@article{ลีลานภากาศ_ธงทอง_2022, title={การตรวจสอบและการวิเคราะห์การได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กในโครงการก่อสร้างพักอาศัยโดยเครื่องมือวัดส่วนบุคคล}, volume={27}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1585}, abstractNote={<p>ในปัจจุบันมลพิษทางอากาศนับว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งสังเกตได้จากฝุ่นละออง PM 2.5 ที่มีระดับความเข้มข้นเกินค่ามาตรฐาน เนื่องมาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ประชากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการก่อสร้างที่มีอยู่ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยเฉพาะการก่อสร้าง ต่อเติม และดัดแปลงอาคาร ซึ่งเป็นต้นเหตุของมลพิษทางอากาศและเสียงที่ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง นำไปสู่ความกังวลในเรื่องสุขภาพ ซึ่งการตรวจวัดมลพิษทางอากาศภายในโครงการก่อสร้างในปัจจุบันนั้นเป็นเครื่องวัดขนาดใหญ่ ติดไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง งานวิจัยนี้จึง ต้องการนำเสนอระบบการตรวจวัดมลพิษทางอากาศภายในโครงการก่อสร้างอาคารแบบเรียลไทม์ โดยนำเทคโนโลยี IoT (Internet of<br>Things) และเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศและเสียง ติดตั้งกับผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและเสียงทำให้ทราบค่าความเข้มข้นของมลพิษที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับต่อวันรวมถึงทราบกิจกรรมที่ก่อให้เกิดค่ามลพิษเกินค่ามาตรฐานจากนั้นทำการทดสอบเครื่องมือโดยการเปรียบเทียบกับเครื่องมือวัดอื่นเพื่อทดสอบการทำงานและความคลาดเคลื่อนของเซนเซอร์ โดยทำการทดลองในสเกลขนาดเล็กพบว่า ระบบสามารถให้ค่าแบบเรียลไทม์ได้ต่อเนื่อง รวดเร็ว และมีความคลาดเคลื่อนน้อย สะดวกในการติดตั้งและวัดค่ามลพิษ</p&gt;}, journal={การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27}, author={ลีลานภากาศนพวิชญ์ and ธงทองธนิต}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={CEM24-1} }