@article{วัยนิพิฐพงษ์_พุทธนานนท์_จงประดิษฐ์_แสนบุญศิริ_เหมือนมี_นพคุณทอง_เมืองน้อย_ศิริสิงห์อำไพ_2022, title={การหาค่าตัวแปรควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ที่เหมาะสมที่สุดภายใต้การควบคุมการทรุดตัวของผิวดิน}, volume={27}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1955}, abstractNote={<p>ปัญหาหลักที่มักจะพบได้ในงานก่อสร้างอุโมงค์ คือการทรุดตัวของผิวดิน ซึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการทรุดตัว คือ ลักษณะอุโมงค์ สภาพทางธรณีวิทยา และการควบคุมเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ การควบคุมการทรุดตัวของผิวดินที่รัดกุมมากเกินไปอาจทำให้มีอัตราเร็วในการก่อสร้างที่ต่ำ และส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น การศึกษานี้หาค่าตัวแปรควบคุมเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ในชั้นดินอ่อนที่เหมาะสมที่สุดด้วยอัลกอริทึ่มแบบพันธุกรรมภายใต้การควบคุมการทรุดตัวของผิวดิน ร่วมกันกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ และค่าการทรุดตัว เพื่อทำนายอัตราเร็วในการก่อสร้างและการทรุดตัวของผิวดินด้วยโครงข่ายประสาทเทียม โดยนำข้อมูลของโครงการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับฝึกโครงข่ายประสาทเทียม หาค่าที่เหมาะสมที่สุดที่สามารถทำให้อัตราเร็วในการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นโดยที่ค่าการทรุดตัวที่ไม่เกินค่าที่ยอมให้ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่านอกเหนือจากลักษณะชั้นดินแล้ว อัตราขุดเจาะอุโมงค์และแรงอัดฉีดน้ำปูนเกราต์เป็นปัจจัยที่สำคัญ และเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อค่าควบคุมการทรุดตัวของผิวดินมีค่าแตกต่างกัน</p&gt;}, journal={การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27}, author={วัยนิพิฐพงษ์สหัสวรรษ and พุทธนานนท์ชนา and จงประดิษฐ์พรเกษม and แสนบุญศิริศศิพิมพ์ and เหมือนมีณัฐชัย and นพคุณทองนลวิชญ์ and เมืองน้อยวุฒิพงศ์ and ศิริสิงห์อำไพพงศกร}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={GTE56-1} }