@article{วงศ์อภัย_พุทธรักษ์_จันทร์ควง_สายเรี่ยม_ตั้งจิรภัทร_จาตุรพิทักษ์กุล_2022, title={ผลกระทบของการใช้เถ้าก้นเตาแทนที่ปูนซีเมนต์และเป็นวัสดุบ่มภายใน ต่อสมบัติเชิงกลและความทนทานของคอนกรีตสมรรถนะสูง}, volume={27}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1492}, abstractNote={<p>บทความนี้นำเสนอผลกระทบของการใช้เถ้าก้นเตาเป็นวัสดุปอซโซลานแทนที่ปูนซีเมนต์ในปริมาณสูงและเป็นวัสดุบ่มภายในต่อสมบัติเชิงกลและความ ทนทานของคอนกรีตสมรรถนะสูงโดยนำเถ้าก้นเตามาร่อนผ่านตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 50 และทำการบดจนมีอนุภาคขนาดเล็ก (GBA) จากนั้นนำไปแทนที่ ปูนซีเมนต์ร้อยละ 70 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน (70GBA) นอกจากนี้เถ้าก้นเตาที่ร่อนผ่านตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 4 และค้างบนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 50 (SBA) นำไปแทนที่มวลรวมละเอียดร้อยละ 25 50 และ 75 โดยปริมาตรมวลรวมละเอียดสำหรับใช้เป็นวัสดุบ่มภายในคอนกรีตภายใต้สภาวะการบ่ม ที่แตกต่างกัน ได้แก่ การบ่มด้วยน้ำและการบ่มด้วยอากาศ ทำการทดสอบการยุบตัวแบบแผ่และระยะเวลาการไหลที่ 50 ซม (T50) กำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่น การเปลี่ยนแปลงความร้อน และการแทรกซึมของคลอไรด์ของคอนกรีตสมรรถนะสูง จากการศึกษาพบว่าการยุบตัวแบบแผ่มีค่าลดลงและระยะเวลาการไหล ที่ 50 ซม มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA และคอนกรีตสมรรถนะสูงซึ่งแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วย GBA ร้อยละ 70 โดยน้ำหนักวัสดุประสานและแทนที่มวลรวมละเอียดด้วย SBA ร้อยละ 50 โดยปริมาตรมีกำลังอัดใกล้เคียงกับคอนกรีตควบคุมทุกอายุการทดสอบ สำหรับค่าโมดูลัสยืดหยุ่นมีค่าลดลง ตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA ในขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์และความลึกในการแทรกซึมของคลอไรด์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA ทั้งนี้ค่าความร้อนที่เกิดขึ้นในคอนกรีตมีค่าลดลงตามปริมาณการแทนที่ด้วย SBA โดยการแทนที่ SBA ร้อยละ 50 และ 75 ช่วยลดความร้อนภายในคอนกรีตลงร้อยละ 5 และ 15 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับคอนกรีตควบคุม</p&gt;}, journal={การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27}, author={วงศ์อภัยเจตนิพัทธ์ and พุทธรักษ์กฤติธี and จันทร์ควงณัชพล and สายเรี่ยมธนวัฒน์ and ตั้งจิรภัทรวีรชาติ and จาตุรพิทักษ์กุลชัย}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={MAT27-1} }