@article{ตันอ้วน_แช่มประเสริฐ_นุเสน_อรุโณทยานันท์_แก้วโมราเจริญ_2022, title={การพัฒนาแฝดดิจิทัลในระดับอาคารจากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารทรัพยากรกายภาพ}, volume={27}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1355}, abstractNote={<p>แฝดดิจิทัล หรือ แบบจำลองสารสนเทศอาคาร เป็นคำที่ใช้บ่อยในอุตสาหกรรมการก่อสร้างในปัจจุบัน มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการบูรณาการในโลกแห่ง ความเป็นจริงด้วยแพลตฟอร์มเสมือนจริง การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก การตรวจสอบสภาพแวดล้อม โดยได้มีการพัฒนาระบบแฝดดิจิทัลแบบไดนามิก ในระดับอาคารที่มีการประมวลผลบนคลาวด์ การส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย รวมไปถึงการวิเคราะห์ผลแบบเรียลไทม์ ดังนั้น เพื่อพัฒนาแฝด ดิจิทัลในระดับอาคารจากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพนั้น เริ่มต้นจากการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อทราบถึงความต้องการในการบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร จากนั้นพัฒนาแฟลตฟอร์มแฝดดิจิทัลจากแบบจำลองสารสนเทศ ศึกษามาตรฐานการ ยกระดับสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร (WELL Building Standard) คัดเลือกมาตรฐานสำหรับใช้งานกับอาคาร และพัฒนากรอบการ ประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศ กับข้อมูลมาตรฐานการยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคารและแฝดดิจิทัล พร้อมวิเคราะห์ผลและ สรุปผล ผลลัพธ์สำหรับงานวิจัยนี้คือ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแบบจำลองสารสนเทศที่นำมาประยุกต์ใช้ในแฟลตฟอร์มแฝดดิจิทัล กับข้อมูลมาตรฐาน การยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร การวิเคราะห์ความสะดวกสบายของผู้ใช้งานอาคารและให้คะแนนจากการรับรองจากมาตรฐาน การยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งาน ในพื้นที่กรณีศึกษาที่แตกต่างกัน การเก็บรวบรวมสภาพแวดล้อมจากเซ็นเซอร์ จะสามารถยกระดับความ สะดวกสบายให้กับอาคารพื้นศึกษาและปรับปรุงอาคารให้ได้ตามมาตรฐานการยกระดับสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร</p&gt;}, journal={การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27}, author={ตันอ้วนทิพยภาวรรณ and แช่มประเสริฐภาสกร and นุเสนพรพจน์ and อรุโณทยานันท์เกรียงไกร and แก้วโมราเจริญมานพ}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={BIM07-1} }