TY - JOUR AU - ฉัตรฑริกา เพียงพิมาย AU - กรกนก จอยนอก AU - ขัตติย ชมพูวงศ์ AU - ชุดาภัค เดชพันธ์ AU - ศตคุณ เดชพันธ์ AU - ณัฐพงศ์ ดำรงวิริยะนุภาพ AU - ธนากร ภูเงินขำ PY - 2022/09/05 Y2 - 2024/03/29 TI - การต้านทานคลอไรด์ของเหล็กเสริมเมื่อเคลือบด้วยไฮบริดอัลคาไลผง JF - การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 JA - ncce27 VL - 27 IS - 0 SE - วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง DO - UR - https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1930 AB - บทความนี้ศึกษาการต้านทานคลอไรด์ของเหล็กเสริมเมื่อเคลือบด้วย ไฮบริดอัลคาไลผงสังเคราะห์จากผงจีโอโพลิเมอร์ร้อยละ 50 ผสมปูนซีเมนต์ ร้อยละ 40 และซิลิกาฟูมร้อยละ 10 กระตุ้นด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NH) ที่ความเข้มข้น 2 โมลาร์และน้ำประปา โดยผงจีโอโพลิเมอร์ผลิตจากปูนซีเมนต์แทนที่ในเถ้าลอยร้อยละ 0 และ 20 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน สารละลายด่างที่ใช้ในการกระตุ้นปฏิกิริยาในระบบ ประกอบด้วยสารละลายโซเดียมซิลิเกตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 14 โมลาร์ แปรผันอัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์(NS/NH) เท่ากับ 1.0 และ 2.0 อัตราส่วนของเหลวต่อวัสดุประสาน (L/B) เท่ากับ 0.50 และอุณหภูมิที่ใช้บ่มตัวอย่างเท่ากับ 25 และ 60 องศาเซลเซียสทุกอัตราส่วนผสม ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า การใช้ผงจีโอโพลิเมอร์ที่มีการแทนที่ด้วยปูนซีเมนต์ ปริมาณการใช้สารละลายโซเดียมซิลิเกตและอุณหภูมิในการบ่มเพิ่มขึ้นช่วยปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลของไฮบริดอัลคาไลผงได้เป็นอย่างดีในขณะเดียวกันไฮบริดอัลคาไลผงที่ผลิตจากผงจีโอโพลิเมอร์สามารถต้านทานการกัดกร่อนของคลอไรด์ได้ดีกว่าซีเมนต์เพสต์ควบคุมซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านคลอไรด์อยู่ระหว่าง 0.07-0.14x10-12 m2/s มีค่ามากกว่าซีเมนต์เพสต์ควบคุมเท่ากับ 88.71 เท่า นอกจากนี้พบว่าการเคลือบเหล็กเสริมด้วยไฮบริดอัลคาไลผงมีโอกาสการเกิดการกัดกร่อนจากคลอไรด์น้อยกว่าซีเมนต์เพสต์ควบคุมและไม่มีการเคลือบผิวด้วยวิธีการเร่งสนิมเนื่องจากผลผลิตจากปฏิกิริยาภายในระบบทำให้สามารถต้านทานต่อการกัดกร่อนของคลอไรด์ได้เป็นอย่างดี ER -