@article{หมั่นบำรุงศาสน์_วุฒิพฤกษ์_มีผล_มณีแก้ว_2022, title={สมบัติทางวิศวกรรมของดินลูกรังปรับปรุงคุณภาพด้วยซีเมนต์และเสริมแรงด้วยเส้นใยเหล็กจากยางรถยนต์}, volume={27}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1907}, abstractNote={<p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 13.5pt;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">ดินลูกรังมีความหนาแน่นเหมาะสำหรับนำมาบดอัดในงานถนน แต่มีคุณสมบัติไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณความชื้นและสภาวะแวดล้อม ทำให้บางครั้งดินลูกรังที่นำมาใช้มีคุณภาพไม่เพียงพอสำหรับนำมาใช้เป็นวัสดุในงานชั้นทาง เนื่องจากไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมทางหลวง โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมพื้นฐานของดินลูกรังโดยผสมกับซีเมนต์และเสริมกำลังด้วยเส้นใยเหล็กจากยางรถยนต์ใช้แล้ว ปริมาณปูนซีเมนต์ร้อยละ 3 มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับดินลูกรังที่ควบคุมความหนาแน่นและปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่สุด ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน โดยให้ค่ากำลังรับแรงอัดแบบไม่จำกัดของตัวอย่างทั้งแบบไม่ต้องแช่น้ำและแช่น้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมงก่อนการทดสอบสูงกว่าเกณฑ์กำหนด จากนั้นนำเส้นใยเหล็กจากยางรถยนต์ใช้แล้วมาผสมในดิน 1% 2% 3% 4% และ 5% ต่อน้ำหนักดินแห้ง เปอร์เซ็นต์เส้นใยเหล็กจากยางรถยนต์ใช้แล้วที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเสริมกำลังคือร้อยละ 3 โดยนำมาทดสอบแรงดึงแบบแยกส่วนซึ่งให้ค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุด 4.90 กก./ตร.ซม. จากการทดสอบการดัดงอของคานที่เสริมด้วยเส้นใยเหล็กจากยางรถยนต์ใช้แล้วได้เพิ่มความต้านทานแรงดึงของดินลูกรังซีเมนต์โดยมีค่าความต้านทานการดัดเพิ่มขึ้น -70%</span></p&gt;}, journal={การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27}, author={หมั่นบำรุงศาสน์ขวัญจิรา and วุฒิพฤกษ์พานิช and มีผลอิทธิพล and มณีแก้วศิริพัฒน์}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={GTE05-1} }