@article{อร่ามศรีประเสริฐ_สหมิตรมงคล_งามสอน_2022, title={แผนภูมิปฏิสัมพันธ์แรงดัดและแรงตามแนวแกนสำหรับควบคุมรอยร้าว ของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่มีการเสริมเหล็กเส้นเพิ่มเติม}, volume={27}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1353}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมกำลังรับแรงดึงคงเหลือและกำลังรับแรงดัดของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กที่มีการเสริมเหล็กเส้น โดยทำการทดสอบตามมาตรฐาน BS EN 14651 และทำการศึกษาความกว้างรอยร้าวเนื่องจากแรงดัดแบบทางเดียวของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กที่มีการเสริมเหล็กเส้นและทำการคำนวณความกว้างรอยร้าวที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีการคำนวณความกว้างรอยร้าวตามมาตรฐาน EUROCODE 2 ที่พัฒนาต่อโดยLöfgren เพื่อพัฒนาชุดคำสั่งสำหรับการวิเคราะห์กำลังรับแรงดัดที่กระทำร่วมกับแรงตามแนวแกนสำหรับควบคุมความปลอดภัยโดยใช้ความกว้างรอยร้าวเป็นตัวควบคุม จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปริมาณเหล็กเส้น ความหนาของหน้าตัดคอนกรีต และปริมาณเส้นใยเหล็กล้วนส่งผลต่อความกว้างรอยร้าวที่เกิดขึ้น โดยการใส่เหล็กเส้นเข้าไปในหน้าตัดคอนกรีตส่งผลให้ความกว้างรอยร้าวเนื่องจากแรงดัดลดลง ในขณะที่การเพิ่มความหนาของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กส่งผลให้หน้าตัดสามารถรับกำลังรับแรงดัดแตกร้าวได้สูงขึ้น จากงานวิจัยยังพบอีกว่าหน้าตัดของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่เสริมเหล็กเส้นจะสามารถรับกำลังรับแรงดัดได้ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของกำลังรับแรงดัดสูงสุดที่หน้าตัดคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่เสริมเหล็กเส้นรับได้ในกรณีที่ใช้ความกว้างรอยร้าวตามมาตรฐานของ EUROCODE 2 เป็นตัวควบคุมความปลอดภัย</p&gt;}, journal={การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27}, author={อร่ามศรีประเสริฐดำริห์ and สหมิตรมงคลรักติพงษ์ and งามสอนเกณฑกานต์}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={STR36-1} }