TY - JOUR AU - ธนนันท์ แสนคำลือ AU - ธเนศพล บุญประกอบ AU - บุญฤทธิ์ เขียวอร่าม AU - อัษฎาวุธ ตอนจักร์ PY - 2022/09/19 Y2 - 2024/03/29 TI - การตรึงข้อมูลพอยต์คลาวด์จากอากาศยานไร้คนขับด้วยข้อมูลพอยต์คลาวด์จากเครื่องเลเซอร์สแกน เพื่องาน รังวัดปริมาตรการขุด-ขนดินและถ่านหินบริเวณเหมืองถ่านหินเปิดแม่เมาะ JF - การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 JA - ncce27 VL - 27 IS - 0 SE - วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ DO - UR - https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1534 AB - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ ได้ใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน (terrestrial laser scanner : TLS) ในการรังวัดหาปริมาตรการขุด-ขน ดินและถ่านหิน ซึ่งบ่อเหมืองแม่เมาะมีลักษณะภูมิประเทศที่ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่ มีพื้นที่การขุด-ขน ที่ต้องรังวัดปริมาตร ประมาณเดือนละประมาณ 2 ล้านตารางเมตร ทำให้ในการรังวัดบางพื้นที่ต้องตั้งเครื่องเลเซอร์สแกนฯ หลายครั้ง และใช้เวลารังวัดนาน ต้องหยุดเครื่องจักรในระหว่างการรังวัดเป็นเวลานาน ส่งผลให้ปริมาตรการขุดดินและถ่านหินลดลง ดังนั้น การเสริมด้วยข้อมูลจากอากาศโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle : UAV) จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่การที่จะทำให้ข้อมูลที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับมีความถูกต้อง จำเป็นต้องมีการวางจุดควบคุมภาคพื้นดิน (ground control point : GCP) ให้ครอบคลุมหน้างานรังวัด อย่างไรก็ตามการติดตั้งและกระบวนการตรึง GCP ในบ่อเหมืองแม่เมาะที่มีลักษณะภูมิประเทศที่ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่นั้นใช้เวลานาน ทำให้กระบวนการรังวัดปริมาตรยุ่งยากขึ้น และระยะเวลาการทำงานมิได้ลดลงอย่างน่าพอใจ ไม่เหมาะในการปฏิบัติจริง จึงเป็นที่มาของการนำเอาข้อมูลพอยต์คลาวด์จากเครื่องเลเซอร์สแกนฯ มาใช้ตรึงข้อมูลแทนการวาง GCP โดยพบว่าพื้นผิวที่ได้จาก UAV ที่ได้จากการตรึงด้วยพอยท์คลาวด์จากเครื่องเลเซอร์สแกนฯ มีความต่างทางค่าระดับกับพื้นผิวที่ได้จากการสแกนด้วยเครื่องเลเซอร์สแกนฯ เฉลี่ย 0.023 ม. โดยมีค่าการกระจายตัว 0.013 ม. ซึ่งอยู่ในช่วงความคลาดเคลื่อนที่เหมืองแม่เมาะยอมรับให้ใช้งานได้ ช่วยให้การรังวัดปริมาตรขุดขนดินและถ่านหินรวดเร็วและสมบูรณ์ขึ้นอย่างมาก ER -