@article{ปัญญาคะโป_ปัญญาคะโป_2022, title={กำลังอัดของปริซึมผนังคอนกรีตมวลเบา เสริมกำลังด้วยเฟอร์โรซีเมนต์และตะแกรงเหล็กฉีก}, volume={27}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1291}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้นำเสนอกำลังอัดของปริซึมผนังคอนกรีตมวลเบาที่เสริมกำลังด้วยเทคนิคเฟอร์โรซีเมนต์เสริมตะแกรงเหล็กฉีก เพื่อปรับปรุงกำลังต้านทานแรงกระทำทางด้านข้างเนื่องจากแรงแผ่นดินไหว&nbsp; โดยใช้ตะแกรงเหล็กฉีก No.22, No.23 XS31, XS32 ที่มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะของการเสริมกำลังที่แตกต่างกัน 4 ขนาด และตะแกรงลวดกรงไก่ (SM) 1 ขนาด เพื่อเปรียบเทียบวิธีการยึดตะแกรงเหล็กกับแผ่นปริซึมคอนกรีตมวลเบาระหว่างวิธีที่ 1 การยึดด้วยสกรูและวิธีที่ 2 การยึดด้วยสลักขันเกลียว การจัดเตรียมตัวอย่างปริซึมและการทดสอบกำลังอัดดำเนินการตามมาตรฐานการทดสอบกำลังอัดของปริซึมผนังก่อ &nbsp;ผลการทดสอบพบว่ากำลังอัดของปริซึมเสริมกำลังด้วยตะแกรงเหล็กฉีกมีค่าสูงกว่ากำลังอัดของผนังที่เสริมด้วยตะแกรงลวดกรงไก่ 56% เมื่อเทียบปริมาณค่าพื้นที่ผิวจำเพาะของตะแกรงที่ใช้เสริมกำลังที่เท่ากัน เนื่องจากตะแกรงเหล็กฉีกมีกำลังดึงสูงกว่าตะแกรงลวดกรงไก่ &nbsp;ผลของการใช้วิธีการยึดตะแกรงเหล็กที่แตกต่างกัน พบว่าวิธียึดตะแกรงด้วยสลักขันเกลียวให้ค่ากำลังอัดสูงกว่าวิธีการยึดด้วยสกรู เนื่องจากสกรูมีการคลายตัวและดีดออกทำให้คลายการยึดจับได้ง่ายกว่าการขันยึดด้วยสลักเกลียว ดังนั้น วิธีขันยึดด้วยสลักเกลียวจึงช่วยทำให้ตะแกรงเหล็กมีประสิทธิภาพการรับกำลังอัดได้ดีกว่าการยึดด้วยสกรู</p&gt;}, journal={การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27}, author={ปัญญาคะโปศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ and ปัญญาคะโปรองศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={MAT23-1} }