@article{คชนิล_โนไชยา_สุริวงษ์_เมาลีกุล_จุฬพันธ์ทอง_2022, title={การพัฒนาคอนกรีตที่มีส่วนผสมของวัสดุกากอุตสาหกรรมสำหรับป้องกันการกัดกร่อนโดยกรดและการขัดสีเพื่อประยุกต์ใช้กับพื้นฟาร์มสุกร}, volume={27}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1596}, abstractNote={<p class="Keywordnew" style="margin-bottom: 6.0pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 14.2pt;">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของคอนกรีตต่อการต้านทานการกัดกร่อนโดยกรดร่วมกับการขัดสีซึ่งเป็นลักษณะการกัดกร่อนที่พื้นคอนกรีตบริเวณเครื่องให้อาหารของฟาร์มสุกรวัสดุประสานที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมคอนกรีตเทียบกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ได้แก่ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกและปูนซีเมนต์ที่มีการแทนที่ด้วยซิลิกาฟูมหรือเถ้าถ่านหินร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ตัวอย่างคอนกรีตที่ผสมโดยใช้วัสดุประสานดังกล่าวถูกนำมาทดสอบความสามารถในการรับกำลังอัดการกัดกร่อนโดยกรดการกัดกร่อนจากการขัดสี และการกัดกร่อนโดยกรดร่วมกับการขัดสี การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตทดสอบที่ระยะเวลาบ่ม 7, 14, 28, 56 และ 84 วัน การใช้ซิลิกาฟูมทดแทนซีเมนต์ส่งผลให้ความสามารถในการรับกำลังอัดของคอนกรีตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่เถ้าถ่านหินส่งผลให้ความสามารถในการรับกำลังอัดลดลงเมื่อเทียบกับคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัสดุประสานคอนกรีตเกิดอัตราการกัดกร่อนโดยกรดลดลงเล็กน้อยเมื่อใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเป็นวัสดุประสานในขณะที่การใช้ซิลิกาฟูมหรือเถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ส่งผลให้อัตราการกัดกร่อนโดยกรดลดลงอย่างมีนัยสำคัญซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับผลการทดสอบการกัดกร่อนจากการขัดสีงานวิจัยนี้ได้ออกแบบเครื่องมือทดสอบพิเศษสำหรับการกัดกร่อนโดยกรดโดยตัวอย่างอยู่ในสภาพเปียกสลับแห้งและเครื่องขัดซึ่งมีลักษณะการกัดกร่อนแบบเดียวกันกับลักษณะการกัดกร่อนที่เกิดกับพื้นฟาร์มสุกรผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการใช้ซิลิกาฟูมหรือเถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ช่วยเพิ่มความสามารถในการป้องกัน<br>การกัดกร่อนโดยกรดและการขัดสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p&gt;}, journal={การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27}, author={คชนิลเจนศักดิ์ and โนไชยาทนงศักดิ์ and สุริวงษ์ธวัช and เมาลีกุลศุภกร and จุฬพันธ์ทองพงษ์ธร}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={MAT50-1} }