่ และเกิดการแอ่นตัวมาก ส่งผลให้คานเกิดการสูญเสียเสถียรภาพ</p> 2022-09-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1881 การประเมินความมั่นคงแข็งแรงโครงสร้างสะพานดอนหอยหลอดเพื่อการออกแบบเสริมกำลังโดยใช้เส้นใยคาร์บอนเสริมโพลิเมอร์ (CFRP) 2022-09-20T18:20:38+07:00 กิตติ มโนคุ้น kitti_m@drr.go.th กิตติภูมิ รอดสิน krs@kmutnb.ac.th ปรัชญา ยอดดำรงค์ pruchaya_yo@rmutto.ac.th <p>สะพานดอยหอยหลอดเป็นสะพานข้ามคลองแพรกลึก จ.สมุทรสงคราม มีการใช้งานมานาน และปริมาณจราจรรถบรรทุกหนักจากการขนส่งสินค้าจำนวนมาก กรมทางหลวงชนบทโดยแขวงทางหลวงชนบทสมุทรสงคราม จึงได้ทำการตรวจสอบและประเมินกำลังรับน้ำหนักของสะพาน ด้วยการทดสอบกกำลังรับน้ำหนักบรรทุกเสมือนจริง โดยเลือกช่วงโครงสร้างตัวแทนที่ใช้ในการทดสอบ 2 ช่วง มีการติดตั้งเซนเซอร์วัดการแอ่นตัว และความเครียดของสะพาน ผลของการประเมินความความแข็งแรงของโครงสร้างสะพาน ได้ถูกน้ามาใช้ในการออกแบบการเสริมก้าลังโครงสร้างโดยใช้เส้นใยคาร์บอนเสริมโพลิเมอร์ (Carbon Fiber Reinforced Polymers : CFRP) โดยค้านึงถึงสภาพแวดล้อม พฤติกรรมโครงสร้างปัจจุบัน และปัจจัยต่างๆเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพาน ผลของการเสริมก้าลังโครงสร้างพบว่า การเสริมก้าลังสามารถท้าให้ระดับค่าความเครียด และการแอ่นตัวบริเวณกึ่งกลางแผ่นคานสะพานที่รองรับพื นโดยรวมมีค่าลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเสริมก้าลังด้วยเส้นใยคาร์บอน สามารถช่วยในการลดระดับความเครียดบนแผ่นพื นและการแอ่นตัวที่เกิดจากน ้าหนักบรรทุกได้</p> 2022-09-20T00:01:37+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1552 การวิเคราะห์เปรียบเทียบการออกแบบกำแพงกันดินคอนกรีตเสริมเหล็กและกำแพงกันดินเสริมแรงเพื่อรับแรงแผ่นดินไหว 2022-09-20T18:20:39+07:00 วุฒิชัย ชาติพัฒนานันท์ vuttich@hotmail.com ชัยณรงค์ อธิสกุล chainarong.ath@kmutt.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ sutat.lee@kmutt.ac.th <p>บทความนี้แสดงการค านวณออกแบบก าแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นและก าแพงกันดินเสริมแรงในส่วนของเสถียรภาพภายนอกเพื่อรับแรงแผ่นดินไหว ที่จำเป็นต้องพิจารณาในการออกแบบโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันตะวันตกในประเทศไทย โดยที่ตัวอย่างการออกแบบดังกล่าวยังไม่ปรากฎแพร่หลายนัก โดยแสดงตัวอย่างการออกแบบกำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นและก าแพงกันดินเสริมแรงทั้งกรณีที่มีแรงแผ่นดินไหวโดยการใช้สมการM-O ในการประมาณแรงดันดินด้านข้างพลศาสตร์ แล้วทำการเปรียบเทียบการออกแบบกำแพงกันดินในกรณีที่ไม่มีแรงแผ่นดินไหวโดยใช้แรงดันดินด้านข้างสถิตย์ศาสตร์ โดยใช้ตัวอย่างกำแพงกันดินที่ความสูง 2.5 เมตร โดยออกแบบตามรูปแบบของการวิบัติ จากค่าความเร่งสูงสุดที่ 0.4g และค่าความเร่งผิวดินแนวราบที่ 0.12g โดยกำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นใช้ดินถมน้อยกว่า เนื่องจาก CCRW ใช้น้ำหนักของคอนกรีตช่วยในการรับแรง ขณะที่MSEW ใช้น้ำหนักดินเพียงอย่างเดียวในการรับแรง นอกจากนี้ กำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นและกำแพงกันดินเสริมแรงที่มีรูปทรงมวลดินเสริมแรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกัน มีความสามารถในการรับแรง โมเมนต์ และอัตราส่วนความปลอดภัยที่ต่างกันหากพิจารณาถึงผลของรูปทรง แรงเฉื่อยและมุมเสียดทานกำแพงที่ต่างกัน</p> 2022-09-20T00:03:09+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1677 การศึกษาการตรวจสอบสะพานด้วยเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ 2022-09-20T18:20:40+07:00 ฺบวรชนก มณีรัตน 6372067421@student.chula.ac.th วิทิต ปานสุข 6372067421@student.chula.ac.th พชร เครือวิทย์ 6372067421@student.chula.ac.th <p>การตรวจสอบโครงสร้างสะพานนั้นเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่ช่วยในการเพิ่มอายุการใช้งานของสะพาน โดยวิธีการตรวจสอบด้วยตาเปล่าเป็นขั้นแรกของการตรวจสอบ ที่จะต้องใช้กำลังคนในการเข้าถึงพื้นที่เพื่อตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่วิศวกรหรือผู้ตรวจสอบที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจวิธีการและพฤติกรรมของสะพานเพื่อทำการประเมินความเสียหายโครงสร้างสะพาน ซึ่งจะต้องใช้เวลา ค่าใช้จ่ายที่สูง รวมไปถึงความซับซ่อนของข้อมูลโดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาและนำเสนอเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) ที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึง ลดอุบัติเหตุ รวมไปถึงความสามารถในการสร้างแบบจ าลองสามมิติ โดยในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอหลักการโฟโตแกรมเมตรี(Photogrammetry) ในการสร้างแบบจำลองจุดก้อนเมฆ (Point Cloud) เพื่อประมวลผลสร้างภาพออรฺโธร์ (Orthophoto) ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบความเสียหายของสะพานกำหนดค่าความละเอียดจุดพิกเซล (Ground Sample Distance: GSD) เท่ากับ 0.5 cm/pix การซ้อนทับส่วนทับซ้อน (Overlap) และ ส่วนเกย (Sidelap)80 และ 80 ตามล าดับ รวมไปถึง การก าหนดจุดควบคุมภาพถ่ายและจุดตรวจสอบทั้งหมด 29 จุด โดยผลลัพธ์ที่ได้ท าการตรวจสอบความถูกต้องของระยะแต่ละจุดแบบจ าลองที่ได้กับพื้นที่จริง 38 จุด รวมไปถึงรูปแบบความเสียหายที่เกิดขึ้นบนแบบจ าลองกับพื้นที่จริง 26จุด พบว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นอีกตัวเลือกนึง ที่สามารถทดแทนการตรวจสอบแบบดั้งเดิม ช่วยในการเข้าถึง และ ลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ตรวจสอบ โดยระยะแต่ละจุดของภาพออร์โธมี เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 1.14 % และการตรวจสอบความเสียหายมีเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 12.37 % เปรียบเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงบนสะพาน</p> 2022-09-20T00:04:46+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1912 กรณีศึกษาของคานคอนกรีตเสริมเหล็กยึดติดแผ่นเหล็กด้วยอีพ็อกซี่ที่มีสลักเกลียวฝังยึดบริเวณปลายและภายในช่วงคาน 2022-09-20T18:20:41+07:00 ยศ สมพรเจริญสุข syossyos@mut.ac.th ธนัตศักดิ์ ธีระเกตุ thanutsak@hotmail.com วิกร โตวราพงศ์ vigcivil@hotmail.com ปฏิภาณ จันทรวิชิต patiphan.c@mail.rmutk.ac.th Damang Dy dydamang@gmail.com <p>ข้อเสียประการหลักของการเสริมกำลังจากภายนอกในคานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยการยึดติดแผ่นเหล็กกับผิวหน้ารับแรงดึงของคอนกรีตคือ เกิดการวิบัติแบบหลุดล่อนที่ผิวสัมผัสภายในระหว่างแผ่นเหล็กและคานคอนกรีตที่นำไปสู่การสูญเสียพฤติกรรมคอมโพสิตอันเนื่องมาจากการเหนี่ยวนำของแรงเฉือนและแรงลอกกระจายขนาดใหญ่ที่อาณาบริเวณเล็กๆ ใกล้กับปลายของแผ่นเหล็ก เพื่อหลีกเลี่ยงหรือป้องกันสถานการณ์ที่กล่าวถึงนี้ ผลลัพธ์ต่างๆ ที่พบในการทดลองเมื่อเพิ่มเติมการติดตั้งสลักเกลียวฝังยึดในคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสริมกำลังโดยยึดติดแผ่นเหล็กด้วยอีพ็อกซี่ได้มีการบ่งชี้ว่า การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกและการแอ่นตัวของคานสามารถบรรลุเป็นผลสำเร็จได้ แต่กระนั้นก็ตาม การวิบัติจากการหลุดล่อนยังคงปรากฏอยู่ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักบรรทุกและการแอ่นตัว ผลลัพธ์เชิงทดลองได้มีการแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า การใช้ระบบสมอจับยึดด้วยสลักเกลียวสามารถป้องกันการเกิดขึ้นของการวิบัติจากการหลุดล่อนแบบสมบูรณ์อันเนื่องมาจากการลอกออกที่ปลายก่อนเวลากำหนดของแผ่นเหล็กและอีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงสมรรถนะของคานเสริมกำลัง รูปแบบของการวิบัติเปลี่ยนจากรูปแบบเปราะสำหรับคานที่ไม่มีสมอจับยึดไปสู่รูปแบบเหนียวสำหรับคานที่มีสมอจับยึดซึ่งเป็นรูปแบบการวิบัติที่ดี</p> 2022-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1913 การศึกษาเชิงทดลองด้านกำลังดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กรับแรงดึงร่วมกับเหล็กรับแรงอัดโดยใช้การยึดติดแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนภายนอก 2022-09-20T18:20:41+07:00 ยศ สมพรเจริญสุข syossyos@mut.ac.th วิกร โตวราพงศ์ vigcivil@hotmail.com ปฏิภาณ จันทรวิชิต patiphan.c@mail.rmutk.ac.th Damang Dy dydamang@gmail.com ธนัท นกเอี้ยงทอง thanat@mut.ac.th <p>การศึกษาเชิงทดลองสําหรับคานคอนกรีตที่มีเหล็กเสริมรับแรงดึงและเหล็กเสริมรับแรงอัดและเสริมกําลังดัดด้วยการยึดติดแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนจากภายนอกที่ผิวหน้ารับแรงดึงของคอนกรีตโดยที่ปลายทั้งสองข้างของแผ่น CFRP มีการรัดรอบโดยสมบูรณ์เพื่อป้องกันการวิบัติล่วงหน้าก่อนเวลากําหนดอันเนื่องมาจากการหลุดล่อนที่ผิวสัมผัสภายในตรงบริเวณปลายแผ่นระหว่างแผ่น CFRP และคานคอนกรีต หรือเกิดการแยกตัวออกของคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมโดยที่คานรับแรงกระทําเพิ่มขึ้นทางเดียวแบบสมมาตรได้มีการนําเสนอไว้ในบทความนี้เพื่อหาความสามารถในการรับน้ําหนักบรรทุกและผลการตอบสนองของการแอ่นตัว ค่าพารามิเตอร์ที่สนใจประกอบไปด้วยกําลังอัดของคอนกรีตและตําแหน่งของการให้แรงกระทําที่ส่งผลกระทบต่อน้ําหนักบรรทุกแตกร้าวแรก น้ําหนักบรรทุกคราก น้ําหนักบรรทุกจากการหลุดล่อน น้ําหนักบรรทุกประลัย อีกทั้งได้มีการพิจารณารูปแบบของการวิบัต</p> 2022-09-20T00:07:34+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1719 กำลังของผนังคอนกรีตรับน้ำหนักสำเร็จรูปที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ 2022-09-20T18:20:42+07:00 เลิศภพ จันทร์เที่ยง Lertpob_1699@hotmail.co.th ณัฐวัฒน์ จุฑารัตน์ nuttawat.ch@spu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงกำลังของผนังคอนกรีตรับน้ำหนักสำเร็จรูปที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ โดยการย่อขนาดผนังให้เหลือกำลังเท่ากับ 1/3 ของกำลังรับน้ำหนักจริงแล้วทำการทดสอบ ชิ้นทดสอบมีขนาด กว้าง 175 ซม. สูง 175 ซม. และ หนา 7 ซม. จำนวน 2 ชิ้น โดยชิ้นที่หนึ่งเป็นผนังทึบ ชิ้นที่สองมีช่องเปิดขนาด 45% ทดสอบโดยการให้น้ำหนักในแนวดิ่งแบบแผ่กระจายเสม่ำเสมอตลอดความยาวผนัง และให้แรงกระทำเยื้องศูนย์เท่ากับ 1/6 ของความหนา ผลการทดสอบพบว่าผนังที่ไม่มีช่องเปิดรับกำลังได้ 78.43 ตัน โดยวิบัติแบบโก่งเดาะ ซึ่งมีค่าคลาดเคลื่อนจากมาตรฐาน ACI 318-19&nbsp; และ AS-3600-2009&nbsp; เท่ากับ 2.4% และ 14.1% ตามลำดับ ส่วนผนังที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่วิบัติแบบแรงอัดเป็นหลักและมีความสามารถในการรับน้ำหนักลดลง 47% และเมื่อเปรียบเทียบกับกำลังของผนังที่มีช่องเปิดที่คำนวณจาก Empirical formula ของ Saheb and Desayi&nbsp; ซึ่งจำกัดขนาดช่องเปิดไว้เพียง 27% พบว่ามีความคลาดเคลื่อน 7.4% จากสมการนี้ทางผู้วิจัยได้พัฒนาเพื่อทำนายกำลังผนังคอนกรีตรับน้ำหนักที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่เท่ากับ 45% และทำให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยลงเหลือ 2.3% ซึ่งสามารถใช้ในการทำนายกำลังของผนังที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ในอนาคตได้&nbsp;</p> <p>คำสำคัญ: กำลังของผนังคอนกรีตรับน้ำหนักสำเร็จรูป, กำลังผนังคอนกรีตรับน้ำหนักที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่, สมการคำนวณกำลังผนังคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่</p> 2022-09-20T00:08:52+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1533 การศึกษาเปรียบเทียบแบบจำลองฐานรากตื้นของอาคารเตี้ยภายใต้แรงแผ่นดินไหว 2022-09-20T18:20:43+07:00 นพรัตน์ เจนมั่นคง j.muiicz@gmail.com ณัฐวุฒิ ธนศรีสถิตย์ nuttawut.t@eng.kmutnb.ac.th พชร เครือวิทย์ Pochara.k@eng.kmutnb.ac.th <p>สำหรับอาคารที่ตั้งอยู่บนฐานรากตื้นภายใต้แรงกระทำของแผ่นดินไหว โดยทั่วไปโครงสร้างที่ตั้งอยู่บนฐานรากตื้นมักจะถูกออกแบบให้จุดรองรับของฐานรากเป็นแบบยึดแน่นหรือแบบยึดหมุน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อมีแรงแผ่นดินไหวมากระทำจะส่งผลให้ฐานรากเกิดการเคลื่อนที่ในแนวราบและมีการหมุนที่จุดรองรับ ดังนั้นแบบจำลองฐานรากจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลปฎิสัมพันธ์ระหว่างดินและโครงสร้างด้วย งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาและเปรียบเทียบผลการทำแบบจำลองฐานรากตื้นระหว่างการออกแบบจุดรองรับเป็นแบบยึดแน่น แบบยึดหมุนและแบบยืดหยุ่นภายใต้แรงแผ่นดินไหว เพื่อทราบแบบจำลองฐานรากตื้นที่เหมาะสมกับอาคารที่ตั้งอยู่บนชั้นดินประเภทต่างๆ และนำมาใช้ออกแบบอาคารให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ โดยในการศึกษานี้ได้ใช้หลักการวิเคราะห์ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2561 เพื่อวิเคราะห์หาการเคลื่อนตัวของอาคารและเปรียบเทียบระหว่างอาคารที่มีจุดรองรับเป็นแบบยึดแน่น, แบบยึดหมุนและแบบยืดหยุ่น</p> 2022-09-20T00:10:02+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1891 แรงยับยั้งการโก่งเดาะของเหล็กเส้น 2022-09-20T18:20:43+07:00 อนันทพงษ์ กระจาย Nantaphonmahawan@gmail.com สมบูรณ์ เซี่ยงฉิน somboon.sh@up.ac.th ปรีดา ไชยมหาวัน preeda.ch@up.ac.th ภาสกร ชัยวิริยะวงศ์ cpassagorn@eng.psu.ac.th <p>โครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กในอาคารที่ไม่ได้ออกแบบรับแรงแผ่นดินไหวจะมีการเสริมเหล็กปลอกค่อนข้างห่างและมีโอกาสเกิดการโก่งเดาะของเหล็กเสริมตามยาวแล้วดันให้คอนกรีตหุ้มแตกหากเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง ดังนั้นการเสริมกำลังในเสาจึงจำเป็นต้องยับยั้งการโก่งเดาะนี้ การศึกษานี้ทำการทดสอบกำลังอัดของเหล็กเส้นที่มีการยับยั้งการโก่งเดาะ ตัวอย่างเหล็กเส้นเป็นเกรด SD40 และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม. 20 มม. และ 25 มม. ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแรงยับยั้งการโก่งเดาะของเหล็กจะเพิ่มมากขึ้นหลังจากจุดครากและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามความเครียดอัดที่เพิ่มขึ้น สำหรับเหล็กที่มีขนาดหน้าตัดใหญ่จำเป็นต้องใช้แรงยับยั้งการโก่งเดาะที่มากกว่า ซึ่งผลการทดสอบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ออกแบบการเสริมกำลังในเสาต่อไป</p> 2022-09-20T00:11:47+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1637 ผลกระทบของเส้นใยเหล็กต่อสมบัติเชิงกลและการคืบของคอนกรีตสมรรถนะสูงที่ผสมเถ้าก้นเตาบดละเอียด 2022-09-20T18:20:44+07:00 ณัฐวัตร เหมือนเหลา nattawat.mhuan@gmail.com วีรชาติ ตั้งจิรภัทร weerachart.tan@kmutt.ac.th ชัย จาตุรพิทักษ์กุล chai.jat@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาสมบัติเชิงกลและการคืบของคอนกรีตสมรรถนะสูงที่ใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียด (GBA) เป็นวัสดุประสานร่วมกับเส้นใยเหล็ก โดยใช้เถ้าก้นเตาที่มีความละเอียดสูง (มีปริมาณอนุภาคค้างบนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 325 น้อยกว่าร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก) แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ร้อยละ 70 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน นอกจากนี้ใช้เส้นใยเหล็กชนิดตรง ขนาดความยาว 13 และ 20 มม และเส้นใยเหล็กชนิดงอปลาย ขนาดความยาว 35 มม ร้อยละ 0.5 และ 1.0 โดยปริมาตรของคอนกรีต ทุกส่วนผสมคอนกรีตกำหนดปริมาณวัสดุประสานคงที่เท่ากับ 600 กก/ม<sup>3</sup> และใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.27 ควบคุมค่าการไหลแผ่ระหว่าง 650-750 มม และควบคุมระยะเวลาของการไหลถึง 500 มม อยู่ในช่วงระหว่าง 5-20 วินาที โดยการใช้สารลดน้ำพิเศษ ศึกษากำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่น กำลังรับแรงดัด และการคืบของคอนกรีต ผลการศึกษาพบว่ากำลังอัดของคอนกรีตสมรรถนะสูงที่ใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียดปริมาณสูงในอัตราร้อยละ 70 โดยน้ำหนักของวัสดุประสานร่วมกับเส้นใยเหล็กชนิดงอปลายร้อยละ 1.0 โดยปริมาตร ให้ค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน สูงถึง 80.4 เมกะปาสคาล การเพิ่มขนาดความยาวของเส้นใยเหล็กช่วยเพิ่มค่ากำลังรับแรงดัดและค่าความเหนียวให้กับคอนกรีต นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณของเส้นใยเหล็กมีส่วนช่วยให้คอนกรีตมีค่าการคืบที่ลดลง</p> 2022-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1945 ดัชนีความเสียหายสำหรับการประเมินความเสียหายผนังอิฐก่อในอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2022-09-20T18:20:45+07:00 วนัชพร งามประเทืองโสภา vanatchaporn.ngam@mail.kmutt.ac.th จรัญ ศรีชัย srechai@eng.buu.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ sutat.lee@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการกำหนดดัชนีความเสียหายที่เหมาะสม สำหรับการประเมินผนังอิฐก่อในโครงอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก (Masonry Infilled RC Frame) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์บ่งชี้ระดับความความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว ดัชนีความเสียหายจะคำนวณจากผลการวิเคราะห์และจากแบบจำลองโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กร่วมกับแบบจำลองผนังอิฐก่อ โดยอาศัยสมการของ Park-Ang &nbsp;และทำการปรับแก้ค่าดัชนีให้สอดคล้องกับผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษานี้มาจากการรวบรวมผลการทดสอบในอดีต ของโครงสร้างคอนกรีตที่มีผนังอิฐก่อภายใต้แรงกระทำด้านข้างแบบวัฏจักร ในส่วนของการจำลองพฤติกรรมของโครงสร้างผนังอิฐก่อเพื่อการประเมินความเสียหาย จะจำลองเป็นลักษณะค้ำยันเทียบเท่าสองค้ำยันวางตัวเป็นรูปกากบาท โดยที่ค้ำยันแต่ละตัวรับแรงได้เฉพาะแรงอัด จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างผนัง โดยพิจารณาจากค่าการเสียรูปและการสลายพลังงาน และคำนวณเป็นดัชนีความเสียหายให้เหมาะสมกับระดับความเสียหายแต่ละระดับ ดัชนีความเสียหายที่กำหนดขึ้นสามารถนำไปใช้ในการออกแบบและประเมินสมรรถนะอาคารประเภทคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีผนังอิฐได้</p> 2022-09-20T00:14:42+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1543 การวิเคราะห์พฤติกรรมโครงสร้างคอนกรีตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ภายใต้แรงกระทำและอุณหภูมิสูงด้วยวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์ 2022-09-20T18:20:45+07:00 บัญญวัต นกโพธิ์ safemom414@hotmail.com มณฑกานต์ ยาพรหม faiyaphrom@hotmail.com มัณฑนา เม่นขำ manthana.men@student.mahidol.edu ทศวัฒน์ ดวงวิไลลักษณ์ totsawat.dau@mahidol.ac.th <p>ในปัจจุบันปัญหาหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างยังคงไม่ได้รับการแก้ไข อาทิ ต้นทุนของวัสดุและค่าแรงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความต้องการแรงงานที่มีทักษะในการก่อสร้าง ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์คอนกรีต 3 มิติ จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้แต่เนื่องจากโครงสร้างคอนกรีตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ยังขาดข้อมูลการศึกษาอยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมภายใต้อุณหภูมิสูง ดังนั้นในการศึกษานี้จึงได้สร้างแบบจำลองผนังคอนกรีตที่ถูกพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์3 มิติด้วยชุดคำสั่ง ANSYS ซึ่งแบบจำลองมีลักษณะเป็นผนังซ้อน 2 ชั้น มีโครงถักอยู่ภายใน โดยผนังมีขนาด กว้าง12 ซม. ยาว 132 ซม. และสูง 77 ซม. จากนั้นได้การวิเคราะห์ผนังคอนกรีตที่มีแรงกระทำแนวดิ่งภายใต้อุณหภูมิประมาณ 1,100 องศาเซลเซียส เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมของผนังดังกล่าว โดยจากการศึกษาพบว่าผนังคอนกรีตภายใต้อุณหภูมิสูงจะทำให้กำลังรับน้ำหนักของคอนกรีตลดลงและเกิดการโก่งงอ เมื่อเทียบกับผนังคอนกรีตในสภาวะปกติและประกอบกับเมื่อมีแรงกระทำทั้งแนวดิ่งทำให้เกิดการโก่งตัวของผนังคอนกรีตที่สูงขึ้น</p> 2022-09-20T00:16:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1750 การเปรียบเทียบผลลัพธ์แรงกระทำจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานรุ่นต่างๆ 2022-09-20T18:20:46+07:00 แพร เสือปาน egspt@yahoo.com รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ปฐมศิริ egspt@yahoo.com <p>กฎหมายหรือมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างเพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวในประเทศไทยเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หลังจากนั้นได้มีการออกกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2550, มยผ. 1302-2552 มาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง ปี พ.ศ. 2552, มยผ. 1301/1302-61 ปี พ.ศ. 2561 และ กฎกระทรวงฯ ปี พ.ศ. 2564 ตามลำดับ ในระดับสากลมีการอ้างถึง UBC1985 (พ.ศ. 2528), ASCE7-02 (พ.ศ. 2545), ASCE7-05 (พ.ศ. 2548), ASCE7-10 (พ.ศ. 2553), ASCE7-16 (พ.ศ. 2559) และล่าสุด ASCE7-22 (พ.ศ. 2565) บทความนี้เป็นผลการศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์แรงกระทำที่คำนวณด้วยวิธีสถิตย์เทียบเท่าตามที่กำหนดหรือแนะนำไว้โดยมาตรฐานรุ่นต่างๆ เหล่านี้ การศึกษานี้ใช้อาคารรูปทรงสม่ำเสมอขนาดความกว้าง 14.4 เมตร ยาว 28.8 เมตร สูง 5 ชั้น เป็นตัวอย่าง โดยสมมุติให้อาคารนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงรายและกรุงเทพมหานคร ผลการวิเคราะห์พบว่า กฎกระทรวงฯ ฉบับล่าสุด ปี พ.ศ. 2564 ให้ค่าแรงเฉือนทั้งหมดในแนวราบที่ระดับพื้นดิน มากกว่าค่าที่คำนวณได้โดยกฎกระทรวงฯ ปี พ.ศ. 2540 เกือบ 2 เท่า ในกรณีจังหวัดเชียงราย แต่กลับให้ค่าน้อยกว่า หากอาคารตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในขณะที่มาตรฐาน ASCE7-16 คำนวณค่าแรงเฉือนทั้งหมดในแนวราบที่ระดับพื้นดินเพิ่มขึ้นจาก ASCE7-02 1.20 และ 1.39 เท่าในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ หากมาตรฐานรุ่นใหม่มีความถูกต้องแม่นยำ เป็นไปได้ว่าอาคารที่มีอยู่เดิมอาจจะไม่แข็งแรงเพียงพอ และควรมีการประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างเพื่อเสริมกำลังต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต</p> 2022-09-20T00:17:29+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1751 การเปรียบเทียบผลลัพธ์แรงกระทำจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวด้วยวิธีสเปกตรัมการตอบสนองแบบโหมดที่กำหนดไว้ในมาตรฐานรุ่นต่างๆ 2022-09-20T18:20:47+07:00 แพร เสือปาน egspt@yahoo.com รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ปฐมศิริ egspt@yahoo.com <p>รายละเอียดการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างเพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวในประเทศไทยโดยวิธีพลศาสตร์ ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2552 โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ใน มยผ.1302-52 และฉบับล่าสุด คือ กฎกระทรวงฯ 2564 ในระดับสากลมีการอ้างถึง UBC1985 (พ.ศ. 2528), ASCE7-02 (พ.ศ. 2545), ASCE7-05 (พ.ศ. 2548), ASCE7-10 (พ.ศ. 2553), ASCE7-16 (พ.ศ. 2559) และล่าสุด ASCE7-22 (พ.ศ. 2565) บทความนี้เป็นผลการศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์แรงกระทำที่คำนวณด้วยวิธีสเปกตรัมการตอบสนองแบบโหมดตามที่กำหนดหรือแนะนำไว้โดยมาตรฐานรุ่นต่างๆ เหล่านี้ ตัวอย่างสำหรับการศึกษาใช้อาคารรูปทรงสม่ำเสมอขนาดความกว้าง 14.4 เมตร ยาว 28.8 เมตร สูง 5 ชั้น มีระบบต้านทานแรงด้านข้างแบบโครงต้านแรงดัดที่มีความเหนียวเป็นพิเศษ โดยสมมุติให้อาคารนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงรายและกรุงเทพมหานคร ผลการวิเคราะห์พบว่า กฎกระทรวงฯ ฉบับล่าสุด ปี พ.ศ. 2564 มยผ.1301/1302-61 ให้ค่าแรงเฉือนทั้งหมดในแนวราบที่ระดับพื้นดินเพื่อใช้ออกแบบโครงสร้างแนวดิ่งเป็นรายชิ้นส่วน มากกว่า มยผ.1302-52 3.22 และ 3.95 เท่า สำหรับอาคารตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงรายและกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ในขณะที่ ASCE7-16 ให้ค่าแรงเฉือนที่ทั้งหมดในแนวราบที่ระดับพื้นดินเพิ่มขึ้นจาก ASCE7-02 1.43 และ 1.48 เท่า สำหรับอาคารตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงรายและกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ในส่วนของค่าการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างชั้นพบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมให้และอาคารยังคงมีเสถียรภาพต่อการพลิกคว่ำ จากค่าแรงเฉือนที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการใช้ มยผ.1301/1302-61 แสดงว่าชิ้นส่วนโครงสร้างแนวดิ่ง เช่น เสา กำแพง จำเป็นต้องเพิ่มค่าความต้านทานแรงเฉือนซึ่งอาจต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณเหล็กเสริมของชิ้นส่วนโครงสร้างดังกล่าว</p> 2022-09-20T00:19:05+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1564 การเสริมกำลังคานเหล็กที่มีช่องเปิดวงกลมด้วยครีบวงแหวน 2022-09-20T18:20:48+07:00 ธนกฤต วังปรีชา 6410120035@email.psu.ac.th ปฐเมศ ผาณิตพจมาน p.pattamad@yahoo.com ภาสกร ชัยวิริยะวงศ์ cpassagorn@eng.psu.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาเพื่อหาตัวแปรที่ส่งผลต่อกำลังของคานเหล็กที่มีช่องเปิดวงกลมที่เสริมกำลังด้วยครีบวงแหวน เนื่องจากปัจจุบันการศึกษากำลังของคาน ดังกล่าวมีผลการศึกษาค่อนข้างจำกัด โดยทำการศึกษาด้วยแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ไม่เชิงเส้นจำนวน 120 แบบจำลอง ซึ่งครอบคลุมตัวแปรด้านมิติของคานและครีบวงแหวน พบว่า ครีบวงแหวนสามารถเพิ่มกำลังได้สูงสำหรับคานที่มีการเสริมกำลังที่มีค่าอัตราส่วนของช่องเปิดเทียบกับความสูง 0.8 และอัตราส่วนระยะห่างระหว่างช่องเปิดเทียบกับขนาดช่องเปิด 1.1 ซึ่งเพิ่มกำลังได้สูงสุดถึงร้อยละ 259 ในกรณีที่ค่าอัตราส่วนของความสูงคานเทียบกับความกว้างปีก 2.2 และอัตราส่วนของความหนาครีบวงแหวนเทียบกับความหนาเอว 1.3 โดยการเสริมครีบวงแหวนด้วยหน้าตัดอัดแน่นมีประสิทธิภาพในการเสริมกำลังดีที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณวัสดุที่ใช้เพิ่มขึ้น ซึ่งที่ระดับความชะลูดเดียวกันความหนาของครีบวงแหวนที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มกำลังที่สูงขึ้น ทั้งนี้สำหรับคานที่มีอัตราส่วนของความสูงเทียบกับความกว้างปีก 2.6 หรือ แผ่นเอวค่อนข้างชะลูด อัตราการเพิ่มกำลังจากการเสริมกำลังมีแนวโน้มน้อยกว่าคานที่หน้าตัดมีความชะลูดน้อย อาจเกิดจากลักษณะความชะลูดของหน้าตัดทำให้มีความเสี่ยงในการวิบัติจากการโก่งเดาะมาก</p> 2022-09-20T00:20:15+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1914 การตอบสนองพลวัตเชิงเส้นภายใต้แรงกระทำแบบไม่เสถียรด้วยแบบจำลองเครือข่ายประสาทเทียม 2022-09-20T18:20:48+07:00 ปวริศ โปษยะนันทน์ Pawarid3104@gmail.com ปฏิภาณ จันทรวิชิต patiphan.c@mail.rmutk.ac.th Damang Dy dydamang@gmail.com ยศ สมพรเจริญสุข syossyos@mut.ac.th <p>วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือ เพื่อนำเสนอแบบจำลองเครือข่ายประสาทเทียม (ANN) มาใช้เป็นแบบจำลองตัวแทนสำหรับการหาผลการตอบสนองพลวัตของโครงสร้างโครงข้อแข็งรับแรงเฉือนภายใต้การกระตุ้นแบบไม่เสถียรอันเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว เครือข่ายประสาทแบบป้อนข้อมูลไปข้างหน้าหลายชั้นได้ประยุกต์ใช้ในสถาปัตยกรรมของเครือข่ายประสาทเทียมสำหรับการส่งถ่ายจำนวนของการกระตุ้นแบบไม่เสถียรที่มีจำนวนมากที่ได้รับการสร้างบนพื้นฐานทฤษฎีการประมาณสากลเพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าไปสู่ข้อมูลส่งออกของการวิเคราะห์ผลการตอบสนองพลวัตแบบสุ่ม แนวคิดที่นำเสนอและกระบวนการในการคำนวณได้แสดงผ่านการวิเคราะห์ช่วงเวลาของระบบพลวัตเชิงเส้นอย่างง่ายที่มี 3 องศาอิสระและถูกกระทำด้วยการกระตุ้นการเคลื่อนที่<br>ของพื้นดินแบบไม่เสถียร จากผลลัพธ์เชิงตัวเลขที่ได้มาแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของระเบียบวิธีการที่นำเสนอในพจน์ของเวลาคำนวณและความแม่นยำ</p> 2022-09-20T00:21:39+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1901 การวิเคราะห์โครงสร้างสะพานของทางหลวงหมายเลข 118 สาย เชียงใหม่ – เชียงราย ภายใต้แรงแผ่นดินไหว 2022-09-20T18:20:48+07:00 พงศ์นรินทร์ นัยเนตรสุวรรณ pongnarin_nai@cmu.ac.th พุทธรักษ์ จรัสพันธุ์กุล pongnarin_nai@cmu.ac.th ชยานนท์ หรรษภิญโญ chayanon@eng.cmu.ac.th ชินพัฒน์ บัวชาติ chinapat@eng.cmu.ac.th ปิยะพงษ์ วงค์เมธา piyapong.wongmatar@cmu.ac.th กิตติคุณ จิตไพโรจน์ pongnarin_nai@cmu.ac.th <p>สะพานทางหลวงเป็นสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญ เนื่องจากใช้สำหรับข้ามจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งหรือเชื่อมต่อระหว่าง หุบเขา แม่น้ำ ถนนหรือทางรถไฟ อย่างไรก็ตามหากสะพานไม่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสม อาจส่งผลให้โครงสร้างสะพานทางหลวงเกิดการพังทลายและสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ แผ่นดินไหวนับเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สามารถสร้างความเสียหายให้โครงสร้างได้ จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 1 และ 2 ของภาคเหนือ อีกทั้งยังมีเขตพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว เมียนมา และจีนตอนใต้ ในการส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้ามาในประเทศ ในการศึกษานี้สะพานทางหลวงหมายเลข 118 (ละติจูดที่ 18.979623, ลองติจูดที่ 99.259073) ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายได้รับเลือกเพื่อทำการประเมินสมรรถนะต้านทานแผ่นดินไหว ในบริเวณดังกล่าวตั้งอยู่ใกล้กับรอยเลื่อนที่มีพลัง ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ เมื่อปี พ.ศ.2557 ดังนั้นศึกษาพฤติกรรมทางพลศาสตร์ภายใต้แรงแผ่นดินไหวของสะพานทางหลวงที่เลือกจึงมีความสำคัญ สำหรับการศึกษานี้มุ่งเน้นการศึกษาพฤติกรรมทางพลศาสตร์ภายใต้แรงแผ่นดินไหวของโครงสร้างสะพานทางหลวง ซึ่งพฤติกรรมทางพลศาสตร์ภายใต้แรงแผ่นดินไหวของโครงสร้างสะพานทางหลวงที่เลือกโดยการวิเคราะห์แบบไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลา จะถูกนำเสนอออกมาเป็นข้อมูลและข้อเสนอแนะจากผลลัพธ์ที่ได้</p> 2022-09-20T00:23:03+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1443 ผลของการใช้แบบจำลองโครงสร้างอาคารที่คำนึงถึงเสาเข็มในการประเมินอาคารต้านแผ่นดินไหว 2022-09-20T18:20:49+07:00 ณัฐนที ท้าวพันวงค์ 61400359@up.ac.th สมบูรณ์ เซี่ยงฉิน somboon.sh@up.ac.th วรเทพ แซ่ล่อง warathep.sa@up.ac.th ปรีดา ไชยมหาวัน preeda.ch@up.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบผลการประเมิน และผลตอบสนองของโครงสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว ระหว่างแบบจจำลองโครงสร้าง อาคารที่คำนึงถึงโครงสร้างฐานรากเสาเข็ม และแบบจำลองโครงสร้างอาคารที่ไม่คำนึงถึงเสาเข็ม โดยใช้สเปกตรัมผลตอบสนองแผ่นดินไหวในพื้นที่จังหวัดพะเยา ในการศึกษานี้ได้เลือกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 4 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารพานิชย์ตามแบบของกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยโครงสร้างอาคารที่มีฐานรากเสาเข็มได้ใช้สปริงเพื่อแทนผลของดินที่อยู่ด้านข้างเสาเข็มในระดับความลึกต่างๆ จากการศึกษาพบว่า แบบจำลองโครงสร้างอาคารที่มีฐานรากเสาเข็มมีสัดส่วนและรูปแบบการสั่นไหวที่แตกต่างจากแบบจำลองโครงสร้างอาคารที่ไม่มีเสาเข็ม และทำให้คาบธรรมชาติในโหมดพื้นฐานเพิ่มขึ้น<br>แบบจำลองที่มีเสาเข็มมีค่าสติฟเนสการต้านแรงด้านข้างตามแนวแกน Y ลดลง มีค่าแรงต้านสูงสุดของอาคารเพิ่มขึ้น และถูกประเมินด้วยแรงแผ่นดินไหวที่ลดลงจึงทำให้ได้ค่าระดับความเสียหายที่ลดลงด้วย ผู้วิจัยได้ทดลองเปลี่ยนความยาวของเสาเข็มให้มีความยาวแตกต่างกัน พบว่าการวิเคราะห์โครงสร้างที่มีฐานรากเสาเข็มจะช่วยลดแรงแผ่นดินไหวที่ใช้ประเมินหากความยาวของเสาเข็มมากขึ้น แต่โครงสร้างอาคารจะมีการเสียรูปอาคารมากขึ้น ดังนั้นการจำลองโครงสร้างอาคารจำเป็นต้องพิจารณาความยาวของโครงสร้างฐานรากเสาเข็มเพื่อให้การประเมินสมรรถนะของโครงสร้างอาคารได้อย่างเหมาะสม</p> 2022-09-20T00:24:32+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1370 การศึกษาเปรียบเทียบค่าตัวประกอบปรับผลตอบสนองของโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็กที่มีกำแพงรับแรงเฉือนสำหรับอาคารในประเทศไทย 2022-09-20T18:20:50+07:00 ธนภัทร แสนซื่อ s6301081810013@email.kmutnb.ac.th ณัฐวุฒิ ธนศรีสถิตย์ nuttawut.t@eng.kmutnb.ac.th ภาสกร ชัยวิริยะวงศ์ passagorn.c@psu.ac.th <p>โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีกำแพงรับแรงเฉือน ถือเป็นระบบโครงสร้างที่นิยมสำหรับอาคารสูงใประเทศไทย เพื่อใช้ต้านแรงกระทำด้านข้างโดยเฉพาะแรงแผ่นดินไหว สำหรับมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1301/1302-61) ได้อ้างอิงค่าตัวประกอบต่างๆ จากมาตรฐานของต่างประเทศเป็นแม่แบบในการจัดทำมาตรฐานฉบับนี้ โดยเฉพาะค่าตัวประกอบผลตอบสนอง (R) ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการหาค่าแรงเฉือนที่ฐานและแรงภายในชิ้นส่วนที่ใช้ออกแบบ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบค่าตัวประกอบปรับผลตอบสนองของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีกำแพงรับแรงเฉือนแบบธรรมดาตามที่มีกำหนดในมาตรฐาน (R = 5) เปรียบเทียบกับการหาค่า R ตามวิธีการของ Uang จากผลการศึกษาได้ค่า R เท่ากับ 5.54 และ 4.15 ในทิศทางตามแกน X และแกน Y ของอาคารตามลำดับ โดยค่า R ที่จากการศึกษามีค่าที่ต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐานสำหรับในทิศทางแกน Y</p> 2022-09-20T00:26:27+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1396 การตรวจสอบ และการประเมินความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ เพื่อวางแผนซ่อมแซมโครงสร้างทางพิเศษ 2022-09-20T18:20:51+07:00 อิศราพงษ์ ขานทอง it.isarapong@gmail.com นันทวรรณ พิทักษ์พานิช It.isarapong@gmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร It.isarapong@gmail.com <p>จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นบริเวณโครงสร้างทางพิเศษในหลาย ๆ เหตุการณ์ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเหตุทำให้โครงสร้างทางพิเศษได้รับความเสียหาย ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบโครงสร้างดำเนินการตรวจสอบ และประเมินความเสียหายของโครงสร้างทางยกระดับเพื่อวางแผนซ่อมแซมโครงสร้างทางยกระดับให้มีความมั่นคงแข็งแรงสามารถเปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ทางได้อย่างปลอดภัย บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบ และประเมินความเสียหายของโครงสร้างทางยกระดับจากเหตุเพลิงไหม้บริเวณเสาตอม่อ พื้นยื่นหัวเสา และโครงสร้างคานอัดแรงรูปกล่อง โดยการดำเนินการตรวจสอบและประเมินระดับความเสียหายของโครงสร้างมีการสำรวจทางกายภาพเบื้องต้นด้วยวิธีการตรวจพินิจด้วยสายตา (Visual Inspection) และการสำรวจทางวิศวกรรมของโครงสร้างเชิงลึก ประกอบด้วย การตรวจสอบเปรียบเทียบกำลังอัดของคอนกรีตแบบไม่ทำลายโครงสร้าง (Non Destructive Test) การตรวจสอบการเสื่อมสภาพของคอนกรีต (ความเป็นกรด - ด่าง) การตรวจสอบความผุกร่อนของเหล็กเสริม และการตรวจสอบค่าแรงดึงของลวดอัดแรงที่อยู่ภายในคานรูปกล่อง เพื่อนำผลจากการตรวจสอบต่าง ๆ ที่ได้มาใช้ในการประเมินระดับความเสียหาย และวางแผนการซ่อมแซมโครงสร้างทางยกระดับให้มีความมั่นคงแข็งแรงต่อไป</p> 2022-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1335 การวิเคราะห์กระจกเทมเปอร์ติดฟิล์มนิรภัยภายใต้แรงระเบิดด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ 2022-09-20T18:20:52+07:00 สิรวิชญ์ อัครสุต sirawit.ag@gmail.com วิทิต ปานสุข sirawit.ag@gmail.com <p>เหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันล้วนก่อให้เกิดความ สูญเสียทั้งทางทรัพย์สินและชีวิต อันตรายจะเกิดมากยิ่งขึ้นหากบริเวณที่ เกิดการระเบิดมีกระจก มีเหตุการณ์ระเบิดเกิดขึ้นที่กรุงออสโล ประเทศ นอร์เวย์ ทำให้กระจกบริเวณอาคารราชการได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีเศษ กระจกที่ก่อให้เกิดอันตรายได้เนื่องจากมีการติดตั้งฟิล์มนิรภัยในบริเวณ ดังกล่าว ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำเสนอการวิเคราะห์กระจกเทมเปอร์ติดฟิล์ม นิรภัยภายใต้แรงระเบิดด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อทำนาย พฤติกรรมของกระจกเทมเปอร์และสามารถจำลองพฤติกรรมกระจกเทม เปอร์ติดฟิล์มนิรภัย งานวิจัยเริ่มต้นจากการสร้างแบบจำลองกระจกเทม เปอร์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมต์เพื่อพิจารณาผลของน้ำหนักกระทำแบบ แผ่กระจายสม่ำเสมอและแรงระเบิดและตรวจสอบความถูกต้องของ แบบจำลองกับการทดสอบในอดีต จากนั้นสร้างแบบจำลองกระจกเทม เปอร์ติดฟิล์มนิรภัยตามกรณีศึกษา โดยเริ่มจากระยะการระเบิด 1 m, 2 m และ 4 m โดยแรงระเบิด TNT เริ่มที่ 1 kg และทำการเพิ่มแรงระเบิดขึ้น จนกว่าฟิล์มนิรภัยจะขาด เพื่อหาแรงระเบิดสูงสุดที่ฟิล์มสามารถทนได้ ผล จากแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์พบว่า ที่ระยะระเบิด 2 m ฟิล์มจะขาดเมื่อ ระเบิดมีขนาด 2 kg และที่ระยะระเบิด 4 m ฟิล์มจะขาดเมื่อระเบิดมีขนาด 6 kg โดยมีค่าโก่งตัวที่จุดศูนย์กลางแผ่นกระจกอยู่ที่ประมาณ 140 mm</p> 2022-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1931 การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของเสาตอม่อสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยใช้ความเสื่อมสภาพของคอนกรีตจากการตรวจสอบ 2022-09-20T18:20:52+07:00 เกวลิน เทพสุภรณ์กุล k.looket@gmail.com ธิดารัตน์ วิสุทธิ์เสรีวงศ์ Tidarut.W@chula.ac.th วิทิต ปานสุข withit.p@chula.ac.th <p>ในปัจจุบันการก่อสร้างและบำรุงรักษาสะพานได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ช่วยในการพัฒนาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มีความสะดวกสบายและความแม่นยำมากยิ่งขึ้น การที่สามารถรู้สภาพความเสียหายและสามารถทำการคาดคะเนความน่าจะเป็นในการชำรุดเสียหายของสะพานได้นั้น จะส่งผลให้เกิดการบำรุงรักษาสะพานได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดและก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนผู้ที่สัญจรอยู่บนสะพาน งานวิจัยฉบับนี้จึงทำการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ (Reliability analysis) ของโครงสร้างตอม่อสะพาน ได้ทำการศึกษากรณีตัวอย่างสะพานข้ามแม่น้ำบริเวณอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี กม. 330+939.000 ซึ่งมีการใช้งานมายาวนานกว่า 26 ปี เมื่ออายุการใช้งานมากขึ้น สะพานและตอม่อสะพานมีโอกาสเกิดการชำรุดเสียหาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การชำรุดของตอม่อสะพาน โดยใช้โปรแกรม ATENA จำลองแบบ 3 มิติเสมือนจริง ทำการพิจารณาแรงและการโก่งตัวที่เกิดขึ้น ซึ่งใช้หลักการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (FEM) จากนั้นทำการหาค่าดัชนีความเชื่อมั่น (Reliability Index) ของโครงสร้างตอม่อของสะพาน โดยนำผล FEM มาวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของโครงสร้างสะพาน ด้วยโปรแกรม SARA จากการศึกษาพบว่าสามารถนำข้อมูลค่าดัชนีความเชื่อมั่นของโครงสร้าง เพื่อใช้อ้างอิงในการประเมินสภาพปัจจุบันของสะพาน และชี้วัดช่วงเวลาที่ควรทำการบำรุงรักษาต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-20T00:31:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1925 การออกแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอาคารที่อยู่อาศัยขนาดเล็กด้วยการก่อสร้างแบบพับได้ 2022-09-20T18:20:53+07:00 พชร อมรสิทธิพิพัฒน์ was203040@gmail.com พรณัฐชยา ไผ่อรุณรัตน์ pochara.a@gmail.com สมพงษ์ รุ่งสว่าง was203040@gmail.com รศ.ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ Sawekchai.t@chula.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอการออกแบบอาคารที่อยู่อาศัยขนาดเล็กแบบพับได้ในเขตร้อนชื้น ด้วยหลักการออกแบบชิ้นส่วนทางกล ร่วมกับหลักการออกแบบชิ้นส่วนโครงถักที่ปลอดภัยและเหมาะสมที่สุดโดยระเบียบวิธีการเรียนรู้กลุ่มอนุภาคอย่างครอบคลุม (CLPSO) ผลลัพธ์ของการศึกษานี้ให้แบบบ้านแฝดหลังคาจั่ว ที่สามารถพับเก็บใส่รถบรรทุกขนาดมาตรฐานได้ และมีน้ำหนักในส่วนโครงถักที่เบาที่สุด</p> 2022-09-20T00:32:50+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1505 การวิเคราะห์หาความน่าเชื่อถือของโครงสร้างอาคารก่อนและหลังการเสริมกำลัง เนื่องจากการต่อเติมโครงสร้างเหล็กบนดาดฟ้าของอาคาร 2022-09-20T18:20:53+07:00 ไพโรจน์ ศรีอ่อน psrion.gm@gmail.com สหรัฐ พุทธวรรณะ bsaharat@yahoo.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของโครงสร้างคานและพื้นชั้นดาดฟ้าของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 6 ชั้น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ก่อนและหลังการออกแบบปรับปรุงเสริมกำลัง ด้วยวิธี CFRP, แผ่นเหล็ก และferrocement เพื่อให้โครงสร้างพื้นและคานสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างส่วนที่ต่อเติมเพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยและห้องเรียน การวิเคราะห์ใช้วิธีการคำนวณหาโมเมนต2ดัดและแรงเฉือนของโครงสร้างคานและพื้นที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงเสริมกำลัง นำมาเปรียบเทียบกันว่ามีความแตกต่างกันเพียงใด จากนั้นจึงนำค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือของโครงสร้างหลังการปรับปรุงเสริมกำลัง มาเทียบกับค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือเป้าหมาย ผลของการปรับปรุงเสริมกำลังทำให้ค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือหลังการเสริมกำลัง มีค่ามากกว่าค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือก่อนเสริมกำลัง</p> 2022-09-20T00:34:11+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1353 แผนภูมิปฏิสัมพันธ์แรงดัดและแรงตามแนวแกนสำหรับควบคุมรอยร้าว ของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่มีการเสริมเหล็กเส้นเพิ่มเติม 2022-09-20T18:20:54+07:00 ดำริห์ อร่ามศรีประเสริฐ damri1902@gmail.com รักติพงษ์ สหมิตรมงคล damri1902@gmail.com เกณฑกานต์ งามสอน damri1902@gmail.com <p>งานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมกำลังรับแรงดึงคงเหลือและกำลังรับแรงดัดของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กที่มีการเสริมเหล็กเส้น โดยทำการทดสอบตามมาตรฐาน BS EN 14651 และทำการศึกษาความกว้างรอยร้าวเนื่องจากแรงดัดแบบทางเดียวของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กที่มีการเสริมเหล็กเส้นและทำการคำนวณความกว้างรอยร้าวที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีการคำนวณความกว้างรอยร้าวตามมาตรฐาน EUROCODE 2 ที่พัฒนาต่อโดยLöfgren เพื่อพัฒนาชุดคำสั่งสำหรับการวิเคราะห์กำลังรับแรงดัดที่กระทำร่วมกับแรงตามแนวแกนสำหรับควบคุมความปลอดภัยโดยใช้ความกว้างรอยร้าวเป็นตัวควบคุม จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปริมาณเหล็กเส้น ความหนาของหน้าตัดคอนกรีต และปริมาณเส้นใยเหล็กล้วนส่งผลต่อความกว้างรอยร้าวที่เกิดขึ้น โดยการใส่เหล็กเส้นเข้าไปในหน้าตัดคอนกรีตส่งผลให้ความกว้างรอยร้าวเนื่องจากแรงดัดลดลง ในขณะที่การเพิ่มความหนาของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กส่งผลให้หน้าตัดสามารถรับกำลังรับแรงดัดแตกร้าวได้สูงขึ้น จากงานวิจัยยังพบอีกว่าหน้าตัดของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่เสริมเหล็กเส้นจะสามารถรับกำลังรับแรงดัดได้ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของกำลังรับแรงดัดสูงสุดที่หน้าตัดคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่เสริมเหล็กเส้นรับได้ในกรณีที่ใช้ความกว้างรอยร้าวตามมาตรฐานของ EUROCODE 2 เป็นตัวควบคุมความปลอดภัย</p> 2022-09-20T00:35:19+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1504 ผลกระทบของแผ่นดินไหวและแรงลมที่มีผลต่ออาคารเตี้ย 2022-09-20T18:20:55+07:00 ชินวัฒน์ เรือนคำปา chinnawatrkp@gmail.com บุญมี ชินนาบุญ boonme.chi@kmutt.ac.th สมชาย ชูชีพสกุล somchai.chu@kmutt.ac.th <p>บทความนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบแรงด้านข้างจากแรงแผ่นดินไหวและแรงลมที่มีผลต่ออาคารเตี้ย ซึ่งเป็นกลุ่มอาคารที่นิยมก่อสร้างจำนวนมากโดยเฉพาะโครงการบ้านจดัสรร การศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกนำเสนอผลวิเคราะห์อาคารตัวอย่าง 1, 2 และ 3 ชั้น โดยตั้งสมมุติฐานว่าอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่แผ่นดินไหวรุนแรง อ.วังชิ้น จ.แพร่ มีค่าอัตราเร่งตอบสนองต่อพื้นดิน 0.2 วินาทีที่&nbsp; 1.086g เพื่อศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้าง แรงเฉือนที่ฐานอาคาร แรงเฉือนต่อตัวโครงสร่างแนวดิ่ง และเปรียบเทียบผลวิเคราะห์ด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่า วิธีสเปกตรัมตอบสนองแบบโหมด และแรงลมตามกฎกระทรวง และมยผ.1311-50 ส่วนที่ 2 วิเคราะห์อาคารตัวอย่าง 2 ชั้น สมมุติฐานว่าอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 บริเวณ การศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเทียบแรงกระทำด้านข้างจากแผ่นดินไหวมีผลกระทบต่อตัวอาคารมากกว่าแรงลมอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยวิธีสเปกตรัมตอบสนองแบบโหมด โดยทำการดัดแปลง<br>สเปกตรัมที่เรียกว่า Modified Response Spectrum Analysis (MRSA) ให้ค่าแรงเฉือนที่ฐานอาคารประมาณ 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีแรงสถิตเทียบเท่า แรงเฉือนในชิ้นส่วนแนวดิ่งเมื่อวิเคราะห์ร่วมกับแรงกระทำแนวดิ่งพบว่าอาคาร 1 ชั้นและ 2 ชั้น แรงเฉือนจากแผ่นดินไหวด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่า และวิธีสเปกตรัมตอบสนองแบบโหมดให้ค่าใกล้เคียงกัน ในส่วนอาคาร 3 ชั้นพบว่าแรงเฉือนในชิ้นส่วนจากวิธีแรงสถิตเทียบเท่าให้ค่ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ</p> 2022-09-20T00:36:19+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1488 พฤติกรรมการดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่คอนกรีตถูกแทนที่ด้วยโฟมบางส่วน 2022-09-20T18:20:55+07:00 พงศ์ศักดิ์ ศุขมณี pongsak.s@rmutsv.ac.th อาศิส อัยรักษ์ arsit.i@rmutsv.ac.th สมมาตร์ สวัสดิ์ sommad.s@rmutsv.ac.th <p>การที่คานคอนกรีตเสริมเหล็กมีน้ำหนักที่น้อยลงแต่ยังคงมีความสามารถในการรับก้าลังดัดได้อย่างมีนัยส้าคัญ การแทนที่คอนกรีตด้วยโฟมบางส่วนเพื่อเป็นการลดน้ำหนักของคานและศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดและลักษณะของการพิบัติของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยคานขนาดหน้าตัด 10 x 15 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร มีเหล็กเสริมด้านรับแรงอัดและแรงดึงเป็น RB9 2 เส้น ภายในแทนที่ด้วยโฟมขนาดหน้าตัด 2.50 x 5.00 เซนติเมตรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มใส่โฟม 2 ชิ น ยาว 20 30 และ 40 เซนติเมตร และกลุ่มใส่โฟม 1 ชิ น ยาว 90 เซนติเมตร คอนกรีตที่ใช้มีค่าการออกแบบ 240 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ของคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์มาตรฐานที่อายุการบ่ม 28 วัน ตัวอย่างคานถูกทำการทดสอบด้วยการดัดแบบแรงกระทำ 3 จุดและ 4 จุด เพื่อทดสอบหาก้าลังต้านทานแรงดัดและการโก่งตัวจนกระทั่งคานเกิดการพิบัติ ผลที่ได้จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับคานคอนกรีตเสริม เหล็กที่มีขนาดหน้าตัดและความยาวที่เท่ากันแต่ไม่มีการแทนที่ด้วยโฟม พบว่าตำแหน่งการวางโฟมแบบ 2x40 สามารถรับโมเมนต์ดัดได้สูงสุดคือ 6.46 กิโลนิวตันเมตร ซึ่งมีค่าต่้ากว่า 5.42 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคานตัวอย่าง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการรับก้าลังดัดได้อย่างมีนัยส้าคัญเมื่อเทียบกับน้ำหนักของคานที่ลดลง</p> 2022-09-20T00:38:01+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1494 การศึกษาผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหวต่อถังกักเก็บของเหลวหน้าตัดรูปวงกลม 2022-09-20T18:20:56+07:00 จีรุจ บ่างตระกูลนนท์ jeerut@hotmail.com นคร ภู่วโรดม pnakhorn@engr.tu.ac.th <p>ถังกักเก็บของเหลวหน้าตัดรูปวงกลมขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่ส าคัญในกิจการการประปา ในประเทศไทยโครงสร้างดังกล่าวจำนวนมาก ถูกก่อสร้างมาก่อนที่จะมีการเริ่มใช้ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากแผ่นดินไหว ต่อถังกักเก็บของเหลวหน้าตัดรูปวงกลมดังกล่าว โดยการศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการสร้างแบบจำลองโดยใช้โปรแกรมที่มีความสามารถ ในการวิเคราะห์ทางไฟไนต์วอลุม (Finite Volume Method, FVM) คู่ควบกับวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Method, FEM) เพื่อหาแรงที่เกิดจาก<br>การกระเพื่อมของของเหลว (Sloshing) ส่วนที่ 2 วิเคราะห์แรงที่เกิดขึ้นจากการกระเพื่อมของของเหลว (Sloshing) โดยใช้โปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อประเมินกำลังต้านทาน (Capacity) ที่เกิดขึ้น สำหรับข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้น เป็นข้อมูลประวัติเวลาความเร่งของพื้นดิน (Ground Acceleration Time History) ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ. 1301/1302-61) ในพื้นที่โซน 5 โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวที่ผิวดินที่คาบการสั่นของอาคารเท่ากับ 0.2 วินาที 0.5 วินาที และ 3.0 วินาที ซึ่งการศึกษาการวิเคราะห์โครงสร้างถังน้ าภายใต้แรงกระท าจากแผ่นดินไหว โดยการประยุกต์ใช้ไฟไนต์วอลุมเพื่อหาแรงที่เกิดจากการกระเพื่อมของของเหลวนั้น เป็นการน าผลการวิเคราะห์ที่ได้เพื่อใช้ในการประเมิน<br>ความปลอดภัยของโครงสร้างจากการตอบสนองเนื่องจากแผ่นดินไหว</p> 2022-09-20T00:39:07+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1491 พฤติกรรมการต้านทานแผ่นดินไหวของโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปเสา-คาน ระบบดึงลวดอัดแรงยึดรั้งด้วยค้ำยันที่ไม่โก่งเดาะ 2022-09-20T18:20:57+07:00 เอกรินทร์ ชัยสนิท akekarin.chaisanit@gmail.com ฤทธิภูมิ นาคะอินทร์ akekarin.chaisanit2@mail.kmutt.ac.th วงศกร สื่อกลาง akekarin.chaisanit2@mail.kmutt.ac.th พัณณิตา สุระอุดร akekarin.chaisanit2@mail.kmutt.ac.th ธัญญพร ขำวิจิตร์ akekarin.chaisanit2@mail.kmutt.ac.th เอกชัย อยู่ประเสริฐชัย akekarin.chaisanit2@mail.kmutt.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ akekarin.chaisanit2@gmail.com <p>จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาพบว่าระบบโครงสร้างชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปเสา-คานภายใต้แรงแผ่นดินไหวส่วนใหญ่มีจุดอ่อนอยู่ที่บริเวณจุดต่อเสา-คาน เนื่องจากรอยต่อชิ้นส่วนสำเร็จรูปมักจะมีกำลัง ความแกร่ง และความเหนียวน้อยกว่าคอนกรีตหล่อในที่ งานวิจัยนี้จึงเป็นการนำเสนอรูปแบบทางเลือกของจุดต่อโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปเสา-คานโดยใช้ลวดอัดแรงทำงานร่วมกับค้ำยันที่ไม่โก่งเดาะ โดยในการศึกษานี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมจุดต่อภายนอกของโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปเสา-คานด้วย วิธีการทดสอบภายใต้แรงวัฏจักรกึ่งสถิตซึ่งเป็นการให้ระยะเคลื่อนตัวสลับทิศแก่ตัวอย่างทดสอบในงานวิจัยนี้เปรียบเทียบพฤติกรรมของจุดต่อ 3 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 1.) ตัวอย่างจุดต่อเสา-คานแบบหล่อในที่ 2.) ตัวอย่างจุดต่อเสา-คานภายนอกระบบ<br>ดึงลวดอัดแรงอย่างเดียว และ 3.) ตัวอย่างจุดต่อเสา-คานระบบดึงลวดอัดแรงทำการเสริมกำลังโดยการใช้ค้ำยันยึดรั้งไม่โก่งเดาะเข้าที่บริเวณมุมของจุดต่อเสา-คาน ในการทดสอบได้มีการพิจารณาในด้านรูปแบบความเสียหาย, ความสัมพันธ์ระหว่างแรงและการเคลื่อนที่ทางข้าง, ความแข็งแกร่ง, การสลาย พลังงาน ซึ่งผลจากการทดสอบพบว่า การเสริมท่อนค้ำยันยึดรั้งไม่โก่งเดาะจะช่วยทำให้โครงสร้างมีความเหนียว มีกำลังต้านทานทางด้านข้างและการสลาย พลังงานที่ใกล้เคียงกับตัวอย่างทดสอบแบบหล่อในที่</p> 2022-09-20T00:40:18+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1454 การประเมินคุณภาพของงานเสริมกำลังโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยคาร์บอนไฟเบอร์โดยการใช้คลื่นเรดาร์ 2022-09-20T18:20:58+07:00 พัฒน์ศวุฒิ มะลิทอง Patsawut.m@mail.kmutt.ac.th รักติพงษ์ สหมิตรมงคล raktipong.sah@kmutt.ac.th <p>บทความนี้น าเสนอวิธีการประเมินคุณภาพของงานเสริมก าลังเสาโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์โดยการใช้คลื่นเรดาร์ในการตรวจสอบ มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายลักษณะการหลุดร่อนที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างวัสดุเสริมกำลังและผิวคอนกรีตโครงสร้าง โดยการจำลองลักษณะการหลุดร่อนของงานเสริมกำลังด้วยแผ่นโฟมบาง 4 มิลลิเมตรที่มีขนาดแตกต่างกัน 3 ขนาดสำหรับจำลองลักษณะความเสียหายของระบบเสริมกำลังที่แตกต่างกัน โดยมีขนาด 100x100, 40x40 และ 20x20 มิลลิเมตร ติดตั้งลงบนเสาขนาดหน้าตัด 200x200 มิลลิเมตร สูง 1.0 เมตร เสริมกำลังเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ชนิดแผ่นติดตั้งที่ผิว ดำเนินการทดสอบโดยใช้อุปกรณ์หยั่งความลึกด้วยคลื่นเรดาร์ Hilti-PS 1000 X-Scanner ที่มีความถี่กลางในการรับส่ง<br>สัญญาณเท่ากับ 2.0 กิกะเฮิรตซ์ ทำการประมวลผลข้อมูลสัญญาณคลื่นเรดาร์จากผลการทดสอบโดยมีการกำหนดค่าคงที่ไดอิเล็กทริกซึ่งเป็นสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าของวัตถุที่เหมาะสม การศึกษาพบข้อจำกัดในการใช้งานคลื่นเรดาร์ในการตรวจจับแผ่นโฟมเนื่องจากความแตกต่างของค่าคงที่ไดอิเล็กทริกระหว่างตัวกลางและแผ่นโฟมที่มีค่าน้อย ส่งผลต่อการพิจารณาลักษณะของแผ่นโฟมที่จำลองการหลุดร่อนของงานซ่อมแซมภายในผลสแกน ประกอบกับคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ที่ส่งผลให้คลื่นเรดาร์ถูกดูดซับและไม่สามารถเคลื่อนทะลุผ่านแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ไปได้ ส่งผลให้การประเมินตำแหน่งและขนาดของการหลุดร่อนในระบบเสริมกำลังด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ด้วยคลื่นเรดาร์ไม่สามารถตรวจสอบได้</p> 2022-09-20T00:41:39+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1453 แบบจำลองโครงสร้างจุดต่อคาน-เสา สำหรับโครงสร้างชั้นวางสินค้าเหล็กขึ้นรูปเย็นแบบสูงพิเศษ 2022-09-20T18:20:59+07:00 ณัฐพล บุญสุริยพันธ์ nuttaphon.twk@mail.kmutt.ac.th เอกชัย อยู่ประเสริฐชัย ekkachai.yoo@kmutt.ac.th วงศา วรารักษ์สัจจะ wongsa.w@en.rumtt.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ sutat.lee@kmutt.ac.th ชัยณรงค์ อธิสกุล chainarong.ath@kmutt.ac.th <p>ปัจจุบันมีการใช้งานชั้นวางสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับระบบจัดเก็บสินค้าแบบอัตโนมัติ (Automatic Storage and Retrieval System, ASRS) โครงสร้างประเภทนี้อาศัยจุดต่อแบบกึ่งยึดแน่น (Partially Restrained Connection) ในการยึดเสาเข้ากับคานเหล็ก การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้แบบจำลองโครงสร้างที่สามารถจำลองพฤติกรรมการรับแรงดัดของจุดต่อระหว่างคานและเสาที่เหมาะสม&nbsp; งานวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองจุดต่อโครงสร้างสำหรับใช้ในการออกแบบชั้นวางสินค้าที่ผลิตจากเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น โดยมุ่งเน้นไปที่แบบจำลองส่วนจุดต่อคานและเสาของชั้นวางสินค้า การศึกษาประกอบไปด้วยการรวบรวมผลการทดสอบจากการศึกษาในอดีต และนำเสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการทำนายพฤติกรรมการรับแรงดัดจุดต่อคาน-เสาของโครงสร้าง ที่พัฒนาโดยสมการทางคณิตศาสตร์และกระบวนการทางสถิติ เมื่อนำแบบจำลองโครงสร้างจุดต่อคาน-เสาที่เสนอ ไปใช้ผ่านโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง พบว่าพฤติกรรมจุดต่อที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีความใกล้เคียงกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง จึงสรุปได้ว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สามารถนำไปใช้ในการออกแบบและประเมินพฤติกรรมโครงสร้างชั้นวางสินค้าได้</p> 2022-09-20T00:42:46+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1444 ดัชนีความเสียหายสำหรับจุดต่อชั้นวางสินค้าเหล็กภายใต้แรงสลับทิศ 2022-09-20T18:20:59+07:00 คณิต อกนิษฐ์ ppolpam12@gmail.com เอกชัย อยู่ประเสริฐชัย Ekkachai.yoo@kmutt.ac.th วงศา วรารักษ์สัจจะ sutat.lee@kmutt.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน sutat.lee@kmutt.ac.th ชัยณรงค์ อธิสกุล chainarong.ath@kmutt.ac.th <p>ปัจจุบันมีการใช้งานชั้นวางสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับระบบจัดเก็บสินค้าแบบอัตโนมัติ (Automatic Storage and Retrieval System, ASRS) การวิเคราะห์และประเมินกำลังชั้นวางสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นโดยเฉพาะ การใช้งานในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว บทความนี้นำเสนอการคำนวณหาดัชนีความเสียหาย (Damage Index) บริเวณจุดต่อโครงสร้างชั้นวางสินค้าเหล็ก เพื่อการประเมินความเสี่ยงภัยและระดับความเสียหายจากแรงแผ่นดินไหวหรือแรงกระทำด้านข้าง และเพื่อเป็นแนวทางการประเมินความสามารถในการใช้งานได้ของโครงสร้าง ในการศึกษาจะรวบรวมผลการทดสอบจุดต่อภายใต้แรงดัด ทั้งแบบแรงกระทำแบบทิศทางเดียว (Monotonic Loading) และแบบแรงสลับ<br>ทิศ (Cyclic Loading) จากงานวิจัยในอดีต จำนวนทั้งสิ้น 22 ตัวอย่าง จากนั้นจึงนำผลมาวิเคราะห์การเสียรูปที่จุดต่อ และการสลายพลังงานสะสม และนำมาคำนวณหาตัวประกอบ เพื่อประเมินความเสียหาย โดยใช้ดัชนีความเสียหายของ Park-Ang จากผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการเสียรูปและการสลายพลังงานบริเวณจุดต่อมีปัจจัยหลักมาจากขนาดความลึกคานและความหนาเสาเป็นหลัก และค่าคงที่ β ที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 0.22 จากผลการศึกษาสามารถนำสมการสำหรับหาตัวประกอบเพื่อใช้ประเมินความเสียหายจุดต่อชั้นวางเหล็กเนื่องจากแรงแผ่นดินไหวได้</p> 2022-09-20T00:43:50+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1418 การทดสอบกำลังต้านทานแรงอัดของลำไม้ไผ่เพื่อจำแนกชั้นคุณภาพทางโครงสร้างของไม้ไผ่ซางหม่น 2022-09-20T18:21:00+07:00 ภาณุมาศ ตั้งผดุงรัชต์ panumat_ta@cmu.ac.th ชยานนท์ หรรษภิญโญ chayanon@eng.cmu.ac.th ชินพัฒน์ บัวชาติ chinapat@eng.cmu.ac.th ปิยะพงษ์ วงค์เมธา piyapong.wongmatar@cmu.ac.th พรรณนิภา เชาวนะ mpannipa@wu.ac.th <p>ไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่มีศักยภาพในการนำมาใช้เพื่องานก่อสร้างอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนทางด้านความสามารถในการรับน้ำหนักของไม้ไผ่ทำให้วิศวกรไม่สามารถกำหนดใช้ค่ามาตรฐานเพื่อการออกแบบโครงสร้างได้อย่างปลอดภัยเหมาะสม งานศึกษานี้ได้ทำการศึกษาเพื่อจำแนกชั้นคุณภาพทางโครงสร้างของไม้ไผ่ซางหม่นในการรับแรงอัดตามแนวแกน เพื่อนำมาหาดัชนีบ่งชี้คุณสมบัติ (Indicating Properties) ที่มีความสัมพันธ์จากตัวแปรผลทดสอบไม่ทำลายอาทิเช่น เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก ความหนาของผนังลำไม้ไผ่ความสมบูรณ์ของหน้าตัดตามขวาง ความหนาแน่น และมวลเชิงเส้น จากการทดสอบโดยใช้วิธีทางสถิติพบว่า ความหนาแน่นและมวลเชิงเส้น เป็นดัชนีบ่งชี้คุณสมบัติที่ดี สำหรับกำลังรับหน่วยแรงอัด (Compressionstress) และกำลังรับแรงอัดสูงสุด (Ultimate load) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.54 – 0.62 และ 0.88 – 0.89 ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้ทำให้เมื่อสามารถทราบค่าความหนาแน่นและมวลเชิงเส้นของไม้ไผ่ซึ่งทดสอบหาค่าได้ง่ายจะสามารถทราบค่ากำลังอัดของไม้ไผ่ที่วิศวกรสามารถนำไปใช้ในการออกแบบโครงสร้างต่อไปได</p> 2022-09-20T00:45:03+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1409 การเปรียบเทียบแรงลมโดยรวมของอาคารสูงโดยวิธีวัดแรงลัพธ์ที่ฐานของแบบจำลองกับวิธีการรวบรวมผลของแรงดัน 2022-09-20T18:21:00+07:00 วศิน แท่งทอง suguswasin@gmail.com วิโรจน์ บุญญภิญโญ bvirote@engr.tu.ac.th จิรวัฒน์ จันทร์เรือง jirawat_ju@rmutto.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของแรงลมโดยรวมที่กระทำกับอาคารสูง โดยการทดสอบแบบจำลองในอุโมงค์ลมด้วยวิธีวัดแรงลัพธ์ที่ฐานของแบบจำลอง (High Frequency Force Balance, HFFB) และวิธีการวัดความดัน ร่วมกับการใช้เทคนิคการรวมผลของความดันที่เรียกว่า วิธีการรวบรวมผลของแรงดัน(High Frequency Pressure Integration, HFPI) การศึกษาจะนำเสนอผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบในรูปของค่าสัมประสิทธิ์แรงลมไร้หน่วย โมเมนต์พลิกคว่ำที่ฐาน และแรงลมสถิตเทียบเท่า โดยจะทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ด้วยโมเมนต์พลิกคว่ำที่ฐานของแบบจำลองกับการวิเคราะห์ด้วยแรงลมเชิงโหมด (Generalized Wind Force) ผลการศึกษาพบว่าการวิเคราะห์โดยใช้โมเมนต์พลิกคว่ำที่ฐานของแบบจำลองสำหรับการทดสอบทั้งสองวิธีมีค่าที่ใกล้เคียงกัน แต่สำหรับวิธีวัดแรงลัพธ์ที่ฐานของแบบจำลองที่วิเคราะห์ด้วยโมเมนต์ที่ฐานของแบบจำลองกลับให้ผลลัพธ์ที่ต่ำกว่าการวิเคราะห์ด้วยแรงลมเชิงโหมด ซึ่งต่างกับวิธีการรวบรวมผลของแรงดันที่ไม่ว่าจะใช้การวิเคราะห์ด้วยโมเมนต์พลิกคว่ำที่ฐานของแบบจำลองหรือแรงลมเชิงโหมดก็ให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน</p> 2022-09-20T00:47:14+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1397 คุณสมบัติเชิงกล โครงสร้างจุลภาค ของคอนกรีตที่มีส่วนผสมของนาโนซิลิกาและแร่ใยธรรมชาติ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติคอนกรีตมวลรวมรีไซเคิล 2022-09-20T18:21:01+07:00 วิชญ​พงศ์​ ทั่วด้าว mnarak_civil@hotmail.com ศตวรรษ หฤหรรษพงศ์ sattawat_ha@rmutto.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาคุณสมบัติเชิงกล และโครงสร้างจุลภาคของคอนกรีตมวลรวมรีไซเคิลโดยใช้นาโนซิลิการ่วมกับแร่ใยธรรมชาติใยป่าน ศรนารายณ์และใยปาล์มน้ำมันทดแทนมวลรวมละเอียด หินรีไซเคิลทดแทนมวลรวมตามธรรมชาติและใช้นาโนซิลิกาในการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 กำหนดอัตราส่วนของน้ำต่อวัสดุประสาน เท่ากับ 0.60 โดยน้ำหนัก จากผลการทดสอบกำลังอัดและกำลังรับแรงดัด ที่อายุ 7 วัน และ 28 วัน พบว่าคอนกรีตที่มีส่วนผสมของนาโนซิลิกาและมวลรวมตามธรรมชาติมีค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด เท่ากับ 201.80 ksc ที่อายุ 7 วัน และ 308.25 ksc ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่ากำลังรับแรงดัดพบว่าคอนกรีตที่มีส่วนผสมของมวลรวมรีไซเคิลและใยปาล์มน้ำมันมีค่าสูงสุด เท่ากับ 45.90 ksc ส่วนผลของโครงสร้าง จุลภาคของคอนกรีตมวลรวมรีไซเคิลด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) พบว่าคอนกรีตที่มีส่วนผสมของแร่ใยธรรมชาติจะไม่ค่อยเป็นเนื้อ เดียวกันและมีช่องว่างเกิดขึ้น สอดคล้องกับผลกำลังอัด</p> 2022-09-20T00:48:17+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1382 การลดรอยร้าวจากความร้อนของฐานรากแพขนาดใหญ่ด้วยการแทรกคอนกรีตเบาหล่อสำเร็จ 2022-09-20T18:21:02+07:00 ภูริช ฉั่วสุวรรณ์ 6370440421@student.chula.ac.th ทศพล ปิ่นแก้ว tospol_pk@yahoo.com <p>ฐานรากแพขนาดใหญ่เป็นที่นิยมใช้มากขึ้นในโครงการก่อสร้างอาคาร สูง การก่อสร้างฐานรากแพขนาดใหญ่จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัญหาการ แตกร้าวเนื่องจากอุณหภูมิ ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิบริเวณผิวและแกนภายใน คอนกรีตที่แตกต่างกันมากจากความร้อนของปฏิกิริยาไฮเดรชันของ คอนกรีตและการระบายความร้อนที่ดีกว่าบริเวณผิว ส่งผลให้เกิดความเค้น ในคอนกรีตที่อาจสูงกว่ากำลังรับแรงดึงในช่วงแรกที่ยังพัฒนากำลังไม่เต็มที่ จึงมีความเสี่ยงเกิดปัญหาการแตกร้าวซึ่งส่งผลเสียต่อความทนทานของฐาน รากแพ งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาและนำเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการแทนที่คอนกรีตบริเวณแกนกลางด้วยคอนกรีตเบาหล่อสำเร็จ เพื่อช่วยลดปริมาณความร้อนจากปฏิกิริยาไฮเดรชันและช่วยดูดซับความ ร้อนบริเวณแกนกลางของฐานราก การศึกษาอาศัยการสร้างแบบจำลอง 3D finite element เพื่อทำนายอุณหภูมิและความเค้นที่เกิดขึ้นในฐานรากแพ จำนวน 2 ฐาน ซึ่งปรับเทียบผลกับการตรวจวัดอุณหภูมิของฐานรากแพจริง จากนั้นจึงพิจารณาการใส่คอนกรีตเบาหล่อสำเร็จในฐานรากแพในตำแหน่ง ที่มีความเค้นน้อยเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับการรับแรงของฐานรากแพ แล้ว ทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของอุณหภูมิและตรวจสอบความเค้นที่ เกิดขึ้นในฐานรากแพเปรียบเทียบกับกรณีการก่อสร้างแบบปกติ เพื่อแสดง ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแตกร้าวเนื่องจาก ความร้อนของคอนกรีตฐานรากแพขนาดใหญ่</p> 2022-09-20T00:50:09+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1313 การประยุกต์ใช้ผนังสลายพลังงานสำหรับอาคารสูงในประเทศไทย 2022-09-20T18:21:02+07:00 ภัทรพงศ์ พงษ์ภัทรา 6370222021@student.chula.ac.th ทศพล ปิ่นแก้ว tospol.p@chula.ac.th <p>การออกแบบโครงสร้างอาคารสูงซึ่งมีความชะลูด มักพบกับปัญหาการออกแบบให้อาคารผ่านเกณฑ์มาตรฐานการเคลื่อนที่ทางด้านข้าง เพราะอาคารสูงมีความอ่อนไหวต่อแรงด้านข้างมาก โดยปกติการเคลื่อนที่ของอาคารภายใต้แรงลมต้องไม่เกิน 1/500 ของความสูงอาคาร ตาม มยผ. 1311-50 และการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างชั้นภายใต้แรงแผ่นดินไหวต้องไม่เกิน 0.015 ตาม มยผ. 1301/1302-61 เพื่อให้อาคารมีความมั่นคงแข็งแรงและไม่เกิดการแตกร้าวเสียหายในสภาวะน้ำหนักบรรทุกใช้งาน ในต่างประเทศมีการใช้งานผนังสลายพลังงาน (Wall damper) ช่วยต้านทานแรงแผ่นดินไหวและแรงลมในอาคาร โดยผนังสลายพลังงานเป็นแผ่นเหล็กขนาดใหญ่จุ่มอยู่ในของเหลวหนืด เมื่ออาคารเกิดการเคลื่อนที่ทางด้านข้างก็จะเกิดเป็นแรงหน่วง (Damping force) จากการเฉือน (Shearing action) ผ่านของเหลวหนืด ช่วยต้านทานแรงด้านข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งผนังสลายพลังงานยังติดตั้งได้สะดวกและไม่กระทบต่อความสวยงามของอาคาร งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาถึงประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้ผนังสลายพลังงานสำหรับอาคารสูงในประเทศไทย โดยวิเคราะห์ผลตอบสนองของโครงสร้างไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลา เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการลดการเคลื่อนตัวทางด้านข้างของอาคาร ด้วยวิธีการติดตั้งผนังสลายพลังงานกับการเพิ่มขนาดของโครงสร้างเสาและกำแพงรับแรงเฉือน ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าการติดตั้งผนังสลายพลังงาน เป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มคุณสมบัติสลายพลังงานให้กับโครงสร้าง และทำให้สามารถควบคุมการเคลื่อนตัวของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2022-09-20T00:51:41+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1306 การวิเคราะห์วิธีโมดัลแบบประมาณของโครงสร้างรับแรงพลศาสตร์ 2022-09-20T18:21:03+07:00 ทฤษฎี สิงห์ศิลารักษ์ singsilarak@yahoo.com <p>งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการวิเคราะห์โมดัลแบบประมาณของอาคารหลายชั้น พิจารณาผลของโหมดรูปร่างระดับสูงตามโหมดรูปร่างของน้้าหนักกระท้าและความถี่ของน้ำหนักกระทำ การวิเคราะห์ผลตอบสนองของอาคารสูงมีหลายโหมดรูปร่างการวิเคราะห์โดยรวมผลทุกโหมดการสั่นอาจทำให้เสียเวลานานในการวิเคราะห์ใช้หน่วยความจ้าของคอมพิวเตอร์มากและเพิ่มความถูกต้องของผลตอบสนองไม่มาก จึงนิยมใช้การวิเคราะห์แบบประมาณสามารถทำโดยใช้ผลตอบสนองในช่วงโหมดการสั่นต่ำมาบวกกัน เช่น โหมดแรก สองโหมดแรก สามโหมดแรก งานวิจัยนี้จะตรวจสอบความประสิทธิภาพของการวิเคราะห์ดังกล่าว ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคืออาคารห้าชั้นจำลองการวิเคราะห์โดยแบบจำลองอาคารห้าองศาอิสระวิเคราะห์โดยวิธีโมดัล โดยจะเปลี่ยนแปลงความถี่<br>แรงกระท้าแบบคาบและเปลี่ยนรูปแบบแรงกระท้า การค้านวณเชิงตัวเลขใช้วิธีของนิวมาร์ค ผลลัพธ์ของวิธีการที่เสนอมีความถูกต้องกว่าวิธีประมาณอื่น</p> 2022-09-20T01:02:57+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1292 การวิเคราะห์กำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงสร้างที่มีผนังก่อเสริมกำลังด้วยเฟอร์โรซีเมนต์และตะแกรงเหล็กฉีก 2022-09-20T18:21:04+07:00 ศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ ปัญญาคะโป phaiboon.pa@spu.ac.th <p>บทความนี้แสดงการวิเคราะห์กำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีผนังก่ออิฐซึ่งมีการเสริมกำลังด้วยเฟอร์โรซีเมนต์และตะแกรงเหล็กฉีก โครงสร้างอาคารที่ใช้ในการศึกษาเป็นอาคารพาณิชย์สูง 3 ชั้นตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ โครงสร้างผนังก่อ ประกอบด้วยผนังก่ออิฐบางส่วนเนื่องจากมีช่องเปิดประตูและหน้าต่างขนาดกว้าง ในการออกแบบโครงสร้างเสริมกำลัง ใช้แบบจำลองเพื่อการคำนวณและ วิเคราะห์กำลังต้านทานของโครงข้อแข็งและโครงผนังก่อที่เสริมกำลังด้วยเฟอร์โรซีเมนต์และตะแกรงเหล็กฉีก ดำเนินการวิเคราะห์โครงสร้างเดิมและ โครงสร้างเสริมกำลังด้วยวิธีวิเคราะห์แบบสถิตไม่เชิงเส้นหรือการวิเคราะห์ผลักอาคาร ผลการศึกษา พบว่า กำลังต้านทานสูงสุดของโครงสร้างเสริมกำลังมีค่าสูงกว่าค่าที่ได้จากการออกแบบประมาณ 14% กำลังต้านทานของผนังก่ออิฐและเสามีค่าสูงขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมากเนื่องจากผลของการเสริมกำลังทำให้ค่าระดับความเสียหายของโครงสร้างแสดงด้วยค่าดัชนีความเสียหายบริเวณข้อหมุนพลาสติกมีค่าลดระดับลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้</p> 2022-09-20T01:04:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1767 ประสิทธิภาพการเสริมกำลังจุดต่อเสา – คานผสมเศษคอนกรีตย่อยโดยใช้ระบบแผ่นเหล็กเหนียวอัดแรงรัดรอบภายหลัง 2022-09-20T18:21:04+07:00 ภัคจิรา อ่อซ้าย pakjira.ao@mail.wu.ac.th สิริลักษณ์ ใจห้าว pakjira.ao@mail.wu.ac.th กรวิชญ์ ชูหอยทอง korawit.ch@mail.wu.ac.th สุทศัน์ แก้วชุม pakjira.ao@mail.wu.ac.th ทนงศักดิ์ อิ่มใจ thanongsak.im@wu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษานี้เป็นศึกษาการทดลองประสิทธิภาพของข้อต่อคานและเสาคอนกรีตเสริมเหล็กกำลังอัดต่ำด้วยเศษคอนกรีตย่อยที่เสริมด้วยสายรัดโลหะแบบตึงรัดรอบภายหลัง (PTMS) จุดมุ่งหมายของงานนี้มีอยู่สองประการ (1) เพื่อกำหนดประสิทธิภาพของการเสริมแรงการเชื่อมต่อของเสา-คานด้วยโปรไฟล์การเสริมแรงไม่เพียงพอโดยใช้ PTMS และ (2) เพื่อสร้างการวิเคราะห์องค์ประกอบไฟไนต์แบบไม่เชิงเส้นเพื่อกำหนดประสิทธิภาพของการเสริมแรงของเสาภายใต้โหลดแบบไซคลิก ในตัวอย่างแรกชิ้นงานทดสอบที่มีรายละเอียดการเสริมแรงต่ำกว่ามาตรฐานตาม ACI 318-05 ได้รับการทดสอบภายใต้แรงแผ่นดินไหวเพื่อกระตุ้นให้เกิดรอยแตกร้าวแรก ในขณะที่ในตัวอย่างที่สองชิ้นงานทดสอบได้รับการเสริมความแข็งแรงด้วยสายรัดโลหะแบบตึงรัดรอบภายหลัง (PTMS) ที่โซนเชื่อมต่อคานและเสาทำการทดสอบในตัวอย่างที่สอง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากผลการทดสอบเทคนิค PTMS ประสบความสำเร็จอย่างมากในการเสริมแรงคอนกรีต มีราคาถูก สะดวก และใช้ง่าย โหลดสูงสุดและต่ำสุดในชิ้นงานทดสอบแบบไม่เสริมแรงคือ +2.16 และ -1.91 ตันตามลำดับ เมื่อโหลดตัวอย่างมีการเสริมแรงสูงสุดและต่ำสุดคือ +3.10 และ -2.72 ตัน ตามลำดับ ระยะการเคลื่อนตัวที่ 3.70 มม. และความกว้างของรอยแตกประมาณ 1.0 – 2.0 มม. พบว่าเมื่อใช้การเสริมแรงรอยแตกร้าว ลักษณะการแตกร้าวจะพบได้น้อยและความกว้างของรอยแตกก็ใกล้เคียงกัน</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-20T01:05:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1954 การศึกษาเทคนิคการประมวลผลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อประเมินสภาพทางกายภาพของพื้นผิวจราจร 2022-09-20T18:21:05+07:00 กิตติคุณ จิตไพโรจน์ kittikun.j@cmu.ac.th พชร เครือวิทย์ pochara.k@eng.kmutnb.ac.th <p class="Contentnew"><span lang="TH">ความสมบูรณ์ของโครงสร้างสะพานเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นในโครงข่ายคมนาคม การตรวจสอบความเสียหายด้วยวิธีการตรวจสอบด้วยสายตา (</span><span lang="EN-US">Visual Inspection) </span><span lang="TH">เป็นการตรวจสอบเพื่อบ่งชี้ถึงสภาพการใช้งานที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันและความเสื่อมสภาพ ตลอดจนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้าง โดยการสำรวจสะพานต้องจำเป็นต้องปิดช่องทางจราจรบางส่วน เพื่อทำการประเมิน และบันทึกข้อมูลของโครงสร้างเชิงกายภาพ (</span><span lang="EN-US">Physical Condition) </span><span lang="TH">ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาปฏิบัติงานนาน อาจส่งผลต่อสภาพการติดขัดของการจราจร รวมถึงความปลอดภัยต่อผู้ตรวจสอบ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาและนำเสนอเทคนิคการตรวจสอบความเสียหายพื้นผิวจราจรของสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน (</span><span lang="EN-US">Unmanned Aerial Vehicle: UAV, Drone) </span><span lang="TH">ในการเก็บข้อมูลภาพที่บันทึกภาพความเสียหาย เพื่อหาพื้นที่ ขนาด และรูปร่างที่สนใจ และนำเสนอเทคนิควิธีการประมวลผลภาพ เพื่อวัดปริมาณพื้นที่ความเสียหาย</span></p> 2022-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1351 Effect of Ground Motion Duration on the Seismic Response of Low- and Mid- Rise RC Buildings in Bangkok 2022-09-20T18:21:06+07:00 Piyawat Ruksilthong piyawat.rus@student.mahidol.ac.th Teraphan Ornthammarath teraphan.orn@mahidol.ac.th <p>This paper examines the effect of seismic ground motion duration on design and risk of reinforced concrete buildings collapsing in Bangkok, Thailand. Reinforced concrete building models of 2 different heights, six-story and ten-story buildings are examined, which will simulate the natural period of buildings of 0.5 - 1.0 s. A nonlinear incremental dynamic analysis model was used to determine both the design level and the collapse levels.&nbsp; At the design level of shaking, it was discovered that the maximum interstory drifts, shear force, and overturning moments increased with increasing as ground motion duration. However, the increase of interstory drifts, shear force, and overturning moments does not exceed the seismic design standard for building (DPT.1301/1302). When records were scaled until the building collapse, it was discovered that scaling long duration records had a greater effect on building shaking than short duration records. Additionally, long duration records increase the probability of the building collapsing and has a lower collapse margin ratios than short duration records compared to the design spectrum. Additionally, it was discovered that long duration records have a larger impact when the building's height or natural period increases.</p> 2022-09-20T01:08:20+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1297 พฤติกรรมของอาคารสูงเดิมที่มีชั้นอ่อนภายใต้แผ่นดินไหวสำหรับกรุงเทพมหานคร 2022-09-20T18:21:06+07:00 เสรี ระสโส๊ะ 6319310004@mutacth.com ประกิต ชมชื่น 6319310004@mutacth.com <p>การพัฒนาของเทคโนโลยีและข้อจำกัดด้านพื้นที่ส่งผลให้อาคารสูงได้รับความนิยมในกรุงเทพฯ ด้วยเงื่อนไขหลายประการส่งผลให้อาคารสูงจำนวนมากได้รับการออกแบบและก่อสร้างโดยมีชั้นอ่อน ชั้นอ่อนดังกล่าวส่งผลให้อาคารอ่อนแอต่อแผ่นดินไหว มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวของกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) ที่ประกาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2550 และมีการปรับปรุงล่าสุดในปี พ.ศ. 2561 (มยผ. 1301/1302-61) ได้กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาความสม่ำเสมอของสตีฟเนสของอาคารในแนวดิ่งไว้ ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าอาคารมีชั้นอ่อนหรือไม่ การวิเคราะห์ผลตอบสนองของอาคารที่มีชั้นอ่อนภายใต้แผ่นดินไหวต้องใช้วิธีการวิเคราะห์แบบประวัติเวลาเท่านั้น การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมภายใต้แรงแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ ของอาคารสูงเดิมที่มีการออกแบบและก่อสร้างก่อนมีกฎหมายกำหนดให้คำนึงถึงผลของแผ่นดินไหวและมีชั้นอ่อน อาคารสูงที่เลือกศึกษาเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีจำนวนชั้นทั้งหมด 34 ชั้น และความสูงทั้งหมด 129.60 เมตร เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ตามมาตรฐานแล้วพบว่าโครงสร้างชั้นที่ 7 ถือเป็นชั้นอ่อน รายละเอียดของผลการตอบสนองของอาคารวิเคราะห์ด้วยวิธีประวัติเวลาภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวที่กำหนดในมาตรฐานสำหรับกรุงเทพฯ ได้แสดงและอภิปรายในบทความนี้</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-20T01:09:41+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1294 การแอ่นตัวมากของคานที่มีจุดรองรับเลื่อนสไลด์ได้อิสระในแนวราบโดยใช้วิธียิงเป้า 2022-09-20T18:21:07+07:00 วันวิสา รักษาสุข wanwiasa.raks@ku.th อภิญญา ศิริศรีรัตนา apinya.siri@ku.th ปฏิญญา แก้วคูนอก Phatinya.k@ku.th สุธาวาส จันทร์เรือง karun.kl@ku.ac.th ผศ.ดร.การันต์ คล้ายฉ่ำ karun.klay@gmail.com <p>งานวิจัยนี้น้าเสนอการวิเคราะห์การแอ่นตัวมากของคานที่มีจุดรองรับเคลื่อนที่ได้อิสระในแนวราบ ซึ่งคานรับน้ำหนักบรรทุกแบบกระจายสม่ำเสมอ ตลอดความยาวคาน และมีแรงอัดที่ปลายคานกระท้าตามแนวราบ สมการครอบคลุมปัญหาของคานสร้างจากความสัมพันธ์เชิงเรขาคณิตของเส้นโค้งใน ระนาบของชิ้นส่วนย่อยของโครงสร้างคาน และจากการพิจารณาสมดุลของแรงและโมเมนต์ สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของสมการเชิงอนุพันธ์อันดับที่ 1 แบบ ไม่เป็นเชิงเส้น ซึ่งจัดเป็นปัญหาค่าเงื่อนไขขอบเขตแบบ 2 จุด ผลค้าตอบเชิงตัวเลขหาได้โดยใช้ระเบียบวิธียิงเป้า (Shooting Method) ตรวจสอบความถูก ต้องของค้าตอบที่ได้จากระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ผลการศึกษาเชิงตัวเลขมุ่งเน้นศึกษาผลกระทบของน้ำหนักบรรทุกแบบกระจายสม่ำเสมอและค่าแรงอัด ที่จุดรองรับ ต่อพฤติกรรมการโก่งเดาะของคาน ผลค้าตอบเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่า น้ำหนักบรรทุกแบบกระจายสม่ำเสมอและแรงอัดที่ปลายคาน ส่งผลท้า ให้จุดรองรับของคานเคลื่อนที่และสูญเสียเสถียรภาพ</p> 2022-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1322 ประสิทธิภาพของระบบพื้นพลาสติกกลวงในโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก รับแรงสองทางแบบมีคานรองรับ 2022-09-20T18:21:08+07:00 เจตนิพัทธ์ พรชยานนท์ jetnipat.por@student.mahidol.edu นักษา กาญจนคีรีรัตน์ parintorn.kan@student.mahidol.edu เอื้ออังกูร พุทธัง Ueaangkun.put@student.mahidol.edu ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ thatchavee.lee@mahidol.ac.th พรเพ็ญ ลิมปนิลชาติ pornpen.lim@mahidol.ac.th <p>การลดน้ำหนักของโครงสร้างอาคารถือเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อตอบโจทย์การลดน้ำหนักของโครงสร้าง หนึ่งในนั้นคือระบบแผ่นพื้นพลาสติกกลวง ซึ่งเมื่อถูกนำไปใช้งานในโครงสร้างอาคาร จะส่งผลให้สามารถลดขนาดส่วนประกอบโครงสร้างให้มีขนาดที่เล็กลง เช่น เสา คาน รวมถึงความสามารถในการลดจำนวนเสาและเสาเข็มได้อีกด้วย ทำให้มีพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้เพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปแผ่นพื้นพลาสติกกลวงถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้งานร่วมกับระบบแผ่นพื้นไร้คาน แต่อย่างไรก็ตามระบบแผ่นพื้นพลาสติกกลวงที่ใช้งานร่วมกับระบบพื้นแบบมีคานรับสองทางยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร ในการศึกษานี้จึงได้มุ่งเน้นศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นพลาสติกกลวงแบบมีคานรองรับสองทิศทาง เมื่อเทียบกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั่วไป โดยขั้นตอนการศึกษาแบ่งเป็นการเปรียบเทียบ ความหนา น้ำหนักบรรทุกคงที่ อัตราส่วนของน้ำหนักบรรทุกคงที่ที่ลดลงของแผ่นพื้น ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดตั้งแต่ 4 ถึง 10 เมตร โดยจากการศึกษาพบว่าแผ่นพลาสติกกลวงเริ่มมีประสิทธิภาพต่อการลดน้ำหนักโครงสร้างเมื่อมีขนาด 7.5 เมตร เป็นต้นไป จากนั้นทำการออกแบบโครงสร้างอาคาร 3 ชั้น ขนาด 6 × 8 เมตร ที่มีการใช้งานแผ่นพื้นทั้ง 2 ระบบ พบว่าการใช้แผ่นพลาสติกกลวง มีประสิทธิภาพช่วยลดน้ำหนักโครงสร้างได้บางส่วน ส่งผลต่อการน้ำหนักโครงสร้างที่ถ่ายลงฐานรากได้ 6 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างที่ออกแบบด้วยแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป</p> 2022-09-20T01:26:43+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1798 การตอบสนองของอาคารเนื่องจากแรงลมของอาคารสูงโดยวิธีพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ 2022-09-20T18:21:08+07:00 ภัฏ ฉิมพาลี path31@gmail.com ผศ.ดร.ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี path31@gmail.com <p>แรงลมเป็นแรงกระทำทางด้านข้างอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการออกแบบและวิเคราะห์โครงสร้าง ซึ่งวิธีในการคำนวณแรงลมที่กระทำนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยงานวิจัยนี้ได้มีการนำวิธีพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (Computational fluid dynamics, CFD) มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาแรงลมที่กระทำกับตัวอาคารสูงและผลการตอบสนองของอาคารที่ความเร็วลมแตกต่างกันด้วยโปรแกรม ANSYS โดยมีการพิจารณาสมการความปั่นป่วนที่ใช้สำหรับจำลองในการทดสอบแบ่งออกเป็นสองวิธี (1) แบบพิจารณาการไหลปั่นป่วนแบบ SST-k- Model (Shear stress transport) , (Reynold averaged navier stokes , RANS) และ (2) การจำลองการไหลปั่นป่วนแบบหมุนวนขนาดใหญ่ (Large-eddy simulation, LES) เพื่อเปรียบเทียบผลของแรงลมที่กระทำกับตัวอาคาร พฤติกรรมการตอบสนองของตัวอาคารในทิศทางลม (along wind) และทิศทางตั้งฉากลม (across wind) จากการศึกษาพบว่าแบบจำลองการไหลปั่นป่วนแบบหมุนวนขนาดใหญ่ LES ให้ผลคำตอบที่ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับแบบจำลองความปั่นป่วนแบบ SST-k- อย่างไรก็ตามแบบจำลองความปั่นป่วนแบบ SST-k- ใช้เวลาในการทดสอบน้อยกว่าอีกวิธีมาก</p> 2022-09-20T16:48:32+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1496 พฤติกรรมการรับแรงอัดของเสาสั้นประกอบไม้ยางพาราที่ถูกยึดด้วยตะปู 2022-09-20T18:21:09+07:00 พงศ์ศักดิ์ ศุขมณี pongsak.s@rmutsv.ac.th ถาวร เกื้อสกูล tavorn.k@rmutsv.ac.th อรุณ ลูกจันทร์ arun.l@rmusv.ac.th <p>การประกอบไม้ยางพาราที่แปรรูปแล้ว เพื่อการใช้งานทางด้านวิศวกรรมโยธามีรูปแบบที่หลากหลาย การยึดด้วยตะปูเป็นรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ไม้ยางพาราที่ถูกยึดเข้าด้วยกันมีความแข็งแรงและสามารถรับกำลังได้ดีขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อศึกษารูปแบบการยึดไม้ยางพาราด้วยตะปูผ่านพฤติกรรมการรับแรงอัดเสาสั้นประกอบไม้ยางพารา โดยตัวอย่างเสาสั้นมีขนาดหน้าตัด 7.5<br>x7.5 ตารางเซนติเมตร ประกอบขึ้นจากไม้ยางพาราขนาดหน้าตัด 2.54 x 7.5 ตารางเซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร จ านวน 3 ท่อน ซึ่งถูกยึดด้วยตะปูในรูปแบบที่แตกต่างกันแบ่งเป็น 4 รูปแบบ (จำนวนตะปูและจำนวนแถวในการยึดด้วยตะปูต่างกัน) การทดสอบกระทำภายในห้องปฏิบัติการด้วยการหาค่าคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติเชิงกลเบื้องต้นของไม้ยางพาราและทำการทดสอบเสาประกอบสั้นด้วยแรงกดอัดเพื่อหาค่าก าลังต้านทานแรงอัดและการการยุบตัวของเสาจนกระทั่งเกิดการวิบัติผลการศึกษาพบว่าเสาประกอบสั้นสามารถรับกำลังอัดตามแนวแกนได้มากขึ้น ตามจำนวนของตะปูที่ใช้ยึดเสาโดยค่ากำลังอัดสูงสุดคือ 24.32 กิโลนิวตัน และลักษณะการวิบัติของเสาตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นการวิบัติแบบบดย่อย ซึ่งรายละเอียดจะอภิปรายในบทความนี้</p> 2022-08-27T12:48:34+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1688 การนำเศษเหลือจากอุตสาหกรรมการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในการผลิตอิฐดินเหนียวอบด้วยอุณหภูมิต่ำ 2022-09-20T18:21:10+07:00 วัชระ ศรีสะกูล watchara.s1987@gmail.com กิตติ เชาวนะ ckitti@wu.ac.th นุอนันท์ คุระแก้ว tanan.c@psu.ac.th ธนันท์ ชุบอุปการ tanan.c@psu.ac.th <p class="Contentnew"><span lang="TH">การผลิตอิฐมอญแบบดั่งเดิมต้องใช้ความร้อนสูง และในพื้นที่มีเศษเหลือจากอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษในรูปของเถ้าลอยซึ่งส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตอิฐดินเหนียวเผาที่อุณหภูมิต่ำด้วยเทคโนโลยีการกระตุ้นด้วยอัลคาไล โดยใช้วัสดุตั้งต้น ได้แก่ เถ้าปาล์มและเถ้าไม้ยางพาราซึ่งเป็นเศษเหลือจากอุตสาหกรรมการเกษตรและดินเหนียวซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ ออกแบบส่วนผสมวัสดุสามชนิดเพื่อให้ได้องค์ประกอบอลูมินาและซิลิกาที่เหมาะสมสำหรับการเกิดปฏิกริยาทางเคมี จากนั้นผสมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ และทั้งสองชนิดผสมกันความเข้มข้น 15 โมลาร์ ตัวอย่างขนาด 5</span>x<span lang="TH">5</span>x<span lang="TH">5 ลูกบาศก์เซนติเมตรถูกบ่มที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 วัน ทดสอบกำลังรับแรงอัดของอิฐที่บ่มในอากาศ 7 14 28 และ 60 วัน สุดท้ายนำมาเปรียบเทียบกับอิฐที่เผาด้วยวิธีดั่งเดิม ผลการศึกษาพบว่าสามารถพัฒนาคุณสมบัติอิฐดินเหนียวเผาที่อุณหภูมิต่ำให้กำลังรับแรงอัดสูงสุด 262.06</span> ksc <span lang="TH">ซึ่งสูงกว่าการเผาด้วยวิธีดั่งเดิม การผสมเถ้ามากขึ้นทำให้กำลังรับแรงอัดและความหนาแน่นลดลง อิฐเผาที่อุณหภูมิต่ำไม่หดตัวและไม่ละลายน้ำ บ่งบอกว่ามีโครงสร้างแข็งแรงเทียบเท่าอิฐเผาที่อุณหภูมิสูง สามารถเป็นทางเลือกในการพัฒนาอิฐเพื่อใช้ในงานสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าสนใจและประหยัดพลังงานซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม</span></p> 2022-08-27T12:56:49+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1483 การพัฒนาซีเมนต์มอร์ตาร์เสริมเส้นใยสำหรับงานพิมพ์สามมิติ 2022-09-20T18:21:11+07:00 ศิลา คมขำ s6301081823018@email.kmutnb.ac.th บูชิต มาโห้ buchit.m@rmutp.ac.th ปิติ สุคนธสุขกุล piti.s@eng.kmutnb.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสัดส่วนผสมที่เหมาะสมของมอร์ตาร์ผสมเส้นใยสำหรับการพิมพ์ซีเมนต์ 3 มิติ โดยทำการแปรผันปริมาณเส้นใยไมโครโพลีพรอพิลีนในอัตราส่วน 0 – 0.1% โดยปริมาตร เพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์ซีเมนต์ 3 มิติ เช่น การทดสอบความสามารถในการพิมพ์ เวลาเริ่มต้นในการพิมพ์ การทรุดตัวของชั้นพิมพ์ และการทดสอบช่องว่างเวลาการพิมพ์โดยไม่เกิดการทรุดตัว ควบคู่ไปกับการทดสอบคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน เช่น การทดสอบการไหลแผ่ การทดสอบความหนืด (viscosity) รวมถึงการทดสอบกำลังรับแรงอัดและกำลังรับแรงดัด ผลการวิจัยพบว่า ส่วนผสมที่มีปริมาณเส้นใยไมโครโพลีพรอพิลีนในอัตราส่วน 0.1% โดยปริมาตร มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการพิมพ์ซีเมนต์ 3 มิติ มากที่สุด โดยมีเวลาเริ่มต้นในการพิมพ์เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีช่องว่างเวลาการพิมพ์โดยไม่เกิดการทรุดตัวต่ำที่สุด และมีความสูงแต่ละชั้นพิมพ์ที่มากที่สุด รวมถึงมีกำลังอัดและกำลังดัดสูงที่สุด โดยกำลังอัดของตัวอย่างที่ได้จากการพิมพ์มีค่าต่ำกว่าตัวอย่างที่ได้จากการหล่อ แต่ในส่วนกำลังดัดพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย</p> 2022-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1703 การทดสอบกำลังของมอร์ตาร์ที่ผสมเศษอิฐมอญและหินฝุ่น 2022-09-20T18:21:11+07:00 ศุภกร ประพัสสร suphakorn@mutacth.com รัตชัยน์ สลับศรี rattachais25@gmail.com <p>บทความนี้นำเสนองานวิจัยการทดสอบกำลังของมอร์ตาร์ที่ผสมกับเศษอิฐมอญและหินฝุ่น เพื่อทำการปรับปรุงความสามารถทางด้านการรับกำลังของ ตัวมอร์ตาร์ โดยได้ทำการทดสอบทั้งหมด 4 วิธีการทดสอบ ได้แก่ การทดสอบต้านทานแรงอัด การทดสอบต้านทานแรงดึง การทดสอบรับแรงกระแทก และ การทดสอบรอยต่อรับแรงกระแทก ทั้งนี้ได้ทำการทดสอบมอร์ตาร์ควบคุมสูตร C1-S20 ที่ใช้ซีเมนต์ประเภทที่ 1 ทรายที่ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 20 เพื่อ เปรียบเทียบผลที่ 6 ชั่วโมง, 1 วัน, 7 วัน, 14 วัน และ 28 วัน กับมอร์ตาร์ที่ใช้ซีเมนต์ประเภทที่ 1 ขนาดทรายต่างกัน มอร์ตาร์ที่ผสมเศษอิฐมอญที่ร่อนผ่าน ตะแกรงเบอร์ 20 และมอร์ตาร์ที่ผสมหินฝุ่นที่ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 20</p> <p>จากผลการทดสอบพบว่ามอร์ตาร์ที่ใช้ซีเมนต์ประภทที่ 1 ทรายที่ใช้ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 20 หรือมอร์ตาร์ควบคุมมีความสามารถทางด้านรับกำลังดี สุดเมื่อเปรียบเทียบกับมอร์ตาร์สูตรที่ใช้ซีเมนต์ประเภทที่ 1 มอร์ตาร์สูตรที่ผสมอิฐมอญมีความสามารถในด้านกำลังดีกว่ามอร์ตาร์ควบคุมทุกสัดส่วนการผสม และมอร์ตาร์ที่ผสมหินฝุ่นมีความสามารถด้านกำลังเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณหินฝุ่นเพิ่มขึ้น</p> 2022-09-05T10:10:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1699 การศึกษาคุณสมบัติและพฤติกรรมของมอร์ตาร์สดที่ผสมกับ เศษลวดสลิง เม็ดเซรามิกส์ และยางรถยนต์ใช้ในงานการซ่อมแซมผิวหน้าของคอนกรีต 2022-09-20T18:21:11+07:00 ศุภกร ประพัสสร suphakorn@mutacth.com รัตชัยน์ สลับศรี rattachais25@gmail.com <p>&nbsp;บทความนี้นำเสนองานวิจัยที่ศึกษาพฤติกรรม คุณสมบัติของมอร์ตาร์ที่ผสมวัสดุพิเศษ ได้แก่ เศษลวดสลิง เม็ดเซรามิกส์ และยางรถยนต์ เพื่อนำมา ปรับปรุงสมบัติของมอร์ตาร์ ได้แก่ ความต้องการน้ำ ความสามารถในการไหล การทดสอบหาความต้านทานแรงอัด โดยได้ทำการทดสอบมอร์ตาร์ควบคุม สูตร C1-S20 ที่ใช้ทรายที่ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 20 เปรียบเทียบกับ มอร์ตาร์ที่ใช้ซีเมนต์ประเภทที่ 1 ขนาดทรายต่างกัน มอร์ตาร์ที่ผสมเศษลวดสลิงขนาด 10 ถึง 30 มิลลิเมตร มอร์ตาร์ที่ผสมเม็ดเซรามิกส์ และมอร์ตาร์ผสมยางรถยนต์ที่ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 20 ผลการศึกษาพบว่า มอร์ตาร์ที่ใช้ซีเมนต์ประเภท ที่ 1 พบว่าเมื่อทรายมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น ความสามารถในการไหลเพิ่มขึ้น และความต้านทานแรงอัดเพิ่มขึ้น มอร์ตาร์ที่ผสมเศษ ลวดสลิง เมื่อปริมาณลวดสลิงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการน้ำลดลง ความสามารถในการไหลลดลง และความต้านทานแรงอัดเพิ่มขึ้น มอร์ตาร์ที่ผสมเม็ด เซรามิกส์ เมื่อปริมาณเม็ดเซรามิกส์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการน้ำลดลง ความสามารถในการไหลเพิ่มขึ้น และความต้านทานแรงอัดลดลงและมอร์ตาร์ที่ ผสมยางรถยนต์ เมื่อปริมาณยางรถยนต์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการน้ำลดลง ความสามารถในการไหลลดลง และความต้านทานแรงอัดลดลง</p> 2022-09-05T10:11:53+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1718 การศึกษาผลกระทบของชนิดวัสดุปอซโซลานต่อความทนททานในการกัดกร่อน ของสารละลายกรดซัลฟูริก 2022-09-20T18:21:12+07:00 สุรเชษฐ์ วรรณา achieveconsult.24@gmail.com เอื้อบุญ ที่พี่ง ueaboon@psru.ac.th จิรา ธรรมนิยม W.surachet24@psru.ac.th <p>งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพในการต้านทานการกัดกร่อนในสารละลายกรดซัลฟูริกของซีเมนต์เพสต์ที่มีส่วนผสมวัสดุปอซโซลาน ดัดแปลงและวัสดุปอซโซลานธรรมชาติ โดยวัสดุปอซโซลานธรรมชาติที่ใช้ในงานวิจัยมีการนำมาบดให้ละเอียดก่อนเป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมงเพื่อให้มีขนาดที่ ละเอียดขึ้นก่อนทำการทดลอง โดยซีเมนต์เพสต์ที่ใช้เป็นตัวแทนในการศึกษาจะหล่อเป็นก้อนตัวอย่างขนาด 50x50x50 มิลลิเมตร และใช้อัตราส่วนน้ำต่อ วัสดุประสานเท่ากับ 0.30 จากผลการวิจัยพบว่าชนิดและประเภทของวัสดุปอซโซลานมีผลต่อการต้านทานการกัดกร่อนของสารละลายกรดซัลฟูริก โดยวัสดุ ปอซโซลานธรรมชาติจะมีการต้านทานสารละลายกรดซัลฟูริกได้ดีที่สุดรองลงมาคือวัสดุปอซโซลานดัดแปลงประเภทที่มีอัตราส่วนแคลเซียมต่อซิลิก้าต่ำส่วน วัสดุปอซโซลานดัดแปลงที่มีอัตราส่วนแคลเซียมต่อซิลิก้าสูงจะมีความสามารถต้านทานสารละลายกรดซัลฟูริกได้น้อยที่สุด ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้พบว่า อัตราส่วนแคลเซียมต่อซิลิก้าจะมีผลต่อการต้านทานต่อการกัดกร่อนสารละลายกรดซัลฟูริกอย่างมีนัยสำคัญ</p> 2022-09-05T10:13:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1937 ผลกระทบของการเคลือบผิวด้วยอัลคาไลซีเมนต์แบบส่วนผสมเดียวต่อแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีต 2022-09-20T18:21:13+07:00 กมลภพ ขันธ์สัมฤทธิ์ kamonphop.khansamrit@gmail.com ฉัตรฑริกา เพียงพิมาย kamonphop.khansamrit@gmail.com ขัตติย ชมพูวงศ์ kamonphop.khansamrit@gmail.com ชุดาภัค เดชพันธ์ kamonphop.khansamrit@gmail.com ศตคุณ เดชพันธ์ kamonphop.khansamrit@gmail.com ธนากร ภูเงินขำ kamonphop.khansamrit@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีตเมื่อใช้อัลคาไลซีเมนต์เพสต์แบบส่วนผสมเดียวเป็นวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริมเปรียบเทียบกับวัสดุเคลือบผิวทางการค้า โดยอัลคาไลซีเมนต์แบบส่วนผสมเดียวสามารถสังเคราะห์จากจีโอโพลิเมอร์ผง, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์, เกล็ดโซเดียมไฮดรอกไซด์ และน้ำประปา โดยแทนที่จีโอโพลิเมอร์ผงที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ร้อยละ 0, 15, 20, 25 และ 30 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน สำหรับการเตรียมตัวอย่างดำเนินการเคลือบผิวเหล็กเสริมที่อายุ 1 วัน และทดสอบแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีตที่อายุบ่มคอนกรีตเท่ากับ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่า ค่าแรงยึดเหนี่ยวมีแนวโน้มลดลงตามการแทนที่จีโอโพลิเมอร์ผงในปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแรงยึดเหนี่ยวของการแทนที่จีโอโพลิเมอร์ผงในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ไม่เกินร้อยละ 20 มีค่าเทียบเท่ากับการเคลือบผิวด้วยส่วนผสม 100PC และ Epoxy</p> 2022-09-05T10:14:40+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1949 การปรับปรุงสมบัติของมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลด้วยการเคลือบผิวด้วยวัสดุอัลคาไล 2022-09-20T18:21:14+07:00 ธนากร ภูเงินขำ Tanakorn.ph@rmuti.ac.th กมลภพ ขันธ์สัมฤทธิ์ kamonphop.khansamrit@gmail.com จิตติณัฐ ปล่องกระโทก noknoy11136@gmail.com ทศพร ศรีคำมา uta27182@gmail.com ฉัตรฑริกา เพียงพิมาย chattarikapeangphimai@gmail.com ขัตติย ชมพูวงศ์ khattiya_tu@hotmail.com ชุดาภัค เดชพันธ์ chudapaks@yahoo.com ศตคุณ เดชพันธ์ rc_statics@hotmail.com ณัฐพงศ์ ดำรงวิริยะนุภาพ nattapong.da@up.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้วัสดุเคลือบผิวมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลต่อสมบัติของคอนกรีต โดยมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลถูกเคลือบด้วยวัสดุเคลือบผิว 3 ชนิด ประกอบด้วย ซีเมนต์เพสต์ วัสดุอัลคาไลจากเถ้าลอยแคลเซียมสูง และวัสดุอัลคาไลจากเถ้าลอยแคลเซียมสูงผสมโดโลไมท์ ซึ่งมวลรวมหยาบธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลร้อยละ 0, 25, 50, 75 และ 100 โดยดำเนินการตรวจสอบสมบัติของวัสดุเคลือบผิวและคอนกรีต จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า การเคลือบมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับเป็นมวลรวมทางเลือกในการแทนที่มวลรวมหยาบธรรมชาติซึ่งเป็นการทำให้คอนกรีตมีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเคลือบผิวมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลสามารถช่วยปรับปรุงสมบัติของคอนกรีตได้เมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตควบคุม</p> 2022-09-05T10:16:16+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1930 การต้านทานคลอไรด์ของเหล็กเสริมเมื่อเคลือบด้วยไฮบริดอัลคาไลผง 2022-09-20T18:21:14+07:00 ฉัตรฑริกา เพียงพิมาย chattarikapeangphimai@gmail.com กรกนก จอยนอก mildggnjn@gmail.com ขัตติย ชมพูวงศ์ chattarikapeangphimai@gmail.com ชุดาภัค เดชพันธ์ chattarikapeangphimai@gmail.com ศตคุณ เดชพันธ์ chattarikapeangphimai@gmail.com ณัฐพงศ์ ดำรงวิริยะนุภาพ chattarikapeangphimai@gmail.com ธนากร ภูเงินขำ tanakorn.ph@rmuti.ac.th <p>บทความนี้ศึกษาการต้านทานคลอไรด์ของเหล็กเสริมเมื่อเคลือบด้วย ไฮบริดอัลคาไลผงสังเคราะห์จากผงจีโอโพลิเมอร์ร้อยละ 50 ผสมปูนซีเมนต์ ร้อยละ 40 และซิลิกาฟูมร้อยละ 10 กระตุ้นด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NH) ที่ความเข้มข้น 2 โมลาร์และน้ำประปา โดยผงจีโอโพลิเมอร์ผลิตจากปูนซีเมนต์แทนที่ในเถ้าลอยร้อยละ 0 และ 20 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน สารละลายด่างที่ใช้ในการกระตุ้นปฏิกิริยาในระบบ ประกอบด้วยสารละลายโซเดียมซิลิเกตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 14 โมลาร์ แปรผันอัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์(NS/NH) เท่ากับ 1.0 และ 2.0 อัตราส่วน<br>ของเหลวต่อวัสดุประสาน (L/B) เท่ากับ 0.50 และอุณหภูมิที่ใช้บ่มตัวอย่างเท่ากับ 25 และ 60 องศาเซลเซียสทุกอัตราส่วนผสม ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า การใช้ผงจีโอโพลิเมอร์ที่มีการแทนที่ด้วยปูนซีเมนต์ ปริมาณการใช้สารละลายโซเดียมซิลิเกตและอุณหภูมิในการบ่มเพิ่มขึ้นช่วยปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลของไฮบริดอัลคาไลผงได้เป็นอย่างดีในขณะเดียวกันไฮบริด<br>อัลคาไลผงที่ผลิตจากผงจีโอโพลิเมอร์สามารถต้านทานการกัดกร่อนของคลอไรด์ได้ดีกว่าซีเมนต์เพสต์ควบคุมซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านคลอไรด์อยู่ระหว่าง 0.07-0.14x10-12 m<sup>2</sup>/s มีค่ามากกว่าซีเมนต์เพสต์ควบคุมเท่ากับ 88.71 เท่า นอกจากนี้พบว่าการเคลือบเหล็กเสริมด้วยไฮบริดอัลคาไลผงมีโอกาสการเกิดการกัดกร่อนจากคลอไรด์น้อยกว่าซีเมนต์เพสต์ควบคุมและไม่มีการเคลือบผิวด้วยวิธีการเร่งสนิมเนื่องจากผลผลิตจากปฏิกิริยาภายในระบบทำให้สามารถต้านทานต่อการกัดกร่อนของคลอไรด์<br>ได้เป็นอย่างดี</p> 2022-09-05T10:17:24+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1947 สมบัติเชิงกลของเถ้าลอยแคลเซียมสูงจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ผสมเส้นใยโพลีโพรพิลีน 2022-09-20T18:21:16+07:00 ทศพร ศรีคำมา tuta27182@gmail.com ฉัตรฑริกา เพียงพิมาย chattarikapeangphimai@gmail.com กิตติ แสงนิล tuta27182@gmail.com ขัตติย ชมพูวงศ์ tuta27182@gmail.com ชุดาภัค เดชพันธ์ tuta27182@gmail.com ศตคุณ เดชพันธ์ tuta27182@gmail.com ธนากร ภูเงินขำ tuta27182@gmail.com <p>บทความนี้ศึกษาคุณสมบัติด้านกำลังอัดและกำลังดัดของเถ้าลอยแคลเซียมสูงจีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันและกากดินล้างเป็นวัสดุตั้งต้น โดยเส้นใยโพลีโพรพิลีนถูกเพิ่มในจีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์ร้อยละ0, 0.25, 0.50, 0.75 และ 1.0 โดยปริมาตร สารละลายด่างในงานวิจัยนี้คือสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NH) ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 10 โมลาร์และสารละลายโซเดียมซิลิเกต (NS) ที่มีสัดส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 1.0 ใช้อัตราส่วนทรายต่อวัสดุ<br>ประสานเท่ากับ 0.50 และใช้สารกันซึมต่อวัสดุประสานเท่ากับ 5.0 โดยน้ำหนักของวัสดุประสานทุกอัตราส่วนผสม ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการใช้เส้นใยโพลีโพรพิลีนสามารถปรับปรุงสมบัติเชิงกลของจีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมที่ไม่มีเส้นใย นอกจากนี้เส้นใยโพลีโพรพิลีนยังสามารถช่วยเพิ่มความเหนียวและการดูดซับพลังงานก่อนการวิบัติได้ซึ่งสามารถช่วยชะลอการวิบัติแบบทันทีทันใดได</p> 2022-09-05T10:18:42+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1948 อิทธิพลของปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์และเวลาการแช่ต่อการกัดกร่อนของเหล็กเส้นที่เกิดจากคลอไรด์โดยใช้วิธีศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ 2022-09-20T18:21:16+07:00 จิตติณัฐ ปล่องกระโทก noknoy11136@gmail.com ฉัตรฑริกา เพียงพิมาย noknoy11136@gmail.com ทศพร ศรีคำมา noknoy11136@gmail.com ขัตติย ชมพูวงศ์ noknoy11136@gmail.com ชุดาภัค เดชพันธ์ noknoy11136@gmail.com ศตคุณ เดชพันธ์ noknoy11136@gmail.com ธนากร ภูเงินขำ noknoy11136@gmail.com <p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของศึกษาปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์และเวลาการแช่ที่มีผลต่อการเร่งการเกิดสนิมกัดกร่อนของเหล็กเส้นที่เกิดจากคลอไรด์ที่ทดสอบโดยใช้ด้วยวิธีศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ โดยใช้ตัวอย่างคอนกรีตที่มีกำลังอัดไม่น้อยกว่า 21 เมกะปาสคาล ที่อายุการบ่มเท่ากับ 28 วัน ในการเตรียมตัวอย่างจะใช้ตัวอย่างคอนกรีตทรงปริซึมขนาด 75x75x300 มิลลิเมตร และใช้เหล็กข้ออ้อยขนาด 12 มิลลิเมตร ฝังอยู่ในคอนกรีตให้มีระยะหุ้มคอนกรีตต่างกัน ในการศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการแปรผันปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (ความเข้มข้นร้อยละ 3.5) ร้อยละ 25, 50 และ 75 ของความสูงตัวอย่างคอนกรีต โดยดำเนินการทดสอบการต้านทานการกัดกร่อนแบบเร่งผลการทดสอบ (Accelerated Corrosion with Impressed Voltage, ACVTIV) ที่มีการแปรผันระยะเวลาในการเร่งการเกิดสนิมเท่ากับ 3, 6 และ 9 ชั่วโมง ผลการทดสอบ พบว่า ปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์และเวลาการแช่ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากผลการทดสอบสามารถสรุปได้ว่า การใช้ปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์ไม่ควรเกินร้อยละ 50 ของความสูงตัวอย่างคอนกรีต และเร่งในระยะเวลาในเร่งการเกิดสนิมไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมง ขณะที่ระยะหุ้มคอนกรีตไม่ส่งผลต่อพื้นที่การเกิดสนิมด้วยวิธีศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์อย่างชัดเจน</p> 2022-09-05T10:19:45+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1596 การพัฒนาคอนกรีตที่มีส่วนผสมของวัสดุกากอุตสาหกรรมสำหรับป้องกันการกัดกร่อนโดยกรดและการขัดสีเพื่อประยุกต์ใช้กับพื้นฟาร์มสุกร 2022-09-20T18:21:17+07:00 เจนศักดิ์ คชนิล jensakpanda@gmail.com ทนงศักดิ์ โนไชยา thanongsakno@nu.ac.th ธวัช สุริวงษ์ Tawats@nu.ac.th ศุภกร เมาลีกุล phongthornj@nu.ac.th พงษ์ธร จุฬพันธ์ทอง pop_civil@hotmail.com <p class="Keywordnew" style="margin-bottom: 6.0pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 14.2pt;">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของคอนกรีตต่อการต้านทานการกัดกร่อนโดยกรดร่วมกับการขัดสีซึ่งเป็นลักษณะการกัดกร่อนที่พื้นคอนกรีตบริเวณเครื่องให้อาหารของฟาร์มสุกรวัสดุประสานที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมคอนกรีตเทียบกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ได้แก่ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกและปูนซีเมนต์ที่มีการแทนที่ด้วยซิลิกาฟูมหรือเถ้าถ่านหินร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ตัวอย่างคอนกรีตที่ผสมโดยใช้วัสดุประสานดังกล่าวถูกนำมาทดสอบความสามารถในการรับกำลังอัดการกัดกร่อนโดยกรดการกัดกร่อนจากการขัดสี และการกัดกร่อนโดยกรดร่วมกับการขัดสี การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตทดสอบที่ระยะเวลาบ่ม 7, 14, 28, 56 และ 84 วัน การใช้ซิลิกาฟูมทดแทนซีเมนต์ส่งผลให้ความสามารถในการรับกำลังอัดของคอนกรีตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่เถ้าถ่านหินส่งผลให้ความสามารถในการรับกำลังอัดลดลงเมื่อเทียบกับคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัสดุประสานคอนกรีตเกิดอัตราการกัดกร่อนโดยกรดลดลงเล็กน้อยเมื่อใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเป็นวัสดุประสานในขณะที่การใช้ซิลิกาฟูมหรือเถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ส่งผลให้อัตราการกัดกร่อนโดยกรดลดลงอย่างมีนัยสำคัญซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับผลการทดสอบการกัดกร่อนจากการขัดสีงานวิจัยนี้ได้ออกแบบเครื่องมือทดสอบพิเศษสำหรับการกัดกร่อนโดยกรดโดยตัวอย่างอยู่ในสภาพเปียกสลับแห้งและเครื่องขัดซึ่งมีลักษณะการกัดกร่อนแบบเดียวกันกับลักษณะการกัดกร่อนที่เกิดกับพื้นฟาร์มสุกรผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการใช้ซิลิกาฟูมหรือเถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ช่วยเพิ่มความสามารถในการป้องกัน<br>การกัดกร่อนโดยกรดและการขัดสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2022-09-05T10:21:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1646 การศึกษาความสามารถในการเคลือบผิวและกันน้ำของแอสฟัลต์อิมัลชันผสมน้ำยางพาราธรรมชาติเข้มข้น 2022-09-20T18:21:18+07:00 วรรณิกา ขันคำนันต๊ะ wannika.k@psru.ac.th กรกฎ นุสิทธิ์ korakodn@nu.ac.th พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม peerapong@eng.cmu.ac.th พิทยุตม์ เจริญพันธุ์ wannika.k@psru.ac.th จีรพงษ์ เหล่าน้ำใส jeerapongl@nu.ac.th <p class="Contentnew">แอสฟัลต์หรือยางมะตอย เป็นวัสดุสำคัญที่ใช้อย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรมก่อสร้างถนน มีคุณสมบัติในการประสานหรือยึดเกาะวัสดุมวลรวมเข้าด้วยกัน จากการศึกษางานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ผ่านมาพบว่าเมื่อนำแอสฟัลต์ซีเมนต์ชนิดผสมร้อนผสมกับน้ำยางพาราธรรมชาติ แล้วสามารถปรับปรุงคุณสมบัติบางประการของแอสฟัลต์ซีเมนต์ให้ดีขึ้น ทำให้คณะผู้วิจัยสนใจศึกษาการนำแอสฟัลต์อิมัลชัน ซึ่งเป็นแอสฟัลต์ชนิดผสมเย็น(Cold Mix Asphalt) ชนิด CMS-2h สำหรับปะซ่อมผิวทางมาผสมกับน้ำยางพาราธรรมชาติและศึกษาคุณสมบัติและประสิทธิภาพของส่วนผสม สำหรับงานวิจัยนี้ได้นำแอสฟัลต์อิมัลชันชนิด CMS-2h ผสมน้ำยางพาราธรรมชาติเข้มข้นที่สูตรอัตราส่วนผสมร้อยละ 1, 3 และ 5 และทดสอบความสามารถในการเคลือบหินและกันน้ำตามมาตรฐาน ASTM D 244 ก่อนที่จะนำไปผสมกับวัสดุมวลรวมเพื่อใช้งานเป็นวัสดุปะซ่อมผิวทาง เนื่องจากการทดสอบคุณสมบัติ<br>ดังกล่าวแสดงถึงการทนต่อความชื้นและป้องกันการหลุดล่อน ซึ่งจำเป็นต่อการพิจารณาการนำผลิตภัณฑ์แอสฟัลต์อิมัลชันผสมน้ำยางพาราธรรมชาติไปใช้งาน โดยมาตรฐานการทดสอบของวัสดุมวลรวมในสภาวะเปียกอยู่ที่ร้อยละ 60 และวัสดุมวลรวมในสภาวะแห้งอยู่ที่ร้อยละ 80 ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนผสมที่สามารถนำมาใช้งานได้คือแอสฟัลต์อิมัลชันชนิด CMS-2h ผสมยางพาราชนิดเข้มข้นร้อยละ 1</p> 2022-09-05T10:22:24+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1927 การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในซีเมนต์เพสต์ด้วยเทคนิค FTIR เมื่อใช้วัสดุปอซโซลานที่แตกต่างกัน 2022-09-20T18:21:19+07:00 ธีรพงษ์ โถชัย theerapongnewnew@gmail.com เกียรติสุดา สมนา kiatsuda.so@rmuti.ac.th รัฐพล สมนา rattapon.so@rmuti.ac.th ศักดิ์สิทธิ์ พันทวี saksith.pa@rmuti.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-weight: normal;">บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในซีเมนต์เพสต์ด้วยเทคนิค </span><span style="font-weight: normal;">FTIR <span lang="TH">เมื่อใช้วัสดุปอซโซลานที่แตกต่างกัน วัสดุปอซโซลานที่ใช้ได้แก่ เถ้าถ่านหินแหล่ง </span>A (FA), <span lang="TH">เถ้าถ่านหินแหล่ง </span>B (BL) <span lang="TH">และ เศษแก้ว (</span>GP) <span lang="TH">โดยใช้อัตราส่วนซีเมนต์ต่อวัสดุปอซโซลาน </span>90:10, 80:20 <span lang="TH">และ </span>70:30 <span lang="TH">โดยน้ำหนัก ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในซีเมนต์เพสต์ด้วยเทคนิค </span>FTIR <span lang="TH">ที่ </span>wavenumber 500 – 4000 <span lang="TH">ต่อเซนติเมตร ทดสอบกำลังรับแรงอัดของซีเมนต์มอร์ต้าที่อายุ </span>1, 7, 14 <span lang="TH">และ </span>28 <span lang="TH">วัน ผลการศึกษาพบว่า พีคของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ตำแหน่ง </span>3640 <span lang="TH">ต่อเซนติเมตร มีค่าลดลงเมื่อเวลาการบ่มเพิ่มขึ้นและเมื่อแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยวัสดุปอซโซลานเพิ่มขึ้น และมีความเข้มของพีคที่ตำแหน่ง </span>970 <span lang="TH">ต่อเซนติเมตร ซึ่งเป็นตำแหน่งของแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต ผลของกำลังอัด พบว่า เมื่ออายุการบ่มเพิ่มขึ้นกำลังอัดมีค่าเพิ่มลด และกำลังอัดมีค่าลดลงเมื่อร้อยละการแทนที่ของวัสดุปอซโซลานเพิ่มขึ้น โดยการใช้ซิลิกาฟูมเป็นวัสดุปอซโซลานให้ค่ากำลังอัดสูงที่สุด และการใช้เถ้าถ่านหินแหล่ง </span>BL <span lang="TH">ให้ค่ากำลังอัดต่ำที่สุด</span></span></p> 2022-09-05T10:23:31+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1932 การใช้ขยะพลาสติกจากโรงงานอุปกรณ์ประกอบผ้าม่านเป็นส่วนผสมในคอนกรีตสำหรับทำกระถางต้นไม้ 2022-09-20T18:21:19+07:00 ประชุม คำพุฒ prachoom_k@rmutt.ac.th เกียรติสุดา สมนา kiatsuda.so@rmuti.ac.th ธีรพงษ์ โถชัย theerapongnewnew@gmail.com รัฐพล สมนา rattapon.so@rmuti.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ขยะพลาสติกเหลือทิ้งจากโรงงานอุปกรณ์ประกอบผ้าม่านในจังหวัดเชียงใหม่มาเป็นส่วนผสมในคอนกรีตสำหรับทำกระถางปลูกต้นไม้โดยใช้วัสดุประสานเป็นปูนซีเมนต์ผสมกับยิปซัมปลาสเตอร์ในอัตราส่วน 0.5: 0.5 ใช้เศษขยะพลาสติก 3 ชนิด (HDPE, ABS และ POM) บดย่อยรวมกันในอัตราส่วนที่เท่ากันให้มีขนาดผ่านตะแกรงขนาดช่องเปิดเท่ากับ 25, 10 และ 4 มิลลิเมตร ตามลำดับ ผสมเศษขยะพลาสติกปริมาณ 0, 0.05, 0.1, 0.15 และ 0.2 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนวัสดุประสานต่อน้ำเท่ากับ 1 ทำการผสมและขึ้นรูปเป็นก้อนตัวอย่างคอนกรีตขนาด 10 x 10 x 10 ซม. ทดสอบความต้านทานแรงอัดที่อายุ 14 และ 28 วัน ทดสอบความหนาแน่นและการดูดซึมน้ำที่อายุ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่าการผสมเศษขยะพลาสติกบดย่อยในปริมาณมากขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่นและความต้านทานแรงอัดมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ความชื้นและการดูดซึมน้ำมีแนวโน้มมากขึ้น ซึ่งจากสมบัติที่ได้มีความเหมาะสมในการนำไปผลิตเป็นกระถางต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สำหรับใช้ในงาน CSR ของผู้ประกอบการต่อไป</p> 2022-09-05T10:24:54+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1643 การศึกษาคุณสมบัติค่าการต้านทานการขัดถูของวัสดุมวลรวมจากแหล่งวัสดุมวลรวมที่ใช้ในงานก่อสร้างผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต 2022-09-20T18:21:20+07:00 บำรุง บัวชื่น bumrung@rmutl.ac.th วรรณิกำ ขันคำนันต๊ะ wannika.k@psru.ac.th ขวัญชัย เทศฉาย bumrung@rmutl.ac.th <p>ในปัจจุบันยวดยานพาหนะในประเทศไทยกว่าร้อยละ 80 เดินทางบนโครงข่ายผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต ซึ่งการออกแบบการก่อสร้างถนนผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตเป็นขั้นตอนการออกแบบที่สำคัญเนื่องจากต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งปริมาณการจราจร น้ำหนักบรรทุก อายุการใช้งาน ฯลฯ ดังนั้นการพิจารณาคัดเลือกวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะต้องถูกพิจารณาเป็นลำดับแรกผ่านการทดสอบคุณสมบัติให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ เนื่องจากคุณสมบัติของวัสดุส่งผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานและเสื่อมสภาพของอายุผิวทาง การทดสอบหาค่าการขัดถูของวัสดุมวลรวม (Polishing Stone Value, PSV) เป็นการทดสอบเพื่อประเมินค่าการสึกหรอจากการขัดถูของวัสดุมวลรวมที่ใช้ในงานก่อสร้างผิวทาง ตามมาตรฐาน ASTM E303 และ BS812-114 โดยการทดสอบดังกล่าวเริ่มจากการคัดเลือกวัสดุมวลรวมจากแหล่งต่างๆ มาเรียงใส่แบบ จากนั้นนำไปใส่เครื่องมือสดทอบ Accelerated Polishing Machine แล้วเริ่มทำการทดสอบโดยวัสดุมวลรวมจะถูกขัดถูด้วยล้อยางร่วมกับวัสดุขัดถูหยาบและวัสดุขัดถูละเอียด จากนั้นเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดนำไปทดสอบด้วยเครื่องมือวัดค่าความต้านทานการลื่นไถล British Pendulum Tester ซึ่งค่าที่อ่านได้จะเป็นค่า PSV สำหรับงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกวัสดุมวลรวมในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 10 แหล่ง โดยวัสดุมวลรวมที่เลือกใช้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หินปูน หินบะซอลต์ และหินแกรนิต ขนาดของวัสดุมวลรวมที่ใช้ในการทดสอบคือ ขนาด 3/8” จากผลการทดสอบพบว่าหินบะซอลต์มีค่าความต้านทานต่อการขัดถูมากที่สุด รองลงมาคือหินแกรนิต และหินปูน ตามลำดับ</p> 2022-09-05T10:26:15+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1778 อิทธิพลของเส้นใยมะพร้าวต่อกำลังของมอร์ต้าผสมเถ้าปาล์มน้ำมัน 2022-09-20T18:21:21+07:00 โชคชัย ขอมอบกลาง chokchai.kh@rmuti.ac.th เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ cherdsak.su@rmuti.ac.th ชยกฤต เพชรช่วย chayakrit.ph@rmuti.ac.th จักษดา ธำรงวุฒิ jaksada.th@rmuti.ac.th เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง sermsak.ti@gmail.com <p>บทความนี้ศึกษาอิทธิพลของเส้นใยมะพร้าวต่อกำลังของมอร์ต้าผสมเถ้าปาล์มน้ำมัน โดยใช้อัตราส่วนทรายต่อวัสดุประสานเท่ากับ 50:50, 70:30 และ 90:10 อัตราส่วน ปูนซีเมนต์ต่อเถ้าปาล์มน้ำมันเท่ากับ 100:0, 90:10, 80:20 และ 70:30 ปริมาณเส้นใยมะพร้าวร้อยละ 0, 1, 3, 5 และ 7 ของน้ำหนักวัสดุประสาน งานวิจัยนี้ทำการทดสอบกำลังอัด และกำลังดัดของมอร์ต้าผสมเถ้าปาล์มน้ำมัน และเส้นใยมะพร้าวที่อายุบ่ม 7 วัน พบว่าอัตราส่วนทรายต่อวัสดุประสาน อัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อเถ้าปาล์มน้ำมัน และปริมาณเส้นใยมะพร้าวส่งผลต่อกำลังอัด และกำลังดัดของตัวอย่างมอร์ต้าผสมเถ้าปาล์มน้ำมัน และเส้นใยมะพร้าว กำลังอัด และกำลังดัดของตัวอย่างมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัสดุประสานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปฏิกิริยาไฮเดรชั่น อัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของตัวอย่างคืออัตราส่วนทรายต่อวัสดุประสานเท่ากับ 50:50 อัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อเถ้าปาล์มน้ำมันเท่ากับ 90:10 และปริมาณเส้นใยมะพร้าวร้อยละ 1 ของน้ำหนักวัสดุประสาน</p> 2022-09-05T10:27:53+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1407 กำลังอัดและกำลังดัดของเถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์ 2022-09-20T18:21:21+07:00 ธาฬิณ ดีสวัสดิ์ tharin.de@rmuti.ac.th เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง sermsak.ti@rmuti.ac.th เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ cherdsak.su@rmuti.ac.th วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง wisitsak.t@rmutsv.ac.th นันทชัย ชูศิลป์ nuntachai.c@rmutsv.ac.th จุฑามาศ ลักษณะกิจ l.chuthamart@gmail.com <p>งานวิจัยนี้ศึกษาหน่วยน้ำหนักและกำลังอัดของเถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์เถ้าชีวมวลเป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตไฟฟ้า จ.สงขลา งานวิจัยนี้ใช้อัตราส่วนทรายต่อเถ้าชีวมวลต่อปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เท่ากับ 50:50:0, 50:45:5, 50:40:10, 50:35:15, 50:30:20, 50:25:25 และ 50:20:30 อัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกต (Na<sub>2</sub>SiO<sub>3</sub>) ต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เท่ากับ 70:30 และความเข้มข้นของสารละลาย NaOH เท่ากับ 8 โมลาร์ ทดสอบกำลังอัดและหน่วยน้ำหนักของเถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์ ที่อายุบ่ม 7 วัน ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าหน่วยน้ำหนักของ เถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น กำลังอัดสูงสุดของตัวอย่างเถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์มีค่าเท่ากับ 340 ksc ที่อัตราส่วนทรายต่อเถ้าชีวมวลต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 50:25:25</p> 2022-09-05T10:29:15+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1694 การศึกษาแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ผสมเส้นใยมะพร้าวเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง 2022-09-20T18:21:22+07:00 มะรอพา มามะ krittiya.ongw@pnu.ac.th กฤติยา อ่องวุฒิวัฒน์ krittiya.ongw@pnu.ac.th อรรคเดช อับดุลมาติน krittiya.ongw@pnu.ac.th มูฮัมมัดซารีฟ สนิทวาที krittiya.ongw@pnu.ac.th เพ็ญพิชชา สนิทอินทร์ krittiya.ongw@pnu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนผสมที่เหมาะสมในการใช้เส้นใยมะพร้าวเป็นส่วนผสมในการผลิตแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ใช้เส้นใยมะพร้าวที่เป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรมาผสมเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง ใช้เส้นใยมะพร้าวคละความยาว 5, 10 และ 15 มิลลิเมตร ที่ 0%, 2.5%, 5%, 7.5%, 10%,12.5%, 15%, 17.5% และ 20% ต่อน้ำหนักปูนซีเมนต์ กำหนดอัตราส่วนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 : ทราย : น้ำ เท่ากับ 1 : 1 : 0.5 โดยน้ำหนักตามลำดับ ทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางกลตามมาตรฐานมอก. 1427-2561 จากผลการทดสอบแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ผสมเส้นใยมะพร้าวพบว่า ที่สัดส่วนเส้นใยที่ 0%, 2.5%, 5%, 7.5%, 10%, 12.5%, 15%, 17.5% และ 20% มีค่าการรับแรงดัดที่ 1.52, 4.17, 5.14, 5.04, 5.05, 4.07, 4.67, 2.03,และ 0.45 เมกะพาสคัลที่อายุ 28 วันตามลำดับ จากผลการทดสอบดังกล่าวเห็นได้ว่า ในการผลิตแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์สามารถใช้เส้นใยมะพร้าวที่คละความยาวที่ 5-15 มิลลิเมตร ได้สูงถึง 15% ซึ่งมีค่าการรับแรงดัดมากกว่า มาตรฐาน มอก.1427-2561 กำหนดไว้ คือ 4 เมกะพาสคัล</p> 2022-09-05T10:30:51+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1768 การพัฒนายางธรรมชาติผสมคาร์บอนแบล็คสำหรับผลิตภัณฑ์แผ่นปูพื้นรักษ์โลก 2022-09-20T18:21:23+07:00 วสวัตติ์ เหมือนขาว wasawat.mm55@gmail.com โชคชัย แจวิจารณ์ wasawat.mm55@gmail.com ศรัณญ์ กาญจนทัด wasawat.mm55@gmail.com ชัยยุทธ มีงาม wasawat.mm55@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนผสมในการผลิตภัณฑ์แผ่นปูพื้นรักษ์โลกโดยผ่านกระบวนการอัดขึ้นรูป และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นปูพื้นรักษ์โลก วัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์แผ่นปูพื้นรักษ์โลก ประกอบด้วยยางธรรมชาติ 1 กิโลกรัม คาร์บอนแบล็คที่ได้จากการขยะพลาสติก 3.30 phr และ 23.30 phr อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ 5 phr กรดฟอร์มิก 80 ml กำมะถัน 5 phr และหินเกล็ด วิธีการทดลอง ทำการขึ้นรูปน้ำยางธรรมชาติและส่วนผสม อบที่อุณหภูมิ 60 0 C จำนวน 25 ชั่วโมง และอัดด้วยครื่องอัดไฮดรอลิกและตั้งอุณหภูมิ 120 0 C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทำการรตรวจสอบทางกายภาพ และทดสอบสมบัติทางกล ผลการศึกษาพบว่า แผ่นปูพื้นรักษ์โลกมีลักษณะทางกายภาพ เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2377-2559 ความต้านแรงดัด เท่ากับ 4.824 และ 5.760 MPa ค่าความต้านทานแรงดึง เท่ากับ 188.33 และ 234.33 MPa ค่าความแข็งของแผ่นปูพื้นรักษ์โลกแข็งในระดับปานกลางตามมาตรฐาน มอก. 2377-2559 และการดูดซับน้ำเป็นตามมาตรฐาน มอก. 387-2531 แผ่นปูพื้นรักษ์โลกมีคุณสมบัติสำหรับปูพื้นนอกอาคาร เนื่องจากมีค่าความแข็งปานกลาง มีความต้านแรงดัด และมีความยืดหยุ่นสูง</p> 2022-09-05T10:32:05+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1829 ศึกษาสมบัติทางกลและโครงสร้างทางโลหะวิทยาของรอยเชื่อมเหล็กกล้าโครงสร้าง SS400 2022-09-20T18:21:24+07:00 เดช เหมือนขาว dechmaunkhaw@yahoo.com ยงยุทธ ดุลยกุล yongyut.d@rmutsv.ac.th ชัยยุทธ มีงาม chaiyoot.me@skru.ac.th วรวิทย์ ศรีวิทยากูล dechmaunkhaw@yahoo.com <p>การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสมบัติทางกลและโครงสร้างทางโลหะวิทยาของรอยเชื่อมเหล็กกล้าโครงสร้าง SS400 ด้วยกระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ กระบวนการเชื่อมแบบ<strong>MIG/MAG </strong>&nbsp;และกระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์ ใช้เหล็กกล้าโครงสร้าง SS 400 เป็นชิ้นงานและเตรียมชิ้นงานตามมาตรฐาน AWS D1.1/D1.1M : 2006 ทำการทดสอบสมบัติทางกลและ ตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า เนื้อเชื่อมจากกระบวนการเชื่อมทั้ง 3 วิธีการ จะให้ค่าความต้านทานแรงดึงที่แตกต่างกัน โดยกระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์จะให้ค่าความต้านทานแรงดึงมากที่สุดที่ 680.86 MPa&nbsp; และจะให้ค่าความแข็งได้มากที่สุดที่ 198.3 HV ส่วนกระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ จะให้ค่าความต้านทานแรงดึงได้น้อยสุด 565.02 MPa โดยมีค่าความแข็งน้อยสุดที่ 183.4 HV ผลสรุปกระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์จะให้ผลของการเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมเหล็กกล้าโครงสร้าง SS 400 ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเลือกกระบวนการเชื่อมสำหรับการนำไปใช้งานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่เหมาะสม</p> 2022-09-05T10:33:13+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1736 กำลังรับแรงอัดของมอร์ตาร์เมื่อเติมซีเมนต์หลังการก่อตัว 2022-09-20T18:21:24+07:00 ณัฐพล ฐาตุจิรางค์กุล khampheej@yahoo.com คำภี จิตชัยภูมิ khampheej@yahoo.com นัฐวุฒิ ทิพย์โยธา khampheej@yahoo.com <p>บทความนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการรับกำลังอัดของปอร์ตแลนด์มอร์ตาร์หล่อมาตรฐานขนาด 5 × 5 × 5 เซ็นติเมตร เปรียบกับเวลาปกติของมอร์ตาร์ โดยการเพิ่มปริมาณปูนซีเมนต์ภายหลังซีเมนต์เพสต์ก่อตัวแล้ว 45 นาที พบว่าก าลังอัดมอร์ตาร์ที่อายุ 28 วัน เมื่อเพิ่มซีเมนต์ 5 % โดยน้ำหนักมีการพัฒนากำลังอัดของมอร์ตาร์ลดลง 27.92 % เมื่อเพิ่มซีเมนต์ 7 % โดยน้ำหนักให้กำลังอัดของมอร์ตาร์ลดลง 45.82 % และเมื่อเพิ่มซีเมนต์ 9 % โดยน้ำหนักกำลังอัดของมอร์ตาร์ลดลง 38.67 % ซึ่งกำลังอัดของมอร์ตาร์มีแนวโน้มลดลงตามปริมาณการเพิ่มปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น</p> 2022-09-05T10:34:20+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1878 การนำฟางข้าวเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรเป็นมวลรวมในการผลิตอิฐบล็อกประสานน้ำหนักเบา 2022-09-20T18:21:25+07:00 พิรุฬห์ ศิริพุฒ piroonjump@gmail.com กัญจน์อมล ทองเชื้อ piroonjump@gmail.com เหมวดี ทองเชื้อ piroonjump@gmail.com ธีวรา สุวรรณ piroonjump@gmail.com <p>ฟางข้าวเป็นส่วนที่เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวข้าวจำนวนมหาศาลในทุกปีของระยะหลังเก็บเกี่ยว โดยส่วนใหญ่นั้นเกษตรกรเลือกวิธีการกำจัดฟางข้าวด้วยวิธีการที่ง่ายและสะดวกนั้นคือ การเผาทำลาย ซึ่งเพื่อที่จะลดมลพิษทางอากาศและ PM 2.5 ในช่วงฤดูหลังการเก็บเกี่ยวนั้น จึงได้ประยุกต์การนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทางผู้จัดทำได้ทำการศึกษาการใช้ฟางข้าวในการผลิตอิฐบล็อกซีเมนต์มวลเบาโดยเทคนิคการขึ้นอัดรูปอิฐบล็อกประสาน ซึ่งพบว่าฟางข้าวที่มีสภาวะอิ่มตัวผิวแห้ง มีความสามารถรับแรงอัดได้ดีกว่าฟางที่สภาวะผิวแห้งในอากาศ เนื่องจากฟางข้าวมีความนุ่มและยืดหยุ่นมากกว่า และยังมีปริมาณน้ำที่อยู่ในตัวฟางข้าวเพียงพอต่อการเกิดการบ่มภายในตัวอย่างทดสอบ โดยอัตราส่วนผสมน้ำต่อซีเมนต์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ฟางข้าวในการผลิตอิฐบล็อกซีเมนต์มวลเบาโดยเทคนิคการขึ้นอัดรูปอิฐบล็อกประสาน คือ 0.30 และมีปริมาณฟางที่ 2 % โดยน้ำหนัก จากผลที่ได้สามารถนำไปพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้างทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุก่อสร้างอีกทางหนึ่งด้วย</p> 2022-09-05T10:35:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1647 Development of a Mixture of Lightweight Cell Crete with Hydraulic Cement for Green Roof Construction in Thailand 2022-09-20T18:21:26+07:00 Hanny Chandra Pratama hannychandra.arch@gmail.com Theerawat Sinsiri sinsiri@g.sut.ac.th Aphai Chapirom aphai2010@gmail.com <p>หลังคาเขียวในประเทศไทยถือว่ายังไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป เนื่องจากกระบวนการก่อสร้างมีความซับซ้อน การนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศ และราคาสูงกว่า หลังคาทั่วไป หลังคาเขียวถือเป็นทางเลือกใหม่ของการ ช่วยลดพลังงานไฟฟ้า , ลดเสียงรบกวน , ลดมลพิษทางอากาศ และสร้างระบบนิเวศให้สังคมเมือง เป็นต้น ผู้วิจัยได้นำคอนกรีตเบาเซลล์กรีต มาใช้เป็นวัสดุโครงสร้างประกอบ รองรับน้ำหนักดินที่ใช้สำหรับการปลูกพืช เนื่องจากคุณสมบัติของคอนกรีตเบาเซลล์กรีตมีความแข็งแรง กันร้อน กันน้ำ กันเสียง และมีน้ำหนักเบา ทำให้ราคาค่าก่อสร้างลดลง&nbsp; จากผลการพัฒนาสัดส่วนผสมใหม่ของคอนกรีตเบาเซลล์กรีต โดยการนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มาแทน ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่ง ใช้หน่วยน้ำหนัก 1200 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พบว่าค่ากำลังอัดคอนกรีตเบาเซลล์กรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมีค่าสูงกว่า , การดูดซึมน้ำและค่าสัมประสิทธิ์ในการนำความร้อนมีค่าที่ต่ำกว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่ง และผู้วิจัยได้นำไปทดสอบการใช้งานจริงพบว่า สามารถช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสังคมเมือง &nbsp;ราคาค่าก่อสร้างและอุณภูมิภายในอาคารลดลง เป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมหลังคาเขียวในประเทศไทยเป็นอย่างมาก &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> 2022-09-05T10:36:33+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1725 กำลังรับแรงอัดของโฟมจีโอโพลีเมอร์ทำจากเถ้าลอยและผงอลูมิเนียม 2022-09-20T18:21:27+07:00 คำภี จิตชัยภูมิ khampheej@yahoo.com ณัฐพล ฐาตุจิรางค์กุล khampheej@yahoo.com นัฐวุฒิ ทิพย์โยธา khampheej@yahoo.com <p>บทความนี้เป็นการศึกษากำลังรับแรงอัดของโฟมจีโอโพลีเมอร์ทำจากเถ้าลอยและผงอลูมิเนียมในปริมาณ 0, 0.4, 0.8, และ 1.0 % ของน้ำหนักเถ้าลอย ใช้ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 5 โมล ในการกระตุ้นจีโอโพลีเมอร์ ใช้อัตราส่วนของเหลวต่อเถ้าลอย 0.5 โฟมจีโอโพลีเมอร์ผ่านการอบแห้งที่ อุณหภูมิ 55 °C, 60 °C 65 °C, 70 °C, และ 75 °C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง โฟมจีโอโพลีเมอร์ที่ใส่ผงอลูมิเนียม 0.4 – 1.0 % ให้หน่วยน้ำหนักแห้งประมาณ 1,700 – 1,800 kg/m<sup>3</sup> ผลการทดสอบพบว่ากำลังรับแรงอัดอยู่ระหว่าง 2.01 MPa ถึง 6.6 MPa ซึ่งมีกำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิอบแห้งที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ 55 °C ถึง 60 °C การดูดซึมน้ำอยู่ระหว่าง 10 % ถึง 21% โดยน้ำหนัก ซึ่งมีอัตราการดูดซึมน้ำเพิ่มขึ้นตามหน่วยน้ำหนักแห้งที่ลดลง</p> 2022-09-05T10:37:50+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1833 คุณสมบัติกำลัง ความต้านทานคลอไรด์และความต้านทานไฟฟ้าที่ผิวของคอนกรีตเสริมเส้นใยพลาสติกโลหะ 2022-09-20T18:21:27+07:00 กนกวรรณ ทองพยุง 61050047@go.buu.ac.th บุษยกานต์ แก้วแก่นฟ้า twc@buu.ac.th อัญชนา กิจจานนท์ twc@buu.ac.th ลีน่า ปรัก twc@buu.ac.th ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์ twc@buu.ac.th ทวีชัย สำราญวานิช twc@buu.ac.th <p>บทความนี้มุ่งศึกษาการใช้ขยะพลาสติกโลหะเป็นเส้นใยในคอนกรีต โดยใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเป็นวัสดุประสานหลักและใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 ทำการศึกษาปริมาณเส้นใยพลาสติกโลหะร้อยละ 0.5 1.0 และ 1.5 โดยปริมาตรของคอนกรีต และความยาวเส้นใย 20 mm และ 40 mm โดยที่ความกว้างเส้นใย 2 mm ทำการหล่อตัวอย่างคอนกรีตเพื่อทดสอบกำลังอัด กำลังดึงแบบผ่าซีกและกำลังดัดที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 7 28 และ 56 วัน และทดสอบความต้านทานคลอไรด์แบบแพร่ทั้งหมดและความต้านทานไฟฟ้าที่ผิว จากผลการศึกษาพบว่า การใช้เส้นใยพลาสติกโลหะทำให้คอนกรีตมีกำลังอัดลดลงเมื่อเทียบกับคอนกรีตควบคุมที่ไม่ผสมเส้นใยพลาสติกโลหะ คอนกรีตผสมเส้นใยพลาสติกโลหะร้อยละ 0.5 มีกำลังดึงแบบผ่าซีกและกำลังดัดมากที่สุด ในขณะที่คอนกรีตผสมเส้นใยพลาสติกโลหะร้อยละ 1.0 มีการแทรกซึมคลอไรด์แบบแพร่ทั้งหมดต่ำที่สุดและความต้านทานไฟฟ้าที่ผิวสูงที่สุด</p> 2022-09-05T10:38:56+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1365 การศึกษาแนวทางการปรับปรุงสมบัติความเป็นวัสดุประสานของตะกอนประปาและขี้เถ้าจากเตาเผาขยะด้วยปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอร์ไรเซชั่น และการอบไอน้ำ 2022-09-20T18:21:28+07:00 ทรงสุดา วิจารณ์ songsudavichan@gmail.com <p>การศึกษานี้ได้ศึกษาความเหมาะสมในการใช้ตะกอนประปาและขี้เถ้าเตาเผาขยะมาเป็นวัสดุประสานแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนในปริมาณร้อยละ 10 และ 20 โดยน้ำหนัก ปฏิกิริยาปอซโซลานระหว่างตะกอนประปาและขี้เถ้าเตาเผาขยะเกิดได้ไม่ดีที่เท่าที่ควรที่ระยะเวลาบ่ม 28 วัน ในสภาวะการบ่มแบบปกติตะกอนประปา ขี้เถ้า และส่วนผสมของวัสดุทั้งสองชนิดซึ่งมีสารประกอบอะลูมิโนซิลิเกต นำมาเป็นสารตั้งต้นในการผลิตจีโอพอลิเมอร์เมื่อทำปฏิกิริยากับสารละลายอัลคาไลน์ที่เกิดจากสารละลายโซเดียมซิลิเกตเข้มข้น 10 M กับ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 15 M ขี้เถ้าเตาเผาขยะมีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอร์ไรเซชันมากกว่าตะกอนประปา เนื่องจากมีความเป็นอสัณฐาน นอกจากนี้การอบไอน้ำที่อุณหภูมิ 210 °C ความดัน 2 MPa เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง สามารถทำให้ค่ากำลังรับแรงอัดของมอร์ตาร์ที่เตรียมจากปูนซีเมนต์ผสมขี้เถ้าเตาเผาขยะอบไอน้ำถึงเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 75 ของค่ากำลังรับแรงอัดมอร์ตาร์ปูนซีเมนต์ล้วนตั้งแต่อายุบ่ม 7 วันได้ ในขณะที่การอบไอน้ำไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการปรับปรุงสมบัติความเป็นวัสดุประสานของตะกอนประปาได</p> 2022-09-05T10:40:05+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1841 ผลของสารเชื่อมประสานคอนกรีตกับวัสดุซ่อมแซมคอนกรีตต่อระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าว อันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม 2022-09-20T18:21:28+07:00 สมเจตน์ เขียวขำ somjate.k@ku.th วันชัย ยอดสุดใจ fengwcy@ku.ac.th <p>บทความนี้มุ่งเน้นการตรวจสอบพฤติกรรมของการเกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเชื่อมประสานระหว่างคอนกรีตกับวัสดุซ่อมแซมที่ส่งผลต่อระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม โดยการจำลองการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและทดสอบเร่งปฏิกิริยาการกัดกร่อนในครั้งนี้ ใช้วัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อม (Repair Mortar) และสารเชื่อมประสาน (Bonding Agent) ชนิด Latex และ Epoxy ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมของการเกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริมของตัวอย่างที่ทำการทดสอบให้ผลที่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเชื่อมประสานกับวัสดุซ่อมแซม พบว่า ตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมกับสารเชื่อมประสานคอนกรีต ชนิด Epoxy มีระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าวช้าที่สุด รองลงมาเป็นตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมทั้งก้อน และตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมกับสารเชื่อมประสานคอนกรีต ชนิด Latex ตามลำดับ ส่วนตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมกับไม่มีสารเชื่อมประสานคอนกรีตจะมีระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าวเร็วที่สุด</p> 2022-09-05T10:41:46+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1864 กำลังและความต้านทานการขัดสีของคอนกรีตที่ใช้เศษขยะพลาสติกแทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วน 2022-09-20T18:21:29+07:00 บรรณกร ขันตา 61050114@go.buu.ac.th บุญเลิศ แก้วประจำ twc@buu.ac.th อัญชนา กิจจานนท์ twc@buu.ac.th ลีน่า ปรัก twc@buu.ac.th ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์ thidaporn@buu.ac.th ทวีชัย สำราญวานิช twc@buu.ac.th <p>บทความนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของการแทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วนด้วยขยะพลาสติกต่อกำลังอัด กำลังดัด กำลังดึงแบบผ่าซีก ความต้านททานการขัดสีของคอนกรีตเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่ผสมมวลรวมธรรมชาติ ใช้มวลรวมเศษพลาสติก 3 ชนิด ได้แก่ พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) พอลิโพรไพลีน (PP) และพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) แทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วนร้อยละ 10 20 และ 30 โดยปริมาตรมวลรวมละเอียด ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.50 ทำการทดสอบกำลังอัด กำลังดัด กำลังดึงแบบผ่าซีกและความต้านทานการขัดสี จากผลการทดลองพบว่า คอนกรีตที่ใช้ขยะพลาสติก (ทั้ง PVC PP และ PET) แทนที่บางส่วนของมวลรวมละเอียดมีกำลังอัด กำลังดัดและกำลังดึงแบบผ่าซีกต่ำกว่าคอนกรีตที่ผสมมวลรวมธรรมชาติ แต่มีความต้านทานการขัดสีสูงกว่าคอนกรีตควบคุมที่ผสมมวลรวมธรรมชาติ การเพิ่มปริมาณแทนการที่มวลรวมละเอียดด้วยขยะพลาสติกทำให้กำลังอัด กำลังดัดและกำลังดึงแบบผ่าซีกลดลง แต่กลับทำให้ความต้านทานการขัดสีดีขึ้น</p> 2022-09-05T10:43:11+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1844 อิทธิพลวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม ต่อระยะเวลาเริ่มต้น การเกิดรอยร้าวของคอนกรีต อันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม 2022-09-20T18:21:30+07:00 วิษณุ สุวรรณมาโจ wisanu.su@ku.th วันชัย ยอดสุดใจ fengwcy@ku.ac.th <p>การป้องกันความเสียหายของโครงสร้างคอนกรีตจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริมในโครงสร้างใหม่ทำได้หลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ทำได้ทั่วไปและได้รับการแนะนำจาก ACI (American Concrete Institute) คือ เคลือบผิวเหล็กเสริมเพื่อให้โครงสร้างได้รับการป้องกันตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบหากำลังรับแรงอัดและมอดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต การทดสอบหาอิทธิพลของการยึดเกาะของเหล็กเสริม และการทดสอบเร่งปฏิกิริยาการกัดกร่อนให้เกิดสนิมเพื่อหาระยะเวลาเริ่มต้นการแตกร้าวของตัวอย่างคอนกรีตในวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม 4 ประเภท คือ 1) Epoxy 2) Zinc Rich 3) Latex Slurry Cement และ 4) ไม่มีวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม ผลการทดสอบ พบว่า คุณสมบัติของตัวอย่างคอนกรีตที่ทดสอบมีค่าเฉลี่ยกำลังรับแรงอัดประมาณ 250 kg/cm<sup>2</sup> และมีค่าเฉลี่ยมอดูลัสยืดหยุ่นประมาณ 240,400 kg/cm<sup>2</sup> การทดสอบแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีตของตัวอย่างคอนกรีตที่ไม่มีวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริมมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีตดีที่สุด และการเคลือบผิวเหล็กเสริมด้วยวัสดุเคลือบผิวเหล็ก ประเภท Latex Slurry Cement สามารถปกป้องเหล็กเสริมจากปัจจัยที่ทำให้เกิดสนิมได้ดีกว่าวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริมประเภทอื่น</p> 2022-09-05T10:44:24+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1520 คุณสมบัติของแอสฟัลต์ซีเมนต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยน้ำยางพาราธรรมชาติในสัดส่วนที่แตกต่างกัน 2022-09-20T18:21:30+07:00 ก้องรัฐ นกแก้ว nokkaewkt@gmail.com วรมิญช์ พันธุรัตน์ voramin@npu.ac.th วชิรกรณ์ เสนาวัง nanoon45@gmail.com ศุภชัย คำแปร Supachai.khu@ku.th ศตวรรษ หฤหรรษพงศ์ wat_gus@hotmail.com <p class="Contentnew">งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มวัสดุผสมเพิ่มเข้าไปในแอสฟัลต์คอนกรีต คือ น้ำยางพาราธรรมชาติเพื่อปรับปรุงสมบัติของแอสฟัลต์คอน กรีต การใช้ยางพาราธรรมชาติช่วยส่งเสริมการใช้วัตถุดิบยางพาราธรรมชาติภายในประเทศเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นแนวทางเพิ่มการใช้ยางพาราตามนโยบายของรัฐบาล โดยทั่วไปคุณสมบัติของยางพาราธรรมชาติสามารถช่วยปรับปรุงให้ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตให้มีความยืดหยุ่นและมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังทำใ ห้อายุการใช้งานนานขึ้นนอกจากนี้ยังใช้ปริมาณแอสฟัลต์ซีเมนต์ในส่วนผสมน้อยลง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์ซีเมนต์ AC 60/70 เป็นวัสดุเชื่อมประสานที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยน้ำยางพาราธรรมชาติ โดยใช้สัดส่วนยางพาราที่แตกต่างกันซึ่งมีการเติมยางพาราธรรมชาติร้อยละ 3, 5, 7, 9 และ 11 โดยน้ำหนัก ทดสอบหาค่าเพนิเทรชัน จุดอ่อนตัว จุดวาบไฟและจุดติดไฟ และการยืดดึง ผลการทดสอบพบว่าเมื่อปริมาณน้ำยางธรรมชาติในส่วนผสมเพิ่มขึ้น ค่าเพนิเทรชันมีแนวโน้มลดลง อุณหภูมิจุดอ่อนตัวเพิ่มขึ้น อุณหภูมิจุดวาบไฟและจุดติดไฟน้อยลง และค่าการดึงยืดลดลง</p> 2022-09-05T10:45:49+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1831 กำลังอัดและการนำความร้อนของมอร์ตาร์ที่มีเถ้าก้นเตาแทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วน 2022-09-20T18:21:31+07:00 ธัญญารัตน์ ดุษดี gafiw224@gmail.com ชนากานต์ อุ่นแก้ว twc@buu.ac.th อัญชนา กิจจานนท์ twc@buu.ac.th ลีน่า ปรัก twc@buu.ac.th ทวีชัย สำราญวานิช twc@buu.ac.th <p>บทความนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของเถ้าก้นเตาและเถ้าลอยต่อกำลังอัดและการนำความร้อนของมอร์ตาร์ พร้อมทั้งตรวจสอบความพรุนและความหนาแน่นของมอร์ตาร์ด้วย โดยใช้เถ้าก้นก้นเตาแทนที่มวลรวมละเอียดร้อยละ 10 และ 30 โดยปริมาตรของมวลรวมละเอียด ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 30 และ 50 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน และใช้อัตราน้ำต่อวัสดุประสานคงที่ 0.40 จากผลการทดลองพบว่า มอร์ตาร์ที่ผสมเถ้าก้นเตาและมอร์ตาร์ที่ผสมเถ้าลอยมีกำลังอัดและการนำความร้อนต่ำกว่ามอร์ตาร์ควบคุม โดยมีความพรุนสูงขึ้นและความหนาแน่นลดลง เมื่อพิจารณาที่ระยะเวลาการบ่ม 56 วันพบว่า มอร์ตาร์ที่ผสมเถ้าก้นเตาร้อยละ 10 และเถ้าลอยร้อยละ 30 มีกำลังอัดสูงที่สุดและความพรุนน้อยที่สุด ส่วนมอร์ตาร์ที่ผสมเถ้าก้นเตาร้อยละ 30 และเถ้าลอยร้อยละ 50 มีการนำความร้อนต่ำที่สุด</p> 2022-09-05T10:47:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1641 สมบัติการไหลและกำลังรับแรงอัดของวัสดุควบคุมกำลังต่ำที่ผลิตจากขยะฝาขวดน้ำพลาสติก แทนที่มวลรวมละเอียด 2022-09-20T18:21:32+07:00 ชญานิษฐ์ ปัญญสุทธิ์ chayanit.p28@gmail.com ภีม เหนือคลอง peenua@gmail.com พิชชา จองวิวัฒสกุล pitcha.j@chula.ac.th ธนกร ชมภูรัตน์ thanakorn.ch@up.ac.th สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง fceslk@eng.chula.ac.th <p>ในปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดจากการใช้เพียงครั้งเดียวเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญด้านสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติเชิงกลของวัสดุควบคุมกำลังต่ำ (CLSM) ที่นำขยะพลาสติกจากฝาขวดน้ำมาใช้ทดแทนมวลรวมละเอียดที่ปริมาณ 20 30 40 และ 50% โดยปริมาตรของมวลรวมละเอียด วัสดุที่ใช้ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ เถ้าลอย น้ำ ทรายธรรมชาติ และขยะพลาสติกจากฝาขวดน้ำ คุณสมบัติที่ศึกษาประกอบด้วย ความสามารถในการไหลแผ่ และกำลังรับแรงอัดที่อายุการบ่ม 7 14 และ 28 วัน จากผลการทดสอบพบว่าการใช้ขยะฝาขวดน้ำพลาสติกบดละเอียดแทนที่ทรายธรรมชาติในปริมาณที่มากขึ้นทำให้ความสามารถในการยุบตัวไหลแผ่และความสามารถในการรับกำลังอัดแกนเดียวลดลง อย่างไรก็ตาม การแทนที่ทรายธรรมชาติด้วยขยะฝาขวดน้ำพลาสติกบดละเอียดในปริมาณ 30 40 และ 50% สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตวัสดุควบคุม<br>กำลังต่ำสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุพื้นทางได้</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-05T10:49:02+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1628 การสำรวจประสิทธิภาพการซ่อมแซมตัวอย่างมอร์ตาร์ที่ถูกทำให้เสียหายล่วงหน้าด้วยเซลล์ที่มีชีวิตของแบคทีเรียที่ชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต 2022-09-20T18:21:32+07:00 นัชชา นพคุณ nutcha.npk@gmail.com พรเพ็ญ ลิมปนิลชาติ Pornpen.lim@mahidol.ac.th ภัทรพล จินดาศิริพันธ์ pattharaphon.c@chula.ac.th พิชชา จองวิวัฒสกุล pitcha.j@chula.ac.th วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี wiboonluk@hotmail.com สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง fceslk@eng.chula.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการซ่อมแซมรอยร้าวของมอร์ตาร์โดยใช้วิธีการหยดเซลล์ที่มีชีวิตของแบคทีเรีย เตรียมตัวอย่างมอร์ตาร์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม. สูง 50 มม. สร้างรอยร้าวด้วยแรงกด ให้มีขนาดความกว้างสองขนาดคือ ขนาดไม่เกิน 175 µm และขนาด 175 - 350µm จากนั้นซ่อมแซมรอยร้าวด้วยการหยดแบคทีเรียชนิดบาซิลลัส สฟีรีคัส และสารอาหาร โดยปริมาณการหยดเชื้อแบคทีเรียต่อสารอาหารต่อวันเท่ากับ20:500 µL และ 40:1000 µL ในระหว่างการซ่อมแซมชิ้นตัวอย่างจะอยู่ภายใต้สภาวะเปียกสลับแห้ง 7 รอบ หลังจากนั้นทำการประเมินประสิทธิภาพการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยการวัดความกว้างของรอยร้าวผ่านกล้องจุลทรรศน์ จากผลการทดสอบรอยร้าวขนาดเล็กกว่า 175 µm ที่หยดเชื้อแบคทีเรียต่อสารอาหารต่อวันเท่ากับ 20:500 µL และ 40:1000 µL มีค่าความกว้างของรอยร้าวที่เปลี่ยนแปลง 90.1% และ 97.0% ตามลำดับ สำหรับรอยร้าวขนาดความกว้างไม่เกิน 350 µm มีค่าความกว้างของรอยร้าวที่เปลี่ยนแปลง 54.0% นอกจากนี้เมื่อติดตามค่าความกว้างของรอยร้าวที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบของทุกกลุ่มตัวอย่าง พบว่ารอยร้าวได้รับการซ่อมแซมอย่างต่อเนื่องจนครบ 7 รอบ และมีแนวโน้มว่าอาจจะพัฒนาต่อไปได้ หากใช้เวลาในการซ่อมแซมที่มากขึ้น</p> 2022-09-05T10:50:50+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1492 ผลกระทบของการใช้เถ้าก้นเตาแทนที่ปูนซีเมนต์และเป็นวัสดุบ่มภายใน ต่อสมบัติเชิงกลและความทนทานของคอนกรีตสมรรถนะสูง 2022-09-20T18:21:33+07:00 เจตนิพัทธ์ วงศ์อภัย jednipad.wong@kmutt.ac.th กฤติธี พุทธรักษ์ jednipad.wong@kmutt.ac.th ณัชพล จันทร์ควง jednipad.wong@kmutt.ac.th ธนวัฒน์ สายเรี่ยม jednipad.wong@kmutt.ac.th วีรชาติ ตั้งจิรภัทร Weerachart.tan@kmutt.ac.th ชัย จาตุรพิทักษ์กุล chai.jat@kmutt.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอผลกระทบของการใช้เถ้าก้นเตาเป็นวัสดุปอซโซลานแทนที่ปูนซีเมนต์ในปริมาณสูงและเป็นวัสดุบ่มภายในต่อสมบัติเชิงกลและความ ทนทานของคอนกรีตสมรรถนะสูงโดยนำเถ้าก้นเตามาร่อนผ่านตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 50 และทำการบดจนมีอนุภาคขนาดเล็ก (GBA) จากนั้นนำไปแทนที่ ปูนซีเมนต์ร้อยละ 70 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน (70GBA) นอกจากนี้เถ้าก้นเตาที่ร่อนผ่านตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 4 และค้างบนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 50 (SBA) นำไปแทนที่มวลรวมละเอียดร้อยละ 25 50 และ 75 โดยปริมาตรมวลรวมละเอียดสำหรับใช้เป็นวัสดุบ่มภายในคอนกรีตภายใต้สภาวะการบ่ม ที่แตกต่างกัน ได้แก่ การบ่มด้วยน้ำและการบ่มด้วยอากาศ ทำการทดสอบการยุบตัวแบบแผ่และระยะเวลาการไหลที่ 50 ซม (T50) กำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่น การเปลี่ยนแปลงความร้อน และการแทรกซึมของคลอไรด์ของคอนกรีตสมรรถนะสูง จากการศึกษาพบว่าการยุบตัวแบบแผ่มีค่าลดลงและระยะเวลาการไหล ที่ 50 ซม มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA และคอนกรีตสมรรถนะสูงซึ่งแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วย GBA ร้อยละ 70 โดยน้ำหนักวัสดุประสานและแทนที่มวลรวมละเอียดด้วย SBA ร้อยละ 50 โดยปริมาตรมีกำลังอัดใกล้เคียงกับคอนกรีตควบคุมทุกอายุการทดสอบ สำหรับค่าโมดูลัสยืดหยุ่นมีค่าลดลง ตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA ในขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์และความลึกในการแทรกซึมของคลอไรด์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA ทั้งนี้ค่าความร้อนที่เกิดขึ้นในคอนกรีตมีค่าลดลงตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA โดยการแทนที่ SBA ร้อยละ 50 และ 75 ช่วยลดความร้อนภายในคอนกรีตลงร้อยละ 5 และ 15 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับคอนกรีตควบคุม</p> 2022-09-07T12:45:15+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1720 Combined effects of waste bagasse ash and glass powder on the physical properties and compressive strength of construction bricks 2022-09-20T18:21:34+07:00 Siriwan Artbumrung phonphuak@gmail.com Must Srila phonphuak@gmail.com Anuwat Srisuwan phonphuak@gmail.com Chiawchan Saengthong phonphuak@gmail.com Siwat Lawanwadeekul phonphuak@gmail.com Sibpawishkon Sittiakkaranon phonphuak@gmail.com Nonthaphong Phonphuak phonphuak@gmail.com <p>The present study focused on the physical properties and the compressive strength of fired clay bricks from combined waste bagasse ash (WBA) and glass powder (GP). Clay bricks were fabricated by incorporating WBA at 10, 20, 30, and 40 wt.% in clay mixture, while the constant GP powder was added to 10 wt.%. Green samples were then fired at 900, 1000, and 1100 <sup>o</sup>C. The influences of WBA and GP powder content on the physical properties and the compressive strength were determined. The results showed that an increase of WBA and GP powder content affected the improvement of the structural pores and compressive strength of the fired clay bricks. The fired clay brick should be required a compressive strength value of more than 17.2 MPa as per ASTM C62-13a, which was obtained in 10 wt.% WBA and GP content (17.85 MPa) after firing at 1100 <sup>o</sup>C. As a combined additive, the WBA and GP-powder could be imparted a synergistic effect in producing the sufficiently high strength fired clay brick. The use of wastes WAB and GP powder in manufacturing clay brick is an important step in reducing environmental pollution and protecting natural clay resources.</p> 2022-09-07T12:46:36+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1716 การพัฒนาบล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง ร่วมกับเถ้าเหลือทิ้งจากปาล์มน้ํามัน เพื่อการส่งเสริมการสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะจากธรรมชาติ 2022-09-20T18:21:35+07:00 พิชิต เจนบรรจง Jate@tistr.or.th วุฒินัย กกกําแหง Jate@tistr.or.th สุวัฒน์ชัย ทองน้อย Jate@tistr.or.th องอาจ นวลปลอด Jate@tistr.or.th สารัตน์ นุชพงษ์ Jate@tistr.or.th เจต พานิชภักดี jate@tistr.or.th ศิริพร ลาภเกียรติถาวร Jate@tistr.or.th <p>งานศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาบล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง ร่วมกับเถ้าเหลือทิ้งจากปาล์มน้ํามัน (เถ้าหนัก หรือเถ้าลอย) ที่สามารถป้องกนัการชะล้างหน้าดิน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยที่รากสามารถยึดโยงช้ันดิน เกิดเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะตลิ่งตามธรรมชาติโดยการศึกษาเริ่มจาก การออกแบบรูปทรงบล็อก การศึกษาสัดส่วนผสมเถ้าหนัก หรือเถ้าลอยเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมปาล์มนํ้ามันที่ใช้ในการผลิตบล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง การทดสอบการจําลองน้ําไหลผ่านชั้นบล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่งที่ปูบนผ้ากรอง และการทดสอบการเจริญเติบโตของพืช เมื่อปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ จากการศึกษา พบว่า รูปทรงบล็อกที่ออกแบบ สามารถทนทานต่อการไหลของน้ําที่จําลองขึ้นได้เป็นอย่างดีและภายในรูยังสามารถลดความเร็วของกระแสน้ำได้ร้อยละ 95.2 เมื่อเทียบกับความเร็วของกระแสน้ําที่ไหลผ่านบนผิวบล็อก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการตกตะกอนของดนิ ที่พัดพามากับกระแสน้ํา และลดการกัดเซาะที่จะเกิดขึ้นจากการไหลของกระแสน้ำ โดยบล็อกที่มีสัดส่วนผสมเถ้าหนัก ให้ค่าความต้านทานแรงอัดที่สูงสุด คือ 27.7 เมกะพาสคัล ที่สัดส่วนเถ้าหนักต่อหินฝุ่น ร้อยละ 24 เมื่อนําไปทดสอบหาค่าความต้านทานแรงอัดเทียบกับผันแปรสัดส่วนผสม ในขณะที่บล็อกที่มีสัดส่วนผสมของเถ้าลอย จะมีค่าความต้านทานแรงอัดที่ลดลง เมื่อมีสัดส่วนผสมของเถ้าลอยที่เพิ่มขึ้น โดยบล็อกที่มีสัดส่วนผสมเถ้าลอย ให้ค่าความต้านทานแรงอัดที่สูงสดุ คือ 26.2 เมกะพาสคัลที่สัดส่วนเถ้าลอยต่อหินฝุ่น ร้อยละ 1.66 นอกจากนั้น จากการทดสอบการจําลองน้ําไหลผ่านชั้นบล็อก พบว่า บล็อกป้องกันการกัดเซาะตลิ่งสามารถป้องกันการกัดเซาะดินใต้แนวป้องกันได้เป็นอย่างดีโดยที่บล็อกไม้ยกลอยเนื่องจากการไหลของน้ำ และเม่ือระยะเวลาผ่านไป 1 เดือน จะพบการเจริญเติบโตของ<br>พืชบนบล็อกป้องกันการกดัเซาะตลิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ</p> 2022-09-07T12:48:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1770 Compressive strength and thermal conductivity of concrete containing biochar and porous aggregate 2022-09-20T18:21:36+07:00 Mengty Toeng mengtytoeng@gmail.com Surasak Saelim twc@buu.ac.th Aunchana Kijjanon twc@buu.ac.th Taweechai Sumranwanich twc@buu.ac.th <p>This research aims to study the compressive strength and thermal conductivity of concrete containing rice husk biochar (RB), expanded clay aggregate (CA), and a combination of both RB and CA. Effect of replacement percentage of biochar with binder and porous aggregate by coarse aggregate were investigated. Biochar was prepared by pyrolyzing in a furnace with a temperature of 550°C in steady-state for 8 hours. Water to cement binder was 0.50. The replacement percentage of biochar were 1%, 3%, and 5% by weight of the binder. The replacement of expanded clay aggregates was 50% by volume of coarse aggregate. The test results illustrated that the specimen containing 1% of biochar replacement showed the highest compressive strength as well as the optimum amount of the biochar replacement with the binder. However, the compressive strength of the concrete decreased with the presence of expanded clay aggregate. The concrete containing biochar and expanded clay aggregate improved the thermal properties when compared with controlled concrete.</p> 2022-09-07T12:49:30+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1291 กำลังอัดของปริซึมผนังคอนกรีตมวลเบา เสริมกำลังด้วยเฟอร์โรซีเมนต์และตะแกรงเหล็กฉีก 2022-09-20T18:21:36+07:00 ศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ ปัญญาคะโป phaiboon.pa@spu.ac.th รองศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา ปัญญาคะโป mpanyakapo@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้นำเสนอกำลังอัดของปริซึมผนังคอนกรีตมวลเบาที่เสริมกำลังด้วยเทคนิคเฟอร์โรซีเมนต์เสริมตะแกรงเหล็กฉีก เพื่อปรับปรุงกำลังต้านทานแรงกระทำทางด้านข้างเนื่องจากแรงแผ่นดินไหว&nbsp; โดยใช้ตะแกรงเหล็กฉีก No.22, No.23 XS31, XS32 ที่มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะของการเสริมกำลังที่แตกต่างกัน 4 ขนาด และตะแกรงลวดกรงไก่ (SM) 1 ขนาด เพื่อเปรียบเทียบวิธีการยึดตะแกรงเหล็กกับแผ่นปริซึมคอนกรีตมวลเบาระหว่างวิธีที่ 1 การยึดด้วยสกรูและวิธีที่ 2 การยึดด้วยสลักขันเกลียว การจัดเตรียมตัวอย่างปริซึมและการทดสอบกำลังอัดดำเนินการตามมาตรฐานการทดสอบกำลังอัดของปริซึมผนังก่อ &nbsp;ผลการทดสอบพบว่ากำลังอัดของปริซึมเสริมกำลังด้วยตะแกรงเหล็กฉีกมีค่าสูงกว่ากำลังอัดของผนังที่เสริมด้วยตะแกรงลวดกรงไก่ 56% เมื่อเทียบปริมาณค่าพื้นที่ผิวจำเพาะของตะแกรงที่ใช้เสริมกำลังที่เท่ากัน เนื่องจากตะแกรงเหล็กฉีกมีกำลังดึงสูงกว่าตะแกรงลวดกรงไก่ &nbsp;ผลของการใช้วิธีการยึดตะแกรงเหล็กที่แตกต่างกัน พบว่าวิธียึดตะแกรงด้วยสลักขันเกลียวให้ค่ากำลังอัดสูงกว่าวิธีการยึดด้วยสกรู เนื่องจากสกรูมีการคลายตัวและดีดออกทำให้คลายการยึดจับได้ง่ายกว่าการขันยึดด้วยสลักเกลียว ดังนั้น วิธีขันยึดด้วยสลักเกลียวจึงช่วยทำให้ตะแกรงเหล็กมีประสิทธิภาพการรับกำลังอัดได้ดีกว่าการยึดด้วยสกรู</p> 2022-09-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1774 นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ต้นจากในแผ่นพื้นซีเมนต์ 2022-09-20T18:21:37+07:00 ไตรทศ ขำสุวรรณ trithos@siam.edu ภาคภูมิ มงคลสังข์ phakphumm@yahoo.com สมศักดิ์ ชินวิกัย chinvikkai@hotmail.com <p>โครงงานการศึกษาและวิจัยการนำผลิตภัณฑ์จากต้นจากมาประยุกต์ใช้กับวัสดุแผ่นพื้นซ๊เมนต์ เพื่อแก้ปัญหาใบจากเหลือทิ้ง สร้างมลภาวะให้กับชุมชนบางกอบัว ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งในการศึกษาได้นำผลิตภัณฑ์ใบจากเหลือทิ้งและลูกจากมาเป็นส่วมผสมเพิ่มในเนื้อซีเมนต์เพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดปริมาณเศษใบจากที่สร้างปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว โดยการทดลองและทดสอบการออกแบบสัดส่วนผสมของเศษใบจากที่เหมาะสมกับการผสมในแผ่นพื้นซีเมนต์เพื่อให้ได้ความแข็งแรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม และได้ใช้สีเขียวจากใบจากและสีน้ำตาลจากลูกจากในการทำสีของแผ่นพื้นให้เกิดความสวยงามสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นซ๊เมนต์ได้ด้วย จากการทดสอบค่ากำลังรับแรงอัดตามมาตรฐานการทดสอบ ของแผ่นพื้นซีเมนต์ พบว่าสัดส่วนใบจากที่เหมาะสมควรอยู่อัตราส่วนประมาณ ร้อยละ 3 ถึง 5 เปอร์เซนต์ ของการแทนที่ทรายที่ใช้ผสมต่อหน่วยน้ำหนัก จะสามารถให้ความแข็งแรงและคงทนที่ดี และการย้อมสีจากใบจากและลูกจาก ทำให้ผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นซ๊เมนต์มีความสวยงาม ช่วยลดต้นทุนในการนำสีฝุ่นซึ่งมีราคาที่สูงกว่ามาใช้ ดังนั้นการศึกษานวัดกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ต้นจากในแผ่นพื้นซีเมนต์ จึงเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-07T12:52:11+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1906 การศึกษาสมบัติเชิงกลและกายภาพของอิฐบล็อกคอนกรีตผสมเปลือกหอยเชอรี่และน้ำยางพารา 2022-09-20T18:21:38+07:00 ปิยะฉัตร ศุภวิทยาเจริญกุล piyachat_ann@hotmail.com ลัคนา อนงค์ไชย anujit.ph@up.ac.th อาณัฐพงษ์ ภาระหัส anujit.ph@up.ac.th ธนวดี ละม่อม anujit.ph@up.ac.th ดร.อนุจิตร ภูมิพันธ์ anujit.ph@up.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนำน้ำยางพารา (NA) และเปลือกหอยเชอรี่บด (AS) แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เพื่อผลิตเป็นอิฐบล็อกคอนกรีตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.58-2533 คอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก ในอัตราส่วนเปลือกหอยเชอรี่ร้อยละ 5 และ 10 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และน้ำยางพาราต่อปูนซีเมนต์ 0.05 และ 0.10 โดยน้ำหนักปูนซีเมนต์ ทำการทดสอบกำลังรับแรงอัดที่อายุการบ่ม &nbsp;&nbsp;7, 14 และ 28 วัน ทดสอบค่าหน่วยน้ำหนักและค่าการดูดซึมน้ำ ผลการวิจัยพบว่า NA10AS0, NA5AS10, NA10AS5 และ NA10AS10 ไม่สามารถขึ้นรูปเป็นอิฐบล็อกคอนกรีตได้ อัตราส่วนผสมเปลือกหอยเชอรี่แปลผกผันกับกำลังรับแรงอัดของอิฐบล็อกประสานโดยกำลังรับแรงอัดที่ 28 NA5AS0 และ NA10AS0 ลดลงร้อยละ 52.07 และ 59.55 ตามลำดับ อัตราส่วนน้ำยางพารา NA0AS5 ลดลง 34.30 อัตราส่วนเปลือกหอยเชอรี่และน้ำยางพารา NA5AS5 ลดลงร้อยละ 84.30 หน่วยน้ำหนักของอิฐบล๊อคคอนกรีตเปลือกหอยเชอรี่ NA0AS5, NA0AS10, NA5AS0 และ NA5AS5 อยู่ที่ 1,187-1,607 kg/m³ โดยหน่วยน้ำหนักของอิฐบล๊อคสูงขึ้นโดยแปรผันตรงตามอัตราส่วนผสมเปลือกหอยเชอรี่ ในขณะที่น้ำยางพารา NA5AS0 ในส่วนเปลือกหอยเชอรี่และน้ำยางพารา NA5AS5 จะเพิ่มหน่วยน้ำหนักขึ้นเล็กน้อย ในส่วนร้อยละการดูดซึมน้ำ NA0AS5, NA0AS10, NA5AS0 และ NA5AS5 การดูดซึมน้ำจะอยู่ที่ร้อยละ 6.52-8.20 การดูดซึมจะแปรผันตรงตามอัตราส่วนเปลือกหอยเชอรี่ และแปรผกผันตามอัตราส่วนน้ำยางพารา NA5AS5 การดูดซึมน้ำมีค่าเท่ากับ 7.19 ซึ่งอยู่ระหว่าง NA0AS5 และ NA5AS0</p> 2022-09-07T12:54:40+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1663 คอนกรีตกำลังสูงที่ใช้มวลรวมรีไซเคิลผ่านการปรับปรุงด้วยวิธีคาร์บอเนชั่น 2022-09-20T18:21:39+07:00 อามีน เบ็ญอะฮ์หมัด amin.benahmad11@gmail.com ปกป้อง รัตนชู pokpong.r@pnu.ac.th อรรคเดช อับดุลมาติน akkadath.a@pnu.ac.th วีรชาติ ตั้งจิรภัทร weerachart.tan@kmutt.ac.th ชัย จาตุรพิทักษ์กุล chai.jat@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่น และการหดตัวแบบแห้งของคอนกรีตกำลังสูงที่ใช้ปูนซีเมนต์ผสมเถ้าถ่านหินเป็นวัสดุประสาน ในอัตราส่วนผสม 75:25 โดยน้ำหนัก และแทนที่มวลรวมหยาบธรรมชาติ (NCA) ด้วยมวลรวมหยาบรีไซเคิล (RCA) ที่ผ่านการปรับปรุงด้วยกระบวนการคาร์บอเนชั่น 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 นำมวลรวมหยาบรีไซเคิลอบด้วย &nbsp;โดยตรง (RC) วิธีที่ 2 นำมวลรวมหยาบรีไซเคิลที่ผ่านการแช่สารละลายแคลเซียมคาร์ไบด์แล้วอบด้วย &nbsp;(RCC) และวิธีที่ 3 นำมวลรวมหยาบรีไซเคิลที่ผ่านการแช่สารละลายแคลเซียมคาร์ไบด์ผสมเถ้าถ่านหินแล้วอบด้วย &nbsp;(RCCF) ซึ่งทั้งสามวิธีทำการอบด้วย &nbsp;ที่ระยะเวลา 1, 3 และ 7 วัน จากนั้นนำ RCA ที่มีสมบัติทางกายภาพที่ดีของแต่ละวิธีมาใช้เป็นมวลรวมหยาบในส่วนผสมของคอนกรีต ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุง RCA ทั้งสามวิธีสามารถเพิ่มคุณภาพ RCA ตั้งแต่ระยะเวลาการอบ &nbsp;ที่ 1 วัน และระยะเวลาการอบที่ 7 วัน ให้สมบัติทางกายภาพดีที่สุด ส่วนวิธีการปรับปรุงที่ดีที่สุดคือ วิธี RCCF เมื่อเทียบกับการปรับปรุงอีก 2 วิธี และเมื่อนำ RCA ของแต่ละวิธีที่มาใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีต พบว่า ที่อายุ 28 วัน คอนกรีตที่ใช้มวลรวม RC, RCC และ RCCF มีค่ากำลังอัดสูงกว่าคอนกรีตที่ใช้มวลรวม RCA ที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพร้อยละ 6, 12 และ 14 และค่าโมดูลัสยืดหยุ่นมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2, 5, และ 9 ตามลำดับ นอกจากนี้การใช้มวลรวม RCA ที่ผ่านการปรับปรุงด้วยกระบวนการคาร์บอเนชั่นมีส่วนช่วยให้คอนกรีตมีค่าการหดตัวแบบแห้งที่ลดลง</p> 2022-09-07T12:57:44+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1476 การศึกษามอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเองจากกระบวนการชักนำการเกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต 2022-09-20T18:21:40+07:00 สทารัชว์ เพียรเฟื่องฟู satharat.p@gmail.com สุมนต์ทิพย์ คงตันจันทร์ฟัก sumonthip.k@sci.kmutnb.ac.th ปิติ สุคนธสุขกุล piti@kmutnb.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการนำกระบวนการชักนำการเกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตจากจุลชีพ มาประยุกต์ใช้ในการซ่อมแซมรอยร้าวในมอร์ตาร์ แบคทีเรียที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบคทีเรียสายพันธุ์บริสุทธิ์จำนวน 5 สายพันธุ์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้แก่สายพันธุ์ Bacillus thuringiensis TISTR 126, Bacillus megaterium TISTR 067, Bacillus sp. TISTR 658, Proteus mirabilis TISTR 100 แ ละ Staphylococcus aureus TISTR 118 โดยเริ่มงานวิจัยจากการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีปริมาณการเกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่สูง ปริมาณเอนไซม์ยูรีเอสสูง และต้องเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อโรคในมนุษย์ จากการทดสอบจึงสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ของแบคทีเรียข้างต้นได้คือสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis TISTR 126 โดยนำสายพันธุ์ที่มีการผลิตตะกอนดังกล่าวข้างต้น มาประยุกต์ซ่อมแซมรอยร้าวด้วยวิธีการฉีดสารละลายบัฟ เฟอร์ สารละลายแขวนลอยแบคทีเรีย และสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ลงในรอยร้าวของมอร์ตาร์ตามลำดับทุกวันเป็นเวลา 28 วัน โดยทำรอยร้าวด้วยแผ่นพลาสติกบางซึ่งมีขนาดของรอยร้าวกว้าง0.2 มิลลิเมตร หลังจากตัวอย่างมอร์ตาร์ผ่านกระบวนการซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว ทำการทดสอบค่าการดูดซึมน้ำ กำลังรับแรงอัด และสังเกตปริมาณการซ่อมแซมปิดผิวรอยร้าว แสดงผลออกมาเป็นความสัมพันธ์ของค่าที่ทดสอบกับจำนวนวันที่ใช้ในการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยแบคทีเรีย</p> 2022-09-07T13:39:25+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1869 ผลกระทบของแคลเซียมสเตียเรตที่มีต่อกำลังอัดและการดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์ที่ไม่ชอบน้ำ 2022-09-20T18:21:41+07:00 ศศิธร ดิษเจริญ aquanaam@gmail.com ทวิช พูลเงิน tawich.pul@kmutt.ac.th อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์ ubolluk@buu.ac.th วีรชาติ ตั้งจิรภัทร weerachart.tan@kmutt.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอผลของการใช้แคลเซียมสเตียเรต (CS) ซึ่งเป็นสารผสมเพิ่มกันน้ำที่มีต่อกำลังอัดการดูดซึมน้ำและมุมผิวสัมผัสของมอร์ต้าร์ โดยแปรเปลี่ยนปริมาณ CS ตั้งแต่ร้อยละ 0-15 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ผลจากการทดสอบพบว่าปริมาณของ CS ที่เพิ่มขึ้นมีผลให้กำลังอัดของมอร์ต้าร์ลดลง โดยการใส่ CS ในปริมาณร้อยละ 5 (CT-CS5) และร้อยละ 15 (CT-CS15) ทำให้กำลังอัดที่อายุ 28 วัน ลดลงร้อยละ 11 และร้อยละ 30 ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับ CT-CS0 ในขณะที่อัตราการดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์ที่มีปริมาณ CS ร้อยละ 9 (CT-CS9) ลดลงถึงร้อยละ 90 เมื่อเปรียบเทียบกับ CT-CS0 นอกจากนี้การวัดมุมผิวสัมผัสของ CT-CS9 ยังชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบน้ำของมอร์ต้าร์อีกด้วยโดยมีมุมผิวสัมผัสมีค่ามากกว่า 90 ํ</p> 2022-09-07T14:06:14+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1661 การปรับปรุงคุณภาพเศษคอนกรีตด้วยไฮดรอลิกซีเมนต์สำหรับวัสดุงานทาง 2022-09-20T18:21:41+07:00 กมลวรรณ วงษ์ขันธ์ kamonwan.wong62@sskru.ac.th กฤษฎา บุญรัตน์ kritsada.boon62@sskru.ac.th ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โชคชัย ไตรยสุทธิ์ c.traiyasut@sskru.ac.th <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านกำลังอัดแบบไม่ถูกจำกัดของเศษคอนกรีตที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยซีเมนต์ไฮดรอลิก เพื่อใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างทาง ใช้เศษคอนกรีตบดละเอียดที่มีขนาดคละตามมาตรฐานของกรมทางหลวง กำหนดปริมาณไฮดรอลิกซีเมนต์ 1%, 2%, 3%, 4% และ 5% โดยน้ำหนัก ทำการทดสอบตัวอย่างแบบสูงกว่ามาตรฐานเพื่อหาปริมาณความชื้นที่เหมาะสม นำตัวอย่างไปบ่มที่อุณหภูมิห้อง 7 และ 14 วัน หลังจากนั้นนำไปแช่น้ำ 2 ชั่วโมงและนำมาทดสอบกำลังอัดแบบไม่ถูกจำกัด (Unconfined compressive strength, UCS) ตามมาตรฐานการออกแบบชั้นทางของกรมทางหลวง ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณความชื้นที่เหมาะสมในการบดอัดที่ร้อยละ 12 กำลังอัดของเศษคอนกรีตมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณไฮดรอลิกที่ซีเมนต์และอายุการบ่มที่มากขึ้น โดยมีกำลังอัดสูงสุดที่ปริมาณซีเมนต์ไฮดรอลิก 5% อายุการบ่ม 14 วัน มีค่าเท่ากับ 49.0 ksc และปริมาณไฮดรอลิกซีเมนต์ที่เหมาะสมในการออกแบบและใช้เป็นชั้นรองพื้นทางตามมาตรฐาน ทล.-ม 204/2556 อยู่ที่ ร้อยละ 2.5 ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า เศษคอนกรีตเหลือทิ้งที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยไฮดรอลิกซีเมนต์ผ่านเกณฑ์วัสดุชั้นรองพื้นทางของกรมทางหลวง ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำเศษคอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยไฮดรอลิกซีเมนต์นำกลับมาใช้ในการก่อสร้างชั้นรองพื้นทาง</p> 2022-09-07T14:07:59+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1636 อิทธิพลของสารพอลิเมอร์ดูดซับขั้นพิเศษและไมโครแคปซูลสปอร์แบคทีเรียต่อสมบัติเชิงกายภาพและเชิงกลของส่วนผสมมอร์ตาร์ 2022-09-20T18:21:42+07:00 ณัฏฐชัย ทรัพย์วิไล natachai_S@hotmail.com ภัทรพล จินดาศิริพันธ์ pattharaphon.c@chula.ac.th พิชชา จองวิวัฒสกุล pitcha.j@chula.ac.th วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี wiboonluk@hotmail.com สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง fceslk@eng.chula.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติเชิงกายภาพและเชิงกลของมอร์ตาร์ที่ใช้สารพอลิเมอร์ดูดซับขั้นพิเศษ (SAP) ร่วมกับไมโครแคปซูลสปอรแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกระบวนการการชักนำการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต (MICP) โดยปริมาณไมโครแคปซูลสปอร์แบคทีเรียที่ใช้คือ0.25% 0.5% และ 1.0% ของน้ำหนักของซีเมนต์ และมีการควบคุมปริมาณสารพอลิเมอร์ดูดซับขั้นพิเศษไว้ที่ 4% ของน้ำหนักซีเมนต์ จากการศึกษาพบว่าค่าการไหลแผ่ของมอร์ตาร์ที่ใส่สารพอลิเมอร์ดูดซับขั้นพิเศษ 4%ควบคู่กับไมโครแคปซูลสปอร์แบคทีเรียและสารอาหารสามารถรักษาค่าการไหลแผ่ให้อยู่ในช่วงมาตรฐาน ASTM C109M สำหรับการศึกษาด้านกำลังรับแรงอัดที่อายุ 28 วัน ตัวอย่างมอร์ตาร์ที่ใส่สารพอลิเมอร์ดูดซับขั้นพิเศษ 4%ควบคู่กับปริมาณไมโครแคปซูลสปอร์แบคทีเรีย 0.25% และสารอาหารมีกำลังอัดที่เทียบเท่ากับตัวอย่างมอร์ตาร์ที่ใส่เพียงสารพอลิเมอร์ดูดซับขั้นพิเศษและสารอาหาร หรือตัวอย่างมอร์ตาร์ที่ใส่เพียงไมโครแคปซูลสปอร์แบคทีเรียและสารอาหาร ดังนั้นการใช้สารพอลิเมอร์ดูดซับขั้นพิเศษร่วมกับไมโครแคปซูลสปอร์แบคทีเรียในมอร์ตาร์จึงเป็นการปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลและกายภาพของมอร์ตาร์ได้อย่างเหมาะสมในขณะที่ยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดประสิทธิภาพในด้านการซ่อมแซมตัวเองได้ในอนาคต</p> 2022-09-07T14:11:45+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1639 Study of Mechanical Properties for Masonry Produced Using Hemp Shive and Lime in the form of Interlocking Blocks 2022-09-20T18:21:43+07:00 Teerawat Sinsiri pthaiying@gmail.com Komchai Thaiying pthaiying@gmail.com Sudniran Phetcharat pthaiying@gmail.com <p>This objective of this article was to present a production method for masonry that uses hemp shiv, lime and water as the composition for interlocking blocks. The aim was to identify the best condition for substituting lime with hemp shiv as much as possible in order to develop energy efficient construction material. The tests performed included water absorption, dry density test, and compressive test according to the TIS109-2517. Comparisons were made for samples containing hemp at 100, 200, 300, and 400 grams per block or from 2.86 – 26.67 per cent alternative material per block. It was found that the use of lime as the binding material for hemp shiv resulted with interlocking blocks with good physical appearance. However, there are limitations on strength and water absorption properties. All of the conditions tested resulted with a compressive strength of less than 0.5 MPa and the water absorption test was not able to be carried out. The results of this research indicated that for the production of interlocking hempcrete blocks using only lime as the binding material had limitations on its strength and can not be used in construction work. Cement is still required as binding material for this purpose.</p> 2022-09-07T14:13:21+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1629 การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของผ้ากระสอบเส้นใยธรรมชาติผสมน้ำยางพาราธรรมชาติ 2022-09-20T18:21:43+07:00 อริสมันต์ แสงธงทอง bas_kate_007@hotmail.com พินิศ รัตนปรมากุล pinitrutt@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุคอมโพสิตเสริมแรงด้วยผ้ากระสอบเส้นใยธรรมชาติผสมน้ำยางพาราธรรมชาติในสภาพแวดล้อมปกติ โดยใช้น้ำยางพาราสดและน้ำหมักผลไม้จากพื้นที่ ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เพื่อทำเป็นวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นผลผลิตจากธรรมชาติ 100% โดยดำเนินการผสมน้ำยางพาราสดต่อน้ำหมักผลไม้ ที่อัตราส่วน 100:0, 95:5, 90:10, 85:15, 80:20 โดยน้ำหนัก นำไปประสานผ้ากระสอบเส้นใยธรรมชาติ และให้คงรูปด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 ปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติ วิธีที่ 2 อบด้วยเตาอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที และวิธีที่ 3 อบด้วยเตาอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที จากนั้นนำชิ้นงานไปทดสอบสมบัติความสามารถในการต้านทานแรงดึง โดยยางพาราขึ้นรูปอ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM D412 ในขณะที่วัสดุคอมโพสิต อ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM D3039 และสัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้ำ อ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM D5084 และ ASTM D5856 ผลการทดสอบสมบัติความสามารถในการต้านทานแรงดึงของยางพาราขึ้นรูป พบว่า ทุกอัตราส่วนมีแรงดึงใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกันที่การยืดตัว โดยอัตราส่วน 90:10 โดยน้ำหนักมีการยืดตัวมากที่สุด รองลงมาเป็นชิ้นงานที่มีอัตราส่วน 95:5, 85:15, 100:0, 80:20 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ในส่วนวัสดุคอมโพสิตการยืดตัวมีอัตราใกล้เคียงกันแต่แตกต่างกันที่ความสามารถในการต้านทานแรงดึง โดยอัตราส่วน 95:5 โดยน้ำหนัก มีแรงดึงมากที่สุด รองลงมาเป็นชิ้นงานที่มีอัตราส่วน 85:15, 90:10, 100:0, 80:20 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เมื่อพิจารณาแรงดึงจากการปรับปรุงคุณภาพยาง พบว่า วิธีอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาทีให้ค่าการต้านทานแรงดึงสูงสุด รองลงมาเป็นชิ้นงานที่อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที และปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติให้ค่าความต้านทานแรงดึงต่ำสุด ในส่วนสัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้ำ พบว่า ทุกอัตราส่วนมีสัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้ำต่ำมาก หรือไม่มีการสูญเสียน้ำ</p> 2022-09-07T14:14:54+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1683 แผ่นฝ้าเพดานยิปซัมผสมเส้นใยทะลายปาล์มเพื่อการป้องกันความร้อน 2022-09-20T18:21:44+07:00 ฟิตตรี ยูโซ๊ะ krittiya.ongw@pnu.ac.th ลุฏฟี ดอเลาะ krittiya.ongw@pnu.ac.th ซามียะห์ สะมะแอ krittiya.ongw@pnu.ac.th กฤติยา อ่องวุฒิวัฒน์ krittiya.ongw@pnu.ac.th อรรคเดช อับดุลมาติน krittiya.ongw@pnu.ac.th เพ็ญพิชชา สนิทอินทร์ krittiya.ongw@pnu.ac.th <p class="Contentnew">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสมบัติการป้องกันความร้อนของแผ่นฝ้าเพดานยิปซัมผสมเส้นใยทะลายปาล์ม โดยใช้เส้นใยทะลายปาล์มที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปาล์มไบโอดีเซล ศึกษาการนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์แผ่นฝ้าเพดานยิปซัม กำหนดอัตราส่วนของปูนยิปซัมพลาสเตอร์ต่อน้ำเท่ากับ 1:0.7 และแทนที่เส้นใยทะลายปาล์มในอัตรา 0, 3, 4, และ 5% โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เป็นแผ่นฝ้าเพดาน ขนาด 30 x 30 x1 เซนติเมตร และ 40 x 30 x 1 เซนติเมตร ทำการทดสอบแผ่นต้นแบบตามมาตรฐาน มอก. 219-2552 ใช้แผ่นฝ้าเพดานในการทดสอบที่อายุ 7 และ 14วัน ผลการทดสอบพบว่า แผ่นฝ้าเพดานที่มีปริมาณเส้นใยทะลายปาล์มมากจะมีแรงกดตามยาว แรงกดตามขวางและการเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี อย่างไร<br>ก็ตามการทดสอบตัวอย่างแผ่นฝ้าเพดานอัตราส่วนที่มีเส้นใยทะลายปาล์มในปริมาณ 4% เป็นอัตราการแทนที่เส้นใยทะลายปาล์มที่เหมาะสม เนื่องจากมีค่าในการรับแรงกดแตกตามยาว แรงกดแตกตามขวางมากที่สุด นอกจากนี้ความสามารถในการป้องกันความร้อนจะแปรผกผันกับปริมาณการแทนที่ของเส้นใยทะลายปาล์ม โดยการใช้เส้นใยทะลายปาล์มในปริมาณ 5 % มีความสามารถในการลดความร้อนสูงที่สุด แต่ยังต้องการการพัฒนาคุณสมบัติต่อไป</p> 2022-09-07T14:16:25+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1657 ปรับปรุงสมบัติเชิงกลของบล็อกประสานด้วยวัสดุชีวภาพที่เหลือทิ้ง 2022-09-20T18:21:45+07:00 สุดนิรันดร์ เพชรัตน์ sudniran@g.swu.ac.th รุ่งอรุณ บุญถ่าน roongarun@gmail.com รุ่งโรจน์ รุ่งโรจน์ Rungrojr@g.swu.ac.th ปกรณ์ภัทร บุดชา pagornphat.bud@g.swu.ac.th อิทธิพร ศิริสวัสดิ์ Ittiporn@g.swu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดน้้าหนักบล็อกประสานด้วยวัสดุชีวภาพที่เหลือทิ้ง และพัฒนาให้มีสมบัติทางวิศวกรรม ตามมาตรฐาน มผช.602/2547ประเภทอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้้าหนัก เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาให้เป็นวัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงาน ขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากผลิตบล็อกประสานด้วยดิน ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และน้้า จากนั้นปรับปรุงสมบัติด้วยวัสดุชีวภาพเหลือทิ้ง 5 ชนิด คือ กระดาษเหลือทิ้ง ขุยมะพร้าว ฟาง แกลบ และแกลบละเอียด ทดสอบสมบัติตามมาตรฐาน มอก.109-2517 ประกอบด้วย การดูดกลืนน้้า ความหนาแน่นแห้ง และความต้านแรงอัด จากการทดสอบพบว่า บล็อกประสานที่ปรับปรุงด้วยแกลบละเอียดด้วยอัตราส่วนโดยน้้าหนักของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 : ดิน : แกลบละเอียด เท่ากับ 1:2:0.5และปริมาณความชื้น 14.29% เป็นตัวอย่างที่มีสมบัติตามมาตรฐานประเภทอิฐบล็อกประสาน ชนิดไม่รับน้้าหนัก โดยมีความต้านแรงอัด 3.6 เมกะปาสคาลมีการดูดกลืนน้้า 245 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความหนาแน่นแห้ง 1,286 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีน้้าหนักน้อยกว่าบล็อกประสาน 27.06% จากผลวิจัยสรุปได้ว่าการปรับปรุงสมบัติของบล็อกประสานด้วยแกลบละเอียดท้าให้บล็อกประสานมีน้้าหนักเบา สามารถใช้เป็นวัสดุก่อตามเกณ์์มาตรฐาน และเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็นวัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงานต่อไป</p> 2022-09-07T14:18:16+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1885 อิทธิพลของความเข้มข้นของโพลีเอทิลีนไกลคอลต่อกำลังอัดของคอนกรีต 2022-09-20T18:21:46+07:00 ณัชพล บุญเรืองศรี Nuchapal.bo@rmuti.ac.th เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ Nuchapal.bo@rmuti.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดของคอนกรีตปรับปรุงด้วยโพลีเอทิลีนไกลคอล (PEG) โดยใช้ความเข้มข้นของโพลีเอทิลีนไกลคอล (PEG) ร้อยละ 2.5, 5, 7.5 และ 10 ค่ากำลังอัดของคอนกรีตควบคุมเท่ากับ 320 ksc ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง งานวิจัยนี้ทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตปรับปรุงด้วยโพลีเอทิลีนไกลคอลที่อายุบ่ม 7 และ 28 วัน ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ค่ายุบตัวเมื่อใส่สาร PEG จะได้ค่ายุบตัวเท่ากับ 3, 3, 5.5, 6 และ 12 เซนติเมตร และความเข้มข้นเท่ากับ 0, 2.5, 5, 7.5 และ 10%ตามลำดับ และหน่วยน้ำหนักคอนกรีตที่อายุ 28 วันและความเข้มข้นเท่ากับ 0, 2.5, 5, 7.5 และ 10% ของวัสดุ PEG มีค่าเท่ากับ 2446, 2448, 2363, 2405 และ 2328 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คอนกรีตที่อายุ 7 วัน และความเข้มข้นเท่ากับ 0, 2.5, 5, 7.5 และ 10% ของวัสดุ PEG มีค่าเท่ากับ 304, 254, 227, 211, 180 ksc ตามลำดับ และคอนกรีตที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 432, 321, 292, 212 และ 196 ksc ตามลำดับ</p> 2022-09-07T14:19:57+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1775 การศึกษาประสิทธิภาพจากเส้นใยขยะกล่องเครื่องดื่มแบบพันเกลียวในการขึ้นรูปแผ่นซีเมนต์บอร์ด 2022-09-20T18:21:46+07:00 ปิยรัตน์ เปาเล้ง ppaoleng@gmail.com ปรัชญา ยอดดำรงค์ piyarat.p@fte.kmutnb.ac.th ศักดา กตเวทวารักษ์ piyarat.p@fte.kmutnb.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอการศึกษาประสิทธิภาพจากเส้นใยขยะกล่องเครื่องดื่มแบบพันเกลียวในการขึ้นรูปแผ่นซีเมนต์บอร์ดสำหรับการใช้งานภายในอาคาร โดยทำการขึ้นรูปแผ่นซีเมนต์บอร์ดความหนาแน่น(Density) 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อัตราส่วนระหว่างปอร์ตแลนด์ซีเมนต์และปริมาณเส้นใยสําหรับการผสมขึ้นรูป 2 ส่วนผสมคือ 80:20 และ 70:30 โดยน้ำหนักและใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.6 ขึ้นรูปจากแบบสำหรับทำแผ่นซีเมนต์บอร์ดขนาด กว้าง 30 ซม. ยาว 30 ซม. หนา 2 ซม. และดำเนินการทดสอบตามข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม แผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์ความหนาแน่นสูง มอก. 878-2532 ประกอบด้วย มอดุลัสแตกหัก(MOR) มอดุลัสยืดหยุ่น(MOE) การดูดซึมน้ำ (WA) การพองตัว (TS) รวมถึงความต้านทานต่อการเผาไหม้ของแผ่นซีเมนต์บอร์ด จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าแผ่นซีเมนต์บอร์ดพัฒนาจากการผสมเส้นใยขยะกล่องเครื่องดื่มที่มีสัดส่วนซีเมนต์ต่อเส้นใยเท่ากับ 70:30 แบบ 2 เกลียว มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติทางกลและกายภาพมีความเป็นไปได้ในการนําไปประยุกต์ใช้กับงานภายในอาคาร</p> 2022-09-07T14:21:41+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1486 กำลังของคอนกรีตผสมเถ้าไม้ยางพาราสำหรับชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูป 2022-09-20T18:21:47+07:00 ทวีศักดิ์ ทองขวัญ thaweesak.t@rmutsv.ac.th นันทชัย ชูศิลป์ nuntachai.c@rmutsv.ac.th จุฑามาศ ลักษณะกิจ l.chuthamart@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังต้านทานแรงอัด แรงดัด และแรงดึง ของคอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยจากขี้เถ้าไม้ยางพารา (เถ้าลอยไม้ยางพารา) แทนที่ปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วนร้อยละ 10, 20, 30 และ 40 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน และใช้เศษพลาสติกย่อยแทนที่มวลรวมที่อัตราส่วนร้อยละ 25 โดยปริมาตรของส่วนผสมทั้งหมด ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.50 และใส่น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก เพื่อควบคุมค่ายุบตัวและความสามารถเทได้ของคอนกรีต ทำการทดสอบกำลังต้านทานแรงอัด กำลังต้านทานแรงดัด และกำลังต้านทานแรงดึงแบบผ่าฉีก ตามมาตรฐาน ASTM C39, ASTM C 78 และ ASTM C 496 ตามลำดับ จากผลการวิจัย พบว่า ปริมาณเถ้าลอยไม้ยางพารามีผลทำให้หน่วยน้ำหนักของคอนกรีตลดลง โดยอยู่ในช่วง 2,100 – 2,200 กก./ม.<sup>3</sup>ผลการทดสอบกำลังต้านทานแรงอัด แรงดัด และแรงดึง ที่อายุบ่ม 28 วัน มีค่าลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณของเถ้าลอยจากไม้ยางพาราในส่วนผสมคอนกรีต อย่างไรก็ตาม คอนกรีตที่ผสมเถ้าลอยไม้ยางพาราร้อยละ 20 สามารถรับกำลังต้านทานแรงอัดเฉลี่ย 209 กก./ซม.2 ซึ่งผ่านเกณฑ์ของ มยผ.1101-64 ใช้เป็นคอนกรีตสำหรับชิ้นส่วนสำเร็จรูปได้</p> 2022-09-07T14:25:39+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1620 แผ่นซีเมนต์มอร์ตาร์พิมพ์ลายผสมทรายทะเล 2022-09-20T18:21:48+07:00 ถาวร เกื้อสกูล tavorn.k@rmutsv.ac.th จรูญ เจริญเนตรกุล charoon.c@rmutsv.ac.th <p>งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการนำทรายทะเลมาใช้ในงานซีเมนต์มอร์ตาร์พิมพ์ลาย มีอัตราส่วนผสมของปูนซีเมนต์ต่อทรายทะเลเท่ากับ 30:70, 40:60, 50:50, 60:40 และ 70:30 โดยน้ำหนัก และอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.40 โดยทดสอบสมบัติทางกลด้วยการหาค่าการรับกำลังอัดของมอร์ตาร์ ที่อายุการบ่ม 28 วัน พบว่า อัตราส่วน 70:30 สามารถรับกำลังอัดได้สูงสุดเท่ากับ 49.35 เมกะปาสคาล รองลงมาคือ 60:40 รับกำลังอัดได้เท่ากับ 47.32 เมกะปาสคาล อัตราส่วนที่รับกำลังอัดได้น้อยที่สุดคือ 30:70 รับกำลังอัดได้เท่ากับ 28.45 เมกะปาสคาล จากการตรวจพินิจคุณภาพตัวอย่างพบว่าลักษณะของพื้นผิวแผ่นซีเมนต์มอร์ตาร์พิมพ์ลายผสมทรายทะเลที่อัตราส่วน 60:40 มีความสวยงามของผิวมากที่สุด รองลงมาคือ 50:50 และ 30:70 ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการทดสอบการดูดซึมน้ำและทดสอบกำลังต้านทานแรงดัดตามขวางของอัตราส่วนผสมซีเมนต์มอร์ตาร์พบว่ามีเพียงที่อัตราส่วนผสม 50:50 มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ มอก.826-2531 จึงมีความเหมาะสมมากที่สุดที่จะนำมาใช้เป็นอัตราส่วนผสมของมอร์ตาร์สำหรับทำแผ่นพื้นซีเมนต์มอร์ตาร์พิมพ์ลาย</p> 2022-09-07T14:37:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1502 การศึกษาผลกระทบของพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดต่อการเป็นวัสดุบ่มภายในของคอนกรีตชนิดไหลอัดแน่นได้ด้วยตัวเอง 2022-09-20T18:21:48+07:00 ศิวกร จิตร์ถาวรมณี meemiind_129@hotmail.com วิชชา สิงหวรรณุรัตน์ witchaohm@gmail.com วิชนาถ พึ่งมั่น meemiind_129@hotmail.com ปัทมวรรณ บุญญา pattamawan.26@mail.kmutt.ac.th วีรชาติ ตั้งจิรภัทร weerachart.tan@gmail.com พิชชา จองวิวัฒสกุล pitcha.j@chula.ac.th ภัทรพล จินดาศิริพันธ์ meemiind_129@hotmail.com <p>บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้พอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดในคอนกรีตชนิดไหลอัดแน่นได้ด้วยตัวเองที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าก้นเตาบดละเอียดร้อยละ 70 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน โดยในงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้พอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดขนาดอนุภาค 300-800 ไมครอน และมีความสามารถในการดูดซับน้ำได้สูงสุด เท่ากับ 220 เท่าเทียบกับน้ำหนักของพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวด มาใช้เป็นวัสดุบ่มภายใน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การศึกษา 3 หัวข้อ ได้แก่ วิธีการผสมปริมาณในการผสม และการดูดซับสารละลายแทนที่น้ำของพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวด ทำการทดสอบกำลังอัดและการรักษารอยร้าวด้วยตัวเองของมอร์ต้าร์และคอนกรีตที่มีการผสมพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวด จากการศึกษาพบว่ากำลังอัดของมอร์ต้าร์ที่มีการผสมพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดมีค่าต่ำลงเมื่อมีปริมาณของพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดมากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อมีการดูดซับสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์แทนที่การดูดซับน้ำของพอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดให้ผลที่ดีขึ้นในด้านกำลังอัด นอกจากนี้พอลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวดสามารถรักษารอยร้าวขนาดเล็กได้สูงถึงร้อยละ 97 ภายใน 8 วัน และสามารถรักษารอยร้าวได้สมบูรณ์ภายใน 28 วัน ภายใต้เงื่อนไขการแช่น้ำอย่างต่อเนื่องหลังจากเกิดรอยร้าว</p> 2022-09-07T15:10:48+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1303 แผ่นไม้ไผ่สานกันความร้อนจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมน้ำยางพารา 2022-09-20T18:21:49+07:00 เปรมณัช ชุมพร้อม premmanat.c@rmutsv.ac.th จรูญ เจริญเนตรกุล charoon.c@rmutsv.ac.th วรรธนพร ชีววุฒิพงศ์ c.watthanaphon@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตแผ่นไม้ไผ่สานกันความร้อนจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมน้ำยางพารา เป็นการนำขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับน้ำยางพารา ประกบด้วยแผ่นไม้ไผ่สานทั้งด้านบนและด้านล่างลักษณะคล้ายแซนวิช โดยใช้น้ำยางพาราเป็นวัสดุเชื่อมประสานระหว่าง ขี้เลื่อยไม้ยางพารากับแผ่นไม้ไผ่สาน ชิ้นงานมีขนาดกว้าง 30 cm ยาว 30 cm ความหนา 1 cm ด้วยกระบวนการอัดขึ้นรูปด้วย สัดส่วนของวัสดุผสม (น้ำยางพาราต่อขี้เลื่อย) 5 สัดส่วน ประกอบด้วย RS20 (20: 100) RS24 (24: 100) RS28 (28: 100) RS32 (32: 100)&nbsp; และ RS36 (36: 100) ผลการทดสอบพบว่า RS28 RS32 และ RS24 สามารถรับแรงกดแตกได้สูงสุด 3,724 N 3,128 N และ 3,112 N ตามลำดับ RS32 RS36 และ RS24 มีค่าการพองตัวตามความหนาหลังแช่น้ำสูงสุดร้อยละ 7.15 6.82 และ 6.76 ตามลำดับ จากผลการทดสอบสมบัติเชิงความร้อน RS20 RS28 และ RS36 มีค่าสภาพนำความร้อน 0.076 w/m.k 0.077 w/m.k และ 0.077 w/m.k ตามลำดับ และมีค่าต้านทานความร้อน 0.166 m<sup>2</sup>.K/W 0.174 m<sup>2</sup>.K/W และ 0.172 m<sup>2</sup>.K/W ตามลำดับ ซึ่งแผ่นไม้ไผ่สานทั้ง 3 สัดส่วน ผ่านค่ามาตรฐาน JIS A 5908:2003 Type 8 (Insulation Board) จากการวิจัยแผ่นไม้ไผ่สานกันความร้อนจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมน้ำยางพารา สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการผลิตชิ้นงานต้นแบบ แผ่นผนังเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีต้นทุนการผลิต 370 บาทต่อตารางเมตร</p> 2022-09-07T15:11:43+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1456 การประเมินกำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้ผิวทางแอสฟัลต์รีไซเคิลเป็นมวลรวมหยาบ 2022-09-20T18:21:50+07:00 ศิริวุฒิ อนุศาสนรักษ์ siriwuttop@gmail.com จักษดา ธำรงวุฒิ jaksada.th@rmuti.ac.th พงศ์ธาดา กาตาสาย pongtada.1997@gmail.com เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ cherdsak.su@rmuti.ac.th ชยกฤต เพชรช่วย chayakrit.pe@rmuti.ac.th <p>บทความนี้ศึกษากำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้ผิวทางหยาบแอสฟัลต์รีไซเคิล (coarse recycled asphalt pavement, coarse RAP) แทนที่มวลรวมหยาบปริมาณร้อยละ 5, 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45 และ 50 โดยน้ำหนัก กำลังรับแรงอัดของคอนกรีตถูกออกแบบตามมาตรฐาน ACI 211.1 มีค่าเท่ากับ 25 MPa 32 MPa และ 40 MPa ที่อายุบ่ม 28 วัน กำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้ Coarse RAP เป็นมวลรวมหยาบถูกนำมาเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่ใช้มวลรวมธรรมชาติ จากการทดสอบพบว่า กำลังรับแรงอัดของคอนกรีตที่ใช้ผิวทางหยาบแอสฟัลต์รีไซเคิลขึ้นกับปริมาณการแทนที่ Coarse RAP โดยผลการทดสอบยังระบุว่ากำลังรับแรงอัดมีค่าลดลงอย่างเป็นระบบตามปริมาณ Coarse RAP ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้คอนกรีตที่ใช้ Coarse RAP เป็นมวลรวมหยาบที่อัตราส่วนการแทนที่ต่าง ๆ จะถูกเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่ใช้มวลรวมธรรมชาติเพื่อนำเสนอสมการทำนายกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตที่ใช้ Coarse RAP เป็นมวลรวม โดยสมการคณิตศาสตร์ถูกนำเสนอเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตที่ใช้ผิวทางหยาบแอสฟัลต์รีไซเคิลต่อคอนกรีตที่ใช้มวลรวมธรรมชาติและปริมาณการแทนที่ Coarse RAP สุดท้ายสมการที่นำเสนอในงานวิจัยจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่ผ่านมา</p> 2022-09-07T15:12:40+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1361 การประเมินคุณภาพของอิฐมอญที่ผลิตในพื้นที่จังหวัดกลุ่มสนุก 2022-09-20T18:21:51+07:00 ก้องรัฐ นกแก้ว kongrat@npu.ac.th ศราวุธ ไผ่แก้ว sarawoot_phi@hotmail.com คมศักดิ์ หารไชย komsak.npu@gmail.com เมธากุล มีธรรม may.metham@gmail.com นาถ สุขศีล nartsooksil@npu.ac.th <p>งานวิจัยนี้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลตัวอย่างอิฐมอญที่ผลิตในเขต 3 จังหวัดกลุ่มสนุก ทดสอบคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. 153-2540 และ มผช. 601/2547 เพื่อใช้เป็นข้อมูลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์อิฐมอญที่ผลิตได้จากกลุ่มตัวอย่างพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง/พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานข้างต้น ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และช่วยให้ชุมชนและผู้ประกอบการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ผลการทดสอบคุณสมบัติด้านมิติขนาดของอิฐมอญที่ผลิตได้จากกลุ่มตัวอย่างยังคงเป็นปัญหาหลักที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้ค่าความคลาดเคลื่อนของมิติด้านขนาดต่าง ๆ ไม่เกินจากที่เกณฑ์ระบุไว้ ส่วนการทดสอบการดูดกลืนน้ำของอิฐนั้นมีค่าที่อยู่ภายใต้เกณฑ์กำหนดไว้ทุกกลุ่มตัวอย่าง ค่าความสามารถ<br>ในการต้านทานกำลังอัดนั้นมี 2 แหล่งผลิตจาก 4 แหล่งผลิตที่สามารถเข้าเกณฑ์มาตรฐาน มผช. ได้ ทั้งนี้ผลการศึกษาที่ได้สามารถสรุปเป็นแนวทางในการปรับปรุง/พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้การปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมวิธีการที่น้อยที่สุดเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานโดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มแนวทาง</p> 2022-09-07T15:13:46+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1916 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจยื่นประมูลงานของผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย กรณีศึกษาจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร 2022-09-20T18:21:51+07:00 รศ.ดร.วิรัช หิรัญ wirach.hi@ku.th ผศ.ฐิตาภรณ์ พ่อบุตรดี titaporn.pob@ku.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจยื่นประมูลงานของผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รับเหมาในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร จำนวน 86 ราย ทำการสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามถึงความสำคัญของปัจจัยด้านต่างๆ จำนวน 20 ปัจจัย และทำการวิเคราะห์ลำดับความสำคัญโดยใช้ดัชนีชี้วัดลำดับความสำคัญสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในการพิจารณายื่นประมูลงานสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เงินทุนหมุนเวียน 2) ปริมาณงานในปัจจุบัน และ 3) อัตราผลตอบแทน โดยผลการทดสอบทางสถิติพบว่าความคิดเห็นของผู้รับเหมาก่อสร้างที่ประสบการณ์แตกต่างกันและมีเงินทุนในการดำเนินการต่างกันให้ความเห็นในประเด็นความสำคัญเรื่องเงินทุนหมุนเวียนและอัตราผลตอบแทนไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ผลการศึกษาเป็นข้อมูลสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อยในการพัฒนาระบบการตัดสินใจยื่นประมูลงานให้มีประสิทธิภาพได้</p> 2022-09-19T23:03:54+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1898 การสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ จากการเก็บข้อมูลงานก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2022-09-20T18:21:52+07:00 ผศ.อิทธิพงศ์ พันธ์นิกุล ittiphong.p@ubu.ac.th ผศ.ดร.นท แสงเทียน ittiphong.p@ubu.ac.th ผศ.ดร.ธนภร ทวีวุฒิ ittiphong.p@ubu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มุ่งเน้น การเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างระบบระบายน้ำ จากการนำข้อมูลภาคสนาม มาทำแบบจำลอง และจำลองสถานการณ์ก่อสร้างในคอมพิวเตอร์ โดยเก็บข้อมูลจากโครงการ หมู่บ้านจัดสรรที่มีพื้นที่ 174 ไร่ ใน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ข้อมูลภาคสนาม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การผลิตบ่อพัก ค.ส.ล. เพื่อเตรียมไว้ใช้ในการก่อสร้าง ในระบบระบายน้ำ และ การดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ผลจากข้อมูลภาคสนามที่นำมากำหนดเป็นแบบจำลอง จะถูกสอบทานจากชุดข้อมูลภาคสนามในการจำลองสถานการณ์เพื่อให้ได้ผลที่แม่นตรงกับภาคสนามที่สุด ก่อนนำแบบจำบลองนั้นไปหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ทั้งนี้ตั้งบนสมมุติฐานคือ ไม่เพิ่มจำนวน แรงงาน หรือ เครื่องจักร แต่จะเพิ่มประสิทธิภาพงาน จากการปรับใช้แรงงานให้ได้ประสิทธิภาพงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับปรุงลำดับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนที่ 1 การผลิตบ่อพัก ค.ส.ล. สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพได้ร้อยละ 10 โดยการผลิตบ่อพัก ค.ส.ล. จำนวน 140 บ่อ เดิมต้องใช้เวลา 40 วัน ลดเหลือ 36 วัน สำหรับส่วนที่ 2 การก่อสร้างระบบระบายน้ำทั้งโครงการ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ร้อยละ 7.62 โดยการก่อสร้างระบบระบายน้ำ เดิมต้องใช้เวลา 105 วัน ลดเหลือ 97 วัน</p> 2022-09-19T23:04:32+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1894 ปัจจัยความเสี่ยงในการบริหารโครงการก่อสร้าง สำหรับผู้รับเหมาในจังหวัดเชียงใหม่: ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 2022-09-20T18:21:53+07:00 พราวพรรณ อาสาสรรพกิจ praopun_asa@cmru.ac.th เสริมศักดิ์ พงษ์เมษา sermsak175@hotmail.com นันทนัช จินตพิทักษ์ sermsak175@hotmail.com พงศ์พันธุ์ กาญจนการุณ sermsak175@hotmail.com ศิริกันยา เลาสุวรรณ์ sermsak175@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความเสี่ยงในการบริหารโครงการก่อสร้างอาคาร สำหรับผู้รับเหมาในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และศึกษาระดับความสำคัญของแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมถึงความคิดเห็นที่มีต่อมาตรการช่วยหลือจากภาครัฐหรือเจ้าของโครงการ โดยทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ด้านการบริหารโครงการก่อสร้างอาคารในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผู้บริหารบริษัท ผู้จัดการโครงการ วิศวกรโครงการ ผู้ช่วยวิศวกรโครงการ วิศวกรสนาม และที่ปรึกษาโครงการ จำนวนทั้งหมด 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีต่อปัจจัยความเสี่ยงในการบริหาร<br>โครงการก่อสร้างอาคาร ด้วยทฤษฎีการประเมินความเสี่ยง และสถิติพื้นฐาน ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยความเสี่ยงย่อยที่ระบุได้ทั้งหมดมีจำนวน 30 ปัจจัยจาก 8 ปัจจัยหลัก มีปัจจัยความเสี่ยงย่อยในระดับสูง จำนวน 8 ปัจจัย สามลำดับแรก คือ (1) การขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพ ร่ระบาดของ COVID-19 (2) การเร่งงานก่อสร้าง และ (3) บุคลากรติด COVID-19 และมีปัจจัยความเสี่ยงหลักในระดับสูง จำนวน 4 ปัจจัย สามลำดับแรก คือ(1) บุคลากรและผู้ปฏิบัติงาน (2) เทคนิคก่อสร้าง และ (3) การออกแบบและสัญญา ส่วนแนวทางการป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 พบว่าผู้ตอบแบบสัมภาษณ์มุ่งเน้นการปฏิบัติและการให้ระดับความสำคัญ ไปที่มาตรการด้านสุขอนามัยในโครงการก่อสร้าง มากกว่าด้านการปรับเทคนิคในการทำงาน ในขณะที่คิดเห็นว่าภาครัฐหรือเจ้าของโครงการควรมีการจัดมาตรการช่วยเหลือทั้งในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างได้แก่ การขยายอายุสัญญาก่อสร้าง และการงดหรือลดค่าปรับ และในส่วนของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายได้</p> 2022-09-19T23:05:13+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1874 แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานที่โปร่งใสในงานก่อสร้างภาครัฐ 2022-09-20T18:21:54+07:00 พิชา ศรีพระจันทร์ picha.sr@ssru.ac.th <p>ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการทำงานก่อสร้างภาครัฐอยู่ ทั้งนี้ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายในการผลักดันให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานก่อสร้างภาครัฐอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความโปร่งใสในการจัดจ้างงานก่อสร้างภาครัฐในประเทศไทย 2. ศึกษาลักษณะแนวคิดการเปิดเผยข้อมูลและระดับการเปิดเผยข้อมูลของประเทศไทย นำเปรียบเทียบระบบสนับสนุนการทำงานที่โปร่งใสในงานก่อสร้างภาครัฐในประเทศที่ประสบความสำเร็จ 3.นำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบหรือเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลการทำงานที่โปร่งใสในงานก่อสร้างภาครัฐ มีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยโดยการสำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับความโปร่งใสในการจัดจ้างงานก่อสร้างภาครัฐด้วยแบบสอบถามจำนวน 66 ชุด จากกลุ่มของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาระบบหรือเครื่องมือที่ประสบความสำเร็จในสนับสนุนการทำงานที่โปร่งใสในงานก่อสร้างภาครัฐในประเทศที่มีลำดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตที่สูง ผลการศึกษา พบว่า ประเทศเกาหลีใต้ เน้นใช้ระบบทางกฎหมายและหน่วยงานปฏิบัติที่ชัดเจนในการควบคุมการทำงานที่โปร่งใสในแต่ละขั้นตอนในงานก่อสร้างภาครัฐ มีโปรแกรมระบบกลางควบคุมการทำงา นแต่ละขั้นตอน ประเทศเครือสหราชอาณาจักร เน้นการเปิดเผยข้อมูลงานก่อสร้างอย่างตรงไปตรงมาและให้ประชาชนและองค์กรอิสระมีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลในงานก่อสร้างภาครัฐปัญหาของระบบสนับสนุนการทำงานที่ทำให้เกิดความไม่โปร่งใสในการทำงานในประเทศไทย คือ 1.ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย 2.ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างภาครัฐได้ยาก 3.ขาดระบบสนับสนุนการบันทึกข้อมูลในการแสดงผลทำงานที่โปร่งใส แนวทางการปรับ ปรุงและ<br>พัฒนาระบบที่สนับสนุนการทำงานที่ก่อให้ความโปร่งใส ได้แก่ 1.การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 2.ควรมีการพัฒนาระบบสนับสนุนการบันทึกข้อมูลที่ก่อให้เกิดการทำงานที่โปร่งใสและให้ประชาชนเข้าถึงได้</p> 2022-09-19T23:05:59+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1871 การระบุและประเมินความเสี่ยงของบริษัทรับเหมาปรับปรุงภายในอาคาร 2022-09-20T18:21:55+07:00 ภูมิคณา วิชัยภูมิ s6301082856025@email.kmutnb.ac.th สุชัญญา โปษยะนันทน์ S6301082856025@email.kmutnb.ac.th <p>ผู้รับเหมางานก่อสร้างต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งความเสี่ยง ทางด้านเทคนิคและสัญญา ทางด้านเศรษฐกิจการเงินและสังคม การบริหาร โครงการ ความเสี่ยงภายนอกและสภาพพื้นที่โครงการ การบริหารงาน ก่อสร้างควรมีกระบวนการจัดการความเสี่ยงในเชิงป้องกันและเชิงรุกช่วยให้ โครงการประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาหาปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อบริษัทรับเหมาปรับปรุงอาคาร โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่าง ซึ่งเป็น ผู้จัดการโครงการ วิศวกร สถาปนิก โฟร์แมน และ จป. เทคนิค ซึ่งสามารถสรุปความเสี่ยงซึ่งมีโอกาสที่มีจะเกิดความเสี่ยงสูงและ ส่งผลกระทบมากในการดำเนินกิจการก่อสร้างได้ 3 ประเภทได้แก่ การ บริหารการเงิน ความล่าช้าในงานก่อสร้าง และความปลอดภัย และเสนอ แนวทางตอบสนองความเสี่ยงในงานก่อสร้างปรับปรุงอาคารต่อเหตุการณ์ที่ ส่งผลกระทบที่เป็นเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง</p> 2022-09-19T23:06:47+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1857 การศึกษาประสิทธิผลการทำงานของกิจกรรมติดตั้งโครงหลังคาเหล็ก 2022-09-20T18:21:56+07:00 ภัทรพร พรเทพเกษมสันต์ patraporn.po@eng.buu.ac.th จุฑามาศ มหานุกูล Panpimon.wee@gmail.com พรรณพิมล วีระศิลปเลิศ Panpimon.wee@gmail.com มินตรา เดียรประโคน Panpimon.wee@gmail.com ศุภกร ชุ่มชื่นจิตร Panpimon.wee@gmail.com ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์ thidaporn@eng.buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการทำงานของกิจกรรมติดตั้งโครงหลังคาเหล็ก ซึ่งเก็บข้อมูลการทำงานของคนงานในโครงการหมู่บ้านจัดสรร จังหวัดชลบุรี และแบ่งการเก็บข้อมูลเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การเก็บข้อมูลภาพรวมของโครงการด้วยวิธี Field Rating และเก็บข้อมูลของกลุ่มคนงานในกิจกรรมติดตั้งโครงหลังคาเหล็กด้วยวิธี Five Minute Rating หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลของคนงานในกิจกรรมติดตั้งโครงหลังคาเหล็กมาวิเคราะห์ด้วยวิธี Crew Balance Chart และเสนอวิธีการเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานให้ดีขึ้น ข้อมูลที่ได้รวบรวมในการศึกษานี้ประกอบไปด้วยข้อมูลภาพรวมการทำงานของแรงงาน ขั้นตอนการทำงานของกิจกรรมติดตั้งโครงหลังคาเหล็กและข้อมูลการทำงานของคนงานแต่ละคน ในการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผลการประเมินภาพรวมโครงการมีค่าประสิทธิผล (Effectiveness) เท่ากับ 66.31% ส่วนของกิจกรรมติดตั้งโครงหลังคาเหล็กมีค่าประสิทธิผล (Effectiveness) การทำงานของกิจกรรมเท่ากับ 45.83% โดยในการทำงานของกิจกรรมติดตั้งโครงหลังคาเหล็กพบว่าคนงานที่มีค่าประสิทธิผลสูงสุดเท่ากับ 95% และมีคนงานจำนวน 2 คนที่มีค่าประสิทธิผลเท่ากับ 0 ในการวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานด้วยวิธี Crew Balance Chart ค่าประสิทธิผล (Effectiveness) ของกิจกรรมติดตั้งโครงหลังคาเหล็กเพิ่มขึ้นจาก 45.83% เป็น 68.75% ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน ได้แก่ การปรับวิธีการปฏิบัติงานของคนงานแต่ละคนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน และลดจำนวนคนงานที่ไม่จำเป็นลงซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าแรงและเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานของกิจกรรมติดตั้งโครงหลังคาเหล็กให้เพิ่มมากขึ้น</p> 2022-09-19T23:07:31+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1846 การจัดการกำลังพลสำหรับงานติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในหลายสถานที่ทำงาน : กรณีศึกษาจังหวัดชัยภูมิ 2022-09-20T18:21:57+07:00 ชัชฎาพร อินทรสุวรรณ s6301082856017@email.kmutnb.ac.th กวิน ตันติเสวี s6301082856017@kmutnb.ac.th <p>จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความเจริญในพื้นที่ห่างไกล จึงเกิดโครงการลักษณะที่หน่วยงานรัฐได้ว่าจ้างผู้รับเหมาหลักมารับผิดชอบดำเนินงานก่อสร้างขนาดเล็กที่มีลักษณะเหมือนกันหลายๆงาน โดยตั้งอยู่ในหลายพื้นที่และในเวลาเดียวกัน การจัดการกำลังพลโครงการที่มีลักษณะแบบนี้มีความยุ่งยากเพราะต้องคำนึงถึงระยะห่างของพื้นที่ก่อสร้าง การเดินทางขนส่งวัสดุ และลำดับเวลาในการก่อสร้าง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการกำลังพลในการทำงานแบบซ้ำๆในพื้นที่ที่ห่างไกลกัน โดยใช้โครงการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 100 จุดในจังหวัดชัยภูมิเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยนี้ใช้หลักการซึ่งประยุกต์วิธีวิเคราะห์สายทางวิกฤต (Critical Path Method) และการปรับระดับทรัพยากร (Resource Leveling) โดยใช้โปรแกรม Microsoft Project เพื่อจัดสรรกำลังพลในการติดตั้งระบบสูบน้ำให้สามารถส่งมอบโครงการได้ภายในระยะเวลา​&nbsp; 92&nbsp; วัน​ และ ใช้ค่าแรงคนงานน้อยที่สุด งานวิจัยนี้ได้ปรับเปลี่ยนปัจจัยด้าน จำนวนชุดของช่าง และจำนวนคนงานต่อชุดช่าง 1 ชุด ซึ่งมีผลต่อระยะเวลาการติดตั้งระบบสูบน้ำ ผลการศึกษาพบว่ากรณีที่ดีที่สุดคือ​ ใช้ช่างจำนวน 10 ชุด และแต่ละชุดมีคนงาน 5 คนจะใช้เวลาทำงานทั้งหมด 88 วัน และมีค่าใช้จ่ายส่วนค่าแรงของโครงการเท่ากับ 18,664.59 บาทต่อการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 1 จุด</p> 2022-09-19T23:08:18+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1847 การศึกษาหลักเกณฑ์การเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำในพื้นที่นครหลวง 2022-09-20T18:21:57+07:00 มนทิชา พุ่มอรุณ s6301082856050@email.kmutnb.ac.th กวิน ตันติเสวี kevin.t@eng.kmutnb.ac.th <p>ปัญหาน้ำสูญเสียนับเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในการให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีสาเหตุหลักจากท่อจ่ายน้ำประปามีการแตกรั่ว ดังนั้นการปรับปรุงท่อประปาที่เสื่อมสภาพจึงเป็นการป้องกันการเกิดน้ำสูญเสียในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำประปาต้องมีการคัดเลือกและวางแผนในการดำเนินงาน เนื่องจากท่อจ่ายน้ำประปามีความยาวมาก และในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านวัสดุที่ใช้ทำท่อ อายุการใช้งาน รูปแบบการติดตั้ง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกณฑ์ในการคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญเส้นท่อในการปรับปรุงท่อจ่ายน้ำ งานวิจัยนี้แบ่งเกณฑ์การคัดเลือกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) พิจารณาความเสื่อมของระบบท่อประปา และ 2) พิจารณาโอกาสที่จะได้รับอนุญาตเข้าดำเนินการปรับปรุงเส้นท่อจ่ายน้ำ จากนั้นจึงใช้วิธีการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP) เพื่อประเมินความสำคัญของเกณฑ์ต่างๆ โดยการเปรียบเทียบรายคู่ (Pair-Wise Comparison) จากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานน้ำสูญเสียมากกว่า 10 ปี จำนวน 3 ท่าน เมื่อได้เกณฑ์ในการคัดเลือกแล้ว ได้นำมาทดสอบความสมเหตุสมผลโดยการประเมินความสำคัญของท่อจ่ายน้ำประปาของการประปานครหลวง (กปน) จำนวน 12 เส้นทาง พบว่า เกณฑ์การคัดเลือกที่พัฒนาขึ้นให้ผลสอดคล้องกับผลการคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำของ กปน. จริง โดยจำนวน 8 เส้นทางที่ได้ถูก กปน. คัดเลือกให้เปลี่ยนเส้นท่อจ่ายน้ำ ได้รับคะแนนความสำคัญตามเกณฑ์การคัดเลือกที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าร้อยละ 50 ในขณะที่อีก 4 เส้นทางที่เหลือที่ไม่ได้รับการคัดเลือกได้คะแนนความสำคัญน้อยกว่าร้อยละ 50</p> 2022-09-19T23:09:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1848 การปรับปรุงขั้นตอนในการก่อสร้างวางท่อประปา และการวางแผนงานก่อสร้างล่วงหน้าด้วยวิธี RSM เพื่อลดข้อร้องเรียนจากประชาชน 2022-09-20T18:21:58+07:00 นนทกร เอกวานิช nontakorn.aek@gmail.com วรรณวิทย์ แต้มทอง wannawit.t@eng.kmutnb.ac.th <p>การประปานครหลวงผลิต ให้บริการจำหน่ายน้ำประปาสู่ประชาชน โดยระหว่างกระบวนการในการสูบจ่าย และลำเลียงน้ำ มีปริมาณน้ำที่สูญเสีย เกิดขึ้นจากท่อประปาแตกรั่วเป็นสาเหตุหลัก จึงมีนโยบายวางท่อประปาใหม่ทดแทนในพื้นที่นั้น ๆ โดยการวางท่อประปาใหม่ส่งผลให้เกิดข้อร้องเรียนจากประชาชนมากมาย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงขั้นตอนในการก่อสร้างวางท่อประปารวมถึงวางแผนงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับขั้นตอน การก่อสร้างที่ปรับปรุง เพื่อลดข้อร้องเรียนจากประชาชน และเพิ่มผลิตภาพในงานก่อสร้าง โดยเริ่มต้นเก็บข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนในรอ บ 6 เดือน ช่วง1 พ.ค.64 ถึง 1 พ.ย. 64 วิเคราะห์หาสาเหตุพร้อมทั้งแนวทางการจัดการความเสี่ยง เพื่อนำไปปรับปรุงขั้นตอนในการก่อสร้างวางท่อประปา กรณีศึกษา คือ โครงการวางท่อประปาเพื่อลดน้ำสูญเสียซอยบางกร่าง 30 จังหวัดนนทบุรี ใช้วิธีการเก็บข้อมูลผลิตภาพงานก่อสร้าง ด้วยวิธีการประเมินราย 5 นาที เพื่อ<br>ปรับปรุงผลิตภาพงานก่อสร้าง วิเคราะห์สถิติงานก่อสร้างต่อวัน เพื่อวางแผนงานก่อสร้างด้วยวิธีการวางแผนงานก่อสร้างแบบซ้ำ (RSM) ให้สอดคล้องกับขั้นตอนการก่อสร้างที่ปรับปรุงแล้ว</p> 2022-09-19T23:09:53+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1839 การศึกษาต้นทุนโครงการอาคารพักอาศัยคอนโดมิเนียมประเภทอาคารสูงในพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน 2022-09-20T18:21:59+07:00 เทชฤทธิ์ ศรีธนาวหะนนท์ s6301082856068@email.kmutnb.ac.th <p>โครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัยคอนโดมิเนียมประเภทอาคารสูงในกรุงเทพฯเขตชั้นในมีค่าใช้จ่ายที่เกิดจริงที่ไม่สอดคล้องกับงบประมาณที่ทำไว้ เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆที่คาดไม่ถึง เช่น ปัญหาร้องเรียนจากบ้านข้างเคียง การออกแบบที่ก่อสร้างยาก แรงงานติดโรคโควิด-19 ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้น เพื่อศึกษาต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำมาวิเคราะห์สำหรับเป็นแนวทางในการตัดสินใจปรับลดต้นทุนต่อรองราคาประมูลงานในแต่ละหมวดงานได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาการประมาณราคาโดยวิธีพารามิเตอร์ ซึ่งจะทำการออกแบบพารามิเตอร์จากค่าใช้จ่ายจริงของโครงการที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว และนำพารามิเตอร์ที่ออกแบบมาทดสอบประมาณราคาค่าก่อสร้างกับโครงการที่ก่อสร้างจบไปแล้ว และเปรียบเทียบผลการทดลองเพื่อสรุปหารูปแบบ<br>พารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งการศึกษาครั้งนี้พบว่ารูปแบบพารามิเตอร์ที่นำไปประมาณราคาค่าก่อสร้างได้ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายจริงมีจำนวน 7พารามิเตอร์</p> 2022-09-19T23:10:44+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1838 การศึกษาต้นทุนส่วนเพิ่ม โครงการก่อสร้างอาคาร จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 2022-09-20T18:21:59+07:00 ชยุต พันนิทา s6301082856513@email.kmutnb.ac.th กวิน ตันติเสวี s6301082856513@email.kmutnb.ac.th <p>การศึกษาเรื่อง “การศึกษาต้นทุนส่วนเพิ่ม โครงการก่อสร้างอาคาร จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19” เป็นการศึกษาผลกระทบทางด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการจัดการและดำเนินการตามมาตราการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มของแรงงานก่อสร้าง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นการเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากเหตุการต้องปิดแคมป์คนงาน เป็นเวลา 30 วัน มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างไร ค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องภายหลังจากกลับมาทำการก่อสร้างโครงการ&nbsp;&nbsp; และการสอบถามข้อมูลผลกระทบด้านต่าง ๆ จากโครงการก่อสร้างขนาดกลาง จำนวน 36 กลุ่มตัวอย่างผลการศึกษาครั้งนี้&nbsp;&nbsp; ได้ผลข้อสรุปค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 กับโครงการก่อสร้างขนาดกลาง อาทิ&nbsp; 1.) ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในช่วงการปิดแคมป์คนงาน ระยะเวลา 30 วัน&nbsp; เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดูแลคนงานในช่วงของการปิดแคมป์คนงาน เช่น&nbsp; ค่าอาหาร&nbsp; ค่าของใช้ประจำวัน&nbsp; ค่ายารักษาโรค&nbsp;&nbsp; ค่าเวชภัณฑ์สำหรับการป้องกัน&nbsp; และค่าขนส่งสำหรับการจัดการต่าง ๆ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2. ) ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม สำหรับมาตรการป้องกันโรคโควิด – 19 ในกลุ่มคนงาน เป็นค่าใช้จ่ายต่อเนื่องรายเดือนและเกิดขึ้นเป็นรายครั้ง เช่น ค่าใช้จ่ายการฉีดวัคซีนให้คนงาน ค่าจัดการแคมป์คนงาน ค่าจัดการปรับห้องน้ำคนงาน ค่าตรวจ ATK สำหรับคนงาน ค่าขนส่งคนงานที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ปกติ ค่าเวชภัณฑ์สำหรับป้องกันคนงาน และค่าจัดการฆ่าเชื้อโรค เพื่อลดการแพร่ระบาด&nbsp; 3.) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดการก่อสร้างในสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้</p> 2022-09-19T23:11:33+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1837 การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจหลังเข้าใช้งานของอาคารทาวน์เฮาส์ที่ก่อสร้างผนังด้วยระบบการก่อสร้าง แบบผนังรับน้ำหนักและแบบดั้งเดิม 2022-09-20T18:22:00+07:00 ณฐพัชร์ อินชุ่ม pakaho18@hotmail.com รองศาสตราจารย์ ดร.กองกูณฑ์ โตชัยวัฒน์ kongkoon@gmail.com <p>จากสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องหาวิธีลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลา และลดปริมาณแรงงานในการผลิตเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด จึงทำให้ระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนักถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์บางส่วน เลือกใช้ระบบโครงสร้างแบบดั้งเดิมเพื่อตอบรับความต้องการจากกลุ่มลูกค้าบางกลุ่ม ผู้วิจัยจึงประสงค์ทำการศึกษาวิจัยถึงความพึงพอใจจากระบบก่อสร้างผนังแบบระบบผนังรับน้ำหนักและระบบดั้งเดิม โดยใช้การประเมินหลังการใช้งาน (Post Occupancy Evaluation: POE) โดยเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ซึ่งใช้สำรวจความเห็นจากผู้ให้บริการหลังการขาย 7 คนซึ่งดูแลโครงการที่มีความแตกต่างของระบบโครงสร้างทั้ง 2 ระบบโดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลจากโครงการซึ่งมีระบบย่อยและระดับราคาแตกต่างกัน ทำการวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความพึงพอหลังเข้าใช้งานอาคารของกลุ่มลูกค้าที่อาศัยในที่อยู่อาศัยที่มีระบบโครงสร้างที่แตกต่างกันมีความพอใจในด้านต่าง ๆ สอดคล้องกัน มีเพียงความพึงพอใจในด้านการดูดซับและคายความชื้น การดัดแปลงต่อเติมตัวอาคาร รอยร้าวหลังการใช้งานและการรั่วซึมตามจุดต่างๆของอาคารเท่านั้นที่เห็นความเห็นไม่สอดคล้องกัน ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงความแตกต่างของความพึงพอใจหลังเข้าใช้งานอาคารโดยเปรียบเทียบจากระบบโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ระบบการก่อสร้างเพื่อสร้างความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตของลูกค้าในระยะยาวได้</p> 2022-09-19T23:12:20+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1836 การวิเคราะห์การใช้พลังงานของคนงานตามลักษณะกิจกรรมต่างๆในงานก่อสร้างในประเทศไทย 2022-09-20T18:22:01+07:00 พัชรพงษ์ ชนะกานนท์ s6301082856092@email.kmutnb.ac.th วรรณวิทย์ แต้มทอง wannawit.t@eng.kmutnb.ac.th <p>เพื่อศึกษาค่าพลังงานที่ต้องใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆในงานก่อสร้าง ในหน่วยกิโลแคลอรีต่อนาที ดำเนินการใช้เครื่องมือวัดอัตราการเต้นของหัวใจของคนงานในแต่ละกิจกรรม เก็บข้อมูลด้วยวิธีการประเมินแบบราย 5 นาทีเพื่อหาอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ยนำมาคำนวณค่าพลังงานที่ใช้ของคนงาน และแสดงปริมาณผลงานที่คนงานสามารถทำได้ใน 20 กิจกรรมก่อสร้าง ได้แก่ 1.งานก่ออิฐมวลเบา 2. งานติดตั้งไม้แบบ 3.งานรื้อถอนไม้แบบ 4.งานติดตั้งนั่งร้าน 5.งานรื้อถอนนั่งร้าน 6.งานทาสี 7.งานผูกเหล็กโครงสร้าง 8.งานผสมปูนก่อฉาบ 9.งานเทคอนกรีตเสาโครงสร้าง 10.งานเทคอนกรีตพื้นโครงสร้าง 11.งานขุดปรับดิน 12.งานติดตั้งฝ้าเพดาน 13.งานสกัดหัวเสาเข็ม 14.งานฉาบปูนปาดหน้าพื้น 15.งานติดตั้งหลังคากระเบื้อง 16.งานฉาบปูนผนัง 17.งานฉาบปูนเสาและคาน 18.งานเชื่อมติดตั้งโครงสร้างเหล็ก 19.งานแต่งผิวสกิมโค้ท 20.งานขัดผิวสกิมโค้ท แล้วนำค่าพลังงานที่ได้ในแต่ละกิจกรรมนำมาวิเคราะห์ตัวอย่างถึงระยะเวลาที่สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง และระยะเวลาพักของคนงานในแต่ละงานที่เหมาะสมต่อคนงานตามลักษณะกิจกรรมที่ทำ เพื่อผลิตภาพที่ดีในงานก่อสร้าง</p> 2022-09-19T23:13:07+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1834 ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในขั้นตอนลูกค้าตรวจรับบ้าน กรณีศึกษาโครงการหมู่บ้านจัดสรรทาวน์โฮม 3 ชั้นก่อสร้างโดยระบบพรีคาสท์ 2022-09-20T18:22:02+07:00 พชร อิสสระโชติ s6301082856084@email.kmutnb.ac.th สุชัญญา โปษยะนันทน์ s6301082856084@email.kmutnb.ac.th <p>การก่อสร้างที่อยู่อาศัยมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย ทั้งในภาคของแรงงาน และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในการก่อสร้างนั้นมีการใช้แรงงานในประเทศจำนวนมาก แตกต่างกันไปตามความสามารถในการผลิต โดยเทคโนโลยีพรีคาสต์สามารถใช้เพื่อเร่งรัดโครงการก่อสร้างให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด การใช้เทคนิคการก่อสร้างโดยพรีคาสท์ช่วยปรับปรุงคุณภาพของงาน ประหยัดเวลา และลดต้นทุนการก่อสร้างและบำรุงรักษา จากการศึกษาในปัจจุบัน พบว่ามีข้อบกพร่องและการแก้ไขงานในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการโครงการ ดังนั้นโครงการและวิศวกรจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับข้อบกพร่อง การศึกษานี้เป็นไปตามหลักการของ Pareto ประเภทข้อบกพร่องมีความสัมพันธ์กับจำนวนข้อบกพร่องที่ตรวจพบอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในงานวิจัยนี้ พบข้อบกพร่องระหว่างส่งมอบบ้านทั้งหมด 6,360 รายการ จากโครงการก่อสร้างบ้านพรีคาสท์ 3 ชั้นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและพบว่าบริเวณห้องนอน1 พบข้อบกพร่องสำคัญในขั้นตอนลูกค้าตรวจรับบ้านมากที่สุด</p> 2022-09-19T23:13:50+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1819 การศึกษาความพึงพอใจการซื้อวัสดุก่อสร้างในระบบออนไลน์ (กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล) 2022-09-20T18:22:03+07:00 ธนาวรรธน์ สียงค์พะเนา trichgroup@gmail.com วุฒิชัย ชาติพัฒนานันท์ trichgroup@gmail.com <p>ด้วยความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีในปัจจุบัน รวมถึงการเผชิญกับโลกระบาดโควิด 19 ทำให้เกิดรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างระบบออนไลน์ในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างในระบบออนไลน์ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 400 คนกำหนดระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS จากผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 30-40 ปีมีสถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานของบริษัทรับเหมาก่อสร้างมีรายได้ต่อเดือน 15,000-30,000บาท สืบค้นข้อมูลจาก Google ในการหาร้านค้า หัวหน้างานเป็นผู้มีส่วนตัดสินใจซื้อเป็นหลัก จำนวนเงินสูงสุดในการซื้อแต่ละครั้งในรอบ1ปีอยู่ระหว่าง 30,000-50,000บาท มีการใช้บริการมากกว่า 10ครั้งในรอบ 1ปี การชำระเงินส่วนใหญ่โอนเข้าบัญชีธนาคาร มีการเปรียบเทียบราคาก่อนการซื้อ ระดับความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.607 การทดสอบสมมุติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคลที่ประกอบด้วยเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และพฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างในระบบออนไลน์ไม่แตกต่างกัน แต่ปัจจัยส่วนบุคคลที่มี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจในการเลือกซื้อ วัสดุก่อสร้างในระบบออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2022-09-19T23:14:47+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1807 ปัญหาในการบริหารโครงการก่อสร้างอาคาร กรณีศึกษาอาคารโรงพยาบาลของภาครัฐ 2022-09-20T18:22:04+07:00 พีรรัตน์ อาทรกัลป์ peerarat.ar@mail.kmutt.ac.th วุฒิพงศ์ เมืองน้อย wutthipong.mou@kmutt.ac.th วสันต์ ธีระเจตกูล wasantee@swu.ac.th <p class="Contentnew"><span lang="TH">ในการบริหารโครงการก่อสร้างมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย และมีระยะเวลาดำเนินงานที่จำกัด ทำให้เกิดปัญหาระหว่างการก่อสร้าง และมีผลกระทบเกิดขึ้นได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุ และผลกระทบของปัญหา อีกทั้งหาแนวทางป้องกันปัญหาในกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลมาจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้จัดการโครงการ และการสนทนากลุ่มของผู้ปฏิบัติงาน จากนั้นวิเคราะห์สาเหตุของแต่ละปัญหา จำแนกตามผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้ควบคุมงาน ผลศึกษาพบว่ามี 4 ปัญหา คือ การปรับแบบเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งานที่เกิดจากเจ้าของโครงการ ปัญหาการแบ่งระยะก่อสร้างผิดพลาด ปัญหางานออกแบบผิดพลาดของผู้ออกแบบ ปัญหาดินสไลด์บ้านข้างเคียง มีผลกระทบทั้งด้าน เวลา และค่าใช้จ่าย และ 1 ปัญหา คือ ปัญหาสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส มีผลกระทบต่อเวลา โดยได้เสนอแนวทางการป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยหลักการ </span>5 <span lang="TH">ประการ อาทิเช่น หลักการจัดการความเสี่ยง แผนภูมิก้างปลา หลักการควบคุมคุณภาพ การศึกษานี้จึงเป็นแนวทางในการบริหารโครงการก่อสร้าง เพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหา และนำไปปรับใช้ในโครงการอื่นต่อไป</span></p> 2022-09-19T23:15:36+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1806 การศึกษาปัญหางานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรมภายหลังการส่งมอบงานอาคารชุดแนวราบ 2022-09-20T18:22:05+07:00 วรพันธ์ จิตต์อาจหาญ mongkol.uss@kmutt.ac.th มงคล อัศวดิลกฤทธิ์ mongkol.uss@kmutt.ac.th <p>&nbsp;อาคารชุดแนวราบมักพบความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังการส่งมอบอาคาร ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างที่ไม่ได้คุณภาพตั้งแต่ในช่วงงานก่อสร้าง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่ของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังการส่งมอบงานอาคารชุดแนวราบประเภทงานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรม โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจและใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้พักอาศัยในอาคารชุดแนวราบจำนวน 411 คน จากนั้นใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 181 คน คิดเป็นร้อยละ 44 ผลการวิจัยพบว่าปัญหาที่มีความถี่ และผลกระทบมากที่สุด สำหรับส่วนงานโครงสร้าง คือ ปัญหาถนนคอนกรีตแตกร้าว ส่วนงานสถาปัตยกรรมปัญหาที่มีความถี่มากที่สุด คือ ปัญหาสีทาผนังหลุดร่อน แตกลายงา และปัญหาที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ ปัญหาการชำรุดของสายชำระในห้องน้ำ นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรที่แตกต่างกันมีความถี่ในการพบปัญหา และผลกระทบจากปัญหาที่แตกต่างกัน สุดท้ายงานวิจัยนี้ได้เสนอแนะแนวทางในการควบคุมคุณภาพในช่วงการก่อสร้าง เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับการบริหารโครงการก่อสร้างต่อไป</p> 2022-09-19T23:16:20+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1804 การศึกษาปัญหางานก่อสร้างระบบวิศวกรรมประกอบอาคารภายหลังการส่งมอบอาคารชุดแนวราบ 2022-09-20T18:22:06+07:00 ฉัตรชัย ธนจิรัฏฐ์โรจน์ mongkol.uss@kmutt.ac.th ธิติมา แซ่คู mongkol.uss@kmutt.ac.th ณัฐนนท์ รัตนไชย mongkol.uss@kmutt.ac.th มงคล อัศวดิลกฤทธิ์ mongkol.uss@kmutt.ac.th <p>ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพการทำงานในช่วงของการก่อสร้าง แต่อย่างไรก็ดีปัญหาจากงานก่อสร้างภายหลังจากที่โครงการส่งมอบแล้วก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้และถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้ปรับกระบวนการทำงานเชิงคุณภาพในช่วงของการก่อสร้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความถี่พร้อมผลกระทบของปัญหาจากงานระบบวิศวกรรมประกอบอาคารภายหลังการส่งมอบงานอาคารชุดแนวราบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้พักอาศัยในอาคารชุดแนวราบจำนวน 400 คน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่พักอาศัยในอาคารชุดแนวราบในจังหวัดกรุงเทพมหานครที่มีราคาขาย 70,000-129,999 บาทต่อตารางเมตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่าค่าดัชนีความรุนแรงของปัญหาที่มีค่ามากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1) ปัญหาสัญญาณอินเตอร์เน็ตมีความไม่เสถียร 2) ปัญหาปลั๊กไฟภายในห้องพักไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และ 3) ปัญหาตู้เบรกเกอร์ติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าความคิดเห็นของผู้พักอาศัยในอาคารชุดที่มีราคาขายแตกต่างกันมีความถี่และผลกระทบจากปัญหาที่แตกต่างกัน&nbsp; สุดท้ายงานวิจัยนี้ได้เสนอแนะการป้องกันปัญหาเพื่อเป็นแนวทางการบริหารโครงการก่อสร้างในอนาคตต่อไป</p> 2022-09-19T23:17:16+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1805 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยขนาดกลางในพื้นที่นอกเขตเมืองใหญ่ 2022-09-20T18:22:07+07:00 พันชั่ง ป้องปัดโรคา P_MD@hotmail.com สันติ เจริญพรพัฒนา santi.cha@kmutt.ac.th สุทธิ ภาษีผล spasiphol@yahoo.com <p>ปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าสูงและมีการแข่งขันกันมากขึ้นรวมทั้งมีผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายฝ่าย เช่น บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมา บริษัทเครดิต สถาบันการเงิน ผู้ลงทุน และลูกค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาการแข่งขันในพื้นที่ชานเมืองหรือนอกเขตเมืองใหญ่มากขึ้นตามการกระจายตัวของความเจริญและลักษณะการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ ได้แก่ กระบวนการพัฒนาโครงการ คุณภาพ ต้นทุน และทำเลที่ตั้ง เป็นต้น โดยใช้โมเดลแบบซิปป์และการทบทวนวรรณกรรมในการกำหนดปัจจัยที่ใช้เปรียบเทียบ และใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการที่อยู่อาศัยขนาดกลางในพื้นที่นอกเขตเมืองใหญ่ จากการศึกษาพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการที่อยู่อาศัยขนาดกลางในพื้นที่นอกเขตเมืองใหญ่มากที่สุดคือ ปัจจัยด้านการเงิน สำหรับปัจจัยย่อยที่ส่งผลต่อโครงการมากที่สุดคือ ทำเล ที่ตั้ง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งผลการศึกษาของงานวิจัยนี้ช่วยในการกำหนดแผนการดำเนินการของโครงการเพื่อให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ</p> 2022-09-19T23:18:02+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1769 การศึกษาปัจจัยความพึงพอใจต่อสนามกอล์ฟและการก่อสร้างสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี 2022-09-20T18:22:07+07:00 ผศ.ชัยธวัฒน์ บุญหยง Chaiyathawat@hotmail.com ผศ.ชาตรี งามเสงี่ยม chaiyathawat.b@rbru.ac.th ภานุพงศ์ เพ็งผาย chaiyathawat.b@rbru.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะมีผลต่อความพึงพอใจของผู้ที่มาใช้บริการสนามกอล์ฟรำไพพรรณีและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟที่จะสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2566 โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 300 ชุด เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยการหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ t- test ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ที่มาใช้บริการสนามกอล์ฟและบุคลากรในมหาวิทยาลัยในระดับมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ( ????̅ = 4.62) ที่ให้ความสำคัญในเรื่องรูปแบบสนามกอล์ฟ การมีบริการให้เช่ารถ ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในคลับเฮ้าส์ และ ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (????̅ = 4.26) ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการออกแบบทิวทัศน์โดยรอบให้มีความร่มรื่นสวยงาม อากาศถ่ายเทสะดวก ห้องน้ำและห้องแต่งตัวมีความสะอาด นอกจากนี้จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจอยากใช้บริการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟที่จะสร้างขึ้นและอยากให้มีห้องอาหาร ห้องโปรช็อป ห้องล็อกเกอร์ ห้องนวดบำบัด ร้านกาแฟ และห้องทดสอบวงสวิง และมีความคิดเห็นเหมือนกันในเรื่องของการให้มีการพัฒนาส่วนต่างๆ ของสนามกอล์ฟอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาศูนย์อาหารให้ดีขึ้น</p> 2022-09-19T23:18:51+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1763 ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบสนามบินที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสนามบิน 2022-09-20T18:22:08+07:00 วรวิทย์ จุลเจิม 63601139@kmitl.ac.th จักรพงษ์ พงษ์เพ็ง jakrapong.po@kmitl.ac.th <p>ในปัจจุบันการพัฒนาธุรกิจของแต่ละประเทศมีการขยายตัวอย่างมาก ทำให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลาย ๆ หลายประเภท โดยโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งที่จำเป็นคือ สนามบิน อย่างไรก็ตามในการพัฒนาสนามบิน ทรัพยากรธรรมชาติจะถูกใช้ไปในปริมาณมากซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน จุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสนามบินอย่างยั่งยืนก็คือ การออกแบบสนามบิน ซึ่งสามารถรวบรวมแนวทางเพื่อความยั่งยืนที่หลากหลาย รวมถึงกิจกรรมปรับปรุง ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ เพื่อการใช้งานและการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามจากการทบทวนวรรณกรรมยังไม่พบงานวิจัยใดที่แนะนำ ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบสนามบินที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสนามบิน ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยดังกล่าว โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ข้อมูลสำหรับงานวิจัยนี้ถูกรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในสนามบินดังนี้ ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ของบริษัทท่าอากาศยาน ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ และผู้ที่เคยรับจ้างก่อสร้างสนามบิน ข้อมูลที่ได้จะถูกวิเคราะห์ เพื่อ (1) ทดสอบโครงสร้างปัจจัย และ (2) หาระดับความมีอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อความยั่งยืนของสนามบิน โดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทั้งหมดสามารถจัดโครงสร้างได้ 5 กลุ่มปัจจัยหลัก พร้อมน้ำหนักความสำคัญ ดังนี้ “ปัจจัยที่เกี่ยวกับทางวิ่ง-ทางขับ” (22.09%) “ปัจจัยที่เกี่ยวกับส่วนซ่อมบำรุง” (20.67%) “ปัจจัยที่เกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง” (19.48%) “ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาคารผู้โดยสาร” (19.00%) และ “ปัจจัยที่เกี่ยวกับบริเวณโดยรอบ” (18.76%) ส่วนปัจจัยที่บ่งชี้ความยั่งยืนสนามบิน พร้อมน้ำหนักความสำคัญ ดังนี้ “เศรษฐกิจ” (34.56%) “สังคม” (33.18%) และ “สิ่งแวดล้อม” (32.26%) และระดับความมีอิทธิพลของปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบสนามบินที่มีต่อความยั่งยืนสนามบิน เท่ากับ 0.80 ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ออกแบบในการรวมปัจจัยที่ควรพิจารณาในการออกแบบสนามบิน แล้วช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสนามบินอย่างยั่งยืน</p> 2022-09-19T23:19:46+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1757 การศึกษาอุปสรรคที่มีผลต่อการประยุกต์ใช้การจัดจ้างโครงการแบบบูรณาการในอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทย 2022-09-20T18:22:09+07:00 สุริยวัชร พันธ์นรา suriyavajara@hotmail.com แหลมทอง เหล่าคงถาวร laemthong.la@kmitl.ac.th วัชระ เพียรสุภาพ pvachara@chula.ac.th <p>เนื่องจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนามากขึ้น ดังนั้นในการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของการก่อสร้างจึงมีความสำคัญ ซึ่งเทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ยกระดับประสิทธิภาพของโครงการก่อสร้างอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือ การจัดส่งโครงการแบบบูรณาการ (Integrated project delivery ; IPD) อย่างไรก็ตามในประเทศไทย IPD ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทย การศึกษาอุปสรรคของการประยุกต์ใช้ IPD จึงมีความสำคัญ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อวิเคราะห์อุปสรรคที่ผลต่อการใช้ระบบการจัดจ้างโครงการแบบบูรณาการในประเทศไทย พร้อมหาวิธีแก้ไขปัญหาในอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) เพื่อวิเคราะห์อุปสรรคดังกล่าว ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1.คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ถึงหลักการและประโยชน์ของ IPD เท่าที่ควร 2. โครงการต้องมีผู้ออกแบบที่เข้าใจถึงแบบจำลองข้อมูลอาคาร(BIM) และระบบการทำงานร่วมกัน 3. ประเทศไทยระบบ IPD ยังไม่แพร่หลาย กฎหมายในระบบนี้จึงยังไม่ครอบคลุม และ 4.บุคคลากรต้องมีความเข้าใจในระบบการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกัน อีกทั้งซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกัน ล้วนเป็นอุปสรรคที่มีความสำคัญมากต่อการประยุกต์ใช้ IPD ในประเทศไทย และเป็นอุปสรรคที่จำเป็นต้องแก้ไขก่อน เพื่อให้คนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมได้เข้าใจ และนำ IPD มาใช้ในโครงการก่อสร้างและยกระดับประสิทธิภาพของโครงการได้</p> 2022-09-19T23:20:35+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1285 การศึกษาลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการใช้แผนสำหรับโครงการก่อสร้าง 2022-09-20T18:22:10+07:00 ยุทธนา เกาะกิ่ง Yutthana.K@fitm.kmutnb.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง 6 ด้าน สัมพันธ์กับการใช้แผนงานในโครงการ 7 หัวข้อ มีผู้ตอบ แบบสอบถาม 517 คน ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 69.05 น้อยที่สุดปริญญาเอกร้อยละ 0.97 เป็นพนักงานส่วนใหญ่&nbsp; ร้อยละ 46.03 อายุงานส่วนใหญ่ 1-5 ปี ร้อยละ 24.95 น้อยที่สุด 16-20 ปี ร้อยละ 14.51 ผู้มีอายุงานมากจะมีสัดส่วนที่อยู่ในโครงการ มากขึ้นตามมูลค่าโครงการ แผนงานที่ใช้มากที่สุดคือแผนงานวิธี Bar Chart ร้อยละ 46.00 ส่วนแผนงานวิธี Critical Path Method ร้อยละ 25.10 แต่วิธีนี้จะมีสัดส่วนการใช้สูงขึ้นตามมูลค่าโครงการ การใช้แผนงานตามช่วงเวลาโครงการ พบว่าช่วงจัดทำโครงการและช่วงประมูลงาน ฝ่ายเจ้าของโครงการมีการใช้แผนสูงกว่าผู้รับจ้าง แต่ช่วงก่อนเริ่มก่อสร้างและช่วงก่อสร้าง ฝ่ายผู้รับจ้างจะใช้แผนงานมากกว่าฝ่ายเจ้าของโครงการ การใช้แผนงานในการจัดการโครงการพบว่าจะมีการใช้แผนงานสูงสุดใน 3 เรื่องแรก คือ 1. ใช้ควบคุมระยะเวลาโครงการ มากกว่าร้อยละ 85.00 2. ใช้จัดทำแผนปฏิบัติงาน มากกว่าร้อยละ 75.00 3. ใช้รายงานความก้าวหน้า มากกว่าร้อยละ 70.00 และผู้รับจ้างจะใช้แผนสูงกว่าฝ่ายเจ้าของโครงการในทุกด้าน เมื่อโครงการก่อสร้างมีมูลค่าโครงการมากขึ้นฝ่ายเจ้าของโครงการและฝ่าย ผู้รับจ้างจะมีการใช้แผนงานเพื่อการจัดการโครงการ</p> 2022-09-19T23:21:20+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1712 การออกแบบกระบวนการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่ใช้เงินลงทุนต่ำ 2022-09-20T18:22:11+07:00 วชรภูมิ เบญจโอฬาร vacharapoom@sut.ac.th จิรเดช เศรษฐกัมพู vacharapoom@sut.ac.th ชาญชัย วงศ์ษา owen_toto@yahoo.com ธีทัต ดลวิชัย prapun@sut.ac.th วรรณภา น่าบูรณะ w.naburana@sut.ac.th <p>การผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast concrete component) เป็นส่วนสำคัญของเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบนอกสถานที่ (Off-site construction) กิจกรรมการก่อสร้างหลักถูกย้ายไปดำเนินการที่โรงงาน ที่สามารถจัดการกระบวนการผลิตและสภาพแวดล้อมให้เกิดประสิทธิภาพสูง ควบคุมคุณภาพงานได้ดีและสะดวกกว่า และใช้เครื่องจักรอัตโนมัติช่วยงานได้ จึงทำให้ต้นทุนและระยะเวลาของงานก่อสร้างลดลง และเพิ่มคุณภาพและความสม่ำเสมอของงาน ลดความอันตรายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของงานก่อสร้างได้ ข้อดีมากมายดังกล่าวทำให้เทคโนโลยีนี้กำลังกลายเป็นวิธีการก่อสร้างหลักของโลกในไม่ช้า อย่างไรก็ตาม การก่อตั้งโรงงานผลิตโดยเฉพาะแบบกึ่งอัตโนมัติต้องการเงินลงทุนสูงมากและพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เป็นอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม การวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อออกแบบโรงงานผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติใหม่ที่ต้องการเงินลงทุนต่ำ เป็นการผสมผสานข้อดีของทั้งโรงงานแบบดั้งเดิมกับแบบสำเร็จรูปจากต่างประเทศ โดยการจัดวางตำแหน่งในสายการผลิต และการออกแบบเครื่องจักรสำหรับช่วยในกระบวนการผลิตสำคัญ ได้แก่ แบบหล่อคอนกรีต การเทคอนกรีต การขัดหน้าชิ้นงาน การถอดแบบ และการกองเก็บชิ้นงาน สุดท้ายเป็นการนำเสนอการประมาณเงินลงทุนสำหรับโรงงานผลิตใหม่นี้</p> 2022-09-19T23:22:09+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1704 การวางแผนตารางเวลางานแบบลีนสำหรับโครงการก่อสร้างอาคารสูง 2022-09-20T18:22:12+07:00 สมบัติ โพชนา paijit.pa@spu.ac.th ผศ.ดร.ไพจิตร ผาวัน paijit.pa@spu.ac.th <p>บทความนี้ได้นำเสนอการวางแผนตารางเวลางานแบบลีนสำหรับโครงการก่อสร้างอาคารสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบตารางเวลางานที่สอดคล้องกับลักษณะงานและพฤติกรรมการทำงานของแรงงานก่อสร้างไทย โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์กิจกรรมสายงานวิกฤต ร่วมกับการวิเคราะห์ความเหมาะสมระหว่างเวลากับค่าใช้จ่าย ภายใต้การจัดสรรกลุ่มแรงงานให้มีระยะเวลาการทำงานในแต่กลุ่มงานเท่ากัน ของงานระบบพื้นคอนกรีตอัดแรง อาคารคอนโดมิเนียม โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 20 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมย่อยสามารถ จัดแบ่งออกได้เป็นกลุ่มงาน และ กลุ่มแรงงาน ตามลักษณะงานที่ซ้ำ ๆ กัน ด้วยการกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่ 4 วัน 5 วัน 6 วัน 7 วัน และ 8 วัน ต่อชั้น พบว่าระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมที่สุด คือ 5 วันต่อชั้น (แบ่งกิจกรรรมย่อยออกเป็น 5 กลุ่มงาน แต่ละกลุ่มงานใช้ระยะเวลาทำงาน 1 วัน) มีค่าใช้จ่ายทางตรงเท่ากับ 87,544 บาท และค่าใช้จ่ายทางอ้อมเท่ากับ 138,250 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเท่ากับ 225,794 บาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นวางแผนตารางเวลางานที่เหมาะสมกับการก่อสร้างอาคารที่มีลักษณะซ้ำ</p> 2022-09-19T23:22:49+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1653 การใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับการบริหารโครงการก่อสร้างทางหลวง 2022-09-20T18:22:12+07:00 ดนัย เรืองสอน danai_r@hotmail.com วิชัย วงศ์วิศิษฐ์ danai_r@hotmail.com สุชาภัสร์ โชติรักษา danai_r@hotmail.com ณัฐวุฒิ หัสดีวิจิตร danai_r@hotmail.com ศุภกร สุทธิพันธ์ danai_r@hotmail.com ภาณุพงศ์ มะโนเย็น danai_r@hotmail.com มีชัย บุญเลิศ danai_r@hotmail.com <p class="Contentnew">การศึกษานี้ ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) หรือโดรน (Drone) มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการ ก่อสร้างของทางหลวงในหลายมิติ เช่น การวางแผนงานก่อสร้าง การมีส่วนร่วมของประชาชน การควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยในการควบคุมงาน เป็นต้น โครงการศึกษานี้เป็นโครงการนำร่องซึ่งได้เลือกโครงการก่อสร้างทางหลวงจำนวน 2 โครงการ คือ (1) โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) และ (2) โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานหน่วยบริหารและบำรุงรักษาสะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา (หนองเอี่ยน - สตึงบท) พร้อมด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุกและองค์ประกอบอื่น จ.สระแก้ว มาใช้เป็นกรณีศึกษา โดยใช้อากาศยานไร้คนขับติดตั้งกล้องและอุปกรณ์สำรวจแบบดิ<br>จิตัลเพื่อบันทึกข้อมูลกิจกรรมและผลงานในโครงการนำร่องดังกล่าว และทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการเก็บข้อมูลตามแบบที่เคยปฏิบัติกับการเก็บข้อมูลด้วยอากาศยานไร้คนขับ เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบงานและรายละเอียดวิธีดำเนินงานต่อไป การประเมิณประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้วยระบบงานเดิมเปรียบเทียบกับระบบอากาศยานไร้คนขับพบว่า การใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก DJI MINI 2 มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบงานเดิมในการเก็บข้อมูลกิจกรรมและความก้าวหน้าของโครงการ นอกจากนี้ อากาศยานไร้คนขับที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง DJI Matrice 200 series V2 ติดตั้งกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง สามารถนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลปริมาณดินถมเบื้องต้นในโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการสำรวจปริมาณดินถมอยู่ที่ร้อยละ 9.79</p> 2022-09-19T23:23:37+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1631 การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในงานขุดลอกและถมทะเล 2022-09-20T18:22:13+07:00 อาณัติ จันทร์เต็มดวง d6400378@g.sut.ac.th ศ. ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข d6400378@g.sut.ac.th ดร.วิสิษฐ์ กุลอริยทรัพย์ wisit_kul@g.sut.ac.th รศ. ดร.ชารินี ลิ้มสวัสดิ์ charinee.l@ku.th <p>การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางทะเลที่สำคัญต่อการขยายตัวทางเศรฐกิจของประเทศ เนื่องจากการขนส่งทางน้ำมีข้อได้เปรียบหลายประการ เช่น บรรทุกสินค้าได้มาก ได้หลายชนิด ค่าขนส่งต่ำ เมื่อเทียบกับรูปแบบอื่น มีความปลอดภัย มีมลภาวะต่ำ สำหรับประเทศไทยได้มีโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ดำเนินการมาแล้ว และกำลังจะพัฒนาขยายโครงการเพิ่มขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะต้องใช้เงินลุงทุนและทรัพยากรแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะงานขุดลอกและถมทะเลจะต้องใช้เครื่องจักรพิเศษและเทคนิคการก่อสร้างเฉพาะทาง รวมถึงการใช้บุคคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทางในการควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งมีอยู่จำกัดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานขุดลอกและถมทะเล อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพยากรแรงงาน การศึกษานี้ จึงได้ศึกษาและวิเคราะห์ความเสี่ยงในปัจจัยต่างๆด้านความปลอดภัยในการทำงานขุดลอกและถมทะเลโดยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และเรียบเรียปัจจัยเพื่อระบุความเสี่ยง จากนั้นทำการประเมินความเสี่ยงการแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำงานขุดลอกและถมทะเล เพื่อให้ทราบถึงระดับโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์และระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ ก่อนนำมาวิเคราะห์หาค่าระดับความเสี่ยงของเหตุการณ์ ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง 14 เหตุการณ์ พบว่ามีความเสี่ยงส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง โดยมีเหตุการณ์ความเสี่ยงสูง 3 อันดับแรกคือ งานยกของโดยเครน, เครื่องจักรชำรุด/ไม่พร้อมใช้งาน และฟ้าผ่าในพื้นที่โล่งแจ้ง ขั้นตอนสุดท้ายคือการเสนอแนวทางการป้องกันความเสี่ยงและแนวทางการบรรเทาความเสี่ยง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางทะเลในอนาคต โดยเฉพาะงานขุดลอกและถมทะเลให้ประสบความสำเร็จแก่โครงการต่อไป</p> 2022-09-19T23:24:28+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1585 การตรวจสอบและการวิเคราะห์การได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กในโครงการก่อสร้างพักอาศัยโดยเครื่องมือวัดส่วนบุคคล 2022-09-20T18:22:15+07:00 นพวิชญ์ ลีลานภากาศ n.leelanapakas@gmail.com ธนิต ธงทอง tanit.t@chula.ac.th <p>ในปัจจุบันมลพิษทางอากาศนับว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งสังเกตได้จากฝุ่นละออง PM 2.5 ที่มีระดับความเข้มข้นเกินค่ามาตรฐาน เนื่องมาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ประชากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการก่อสร้างที่มีอยู่ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยเฉพาะการก่อสร้าง ต่อเติม และดัดแปลงอาคาร ซึ่งเป็นต้นเหตุของมลพิษทางอากาศและเสียงที่ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง นำไปสู่ความกังวลในเรื่องสุขภาพ ซึ่งการตรวจวัดมลพิษทางอากาศภายในโครงการก่อสร้างในปัจจุบันนั้นเป็นเครื่องวัดขนาดใหญ่ ติดไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง งานวิจัยนี้จึง ต้องการนำเสนอระบบการตรวจวัดมลพิษทางอากาศภายในโครงการก่อสร้างอาคารแบบเรียลไทม์ โดยนำเทคโนโลยี IoT (Internet of<br>Things) และเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศและเสียง ติดตั้งกับผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและเสียงทำให้ทราบค่าความเข้มข้นของมลพิษที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับต่อวันรวมถึงทราบกิจกรรมที่ก่อให้เกิดค่ามลพิษเกินค่ามาตรฐานจากนั้นทำการทดสอบเครื่องมือโดยการเปรียบเทียบกับเครื่องมือวัดอื่นเพื่อทดสอบการทำงานและความคลาดเคลื่อนของเซนเซอร์ โดยทำการทดลองในสเกลขนาดเล็กพบว่า ระบบสามารถให้ค่าแบบเรียลไทม์ได้ต่อเนื่อง รวดเร็ว และมีความคลาดเคลื่อนน้อย สะดวกในการติดตั้งและวัดค่ามลพิษ</p> 2022-09-19T23:25:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1557 การศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและรักษาทุนมนุษย์ของวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำของกรมชลประทานโดยวิธีดัชนีความสำคัญสัมพัทธ์ 2022-09-20T18:22:15+07:00 พรเทพ วุฒิวงศ์ premwutthiwong@gmail.com นคร กกแก้ว Nakhon.k@chula.ac.th <p>ความรู้ ทักษะ และความสามารถ ของบุคลากรหรือที่เรียกว่า ทุนมนุษย์ ถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่สำคัญขององค์การในปัจจุบัน กรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำของประเทศได้มียุทธศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้การใช้งบประมาณสำหรับการพัฒนาบุคลากรของกรมชลประทานเกิดประโยชน์สูงสุด กรมชลประทานเองควรทราบถึงองค์ประกอบและปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์ ส่งผลให้งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาถึงองค์ประกอบที่สำคัญของความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) ความสามารถ (Ability) และศึกษาถึงปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการรักษาและคงอยู่ของบุคลากรกรมชลประทานที่ได้รับการพัฒนาอบรมแล้ว งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวัดหาดัชนีความสำคัญ (Relative Importance Index, RII) ในการจัดอันดับองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์ในด้านความรู้ ทักษะ และความสามารถ ในแต่ละระดับตำแหน่งในการทำงาน จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์&nbsp; ทักษะการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักความรู้ทางวิศวกรรม มีผลมากที่สุด และในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาและรักษาทุนมนุษย์นั้นมีปัจจัยสำคัญที่ต่างกันขึ้นกับตำแหน่งของงาน</p> 2022-09-19T23:27:03+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1553 ตัวแบบเชิงคำนวณเพื่อการวิเคราะห์ความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้เสียหลักของสัญญา PPP Availability-based O&M ของโครงการทางหลวงระหว่างเมืองของประเทศไทย 2022-09-20T18:22:16+07:00 นันทพัฒน์ ปิ่นตบแต่ง pat.pintobtang@gmail.com นคร กกแก้ว Nakhon.k@chula.ac.th <p class="Contentnew">ปัจจุบันรัฐได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการของรัฐในรูปแบบของการจ้างดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ<br>(PPP O&amp;M) ซึ่งรัฐเจ้าของโครงการรับผิดชอบในการลงทุนในการการก่อสร้างงานโยธา ส่วนเอกชนรับผิดชอบในการลงทุนในงาน<br>ระบบและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาตลอดอายุโครงการ ตัวอย่างโครงการที่ใช้รูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP O&amp;M ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 บางปะอิน – นครราชสีมา เป็นต้น สัญญา PPP O&amp;M รายได้จากการเก็บค่า ผ่านทางจะเป็นของรัฐทั้งหมด โดยรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการจะจ่ายผลตอบแทนให้กับภาคเอกชนในลักษณะอัตราเหมาจ่าย ซึ่งรวมเงินลงทุนสำหรับงานระบบและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาตลอดอายุสัญญา ซึ่งเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนที่เรียกว่า PPP Gross Cost ความเสี่ยงของสัญญา PPP O&amp;M ในรูปแบบ PPP Gross Cost นั้น รัฐเจ้าของโครงการยังต้องแบกรับความเสี่ยงด้าน การตลาด (Market risk) เช่น สภาพเศรษฐกิจของประเทศ และปริมาณจราจร เป็นต้น ส่วนเอกชนคู่สัญญารับความเสี่ยงด้านการต้นทุนในการลงทุนงานระบบ และต้นทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษาให้อยู่ในระดับที่ระบุในสัญญา (Operational risk) โดยสัญญา PPP O&amp;M จะนำกลไกการจ่ายค่าตอบแทน (Payment mechanism) ที่เรียกว่า “Availability payment (AP)” โดย APเป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามสภาพความพร้อมใช้และคุณภาพของการให้บริการ (Performance-based) โดยค่าตอบแทนนี้อาจแบ่งการจ่ายเป็นรายเดือน รายไตรมาส และค่าตอบแทนในแต่ละงวดอาจมีการปรับลด (Deduction) ในกรณีที่ผู้ให้บริการ (Privateoperator) ไม่สามารถรักษาสภาพความพร้อมใช้ได้และคุณภาพของการให้บริการได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาได้ งานวิจัยนี้จึงต้องการเสนอตัวแบบเชิงคำนวณเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้เสียหลักของสัญญา PPP Availability-based O&amp;Mของโครงการทางหลวงระหว่างเมืองของประเทศไทย โดยผู้มีส่วนได้เสียหลักที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย (1) หน่วยงานรัฐเจ้าของโครงการ (2) เอกชนผู้ให้บริการ และ (3) สถาบันการเงินผู้ให้เงินกู้กับภาคเอกชน โดยตัวแบบเชิงคำนวณที่งานวิจัยนี้นำเสนอไปนั้น จะสามารถประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในโครงการ และเป็นแนวทางในการพัฒนาสัญญารูปแบบ PPP O&amp;M นี้ต่อไปในอนาคต</p> 2022-09-19T23:27:50+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1532 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านพักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 2022-09-20T18:22:17+07:00 เปี่ยมศักดิ์ ทนุกิจ tompiam@windowslive.com นาถ สุขศีล nartsooksil@npu.ac.th <p>การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านพักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านพักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ด้านประชากรศาสตร์และด้านส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงผู้บริโภคที่สามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจซื้อบ้านพักอาศัย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และผู้สนใจที่จะลงทุนธุรกิจประเภทนี้ เพื่อให้สามารถสร้างโอกาสแข่งขันได้ในตลาดและสอดคล้องต่อความต้องการของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่ยังไม่มีบ้านพักอาศัย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 200 คน ผลการศึกษาพบว่าลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีดังนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-30 ปี ประกอบอาชีพรับราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ<br>รายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด จำนวนสมาชิกในครอบครัว 1-2 คน ประเภทบ้านพักอาศัยที่ต้องการซื้อเป็นบ้านเดี่ยวชั้นเดียว ขนาดที่ดิน 50-75 ตารางวา จำนวน 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 2 ที่จอดรถ งบประมาณ 1,000,001-2,000,000 บาทวัตถุประสงค์ในการซื้อบ้านพักอาศัยเพื่อต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง โดยการผ่อนชำระกับธนาคาร รู้จักโครงการบ้านพักอาศัยผ่านทางสื่อออนไลน์(Website/Facebook/line) สาเหตุที่ตัดสินใจเลือกซื้อเพราะใกล้ที่ทำงาน ใช้จำนวน 3 โครงการ เพื่อเปรียบเทียบในการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านพักอาศัย ส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะซื้อบ้านพักอาศัยในระยะเวลามากกว่า 1 ปี จากการวิเคราะห์แบบถดถอยโลจิสติกพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านพักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์</p> 2022-09-19T23:28:40+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1441 การพัฒนาเกมกระดานเศรษฐีงานก่อสร้างเพื่อเสริมความรู้และความสนใจในการบริหารงานก่อสร้าง 2022-09-20T18:22:18+07:00 พงศ์พันธุ์ กาญจนการุณ pongpank@gmail.com สุรชัย อำนวยพรเลิศ aretomrit@gmail.com พราวพรรณ อาสาสรรพกิจ praopun@g.cmru.ac.th อภิสิทธิ์ ก๋ายวม pangzaro_zero@hotmail.com วีระพงษ์ โกโล tar_080502@hotmail.com <p>ปัญหาจำนวนมากและหลากหลายในงานก่อสร้างขนาดเล็กทำให้วิศวกรจบใหม่ส่วนใหญ่ไม่สามารถตระหนักรู้ถึงปัญหาเหล่านี้อย่างรอบด้าน บทความนี้นำเสนอการพัฒนาเกมกระดานเศรษฐีงานก่อสร้างเพื่อเสริมความรู้และความสนใจในการบริหารงานก่อสร้าง องค์ความรู้ในงานก่อสร้างที่อยู่ในเกมกระดานประกอบด้วย หลักปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานก่อสร้าง อันได้แก่ กำลังคน เงิน เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ อีกทั้งยังสอดแทรกปัญหาหลากหลายในงานก่อสร้างบ้าน อาคาร และถนน รวมไปถึงตัวอย่างข้อสอบสภาวิศวกรเพื่อให้นักศึกษาวิศวกรรมโยธาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาได้มีความรู้ที่จะนำไปสอบรับใบประกอบวิชาชีพอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีการ์ดท้าทายที่จะเพิ่มความสนุกตื่นเต้นตลอดทั้งเกม บอร์ดเกมได้ถูกนำไปทดสอบกับนักศึกษาวิศวกรรมโยธาชั้นปีที่ 1-4 ชั้นปีละ 20 คน ผลการศึกษาบ่งชี้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่สามารถทำข้อสอบของสภาวิศวกรได้เพิ่มขึ้นและยังทราบถึงปัญหาของงานก่อสร้างมากขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบในเกมกระดานเป็นเพียงปัญหาบางส่วนที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้าง ดังนั้นจึงควรมีการเก็บรวบรวมปัญหางานก่อสร้างให้มากขึ้นและนำมาใส่เพิ่มเติมในเกมกระดานเพื่อให้ผู้เล่นรู้เท่าทันปัญหาและสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2022-09-19T23:29:20+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1406 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสามารถในการรับมือขององค์กรก่อสร้างในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 2022-09-20T18:22:19+07:00 เฟื่องสิริ ฤทธิ fuengsiri.ri@ku.th สุธาริน สถาปิตานนท์ fengsrp@ku.ac.th วิโรจน์ รุโจปการ wiroj.r@ku.ac.th <p>การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์โดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบ ต่อระบบเศรษฐกิจและการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นเหตุให้องค์กรต่องทบทวนแนวทางการทํางานจากความยืดหยุ่นขององค์กรที่เป็นสิ่งจําเป็นที่ช่วยให้องค์กรประกอบการได้อย่างต่อเนื่องและเติบโตได้ในภาวะที่ไม่แน่นอน งานวิจัยนี้จึงศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถ ในการรับมือขององค์กรก่อสร้างในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันผ่านแบบสอบถามจํานวน 327 ตัวอย่างของผู้ทํางานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรก่อสร้าง ผลการวิเคราะห์สามารถจัดกลุ่มปัจจัยได้ 5 กลุ่ม โดยมีปัจจัยความยืดหยุ่นขององค์กรอธิบายได้สูงสุด รองลงมาเป็นปัจจัย<br>ความเป็นผู้นํา ปัจจัยประสิทธิภาพการทํางานของพนักงาน ปัจจัยความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยผลการดําเนินงานขององค์กร ตามลําดับ ทั้งนี้แบบจําลองที่ได้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับพอใช้ (χ2/df = 2.920, CFI = 0.904, GFI = 0.833, AGFI = 0.801 และ RMSEA=0.077)</p> 2022-09-19T23:30:03+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1433 การใช้เทคนิควิศวกรรมคุณค่าในการเลือกใช้ฐานรากแบบปรับปรุงแทนที่ฐานรากแผ่แบบดั้งเดิม สำหรับบ้านพักอาศัย 1 ชั้นในพื้นที่ชุมชน 2022-09-20T18:22:20+07:00 วีระพันธ์ หมอกมุงเมือง Virapunt_mo@cmu.ac.th เดชดำรงค์ สุปินะ Virapunt_mo@cmu.ac.th มานพ แก้วโมราเจริญ manop.k@cmu.ac.th <p class="paragraph"><span lang="TH">ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการก่อสร้าง ขั้นตอนการก่อสร้าง หรือวัสดุที่นำใช้ เพื่อพัฒนาให้งานก่อสร้างบ้านพักอาศัยนั้นใช้ต้นทุนลดลง ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่รวดเร็วมากขึ้น แต่ยังคงคุณภาพและคุณสมบัติทางวิศวกรรมเหมือนเดิม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ทำการเปรียบเทียการใช้ฐานรากแผ่แบบดั้งเดิมกับฐานรากที่ปรับปรุงโดยการใช้เสาเข็มเจาะโดยไม่มีฐานราก ในโครงการก่อสร้างบ้านพักอาศัย </span><span lang="EN-US">1 </span><span lang="TH">ชั้นซึ่งจะสามารถลดขั้นตอนการก่อสร้างได้ และยังสามารถทำงานในพื้นที่ชุมชนที่มีความแออัดและพื้นที่ในการทำงานน้อย เนื่องจากใช้เครื่องจักรที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายและไม่กระทบกับพื้นที่ชุมชน โดยงานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการสำรวจข้อมูลที่จำเป็นในการออกแบบฐานรากของบ้าน จากนั้นจึงทำแบบสอบถามจากวิศวกรและผู้รับเหมาเพื่อหาปัจจัยที่สำคัญของการก่อสร้างฐานราก แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มานั้นมาวิเคราะห์ตามกระบวนวิเคราะห์วิศวกรรมคุณค่าทั้ง </span><span lang="EN-US">6 </span><span lang="TH">ขั้นตอน ซึ่งจากการเปรียบเทียบด้านราคาและระยะเวลาในการก่อสร้างสำหรับบ้านพักอาศัย </span><span lang="EN-US">1 </span><span lang="TH">ชั้น พบว่าการใช้ฐานรากแบบปรับปรุงมีต้นทุนการก่อสร้างน้อยกว่าและใช้เวลาในการก่อสร้างน้อยกว่าการก่อสร้างฐานรากแผ่</span></p> 2022-09-19T23:30:46+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1432 การปรับปรุงกระบวนการก่อฉาบด้วยเทคนิคลีน 2022-09-20T18:22:20+07:00 บรรจง ไทยลา banjong_thai@cmu.ac.th เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง banjong-thai@cmu.ac.th พรพจน์ นุเสน banjong-thai@cmu.ac.th มานพ แก้วโมราเจริญ banjong-thai@cmu.ac.th <p>ในปัจจุบันการก่อสร้างแบบลีนถูกกล่าวถึงในอุตสาหกรรมการก่อสร้างซึ่งเป็นการวิเคราะห์เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน โดยเฉพาะ กระบวนการก่อฉาบซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในทุกโครงการก่อสร้าง เมื่อวิเคราะห์กระบวนการแล้ว พบว่าจะมีของเสียเกิดขึ้นในหลายแบบหลายขั้นตอน ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการก่อสร้างแบบลีนมาประยุกต์ในการวิเคราะห์กระบวนการทำงานก่อฉาบ สำหรับบ้านพักอาศัยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมี ขั้นตอนเริ่มต้นจากการสร้างแผนผังกระบวนการก่อ และกระบวนการฉาบในบ้านพักอาศัย หลังจากนั้นนำแนวทางการก่อสร้างแบบลีนมาวิเคราะห์ และ ทดลองใช้กับงานก่อสร้างพร้อมทั้งเปรียบเทียบระยะเวลาและความสูญเสียที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการประยุกต์ใช้ จากการศึกษาพบว่าขั้นตอนการทำงาน สามารถทำไปพร้อมๆกันได้หากมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ร่วมกับหลักการที่ถูกต้อง แม้ว่าจำนวนขั้นตอนจะยังคงเดิม แต่สามารถลดเวลาที่ใช้ในงาน ก่อฉาบลง ประมาณร้อยละ 50 จากเดิมใช้เวลาทั้งหมด 32,600 นาที หลังนำลีนมาประยุกต์แล้วจะใช้เวลาทั้งหมด 16,500 นาที ลดลง 16,100 นาที เนื่องจากในขั้นตอนก่อฉาบจะมีขั้นตอนย่อยคือ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้ใกล้บริเวณที่ทำงานให้มากที่สุด การผสมปูน ขนปูนและล้างอุปกรณ์ ซึ่ง สามารถทำพร้อมกันได้</p> 2022-09-19T23:31:33+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1430 การประยุกต์ใช้ระบบคัมบังในการรายงานการก่อสร้างระหว่างผู้รับเหมาและเจ้าของโครงการ 2022-09-20T18:22:21+07:00 เดชดำรงค์ สุปินะ detdamrong_supina@cmu.ac.th ทิพยภาวรรณ ตันอ้วน phatteera@rmutl.ac.th มานพ แก้วโมราเจริญ manop.k@cmu.ac.th <p class="paragraph">การรายงานความคืบหน้าของการก่อสร้างระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอำนาจตัดสินใจในโครงการอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้สามารถติดตามความก้าวหน้าและตรวจสอบความถูกต้องของโครงการว่าเป็นไปแผนงานก่อสร้างหรือไม่และทราบถึงภาพรวมของงานก่อสร้างทำให้สามารถทราบถึงต้นทุนระยะเวลาในการก่อสร้างและคุณภาพของงานก่อสร้าง มารายงานในรูปแบบกระดานคัมบังที่ถูกนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการแบบลีน ช่วยให้สามารถติดตามการทำงานได้ชัดเจน รวดเร็ว และถูกต้อง งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่สำคัญในการรายงานความคืบหน้าการก่อสร้างในการใช้ระบบคัมบังในการรายงาน โดยเริ่มต้นจากการศึกษาแผนการก่อสร้างและข้อมูลที่จำเป็นในการรายงานการก่อสร้าง จากนั้นได้สัมภาษณ์เจ้าของบ้านเพื่อหาปัจจัยที่สำคัญในการรายงานความคืบหน้างานก่อสร้างและให้คะแนนความสำคัญแต่ละปัจจัย สุดท้ายคือเลือกปัจจัยที่เจ้าของบ้านให้ความสำคัญ นำมาออกแบบกระดานคัมบังเพื่อรายงานความคืบหน้าการก่อสร้างผ่านซอฟต์แวร์ ในโครงการก่อสร้างบ้านพักอาศัย 1 ชั้น</p> 2022-09-19T23:32:22+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1426 การปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในก่อสร้าง โดยประยุกต์เทคนิคลีน 2022-09-20T18:22:22+07:00 เอกวิทย์ เอี้ยงการ ekkavit_iang@cmu.ac.th เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง eakphisit@hotmail.com พรพจน์ นุเสน ekkavit_iang@cmu.ac.th มานพ แก้วโมราเจริญ manop.k@cmu.ac.th <p class="Keywordnew">การทำงานก่อสร้างของผู้รับเหมาในบางกรณีประสบปัญหาไม่สามารถควบคุมรายจ่ายให้เป็นไปตามแผนของโครงการได้ อันเนื่องมาจากการบริหาร จัดการงบประมาณที่ผิดพลาด ทำให้ผู้รับเหมาต้องสูญเสียรายได้ หรือได้กำไรที่ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากการทำงาน งานวิจัยฉบับนี้จะนำเทคนิคลีนมาใช้เพื่อวิเคราะห์ และพัฒนากระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อค้นหากระบวนการที่สูญเปล่าและหาแนวทางจัดการระบบในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเปรียบเทียบจำนวนขั้นตอนระหว่างระบบจัดซื้อจัดจ้างเดิมกับหลังนำลีนมาประยุกต์ใช้ บริษัทได้ทำการเปลี่ยนแปลงระบบโดยใช้ลีนดังนี้ 1. สร้างผังแสดงการทำงานแบบเดิมเพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้งานเกิดปัญหา 2.นำลีนมาช่วยสร้างระบบใหม่โดยลดความซ้ำซ้อนลง 3.จัดหาพัสดุให้เพียงพอต่อการทำงานแบบงวดต่องวด ผลวิจัยพบว่าสามารถลดขั้นตอนย่อยลง 12 ขั้นตอน และลดเวลารอคอยจากกระบวนการสั่งซื้อพัสดุด้วยเวลาที่ลงเหลือเพียง 75.5 ชั่วโมง จากเดิม242 ชั่วโมง 25 นาที ลดค่าความสูญเปล่าคิดเป็นร้อยละ 68.86</p> 2022-09-19T23:33:17+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1380 การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการติดตั้งระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าปะเภทสำนักงาน ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ระบบออนกริด และไฮบริด กรณีศึกษา: อาคารพาณิชย์ขนาด 1,600 ตารางเมตร 2022-09-20T18:22:22+07:00 กระจ่าง ปลื้มกมล 6319150001@mutacth.com ผศ. ดร. วัชระ สัตยาประเสริฐ 6319150001@mutacth.com <p>ในการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของต้นทุน และผลตอบแทน การเปรียบเทียบแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ข้อสมมติฐานในการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 8 ทางเลือก คือ ระบบออนกริดขนาด (a1-40KW), (a2-50KW), (a3-60KW), (a4-70KW) ตามลําดับ และระบบไฮบริดขนาด (a5-90KW), (a6-110KW), (a7-110KW), (a8-120KW) ตามลําดับ กรณีศึกษา อาคารพาณิชย์ขนาด 1,600 ตารางเมตร โดยวิเคราะห์ทางการเงินของโครงการด้วยเครื่องมือคือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) , อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ,ระยะเวลาคืนทุน (PB), อัตราส่วนของผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C), ค่าของทุน ใช้เป็นอัตราลดค่า 7% รวมถึงการวิเคราะห์ความอ่อนไหว ปัจจัยด้านความเสี่ยง และปัจจัยด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามแบ่งออก 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านปัจจัยใดที่มีความสําคัญที่สุดในการตัดสินใจติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้ ELECTRE ll มาช่วยในการวิเคราะห์ลําดับความสําคัญด้วยการพิจารณา เปรียบเทียบทีละคู่จากผลต่างของค่าดัชนีความสอดคล้องร่วมถึงความไม่สอดคล้องของทางเลือกที่ได้เปรียบระบุว่าความสัมพันธ์ทางเลือกนั้นเป็นการเหนือกว่ากันอย่างหนักแน่นและเหนือกว่ากันอย่างไม่หนักแน่น สรุปลําดับความสําคัญของทางเลือกเหมาะสมที่สุด คือทางเลือก (a4-70KW), (a3-60KW), (a2-50KW), (a1-40KW), (a5-90KW), (a6-110KW), (a7-110KW), (a8-120KW) ตามลําดับ</p> 2022-09-19T23:34:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1374 การประเมินค่าดำเนินการงานก่อสร้างสำหรับโครงการก่อสร้างอาคารสูง 2022-09-20T18:22:23+07:00 ฉัตรชัย ตระกูลสันติรัตน์ wisitsak.t@rmutsv.ac.th เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ wisitsak.t@rmutsv.ac.th วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง wisitsak.t@rmutsv.ac.th วรวิทย์ โพธิ์จันทร์ wissa2523@gmail.com <p>งานวิจัยนี้ศึกษาค่าดำเนินการงานก่อสร้าง (overhead cost) ของโครงการก่อสร้างอาคารสูง โดยการสำรวจ และเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (primary data)และข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) จากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 13 โครงการ ซึ่งมูลค่าโครงการที่ไม่เกิน1,000 ล้านบาท ค่าดำเนินการงานก่อสร้างก่อสร้างประกอบด้วยค่าใช้จ่ายของพนักงาน ค่าใช้จ่ายของคนงาน ค่าใช้จ่ายของที่พักคนงาน ค่าใช้จ่ายไฟฟ้าและประปา และค่าใช้จ่ายเครื่องจักร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าค่าดำเนินการงานก่อสร้างมีค่าเพิ่มขึ้นตามมูลค่าโครงการที่เพิ่มขึ้น ค่าดำเนินการงานก่อสร้างเฉลี่ยมีค่าเท่ากับร้อยละ 18.44 ของมูลค่าโครงการ ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายของพนักงานร้อยละ 21.77 ค่าใช้จ่ายของคนงานร้อยละ 52.05 ค่าใช้จ่ายของที่พักคนงานร้อยละ 2.03 ค่าใช้จ่ายไฟฟ้าและประปาร้อยละ 6.77 และค่าใช้จ่ายเครื่องจักรร้อยละ 4.04 ตามลำดับ ข้อมูลที่ได้มาเป็นประโยชน์อย่างมากในการประมาณราคาค่าก่อสร้างของโครงการก่อสร้างอาคารสูง สำหรับการประมูลงานและการบริหารงานก่อสร้างโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2022-09-19T23:34:55+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1302 การควบคุมงานก่อสร้างโครงการของภาครัฐด้วยเทคนิคปัจจัยในการควบคุมเวลา 2022-09-20T18:22:23+07:00 ยศกร ชลรัตน yossakorn.ce@gmail.com ชัยณรงค์ อธิสกุล chainarong.ath@kmutt.ac.th <p>การจัดการงานก่อสร้างโครงการของภาครัฐด้วยเทคนิคในการควบคุมเวลานั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะให้บริษัทผู้รับจ้างนั้นได้ผลลัพธ์ในการควบคุมงานก่อสร้างซึ่งตรงตามเป้าหมายของบริษัทผู้รับจ้างและหน่วยงานของภาครัฐที่ดำเนินการว่าจ้าง ดังนั้นผู้บริหารงานก่อสร้างโครงการของภาครัฐจำเป็นจะต้องจัดการในหัวข้อที่เป็นปัญหาและปัจจัยต่าง ๆ มากมายในการควบคุมเวลาของงานก่อสร้าง การระบุปัญหาและปัจจัยในการควบคุมงานก่อสร้างโครงการของภาครัฐที่ทำให้งานก่อสร้างแล้วเสร็จและตรงตามกรอบเวลาของเงื่อนไขสัญญาว่าจ้างนั้น เป็นเทคนิคหนึ่งในการทำให้เห็นถึงปัญหาและปัจจัยสำคัญในการควบคุมเวลาในงานก่อสร้างของภาครัฐที่มีมากมาย นั้นเป็นประโยชน์มากในการจัดการงานก่อสร้างโครงการของภาครัฐ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยในการควบคุมเวลาของงานก่อสร้างโครงการของภาครัฐ ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย (1) การคัดเลือกปัญหาและปัจจัยในการควบคุมเวลาของงานก่อสร้างโครงการของภาครัฐจำนวน 14 ปัญหาและปัจจัย ซึ่งรวบรวมจากการทบทวนวรรณกรรม (2) การเก็บและรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารงานก่อสร้างโครงการของภาครัฐในจังหวัดระยองประเทศไทย 15 โครงการ มูลค่าโครงการตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปของบริษัทที่จดทะเบียนบริษัทกับกรมธุรกิจการค้ากระทรวงพานิชย์ของประเทศไทย (3) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อสรุปผลลัพธ์ของปัญหาและปัจจัยในการควบคุมเวลาสำหรับการจัดการงานก่อสร้างโครงการของภาครัฐ โดยปัญหาและปัจจัยในการควบคุมเวลางานก่อสร้างโครงการของภาครัฐพบปัญหาและปัจจัยระดับสูงมาก ได้แก่ การจัดการระบบการขนส่งที่เกี่ยวข้องในโครงการ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.85 และจากปัญหาและปัจจัยในการควบคุมเวลาที่ได้นั้นสามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารโครงการของภาครัฐทุกๆโครงการ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการงานก่อสร้างเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทผู้รับจ้างได้ในโครงการถัดไป</p> 2022-09-19T23:35:37+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1283 การศึกษาประสิทธิภาพที่ส่งผลกระทบต่อการเบิกงวดงาน กรณีศึกษา:โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายสัญญาที่3 ช่วงเตาปูน-ท่าพระ 2022-09-20T18:22:24+07:00 สิทธิโชค สุนทรโอภาส sittischok.s@cit.kmutnb.ac.th ภาคภูมิ ม่วงคำ sittischok.s@cit.kmutnb.ac.th <p>การศึกษาประสิทธิภาพที่ส่งผลกระทบต่อการเบิกงวดงานของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย&nbsp;สัญญาที่&nbsp;3&nbsp;ช่วงเตาปูน-ท่าพระ &nbsp;โดยทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพที่ส่งผลในแต่ละด้านของการเบิกงวดงานและนำเสนอแนวทางป้องกัน&nbsp;การศึกษานี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลความคิดเห็นของประสิทธิภาพที่ส่งผลกระทบทั้งหมด&nbsp;6&nbsp;ด้าน&nbsp;คือ&nbsp;1.ด้านบุคลากร&nbsp;2.ด้านบริหารการจัดการ&nbsp;3.ด้านการเงิน&nbsp;4.ด้านวัสดุ&nbsp;5.ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ&nbsp;และ 6.ด้านขั้นตอนการดำเนินงาน &nbsp;กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจำนวน&nbsp;6&nbsp;กลุ่ม&nbsp;ได้แก่ เจ้าของงาน&nbsp;จำนวน&nbsp;4&nbsp;คน&nbsp; กลุ่มที่ปรึกษาควบคุมงาน&nbsp;จำนวน&nbsp;4&nbsp;คน&nbsp; และผู้รับเหมาก่อสร้าง 4&nbsp;ฝ่าย แบ่งเป็น ฝ่ายควบคุมปริมาณ&nbsp;ฝ่ายประกันคุณภาพ และฝ่ายควบคุมคุณภาพ&nbsp;จำนวน 16&nbsp;คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น&nbsp;24&nbsp;คน &nbsp;ผลการศึกษาประสิทธิภาพที่ส่งผลกระทบต่อการเบิกงวดงานของโครงการ พบว่า ประสิทธิภาพด้านบุคลากรอยู่ในลำดับที่&nbsp;1 ค่าเฉลี่ย&nbsp;3.80&nbsp; ลำดับที่&nbsp;2&nbsp;ด้านบริหารการจัดการ ค่าเฉลี่ย&nbsp;3.76&nbsp; ลำดับที่&nbsp;3&nbsp;ด้านวัสดุ&nbsp;ค่าเฉลี่ยเป็น&nbsp;3.70&nbsp; ลำดับที่&nbsp;4&nbsp;ด้านขั้นตอนการเบิกงวดงาน&nbsp;มีค่าเฉลี่ย&nbsp;3.69 &nbsp;ลำดับที่&nbsp;5&nbsp;ด้านบริหารการเงิน&nbsp;มีค่าเฉลี่ย&nbsp;3.59&nbsp;และ ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ&nbsp;มีค่าเฉลี่ย&nbsp;2.69&nbsp;เป็นลำดับสุดท้าย ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> 2022-09-19T23:37:11+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1272 การวิเคราะห์กำลังรับแรงของฐานรากเสาเข็มฝังลึกในดินเหนียวด้วยวิธีไฟไนท์อีลิเมนต์ 2022-09-20T18:22:25+07:00 ชลดา กาญจนกุล chollada-ka@hotmail.com ทักษกร พรบุญญานนท์ thaksakorn.p@rmutsv.ac.th ธนันท์ ชุบอุปการ tanan.c@psu.ac.th <p class="Contentnew"><span lang="TH">งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์กำลังรับแรงแบกทานและพฤติกรรมการทรุดตัวของฐานรากเสาเข็มสำหรับอาคารบ้านเรือน โดยใช้ข้อมูลพารามิเตอร์จากรายงานผลการเจาะสำรวจดิน </span>(Boring log) <span lang="TH">เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ไฟไนท์อีลิเมนต์แบบ 2 มิติ โดยการจำลองสภาพดินเหนียวด้วยวัสดุแบบ</span> <a name="_Hlk95261650"></a>Mohr-coulomb <span lang="TH">และไม่ระบายน้ำ </span>(Undrained) <span lang="TH">ในส่วนของเสาเข็มจะมีคุณสมบัติของวัสดุแบบอิลาสติกโดยชิ้นส่วนเชื่อมต่อระหว่างดินและโครงสร้างถูกใช้ตลอดความยาวระหว่างผิวสัมผัสของเสาเข็ม ผู้วิจัยนำเสนอผลสรุปเป็นรูปแบบคู่มือการรับน้ำหนักของเสาเข็มตอกสี่เหลี่ยมขนาดแตกต่างกันเพื่อเป็นประโยขน์ต่อชุมชนของผู้อยู่อาศัยในความร่วมมือระหว่าง สถาบันพัฒนาชุมชน (องค์การมหาชน) กับ ศูนย์วิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิศวกรรมโยธา</span></p> 2022-09-20T08:57:12+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1524 ผลกระทบของจุลินทรีย์ท้องถิ่นต่อกระบวนการเกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตในดิน 2022-09-20T18:22:26+07:00 พงศกร ศิริสิงห์อำไพ book.kung@hotmail.com พรเกษม จงประดิษฐ์ book.kung@hotmail.com ดุจเดือน วราโห book.kung@hotmail.com พีรดา พรหมมีเนตร book.kung@hotmail.com สุภาภรณ์ ชีวะธนรักษ์ book.kung@hotmail.com สุรพงษ์ รัตนกุล book.kung@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของจุลินทรีย์ท้องถิ่นต่อกระบวนการเกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตในดินโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการผลิตเอนไซม์ยูรีเอส และเชื่อมประสานกันระหว่างอนุภาคของเม็ดดินทำให้ดินมีคุณสมบัติทางวิศวกรรมที่ดีขึ้น สำหรับวิธีการในการทดสอบจะนำดินตัวอย่าง 2 ชนิด ได้แก่ 1. .ดินท้องถิ่นที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยวิธีการใช้ไอน้ำร้อนและแรงดันสูงในหม้อนึ่งความดันไอน้ำ (ออโต้เคลฟ) 2.ดินท้องถิ่น โดยนำตัวอย่างทั้งหมดมาผ่านกระบวนการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงอิทธิพลในการทำงานร่วมกันระหว่างจุลินทรีย์ท้องถิ่นกับจุลินทรีย์ที่ผลิตเอนไซม์ยูรีเอสต่อกระบวนการตกตะกอนแคลเซียมเซียมคาร์บอเนตในดิน โดยใช้จุลินทรีย์ <em>Lysinibacillus sphaericus</em> เปรียบเทียบ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ EW-S2 และ LMG22257 มาขังในตัวอย่างดิน และทิ้งไว้เป็นเวลา 12 ชั่วโมงในแต่ละรอบ เป็นระยะเวลา 18 วัน หลังจากนั้นนำตัวอย่างดินมาตรวจสอบปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่เกิดขึ้นด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (SEM) และวิเคราะห์หาปริมาณธาตุ Energy Dispersive X-ray (EDS) พร้อมกับกำลังและความสามารถในการซึมผ่าน ผลการทดสอบพบว่าจุลินทรีย์ท้องถิ่นส่งผลให้กระบวนการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตในดินมีประสิทธิภาพที่ลดลง</p> 2022-09-20T08:58:06+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1915 ผลกระทบของการขุดอุโมงค์คู่ซ้อนกันในแนวดิ่งที่มีระยะห่างระหว่างหน้าการขุดต่อโครงสร้างข้างเคียง 2022-09-20T18:22:26+07:00 ณัฐวิช สิทธิอมรพร nattavich.0202@mail.kmutt.ac.th สมเกียรติ เลิศกุลทานนท์ Pongsakorn.siri@mail.kmutt.ac.th พรเกษม จงประดิษฐ์ Pongsakorn.siri@mail.kmutt.ac.th ชณาภัทร แก้วพินิจ Pongsakorn.siri@mail.kmutt.ac.th ธนธัช เปรมศรี Pongsakorn.siri@mail.kmutt.ac.th มุกอันดา สุวัณณะสังข์ mukanda.sw@mail.kmutt.ac.th <p>จากสภาพพื้นที่ที่จำกัดของเมืองใหญ่ ทำให้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินโดยเฉพาะอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งที่อาจถูกก่อสร้างใกล้เคียงกับโครงสร้างเสาเข็มที่มีอยู่เดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินจำเป็นต้องก่อสร้างอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้กระทบต่อการปิดการจราจร ดังนั้นจะเป็นการขุดที่ระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะอยู่ใกล้กันมากขึ้น อย่างไรก็ตามในอดีตไม่ได้พิจารณาอิทธิพลเนื่องจากระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะของการขุดอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งต่อพฤติกรรมของเสาเข็มข้างเคียง การศึกษานี้วิเคราะห์วิธีทางไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสามมิติของการขุดอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งที่มีระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะที่แตกต่างกันได้แก่ 0Ls 1Ls 3Ls 5Ls และ 8Ls (Ls คือความยาวของหัวเจาะ) ต่อพฤติกรรมของเสาเข็มที่มีอยู่เดิม โดยงานวิจัยนี้ได้ใช้พารามิเตอร์ดินและสอบเทียบวิธีการจำลองอุโมงค์จากโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงเทพสายสีน้ำเงิน จากผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่าระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะที่แตกต่างกันของการขุดอุโมงค์คู่แบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเสียรูปของดินและพฤติกรรมของเสาเข็มที่มีอยู่เดิม</p> 2022-09-20T08:59:47+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1910 ความแข็งแรงเฉือนของดินเสริมกำลังด้วยระบบรากต้นกระถินเทพา 2022-09-20T18:22:27+07:00 มัณฑนา นันติ mantana198888@gmail.com พานิช วุฒิพฤกษ์ s6102032856148@email.kmutnb.ac.th อิทธิพล มีผล s6102032856148@email.kmutnb.ac.th ศิริพัฒน์ มณีแก้ว s6102032856148@email.kmutnb.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินที่มีการเสริมกำลังด้วยรากกระถินเทพาเปรียบเทียบกับดินเปล่า โดยได้ศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของต้นกระถินเทพา ค่าความต้านทานแรงดึงของรากกระถินเทพาย ค่ากำลังเฉือนของดินดินที่เสริมด้วยรากกระถินเทพา นอกจากนี้ยังศึกษาแรงดึงของระบบรากกระถินในช่วงการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน นำกระถินเทพามาปลูกในกระบอกพีวีซี เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม. ยาว 10 ซม. นำมาต่อเรียงกัน 3 ชิ้น แล้วหุ้มด้วยถุงพลาสติกเพื่อป้องกันความชื้น จากนั้นวัดขนาดและการเจริญเติบโต จากการศึกษาพบว่าต้นกระถินเทพาเติบโตอย่างรวดเร็วภายใน 12 เดือนมีความสูงมากกว่า 1 เมตร จากการทดสอบความต้านทานแรงดึงของรากพบว่ารากของต้นกระถินเทพาสามารถต้านทานแรงดึง 1,485 กรัมต่อตารางเซนติเมตร การทดสอบแรงเฉือนของดินที่เสริมความแข็งแรงด้วยระบบรากกระถินเทพาเมื่อเวลาผ่านไป 12 เดือนการเจริญเติบโตส่งผลต่อกำลังรับแรงเฉือนเพิ่มขึ้น ด้วยแรงดึง 0.139 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร แรงถอนดึงของต้นกระถินเทพาเมื่ออายุ 12 เดือนเท่ากับ 55 กิโลกรัม กล่าวได้ว่าแรงเฉือนของดินเสริมกำลังด้วยรากกระถินเทพาและความต้านทานแรงดึงของรากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุของการปลูกและความชื้นที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพของลาดดินอย่างมีนัยสำคัญ</p> 2022-09-20T09:01:05+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1907 สมบัติทางวิศวกรรมของดินลูกรังปรับปรุงคุณภาพด้วยซีเมนต์และเสริมแรงด้วยเส้นใยเหล็กจากยางรถยนต์ 2022-09-20T18:22:28+07:00 ขวัญจิรา หมั่นบำรุงศาสน์ khwanchira_m@rmutt.ac.th พานิช วุฒิพฤกษ์ khwanchira_m@rmutt.ac.th อิทธิพล มีผล khwanchira_m@rmutt.ac.th ศิริพัฒน์ มณีแก้ว khwanchira_m@rmutt.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">ดินลูกรังมีความหนาแน่นเหมาะสำหรับนำมาบดอัดในงานถนน แต่มีคุณสมบัติไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณความชื้นและสภาวะแวดล้อม ทำให้บางครั้งดินลูกรังที่นำมาใช้มีคุณภาพไม่เพียงพอสำหรับนำมาใช้เป็นวัสดุในงานชั้นทาง เนื่องจากไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมทางหลวง โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมพื้นฐานของดินลูกรังโดยผสมกับซีเมนต์และเสริมกำลังด้วยเส้นใยเหล็กจากยางรถยนต์ใช้แล้ว ปริมาณปูนซีเมนต์ร้อยละ 3 มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับดินลูกรังที่ควบคุมความหนาแน่นและปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่สุด ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน โดยให้ค่ากำลังรับแรงอัดแบบไม่จำกัดของตัวอย่างทั้งแบบไม่ต้องแช่น้ำและแช่น้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมงก่อนการทดสอบสูงกว่าเกณฑ์กำหนด จากนั้นนำเส้นใยเหล็กจากยางรถยนต์ใช้แล้วมาผสมในดิน 1% 2% 3% 4% และ 5% ต่อน้ำหนักดินแห้ง เปอร์เซ็นต์เส้นใยเหล็กจากยางรถยนต์ใช้แล้วที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเสริมกำลังคือร้อยละ 3 โดยนำมาทดสอบแรงดึงแบบแยกส่วนซึ่งให้ค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุด 4.90 กก./ตร.ซม. จากการทดสอบการดัดงอของคานที่เสริมด้วยเส้นใยเหล็กจากยางรถยนต์ใช้แล้วได้เพิ่มความต้านทานแรงดึงของดินลูกรังซีเมนต์โดยมีค่าความต้านทานการดัดเพิ่มขึ้น -70%</span></p> 2022-09-20T09:02:30+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1900 การเปรียบเทียบผลกระทบจากการเจาะอุโมงค์ที่มีต่อเสาเข็มเมื่อถูกป้องกันด้วยดินซีเมนต์ที่มีรูปทรงต่างกัน 2022-09-20T18:22:28+07:00 ภูริณัฐ นฤปจาตุรงค์พร 6170475721@student.chula.ac.th ฐิรวัตร บุญญะฐี 6170475721@student.chula.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบจากการเคลื่อนตัวของชั้นดินระหว่างการเจาะอุโมงค์ที่มีต่อเสาเข็มของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงซึ่งได้แก่ แรงในแนวแกน, โมเมนต์ดัด และการเคลื่อนตัวที่เพิ่มขึ้นจากสภาพปกติทั้ง 3มิติ โดยสมมติให้มีการปรับปรุงชั้นดินด้วยการฉีดน้ำปูนซีเมนต์ในรูปแบบต่างๆด้วยปริมาตรที่เท่ากัน แล้ววิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ แล้วนำผลจากการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบเพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบเหล่านั้น จากการศึกษาพบว่า การฉีดน้ำปูนซีเมนต์ส่งผลดีต่อการลดแรงในแนวแกน, โมเมนต์ดัดและการเคลื่อนตัวของชั้นดิน ที่แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบการฉีดน้ำปูนซีเมนต์ โดยลักษณะรูปแบบการฉีดน้ำปูนซีเมนต์ที่ปรับปรุงชั้นดินเป็นแนวกำแพงนั้นจะช่วยส่งผลดีในเรื่องของแรงในแนวแกน และ การทรุดตัวของชั้นดินได้ดีกว่ารูปแบบการฉีดน้ำปูนซีเมนต์บริเวณที่อุโมงค์วิ่งผ่าน (แบบกล่อง) อยู่ 0.44% และ 0.04% ตามลำดับ แต่ในส่วนของการลดโมเมนต์ดัดนั้นสำหรับรูปแบบการฉีดน้ำปูนซีเมนต์บริเวณที่อุโมงค์วิ่งผ่าน (แบบกล่อง) กลับให้ผลตอบรับที่ดีกับเสาเข็มมากกว่า</p> 2022-09-20T09:03:25+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1884 การพัฒนากำลังอัดดินเหนียวปนดินตะกอนด้วยกากแคลเซียมคาร์ไบด์และเถ้าชานอ้อยจีโอโพลิเมอร์แบบผงสำหรับงานโครงสร้างถนน 2022-09-20T18:22:29+07:00 จตุรภุช บุญเรืองศรี jaturaput.bo@rmuti.ac.th ชยกฤต เพชรช่วย jaturaput.bo@rmuti.ac.th เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ jaturaput.bo@rmuti.ac.th จักษดา ธำรงวุฒิ jaturaput.bo@rmuti.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงดินเหนียวปนดินตะกอนโดยใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์และเถ้าชานอ้อยและใช้สารเร่งปฏิกิริยา คือ &nbsp;โซเดียมไฮดร็อกไซด์แบบเกล็ด (NaOH)&nbsp; ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่อัตราส่วนดินเหนียวปนดินตะกอนต่อวัสดุประสานเท่ากับ 80:20 อัตราส่วนวัสดุประสานกากแคลเซียมคาร์ไบด์ (CCR) ต่อเถ้าชานอ้อย (BA) เท่ากับ 10:90, 20:80, 30:70, 40:60, 50:50 และ 60:40 ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดร็อกไซด์เท่ากับ 5 โมลาร์ อายุบ่มตัวอย่างเท่ากับ 7, 14 และ 28 วัน แปรผันความชื้นที่ ร้อยละ 80, 100 และ 120 ตามลำดับจากนั้นทำการทดสอบกำลังอัดแกนเดียว (USC) ของดินที่ปรับปรุงคุณภาพ จากผลการทดสอบกำลังอัดพบว่าค่ากำลังอัดแกนเดียวมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณ กากแคลเซียมคาร์ไบด์ที่เพิ่มขึ้น โดยพบที่ปริมาณความชื้นที่จุดเหมาะสม อัตราส่วนที่เหมาะสม CCR:BA เท่ากับ 50:50 มีค่ากำลังอัดเท่ากับ 1,530 kPa จะให้ค่ากำลังอัดสูงที่สุด นอกจากนี้ค่ากำลังอัดจะมีค่าสูงขึ้นตามระยะเวลาอายุบ่มที่เพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 28 วัน</p> 2022-09-20T09:05:07+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1883 อิทธิพลของอัตราส่วน Na2SiO3/NaOH ต่อกำลังอัดแกนเดียว และการอัดตัวคายน้ำของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์ 2022-09-20T18:22:29+07:00 ศุภกร ลือพงศ์พัฒนะ supakorn-13@hotmail.com เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ supakorn-13@hotmail.com <p>บทความนี้ศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วน Na<sub>2</sub>SiO<sub>3</sub>/NaOH ต่อกำลังอัดแกนเดียว และการอัดตัวคายน้ำของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์ ดินเหนียวอ่อนเก็บที่ความลึก 5-8 เมตร บริเวณคลองเตย กรุงเทพฯ โดยมีปริมาณความชื้นของดินเหนียวอ่อน (Water content, W<sub>n</sub>) เท่ากับ 2LL (LL คือขีดจำกัดเหลว) และอัตราส่วนดินเหนียวอ่อนต่อเถ้าลอย (SC/FA) เท่ากับ 70/30 ในขณะที่อัตราส่วนอัลคาไลน์ต่อเถ้าลอยเท่ากับ 0.6 (Liquid alkaline:Fly ash, L/FA) อัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกต (Sodium silicate, Na<sub>2</sub>SiO<sub>3</sub>) ต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide, NaOH) เท่ากับ 50/50, 70/30, 80/20 และความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 8 โมลาร์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอัตราส่วน Na<sub>2</sub>SiO<sub>3</sub>/NaOH ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติกำลังอัดแกนเดียวและการอัดตัวคายน้ำของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์ ตัวอย่างดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์ที่อัตราส่วน Na<sub>2</sub>SiO<sub>3</sub>/NaOH เท่ากับ 80/20 ให้ค่ากำลังอัดแกนเดียวต่ำสุด, ค่าอัตราส่วนโพรงสูงสุด และค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้ำสูงสุด เนื่องจากปริมาณ NaOH น้อยลงส่งผลให้ความสามารถในการชะละลายเถ้าลอยลดลง</p> 2022-09-20T09:06:04+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1868 การพัฒนาวัสดุชั้นทางจากวัสดุชั้นทางเดิมมาใช้งานใหม่ที่ถูกปรับปรุงคุณภาพครั้งที่สองด้วยแอสฟัลต์อิมัลชัน 2022-09-20T18:22:30+07:00 อวัช วิริยะ awach_aob@hotmail.com พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม awach_aob@hotmail.com <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">บทความนี้นำเสนอการพัฒนาวัสดุชั้นทางผ่านกระบวนการหมุนเวียนวัสดุชั้นทางเดิมมาใช้งานใหม่ ซึ่งวัสดุที่ได้รับการพัฒนาในงานวิจัยนี้เป็นการนำวัสดุชั้นทางเดิมที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพครั้งที่หนึ่งด้วยซีเมนต์มาใช้สำหรับการปรับปรุงคุณภาพครั้งที่สองด้วยแอสฟัลต์อิมัลชันร่วมกับซีเมนต์ โดยจากผลการทดสอบกำลังรับแรงอัดแกนเดียว กำลังรับแรงดัด และความสามารถในการดูดซึมน้ำของวัสดุตัวอย่างที่ได้รับการพัฒนานี้เปรียบเทียบกับวัสดุควบคุมที่มีปริมาณการผสมซีเมนต์ที่เท่ากัน พบว่าการผสมแอสฟัลต์อิมัลชันร่วมกับซีเมนต์สามารถช่วยให้วัสดุชั้นทางมีสมบัติทางกลและสมบัติด้านการต้านการดูดซึมน้ำที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นเมื่อเทียบกับการผสมเฉพาะซีเมนต์ โดยจากผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาวัสดุชั้นทางผ่านกระบวนการหมุนเวียนวัสดุชั้นทางเดิมที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพครั้งที่สองด้วยแอสฟัลต์อิมัลชันร่วมกับซีเมนต์ ซึ่งสามารถนำวัสดุที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้วมาเป็นวัสดุต้นแบบในการประยุกต์ใช้เพื่อการซ่อมแซมและการก่อสร้างถนนในประเทศไทยต่อไป</span></p> <p><br><br></p> 2022-09-20T09:07:01+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1766 อิทธิพลของวัสดุพอลิเมอร์ต่อกำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพผสมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 2022-09-20T18:22:31+07:00 เกรียงศักดิ์ ปรึ่มพรชัย kriangsak.pr@rmuti.ac.th เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง Kriangsak.Pr@rmuti.ac.th เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ Kriangsak.Pr@rmuti.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และวัสดุพอลิเมอร์ โดยใช้ปริมาณความชื้นเริ่มต้นของดินเหนียวอ่อนเท่ากับ 1.0</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">LL <span lang="TH">1.5</span>LL <span lang="TH">และ 2.0</span>LL <span lang="TH">และอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 1.0 วัสดุพอลิเมอร์ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้แก่ โพลีเอทิลีนไกลคอล (</span>PEG) <span lang="TH">โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ (</span>PVA) <span lang="TH">และโพลีไวนิลไพโรลิโดน (</span>PVP) <span lang="TH">ความเข้มข้นของวัสดุพอลิเมอร์ร้อยละ 1 3 5 และ 7 ของปริมาตรน้ำ ทดสอบกำลังอัดแกนเดียวของตัวอย่างที่อายุบ่ม 7 และ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่า ค่าความชื้นเริ่มต้นของดินเท่ากับ 1.0</span>LL <span lang="TH">และความเข้มข้นของวัสดุพอลิเมอร์ร้อยละ 3 ของปริมาตรน้ำ ให้ค่ากำลังอัดแกนเดียวสูงสุด ที่อายุบ่ม 28 วัน มีค่าเท่ากับ 1.20 1.12 และ 1.04 </span>MPa <span lang="TH">สำหรับ </span>PEG PVA <span lang="TH">และ </span>PVP <span lang="TH">ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานกรมทางหลวง การใช้วัสดุพอลิเมอร์ในดินเหนียวอ่อนกรุงเทพปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ไม่เพียงแค่ปรับปรุงค่ากำลังอัดแกนเดียว แต่ยังเพิ่มค่าความเหนียวของตัวอย่างอีกด้วย </span></span></p> 2022-09-20T09:07:56+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1758 พฤติกรรมการรับแรงเฉือนของดินที่มีรากพืชในช่วงเติบโตและเสื่อมสภาพ 2022-09-20T18:22:31+07:00 ฐาปกรณ์ สากลปัญญา 62601009@kmitl.ac.th วิรุฬห์ คําชุม viroon.ka@kmitl.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">ในปัจจุบันวิธีชีววิศวกรรมดินโดยใช้วัสดุธรรมชาติได้รับความนิยมมากขึ้นเพื่อปรับปรุงเสถียรภาพลาดดิน อย่างไรก็ตามการศึกษาปัจจุบันมุ่งเน้นศึกษารากพืชเมื่อมีการเจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งตามความเป็นจริงนั้นรากพืชมีทั้งการเจริญเติบโตและเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้วิศวกรยังไม่มั่นใจในการนำพืชไปประยุกต์ใช้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการเจริญเติบโตและเสื่อมสภาพของรากพืชที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับแรงเฉือนของดิน โดยมีการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อวัดผลของการเจริญเติบโตของรากและการเสื่อมสภาพของรากต่อพฤติกรรมการรับแรงเฉือนของดินที่ปลูกด้วยหญ้าแพรก (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Cynodon dactylon) <span lang="TH">ซึ่งมีการตรวจวัดในช่วงเจริญเติบโตและเสื่อมสภาพจากการเผาไหม้และการใช้สารกำจัดวัชพืช โดยจะทำการทดสอบแรงเฉือนโดยตรง ผลการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตของหญ้า มีการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงเฉือนสูงสุดของดินที่ปลูกพืชตามระยะเวลาการเจริญเติบโต และในช่วงเสื่อมสภาพของรากเมื่อเผาไหม้ กำลังรับแรงเฉือนมีการลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และช้ากว่าการใช้สารกำจัดวัชพืช เหตุผลหลักมาจากที่สารกำจัดวัชพืชทำให้อวัยวะพืชตายและสลายเร็วขึ้น โดยกำลังรับแรงเฉือนมีค่าลดลงเทียบเท่ากับดินที่ไม่มีการปลูกพืชภายใน 2 เดือนหลังการได้รับสารกำจัดวัชพืช และ 4 เดือนหลังการเผาไหม้</span></span></p> 2022-09-20T09:08:50+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1664 การพัฒนาระบบการตรวจวัดภัยดินถล่มด้วยระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง 2022-09-20T18:22:32+07:00 วิชุดา จำเรือง koonvit.chu@gmail.com อภินิติ โชติสังกาศ wichuda.jam@ku.th สุสิทธิ์ ฉายประกายแก้ว wichuda.jam@ku.th <p>บทความนี้ได้นำเสนอการพัฒนาระบบตรวจวัดภัยดินถล่มด้วยระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) เป็นการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดทางธรณีเทคนิค ซึ่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ร่วมกับงานวิศวกรรมปฐพี ให้ทำงานร่วมกันด้วยการสื่อสารผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แสดงผลบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต เพื่อตรวจวัดและนำไปสู่การพัฒนาเกณฑ์เตือนภัยดินถล่มที่เหมาะสม โดยติดตามปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของมวลดิน มีการศึกษาอัตราการเคลื่อนตัวของดินบริเวณเชิงลาดที่มีแนวโน้มส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมเดิม จากผลการใช้งานระบบดังกล่าวในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ณ บ้านน้ำจูน จังหวัดน่าน พบว่ามีการเคลื่อนตัวของดินระดับตื้น (0.5-1.0 ม.) ประมาณ 30 มม. ที่ปริมาณน้ำฝนสะสม 600 มม. ในช่วงเวลา 3 เดือน อัตราการเคลื่อนตัวของมวลดินมีค่าเท่ากับ 0.015 มม./ชม. การเคลื่อนตัวของมวลดินเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เรียกว่า การคืบคลานของดิน (Soil Creep) มีค่าเเรงดูดของดิน (Suction) อยู่ในช่วง 0 – 7 กิโลปาสคาล ซึ่งเป็นดินที่อยู่ในสภาวะไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ (Unsaturated Zone) การบันทึกค่าเหล่านี้ถูกเก็บโดยระบบ IoT ที่ประกอบด้วย Arduino MEGA 2560 และ&nbsp; NB IoT เป็นตัวกลางที่ทำให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมต่อและส่งข้อมูลถึงกันได้</p> 2022-09-20T09:10:19+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1642 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่งเพื่อประเมินความชื้นและรอยแตกจากการแห้งระเหยของดินเม็ดละเอียด 2022-09-20T18:22:33+07:00 ขจรศักดิ์ ศิริโรจน์วัฒนกูล kajornsak.si@ku.th อภินิติ โชติสังกาศ kajornsak.si@ku.th สรวิศ สุภเวชย์ kajornsak.si@ku.th กฤตนัย ต่อศรี kajornsak.si@ku.th ณัฐสิทธิ์ ทองเลิศ kajornsak.si@ku.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">บทความนี้นำเสนอการศึกษาพฤติกรรมการอุ้มความชื้นของดินเม็ดละเอียดที่ทำให้เกิดการบวมและหดตัว จนเกิดรอยแตก (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Crack) <span lang="TH">ขึ้นในดิน รวมถึงเสนอแบบจำลองเพื่อประมาณค่าความลึกรอยแตกในดิน ด้วยการประยุกต์ทฤษฎีกลศาสตร์ของดินไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ (</span>Unsaturated soils mechanics) <span lang="TH">นอกจากนี้ยังใช้ข้อมูลความชื้นจากเทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่ง (</span>Remote sensing technology) <span lang="TH">โดยการสอบเทียบข้อมูลความชื้นจากเทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่งและอุปกรณ์ตรวจวัดความชื้นภาคสนาม แล้วแปลงเป็นค่าแรงดูดในดิน (</span>Soil suction) <span lang="TH">ที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงของความชื้นนั้น โดยอาศัยเส้นอัตลักษณ์ของดิน </span>Soil Water Characteristic Curve (SWCC) <span lang="TH">ที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาความลึกของรอยแตกที่เกิดขึ้นโดยทฤษฎีอิลาสติก </span></span></p> 2022-09-20T09:11:11+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1601 การศึกษาพฤติกรรมการกระจายความชื้นและเสถียรภาพของกำแพงกันดินเสริมแรงด้วยวัสดุสังเคราะห์ภายใต้สภาวะฝนตก 2022-09-20T18:22:33+07:00 บวรพงศ์ สุขเจริญ borwonpong.s@ku.th อภินิติ โชติสังกาศ borwonpong.s@ku.th วรากร ไม้เรียง borwonpong.s@ku.th ประกิต ไชยศรี borwonpong.s@ku.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">บทความนี้ศึกษาพฤติกรรมการกระจายความชื้นและเสถียรภาพของกำแพงกันดินเสริมกำลังด้วยวัสดุสังเคราะห์ (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Geosynthetic Reinforced Soil Wall, GRS wall) <span lang="TH">ภายใต้สภาวะฝนตกโดยนำข้อมูลที่ตรวจวัดในสนาม เช่น ปริมาณน้ำฝน แรงดันน้ำและความชื้นภายในกำแพงจากพื้นที่ศึกษาบริเวณทางหลวงชนบท กจ.4088 กม.7+650 ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี มาใช้ในการสร้างแบบจำลองที่มีพฤติกรรมสอดคล้องกับข้อมูลที่ตรวจวัดได้ในสนามโดยใช้คุณสมบัติดินที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการและปริมาณน้ำฝนที่บันทึกได้ในช่วงเวลา 2 ปี โดยเลือกช่วงที่มีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงมาวิเคราะห์ลักษณะการไหลซึมและพฤติกรรมการกระจายความชื้นภายในวัสดุถม ซึ่งผลการศึกษาพบว่าเมื่อเกิดฝนตกและมีการไหลซึมของน้ำฝนเข้าสู่โครงสร้างจะส่งผลให้ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยลดลง แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระบบระบายน้ำภายในวัสดุถมซึ่งสามารถนำใปใช้ในการพัฒนาการออกแบบและบำรุงกำแพง </span>GRS <span lang="TH">ต่อไปในอนาคต</span></span></p> 2022-09-20T09:12:09+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1812 จีโอโพลิเมอร์ดินขาว-เถ้าแกลบกระตุ้นด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2022-09-20T18:22:34+07:00 ฆนากานต์ มาศโอสถ s6102032856199@email.kmutnb.ac.th พานิช วุฒิพฤกษ์ S6102032856199@email.kmutnb.ac.th อิทธิพล มีผล S6102032856199@email.kmutnb.ac.th ศิริพัฒน์ มณีแก้ว S6102032856199@email.kmutnb.ac.th กิติศักดิ์ กาญจนันท์ S6102032856199@email.kmutnb.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงดินเหนียวกรุงเทพโดยใช้ดินขาวและเถ้าแกลบกระตุ้นด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ โดยนำดินขาว (KA) ผสมกับเถ้าแกลบ (RA) ในสัดส่วน KA: RA 90:10, 80:20, 70:30, 60:40 และ 50:50 จากนั้นผสมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 8 โมลาร์โดยใช้ปริมาณความชื้นเหมาะที่สุด ตัวอย่างที่ให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด (q<sub>u</sub>) คือตัวอย่างที่มีสัดส่วน KA: RA 70:30 ซึ่งใช้เป็นสารปรับปรุงดิน นำดินขาวตัวอย่างมาปรับปรุงด้วยการแทนที่ด้วยจีโอโพลิเมอร์ KA-RA ร้อยละ 10, 20, 30, 40 และ 50 โดยน้ำหนักของดินแห้ง บ่มตัวอย่างที่อุณหภูมิ 25, 70 และ100°c เป็นเวลา 7, 14, 28, 60 และ 120 วัน นำตัวอย่างมาทดสอบสมบัติทางวิศวกรรมประกอบด้วยความแข็งแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด (q<sub>u</sub>)</p> 2022-09-20T09:13:17+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1791 Settlement Calculations of Large-diameter Bored Piles Socketed in Weak Rocks in the Area of a Double Track Railway Project (Chira Junction to Khon Kaen Station) 2022-09-20T18:22:34+07:00 Ketkaewngoen Mahakhotchasenichai ketkaewngoen@gmail.com Neti Sakunphanich N.sakunphanich@hotmail.com Thayanan Boonyarak thayanan@seafco.co.th <p>At the present, many public utilities transportation of Thailand have been developed in accordance with the government’s policy that manages to connect urban and rural areas, for example, SRT Double Track Railway – Nakhon Ratchasima (Chira Junction) to Khon Kaen, Bang Pa-In – Nakhon Ratchasima Intercity Motorway Project (M6), etc. The runway structures of those projects are usually placed on large-diameter bored piles which run along the outskirts. Those areas have rarely been under engineering construction. Therefore, the engineering data is very limited. In this article, the calculations of settlement values of large-diameter bored piles socketed in weak rocks in the area of SRT Double Track Railway – Nakhon Ratchasima (Chira Junction) to Khon Kaen) are explained by traditional methods, a computer program method and comparisons with the data obtained from static load tests. The comparative results show that experimental pile shortening values are approximately 0.55-1.35 times of those of methods.</p> 2022-09-20T09:27:43+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1730 Effect of Different Soil Type at Diaphragm Wall Tip on Diaphragm Wall Behavior 2022-09-20T18:22:35+07:00 Jirat Teparaksa fengjrt@ku.ac.th <p>ในปัจจุบันการก่อสร้างชั้นใต้ดินเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เป็นที่จอดรถอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากที่ราคาที่ดินสูง ทำให้พื้นที่แนวราบน้อย ที่จอดรถอัตโนมัติจะสามารถช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้งานได้เพราะไม่ต้องเสียพื้นที่สำหรับทางขึ้น-ลงในแต่ละชั้น แต่ระบบที่จอดรถใต้ดินนั้นกลับต้องการช่องเปิดพื้นในแต่ละชั้นเพื่อใช้เป็นลิฟท์และงานระบบของเครื่องจักรระบบอัตโนมัติ ซึ่งช่องเปิดในพื้นนี้อาจทำให้ความสามารถในการรับแรงอัดจากแรงดันดินที่ถ่ายจากกำแพงกันดินได้น้อยลง บทความนี้กล่าวถึงพฤติกรรมของกำแพงกันดินไดอะแฟรมวอลล์หนา 0.80 เมตรที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างชั้นใต้ดินที่จอดรถอัตโนมัติ โครงการ True Digital Park มีความลึกการขุดมากสุด 13.20 เมตร ชั้นใต้ดินทั้งหมด 4 ชั้น ก่อสร้างด้วยวิธีจากล่างขึ้นบน (Bottom Up Construction) โดยมีระบบค้ำยันระหว่างขาลงทั้งหมด 3 ชั้น ระหว่างก่อสร้างมีการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของกำแพงกันดินและนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากไฟไนท์อิลิเมนต์</p> 2022-09-20T09:28:47+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1630 คุณสมบัติด้านกำลังรับแรงอัดแกนเดียวของวัสดุควบคุมกำลังต่ำผสมพลาสติกสำหรับประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมผิวทาง 2022-09-20T18:22:35+07:00 ธีรัช กัลยา book_kanlaya@hotmail.com อนุพงศ์ คำปลอด anupong.kh@up.ac.th ธนกฤต เทพอุโมงค์ thanakit.th@up.ac.th ธนกร ชมภูรัตน์ thanakorn.ch@up.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 14.2pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในปัจจุบันมีการขยายตัวขึ้นจากอดีตส่งผลให้วัสดุก่อสร้างขาดแคลน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นวัสดุจากธรรมชาติส่งผลทำให้ปริมาณวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะหมดลงในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนผสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำ (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Controlled low strength material</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">, CLSM) <span lang="TH">โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและวัสดุรีไซเคิล ประกอบด้วยเถ้าลอย และเถ้าหนักจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ คอนกรีตรีไซเคิลจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในงานวิศวกรรม ขยะพลาสติกจากขวดพลาสติกเหลือทิ้ง และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์เพื่อเป็นตัวชะละลายสำหรับนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมผิวทาง</span></span> <span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">โดยจะศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรม และคุณสมบัติด้านกำลังของ </span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">CLSM <span lang="TH">โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่ความเข้มข้น </span>10 <span lang="TH">โมลาร์เป็นตัวชะละลาย และแทนที่มวลรวมละเอียดด้วย<a name="_Hlk98192711"></a>เถ้าหนัก และคอนกรีตรีไซเคิลในอัตราส่วนมวลรวมละเอียดต่อวัสดุประสาน</span> 1.5<span lang="TH"> และใช้เถ้าลอยกับขยะพลาสติกเป็นวัสดุประสานในอัตราส่วนขยะพลาสติกต่อวัสดุประสานร้อยละ </span>0 <span lang="TH">0.25 0.5 และ 1.0 ตัวอย่าง </span>CLSM <span lang="TH">จะถูกนำมาทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรม ประกอบไปด้วย การยุบตัว การยุบตัวแบบไหลแผ่ ระยะเวลาการก่อตัว การเยิ้มน้ำ หน่วยน้ำหนัก และนำมาทดสอบคุณสมบัติด้านกำลังรับแรงอัดแกนเดียว ซึ่งเป็นพารามิเตอร์หลักสำหรับใช้ในการออกแบบผิวทาง </span></span></p> 2022-09-20T09:30:02+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1619 คุณสมบัติด้านกำลังของดินตะกอนขุดจากทะเลสาบ ที่ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ และคอนกรีตรีไซเคิล 2022-09-20T18:22:36+07:00 ศุภากร แต้ศิลปชัย Supakorngab25@gmail.com อนุพงศ์ คำปลอด thanakit.th@up.ac.th ธนกฤต เทพอุโมงค์ thanakit.th@up.ac.th ธนกร ชมภูรัตน์ thanakit.th@up.ac.th <p>บทคัดย่อ</p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านกำลังรับแรงอัดของดินตะกอนที่ขุดลอกจากทะเลสาบปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์และคอนกรีตรีไซเคิล ดินตะกอนที่ใช้ในงานวิจัยคือ ดินตะกอนกว๊านพะเยา ที่ได้มาจากการขุดเก็บที่ระดับผิวดินบริเวณจุดกองทิ้งรอบทะเลสาบ และวัสดุประสานที่ใช้คือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่ง และคอนกรีตรีไซเคิลที่ได้จากการรื้อถอนอาคาร วิธีการปรับปรุงคุณภาพดินจะทำการผสมดินตะกอนด้วยปริมาณปูนซีเมนต์ร้อยละ 0 3 5 7 และ 10 และปริมาณคอนกรีตรีไซเคิลร้อยละ 0 5 10 15 และ 20 โดยน้ำหนักดิน การเตรียมตัวอย่างของแต่ละส่วนผสมจะเตรียมที่ระดับปริมาณความชื้นเหมาะสมและความหนาแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดสอบการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน ตัวอย่างทดสอบถูกเตรียมในแบบหล่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว สูง 4 นิ้ว และนำไปบ่มที่ 7 14 และ 28 วัน เมื่อครบอายุการบ่มตัวอย่างทดสอบจะถูกนำไปทดสอบหาค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียว สุดท้ายงานวิจัยนี้จะนำเสนอสัดส่วนผสมที่เหมาะสมของดินดินตะกอน ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่ง และคอนกรีตรีไซเคิล สำหรับนำไปประยุกต์ใช้สำหรับงานวิศวกรรมผิวทางต่อไป<br><br></p> 2022-09-20T09:31:17+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1614 การพัฒนาวัสดุควบคุมกำลังต่ำจากเถ้าลอยและเศษแก้วกระตุ้นด้วยอัลคาไลน์สำหรับประยุกต์ในงานวิศวกรรมผิวทาง 2022-09-20T18:22:37+07:00 ชุติปภา ดีตอ่ำ nookchuti.28@gmail.com อนุพงศ์ คำปลอด thanakit.th@up.ac.th ธนกฤต เทพอุโมงค์ thanakit.th@up.ac.th ธนกร ชมภูรัตน์ thanakit.th@up.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">ประชากรประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนประชากรทั้งหมด 69.8 ล้านคน ทำให้ทรัพยากรถูกใช้เพิ่มขึ้นและเกิดปริมาณของเสียมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2563 เกิดปริมาณของเสียทั้งหมด 25.37 ล้านตัน แต่มีเพียง 8.36 ล้านตัน ที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีแนวคิดในการนำของเสียจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยศึกษาเพื่อหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำที่ใช้เถ้าลอยแคลเซียมสูงและเศษแก้วกระตุ้นด้วยอัลคาไลน์ วัสดุที่ใช้ประกอบไปด้วย เถ้าลอย และเถ้าหนักจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เศษแก้วจากขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์ คอนกรีตรีไซเคิลจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์เป็นตัวชะละลาย โดยใช้อัตราส่วนผสมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ 10 โมลาร์ อัตราส่วนเถ้าหนักหรือคอนกรีตรีไซเคิลต่อวัสดุประสาน 1.5 อัตราส่วนเศษแก้วต่อวัสดุประสาน 0 20 30 และ 40 และอัตราส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ต่อวัสดุประสาน 0.015 ในการพิจารณาคุณสมบัติของวัสดุควบคุมกำลังต่ำอ้างอิงแนวทางตามเอกสาร </span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">ACI<span lang="TH">229</span>R-<span lang="TH">99 และเกณฑ์มาตรฐานงานก่อสร้างชั้นพื้นทางของกรมทางหลวงประเทศไทย โดยการทดสอบประกอบไปด้วย การทดสอบการไหล การไหลแผ่ ระยะเวลาก่อตัวเริ่มต้น และกำลังรับแรงอัดแกนเดี่ยว สุดท้ายในวิจัยนี้จะนำเสนอค่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุผิวทางต่อไป</span></span></p> 2022-09-20T09:32:10+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1608 ผลกระทบของการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ถูกกระตุ้นด้วยจุลินทรีย์ (MICP) ต่อคุณสมบัติของอิฐและปูนในดินของแหล่งโบราณคดี 2022-09-20T18:22:38+07:00 มุกอันดา สุวัณณะสังข์ mukanda.sw@mail.kmutt.ac.th พรเกษม จงประดิษฐ์ mukanda.sw@mail.kmutt.ac.th ชนา พุทธนานนท์ mukanda.sw@mail.kmutt.ac.th ธนเดช นันทนะวานิช mukanda.sw@mail.kmutt.ac.th ศักดิ์สิทธิ์ โชตนิธิสุวรรณ mukanda.sw@mail.kmutt.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">ฐานรากโบราณสถานมักมีความเปราะบางและได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง การบูรณะฐานรากโบราณด้วยเทคนิคที่หลีกเลี่ยงแรงสั่นสะเทือนและการปนเปื้อนของสารเคมีจึงถูกนำมาพิจารณา อีกทั้งแต่ละโบราณสถานยังมีการดำรงอยู่ของจุลินทรีย์ท้องถิ่น การบูรณะโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเดิมจึงเป็นสิ่งจำเป็น งานวิจัยนี้ศึกษาศักยภาพการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตของอิฐและมอร์ตาร์โบราณด้วยจุลินทรีย์ </span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Bacillus sphaericus LMG <span lang="TH">22257 ร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น วัสดุโบราณในงานวิจัยประกอบไปด้วยอิฐและมอร์ตาร์โบราณ สำหรับดินตัวอย่างเป็นดินใกล้โบราณสถานในจังหวัดลพบุรีที่ผ่านการฆ่าเชื้อและดินสภาพธรรมชาติ โดยทำการเปรียบเทียบปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่เกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ </span>Bacillus sphaericus LMG <span lang="TH">22257 และจุลินทรีย์ท้องถิ่นด้วยระยะเวลาการตกตะกอน 18 วัน จากการทดสอบพื้นผิวของวัสดุด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน การทดสอบหาปริมาณแร่ธาตุที่เกิดขึ้นด้วยสเปกโทรเมตรีรังสีเอกซ์แบบกระจายพลังงานที่ใช้ร่วมกับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และความลึกของรูพรุนบนผิววัสดุด้วยเครื่องมือสแกนพื้นผิวสามมติ พบว่าพื้นผิวของวัสดุโบราณมีปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตเพิ่มขึ้นและส่วนหนึ่งได้เข้าไปเติมเต็มรูพรุนของวัสดุจนมีความลึกน้อยลง</span></span></p> 2022-09-20T09:40:40+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1606 อิทธิพลของวัสดุป้องกันการกัดเซาะและพืชพรรณต่อพารามิเตอร์การกัดเซาะของดิน จากการทดสอบในห้องปฎิบัติการ 2022-09-20T18:22:39+07:00 สุรัติ เส็มหมัด surat_se@rmutto.ac.th จิดาภา โพธิ์ทอง jidapa.pot@ku.th ปาณิศา ไตรยศ panisa.tr@ku.th สลิลทิพย์ อ่อนหนองหว้า salinthip.o@ku.th อภินิติ โชติสังกาศ fengatj@ku.ac.th <p>การกัดเซาะเป็นจุดเริ่มต้นของการพิบัติทางธรณีเทคนิคหลาย ๆ รูปแบบเช่น ดินถล่ม การพิบัติของเขื่อนจากการกัดเซาะภายใน รวมถึงการถดถอยของตลิ่งแม่น้ำ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตและทรัพย์สิน ปัจจุบันได้มีการใช้พืชพันธุ์ร่วมกับวิธีทางวิศวกรรมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาะอย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยครั้งนี่ได้ทำการทดสอบการกัดเซาะโดยใช้เครื่องมือ Submerged jet device ตัวอย่างดินแบบเปลี่ยนสภาพจากทางหลวงมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 กรุงเทพฯ – พัทยา ถูกเก็บมาทำการทดสอบการกัดเซาะด้วยเครื่องมือ Submerged Jet device เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ของการกัดเซาะของดิน (หน่วยแรงเฉือนวิกฤตและสัมประสิทธิ์การกัดเซาะ) โดยทำการทดสอบทั้งกรณีสภาพดินเปลือยและดินที่ถูกปกคลุมด้วยวัสดุป้องกันการกัดเซาะ ได้แก่ ผ้าห่มดินร่วมกับหญ้ารูซี่ และแผ่นป้องกันการกัดเซาะร่วมกับหญ้าเบอร์มิวดา ผลการทดสอบพบว่า หน่วยแรงเฉือนวิกฤตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีการปกคุลมหน้าดินด้วยวัสดุป้องกันการกัดเซาะ อีกทั้ง การมีหญ้ารูซี่ปกคลุมดินเป็นตัวช่วยลดค่าสัมประสิทธิ์การกัดเซาะของดิน ผลการทดสอบบ่งชี้ถึงประสิทธิผลที่ดีของวิธีการใช้พืชพันธุ์ร่วมกับวิธีทางวิศวกรรมในการป้องกันและลดความรุนแรงของการกัดเซาะ</p> 2022-09-20T09:41:35+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1373 การศึกษาปรากฏการณ์ดินเหลวที่เกิดจากแผ่นดินไหวในจังหวัดเชียงราย พ.ศ.2557 2022-09-20T18:22:39+07:00 เศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา sethapong09@gmail.com <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาการเกิดปรากฏการณ์ดินเหลวที่มีสาเหตุจากแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ในจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยการสำรวจชั้นดินด้วยการเจาะทะลวงแบบมาตรฐานและการเจาะทะลวงแบบคุนเซลสแต็ป และเก็บตัวอย่างดินไปทดสอบในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมธรณีเทคนิค และวิเคราะห์ศักยภาพในการเกิดสภาวะดินเหลวที่บริเวณต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งพบว่าทุกจุดที่เกิดสภาวะดินเหลวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวนั้นมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการได้แก่ 1) เป็นดินที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นทราย (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Sandy soils) <span lang="TH">ที่อยู่ในสภาพค่อนข้างหลวมมาก หรือหากผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มากกว่าร้อยละ 35 จะเป็นดินที่มีดัชนีพลาสติกต่ำ (</span>Low-plasticity silts or clays) <span lang="TH">ที่มีความชื้นในดินประมาณร้อยละ 90 หรือมากกว่า ของค่าดัชนีพลาสติก 2) ทุกจุดที่เกิดสภาวะดินเหลวจะมีระดับน้ำใต้ดินสูงกว่าชั้นดินดังกล่าวในข้อแรก และ 3) สามารถประเมินได้ว่าชั้นดินที่เกิดสภาวะดินเหลวเหล่านั้นได้ด้วยความเร่งสูงสุดของพื้นดิน 0.20</span>g-<span lang="TH">0.25</span>g</span></p> 2022-09-20T09:42:33+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1574 การทำนายความสัมพันธ์ความเค้นและความเครียดของดินเหนียวผสมซีเมนต์ ด้วยโครงข่ายใยประสาทแบบเกิดซ้ำชนิด LSTM 2022-09-20T18:22:40+07:00 ไปรยา รัตนกิจกุล praiya.rtnkk@gmail.com สมโพธิ อยู่ไว praiya.722@mail.kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้ได้พัฒนาโครงข่ายใยประสาทแบบเกิดซ้ำชนิด LSTM ทำนายความเค้นและความเครียดของการทดสอบดินเหนียวผสมซีเมนต์ด้วยวิธีแรงอัดสามแกน&nbsp; ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อัตราส่วนผสมของซีเมนต์น้ำและดิน ค่าความเค้นประสิทธิผลเฉลี่ย ค่าความเค้นเบี่ยงเบน และค่าความเครียดในแนวดิ่ง การศึกษานี้จะนำเสนอสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมของโครงประสาทเทียมแบบ LSTM และเปรียบเทียบกับโครงข่ายประสาทเทียมแบบอื่นๆ จากผลการศึกษาพบว่าโครงข่ายใยประสาทแบบเกิดซ้ำชนิด LSTM เป็นแบบจำลองที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับแบบจำลองแบบ&nbsp; GRU&nbsp; และ SimpleRNN&nbsp; แบบจำลอง&nbsp; LSTM ที่มีการคิดขั้นของเวลาเท่ากับสอง สามารถทำนายค่าความเค้นและความเครียดของดินซีเมนต์ได้มีความผิดพลาดสัมบูรณ์ที่ 4 เปอร์เซ็นต์</p> 2022-09-20T09:43:32+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1570 Evaluation of Rapid Impact Compaction method of sand for U-Tapao International Airport 2022-09-20T18:22:41+07:00 Sirasak Detcheewa sirasak.det@mail.knutt.ac.th Sompote Youwai sirasak.det@mail.knutt.ac.th Athasit Sirisonthi sirasak.det@mail.knutt.ac.th <p>Rapid Impact Compaction (RIC) is an alternative compaction technique which fills the gap of improving depth between shallow and deep compaction. The RIC technique is done by dropping the weight hammer on the circular base of the steel base on the ground. However, the effectiveness of the RIC method is based on compact soil. In this study, the effect of fine particle content in sandy soil on this compaction technique was studied. The field compaction test was carried out on the construction site of the apron at Utapao Airport at Ban chang, Rayong, Field trials use a total of three types of soil, with different fine content ranging from 18% to 33%. The compression effort is 25%, 50%, 75% and 100% of the standard energy of the proctor and the thickness filed by 3 and 5 m. Field test including Cone Penetration Test (CPT) and Plate load test (PLT) have been performed before and after the treatment to observe the efficiency of the RIC technique. Field test results show that low-fine soil is significantly improved. However, improvements are not clearly visible for soils with high fine content. The strength and stiffness of soil after improvement was significantly effects by the fine content of material. The effective depth of improvement by RIC is 4 m. from the ground surface.</p> 2022-09-20T09:44:59+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1563 การพัฒนาวิธีคอมพิวเตอร์วิทัศน์ในการตรวจวัดการทดสอบเสาเข็มแบบพลศาสตร์ 2022-09-20T18:22:41+07:00 ปรัชญา มาคำ prachya.m@mail.kmutt.ac.th สมโพธิ อยู่ไว sompote.you@kmutt.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">การศึกษานี้ได้พัฒนาวิธีคอมพิวเตอร์วิทัศน์ เพื่อตรวจวัดพฤติกรรมของเสาเข็มขณะทดสอบกำลังรับน้ำหนัก เปรียบเทียบกับกำลังที่ได้จากการทดสอบแบบพลศาสตร์ซึ่งวิเคราะห์ด้วย </span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Case Pile Wave Analysis Program (CAPWAP) <span lang="TH">การตรวจวัดใช้เป้าชนิด </span>ArUco <span lang="TH">ซึ่งสามารถวัดระยะห่างจากกล้องในแนว 3 มิติ ติดบนตุ้มน้ำหนักและหัวเสาเข็มทดสอบ นำมาวิเคราะห์ผ่านโค้ด </span>OpenCV <span lang="TH">ที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษาไพธอน การเคลื่อนที่ของเป้าที่ตรวจวัดได้จะแปลงเป็นแรงและความเร็ว เพื่อคำนวณหากำลังรับน้ำหนักบรรทุกด้วยวิธีของเคส ผลการศึกษาพบว่า การใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์ในการตรวจจับเป้า ระยะห่างระหว่างกล้องกับเป้ามีผลต่อความคลาดเคลื่อนในการวัดระยะทางเนื่องจากเป้ามีขนาดพิกเซลที่เล็กลงเมื่อตั้งกล้องห่างจากเป้าไกลขึ้น ความเร็วที่วัดได้ในช่วงเวลาเดียวกันกับการทดสอบแบบพลศาสตร์มีความใกล้เคียงกัน ส่วนการวัดแรงในเสาเข็มจะมีความคลาดเคลื่อนพอสมควรจากความผิดพลาดสะสมของการคำนวณความเร็วจากระยะทาง รวมถึงหากประมาณค่าความเร็วในการเดินทางของคลื่นและค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของเสาเข็มผิดพลาด งานวิจัยนี้ได้แสดงถึงความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์ในการตรวจวัดผลจากการทดสอบเสาเข็มแบบพลศาสตร์</span></span></p> 2022-09-20T09:45:50+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1560 การพัฒนาการออกแบบส่วนผสมแอสฟัลต์ชนิดผสมร้อนที่ถูกผสมด้วยขยะพลาสติกบนพื้นฐานของการออกแบบส่วนผสมแบบมาร์แชล์และวิธีการผสมแบบแห้ง 2022-09-20T18:22:42+07:00 โชติชนิต เทียนไชย chotchanit_th@cmu.ac.th พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม peerapong@eng.cmu.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">ขยะพลาสติกได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบัน การหาแนวทางการนำกลับมาใช้ใหม่ของขยะพลาสติกจึงมีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยส่วนใหญ่ขยะพลาสติกเป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Thermoplastics) <span lang="TH">ที่สามารถผสมได้อย่างมีประสิทธิภาพกับการผลิตแอสฟัลต์ชนิดผสมร้อน อย่างไรก็ตามยังไม่มีแนวทางที่เหมาะสมในการออกแบบส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีขยะพลาสติกเป็นส่วนผสม โครงการวิจัยนี้จึงมุ่งนำเสนอแนวทางในการออกแบบส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตชนิดผสมร้อนโดยวิธีการมาร์แชลที่ถูกผสมด้วยขยะพลาสติกประเภทโพลีเอทธิลีน (</span>Polyethylene, PE) <span lang="TH">โดยอาศัยวิธีการผสมแบบแห้ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่นำเอาพลาสติกไปผสมกับหินร้อนก่อนที่จะผสมแอสฟัลต์ซีเมนต์ กระบวนการทดสอบประกอบไปด้วยการออกแบบส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตชนิดผสมร้อนแบบธรรมดาและแบบมีส่วนผสมของขยะพลาสติก โดยอยู่บนพื้นฐานของการออกแบบส่วนผสมแบบมาร์แชลที่ได้รับการปรับปรุง ผลการทดสอบพบว่าการนำขยะพลาสติกเข้าไปผสมในการออกแบบแอสฟัลต์คอนกรีตในปริมาณที่เหมาะสมนั้น ตามกระบวนการผสมแบบแห้ง ทำให้ได้วัสดุแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีส่วนผสมของพลาสติกที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของการออกแบบส่วนผสมแบบมาร์แชลล์ และเมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติดังกล่าวกับแอสฟัลต์คอนกรีตที่ไม่ผสมพลาสติก พบว่าแอสฟัลต์คอนกรีตที่ผสมพลาสติกมีค่าเสถียรภาพมาร์แชล (</span>Marshal stability) <span lang="TH">สูงกว่าและใช้แอสฟัลต์ซีเมนต์ในปริมาณที่น้อยกว่าแอสฟัลต์คอนกรีตปกติ ดังนั้นวิธีการออกแบบส่วนผสมแบบมาร์แชลที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้สามารถใส่พลาสติกเข้าไปเป็นส่วนผสม และเป็นไปตามข้อกำหนดของการออกแบบส่วนผสมแบบมาร์แชลล์ ผลที่ได้จากโครงการวิจัย จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีส่วนผสมของขยะพลาสติกบนพื้นฐานการผสมแบบแห้ง ได้ต่อไป</span></span></p> 2022-09-20T09:46:46+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1537 การปรับปรุงดินตะกอนหนองหารด้วยยางพาราและซีเมนต์ให้เหมาะสำหรับการก่อสร้างชั้นทาง 2022-09-20T18:22:43+07:00 นายพัฒนศักดิ์ ชียพรรณา pattanasak.ca@rmuti.ac.th นัฐวุฒิ เหมะธุลิน pattanasak.ca@rmuti.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและปรับปรุงคุณสมบัติดินจากหนองหารจังหวัดสกลนครบริเวณสวนสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา (สวนแม่&nbsp; สวนลูก) เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสมใช้ก่อสร้างชั้นทาง ด้วยการผสมน้ำยางพาราที่เป็นน้ำยางสดและรักษาสภาพด้วยแอมโมเนีย ตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบมีทั้งตัวอย่างที่ผสมน้ำยางพาราและผสมน้ำยางพารากับซีเมนต์ โดยปริมาณน้ำยางพาราใช้ค่าที่ร้อยละ 2.5, 5.0 และ 7.5 ส่วนปริมาณซีเมนต์ใช้ค่าที่ร้อยละ 4, 6 และ 8&nbsp; ผลที่ได้จากการทดสอบพบว่า&nbsp; ตัวอย่างที่ผสมน้ำยางพาราร้อยละ 2.5 และ 5 มีแนวโน้มที่ค่าความหนาแน่นแห้งเพิ่มขึ้น&nbsp; แต่ในปริมาณยางพาราที่ร้อยละ 7.5 มีแนวโน้มที่ลดลง&nbsp; ค่า C.B.R เพิ่มขึ้นและลดลงตามความหนาแน่นแห้ง&nbsp; โดยปริมาณน้ำยางพาราที่เหมาะสมอยู่ที่ร้อยละ 3.5 - 6.1 ส่วนในตัวอย่างที่ผสมซีเมนต์ได้ทำการบ่มแห้งในอากาศ 28 วันก่อนนำมาการทดสอบ&nbsp; ผลที่ได้พบว่าดินตัวอย่างมีความหนาแน่นและค่า CBR เพิ่มขึ้นตามปริมาณซีเมนต์</p> 2022-09-20T09:47:40+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1535 การเสริมเสถียรภาพและป้องกันการกัดเซาะของลาดถนนด้านหลังผาโดยใช้กระสอบแบบมีปีกและสมอดิน ที่ บ้านปากเหมือง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี 2022-09-20T18:22:43+07:00 ประกิต ไชยศรี pagith_punch@hotmail.com อภินิติ โชติสังกาศ fengatj@ku.ac.th วชิรวัติ ประภัสร p.washirawat@gmail.com ศานติ ศรีบุรี pagith_punch@hotmail.com <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีเต็มไปด้วยภูเขา มักพบปัญหาการกัดเซาะและพังทลายของเชิงลาดในทางหลวงได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะบริเวณทางหลวงชนบท กจ.3091 ช่วง กม.6+050 บ้านปากเหมือง อ. ทองผาภูมิ บทความนี้นำเสนอการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะบริเวณลาดถนนฝั่งหลัง (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Back slope) <span lang="TH">โดยการเรียงกระสอบมีปีก และเสริมเสถียรภาพด้วยตะปูดิน (</span>Soil nail) <span lang="TH">พร้อมทั้งเสาเข็มเหล็กสกรู (</span>Screw pile) <span lang="TH">โดยสรุปผลการเจาะสำรวจโดยวิธีการตอกหยั่ง (</span>Kunzelstab Penetration Test) <span lang="TH">การวิเคราะห์เสถียรภาพ การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดด้วยระบบ </span>Internet of Things <span lang="TH">ในพื้นที่ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนตัว ความชื้น และปริมาณน้ำฝน เพื่อนำไปประเมินประสิทธิภาพของการแก้ไขภายหลังการก่อสร้างในระยะยาว</span></span></p> 2022-09-20T09:48:40+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1525 การจำลองพฤติกรรมการไหลของเม็ดแห้งและคุณสมบัติฝายช่องเปิด 2022-09-20T18:22:44+07:00 ทศพล ทุ่งฝนภูมิ 63103777@up.ac.th ปริตา บุญชอบ 63103777@up.ac.th เอกรินทร์ สุดใจ 63103777@up.ac.th ปรัชญา แสนแปง 63103777@up.ac.th กรกฎ นุสิทธิ์ 63103777@up.ac.th สุริยาวุธ ประอ้าย 63103777@up.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">บทความนี้นำเสนอการจำลองการไหลของเม็ดแห้งในรางเพื่อศึกษาพฤติกรรมการไหลของเม็ดแห้งเมื่อผ่านฝายช่องเปิด ดำเนินการจำลองโดยใช้ </span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Discrete element method (DEM) <span lang="TH">เพื่อศึกษาพฤติกรรมการไหลของเม็ดแห้งที่มีรูปทรงหลายด้านจำเป็นต้องใช้วิธี </span>Contact dynamics (CD) <span lang="TH">ตัวแปรสำคัญที่ต้องการศึกษาคือ รูปแบบและมุมภายในของฝายช่องเปิด ความลาดชันการไหลถูกกำหนด 30 องศาและระยะช่องว่างของฝาย 1.22</span>d<span lang="TH">95 การศึกษาพบว่า ฝายรูปแบบรูปตัวอัลฟามีประสิทธิภาพการดูดซับแรงกระแทกและการดักจับมากกว่าฝายรูปแบบรูปตัววี ประสิทธิภาพการดักจับของฝายช่องเปิดสองรูปแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดของแต่ละช่วงมุมภายในของฝายมากกว่าการดูดซับแรงกระแทก ดังนั้นฝายช่องเปิดทุกฝายที่ได้ทำการศึกษาในการดูดซับแรงกระแทกไม่มีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพของฝายช่องเปิดเมื่อมุมภายในเปลี่ยนไปในช่วง 60 ถึง 100 องศา แต่ประสิทธิภาพการดักจับบ่งบอกประสิทธิภาพของฝายได้อย่างชัดเจนเมื่อรูปแบบและมุมภายในของฝายที่ต่างกัน</span></span></p> 2022-09-20T09:49:38+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1511 ผลกระทบของการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต (MICP) ต่อคุณสมบัติของอิฐและปูนประวัติศาสตร์ในโบราณสถาน 2022-09-20T18:22:45+07:00 ชิษณุพงศ์ ทองหนู peachy25994@gmail.com พรเกษม จงประดิษฐ์ pornkasem.jon@kmutt.ac.th ชนา พุทธนานนท์ chitsanupong.peachy@mail.kmtt.ac.th ดนัย เผ่าหฤหรรษ์ chitsanupong.peachy@mail.kmtt.ac.th ปิยะฉัตร ฉัตรตันใจ chitsanupong.peachy@mail.kmtt.ac.th <p>โบราณสถานทั้งหมดล้วนตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้งโดยไม่มีการปกป้องทำให้ต้องเผชิญกับการเสื่อมสภาพส่งผลต่อคุณสมบัติของวัสดุ และความเสถียรของโครงสร้าง ซึ่งอาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ในที่สุด งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุของโบราณสถานที่ประกอบด้วยอิฐและมอร์ตาร์โดยการใช้แบคทีเรียที่มีความสามารถในการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตจากการย่อยสลายยูเรีย หรือที่เรียกว่าวิธีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต (MICP) ทำให้เกิดการเชื่อมประสานในรอยแตกหรืออุดรูพรุนที่ผิวขององค์ประกอบของโครงสร้าง ที่จะทำให้วัสดุโบราณมีคุณสมบัติทางวิศวกรรมดีขึ้น วิธีปรับปรุงคุณสมบัตินี้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกรมศิลปากรที่ไม่อนุญาติให้มีแรงสั่นสะเทือนที่รอบบริเวณพื้นที่ของโบราณสถาน งานวิจัยนี้ใช้วัสดุอิฐทดแทนที่มาจากโรงงานในอยุธยาและมอร์ตาร์จากคำแนะนำของกรมศิลปากร ในส่วนของเชื้อแบคทีเรียจะใช้ <em>Lysinibacillus</em> ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีศักยภาพสูงในการผลิตแคลเซียมตาร์บอเนตจากการย่อยสลายยูเรีย วิธีการปรับปรุงวัสดุทดแทนของโครงสร้างโบราณทั้งอิฐและมอร์ตาร์ให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นโดยการขังแบคทีเรีย <em>Lysinibacillus </em>ในห้องปฎิบัติการเป็นเวลา 14, 21, 28 วัน จากการวิเคราะห์โดย SEM (Scanning Electron Microscope) พบว่ารอยแตกและรูพรุนที่ผิวของวัสดุทดแทนของโครงสร้างโบราณมีการเติมเต็มผลการทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมระบุว่าค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้นอีกด้วย</p> 2022-09-20T09:50:34+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1507 พฤติกรรมของดินโดยรอบและการลดแรงเสียดทานในการดันท่อใต้ชั้นดินกรุงเทพ 2022-09-20T18:22:45+07:00 ปัณฑ์ งามแสงรัตน์ pun6866@gmail.com ฐิรวัตร บุญญะฐี tirawat.b@chula.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">การก่อสร้างอุโมงค์ด้วยระบบดันท่อเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินโดยไม่เปิดหน้าดิน แรงเสียดทานระหว่างดินและผิวภายนอกของท่อดันเป็นแรงต้านทานหลักที่ส่งผลต่อแรงดันรวมที่ต้องใช้ในการดันท่อ ดังนั้นการลดแรงเสียดทานโดยการฉีดสารหล่อลื่นจึงเป็นวิธีการที่นิยมใช้ในงานดันท่อ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของดินรอบท่อดันนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อการลดลงของแรงเสียดทานจากสารหล่อลื่น ในปัจจุบันวิธีการและขั้นตอนในการฉีดสารหล่อลื่นระหว่างการดันท่อนั้นเป็นไปอย่างไม่มีแบบแผน งานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการทดลองเพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของดินโดยรอบท่อดันที่เกิดขึ้นระหว่างการดันท่อ นำไปสู่การนำเสนอวิธีการและขั้นตอนการฉีดสารหล่อลื่นเพื่อให้การลดแรงเสียดทานมีประสิทธิผลสูงสุด วิธีการและขั้นตอนการฉีดสารหล่อลื่นที่ได้นำเสนอนั้นถูกนำไปทดสอบในการดันท่อทั้งหมด 2 ช่วงดัน โดยผลของการทดสอบแสดงให้เห็นถึงการลดลงของแรงเสียดทานมากถึงร้อยละ 45 เมื่อเปรียบเทียบกับการฉีดสารหล่อลื่นอย่างไม่มีแบบแผน</span></p> 2022-09-20T09:51:25+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1450 สมรรถนะของเสาหินไวโบรปรับปรุงคุณภาพทรายปนทรายแป้งภายใต้สภาวะการอัดตัวระบายน้ำ 2022-09-20T18:22:46+07:00 อสรุจ หนูรัก kay_0215@hotmail.com พิทยา แจ่มสว่าง pitthaya_kmutnb@hotmail.com <p>ทรายปนทรายแป้ง (Silty sand) เป็นดินที่มีปัญหาหลักอีกประเภทหนึ่งซึ่งพบได้ในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก โดยที่ทรายปนทรายแป้งจะมีความแข็งแรง และความสามารถในการรับแรงแบกทานที่สูงเมื่ออยู่ในสภาวะดินแห้งสนิท แต่ในทางกลับกันหากทรายปนทรายแป้งสัมผัสกับน้ำจะมีความเสี่ยงอย่างมากต่อการเกิดการพังทลาย เนื่องจากดินที่อยู่ในสภาวะอิ่มตัว (Saturate soil) หรืออยู่ในสภาวะอิ่มตัวบางส่วนจะเกิดการสูญเสียความแข็งแรง และความแข็ง ภายใต้น้ำหนักที่มากระทำ ทำให้ดินที่มีสถานะเป็นของแข็งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหมือนสถานะของเหลว ส่งผลทำให้เกิดแรงดันน้ำส่วนเกิน เกิดการเคลื่อนตัว เกิดการเอียงตัว และการทรุดตัวของโครงสร้าง หรือการเกิดการพังทลายของพื้นที่ลาดชัน ซึ่งพฤติกรรมที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่มักจะพบในทรายปนทรายแป้งที่อยู่ในสภาวะอิ่มตัว และสภาพหลวม ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นทำการศึกษาสมรรถนะของเสาหิน (Stone column) ไวโบรปรับปรุงคุณภาพทรายปนทรายแป้งภายใต้สภาวะการอัดตัวระบายน้ำ ที่ความแตกต่างของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเสาหิน (ขนาด 50, 75, และ 100 มิลลิเมตร) และที่ความแตกต่างของความหนาแน่นสัมพัทธ์ทรายปนทรายแป้ง (0, 40, 70, และ 90 เปอร์เซ็นต์) จากผลการทดสอบพบว่าเสาหินที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่นั้นช่วยเร่งอัตราการอัดตัวระบายน้ำของทรายปนทรายแป้งที่มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ต่าง ๆ ได้ดี ลดความแตกต่างการทรุดตัวของดิน และความเค้นภายในดิน เนื่องจากอัตราส่วนการทดแทนพื้นที่การปรับปรุงคุณภาพที่มีค่าสูง นอกจากดังที่กล่าวมาข้างต้นเสาหินยังช่วยเพิ่มความสามารถในการรับแรงแบกทาน เพิ่มเสถียรภาพของดิน และลดความเป็นไปได้ในการทำให้เป็นของเหลว (Liquefaction) ในดินทรายหลวมอิ่มตัว เนื่องจากเสาหินมีความพรุนสูงการอัดตัวระบายน้ำ และการระบายน้ำที่ต่ำจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ</p> 2022-09-20T09:52:11+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1449 การปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวปนตะกอนด้วยสารอัคคาร์ไลน์เศษคอนกรีตและเถ้าชานอ้อย 2022-09-20T18:22:47+07:00 นายกุลศุภณัช พรมมา panuvint@gmail.com ชยกฤต เพชรช่วย chayakrit.ph@rmuti.ac.th เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ cherdsak.su@rmuti.ac.th จักษดา ธำรงวุฒิ jaksada.th@rmuti.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวปนตะกอนด้วยสารอัลคาร์ไลน์ เศษคอนกรีต และเถ้าชานอ้อย โดยใช้เถ้าชานอ้อย (BA) และเศษคอนกรีต (RC) เป็นสารตั้งต้น และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นสารละลาย Alkali activator เพื่อนำวัสดุที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์สำหรับงานถนน งานวิจัยนี้นี้ศึกษากำลังอัดของดินที่ถูกปรับปรุงแปรผันตามอัตราส่วนผสมดินเหนียวปนดินตะกอนต่ออัตราส่วนสารเชื่อมประสานเท่ากับ 70:30 อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 100:0, 70:25, 50:50 และ 25:75 ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;8 โมลาร์ การทดสอบกำลังอัดแกนเดียวทดสอบที่ 2 สภาวะ ได้แก่ แบบแช่น้ำ และไม่แช่น้ำ แปรผันอายุบ่มที่ 7 และ 28 วัน และแปรผันความชื้นที่ 0.8OWC, OWC และ 1.2OWC ผลการทดสอบพบว่าค่ากำลังอัดสูงสุดพบที่ปริมาณความชื้นที่เหมาะสมที่อัตราส่วนผสม อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 100:0 (OWC = 3,140 kPa.) สำหรับการทดสอบแบบไม่แช่น้ำ นอกจากนี้พบว่าสำหรับการทดสอบแบบแช่น้ำตัวอย่างส่วนใหญ่เสียหาย โดยกำลังอัดที่สูงที่สุดพบที่อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 50:50 ที่ความชื้น 1.2OWC ที่อายุบ่ม 7 วัน จะได้กำลังอัดที่สูงที่สุดที่ 817 kPa. อีกทั้งกำลังอัดมีค่าสูงขึ้นตามอายุการบ่มที่ 28 วัน ในทุกอัตราส่วนผสม ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปปรับใช้กับงานมาตรฐานรองพื้นทางสำหรับงานถนน</p> 2022-09-20T09:53:16+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1445 การประยุกต์ใช้เถ้าหนักเป็นวัสดุในงานทาง 2022-09-20T18:22:47+07:00 ศักดา หล้าใจ sakdalha.ds@gmail.com พิทยา แจ่มสว่าง pitthaya_kmutnb@hotmail.com <p>ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินต้องใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินเป็นจำนวนมาก วัสดุพลอยที่ได้จากการใช้ถ่านหิน&nbsp; คือเถ้าถ่านหิน ซึ่งแหล่งเถ้าถ่านหินในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะปริมาณเถ้าถ่านหินที่เหลือจากกระบวนการเผาถ่านหินเกิดเป็นเถ้าลอย 75 – 80 % และเถ้าหนัก 20 – 25 % ต่อปี โดยปัจจุบันเถ้าลอยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลาย ส่วนเถ้าหนักยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัสดุเหลือทิ้งต้องกำจัดด้วยการฝั่งกลบกลบ หากสามารถนำเถ้าหนักไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในงานวิศวกรรมโยธาได้ ก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเถ้าหนัก และลดปริมาณวัสดุเหลือทิ้ง ทำให้ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเถ้าหนัก&nbsp; อนุภาคส่วนใหญ่ของเถ้าหนักมีลักษณะพื้นผิวแบบขรุขระ และมีเหลี่ยมคมซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเถ้าลอย ในสภาพแห้งจะป่นเป็นฝุ่นไม่มีคุณสมบัติการเชื่อมเกาะกันระหว่างอนุภาค ซึ่งสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้วัสดุได้ในการก่อสร้างถนนด้วยการขัดกันของอนุภาค&nbsp; การหาวัสดุที่เหมาะสม และมีคุณภาพในการนำมาใช้ก่อสร้างในบางพื้นที่ถือเป็นเรื่องที่ยากจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการขนส่งวัสดุเพิ่มต้นทุน การก่อสร้าง การปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวัสดุที่สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้มากพอที่จะสามารถใช้เป็นวัสดุในงานทางได้ถือเป็นหนึ่งทางเลือก&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในงานวิจัยนี้ จึงศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังด้วยเถ้าหนัก และปูนซีเมนต์ เพื่อใช้เป็นวัสดุในงานทางการศึกษาประกอบไปด้วยการทดสอบกำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด (UCS) การทดสอบกำลังรับแรงดึงแบบผ่าซีก (STT) และการทดสอบกำลังรับแรงแบกทาน (CBR) ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าปริมาณการแทนที่ดินลูกรังด้วยเถ้าหนักปริมาณ 20 % ที่ทุกอัตราส่วนซีเมนต์ และอายุการบ่มมีความเหมาะสมมากที่สุดสามารถประยุกต์ใช้เป็นวัสดุสำหรับในชั้นพื้นทางได้ตามมาตรฐานกรมทางหลวง ทล.-ม. 204/2556 ประเทศไทย</p> 2022-09-20T09:54:25+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1429 การพัฒนาอุปกรณ์สำรวจชั้นดินซึ่งทำงานด้วยการตรวจวัดคลื่นสั่นสะเทือนขนาดเล็ก 2022-09-20T18:22:48+07:00 ชวกร เมธีพลกุล mostcommando@hotmail.com ฐิรวัตร บุญญะฐี 6170138221@student.chula.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์นั้นเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การสำรวจปิโตรเลียม การสำรวจแหล่งน้ำบาดาล การศึกษาทางด้านแผ่นดินไหว รวมถึงการสำรวจชั้นดินทางด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค ในงานวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบและประดิษฐ์อุปกรณ์สำรวจชั้นดินจากการตรวจวัดคลื่นสั่นขนาดเล็ก (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">microtremor) <span lang="TH">บนผิวดิน อุปกรณ์ตรวจวัดประกอบด้วยวงจรแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลแบบ 24 บิตซึ่งรับสัญญาณการสั่นสะเทือนจากจีโอโฟนแล้วส่งให้ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ชื่อราสเบอร์รี่พาย (</span>Raspberry Pi) <span lang="TH">เพื่อเก็บข้อมูลและส่งต่อให้ระบบสมาร์ทโฟน ซึ่งจะทำหน้าที่ประมวลผลด้วยวิธีอัตสัมพันธ์เชิงระยะ (</span>SPAC) <span lang="TH">และโครงข่ายประสาทเทียม (</span>Neural Network) <span lang="TH">เพื่อแสดงภาพตัดความเร็วคลื่นเฉือน (</span>Shear wave velocity profile) <span lang="TH">และ คำนวณค่าเฉลี่ยความเร็วคลื่นเฉือน (</span>Average Shear wave velocity ) <span lang="TH">ของชั้นดิน จากการตรวจวัดภาคสนามในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อทำการตรวจวัดในรัศมีที่เหมาะสมพบว่าอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถทำนายค่าเฉลี่ยความเร็วคลื่นเฉือนได้ใกล้เคียงกับความเร็วคลื่นเฉือนที่ประเมินจากวิธีดาวน์โฮล (</span>downhole) </span></p> 2022-09-20T09:55:27+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1421 กำลังอัดแกนเดียวและกำลังแรงดึงทางอ้อมของขยะหินคลุกผสมซีเมนต์ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก 2022-09-20T18:22:49+07:00 ปัญญา สุวรรณกลาง panya.su@rmuti.ac.th สุภัณกฤษ ชาชำนาญ panya.su@rmuti.ac.th เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ Cherdsak.su@rmuti.ac.th <p>&nbsp; &nbsp;<span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดแกนเดียวและกำลังแรงดึงทางอ้อมของขยะหินคลุกผสมซีเมนต์ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก โดยใช้ปริมาณวัสดุประสานร้อยละ 1</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">, <span lang="TH">3 และ 5 ของน้ำหนักดินแห้ง ทดสอบกำลังอัดแกนเดียวและกำลังแรงดึงทางอ้อมของตัวอย่างที่อายุบ่ม 7 วัน ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวและกำลังแรงดึงทางอ้อมของตัวอย่างขยะหินคลุกผสมซีเมนต์ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่กำลังรับแรงอัดแกนเดียวและกำลังแรงดึงทางอ้อมของตัวอย่างขยะหินคลุกผสมซีเมนต์ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 มีค่าสูงกว่าตัวอย่างขยะหินคลุกผสมซีเมนต์ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ปริมาณปูนซีเมนต์ที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับร้อยละ 3 สำหรับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ซึ่งให้ค่ากำลังอัดผ่านเกณฑ์มาตรฐานกรมทางหลวง</span></span></p> 2022-09-20T09:56:57+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1415 ผลกระทบของสารละลายโพแทสเซียมต่อคุณสมบัติการบวมตัวของดินบวมตัวในพื้นที่แม่เมาะ 2022-09-20T18:22:49+07:00 ศุภกิตติ์ กรวดสูงเนิน supakit_kruads@cmu.ac.th เศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา sethapong.s@cmu.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">บทความนี้นำเสนอผลการทดลองใช้สารละลายโพแทสเซียมเพื่อลดศักยภาพการบวมตัวของดินเหนียวบวมตัวในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับอาคารและถนนในพื้นที่เมื่อความชื้นในดินเพิ่มขึ้น แร่ธาตุในดินบวมตัวของแม่เมาะส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่มอนต์มอริลโลไนต์ซึ่งดึงดูดน้ำได้มากเมื่อเทียบกับแร่อิลไลต์ในดินที่ไม่บวมตัว ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือ อิลไลต์มีโพแทสเซียมไอออนจับแผ่นเหล่านั้นเข้าด้วยกันในขณะที่มอนต์โมลิลโลไนต์ไม่มีโพแทสเซียมไอออนอยู่ ช่วยให้น้ำถูกดึงดูดเข้าสู่ช่องว่างระหว่างแผ่นได้อย่างง่าย จากข้อเท็จจริงนี้ มีการตั้งสมมติฐานว่าหากเติมโพแทสเซียมไอออนเข้าไประหว่างแผ่นสามชั้นของมอนต์มอริลโลไนต์ ศักยภาพในการบวมก็จะลดลง ในการทดลองนี้ได้ใช้วิธีทดสอบการบวมตัวอิสระ โดยตัวอย่างดินบวมตัวของแม่เมาะจะถูกแช่ในสารละลายโพแทสเซียมสามประเภท ได้แก่ โพแทสเซียมคลอไรด์ (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">KCl), <span lang="TH">โพแทสเซียมไนเตรต (</span>KNO<span lang="TH">3)</span>, <span lang="TH">และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (</span>KOH) <span lang="TH">จากนั้นจึงทดสอบหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการบวมและวิเคราะห์ผล </span>X-Ray Diffraction <span lang="TH">ด้วยโปรแกรม </span>Match!<span lang="TH">3 ผลการวิจัยพบว่าการใช้สารละลาย </span>KCl <span lang="TH">10% โดยน้ำหนัก สารละลาย </span>KNO<span lang="TH">3 20% โดยน้ำหนัก และร้อยละ </span>KOH <span lang="TH">20% โดยน้ำหนัก ช่วยลดเปอร์เซ็นต์การบวมของดินจาก 8.04% เหลือ 3.94%</span>, <span lang="TH">5.04% และ 6.73% ตามลำดับ</span></span></p> 2022-09-20T09:58:04+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1405 การประยุกต์ใช้เครื่องวัดการแอ่นตัวแบบกระแทกพกพาเพื่อประเมินค่าโมดูลัสจำกัดของดินที่ขึ้นอยู่กับระดับความเค้น 2022-09-20T18:22:50+07:00 ธนรัฐ ขวัญเจริญทรัพย์ thanarut.mossco1840@mail.kmutt.ac.th วรัช ก้องกิจกุล warat.kon@kmutt.ac.th <p>ค่าโมดูลัสคืนตัว (Resilient modulus, ) เป็นพารามิเตอร์สำคัญค่าหนึ่งที่นำมาใช้ในการออกแบบและวิเคราะห์ความแข็งแรงของวัสดุ<br>ที่ใชในการก่อสร้างโครงสร้างชั้นทาง โดยทั่วไปการหาคา &nbsp;ของวัสดุนิยมใชการทดสอบแรงอัดสามแกนแบบใหแรงกระทำแบบวัฏจักร (Repeat load triaxial test, RLT) ซึ่งเป็นวิธีที่มีความซับซอนและใช้เวลานาน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การศึกษาในปัจจุบันจึงได้มีการศึกษาวิธีการอื่นเพื่อเป็นแนวทาง<br>ในการวิเคราะห์ค่า &nbsp;ในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาประยุกต์ใช้วิธีการปล่อยน้ำหนักตกกระทบเพื่อประเมินค่าสติฟเนสของวัสดุเม็ดหยาบ โดยการใช้<br>เครื่องปล่อยน้ำหนักตกกระแทก (Dynamic hammer, DH) มาใช้ทดสอบกับหินคลุกบดอัดในโมลซีบีอาร์ แล้วทำการวิเคราะห์หาค่าสติฟเนสของดิน &nbsp;และศึกษาวิธีการวิเคราะห์เพื่อหาค่าโมดูลัสจำกัด &nbsp;ที่ขึ้นกับระดับความเค้นเทียบกับค่าโมดูลัสจำกัดของวัสดุที่ได้จากการทดสอบการอัดตัวหนึ่งมิติ &nbsp;ที่ขึ้นกับระดับความเค้น วัสดุที่ใช้ในการศึกษานี้คือ หินคลุก (Crushed rock) ที่มีการคละขนาดอนุภาคกันดี&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1. ค่า &nbsp;จากการทดสอบ DH จะเพิ่มขึ้นกับจำนวนครั้งจนมีค่าคงที่เมื่อจำนวนครั้งในการปล่อยตกมีค่าเพิ่มขึ้นเข้าสู่อินฟินิตี้ &nbsp;ซึ่งค่า &nbsp;สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้วิธีไฮเพอร์โบลิก (Hyperbolic method) 2. ค่าโมดูลัสจำกัดจากการทดสอบ DH &nbsp;สามารถหาได้จากค่า &nbsp;ที่แท้จริงที่หาค่าได้สำหรับระดับความเค้น &nbsp;ที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับระยะตกกระแทกที่ใช้ในการทดสอบ DH และ 3. ความสัมพันธ์ &nbsp;มีความสอดคล้องกับความสัมพันธ์ &nbsp;แต่จะมีการกระจายตัวที่มากกว่า</p> 2022-09-20T09:59:07+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1383 การปรับปรุงดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานโดยใช้เถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์ 2022-09-20T18:22:51+07:00 ยงยุทธ บำรุงพล yongyut.bm@rmuti.ac.th เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง sermsak.ti@rmuti.ac.th เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ cherdsak.su@rmuti.ac.th วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง wisitsak.t@rmutsv.ac.th นันทชัย ชูศิลป์ nuntachai.c@rmutsv.ac.th จุฑามาศ ลักษณะกิจ l.chuthamart@gmail.com <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดแกนเดียวและกำลังการรับแรงดึงทางอ้อมของดินลูกรังโดยการใช้เถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์ ดินลูกรังที่ใช้ในงานวิจัยเป็นดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานของกรมทางหลวง สารละลายโซเดียมซิลิเกต (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Na<span lang="TH">2</span>SiO<span lang="TH">3</span>, NS) <span lang="TH">และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (</span>NaOH, NH) <span lang="TH">เป็นส่วนผสมของสารละลายอัลคาไลน์ งานวิจัยนี้จึงศึกษาอัตราส่วนของดินลูกรังต่อเถ้าชีวมวลเท่ากับ 90:10 อัตราส่วน </span>NS/NH <span lang="TH">เท่ากับ 10:90 30:70 และ 50:50 และความเข้มข้นของ </span>NH <span lang="TH">เท่ากับ 8 โมลาร์ ทดสอบกำลังแบบแช่น้ำและแบบไม่แช่น้ำของตัวอย่างที่อายุบ่ม 7 วัน กำลังอัดแกนเดียวสูงสุดและกำลังการรับแรงดึงทางอ้อมสูงสุดของดินลูกรังโดยการใช้เถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์ พบที่อัตราส่วนดินลูกรังต่อเถ้าชีวมวลเท่ากับ 90:10 และอัตราส่วนของ </span>NS/NH <span lang="TH">เท่ากับ 50:50 ซึ่งให้ค่ากำลังอัดแกนเดียวแบบแช่น้ำและไม่แช่น้ำเท่ากับ 972 และ 1</span>,<span lang="TH">066 </span>kPa <span lang="TH">และค่ากำลังการรับแรงดึงทางอ้อมแบบแช่น้ำและไม่แช่น้ำเท่ากับ 135 และ 137 </span>kPa <span lang="TH">ตามลำดับ</span></span></p> 2022-09-20T10:00:10+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1395 การทำนายความเครียดการคืบของตาข่ายเสริมแรงพอลีโพรพีลินด้วยพฤติกรรมการคลายความเค้นที่เร่งด้วยอุณหภูมิ 2022-09-20T18:22:52+07:00 รวิวาร เอกอินทุมาศ Rawiwan.eak@gmail.com วรัช ก้องกิจกุล Warat.kon@kmutt.ac.th <p class="Contentnew"><span lang="TH">ในปัจจุบันโครงสร้างดินเสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์โพลีเมอร์ในการใช้งานส่วนใหญ่จะรับแรงกระทำคงค้าง ดังนั้นพฤติกรรมที่ควรให้ความสำคัญคือพฤติกรรมการคืบ การทดสอบการคืบด้วยวิธีปกติทำเพื่อศึกษาพฤติกรรมการคืบของวัสดุ แต่วิธีนี้ใช้ระยะเวลาในการทดสอบนาน จึงได้มีการพัฒนาวิธีการทดสอบที่ใช้อุณหภูมิเพื่อเร่งการคืบการทดสอบแบบนี้หากใช้ระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จะสามารถทำนายประวัติเวลาความเครียดการคืบระยะยาวได้ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอวิธีการทำนายประวัติเวลาการคืบของวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์โพลีเมอร์จากความเครียดไม่คืนกลับการคลายความเค้นอีกด้วย ผลการวิจัยในอดีตพบว่า ประวัติเวลาการคลายความเค้น 3 ชั่วโมง สามารถทำนายประวัติเวลาการคืบได้ถึง 8 ชั่วโมง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้งวิธีการเร่งการเกิดพฤติกรรมการคืบด้วยอุณหภูมิและวิธีการทำนายประวัติเวลาการคืบจากประวัติเวลาความเครียดไม่คืนกลับการคลายความเค้นใช้ระยะเวลาการทดสอบที่สั้นแต่สามารถทำนายประวัติเวลาการคืบระยะยาวได้ ในงานวิจัยนี้จึงได้นำทั้งสองวิธีมาประยุกต์รวมกัน โดยทำการทดสอบการคืบแบบเร่งด้วยอุณหภูมิด้วยวิธี </span>Stepped isothermal method (SIM) <span lang="TH">และทำการทดสอบการคลายความเค้นแบบเร่งด้วยอุณหภูมิด้วยวิธี </span>Time-temperature superposition (TTS) <span lang="TH">จากผลการทดสอบและวิเคราะห์พบว่า การทดสอบการคลายความเค้นที่เร่งด้วยอุณหภูมิด้วยระยะเวลาการทดสอบรวม 12 ชั่วโมง จะได้ประวัติเวลาความเครียดไม่คืนกลับการคลายความเค้นประมาณ 115 ชั่วโมง ซึ่งทำให้สามารถทำนายประวัติเวลาความเครียดการคืบได้เท่ากับ 348 ชั่วโมง หรือสามารถประหยัดเวลาการทดสอบได้ประมาณ 29 เท่า</span></p> 2022-09-20T10:01:05+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1394 การวิเคราะห์พฤติกรรมของเสาเข็มเดี่ยวและกลุ่มเสาเข็มเมื่อได้รับแรงกระทำด้านข้างด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์สามมิติ 2022-09-20T18:22:53+07:00 ธวัชวงศ์ ผัดศักดิ์ thawatwong.est715@mail.kmutt.ac.th วรัช ก้องกิจกุล warat.kon@kmutt.ac.th <p>เสาเข็มเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งขององค์อาคาร ซึ่งมีหน้าที่รับน้ำหนักโครงสร้างส่วนต่าง ๆ และถ่ายเทลงสู่ดิน โดยปกติน้ำหนักที่ถ่ายลงมาจากโครงสร้างส่วนใหญ่มักเป็นแรงในแนวดิ่ง (Vertical load) แต่ในความเป็นจริงแล้วเสาเข็มยังต้องรับแรงกระทำด้านข้าง (Lateral load) ด้วย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาออกแบบเสาเข็มเช่นกัน ในงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาแรงกระทำด้านข้างต่อเสาเข็มเดี่ยวและกลุ่มเสาเข็มโดยมีจำนวนเสาเข็มและรูปแบบการจัดเรียงเสาเข็มที่แตกต่างกันด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์สามมิติ (3D FEM) เพื่อเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบจำลองทางกายภาพจากงานวิจัยในอดีตและทำการพิจารณาผลกระทบของโซนอิทธิผลต่อพฤติกรรมของกลุ่มเสาเข็ม ผลการศึกษาพบว่า 1.ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำด้านข้างและการเสียรูปของเสาเข็มทางด้านข้างที่ได้จากระบบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ กับผลทดสอบแบบจำลองทางกายภาพมีความใกล้เคียงกัน 2. อิทธิพลบดบังและผลกระทบจากขอบจะส่งผลกระทบต่อการรับแรงด้านข้างเสาเข็มเมื่อมีการจัดเรียงเข็มแบบล้อมกรอบมากกว่าการจัดเรียงแบบหน้ากระดาน และ 3.เมื่อระยะห่างระหว่างเสาเข็มเพิ่มขึ้น ผลกระทบจากพื้นที่โซนอิทธิพลจะลดลงตาม ซึ่งสอดคล้องกับประสิทธิภาพการรับแรงด้านข้างของกลุ่มเสาเข็มที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นประสิทธิภาพการรับแรงกระทำด้านข้างของกลุ่มเสาเข็มสามารถอธิบายได้จากพื้นที่โซนอิทธิพลที่สามารถมองเห็นภาพและทำให้เข้าใจได้จากการวิเคราะห์ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์สามมิติ</p> 2022-09-20T10:02:19+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1392 การศึกษาทางทฤษฎีและวิธีการเชิงตัวเลขถึงอิทธิพลของน้ำหนักกดทับ ต่อกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะปลายขยาย 2022-09-20T18:22:54+07:00 บุษยา สุวรรณจินดา warat.kon@kmutt.ac.th วิวรรธน์ วชิรภูมิภักดิ์ warat.kon@kmutt.ac.th ศุภกฤษ เฟื่องฟู warat.kon@kmutt.ac.th วรัช ก้องกิจกุล warat.kon@kmutt.ac.th <p>เสาเข็มเจาะขยายลำต้น คือ เสาเข็มคอนกรีตประเภทเจาะและหล่อในที่ชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนปีกเพิ่มขึ้นมาหนึ่งหรือสองปีกที่บริเวณส่วนปลายของเสาเข็ม การเพิ่มขึ้นมาของส่วนปีกทำให้ความสามารถในการรับแรงแบกทานของเสาเข็มเพิ่มขึ้นมากกว่าเสาเข็มทั่วไป ซึ่งแรงแบกทานของเสาเข็มมาจาก 2 ส่วนคือ กำลังรับแรงแบกทานที่ปลายเสาเข็ม และแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับผิวดินบริเวณรอบ งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของน้ำหนักกดทับต่อกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะขยายลำต้น และวิเคราะห์วงอิทธิพลจากเส้นชันของความเครียดสูงสุด โดยผลที่นำมาวิเคราะห์มีดังนี้ 1. ผลการทดสอบแบบจำลองเสาเข็มย่อส่วนในห้องปฏิบัติการจากงานวิจัยในอดีต 2. ผลการวิเคราะห์กำลังรับน้ำหนักสูงสุดของเสาเข็มด้วยการคำนวณทางทฤษฎี 3. ผลการจำลองการทดสอบเสาเข็มย่อส่วนด้วย FEM และ 4. ผลการเปรียบเทียบเส้นชันความเครียดสูงสุดระหว่างการทดลองกับ FEM จากการศึกษาพบว่า เมื่อพิจารณาค่าสัดส่วนกำลังรับน้ำหนักสูงสุดของเสาเข็มที่สนใจเทียบกับกำลังรับน้ำหนักสูงสุดของเสาเข็มเดี่ยวไม่มีปีกที่ไม่มีน้ำหนักกดทับบนผิวดิน (Pile capacity ratio, PCR) พบว่า 1. ในกรณีที่ไม่มีน้ำหนักกดทับบนผิวดิน เสาเข็มเดี่ยวขยายลำต้นทั้งแบบหนึ่งปีกและสองปีกมีค่า PCR เท่ากับ 3 และการเพิ่มระยะห่างระหว่างปีกของเสาเข็มเจาะขยายลำต้นสองปีกไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ 2. เมื่อมีน้ำหนักกดทับมากระทำบนผิวดิน การขยายปลายเสาเข็มจากไม่มีปีกเป็นหนึ่งปีก ทำให้ PCR มีค่าเท่ากับ 2 ถึง 9 และการเพิ่มจำนวนปีกเป็นสองปีกทำให้ PCR มีค่าเท่ากับ 3 ถึง 13 สำหรับน้ำหนักกดทับ 0 ถึง 100 kPa ตามลำดับ เมื่อไม่มีน้ำหนักกดทับ ค่ากำลังรับน้ำหนักสูงสุดของเสาเข็มขยายลำต้นหนึ่งปีกและสองปีกในเเบบจำลองมีค่าใกล้เคียงกัน เเต่เมื่อเพิ่มน้ำหนักกดทับจะทำให้ค่า PCR ของเสาเข็มขยายลำต้นสองปีกเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นน้ำหนักกดทับมีอิทธิพลต่อความเเข็งเเรงของชั้นทราย ส่งผลให้กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเพิ่มขึ้น และ 3.เมื่อมีน้ำหนักกดทับกระทำบนชั้นทรายมากขึ้น ขนาดวงอิทธิพลของค่าความเครียดสูงสุดจะเพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่วงอิทธิพลครอบคลุมส่วนขยายลำต้นของเสาเข็มซึ่งเป็นสาเหตุให้กำลังรับน้ำหนักสูงสุดของเสาเข็มเจาะขยายลำต้นสูงขึ้น</p> 2022-09-20T10:03:13+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1391 พฤติกรรมของเสาเข็มเดี่ยวเมื่อได้รับแรงกระทำด้านข้างเมื่อทำนายด้วยวิธีเชิงวิเคราะห์และวิธีเชิงตัวเลข 2022-09-20T18:22:55+07:00 ภณ พงค์สุวรรณ warat.kon@kmutt.ac.th สุทิวัส นาคศรี warat.kon@kmutt.ac.th สิบปภาส สุวรรณชล warat.kon@kmutt.ac.th วรัช ก้องกิจกุล warat.kon@kmutt.ac.th <p>เสาเข็มเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งในองค์อาคารต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่รับน้ำหนักโครงสร้างส่วนต่าง ๆ และถ่ายเทลงสู่ดิน โดยปกติน้ำหนักที่ถ่ายเทลงมาจากโครงสร้างส่วนใหญ่มักเป็นแรงในแนวดิ่ง (Vertical load) แต่ในความเป็นจริงแล้วเสาเข็มยังต้องรับแรงกระทำทางด้านข้าง (Lateral load) ด้วย ซึ่งก็เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาออกแบบเสาเข็มเช่นกัน งานวิจัยนี้สนใจการวิเคราะห์เสาเข็มเดี่ยวซึ่งติดตั้งอยู่ในชั้นดินทรายเมื่อรับแรงด้านข้างทิศทางเดียวด้วย Non-dimensional method (NDM), Finite element method (FEM) และ Finite difference method (FDM) ซึ่งให้ผลลัพธ์เป็นแรงภายในและการโก่งตัวตามตำแหน่งต่าง ๆ ของเสาเข็ม รวมไปถึง Poulos’s method (Poulos’s) และ Characteristic load method (CLM) ซึ่งให้ผลลัพธ์เป็นการโก่งตัวที่ผิวดินและโมเมนต์ดัดสูงสุดที่เกิดขึ้นในเสาเข็ม ผลการวิเคราะห์เหล่านี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบจำลองทางกายภาพจากงานวิจัยก่อนหน้า จากการเปรียบเทียบพบว่า NDM และ Poulos’s ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำเมื่อแรงกระทำด้านข้างที่หัวเสาเข็มมีค่าต่ำ เช่นเดียวกันกับ FEM และ FDM อนึ่งในการวิเคราะห์ด้วย FDM การใช้ค่าโมดูลัสของดินคงที่ตามความลึกให้ความแม่นยำของผลลัพธ์น้อยกว่าการใช้ค่าโมดูลัสของดินแบบแปรผันตามความลึก อย่างไรก็ตาม CLM ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากกว่าวิธีการอื่น ๆ เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้ยังคงมีความแม่นยำแม้แรงกระทำที่หัวเสาเข็มเพิ่มมากขึ้น เพราะในวิธีนี้พิจารณาพฤติกรรมไม่เชิงเส้นของดินรอบเสาเข็ม ซึ่งแตกต่างจากวิธีการอื่น ๆ ที่ไม่พิจารณาพฤติกรรมไม่เชิงเส้นของดินรอบเสาเข็ม</p> 2022-09-20T10:04:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1389 ผลกระทบของอุณหภูมิต่อพฤติกรรมอีลาสติกและการเสียรูปที่ขึ้นกับเวลาของทรายฮูสตันเมื่อรับแรงเฉือนสามแกน 2022-09-20T18:22:56+07:00 โฆษิต จริยาทัศน์กร kosit.jar@mail.kmutt.ac.th วรัช ก้องกิจกุล warat.kon@kmutt.ac.th <p>การเสียรูประยะยาวมีความเกี่ยวข้องกับอิทธิพลของเวลาซึ่งประกอบด้วย อิทธิพลของอัตราการให้แรง (Loading rate effect) และอิทธิพลของการแก่ตัว (Ageing effect) ในปัจจุบันงานวิศวกรรมเทคนิคธรณีที่มีความเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อาทิ เสาเข็มพลังงาน การแลกเปลี่ยนพลังงานความร้อนผ่านหลุมเจาะ เป็นต้น ดังนั้นพฤติกรรมเชิงอุณหพลศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเสียรูปในระยะยาวจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางอุณหพลศาสตร์ในดินเหนียวเป็นอย่างมาก ในขณะที่การศึกษาในทรายยังมีอยู่อย่างจำกัด งานวิจัยนี้จึงใช้ทรายออสตัน (Hostun sand) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในงานวิจัยอย่างแพร่หลาย มาทดสอบแรงอัดสามแกนผ่านประวัติการให้แรงแบบวัฏจักร และการให้แรงกระทำคงค้าง เพื่อศึกษาค่าอีลาสติกยังก์โมดูลัสและพฤติกรรมการคืบที่อุณหภูมิแตกต่างกัน ได้แก่ 30 45 และ 60 องศาเซลเซียส จากผลการศึกษาพบว่า 1. ค่าอีลาสติกยังก์โมดูลัสเป็นค่าที่ขึ้นกับระดับความเค้น โดยมีพฤติกรรมแบบไฮโปอีลาสติก 2. ที่ระดับความเค้นเดียวกันค่าอีลาสติกยังก์โมดูลัสมีค่าลดลงตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น และ 3. ปริมาณความเครียดการคืบเพิ่มสูงขึ้นตามอุณหภูมิและระดับความเค้นที่เพิ่มขึ้น</p> 2022-09-20T10:04:52+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1390 Implementation of Artificial Neural Network for Prediction of Pavement Structure Strains at Critical Locations 2022-09-20T18:22:57+07:00 Nuttariga Limtongsomjai warat.kon@kmutt.ac.th Teeranai Chaiwanna warat.kon@kmutt.ac.th Borin Wipromchai warat.kon@kmutt.ac.th Warat Kongkitkul warat.kon@kmutt.ac.th <p>Falling Weight Deflectometer (FWD) test is commonly used to evaluate the conditions of a pavement structure. The surface deflections measured by a FWD test are normally used in back-calculation analysis to determine the elastic Young’s modulus of the pavement structure materials, which later on is inputted into a forward calculation, usually by a Linear Elastic Analysis (LEA), to determine the strains mobilised at the critical locations (e<sub>t,ac</sub> and e<sub>c,sg</sub>) in the pavement structure for evaluation of the remaining life. It is of interest to develop a tool for predicting the values of e<sub>t,ac</sub> and e<sub>c,sg</sub> directly from the FWD deflections while bypassing the above-mentioned back- and forward calculations, which are highly time-consuming. In this research, artificial neural network (ANN), which is a function built-in MATLAB2020 program, was used as the tool for such a prediction. There are three types of pavement structures investigated, which are: i) cement-modified crushed rock base pavement structure; ii) combined-surface pavement structure; and iii) thin-surface pavement structure. A database consisting of the strains at the critical locations and the FWD deflections for each pavement structure type, which were obtained by data generating with LEA in a previous research, were used. The FWD deflections were transformed to various deflection basin parameters (DBPs), and then used to train ANN to correlate with the strains at the critical locations. By comparing the strains predicted by ANN with the ones from LEA as the input, it is found that, in general, the maximum error is around only 3%. In addition, the results predicted by ANN in the present study are substantially more accurate than the ones predicted by a non-linear regression method with statistical equations of the previous study. Hence, the developed ANN can be used to analyse the FWD deflections to determine the critical location’s strains for evaluating the conditions of a pavement structure.</p> 2022-09-20T10:05:39+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1731 การพัฒนาการควบคุมกำลังต่ำจากคอนกรีตรีไซเคิลโดยใช้สารกระตุ้นอัลคาไลน์สำหรับประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมผิวทาง 2022-09-20T18:22:58+07:00 กิตติภพ ขวัญตน kittipop1566@gmail.com อนุพงศ์ คำปลอด kittipop1566@gmail.com ธนกฤต เทพอุโมงค์ kittipop1566@gmail.com ธนกร ชมภูรัตน์ kittipop1566@gmail.com <p>ปัจจุบันขยะที่เกิดจากการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนผสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำ (controlled low strength material, CLSM) โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบไปด้วยเถ้าลอยจากโรงงานไฟฟ้าแม่เมาะ ทรายธรรมชาติ คอนกรีตรีไซเคิลจากโครงสร้างอาคารที่เกิดจากการรื้อถอน และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่มีคุณสมบัติเป็นเบสสูงเพื่อเป็นตัวชะละลาย สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในทางวิศวกรรมผิวทาง โดยจะศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรม และคุณสมบัติด้านกำลังของ CLSM ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ACI229R-99 และเกณฑ์มาตรฐานงานก่อสร้างทางของกรมทางหลวงประเทศไทย โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่มีความเข้มข้น 10 โมลาร์ เป็นตัวชะละลายและใช้ทรายธรรมชาติกับคอนกรีตรีไซเคิลเป็นมวลรวมละเอียดในอัตราส่วนคอนกรีตรีไซเคิลต่อวัสดุมวลรวมละเอียดร้อยละ 0 25 50 75 และ 100 ตัวอย่าง CLSM จะถูกนำมาทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรมของ CLSM ประกอบไปด้วย การทดสอบการไหล การไหลแผ่ ระยะเวลาการก่อตัว การเยิ้มน้ำ หน่วยน้ำหนัก และนำมาทดสอบคุณสมบัติด้านกำลังรับแรงอัดแกนเดียวซึ่งเป็นพารามิเตอร์หลักสำหรับใช้ในการออกแบบผิวทาง</p> 2022-09-20T10:06:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1727 การประมาณค่าของตัวเลขทะลุทะลวงมาตรฐานด้วยดัชนีสมบัติของดินที่มีความเชื่อมแน่น 2022-09-20T18:22:58+07:00 ฐิติศักดิ์ ชัชวาล apichit.ku@rmuti.ac.th อัศนัย ทาเภา apichit.ku@rmuti.ac.th อภิชิต คำภาหล้า apichit.ku@rmuti.ac.th ภานุมาส เรื่องทิพย์ apichit.ku@rmuti.ac.th โกมิลย์ ชัยรัตนงามเดช apichit.ku@rmuti.ac.th อนุกุล อ่างบุญตา apichit.ku@rmuti.ac.th <p>ค่าตัวเลขทะลุทะลวงมาตรฐาน เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบตอกทะลุทะลวงมาตรฐาน ซึ่งเป็นการทดสอบหนึ่งในการเจาะสำรวจชั้นดินทางวิศวกรรม ค่าตัวเลขทะลุทะลงมาตรฐานสามารถนำไปแบ่งประเภทของชั้นดินตามความแข็งหรืออ่อน และ แน่นหรือหลวม สำหรับดินที่มีความเชื่อมแน่นและดินไม่มีความเชื่อมแน่น ตามลำดับ ค่าตัวเลขทะลุทะลวงมาตรฐานสามารถแปลงเป็นค่ากำลังต้านทานแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ กำลังรับแรงแบกทานของชั้นดิน หรือ ค่าการทรุดตัว ของฐานรากได้อย่างคร่าว ๆ บทความนี้ นำเสนอการประมาณค่าของตัวเลขทะลุทะลวงมาตรฐานของดินที่มีความเชื่อมแน่นด้วยดัชนีสมบัติ โดยอาศัยความสัมพันธ์เชิงประสบการณ์ และ วิธีทางสถิติ ผลจากการศึกษาพบว่า ค่าตัวเลขทะลุทะลวงมาตรฐานมีความสัมพันธ์กับดัชนีสมบัติอย่างมีนัยสำคัญ ผลจากการศึกษาสามารถประมาณค่าตัวเลขทะลุทะลวงมาตรฐานจากดัชนีสมบัติของดินได้อย่างแม่นยำ มีค่า R2 เท่ากับ 0.996</p> 2022-09-20T10:07:30+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1423 การทดสอบค่าการยอมให้น้ำซึมผ่านได้ในดินบวมตัวแม่เมาะ และการประมาณระยะเวลาน้ำไหลซึมจากแหล่งน้ำจนถึงอาคารที่เกิดความเสียหาย 2022-09-20T18:22:59+07:00 จุฬาลักษณ์ ทองแท่ง yeemmy1@hotmail.com เศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา sethapong.s@cmu.ac.th <p>ค่าการยอมให้น้ำซึมผ่านได้ (k) นับเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับดินบวมตัว เนื่องจากสามารถนำไปใช้คาดคะเนระยะเวลาที่อาจเกิดการยกตัวของผิวดินและอาคารที่ก่อสร้างบนดินบวมตัวจนเกิดความเสียหายได้ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถนำไปใช้ในการออกแบบระยะห่างระหว่างหลุมเจาะสำหรับอัดฉีดสารที่จะใช้สำหรับลดศักยภาพในการพองตัวของดินอีกด้วย บทความนี้นำเสนอการทดสอบหาค่าการยอมให้น้ำซึมผ่านได้ของดินบวมตัวจากพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ทั้งในห้องปฏิบัติการและในสนาม ผลการทดสอบพบว่าค่าการยอมให้น้ำซึมผ่านได้ที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการมีค่าเท่ากับ 4.49E-08 cm/s และผลที่ได้จากการทดสอบในภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 6.29E-05 cm/s นอกจากนั้นยังได้มีการทดสอบแบบจำลองการไหลซึมของน้ำจากแหล่งน้ำไปยังอาคารหลังหนึ่งที่ได้เกิดความเสียหายจากการพองตัวของดินบวมตัวใต้อาคาร ซึ่งพบว่าการทดสอบแบบจำลองดังกล่าวนั้น ให้ผลการประมาณระยะเวลาหลังจากการสร้างแหล่งน้ำจนกระทั่งเกิดความเสียหายขึ้นกับอาคารหลังดังกล่าวใกล้เคียงกับระยะเวลาที่เกิดขึ้นจริง</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-20T10:08:18+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1523 การศึกษาประสิทธิภาพการดักจับและการบรรเทาภัยของวัสดุเม็ดแห้งผสมเศษท่อนไม้เมื่อผ่านช่องเปิด 2022-09-20T18:22:59+07:00 ทศพล ทุ่งฝนภูมิ 63103777@up.ac.th ศุภณัฐ กาศสนุก 63103777@up.ac.th สิปปกร สุขโภชน์ 63103777@up.ac.th อาทิตย์ เรืองยศ 63103777@up.ac.th ปาลินี สุมิตสวรรค์ 63103777@up.ac.th ขวัญสิรินภา ธนะวงศ์ 63103777@up.ac.th สุริยาวุธ ประอ้าย 63103777@up.ac.th <p>บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ศึกษาประสิทธิของฝายชะลอน้ำแบบเปิดในการดักจับและการบรรเทาภัยดินถล่มและการไหลหลากของดินโคลน โดยใช้วัสดุเม็ดแห้งผสมเศษท่อนเป็นวัสดุทดลองการไหลในรางเพื่อทดสอบฝายช่องเปิด 2 รูปแบบได้แก่ รูปแบบตัวอัลฟา และรูปแบบตัววี ฝายช่องเปิดแต่ละรูปแบบมีมุมภายใน 80 90 และ 100 องศา และความลาดชันพื้นผิวการไหล 25, 30 และ 35 องศา ดำเนินการติดตั้งฝายช่องเปิดไว้ด้านหน้าและติดตั้งฝายวัดแรงกระแทกไว้ข้างหลังเพื่อวัดแรงกระแทกในการบรรเทาภัยของฝายช่องเปิด ผลการทดลองการไหลของเศษซากเข้าหาฝายวัดแรงกระแทกจะเกิดแรงดันต่อฝายวัดแรงกระแทกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป เศษซากที่เคลื่อนตัวเข้าหาฝายวัดแรงกระแทกจะพัฒนาทับถมและจะเกิดแรงดันด้านข้างจากฝายวัดแรงกระแทกต้านการเคลื่อนตัวของตัวมันเองก่อนหน้านี้จึงทำให้แรงที่กระทำต่อฝายวัดแรงกระแทกลดลง ประสิทธิภาพการดักจับและการบรรเทาภัยของฝายช่องเปิดไม่แน่นอนเมื่อความลาดชันการไหลต่างกัน ดังนั้นการประยุกต์รูปแบบฝายควรใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่นั้น</p> 2022-09-20T10:09:05+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1403 ผลกระทบของอุณหภูมิต่อประสิทธิภาพของวัสดุชั้นรองพื้นทางที่มีวัสดุผิวทางเก่าเป็นส่วนผสม 2022-09-20T18:23:00+07:00 ภูริชัย แก้วมา korakodn@nu.ac.th กรกฎ นุสิทธิ์ korakodn@nu.ac.th ณัฐนนท์ คุ้มครุฑ korakodn@nu.ac.th พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม korakodn@nu.ac.th สุริยาวุธ ประอ้าย korakodn@nu.ac.th พลปรีชา ชิดบุรี korakodn@nu.ac.th สุสิทธิ์ ฉายประกายแก้ว korakodn@nu.ac.th <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิต่อประสิทธิภาพของวัสดุชั้นรองพื้นทางที่มีวัสดุผิวทางเก่าเป็นส่วนผสม โดยวัสดุผิวทางเก่าจะถูกผสมเข้ากับดินเม็ดละเอียดชนิด Low Plasticity Clay เพื่อให้มีขนาดคละเป็นไปมาตรฐานชั้นรองพื้นทางของกรมทางหลวง ทั้งหมด 4 อัตราส่วน ประกอบด้วยวัสดุที่มีผิวทางเก่าเป็นส่วนผสมร้อยละ 95, 85, 75, และ 50 โดยน้ำหนัก นำส่วนผสมทั้งหมดมาทดสอบการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐานเพื่อหาค่าความหนาแน่นแห้งสูงสุดและปริมาณน้ำที่เหมาะสม นำส่วนผสมที่ทำการบดอัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนผสมละ 3 ตัวอย่าง ไปอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสหนึ่งชุด และ 150 องศาเซลเซียสอีกหนึ่งชุด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำตัวอย่างชุดดังกล่าวไปทดสอบเพื่อหาค่าซีบีอาร์ กำลังรับแรงอัดแกนเดียว และกำลังรับแรงดึงทางอ้อม นอกจากตัวอย่างชุดที่อบด้วยอุณหภูมิ 60 และ 150 องศาเซลเซียสแล้ว ตัวอย่างที่ไม่ได้ทำการอบด้วยอุณหภูมิสูงอีกหนึ่งชุดจะถูกนำไปทดสอบประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน นำผลการทดสอบทั้งหมดมาประเมินเปรียบเทียบประสิทธิภาพอันเนื่องจากผลกระทบของอุณหภูมิและปริมาณของวัสดุผิวทางเก่า ผลการทดสอบพบว่าพฤติกรรมการรับแรงของวัสดุขึ้นอยู่กับความหนาแน่นแห้งสูงสุดของวัสดุมวลรวม และเมื่อส่วนผสมที่มีผิวทางเก่าเป็นส่วนผสมได้ถูกอบที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นแล้วพฤติกรรมการรับแรงของวัสดุมวลรวมจะขึ้นอยู่กับปริมาณวัสดุผิวทางเก่าที่อยู่ในอัตราส่วนผสม ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นแห้งเพียงอย่างเดียว ผลการทดสอบในงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าอุณหภูมิที่ 60 องศาเซลเซียล ส่งผลให้ส่วนผสมระหว่างวัสดุผิวทางเก่าต่อดินเหนียวที่อัตราส่วน 75:25 และอุณหภูมิที่ 150 องศาเซลเซียล ที่อัตราส่วนผสม 75:25 ที่การทดสอบCBR วัสดุจะรับแรงได้มาก</p> 2022-09-20T10:09:57+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1402 การทำนายความแข็งแรงของวัสดุชั้นพื้นทางที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์ด้วยคลื่นความถี่เรโซแนนท์ 2022-09-20T18:23:01+07:00 ณัฐนนท์ คุ้มครุฑ korakodn@nu.ac.th กรกฎ นุสิทธิ์ korakodn@nu.ac.th สุสิทธิ์ ฉายประกายแก้ว korakodn@nu.ac.th พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม korakodn@nu.ac.th ภูริชัย แก้วมา korakodn@nu.ac.th พลปรีชา ชิดบุรี korakodn@nu.ac.th ภัคพงศ์ หอมเนียม korakodn@nu.ac.th <p>ในปัจจุบันการทดสอบด้วยคลื่นความถี่เรโซแนนท์กำลังได้รับความนิยมสำหรับการศึกษาพฤติกรรมและประสิทธิภาพของวัสดุงานทาง เนื่องจากเป็นการทดสอบแบบไม่ทำลายและสามารถทดสอบได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างผลจากการทดสอบด้วยคลื่นความถี่เรโซแนนท์และประสิทธิภาพของวัสดุพื้นทางที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบวัสดุดังกล่าวในอนาคต ส่วนผสมที่ศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ ประกอบด้วย หินคลุกผสมซีเมนต์ หินคลุกผสมซีเมนต์พอลิเมอร์สไตรีนอะคริลิค (SA) และ หินคลุกผสมซีเมนต์พอลิเมอร์สไตรีนบิวตาไดอีน (SBR) ปริมาณซีเมนต์และพอลิเมอร์ที่เหมาะสมจะได้รับการออกแบบตามมาตรฐานพื้นทางหินคลุกผสมซีเมนต์ของกรมทางหลวง บ่มตัวอย่างในภาชนะปิดเป็นเวลา 7, 14, 28 และ 60 วัน จากนั้นทำการทดสอบด้วยคลื่นความถี่เรโซแนนท์ ก่อนที่จะนำไปทดสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพ ได้แก่ การทดสอบกำลังรับแรงอัดแกนเดียว และการทดสอบกำลังรับแรงดึงทางอ้อม สุดท้ายนำผลการทดสอบทั้งหมดมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบแบบด้วยคลื่นความถี่และประสิทธิภาพของวัสดุพื้นทางที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์ พบว่าอัตราส่วนระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางต่อความยาวตัวอย่าง (D/L) ส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์ชนิด SBR สามารถรับกำลังแรงดึงทางอ้อมได้ดีกว่าการปรับปรุงวัสดุด้วยซีเมนต์และซีเมนต์กับพอลิเมอร์ชนิด SA นอกจากนี้ ผลการทดสอบยังถูกนำไปใช้สร้างสมการทำนายกำลังรับแรงจากความเร็วคลื่นเฉือน ซึ่งสามารถใช้เป็นการทำนายคุณภาพวัสดุที่ได้รับผสมด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์สำหรับงานโครงสร้างทางในอนาคตต่อไป</p> 2022-09-20T10:10:47+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1679 Monitoring the Vibration Response of a Tunnel Boring Machine for Real Time Detection of Geological Conditions 2022-09-20T18:23:01+07:00 sasi duanyai Sasi.Duanyai@gmail.com Goran Arangjelovski sasi.duanyai@mail.kmutt.ac.th <p>During tunnel excavation, unexpected geological conditions and changes in the advancing direction present geological hazards and challenging problems during tunnel construction. In the study, real-time vibration monitoring is carried out on the surrounding rock during the excavation process using a tunnel boring machine (TBM) to study the changes in the vibrational response and geological conditions. The monitoring is performed on the Mae Tang - Mae Ngad - Mae Kuang Diversion Tunnel Project in Northern Thailand which is excavated using a TBM. The diameter of the tunnel is 4.74 meters, and the excavation is in general in rock conditions. The monitoring system consists of geophone sensors mounted on the Tunnel Boring Machine and on the segmented wall. Subsequently, velocity time histories are analyzed in the time domain and spectral frequency domain. The TBM vibrations during excavation in hard rock or mixed face ground conditions (MFC) in addition to the TBM parameters are related to geological conditions and results from the monitoring suggested that the geological conditions changed during the drilling process.</p> 2022-09-20T10:11:41+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1345 Analysis of Full-scale Load Tests on Bored Piles Socketed in Weathered Rock: A Case Study of the Subsoils of Phnom Penh Area 2022-09-20T18:23:02+07:00 Khihok Ing ingkhihok@gmail.com Pongpipat Anantanasakul pongpipat.ana@mahidol.ac.th <p>Construction of high-rise buildings in the city of Phnom Penh has increased significantly in the past decade. The typical subsurface conditions of this urban area consist of a complex sequence of fluvial deposits of sandy and clayey soils underlain by sedimentary rock. Bored piles socketed in the rock layer have primarily been used as the foundation systems for such high-rise buildings. However, the current design knowledge of large-capacity bored piles in these particular ground conditions is rather limited. Due to the availability of the experimental results of full-scale static load test and high-strain dynamic tests on large-diameter bored piles, the present study was undertaken to gain better insight into the load transfer mechanisms as well as the settlement response of such deep foundations. A 2D axisymmetric finite element analysis was also performed to simulate the load-settlement relations obtained from the static load test. The experimental results indicated that skin friction significantly contributes to the pile mobilized capacities, to a degree much more than what previously thought by the local geotechnical community. The numerical predictions of the finite element model were observed to match the experimental load-settlement relationships fairly precisely. Parameter values of the soils and rocks that result in such realistic simulations of the pile response are presented herein.</p> 2022-09-20T10:12:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1466 การปรับปรุงดินลูกรังไม่ผ่านมาตรฐานด้วยสารอัลคาร์ไลน์เศษคอนกรีตและเถ้าชานอ้อย 2022-09-20T18:23:03+07:00 นายนัธทวัฒน์ วรรณศิริ stablegrowth88@gmail.com ชยกฤต เพชรช่วย stablegrowth88@gmail.com เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ stablegrowth88@gmail.com จักษดา ธำรงวุฒิ stablegrowth88@gmail.com <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน (CL) ด้วยสารอัลคาร์ไลน์ เศษคอนกรีต และเถ้าชานอ้อย โดยใช้เถ้าชานอ้อย (BA) และเศษคอนกรีต (RCP) เป็นสารตั้งต้น และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นสารละลาย Alkali activator เพื่อนำวัสดุที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์สำหรับงานถนน งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดของดินที่ถูกปรับปรุงแปรผันตามอัตราส่วนผสมของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ต่ออัตราส่วนสารเชื่อมประสานเท่ากับ 90:10 อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 100:0, 70:25, 66:33, 50:50, 33:66, 25:75 และ 0:100 ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดร็อกไซด์เท่ากับ 8 โมลาร์ การทดสอบกำลังอัดแกนเดียวทดสอบที่สภาวะ&nbsp; แช่น้ำ แปรผันอายุบ่มที่ 7 และ 28 วัน และแปรผันความชื้นที่ 0.8OWC, OWC และ 1.2OWC ผลการทดสอบพบว่าค่ากำลังอัดสูงสุดพบที่ปริมาณความชื้นที่เหมาะสม&nbsp;&nbsp;&nbsp; ที่อัตราส่วนผสมเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 25:75 (OWC = 737 kPa.) ที่อายุบ่ม 28 วัน ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปปรับใช้กับงานมาตรฐานรองพื้นทาง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับงานถนน</p> 2022-09-20T10:13:12+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1955 การหาค่าตัวแปรควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ที่เหมาะสมที่สุดภายใต้การควบคุมการทรุดตัวของผิวดิน 2022-09-20T18:23:03+07:00 สหัสวรรษ วัยนิพิฐพงษ์ sahassawas.chain@mail.kmutt.ac.th ชนา พุทธนานนท์ sahassawas.chain@mail.kmutt.ac.th พรเกษม จงประดิษฐ์ sahassawas.chain@mail.kmutt.ac.th ศศิพิมพ์ แสนบุญศิริ sahassawas.chain@mail.kmutt.ac.th ณัฐชัย เหมือนมี sahassawas.chain@mail.kmutt.ac.th นลวิชญ์ นพคุณทอง sahassawas.chain@mail.kmutt.ac.th วุฒิพงศ์ เมืองน้อย sahassawas.chain@mail.kmutt.ac.th พงศกร ศิริสิงห์อำไพ book.kung@hotmail.com <p>ปัญหาหลักที่มักจะพบได้ในงานก่อสร้างอุโมงค์ คือการทรุดตัวของผิวดิน ซึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการทรุดตัว คือ ลักษณะอุโมงค์ สภาพทางธรณีวิทยา และการควบคุมเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ การควบคุมการทรุดตัวของผิวดินที่รัดกุมมากเกินไปอาจทำให้มีอัตราเร็วในการก่อสร้างที่ต่ำ และส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น การศึกษานี้หาค่าตัวแปรควบคุมเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ในชั้นดินอ่อนที่เหมาะสมที่สุดด้วยอัลกอริทึ่มแบบพันธุกรรมภายใต้การควบคุมการทรุดตัวของผิวดิน ร่วมกันกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ และค่าการทรุดตัว เพื่อทำนายอัตราเร็วในการก่อสร้างและการทรุดตัวของผิวดินด้วยโครงข่ายประสาทเทียม โดยนำข้อมูลของโครงการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับฝึกโครงข่ายประสาทเทียม หาค่าที่เหมาะสมที่สุดที่สามารถทำให้อัตราเร็วในการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นโดยที่ค่าการทรุดตัวที่ไม่เกินค่าที่ยอมให้ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่านอกเหนือจากลักษณะชั้นดินแล้ว อัตราขุดเจาะอุโมงค์และแรงอัดฉีดน้ำปูนเกราต์เป็นปัจจัยที่สำคัญ และเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อค่าควบคุมการทรุดตัวของผิวดินมีค่าแตกต่างกัน</p> 2022-09-20T10:14:16+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1314 การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังด้วยกากแคลเซียมคาร์ไบด์ในอัตราส่วนร้อยละที่แตกต่างกัน 2022-09-20T18:23:04+07:00 อัตพล บุบพิ attaphol009tum@gmail.com ปราชญ์ อมรภิญโญ Attaphol009tum@gmail.com ยงยุทธ ศิริศรีเพ็ชร์ Attaphol009tum@gmail.com จาลุวัฒน์ สีดา Attaphol009tum@gmail.com พิชชาภา พัฒนกูลเกียรติ Attaphol009tum@gmail.com ศุภสิทธิ์ สายขุน Attaphol009tum@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการรับกำลังรับแรงอัดของดินลูกรังที่ผสมด้วยกากแคลเซียมคาร์ไบด์ ซึ่งเป็นขยะจากอุตสาหกรรมจากการผลิตก๊าซอะเซทิลีน เพื่อเป็นการลดขยะและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยผสมในอัตราส่วนร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 12 ตามลำดับซึ่งมีปัจจัยที่มีผลต่อกำลังรับแรงอัดได้แก่ ปริมาณกากแคลเซียมคาร์ไบด์ กำลังแรงอัด ปริมาณน้ำ และระยะเวลาในการบ่มของตัวอย่าง โดยนำมาทดสอบด้วยวิธีบดอัดแบบมาตรฐาน (Standard Proctor Test) ผลการทดสอบการรับแรงอัดของดินโดยปราศจากแรงด้านข้าง ดินที่นำมาผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์ร้อยละ 0 มีกำลังแรงอัดที่ 2.969 ksc ร้อยละ 2 มีกำลังรับแรงอัดที่ 3.248 ksc ร้อยละ 4 มีกำลังรับแรงอัด 4.303 ksc ร้อยละ 6 มีกำลังรับแรงอัด 4.508 ksc ร้อยละ 8 มีกำลังรับแรงอัด 4.710 ksc ร้อยละ 10 มีกำลังรับแรงอัด 4.418 ksc ร้อยละ 12 มีกำลังรับแรงอัด 4.390 ksc โดยดินที่ผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์และมีกำลังรับแรงอัดโดยปราศจากแรงด้านข้างสูงที่สุด คือร้อยละ 8 โดยมีกำลังรับแรงอัดที่ 4.710 ksc และมีการรับกำลังสูงขึ้นจากดินลูกรังที่ไม่ได้ผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์ถึงร้อยละ 58.639</p> 2022-09-20T10:15:11+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1463 การใช้วัสดุ Expanded Polystyrene Geofoam (EPS) เพื่อลดการทรุดตัวของคันทางและคอสะพานในประเทศไทย 2022-09-20T18:23:05+07:00 กฤษณะ เพ็ญสมบูรณ์ kong555@hotmail.com พลเทพ เลิศวรวนิช ponlathep@gmail.com สุกนต์ธี พูลชัย Sukontee_pulchai@hotmail.co.th หฤทัสถ์ พ่อบาล harutus.doh@gmail.com <p>ทางหลวงที่สร้างในบริเวณดินอ่อนกรุงเทพฯ (Bangkok clay) พบว่า มีการยุบอัดตัวสูงเมื่อรับน้ำหนักบรรทุก ในงานก่อสร้างทางหลวงมีสิ่งก่อสร้าง 2 ชนิดประกอบด้วย โครงสร้างชั้นทาง และโครงสร้างสะพาน ซึ่งส่วนมากจะพบปัญหาการทรุดตัวที่แตกต่างกัน (Differential Settlement) ทำให้ความสะดวกสบายในการขับขี่ของผู้ใช้ทางลดลง การใช้โครงสร้างเสาเข็มผ่อนความยาว (Bearing Unit) เป็นหนึ่งในวิธีปรับลดการทรุดตัวที่แตกต่างระหว่างโครงสร้างทั้งสองชนิดนี้ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถาวร เนื่องจากปัญหาคันทางที่ก่อสร้างบริเวณดินเหนียวอ่อนมีการทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง และมักถูกเสริมผิวด้วยการใช้ Asphalt Overlay อย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างทำให้อัตราการทรุดตัวยิ่งมากขึ้น ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณในการช่อมบำรุงแต่ละปีเป็นจำนวนมาก การใช้วัสดุ Expanded Polystyrene Geofoam (EPS) เป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการทรุดตัวบริเวณคอสะพาน บทความนี้ได้นำเสนอกรณีศึกษาในการใช้วัสดุ EPS ในการลดอัตราการทรุดตัวบริเวณคอสะพานได้อย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (Reliability) ของการใช้วัสดุ EPS ในสถานการณ์ต่างๆ การวิเคราะห์มีความคุ้มค่าในการลงทุน การลดมลพิษจากการเผาผลาญพลังงานจากการขนส่งและการใช้เครื่องจักรงานทางในการบดอัดวัสดุคันทางเปรียบเทียบกับวัสดุ EPS รวมถึงการลดโอกาสในการเกิดความเสียหายต่อทางหลวงที่ต้องขนวัสดุงานทางผ่านและการลดระยะเวลาในการก่อสร้างได้อีกด้วย</p> 2022-09-20T10:16:24+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1479 กำลังของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วยเถ้าชีวมวลและสารละลายอัลคาไลน์ 2022-09-20T18:23:05+07:00 อัครพัชร์ อมรเวชรัตน์ Worawit.pho@neu.ac.th เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ Worawit.pho@neu.ac.th วรวิทย์ โพธิ์จันทร์ Worawit.Pho@neu.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานด้วยเถ้าชีวมวลและสารละลายอัลคาไลน์ เถ้าชีวมวลเป็นผลพลอยได้จากโรงงานไฟฟ้า จ.สงขลา สารอัลคาไลน์ที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ งานวิจัยนี้ใช้อัตราส่วนดินลูกรังไม่ผ่านมาตรฐานต่อเถ้าชีวิมวลเท่ากับ 70:30 และปริมาณสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 0, 10, 15, และ 20 ของปริมาณความชื้นที่เหมาะสม กำลังอัดแกนเดียว และความต้านทานแรงดึงทางอ้อมของตัวอย่างทดสอบที่อายุ 7 วัน ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่ากำลังอัดแกนเดียวและกำลังรับแรงดึงทางอ้อมของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานด้วยเถ้าชีวมวลและสารอัลคาไลน์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เพิ่มขึ้น กำลังอัดแกนเดียวสูงสุดและกำลังรับแรงดึงทางอ้อมสูงสุดของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานด้วยเถ้าชีวมวลและสารอัลคาไลน์มีค่าเท่ากับ 683.25, 697.15 kPa และ 342.25, 365.67 kPa ที่ปริมาณสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ร้อยละ 20</p> 2022-09-20T10:17:28+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1809 การประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์ตามล าดับชั้นและแบบจ าลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค ในการคัดเลือก รูปแบบทางแยกต่างระดับบนทางหลวงแผ่นดิน: กรณีศึกษา แยกทางหลวงหมายเลข 12 ตัดทางหลวงชนบท มห. 4040 2022-09-20T18:23:06+07:00 พชร ศรีสุโพธิ์ patchara.sr@rmuti.ac.th วุฒิไกร ไชยปัญหา patchara.sr@rmuti.ac.th ปฏิภาณ แก้ววิเชียร patchara.sr@rmuti.ac.th ธนพล พรหมรักษา patchara.sr@rmuti.ac.th <p>กรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบทหมายเลข มห. 4040 เพื่อเป็นถนนที่สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนและตัวเมืองมุกดาหาร แต่จากผลการวิเคราะห์ปริมาณการจราจรและระดับการให้บริการในอนาคตของทางแยกถนนโครงการ ตัดกับทางหลวงหมายเลข 12 ได้สะท้อนถึงโอกาสในการเกิดปัญหาการจราจรติดขัดในอนาคตหลังจากเปิดให้บริการ การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นร่วมกับการประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค ในการประเมินค่าตัวคูณและค่าคะแนนความสำคัญของปัจจัยสำหรับใช้ในการตัดสินใจคัดเลือกรูปแบบทางแยกต่างระดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์จากการประมวลผลของแบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคที่ถูกใช้เป็นคุณสมบัติในการกำหนดค่าตัวคูณของทุกปัจจัยรอง สามารถให้ผลการคำนวณค่าคะแนนทางเลือกที่สมเหตุสมผล โดยสรุปทางเลือกรูปแบบทางแยกต่างระดับที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ รูปแบบทางเลือกที่ 3 การก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 12 ร่วมกับ วงเวียน (99.91 คะแนน) ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้พิจารณาตัดสินใจคัดเลือกรูปแบบทางแยกต่างระดับสำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการศึกษาและออกแบบงานในอนาคตต่อไป</p> 2022-09-19T22:18:25+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1753 บริการตู้รับฝากสิ่งของสาธารณะอัตโนมัติ: ลักษณะบริการและลักษณะลูกค้า 2022-09-20T18:23:07+07:00 ณิชากร ทองเปลว nichakorn.yui@gmail.com ทศวรรษ ดอนกลอย egspt@yahoo.com ปิยวัช รักศิลป์ทอง egspt@yahoo.com อภิชัย วงศ์โชคชัยปิติ egspt@yahoo.com จิรัชยา เตชะบุญประทาน egspt@yahoo.com ณัฐกิตติ์ บุญยะศรี egspt@yahoo.com ปราณปรินทร์ ผาดี egspt@yahoo.com ภูมิพัฒน์ งามระยับ egspt@yahoo.com ธาดา ศิริอาภานนท์ egspt@yahoo.com รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ปฐมศิริ egspt@yahoo.com <p>ปัจจุบันการเดินทางในเมือง มีสิ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมอำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้น ในบทความนี้ รายงานผลการศึกษาบริการตู้รับฝากสิ่งของสาธารณะอัตโนมัติ ซึ่งบริษัทเอกชนนำมาให้บริการในเมือง ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ด้วยตัวเองโดยเสียค่าบริการตามอัตราที่บริษัทกำหนด การศึกษานี้ต้องการทราบถึงลักษณะการให้บริการและลักษณะของกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการตู้รับฝากดังกล่าว โดยเลือกจุดให้บริการ 4 แห่ง ณ ศูนย์การค้าและสถานีรถไฟฟ้า สำรวจข้อมูลโดยวิธีสังเกตุและจดบันทึกลักษณะทางกายภาพของบริการ ลักษณะของกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการ ขนาดตู้ฝากของที่เลือกใช้ เวลาฝากของ เวลารับของ และค่าใช้จ่าย ผลการวิเคราะห์พบว่า บริษัทผู้ให้บริการจัดเตรียมขนาดของตู้ไว้หลากหลายทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่มาก ลูกค้าที่มาใช้บริการมักจะมากันเป็นกลุ่ม ลูกค้าเพศชายและเพศหญิงมีอัตราส่วนใกล้เคียงกัน ลูกค้าต่างชาติใช้บริการมากกว่าคนไทย สิ่งของเห็นว่าฝากบ่อยที่สุด คือ กระเป๋าเดินทาง ระยะเวลาฝากนาน 2 – 5 ชั่วโมง ค่าใฃ้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 100 บาท เมื่อกลับมารับสิ่งของที่ฝากไว้ ลูกค้าส่วนมากมีสิ่งของติดตัวกลับมาด้วย คงเป็นเพราะว่า ลูกค้าฝากสิ่งของเพื่อจะไปซื้อสินค้าเพิ่มเติม อัตราการใช้บริการตู้รับฝากในบางแห่งสูงกว่า 80% ซึ่งหมายความว่า บริการตู้รับฝากสิ่งของสาธารณะอัตโนมัตินี้มีประโยชน์สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เดินทางในเมืองได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมื่อเลือกทำเลที่ตั้งในจุดที่เหมาะสม เช่น ศูนย์การค้า และสถานีรถไฟฟ้า</p> 2022-09-19T22:20:07+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1752 การศึกษาเปรียบเทียบบริการรับส่งพัสดุเร่งด่วนวันถัดไป 2022-09-20T18:23:08+07:00 ณิชากร ทองเปลว nichakorn.yui@gmail.com ธนนันท์ พรรณสาร egspt@yahoo.com ปภาวรินทร์ ผ่องใส egspt@yahoo.com ปัณฑารีย์ เกียรติบัญชาชัย egspt@yahoo.com อธิชา คำทะเนตร egspt@yahoo.com ทิพจุฑา กลัดทอง egspt@yahoo.com วรัญญา แสงอาคม egspt@yahoo.com อรอุมา ศิริวัฒนกุล egspt@yahoo.com รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ปฐมศิริ egspt@yahoo.com <p>ธุรกิจรับส่งพัสดุเร่งด่วนในประเทศไทยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ปัจจุบันมีภาคเอกชนเข้ามาให้บริการมากมาย บทความนี้รายงานผลการศึกษาเปรียบเทียบบริการรับส่งพัสดุเร่งด่วนของผู้ให้บริการเอกชนรายสำคัญสองราย ได้แก่ Kerry Express และ SCG Express โดยการทดลองเป็นลูกค้าเรียกใช้บริการส่งพัสดุในวันถัดไป (Next Day Service) ในเวลาเดียวกัน ให้มารับพัสดุชนิดเดียวกันจากต้นทางเดียวกันและไปส่งที่ปลายทางเดียวกันในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่าบริการของ Kerry Express และ SCG Express มีความคล้ายคลึงกันเรื่องช่องทางการเข้าถึงบริการ ราคาค่าบริการ การดูแลรักษาสภาพพัสดุ และการรักษาสัญญาส่งพัสดุได้ในวันถัดไป แต่มีความแตกต่างในรายละเอียดที่มีนัยยะต่อความพึงพอใจและความประทับใจของลูกค้า เช่น ข้อกำหนดการต้องเป็นสมาชิก ระยะเวลารอคอยการมารับพัสดุ การกระจายพัสดุ ผลการศึกษานี้ยังสะท้อนจุดอ่อนในมุมมองของลูกค้าซึ่งควรได้รับการปรับปรุง ในเรื่องของการสื่อสารกับลูกค้า การบันทึกเวลาที่ไม่ตรงกับความจริง และการไม่สามารถกำหนดช่วงระยะเวลารอคอยการเข้ารับและการนำส่งพัสดุ</p> 2022-09-19T22:21:03+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1735 แนวทางการพัฒนาระบบจักรยานพื้นที่เลียบคลอง กรณีศึกษา : คลองถนนต่อเนื่องจากคลองบางบัว 2022-09-20T18:23:08+07:00 จักรพงษ์ ไตรศิลป์วิศรุต traisilp.jp@gmail.com สุพรชัย อุทัยนฤมล s_utainarumol@yahoo.co.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบทางจักรยานที่เหมาะสมกับการใช้พัฒนาในพื้นที่เลียบคลอง กรณีศึกษา คลองถนนต่อเนื่องจากคลองบางบัว 2) เสนอรูปแบบทางจักรยานที่เหมาะสมกับการใช้พัฒนาในพื้นที่เลียบคลอง กรณีศึกษา คลองถนนต่อเนื่องจากคลองบางบัว โดยรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ศึกษาและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบทางจักรยานที่เหมาะสมกับการใช้พัฒนาในพื้นที่ เพื่อหาค่าน้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยโดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม สังคม มีค่าน้ำหนักความสำคัญสูงที่สุด (ร้อยละ 39) รองลงมาคือปัจจัยด้านวิศวกรรมการทาง มีค่าน้ำหนักความสำคัญ (ร้อยละ34) และปัจจัยปัจจัยด้านการลงทุนและก่อสร้าง มีค่าน้ำหนักความสำคัญน้อยที่สุด (ร้อยละ24) &nbsp;รูปแบบทางจักรยานที่มีความเหมาะสมมากที่สุดตามลำดับ &nbsp;คือ รูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบที่มีการก่อสร้างใหม่ ได้คะแนนสูงสุดเท่ากับ 82.12 คะแนน รูปแบบที่ 2 เป็นการปรับปรุงสภาพื้นที่ ได้คะแนนเท่ากับ 76.63 คะแนน และรูปแบบที่ 1 เป็นสภาพพื้นที่เดิม ได้คะแนนเท่ากับ 53.36 คะแนน&nbsp; โดยผลการวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นการศึกษาในพื้นที่เฉพาะ ซึ่งรูปแบบทางจักรยานแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการก่อสร้างทางจักรยานที่เหมาะสมกับการใช้พัฒนาในพื้นที่เลียบคลอง กรณีศึกษา คลองถนนต่อเนื่องจากคลองบางบัว</p> 2022-09-19T22:21:59+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1734 การวิเคราะห์ความขัดแย้งบริเวณจุดกลับรถกรณีมีช่องรอเลี้ยวและไม่มีช่องรอเลี้ยว 2022-09-20T18:23:09+07:00 บัญชา มะโน bm.cha100@gmail.com กิตติชัย ธนทรัพย์สิน kittichai.t@eng.kmutnb.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบความขัดแย้งบริเวณจุดกลับรถแบบมีช่องรอเลี้ยวและไม่มีช่องรอเลี้ยว กรณีเกาะกลางไม่เกิน 3.0 เมตร และความเหมาะสมการปรับปรุงรูปแบบจุดกลับรถแบบมีช่องรอเลี้ยวและไม่มีช่องรอเลี้ยว ผู้วิจัยสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรม VISSIM โดยใช้ข้อมูลภาคสนามบนทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) บริเวณตลาดเสาธงและบริเวณหน้าห้างบิ๊กซี สาขา 2 ในพื้นที่ สำนักงานทางหลวงที่ 11 (ลพบุรี) โดยเก็บข้อมูล 2 ช่วงเวลา ในวันทำงาน ช่วงเช้า (06.30 น. – 08.00 น.) และช่วงเย็น (15.00 น. – 16.30 น.) เป็นเวลา 2 วัน&nbsp; สร้างแบบจำลอง 9 แบบจำลองเมื่อพัฒนาแบบจำลองแล้วนั้น ทำการวิเคราะห์ผลการเกิดความขัดแย้งด้วยโปรแกรม SSAM ตัวแปรที่พิจารณาในงานวิจัยนี้ได้แก่ ค่าระดับบริการ, ค่าความยาวแถวคอย, ค่าปริมาณการจราจร , ค่าความล่าช้าเฉลี่ย , ค่าเวลาในการชน จากการวิเคราะห์พบว่าเมื่อปรับปรุงบริเวณจุดกลับจากแบบไม่มีช่องรอเลี้ยวเป็นแบบมีช่องรอเลี้ยวทำให้จำนวนครั้งการเกิดความขัดแย้งลดลง ส่งผลทำให้โอกาสการเกิดอุบัติเหตุลดลงตามไปด้วย ค่าความล้าช้าเฉลี่ยลดลง ระดับบริการดีขึ้นตามไปด้วยและอุบัติเหตุการชนท้ายลดลง และยังพบว่าการเพิ่มระยะความยาวช่องรอเลี้ยวสามารถลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุชนท้ายด้วย</p> 2022-09-19T22:22:52+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1673 การศึกษาปริมาณการจราจรในโครงการก่อสร้างระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 2022-09-20T18:23:10+07:00 อรอิริยา โยธา yota1100@gmail.com เทอดศักดิ์ รองวิริยะพานิช terdsak.r@eng.kmutnb.ac.th <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาในงานวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์ปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลาการก่อสร้างอาคารและเป็นข้อมูลอ้างอิงให้ผู้ที่จะทำการก่อสร้างอาคารสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการวางแผนการจัดการจราจรภายในพื้นที่ก่อสร้างระหว่างทำการก่อสร้างได้ โดยผู้ศึกษาได้ประเมินปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้นตลอดช่วงระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่เริ่มต้นจนจบในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง การศึกษาจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท งานคือ งานช่วงขุดดิน งานอาคารชั้นใต้ดิน และงานอาคารเหนือพื้นดิน จากการศึกษาพบว่าประเภทรถที่เข้ามาในโครงการก่อสร้างมากที่สุดในช่วงงานขุดดินจะเป็นประเภทรถ 10 ล้ออยู่ที่ 95% ช่วงงานอาคารชั้นใต้ดินเป็นประเภทรถ 10 ล้อ อยู่ที่ 70% และช่วงงานอาคารเหนือพื้นดินเป็นประเภทรถ 4 ล้อ อยู่ที่ 65%, เมื่อเทียบปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ก่อสร้าง ช่วงงานขุดดินจะเกิดปริมาณจราจรในหนึ่งวันที่ 1 คันต่อปริมาตร 2900 ลูกบาศก์เมตรช่วงงานก่อสร้างอาคารชั้นใต้ดินที่ 1 คันต่อพื้นที่ 200 ตารางเมตร และช่วงงานโครงสร้างอาคารและตกแต่งจะเกิดที่ 1 คันต่อพื้นที่ 1500 ตารางเมตร</p> 2022-09-19T22:23:44+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1685 การหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ถนนสายหลักกับปัจจัยที่ใช้ในการวางผังเมืองด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียม 2022-09-20T18:23:10+07:00 ชิษณุ อัมพรายน์ chisanu.am@spu.ac.th สุรพันธ์ สันติยานนท์ paijit.pa@spu.ac.th <p>แผนผังแสดงโครงการด้านคมนาคมและขนส่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในผังเมืองรวม การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อหาแนวทางประกอบการตัดสินใจสำหรับการกำหนดพื้นที่ถนนโครงข่ายสายหลักตามผังเมืองรวมให้มีความสอดคล้องกับแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยการประยุกต์ใช้วิธีโครงข่ายประสาทเทียม การวิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากร่างผังเมืองรวมจำนวน 18 ตัวอย่าง&nbsp; จำแนกข้อมูลออกเป็นเป็น 10 ตัวแปร โดยพื้นที่ถนน สายหลักตามผังเมืองรวม (ถนนที่มีเขตทางตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป) เป็นตัวแปรตาม ส่วนตัวแปรที่เหลืออีก 9 ตัวแปรเป็นตัวแปรต้น ผลการคัดเลือกตัวแปรพบว่า มีจำนวนประชากร กับ พื้นที่ที่อยู่อาศัย เพียง 2 ตัวแปรเท่านั้นที่ได้รับการคัดเลือก และผลการทดสอบตัวแปรรอบที่ 1 พบว่ามีค่าความถูกต้องเพียงรัอยละ25 ทดสอบรอบที่ 2 พบว่ามีค่าความถูกต้องร้อยละ 67 และมีค่าความถูกต้องในภาพรวมเพียงร้อยละ 43 เท่านั้น ทำให้การใช้วิธีโครงข่ายประสาทเทียมอาจ<br>ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพื้นที่ถนนโครงข่ายตามผังเมืองรวม</p> 2022-09-19T22:24:32+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1668 การวิเคราะห์คุณลักษณะการเดินบริเวณโถงทางเดินภายในสถานีรถไฟฟ้าเตาปูนจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด 2022-09-20T18:23:11+07:00 เสถียร แก้วคำ satien_kaew@hotmail.com ทรงยศ กิจธรรมเกษร songyot@eng.cmu.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าคุณลักษณะการเดินและ วิเคราะห์ ปรับเทียบค่าพารามิเตอร์ของตัวแปรพื้นฐานการไหลของกระแสจราจรคน เดินเท้า เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกทางเดินภายในสถานีรถไฟฟ้า เก็บข้อมูลด้วยการบันทึกวิดีโอด้วยกล้องวงจรปิด (CCTV) และพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) เพื่อช่วยในการสกัดข้อมูลจากวิดีโอมาคำนวณ ปรับเทียบค่าพารามิเตอร์โดยใช้แบบจำลองความสัมพันธ์ตัวแปรพื้นฐานทฤษฎีการไหลของกระแสจราจรคนเดินเท้าต่าง ๆ จากการศึกษาความสัมพันธ์ตัวแปรพื้นฐานการไหลของกระแสจราจรคนเดินปรับเทียบค่าพารามิเตอร์กับข้อมูลในพื้นที่การศึกษาแล้วพบว่า มีความเร็วในการเดินเฉลี่ย 1.50 เมตร/วินาที และ แบบจำลองของUnderwood มีแนวโน้มการกระจายตัวและความถูกต้องสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ศึกษาดีที่สุดโดยความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและความหนาแน่นมี<br>ค่าท2 R = 0.944ได้สมการความสัมพันธ์ดังนี้ ความเร็วและความหนาแน่น v=1.9 e<sup>=- k/0.36</sup>, อัตราการไหลและความเร็ว<br>q = − 0.36v (ln1.9- lnv ), อัตราการไหลและความหนาแน่น q=1.9 ke<sup>=- k/0.36</sup>และพบว่าทางเดินพื้นที่การศึกษามีระดับการให้บริการที่ระดับ A ตามมาตรฐาน HCM 2010</p> 2022-09-19T22:25:24+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1667 การประเมินประสิทธิภาพของจุดกลับรถบริเวณเกาะกลาง กรณีศึกษา : จุดกลับรถรูปแบบเพิ่มพื้นที่ กลับรถบรรทุกและรูปแบบไม่เพิ่มพื้นที่กลับรถบรรทุกบนถนน 4 ช่องจราจร 2022-09-20T18:23:12+07:00 ธนกร ไชยารุ่งยศ tanakorn5810611300@gmail.com <p class="Contentnew"><span lang="TH">จุดกลับรถบริเวณเกาะกลางนั้นเมื่อพิจารณาถึงปัญหาเพื่อปรับปรุงให้จุดกลับรถมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย พบว่าสาเหตุหลัก 3 ประการ ประกอบไปด้วย (1) ปริมาณรถที่สามารถกลับรถได้</span>, (<span lang="TH">2) ความยาวของช่องรอเลี้ยว</span>, <span lang="TH">และ (3) การบดบังระยะมองเห็น โดยจากปัญหาดังกล่าวมัก พบกับจุดกลับรถรูปแบบไม่มีพื้นที่สำหรับรถบรรทุก และรูปแบบมีพื้นที่สำหรับรถบรรทุก บนถนน 4 ช่องจราจร สำหรับการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพจุดกลับรถ พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการด้วยแบบจำลองการจราจร จากผลการวิจัยพบว่าปัจจัยในการเปิดจุดกลับรถขึ้นอยู่ 2 ส่วนได้แก่ (1) ลักษณะกายภาพของจุดกลับรถ จำพวก ความยาวของช่องรอเลี้ยว</span>, <span lang="TH">ขนาดของเกาะกลาง และความกว้างของเขตทาง (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณจราจรรถทางตรงฝั่งตรงกันข้ามและปริมาณรถกลับรถ โดยที่ความจุของการกลับรถสูงสุดอยู่ในช่วง 1</span>,<span lang="TH">100-1</span>,<span lang="TH">200 คันต่อชั่วโมง และจะมีแนวโน้มลดลงเมื่อปริมาณจราจรของรถทางหลักฝั่งตรงข้ามสูงขึ้น ในส่วนของผลของความยาวแถวคอยจะแปรผันตรงกับความจุของจุดกลับรถด้วย </span></p> 2022-09-19T22:26:20+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1635 การตอบสนองของผู้ขับขี่บริเวณป้ายแจ้งเตือนความเร็ว 2022-09-20T18:23:12+07:00 วันชนก เชื้อทอง vanchanok.chu@mail.kmutt.ac.th วศิน เกียรติโกมล vasin.kia@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองของผู้ขับขี่ขณะผ่านป้ายแสดงความเร็ว การศึกษานี้ทำการวิเคราะห์เปลี่ยนแปลงความเร็วของผู้ขับขี่ในแต่ละช่วงระยะทาง 120 เมตรก่อนและหลังผ่านป้ายแสดงความเร็วที่ติดตั้งบนทางหลวงหมายเลข 32 ฝั่งขาออกจากกรุงเทพมหานคร ช่วงระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสิงห์บุรี ข้อมูลความเร็วของยานพาหนะที่ใช้ในการศึกษานี้ได้จากการเก็บบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยอากาศยานไร้คนขับและการประมวลผลภาพ จากนั้น ทำการวิเคราะห์ด้วยการทดสอบสมมติฐานของการเปลี่ยนแปลงความเร็วของยานพาหนะในตำแหน่งต่างๆ ขณะผ่านป้ายแสดงความเร็ว ผลการศึกษาพบว่า&nbsp; ความเร็วเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3.0 - 36.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและมีค่าเกินความเร็วจำกัดหลังผ่านป้ายแรกของแต่ละคู่ และเมื่อผ่านป้ายที่สองของแต่ละคู่ ความเร็วเฉลี่ยจะลดลง 1.1 - 2.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและมีค่าต่ำกว่าความเร็วจำกัดหลังผ่านป้ายที่สองของแต่ละคู่ การศึกษานี้พบว่า การติดตั้งป้ายลักษณะเป็นคู่จะส่งผลต่อพฤติกรรมการตอบสนองของผู้ขับขี่ที่แตกต่างกัน โดยมีการตอบสนองที่ดีในตำแหน่งป้ายที่สองของแต่ละคู่ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานี้จะสามารถช่วยกำหนดแนวทางการใช้งานป้ายแสดงความเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> 2022-09-19T22:28:43+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1624 การประเมินจำนวณจุดขัดแย้งและประสิทธิภาพของทางแยกวงเวียน กรณีศึกษา : วงเวียนสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ 2022-09-20T18:23:13+07:00 อัครพงษ์ เทพแก้ว akharapong@rmutl.ac.th รัชฎาพร ธิสาไชย ratchadapon@rmutl.ac.th ธนา น้อยเรือน tanatop@rmutl.ac.th <p>ทางแยกวงเวียนถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถลดจำนวนจุดขัดแย้งบนทางแยกได้ เมื่อเทียบกับทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟในรูปแบบอื่น ๆ และสามารถลดความเร็วของยานพาหนะที่เข้าสู่ทางแยกได้ ในการศึกษานี้จึงวัตถุประสงค์เพื่อประเมินจุดขัดแย้งที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และประสิทธิภาพด้านการจราจรของทางแยกวงเวียนภายใต้รูปแบบทางแยกในสภาพปัจจุบันและกรณีการปรับปรุงทางแยกวงเวียนในแต่ละรูปแบบ ทางแยกวงเวียนที่เลือกใช้เป็นกรณีศึกษาคือทางแยกวงเวียนสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคในการประเมินจำนวนจุดขัดแย้งและประสิทธิภาพด้านการจราจรของทางแยก ซึ่งได้แบ่งการปรับปรุงทางแยกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) ทางแยกวงเวียนสภาพปัจจุบัน&nbsp; 2) การเพิ่มขนาดเกาะกลางของวงเวียน 3) การเพิ่มขนาดเกาะกลางของวงเวียน และปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของทางเข้าทางแยก จากผลการศึกษาพบว่า ทางแยกวงเวียนที่มีการเพิ่มขนาดเกาะกลางของวงเวียน และปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของทางเข้าทางแยก มีจำนวนจุดขัดแย้งที่น้อยกว่าการออกแบบทั้ง 2 ลักษณะ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการจราจรของทางแยกวงเวียนได้ดีขั้นอีกด้วย</p> 2022-09-19T22:29:39+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1623 การศึกษาความสว่างที่เหมาะสมในพื้นที่ก่อสร้างถนน กรณีศึกษา : ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายสามแยกดอยติ-เชียงใหม่ 2022-09-20T18:23:14+07:00 รัชฎาพร ธิสาไชย ratchadapon@rmutl.ac.th อัครพงษ์ เทพแก้ว akharapong@rmutl.ac.th ณัฐชนน ปัญญาเทพ natchanon@rmutl.ac.th ทักษ์ดนัย ขัตติยะ takdanai@rmutl.ac.th <p>การศึกษานี้เป็นการวัดค่าความสว่างบริเวณพื้นที่ก่อสร้างถนนที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ กรณีศึกษาพื้นที่ก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายสามแยกดอยติ-เชียงใหม่ พื้นที่รับผิดชอบของกรมทางหลวง เพื่อหาค่าความสว่างที่เหมาะสม เพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็นให้แก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะสัญจรผ่านบริเวณพื้นที่ก่อสร้างถนน จากการศึกษาพบว่าค่าความสว่างมีความสัมพันธ์ต่อจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุแบบแปรผกผัน โดยค่าความสว่างที่ต่ำมีจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุสูงและลดลงเมื่อความสว่างเพิ่มขึ้น โดยที่ค่าความสว่างตั้งแต่ 6 lux ขึ้นไป จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุจะเริ่มลดลง ซึ่งเป็นค่าความสว่างขั้นต่ำที่จะนำมาเป็นข้อมูลใช้พิจารณารูปแบบการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่าง รวมทั้งใช้ในการพัฒนามาตรฐานในการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างในบริเวณพื้นที่ถนนที่มีการก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ก่อสร้างถนน</p> 2022-09-19T22:30:36+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1616 การประเมินระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติ ในด้านการมองเห็น การรับรู้และการปฏิบัติตามอย่างเหมาะสมตามหลักวิศวกรรมจราจร 2022-09-20T18:23:14+07:00 เกื้อกูล เอี่ยมชูแสง palm5712@gmail.com นันทวรรณ พิทักษ์พานิช palm5712@gmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร palm5712@gmail.com <p class="Contentnew"><span lang="TH">การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้มีการพัฒนาและกำหนดมาตรการบริหารจัดการช่องจราจร เพื่อยกระดับการให้บริการเพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ และป้องกันการเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาการกระทำผิดกฎหมายจราจร ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนเป็นต้น โดย กทพ. ได้มีการพัฒนา“ระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติ (</span>Automatic Lane Control System)” <span lang="TH">ติดตั้งบนทางพิเศษฉลองรัช บริเวณทางลงถนนเกษตร-นวมินทร์เพื่อบริหารจัดการช่องจราจรและป้องปรามการกระทำผิดกฎหมายจราจร เช่น การใช้ความเร็วเกินกำหนด <span style="letter-spacing: -.2pt;">การวิ่งไหล่ทาง</span> การฝ่าฝืนเส้นทึบ เป็นต้น ซึ่งระบบฯ สามารถทำงานแบบอัตโนมัติได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ (</span>Microwave Radar Sensor) <span lang="TH">มาประมวลผลร่วมกับข้อมูลจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (</span>CCTV) <span lang="TH">และนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล แสดงผ่านจอภาพชนิด </span>LED <span lang="TH">แบบ </span>Full Color <span lang="TH">ในรูปแบบของสัญลักษณ์จราจรตัวเลขความเร็ว และข้อความหรือภาพเพื่อแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ใช้ทาง ทั้งนี้ จากการประเมินพฤติกรรมของผู้ใช้ทางพิเศษในด้านการมองเห็น การรับรู้ และการปฏิบัติตามหลักวิศวกรรมจราจร ผู้วิจัยพบว่าระบบฯ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการช่องจราจร เพิ่มความเร็วและอัตราการไหลของจราจรได้มากขึ้น ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากกรณีการเบี่ยงเปลี่ยนช่องทางกะทันหัน และการขับขี่ในช่องทางจราจรฉุกเฉิน (ไหล่ทาง) และป้องปรามการกระทำผิดกฎหมายจราจรได้เป็นอย่างดี</span></p> 2022-09-19T22:31:25+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1611 การศึกษาการจัดการการจราจรบริเวณทางแยกที่มีรูปแบบต่างกันด้วยแบบจำลองด้านการจราจร 2022-09-20T18:23:15+07:00 ธนา น้อยเรือน tanatop@rmutl.ac.th ชาคริต ชูวุฒยากร Chakrit@rmutl.ac.th อัครพงษ์ เทพแก้ว akharapong@rmutl.ac.th ประดิษฐ์ เจียรกุลประเสริฐ Pardit@rmutl.ac.th <p>การจราจรที่หนาแน่นมีสาเหตุมาจากมีจุดกำเนิดและดึงดูดการเดินทางในพื้นที่จำนวนมากและกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากสถิติการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของจังหวัดเชียงใหม่คิดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานคร (ข้อมูลวันที่ 30 มีนาคม 2565) การจัดการด้านการจราจรที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดปัญหาความล่าช้าในการเดินทางและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ การจราจรติดขัดมักเกิดขึ้นบริเวณที่ยานพาหนะหยุดหรือชะลอตัว จากการศึกษาในอดีตมักจะมุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการลดอุบัติเหตุและปัญหาทางด้านมลพิษ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาการจราจรรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสร้างเส้นทางใหม่ การเพิ่มและขยายช่องทางจราจร การศึกษานี้ศึกษารูปแบบการจัดการจราจรที่ทางร่วมทางแยก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและคัดเลือกรูปแบบทางแยกที่สอดคล้องกับปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้น ผ่านการรวบรวมข้อมูลด้านการจราจร ได้แก่ ความเร็ว เวลาในการเดินทาง อัตราการไหล และปริมาณการจราจร และลักษณะทางกายภาพที่ใช้เป็นกรณีศึกษา พร้อมทั้งประยุกต์ใช้แบบจำลองด้านการจราจรระดับจุลภาคในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการศึกษา โดยกำหนดรูปแบบการจัดการทางแยกที่แตกต่างกัน 5 ลักษณะ คือ ทางแยกที่มีสัญญาณไฟและไม่มีสัญญาณไฟ วงเวียนทั่วไปและที่มีทางเบี่ยงซ้าย และการบังคับเลี้ยว การศึกษานี้จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการทางแยกและเข้าใจพฤติกรรมยานพาหนะที่เข้าสู่ทางแยกและทราบผลกระทบของการจราจรกับรูปแบบทางแยกที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการออกแบบทางแยกที่มีความเหมาะสมกับปริมาณการจราจรในอนาคตต่อไปได้</p> 2022-09-19T22:32:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1597 การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจกรณีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดเก็บค่าผ่านทาง จากแบบอัตราเดียวเป็นการจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง 2022-09-20T18:23:16+07:00 พลฉัตร ยงญาติ ponlachat.y@gmail.com ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล siwat.exat@gmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร ponlachat.y@gmail.com <p class="Contentnew"><span lang="TH">ในปัจจุบัน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษในรูปแบบระบบเปิด (</span>Open System) <span lang="TH">และระบบปิด (</span>Close System) <span lang="TH">ทั้งนี้ในระบบเปิดจะเก็บค่าผ่านทางแบบอัตราเดียว (</span>Flat-Rate) <span lang="TH">กล่าวคือไม่ว่าเดินทางระยะทางเท่าใดต้องจ่ายค่าผ่านทางในอัตราคงที่ ซึ่งจากแนวคิดในการวิเคราะห์เมื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดเก็บค่าผ่านทางมาเป็นแบบการจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง (</span>Distance Based) <span lang="TH">จะสามารถสร้างผลประโยชน์ของสังคมโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยผู้ใช้ทางพิเศษสามารถชำระค่าผ่านทางตามต้นทุนที่แท้จริง บทความนี้ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลประโยชน์และต้นทุนระหว่างกรณีใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตราเดียว (</span>Flat-Rate) <span lang="TH">และแบบจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง (</span>Distance Based) <span lang="TH">โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน พบว่า การจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง ส่งผลให้ส่วนเกินผู้ผลิตมีผลประโยชน์ที่ติดลบ แต่ในขณะเดียวกัน กลับให้ผลประโยชน์ต่อส่วนเกินผู้บริโภคในสัดส่วนที่มากกว่า ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สวัสดิการของสังคมโดยรวม หรือ ส่วนเกินผู้บริโภคหักส่วนเกินผู้ผลิตจะเป็นบวกหากมีการดำเนินโครงการจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการยังคงต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นต่ออุปสงค์ของอัตราค่าผ่านทาง โดยหากผู้ใช้ทางมีความยืดหยุ่นต่ออุปสงค์ของอัตราค่าผ่านทางสูงจะยิ่งทำให้ผลประโยชน์ของสังคมโดยรวมสูงขึ้นไปด้วย</span></p> 2022-09-19T22:33:10+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1536 การประเมินความปลอดภัยทางถนนด้วยระดับดาวของ iRAP กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2022-09-20T18:23:17+07:00 อนุพันธ์ จิตอารี anupan31@gmail.com อภิชา ท้าวหมื่น Kueakun.40418@gmail.com ประทานพร ประทุมแสง Pratanpornpratumsang@gmail.com ซอฟะ วาจิ sofawaji510@gmail.com วราภรณ์ อินมอญ waraporn91317@gmail.com อรุณโรจน์ ไพสิฐเบญจพล Arunroj2545@gmail.com ทศพร อารีราษฏร์ tosporn.arr@mfu.ac.th <p>อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บ และเสียชีวิตในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการใช้ทางสูงคือนักเรียนนักศึกษาถือว่าเป็นกลุ่มผู้ใช้ทางที่มีความเปราะบาง มีการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการสัญจรในเขตมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ จากการศึกษาข้อมูลของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวนสถิติอุบัติเหตุรวม 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563-2565 ในเขตมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด มีอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจักรยานล้มเองสูงถึง 50.00% แสดงให้เห็นว่าถนน และทางเท้าภายในมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นพื้นที่ปลอดภัย และเอื้อต่อการเดินทาง ปัญหานี้ควรจะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและจริงจัง เนื่องจากในแต่ละวันนักศึกษาจะต้องใช้ถนนและทางเท้าภายในมหาวิทยาลัยเพื่อการเดินทาง งานวิจัยชิ้นนี้ได้ประยุกต์ใช้หลักการประเมินระดับความปลอดภัยทางถนนด้วยระดับดาวหรือ International Road Assessment Program(iRAP) Star Rating เพื่อประเมินความปลอดภัยของถนนภายในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยทำการรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการประเมินสำหรับถนนหลักและถนนรองภายในบริเวณมหาวิทยาลัย จากผลการศึกษาพบว่ามีบางบริเวณที่ยังมีระดับคะแนนดาวอยู่ที่ 1-2 ดาว ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นในระดับ3 ดาวจากทั้งหมด 5 ดาว โดยปัจจัยที่มีผลต่อระดับความปลอดภัยก็มีความแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ และงานวิจัยชิ้นนี้ได้ยกตัวอย่างข้อเสนอแนะที่หน่วยงานภายในสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ถนนในบริเวณสถานศึกษาต่อไป</p> 2022-09-19T22:34:04+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1573 การพัฒนาระบบตรวจจับและค้นหาป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กรณีศึกษาทางพิเศษฉลองรัช 2022-09-20T18:23:18+07:00 ทักษิณา กรไกร thaksina.amp@gmail.com พลฉัตร ยงญาติ ponlachat.y@gmail.com ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล siwat.exat@gmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร thepp9@hotmail.com <p>การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) พัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษไปสู่ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Multilane Free-Flow: M Flow) เพื่อให้ผู้ใช้บริการทางพิเศษสามารถผ่านด่านเก็บเงินได้โดยเร็ว ไม่หยุดชะงัก ลดความแออัดบริเวณ หน้าด่าน เก็บค่าผ่านทางพิเศษ โดยใช้เทคโนโลยีระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในรูปแบบการอ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition:ALPR) เพื่อใช้ตรวจสอบยานพาหนะและระบุตัวตนผู้ใช้บริการ และหากมีความจำเป็นต้องติดตาม ทวงถาม เรียกเก็บค่าผ่านทางพิเศษย้อนหลัง ระบบสามารถออกรายงานการผ่านทางได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ของ กทพ. อีกทั้งกรณีหน่วยงานภายนอกขอสนับสนุนข้อมูลในการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ กทพ. จึงได้มีการพัฒนาระบบตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ (ALPR) บนทางพิเศษฉลองรัช เป็นสายทางนำร่อง<br>ซึ่งงานวิจัยนี้ประเมินประสิทธิภาพของระบบการอ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI ด้วยการตรวจสอบปริมาณจราจรจริงที่ได้จากการบันทึกภาพ VDO พบว่าทั้งหมดที่ระบบ ALPR ตรวจจับได้มีค่าความถูกต้องในการอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์ร้อยละ 97.5 ค่าความถูกต้องในการจำแนกสีร้อยละ 96 และค่าความถูกต้องในการจำแนกยี่ห้อ ร้อยละ 93 ทั้งนี้ค่าความถูกต้องดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแสดงผลในตารางการเดินทาง (O-D Table) และการค้นหาป้ายทะเบียน พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมระบบตรวจจับและค้นหาป้ายทะเบียนรถยนต์สำหรับทางพิเศษฉลองรัช ให้อยู่ในรูปแบบ Web Application ที่จะทำให้สามารถใช้งานได้สะดวก</p> 2022-09-19T22:34:50+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1547 การประมาณช่องว่างวิกฤตสำหรับการกลับรถที่จุดกลับรถบริเวณเกาะกลาง 2022-09-20T18:23:19+07:00 วลัยรัตน์ บุญไทย puangprakhon@gmail.com ชยันต์วุฒิ ปิติยอดจิตร 6111110058@mutacth.com กฤตนัย ปัญญากาญจน์ Kittanaipun@gmail.com ปฏิภาณ กันตะศรี 61111110099@mutacth.com พรเทพ พวงประโคน puangprakhon@gmail.com <p>ช่องว่างวิกฤตในการกลับรถเป็นตัวแปรสำคัญทางด้านวิศวกรรมจราจร และเป็นข้อมูลที่ใช้ออกแบบจุดกลับรถให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย การออกแบบจุดกลับรถโดยใช้ข้อมูลการยอมรับช่องว่างของผู้ขับขี่ที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดการจราจรติดขัดและก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจรบริเวณจุดกลับรถได้ บทความนี้ทำการศึกษาการประมาณค่าช่องว่างวิกฤตของจุดกลับรถแบบไม่มีสัญญาณไฟจราจรที่เกาะกลางในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 แห่ง ซึ่งเป็นจุดกลับรถที่มีรูปแบบแตกต่างกัน โดยทำการเก็บข้อมูลรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ในชั่วโมงเร่งด่วนและนอกชั่วโมงเร่งด่วนอย่างละ 2 ชั่วโมง และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบช่องว่างวิกฤตจากการประมาณด้วยวิธีการต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าช่องว่างวิกฤตจากการคำนวณด้วยวิธีการของ Raff, Greenshield, Acceptance Curve Method และ วิธี Maximum Likelihood มีค่าระหว่าง 3.24-5.39, 4.75-6.75, 6.75-9.30 และ 4.29-6.69 วินาที ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความคงที่ในการประมาณพบว่าวิธี Maximum Likelihood เป็นวิธีที่เหมาะสมในการประยุกต์ใช้เนื่องจากให้ค่าประมาณช่องว่างวิกฤตคงที่กว่าวิธีอื่น ๆ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าเมื่อปริมาณจราจรในกระแสทางตรงเพิ่มขึ้นค่าช่องว่างวิกฤตในการกลับรถจากการคำนวณด้วยวิธีต่าง ๆ มีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้พบว่าช่องว่างวิกฤตของจุดกลับรถที่มีรูปแบบแตกต่างกันมีค่าต่างกัน</p> 2022-09-19T22:35:38+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1517 การดำเนินการและการประสานงานในการแก้ไขจุดอันตรายทางถนนของเขตทุ่งครุ กรณีศึกษา: ทางโค้งบริเวณปากซอยประชาอุทิศ 119 2022-09-20T18:23:20+07:00 กวิน ณรงค์สมุทร kawin.narong@mail.kmutt.ac.th วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์ viroat.sri@kmutt.ac.th วศิน เกียรติโกมล vasin.kia@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินการและการประสานงานในการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยใช้กรณีศึกษาอุบัติเหตุที่ทางโค้งบริเวณซอยประชาอุทิศ 119 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ณ จุดเกิดเหตุ มีรถจักรยานยนต์หลุดทางโค้งในลักษณะเดียวกันถึง 2 ครั้ง ในช่วงเวลาห่างกันไม่ถึง 4 เดือน โดยอุบัติเหตุครั้งแรกเกิดเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2564 จึงจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายมาร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา แต่ยังไม่ทันดำเนินการแก้ไขปัญหา เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา ก็เกิดอุบัติเหตุซ้ำอีกครั้งในลักษณะเดียวกัน ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุที่พบ ได้แก่ ปัญหาจากผู้ขับขี่ ปัญหากายภาพถนน ปัญหาระบบควบคุมการจราจร และปัญหาระบบไฟส่องสว่างบนถนน ผู้วิจัยสังเกตเห็นว่าการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของหน่วยงานราชการที่มีส่วนรับผิดชอบในปัจจุบัน ยังมีความล่าช้าในการทำงานรวมไปถึงการวิเคราะห์อุบัติเหตุ และ การวิเคราะห์จุดเสี่ยงยังเป็นการทำงานในระดับพื้นฐานเท่านั้น ผลการศึกษานี้ช่วยให้เข้าใจถึงปัญหาในการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน และปัญหาการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางถนนได้</p> 2022-09-19T22:36:34+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1514 การวิเคราะห์ระบบขนส่งและการจัดการวัสดุคงคลังและเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อภายในโรงพยาบาล 2022-09-20T18:23:20+07:00 ทักษ์ดนัย ขัตติยะ takdanai_kh@cmu.ac.th ดำรงศักดิ์ รินชุมภู Takdanai_kh@cmu.ac.th เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ kriangkrai@eng.cmu.ac.th <p>การจัดการระบบวัสดุคงคลังและขนส่งอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ ทั้งเวชภัณฑ์ที่ใช้แล้วและที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว นับเป็นความท้าทายหลักในการจัดการระบบโลจิสติกส์โรงพยาบาล ซึ่งในประเทศไทยกระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรฐานของสมาคมการควบคุมการติดเชื้อแห่งเอเชียแปซิฟิก ซึ่งนอกจากจะต้องคำนึงถึงความเพียงพอต่อการใช้งาน และลดต้นทุนการเก็บรักษาตามแนวทางการจัดการวัสดุคงคลังโดยปกติแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการป้องกันการปนเปื้อนและการติดเชื้อจากการขนส่งเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อร่วมกับการสัญจรของประชาชนทั่วไปภายในโรงพยาบาล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทางจัดการระบบการเบิกจ่ายวัสดุและเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ โดยใช้หลักการวิเคราะห์สินค้าคงคลังแบบเอบีซี (ABC Inventory Analysis) ในการจำแนกความสำคัญของวัสดุและเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ รวมทั้งการวิเคราะห์ปริมาณวัสดุและเวชภัณฑ์คงคลังร่วมกับระยะห่างของช่วงเวลาสั่งซื้อที่ประหยัดภายใต้ความต้องการที่ไม่แน่นอน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำรวจปริมาณความต้องการใช้วัสดุและเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ และข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่งานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อจนกระทั่งถึงหอผู้ป่วย พบว่า สามารถนำมาใช้วางแผนออกแบบกระบวนการขนส่งและจัดการวัสดุคงคลังและเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อโดยให้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด</p> 2022-09-19T22:37:25+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1512 การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ใช้ทางพิเศษต่อการใช้งานระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (M-Flow) บนโครงข่ายทางพิเศษ 2022-09-20T18:23:21+07:00 เสาวนี ศรีสุวรรณ saonoy@gmail.com ธนุตม์ กล่อมระนก saonoy@gmail.com ธนพร กรีวงษ์ saonoy@gmail.com ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล saonoy@gmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร saonoy@gmail.com <p>การเปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (M-Flow) ทำให้ผู้ใช้ทางพิเศษมีทางเลือกในการชำระค่าผ่านทางมากขึ้น บทความนี้นำเสนอการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้ทางพิเศษและการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงการใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษระบบเดิมไปสู่ ระบบ M-Flow บนโครงข่ายทางพิเศษ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ทางพิเศษที่ชำระค่าผ่านทางพิเศษด้วยเงินสดและ Easy Pass/M-Pass ทั้งกลุ่มรถทั่วไปและกลุ่มรถบรรทุก จากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มรถทั่วไปที่ชำระด้วยเงินสดมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ M-Flow มากกว่ากลุ่มที่ชำระด้วย Easy Pass/M-Pass ประมาณร้อยละ 14.4 เนื่องจากประหยัดเวลาในการผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ สำหรับกลุ่มรถบรรทุกทั้งที่ชำระเงินด้วยเงินสดและ Easy Pass/M-Pass มีแนวโน้มที่จะชำระค่าผ่านทางแบบเดิมประมาณร้อยละ 50 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอาจกระทบกับกระบวนการทำงานในหน่วยงาน นอกจากนี้ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ใช้ทางพิเศษที่ชำระเงินด้วยเงินสดและ Easy Pass/M-Pass ทั้งกลุ่มรถทั่วไปและรถบรรทุก จะเปลี่ยนมาใช้ระบบ M-Flow ได้แก่ ส่วนลด การประหยัดระยะเวลารถติดหน้าด่าน และการชำระเงินหลังใช้บริการ</p> 2022-09-19T22:38:14+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1478 ผลกระทบด้านการจราจรของยานยนต์ไร้คนขับบนถนนในเมืองโดยใช้การจำลอง 2022-09-20T18:23:22+07:00 กีรติ์นุช กีรติศิวกุล keeranuch.kee@mail.kmutt.ac.th ผศ. ดร.วศิน เกียรติโกมล vasin.kia@kmutt.ac.th <p>ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicle) ซึ่งเป็นรูปแบบยานพาหนะประเภทที่มีการใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ในการควบคุม งานวิจัยนี้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผลกระทบด้านการจราจรบนถนนในเขตเมืองกรณีที่มีการใช้งานยานยนต์ไร้คนขับร่วมกับยานยนต์ประเภทอื่นๆโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่มีใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยศึกษาช่วงถนนประชาอุทิศ บริเวณทางเชื่อมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และซอยประชาอุทิศ45 ที่อยู่เยื้องกันทั้ง 2 ฝั่งของถนน ซึ่งช่วงถนนดังกล่าวมีการจราจรหนาแน่น ไม่มีการควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร และมีทางเชื่อมทั้ง 2 ฝั่งอยู่ใกล้กัน ทำให้ช่วงถนนดังกล่าวมีลักษณะการตัดกันของกระแสจราจรคล้ายกับทางแยกเยื้อง (Staggered Intersection) การศึกษานี้ใช้แบบจำลองจราจรระดับจุลภาค PTV VISSIM ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านการจราจรเพื่อเปรียบเทียบระหว่างสถานการณ์พื้นฐานโดยไม่มียานยนต์ไร้คนขับในกระแสจราจร และสถานการณ์ที่มียานยนต์ไร้คนขับแทนที่ยานยนต์ส่วนบุคคล ผลการศึกษาพบว่าเมื่อมีการใช้งานยานยนต์ไร้คนขับแทนยานยนต์ปกติบนโครงข่ายถนนที่ศึกษาส่งผลกระทบให้การจราจรเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น 21% มีความยาวของแถวคอยที่เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยลดลงประมาณ 90% และความล่าช้าจากการเดินทางในโครงข่ายถนนที่ศึกษาน้อยลง 75%</p> 2022-09-19T22:39:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1481 การศึกษาพฤติกรรมและความรู้ด้านความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียน 2022-09-20T18:23:22+07:00 พนิดา ฟักโต panida.fakto@mail.kmutt.ac.th วศิน เกียรติโกมล vasin.kia@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษารูปแบบการเดินทางไปโรงเรียนและประเมินความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียน&nbsp; โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี การศึกษานี้เก็บข้อมูลด้วยใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยข้อมูลที่สนใจครอบคลุมถึงลักษณะการเดินทางและการรับรู้เกี่ยวกับกฎการใช้รถใช้ถนนในด้านต่างๆ มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 423 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเดินทางที่นักเรียนที่ใช้เดินทางไปโรงเรียนมากที่สุดมีสองรูปแบบ คือ ผู้ปกครองรับ-ส่ง และใช้รถรับ-ส่งนักเรียน เป็นสัดส่วนร้อยละ 38.5 ทั้งสองรูปแบบ โดยมีนักเรียนใช้จักรยานยนต์เดินทางมาโรงเรียนเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.4 ซึ่งพบว่านักเรียนในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 56.5 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการเดินทาง ได้แก่ ระยะทาง ระดับชั้น เพศ อายุ ความสามารถในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และการมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ จากการสอบถามถึงพฤติกรรมการเดินทางไป-กลับโรงเรียนของนักเรียน พบว่านักเรียนส่วนมากมีพฤติกรรมในการเดินทางเป็นไปอย่างถูกต้อง และจากการวิเคราะห์ผลจากแบบทดสอบประเมินความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางพบว่า เด็กนักเรียนมีความรู้เรื่องป้ายสัญลักษณ์เป็นสัดส่วนมากที่สุด แต่มีความรู้เรื่องการเดินเท้าและการข้ามถนนเป็นสัดส่วนน้อยที่สุด</p> 2022-09-19T22:40:05+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1472 การประยุกต์ใช้วงเวียนระดับดินเพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวง กรณีศึกษา: ทางหลวงหมายเลข 34 แยกคลองอ้อม จ.ฉะเชิงเทรา, ทางหลวงหมายเลข 3 แยกหนองแฟบและแยกปตท. จ.ระยอง และ ทางหลวงหมายเลข 3 แยกเจ จ.ชลบุรี 2022-09-20T18:23:23+07:00 เกศแก้วเงิน มหาคชเสนีย์ชัย ketkaewngoen@gmail.com โสภณ ชัยเลิศ Sophon.aet@gmail.com ศิลาวรรณ จินดา Silawanjinda@gmail.com สมใจ เจริญยศ somjai_108@hotmail.com <p>กรมทางหลวงได้ว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อสำรวจ ออกแบบ ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาการจราจรบนจุดตัดจำนวน 3 จุด ได้แก่ 1) จุดตัดทางหลวงหมายเลข 34 กับทางหลวงหมายเลข 314 บริเวณแยกคลองอ้อม จ.ฉะเชิงเทรา 2) จุดตัดระหว่างบริเวณแยกหนองแฟบและแยกปตท. บนทางหลวงหมายเลข 3 จ.ระยอง และ 3) จุดตัดทางหลวงหมายเลข 3 กับจุดเริ่มต้นทางหลวงหมายเลข 332 บริเวณแยกเจ จ.ชลบุรี โดยทางผู้เขียนได้เสนอวิธีแก้ไขปัญหาโดยออกแบบจุดตัดทั้ง 3 จุด เป็นรูปแบบทางแยกต่างระดับและวงเวียนระดับดิน และได้กำหนดปัจจัยในการคัดเลือกรูปแบบทางแยกจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.ปัจจัยด้านวิศวกรรมและจราจร 2.ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน และ 3.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการคัดเลือกได้ข้อสรุปว่าทางแยกรูปแบบวงเวียนระดับดินของทั้ง 3 จุดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ทำให้ประสิทธิภาพในการเดินทางเพิ่มขึ้น</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-19T22:41:47+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1459 การประมาณสัดส่วนปริมาณจราจรจุดเริ่มต้น-จุดปลายทางบนทางพิเศษ ด้วยข้อมูลจากระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ 2022-09-20T18:23:24+07:00 จิรวัฒน์ เพลิงศรีทอง jirawat.exat@gmail.com ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล siwat.exat@gmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร thepp9@hotmail.com สโรช บุญศิริพันธ์ saroch.b@mobinary.org กร พวงนาค korn.p@rmutp.ac.th จุฑาทิพย์ อาจหาญ chuthathip@mobinary.org <p>การประมาณจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางของการเดินทางเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญสำหรับการวางแผนโครงข่ายของระบบการขนส่งและจราจร วิธีที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางของการเดินทางที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้ใช้ทาง ซึ่งจะมีข้อจำกัดของปริมาณผู้ให้สัมภาษณ์ และการเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์เก็บข้อมูลจราจร ที่ไม่สามารถระบุยานพาหนะรายคันได้ และระบบ GPS ถึงแม้ว่าจะสามารถระบุยานพาหนะรายคันได้ แต่ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ยานพาหนะทดสอบ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีประมวลผลภาพมีความก้าวหน้า และการอ่านป้ายทะเบียนแบบอัตโนมัติสามารถทำได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และสามารถนำมาใช้ในการจับคู่จุดเริ่มต้น-จุดปลายทางได้ งานวิจัยนี้ได้เลือกใช้ระบบการอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition, ALPR) ซึ่งเป็นระบบการอ่านป้ายทะเบียนของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ผ่านจุดสังเกตและนำมาจับคู่ป้ายทะเบียนในตำแหน่งจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางที่สนใจ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการเก็บข้อมูลได้ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่สนใจ และยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากกล้องได้ทั้งแบบออฟไลน์และแบบออนไลน์ งานวิจัยนี้พัฒนาวิธีการจับคู่ข้อมูลป้ายทะเบียน ที่อ่านได้จากระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติในการประมาณสัดส่วนจุดต้นทางและปลายทางบนทางพิเศษ และทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในอ่านป้ายทะเบียนและในการจับคู่ ได้แก่ ร้อยละสัดส่วนปริมาณจราจรที่ตรวจจับได้ของระบบ ALPR และความแม่นยำในการจับคู่ โดยเทียบกับการใช้การสังเกตจริงจากภาพวิดีโอ พบว่าวิธีการจับคู่ป้ายทะเบียนโดยใช้ข้อมูลจากระบบ ALPR มีค่าความแม่นยำสูง มีความน่าเชื่อถือ และสามารถนำมาประมาณสัดส่วนปริมาณจราจรที่จุดเริ่มต้นและจุดปลายทางของการเดินทางได้</p> 2022-09-19T22:43:45+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1457 การศึกษาผลกระทบด้านจราจรจากการเปิดให้บริการระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) บนทางพิเศษฉลองรัช 2022-09-20T18:23:24+07:00 ธนพร กรีวงษ์ tp_kreewong@hotmail.com ธนุตม์ กล่อมระนก engineering54@hotmail.com เสาวนี ศรีสุวรรณ saonoy@gmail.com ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล siwat.exat@gmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญา thepp9@hotmail.com <p>การเปิดให้บริการระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น Multi-Lane Free Flow หรือที่เรียกว่า M-Flow ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในการชำระค่าผ่านทาง ช่วยให้ลดการติดขัดบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ จึงมีผลกระทบให้สภาพจราจรเปลี่ยนแปลงไป งานวิจัยนี้พัฒนาแบบจำลองด้านจราจรเพื่อประเมินสภาพจราจรที่จะเกิดขึ้นหากเปิดให้บริการ M-Flow บนทางพิเศษฉลองรัช โดยจะวิเคราะห์ผลกระทบด้านจราจรเปรียบเทียบระหว่างการไม่มีโครงการ M-Flow (เปิดบริการเฉพาะเงินสด และ Easy Pass) และการมีโครงการ M-Flow ในปีที่ 1 ปีที่ 5 และปีที่ 10 พร้อมทั้งแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเวลาเร่งด่วน และนอกช่วงเวลาเร่งด่วน จากผลการศึกษาพบว่าการเปิดให้บริการระบบ M-Flow จะส่งผลให้ความล่าช้าลดลงได้มากกว่าการไม่มีโครงการ และเมื่อเปรียบเทียบค่าความล่าช้า พบว่าหากสัดส่วนผู้ใช้งานระบบ M-Flow มากขึ้น จะทำให้ค่าความล่าช้าลดลงมากกว่า รวมทั้งในช่วงเวลาเร่งด่วนการเปิดให้บริการระบบ M-Flow ทำให้ค่าความล่าช้าลดลงมากกว่านอกช่วงเวลาเร่งด่วน</p> 2022-09-19T22:44:36+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1461 ปัจจัยการจัดกลุ่มและแนวคิดการออกแบบกายภาพของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษเพื่อรองรับ ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (M-Flow) บนทางพิเศษฉลองรัช 2022-09-20T18:23:25+07:00 ธนุตม์ กล่อมระนก tklomranok@gmail.com ธนพร กรีวงษ์ engineering54@hotmail.com เสาวนี ศรีสุวรรณ engineering54@hotmail.com นันทวรรณ พิทักษ์พานิช engineering54@hotmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร engineering54@hotmail.com <p>ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (M-Flow) เพื่อใช้บนโครงข่ายทางพิเศษ ทำให้ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษในปัจจุบันซึ่งมีจำนวนมากต้องได้รับการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพ เพื่อรองรับการใช้งานระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow บทความนี้จะนำเสนอปัจจัยการจัดกลุ่มและแนวคิดการออกแบบทางกายภาพของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ เพื่อรองรับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow บนทางพิเศษฉลองรัช จำนวนทั้งสิ้น 14 ด่านฯ ซึ่งสามารถจัดได้เป็น 5 กลุ่ม โดยการจัดกลุ่มด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษได้พิจารณาจากลักษณะทางกายภาพที่คล้ายคลึงกันใน 5 ปัจจัยได้แก่ รูปแบบการให้บริการ รูปร่างและลักษณะทางกายภาพ จำนวนช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ปริมาณจราจร และระดับการให้บริการ ซึ่งผลการจัดกลุ่มมีตัวแทนด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษทั้งหมด 7 ด่านฯ ใน 5 กลุ่มถูกนำมาเป็นต้นแบบสำหรับการออกแบบทางกายภาพเพื่อกำหนดตำแหน่งช่อง M-Flow ที่เหมาะสมที่สุด โดยการกำหนดช่อง M-Flow นี้พิจารณาการออกแบบจาก 3 แนวทางคือ ลักษณะทางกายภาพที่รองรับระบบเก็บค่าผ่านทางแบบผสมผสาน ลักษณะทางกายภาพที่สอดคล้องกับการทำงานของระบบ M-Flow และลักษณะทางกายภาพที่สอดคล้องกับระบบเก็บค่าผ่านทางเดิมและความปลอดภัยของพนักงานเก็บค่าผ่านทาง</p> 2022-09-19T22:45:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1436 การศึกษาการยอมรับช่องว่างของคนเดินเท้าที่ทางข้ามภายในช่วงถนนแบบไม่มีสัญญาณไฟคนข้าม 2022-09-20T18:23:26+07:00 พรเทพ พวงประโคน puangprakhon@gmail.com กฤษณ เวฬุดิตถ์ 6111130010@mutacth.com ปานเทพ เตชารัตน์ 6111160004@mutacth.com เกียรติศักดิ์ แซมทอง Kiettisaksamthong0016@gmail.com พีระวัฒน์ มโนเจริญ 6111110078@mutacth.com <p>คนเดินเท้าเป็นองค์ประกอบที่มีความเปราะบางในระบบจราจร เนื่องจากคนเดินเท้าไม่มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนตัวในการลดความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรที่อาจเกิดขึ้น จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงมากกว่าคนกลุ่มอื่นที่ใช้พื้นที่ถนน บทความนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมการยอมรับช่องว่างในการข้ามถนนของคนเดินเท้า ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเพื่อให้สามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย โดยเก็บข้อมูลพฤติกรรมการข้ามแบบจังหวะเดียว (one-stage crossing) บนทางข้ามที่อยู่ภายในช่วงถนนและไม่มีสัญญาณไฟคนข้ามจำนวน 6 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร พบข้อมูลการข้ามถนนทั้งสิ้น 1,275 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่าการยอมรับช่องว่างเฉลี่ยของผู้ข้ามที่มีเพศชายและเพศหญิงเท่ากับ 6.12 และ 6.24 วินาที วัยรุ่น วัยทำงาน และสูงอายุเท่ากับ 6.03, 6.18 และ 6.33 วินาที การข้ามแบบเดี่ยวและกลุ่มเท่ากับ 6.17 และ 6.81 วินาที การข้ามในและนอกชั่วโมงเร่งด่วนเท่ากับ 6.72 และ 5.78 วินาที ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ได้นำเสนอข้อมูลช่องว่างวิกฤตจากการประมาณโดยวิธีการของ Raff ตามสถานการณ์ต่างๆ พบว่าช่องว่างวิกฤตของคนเดินเท้าในการข้ามถนนมีค่าระหว่าง 3.73 ถึง 5.75 วินาที โดยผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลอ้างอิงประกอบการปรับปรุงและออกแบบทางข้ามให้มีความปลอดภัยต่อคนเดินเท้าได้ต่อไป</p> 2022-09-19T22:46:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1425 การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในประเทศไทยที่มีต่อธุรกิจผู้ให้บริการทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 2022-09-20T18:23:27+07:00 ธนวัฒน์ เดชปรอท tanawat.d@bemplc.co.th <p>ตั้งแต่งแต่ปีพ.ศ.2543 ประเทศไทยได้พบความท้าทายในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ จากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัย จากการศึกษา พบว่า ในปี พ.ศ.2575 คนไทยจะเข้าสู่วัยเกษียณ หรือมีอายุมากกว่า 65 ปี มากถึง 20% ของจำนวนประชากรและจะขยับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 30% ในปี พ.ศ.2593 ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการทางพิเศษทั้งในด้านความต้องการใช้ทางพิเศษ และรูปแบบการให้บริการเพราะสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มากขึ้น ย่อมหมายถึงสัดส่วนของประชากรวัยทำงานและวัยเรียนซึ่งเป็นผู้ใช้ทางพิเศษส่วนใหญ่ที่ลดลง และกิจกรรมการเดินทางโดยใช้ทางพิเศษที่จะเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเดินทางไปทำงาน เรียนหนังสือ ติดต่อธุรกิจ ท่องเที่ยว กลับภูมิลำเนา ทั้งในแง่จำนวน วันและช่วงเวลาในการเดินทางของแต่ละช่วงวัย การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรต่อธุรกิจผู้ให้บริการทางพิเศษ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อศึกษาช่วงอายุของกลุ่มผู้ใช้บริการทางพิเศษ และกิจกรรมการเดินทางจากผลการสำรวจจำนวนจาก 2,237 ตัวอย่าง ก่อนนำมาคาดการณ์การเติบโตของปริมาณจรจรบนทางพิเศษในอนาคต เพื่อใช้วางแผนพัฒนาการให้บริการทางพิเศษได้อย่างเหมาะสม และนำเสนอแนวทางในการปรับตัวให้ผู้ประกอบการธุรกิจผู้ให้บริการทางพิเศษสามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยในอนาคตได</p> 2022-09-19T22:47:04+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1412 ประสิทธิภาพของการใช้เทปเส้นจราจรสะท้อนแสง (Retroreflective Tape) ทดแทนหมุดสะท้อนแสง (Road Stud) บนทางพิเศษ 2022-09-20T18:23:28+07:00 ปิยภัค มหาโพธิ์ piyapak1991@hotmail.com นันทวรรณ พิทักษ์พานิช piyapak1991@hotmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร piyapak1991@hotmail.com <p>เครื่องหมายจราจรบนทางพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ควบคุมการจราจรที่ใช้เป็นตัวกำหนดทิศทางแก่ผู้ใช้ทางพิเศษ เพื่อให้สามารถขับขี่ยานพาหนะได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย เส้นจราจร (Line Marking) และหมุดสะท้อนแสง (Road Stud) เป็นหนึ่งในเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางพิเศษ ที่มีหน้าที่แบ่งช่องจราจร โดยต้องสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในทุกสภาวะ ทั้งกลางวันและกลางคืน อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการสะท้อนแสงของเครื่องหมายจราจรจะลดลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป หรือมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสภาพแวดล้อม เช่น มีสภาวะแสงน้อย หรือมีฝนตกจนเกิดเป็นฟิลม์น้ำเคลือบอยู่บนผิวหน้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็นเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จึงเล็งเห็นถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ทางพิเศษและได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพ (Geometric Layout) รวมถึงประสิทธิภาพของการใช้เทปเส้นจราจรสะท้อนแสงทดแทนหมุดสะท้อนแสงบนทางพิเศษ จากการศึกษาพบว่า ขนาดของเทปเส้นจราจรสะท้อนแสงทดแทนหมุดสะท้อนแสงควรมีความกว้างเท่ากับเส้นจราจรบนทางพิเศษคือ 0.15 เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร ซึ่งเทปเส้นจราจรสะท้อนแสงมีค่าการสะท้อนแสงในสภาวะแห้งและเปียกสูงกว่าที่มาตรฐานกำหนด ทำให้วิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่ชัดเจนขึ้น ใช้ระยะเวลาในการติดตั้งน้อย และมีราคาต่อหน่วยเทียบเท่ากับหมุดสะท้อนแสง</p> 2022-09-19T22:50:18+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1398 การพัฒนาเดฟิซิตฟังก์ชันสำหรับระบบขนส่งสาธารณะแบบโมดูล 2022-09-20T18:23:28+07:00 เทวิษฎ์ ขันติอยู่ basbaverrick@gmail.com ทรงยศ กิจธรรมเกษตร songyot.k@cmu.ac.th <p>การพัฒนาของเทคโนโลยีระบบขนส่งสาธารณะยกระดับคุณภาพชีวิต เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับผนวกกับการสื่อสารที่รวดเร็วถูกนำมาพัฒนาระบบ ขนส่งสาธารณะไร้คนขับแบบโมดูล (Autonomous Modular Public Transit; AMPT) ที่มีความยืดหยุ่นในการให้บริการ ทั้งทางด้านการดำเนินงาน (Operation) และความจุ ทำให้มีความซับซ้อนในการหาจำนวนยานพาหนะขั้นต่ำที่ต้องใช้ในการให้บริการ (Minimum Fleet Size, MFS) ของระบบ AMPT ในงานวิจัยนี้ได้เลือกเดฟิซิตฟังก์ชัน (Deficit Function) ที่อยู่ในรูปแบบกราฟฟิก มีพื้นฐานจากปัญหาการเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimization Problem) ซึ่งสามารถวิเคราะห์หาจำนวนโมดูลในการให้บริการขนส่งสาธารณะ แต่เดฟิซิตฟังก์ชันแบบดั้งเดิมมีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถนำไปใช้กับ AMPT ได้ในงานศึกษานี้จึงเสนอเดฟิซิตฟังก์ชันที่ถูกพัฒนา (Developed Deficit Function) ซึ่งต่อยอดมาจากเดฟิซิตฟังก์ชันแบบขยาย(Extended Deficit<br>function) ให้สามาถใช้กับ AMPT ที่มีลักษณะการให้บริการที่สามารถสับเปลี่ยนโมดูลระหว่างการให้บริการได้ซึ่งจะเพิ่ม/ลดความจุให้สอดคล้องกับความต้องการการเดินทางในแต่ละช่วงเวลา จากกรณีศึกษาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าเดฟิซิตฟังก์ชันที่ถูกพัฒนาสามารถนำไปใช้กับ AMPT และยังสามารถลดจำนวนยานพาหนะที่ใช้ในการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เป็นรูปแบบของ AMPT ในกรณีที่สามารถสับเปลี่ยนโมดูลระหว่างการให้บริการได้</p> 2022-09-19T22:51:19+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1393 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางไปโรงเรียนของเด็กนักเรียน 2022-09-20T18:23:29+07:00 ณัฐวุฒิ อะกะเรือน nattavut.arkaruen@mail.kmutt.ac.th วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์ viroat.sri@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางไปโรงเรียนของเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ได้รับการตอบกลับจากผู้ปกครองทั้งสิ้น 231 คน พบว่าพฤติกรรมการเดินทางไปโรงเรียนในปัจจุบันคือ นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.3 เดินทางไปโรงเรียนโดยรถรับส่งนักเรียน รองลงมาเป็นรถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 29.0 และ 17.3 ตามลำดับ มีเพียงร้อยละ 0.4 เท่านั้นที่ใช้การเดิน เหตุผลหลักที่ผู้ปกครองเลือกใช้รถรับส่งนักเรียนคือ ไม่มีเวลารับส่งบุตร ส่วนของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนตัวคือ เป็นการเดินทางที่ปลอดภัย จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคพหุกลุ่ม พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางไปโรงเรียน ได้แก่ ระยะทางในการเดินทาง ระยะเวลาในการเดินทาง จำนวนรถยนต์ในครอบครองและการมีใบอนุญาตขับรถยนต์ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด พบว่ามีนักเรียนเพียงร้อยละ 7.8 เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในระยะทางที่สามารถเดินหรือปั่นจักรยานไปโรงเรียนได้ โดยผู้ปกครองในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้ รถจักรยานยนต์ส่วนตัวในการส่งบุตรหลานไปโรงเรียน มีผู้ปกครองในกลุ่มนี้เพียงร้อยละ 16.7 เท่านั้นที่อนุญาตให้เด็กเดินหรือปั่นจักรยานไปโรงเรียนได้ในปัจจุบัน เหตุผลหลักที่ไม่อนุญาตคือ รู้สึกไม่ปลอดภัย</p> 2022-09-19T22:52:18+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1376 การกำหนดโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญของประเทศไทย 2022-09-20T18:23:30+07:00 จุติพงศ์ พาราพันธกุล ceemmu@gmail.com ณรงค์ คู่บารมี ceemmu@gmail.com ทวีศักดิ์ ปานจันทร์ ceemmu@gmail.com <p>การศึกษาของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ รายงานว่าประเทศไทยมีถนนที่อยู่ในเกณฑ์ดี ครอบคลุมทั่วถึงทั้งประเทศ เป็นระยะทาง 470,049 กม. จนถือได้ว่าไม่มีโครงข่ายที่ขาดหายไป จึงมีความจำเป็นน้อยลงในการพัฒนาถนนโดยการตัดถนนใหม่เพิ่ม อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการถนนยังขาดเอกภาพ ทำให้โครงข่ายถนนขาดความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ ถนนบางช่วงมีการพัฒนาเฉพาะในขอบเขตการดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานในท้องถิ่น ส่งผลให้ถนนไม่ได้มีสภาพที่ดีตลอดเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนที่เป็นโครงข่ายสายรอง โดยแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับที่ 3 พ.ศ. ... (แผนฯ 3) ที่อยู่ระหว่างการยกร่างฯ ได้กำหนดขอบเขตการเชื่อมโยงของถนนตามขอบเขตการปกครอง อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวอาจไม่ครอบคลุมการเชื่อมโยงจุดหมายปลายทางที่สำคัญ ดังนั้นการกำหนดโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญจึงควรพิจารณาการเชื่อมโยงพื้นที่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการกำหนดสายทางแบบลำดับชั้น (Road Hierarchy) ซึ่งแบ่งประเภทของถนนตามลักษณะการใช้งานเป็นลำดับชั้น เพื่อให้การพัฒนาถนนสอดคล้องกับความต้องการเดินทางและเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้การกำหนดประเภทถนนแบบ Link &amp; Place โดยจำแนกถนนตามบทบาทหน้าที่ใน 2 มิติ คือ การรองรับเคลื่อนที่ของยานพาหนะ (ลิงค์) และการสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่รอบข้าง (เพลส) ซึ่งกำหนดเส้นทางโครงข่ายถนนเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ถนนระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล โดยดำเนินการวิเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และสุรินทร์ พร้อมสัมภาษณ์หน่วยงานในพื้นที่เพื่อสอบถามความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายถนนที่คัดเลือก ซึ่งผลการศึกษาพบว่าถนนที่ควรพัฒนาเป็นโครงข่ายสายรองนั้นปัจจุบันร้อยละ 53 เป็นของกรมทางหลวงชนบท และร้อยละ 46 เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยถนนดังกล่าวมีลักษณะการเชื่อมโยงระดับจังหวัดเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญของประเทศ</p> 2022-09-19T22:53:15+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1367 การศึกษาความพึงพอใจในการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรล ลิงก์ สถานีลาดกระบัง และรถไฟดีเซล-ราง สายตะวันออก สถานีลาดกระบัง 2022-09-20T18:23:31+07:00 ปุญนภัส บุราคร 61601117@kmitl.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีลาดกระบัง และรถไฟดีเซลราง สายตะวันออก สถานีลาดกระบัง โดยการศึกษาแบ่งเป็น 5 ส่วน จำแนกข้อมูลส่วนแรกตามปัจจัยส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนที่สองพฤติกรรมการใช้บริการ ข้อมูล ส่วนที่สามระดับการตัดสินใจใช้บริการ ข้อมูลส่วนที่สี่การประมวลผลการทดสอบด้วย Welch t-test และข้อมูลส่วนที่ห้าวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 405 การวิเคราะห์ข้อมูล Welch t-test ใช้ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจำนวนประชากร การวิเคราะห์ One-Way ANOVA ใช้ข้อมูลการสำรวจของสองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการเพศหญิง มีจำนวนมากที่สุด 62% ช่วงอายุ 25 – 34 ปี มีมากที่สุด 35% ระดับปริญญาตรีมีมากที่สุด 67% อาชีพพนักงานเอกชนมีมากที่สุด 45% รายได้ 10,001 – 25,000 บาท มีมากที่สุด 50% ปัจจัยการตัดสินใจใช้บริการที่ผู้ใช้บริการยินดีใช้บริการของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีทั้งการเข้าถึง, ความสะดวกสบาย, ความสะอาด, ความรวดเร็ว, การประชาสัมพันธ์, การร้องเรียน/การติดต่อสื่อสาร และความชัดเจนของป้ายบอกทางคือ ส่วนปัจจัยการตัดสินใจใช้บริการที่ผู้ใช้บริการยินดีใช้บริการของรถไฟดีเซลราง สายตะวันออก มีเพียงด้านราคาที่พึงพอใจในการจ่ายค่าบริการ อย่างไรก็ดีผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถเจาะจงลักษณะผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ได้ และปัจจัยด้านราคาส่งผลมากที่สุดในการเลือกใช้บริการในอนาคตเมื่อเราทราบข้อดี / เสียในการให้บริการ บริษัทหรือองค์กรที่ให้บริการ สามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและแรงดึงดูดให้มีผู้มาใช้บริการมากขึ้นได้</p> 2022-09-19T22:54:14+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1364 การพัฒนาแบบจำลองการเกิดการเดินทางและการกระจายการเดินทางสำหรับอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 2022-09-20T18:23:31+07:00 สรธร ศุภภิญโญพงศ์ soratorn.supapinyopong@mail.kmutt.ac.th อำพล การุณสุนทวงษ์ ampol.kar@kmutt.ac.th <p>บทคัดย่อ</p> <p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะ พฤติกรรม และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินทางของผู้เดินทางภายในพื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และพัฒนาแบบจำลองการขนส่งและจราจรหรือแบบจำลองความต้องการในการเดินทางที่สามารถอธิบายการลักษณะและพฤติกรรมการเดินทางของผู้เดินทางในพื้นที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ได้ทำการสืบค้นและรวบรวมมาจากโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (พ.ศ.2562) ที่จัดทำขึ้นโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทำแบบสัมภาษณ์ ณ ที่พักอาศัย (Home Interview Survey) จำนวนทั้งสิ้น 1,205 ครัวเรือน โดยในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าแบบจำลองการเกิดการเดินทาง (Trip Generation Model) ปัจจัยของที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างการเดินทางได้แก่ ขนาดของครัวเรือน, รายได้ครัวเรือน, การครอบครองยานพาหนะ, จำนวนนักเรียนในครัวเรือนและจำนวนคนทำงานในครัวเรือน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดึงดูดการเดินทางได้แก่ จำนวนประชากรและจำนวนที่นั่งนักเรียนในพื้นที่นั้น ๆ ในส่วนของแบบจำลองการกระจายการเดินทาง (Trip Distribution Model) พบว่าปัจจัยต้านการเดินทางในรูปแบบ Power function มีความเหมาะสมที่สุดในทุกวัตถุประสงค์การเดินทาง ยกเว้นการเดินทางรูปแบบการเดินทางระหว่างที่พักอาศัยและอื่น ๆ (HBO) ที่ปัจจัยต้านการเดินทางในรูปแบบ Gamma function จะมีความเหมาะสมที่สุด</p> 2022-09-19T22:55:07+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1352 Road Speed Profile: A Case Study of Pracha Uthit Road 2022-09-20T18:23:32+07:00 Anapat Putthajernjitt anapat.node@mail.kmutt.ac.th Kanokwan Sriyotha Kanokwan.5873@mail.kmutt.ac.th Satreerat Thippaway satreerat.test@mail.kmutt.ac.th Vasin Kiattikomol vasin.kia@kmutt.ac.th Kelwalee Jutipanya vasin.kia@kmutt.ac.th <p>The objective of this research is to study the speed profile of Pracha Uthit Road from Pracha Uthit Intersection to Na Luang Intersection in order to understand traffic conditions along the study corridor. Heat maps were created to identify the locations and time periods with traffic congestion. The data used for this study were obtained from Thai Intelligent Traffic Information Center (iTIC), which include the information from the Global Positioning System (GPS) equipment installed on public taxis. From the analysis results, it is found that the traffic congestion pattern throughout the corridor changed according to the time of day where there was recurring congestion at some locations. The speed profiles obtained from this research can be used to pinpoint roadway bottlenecks and apply proper mitigation measures for the roadway sections such as a reversible lane strategy. Knowing the speed profile allows one to efficiently determine the operational boundary as well as the operational time of the managed lane application. The method used in this study can be used to assess roadway speed profiles as a tool to help decision-makers effectively solve traffic congestion problems in a road network.</p> 2022-09-19T22:55:58+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1333 ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจะจ่ายเพื่อลดความสูญเสีย ของความพิการจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในจังหวัดเชียงใหม่ 2022-09-20T18:23:33+07:00 สุริยุ โตมาก suriyu_t@cmu.ac.th ปรีดา พิชยาพันธ์ preda@eng.cmu.ac.th <p class="Contentnew"><span lang="TH">ในปัจจุบันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศที่กำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกส่วนใหญ่มักเกิดจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ และพบมากในช่วงอายุ 15 – 39 ปี อีกทั้งการศึกษาอุบัติการณ์ของความพิการภายหลังการบาดเจ็บจากอุบัติจราจรทางบกยังมีไม่มากนักในปัจจุบัน งานศึกษานี้พยายามที่จะศึกษาอุบัติการณ์ความพิการและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุจราจรทางบก โดยศึกษาจากโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ สาม แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลหางดง และโรงพยาบาลสันป่าตอง พบว่า สาเหตุความพิการจากการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกตามการวินิจฉัยโรคตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ (</span>ICD-<span lang="TH">10) สามอันดับแรก คือ การบาดเจ็บภายในสมอง (</span>Intracranial Injury) <span lang="TH">กระดูกหัก (</span>Fracture of Bone) <span lang="TH">และ การบาดเจ็บที่อวัยวะในช่องท้อง (</span>Injury of intra-abdominal organs) <span lang="TH">และใช้แบบสอบถาม โดยวิธีการประเมินมูลค่าทางตรงภายใต้ตลาดสมมติ (</span>Contingent Valuation Method) <span lang="TH">เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจะจ่าย จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (</span>Multiple Linear Regression Analysis ) <span lang="TH">พบว่า เพศ สถานภาพทางครอบครัว รายได้ และ ค่าเสียหายจากประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุ มีความสัมพันธ์แบบมีนัยสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจะจ่าย</span></p> 2022-09-19T22:56:57+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1327 มูลค่าความเต็มใจจะยอมรับเงินชดเชยจากผลกระทบด้านเสียงจากเครื่องบิน โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ 2022-09-20T18:23:33+07:00 พรปวีณ์ โคตรชมภู pornpawee_kot@cmu.ac.th ปรีดา พิชยาพันธ์ preda@eng.cmu.ac.th <p>เสียงจากเครื่องบินเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกับประชาชนบริเวณใกล้เคียงโดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่เป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน จากผลกระทบดังกล่าว ทำให้เกิดประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความเหมาะสมและความชัดเจนในกระบวนการชดเชยของท่าอากาศยานต่อประชาชน ดังนั้น งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการหามูลค่าที่เป็นตัวเงิน (Monetary value) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะรับเงินชดเชยจากผลกระทบด้านเสียงจากเครื่องบินโดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ด้วยวิธีการประเมินมูลค่าทางตรงภายใต้ตลาดสมมติ (Contingent valuation method) โดยใช้แบบสอบถามจากประชาชนที่พักอาศัยโดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ จากผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยมูลค่าความเต็มใจที่จะยอมรับเงินชดเชย คิดเป็น 1,315 บาทต่อคนต่อเดือน ผลการศึกษาที่ได้สามารถสะท้อนถึงมูลค่าความต้องการเงินชดเชยที่แท้จริงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณามูลค่าที่เหมาะสมสำหรับการชดเชยผลกระทบด้านเสียงจากเครื่องบินในอนาคต</p> 2022-09-19T22:57:51+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1295 การเปลี่ยนแปลงความจุของทางแยก กรณีมีการใช้ยานยนต์ไร้คนขับ 2022-09-20T18:23:34+07:00 พุทธชาติ อ้อยคำ phutthachat.1550700151781@mail.kmutt.ac.th วชิรวิทย์ สวัสดีนฤนาท wachirawit.ten10@mail.kmutt.ac.th รัทการ รัทการ หะยีสมาแอ rattakan.679@mail.kmutt.ac.th วศิน เกียรติโกมล vasin.kia@kmutt.ac.th <p class="Contentnew"><span lang="TH">ยานยนต์ไร้คนขับเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะก้าวเข้ามามีบทบาทอย่างมากในประเทศไทย การศึกษาความจุทางแยกที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานทางถนนในการรองรับการใช้งานยานยนต์ไร้คนขับ คณะผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจราจรบริเวณทางแยกนาหลวง ในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และสร้างแบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคด้วยโปรแกรม </span>PTV Vissim <span lang="TH">เพื่อหาค่าความจุทางแยกในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่มีการใช้ยานยนต์ไร้คนขับในสัดส่วนร้อยละ 5 20 60 และ 100 ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล จากนั้นนำค่าความจุทางแยกในแต่ละสถานการณ์ไปหาค่าปรับแก้ความจุ ผลการวิจัยพบว่า ความจุของทางแยกจะแปรผันตรงกับสัดส่วนของยานยนต์ไร้คนขับ และค่าปรับแก้ความจุของทางแยกมีค่ามากกว่า 1 ทุกสถานการณ์ที่มีการใช้งานยานยนต์ไร้คนขับ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อสัดส่วนของยานยนต์ไร้คนขับเพิ่มขึ้น ค่าปรับแก้ความจุของทางแยกนาหลวงจะเพิ่มถึง 1.219 หรือมีค่าความจุเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 21.9 ของความจุเดิมเมื่อมีการใช้ยานยนต์ไร้คนขับแทนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั้งหมด</span></p> 2022-09-19T22:58:47+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1274 การศึกษาความยืดหยุ่นของระบบรางในประเทศไทย 2022-09-20T18:23:34+07:00 ร้อยเอก สมิทธิภัทร คำประพันธ์ smithipatt.kh@crma.ac.th ธนินทร์ ชื่นมาลัย thanin.ch@crma.ac.th Thomas Wakeman thomas.wakeman3@gmail.com <p>ความยืดหยุ่นของระบบ หรือความสามารถในการฟื้นตัวกลายเป็นคุณลักษณะที่สำคัญสำหรับระบบเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้สามารถอยู่รอดภายใต้สภาวะวิกฤตได้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองที่นำมาใช้กับการวิเคราะห์ความยืดหยุ่นของระบบเครือข่ายรถไฟของไทย โดยกล่าวถึงการวิเคราะห์ความสามารถในการฟื้นตัวสำหรับเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน งานวิจัยนี้ได้มีการสร้างแบบจำลองโดยใช้ทฤษฎีกราฟ ผลการวิจัยพบว่าความยืดหยุ่นของระบบรถไฟของไทยสามารถวิเคราะห์ได้โดยการประเมินความถดถอยของประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อระบบเมื่อถูกรบกวนจากเหตุการณ์ที่ลดทอนประสิทธิภาพของเครือข่าย</p> 2022-09-19T22:59:45+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1269 การประเมินความปลอดภัยทางถนนของกรมทางหลวงด้วย วิธีการให้คะแนนระดับดาวของ iRAP สำหรับงานออกแบบก่อสร้าง 2022-09-20T18:23:36+07:00 ศิรวิชญ์ ชุ่มไชยพฤกษ์ sirawich.sc@gmail.com เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ kriangkrai@eng.cmu.ac.th นพดล กรประเสริฐ nopkron@eng.cmu.ac.th <p class="Contentnew"><span lang="TH">อุบัติเหตุทางถนนสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพถนนและสิ่งแวดล้อมข้างทางที่เป็นอันตราย หากสามารถปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นการวางแผนงานโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ย่อมมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการประเมินความปลอดภัยทางถนนอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบก่อนดำเนินการก่อสร้างหรือปรับปรุงถนน บนพื้นฐานวิธีการให้คะแนนระดับดาวสำหรับการออกแบบตามมาตรฐานของหน่วยงาน </span>International Road Assessment Programme <span lang="TH">(</span>iRAP Star Rating for Design<span lang="TH">) โดยประเมินจากแบบก่อสร้างของกรมทางหลวง ประเทศไทย การประเมินระดับความปลอดภัยได้จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้ถนน ได้แก่ รถยนต์ และจักรยานยนต์ โดยพิจารณาครอบคลุมรายละเอียดของแบบก่อสร้าง ทั้งในด้านองค์ประกอบทางเรขาคณิตของถนน รูปตัดขวางของแต่ละช่วงถนน ตลอดจนลักษณะสภาพสองข้างทางและภูมิประเทศของถนน ผลการประเมินสามารถบ่งชี้ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุที่มีผลจากสภาพถนน สิ่งอันตรายสองข้างทางของถนนรวมถึงปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆ ของถนนที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนแต่ละกลุ่ม อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะประกอบในการปรับปรุงแบบก่อสร้าง และปรับเปลี่ยนแนวทางการออกแบบถนนต่อไปในอนาคต สอดคล้องตามนโยบายส่งเสริมความปลอดภัยของกรมทางหลวง</span></p> 2022-09-19T23:00:42+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1267 Measuring changes in travel behavior patterns due to rainfall on urban roads 2022-09-20T18:23:36+07:00 Piyapong Suwanno piyapong.su@rmutsv.ac.th Chaiwat Yaibok Chaiwat.y@rmutsv.ac.th Prasan Jitpat Prasan.j@rmutsv.ac.th <p>Globally, climate change has caused increases in frequency, duration and rainfall intensity. High rainfall can cause flooding on roads that results in traffic jams, with travelers modifying their routes to avoid congestion. Collection of multiple data is necessary to understand travel behavior. Bluetooth is a short-range wireless technology that can quickly collect large amounts of data. Tracking sequences of Bluetooth-enabled devices including cell phones, headphones and in-car audio systems can be used to record the movement of vehicles within a network. Bluetooth tracking sequences may be incomplete or inconsistent due to data failure of the nodes and tracking devices. One solution is to cluster together similar Bluetooth tracking sequences. The deoxyribonucleic acid (DNA) alignment method was applied to identify similarity/distance distribution between Bluetooth tracking path group sequences. during rainy days, with results used to plan new routes</p> 2022-09-19T23:01:38+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1742 การประเมินพื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานีด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD 2022-09-20T18:23:37+07:00 ปรียาพร โกษา kosa@sut.ac.th ฤกษ์ชัย ศรีวรมาศ kosa@sut.ac.th ธนัช สุขวิมลเสรี kosa@sut.ac.th ธนภัทร อุทารสวัสดิ์ kosa@sut.ac.th <p>จังหวัดอุบลราชธานีประสบภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2545 และล่าสุดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ซึ่งมีความรุนแรงของการเกิดน้ำท่วมสูงกว่า พ.ศ. 2545 ระดับแม่น้ำมูลล้นตลิ่งอยู่ที่ 115.88 เมตร รทก. (พ.ศ. 2562) จากระดับ 115.77 เมตร รทก. (พ.ศ. 2545) การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่น้ำท่วมจากปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่า ณ คาบการเกิดซ้ำ 10 ปี 20 ปี 50 ปี และ 100 ปี ด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่น้ำท่วมจากปริมาณน้ำท่าเท่ากับ 487.59&nbsp; 696.55&nbsp; 837.63 และ 944.57 ตารางกิโลเมตร ณ คาบการเกิดซ้ำ 10 ปี 20 ปี 50 และ 100 ปี ตามลำดับ มีพื้นที่น้ำท่วมตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนราษีไศลจนถึงเขื่อนปากมูล รวมถึงแม่น้ำชี และลำน้ำสาขาที่ไหลเข้าแม่น้ำมูล โดยน้ำท่วมหนักบริเวณอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และ อำเภอเขื่องใน อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับพื้นที่น้ำท่วมจากปริมาณน้ำฝนเท่ากับ 206.03&nbsp; 214.54&nbsp; 228.31 และ 259.76 ตารางกิโลเมตร ณ คาบการเกิดซ้ำ 10 ปี 20 ปี 50 และ 100 ปี ตามลำดับ น้ำท่าจากฝนที่ตกในพื้นที่ศึกษามิใช่สาเหตุหลักในการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ศึกษา เพราะพื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในแต่ละคาบการเกิดซ้ำ ทั้งนี้ น้ำท่าทางต้นน้ำที่เกิดจากฝนในพื้นที่ต้นน้ำนอกพื้นที่ศึกษา (จ.อุบลฯ) มีปริมาณน้ำมากกว่าน้ำท่าจากฝนที่ตกในลุ่มน้ำภายในจังหวัดอยู่มาก จึงส่งผลให้พื้นที่น้ำท่วมในกรณีแรกเกิดพื้นที่น้ำท่วมมากกว่า จึงกล่าวได้ว่าปริมาณน้ำท่าจากพื้นที่เหนือน้ำเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดอุบลราชธานี</p> 2022-09-19T22:41:01+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1442 การพัฒนาแอปพลิเคชั่นประมวลภาพถ่ายวีดีโอเพื่อใช้วัดความเร็วการไหลผิวน้ำ 2022-09-20T18:23:38+07:00 สมพินิจ เหมืองทอง somphinith.mu@rmuti.ac.th วินัย เชาวน์วิวัฒน์ Somphinith.mu@rmuti.ac.th โกวิท บุญรอด Somphinith.mu@rmuti.ac.th หริส ประสานฉ่ำ Somphinith.mu@rmuti.ac.th ขนิษฐา ชัยบรรดิษฐ Somphinith.mu@rmuti.ac.th <p>การตรวจวัดความเร็วการไหลในทางน้ำธรรมชาติมีความซับซ้อน ใช้เวลานาน และยุ่งยาก ประกอบกับเครื่องมือมีราคาแพง ค่าใช้จ่ายการตรวจวัดค่อนข้างสูง ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีความรู้และความชำนาญ รวมถึงการวิเคราะห์ผลใช้เวลานาน วัตถุประสงค์ของบทความวิชาการพัฒนาแอปพลิเคชั่นประมวลภาพถ่ายวีดีโอเพื่อใช้วัดความเร็วการไหลผิวน้ำ กรณีศึกษาในลำน้ำชี และวัดความเร็วการไหลด้วยเครื่องวัดโปรไฟล์ความเร็วกระแสน้ำแบบดอปเปลอร์ จำนวน 3 ชุดการทดสอบ ผลการศึกษา ค่าความเร็วการไหลที่ผิวน้ำจากการวัดด้วยแอปพลิเคชั่นเฉลี่ย 0.72, 0.75, และ 0.69 เมตรต่อวินาที เมื่อประมวลผลความเร็วการไหลจากภาพถ่ายวีดีโอบนสมาร์ทโฟน โดยใช้วัชพืชสีเขียว วัชพืชสีเหลือง และขอนไม้ ตามลำดับ ส่วนค่าความเร็วการไหลที่ผิวน้ำวัดจากเครื่องวัดโปรไฟล์ความเร็วกระแสน้ำแบบดอปเปลอร์เฉลี่ย 0.75 เมตรต่อวินาที ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การวัดความเร็วการไหลที่ผิวน้ำด้วยแอปพลิเคชั่นประมวลภาพถ่ายวีดีโอบนสมาร์ทโฟนเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อน การใช้งานมีความสะดวก รวดเร็ว และได้ค่าใกล้เคียงกับเครื่องมือมาตรฐาน</p> 2022-09-19T22:43:03+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1586 การหาความแปรปรวนน้ำใต้ดินและพารามิเตอร์ทางอุทกวิทยาด้วยการวิเคราะห์ค่าแนวโน้มและความสัมพันธ์สำหรับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง 2022-09-20T18:23:39+07:00 พ.อ.ผศ.ดร.พงศ์พันธุ์ จันทะคัต pongpun.ju@crma.ac.th ร้อยเอก ณฐพัสต์ สุขสมสถาน pongpun.ju@crma.ac.th เยาวเรศ จันทะคัต yaowaret.ja@rmuti.ac.th <p>น้ำใต้ดินเป็นแหล่งน้ำดิบที่สำคัญหนึ่งในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ดังนั้นความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างความแปรปรวนของน้ำใต้ดินและพารามิเตอร์ทางอุทกวิทยาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การศึกษานี้จึงได้ใช้ข้อมูลการสำรวจพื้นผิวโลกและแพลตฟอร์มของกูเกิลเอิร์ธเอนจินเพื่อหาค่าแนวโน้มและความสัมพันธ์ระหว่างความแปรปรวนน้ำใต้ดินและพารามิเตอร์ทางอุทกวิทยาในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ถึง พ.ศ.2560 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามีค่าแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นของปริมาณน้ำฝน การคายระเหย และการไหลบ่าในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างในประเทศลาว ประเทศไทย และเวียดนาม แต่ทว่าในประเทศกัมพูชามีค่าแนวโน้มที่ลดลงอย่างชัดเจน จากค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาของชั้นน้ำใต้ดินและค่าการเปลี่ยนแปลงของการเติมน้ำเพื่อเก็บกักน้ำในชั้นดินนั้น ชี้ให้เห็นว่าระยะเวลาของการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ศึกษาใช้เวลาประมาณ 1 เดือน อันเนื่องมาจากเมื่อพิจารณาระหว่างค่าทั้งสองในช่วงระยะเวลาห่างกันมากกว่า 1 เดือน จะไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ (p-value &gt; 0.05) โดยค่าปริมาณน้ำฝนมีค่าความสัมพันธ์ต่อค่าความหนาของชั้นน้ำใต้ดินมากกว่าค่าการคายระเหย และค่าการไหลบ่า ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นว่าค่าความหนาของชั้นน้ำใต้ดินทั้งสี่ประเทศในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างจะมีค่าแนวโน้มที่ลดลงระหว่างปี พ.ศ.2545-2549 และมีค่าแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2550-2554 และมีค่าแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ.2554-2559 ดังนั้นจากผลการศึกษานี้สามารถนำมาช่วยสนับสนุนเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการจัดการแหล่งน้ำใต้ดินในพื้นที่ศึกษาได้ เช่น การกำหนดพื้นที่ของการเติมน้ำใต้ดิน เป็นต้น</p> 2022-09-19T22:44:36+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1645 พัฒนาการการจัดการงบประมาณการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย 2022-09-20T18:23:40+07:00 ภวิสร ชื่นชุ่ม pavisorn.c@outlook.com พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ pongsak_suttinon@yahoo.com <p>ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิต และการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำอันสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของจำนวนประชากร การผลิตภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร รวมทั้งจากการลดลงของพื้นที่ป่าทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ประเทศไทยจึงได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ รวมทั้งการพัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ และเพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ผ่านกระบวนการการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าก่อนที่ประเทศไทยจะมีแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน ต้องมีการผ่านกระบวนการการลองผิดลองถูกมาไม่มากก็น้อยผ่านการจัดสรรงบประมาณในอดีต ดังนั้น การศึกษานี้จะพยายามถอดบทเรียนพัฒนาการการจัดการงบประมาณการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อสะท้อนให้เห็นแนวทางการบริหารที่ผ่านมา รวมถึงผลสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัด และประโยชน์ที่ได้รับของการใช้จ่ายงบประมาณ</p> 2022-09-19T22:45:46+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1526 Oil Spills Simulation in Rayong Coastal Area 2022-09-20T18:23:40+07:00 Pongsit Polsomboon pongsit.polsomboon@gmail.com Anurak Sriariyawat Anurak.S@chula.ac.th <p>Oil spills cause severe problems to the environment and the economy. To manage the oil spill problem after it is released into the sea, it is necessary to know the current pattern and wind information. This study aimed to simulate the oil spill in Rayong coastal area on 26 January 2022 using the GNOME models. The GNOME model was calibrated using a satellite image from GISTDA when the severe oil spill event occurred near Samet Island on 27 July 2013. In the case of oil spills at Rayong coastal on 26 January 2022, the results have shown the oil spill will finally move to attack the Khao Leam Ya national park beach, which is around 9 km on the Eastern side of IRPC Industrial Estate, at 1.00 p.m. of 29 January 2022. Although the actual situation, the satellite image from GISTDA showed the oil spill moved to the coastal at 10.35 a.m. on 29 January 2022, faster than the model, about two and a half hours. This preliminary study will lead to further development to be accurate and precise. Further improvements in oil spill modeling should focus on another weathering process of spilled oil. The improvement in the parameterization of oil transport, since the accuracy of the transport process, depends on the accuracy of the circulation and atmospheric models.</p> 2022-09-19T22:47:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1468 การจำลองสภาพน้ำท่วมแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2562 ด้วยแบบจำลอง Infoworks-ICM กรณีศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ถึงปากแม่น้ำมูล 2022-09-20T18:23:41+07:00 เสาวณีย์ บุญเลิศ saowanee5618@gmail.com กฤษณ์ ศรีวรมาศ kritubu@gmail.com ฤกษ์ชัย ศรีวรมาศ rerkchai.s@ubu.ac.th <p>บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการจำลองสภาพน้ำท่วมของแม่น้ำมูล กรณีศึกษาแม่น้ำมูลจากอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีถึงปากแม่น้ำมูล อันเนื่องมาจากการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2562 โดยทำการจำลองด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ Infoworks-ICM โดยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัจจัยข้อมูลที่เป็นพื้นฐานการศึกษา ได้แก่ข้อมูลทางอุตุ-อุทกวิทยา ลักษณะกายภาพของพื้นที่และลำน้ำ ตามระเบียบวิธีการดำเนินการของแบบจำลอง ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการคำนวณและสังเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้นำเข้าและปรับเทียบแบบจำลองในสภาพการไหลพื้นฐาน และทำการจำลองสภาพน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2562 จากการศึกษาพบว่า มีหลายมูลเหตุปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดอุทกภัย ได้แก่ ความต่อเนื่องของการเกิดพายุหลายลูกสะสมต่อเนื่องกันของลุ่มน้ำชีซึ่งอยู่ด้านเหนือน้ำก่อนที่จะไหลลงสู่พื้นที่ศึกษา รูปร่างและกายภาพขนาดหน้าตัดของลำน้ำมูลตลอดความยาว และการมีสันดอนเกาะแก่งที่กีดขวางการไหลออกของน้ำ และระดับของลำน้ำโขงที่อัดเอ่อเท้อกลับทางด้านท้ายน้ำเป็นต้น ระเบียบวิธีการจำลองสภาพเป็นการศึกษาการไหลแบบหนึ่งมิติ โดยข้อมูลนำเข้าประกอบด้วย ข้อมูลรูปตัดของลำน้ำจำนวน 65 หน้าตัด รวมระยะทางที่ศึกษาตามลำน้ำประมาณ 90 กิโลเมตร และแบบจำลองภูมิประเทศของลุ่มน้ำที่สร้างขึ้นมาจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยมีชลภาพอัตราการไหลที่สถานีเหนือน้ำ และชลภาพระดับน้ำที่สถานีท้ายน้ำของช่วงลำน้ำที่พิจารณาเป็นสภาพขอบเขตด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำตามลำดับ ใช้สมการที่อยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลกับขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำในการสังเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลบริเวณปากลำน้ำสาขาและใช้เป็นข้อมูลการไหลเข้าด้านข้างให้กับแบบจำลอง (Side flow) ผลการศึกษาที่ได้จากการจำลอง ทำให้ทราบถึงชลภาพระดับน้ำ และขอบเขตของพื้นที่น้ำท่วมซึ่งสามารถใช้เป็นตัวแทนการศึกษาสภาพน้ำท่วมในปี พ.ศ.2562 และแบบจำลองยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการลำน้ำมูลในช่วงพื้นที่ศึกษาได้เป็นอย่างดี&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp;</p> 2022-09-19T22:48:58+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1598 การประเมินฝนเรดาร์ด้วยเทคนิคเรดาร์คอมโพสิตระหว่างสถานีเรดาร์สัตหีบและเรดาร์ระยอง 2022-09-20T18:23:42+07:00 ภูรี อรุณศรี phureearo@gmail.com พรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม punpim.m@ku.th <p>การใช้ข้อมูลจากเรดาร์เพียงสถานีเดียวอาจนำไปสู่ความผิดพลาดในการประเมินฝนได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาประสิทธิภาพในการประเมินฝนด้วยเทคนิคเรดาร์คอมโพสิตระหว่างสถานีเรดาร์สัตหีบและเรดาร์ระยอง เทคนิคเรดาร์คอมโพสิต 4 วิธีได้แก่ วิธีค่าเฉลี่ย วิธีระยะห่างตามระยะทาง วิธีค่าสูงสุด และวิธีถ่วงน้ำหนักตามระยะทางถูกนำมาใช้ในการศึกษา ข้อมูลการสะท้อนกลับจาก 2 สถานีเรดาร์และข้อมูลน้ำฝนจากสถานีอัตโนมัติจำนวน 127 สถานี สำหรับ 26 เหตุการณ์น้ำฝนในปี พ.ศ. 2563 ได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ เมื่อพิจารณาข้อมูลน้ำฝนตลอดช่วง 26 เหตุการณ์ ผลการศึกษาพบว่าการใช้เทคนิคเรดาร์คอมโพสิตทุกวิธีให้ผลการจำลองฝนได้มีความถูกต้องสูงกว่าการวิเคราะห์จากเรดาร์สถานีเดียว โดยวิธีค่าเฉลี่ยให้ผลดีที่สุดใกล้เคียงกับวิธีถ่วงน้ำหนักตามระยะทางและวิธีระยะห่างตามระยะทาง ในขณะที่วิธีค่าสูงสุดให้ความถูกต้องน้อยที่สุด ความถูกต้องที่เพิ่มขึ้นเมื่อใช้วิธีค่าเฉลี่ยมีค่าสูงสุดประมาณ 11.4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการใช้ข้อมูลจากสถานีเรดาร์ระยอง แต่เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพของเทคนิคคอมโพสิตตามความเข้มฝน พบว่าวิธีค่าสูงสุดให้ความถูกต้องในการประเมินฝนที่เพิ่มขึ้นตามความเข้มฝนอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับสามวิธีที่เหลือ และสามารถเพิ่มความถูกต้องในการประเมินฝนปานกลางได้มากกว่าการใช้ข้อมูลเรดาร์ระยองอย่างมีนัยสำคัญถึง 28.42 เปอร์เซ็นต์</p> 2022-09-19T22:50:19+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1501 การพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อการทำนายระดับน้ำบาดาลในพื้นที่อ่อนไหว 2022-09-20T18:23:43+07:00 วิรัญจ์ จุลไกลวัลสุจริต pinit.ta@kmitl.ac.th ดร.พิณิช ธนชัยโชคศิริกุล pinit.ta@kmitl.ac.th อุมา สีบุญเรือง uma.se@kmitl.ac.th <p>การพัฒนาน้ำบาดาลมีประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม และด้านธุรกิจ การเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อนำมาใช้เป็นแหล่งน้ำดิบและการขุดเจาะบ่อสังเกตการณ์เพื่อตรวจสอบความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและคุณภาพของน้ำบาดาลจำเป็นต้องมีการลงทุนมหาศาล พื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัดและมีความอ่อนไหวสูงจะทำให้การพัฒนาบ่อบาดาลต้องมีการพิจารณาและวิเคราะห์ในหลากหลายมิติ ดังนั้นระบบโครงข่ายประสาทเทียมจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการตรวจสอบระดับน้ำบาดาล และวางบ่อบาดาลในตำแหน่งที่เหมาะสม ให้ได้น้ำบาดาลที่มีปริมาณมาก และมีคุณภาพที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ตัวแปรที่นำมาพิจารณาคือ ข้อมูลสำรวจทางภูมิประเทศ อุทกธรณีวิทยา สภาพแวดล้อม กฎหมายของน้ำบาดาล และมาตรฐานการขุดเจาะและสำรวจน้ำบาดาลในไทย นำเข้าสู่ระบบโครงข่ายประสาทเทียม แบบจำลองมีการปรับเทียบและสอบทานแบบจำลองจนได้ค่าสหสัมพันธ์ที่มีค่าสูงเพียงพอสำหรับการใช้ทำนายระดับน้ำบาดาล และตำแหน่งการวางบ่อบาดาลในตำแหน่งที่เหมาะสม สอดคล้องกับตัวแปรต้นที่นำมาพิจารณา ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจและเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำจืดจากน้ำผิวดิน หรือบริเวณที่อยู่ห่างไกลเขตชลประทาน</p> 2022-09-19T22:51:41+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1565 การปรับเทียบแบบจำลองอุทกวิทยา HEC-HMS โดยใช้ข้อมูลความชื้นดินจากดาวเทียม SMAP ในลุ่มน้ำลำปลายมาศ 2022-09-20T18:23:43+07:00 สรรธาร พชสิทธิ์ santhan.p@ku.th เอกสิทธ์ โฆสิตสกุลชัย fengesk@ku.ac.th <p>ความนี้นำเสนอการใช้ข้อมูลความชื้นดินจากดาวเทียม SMAP สำหรับกำหนดพารามิเตอร์ของแบบจำลองอุทกวิทยา HEC-HMS ในลุ่มน้ำที่มีข้อมูลการตรวจวัดน้ำท่าจำกัด โดยเลือกลุ่มน้ำลำปลายมาศเป็นพื้นที่ศึกษา ลำปลายมาศเป็นลำน้ำสาขาแม่น้ำมูล พื้นที่รับน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ มีขนาดประมาณ 4,900 ตร.กม. การศึกษาได้รวบรวมข้อมูลความชื้นดินของดาวเทียม SMAP ตั้งแต่เริ่มให้บริการข้อมูล (พ.ศ.2558) และข้อมูลตรวจวัดน้ำท่ารายวัน (สถานี M.185) ระหว่าง พ.ศ. 2558-2560 การจัดทำแบบจำลองแบบต่อเนื่องเลือกกระบวนวิธี Soil Moisture Accounting (SMA) ของ HEC-HMS การกำหนดค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลองได้พิจารณาสมบัติทางกายภาพและทางชลศาสตร์ที่สอดคล้องกับสภาพดินและการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นค่าเริ่มต้น และปรับพารามิเตอร์โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในดินของ HEC-HMS กับข้อมูลจากดาวเทียม SMAP จนสอดคล้องกัน พารามิเตอร์ของแบบจำลองที่พิจารณา ประกอบด้วย อัตราการซึมผ่านผิวดิน ปริมาณน้ำขังบนผิวดิน และปริมาณน้ำในดิน สมรรถนะของแบบจำลองเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลน้ำท่าตรวจวัดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ การใช้ข้อมูลความชื้นดินจากดาวเทียมสามารถนำไปใช้ประมาณค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลองอุทกวิทยาในลุ่มน้ำที่ไม่มีการตรวจวัดน้ำท่า</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-19T22:53:11+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1529 การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางอุทกวิทยา SWAT และข้อมูลฝนดาวเทียม GSMap เพื่อประเมินปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ไม่มีสถานีตรวจวัด : กรณีศึกษา ลุ่มน้ำลำพะเนียง 2022-09-20T18:23:44+07:00 จตุรงค์ ภาคสามศรี paksamsri.08566@gmail.com หริส ประสารฉ่ำ paksamsri.08566@gmail.com สุบรร ผลกะสิ paksamsri.08566@gmail.com <p>ปริมาณน้ำท่ามีความสัมพันธ์กับปริมาณฝนที่กระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ของลุ่มน้ำ ในขณะที่สถานีตรวจวัดน้ำท่าและปริมาณฝนในลุ่มน้ำระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีจำนวนน้อย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำของทั้งลุ่มน้ำ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำลำพะเนียงในพื้นที่ที่ไม่มีสถานีตรวจวัด โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT ร่วมกับข้อมูลฝนดาวเทียม GSMap ระหว่าง ค.ศ. 2010 - 2020 ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าด้วยแบบจำลอง SWAT บูรณาการร่วมกับข้อมูลฝนดาวเทียม GSMap จำนวน 55 จุด ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยผลที่ได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับสถานี E.64 และ E.68A แล้วนั้น มีความน่าเชื่อถือในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งชี้ได้จากค่าดัชนี R<sup>2</sup>&gt;0.6, NSE&gt;0.5 และ PBIAS±25% ตามลำดับ ส่งผลทำให้การจำลองปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ที่ไม่มีสถานีตรวจวัดสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและแสดงผลลัพธ์ปริมาณน้ำท่ารายลุ่มน้ำย่อยในรูปแบบของแผนที่เชิงพื้นที่ ผลของการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT&nbsp; บูรณาการร่วมกับข้อมูลฝนดาวเทียม GSMap สามารถนำมาใช้ประเมินปริมาณน้ำท่าของลุ่มน้ำที่ขาดแคลนสถานีตรวจวัดได้เป็นอย่างเหมาะสม โดยผลการวิเคราะห์นี้คาดว่าจะนำไปใช้สนับสนุนการวางแผนบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลการทบต่อการเกิดอุทกภัยหรือภัยแล้งในพื้นที่ได้</p> 2022-09-19T22:54:21+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1497 การศึกษาคุณภาพน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคของเกาะสีชัง ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ 2022-09-20T18:23:45+07:00 จุฑามาศ ศรีสุข 64601029@kmitl.ac.th อุมา สีบุญเรือง uma.se@kmitl.ac.th พิณิช ธนชัยโชคศิริกุล pinit.ta@kmitl.ac.th อุบะ ศิริแก้ว uba.si@kmitl.ac.th <p>ปัจจุบันเกาะขนาดกลางและขนาดเล็กกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดสำหรับอุปโภค บริโภค โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นเกาะท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แต่เกาะมีขนาดเล็ก เนื่องจากถูกจำกัดทางด้านคุณสมบัติทางกายภาพ ภูมิประเทศ และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลกระทบต่อคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะอย่างรุนแรงโดยเฉพาะฤดูแล้ง เกาะสีชังถูกเลือกนำมาพิจารณาเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ข้างต้นทุกปี พื้นที่เกาะสีชังมีบ่อน้ำธรรมชาติที่เกิดจากน้ำซับและน้ำผิวดิน การพิจารณาถึงคุณภาพน้ำใต้ดิน และผิวดิน ที่เป็นแหล่งน้ำจืด เพื่อการปรับปรุงคุณภาพที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการอุปโภค บริโภค จะช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้อุปโภค บริโภคของคนบนเกาะสีชัง ตามมาตรฐานน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย 2563 เพื่อใช้สำหรับการปรับปรุงคุณภาพน้ำผิวดินและจัดทำแผนที่คุณภาพน้ำ เพื่อเป็นแนวทางการประเมินคุณภาพน้ำใต้ดินสำหรับพื้นที่เกาะสีชัง การศึกษานี้มีข้อมูลนำเข้าประกอบด้วย แบบจำลองความสูงเชิงเลข ความลาดชัน เส้นทางน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และทำการสุ่มเก็บ ตัวอย่างน้ำจากอ่างเก็บน้ำ และบ่อน้ำ ที่คนในชุมชนใช้อุปโภค บริโภค จำนวน 9 จุด ครอบคลุมพื้นที่เกาะสีชัง แผนที่คุณภาพน้ำถูกการประมาณด้วยวิธี Inverse distance weighting method (IDW) และนำเสนอผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อพิจารณาคุณภาพน้ำตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำประปาดื่มได้ของกรมอนามัย 2563 พื้นที่เกาะสีชังมีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์อนุโลม สามารถนำไปใช้ในการอุปโภคบริโภคได้หากไม่มีแหล่งน้ำอื่น ๆ แต่ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการต้มเสียก่อน เนื่องจากมีพบ Coliform Bacteria และ เชื้อโรค E.coli. ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง อย่างไรก็ตาม บริเวณทิศใต้ของเกาะสีชัง ไม่มีบ้านเรือนปลูกสร้างบริเวณนั้น แต่เป็นพื้นที่บ่อขยะ ส่งผลให้คุณภาพน้ำถูกปนเปื้อนด้วยสารอันตรายหลายชนิด เช่น สารหนู และฟลูออไรด์ ไม่ควรใช้น้ำบริเวณนั้น</p> 2022-09-19T22:55:39+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1594 การประเมินประสิทธิภาพแบบจำลองอุทกวิทยา SWAT สำหรับการจำลองปริมาณน้ำท่า โดยใช้เทคนิคการการปรับเทียบและสอบทานแบบหลายสถานีในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล 2022-09-20T18:23:46+07:00 หริส ประสารฉ่ำ haris.pr@rmuti.ac.th วินัย เชาวน์วิวัฒน์ winai@hii.or.th สมพินิจ เหมืองทอง somphinith.mu@rmuti.ac.th กนกศรี ศรินนภากร kanoksri@hii.or.th สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร surajete@hii.or.th <p>การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางอุทกวิทยาถือได้ว่ามีความสำคัญในการประเมินสภาพทางอุทกวิทยาในระดับลุ่มน้ำ การกำหนดค่าแบบจำลองเพื่อให้ผลการวิเคราะห์มีความแม่นยำมากที่สุดจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการชี้วัดประสิทธิภาพของแบบจำลองอุทกวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งลุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่มีสถานีตรวจวัดหลายสถานี การศึกษานี้มีเป้าหมายคือการนำเสนอเทคนิคการปรับเทียบและสอบทานผลการจำลองสภาพน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ด้วยแบบจำลองทางอุทกวิทยา SWAT และ SWAT-CUP โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัดจำนวน 29 สถานี ระหว่าง พ.ศ.2534-2563 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การใช้เทคนิคการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนหลัก (ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ) และการกำหนดจุดออกของลุ่มน้ำย่อย ณ ตำแหน่งสถานีตรวจวัดสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ หลังจากปรับแต่งค่าของตัวแปรความอ่อนไหวจำนวน 8 ตัวแปรใน SWAT-CUP ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อกำหนดค่าที่เหมาะสมของแบบจำลองโดยชี้ให้เห็นได้จากค่าดัชนี R2 ของตำแหน่งที่เปรียบเทียบโดยส่วนใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลทั้ง 29 จุด อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ อย่างไรก็ตาม การปรับแต่งให้ผลคำนวณได้รับค่าดัชนี NS และ PBIAS ให้อยู่ในระดับที่ผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ยังมีความจำเป็นที่ต้องค้นหาวิธีดำเนินการที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ด้วย SWAT-CUP เทคนิคและรูปแบบของการปรับเทียบและสอบทานแบบจำลองทางอุทกวิทยา SWAT ที่ได้นำเสนอในการศึกษานี้คาดว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการจำลองสภาพอุทกวิทยาสำหรับลุ่มน้ำที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และมีสถานีตรวจวัดที่เพียงพอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันถึงการพัฒนาเครื่องมือให้มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพเป็นที่น่าเชื่อถือและก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน</p> 2022-09-19T22:56:58+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1612 Unconfined Groundwater Storage Change over the Greater Chao Phraya River Basin 2022-09-20T18:23:46+07:00 Phanith Kruy phanith.kruy@gmail.com Piyatida Ruangrassamee Piyatida.H@chula.ac.th <p>Groundwater monitoring network is essential to monitor groundwater levels and usage, however, it requires relatively high capital and human resources. Advanced land surface modeling and data assimilation techniques using ground based observations and satellite products provide complementary information concerning space and time for groundwater change Global Land Data Assimilation System version 2.2 (GLDA-v2.2) provides daily groundwater storage (GWS) products from 2003 to present for unconfined aquifers. This study aims to analyze monthly groundwater storage change over the Greater Chao Phraya River basin between 2009 to 2018 using data from the monitoring wells with their screen depth less than 30 meters for validation. The Mann-Kendall test was used to analyze GWS trends. Based on the GWS from GLDAS-v2.2 the GWS in the transition zone from the upper to the lower part of the Greater Chao Phraya River basin (around Kamphaeng Phet, Phichit, Sukhothai, and Nakhon Sawan provinces) is lower compared to the GWS in the northern part of the Greater Chao Phraya River basin. The estimated GWS from the observed water table level is based on the water table fluctuation (WTF) method (GWS<sub>WTF</sub>). The correlation coefficient between GWS<sub>GLDAS</sub> and GWS<sub>WTF</sub> is greater than 0.7. Overall, GWS<sub>GLDAS</sub> is underestimated compared to GWS<sub>WTF</sub>. According to the Mann-Kendall Test, the groundwater storage has significant change (p &lt; 0.05) in most of the Greater Chao Phraya River basin except during the transition period (TS). The GWS in the northern part of the Greater Chao Phraya River basin around Chiang Mai, Lamphun, Lampang, Phrae, and Phayao provinces shows higher depletion compared to the lower part of the Greater Chao Phraya River basin. For seasonal change, the highest depletion occurred during the southwest monsoon (SW) with the depletion rate of 3.4 mm/month, followed by depletion during Northeast monsoon (NE) which is 3.0 mm/month. For the transition period (TS), the depletion rate is 2.5 mm/month. The analysis of monthly data shows that the highest annual GWS depletion is 1.2 mm/month. The increasing trend occurred around Samut Sakhon, Bangkok, Pathum Thani, and Nakhon Nayok provinces. The rate of increasing trend in those provinces is up to 0.50 mm/month.</p> 2022-09-19T22:58:54+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1336 ประสิทธิภาพการระบายทรายของประตูระบายทรายในสภาวะที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของตะกอนท้องน้ำ 2022-09-20T18:23:47+07:00 เบญญา สุนทรานนท์ benya.eng.cmu@gmail.com พงศ์พันธุ์ กาญจนการุณ pongpank@gmail.com สุรชัย อำนวยพรเลิศ aretomrit@gmail.com ฑิฐิกรณ์ สาใจ titikornsajai@gmail.com ธนวัฒน์ จันทร์แก้ว 098tanawat@gmail.com วิชญาภา บุญประเสริฐ Wioh3004@gmail.com <p>ระดับการเปิดบานประตูระบายทรายเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญสำหรับการระบายทรายที่ทับถมออกภายใต้อัตราการไหลที่เหมาะสม บทความนี้นำเสนอการหาประสิทธิภาพการระบายทรายโดยการเปิดบานประตูที่ระดับแตกต่างกันในสภาวะไม่มีการเคลื่อนที่ของตะกอนท้องน้ำ ประสิทธิภาพการระบายทรายหาได้จากการทดสอบในแบบจำลองทางกายภาพของฝายโอกี้และบานประตูระบายแบบบานตรงหนึ่งบานซึ่งมีความกว้างและสูง 0.18 x 0.18 ตร.ม. ความลึกทับถมของตะกอนทรายในการทดลองถูกกำหนดไว้ที่ความลึก 22%, 33%, 66%, และ 100% ของความสูงบานประตู บานประตูจะถูกเปิดที่ระดับ 20%-100% เพื่อใช้ในการระบาย ตะกอนที่ใช้ทดสอบมีขนาด 0.85-2.00 มม. และ เท่ากับ 1.5 มม. ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบประกอบด้วย ระยะการกัดเซาะสูงสุดจากหน้าบานประตู ระยะการกัดเซาะสูงสุดด้านข้างบานประตูและปริมาตรทรายที่ถูกระบายออก ผลการทดสอบแสดงว่าระดับการยกบานประตูที่ 60% ถึง 100% มีระยะของการกัดเซาะสูงสุดด้านข้างและจากหน้าบานประตูเป็น 1 และ 2 เท่า ของความกว้างบานประตูตามลำดับ ตะกอนทราย 3%-34% ของปริมาตรทรายทั้งหมดได้ถูกระบายจากปริมาตรทรายที่ทับถม 22% ถึง 100% ของความสูงประตูระบายทราย ค่าระดับการเปิดประตูที่ดีที่สุดคือ 60% ของความสูงประตูระบายทรายซึ่งให้ปริมาตรการระบายทรายใกล้เคียงกับการเปิดประตูที่ 80% และ 100% ดังนั้นการเปิดบานประตูที่ 60% จะช่วยระบายตะกอนได้มากในขณะที่ยังคงสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งได้มากขึ้นอีกด้วย</p> 2022-09-19T23:00:25+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1473 การจำลองแผนที่น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ด้วยแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก (RRI model) ที่คาบการเกิดซ้ำต่างกันของลุ่มน้ำ 2022-09-20T18:23:48+07:00 ชิดสุมน ศศิรัตน์ chidsumons@gmail.com อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ Anurak.S@chula.ac.th บุญโฮม กิมมณี chidsumons@gmail.com <p>ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นลุ่มน้ำสำคัญที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งใจกลางของประเทศไทย ลุ่มน้ำแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญต่อโครงสร้างทางเศรษฐศาสตร์ การคมนาคม และการดำเนินชีวิตของประชาชนในประเทศ แต่ในพื้นที่นี้กลับได้รับผลกระทบของเหตุการณ์อุทกภัยมาเป็นเวลานานเช่น เหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ซึ่งสร้างความเสียโอกาสในเชิงเศรษฐกิจและหยุดชะงักการพัฒนาของประเทศ โดยในการศึกษานี้จะทำการสร้างแผนที่ความเสียหายน้ำท่วมของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ด้วยแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก (RRI model) ซึ่งเป็นแบบจำลองสองมิติทางอุทกศาสตร์แบบกระจายพื้นที่ ที่มีความสามารถในการจำลองการไหลของน้ำในแม่น้ำและระดับความลึกน้ำท่วม จากนั้นจึงสร้างแผนที่ระดับน้ำท่วมสูงสุดโดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ArcGIS โดยวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝนสถานีที่จำลองคาบการเกิดซ้ำในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้แก่ ที่คาบการเกิดซ้ำที่ 50,100 และ 200 ปี โดยหวังว่าผลการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อไป อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการวางแผนจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา</p> 2022-09-19T23:01:32+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1682 การประเมินความผันแปรของประสิทธิภาพการไหลของน้ำท่าผิวดินในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้แบบจำลอง SWAT ในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย 2022-09-20T18:23:49+07:00 โยธี พิมพ์พุฒ myothee65@gmail.com หริส ประสารฉ่ำ myothee65@gmail.com <p>ท่วมฉับพลันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยครั้งในฤดูน้ำหลาก ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเขตที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมในที่ราบ โดยมีสาเหตุจากฝนตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักคือการประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT เพื่อประเมินความผันแปรของประสิทธิภาพการไหลของปริมาณน้ำท่าผิวดินในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย (ลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยเปรียบเทียบปริมาณน้ำท่าใน 3 ช่วงเวลา ที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันคือ พ.ศ.2545 พ.ศ.2554 และ พ.ศ.2560 ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เทียบกับปี พ.ศ.2552 ซึ่งเป็นปีที่มีค่าเฉลี่ยปกติ ผลการศึกษาพบว่าการจำลองสภาพน้ำท่าระดับรายวันที่ได้จาก SWAT เปรียบเทียบกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัด KH.58A ในปี พ.ศ.2552 มีความน่าเชื่อถือ โดยแสดงจากค่า R<sup>2 </sup>NSE และ PBIAS อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเปรียบเทียบจาก 3 ช่วงเวลา พบว่ามีการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนเมือง สวนอ้อย และสวนยางพารา โดยเฉพาะสวนยางพาราเพิ่มสูงขึ้นแทนที่พื้นที่เกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำท่าผิวดินในช่วงฤดูฝนมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่ 30% ขึ้นไป โดยสัมพันธ์กับค่า CN2 ที่แสดงค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยที่เป็นจุดรวมปริมาณน้ำท่าจากลำน้ำย่อยและมีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่ชุมชน ผลที่ได้จากการศึกษาจึงคาดว่าจะนำไปประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรน้ำสำหรับประชาชนและหน่วยงานของรัฐ เมื่อเผชิญกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอุทกวิทยาแบบฉับพลันโดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลาก</p> 2022-09-19T23:02:54+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1592 การประเมินระดับความแล้งทางอุทกวิทยาในพื้นที่ลุ่มน้ำอูน โดยใช้ค่าดัชนีความแล้งของน้ำท่า 2022-09-20T18:23:50+07:00 นายโกวิท บุญรอด kowit.bo@rmuti.ac.th จิรวัฒน์ ศุภโกศล kowit.bo@rmuti.ac.th ปริญญา ผาใต้ kowit.bo@rmuti.ac.th <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 14.2pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">ภัยแล้งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ปริมาณน้ำท่าที่ใช้การได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำ มีค่าแสดงแนวโน้มที่ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานและกระทบต่อการจัดการทรัพยากรน้ำของอ่างเก็บน้ำ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้มุ่งหมายเป้าถึงการเกิดภัยแล้งทางอุทกวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำท่าโดยใช้ดัชนีความแล้งของน้ำท่า (</span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Streamflow Drought Index, SDI) <span lang="TH">ของอ่างเก็บน้ำลำน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ค่า </span>SDI <span lang="TH">ใช้การพิจารณาคำนวณตามช่วงคาบ 3</span>, <span lang="TH">6</span>, <span lang="TH">และ 9 เดือน โดยเปรียบเทียบพื้นที่ต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำและพื้นที่ปลายน้ำของอ่างเก็บน้ำกับการควบคุมการจัดสรรน้ำ ผลการวิเคราะห์ความแห้งแล้งทางอุทกวิทยาโดยใช้ </span>SDI <span lang="TH">ในทั้งสองพื้นที่มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ที่สถานีตรวจวัดที่อ่างเก็บน้ำอูน และสถานีวัดน้ำท่า </span>KH<span lang="TH">108</span>, KH<span lang="TH">54 จำนวนเดือนของปรากฏการณ์ภัยแล้งสูง ณ สถานีวัดน้ำท่า </span>KH<span lang="TH">108 อยู่ระหว่าง 55.32% -65.91% ของช่วงคาบ 6 เดือน ค่า </span>SDI <span lang="TH">ส่วนใหญ่แสดงเป็นภัยแล้งไม่รุนแรง อยู่ระหว่าง 41.49%-53.41 % นอกจากนี้ </span>SDI <span lang="TH">ที่บริเวณกลางลุ่มน้ำมีโอกาสเกิดภัยแล้งมากกว่าพื้นที่ต้นน้ำและปลายน้ำ จากการจัดการอ่างเก็บน้ำ วิธีการและผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษานี้คาดว่าจะใช้เป็นข้อมูลสถิติสำหรับการตัดสินใจในการวางแผนบรรเทาภัยแล้งในช่วงระยะเวลาที่เกิดซ้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ</span></span></p> 2022-09-19T23:06:41+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1672 การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย กรณีศึกษาลุ่มน้ำโกลก จังหวัดนราธิวาส 2022-09-20T18:23:50+07:00 วนัชพร แมงสาโมง wannachaporn.m@pnu.ac.th อิลยาส มามะ wannachaporn.m@pnu.ac.th นาซือเราะ เจ๊ะดอเล๊าะ wannachaporn.m@pnu.ac.th <p>การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ร่วมกับกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ลุ่มน้ำโกลก จังหวัดนราธิวาส โดยพิจารณาจากปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดิน และกลุ่มชุดดิน โดยจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ เสี่ยงน้ำท่วมต่ำที่สุด เสี่ยงน้ำท่วมต่ำ เสี่ยงน้ำท่วมปานกลาง เสี่ยงน้ำท่วมสูง และเสี่ยงน้ำท่วมสูงมาก จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในลุ่มน้ำโกลก เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูง คิดเป็นร้อยละ 35 ของ พื้นที่ทั้งหมด อีกทั้งร้อยละ 76 ของพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูงเป็นบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่เกษตรกรรม และเป็นกลุ่มชุดดินที่มีลักษณะการระบายน้ำค่อนข้างเลว จากการตรวจสอบข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมจริงบริเวณลุ่มน้ำโกลกจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พบว่าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูงจากกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) นั้นตรงกับพื้นที่น้ำท่วมสูงจริงจาก GISTDA อยู่ที่ 41.37 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 92.16 ของพื้นที่น้ำท่วมสูงจริง</p> 2022-09-19T23:08:16+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1681 A Study of the Solitary Wave Energy Attenuation through Pervious Concrete Breakwater 2022-09-20T18:23:51+07:00 Teerathamrong Sukcharoen junior__1997@hotmail.co.th Duangrudee Kositgittiwong duangrudee.kos@kmutt.ac.th Chaiwat Ekkawatpanit chaiwat.ekk@kmutt.ac.th Nophasit Phakdeewiriyateerakul nophasit.phak@kmutt.ac.th <p>Coastal erosion is a primary problem for coastal communities worldwide. Furthermore, the climate change impact and the resulting sea-level rise have reduced the sediment transportation along the coast, deteriorated infrastructure, and the natural coastal environment. These significant concerns lead to extensive innovations in coastal protection. Breakwaters are coastal structures typically applied for shorelines protection and sheltering harbours by providing wave energy attenuation and reflecting amounts of wave currents. In the present study, pervious concrete is utilised as a permeable breakwater considering the influence of permeability introduced to deliver the ecological friendliness defence for shorelines. A physical experimental model evaluated four models of structures that differed in porosity (15%, 20%, 25% and 30%) to study and analyse the performance of pervious concrete breakwater over the solitary wave impact. Subsequently, the hydrodynamic scattering coefficient (i.e., reflection, transmission, and dissipation coefficient) is analysed by considering changes in physical parameters such as the relative water depth and the wave period. In addition, the physical properties (i.e., void ratio test and permeability test) were also investigated. The experiments were conducted in the open channel flume (12 m. long, 0.6 m. wide, and 0.8 m. high) at KMUTT. The results were analysed and indicate that the introduction of pervious concrete breakwater improves wave transmission, reflection, and wave dissipation performance. As a result, a pervious concrete breakwater is a feasible alternative for a prospective coastal protection structure.</p> 2022-09-19T23:09:36+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1539 การวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าด้วยแบบจำลอง SWAT เพื่อประเมินสภาพความปลอดภัยของเขื่อน: กรณีศึกษา อ่างเก็บน้ำลำคันฉู จังหวัดชัยภูมิ 2022-09-20T18:23:51+07:00 พิษณุ ศรีศุภอรรถ phitsanue56s@gmail.com หริส ประสารฉ่ำ phitsanue56s@gmail.com <p>ปริมาณน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำในช่วงที่เกิดพายุรุนแรง มีโอกาสส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยของอ่างเก็บน้ำที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการพิจารณาปริมาณน้ำใต้ดินบริเวณโครงสร้างสันเขื่อน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณน้ำท่าไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำคันฉู ซึ่งตั้งอยู่ในลุ่มน้ำชี ระหว่าง พ.ศ. 2561-2563 ซึ่งครอบคลุมช่วงพายุโนอึล โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT จำลองสภาพน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเทียบกับข้อมูลปริมาณน้ำท่าที่บันทึกจากอ่างเก็บน้ำ และนำผลการวิเคราะห์ปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ใต้ผิวดินเปรียบเทียบกับผลการตรวจวัดบริเวณสันเขื่อน ผลการศึกษาพบว่า การปรับเทียบและสอบเทียบความแม่นยำของแบบจำลองแสดงค่าดัชนี R2 เท่ากับ 0.74 และ NSE เท่ากับ 0.72 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เมื่อนำผลลัพธ์ที่ได้เข้าแบบจำลอง SWAT-Check ประเมินปริมาณน้ำใต้ดิน โดยหาความสัมพันธ์กับค่าระดับน้ำใต้ดินที่อ่านได้จากเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อนบ่อวัดระดับน้ำใต้ดิน โดยแสดงค่าดัชนี R2 เท่ากับ 0.51 ซึ่งแสดงถึงนัยยะสำคัญว่าปริมาณน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำส่งผลต่อปริมาณน้ำใต้ดินที่กระทำต่อบริเวณสันเขื่อน วิธีการและผลการศึกษานี้จึงคาดว่าเป็นแนวทางในการนำ SWAT และ SWAT-Check เพื่อใช้วิเคราะห์ในการหาค่าน้ำใต้ดินในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ได้ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อนเพื่อวัตถุประสงค์ในการประเมินสภาพความปลอดภัยของเขื่อน</p> 2022-09-19T23:11:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1358 การจำลองปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำลำเชียงไกรโดยใช้แบบจำลอง SWAT 2022-09-20T18:23:52+07:00 กฤต มิ่งขวัญ krit0850129287@gmail.com หริส ประสารฉ่ำ krit0850129287@gmail.com สมพินิจ เหมืองทอง somphinith.mu@rmuti.ac.th <p>อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรเกิดทำนบดินทรุดตัวอาจเนื่องจากสภาพอุทกวิทยาที่เปลี่ยนแปลงไปจากการออกแบบ ประกอบกับต้องรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกต่อเนื่องจากพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมหนักรุนแรงในลุ่มน้ำลำเชียงไกรปี พ.ศ.2564 ทั้งนี้การจำลองเพื่อเรียนรู้สภาพอุทกวิทยาเป็นอีกวิธีหนึ่งในการช่วยวางแผนจัดการอ่างเก็บน้ำ การศึกษาครั้งนี้ได้จำลองน้ำท่าเข้าสู่อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรด้วย SWAT model ร่วมกับการวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าสูงสุดที่คาบการเกิดซ้ำต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า SWAT model ให้ผลการจำลองน้ำท่าที่ค่าความสัมพันธ์ R<sup>2</sup> = 0.72 และ NSE = 0.71 เมื่อเทียบกับข้อมูลน้ำท่าของอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ส่วนผลการศึกษาน้ำท่าสูงสุดใช้การแจกแจงล๊อกเพียร์ซันประเภทสามเพื่อการประมาณปริมาณน้ำท่าเข้าอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรที่คาบการเกิดซ้ำ 25, 50 และ 100 ปี ซึ่งผลจากการศึกษานี้สามารถเสนอแนะแนวทางการป้องกันการทรุดตัวของทำนบดินและเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรในอนาคตต่อไป</p> 2022-09-19T23:12:46+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1530 การหาค่าการซึมได้ของน้ำในพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพด้วยอุปกรณ์วัดอัตราการซึมน้ำแบบถังกลมคู่ 2022-09-20T18:23:53+07:00 ณัฐพล นุตระ Natthaphon_nuttara@cmu.ac.th จุฬาลักษณ์ วณิชยาไพสิฐ chulalux.w@cmu.ac.th ดำรงศักดิ์ ิรินชุมภู natthaphon_nuttara@cmu.ac.th พีรวัฒน์ ปลาเงิน natthaphon_nuttara@cmu.ac.th ชูโชค อายุพงศ์ cendru1@gmail.com <p>การพัฒนาที่ดินที่เพิ่มมากขึ้นทำให้พื้นผิวพรุนน้ำตามธรรมชาติลดลงส่งผลต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วมขังหรือน้ำไหลนองในพื้นที่เขตเมืองเกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการออกแบบพื้นที่ว่างเพื่อเพิ่มศักยภาพในการลดการไหลนอง โดยการเพิ่มการซึมได้ของน้ำลงไปในชั้นดิน พื้นที่ลักษณะนี้จะเรียกว่าพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพ อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถวัดค่าความสามารถในการซึมได้ของพื้นที่ดังกล่าวจึงมีความจำเป็นจะต้องหาวิธีการทดลองในสนาม ซึ่งจากการสืบค้นเบื้องต้นพบว่าเคยมีการประยุกต์ใช้อุปกรณ์วัดอัตราการซึมน้ำแบบถังกลมคู่เพื่อวัดการซึมได้ของดินทางการเกษตร ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นการทดลองใช้อุปกรณ์วัดอัตราการซึมน้ำแบบถังกลมคู่มาทดสอบความสามารถในการรองรับน้ำฝนของพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพในภาคสนาม โดยผลการศึกษาพบว่าจากการเก็บข้อมูลอัตราการซึมพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ทั้งสิ้น 4 ครั้งแตกต่างกันใน 4 เดือน ได้แก่เดือน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคมเละกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลตามความสะดวกแบบสุ่ม จากการศึกษาพบว่า ได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม คือเดือนตุลาคมและเดือนกุมภาพันธ์มีค่าเฉลี่ยของอัตราการซึมอยู่ที่ 8.00 มิลลิเมตรต่อชั่วโมงมีพฤติกรรมเหมือนดินทรายและกลุ่มที่ 2 คือเดือนพฤศจิกายนเละเดือนธันวาคมมีค่าเฉลี่ยของอัตราการซึมอยู่ที่ 30.6 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง มีพฤติกรรมเหมือนดินร่วนปนดินเหนียว ผลการศึกษาในครั้งนี้นอกจากสามารถคำนวณค่าอัตราการซึมได้แล้วยังพิสูจน์ว่าสามารถใช้อุปกรณ์วัดอัตราการซึมน้ำแบบถังกลมคู่มาประยุกต์ใช้ในการหาประสิทธิภาพของการออกแบบพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพได้ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการสนับสนุนการออกแบบพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพเพื่อช่วยลดปัญหาการเกิดน้ำท่วมในเขตเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> 2022-09-19T23:14:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1458 การศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชุดดินเกาะสีชังสำหรับแบบจำลอง SWAT 2022-09-20T18:23:53+07:00 วิธวินท์ ห.เพียรเจริญ 64601128@kmitl.ac.th อุมา สีบุญเรือง uma.se@kmitl.ac.th อุบะ ศิริแก้ว uba.si@kmitl.ac.th ธนกร ภู่สุวรรณ์ newphusuwan@gmail.com พิณิช ธนชัยโชคศิริกุล pinit.mp3@gmail.com <p class="Contentnew" style="margin-right: 0in;"><span lang="TH" style="letter-spacing: -.3pt;">เกาะสีชังเป็นเกาะท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แต่ด้วยขนาดพื้นที่ที่มีขนาดเล็กเพียง </span><span style="letter-spacing: -.3pt;">4<span lang="TH"> ตารางกิโลเมตร และด้วยสภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นชั้นหินปูนและหินดินดาน ทำให้ช่วงฤดูฝนมีปริมาณฝนมาก เกิดน้ำท่าในปริมาณมาก แต่ในช่วงแล้งกลับประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด ทางชุมชนจึงต้องซื้อน้ำจาก อ.ศรีราชา ซึ่งมีราคาแพงมาบริโภค เสียโอกาสทางเศรษฐกิจและส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน แหล่งน้ำบาดาลที่ค้นพบยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ เนื่องจากเป็นชั้นน้ำบาดาลในหินผุ แนวทางการแก้ปัญหาจึงจำเป็นต้องกักเก็บน้ำท่าผิวดินที่มีปริมาณมากในฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง ดังนั้นการประเมินศักยภาพน้ำท่าผิวดินบนเกาะขนาดเล็กจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำเร่งด่วน ปัจจุบันระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ </span>(Geographic Information System: GIS) <span lang="TH">มีเครื่องมือเสริมเพื่อจำลองปริมาณน้ำท่าผิวดิน ชื่อว่า แบบจำลองวัฏจักรทางอุทกวิทยา (</span>Soil and Water Assessment Tool: SWAT)<span lang="TH"> ช่วยคำนวณกระบวนการย่อยของวัฏจักรอุทกวิทยา แต่จำเป็นต้องทราบพารามิเตอร์จำนวนมาก เช่น คุณสมบัติของดินมีผลต่อปริมาณน้ำท่าผิวดิน เป็นต้น การประเมินปริมาณน้ำท่าที่แม่นยำจำเป็นต้องมีตัวแปรตั้งต้นที่ถูกต้อง สำหรับพารามิเตอร์ดินของเกาะสีชัง ยังไม่มีผลการสำรวจชุดดินที่เผยแพร่ในวงกว้างและฐานข้อมูลดินของ </span>QSWAT<span lang="TH"> ไม่ครอบคลุมพื้นที่เกาะสีชัง งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการสร้างแผนที่ชุดดิน (</span>Soil Map<span lang="TH">) ในพื้นที่เกาะสีชังเพื่อใช้เป็นค่าตั้งต้นในการจำลองปริมาณน้ำท่าผิวดินโดยรวบรวมข้อมูลดิน ร่วมกับการทดสอบตัวอย่างดินจำนวน 1</span>4<span lang="TH"> ตำแหน่งแบ่งขอบเขตอิทธิพลของดินแต่ละตัวอย่างด้วย </span>Thiessen Polygon <span lang="TH">ผลการศึกษาพบว่าดินบนเกาะสีชังส่วนใหญ่จำแนกได้เป็นดินทรายปนดินเหนียว จัดกลุ่มดินทางอุทกวิทยาได้กลุ่ม </span>C<span lang="TH"> และ </span>D <span lang="TH">ค่าการซึมได้ในสภาพอิ่มตัวต่ำ มีศักยภาพน้ำท่าผิวดินสูง</span></span></p> 2022-09-19T23:15:14+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1428 การเตือนภัยน้ำหลากด้วยวิธีดัชนีน้ำฝนในลุ่มน้ำห้วยชะโนด 2022-09-20T18:23:54+07:00 อนันต์ นนท์ศิริ nanoon45@hotmail.com วชิรกรณ์ เสนาวัง nanoon45@gmail.com ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์ fengcpth@ku.ac.th ทิพาภรณ์ หอมดี tipaporn@npu.ac.th <p>ลุ่มน้ำห้วยชะโนดตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลำห้วยชะโนดเป็นลำน้ำสายหลักซึ่งมีความลาดชันลำน้ำค่อนข้างสูงในช่วงต้นน้ำและความลาดชันลดลงก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ณ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ลักษณะการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยชะโนดจึงเป็นลักษณะน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ต้นน้ำและเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น โดยมีพื้นที่บ้านแดนสวรรค์ &nbsp;&nbsp;ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมและบริเวณใกล้เคียงเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำห้วยชะโนดซึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัยบ่อยครั้ง จากเหตุการณ์อุทกภัยในอดีตพบว่าเกิดความเสียหายจากน้ำท่วมอย่างสูงเนื่องจากไม่สามารถเตือนภัยและอพยพไม่ทัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการเตือนภัยน้ำหลากโดยใช้ค่าดัชนีน้ำฝน (Antecedent Precipitation Index, API) ซึ่งเป็นค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดปริมาณความชื้นในดินสะสม เป็นผลที่เกิดจากการสะสมของปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา หากค่าดัชนีน้ำฝน (API) มีค่าสูงขึ้น โอกาสการเกิดอุทกภัยจะสูงขึ้นด้วย ในการศึกษาครั้งนี้ได้คำนวณฝนสะสมรายวันแล้วแปลงให้อยู่ในรูปของค่าดัชนีน้ำฝน โดยใช้ข้อมูลน้ำฝนรายวันจากสถานีวัดน้ำฝนจำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานีวัดน้ำฝน 240220 ช่วงปี พ.ศ.2541 ถึง พ.ศ.2561 มาทำการคำนวณเพื่อใช้สำหรับการเตือนภัยน้ำหลาก เละใช้สถานีวัดน้ำบ้านคอนสวรรค์ Kh.91 เป็นสถานีพยากรณ์ จากการศึกษาพบว่าเมื่อมีปริมาณฝนตกในลุ่มน้ำห้วยชะโนดเหนือสถานีวัดน้ำบ้านคอนสวรรค์ Kh.91 ฝนตกติดต่อกัน 3 วัน มากกว่า 150 มม. และค่าดัชนีน้ำฝน (API) มีค่าเท่ากับ 150 มม. จะทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่บ้านแดนสวรรค์ ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการเตือนภัยน้ำหลากเข้าเขตพื้นที่บ้านแดนสวรรค์ได้</p> 2022-09-19T23:16:24+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1824 การพัฒนาฐานข้อมูลดินประเทศไทยสำหรับแบบจำลอง SWAT 2022-09-20T18:23:55+07:00 ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ piyawat@rmutl.ac.th พีรวัฒน์ ปลาเงิน phee2010@gmail.com ณัฐพงศ์ ผัดแก้ว natthaphong.cokay@gmail.com นุชฎาภรณ์ ณ เชียงใหม่ Nootchadaphorn_na55@hotmail.com สิทธิชัย แหล่งป่าหมุ้น Sittichai.la55@gmail.com <p>การศึกษานี้เป็นการจัดทำฐานข้อมูลดินที่สำรวจในประเทศไทย สำหรับแบบจำลอง SWAT โดยใช้ลุ่มน้ำแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน จ.อุดรธานี เป็นพื้นที่ทดสอบ โดยเลือกฐานข้อมูลคุณสมบัติดินจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มาทำการเปรียบเทียบผลการคำนวณปริมาณน้ำท่ารายวันและรายเดือน เพื่อทดสอบความน่าเชื่อถือของฐานข้อมูลดินไทยที่ได้จัดทำขึ้น ผลการทดสอบพบว่า การใช้ฐานข้อมูลดินไทยและ FAO ให้รูปแบบกราฟน้ำท่ามีความใกล้เคียงกัน โดยการใช้คุณสมบัติดินจาก FAO ให้ผลการคำนวณที่ถูกต้องน่าเชื่อถือกว่าดินไทยเล็กน้อย เนื่องจากคุณสมบัติดินไทยบางตัวแปรไม่มีการจัดเก็บ จึงต้องทำการประมาณค่าโดยใช้ความสัมพันธ์กับตัวแปรพื้นฐานอื่นๆ แทน อีกทั้งในบริเวณพื้นที่ลาดชันมาก ยังไม่มีการสำรวจข้อมูล จึงต้องใช้คุณสมบัติดินในบริเวณใกล้เคียงแทน ดังนั้นหากมีการทดสอบคุณสมบัติดินเพิ่มเติมและสำรวจข้อมูลในพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก ก็จะทำให้การใช้ฐานข้อมูลดินในประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยฐานข้อมูลดินไทยที่จัดทำขึ้น ได้เผยแพร่ออนไลน์ จัดเก็บในรูปแบบไฟล์ Microsoft Excel ชื่อ ThaiSoilSeriesSWAT.xlsx เพื่อให้ผู้ใช้แบบจำลอง SWAT สามารถดาวน์โหลดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างรวดเร็วจาก&nbsp; https://engineering.rmutl.ac.th/civil/page/swat-thai-database/</p> 2022-09-19T23:17:31+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1684 The Estimation of Sediment Dynamics in Mae Chaem River Basin Using SWAT Model 2022-09-20T18:23:56+07:00 Prangtip Triritthiwittaya prangtip.t@mail.kmutt.ac.th Chaiwat Ekkawatpanit chaiwat.ekk@kmutt.ac.th Duangrudee Kositgittiwong duangrudee.kos@kmutt.ac.th Wongnarin Kompor prangtip.t@mail.kmutt.ac.th <p>Natural erosion and deposition of sediment along the Mae Chaem River bank area caused by the fluctuated stream flowing through channel segments. The effect of rainfall on soil particles, particularly during the rainy season, causes the soil surface to be washed and moved down the river. Furthermore, sediment transport can destabilize river banks and have an impact on ecosystems, people' livelihoods, and land use management along riversides. As a result, the objective of this study is to assess the daily flow and sediment transport of the Mae Chaem Basin from 2004 to 2013 using the Soil Water Assessment Tool (SWAT) model. Furthermore, utilizing the Sequential Uncertainty Fitting 2 (SUFI-2) technique, the SWAT-CUP program was used to emphasize the sensitivity of parameters in a hydrological model. The discharge of model results was calibrated using station 061302 as the inlet and stations P.14 and P.14A as the outlets, with stations 061302 and P.14 also serving as sediment measuring stations. The statistical values of the Coefficient of determination (R<sup>2</sup>) and the Nash–Sutcliffe model efficiency coefficient (NSE) were in range of 0.82 to 0.46 for calibration and validation periods of sediment evaluation. Furthermore, sediment load simulation revealed that the majority of sediment deposition occurred in the middle of Mae Chaem District, whereas bank erosion was intensely formed downstream, covering the area of Kong Khaek Sub-district, Mae Chaem District, and Bo Luang Sub-district, Hot District, Chiang Mai province.</p> 2022-09-19T23:18:48+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1431 การสร้างและทดสอบระบบการเติมน้ำใต้ดินผ่านสระพื้นที่ตำบลรามราช จังหวัดนครพนม กรณีศึกษา : การคำนวณการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำในพื้นที่ 2022-09-20T18:23:57+07:00 ทิพาภร หอมดี tipaporn@npu.ac.th วชิรกรณ์ เสนาวัง nanoon45@gmail.com วราเดช แสงบุญ waradeathsanboom@hotmail.com <p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยที่เป็นส่วนย่อยจากงานวิจัยหลักโครงการการสร้างและทดสอบระบบการเติมน้ำใต้ดินผ่านสระพื้นที่ตำบลรามราช จังหวัดนครพนม โดยมุ่งเน้นเฉพาะการศึกษาการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ (Recharge) เพื่อหาความสามารถในการเก็บกักน้ำชั้นใต้ดินในการสร้างและทดสอบระบบการเติมน้ำใต้ดินผ่านสระพื้นที่ตำบลรามราช จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 0.31 ตารางเมตร การทดสอบอัตราการซึมผ่านผิวดิน ด้วยวิธีการทดสอบแบบ double ring test โดยใช้สมการของ Horton (Horton, 1841) พบว่า มีอัตราการซึมผ่านผิวดินเริ่มต้น ประมาณที่ 0.76 มิลลิเมตรต่อวันและค่าสูงสุดอยู่ที่ 250.38 มิลลิเมตรต่อวันและเมื่อได้ค่าอัตราการซึมผ่านผิวดิน จึงนำมาคำนวณหาการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ (Recharge) โดยตั้งสมการในพื้นที่ 1.การไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำจากฝน 2.การไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำจากป่าไม้และเกษตรกรรม 3.การไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำจะการท่วมขังของน้ำ พบว่าการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ (Recharge) มีค่าต่ำ สุด 0.7 มิลลิเมตร และค่าสูงสุด 242.7 มิลลิเมตร และค่าเฉลี่ยการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำอยู่ที่ 45.125 มิลลิเมตร</p> 2022-09-19T23:20:01+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1330 การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำปิง-น่านและเจ้าพระยาเชิงกลยุทธ์ 2022-09-20T18:23:57+07:00 สนิท วงษา sanit.won@kmutt.ac.th <p class="Contentnew"><span lang="TH">ประเทศไทยน้ำท่วมหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อุทกภัยขนาดใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ มักเกิดขึ้นทุกๆ รอบปีการเกิดซ้ำที่ 15 ถึง 20 ปี และมีแนวโน้มมีความถี่มากขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่ทำให้ฤดูกาลและความเข้มฝนเกิดการแกว่งมากขึ้น น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมและบ้านเรือนประชาชน ส่วนในพื้นที่เมืองแม้แต่ฝนเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมรุนแรงในบางพื้นที่ของเมือง ทำให้เกิดปัญหาอย่างมากกับระบบโครงสร้างพื้นฐานและการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ผลผลิตทางการเกษตร ระบบการผลิตและระบบการจราจร </span>Nays<span lang="TH">2</span>DFlood <span lang="TH">เป็นแบบจำลองคณิตศาสตร์สำหรับวิเคราะห์การไหลของน้ำท่วมแบบ 2 มิติได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ ในการศึกษานี้ ได้ทำการวิเคราะห์ 2 สถานการณ์คือ (1) สภาพปัจจุบันและ (2) ปิดพื้นที่รับน้ำนองหรือแก้มลิง จากผลการศึกษาพบว่าผลการเปรียบเทียบขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมจากแบบจำลองใกล้เคียงกับพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียม </span>GISTDA <span lang="TH">มีบางพื้นที่เป็นการท่วมจากการเกิดฝนตกหนักที่ภาพถ่ายดาวเทียม </span>GISTDA <span lang="TH">ส่วนการเปรียบเทียบความลึกน้ำท่วมจากแบบจำลองกับความลึกน้ำท่วมจากเหตุการณ์จริงในพื้นที่ พบว่าความลึกน้ำท่วมจากแบบจำลองใกล้เคียงกับความลึกที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่มีค่าความแตกต่างของค่าความลึกประมาณ 0.3 ถึง 1.5 เมตร สำหรับกรณีศึกษาปิดพื้นที่รับน้ำหรือแก้มลิงจะทำให้ระดับน้ำท่วมสูงกว่าสภาพปัจจุบันประมาณ 0.60 เมตร ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประเมินพื้นที่ความเสี่ยงน้ำท่วม ใช้เป็นแนวทางกับวางแผนการปรับตัวสำหรับการบริหารจัดการน้ำและเกษตรกรรมในพื้นที่เพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำปิง น่านและเจ้าพระยาได้</span></p> 2022-09-19T23:21:36+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1437 การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครพนม ณ สถานีโครงการน้ำก่ำตอนล่าง 2022-09-20T18:23:57+07:00 ทิพาภรณ์ หอมดี tipaporn@npu.ac.th วชิรกรณ์ เสนาวัง nanoon45@gmail.com พงฬ์นธี มณีกุล Psm_york@hotmail.com ธิปธราดล แผงนาวิน Fiwjero20111@gmail.com ภากร ครุฑแสงอนันต์ Pakorn.khrutsang@gmail.com <p class="Contentnew"><span lang="TH">งานวิจัยนี้ศึกษาปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครพนมที่เก็บจากสถานีสำรวจปริมาณน้ำฝนรายเดือนของโครงการน้ำก่ำตอนล่าง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนและเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์เชิงสถิติ 2 วิธี ได้แก่ วิธีของบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาลอย่างง่าย โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (</span>Mean Absolute Percent Error: MAPE) <span lang="TH">และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ย (</span>Root Mean Square Error: RMSE) <span lang="TH">ที่มีค่าต่ำที่สุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึงปี พ.ศ. 2561 จากนั้นพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนล่วงหน้าในปี พ.ศ. 2562 โดยสร้างตัวแบบพยากรณ์จำนวน 10 ปี นำมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนตามวิธีของบอกซ์-เจนกินส์ มีความเหมาะสมมากกว่าวิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาลอย่างง่าย โดยมีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (</span>MAPE) <span lang="TH">และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ย (</span>RMSE)<span lang="TH"> มีค่าต่ำที่สุด จากการพยากรณ์ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562</span></p> 2022-09-19T23:22:34+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1651 การวิเคราะห์โครงข่ายท่อประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอ่างทอง โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ EPANET 2022-09-20T18:23:58+07:00 ณัฐวรรณ สุขสุมิตร nammy25@hotmail.com ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์ chaiwat.ekk@kmutt.ac.th ดวงฤดี โฆษิตกิตติวงศ์ duangrudee.kos@kmutt.ac.th <p>การประปาส่วนภูมิภาคสาขาอ่างทอง เป็นสาขามีน้ำสูญเสียค่อนข้างสูง เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ท่อรั่ว ขนาดท่อและความดันที่ไม่เหมาะสมกับการจ่ายน้ำ การบริหารจัดการแรงดันน้ำไม่เหมาะสมกับความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ เป็นต้น ในการศึกษานี้เป็นการจำลองสภาพการไหลของระบบโครงข่ายท่อประปา โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ EPANET เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและจำลองหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา แบบจำลองได้ใช้ข้อมูล ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยจำลองเฉพาะสถานีจ่ายน้ำแม่ข่ายอ่างทอง 5 พื้นที่เฝ้าระวัง (DMA) ผลการสอบเทียบข้อมูลอัตราการไหลที่จุดจ่ายน้ำ DMA01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R^2) เท่ากับ 0.99 และผลการสอบเทียบข้อมูลแรงดันปลายท่อของ DMA04 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R^2) เท่ากับ 0.89 ซึ่งผลลัพธ์จากการจำลองสภาพการไหล พบว่ารูปแบบการใช้จ่ายน้ำของ กปภ.สาขาอ่างทองแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้น้ำสูงสุดหรือ On-Peak (7.00 น. และ 18.00 น.) และช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้น้ำต่ำสุดหรือ Off-peak (1.00 น. และ 13.00 น.) และมีอัตราการไหลและแรงดันเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้น้ำ ยกเว้นบริเวณ DMA04 (อ่างทอง-โพธิ์ทอง-นำรุ่ง) พบว่าทั้งช่วงเวลา On-Peak และช่วงเวลา Off-peak แรงดันน้ำอยู่ในสภาวะวิกฤตทั้ง2ช่วงเวลา คือมีแรงดันน้ำต่ำกว่า 5 เมตร ส่งผลให้น้ำประปาในพื้นที่ไหลอ่อน จึงได้แก้ปัญหาแรงดันน้ำบริเวณ DMA04 แนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ การใส่วาล์วควบคุมแรงดัน (PRV) และบริหารจัดการแรงดัน ผลจากการศึกษาโดยประยุกต์แบบจำลอง EPANET พบว่าแรงดันน้ำบริเวณ DMA04 มีค่าเกินกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 5 เมตร และสามารถบริหารจัดการแรงดันน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้น้ำในแต่ละช่วงเวลา ส่งผลให้แรงดันน้ำเฉลี่ยในพื้นที่ DMA04 เพิ่มขึ้นจาก 7.26 เมตร เป็น 11.85 เมตร ดังนั้นจากกรณีศึกษาหากมีการนำการวิเคราะห์โครงข่ายท่อประปาไปประยุกต์ใช้งานจริงจะส่งผลให้การบริหารจัดการแรงดันดีขึ้น และอาจส่งผลต่อการลดอัตราน้ำสูญเสียในระบบที่เกิดขึ้นได้</p> <p>&nbsp;</p> 2022-09-19T23:23:48+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1550 การศึกษาจำนวนลิ้นทิ้งน้ำที่มีผลต่อการเพิ่มอัตราการสูบของเครื่องตะบันน้ำ 2022-09-20T18:23:59+07:00 ภูวดล พรหมชา p.phomcha@rmutl.ac.th บุษริน เป็งใจ p.phomcha@rmutl.ac.th สิทธินนท์ คล้ายแท้ p.phomcha@rmutl.ac.th ธิติวัฒน์ จีนจรรยา p.phomcha@rmutl.ac.th <p>โครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มอัตราการสูบของเครื่องตะบันน้ำ โดยทำการศึกษา 3 ชุดทดลองย่อยประกอบด้วย การทดลองเครื่องตะบันน้ำตามแบบของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การดัดแปลงเครื่องตะบันน้ำสวทช. แบบเพิ่มจำนวนลิ้นทิ้งน้ำ 2 ตัวแบบอนุกรม (2CS) และ 3 ตัวแบบอนุกรม (3CS) โดยระดับถังจ่ายน้ำทางเข้าสูง 2.15 เมตร และระดับถังน้ำปลายทางสูง 4.45 เมตร ผลการทดลองเครื่องตะบันน้ำต้นแบบจากสวทช. บันทึกอัตราการสูบ 7.87&nbsp; ลิตรต่อนาที ประสิทธิภาพร้อยละ 63 ขณะที่ชุดการทดลองเครื่องตะบันน้ำแบบเพิ่มจำนวนลิ้นทิ้งน้ำ 2 ตัวแบบอนุกรม (2CS) บันทึกอัตราการสูบ 13.30&nbsp; ลิตรต่อนาที ประสิทธิภาพร้อยละ 52 และแบบเพิ่มจำนวนลิ้นทิ้งน้ำ 3 ตัวแบบอนุกรม (3CS) บันทึกอัตราการสูบเท่ากับ 16.48 ลิตรต่อนาที ประสิทธิภาพร้อยละ 51 จากงานวิจัยนี้พบว่าเมื่อทำการดัดแปลงเครื่องตะบันน้ำต้นแบบจากสวทช. โดยเพิ่มจำนวนลิ้นทิ้งน้ำเป็น 2 และ 3 ตัวแบบอนุกรม สามารถเพิ่มอัตราการสูบน้ำให้มากขึ้น 1.68 และ 2.09 เท่า ตามลำดับ</p> 2022-09-19T23:24:57+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1827 การประยุกต์ใช้กระบวนการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ควบคู่กับแบบจำลองเซลลูล่าออโต้มาต้ามาคอฟ ในการประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกพืชน้ำมันที่ไม่ใช่พืชอาหาร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2022-09-20T18:24:00+07:00 ชาติชาย ไวยสุระสิงห์ fcecws@kku.ac.th ชุติมา ไวยสุระสิงห์ chutima.wa@kmitl.ac.th <p>ณ ขณะปัจจุบัน ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเผชิญวิกฤตความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่กับการขาดแคลนอาหาร ทั้งนี้เพราะพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าวิตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานเชื้อเพลิงไบโอดีเซลซึ่งวัตถุดิบหลักอย่างน้ำมันปาล์มถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในการผลิต ส่งผลให้ราคาของผลปาล์มน้ำมันสูงขึ้น พร้อมกันนี้ปาล์มน้ำมันเองก็เป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมภาคอาหาร ประเด็นความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานจึงกำลังอยู่ในวิกฤตการณ์ ดังนั้น แนวทางหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่ที่มีดินเหล่านี้เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าวคือการเพาะปลูกสบู่ดำในพื้นที่ที่มีดินที่มีปัญหาเพื่อใช้ในการเป็นแหล่งวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมไบโอดีเซลโดยไม่กระทบต่ออาหารจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ งานศึกษาวิจัยนี้จึงเน้นไปที่การประเมินศักยภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการเพาะปลูกสบู่ดำ โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ควบคู่กับแบบจำลองเซลลูล่าออโต้มาต้ามาคอฟ ที่ให้ผลลัพธ์เป็นการประเมินระดับความเหมาะสมของพื้นที่ต่าง ๆ ในการเพาะปลูกสบู่ดำ รวมถึงคาดการณ์ได้ถึงพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ในการเพาะปลูกสบู่ดำในอนาคตที่จะขยายตัวจากพื้นที่เริ่มต้นไปอย่างไร และพื้นที่เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่ำสำหรับพืชอื่น ผู้วิจัยแสดงตัวอย่างผลการจำลองฉากทัศน์กรณีจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งช่วยสะท้อนภาพอันเป็นวิสัยทัศน์แห่งอนาคต</p> 2022-09-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1843 การประยุกต์อากาศยานไร้คนขับสำหรับการทำแผนที่เหมืองหิน กรณีศึกษา โรงโม่หินเพชรเมืองเลย 2022-09-20T18:24:00+07:00 ต่อลาภ การปลื้มจิตร torlap_rmutsv@hotmail.com จิรวัฒน์ จันทองพูน jirawat.j@rmusv.ac.th ณัฐพล แก้วทอง natapon.k@rmusv.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอเรื่องการประยุกต์การสำรวจด้วยการรังวัดภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับหรือ UAVs สำหรับการทำแผนที่เหมืองหิน ตามมาตรฐาน กพร. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนที่ภูมิประเทศและแผนที่ภาพถ่ายออร์โธบริเวณเหมืองหินจากการประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศจาก อากาศยานไร้คนขับ จุดควบคุมภาคพื้นดินจำนวน 6 จุด รังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS โดยสถานี CORS พื้นที่ศึกษาเหมืองหิน เพชรเมือง เลย บินที่ความสูง 140 ม. จำนวน 793 ภาพขนาดจุดภาพเฉลี่ย 4 ซม. ผลค่าความคลาดคลื่อนการฉาย 0.103 จุดภาพ ความคลาดเคลื่อนการรังวัดจุด ควบคุมภาคพื้นดิน มีค่าเท่ากับ RMSE X 4.8 ซม. RMSE Y 3.4 ซม. RMSE Z 0.7 ซม. และจุดตรวจสอบ RMSE X 6.4 ซม. RMSE Y 4.9 ซม. RMSE Z 8.7 ซม. เป็นตามมาตรฐานการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่องานวิศวกรรม สามารถผลิตแผนที่จัดส่ง กพร. ต่อไปได้</p> 2022-09-19T22:52:37+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1826 การประยุกต์ใช้เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยคลื่นเสียงความถี่เดียวในคลองบ้านนาลาว 2022-09-20T18:24:01+07:00 อณุชา บุญลือ kanoksak.s@mail.rmutk.ac.th ยศภัทร ภัทราพรพิสิฐ kanoksak.s@mail.rmutk.ac.th กนกศักดิ์ ซื่อธานุวงศ์ kanoksak.s@mail.rmutk.ac.th <p>การประยุกต์ใช้เครื่องมือหยั่งความลึก เป็นวิธีการหาค่าระดับในงานสำรวจรังวัดใต้พื้นผิวน้ำ โดยมีน้ำเป็นสิ่งกรีดขวางที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น สระ น้ำ อ่างเก็บน้ำ คลอง แม่น้ำ หรือทะเล เป็นต้น จำเป็นต้องทำการรังวัดหาความสูงต่ำของพื้นผิวดินใต้น้ำ เพื่อนำมาแสดงเป็นแผนที่ภูมิประเทศ และการ คำนวณหาปริมาตรพื้นผิวที่ต้องการ เครื่องมือและอุปกรณ์หลักสำหรับการรังวัดหาค่าระดับด้วยเครื่องมือหยั่งความลึก ประกอบด้วย ยานพาหนะ เครื่องมือ การรังวัดระบุตำแหน่งทางราบด้วยดาวเทียมแบบจลน์ และเครื่องมือหยั่งความลึกด้วยคลื่นเสียง เครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่การสำรวจรังวัด และความละเอียดถูกต้อง เช่น ยานพาหนะที่นำอุปกรณ์เครื่องมือไปอาจเป็น เรือพาย เรือติดเครื่องยนต์ เรือบังคับไร้คนขับ เรือดำน้ำ โดรนใต้น้ำ เป็นต้น เครื่องมือการรังวัดระบุตำแหน่งทางราบอาจเป็นกล้องวัดมุมวางแนว กล้องประมวลผลรวม และปัจจุบันสามารถใช้การรังวัดด้วยโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยคลื่นเสียงสำหรับการวัดระยะดิ่ง แบ่งได้เป็น คลื่นความถี่เดียว คลื่นความถี่คู่ คลื่นหลายความถี่</p> <p>งานวิจัยนี้ใช้การประยุกต์เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยคลื่นเสียงความถี่เดียวทำการรังวัดหาความลึกในคลองบ้านนาลาว มีความลึกประมาณ 1-5 เมตร เพื่อสร้างแผนที่ภูมิประเทศ รูปตัดแนวตามยาวและแนวตามขวาง โดยจะทำการวัดสอบเครื่องมือหยั่งความลึกในแต่ละระยะที่ 1 เมตร 2 เมตร และ 3 เมตร จำนวนแต่ละระยะ 10 ครั้ง ประเภทของน้ำ เป็นน้ำใส และน้ำขุน เพื่อหาค่าความละเอียดถูกต้องของเครื่องมือหยั่งความลึกนี้ ผลการวัดสอบเครื่องมือได้ ค่าเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ -0.140±0.093 เมตร เมื่อนำเครื่องมือออกทำการรังวัดบริเวณคลองบ้านนาลาว เทียบกับจุดตรวจสอบ มีความคลาดเคลื่อนไป - 0.144 เมตร และทำการปรับแก้ค่าของการวัดสอบเครื่องมือมีความคลาดเคลื่อนน้อยลง -0.046 เมตร สรุปผลได้ว่า ถ้าเครื่องมือไม่ได้เป็นแบบรังวัดจำเป็น อย่างมากในการวัดสอบเพื่อหาค่าในการปรับแก้จะทำให้ค่ามีความถูกต้องสูงขึ้น และถ้าเครื่องมือแบบรังวัดก็ยังต้องมีการวัดสอบเพื่อดูเกณฑ์มาตรฐานของ เครื่องมือสำหรับการรังวัด</p> 2022-09-19T22:55:16+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1771 การบูรณาการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มรายได้ แก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดสงขลา 2022-09-20T18:24:01+07:00 จิรวัฒน์ จันทองพูน jantongpoon.survey@gmail.com ต่อลาภ การปลืมจิตร tolap.k@rmutsv.ac.th สมใจ หมื่นจร somjai.m@rmutsv.ac.th พรนรายณ์ บุญราศรี pornnarai.b@rmutsv.ac.th <p>ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและสร้างรายได้ในภาคใต้ของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันได้ประสบปัญหาเรื่องราคาตกต่ำ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ สำหรับเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาด้วยเทคนิคการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์แบบหลายลำดับขั้นร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยมีปัจจัยแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งในแต่ละด้านมีด้วยปัจจัยรองทั้งหมด 7 ปัจจัย คือ ข้อมูลภูมิประเทศ ข้อมูลภูมิอากาศ ข้อมูลชุดดิน ข้อมูลแหล่งน้ำ ข้อมูลราคา ข้อมูลถนน และข้อมูลป่าไม้ สำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยกล้วยน้ำ พริกไทย และไม้สัก จากการศึกษาพบว่า พืชเศรษฐกิจมีระดับชั้นความเหมาะสมระดับมาก (S1) ที่ร้อยละ 16.897 ของพื้นที่ ระดับชั้นความเหมาะสมระดับปานกลาง (S2) ที่ร้อยละ 44.217 ของพื้นที่ ระดับชั้นความเหมาะสมระดับน้อย (S3) ที่ร้อยละ 25.066 ของพื้นที่ และระดับชั้นไม่มีความเหมาะสม (N) ที่ร้อยละ 13.819 ของพื้นที่ ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถนำไปแนะนำพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นได้</p> 2022-09-19T22:56:59+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1760 การศึกษาการขยายตัวของเมืองด้วยเทคนิควิธี random forest กรณีศึกษา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 2022-09-20T18:24:03+07:00 จิรวัฒน์ จันทองพูน jantongpoon.survey@gmail.com พัณณิตา ไล่สาม Pannitalaisam@rmutsvmail.com สัณห์ฤทัย แซ่หว่อง sanruthai01234@rmutsvmail.com พรนรายณ์ บุญราศรี pornnarai.b@rmutsv.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการขยายตัวของเมืองในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาและเทศบาลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัด สงขลา ด้วยเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล ประกอบด้วยชุดข้อมูลที่ครอบคลุมใน 3 ช่วงเวลา คือ ภาพถ่าย Landsat-5 ในปี พ.ศ. 2547 ภาพถ่าย Landsat8 ในปี พ.ศ. 2556 และภาพถ่าย Sentinel-2 ในปี พ.ศ. 2563 ด้วยเทคนิควิธี Random Forest และอนุกรมเวลา และทำการตรวจสอบความถูกต้องของ การจำแนกด้วยจากการลงสำรวจภาคสนามร่วมกับ google earth</p> <p>จากผลการศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ. 2547 มีพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด 10.371 ตร.กม. หรือร้อยละ 28.21 ของพื้นที่ทั้งหมด ความถูกต้อง โดยรวมจากการจำแนกอยู่ที่ร้อยละ 80 ส่วนปี พ.ศ. 2556 มีพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด 20.039 ตร.กม. หรือร้อยละ 54.51 ของพื้นที่ทั้งหมด ความถูกต้องโดยรวมจากการจำแนกอยู่ที่ร้อยละ 85 และในปี พ.ศ. 2563 มีพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด 20.589 ตร.กม. หรือร้อยละ 56.01 ของ พื้นที่ทั้งหมด ความถูกต้องโดยรวมจากการจำแนกอยู่ที่ร้อยละ 82 และผลสรุปของการศึกษาครั้งนี้พบว่า การขยายตัวของในระยะเวลา 16 ปี ของเทศบาล นครสงขลาและเทศบาลเขารูปช้าง มีพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นเท่ากับ 10.218 ตร.กม. หรือ ร้อยละ 27.80 ของพื้นที่ทั้งหมด</p> 2022-09-19T22:59:16+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1743 การประเมินค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินจากข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel-2A โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ 2022-09-20T18:24:03+07:00 ติณณ์ ถิรกุลโตมร Tinn.th@rmuti.ac.th อภิชิต คำภาหล้า apichit.ku@rmuti.ac.th วิลาวัณย์ ประสมทรัพย์ Tinn.th@rmuti.ac.th สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ Tinn.th@rmuti.ac.th ฐานิตา ขำวิลัย Tinn.th@rmuti.ac.th <p class="Contentnew"><span lang="TH">ค่ามวลชีวภาพสามารถแปลงเป็นค่าการกักเก็บคาร์บอนได้ด้วยการคูณค่าคงที่จาก</span> Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)<span lang="TH"> ซึ่งการประมาณค่ามวลชีวภาพหรือการกักเก็บคาร์บอนยังเป็นประเด็นการศึกษาที่เป็นที่สนใจอย่างมากในปัจจุบัน บทความนี้ นำเสนอการประเมินค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินจากข้อมูลภาพดาวเทียม </span>Sentinel-<span lang="TH">2</span>A <span lang="TH">โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ จากข้อมูลมวลชีวภาพเหนือพื้นดินที่ได้จากการสำรวจรังวัดต้นไม้และสมการแอลโลเมตรี ข้อมูลค่าการสะท้อนแสงของภาพดาวเทียม </span>Sentinel-<span lang="TH">2</span>A <span lang="TH">ในช่วงคลื่นสีน้ำเงิน สีเขียว สีแดง อินฟราเรดใกล้ และข้อมูลค่าดัชนีความแตกต่างพืชพรรณแบบนอร์มอลไลซ์ (</span>Normalized Difference Vegetation Index: NDVI)<span lang="TH"> เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และการประเมินค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน ได้แก่ ค่า </span>NDVI <span lang="TH">โดยแบบจำลองการประเมินค่ามวลชีภาพเหนือพื้นดิน คือ </span>“Biomass<span lang="TH"> = (12</span>,<span lang="TH">281.87</span>NDVI)<span lang="TH"> - 2</span>,<span lang="TH">682.65</span>”<span lang="TH"> โดยมีค่า </span>R<sup>2</sup> <span lang="TH">อยู่ที่ 0.76 และผลการประเมินค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินของพื้นที่ศึกษา มีปริมาณเท่ากับ 39.11 ตัน/ไร่ </span></p> 2022-09-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1738 การประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียม SENTINEL-2 กับ LANDSAT 8 เพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินระดับ 2 พื้นที่ คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา 2022-09-20T18:24:04+07:00 ชยณัฐ บัวทองเกื้อ chayanat.b@rmutsv.ac.th บุษบากร ทองมาก natapon.k@rmutsv.ac.th อักษรลักษณ์ ไชยรัตน์ natapon.k@rmutsv.ac.th พัชรพล รัตนถาวร natapon.k@rmutsv.ac.th ณัฐพล แก้วทอง natapon.k@rmusv.ac.th <p>การวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียม SENTINEL -2 กับ LANDSAT 8 เพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินระดับ 2 บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ด้วยเทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล โดยการเปรียบเทียบความถูกต้องการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบไม่กำกับดูแล (Unsupervised Classification) โดยการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 20 ประเภท พบว่า ดาวเทียม SENTINEL -2 ให้ค่าความถูกต้องสูงกว่าดาวเทียม LANDSAT 8 ในช่วงฤดูร้อน ค่าความถูกต้องเป็นร้อยละ 44.94 และร้อยละ 38.38 ตามลำดับ จากนั้นได้ศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินระดับ 2 โดยการจำแนกแบบกำกับดูแล (Supervised Classification) โดยใช้ข้อมูลดาวเทียม SENTINEL -2 &nbsp;จากการวิเคราะห์ค่าความน่าเชื่อถือข้อมูลเทียบกับข้อมูลจุดตรวจภาคสนาม มีค่าระหว่างร้อยละ 86.18 - 94.62 &nbsp;การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่มีข้อผิดพลาดจากการจำแนก พบ 6 ประเภท คือ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ไม้ยืนต้น ไร่หมุนเวียน ป่าไม่ผลัดใบ ป่าชายหาด และหาดทราย ตามลำดับ ส่วนประเภทที่ไม่เหมาะสมในการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ พืชสวน เนื่องจากมีค่าความถูกต้องน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมมีเนื้อที่การใช้ประโยชน์ที่ดินมากที่สุด และรองลงมาเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่แหล่งน้ำ พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ตามลำดับ ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน</p> 2022-09-19T23:05:58+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1737 การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นเพื่อเลือกพื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวภาพ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 2022-09-20T18:24:05+07:00 วรรณิศา สุขโสภา natapon.k@rmutsv.ac.th ต่อลาภ การปลื้มจิตร natapon.k@rmutsv.ac.th ชยณัฐ บัวทองเกื้อ natapon.k@rmutsv.ac.th ศศิมาภรณ์ แก้วจุลพันธ์ natapon.k@rmutsv.ac.th ณัฐพล แก้วทอง natapon.k@rmutsv.ac.th <p>การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวภาพอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาเป็นกรณีศึกษาการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรมด้านระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยการให้ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยด้วยการวิเคราะห์แบบกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process, AHP) ซึ่งได้กำหนดปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์และให้น้ำหนักคะแนนความสำคัญจากผู้เชี่ยวชาญในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน ซึ่ง ผลการกำหนดปัจจัยและน้ำหนักคะแนนในแต่ละปัจจัยมีน้ำหนักคะแนนดังนี้ ปัจจัยด้านพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 32.20 ปัจจัยด้าน ระยะห่างจากชุมชนมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 22.88 ปัจจัยด้านระยะห่างจากป่าสงวนมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 15.98 ปัจจัยด้านระยะห่างจากถนนสายหลัก และระบบสายส่งมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 10.93 ปัจจัยด้านพื้นที่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 6.41 ปัจจัยด้านระยะห่างจากแหล่งน้ำมีน้ำหนัก คะแนนร้อยละ 6.06 และปัจจัยด้านราคาที่ดินมีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 5.54 ผลการวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมคิดเป็นร้อยละของพื้นที่ตำบล ได้แก่ พื้นที่ ตำบลเขาพระมีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุดร้อยละ 61.58 รองลงมาคือ พื้นที่ตำบลกำแพงเพชรมีพื้นที่เหมาะสมร้อยละ 43.76 พื้นที่ตำบลท่าชะมวงมีพื้นที่ เหมาะสมร้อยละ 22.53 ส่วนตำบลคูหาใต้และตำบลควนรูไม่มีพื้นที่ที่เหมาะสม</p> 2022-09-19T23:07:39+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1551 ผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล โดยการรังวัดด้วยวิธีแผนที่ชั้นหนึ่งด้วยระบบ โครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) 2022-09-20T18:24:06+07:00 เมธา ทองเหลี่ยว Maytha.t@ku.th สรวิศ สุภเวชย์ fengsvsu@ku.ac.th อนุเผ่า อบแพทย์ fengaha@ku.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หาค่า Combine Scale Factor และออกแบบเครื่องมือหาพื้นที่หดตัวหรือพื้นที่ยืดตัวในโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (QGIS) บนพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล โดยใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจค่าระดับพื้นผิวประเทศไทยเพื่อทำฝายกั้นน้ำของกรมแผนที่ทหาร ข้อมูลทาง ตำแหน่งจะแสดงค่าพิกัดทางราบ (False Northing , False Easting) ความสูงเหนือทรงรี (h) และความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) การ คำนวณหาค่า Combine Scale Factor จะใช้ Geoid Model มาเป็นพื้นฐานของแนวคิดงานวิจัยเพื่อต้องการลดทอนระยะราบบนพื้นที่ภูมิประเทศ (Ground Distance) ไปยังระยะราบบนกริดยูทีเอ็ม (Grid Distance) เมื่อคำนวณได้ค่า Combine Scale Factor ทุกตำแหน่งบนพื้นที่กรุงเทพและ ปริมณฑล ทำการออกแบบเครื่องมือหาพื้นที่หดตัวหรือพื้นที่ยืดตัว โดยชุดข้อมูลทางตำแหน่งนั้นมีระยะทางห่างกันประมาณ 4 กิโลเมตร จึงต้องใช้การ ประมาณค่าในช่วงมาช่วยเพิ่มความถูกต้อง โดยจะใช้การประมาณค่าในช่วงวิธี Inverse Distance Weighted (IDW) รูปแบบตารางกริดประมาณ 1*1 กิโลเมตรของพื้นที่วิจัย ผลการวิจัย 1). ได้ค่า Combine Scale Factor บนพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับกล้องสำรวจประมวล ผลรวม (Total Station) ในงานก่อสร้างของงานอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ 2). ได้เครื่องมือหาพื้นที่หดตัวหรือพื้นที่ยืดตัวบนโปรแกรมระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ (QGIS) เมื่อทำการพล็อตรูปแปลงที่ดินบนแผนที่ โปรแกรมจะบอกพื้นที่บนพิกัดยูทีเอ็มและพื้นที่บนผิวภูมิประเทศ ทำการเปรียบเทียบพื้นที่ก็จะ ทราบว่าพื้นที่บนพิกัดยูทีเอ็มนั้นหดตัว (-) หรือพื้นที่ยืดตัว (+) ตามพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล</p> 2022-09-19T23:09:05+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1534 การตรึงข้อมูลพอยต์คลาวด์จากอากาศยานไร้คนขับด้วยข้อมูลพอยต์คลาวด์จากเครื่องเลเซอร์สแกน เพื่องาน รังวัดปริมาตรการขุด-ขนดินและถ่านหินบริเวณเหมืองถ่านหินเปิดแม่เมาะ 2022-09-20T18:24:06+07:00 ธนนันท์ แสนคำลือ thananan.san@egat.co.th ธเนศพล บุญประกอบ thanatepol.boo@egat.co.th บุญฤทธิ์ เขียวอร่าม boonyarit.k@egat.co.th อัษฎาวุธ ตอนจักร์ thanatepol.boo@egat.co.th <p>การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ ได้ใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน (terrestrial laser scanner : TLS) ในการรังวัดหาปริมาตรการขุด-ขน ดินและถ่านหิน ซึ่งบ่อเหมืองแม่เมาะมีลักษณะภูมิประเทศที่ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่ มีพื้นที่การขุด-ขน ที่ต้องรังวัดปริมาตร ประมาณเดือนละประมาณ 2 ล้านตารางเมตร ทำให้ในการรังวัดบางพื้นที่ต้องตั้งเครื่องเลเซอร์สแกนฯ หลายครั้ง และใช้เวลารังวัดนาน ต้องหยุดเครื่องจักรในระหว่างการรังวัดเป็นเวลานาน ส่งผลให้ปริมาตรการขุดดินและถ่านหินลดลง ดังนั้น การเสริมด้วยข้อมูลจากอากาศโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle : UAV) จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่การที่จะทำให้ข้อมูลที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับมีความถูกต้อง จำเป็นต้องมีการวางจุดควบคุมภาคพื้นดิน (ground control point : GCP) ให้ครอบคลุมหน้างานรังวัด อย่างไรก็ตามการติดตั้งและกระบวนการตรึง GCP ในบ่อเหมืองแม่เมาะที่มีลักษณะภูมิประเทศที่ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่นั้นใช้เวลานาน ทำให้กระบวนการรังวัดปริมาตรยุ่งยากขึ้น และระยะเวลาการทำงานมิได้ลดลงอย่างน่าพอใจ ไม่เหมาะในการปฏิบัติจริง จึงเป็นที่มาของการนำเอาข้อมูลพอยต์คลาวด์จากเครื่องเลเซอร์สแกนฯ มาใช้ตรึงข้อมูลแทนการวาง GCP โดยพบว่าพื้นผิวที่ได้จาก UAV ที่ได้จากการตรึงด้วยพอยท์คลาวด์จากเครื่องเลเซอร์สแกนฯ มีความต่างทางค่าระดับกับพื้นผิวที่ได้จากการสแกนด้วยเครื่องเลเซอร์สแกนฯ เฉลี่ย 0.023 ม. โดยมีค่าการกระจายตัว 0.013 ม. ซึ่งอยู่ในช่วงความคลาดเคลื่อนที่เหมืองแม่เมาะยอมรับให้ใช้งานได้ ช่วยให้การรังวัดปริมาตรขุดขนดินและถ่านหินรวดเร็วและสมบูรณ์ขึ้นอย่างมาก</p> 2022-09-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1493 การประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยภาพถ่ายอากาศยานไร้คนขับเพื่อการติดตามการเปลี่ยนแปลงของ งานป้องกันทางลาดไหล่: กรณีศึกษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก 2022-09-20T18:24:08+07:00 พลปรีชา ชิดบุรี polpreechac@nu.ac.th กรกฎ นุสิทธิ์ korakodn@nu.ac.th ธนภัทร วิสิทธิเขต tanapatw61@nu.ac.th ฐิติชญา สระทองแมว thitichayas61@nu.ac.th ศิวกร ทองคุ้มญาติ siwakornth61@nu.ac.th ภานุพงศ์ เขื่อนมณี phanupongk61@nu.ac.th <p>การตรวจสอบและติดตามสภาพของเขื่อนและบริเวณโดยรอบเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการประเมินความปลอดภัยของเขื่อนในงานชลประทาน แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่มีความลาดชันสูงโดยเฉพาะบริเวณทางลาดไหล่เขายังเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการตรวจวัดและติดตามด้วยวิธีการสำรวจแบบดั้งเดิม งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับสำหรับการติดตามการเปลี่ยนแปลงของงานป้องกันทางลาดไหล่บริเวณท้ายเขื่อน โดยมีพื้นที่ศึกษา คือ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก โดยในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายด้วยกล้อง DJI Zenmuse X5S จากอากาศยานไร้คนขับรุ่น DJI Inspire 2 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 และทำการรังวัดและประมวลภาพถ่ายด้วยโปรแกรม ContextCapture สำหรับสร้างแบบจำลองสามมิติในรูปแบบของ Point Cloud จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจนี้ไปประเมินการเปลี่ยนแปลงโดยเปรียบเทียบกับการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับของกรมชลประทาน เมื่อเมษายน พ.ศ. 2561 ด้วยเทคนิค M3C2 บนโปรแกรม CloudCompare ผลการวิจัยพบว่า การประเมินความถูกต้องของการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเทียบกับการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียม GNSS แบบ RTK มีค่า RMSE เท่ากับ 0.104 เมตร อย่างไรก็ตามสำหรับผลการประเมินการเปลี่ยนแปลงของงานป้องกันทางลาดไหล่ไม่สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญเนื่องมาจากความถูกต้องของการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับในระดับเดซิเมตร ดังนั้นการประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการตรวจสอบและติดตามการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่มีความลาดชันสูงสำหรับงานชลประทานได้อย่างสะดวก</p> 2022-09-19T23:14:59+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1471 การศึกษาการปรับแก้การสะท้อนในชั้นบรรยากาศด้วยเครื่องมือเซนทูคอร์ 2022-09-20T18:24:08+07:00 ภูกฤษ ศรีวิลาศ phukrit.s@ku.th สรวิศ สุภเวชย์ fengsvsu@ku.ac.th อนุเผ่า อบแพทย์ fengaha@ku.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปรับแก้การสะท้อนของข้อมูลที่ได้จากดาวเทียม Sentinel-2 ข้อมูลบนชั้นบรรยากาศ (Top of Atmosphere : TOA) เป็นข้อมูลใต้ชั้นบรรยากาศ (Bottom of Atmosphere : BOA) ด้วยเครื่องมือเซนทูคอร์ จากการศึกษาพบว่าเครื่องมือเซนทูคอร์ สามารถปรับเงื่อนไขการประมวลผลปรับแก้ (Configuration : L2A_GIPP.xml) ให้สอดคล้องไปตามพื้นที่ได้ ทั้งหมด 2 เงื่อนไข ได้แก่ คำนวณร่วมกับค่า ความสูงภูมิประเทศ (DEM) และปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ นอกจากนั้นในงานวิจัยนี้จะแสดงผลลัพธ์ข้อมูลหลังการปรับค่าพื้นฐาน โดยใช้วิธีการ เปรียบเทียบเชิงสถิติจากการทดสอบปรับแก้เงื่อนไขความสูงภูมิประเทศในพื้นที่ลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่สูงบริเวณภาคเหนือ พื้นที่ราบลุ่มบริเวณภาค กลาง พื้นที่ราบภาคอีสาน และพื้นที่บริเวณภาคใต้ ความสูงภูมิประเทศในแต่ละพื้นที่มีความสัมพันธ์กับค่าความแตกต่างของประมาณละอองลอยใน บรรยากาศ (Aerosol Optical Thickness : AOT) ระหว่างข้อมูลที่ไม่ได้ใส่เงื่อนไขความสูงภูมิประเทศกับข้อมูลที่ใส่เงื่อนไขความสูงภูมิประเทศ มีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในพื้นที่ทดสอบอยู่ระหว่าง - 0.82 ถึง - 0.95 สำหรับปริมาณโอโซนในประเทศไทยที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรมีปริมาณโอโซนในชั้น บรรยากาศอยู่ระหว่าง 235 – 275 ด็อปสัน จึงต้องคำนวณหาค่าปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ประเทศไทย โดยได้สร้าง สมการแบบจำลองคำนวณปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศพื้นที่ประเทศไทย y = 2E-05x<sup>3</sup> - 0.0105x<sup>2</sup> + 1.3818x + 320.22 โดย x แทน วันของปี (Day of Years), y แทน ปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศของพื้นที่ประเทศไทยหน่วยเป็นด็อปสัน</p> 2022-09-19T23:19:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1464 การคำนวณการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาตรสำหรับหลุมฝังกลบโดยใช้การสำรวจด้วย ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ 2022-09-20T18:24:09+07:00 จุฬาวัลย์ นนตะพันธ์ jurawannontapon@gmail.com อนุจิตร ภูมิพันธ์ siwa.k@msu.ac.th ศิวา แก้วปลั่ง siwa.k@msu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการคำนวณการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาตรของบ่อฝังกลบขยะมูลฝอย จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ กรณีศึกษาบ่อขยะเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยมีขั้นตอนการการศึกษาประกอบด้วย การวางแผนการบิน การเตรียมความพร้อมก่อนบินเก็บข้อมูล การบินถ่ายภาพโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ การประมวลผลภาพและการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่วิธีการคำนวณปริมาตรโดยใช้แบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลขจากการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ โดยทำบินถ่ายภาพเก็บข้อมูลหลายช่วงเวลา รวมระยะเวลา 6 เดือน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรที่บ่อฝังกลบขยะ ผลการวิเคราะห์พบว่ามีความแตกต่างของปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในแต่ละครั้ง ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าการสำรวจบ่อฝังกลบ โดยใช้การสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คน สามารถช่วยสำหรับการวางแผนที่ดีขึ้นในการจัดการบ่อฝังกลบขยะได้</p> 2022-09-19T23:22:16+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1451 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำใต้ดิน และอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินจากเทคนิคอนุกรมเวลา InSAR 2022-09-20T18:24:10+07:00 อนิรุทธ์ ลดาวดี anirut.la@ku.th อนุเผ่า อบแพทย์ anuphao.a@ku.ac.th สรวิศ สุภเวชย์ anirut.la@ku.th <p>งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเทคนิคอนุกรมเวลา InSAR (time series analysis) ในการหาค่าอัตราการทรุดตัวของแผ่นดิน เพื่อติดตามการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดสมุทรสาคร โดยการใช้ค่าต่างเฟสของคลื่นไมโครเวฟ จากภาพถ่ายดาวเทียมระบบเรดาร์ Sentinel-1 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2018 ถึงเดือนตุลาคม ปี 2021 ทั้งหมด 100 ภาพ ทำให้ได้จุดตรวจสอบที่มากกว่า 800,000 จุด ซึ่งมีความหนาแน่นและแสดงรูปแบบการทรุดตัวของพื้นที่ศึกษาในระดับกว้างได้ดี ทำให้ได้ค่าอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินอยู่ในช่วงประมาณ -33.13 ถึง +32.79 &nbsp;มิลลิเมตรต่อปี จากข้อมูลแรงดันน้ำใต้ดินของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้แก่ สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม และสถานีบางโทรัด จังหวัดสมุทรสาคร ภายในรัศมี 200 เมตร ค่าอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินอยู่ในช่วงประมาณ -4.81 ถึง +0.27 มิลลิเมตรต่อปี และ -16.11 ถึง -3.27 มิลลิเมตรต่อปีตามลำดับ ข้อมูลแรงดันน้ำใต้ดินตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2019&nbsp; ถึงเดือนกันยายน 2021 ของทั้ง 2 สถานี มีอัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำใต้ดินภาพรวมลดลงโดยมีค่าประมาณ 2.5 ถึง 8.4 kPa ต่อปี และ 1.8 ถึง 18.6 kPa ต่อปีตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำใต้ดินกับค่าการทรุดตัวของแผ่นดินจากเทคนิค InSAR นั้น พบว่ามีความสอดคล้องกัน</p> 2022-09-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1420 เว็บแมพเซอร์วิสสำหรับให้บริการข้อมูลระบบสาธารณูปโภค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 2022-09-20T18:24:10+07:00 รจณา คูณพูล rodjana.k@rmutsv.ac.th พรนรายณ์ บุญราศรี rodjana.k@rmutsv.ac.th พงศ์ศักดิ์ ศุขมณี rodjana.k@rmutsv.ac.th กนกวรรณ เกลี้ยงสง rodjana.k@rmutsv.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลระบบสาธารณูปโภคด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจัดทำ เว็บแมพเซอร์วิส(WMS) สำหรับให้บริการข้อมูลระบบสาธารณูปโภค และเพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเว็บแ มพเซอร์วิส โดยใช้โปรแกรม QGIS ในการจัดทำฐานข้อมูล และสร้างเว็บแมพเซอร์วิสด้วยโปรแกรม Geoserver เผยแพร่ข้อมูลสู่อินเทอร์เน็ต เป็นแผนที่ฐานร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่และ ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ เพื่อให้บริการในรูปแบบแผนที่ออนไลน์ พร้อมจัดทำระบบการแจ้งซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภค ผ่านทางแอปพลิเคชัน Line เพื่อ เพิ่มความสะดวกและความรวดเร็วในการแจ้งซ่อม ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการWMS มีผู้ตอบแบบประเมินรวมทั้งสิ้น 468 คน มีประเด็น วัดความพึงพอใจทั้งหมด 20 ข้อ พบว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 63.45 นอกจากนี้กองกลาง สำนักงาน อธิการบดี มทร.ศรีวิชัย สามารถนำWMS ไปใช้งานได้จริง ช่วยประหยัดงบประมาณองค์กร รวมทั้งง่ายต่อการจัดการและบำรุงรักษา สามารถค้นหาและระบุ ตำแหน่งที่ตั้งระบบสาธารณูปโภคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคที่เกิดการชำรุดหรือได้รับ ความเสียหายได้อย่างรวดเร็ว</p> 2022-09-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1388 การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณจีเอ็นเอสเอสแบบยีออเดติก ที่มีเซนเซอร์ MEMS และ IMU โดยวิธีการโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ในทันท 2022-09-20T18:24:11+07:00 จิตรานุช พัสดุธาร 6370042321@student.chula.ac.th พุทธิพล ดำรงชัย 6370042321@student.chula.th เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ 6370042321@student.chula.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจีออเดติกจีเอ็นเอสเอสที่มีเซนเซอร์ MEMS และ IMU ในการกำหนดตำแหน่งทางราบและทางดิ่งเมื่อรังวัดขณะเอียงเสาเครื่องรับด้วยมุม 15°, 25°, 35° และ 45° โดยวิธีการรังวัดโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ในทันที กรณีแรกทดสอบในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม โดยการทดสอบเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสในพื้นที่เปิดโล่งและบนดาดฟ้าอาคาร ซึ่งจุดทดสอบอยู่ห่างจากผนัง 2 เมตร กรณีที่สองทดสอบบนหมุดหลักเขตที่ดิน การทดสอบนี้แบ่งออกเป็น 3 กรณีย่อยคือ (1) ใกล้กำแพงที่มีสภาพแวดล้อมเปิดโล่ง (2) ใกล้กำแพงที่มีสภาพแวดล้อมหนาแน่นและ (3) สภาพแวดล้อมที่มีต้นไม้หนาแน่น กรณีที่สามดำเนินการทดสอบบนหมุดดาวเทียม VRS ของกรมที่ดิน ซึ่งทดสอบเก็บข้อมูลทั้งหมด 20 จุดต่อกรณี รวมเป็น 120 จุด โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเปรียบเทียบความถูกต้องระหว่างค่าพิกัดอ้างอิงกับเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสที่มีเซนเซอร์ MEMS และเซนเซอร์ IMU การเปรียบเทียบความถูกต้องนั้น ทำการเปรียบเทียบค่าพิกัดทั้งทางราบและทางดิ่ง จากการศึกษาพบว่าเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสที่มีเซนเซอร์ IMU ให้ผลลัพธ์ในการกำหนดตำแหน่งถูกต้องกว่าเครื่องรับที่มีเซนเซอร์ MEMS สำหรับพื้นที่เปิดโล่งที่มีสัญญาณชัดเจนและสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งบดบัง ซึ่งเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสที่มีเซนเซอร์ IMU ให้ความถูกต้องในการกำหนดตำแหน่งทางราบดีกว่า 4 เซนติเมตรเมื่อเอียงเสาที่ 15° และ 25° นอกจากนี้ยังพบว่า มุมการวัดเมื่อเอียงเสาส่งผลต่อความถูกต้องในการกำหนดตำแหน่งทางราบ แต่ไม่ส่งผลโดยตรงต่อความถูกต้องในการกำหนดตำแหน่งทางดิ่ง ความถูกต้องในการกำหนดตำแหน่งทั้งทางราบและทางดิ่งขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางรอบจุดทดสอบ สุดท้ายนี้สำหรับงานวิจัยในอนาคตควรมีการเปรียบเทียบความถูกต้องการกำหนดตำแหน่งทางราบและทางดิ่ง ในขณะที่เสาเอียงกับเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสยี่ห้อต่างๆ</p> 2022-09-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1360 การพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย 2022-09-20T18:24:11+07:00 แพรวา วิจิตรธนสาร parewa.vi@ku.th อนุเผ่า อบแพทย์ anuphao.a@ku.ac.th <p>ภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยส่งผลกระทบและทำให้เกิดความสูญเสียในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการจัดการภัยพิบัติในแต่ละ รูปแบบ โดยงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นไปยังขั้นตอนการเตรียมตัว (Preparedness) โดยการใช้ความรู้และข้อมูลทางด้านวิศวกรรมสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ รวมไป ถึงการประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process, AHP) เพื่อนำมาสร้างเป็นแผนที่ความเสี่ยงการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ขึ้น วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยในครั้งนี้คือการพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทย ได้แก่ อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า และพายุหมุน เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างระบบแจ้งเตือนภัยธรรมชาติผ่านแผนที่ความเสี่ยงในระดับภูมิภาค โดยได้ทำการวิเคราะห์และสร้างแผนที่ความ เสี่ยงภัยพิบัติจากการศึกษาองค์ประกอบของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น แล้วจึงทำการคัดเลือกปัจจัยที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติและให้ค่าน้ำหนักของข้อมูลตามหลักการ วิเคราะห์ความเสี่ยงภัยพิบัติแต่ละประเภท ในการจัดเตรียมข้อมูลจะใช้การจำแนกใหม่ (Reclassify) จัดการข้อมูลประเภทต่อเนื่อง (Continuous Data) ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) เพื่อให้สามารถนำข้อมูลหลายประเภทมาวิเคราะห์ด้วยกันได้ แล้ววิเคราะห์หาความเสี่ยงของภัย พิบัติด้วยวิธีAHP แล้วจึงนำผลลัพธ์ที่ได้มาทำการตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบโอเวอร์เลย์ (overlay) กับข้อมูลประวัติการเกิดภัยพิบัติ ในปี 2563 โดยทำการตรวจสอบบริเวณพื้นที่ที่แสดงค่าความเสี่ยงระดับอันตรายขึ้นไป หลังจากการตรวจสอบแล้วพบว่าการเกิดภัยพิบัติอุทกภัยมีความ ถูกต้องอยู่ที่ประมาณ 44.31% ภัยพิบัติดินโคลนถล่ม 68.00% ภัยพิบัติไฟป่า 54.73% และภัยพิบัติพายุหมุน 75.60%</p> 2022-09-19T23:35:03+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1347 การประเมินประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ราคาถูกโดยใช้ค่าแก้ MADOCA ด้วยการ รังวัดตำแหน่งแบบจุดเดี่ยวความละเอียดสูงแบบสถิตในประเทศไทย 2022-09-20T18:24:13+07:00 ศุภณัฐ ศรีจันทร์ supanatsrijun@gmail.com ปวัน ภิรมย์ทอง 6370436021@student.chula.ac.th เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ 6370436021@student.chula.ac.th ธีทัต เจริญกาลัญญูตา 6370436021@student.chula.ac.th <p>Multi-GNSS Advanced Demonstration tool for Orbit and Clock Analysis (MADOCA) จากระบบดาวเทียม Quasi-Zenith (QZSS) ที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณเอเชีย-โอเชียเนีย มีวัตถุประสงค์ตอบสนองความต้องการที่จะให้บริการการระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (PPP-Realtime) ในประเทศไทยจะสามารถมองเห็นดาวเทียม QZSS ในช่วงมุม 15 – 60 องศา ทำให้สามารถรับสัญญาณค่าแก้จากระบบดาวเทียม QZSS ได้โดยตรง การศึกษานี้มุ้งเน้นเรื่องการวิเคราะห์ความถูกต้องทางตำแหน่งที่ได้จากการประมวลผลการรังวัดแบบจุดเดี่ยวความละเอียดสูงด้วยข้อมูล GNSS ร่วมกับข้อมูลค่าแก้ที่ได้จากระบบ MADOCA ที่ได้รับในพื้นประเทศไทยโดยใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมราคาถูก เพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพและความถูกต้องเชิงตำแหน่งของระบบค่าแก้ MADOCA&nbsp;&nbsp; สำหรับการให้บริการเชิงตำแหน่งแบบ Real-time ของค่าแก้นี้ จะทำให้เน้นไปที่การประมวลผลในรูปแบบการหาตำแหน่งของจุดเดี่ยวแบบความละเอียดสูงแบบสถิต สำหรับการทดสอบจุดสถิตให้ค่าความถูกต้อง ทางราบและทางดิ่ง ในระดับเซนติเมตร แสดงถึงประสิทธิภาพที่ดีสำหรับเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมราคาถูกร่วมกับค่าแก้ MADOCA ในพื้นที่ประเทศไทย</p> 2022-09-19T23:36:40+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1346 การหาแบบจำลองปรับแก้ค่าพิกัดทางราบใช้สำหรับเทคนิคการหาตำแหน่งจุดเดี่ยวความละเอียดสูง จีเอ็นเอสเอสในกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF2014 ของประเทศไทย 2022-09-20T18:24:13+07:00 เมธา น้อยนาค 6370239721@student.chula.ac.th ชัยยุทธ เจริญผล CHAIYUT.C@CHULA.AC.TH กนก วีรวงศ์ 6370239721@student.chula.ac.th เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ CHALERMCHON.S@CHULA.AC.TH <p>การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกส่งผลกระทบโดยตรงต่อการระบุตำแหน่งด้วยค่าพิกัดและการอ้างอิงตำแหน่งบนพื้นโลกของตำแหน่งเดียวกันเมื่อเวลาผ่านไปค่าพิกัดย่อมมีค่าที่แตกต่างกัน โดยองค์กรหรือหน่วยงานในระดับสากลได้ร่วมกันปรับปรุงระบบกรอบพิกัดอ้างอิงสากล (The International Terrestrial Reference Frame; ITRF) ให้สอดคล้องกับการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกมากยิ่งขึ้นตลอดเวลา ในการสำรวจรังวัดด้วยเทคนิค Precise Point Positioning (PPP) และ Precise Point Positioning Real-Time Kinematic (PPP-RTK) จะอ้างอิงบนกรอบพิกัดอ้างอิงสากลนี้ในการระบุตำแหน่งต่างๆ หากมีการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกย่อมส่งผลต่อค่าพิกัดที่เปลี่ยนแปลงไปบนตำแหน่งพื้นผิวโลกด้วยซึ่งสะสมตามเวลา บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดทางราบสำหรับ ITRF2014 ของประเทศไทยด้วยแบบจำลองค่าต่างพิกัดทางราบโดยใช้วิธีการประมาณค่าในช่วง (Interpolate) ด้วยวิธี Spline แล้วเปรียบเทียบความถูกต้องทางตำแหน่งทางราบด้วยค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสองของสถานีตรวจสอบ ผลปรากฏว่าแบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดทางราบให้ความถูกต้องทางตำแหน่งทางราบที่ระดับความเชื่อมั่น 95% อยู่ที่ 0.033 เมตร ดังนั้นสามารถนำแบบจำลองมาใช้ในการปรับแก้ค่าพิกัดทางราบสำหรับ ITRF2014 ให้มีความถูกต้องอยู่ในระดับ 3 ซม.ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงค่าพิกัดระหว่างหน่วยงานให้สอดคล้องกันและสามารถใช้งานค่าพิกัดร่วมกันระหว่างหน่วยงานในประเทศไทยได้</p> 2022-09-19T23:37:48+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1343 การประเมินความถูกต้องทางตำแหน่งระหว่างข้อมูลค่าแก้จากระบบดาวเทียม SBAS และเทคนิคการ หาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ DGNSS ในการเดินเรือ กรณีศึกษา ท่าเรือน้ำลึก จังหวัดสงขลา 2022-09-20T18:24:14+07:00 นายภูวิศะ กิ้มตั้น 6370235121@student.chula.ac.th เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ 6370235121@student.chula.ac.th ชาติชาย ไวยสุระสิงห์ 6370235121@student.chula.ac.th <p>ปัจจุบันระบบดาวเทียมนำหน GNSS เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการหาตำแหน่งและการนำทางต่าง ๆ เช่น การคมนาคมทางบก การวางแผนการบิน และการ เดินเรือ เป็นต้น ซึ่งการเดินเรือจำเป็นที่ต้องทราบค่าพิกัดที่มีความถูกต้องทางตำแหน่งสูง ในช่วงการนำเรือเข้าสู่ท่าเรือ จึงได้มีการนำระบบเสริมค่าความถูกต้อง ของตำแหน่งด้วยระบบดาวเทียม SBAS และเทคนิคการหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ DGNSS มาประยุกต์ใช้ในการประมวลผลเพื่อหาเส้นทางการเดินเรือที่มีความ แม่นยำและความถูกต้องทางตำแหนงสูง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักเดินเรือ อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดที่ประเมินความถูกต้องทาง ตำแหน่งระหว่างเทคนิคทั้งสองในบริบทของการเดินเรือทางทะเลในบริเวณพื้นที่ประเทศไทย ดังนั้นงานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการประเมินความถูกต้องทาง ตำแหน่งระหว่างข้อมูลค่าแก้จากระบบดาวเทียม SBAS และเทคนิคการหาตำแหน่ง DGNSS ซึ่งใช้ข้อมูลการรังวัดด้วยระบบ GNSS จำนวน 6,665 ตำแหน่ง บริเวณท่าเรือน้ำลึก จังหวัดสงขลา โดยตำแหน่งอ้างอิงค่าได้จากวิธีการรังวัดแบบจลน์แล้วประมวลผลภายหลัง (PPK) ผลจากการศึกษาพบว่า เทคนิคการหา ตำแหน่ง DGNSS มีค่าความคลาดเคลื่อนรากที่สองของค่าเฉลี่ย (RMSE) ทางราบ 0.59 เมตร ทางดิ่ง 1.17 เมตร สำหรับข้อมูลรังวัดจากระบบดาวเทียม SBAS มีค่า RMSE ทางราบ 0.90 เมตร ทางดิ่ง 5.10 เมตร ดังนั้นในการนำร่องการเดินเรือในพื้นที่ฝั่งทะเลอ่าวไทย เทคนิคการหาตำแหน่ง DGNSS มีความถูกต้องเชิง ตำแหน่งมากกว่าการหาตำแหน่งโดยระบบดาวเทียม SBAS ซึ่งการเดินเรือด้วยระบบดาวเทียม GNSS เพียงอย่างเดียว และการใช้ข้อมูลค่าแก้จากระบบ ดาวเทียม SBAS ให้ค่าความถูกต้องทางตำแหน่งที่เพียงพอต่อการเดินเรือในน่านน้ำจำกัด เดินเรือชายฝั่ง และน่านน้ำเปิด แต่ไม่เหมาะสมต่อการเดินเรือบริเวณ ท่าเรือ หรือน่านน้ำที่มีการจราจรทางน้ำหนาแน่นที่ต้องการความถูกต้องทางตำแหน่งน้อยกว่า 1 เมตร</p> 2022-09-19T23:38:57+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1338 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอนุกรมเวลาอินซาร์เพื่อติดตามการเคลื่อนตัวของเขื่อนศรีนครินทร์ 2022-09-20T18:24:14+07:00 นันทัชพร ปิยะมะรัตน์ nantouchaporn.pi@ku.th อนุเผ่า อบแพทย์ fengaha@ku.ac.th <p>ปัจจุบันการนำข้อมูลดาวเทียมจากเรดาร์ช่องเปิดสังเคราะห์ (SAR)มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบการเคลื่อนตัวของเขื่อนนั้นประสบความสำเร็จเป็น อย่างมาก เนื่องจากสามารถตรวจสอบติดตามการเคลื่อนตัวของเขื่อน ได้สะดวกและมีความแม่นยำสูง แต่การเคลื่อนตัวของเขื่อนนั้นเกิดขึ้นได้จากหลาย ปัจจัย จึงควรมีการตรวจสอบในบริเวณกว้างและสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยไม่มีข้อจำกัดในการใช้ทรัพยากรบุคคลเพื่อลงพื้นที่ ตรวจสอบ งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอนุกรมเวลาของอินซาร์ (Time – series InSAR) ในการติดตามการเคลื่อนตัวของโครงสร้างเขื่อน และ ศึกษารูปแบบการแสดงผลลัพธ์แบบสามมิติที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างทางวิศวกรรม ในงานวิจัยได้นำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-1 จำนวน 24 ภาพตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2564 พื้นที่ศึกษาคือ เขื่อนศรีนครินทร์ ตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่า กระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ความสูง 140 เมตร ความยาว 610 เมตร และความ กว้าง 15 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการวิจัยผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในแนวทิศทางดาวเทียม โดยตรวจพบการเคลื่อนตัวประมาณ -05.22 มิลลิเมตรต่อปี ไปจนถึง +07.04 มิลลิเมตรต่อปี การประยุกต์ใช้อนุกรมเวลาอินซาร์ในการตรวจสอบการเคลื่อนตัวของเขื่อนนั้นเป็นการระบุพื้นที่ที่ เกิดการเคลื่อนตัว โดยเป็นเพียงการเตือนความปลอดภัย และแสดงให้เห็นว่าบริเวณพื้นที่ใดต้องมีการดำเนินการตรวจสอบที่แม่นยำและมีการลงพื้นที่เพื่อ ตรวจสอบความปลอดภัยเขื่อนมากขึ้น จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Time-series InSAR และการแสดงผลลัพธ์ที่ ได้จากการติดตามการเคลื่อนตัวของเขื่อนในรูปแบบสามมิติผ่านทาง Cesium The Platform for 3D Geospatial</p> 2022-09-19T23:41:06+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1299 แนวทางการจัดการของเสียห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา ตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL) : กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2022-09-20T18:24:16+07:00 สุพิชชา เมืองพนัส voramin@npu.ac.th บงกช นิตยคณิต st6bong@gmail.com วรมิญช์ พันธุรัตน์ voramin@npu.ac.th <p>กิจกรรมการเรียนการสอนและการวิจัยของห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา ก่อให้เกิดของเสียประเภทวัสดุก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต้องมีการบริหาร จัดการ เพื่อความเป็นระเบียบ ปลอดภัย และลดปริมาณของเสีย การสำรวจระบบการจัดการของเสียตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยใน ประเทศไทย (ESPReL) ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินระบบการจัดการของเสียห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย นครพนม พบของเสียประเภทเศษคอนกรีต อิฐ ปูน เหล็ก ยางมะตอย ไม้ และขวดสารเคมี และได้ทำการประเมินในประเด็น การจัดการข้อมูลของเสีย การ เก็บของเสีย การลดการเกิดของเสีย และการบำบัดและกำจัดของเสีย พบว่าไม่มีการจัดการของเสียตามมาตรฐาน ESPReL เป็นส่วนใหญ่ มีเพียงบาง รายการที่เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น การมีพื้นที่/บริเวณจัดเก็บของเสียที่แน่นอน แนวทางการจัดการของเสียได้รับการเสนอแนะตามแนวปฏิบัติ ESPReL และมีวิธีการที่สอดคล้องกับลักษณะสภาพการดำเนินงานและปัจจัยในการจัดการของห้องปฏิบัติการที่ใช้ศึกษา ตัวอย่างการจัดการที่ดีในบางประเด็น สามารถจัดทำเป็นคู่มือการตรวจสอบและจัดการของเสียได้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้เพื่อบริหารจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ วิศวกรรมโยธาหรือห้องปฏิบัติการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้</p> 2022-09-20T08:53:47+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1956 บล็อกประสานมวลเบาบดเป็นมวลรวมสำหรับการผลิตบล็อกใหม่: หนทางสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน 2022-09-20T18:24:16+07:00 วริสรา เลิศไพฑูรย์พันธ์ warisara.le@spu.ac.th สมบัติ โพชนา warisara.le@spu.ac.th <p>วัสดุมวลรวม (Aggregate) เป็นวัสดุธรรมชาติที่ใช้มากที่สุดในการก่อสร้าง และความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของเมือง ทำให้เกิดปัญหาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีปัญหาการจัดการขยะที่ทุกประเทศกำลังเผชิญ เพื่อลดปัญหาทั้งสองนี้จึงมีแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่าและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด วิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้คือนำผลิตภัณฑ์ที่เลิกใช้แล้วกลับไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่ งานวิจัยนี้จึงศึกษาความเป็นไปได้ของนำคอนกรีตบล็อกมวลเบา (ชนิด C10) ที่เสียหายจากกระบวนการผลิตของโรงงานที่เป็นกรณีศึกษา นำมาบดเพื่อใช้เป็นมวลรวมรีไซเคิลทดแทนทรายในการผลิตคอนกรีตบล็อกมวลเบาใหม่ โดยใช้สูตรผสมที่ต่างกัน พบว่า บล็อกที่บดแล้วมีความถ่วงจำเพาะใกล้เคียงกับทรายแม่น้ำทั่วไปแต่มีอัตราการดูดซึมน้ำมากกว่าทรายแม่น้ำ เมื่อนำไปผสมเป็นบล็อกมวลเบาใหม่ (ชนิด C12) พบว่า ทุกอัตราส่วนผสมมีค่าความต้านแรงอัดที่อายุการบ่ม 28 วัน อยู่ระหว่าง 27-39 kg/cm<sup>2</sup> ซึ่งสูงกว่าความต้านแรงอัดตาม มอก.2601-2556 กำหนด ส่วนค่าการดูดซึมน้ำส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ มีเพียง 1 สูตรผสมที่ไม่ผ่านเกณฑ์ แต่ค่าความหนาแน่นเกือบทุกสูตรผสมสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน นั่นคืออยู่ในช่วง 1,166-1,423 kg/m<sup>3</sup> ซึ่งสูงกว่าความหนาแน่นบล็อกมวลเบาชนิด C12</p> 2022-09-20T08:56:02+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1782 กรอบความคิดของรายละเอียดการพิจารณาข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ ของรัฐ พ.ศ. 2556 กับ พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 2022-09-20T18:24:18+07:00 นฤมิต คำวิเศษ kukamyhome@gmail.com วัชระ สัตยาประเสริฐ cmulibref@cmu.ac.th <p>ในปัจจุบันประเทศไทยจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ20 ปีเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ส่งผลไปยังการเติบโต ของเศรษฐกิจ และ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของทรัพยากรมนุษย์จึงมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้นมากมายหลายโครงการ เช่น รถไฟฟ้า ถนนทาง ด่วน มอเตอร์เวย์ เป็นต้น สิ่งปลูกสร้างโครงสร้างพื้นฐานนี้ รัฐบาลได้มีการร่วมมือกับภาคเอกชน ในการสัมปทาน เพื่อทำการก่อสร้างขึ้น โดยยึดหลักการ ทำงานภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 และ พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าอิสระ ได้อ่านมาตราข้อกฎหมายแล้ว พบว่ามีจุดที่ซับซ้อนและทำความเข้าใจยากหลายจุด จึงนำมาปรับปรุงให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นใน รูปแบบกรอบความคิด เพื่อสามารถตอบประเด็นคำถามที่ยังคงค้างได้ โดยเป็นการศึกษาค้นคว้าอิสระเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ลักษณะ แบบสอบถามที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย เพื่อเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ของหน่วยงานภาครัฐ และ ภาคเอกชน สำหรับการใช้กรอบความคิด แล้วนำข้อมูลมา สังเคราะห์เป็นองค์ประกอบและตัวชี้วัดของกฎหมายการร่วมลงทุน</p> 2022-09-19T22:18:53+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1820 คุณสมบัติของแอสฟัลต์คอนกรีตผสมด้วยขยะทะเล 2022-09-20T18:24:18+07:00 ชัยวัฒน์ ใหญ่บก Chaiwat.y@rmutsv.ac.th ปิยะพงศ์ สุวรรณโณ piyapong.su@rmutsv.ac.th ประสาร จิตร์เพ็ชร prasan.j@rmutsv.ac.th <p>ปัญหาขยะทะเลในปัจจุบันได้ส่งผลต่อระบบนิเวศชายฝั่งทางทะเลและมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะขยะจากขวดพลาสติกและเศษแก้ว จึงมีแนวคิด ในการนำขยะมาประยุกต์ใช้กับงานแอสฟัลต์คอนกรีตเพื่อลดปัญหาขยะทะเล โดยได้ออกแบบส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตที่ใช้เฉพาะงาน (Job Mix Formula) ด้วยการนำขวดพลาสติก (P) และเศษแก้ว (G) มาย่อยให้มีขนาดเล็กประมาณ 0.30 มิลลิเมตร เพื่อนำไปแทนที่วัสดุมวลรวมละเอียดที่ค้างบน ตะแกรงเบอร์ 50 ในอัตราส่วนร้อยละ P25:G25, P25:G50, P50:G25 และ P50:G50 ตามลำดับ จึงทำการผสมวัสดุมวลรวมคละขนาดในยุ้งหินร้อน (Hot Bin) อัตราส่วน 40:33:15:12 โดยน้ำหนัก ใช้ปริมาณแอสฟัลต์ซีเมนต์เกรด AC 60-70 ผสมร้อยละ 4.5, 5.0, 5.5, 6.0 และ 6.5 โดยน้ำหนักของวัสดุมวล รวม จากนั้น จัดทำก้อนตัวอย่างในห้องปฏิบัติการและทำการทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยวิธี มาร์แชลล์ของกรมทางหลวง ซึ่งผลการทดสอบพบว่า การแทนที่พลาสติกร้อยละ 25 และเศษแก้วร้อยละ 25 (P25:G25) ทำให้คุณสมบัติของความหนาแน่น ค่าเสถียรภาพ ค่าการไหล ร้อยละของช่องว่างอากาศ ร้อยละของช่องว่างที่ถูกแทนที่ด้วยแอสฟัลต์ (VFA) และร้อยละของช่องว่างมวลรวม (VMA) เป็น อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดและเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของกรมทางหลวง รองลงมาคือ อัตราส่วนการแทนที่ P25:G50 เมื่อเปรียบเทียบ กับอัตราส่วนการผสมอื่นๆ โดยอัตราส่วนผสมดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกในการลดปริมาณขยะทะเลในงานทางวิศวกรรมได้อีกทางหนึ่งด้วย</p> 2022-09-19T22:20:01+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1484 การศึกษาผลของจำนวนและตำแหน่งในการติดตั้งแอร์แวต่อแรงดันในระบบส่งน้ำ 2023-04-07T11:06:15+07:00 ยุทธศักดิ์ อนันตเดชศักดิ์ a.yuthasak@gmail.com พนิดา สีมาวุธ a.yuthasak@gmail.com <p>แอร์แว คืออุปกรณ์เสริมที่เกษตรกรคนไทยนิยมติดตั้งในระบบสูบส่งน้ำซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้การสูบน้ำไปได้ไกลและเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อการจัดการการติดตั้งแอร์แวให้เป็นไปตามตามความเหมาะสม บทความนี้ขอนำเสนอการศึกษาผลของจำนวนและตำแหน่งในการติดตั้งแอร์แว ต่อความดันในระบบส่งน้ำโดยใช้ต้นแบบจากกรมชลประทานมาศึกษาโดยการเพิ่มจำนวนแอร์แวจาก 2 ตัว เป็น 3 ตัว ซึ่งค่าอัตราการไหลที่เหมาะในการใช้งานอยู่ในช่วง 160 ถึง 400 ลิตรต่อนาที โดยการทดลองนั้นจะปรับเปลี่ยนอัตราการไหลที่แตกต่างกัน 5 ค่า จากการทดลองพบว่าการติดตั้งโดยใช้แอร์แว 1 ตัว, 2 ตัว, และ 3 ตัว ให้ค่าความดันในท่อส่งน้ำไม่แตกต่างจากท่อเปล่า หากพิจารณาในแง่ของการไหลพบว่าการใช้แอร์แว 3 ตัว จะช่วยดักอากาศที่อยู่ในเส้นท่อได้มากขึ้นทำให้ลดความผันผวนของอัตราการไหลได้ดีกว่ากรณีอื่นๆ ในส่วนของระยะในการติดตั้งแอร์แวที่เหมาะสมควรติดตั้งแอร์แวตัวแรกที่ระยะห่างจากปั๊ม 1.5 เมตร นอกจากนี้ยังพบว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับควบคุมประตูน้ำเพื่อเลี้ยงความดันในท่อส่งน้ำให้สามารถส่งน้ำได้ไกลขึ้นโดยการปิดประตูน้ำ 7 วินาที และ เปิดประตูน้ำภายใน 5 วินาที</p> 2022-09-19T22:26:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1711 การใช้แอสฟัลต์คอนกรีตเก่าผสมกับหินคลุกและซีเมนต์ในงานก่อสร้างถนน 2022-09-20T18:24:20+07:00 รศ.ดร.สราวุธ จริตงาม jaritngam@gmail.com โอภาส สมใจนึก jaritngam@gmail.com พิษณุ ช่วยเวช jaritngam@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาคุณสมบัติและอัตราส่วนที่เหมาะสมของแอสฟัลต์คอนกรีตเก่าต่อซีเมนต์ที่มีผลต่อค่ากำลังรับแรงอัดแก นเดียว (UCS) เพื่อทดแทนหินคลุก โดยกำหนดสัดส่วนตัวอย่างทดสอบแอสฟัลต์คอนกรีตเก่าต่อหินคลุกในสัดส่วนผสมร้อยละ 10, 20, 30, 40, 50, 60 และ 70 ของน้ำหนักรวม มาทำการทดสอบเพื่อหาค่าของกำลังรับแรงอัดแกนเดียว (UCS) จากผลการทดสอบพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียว (UCS) จะมีค่าลดลง เมื่อเพิ่มปริมาณของแอสฟัลต์คอนกรีตเก่า (RAP) และอัตราส่วนของ RAP ที่ร้อยละ 10 ของน้ำหนักรวมจะมีค่าของ UCS มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับหิน คลุกสองตัวอย่างที่มีคุณสมบัติทางวิศวกรรมต่างกัน พบว่าค่า UCS ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของหินคลุก จากการศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำแอสฟัลต์ คอนกรีตเก่ามาใช้เป็นวัสดุทางเลือกในการก่อสร้างหรือปรับปรุงถนนได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ของวิศวกรรมการทาง ซึ่งผ่านตามข้อกำหนดของกรมทาง หลวงที่ชั้นพื้นทางหินคลุกผสมปูนซีเมนต์ที่กำหนดให้ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวต้องไม่น้อยกว่า 24.50 ksc ที่ระยะเวลาการบ่ม 7 วัน</p> 2022-09-19T22:27:45+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1377 แนวคิดการบำรุงปกติงานทาง สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2022-09-20T18:24:20+07:00 ชิตณุพงศ์ ชัยสุขนิพัทธ์ ceemmu@gmail.com พรหมนรินทร์ เงาสุมาตย์ ceemmu@gmail.com ทวีศักดิ์ ปานจันทร์ ceemmu@gmail.com ณัฐวุฒิ เสียงแจ้ว ceemmu@gmail.com ณรงค์ คู่บารมี ceemmu@gmail.com <p>ทางหลวงท้องถิ่นในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี ระยะทางรวมกว่า 597,667 กิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 80 ของทาง หลวงทั้งหมดในประเทศ ทางหลวงท้องถิ่นเหล่านี้มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อ และเข้าถึงพื้นที่ชุมชน ในระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นฐาน ของการพัฒนาในด้านการคมนาคมของประเทศ การบำรุงรักษาทางหลวง ท้องถิ่นเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะทำให้ทางหลวงท้องถิ่น เหล่านี้อยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งานแล้ว ยังจะส่งผลดีต่อการลด งบประมาณซ่อมบำรุงรักษา และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม</p> <p>การบำรุงปกติงานทาง หรือ Road routine Maintenance เช่น งาน ซ่อมแซมหลุมบ่อ และงานตัดหญ้าข้างทาง และงานทำความสะอาดระบบ ระบายน้ำ โดยไม่ละเลยปัญหาเล็กน้อยที่จะส่งผลให้ถนนเกิดความเสียหาย เป็นกระบวนการเริ่มต้นของงานซ่อมบำรุงที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานของ ทางหลวงท้องถิ่น และช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายลุกลาม การบำรุงปกติก่อนที่ถนนจะเกิดความเสียหายจึงมีความจำเป็นเพื่อให้ถนน อยู่ในสภาพดี บทความนี้เสนอองค์ความรู้การบำรุงปกติงานทาง สำหรับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น</p> 2022-09-19T22:29:08+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1447 การพัฒนาการติดตามความปลอดภัยของเขื่อนด้วย เทคโนโลยีอนุกรมเวลา InSAR 2022-09-20T18:24:20+07:00 ธนวัฒน์ บุณยะผลึก tanawat.buny@ku.th อนุเผ่า อบแพทย์ anuphao.a@ku.ac.th สรวิศ สุภเวชย์ fengsvsu@ku.ac.th <p>การติดตามความปลอดภัยของเขื่อนในประเทศไทยเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่มีการติดตามตรวจสอบอย่างเป็นระบบโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ มาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการเคลื่อนตัวของโครงสร้างเขื่อนและบริเวณโดยรอบที่อาจจะส่งผลต่อเสถียรภาพของเขื่อนได้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้ง ภายในและภายนอกรวมไปถึงลักษณะโครงสร้างของเขื่อนนั้น ๆ ที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบส่งน้ำ ระบบระบายน้ำ และมีโอกาสเกิดการ พังทลายหรือการพิบัติของตัวเขื่อน (Dam Break) ได้เป็นต้น เพราะฉะนั้นการติดตามความปลอดภัยของเขื่อนเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นงานที่ต้องใช้เทคนิค การสำรวจที่มีความแม่นยำและมีความละเอียดเชิงพื้นที่สูง รวมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของเวลาและแรงงานในการสำรวจ เนื่องจากการเคลื่อนตัว นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ จึงต้องใช้ข้อมูลแบบอนุกรมเวลาจากดาวเทียม Sentinel-1 ตั้งแต่เดือน มกราคม 2560 ถึงเดือน มกราคม 2565 มาทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอนุกรมเวลาอินซาร์ (TSInSAR) โดยใช้พื้นที่ศึกษาคือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเขื่อน Earth Fill (Zoned Type) ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อจังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างมาก มีความสูง 68 เมตร ความยาวสันเขื่อน 610 เมตร ความกว้างสันเขื่อน 10 เมตร และสามารถกักเก็บน้ำได้มากถึง 295 ล้านลูกบาศก์เมตร จากผลการวิจัยพบว่าเขื่อนแม่กวงอุดมธารามีการทรุดตัวอย่างช้า ๆ ประมาณ -3 ถึง -5 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งอัตราการทรุดตัวนี้สามารถนำไปเป็นปัจจัยหนึ่งในการตรวจสอบร่วมกับเครื่องมือการสำรวจอื่น เพราะในอนาคตหากมีการตรวจพบการ เคลื่อนตัวที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็อาจจะส่งผลให้เกิดการพิบัติของตัวเขื่อน (Dam Break) ได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำแบบจำลอง HEC-RAS 6.0 เข้ามาช่วยจำลอง ประมวลผลพื้นที่น้ำท่วมในรูปแบบ 3D เพื่อนำมาวิเคราะห์หาพื้นที่ความเสียหายและพื้นที่ที่จะเกิดน้ำท่วมเพื่อเตรียมทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน (EAP) และ พัฒนาเป็นกระบวนการแจ้งเตือน เพื่อเป็นเกณฑ์และแนวทางมาตรฐานในการดำเนินงานในขั้นตอนการปฏิบัติการต่อไปในอนาคต</p> 2022-09-19T22:30:45+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1568 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประเมินโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางถนนขนาดใหญ 2022-09-20T18:24:21+07:00 ชาครีย์ บำรุงวงศ์ chakree_b@drr.go.th นพดล กรประเสริฐ nopkron@gmail.com ปรเมศวร์ เหลือเทพ paramet.l@psu.ac.th ธเนศ เสถียรนาม sthaned@kku.ac.th <p>การพัฒนาคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบการขนส่งทางถนนเป็นองค์ประกอบหลักในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยในแต่ละปี หน่วยงานทางได้ดำเนินโครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนนขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายตัวชี้วัดที่สำคัญตามยุทธศาสตร์ชาติ อันได้แก่ การลดต้นทุนโลจิสติกส์ การลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และการลดก๊าซเรือนกระจกบนท้องถนน การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนนขนาดใหญ่จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อติดตามและประเมินประสิทธิผลของโครงการให้มีสภาพการจราจรที่คล่องตัว ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) สำหรับติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางถนนขนาดใหญ่ โดยได้ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีอิน เทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things, IoT) และการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) ร่วมกับการวิเคราะห์ภาพวิดีโอ (Video Analytics) มาช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ อาทิเช่น ปริมาณจราจร ความเร็วของยานพาหนะ ความขัดแย้งการจราจร ความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และปริมาณมลพิษทางอากาศ เป็นต้น การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อติดตามและประเมินประสิทธิภาพของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ทางหลวงชนบท ปท.3004 จังหวัดปทุมธานี เป็นกรณีศึกษา</p> 2022-09-19T22:33:44+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1691 การประเมินคุณภาพของการล้างหินโรยทางด้วยเครื่องจักร 2022-09-20T18:24:22+07:00 พิษณุ พลายนุวัตร phitsanu.ph@railway.co.th ทัศไนย ไชยชนะ phitsanu.ph@railway.co.th สิทธิภัสร์ เอื้ออภิวัชร์ Sitthiphat@buu.ac.th <p>โครงสร้างทางรถไฟแบบใช้หินโรยทางเป็นโครงสร้างที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายและมีสัดส่วนที่มากที่สุดของระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย ดังนั้นรูปแบบการซ่อมบำรุงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดูแลรักษาทางรถไฟให้มีความสมบูรณ์ มั่นคงแข็งแรงเพียงพอต่อการสัญจร ซึ่งในการบำรุงรักษาทาง รถไฟแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างส่วนบน (Superstructure) ประกอบไปด้วย ราง หมอนรองราง และเครื่องยึดเหนี่ยวราง ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนัก จากรถไฟและลดหน่วยแรงลงสู่โครงสร้างส่วนล่าง (Substructure) ประกอบไปด้วย หินโรยทาง ดินคันทาง ทำหน้าที่กระจายแรงของรถไฟลงสู่ฐานราก โดยที่ความสกปรกของหินโรยทาง (Ballast fouling) มีอิทธิพลโดยตรงต่อความสามารถการรับน้ำหนักของโครงสร้างทางรถไฟ ซึ่งสามารถประเมินได้จาก การเพิ่มขึ้นของส่วนละเอียด รวมไปถึงการสูญเสียขนาดคละของเม็ดหิน (Degradation) จากน้ำหนักจร ทำให้วิธีการล้างหินหรือการแยกสิ่งเจือปนออกจาก ชั้นหินโรยทางนั้นส่งผลให้โครงสร้างทางรถไฟมีกำลังรับน้ำหนักที่ดีขึ้น ดังนั้นบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ ของหินโรยทางด้วยเครื่องจักรที่ใช้ในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย การตรวจสอบด้วยการใช้เครื่องมือเรดาร์หยั่งลึก (Ground Penetrating Radar, GPR) และการประเมินขนาดคละของหินโรยทาง ผ่านกรณีศึกษาของการซ่อมบำรุงทางรถไฟสายเหนือจากการใช้งานรถล้างหินของการรถไฟแห่งประเทศ ไทยปัจจุบัน พร้อมข้อเสนอแนะที่นำไปประยุกต์ใช้กับการซ่อมบำรุงทางรถไฟต่อไปในอนาคต</p> 2022-09-19T22:35:02+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1362 การจัดลำดับความสำคัญของโครงการซ่อมบำรุงทาง โดยวิธี Super-Efficiency DEA 2022-09-20T18:24:23+07:00 พิสิฏฐ์ ถูกมี pisit_tookmee@hotmail.com ทรงยศ กิจธรรมเกษร songyot@eng.cmu.ac.th <p>การซ่อมบำรุงรักษาทางเป็นกิจกรรมสำคัญที่ทำเป็นประจำและตามช่วงเวลาที่ออกแบบไว้เพื่อรักษาสภาพทางให้มีความใกล้เคียงกับตอนก่อสร้างเสร็จสืบเนื่องจากโครงการซ่อมบำรุงทางหลวงชนบทมีจำนวนมาก การพิจารณาการจัดลำดับความสำคัญของสายทางจึงเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ งานศึกษานี้นำวิธีโอบล้อมข้อมูล (Data Envelopment Analysis, DEA) ด้วยการคำนวณหาค่าประสิทธิภาพซุปเปอร์ (Super Efficiency) มาประยุกต์ใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของสายทางในการซ่อมบำรุงทางหลวงชนบท โดยปัจจัยนำเข้า (Input) และปัจจัยผลผลิต (Output) พิจารณาจากข้อมูลด้านวิศวกรรม สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม จากกรณีศึกษาโครงการซ่อมบำรุงทางหลวงชนบทในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า ผลการวิเคราะห์จะให้ค่าคะแนนในการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละสายทาง ซึ่งสายทางที่มีปริมาณจราจรที่ใช้ในเส้นทางค่อนข้างสูง มีสถานที่สำคัญในสายทางจำนวนมาก อายุการใช้งานมาก ค่าการแอ่นตัวสูง ค่าดัชนีความเรียบขรุขระสากลสูง และค่าดัชนีความเสียหายสูง ซึ่งหมายถึงสายทางมีความเสียหาย ส่งผลให้สายทางได้รับค่าคะแนนการจัดลำดับความสำคัญสูง</p> 2022-09-19T22:36:19+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1853 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย 2022-09-20T18:24:24+07:00 จุฑามาศ ลักษณะกิจ chuthamat.l@rmutsv.ac.th นันทชัย ชูศิลป์ nuntachai.c@rmutsv.ac.th วิศิษฎ์ศักดิ์ ทับยัง wisitsak.t@rmutsv.ac.th พัชรี ทองช่วย patcharee.to@rmutsv.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย<br>กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ที่สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประเภทรูปแบบ / เทคนิค / วิธีสอน ที่นำมาใช้ในระดับสูง คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ ระดับกลาง คือ การจัดการเรียนรู้แบบโครงสร้างความรู้ และการจัดการเรียนรู้แบบถามตอบ และระดับต่ำ คือ การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และการจัดการเรียนรู้แบบทดลอง นวัตกรรมประเภทสิ่งประดิษฐ์ที่นำมาใช้ในระดับสูง คือ เอกสารประกอบการเรียนรู้ ระดับกลาง คือ แบบฝึกทักษะ / ชุดการฝึก และระดับต่ำ คือ หนังสือเรียน / แบบเรียน และ สื่อมัลติมิเดีย การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ทักษะการคิด ทักษะการเรียนรู้<br>และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.9 3.7 และ 3.7 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69 0.77 และ 0.75 ตามลำดับ</p> 2022-09-20T08:41:34+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1658 การใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับการจัดกลุ่มกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ชนบท – กรณีศึกษาบ้านป่าตาล จ.เชียงราย 2022-09-20T18:24:24+07:00 กฤช สิทธิวางค์กูล krit.sit@mfu.ac.th ทศพร อารีราษฎร์ tosporn.arr@mfu.ac.th สุนิดา ธิว่อง sunida.tiw@mfu.ac.th <p>บทความนี้มุ่งเน้นในการใช้เทคนิคกฎความสัมพันธ์ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งในเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง โดยความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปสร้าง ความสัมพันธ์ของกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นต้นแบบของกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน ต.บ้านป่าตาล เนื่องจากอยู่ในช่วงของการแพร่ระบาดของ Covid-19 ข้อมูลที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์มาจากการสัมภาษณ์คนในชุมชนที่อยากจะเสนอแนะให้นักท่องเที่ยวได้ทำกิจกรรมใดบ้างในชุมชนของตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์กฎความสัมพันธ์คือ RapidMiner ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมที่คนในชุมชนมีการแนะนำมากที่สุด คือ กิจกรรมไหว้พระ และกิจกรรมปั่นจักรยานรอบหมู่บ้าน ส่วนกิจกรรมอื่นที่แนะนำรองลงมา ได้แก่ ล่องแพ ปลูก-เกี่ยวข้าว สปาก้อนหิน ตามลำดับ โดยผลที่ ได้จากการศึกษาสามารถนำไปสร้างการรับรู้ของคนในชุมชนให้วางแผนและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในช่วงหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยสามารถแบ่งกลุ่มกิจกรรมออกเป็นสามกลุ่มตามความสนใจของนักท่องเที่ยว ได้แก่ 1) กลุ่มกิจกรรมวิถีชุมชนปศุสัตว์, 2) กลุ่มกิจกรรม สุขภาพบำบัด และ 3) กลุ่มกิจกรรมสายบุญไหว้พระ</p> 2022-09-20T08:42:49+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1556 แรงจูงใจและความคาดหวังของผู้เรียนสาขาวิศวกรรมโยธาเป็นปริญญาที่สอง 2022-09-20T18:24:25+07:00 ศลิษา เปลี่ยนดี salisanaja@hotmail.com <p>บทความนี้มุ่งที่การค้นหาแรงจูงใจและความคาดหวังของผู้เรียนสาขาวิศวกรรมโยธาเป็นปริญญาที่สองเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้สำรวจผู้ลงทะเบียนเรียนปริญญาสาขาวิศวกรรมโยธาเป็นปริญญาตรีใบที่สอง จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการจัดเรียงลำดับ ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจของนักศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก แรงจูงใจที่สำคัญคือนักศึกษาต้องการนำวุฒิการศึกษาไปใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในธุรกิจของตนเอง ต้องการต่อยอดจากเดิมที่งานวิศวกรรมด้านอื่นๆไปสู่งานในสาขาวิศวกรรมโยธาด้วย ความคาดหวังการเรียนรู้ที่สำคัญคือเนื้อหาที่สามารถประยุกต์ใช้กับงานภาคปฏิบัติได้จริง</p> 2022-09-20T08:44:10+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1951 แนวทางและการสำรวจความเห็นในด้านการออกแบบ การผลิต และการติดตั้ง แผงสถาปัตยกรรมภายนอกที่ทำจากคอนกรีตหล่อสำเร็จ 2022-09-20T18:24:25+07:00 พรพิมลย์ นาคอ่อน pornpimol.nakon@gmail.com ชูชัย สุจิวรกุล chuchai.suj@kmutt.ac.th เอนก ศิริพานิชกร anek.sir@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการให้แนวทางการตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ใน PCI Handbook และทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบ การผลิต และการติดตั้งแผงสถาปัตยกรรมภายนอกที่ทำจากคอนกรีตหล่อสำเร็จ พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่องานก่อสร้างแผงสถาปัตยกรรมภายนอก งานวิจัยนี้ได้พัฒนาแบบสอบถามเพื่อสำรวจการคำนึงถึงการทำงานแผงสถาปัตยกรรมภายนอกจำนวน 3 ชุด สำหรับใช้ในการเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งประกอบด้วย ผู้ออกแบบ ผู้ผลิต และผู้ติดตั้ง แต่ละชุดของแบบสอบถามประกอบไปด้วย 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม และตอนที่ 2 เกี่ยวกับการคำนึงถึงการออกแบบ (ชุดที่ 1) การผลิต (ชุดที่ 2) และการติดตั้ง (ชุดที่ 3) แผงสถาปัตยกรรมภายนอก จากผลการสำรวจการคำนึงถึงแผงสถาปัตยกรรมภายนอกตามที่กำหนดไว้ในคู่มือของ PCI ได้พบว่า ผู้ออกแบบมีระดับการคำนึงถึงอยู่ในระดับ<br>มาก ( ???? = 4.08, SD = 0.69) ผู้ผลิตมีระดับการคำนึงถึงอยู่ในระดับมากที่สุด ( ???? = 4.36, SD = 0.47) และผู้ติดตั้งมีระดับการคำนึงถึงอยู่ในระดับมากที่สุด( ???? = 4.25, SD = 0.57) นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ออกแบบ ผู้ผลิตและผู้ติดตั้งที่ส่วนใหญ่ได้ละเลยในการออกแบบ การผลิต และการติดตั้ง โดยพิจารณาจากผลการสำรวจที่ได้ระดับคะแนนน้อยสุด 4 - 5 อันดับสุดท้าย ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาให้ความสำคัญในกระบวนการออกแบบ การผลิต และการติดตั้ง ให้มากขึ้นเพื่อให้ได้แผงสถาปัตยกรรมภายนอกที่มีคุณภาพ</p> 2022-09-20T08:45:09+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1950 อิทธิพลของขนาดมิติและความชะลูดของอาคารที่มีต่อแรงภายในของโครงสร้างอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้แรงลม 2022-09-20T18:24:26+07:00 ภาคภูมิ เล็กสมบูรณ์ไชย civil_mahamek@yahoo.com ชูชัย สุจิวรกุล chuchai.suj@kmutt.ac.th เอนก ศิริพานิชกร anek.sir@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลกระทบของขนาดมิติและความชะลูดของอาคารที่มีต่อการรับแรงกระทำด้านข้างจากแรงลม รวมถึงโมเมนต์ดัด แรงเฉือน และการโก่งตัว ของโครงสร้างอาคาร โครงสร้างอาคารที่ทำการศึกษาเป็นระบบโครงข้อแข็งร่วมกับกำแพงรับแรงเฉือน โดยกำหนดรูปทรงของผังโครงสร้างอาคารเป็นแบบสมมาตรทั้งสองแกนหลัก อาคารที่ทำการศึกษามีอัตราส่วนด้านกว้างต่อด้านยาวเท่ากับ 1:1 1:2 และ 1:3 และอาคารมีความสูงเท่ากับ 15 27 39 และ 54 เมตร ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า แรงดันลมที่กระทำกับโครงสร้างอาคารจะแปรผันเพิ่มขึ้นตามความสูงที่เพิ่มขึ้นของอาคารและสภาพภูมิประเทศที่อาคารตั้งอยู่ สำหรับสภาพภูมิประเทศแบบชานเมือง แรงดันลมที่ได้จาก มยผ.1311-50 ที่ระดับความสูง 15 จะให้ค่ามากกว่าที่ได้รับจากกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) และร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. 2565) แต่เมื่อระดับความสูงของอาคารมากขึ้นเป็น 27-54 เมตร แรงดันลมที่ได้จาก มยผ.1311-50 ที่ระดับความสูง 15 เมตร จะให้ค่าน้อยกว่าที่ได้รับจากกฎกระทรวงทั้งสองค่อนข้างมาก ถ้าหากพิจารณาแรงภายในที่เกิดขึ้นที่ฐานของโครงสร้างจะพบว่า สำหรับอาคารที่มีความสูง 15 เมตร โมเมนต์ดัดที่ฐานของผนังรับน้ำหนักที่ได้จาก มยผ.1311-50 จะให้ค่ามากกว่าเล็กน้อยเท่ากับ 1.045 และ 1.12 เท่า ตามลำดับ เมื่อเทียบกับค่าที่ได้รับจากกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) และร่างกฎกระทรวง (พ.ศ.2565) อย่างไรก็ตาม เมื่ออาคารมีความสูงมากขึ้น ค่าโมเมนต์ดัดที่ฐานของผนังที่ได้จาก มยผ.1311-50 จะมีค่าน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าที่ได้รับจากกฎกระทรวงทั้งสอง นอกจากนี้ หากทำการเปรียบเทียบอาคารที่มีความชะลูด (H/W) แตกต่างกัน พบว่า อาคารที่มี H/W ที่มากขึ้นจะให้ค่าโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนที่ฐานของผนังรับน้ำหนักมากขึ้นเป็นไปตามที่คาดไว้ โดยสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของแรงภายในของผนังรับน้ำหนักที่ได้จากแต่ละมาตรฐานและกฎกระทรวงมีค่าใกล้เคียงกัน</p> 2022-09-20T08:46:16+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1744 การศึกษาเบื้องต้นของประสิทธิภาพมอร์ต้าเสริมเส้นใยเหล็ก ภายใต้แรงกระแทกจากกระสุนและแรงระเบิด 2022-09-20T18:24:27+07:00 บูชิต มาโห้ buchit.m@rmutp.ac.th สิทธิศักดิ์ แจ่มนาม sittisak.j@eng.kmutnb.ac.th อภิสิทธิ์ เตชพัฒนากร buchit.m@rmutp.ac.th ปิติ สุคนธสุขกุล piti@kmutnb.ac.th ธนพัฒน์ น้ำจันทร์ tanapat.n@rmutp.ac.th กฤษดา เสือเอี่ยม gritsada.s@rmutp.ac.th เฉลิมพล ไชยแก้ว chalermphol.c@rmutr.ac.th พีรศักดิ์ เอี่ยมละออ buchit.m@rmutp.ac.th <p>สถานการณ์ก่อความไม่สงบในประเทศไทยยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเหตุการณ์แต่ละครั้งนำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก โครงสร้างที่สามารถป้องกันกระสุนและระเบิดจึงมีความสำคัญต่อการปกป้องผู้คนจากเหตุการณ์เหล่านี้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษาประสิทธิภาพในการต้านทานแรงกระแทกจากกระสุนปืนและระเบิดของมอร์ต้าเสริมเส้นใยเหล็ก (Steel Fiber Reinforced Mortar, SFRM) เพื่อใช้เป็นโครงสร้างสำเร็จรูปในการป้องกันแรงกระแทก การทดสอบได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การศึกษาประสิทธิภาพในการต้านทานกระสุนปืนขนาด 7.62 มม. ของผนังมอร์ต้าเสริมเส้นใยเหล็กปริมาณ 2% โดยปริมาตร ที่ความหนาแตกต่างกัน ส่วนที่ 2 การศึกษาประสิทธิภาพในการต้านทานแรงระเบิด TNT ขนาด 0.5 ปอนด์ โดยทำการติดตั้งระเบิดห่างจากตัวอย่างทดสอบเป็นระยะปรับทอน (Z) เท่ากับ 0.75 m/kg<sup>1/3 </sup>&nbsp;ผลการทดสอบพบว่ามอร์ต้าเสริมเส้นเหล็กมีประสิทธิภาพในการต้านทานกระสุนเมื่อมีความหนาตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรขึ้นไป ร้อยละการสูญเสียน้ำหนักเพิ่มขึ้นในช่วงที่ความหนาน้อยกว่า 80 มิลลิเมตร เนื่องจากการกะเทาะจากแรงกระแทกของกระสุน สำหรับการทดสอบการต้านทานแรงระเบิดพบว่าผนังมอร์ต้าธรรมดาเกิดการวิบัติโดยสมบูรณ์ แตกต่างจากผนังมอร์ต้าเสริมเส้นใยเหล็กที่เกิดเพียงรอยร้าวเล็กน้อย เนื่องจากมีเส้นใยช่วยปรับปรุงคุณสมบัติด้านการต้านทานแรงกระแทก</p> 2022-09-20T08:52:34+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1288 การพัฒนาต้นแบบของโครงการเพื่อสำรองใช้ในออโตเดสก์ เรฟวิต โดยระบบสารสนเทศหุ่นจำลองอาคาร 2022-09-20T18:24:27+07:00 ฐิติวัฒน์ ตรีวงศ์ titiwat.t@cit.kmutnb.ac.th จำรูญ หฤทัยพันธ์ titiwat.t@cit.kmutnb.ac.th มสฤณา แสงสุทธิ์ Masarina_mus@hotmail.com <p>โปรแกรมออโตเดสก์ เรฟวิต (Autodesk Revit Program) เป็นซอฟต์แวร์ช่วยออกแบบงานอาคารด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง โดยใช้หลักการ สร้างระบบจำลองสารสนเทศอาคารหรือการสร้างรูปแบบจำลองข้อมูลของอาคาร (Building Information Modeling) เพื่อลดขั้นตอนความขัดแย้งและลด การทำซ้ำของแบบงานอาคารขั้นต้น เนื่องจากคลังข้อมูลมาตรฐานของโปรแกรม BIM ที่มีให้บางชิ้นส่วนไม่มี ดังนั้นในงานวิจัยนี้เพื่อการจัดการต้นแบบของ โปรแกรมออโตเดสก์ เรฟวิต ในหมวดโครงสร้างเสาและคานที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลา สุดท้ายจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้จำนวนต้นแบบ ของโครงการในโปรแกรมออโตเดสก์ เรฟวิต สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผนงานและถอดปริมาณงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2022-09-19T15:27:35+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1852 การจำลองแผนงานก่อสร้างอาคารโดยใช้ระบบแบบจำลองสารสนเทศอาคาร 2022-09-20T18:24:28+07:00 ชลลดา เลาะฟอ chollada.la@gmail.com พนิดา สีมาวุธ chollada.la@gmail.com <p>ปัจจุบันเทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคารเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมก่อสร้างมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพแนวทางการใช้ ประโยชน์และข้อจำกัดของแบบจำลองสารสนเทศอาคารในการบริหารโครงการก่อสร้างจากกรณีศึกษาจริง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำ แบบจำลองสารสนเทศอาคารมาประยุกต์ใช้เพื่อการวางแผนงานโครงการก่อสร้าง โดยการสร้างแบบจำลองแผนงานก่อสร้าง จากกรณีศึกษาโครงการ ก่อสร้างอาคาร จำนวน 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอยอาคารรวม 2,377 ตารางเมตร การศึกษานี้ผู้วิจัยนำแบบจำลองสารสนเทศมาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการสร้าง แบบจำลองอาคารสามมิติ ถอดปริมาณวัสดุ และการประมาณราคาต้นทุนการก่อสร้างเพื่อจัดทำแบบจำลองแผนงานสำหรับใช้เป็นข้อมูลในการควบคุมและ ติดตามผลการดำเนินงานของโครงการก่อสร้าง ผลการศึกษาสามารถนำข้อมูลต้นทุนโครงการที่ได้จากการประมาณราคาด้วยโปรแกรมมาเชื่อมโยงสร้างเป็น แบบจำลองแผนงานก่อสร้างขึ้น ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารโครงการทุกฝ่ายสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อควบคุมและติดตามผลการดำเนินงานร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อสรุปประโยชน์ที่ได้รับ สามารถตรวจสอบข้อขัดแย้งของแบบก่อสร้างได้จากแบบจำลองสามมิติ สามารถแก้ไขชิ้นงานลักษณะ เดียวกันได้อย่างอัตโนมัติ การถอดปริมาณงานด้วยวิธีการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตรวจสอบความถูกต้องของแผนงานได้ ด้านข้อจำกัดความแม่นยำขึ้นอยู่ กับประสบการณ์และความละเอียดรอบครอบในการอ่านแบบเพื่อขึ้นแบบจำลองของผู้ใช้โปรแกรมเป็นหลัก และข้อจำกัดจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์</p> 2022-09-19T15:29:26+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1627 ระบบอพยพหนีไฟแบบเรียลไทม์ผ่านแบบจำลองสารสนเทศอาคารและเทคโนโลยีความจริงเสมือนเสริมใน โครงการก่อสร้าง 2022-09-20T18:24:28+07:00 สมจินตนา แขนงแก้ว Somjintana.ka@gmail.com นพดล จอกแก้ว noppadon.j97@gmail.com ธนิต ธงทอง dr_tanit@yahoo.com <p>เนื่องด้วยโครงการก่อสร้าง ได้ดำเนินการใช้เส้นทางอพยพหนีไฟในรูปแบบ 2 มิติ ซึ่งไม่สามารถระบุตำแหน่งปัจจุบันของคนงานและแสดงข้อมูลของ เส้นทางการอพยพหนีไฟได้ ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้อาจส่งผลทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี แบบจำลองสารสนเทศอาคารและเทคโนโลยีความจริงเสมือนเสริมเข้ามาใช้ในโครงการก่อสร้าง เพื่อจัดทำแบบก่อสร้างสำหรับแสดงลักษณะทางกายภาพ ของโครงการก่อสร้างและแสดงข้อมูลในรูปแบบ 3 มิติ งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาและแสดงถึงความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบจำลอง สารสนเทศอาคารและเทคโนโลยีความจริงเสมือนเสริม เพื่อพัฒนาระบบอพยพหนีไฟแบบเรียลไทม์ผ่านแบบจำลองสารสนเทศอาคารและเทคโนโลยีความ จริงเสมือนเสริมในโครงการก่อสร้าง สำหรับใช้ในการประมวลและแสดงข้อมูลการอพยพหนีไฟต่อคนงานได้อย่างถูกต้อง โดยงานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดสอบ ความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากระบบอพยพหนีไฟแบบเรียลไทม์ต้นแบบเบื้องต้น (Pilot study) ณ อาคารภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมเก็บข้อมูลทางกายภาพในแง่ของระยะทาง จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความคลาดเคลื่อน เมื่อเปรียบเทียบกับ ข้อมูลจากเครื่องมือวัดระยะทางเลเซอร์ MATALL MT-LM100 ผลการวิจัยพบว่าค่าความคลาดเคลื่อนของระบบอพยพหนีไฟแบบเรียลไทม์ต้นแบบมีค่า น้อยกว่า ±6% แสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของระบบอพยพหนีไฟแบบเรียลไทม์ต้นแบบผ่านแบบจำลองสารสนเทศอาคารและเทคโนโลยี ความจริงเสมือนเสริม มีความเป็นไปได้ในการแสดงข้อมูลการอพยพหนีไฟต่อคนงานได้อย่างถูกต้อง</p> 2022-09-19T15:30:51+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1576 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารใน การวิเคราะห์โครงสร้างอาคารในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย 2022-09-20T18:24:29+07:00 สุนิตา นุเสน sunita@rmutl.ac.th เจษฎาพร ศรีภักดี pornpote@rmutl.ac.th พรพจน์ นุเสน pornpote@rmutl.ac.th จักรกฤษ ปงกันมูล sunita@rmutl.ac.th นิธิอรรถ พัวพัน sunita@rmutl.ac.th พิทักษ์พงศ์ หมอช้าง sunita@rmutl.ac.th มานพ แก้วโมราเจริญ manop.k@cmu.ac.th <p>ศึกษาผลกระทบของแรงลมและแผ่นดินไหวเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของเหล็กเสริมโครงสร้างคอนกรีตของอาคารในแต่ละภูมิภาคของประเทศ ไทย โดยการจำลองโมเดลอาคารเรียนต้นแบบตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ด้วยโปรแกรมไฟไนต์อิลิเมนท์โรบอท โดย เลือกใช้อาคาร 3 ขนาดประกอบด้วยขนาด 350 ตารางเมตร 650 ตารางเมตร และ 1,350 ตารางเมตร นำผลการวิเคราะห์โครงสร้างของภูมิภาคที่มี ผลกระทบมากที่สุดและน้อยที่สุดมาประมาณราคางานก่อสร้าง เพื่อเปรียบเทียบกับราคากลางทางด้านปริมาณงานเหล็กเสริมและราคาที่ใช้ในการก่อสร้าง ทั้งนี้เป็นการศึกษาในส่วนของชั้นโครงสร้างตอม่อขึ้นไป</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าแรงแผ่นดินไหวส่งผลกระทบต่อการเกิดแรงเฉือนที่ฐานอาคารและการเคลื่อนตัวทางด้านของอาคารที่ตั้งในภาคเหนือมากที่สุด ขณะที่แรงลมส่งผลต่ออาคารมากที่สุดในภาคใต้ ส่วนของปริมาณเหล็กเสริมที่เปลี่ยนแปลงในโครงสร้างจะมากขึ้น ตามความรุนแรงของแรงลมและแรง แผ่นดินไหวซึ่งภาคเหนือมีปริมาณสูงสุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ โดยในส่วนของราคาเหล็กเสริมโครงสร้างอาคารคอนกรีตในอาคารขนาด 350 ตาราง เมตร และ 650 ตารางเมตร มีอัตราที่ลดลง ในส่วนของอาคารขนาด 1,350 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด</p> 2022-09-19T15:34:35+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1924 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อลดการใช้พลังงาน ด้วยการปรับปรุงกรอบอาคาร กรณีศึกษา: อาคารที่อยู่อาศัย 2022-09-20T18:24:29+07:00 นันทพล มหาวัน nantaponmahawan@gmail.com อภิชาต บัวกล้า apichat.bu@up.ac.th ฤทธิ์ทยุต ก้อนทอง rittayut.go@up.ac.th นพรัตน์ เกตุขาว nopparat.ka@up.ac.th <p>บทความนี้ศึกษาการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานของอาคารในระบบปรับอากาศ ด้วยการวิเคราะห์หาการวิเคราะห์แนวทางปรับปรุงกรอบอาคารที่เหมาะสม กรณีศึกษาเป็นอาคารที่พักอาศัยจากแบบมาตรฐานของภาครัฐ โดยใช้โปรแกรม Autodesk Revit วิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุงวัสดุกรอบอาคารเพื่อลดการใช้พลังงานที่เหมาะสมและคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งพิจารณาจากค่าภาระการทำความเย็นในระบบปรับอากาศที่ลดลง และเงินลงทุนเพิ่มเติมในการปรับปรุงกรอบอาคารของแต่ละแนวทางเลือก ผลการศึกษา พบว่า&nbsp; มีการปรับปรุง 4 แนวทางเลือก สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้มากกว่า 40 % โดยใช้เงินลงทุนน้อยกว่า 100,000 บาท การปรับปรุงด้วยการเปลี่ยนชนิดกระจกเป็นกระจกสะท้อนแสงและติดตั้งฉนวนใยแก้ว 3 นิ้วในผนังทิศตะวันตก พร้อมทั้งติดตั้งฉนวนใยแก้ว 6 นิ้วบนฝ้าเพดานชั้นบนสุดทั้งหมด เป็นแนวทางการปรับปรุงกรอบอาคารที่ดีที่สุดสำหรับกรณีศึกษานี้ สามารถลดการใช้พลังงานใช้ไฟฟ้ารายปีลงได้ 44 % โดยใช้เงินลงทุนปรับปรุงประมาณ 47,000 บาท ระยะเวลาคืนทุน 0.78 ปี</p> 2022-09-19T15:39:45+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1929 การประยุกต์ใช้แบบจำลองเสมือนจริงในการช่วยลดการเปลี่ยนแปลงงานในช่วงการก่อสร้าง 2022-09-20T18:24:30+07:00 วุฒิภัทร วัชรพันธ์ wuttipatbook@gmail.com นพดล จอกแก้ว noppadon.j@chula.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงมาใช้ในการก่อสร้าง ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงงานในโครงการก่อสร้าง จึงทำการศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เพื่อประยุกต์ใช้ในการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงงานในโครงการก่อสร้าง สมมติฐานของงานวิจัยนี้คือ ความรู้สึกของผู้ทดสอบที่วัดโดยใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง และสภาพแวดล้อมการก่อสร้างจริงก็ไม่ต่างกัน สมมติฐานได้รับการทดสอบโดยความรู้สึกของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้แบบสอบถามที่เปรียบเทียบระหว่างความรู้สึกที่วัดโดยเทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง กับสภาพแวดล้อมจริง กรณีศึกษา 2 กรณี ในโครงการก่อสร้างจริงถูกนำมาใช้ในการทดลอง ผู้ตอบแบบสอบถาม 20 คนได้รับเลือกให้เยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างและเปรียบเทียบความรู้สึกระหว่างการใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง กับสถานการณ์จริง จากนั้นนำการวิเคราะห์ทางสถิติมาวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความรู้สึกของผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง และสถานการณ์จริงในโครงการก่อสร้างสำหรับทั้งสองกรณีศึกษาไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอาจนำเทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง มาใช้เพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างได้</p> 2022-09-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1355 การพัฒนาแฝดดิจิทัลในระดับอาคารจากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารทรัพยากรกายภาพ 2022-09-20T18:24:31+07:00 ทิพยภาวรรณ ตันอ้วน thiphayaphawan_t@cmu.ac.th ภาสกร แช่มประเสริฐ thiphayaphawan_t@cmu.ac.th พรพจน์ นุเสน thiphayaphawan_t@cmu.ac.th เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ thiphayaphawan_t@cmu.ac.th มานพ แก้วโมราเจริญ thiphayaphawan_t@cmu.ac.th <p>แฝดดิจิทัล หรือ แบบจำลองสารสนเทศอาคาร เป็นคำที่ใช้บ่อยในอุตสาหกรรมการก่อสร้างในปัจจุบัน มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการบูรณาการในโลกแห่ง ความเป็นจริงด้วยแพลตฟอร์มเสมือนจริง การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก การตรวจสอบสภาพแวดล้อม โดยได้มีการพัฒนาระบบแฝดดิจิทัลแบบไดนามิก ในระดับอาคารที่มีการประมวลผลบนคลาวด์ การส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย รวมไปถึงการวิเคราะห์ผลแบบเรียลไทม์ ดังนั้น เพื่อพัฒนาแฝด ดิจิทัลในระดับอาคารจากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพนั้น เริ่มต้นจากการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อทราบถึงความต้องการในการบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร จากนั้นพัฒนาแฟลตฟอร์มแฝดดิจิทัลจากแบบจำลองสารสนเทศ ศึกษามาตรฐานการ ยกระดับสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร (WELL Building Standard) คัดเลือกมาตรฐานสำหรับใช้งานกับอาคาร และพัฒนากรอบการ ประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศ กับข้อมูลมาตรฐานการยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคารและแฝดดิจิทัล พร้อมวิเคราะห์ผลและ สรุปผล ผลลัพธ์สำหรับงานวิจัยนี้คือ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแบบจำลองสารสนเทศที่นำมาประยุกต์ใช้ในแฟลตฟอร์มแฝดดิจิทัล กับข้อมูลมาตรฐาน การยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร การวิเคราะห์ความสะดวกสบายของผู้ใช้งานอาคารและให้คะแนนจากการรับรองจากมาตรฐาน การยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งาน ในพื้นที่กรณีศึกษาที่แตกต่างกัน การเก็บรวบรวมสภาพแวดล้อมจากเซ็นเซอร์ จะสามารถยกระดับความ สะดวกสบายให้กับอาคารพื้นศึกษาและปรับปรุงอาคารให้ได้ตามมาตรฐานการยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร</p> 2022-09-19T15:45:37+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1938 การเปรียบเทียบการคำนวณปริมาณวัสดุงานระบบสำหรับอาคารพักอาศัยด้วยแบบจำลองสารสนเทศอาคาร 2022-09-20T18:24:31+07:00 ผศ.ดร.เพชร์รัตน์ ลิ้มสุปรียารัตน์ petcharatl@eng.buu.ac.th บุษบา ทวีโคตร petcharatl@eng.buu.ac.th พงศธร โพธิ์คำ petcharatl@eng.buu.ac.th ชาญยุทธ กาฬกาญจน์ petcharatl@eng.buu.ac.th <p>ในการคำนวณปริมาณวัสดุสำหรับงานระบบไฟฟ้าและสุขาภิบาลโดยใช้แบบก่อสร้างระบบ 2 มิติมีความซับซ้อนเนื่องจากแบบรูปแสดงเพียงแนวการ วางท่อที่เป็นแนวราบ แต่ในการดำเนินงานจริง ท่อถูกติดตั้งตามความยาวทั้งในแนวราบ แนวเอียง และแนวดิ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการ คำนวณปริมาณวัสดุ งานวิจัยนี้จึงนำเสนอการคำนวณปริมาณวัสดุสำหรับงานระบบโดยใช้เทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคารซึ่งใช้ข้อมูลการติดตั้งท่อ ในงานระบบที่หน่วยงานก่อสร้างจริงจากการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ควบคุมงาน และนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับเอกสารรายการประมาณวัสดุก่อสร้างของ ผู้รับเหมาเสนอต่อเจ้าของงาน กรณีศึกษาที่ใช้เป็นอาคารพักอาศัยในโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยขนาด 240 ตารางเมตร และ 285 ตารางเมตร ผลการเปรียบเทียบผลการคำนวณปริมาณวัสดุจากการคำนวณโดยการประมาณด้วยวิธีดั้งเดิมมากกว่าปริมาณวัสดุจากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สาเหตุ ของความแตกต่างของปริมาณมาจาก 3 สาเหตุหลัก คือ 1)การปรับเปลี่ยนแนวการติดตั้งท่อในงานระบบในพื้นที่จริง 2) หลักการประมาณวัสดุของ ผู้รับเหมาที่ไม่ชัดเจน 3) ปริมาณการเผื่อวัสดุสำหรับวิธีการดั้งเดิมมีความซ้ำซ้อน แบบจำลองสารสนเทศอาคารจึงสามารถช่วยในการกำหนดแนวการติดตั้ง ท่องานระบบให้มีความชัดเจนซึ่งช่วยให้การประมาณปริมาณวัสดุมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น</p> 2022-09-19T15:47:17+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1754 การพัฒนาแผงควบคุมโครงการการวิเคราะห์มูลค่าที่ได้รับบนฐานแบบจ าลองสารสนเทศอาคาร 2022-09-20T18:24:32+07:00 ทวีโชค เตชะธรรมวงศ์ taweechoke.tec@crru.ac.th ภุชชงค์ มณีขัติย์ idt_puchong_m@crru.ac.th <p>ในปัจจุบันงานก่อสร้างมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ขนาดที่ใหญ่ วิศวกรและทีมงานมักถูกเร่งรัดให้สร้างสิ่งต่าง ๆ ให้เร็วขึ้น ส่งมอบโครงการที่มีคุณภาพดีขึ้น โครงการก่อสร้างส่วนใหญ่จึงต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากขึ้น และต้องการวิธีการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการประเมินสถานะโครงการ วัดความคืบหน้า ประสิทธิภาพต้นทุนและเวลาของโครงการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามเนื่องจากสูตรทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ความยากในการรวบรวมข้อมูล โดยส่วนใหญ่มักใช้ประสบการณ์ของผู้บริหารโครงการในการจัดการปัญหาดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ทีมผู้วิจัยน าเสนอแบบจำลองสารสนเทศอาคาร หรือ BIM (Building Information Modeling) ในฐานะเทคโนโลยีใหม่และอนาคตของอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการก่อสร้าง หรือ AEC (Architecture Engineering and Construction) รวมกับการวิเคราะห์มูลค่าที่ได้รับ หรือ EVA (Earned Value Analysis) สำหรับวัดความคืบหน้า ประสิทธิภาพต้นทุนและเวลาของโครงการก่อสร้าง ในบทความนี้จะสาธิตวิธีการพัฒนาเครื่องมือ EVA-BIM Project Dashboard (Earned Value Analysis on BIM-based Model Project Dashboard) โดยแสดงผลการวิเคราะห์มูลค่าที่ได้รับ โดยอ้างอิงจากข้อมูลแบบจำลอง BIM และอธิบายวิธีการใช้โปรแกรม แบบจินตภาพ Dynamo (Dynamo Visual Programming) เพื่อดึงข้อมูลจากแบบจำลอง BIM ที่พัฒนาจากซอฟต์แวร์ Autodesk Revit เพื่อน าไปสร้าง และแสดงผลเป็นแผงควบคุมโครงการด้วยซอฟต์แวร์ Microsoft Power BI ในการประเมินความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น ทำโดยการเปรียบเทียบ ผลการคำนวณ EVA จาก EVA-BIM Project Dashboard กับวิธีการทั่วไป โดยใช้โครงการก่อสร้างหอพักขนาด 3 ชั้น ผลแสดงว่าไม่พบความแตกต่างเมื่อ เทียบกับวิธีการทั่วไป และเครื่องมือ EVA-BIM Project Dashboard สามารถแสดงผลได้อย่างแม่นย าบนหลากหลายอุปกรณ์</p> 2022-09-19T15:49:40+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1427 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเชิงพารามิเตอร์เพื่อการถอดปริมาณวัสดุผนังอิฐก่อ 2022-09-20T18:24:32+07:00 เมธาสิทธิ์ จันทร์พิทักษ์ methasith.j@gmail.com ธนิต ธงทอง tanit.t@chula.ac.th <p>อิฐก่อเป็นวัสดุที่นิยมในการก่อผนัง ในการถอดปริมาณมักจะใช้การประมาณวัสดุเป็นอัตราส่วนจากพื้นที่ผนัง ซึ่งไม่มีรูปแบบที่มีรายละเอียดข้อมูล ชิ้นส่วนที่ละเอียดเพียงพอ ส่งผลให้การถอดปริมาณมีความผิดพลาดเนื่องจากมีลักษณะและจำนวนช่องเปิดแตกต่างกันในแต่ละผนังส่งผลให้การก่อสร้างที่ ได้อาจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น ระยะทาบหรือลักษณะการก่อมีระยะไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เกิดขยะจากการทิ้งชิ้นส่วนอิฐที่เหลือจากการตัด ทั้งที่ สามารถนำไปใช้ต่อในส่วนอื่นได้ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการก่อสร้างทั้งด้านเวลาและงบประมาณ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการใช้งาน แบบจำลองสารสนเทศอาคารโดยใช้การออกแบบเชิงพารามิเตอร์ เพื่อถอดปริมาณและสร้างข้อมูลรายละเอียดการก่อชิ้นส่วนอิฐในผนังอิฐก่อ โดยงานวิจัย ใช้โปรแกรม Dynamo ผ่านโปรแกรม Autodesk Revit ในการสร้างชุดคำสั่งเพื่อคำนวณตำแหน่ง ความยาว และปริมาณของชิ้นอิฐก่อ ผลการทดสอบ ระบบพบว่าใช้เวลาในการถอดปริมาณน้อยและสามารถให้แสดงผลในรูปแบบสามมิติได้ ซึ่งช่วยเสริมในการมองเห็นรายละเอียดตำแหน่งและความยาวของ อิฐก่อได้สามารถข้อมูลของอิฐแต่ละชิ้นไปคำนวณสร้างรายการตัดอิฐเพื่อนำไปวางแผนการก่อสร้างต่อไป</p> 2022-09-19T15:51:17+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1558 การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพสำหรับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร และความจริงเสมือนเพื่อการตรวจสอบความขัดแย้ง 2022-09-20T18:24:33+07:00 รัฐวุฒิ รู้แทนคุณ rathavoot.r@cit.kmutnb.ac.th ฮาริส ได้เจริญสุข rathcmthai@gmail.com พีรพัทธ์ เกียรติชวกุล rathcmthai@gmail.com ภัทรพล ธนาภัทรหิรัญ rathcmthai@gmail.com <p>บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้โปรแกรมขึ้นรูปแบบจำลองสารสนเทศอาคารประกอบกับการเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพและการนำเสนอผ่าน ความจริงเสมือนผ่านกล้องสามมิติ เพื่อมุ่งลดปัญหาการใช้เวลาค่อนข้างมากในการค้นหากรณีที่มีจุดความขัดแย้งหลายจุด ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงการแสดงผล ตรวจความขัดแย้งได้อย่างรวดเร็วและเห็นภาพง่ายขึ้น นำไปสู่การตัดสินใจปรับแก้ไขแบบจำลอง ผู้วิจัยได้ทำการทดลองโดยสร้างแบบจำลองงานโครงสร้าง และงานระบบของอาคาร 2 ชั้นเป็นกรณีศึกษา และเขียนกระบวนการทำงานขึ้น กระบวนการดังกล่าวถูกประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านงานแบบจำลอง สารสนเทศอาคารและได้รับความเห็นว่าสามารถลดเวลาทำงานในกรณีที่มีรายงานความขัดแย้งที่มีจำนวนมากได้</p> 2022-09-19T15:58:36+07:00 Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์