@article{จันทร์เต็มดวง_หอพิบูลสุข_กุลอริยทรัพย์_ลิ้มสวัสดิ์_2022, title={การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในงานขุดลอกและถมทะเล}, volume={27}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1631}, abstractNote={<p>การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางทะเลที่สำคัญต่อการขยายตัวทางเศรฐกิจของประเทศ เนื่องจากการขนส่งทางน้ำมีข้อได้เปรียบหลายประการ เช่น บรรทุกสินค้าได้มาก ได้หลายชนิด ค่าขนส่งต่ำ เมื่อเทียบกับรูปแบบอื่น มีความปลอดภัย มีมลภาวะต่ำ สำหรับประเทศไทยได้มีโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ดำเนินการมาแล้ว และกำลังจะพัฒนาขยายโครงการเพิ่มขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะต้องใช้เงินลุงทุนและทรัพยากรแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะงานขุดลอกและถมทะเลจะต้องใช้เครื่องจักรพิเศษและเทคนิคการก่อสร้างเฉพาะทาง รวมถึงการใช้บุคคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทางในการควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งมีอยู่จำกัดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานขุดลอกและถมทะเล อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพยากรแรงงาน การศึกษานี้ จึงได้ศึกษาและวิเคราะห์ความเสี่ยงในปัจจัยต่างๆด้านความปลอดภัยในการทำงานขุดลอกและถมทะเลโดยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และเรียบเรียปัจจัยเพื่อระบุความเสี่ยง จากนั้นทำการประเมินความเสี่ยงการแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำงานขุดลอกและถมทะเล เพื่อให้ทราบถึงระดับโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์และระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ ก่อนนำมาวิเคราะห์หาค่าระดับความเสี่ยงของเหตุการณ์ ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง 14 เหตุการณ์ พบว่ามีความเสี่ยงส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง โดยมีเหตุการณ์ความเสี่ยงสูง 3 อันดับแรกคือ งานยกของโดยเครน, เครื่องจักรชำรุด/ไม่พร้อมใช้งาน และฟ้าผ่าในพื้นที่โล่งแจ้ง ขั้นตอนสุดท้ายคือการเสนอแนวทางการป้องกันความเสี่ยงและแนวทางการบรรเทาความเสี่ยง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางทะเลในอนาคต โดยเฉพาะงานขุดลอกและถมทะเลให้ประสบความสำเร็จแก่โครงการต่อไป</p&gt;}, journal={การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27}, author={จันทร์เต็มดวงอาณัติ and หอพิบูลสุขศ. ดร.สุขสันติ์ and กุลอริยทรัพย์ดร.วิสิษฐ์ and ลิ้มสวัสดิ์รศ. ดร.ชารินี}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={CEM19-1} }