https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/issue/feed การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26 2022-07-07T23:28:11+07:00 กองบรรณาธิการ NCCE26 ncce26@gmail.com Open Journal Systems การประวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/984 พฤติกรรมและความกว้างรอยร้าวของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กภายใต้แรงดัดแบบทางเดียว 2021-06-28T12:35:35+07:00 เกณฑกานต์ งามสอน kentakarn.716@mail.kmutt.ac.th รักติพงษ์ สหมิตรมงคล raktipong@gmail.com <p>งานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กโดยทำการทดสอบตามมาตรฐาน BS EN 14651 และ เปรียบเทียบความกว้างรอยร้าวที่เกิดขึ้นเนื่องจากแรงดัดขนาดต่าง ๆ โดยใช้วิธีคำนวณความกว้างรอยร้าวตามมาตรฐาน EUROCODE 2 ที่ถูกพัฒนาต่อโดย Löfgren และ มาตรฐาน RILEM TC 162-TDF เพื่อหาข้อสรุปว่าแต่ละปัจจัยส่งผลต่อพฤติกรรมการรับแรงดัดและความกว้างรอยร้าวมากน้อยเพียงใด ในกรณีที่ใช้เส้นใยเหล็กแบบโค้งจะมีกำลังรับแรงดึงคงเหลือมากกว่าการใช้เส้นใยเหล็กแบบงอปลายร้อยละ 5.68, 11.91 และ 16.57 ที่ CMOD เท่ากับ 1.5, 2.5 และ 3.5 มม. ตามลำดับ ส่วนที่ CMOD เท่ากับ 0.5 มม.มีค่ากำลังรับแรงดึงคงเหลือเท่ากัน ในกรณีที่ใช้เส้นใยแบบงอปลายจะมีกำลังรับแรงดึงคงเหลือมากกว่าเส้นใยเหล็กแบบงอปลายพิเศษ ร้อยละ 9.70, 11.32, 23.67 และ 30.14 ที่ CMOD เท่ากับ 0.5, 1.5, 2.5 และ3.5 มม. ตามลำดับ การเพิ่มปริมาณเส้นใยเหล็กแบบงอปลายจาก 40 เป็น 50 กก./ลบ.ม. ส่งผลให้ค่ากำลังรับแรงดึงคงเหลือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.22, 78.91, 78.78 และ 70.62 ที่ CMOD เท่ากับ 0.5, 1.5, 2.5 และ 3.5 มม.ตามลำดับ ซึ่งปริมาณการใส่เส้นใยเหล็กและรูปร่างของเส้นใยเหล็กล้วนส่งผลต่อความกว้างรอยร้าวที่ได้จากการคำนวณ การเพิ่มปริมาณเส้นใยเหล็กทำให้ขนาดความกว้างรอยร้าวลดลงและการใช้เส้นใยเหล็กแบบงอปลายจะทำให้ความกว้างรอยร้าวที่คำนวณได้น้อยกว่าการใช้เส้นใยเหล็กแบบงอปลายพิเศษที่โมเมนต์ดัดกระทำเท่ากัน</p> 2021-06-23T22:41:01+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/774 สมรรถนะของเถ้าลอยแคลเซียมสูงจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์เป็นวัสดุเคลือบท่อซีเมนต์ต่อการกัดกร่อนด้วยกรดซัลฟิวริก 2021-06-28T12:37:11+07:00 อภิสิทธิ์ ดีศาสตร์ deesart.2540@gmail.com เจริญชัย ฤทธิรุทธ ridtirud@gmail.com <p>ท่อซีเมนต์ถูกนำมาใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนสิ่งปฏิกูลภายในประเทศและน้ำเสียออกจากโรงงานอุตสาหกรรมเนื่องจากมีการใช้ต้นทุนที่ต่ำ อย่างไรก็ตามท่อซีเมนต์ไม่มีความทนทานต่อกรดเนื่องจากสารประกอบแคลเซียมในปูนซีเมนต์สามารถถูกละลายในกรดทำให้ความพรุนเพิ่มขึ้นมีผลทำให้ท่อซีเมนต์เสื่อมสภาพ การเคลือบท่อซีเมนต์เป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันการกัดกร่อนเนื่องจากกรด โดยจีโอโพลิเมอร์เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเชิงกลและป้องกันการกัดกร่อนเนื่องจากกรดได้ดี ดังนั้นวัสดุจีโอโพลิเมอร์จึงเป็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยนี้ คุณสมบัติที่ทำการศึกษาได้แก่ การทดสอบคุณสมบัติจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์สดและแข็งตัวภายใต้การกัดกร่อนโดยกรดซัลฟิวริก 3 เปอร์เซ็นต์ โดยแช่ตัวอย่างทดสอบในกรดซัลฟิวริกที่ 7 และ 28 วัน&nbsp;</p> 2021-06-23T22:41:55+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/821 การเสริมกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหวจุดต่อคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็กภายนอกด้วยค้ำยันเหล็กกล่อง 2021-06-28T13:24:03+07:00 กิตติศักดิ์ ขอนเอิบ kittisak_khonoeb@cmu.ac.th ปิยะพงษ์ วงค์เมธา piyapong.wongmatar@cmu.ac.th ชินพัฒน์ บัวชาติ chinapat@eng.cmu.ac.th พุทธรักษ์ จรัสพันธุ์กุล bhuddarak.c@cmu.ac.th รัฐพล เกติยศ rattapon.ste7@rmutl.ac.th ชยานนท์ หรรษภิญโญ chayanon.h@cmu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp; อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างโดยมิได้ออกแบบรับแผ่นดินไหวจะมีความอ่อนแอและเกิดความเสียหายที่จุดต่อหรือชิ้นส่วนเสา บทความนี้นำเสนอการทดสอบการเสริมกำลังจุดต่อคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็กภายนอกของอาคารที่ไม่ได้รับการออกแบบให้รับแรงแผ่นดินไหว โดยทำการจำลองตัวอย่างจุดต่อภายนอกคาน-เสาคอนกรีตเสริมเหล็กของอาคาร 2 ตัวอย่างที่เหมือนกัน ขนาดหน้าตัดของคาน 0.15x0.40 เมตร และเสา 0.15x0.15 เมตร &nbsp;ความยาวครึ่งช่วงพาดคาน และความสูงครึ่งชั้นเสา เท่ากับ 1.15 เมตร และ 1.91 เมตร ตามลำดับ และทำการเสริมกำลังโครงสร้างจุดต่อ 1 ตัวอย่างโดยการใช้ค้ำยันเหล็กกล่องที่สามารถติดตั้งได้ง่าย จากนั้นทำการทดสอบการให้แรงสลับทิศทางข้างไปมาจนกระทั่งเกิดความเสียหาย&nbsp; จากการทดสอบพบว่า จุดต่อคาน-เสาที่ไม่ได้เสริมกำลังเกิดความเสียหายในบริเวณโคนเสาและจุดต่อมีการโยกตัวและความเหนียวต่ำ ทั้งนี้การเสริมกำลังด้วยค้ำยันเหล็กกล่องทำให้ระยะเสาสั้นลงและเพิ่มพื้นที่จุดต่อ ทำให้จุดต่อคาน-เสาสามารถรับแรงกระทำด้านข้างได้เพิ่มขึ้นมากกว่าตัวอย่างที่ไม่ได้รับการเสริมกำลังด้วยค้ำยัน และเปลี่ยนตำแหน่งการพังจากจุดต่อคานเสาไปที่คานส่งผลให้ความเหนียว และความแข็งของตัวอย่างเพิ่มขึ้น</p> 2021-06-24T11:31:59+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/842 การประยุกต์ใช้โครงสร้างวีเรนดีลในโครงสร้างระบบเอาริกเกอร์ในอาคารสูง 2021-06-28T13:24:40+07:00 นิรวิทย์ เทียนดำ nirawit_top@hotmail.com <p>บทความนี้ได้นำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำโครงสร้างวีเรนดีลหรือคานที่มีช่องเปิดตามความยาวของคานโดยที่จะนำโครงสร้างนี้มาประยุกต์ใช้ในโครงสร้างระบบเอาริกเกอร์ ซึ่งปัจุบันระบบเอาริกเกอร์นี้ถูกนำมาใช้ในอาคารสูงมากมายเพื่อเพิ่มค่าสติฟเนส(<strong>Stiffness)</strong> ขององค์อาคาร เนื่องจากองค์อาคารมีการรับแรงทางด้านข้างอันเป็นผลมาจากแรงลมและแรงแผ่นดินไหว ซึ่งทำให้องค์อาคารเกิดการเคลื่อนตัวไปทางข้างมากขึ้นเมื่อมีความสูงที่มากขึ้น ประโยชน์ของการนำโครงสร้างวีเรนดีลไปประยุกต์ใช้ในเอาท์ริกเกอร์ จะทำให้มีบริเวณและพื้นที่ในชั้นมากขึ้นรวมถึงความสามารถการใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นอีกด้วย โดยทำการวิจัยด้วยโปรแกรมทางไฟไนท์อิลิเมนต์และวิเคราะห์หาค่าการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ของอาคารแต่ละชั้น โมเมนต์ดัด แรงตามแนวแกน ที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนต่างๆของโครงสร้างของอาคาร อยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนดหรือไม่ โดยมีการออกแบบแรงแผ่นดินไหวตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ. 1302-52) และได้ใช้ตัวอย่างอาคาร อื้อจือเหลียง ซึ่งเป็นอาคารสูงที่ไม่มีชั้นเอาท์ริกเกอร์ ผลการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวนั้น อาคารอื้อจือเหลียงไม่สามารถรับแรงแผ่นดินไหวตาม มาตรฐาน มยผ. 1302-52 ได้ทั้งเรื่องของการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ที่แต่ละชั้นของอาคารและกำลังรับแรงของผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงได้ทำการวิเคราะห์หาตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดของอาคารโดยใช้เอาท์ริกเกอร์ที่เป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก จากนั้นทำการวิเคราะห์พฤติกรรมโครงสร้างของอาคารเมื่อเปลี่ยนโครงสร้างผนังคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นโครงสร้าง วีเรนดีลและโครงถักเหล็ก จากการวิเคราะห์พบว่าตำแหน่งเอาริกเกอร์ที่เหมาะสมสำหรับอาคารดังกล่าวอยู่ที่ชั้น 25 หรือที่ความสูงประมาณ 2/3 เท่าของความสูงอาคารทั้งหมด</p> 2021-06-24T11:32:34+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/930 ข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์แบบภาคพื้นดินและการวิเคราะห์แผ่นดินไหวของเจดีย์วัดมหาธาตุสุโขทัย 2021-06-28T13:25:32+07:00 สิรวิชญ์ สุขศิลา sirawit.suks@mail.kmutt.ac.th พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย peerasit.maha@mail.kmutt.ac.th ชัยณรงค์ อธิสกุล chainarong.ath@kmutt.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ sutat.lee@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของแรงแผ่นดินไหวต่อเจดีย์วัดมหาธาตุสุโขทัยโดยอาศัยข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติแบบภาคพื้นดินในการวิเคราะห์หาขนาดมิติในสภาวะปัจจุบันของเจดีย์ประธาน จากข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติดังกล่าวทำให้สามารถระบุมุมเอียงและการเสียรูปของเจดีย์ประธานในสภาพปัจจุบันได้ ข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติของเจดีย์ประธานจะนำไปพัฒนาเป็นแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ ในเบื้องต้นจะประเมินเจดีย์โดยวิเคราะห์ผลทางสถิตศาสตร์และการสั่นแบบธรรมชาติ จากนั้นจะทำการให้แรงแผ่นดินไหวกับแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อศึกษาผลตอบสนองของแรงแผ่นดินไหวโดยการใช้ข้อมูลการเคลื่อนที่ของพื้นดินจากแผ่นดินไหวอย่างน้อย 3 ข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานเกี่ยวกับแรงแผ่นดินไหว มยผ.1302 สุดท้ายแล้วงานวิจัยนี้จะนำเสนอและวิเคราะห์ผลการกระจายความเค้นและการเสียรูปของโครงสร้างเจดีย์อันเนื่องมาจากแรงแผ่นดินไหว</p> 2021-06-24T11:33:00+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/996 ผลกระทบของจุดต่อระหว่างผนังและโครงต้านแรงดัดคอนกรีตเสริมเหล็กต่อพฤติกรรมของผนังอิฐก่อภายใต้แรงด้านข้างในระนาบ 2021-06-28T13:26:09+07:00 จรัญ ศรีชัย srechai@eng.buu.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการต้านทานแรงด้านข้างของผนังอิฐก่อเพื่อพัฒนาวิธีการเสริมกำลังจุดต่อระหว่างผนังและโครงต้านแรงดัดคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีสมรรถนะในการต้านทานแผ่นดินไหวและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นในโครงสร้าง โดยวิธีการทดสอบชิ้นส่วนโครงสร้างที่มีผนังอิฐภายใต้แรงด้านข้างแบบวัฏจักรจำนวน 4 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพในการส่งถ่ายแรงของจุดต่อระหว่างผนังอิฐและคานคอนกรีตเสริมเหล็กมีผลกระทบอย่างมากต่อการต้านทานแรงและรูปแบบความเสียหายที่เกิดขึ้นในผนัง จุดต่อที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีสมรรถนะในการส่งถ่ายแรงได้ดีและยอมให้ผนังเกิดการเลื่อนไถลได้ในระดับที่เหมาะสม การใช้เดือยเหล็กรับแรงเฉือนร่วมกับคานทับหลังที่มีการเสริมเหล็กเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผนังอิฐและคานของโครงต้านแรงดัด สามารถส่งถ่ายแรงจากผนังไปยังคานในระดับที่เหมาะสม เมื่อแรงที่ส่งถ่ายผ่านจุดต่อถึงขีดจำกัดในการต้านทานแรงผนังสามารถเลื่อนไถลได้ซึ่งช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกทั้งช่วยลดการเอียงตัวออกนอกระนาบของผนัง</span></p> 2021-06-24T11:33:33+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1155 การวิเคราะห์การแอ่นตัวมากของท่อลำเลียงของไหลที่มีความยาวส่วนโค้งแปรเปลี่ยนได้โดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ 2021-06-28T13:22:12+07:00 นพวิชญ์ นาควิโรจน์ noppawit.na@ku.th ปภาวินท์ สมวงศ์ papawin.s@ku.th ศิรินภา วงค์จักร์ sirinapa.won@ku.th การันต์ คล้ายฉ่ำ karun.kl@ku.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์การแอ่นตัวมากของท่อลำเลียงของไหลที่มีความยาวส่วนโค้งแปรเปลี่ยนได้โดยคำนึงถึงผลกระทบจากแรงทางด้านข้างและการเปลี่ยนแปลงแรงดันของไหลภายในท่อ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของท่อได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการพลังงาน นอกจากนั้นระบบสมการเชิงอนุพันธ์อันดับที่หนึ่งแบบไม่เป็นเชิงเส้นสำหรับคำนวณหาแรงภายในท่อซึ่งได้จากการพิจารณาสมดุลของแรงและโมเมนต์ของชิ้นส่วนย่อยของท่อ การเปลี่ยนแปลงความดันภายในท่อสามารถคำนวณได้โดยอาศัยสมการของอ็อยเลอร์-แบร์นูลลี ในการศึกษานี้ ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ถูกใช้สำหรับการแก้ปัญหาเชิงตัวเลข ซึ่งพบว่าได้คำตอบที่สอดคล้องกับวิธียิงเป้าจากงานวิจัยในอดีต ผลคำตอบเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่า ความเร็วของไหลและแรงอัดที่จุดรองรับทำให้ท่อเกิดการแอ่นตัวเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ท่อสูญเสียเสถียรภาพ</p> 2021-06-24T11:34:04+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1075 การยกระดับการประมาณสนามใกล้ปลายรอยร้าวสำหรับการวิเคราะห์รอยร้าวด้วยระเบียบวิธีสมการเชิงปริพันธ์ขอบ 2021-06-28T13:27:22+07:00 ธฤต รุ่งอารี taritbook@gmail.com Jaroon Rungamornrat Jaroon.R@chula.ac.th <p class="Text1" style="margin: 6.0pt 0cm 6.0pt 0cm;">This paper presents a simple procedure to enhance the near-front approximation in the stress analysis of a three-dimensional, anisotropic, linearly elastic, cracked medium by the boundary integral equation method. The information of the asymptotic crack-front behavior is utilized as the basis for the enhancement of the approximation of the relative crack-face displacement. Two different schemes are proposed in the present study. In the first scheme, the available 9-node crack-tip elements are generalized by adopting the <em>p</em>-refinement in the direction perpendicular to the crack front. This clearly enables the resulting crack-tip elements to accurately capture high-order terms in the asymptotic near-front expansion of the relative crack-face displacement without the need to reduce the size of the elements. The invented crack-tip elements with the <em>p</em>-refinement can then be utilized along with the standard elements with the <em>h</em>-refinement without the deterioration of the accuracy. The second scheme is based upon the use of available 9-node crack-tip elements together with the newly invented elements, termed the <em>back crack-tip elements</em>, in the approximation of the relative crack-face displacement. The idea is to supply the square-root feature from the asymptotic crack-front field to the crack-tip elements and the elements behind them. In this way, the size of a region on the crack surface where the square-root behavior is captured accurately will not be reduced when the uniform <em>h</em>-refinement is employed to improve the solution accuracy. The two proposed schemes are successfully implemented within the framework of a weakly singular symmetric Galerkin boundary element method. A selected set of results is then reported to demonstrate the computational performance of the proposed schemes.</p> 2021-06-24T11:34:31+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/947 ข้อมูลการสแกน 3 มิติและวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับการศึกษาผลกระทบของแรงแผ่นดินไหวต่อเจดีย์ทรงระฆังของไทย กรณีศึกษาวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม 2021-06-28T13:28:07+07:00 สุวัจน์ชัย แก้วมาคูณ suwatchai.k@mail.kmutt.ac.th พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย peerasit.maha@mail.kmutt.ac.th ชัยณรงค์ อธิสกุล chainarong.ath@kmutt.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ sutat.lee@kmutt.ac.th <p>เจดีย์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยสุโขทัยถูกสร้างมาเป็นเวลากว่า 500 ปี แม้ว่าประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่รับแรงแผ่นดินไหวระดับต่ำถึงปานกลาง แต่จังหวัดสุโขทัยอยู่ในเขตพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวสูงอันเนื่องมาจากรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ด้วยเหตุนี้โครงสร้างทางประวัติศาสตร์ของไทยในจังหวัดสุโขทัยจึงมีโอกาสได้รับผลกระทบเนื่องจากแผ่นดินไหว งานวิจัยนี้นำเสนอผลกระทบของแรงแผ่นดินไหวที่มีต่อเจดีย์ทรงระฆังของไทยซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่รับแรงแผ่นดินไหวในจังหวัดสุโขทัย โดยอาศัยเจดีย์ทรงระฆังวัดศรีพิจิตรกีรติกัลยารามเป็นกรณีศึกษา การเก็บข้อมูลกลุ่มจุดของเจดีย์จะใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์แบบภาคพื้นดิน จากนั้นทำการสร้างแบบจำลองสมมติฐานอย่างง่ายของเจดีย์จากข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติ แล้วนำมาวิเคราะห์สภาพตำแหน่งปัจจุบันรวมถึงความเอียงที่ตำแหน่งยอดของเจดีย์ การวิเคราะห์โครงสร้างจะอาศัยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์ จากการวิเคราะห์ผลทางสถิตยศาสตร์และการวิเคราะห์การสั่นอิสระจะทำให้ได้ภาพลักษณะการกระจายความเค้น การเคลื่อนตัว ค่าความถี่ธรรมชาติ และรูปร่างการสั่นอิสระที่สอดคล้องกับค่าความถี่ธรรมชาติของเจดีย์ สำหรับการหาผลตอบสนองของเจดีย์จะใช้การเคลื่อนตัวของพื้นดินอย่างน้อยสามรูปแบบที่แตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน มยผ. 1302</p> 2021-06-24T11:34:59+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/927 ข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์แบบภาคพื้นดินสำหรับการติดตามและตรวจสอบสภาพสะพานพระราม 9 2021-06-28T13:28:46+07:00 ชนาธิป บินซาอิส chanatip.binz@mail.kmutt.ac.th พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย peerasit.maha@mail.kmutt.ac.th ชัยณรงค์ อธิสกุล chainarong.ath@kmutt.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ sutat.lee@kmutt.ac.th <p class="Text1"><a name="_Hlk61295238"></a><span lang="TH">งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์สำหรับการติดตามและตรวจสอบสภาพสะพานขึง กรณีศึกษาสะพานพระราม 9 ซึ่งเป็นหนึ่งในสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งกรุงเทพและธนบุรีที่ความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของทางพิเศษเฉลิมมหานคร โดยเปิดใช้งานครั้งแรกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 การติดตามสภาพโครงสร้างและการตรวจสอบอย่างเหมาะสมเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญในการยืนยันเสถียรภาพของสะพานรวมทั้งความปลอดภัยของผู้ใช้งาน งานวิจัยนี้ใช้เครื่องสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยเลเซอร์แบบภาคพื้นดินในการเก็บข้อมูลพิกัดสภาพพื้นผิวปัจจุบันของสะพานพระราม 9 และนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและสร้างเป็นแบบจำลองสภาพปัจจุบันในรูปแบบของข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติของสะพานพระราม 9 จากนั้นนำมาวิเคราะห์เพื่อประเมินขนาดมิติ ค่าระดับ ความชัน ภาพตัดของสะพานพระราม 9 โดยในท้ายที่สุดจะแสดงศักยภาพของการใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุด้วยแสงเลเซอร์ในการวัดเส้นโค้งหย่อนตัวของเคเบิลเป็นประเด็นสำคัญ</span></p> 2021-06-24T11:35:34+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/876 การเพิ่มความลึกของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก 2021-06-28T13:29:36+07:00 พิพรรธ คุณความสุข benz.nk5@gmail.com พงศธร คำภาแย่ benz.nk5@gmail.com โยธิน บัวชุม benz.nk5@gmail.com Mengky Sorn benz.nk5@gmail.com Chhaya Samhean benz.nk5@gmail.com สรศักดิ์ เซียวศิริกุล benz.nk5@gmail.com มานิตย์ จรูญธรรม benz.nk5@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในปัจจุบันอาคารมีการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานจากการออกแบบครั้งแรกเป็นจำนวนไม่น้อย และอาคารขนาดเล็กเป็นอาคารที่ถูกปรับเปลี่ยนบ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนเจ้าของกิจการทำให้มีการปรับปรุงอาคารเพื่อรองรับการใช้ตามวัตถุประสงค์ เช่น การเพิ่มน้ำหนักบรรทุกของอาคาร คานเป็นชิ้นส่วนโครงสร้างที่ต้องปรับปรุงให้สามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในการปรับปรุงคือการเพิ่มความลึกของคาน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาการเพิ่มความสามารถในการรับแรงดัดของคานช่วงเดียวอย่างง่ายโดยการหล่อเพิ่มความลึกหน้าตัดคาน ตัวอย่างทดสอบใช้กำลังอัดประลัย 222 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร คอนกรีตรูปทรงกระบอกมาตรฐาน ที่อายุการบ่ม 28 วัน จำนวน 4 ชุดตัวอย่างๆมีความลึก 0.28m, 0.33m, 0.38m และ0.43m ที่แต่ละชุดมี 3 ตัวอย่าง และเสริมเหล็กรับแรงดัดที่ความลึกประสิทธิผลเท่ากับคานปรกติบ่มโดยการแช่น้ำเป็นเวลา 28 วัน แล้วทดสอบหากำลังต้านทานแรงดัดและค่าการโก่งตัว พบว่าคานคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดเสริมทั้งหมดรับแรงดัดได้เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคานคอนกรีตเสริมเหล็กปรกติที่มีความลึกประสิทธิผลเท่ากัน มีค่าเฉลี่ย 3.53 เท่าของทฤษฎีโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (WSD)&nbsp; และ 1.47 เท่าของทฤษฎีโดยวิธีกำลัง (SDM)</p> <p><em>คำสำคัญ</em><em>:</em> <em>ความลึกประสิทธิผล</em><em>,</em><em> พฤติกรรมการรับแรงดัด</em><em>,</em><em> การเสริมเหล็กรับแรงดัด</em></p> 2021-06-24T11:36:08+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/903 การวิเคราะห์การโก่งเดาะของโครงสร้างเปลือกบางอิลิปซอยด์ครึ่งซีกภายใต้แรงดันภายนอก 2021-06-28T13:50:46+07:00 ปิยวัฒน์ สุวรรณกรกิจ piyawat.su@mail.kmutt.ac.th สมชาย ชูชีพสกุล somchai.chu@kmutt.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">บทความนี้มุ่งเน้นที่การวิเคราะห์การโก่งเดาะของโครงสร้างเปลือกบางอิลิปซอยด์ครึ่งซีกภายใต้น้ำหนักบรรทุกกระจายอย่างสม่ำเสมอโดยใช้โปรแกรม </span>ABAQUS<span lang="TH"> โครงสร้างเปลือกบางอิลิปซอยด์ครึ่งซีกสามารถแทนได้ด้วยรูปของสมการทรงรีที่หมุนรอบแกน โดยโครงสร้างมีเงื่อนไขจุดรับรองที่ไร้แรงเสียดทานโดยรอบตามแนวฐาน ซึ่งมีอิสระต่อการเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับพื้นผิวโครงสร้างและอิสระต่อการหมุนในทิศทางตามแนวเส้นรอบฐาน ในแบบจำลองกำหนดให้สมบัติของวัสดุเป็นไอโซทรอปปิกและมีความยืดหยุ่นแบบเชิงเส้น ในการวิเคราะห์ใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบเชิงเส้นหาค่าน้ำหนักบรรทุกวิกฤตที่ทำให้เกิดการโก่งเดาะและโหมดการเสียรูปจากการโก่งเดาะของโครงสร้างเปลือกบางอิลิปซอยด์ครึ่งซีก บทความนี้นำเสนอค่าน้ำหนักบรรทุกวิกฤตและโหมดการเสียรูปจากการโก่งเดาะที่เปลี่ยนแปลงไปตามค่าอัตราส่วนกึ่งแกนหลักต่อแกนรอง และความหนา </span></p> 2021-06-24T11:36:39+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/904 อิทธิพลของคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของตัวกลางภายในรอยร้าวที่มีต่อหน่วยแรงทีทั่วไป ของรอยร้าวในตัวกลางไพอิโซอิเล็กทริกสามมิติ 2021-06-28T13:51:40+07:00 วีรพร พงศ์ติณบุตร weeraporn@buu.ac.th พิทวัส เซ็งมา Weeraporn@buu.ac.th ณัฐนันท์ ชำนาญจิตร์ weeraporn@buu.ac.th วารุจ ลิ่มวิบูลย์ weeraporn@buu.ac.th ปิยะฉัตร ฉัตรตันใจ piyachatc@eng.buu.ac.th ยโสธร ทรัพย์เสถียร yasothorn.sap@mahidol.ac.th <p><strong>บทความนี้ศึกษาอิทธิพลคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของตัวกลางภายในรอยร้าวที่มีต่อหน่วยแรงทีทั่วไปของรอยร้าวที่อยู่ในระนาบและไม่อยู่ในระนาบในตัวกลางไพอิโซอิเล็กทริกเชิงเส้นภายใต้เงื่อนไขขอบเขตเชิงไฟฟ้าแบบกึ่งซึมผ่านได้ และเงื่อนไขขอบเขตเชิงไฟฟ้าแบบสอดคล้องเชิงพลังงานโดยใช้วิธีบาวดารีเอลิเมนต์ รอยร้าววงกลมและรอยร้าวผิวทรงกลมถูกเลือกเป็นตัวแทนของรอยร้าวที่อยู่ในระนาบและรอยร้าวไม่อยู่ในระนาบตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติการนำไฟฟ้าของตัวกลางที่อยู่ภายในรอยร้าวมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อค่าของหน่วยแรงทีทั่วไป กล่าวคือ หน่วยแรงทีทั่วไปของรอยร้าววงกลมภายใต้เงื่อนไขขอบเขตเชิงไฟฟ้าแบบกึ่งซึมผ่านได้ และเงื่อนไขขอบเขตเชิงไฟฟ้าแบบสอดคล้องเชิงพลังงาน อยู่ระหว่างผลเฉลยของเงื่อนไขขอบเขตเชิงไฟฟ้าแบบซึมผ่านได้ซึ่งเป็นขอบเขตบน และแบบซึมผ่านไม่ได้ซึ่งเป็นขอบเขตล่าง สำหรับทุกค่าของคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของตัวกลางที่พิจารณา โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของตัวกลางภายในรอยร้าวมีค่าเพิ่มขึ้น ผลเฉลยของเงื่อนไขขอบเขตเชิงไฟฟ้าแบบสอดคล้องเชิงพลังงาน ลู่เข้าสู่ผลเฉลยของเงื่อนไขขอบเขตเชิงไฟฟ้าแบบซึมผ่านได้ เร็วกว่าผลเฉลยของเงื่อนไขขอบเขตเชิงไฟฟ้าแบบกึ่งซึมผ่านได้ นอกจากนี้ เรขาคณิตของผิวรอยร้าวที่ไม่อยู่ในระนาบยังทำให้ ขอบเขตบนและขอบเขตล่างของหน่วยแรงทีทั่วไปของรอยร้าวผิวทรงกลมแตกต่างจากของรอยร้าววงกลม กล่าวคือ นอกจากผลเฉลยทั่วไปของเงื่อนไขขอบเขตเชิงไฟฟ้าแบบซึมผ่านได้และแบบซึมผ่านไม่ได้แล้ว ผลเฉลยของเงื่อนไขขอบเขตเชิงไฟฟ้าแบบสอดคล้องเชิงพลังงานยังเป็นขอบเขตของหน่วยแรงทีทั่วไปของรอยร้าวผิวทรงกลมด้วยเช่นกัน</strong></p> 2021-06-24T11:37:35+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/910 ผลกระทบจากแรงตึงผิวที่มีผลต่อการโก่งตัวมากของนาโนร็อดยื่นรับน้ำหนักของตัวเอง 2021-06-28T13:52:18+07:00 นริศร ประกายประเสริฐ narisorns@hotmail.com ศ.ดร.สมชาย ชูชีพสกุล narisorns@hotmail.com <p class="Text1"><span lang="TH">บทความนี้นำเสนอการตรวจสอบผลกระทบจากแรงตึงผิวที่มีผลต่อการโก่งตัวมากของแท่งนาโนภายใต้น้ำหนักตัวเอง หลักงานเสมือนพลังงานที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองสมการซึ่งประกอบด้วยพลังงานความเครียดเสมือนเนื่องจากการดัด</span>,<span lang="TH">งานเสมือนของแรงตึงผิวและงานเสมือนเนื่องจากน้ำหนักตัวเอง ระบบพิกัดอินทรินสิกซึ่งเป็นมุมของการหมุนถูกใช้เพื่อกำหนดค่าการโก่งตัวมาก ปัญหานี้เป็นแบบไม่เชิงเส้นซึ่งไม่มีคำตอบเชิงวิเคราะห์ที่แน่นอน ดังนั้นวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์และนิวตัน</span>-<span lang="TH">ราฟสันจึงถูกนำมาใช้ในการหาคำตอบเชิงตัวเลข จากการศึกษาผลกระทบจากแรงตึงผิวที่มีผลต่อการโก่งตัวพบว่าผลกระทบจากแรงตึงผิวมีแนวโน้มที่จะลดค่าของการโก่งตัวได้</span></p> 2021-06-24T11:40:53+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/776 การพัฒนาผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติก 2021-06-28T12:42:15+07:00 ฐิติพงศ์ เจริญสุข bigosk133@gmail.com ทศพล ปิ่นแก้ว tospol.p@chula.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลการตอบสนองของอาคารต่อคลื่นแผ่นดินไหวหลังจากการติดตั้งผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติค&nbsp;&nbsp; (viscoelastic wall dampers) ประกอบกับการศึกษาคุณสมบัติของยางมะตอยและ PIB (Polyisobutene) ที่ถูกเลือกใช้มาเป็นวัสดุวิสโคอิลาสติคที่ใช้ใน ผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติค แม้ว่าในปัจจุบันอุปกรณ์สลายพลังงานสามารถสลายพลังงานจากแผ่นดินไหวและลดผลการตอบสนองของตัวอาคารได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันวัสดุวิสโคอิลาสติคที่มีวางขายในตลาดนั้นก็มีราคาที่สูง อีกทั้งยังมีลักษณะที่ใหญ่และไม่สวยงาม และมีราคาค่าติดตั้งและมีค่าบำรุงรักษาที่สูง ในงานวิจัยนี้จึงพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติค ด้วยวัสดุที่มีราคาที่ไม่สูง และไม่กระทบต่อความสวยงามของอาคารเดิม โดยจะทำการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของผนังสลายพลังงานจากการทดสอบชิ้นงานตัวอย่างในห้องปฎิบัติการ แล้วจึงนำไปประยุกต์ใช้ในการต้านทานแผ่นดินไหวกรณีของอาคารสูงที่ติดตั้งอุปกรณ์สลายพลังงานด้วยการวิเคราะห์แบบประวัติเวลาไม่เชิงเส้นด้วยโปรแกรม ETABS โดยกรณีศึกษาเลือกพิจารณาอาคารที่พักอาศัย 40 ชั้นความสูง 122.15 เมตรที่มีความกว้าง 37.25 เมตร และความยาว 78.4 เมตรตามลำดับ เพื่อทำการเปรียบเทียบพฤติกรรมกับอาคารเดิมและยืนยันถึงประสิทธิภาพในการเพิ่มความต้านทานแผ่นดินไหวและความคุ้มค่าเชิงตัวเงิน</p> 2021-06-24T11:41:07+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/890 การพิจารณาออกแบบระยะการเคลื่อนขยายตัวของรอยต่อพื้นทางยกระดับที่เหมาะสมสำหรับทางพิเศษ 2021-06-28T13:53:19+07:00 นายธราดล หงส์อติกุล titharadon@gmail.com นางสาวนันทวรรณ พิทักษ์พานิช nantawan_pit@exat.co.th นายเทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร thepparit_rut@exat.co.th <p>ในโครงสร้างคอนกรีตของพื้นทางยกระดับทางพิเศษจะมีบริเวณที่ตัดแบ่งช่วงของโครงสร้างพื้นทางสำหรับใช้เป็นรอยต่อแยกโครงสร้างออกจากกัน เพื่อแยกการยึดรั้งระหว่างโครงสร้างออกจากกัน โดยไม่ให้เกิดการถ่ายเทแรงระหว่างกันภายในโครงสร้างพื้นทางยกระดับ ซึ่งรอยต่อนี้จะช่วยรองรับการเคลื่อนขยายตัวของโครงสร้างพื้นทางยกระดับ เพื่อป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการเคลื่อนขยายตัวชนกัน ในปัจจุบันรอยต่อพื้นทางสำหรับติดตั้งใช้งานบนทางยกระดับนั้นมีหลากหลายรูปแบบ การพิจารณาเลือกใช้รอยต่อจากการออกแบบระยะการเคลื่อนขยายตัวของโครงสร้างทางยกระดับให้สอดคล้องกับความสามารถในการรองรับการเคลื่อนขยายตัวของโครงสร้างทาง ฯ ของรอยต่อจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงผลของการยืดหดตัวของคอนกรีต (Shrinkage) การคืบ (Creep) และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ (Thermal Effect) เพื่อให้รอยต่อพื้นทางสามารถรองรับการเคลื่อนขยายตัวของโครงสร้างทางที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนขยายตัวของโครงสร้างพื้นทาง ส่งผลทำให้โครงสร้างพื้นทางมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถวางแผนในการซ่อมบำรุงรอยต่อพื้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดงบประมาณ ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาถึงวิธีในการออกแบบระยะการเคลื่อนขยายตัวของรอยต่อแบบแผ่นเหล็กฟันปลา (Steel Finger Joint) ที่ได้ติดตั้งใช้งานบริเวณพื้นทางยกระดับของทางพิเศษกาญจนาภิเษก เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเลือกใช้งานรูปแบบของรอยต่อพื้นทางในบริเวณดังกล่าว</p> <p><strong><em>คำสำคัญ</em></strong><strong><em>:</em></strong> <em>ระยะการเคลื่อนขยายตัว</em><em>, รอยต่อพื้นทาง</em><em>, </em><em>การยืดหดตัว</em><em>, </em><em>การคืบ</em><em>, </em><em>การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ </em></p> 2021-06-24T11:41:19+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/959 พฤติกรรมคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผสมเส้นใยเหล็กมากเกินพอดีภายใต้แรงกระทำแบบวนซ้ำ 2021-06-28T13:54:01+07:00 ปิยะพงษ์ วงค์เมธา piyapong.wongmatar@cmu.ac.th ชยานนท์ หรรษภิญโญ chayanon@eng.cmu.ac.th รัฐพล เกติยศ rattapon.ste7@rmutl.ac.th <p>การผสมเส้นใยเหล็กเข้าไปในคอนกรีตสามารถปรับปรุงความสามารถในด้านกำลังรับแรงเฉือน กำลังรับแรงดัด ความเหนียว และการล้าของโครงสร้าง ปริมาณการผสมเส้นใยเหล็กในคอนกรีตที่มีขนาดโตสุดของหิน 3/4 นิ้วที่แนะนำโดยมาตรฐาน ACI ระบุช่วงปริมาณการผสมเส้นใยเหล็กไว้ที่ร้อยละ 0.3-0.8 โดยปริมาณ บทความนี้เสนอพฤติกรรมของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีปริมาณการผสมเส้นใยเหล็กมากเกินพอดีภายในแรงกระทำแบบวนซ้ำ โดยคานหน้าตัด 12x24 เซนติเมตรมีรายละเอียดของเหล็กเสริมด้านแรงอัดและแรงดึงเป็น DB12 จำนวน 2 เส้นและทำการแปรผันปริมาณการผสมเส้นใยเหล็กชนิดงอปลายที่ร้อยละ 0.0 , 0.5 , 1.0 และ 1.5 โดยปริมาณของคอนกรีต ทดสอบด้วยการดัดแบบแรงกระทำ 4 จุดโดยให้แรงกระทำแบบวนซ้ำ ผลการทดสอบพบว่าการผสมเส้นใยเหล็กในปริมาณไม่เกินร้อยละ 1.0 โดยปริมาณส่งผลให้กำลังรับแรงดึงของคอนกรีตดีขึ้นอย่างไรก็ตามกลับส่งผลต่อกำลังรับแรงอัดและความสามารถในการไหลที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะที่ปริมาณเส้นใยเหล็กร้อยละ 1.5 สำหรับพฤติกรรมของคานเมื่อรับแรงกระทำแบบซ้ำๆที่ค่า 80% ของกำลังหน้าตัดที่มีการผสมเส้นใยเหล็กพบว่าช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นและยังเพิ่มค่ากำลังรับแรงสูงสุดของคาน อย่างไรก็ตามการผสมเส้นใยเหล็กในปริมาณที่มากกว่าค่าแนะนำของ ACI กลับทำให้การกระจายตัวของรอยร้าวดัดในช่วงไม่เชิงเส้นลดลงและนำไปสู่การวิบัติแบบฉับพลันจากการขาดของเหล็กเสริมรับแรงดึง</p> 2021-06-24T11:41:35+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/961 ผลวิเคราะห์โครงสร้างอาคารตึกช้างต้านทานแรงแผ่นดินไหวตามมาตรฐาน มยผ.1301/1302-61 2021-06-28T13:54:41+07:00 นิติกร แสงสว่าง nitikorn.kmitl@gmail.com อาทิตย์ เพชรศศิธร art_arthit@hotmail.com <p>มาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง สำหรับการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ.1301/1302-61 ได้อธิบายวิธีการคำนวณหาแรงแผ่นดินไหวของอาคารหลายรูปแบบ ในเชิงสถาปัตยกรรมการออกแบบที่มีความซับซ้อน ทำให้โครงสร้างอาคารไม่สมมาตรและไม่สม่ำเสมอในลักษณะต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ความไม่สม่ำเสมอเชิงการบิด ความไม่สม่ำเสมอแนวระนาบ หรือความไม่สม่ำเสมอแนวดิ่ง บทความนี้นำเสนอผลการวิเคราะห์อาคารตัวอย่างตึกช้าง (Elephant Tower) ซึ่งเป็นอาคารที่ได้รับรางวัล ตึกระฟ้าที่มีเอกลักษณ์อันดับที่ 4 ใน 20 ของโลก ในปี 2013 และยังเป็นอาคารที่มีความไม่สม่ำเสมอของรูปทรงโครงสร้างทั้งแนวราบและแนวดิ่ง มาเป็นแบบจำลองในการวิเคราะห์โครงสร้าง โดยตั้งสมมติฐานว่าอาคารตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และมีประเภทการออกแบบแรงแผ่นดินไหวแบบ ง เพื่อศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้าง ผลตอบสนองของอาคาร และเปรียบเทียบผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่า วิธีสเปกตรัมตอบสนองแบบโหมด และวิธีวิเคราะห์การตอบสนองเชิงเส้นแบบประวัติเวลา ตามมาตรฐานมยผ.1301/1302-61</p> 2021-06-24T11:41:49+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/790 ผลของความยาวระยะฝังของเหล็กข้ออ้อยที่เชื่อมกับแผ่นเหล็กที่มีผลต่อคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป 2021-06-28T12:44:18+07:00 ชูธง กงแก้ว chuthong.kongkaew@gmail.com <p>คอนกรีตเสริมเหล็กส่วนใหญ่ถูกก่อสร้างด้วยระบบหล่อในที่ (Cast-in-place) ซึ่งเป็นการก่อสร้างใช้แบบหล่อ แรงงานคน และเวลาอย่างมาก เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นทำให้เกิดระบบการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป (Precast concrete) ซึ่งมีข้อดีคือสามารถลดปริมาณแบบหล่อ แรงงาน และเวลาในการก่อสร้างได้เป็นอย่างมากทำให้สามารถประหยัดงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างได้ อีกทั้งยังสามารถควบคุมคุณภาพในระหว่างการก่อสร้างได้ดีกว่าการก่อสร้างแบบหล่อในที่ ดังนั้นเพื่อที่จะต้องการพัฒนาจุดต่อระหว่างเสาและคานให้สามารถติดตั้งได้ง่ายมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงกล่าวถึงคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปที่มีแผ่นเหล็กเชื่อมกับเหล็กข้ออ้อยฝังที่ส่วนรองรับ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ศึกษาผลของความยาวระยะฝังของเหล็กข้ออ้อยที่เชื่อมกับแผ่นเหล็กที่มีผลต่อคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปเปรียบเทียบกับคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปที่ไม่มีเหล็กข้ออ้อยเชื่อมกับแผ่นเหล็กที่ออกแบบตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ</p> 2021-06-24T11:42:04+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1109 กำลังอัดและการถ่ายเทความร้อนของผนังรับแรงที่ทำจากวัสดุผสม ระหว่างพลาสติกพีวีซีและขี้เลื่อยไม้ที่มีหน้าตัดแตกต่างกัน 2021-06-28T13:55:35+07:00 ธรัฐ ภาคสัญไชย tarat.paksunchai@gmail.com <p>บทความนี้ศึกษารูปแบบหน้าตัดกลวง ประกอบด้วยความหนาแผ่นเอว ความกว้างแผ่นปีก และความหนาแผ่นปีกที่มีต่อค่ากำลังอัดและการถ่ายเทความร้อน รวมทั้งพิจารณาค่ากำลังอัดที่อัตราส่วนความชะลูด SR เท่ากับ 15 และ 30 ที่มีต่อผนังรับแรงที่ทำจากวัสดุผสมระหว่างพลาสติกพีวีซีและขี้เลื่อยไม้ (WPVC) โดยขึ้นรูปชิ้นงานเป็นผนังทดสอบขนาดจริงและทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ตัวแปรที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย ความหนาแผ่นเอวขนาด 12 และ 20 มิลลิเมตร ความกว้างแผ่นปีกขนาด 70 100 และ 140 มิลลิเมตร และความหนาแผ่นปีก 20 และ 35 มิลลิเมตร ผลการทดสอบ พบว่า ความหนาแผ่นเอว ความกว้างแผ่นปีก และความหนาแผ่นปีกที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ผนังรับแรงที่ทำจากวัสดุผสมระหว่างพลาสติกพีวีซีและขี้เลื่อยไม้มีแนวโน้มที่สามารถรับกำลังอัดได้สูงขึ้น มีการเสียรูปด้านข้างลดลงและความสามารถในการต้านทานความร้อนเพิ่มขึ้น ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของค่าอัตราส่วนความชะลูด ส่งผลให้ผนังรับแรงสามารถรับกำลังอัดน้อยลงและมีการเสียรูปด้านข้างเพิ่มขึ้น</p> 2021-06-24T11:42:20+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1156 การซ่อมแซมตอม่อสะพานที่ทรุดตัวด้วยเสาเข็มเจาะชนิดสปันไมโครไพล์ 2021-06-28T13:56:23+07:00 ภวินท์ ฤทธิรุฒม์ pawin.intania97@gmail.com <p class="Text1"><span lang="TH">บทความนี้นำเสนอวิธีการซ่อมแซมตอม่อสะพานใต้ฐานรากถูกน้ำกัดเซาะทำให้เกิดการทรุดตัวโดยแก้ไขด้วยการใช้สปันไมโครไพล์ทดแทนเสาเข็มฐานรากเดิมของสะพานข้ามคลองระแนะ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเปิดใช้งานสะพานมาเป็นเวลากว่า 2</span>7<span lang="TH"> ปี กรมทางหลวงชนบทได้ทำการตรวจสอบสะพานแล้วพบว่า ตอม่อของสะพานจำนวนสองจากแปดตับมีการทรุดตัวลงกว่า </span>30 <span lang="TH">เซนติเมตร ทำให้พื้นสะพานไม่อยู่ในแนวระดับเดิม ซึ่งจากความเสียหายดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการรับน้ำหนักของสะพานและอาจก่อให้เกิดอันตรายถ้ายังคงใช้งานต่อไป กรมทางหลวงชนบทจึงได้คัดเลือกวิธีการซ่อมแซมโดยคำนึงถึงข้อจำกัดของพื้นที่ในการก่อสร้าง ความจำเป็นในการเปิดใช้งานสะพานในระหว่างการซ่อมแซม ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งได้พิจารณาข้อจำกัดต่าง ๆข้างต้นแล้วจึงเลือกใช้วิธีการก่อสร้างด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ทดแทนเสาเข็มฐานรากเดิม โดยการตอกเสาเข็มดังกล่าวบริเวณฐานรากเดิมที่ทรุดตัว จากนั้นทำการดีดยกระดับพื้นสะพานและถ่ายน้ำหนักผ่านโครงสร้างชั่วคราวลงบนเสาเข็มสปันไมโครไพล์ใหม่ที่ตอกไว้ จากนั้นได้ทำการก่อสร้างฐานรากและเสาตอม่อรองรับพื้นสะพาน ทำการถ่ายน้ำหนักของสะพานลงสู่ตอม่อที่สร้างใหม่ ผลการดำเนินงานก่อสร้างแสดงให้เห็นว่าตอม่อสะพานบนเสาเข็มสปันไมโครไพล์สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างสะพานและได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรม</span></p> 2021-06-24T11:42:32+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1157 การเสริมกำลังฐานรากสะพานด้วยเสาเข็มชนิดสปันไมโครไพล์ 2021-06-28T13:23:10+07:00 ภวินท์ ฤทธิรุฒม์ pawin.intania97@gmail.com <p class="Text1"><span lang="TH">บทความนี้นำเสนอวิธีการซ่อมแซมตอม่อสะพานที่ถูกลดค่าอัตราส่วนความปลอดภัยเนื่องมาจากการที่ดินใต้ฐานรากถูกน้ำกัดเซาะด้วยการใช้<br>สปันไมโครไพล์เสริมกำลังฐานรากสะพานมิตรภาพดงป่าลัน ต.แม่ฝาย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเปิดใช้งานสะพานมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี <br>กรมทางหลวงชนบทได้ทำการตรวจสอบกำลังรับน้ำหนักฐานรากเสาเข็มกลุ่มโดยตรวจสอบความยาวเสาเข็มด้วยคลื่นไซสมิคผ่านการเจาะขนานและได้คำนวณย้อนกลับกำลังรับน้ำหนักของฐานราก จากการประเมินพบว่าค่าอัตราส่วนความปลอดภัยมีค่าเพียง 1.04 ซึ่งในทางวิศวกรรมปฐพีซึ่งนิยมใช้ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยมากกว่า 3 ถือว่ากรณีนี้มีความอันตรายเป็นอย่างมาก ถ้าสะพานนี้ถูกกัดเซาะเพิ่มขึ้นและถูกเปิดใช้งานต่อไปโดยไม่ซ่อมแซมอาจเกิดการพังทลายได้ กรมทางหลวงชนบทจึงได้คัดเลือกวิธีการซ่อมแซมโดยคำนึงถึงข้อจำกัดของพื้นที่ในการก่อสร้าง ความจำเป็นในการเปิดใช้งานสะพานในระหว่างการซ่อมแซม ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งได้พิจารณาข้อจำกัดต่าง ๆ แล้วจึงเลือกใช้การเสริมกำลังด้วยเสาเข็มด้วยสปันไมโครไพล์ซึ่งถูกตอกลึกถึงชั้นดินแข็ง จากนั้นทำให้น้ำหนักสะพานถูกถ่ายผ่านโครงสร้างชั่วคราวลงบนเสาเข็มใหม่ที่ตอกไว้ ได้ทำการยกสะพานขึ้นเล็กน้อยเพื่อถ่ายน้ำหนักสะพานลงสู่เสาเข็มและทำการก่อสร้างเสาคอนกรีตเสริมท่อเหล็กรูปพรรณเชื่อมต่อระหว่างฐานรากเดิมและเสาเข็มใหม่ ผลการดำเนินงานก่อสร้างแสดงให้เห็นว่าตอม่อสะพานบนเสาเข็มสปันไมโครไพล์สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างสะพานและได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรม</span></p> 2021-06-24T11:42:45+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/973 SHEAR PERFORMANCE OF REINFORCED CONCRETE BEAMS STRENGTHENED WITH AN INNOVATIVE EMBEDDED THROUGH-SECTION SYSTEM 2021-06-28T14:03:33+07:00 ชนากานต์ กลีบปทุม nan_klippathum@outlook.co.th ลิน แวน ฮง บุย nan_klippathum@outlook.co.th พิชชา จองวิวัฒสกุล nan_klippathum@outlook.co.th Pornpen Limpaninlachat Nan_Klippathum@outlook.co.th Tosporn Prasertsri nan_klippathum@outlook.co.th Natdanai Sinsamutpadung nan_klippathum@outlook.co.th <p>วิธีการฝังแบบลึกหรือการเจาะเสียบฝังผ่านหน้าตัดเป็นหนึ่งในวิธีที่ใช้เสริมประสิทธิภาพการรับแรงเฉือนของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงเฉือนของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเสริมด้วยแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใยแก้ว โดยวิธีการเจาะเสียบฝังผ่านหน้าตัด การทดลองแบ่งออกเป็นเก้าตัวอย่าง เพื่อประเมินผลของความสามารถในการรับแรงเฉือนของตัวอย่างที่ทำการทดสอบ ประกอบด้วยคานซึ่งมีการเสริมด้วยแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใยแก้วจำนวนแปดคาน และคานอ้างอิงจำนวนหนึ่งคาน ในการศึกษาประสิทธิภาพการรับแรงเฉือนของคานดังกล่าว ตัวแปรที่สำคัญ ประกอบด้วย อัตราส่วนช่วงการเฉือนต่อความลึกประสิทธิผลที่เปลี่ยนแปลงไป และอุปกรณ์ฝังยึดเชิงกล ซึ่งแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ อุปกรณ์ยึดแบบเหล็กและแบบพอลิเมอร์เสริมเส้นใยแก้ว ผลที่สามารถวิเคราะห์ได้จากการทดสอบ ได้แก่ ความสามารถในการเสริมกำลังรับแรงเฉือน, กลไกการพังและการแตก รวมถึง การเสียรูปเนื่องจากแรงเฉือน นอกจากนี้ &nbsp;ยังมีการประมาณค่าของความสามารถในการรับแรงเฉือน โดยนำแบบจำลองแรงเฉือนในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ และตรวจสอบความถูกต้องจากการเปรียบเทียบกับความสามารถในการรับแรงเฉือนจริงที่ได้จากการทดลอง</p> 2021-06-24T11:44:21+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/994 การศึกษาอัตราส่วนผสมและทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุซีเมนต์สำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ 2021-06-28T14:05:16+07:00 ชนม์วิชญ์ ธัญญะสุขวณิชย์ chonwit.tha@gmail.com ทศวัฒน์ ดวงวิไลลักษณ์ totsawat.dl@gmail.com วิทิต ปานสุข withit.p@chula.ac.th <p>ในปัจจุบัน หนึ่งในความท้าทายของอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็คือการลดต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนค่าวัสดุและต้นทุนค่าแรงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เป็นนวัตกรรมทางเลือกในการลดต้นทุนในการก่อสร้างโดยรวมลง เนื่องจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ช่วยเพิ่มความเร็วในกระบวนการก่อสร้าง ส่งผลให้มีการลดการใช้ทรัพยากรบุคคลในกระบวนการ นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณวัสดุที่อาจสูญเสียไปในกระบวนการก่อสร้าง เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการก่อสร้างแบบเดิม อย่างไรก็ตามจะต้องมีการใช้ส่วนผสมสำหรับวัสดุในการพิมพ์ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพในการก่อสร้างและการลดต้นทุน บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการเสนอแนวทางการออกแบบส่วนผสมสำหรับการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อให้ได้วัสดุที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม โดยการใช้วัสดุที่มีปูนซีเมนต์เป็นส่วนผสมพื้นฐานในการพิมพ์ โดยได้มีการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ดังกล่าวในสภาวะสด (Fresh state) และสภาวะแข็งตัว (Hardened state) อาทิการทดสอบการไหล การทดสอบระยะเวลาในการก่อตัว และการทดสอบความสามารถในการรับแรงอัด อีกทั้งได้นำเสนอแนวทางในการทดสอบวัสดุสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติอีกด้วย</p> 2021-06-24T11:44:31+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/957 การทดสอบโครงอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ออกแบบรับแรงแผ่นดินไหวร่วมกับผนังอิฐก่อ 2021-06-28T14:05:56+07:00 ไตรรัตน์ สังขมงคล trirat.connect@mail.kmutt.ac.th วงศา วรารักษ์สัจจะ wongsa.wararuk@mail.kmutt.ac.th จรัญ ศรีชัย srechai@eng.buu.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ sutat.lee@kmutt.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">อาคารที่มีผนังอิฐก่อเป็นที่นิยมใช้กันในหลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทย ผนังอิฐก่อนั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านกำลังและความแข็งแรงด้านข้างให้กับโครงอาคาร แต่อย่างไรก็ตามปฏิสัมพันธ์ระหว่างผนังอิฐก่อและโครงอาคารนั้นอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายในรูปแบบการวิบัติจากการเฉือนที่เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเป็นรูปแบบความเสียหายที่ทำให้โครงอาคารสูญเสียเสถียรภาพทั้งการรับแรงในแนวดิ่งและด้านข้าง งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมของโครงต้านแรงดัดคอนกรีตเสริมเหล็กแบบความเหนียวจำกัด </span>(Intermediate RC Moment Frame) <span lang="TH">ที่ได้รับการออกแบบเพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายจากแรงเฉือนที่เสาที่จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผนังอิฐก่อและโครงอาคาร ในงานวิจัยได้ทำการทดสอบโครงอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเท่าอาคารจริงในห้องปฏิบัติการ ภายใต้แรงสลับทิศและแรงในแนวดิ่ง จากผลการทดสอบพบว่าวิธีการออกแบบที่ใช้ สามารถป้องกันความเสียหายที่เสา และพบแต่รอยแตกร้าวเฉพาะในแนวนอนที่บริเวณปลายของเสาทั้งสองต้น ซึ่งเป็นลักษณะความเสียหายที่เกิดจากแรงดัด ทำให้โครงอาคารนี้เป็นโครงอาคารที่มีความเหนียวและเป็นไปตามพฤติกรรมการออกแบบโครงอาคารต้านทานแผ่นดินไหว </span></p> 2021-06-24T11:44:38+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/779 พฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กภายใต้การกัดกร่อน 2021-06-28T12:43:15+07:00 สิริพงศ์ เกิดบุญมา siriphong10@gmail.com <p><strong>เส้นใยเหล็กได้ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแข็งแรง ทนทานให้แก่โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่อย่างไรก็ดีพฤติกรรมการรับแรงดัดของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผสมเส้นใยเหล็กภายใต้สภาวะการกัดกร่อนยังไม่มีการศึกษาวิจัยมากนัก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กผสมเส้นใยเหล็กภายใต้ภาวะการกัดกร่อน ด้วยการศึกษาอิทธิพลของปริมาณเส้นใยที่ใช้ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกัดกร่อน และอิทธิพลของปริมาณเส้นใยที่ใช้ต่อพฤติกรรมของคานที่สภาวะการกัดกร่อน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาคือ ระดับการกัดกร่อน (ร้อยละ 0, 2 และ 5) และปริมาณเส้นใยเหล็กที่ใช้ผสม (ร้อยละ 0, 0.5, 1.0 และ 1.5 โดยปริมาตรคอนกรีต) โดยศึกษาจากตัวอย่างคานทั้งหมด 12 ตัวอย่าง ผลการทดสอบพบว่า ปริมาณการใช้เส้นใยที่ในปริมาณที่เหมาะสมทำให้ความกว้างรอยแตกร้าวเนื่องจากการกัดกร่อนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งเส้นใยเหล็กยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายแรงไปยังเหล็กเสริมรับแรงดึงและช่วยให้พฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กไม่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้ภาวะการกัดกร่อน</strong></p> 2021-06-24T11:44:48+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1127 A NUMERICAL STUDY ON COMPARTMENTAL EQUIVALENCE OF FIRE RESISTANCE RATING BASED ON AREAS BENEATHS METHOD 2021-06-28T14:06:52+07:00 laxman khanal laksha4488@gmail.com <p>Structural steel is most widely adopted construction material due to its eco-friendly nature, stiffness and ductility when subjected to external imposed loading. Nowadays, fire resistance of structural steel has been a serious concern among designers since the steel have to fulfill the deflection criteria requirement of EN 1363-1. However, the code provision provides fire resistance rating for a standard curve which might be different for different compartment which we term as natural curve. So, this study is performed to propose the computation method for development of natural fire curve which is actual fire resistance rating of structural steel from standard fire furnace rating based on ISO 834 standard to compartmental fire resistance rating based on natural iBMB curve. The steel section adopted in the study is from the O-NES tower office compartment. Further, numerical simulation will be performed to validate the documental experimental result. The modelling parameters of calibrated numerical model will then be used to simulated steel section of O-NES tower office compartment to obtain fire resistant rating. Also, study will be performed to predict equivalence of fire severity based on areas beneath the standard and compartmental temperature-time curves for office (iBMB). From the study it was observed that the studied section can fulfill the rating requirement. However, office compartmental (iBMB) equivalence of fire resistance rating based on areas beneath for SB45 was more than 3 hours. Although the studied structural steel section satisfies the Ministrial Regulation criteria for compartmental fire but could not satisfy the requirement of standard fire furnace test criteria based on ISO 834.</p> 2021-06-24T11:45:22+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/832 ผลกระทบของปูนซีเมนต์และสารผสมเพิ่มโพลิเมอร์ต่อกำลังอัดของดินลูกรังที่ใช้เป็นวัสดุชั้นพื้นทาง 2021-06-28T14:08:16+07:00 ณัฐวุธ วิกสิตเจริญกุล wuttition@gmail.com วรัช ก้องกิจกุล warat.kon@kmutt.ac.th ฐิติกร โพธิ์ศรีบิ้ง thitikorn.po@gmail.com <p class="Text1"><span lang="TH">การศึกษาผลกระทบของการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยสารผสมเพิ่มโพลิเมอร์เข้ากับวัสดุดินลูกรังสำหรับใช้ในการทำชั้นพื้นทางของถนน ด้วยวิธีการทดสอบแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด โดยจะทำการทดสอบกับดินลูกรังผสมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิด 1 ร้อยละ 0 2 4 6 และ 8 โดยน้ำหนักของวัสดุดินลูกรัง ตามลำดับ เพื่อหาปริมาณปูนซีเมนต์ขั้นต่ำที่ผสมทำให้ดินลูกรังมีค่ากำลังอัดตามมาตรฐานกรมทางหลวง นอกจากนี้ยังได้ทำการเพิ่มสารผสมเพิ่มโพลิเมอร์ในตัวอย่างดินลูกรังผสมปูนซีเมนต์ด้วยปริมาณสารผสมเพิ่มโพลิเมอร์ที่ร้อยละ 2 4 6 และ 8 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ ตามลำดับ โดยสารผสมเพิ่มโพลิเมอร์นี้มีแนวโน้มส่งผลทำให้ค่ากำลังอัดสูงขึ้น รวมทั้งทำการเปรียบเทียบผลกระทบอื่น ๆ ระหว่างดินลูกรังที่ผสมปูนซีเมนต์และสารผสมเพิ่มโพลิเมอร์กับดินลูกรังที่ผสมปูนซีเมนต์อย่างเดียวที่ได้ค่ากำลังอัดเท่ากัน โดยมีแนวโน้มที่ราคาต้นทุนของดินลูกรังที่ผสมปูนซีเมนต์และสารผสมเพิ่มโพลิเมอร์มีแนวโน้มที่จะถูกกว่าต้นทุนของดินลูกรังผสมปูนซีเมนต์ที่ได้ค่ากำลังอัดเท่ากัน</span></p> 2021-06-24T10:47:15+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/935 การสำรวจด้วยสัญญาณคลื่นเรดาร์สำหรับตรวจจับสิ่งแปลกปลอมภายในโครงสร้างก่ออิฐ 2021-06-28T14:08:59+07:00 พนิดา อินทะเรืองศร panida.in@mail.kmutt.ac.th พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย peerasit.maha@mail.kmutt.ac.th ชัยณรงค์ อธิสกุล chainarong.ath@kmutt.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ sutat.lee@kmutt.ac.th รักติพงษ์ สหมิตรมงคล Raktipong.sah@kmutt.ac.th <p><strong>บทความนี้นำเสนอการจัดทำข้อมูลผลการประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยสัญญาณคลื่นเรดาร์กับโครงสร้างก่ออิฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายผลการตรวจจับสิ่งแปลกปลอมภายในโครงสร้างก่ออิฐ การเตรียมตัวอย่างการทดสอบจะใช้อิฐก่อเรียงให้มีขนาด 0.90x0.90x0.30 เมตร การศึกษานี้ทำการทดลองกับสิ่งแปลกปลอมเป็นวัสดุประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ลวดเหล็กตะแกรง ลวดตาข่ายกรงไก่ ท่อพีวีซี ท่อเหล็ก ท่อนไม้ และรวมถึงช่องว่างที่สร้างขึ้นและติดตั้งไว้ในตัวอย่างอิฐก่อทดสอบ การศึกษานี้จะนำเสนอการทดสอบทั้งในสภาพอิฐแห้ง และอิฐเปียก โดยการนำข้อมูลการสแกนจากการสำรวจด้วยสัญญาณคลื่นเรดาร์ไปประมวลผลอย่างละเอียดผ่านซอฟแวร์ที่มีค่าคงที่ไดอิเล็กทริกซึ่งเป็นสมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุ เพื่อบ่งบอกถึงสัญญาณคลื่นเรดาร์ของวัสดุจากการสแกนภาพ รวมถึงทำการตรวจสอบ และศึกษาผลกระทบของความชื้นจากการตรวจจับสัญญาณคลื่นเรดาร์ โดยทำการเปรียบเทียบสัญญาณคลื่นเรดาร์ของวัสดุที่เหมือนกันภายในอิฐก่อตัวอย่าง จากการทดสอบพบว่าค่าคงที่ไดอิเล็กทริกที่เหมาะสมสำหรับอิฐก่อในสภาวะแห้งจะมีค่าในช่วง 4.0 ส่วนค่าคงที่ไดอิเล็กทริกที่เหมาะสมสำหรับอิฐก่อในสภาวะเปียกจะมีค่าที่มากกว่า 12.0 ซึ่งผลของงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์โครงสร้างทางประวัติศาสตร์ของไทยโดยใช้เป็นแนวทางในการตรวจจับสิ่งแปลกปลอมในโครงสร้างอิฐโบราณ</strong></p> 2021-06-24T10:47:42+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/933 กำลังอัด และโมดูลัสยืดหยุ่นของอิฐก่อโบราณ และอิฐก่อทดแทนรูปแบบปริซึม 2021-06-28T14:14:16+07:00 สุรพัศ นิธิปฏิคม suraphat.sf2@mail.kmutt.ac.th สุนัย โตศิริมงคล sunai.max@mail.kmutt.ac.th ชัยณรงค์ อธิสกุล chainarong.ath@kmutt.ac.th วีรชาติ ตั้งจิรภัทร weerachart.tan@kmutt.ac.th สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ sutat.lee@kmutt.ac.th พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย peerasit.maha@mail.kmutt.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอวิธีการทดสอบอิฐก่อโบราณและอิฐก่อทดแทนรูปทรงปริซึมเพื่อหากำลังอัด และค่าโมดูลัสยืดหยุ่น ตัวอย่างทดสอบและวัสดุที่ใช้ในการศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร โดยตัวอย่างผลิตขึ้นตามแนวทางที่กรมศิลปากรแนะนำและข้อกำหนดที่ใช้<br>ในโครงการอนุรักษ์วัดกระจี ซึ่งอิฐก่อโบราณที่ใช้ในงานอนุรักษ์ได้จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2562 สำหรับอิฐก่อจากวัสดุทดแทนจัดทำขึ้นสำหรับการทดสอบ 2 รูปแบบ ได้แก่ อิฐก่อที่ไม่ใช้วัสดุประสาน และอิฐก่อที่ใช้วัสดุประสานเป็นปูนหมักตามแนวทางส่วนผสมของกรมศิลปากร <br>ซึ่งอิฐก่อนั้นก่อด้วยอิฐเต็มแผ่นตามแนวราบ ขนาด 15x30x5 ซม.&nbsp; จำนวน 6 แผ่น ในรูปแบบปริซึมสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทั้งนี้การศึกษานี้ได้พัฒนาเครื่องมือวัดระยะการยุบตัว เพื่อใช้สำหรับการทดสอบหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของอิฐก่อโดยเฉพาะ การศึกษานี้จะรายงานผลของค่ากำลังอัดและ<br>ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของอิฐก่อโบราณรวมถึงอิฐก่อทดแทนรูปทรงปริซึมที่อยู่ภายใต้สภาวะความชื้นต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป</p> 2021-06-24T10:48:22+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1033 การพัฒนาคอนกรีตบล็อกระบบเซลลูลาร์ด้วยส่วนผสมจากขุยมะพร้าว เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติฉนวนกันความร้อน 2021-06-28T14:15:03+07:00 ธรรมศร เชียงทองสุข 60010445@kmitl.ac.th อําพน จรัสจรุงเกียรติ amphon.ja@kmitl.ac.th <p>งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูลาร์มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีฉนวนกันความร้อน และเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ ในงานวิจัยนี้ได้นำคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูลาร์และขุยมะพร้าวมารวมกัน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ วัสดุทั้งสองชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี โดยเฉพาะขุยมะพร้าว ขุยมะพร้าวมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน = 0.023 (<strong>W/m-K) </strong>จึงเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี เมื่อใช้ขุยมะพร้าวจะสามารถลดปริมาณวัสดุในการผลิตคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูลาร์ เช่นปูนซีเมนต์และทราย และยังสามารถลดปริมาณความร้อนที่แพร่เข้าสู่อาคารได้มากกว่าวัสดุก่อสร้างทั่วไป การทดสอบใช้มาตรฐานมอก. 2601 - 2556 เพื่อควบคุมการผลิตคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูลาร์ และทดสอบการนำความร้อน (การนำความร้อน<strong>, K, ASTM C</strong>518) ผลที่ได้คือคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูลาร์เมื่อนำผสมกับขุยมะพร้าวทำให้มีประสิทธิภาพในการลดความร้อนได้ดีมากขึ้น</p> 2021-06-24T10:48:54+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1098 การศึกษาอิทธิพลของขนาดมวลรวมรีไซเคิลชั้นคุณภาพ M ต่อกำลังคอนกรีต 2021-06-28T14:15:54+07:00 พนารัตน์ แสงปัญญา k_panarat@yahoo.com <p><strong>การศึกษาเทคโนโลยีการเตรียมคอนกรีตรีไซเคิลภายใต้ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและทางเทคนิคได้รับความสนใจอย่างจริงจังมากขึ้นในแต่ละประเทศ เนื่องจากผลกระทบและการมีส่วนร่วมต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมมนุษย์ งานวิจัยนี้ทำการทดสอบโดยควบคุมตัวแปร ใช้มวลรวมหยาบ 3 กลุ่ม คือ มวลรวมหยาบธรรมชาติ (กลุ่ม N) มวลรวมหยาบจากการรีไซเคิลคอนกรีตผลิตในห้องปฏิบัติการ (กลุ่ม RL)&nbsp; และมวลรวมหยาบจากการรีไซเคิลคอนกรีตผลิตนำเข้าจากโรงงานในประเทศญี่ปุ่น (กลุ่ม RP)&nbsp;&nbsp; เพื่อประเมินอิทธิพลของขนาดมวลรวมหยาบรีไซเคิลชั้นคุณภาพ M ตามมาตรฐาน JIS ที่มีผลต่อคุณลักษณะที่เกี่ยวกับความแข็งแรงของคอนกรีต โดยกำหนดขนาด 4.75 – 13.2 มิลลิเมตร (กลุ่ม A), 13.2-19 มิลลิเมตร (กลุ่ม B), 19-31.5 มิลลิเมตร (กลุ่ม C) เตรียมตัวอย่างรูปทรงกระบอกตามมาตรฐาน ASTM C192 หลังจากบ่มเป็นเวลา 28 วัน ทำการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C39 ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกลของคอนกรีตจากมวลรวมรีไซเคิลและขนาดของมวลรวม และได้เสนอแบบจำลองการถดถอยของคอนกรีตรีไซเคิลเพื่อทำนายค่าโมดูลัสความยืดหยุ่น และเพื่อปรับการออกแบบสัดส่วนส่วนผสม การศึกษานี้ช่วยสนับสนุนข้อมูลในการปรับส่วนผสมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะด้านกำลังคอนกรีตสำหรับโรงงานคอนกรีตจากมวลรวมรีไซเคิล โดยพิจารณาจากขนาดมวลรวมรีไซเคิล.</strong></p> 2021-06-24T10:50:07+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1193 The influence of waste powder on compressive strength of high calcium fly ash geopolymer mortar after exposure to sodium sulfatesolution 2021-06-28T14:16:44+07:00 ธวัชชัย โทอินทร์ tawatchai.to@rmuti.ac.th Seangsuree Pangdang saengsuree@npu.ac.th Suban Phonkasi suban.ph@rmuti.ac.th Thoetkiat Wichaiyo thoetkiat.wi@rmuti.ac.th <p>This objective of this study is to utilize recycled waste powder as a partial replacement fly ash of the high calcium <br>geopolymer mortar to develop a sustainable geopolymer materials. The recycled waste powder is 1) milled container glass <br>(CP), 2) milled high calcium fly ash geopolymer concrete waste (GCP), and 3) milled conventional concrete waste (CCP). Two <br>recycled waste powder replacement ratio were selected for geopolymer mortar preparation (0%, 20%, and 40% by weight). <br>The effect of recycled waste powder on geopolymer mortar was studied by compressive strength and 10% sodium sulfate <br>solution at 7, 14, 28, 56, 90, and 120 days. Sodium hydroxide and sodium silicate were used as activated solutions. The <br>alkaline liquid to binder ratio was 0.75 and that of sodium silicate to sodium hydroxide was 1.0. All samples were cured at <br>60±2 °C for 48 h and held at 23±2 °C until testing. The results show that the compressive strength of controlled mortar <br>increases with increasing concentration of sodium hydroxide solution. The compressive strength increases for 56 days and <br>then decreases after exposure to 10%sodium sulfate solution. In addition, the results indicated that the high amount of <br>recycled concrete powder can affect the sulfate resistance, while container glass powder can promote the utilization of waste <br>powder on the sulfate attack of geopolymer mortar due to filler effect.</p> 2021-06-24T10:50:36+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/826 ผลของการใช้เถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาต่อสมบัติของซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าลอย 2021-06-28T14:30:22+07:00 ธีรภัทร์ จงวิจักษณ์ fluketeerapad@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลของเถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา (Selective Catalytic Reduction, SCR) จากโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 ต่อคุณสมบัติทางกลของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เมื่อถูกแทนที่ในปริมาณที่ต่างกัน โดยพิจารณาผลเปรียบเทียบกับเถ้าลอยแคลเซียมสูงที่มาจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าแบบเก่าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง ซึ่งในการผสมตัวอย่างใช้อัตราส่วนของน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.35 และผสมเถ้าลอยในอัตราส่วน 0% 20% 40% และ60% ตามลำดับ การทดสอบประกอบไปด้วย การทดสอบการไหลแผ่,ระยะเวลาก่อตัว,การหาปริมาณความเข้มข้นของแอมโมเนียมของตัวอย่างและการทดสอบกำลังรับแรงอัดและหน่วยน้ำหนักที่อายุ 3, 28 และ 90 วัน นอกจากนี้ยังได้ทำการหาองค์ประกอบทางเคมีและลักษณะของโครงสร้างทางจุลภาคของตัวอย่างประกอบด้วย จากการทดสอบพบว่า ซีเมนต์เพสต์ที่ผสมกับเถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา (SCR) มีหน่อยน้ำหนักที่เบากว่า เนื่องจาก อนุภาคของเถ้าลอยมีขนาดใหญ่กว่าและมีความหนาแน่นต่ำกว่า ในส่วนของการทดสอบกำลังอัด พบว่าตัวอย่างที่ผสมด้วยเถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา (SCR) มีค่าต่ำกว่าเถ้าลอยแคลเซียมสูงเล็กน้อย เนื่องจากผลของอนุภาคเถ้าลอยที่ใหญ่กว่า ทำให้ช่องว่างในตัวอย่างมากกว่า รวมถึงมีแนวโน้มความเป็นผลึกจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีขององค์ประกอบทางเคมีเช่น แคลเซียมซิลิเกต-ไฮเดรตต่ำกว่า ทำให้ได้กำลังที่น้อยกว่า โดยซีเมนต์เพสต์ที่ผสมเถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา SCR ที่อัตราการแทนที่ 20 % ที่อายุ 28 วัน มีค่ากำลังอัดสูงสุดเมื่อเทียบกับ 40% และ 60%</p> 2021-06-24T10:51:01+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1196 การนำผลงานวิจัยทางด้านผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างมาใช้ประโยชน์ทางวิศวกรรมโยธา กรณีศึกษา การก่อสร้างอาคารพอเพียงอเนกประสงค์ 2021-06-28T14:31:35+07:00 ศิรายุ บัวงง possirayu1@gmail.com <p>ในโครงงานนี้ได้นำผลงานวิจัยทางด้านผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างมาใช้ประโยชน์ทางด้านวิศวกรรมโยธา โดยได้ดำเนินการ ก่อสร้างอาคารพอเพียงอเนกประสงค์ ขนาด 4.00 x 6.00 เมตร ที่ใช้ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างหลัก จากผลการศึกษาวิจัยของนักศึกษาที่ผ่านมา จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ มอร์ตาร์ที่ผสมจากฝุ่นหินแกรนิต อิฐมอญดินเหนียวผสมเส้นใยผักตบชวาแห้งบดละเอียด บล็อกประสานจากฝุ่นหินแกรนิต กระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นพิมพ์ลายจากฝุ่นหินแกรนิตเหลือทิ้ง และแผ่นใยไม้อัดซีเมนต์จากเส้นใยทะลายปาล์มเปล่า โดยพิจารณาเลือกใช้อัตราส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน 7 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจพื้นที่สำหรับการก่อสร้าง การออกแบบอาคารพอเพียงอเนกประสงค์ การเขียนแบบด้วยโปรแกรม AutoCAD 2020 และSketchUp 2020 การประมาณราคาก่อสร้าง การผลิตผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างชนิดต่างๆ สำหรับนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารพอเพียงอเนกประสงค์ โดยผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่ผลิตขึ้น ผ่านการทดสอบคุณภาพตามมาตรฐานของแต่ละผลิตภัณฑ์ สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างในโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ได้เป็นอย่างดี การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของอาคารพอเพียงอเนกประสงค์ ที่ได้ก่อสร้างขึ้น โดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างรวมทั้งหมด 14 วัน มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดเพียง 41,557 บาท เนื่องจากผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างหลัก ที่ใช้ในการก่อสร้าง สามารถผลิตขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยวัสดุที่ใช้สำหรับผลิตผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างแต่ละชนิด นั้นเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายโดยทั่วไปและที่เป็นวัสดุเหลือทิ้ง มีขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ช่วยให้ประหยัด และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี</p> 2021-06-24T10:51:30+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/898 ผลกระทบของสารลดน้ำอย่างมากที่มีผลต่อการไหลแผ่ กำลังอัด และกำลังดึงของมอร์ต้าร์ 2021-06-28T14:32:18+07:00 ณัฐวัตร ตันติกุลวิจิตร ntw.gun@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสารลดน้ำอย่างมาก ที่มีผลต่อการไหลแผ่ กำลังอัด และกำลังดึงของมอร์ต้าร์ โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 3 จำนวน 2 ตรา และสารลดน้ำอย่างมาก ประเภทแนฟทาลีน โดยกำหนดปริมาณการใช้สารลดน้ำอย่างมากในช่วง 0 – 2.1 % ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ มอร์ต้าร์หล่อตามมาตรฐาน ASTM C109 โดยมีอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.485 และอัตราส่วนซีเมนต์ต่อทรายเท่ากับ 1 ต่อ 2.75 โมดูลัสความละเอียดของทราย คือ 2.55 ตัวอย่างมอร์ต้าร์สำหรับการทดสอบกำลังอัดเป็นรูปลูกบาศก์ ขนาด 5x´5´x5 ซม. และตัวอย่างมอร์ต้าร์สำหรับการทดสอบกำลังดึง มีขนาด 7.5´x4.5x2.5 ซม. โดยทดสอบที่อายุ 1, 3 และ 7 วัน จากผลการศึกษาสำหรับมอร์ต้าร์ที่ใช้ปูนซีเมนต์ทั้ง 2 ตรา พบว่าเมื่อใส่สารลดน้ำอย่างมาก เพิ่มขึ้นจาก 0 - 1.9 % จะทำให้การไหลแผ่ กำลังอัด และกำลังดึงมีค่าเพิ่มขึ้น การแยกตัวจะเกิดขึ้นเมื่อสารลดน้ำอย่างมากมีปริมาณตั้งแต่ 1.9 % เป็นต้นไป การไหลแผ่ยังคงเพิ่มขึ้น ในขณะที่กำลังอัดและกำลังดึงมีค่าน้อยลง</p> 2021-06-24T10:52:22+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1254 การใช้เศษแกรนิตในคอนกรีตกำลังสูงที่ผสมซิลิกาฟูม 2021-06-28T14:33:07+07:00 ศุภากร อังกินันท์ knot.ku.73@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลกระทบของการใช้เศษหินแกรนิตต่อสมบัติของคอนกรีตกำลังสูงที่มีสวนผสมของซิลิกาฟูม เศษหินแกรนิตถูกใช้แทนที่ทรายธรรมชาติ โดยใช้เศษหินแกรนิตแทนทรายที่ร้อยละ 0, 50 และ 100 โดยน้ำหนักและใช้ซิลิกาฟูมในการผลิตคอนกรีตกำลังสูงโดยใช้ซลิกาฟูมร้อยละ 0, 3, 6 และ 9 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ การทดสอบคุณสมบัติของคอนกรีตประกอบไปด้วย ความสามารถในการทำงานได้ หน่วยน้ำหนัก และกำลังอัด จากผลการศึกษาพบว่าทรายจากเศษหินแกรนิตสามารถผลิตคอนกรีตกำลังสูงได้</p> <p><strong>กำลังอัดที่คอนกรีตที่ใช้ทรายจากเศษหินแกรนิตรับได้อยู่ในช่วง 48.4 ถึง 61.2 MPa และสามารถสรุปได้ว่าปริมาณที่เหมาะสมในการใช้ซิลิกาฟูมเพื่อการผสมคอนกรีตกำลังสูงอยู่ที่ร้อยละ 6 ของมวลรวม</strong></p> 2021-06-24T10:52:54+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/782 การศึกษาพฤษติกรรมทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์ซีเมนต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยเกล็ดยางพาราธรรมชาติและน้ำยางพาราธรรมชาติ 2021-06-28T14:34:31+07:00 พีระภัทร สุเมผา peerapat.su@rmuti.ac.th เจริญชัย ฤทธิรุทธ์ Ridtirud@gmail.com <p>ระบบการขนส่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างความเจริญเติบโตของประเทศ ซึ่งระบบขนส่งที่เข้าถึงได้ง่ายและใช้งานกันอย่างแพร่หลายก็คือระบบการขนส่งทางบก โดยการใช้รถใช้ถนนในการขนส่ง เมื่อการขนส่งเพิ่มขึ้นทำให้มีความต้องการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น มีปริมาณการจราจรสูงขึ้น ทำให้ถนนเกิดการชำรุดตามสภาพการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันถนนแอสฟัลต์คอนกรีตในประเทศไทยมีมากว่าถนนคอนกรีตเพราะมีการยืดหยุ่นที่ดีและมีราคาที่ถูกกว่าถนนคอนกรีตแต่จะมีข้อเสียเรื่องการอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคือจะอ่อนตัวเมื่ออุณหภูมิสูงและจะแตกเมื่ออุณหภูมิต่ำ นอกจากนี้ยังมีปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นและน้ำหนักบรรทุกที่มากกว่าปกติทำให้ผิวถนนแอสฟัลต์ได้รับความเสียหายเร็วกว่าปกติ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาสูงขึ้น ซึ่งการใช้ยางพาราธรรมชาติที่เป็นทรัพยากรภายในประเทศมาเป็นสารผสมเพิ่ม เพื่อใช้ในงานทางก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะพัฒนาผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต และช่วยส่งเสริมการใช้ยางพาราธรรมชาติภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบยางพาราธรรมชาติภายในประเทศ เนื่องจากยางพาราธรรมชาติสามารถช่วยปรับปรุงให้ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตมีความยืดหยุ่นและมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น อีกทั้งยังใช้ปริมาณแอสฟัลต์ซีเมนต์น้อยลง ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้างและการบำรุงรักษาในระยะยาวให้กับประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเกี่ยวกับพฤษติกรรมทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์ซีเมนต์ซึ่งเป็นวัสดุเชื่อมประสานที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยเกล็ดยางพาราธรรมชาติและน้ำยางพาราธรรมชาติ โดยกำหนดอัตราส่วน 100:0, 97:3, 95:5 และ 93:7 ซึ่งจะทำการทดสอบ 1) การทดสอบหาค่าเพนิเทรชันตามมาตรฐาน ASTM D5 2) การทดสอบหาจุดอ่อนตัวตามมาตรฐาน ASTM D36 3) การทดสอบหาจุดวาบไฟตามมาตรฐาน ASTM D92 และ 4) การทดสอบความยืดหยุ่นกลับตามมาตรฐาน ASTM D113</p> 2021-06-24T10:53:20+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/824 การประเมินคุณสมบัติและโครงสร้างจุลภาคของจีโอโพลิเมอร์เถ้าลอยที่ใช้สารกระตุ้นด่างเกรดห้องปฏิบัติการและเกรดอุตสาหกรรม 2021-06-28T14:35:19+07:00 วิทวัส มูลณี witthawat.moonnee@gmail.com ธีวรา สุวรรณ teewara.s@cmu.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">การใช้จีโอโพลิเมอร์จากเถ้าลอยทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีส่วนช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดังกล่าว โดยจีโอโพลิเมอร์สามารถสังเคราะห์ได้จากการผสมสารละลายด่าง กับวัสดุตั้งต้นประเภทปอซโซลานที่มีองค์ประกอบของซิลิกา และอะลูมินาเป็นหลัก ในปัจจุบันมีการศึกษาและพัฒนาวัสดุประเภทจีโอโพลิเมอร์อย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้<a name="_Hlk59964842"></a>สารละลายด่างชนิดห้องปฏิบัติการ เพื่อความถูกต้องแม่นยำในการวิเคราะห์ปฏิกิริยาต่างๆที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดีสารละลายด่างชนิดห้องปฏิบัติการนั้นมีราคาสูง ไม่เหมาะกับการสังเคราะห์วัสดุจีโอโพลิเมอร์ในการใช้งานในทางปฏิบัติ ในงานวิจัยนี้จึงได้เลือกศึกษาปัจจัยของชนิด(หรือเกรด)ของสารละลายด่างชนิดอุตสาหกรรม โดยนำมาเปรียบเทียบกับสารละลายด่างชนิดใช้ในห้องปฏิบัติการในการผลิตจีโอโพลิเมอร์ จากการทดสอบกำลังรับแรงอัด และกำลังรับแรงดัดเป็นหลัก พบว่าจีโอโพลิเมอร์จากสารละลายด่างชนิดอุตสาหกรรมมีกำลังรับแรงอัดและแรงดัดที่มากกว่าจีโอโพลิเมอร์จากสารละลายด่างชนิดห้องปฏิบัติการ โดยกำลังรับแรงอัดสูงสุดของจีโอโพลิเมอร์จากสารละลายชนิดอุตสาหกรรมและสารละลายด่างชนิดห้องปฏิบัติการเท่ากับ 373.1 </span>ksc <span lang="TH">และ 343.1 </span>ksc <span lang="TH">ตามลำดับ กำลังรับแรงดัดสูงสุดเท่ากับ 195.0 </span>ksc <span lang="TH">และ 149.1 </span>ksc <span lang="TH">ตามลำดับ จากผลการทดสอบจะเห็นได้ว่าจีโอโพลิเมอร์จากสารละลายชนิดอุตสาหกรรมสามารถนำมาใช้ทดแทนจีโอโพลิเมอร์จากสารละลายชนิดห้องปฏิบัติการเพื่อลดต้นทุนในการผลิตจีโอโพลิเมอร์ได้</span></p> 2021-06-24T10:53:49+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1130 EFFECT OF GRAPHENE NANOPLATELETS ON MECHANICAL PROPERTIES OF HIGH-VOLUME FLY ASH CONCRETE CONTAINING PLASTIC WASTE 2021-06-28T14:35:56+07:00 พัฒนวิทย์ ตระบันพฤกษ์ pattanawit40@gmail.com Musa Adamu 6272110621@student.chula.ac.th Picha Jongvivastsakul 6272110621@student.chula.ac.th Pornpen Limpaninlachat 6272110621@student.chula.ac.th Tosporn Prasertsri 6272110621@student.chula.ac.th Suched Likitlersuang 6272110621@student.chula.ac.th <p>Plastic waste generation keeps increasing day in day out yearly due to increased population and demand of its use. This gives many countries including the developed once the challenge on how to dispose it efficiently. Attempts have been made to utilize plastic waste in concrete as partial replacement to fine or coarse aggregate. However, the major setback on using plastic waste in concrete is its negative effect on the mechanical and durability performance in concrete. Therefore, in this study Graphene Nanoplatelets (GNP) were used as an additive to cementitious materials to mitigate the negative effect of plastic waste in concrete. Plastic waste was used to partially replaced coarse aggregate in concrete at 0%, 15%, 30%, 45% and 60% by volume, and GNP was added at 0%, 0.075%, 0.15%, 0.225% and 0.3% by weight of cementitious materials. Thirteen mixes were developed and tested for compressive strength and splitting tensile strength at 3, 7, and 28 days after curing. The results of the findings showed that GNP was effective in partially mitigating the loss in strengths in concrete due to negative effect of plastic waste, as mixes with GNP showed higher strengths compared to those without GNP. Therefore, GNP can be effectively used to produce concrete containing plastic waste for structural applications.</p> 2021-06-24T10:54:15+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1239 การศึกษากำลังอัดและการซึมผ่านของคลอไรด์ในคอนกรีตกำลังสูงที่ใช้เถ้าก้นเตาที่ปรับปรุงคุณภาพแล้วแทนที่ปูนซีเมนต์และมวลรวมละเอียดบางส่วน 2021-06-28T14:36:37+07:00 ชัชฤทธิ์ คำพา chatcharitz@gmail.com เพ็ญพิชชา คงเพิ่มโกศล penpichcha.kh@gmail.com วีรชาติ ตั้งจิรภัทร weerachart.tan@kmutt.ac.th ชัย จาตุรพิทักษ์กุล chai.jat@kmutt.ac.th <p>เถ้าก้นเตาเป็นวัสดุเหลือทิ้งเป็นผลพลอยได้จากโรงไฟฟ้าถ่านหินเช่นเดียวกับเถ้าถ่านหิน แต่อย่างไรก็ตามเถ้าก้นเตายังไม่เป็นที่นิยมในการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมคอนกรีตมากนัก โดยเฉพาะในงานคอนกรีตกำลังสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาเถ้าก้นเตาที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้แทนที่ปูนซีเมนต์และมวลรวมละเอียดในงานคอนกรีตกำลังสูงด้วยการร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 50 ค้างถาด (PAN) และนำมาบดละเอียดให้มีขนาดเล็กโดยมีอนุภาคค้างตะแกรงเบอร์ 325 ตํ่ากว่าร้อยละ 1.0 โดยนํ้าหนัก ใช้เถ้าก้นเตาที่ปรับปรุงคุณภาพทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในอัตราส่วนร้อยละ 35, 50 และ 65 โดยนํ้าหนักของวัสดุประสาน อัตราส่วนนํ้าต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.25 และใช้สารลดนํ้าพิเศษเพื่อควบคุมการยุบตัวของคอนกรีตให้มีค่าเท่ากับ 17.5±2.5 เซนติเมตร ทดสอบกำลังอัด ความต้านทานการแทรกซึมของคลอไรด์ของคอนกรีต และการต้านทานการเกิดสนิมของเหล็กเสริมที่ฝังในคอนกรีตด้วยวิธีการเร่งด้วยไฟฟ้า จากการทดสอบพบว่า เถ้าก้นเตาที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยการร่อนผ่านตะแกรง เบอร์ 50 ค้างถาด (PAN) และนำไปบดละเอียด สามารถใช้แทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนเพื่อใช้ผลิตคอนกรีตกำลังสูงได้ และคอนกรีตที่ใช้เถ้าก้นเตาที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้วเพื่อทดแทนปูนซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 50 โดยนํ้าหนักของวัสดุประสาน (GBA50) มีค่ากำลังอัดสูงที่สุด คือมีค่าเท่ากับ 84.5 เมกะปาสคาล ที่อายุ 90 วัน มีการซึมผ่านของคลอไรด์น้อยที่สุด และมีค่านํ้าหนักที่สูญเสียของเหล็กเสริมจากการเกิดสนิมตํ่าที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนผสมอื่นที่อายุเดียวกัน นอกจากนี้การใช้เถ้าก้นเตาที่ค้างตะแกรงเบอร์ 50 แทนที่มวลรวมละเอียดร้อยละ 60 โดยปริมาตร (GBA50-SBA60) ส่งผลด้านลบต่อคุณสมบัติของคอนกรีตไม่มากนัก</p> 2021-06-24T10:54:46+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/845 คุณสมบัติด้านกำลังและความคงทนของวัสดุควบคุมกำลังต่ำจากการกระตุ้นเถ้าลอยแคลเซียมสูงและตะกรันเหล็กด้วยอัลคาไลน์ 2022-06-22T09:21:27+07:00 นางสาวชุติปภา ดีตอ่ำ nookchuti.28@gmail.com <p>บทคัดย่อ</p> <p>ปัจจุบันวัสดุก่อสร้างได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตอบสนองต่อผู้ใช้งานด้วยการลดปัญหาหรือสร้างข้อได้เปรียบของวัสดุ ยกตัวอย่างเช่นการนำของเหลือใช้จากกระบวนการทางอุตสาหกรรมมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือพัฒนาวัสดุทางเลือกโดยไม่ใช้ปูนซีเมนต์เพื่อช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำที่ใช้เถ้าลอยแคลเซียมสูงและตะกรันเหล็กกระตุ้นด้วยอัลคาไลน์ วัสดุที่ใช้ประกอบไปด้วย เถ้าลอยและเถ้าหนักจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ตะกรันเหล็กจากอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์เป็นตัวชะละลาย โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่มีความเข้มข้น 6 และ 10 โมลาร์ อัตราส่วนเถ้าหนักต่อวัสดุประสาน 1.5 อัตราส่วนตะกรันเหล็กต่อวัสดุประสาน 0 10 20 และ 30 และอัตราส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ต่อวัสดุประสาน 0.015 ในการพิจารณาคุณสมบัติของวัสดุควบคุมกำลังต่ำอ้างอิงแนวทางตามเอกสาร ACI229R-99 และเกณฑ์มาตรฐานงานก่อสร้างชั้นพื้นทางของกรมทางหลวงประเทศไทย โดยการทดสอบประกอบไปด้วย การทดสอบการไหล กำลังรับแรงอัดแกนเดี่ยว และการทดสอบความคงทนในสภาวะเปียกสลับแห้ง สุดท้ายในวิจัยนี้จะนำเสนอค่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของวัสดุควบคุมกำลังต่ำสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุผิวทางต่อไป</p> 2021-06-24T10:55:13+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/976 สมบัติของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์และจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากขยะพลาสติกชนิดโพลีโพรไพลีน 2021-06-28T14:38:00+07:00 ธิติ กางโหลน thiti.k15n@gmail.com ภีม เหนือคลอง Peenua@gmail.com พิชชา จองวิวัฒสกุล pitcha.j@chula.ac.th สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง fceslk@eng.chula.ac.th พรเพ็ญ ลิมปนิลชาติ 6270122821@student.chula.ac.th ทศพร ประเสริฐศรี 6270122821@student.chula.ac.th <p>ในปัจจุบันนี้ปัญหาจากปริมาณของขยะพลาสติกนั้นมีเพิ่มมากขึ้น สาเหตุหนึ่งอันเนื่องมากจากคนมีความนิยมที่จะสั่งอาหารมารับประทานที่พักอาศัยมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคโควิด-19 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลแล้วนำไปแทนที่ในมวลรวมหยาบของคอนกรีตและจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต โดยแทนที่ในปริมาณร้อยละ 0, 10, 30 และ 50 โดยปริมาตรของมวลรวมหยาบ การทดสอบประกอบด้วย การทดสอบค่าการไหลแผ่ เวลาการก่อตัว กำลังอัด กำลังดัด และกำลังรับแรงดึงของคอนกรีตและจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต ผลการทดสอบถูกนำมาเปรียบเทียบกับคอนกรีตควบคุมที่ไม่มีการแทนที่ด้วยขยะพลาสติก ผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการนำเสนอทางเลือกใหม่สำหรับการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ในวัสดุก่อสร้าง และเป็นการช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องถูกกำจัดอีกด้วย</p> 2021-06-24T10:55:38+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/844 สัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมาและนิวตรอนของคอนกรีตมวลหนักที่ใช้มวลรวมภายในประเทศ 2021-06-28T14:38:38+07:00 Wisarute Rungjaroenkiti pipejint@hotmail.com วิทิต ปานสุข withit.p@chula.ac.th <p>ในปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์ได้ถูกนำมาใช้ในด้านการผลิตพลังงานหรือในกระบวนการทางอุตสาหกรรมหรือนำมาใช้รักษาในทางการแพทย์และอนามัย แต่ทว่าในการจะได้มาซึ่งพลังงานนิวเคลียร์นั้นจะต้องมีการใช้สารกัมมันตภาพรังสีและมีปลดปล่อยพลังงานและอนุภาคต่างๆออกมา ซึ่งสิ่งที่ถูกปล่อยออกมานั้นส่งผลเสียกับสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมอีกทั้งยังใช้เวลานานกว่าจะสลายไปเอง ดังนั้นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นที่ดีที่สุดคือการป้องกันการรั่วไหลของรังสีที่จะเกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่าคอนกรีตที่ใช้กำบังรังสีที่ดีมีคุณสมบัติคือมีความหนาแน่นสูงหรือที่เรียกว่าคอนกรีตมวลหนัก งานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันรังสีแกมม่าและนิวตรอน ซึ่งเมื่อได้พิจารณาจากแหล่งวัสดุภายในประเทศเพื่อหาแร่ที่เหมาะสมกับการนำมาใช้แทนหินในการทำคอนกรีตมวลหนักพบว่า แร่แบไรต์ เป็นแร่ที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านการจัดหาและคุณสมบัติในการนำมาใช้ทำคอนกรีตมวลหนัก จากนั้นจึงได้ทำการทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 25 สัดส่วนผสมเพื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของคอนกรีตมวลหนักกับค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมา จากการทดลองพบว่าความหนาแน่นของคอนกรีตมีความสัมพันธ์กับค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนของรังสีแกมมา โดยเมื่อความหนาแน่นของคอนกรีตมากขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมาจะเพิ่มขึ้น</p> 2021-06-24T10:56:10+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/978 การศึกษาสมบัติของมอร์ต้าร์ที่ผสมด้วยขยะหลอดพลาสติก 2021-06-28T14:39:22+07:00 สรวิศ เอี่ยมอิ่มภัค sorawit.aie@gmail.com ภีม เหนือคลอง peenua@gmail.com พิชชา จองวิวัฒสกุล PITCHA.J@CHULA.AC.TH สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง fceslk@eng.chula.ac.th พรเพ็ญ ลิมปนิลชาติ 6170490021@student.chula.ac.th ทศพร ประเสริฐศรี 6170490021@student.chula.ac.th <p>ในปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกที่มีมากขึ้น เนื่องจากความนิยมในการบริโภคมีมากขึ้นโดยเฉพาะขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำขยะจากหลอดพลาสติกมาใช้ทดแทนมวลรวมละเอียดและเส้นใยในมอร์ต้าร์ โดยจะแทนที่ทรายธรรมชาติในปริมาณร้อยละ 0, 5, 10 และ 15 โดยปริมาตรของมวลรวมละเอียด และจะแบ่งการทดสอบเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การทดสอบแบบมอร์ต้าร์ทั่วไป และการทดสอบแผ่นซีเมนต์เส้นใย &nbsp;สำหรับการทดสอบในส่วนแรกประกอบด้วย กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดัด การดูดซึมน้ำและความสามารถในการไหลแผ่ของมอร์ต้าร์ และการทดสอบในส่วนที่สอง ได้แก่ กำลังรับแรงดัดของแผ่นซีเมนต์เส้นใย ความต้านทานการรั่วซึม และความหนาแน่นปรากฏ ผลการทดสอบจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุมที่ไม่มีขยะพลาสติก ซึ่งผลจากการศึกษานี้เป็นการนำเสนอทางเลือกในการจัดการปัญหาขยะพลาสติก และนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ในวัสดุก่อสร้าง</p> 2021-06-24T10:56:38+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/752 The Obstacles of the Design of Small-sized Common Housing Buildings in Bangkok. 2021-06-28T14:40:21+07:00 ทองพูล ทาสีเพชร deanthongpoon@yahoo.com <p>บทคัดย่อ</p> <p>การออกแบบและเขียนแบบอาคารอยู่อาศัยรวมเพื่อยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคารนั้น ผู้ออกแบบอาคารมักประสบปัญหาด้านข้อกฎหมายอาคารที่เกี่ยวข้องซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ จึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ออกแบบออกแบบอาคารไม่ถูกต้องและต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ทำให้งานล่าช้าเสียเวลาและเสียโอกาสในการลงทุน อย่างไรก็ตามก็มีนักวิจัยและผู้ออกแบบหลายคนพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อกฎหมายและได้จัดเรียงอย่างเป็นระบบเพื่อตรวจสอบอุปสรรคของการออกแบบอาคารพักอาศัยรวมขนาดเล็กและเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ออกแบบออกแบบอาคารได้อย่างรวดเร็วและได้ขนาดอาคารที่ถูกต้อง&nbsp; โดยการใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 เป็นหลักสำหรับการออกแบบ การศึกษาพบว่า การรวบรวมและการจัดเรียงข้อกฎหมายเฉพาะอาคารอย่างเป็นระบบและตรวจสอบอุปสรรคของการออกแบบอาคารพักอาศัยรวมขนาดเล็กนั้น ด้วยการใช้ค่าอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) และใช้อัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (OSR) และใช้หลักการการใช้พื้นที่ใช้สอยสูงสุดเพื่อหาขนาดอาคาร วิธีการนี้ทำให้ผู้ออกแบบอาคารเข้าใจง่ายและสามารถออกแบบได้อย่างรวดเร็วและได้ขนาดอาคารที่ถูกต้อง ดังนั้นระบบนี้จึงสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการหาพื้นที่อาคารในแต่ละประเภทได้ต่อไป</p> <p><em>คำสำคัญ</em><em>:</em> <em>อุปสรรคของการออกแบบ</em><em>, อาคารอยู่อาศัยรวมขนาดเล็ก, อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน, อัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม</em></p> 2021-06-23T22:44:12+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/765 การปรับปรุงการออกแบบระบบประกอบอาคารบนพื้นฐานแบบจำลองสารสนเทศอาคารโดย การประยุกต์ใช้การออกแบบเชิงพารามิเตอร์ 2021-06-28T14:41:00+07:00 สุธิดา เทศสมบูรณ์ suthida.thess@gmail.com <p>ปัจจุปันการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ในการออกแบบงานระบบท่อ (MEP) ซึ่งกำลังขยายตัวและเติบโตเป็นอย่างมากในวงการการออกแบบและก่อสร้าง โดยปัญหาหลักที่มักพบคือ การออกแบบที่ซับซ้อนและมีความยุ่งยาก อาทิเช่น การระบุตำแหน่งการวางแนวท่อตามระดับความชัน ในปัจจุบันพบว่าการออกแบบเชิงพารามิเตอร์ เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยทำแบบจำลองในส่วนนี้ และยังสามารถใช้ในการแก้ปัญหาการทำงานแบบทำซ้ำ ให้มีความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และประหยัดเวลาได้อย่างมาก ปัญหาและอุปสรรคได้ถูกรวบรวมจากการสัมภาษณ์วิศวกรงานระบบ นักออกแบบ และผู้ใช้โปรแกรมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ซึ่งปัญหาก็ถูกคัดกรองออกมาเป็นส่วนหนึ่ง ปัญหาเหล่านั้นก็ถูกนำมาวิเคราะห์ออกแบบ เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการทำการออกแบบเชิงพารามิเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้รับจะนำไปทวนสอบกับวิศวกรงานระบบหรือผู้ที่ใช้โปรแกรมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบว่าการออกแบบเชิงพารามิเตอร์ มีคุณสมบัติตามที่คาดหวังไว้</p> <p><strong><em>คำสำคัญ</em></strong><strong><em>:</em></strong> <em>แบบจำลองสารสนเทศอาคาร</em><em>, </em><em>การออกแบบเชิงพารามิเตอร์</em><em>, </em><em>งานระบบท่อ.</em></p> 2021-06-23T22:44:37+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/755 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศและความจริงเสริม ในการตรวจสอบงานโครงสร้างหลังคา 2021-06-28T14:45:21+07:00 เจตนิพัทธ์ ตะปานนท์ jednipat8@hotmail.com <p>เนื่องด้วยงานก่อสร้างของงานในส่วนของโครงหลังคาในรูปแบบเดิมนั้นได้รับมาในรูปแบบ AutoCAD ซึ่งพบว่ามีอุปสรรคในการ ควบคุมงานก่อสร้าง การสื่อสาร การสั่งงาน การควบคุมงานและการตรวจงาน อันเกิดมาจากการมองรูปแบบการติดตั้งแบบ 2 มิติ ซึ่งก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการทำงาน เช่น ตำแหน่งของการเชื่อมโครงหลังคาที่เชื่อมต่อกันในจุดที่ซับซ้อน ระยะหรือตำแหน่งต่างๆ ในการติดตั้งโครงหลังคา จึงมีโอกาสสูงที่เมื่อดำเนินการติดตั้งแล้วตำแหน่งไม่ถูกต้อง และมีโอกาสขัดแย้งในงานส่วนอื่น ซึ่งเมื่อมีการปรับแก้ในภายหลัง จะก่อให้เกิดส่งผลเสียต่องานก่อสร้าง ทั้งด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้นและเวลาที่สูญเสียไป การศึกษานี้จึงได้นำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ในการทำแบบจำลองสามมิติมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีความจริงเสมือน ในการถ่ายทอดให้เห็นแบบติดตั้งให้เหมือนของจริงและตำแหน่งจริงของพื้นที่งานก่อสร้างจริง แล้วให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำแบบทดสอบประเมินความพึงพอใจก่อนและหลังจำนวน 40 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ประเมินความถูกต้องของแบบติดตั้ง ความยุ่งยากในการใช้งาน แนวโน้มการไปใช้ในอนาคต โดยได้รับผลตอบรับที่ดี โดยประโยชน์ที่เห็นได้ชัด 3 ลำดับแรก คือ ช่วยสร้างความเข้าใจในแบบจำลองสามมิติทางโครงสร้าง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และช่วยในการวางแผนงานก่อสร้างโครงหลังคาทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ตามลำดับคำสำคัญ: แบบจำลองสารสนเทศอาคาร,ความเป็นจริงเสริม,โครงหลังคากับงานติดตั้งโครงหลังคา</p> 2021-06-23T22:44:54+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/865 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของคนเจนเนอเรชั่นวาย 2021-06-28T14:46:00+07:00 พลช เพชรปานวงศ์ sia_stormy@hotmail.com <p>บทคัดย่อ</p> <p>การเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศไทยทำให้ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นไปด้วย และแนวโน้มธุรกิจบ้านจัดสรรในปัจจุบันมีการชะลอทำให้ต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นเพราะบ้านเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานของชีวิตคน งานวิจัยนี้มุ่งเน้นคนยุคเจนเนอเรชั่นวายเพราะเป็นกลุ่มคนยุคใหม่ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างมากเช่น ด้านแนวคิด ค่านิยม และเทคโนโลยี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรเพื่อให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจพฤติกรรรมและความต้องการของผู้บริโภคของคนเจนเนอร์เรชั่นวายในการเลือกซื้อบ้านจัดสรร โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในเขตพื้นที่ลาดกระบัง กรุงทพฯจำนวน 400 คน ซึ่งกำหนดระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมSPSS หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยทดสอบสมมุติฐานความแปรปรวนทางเดียว(One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน(Confirmatory Factor Analysis : CFA) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรโดยกำหนดจากปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยด้านอื่นๆ สามารถจัดกลุ่มโดยเรียงตามความมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจได้ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย บุคคล ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการ ทำเลที่ตั้ง สาธารณูปโภค และด้านมุมองคนของคนเจนเนอร์เรชั่นวาย ซึ่งเรียงตามน้ำหนักความสำคัญที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากไปหาน้อย โดยปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคในภายภาคหน้า</p> 2021-06-23T22:45:29+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/921 ปัจจัยที่บ่งชี้ความพึงพอใจด้านสังคมอย่างยั่งยืนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการรถไฟฟ้า 2021-06-28T14:46:39+07:00 นัฐพล เนตรน้อย summer06544@gmail.com กรธวัช สุขโข summer06544@gmail.com เจษฎา วัฒนพรไพโรจน์ summer06544@gmail.com กิตติพศ กวีสิทธิสารคุณ summer06544@gmail.com จักรพงษ์ พงษ์เพ็ง summer06544@gmail.com <p>โครงการรถไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่ช่วยพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย แต่ทั้งในขั้นตอนก่อน ระหว่าง และหลังการก่อสร้างโครงการอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมและชุมชนบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง เช่น ปัญหาการเวนคืนที่ดินอย่างไม่เป็นธรรม ปัญหาการจราจร ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม และปัญหาเกี่ยวกับทัศนียภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้นำไปสู่ความไม่พึงพอใจหรือความไม่ยั่งยืนของสังคม จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความยั่งยืนของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยพบว่า ยังขาดการแนะนำปัจจัยที่บ่งชี้ความพึงพอใจด้านสังคมอย่างยั่งยืนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการรถไฟฟ้า ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยดังกล่าว โดยออกแบบแบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลจากเจ้าของโครงการรถไฟฟ้า ผู้รับเหมาก่อสร้าง และชุมชนใกล้เคียงกับโครงการรถไฟฟ้าเกี่ยวกับระดับความสำคัญของปัจจัยที่บ่งชี้ถึงความพึงพอใจด้านสังคมอย่างยั่งยืน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดย (1) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัย และ (2) เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของปัจจัยระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผลการวิเคราะห์สามารถแบ่งกลุ่มปัจจัยได้ดังนี้ “ความเท่าเทียมกันในสังคม” “การคำนึงถึงสภาพแวดล้อม” “การควบคุมมาตรฐาน” “สุขภาพ ความปลอดภัยและความเสี่ยง” “เศรษฐกิจและสังคม” และ “การเข้าถึงและความพึงพอใจ”&nbsp; ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้จะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพัฒนาแนวทางร่วมกันในการสร้างความพึงพอใจด้านสังคมอย่างยั่งยืนให้กับโครงการรถไฟฟ้าในอนาคตต่อไป</p> 2021-06-23T22:48:31+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1185 การวิเคราะห์ศักยภาพการรับน้ำท่าต่อต้นทุนค่าก่อสร้างหลังคาเขียว 2021-06-28T14:47:22+07:00 ชวิศ มหาวรรณ chawit_m@cmu.ac.th <p><strong>การเจริญเติบโตของเมืองทำให้มีการขยายพื้นที่ของสิ่งปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยและใช้ดำรงชีวิตเข้ามาแทนที่พื้นที่ทางธรรมชาติ ทำให้พื้นที่ซึมน้ำตามธรรมชาติลดน้อยลง ประกอบกับประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่เขตร้อน ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ในช่วงฤดูฝนจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดนำเอาความชื้นเข้าพื้นที่ของประเทศไทยทำให้เกิดฝนตกชุกโดยทั่วไป ซึ่งพื้นที่รับน้ำทางธรรมชาติมีปริมาณเท่าเดิมจึงเกิดปัญหาน้ำไหลนอง (Runoff) บริเวณพื้นผิว (Over flow) ในการลดปริมาณน้ำไหลนองนั้นมีแนวคิดการพัฒนาเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม Low impact development (LID) ที่มีหลากหลายวิธี อาทิเช่น สวนหลังคา (Green roof), สวนแนวตั้ง (Green wall), พื้นผิวน้ำซึมผ่านได้ (Porous paving) รางตื้นซับน้ำ (Infiltration trenches), ปลูกพืชพรรณธรรมชาติในรางน้ำ (Bioretention swales), กักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณในบ่อ (Bioretention basins) เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยนี้เลือกใช้แนวทางการจัดการเพื่อลดปริมาณน้ำไหลนองด้วยสวนหลังคา (Green roof) เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ดินในการจัดการ ในการพัฒนาพื้นที่สวนหลังคานั้นจะเลือกใช้ชั้นวัสดุที่แตกต่างกัน เป็นวัสดุที่หาง่ายตามท้องตลาดในประเทศไทยและมีราคาไม่แพง เพื่อลดการไหลนองของน้ำ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะทำการศึกษาและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำไหลนอง (Runoff) ในส่วนของสวนหลังคา การศึกษาปริมาณน้ำไหลนองต่อราคาต้นทุนในการวิจัยนี้ สามารถใช้เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่สวนหลังคาอย่างมีประสิทธิภาพ </strong></p> 2021-06-23T22:49:23+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/748 ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาเขตห้วยขวาง 2021-06-28T14:48:20+07:00 สิทธิโชค สุนทรโอภาส scp@kmutnb.ac.th ทวีศักดิ์ วงศ์ยืน scp@kmutnb.ac.th <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยและลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างอาคารสูง&nbsp; &nbsp;โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรตั้งแต่ระดับ โฟร์แมน วิศวกรสนาม วิศวกรโครงการ และผู้จัดการโครงการ ที่ทำงานอยู่ในโครงการงานก่อสร้างอาคารสูงในเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตห้วยขวาง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้วยค่าเฉลี่ย 3.40 &nbsp;และปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างอาคารสูงอยู่ในระดับมากคือ ด้านบุคลากร &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ด้วยค่าเฉลี่ย 3.59 ด้านการเงินด้วยค่าเฉลี่ย 3.53 และด้านเครื่องมือและเครื่องจักร ด้วยค่าเฉลี่ย 3.50 ส่วนปัจจัยด้านวัสดุและด้านบริหารจัดการนั้นอยู่ในระดับปานกลาง ด้วยค่าเฉลี่ย 3.22 และ 3.20 ตามลำดับ และจากผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ลักษณะทั่วไปของกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน เช่น อายุ ประสบการณ์การทำงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติและอื่น ๆ ที่ต่างกันมีผลทำให้กลุ่มเจ้าของงานกับผู้รับเหมางาน มีทัศนคติต่อระดับความสำคัญของปัจจัยด้านบุคลากร และด้านวัสดุว่ามีผลต่อการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างอาคารสูง ส่วนด้านการเงิน ด้านการบริหารจัดการ ด้านเครื่องมือและเครื่องจักรกลไม่ถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> 2021-06-23T22:49:44+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/753 Construction Safety Standards for General Management for Public and Private Sectors. 2021-06-28T14:48:57+07:00 ทองพูล ทาสีเพชร deanthongpoon@yahoo.com <p>บทคัดย่อ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สถิติการได้รับบาดเจ็บจากงานก่อสร้างในประเทศไทยมีอัตราเกิดขึ้นสูงเมื่อเปรียบเทียบกับหลายๆประเทศ&nbsp; มีนักวิจัยจำนวนมากที่พยายามค้นหาวิธีการและมาตรการป้องกันเพื่อให้อุบัติเหตุลดน้อยลง&nbsp; รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญโดยมีมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 และกฎกระทรวงการกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยหลายฉบับ กำหนดให้ผู้รับเหมาที่รับงานภาครัฐและเอกชนต้องจัดทำแผนความปลอดภัย และคู่มือระบบการจัดการความปลอดภัย&nbsp; อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นก็ยังเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อเสนอรูปแบบมาตรฐานมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างด้านการจัดการทั่วไปสำหรับภาครัฐและเอกชนสำหรับโครงการก่อสร้าง โดยรวบรวมข้อมูลจากพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และนำมาจัดเรียงเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของภาครัฐและเอกชนได้อย่างถูกต้อง จากการศึกษาพบว่า มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างด้านการจัดการทั่วไปสำหรับภาครัฐและเอกชนต้องจัดทำเอกสารและรายงานการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เครื่องหมายเตือนภัย อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย มาตรการป้องกัน ข้อบังคับและคู่มือความปลอดภัย สามารถลดสถิติการได้รับบาดเจ็บได้</p> <p><em>คำสำคัญ</em><em>:</em><em> มาตรฐานความปลอดภัย</em><em>,</em><em> การจัดการทั่วไป</em><em>,</em><em> พระราชบัญญัติความปลอดภัย</em><em>, กฎกระทรวง</em></p> 2021-06-23T22:50:14+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/835 Identification of Main Obstacles Toward Green Operations on Highway Construction Projects in Cambodia 2021-06-28T14:49:40+07:00 Sonero Sourn sonero.s@ku.th <p>Highway construction projects are growing rapidly to reform infrastructure systems in developing countries, resulting in a higher level of pollutions generated from heavy equipment usage and construction operations throughout the project life cycle. The increasing environmentally friendly momentum then drives the construction industry to start adopting green technology to reduce emissions in the community. Nevertheless, the obstacles to the adoption of green technology in highway construction still blocked many contractors to pursue sustainability and contribute their help to the environment in developing countries such as Cambodia. This paper aims to determine the obstacles that prevent contractors to pursue sustainability in the Cambodian highway construction field. 30 lists of factors will be provided under six dimensions of censorious obstacles: funding issue; cooperation and attitude; material resource; government management; time and schedule; and training and knowledge. All 30 factors were identified from a comprehensive literature review. The questionnaire survey will be next developed and applied to interview with professional contractors who have experience in highway construction projects in Cambodia. The result will be collected and analyzed from the total respondents in Cambodia in terms of the descriptive statistic approach to rank the highest critical obstacles among six dimensions. The finding of this paper will help the government to identify the main obstacles to green technology implementation and provide competent solutions for the contractors in Cambodian society towards sustainability.</p> 2021-06-23T22:51:10+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/854 ประสิทธิภาพของการออกแบบพื้นที่จัดการน้ำฝนสำหรับการพัฒนาโครงการก่อสร้างในเขตเมือง 2021-06-28T14:50:24+07:00 ณัฐดนัย จำรัส pact_jumrus@hotmail.com ดำรงศักดิ์ รินชุมภู damrongsak.r@cmu.ac.th <p><strong>น่านเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทำให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและขยายเมืองมากขึ้น จึงมีการพัฒนา โครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองภูเพียงเพื่อเป็นสถานที่รองรับการท่องเที่ยวและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยใช้พื้นที่หนองน้ำครกซึ่งเดิมเป็นพื้นที่รับน้ำท่วมของเขตพื้นที่อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน พื้นที่ดังกล่าวจะถูกแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้างอาคารและพื้นคอนกรีต เมื่อมีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามาก ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการซึมน้ำของพื้นที่นั้นลดลง จึงเกิดน้ำท่วมขัง หรือกลายเป็นน้ำไหลนอง (runoff) ที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นจึงสนใจทำการศึกษาการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการรับน้ำไหลนองต่อราคาต้นทุนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองภูเพียง บ้านม่วงตึ๊ด หมู่ที่ 4 ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์มาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการกักเก็บ ชะลอ และระบายน้ำผิวดิน หรือตามแนวคิดต้นแบบของ Water Sensitive Urban Design(WSUD) , Low Impact Development (LID) และแนวทาง Best Management Practices (BMPs) มุ่งศึกษาการออกแบบลักษณะทางกายภาพของชั้นดิน และการเลือกใช้วัสดุที่ซึมน้ำได้ดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำไหลนองต่อราคาต้นทุนได้ดี เป็นแนวทางการป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง เพื่อการพัฒนาพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพในการรับน้ำไหลนองที่ดีและยั่งยืน </strong></p> 2021-06-23T22:51:29+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/873 กรอบแนวคิดในการประเมินความรู้ของวิศวกรที่ปรึกษาเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งของการบริหารสัญญา 2021-06-28T14:51:01+07:00 สิริภากร อ่องสิทธิเวช srpk.ong@hotmail.com วัชระ เพียรสุภาพ vachara.p@chula.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">ความขัดแย้งในโครงการก่อสร้างเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ความขัดแย้งสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลักได้แก่ เอกสารสัญญาและการบริหารสัญญา โดยความขัดแย้งจากเอกสารสัญญาเกิดจากเงื่อนไขของสัญญาที่ไม่ครบถ้วน ขาดความชัดเจนและเอกสารสัญญามีความขัดแย้งกัน ในขณะที่ความขัดแย้งจากการบริหารสัญญาเกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาที่จงใจและไม่ได้จงใจ ซึ่งการจงใจปฏิบัติผิดสัญญาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้แต่การไม่ได้จงใจปฏิบัติผิดสัญญาอาจเกิดจากความประมาทหรือการขาดความเข้าใจในการปฏิบัติตามสัญญา การบริหารสัญญาเป็นหน้าที่สำคัญของวิศวกรที่ปรึกษาที่ต้องมีความเข้าใจในการปฏิบัติตามสัญญาและให้คำแนะนำกับผู้ว่าจ้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอกรอบแนวคิดในการประเมินความรู้ของวิศวกรที่ปรึกษาเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งของการบริหารสัญญา โดยงานวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้งของการบริหารสัญญาและเอกสารสัญญาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างในช่วงของการดำเนินงานก่อสร้าง และนำประเด็นความขัดแย้งดังกล่าวมาพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ประเมินความรู้ ซึ่งประเด็นความขัดแย้งถูกรวบรวมข้อมูลจากเอกสารคำพิพากษาศาลปกครอง ผลการศึกษาเบื้องต้นพบประเด็นความขัดแย้งเกี่ยวกับเงื่อนไขของสัญญา การแก้ไขเงื่อนไขในสัญญา หลักประกัน ระยะเวลาก่อสร้าง ค่าจ้าง การชำระค่าจ้าง ค่าเสียหาย การบอกเลิกสัญญา การลงโทษผู้ทิ้งงานและค่าปรับ ในขณะที่การวัดระดับความเข้าใจใช้แนวคิดอนุกรมวิธานแบบโซโลมาเป็นกรอบในการตั้งคำถามที่ใช้วัด ซึ่งกรอบแนวคิดในการประเมินระดับความเข้าใจของวิศวกรที่ปรึกษาจะช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์วางแผนการอบรมวิศวกรของบริษัทที่ปรึกษาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง </span></p> 2021-06-23T22:51:48+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/954 การประยุกต์ใช้ข้อมูลพอยท์คลาวด์เพื่อสนับสนุนการตรวจสอบคุณภาพ 2021-06-28T14:51:38+07:00 ศักดินนท์ นพฤทธิ์ sakdinon.non@hotmail.com วัชระ เพียรสุภาพ vachara.p@chula.ac.th <p>การตรวจสอบคุณภาพงานพื้น ผนัง และเพดาน ในโครงการก่อสร้างอาคาร ประกอบด้วยรายการที่ใช้ประเมิน วิธีการวัด และเกณฑ์การประเมิน ซี่งรายการวัดเกี่ยวกับความเรียบอาจใช้เครื่องมือตรวจสอบเทียบกับเกณฑ์ หรือการใช้สายตาในการประเมินความเรียบ อย่างไรก็ตามการวัดด้วยเครื่องมือและสายตาส่วนบุคคลอาจใช้เวลาและเกิดความไม่แน่นอนเนื่องจากปริมาณงานก่อสร้างพื้น ผนัง และเพดานมีจำนวนมาก การวัดด้วยเครื่องมือจำเป็นต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ นอกจากนี้วิธีการตรวจสอบแบบเดิมมีข้อจำกัดด้านสายตาและความรู้สึก ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบข้อบกพร่องที่เป็นไปได้ทั้งหมด งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้ข้อมูลพอยท์คลาวด์ในการตรวจสอบความเรียบร้อยของผนัง เนื่องจากการใช้ข้อมูลพอยท์คลาวด์นั้นมีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลตำแหน่งที่ บทความนี้จึงนำเสนอระบบอัตโนมัติที่สนับสนุนการตรวจสอบคุณภาพด้วยการใช้ข้อมูลพอยท์คลาวด์ เพื่อสามารถหาข้อผิดพลาดด้านเรียบของงานดังกล่าวได้เร็วขึ้นโดยการใช้แนวคิดค่าฐานนิยมของแกนที่สนใจมากำหนดระนาบที่ต้องการ โดยใช้การตรวจสอบความเรียบของผนังเป็นกรณีศึกษาสำหรับการพัฒนาระบบต้นแบบ บทความนี้จะอธิบายถึงกรอบแนวคิดของการประยุกต์ใช้ระบบที่นำเสนอ และวิธีการพัฒนาระบบ อีกทั้งยังนำเสนอผลการทดสอบศักยภาพและความถูกต้องของระบบต้นแบบที่พัฒนา โดยเปรียบเทียบผลการตรวจสอบด้วยวิธีการตรวจสอบแบบเดิม ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยคือแนวทางที่ใช้ในการพัฒนามาตรฐานสำหรับการตรวจสอบความเรียบของพื้น ผนัง และเพดาน</p> <p>&nbsp;</p> 2021-06-23T22:52:45+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/986 การประมาณราคาก่อสร้างอาคารประเภทงานราชการโดยใช้เทคนิคการสร้างแบบจำลองพยากรณ์ 2021-06-28T14:52:15+07:00 สิทธิกร สิทธิการกูล sitthikorn-sitthikankun@outlook.com <p>จากการหดตัวลงของอุตสาหกรรมการก่อสร้างโดยรวมในประเทศนั้นทำให้การแข่งขันในการประมูลงานนั้นจำเป็นต้องมีความแม่นยำในการเสนอราคาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการขาดทุนจากการเสนอราคาที่ต่ำเกินไปในขั้นตอนของการประมูลงาน ทั้งการประมูลงานในส่วนภาคเอกชนหรือในภาครัฐ อย่างไรก็ตามก่อนการประประมูลงานนั้นผู้เข้าร่วมการประมูลงานต้องมีการประมาณราคาก่อสร้างก่อนการประมูลงาน โดยวิธีในการประมาณราคาก่อสร้างนั้นสามารถแบ่งได้ 2 วิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การประมาณราคาก่อสร้างอย่างหยาบ ที่มีจุดเด่นคือสามารถทำการประมาณราคาค่าก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว มีจุดด้อยคือความคลาดเคลื่อนในราคาสูง และการประมาณราคาก่อสร้างอย่างละเอียด มีจุดเด่นคือสามารถทำการประมาณราคาก่อสร้างได้แม่นยำมากกว่า มีจุดด้อยคือแบบแปลนต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์ และใช้เวลาในการประมาณราคาก่อสร้างที่มาก เมื่อพิจารณาถึงจุดด้อยของวิธีการประมาณราคาก่อสร้างทั้ง 2 วิธีจึงเกิดการวิจัยสร้างแบบจำลองการประมาณราคาก่อสร้างงานราชการโดยใช้เทคนิคการสร้างแบบจำลองพยากรณ์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น มีตัวแปรทั้งสิ้น 11 ตัว คือ 1) ขนาดพื้นที่ใช้สอยของอาคาร 2) เส้นรอบรูปเฉลี่ย 3) ความสูงระหว่างชั้นเฉลี่ย 4) ความสูงของอาคาร 5) จำนวนชั้น 6) พื้นที่หลังคา 7) ขนาดห้องน้ำ 8) พื้นที่วางบนดิน 9) พื้นที่ช่องเปิด 10) รูปแบบของวัสดุมุงหลังคา 11) ประเภทของโครงสร้างพื้น เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผู้เข้าร่วมการประมูลงานภาครัฐจะสามารถลดช่วงความคลาดเคลื่อน และใช้ระยะเวลาในการประมาณราคาก่อสร้างน้อย ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> 2021-06-23T22:53:07+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/981 การสำรวจเทคโนโลยีแชทบอทเพื่อการสื่อสารในกิจกรรมสนับสนุนการก่อสร้าง 2021-06-28T14:52:52+07:00 ณิชกมล โพธิ์เงิน Numtan_nitkamon@hotmail.com วัชระ เพียรสุภาพ vachara.p@chula.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; โปรแกรมส่งข้อความทันทีเป็นเครื่องมือสื่อสารที่นำมาใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มในโครงการก่อสร้าง โดยโปรแกรมดังกล่าวเป็นช่องทางการสื่อสารที่ผู้ใช้งานสามารถตอบกันได้แบบทันที ในปัจจุบันเทคโนโลยีแชทบอทถูกนำมาใช้สนับสนุนการสื่อสารและใช้งานผ่านแอปพลิเคชันส่งข้อความทันทีได้ โดยมีความสามารถสื่อสารโต้ตอบได้เสมือนมนุษย์ จึงสามารถลดภาระการสื่อสารของมนุษย์ และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามการใช้งานเทคโนโลยีแชทบอทในกิจกรรมสนับสนุนการก่อสร้างยังมีไม่มากนัก บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการใช้เทคโนโลยีแชทบอทเพื่อการสื่อสารในกิจกรรมสนับสนุนการก่อสร้าง โดยสัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานก่อสร้าง 3 หัวข้อ ได้แก่ 1.ลักษณะการใช้แอปพลิเคชันส่งข้อความทันทีเพื่อสื่อสารในกิจกรรมสนับสนุนการก่อสร้าง 2.ปัญหาของการสื่อสารในกิจกรรมสนับสนุนการก่อสร้าง 3.ความสามารถของเทคโนโลยีแชทบอทที่ผู้ใช้งานต้องการ หลังจากนั้นผู้วิจัยวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของผลสัมภาษณ์ทั้งสามหัวข้อเพื่อสรุปแนวทางการใช้เทคโนโลยีแชทบอทที่สามารถลดภาระการสื่อสารของมนุษย์ สามารถแก้ไขปัญหาการสื่อสาร และตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยผลการศึกษาพบว่าเทคโนโลยีแชทบอทสามารถใช้เพื่อการสื่อสารในกิจกรรมสนับสนุนการก่อสร้าง เช่น ระบบค้นหาไฟล์แบบก่อสร้างและเอกสารเพื่อใช้ประกอบการทำงาน ซึ่งสามารถใช้คำค้นที่ยืดหยุ่น มีลำดับการโต้ตอบที่สามารถเจาะจงความต้องการของผู้ใช้งาน และสามารถแนะนำไฟล์ที่เกี่ยวข้องทำให้ลดเวลาในการเข้าถึงไฟล์ ระบบสอบถามมาตรฐานการก่อสร้าง ซึ่งออกแบบเมนูให้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว และระบบติดตามสถานะการตรวจสอบงานแบบทันที ทำให้ลดการสอบถามจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น</p> 2021-06-23T22:53:29+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1063 สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ 2021-06-28T14:53:29+07:00 สุรเดช โนสูงเนิน s6201082856042@email.kmutnb.ac.th วรรณวิทย์ แต้มทอง wannawit.t@eng.kmutnb.ac.th <p><strong>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ อุบัติเหตุจากงานก่อสร้างยังคงเป็นปัญหาที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากและสูงกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่นถึงแม้ว่าแต่ละบริษัทจะมีการนำระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยมาใช้บริหารจัดการเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในการทำงานก่อสร้างแต่ก็ยังคงมีข้อบกพร่องทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ (2) เป็นแนวทางในการวางแผนป้องกันอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง โดยทำการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์หาสาเหตุของอุบัติเหตุในงานก่อสร้างอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไปจำนวน 20 โครงการในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่จะทำการศึกษาเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มผู้บริหารโครงการ จำนวน 20 คน 2) กลุ่มคนงานก่อสร้าง จำนวน 100 คน และ 3) กลุ่มวิศวกรและผู้ดูแลความปลอดภัย จำนวน 40 คน โดยใช้แบบสอบถาม 3 รูปแบบสำหรับแต่ละกลุ่ม ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงปัจจัยสาเหตุต่างๆที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการปฎิบัติงานของคนงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและสามารถนำปัญหาและสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุไปจัดทำแนวทางวิธีปฎิบัติเพื่อลดอุบัติเหตุจากการก่อสร้างโครงการที่จะก่อสร้างในอนาคต</strong></p> 2021-06-23T22:53:51+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1066 ปัญหาของการควบคุมคุณภาพของงานถนนคอนกรีตเสริมเหล็กของโครงการบ้านจัดสรร 2021-06-28T14:54:06+07:00 นวพรรษช์ ขันติสิทธิ์ s6201082856034@email.kmutnb.ac.th วรรณวิทย์ แต้มทอง s6201082856034@email.kmutnb.ac.th <p>ปัจจุบันการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยโครงการแนวราบ ในกรุงเทพและปริมณฑล ไม่ว่าจะเป็นโครงการจัดสรรขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งจะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการโดยเฉพาะงานสาธารณูปโภคซึ่งประกอบด้วย 7 งานได้แก่ งานถนน ทางเท้ายกระดับ งานทางเท้ารางวี งานท่อบ่อพัก งานภูมิสถาปัตยกรรม งานระบบบ่อบำบัด และงานสโมสร หากการก่อสร้างในส่วนนี้ไม่ได้คุณภาพเกิดการเสียหายก่อนส่งมอบให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จะเป็นปัญหาให้กับทางผู้ประกอบการสร้างหมู่บ้านในเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมงานสาธารณูปโภค การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการควบคุมคุณภาพของงานถนนของโครงการหมู่บ้านจัดสรรและเสนอวิธีการควบคุมคุณภาพของงานถนน เนื่องจากงานถนนพบปัญหาด้านคุณภาพมากที่สุดโดยจากการเก็บข้อมูลปัญหาด้านความเสียหายที่เกิดจากการซ่อมแซมงานสาธารณูปโภคของบริษัทอสังหาริมทรัพย์จำนวน 6 โครงการ ผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่ได้รับความเสียหายบ่อยจำนวน 4 รายการ คือ ถนน ทางเท้ายกระดับ ทางเท้ารางวี และงานท่อบ่อพัก งานที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดในด้านค่าใช้จ่ายคือ ถนนคิดเป็น 75%&nbsp; ของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซ่อมทั้งหมด จากการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ด้วยแผนภูมิก้างปลาทำให้ทราบสาเหตุความเสียหายของงานถนนโดยปัญหาที่พบมากที่สุดเกิดจากปัญหาวิธีการดำเนินการกับการออกแบบและปัญหาด้านบุคลากร โดยสามารถนำปัญหาและสาเหตุของความเสียหายไปจัดทำแนวทางวิธีปฏิบัติเพื่อควบคุมคุณภาพและลดข้อบกพร่องก่อนการส่งมอบงานในอนาคตต่อไป</p> 2021-06-23T23:00:36+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1088 IDENTIFYING AND ANALYZING CHALLENGES IN ADMINISTERING CONSTRUCTION CONTRACTS OF THE LARGE PUBLIC PROJECTS IN BHUTAN 2021-06-28T14:54:47+07:00 Tandin Gyem tandingyem@gmail.com Veerasak Likhitruangsilp veerasakl@gmail.com <p>Construction projects encompass three major phases: the design phase, the construction phase, and the operation phase. Although problems are inevitable in every project phase, most of them are encountered during the construction phase. A construction contract is a formal agreement between the contracting parties. An important contract document is the conditions of contract, which entails the rules and regulations to administer the contract. In Bhutan, all public construction projects are mandated to follow the Bhutan Procurement Rules and Regulations 2019 and the Standard Bidding Documents for procurement of works 2019. Although these documents are updated regularly, the contract administration is often faced with various challenges. This paper identifies major gaps between the existing construction contract and the contract administration of the public projects in Bhutan. To identify the challenges in the contract administration, we conduct in-depth interviews with a group of local procurement professionals, government engineers, and contractors. As per the interviews, 18 out of 26 challenges in the large public projects in Bhutan have been faced during the construction phase. The survey questionnaires are then prepared based on these 18 challenges to measure the likelihood of occurrence and their impacts in terms of time, cost, and quality of the project. Subsequently, these 18 challenges are classified into three groups using an likelihood of occurrence-impact matrix. The identified challenges in administering the construction contracts of the large public projects in Bhutan can help the government authorities make rational decisions and enhance the efficiency of the existing standard form of construction contract in Bhutan.</p> <p><strong><em>Keywords:</em></strong><em> (Bhutan Construction Industry, Construction Contract, Large Public Projects, General Conditions of Contract, Standard Bidding Document</em><em>)</em></p> 2021-06-23T23:00:52+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1097 การพัฒนาระบบการวางแผนติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตมวลเบาด้วยแนวคิดโมเดลข้อมูลสารสนเทศอาคาร 2021-06-28T14:55:24+07:00 กมลทิพย์ พรชัยธเนศกุล kamoltip.kps@gmail.com วัชระ เพียรสุภาพ vachara.p@chula.ac.th <p><strong>แผ่นผนังคอนกรีตมวลเบาถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถกำหนดระยะเวลา ขอบเขตของงาน งบประมาณ นอกจากนั้นยังสามารถควบคุมคุณภาพวัสดุให้ได้มาตรฐานคงที่ การใช้งานแผ่นผนังคอนกรีตมวลเบาต้องอาศัยขั้นตอนในการจัดเรียงแผ่นผนัง เนื่องจากแผ่นผนังมีขนาดตามมาตรฐานทำให้ต้องคำนึงถึงขนาดของแผ่นผนังและระยะที่ต้องการติดตั้งเพื่อลดเศษที่เหลือจากการจัดเรียงและระยะเวลาในการตัดแผ่นหน้างาน นอกจากนั้นการลดรอยต่อในการติดตั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากรอยต่อที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อต้นทุนของอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้ง การวางแผนติดตั้งแผ่นผนังในปัจจุบันดำเนินการโดยการจัดเรียงแผ่นผนังโดยอาศัยความชำนาญของวิศวกร ส่งผลต่อระยะที่เหลือจากการจัดเรียงไม่สามารถทำให้เหลือเศษได้น้อยที่สุด บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการวางแผนติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตมวลเบา โดยงานวิจัยนำเทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการจัดเรียงแผ่นผนัง โดยให้แสดงผลผ่านโมเดลข้อมูลสารสนเทศอาคาร เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการวางแผนให้ได้คำตอบที่เหมาะสมที่สุด ผลการทดสอบระบบพบว่าระบบการวางแผนสามารถนำเสนอแผนการติดตั้งแผ่นผนังโดยเหลือเศษระยะพื้นที่น้อยลงจากแนวทางการจัดเรียงแผนผนังที่จัดทำโดยความชำนาญของวิศวกร</strong></p> 2021-06-23T23:01:15+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1199 การศึกษาปัญหาหมวดงานโครงสร้างในงานก่อสร้างอาคารสูงในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี 2021-06-28T14:56:00+07:00 ภัทรพร พรเทพเกษมสันต์ patraphorn.pp@outlook.com <p>ปัญหาในหมวดงานโครงสร้างเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญในงานก่อสร้าง เพราะหากการก่อสร้างในส่วนโครงสร้างมีปัญหาจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียอย่างมาก ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาหมวดงานโครงสร้างในงานก่อสร้างอาคารสูงในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยเก็บข้อมูลจากโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 5 โครงการ โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์วิศวกรผู้ควบคุมโครงการ ในงานวิจัยนี้แบ่งปัญหาหมวดงานโครงสร้างออกเป็น 6 หมวดงาน ได้แก่ (1) งานฐานรากและเสาเข็ม (2) งานเสา (3) งานคาน (4) งานพื้น (5) งานผนัง&nbsp; และ (6) งานบันได ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่า ปัญหางานฐานรากและเสาเข็มมีความถี่และความสำคัญมากที่สุด และจากการสัมภาษณ์วิศวกรผู้ควบคุมโครงการพบว่าปัญหาหมวดงานโครงสร้างเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านทักษะการทำงานของแรงงาน โดยแรงงานยังขาดทักษะและความรู้ทำงานในงานก่อสร้าง (2) ปัจจัยด้านสภาพพื้นที่ในการทำงานของงานก่อสร้าง เช่น การทำงานในพื้นที่สูงและเสี่ยงภัยส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และ &nbsp;(3) ปัญหาด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะอุปสรรคด้านภาษาที่สื่อสารกับแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานก่อสร้าง ซึ่งอาจส่งผลให้การทำงานผิดพลาด</p> 2021-06-23T23:01:33+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1222 การประยุกต์ใช้กระบวนการแบบจำลองข้อมูลอาคารจัดทำรายการบัญชีการตัดเหล็ก 2021-06-28T14:56:42+07:00 ปัณณาสิศ สัญญาโณ karnkolok2008@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการแบบจำลองข้อมูลอาคารทำรายการบัญชีการตัดเหล็ก โดยอาศัยทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้น ช่วยในการวิเคราะห์หาปริมาณเศษเหล็กของเสาโครงการอาคารเรียน 4 ชั้น 324ล-55 ต้านแผนดินไหว การศึกษาเริ่มจากกำหนดรูปแบบการต่อทาบเหล็กยืนที่เป็นไปได้ตามมาตรฐานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กต้านแผ่นดินไหว มยพ. 1301/1302-61 ทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ได้แก่&nbsp; รูปแบบที่ 1 (C1-1) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางชั้น 2 รูปแบบที่ 2 (C1-2) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางชั้น 3 และรูปแบบที่ 3 (C1-3) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางทุกชั้น ด้วยซอฟท์แวร์บิม “ออโต้เดสก์ เรวิท” ประมวลผลออกมาเป็นตารางรายการบัญชีการตัดเหล็ก จากนั้นนำรูปการดัดเหล็ก (Rebar Number) ในตารางรายการบัญชีการตัดเหล็กมากำหนดตัวแปรการตัดเหล็กเพื่อหาค่าความเหมาะสมการตัดเหล็ก โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มความยาวเหล็กเส้นเป็น 3 กลุ่ม ความยาวเหล็กเส้น 10.00 เมตร 12.00 เมตร และความยาวผสมระหว่าง 10.00 เมตร กับ 12.00 เมตร ร่วมกับรูปแบบทั้ง 3 รูปแบบ พบว่า การจัดทำบัญชีรายการตัดเหล็กของเสารูปแบบ C1-2 และใช้ความยาวเหล็กเส้น 12.00 เมตร ได้ปริมาณเหล็กน้อยที่สุดคือ 34,635 กิโลกรัม เศษเหล็กเหลือ 1,832.17 กิโลกรัม คิดเป็นอัตราส่วนเศษเหล็กต่อปริมาณการใช้เท่ากับ 5.29 จึงแสดงให้เห็นว่าการใช้ทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้น ควบคู่ไปกับการใช้ซอฟท์แวร์บิม จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด</p> <p><em>แบบจำลองข้อมูลอาคาร</em><em>, </em><em>รายการบัญชีการตัดเหล็ก</em><strong><em>, </em></strong><em>ทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้น</em></p> 2021-06-23T23:01:56+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1238 การศึกษาปัญหาการบริหารโครงการในงานสถาปัตยกรรมกระจกในอาคารสูง 2021-06-28T14:57:24+07:00 อินทัช ศรีรัตน์ s6201082856051@email.kmutnb.ac.th กวิน ตันติเสวี kevin.t@eng.kmutnb.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;จากอดีตจนถึงปัจจุบันบริษัทรับเหมาก่อสร้างสถาปัตยกรรมด้านกระจกที่ดำเนินการพัฒนาโครงการอาคารสูง ต่างประสบปัญหาในการพัฒนาโครงการ ในเรื่องของต้นทุนโครงการรวมทั้งปัญหาความล่าช้าในการพัฒนาโครงการ ที่ไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในแผนการทำงานได้ งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาผลกระทบและปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา ที่จะส่งผลทำให้เกิดผลกระทบด้านความล่าช้าและผลกระทบด้านต้นทุนโครงการ โดยศึกษากรณีตัวอย่างจำนวน 2 โครงการ ซึ่งแบ่งกระบวนการออกเป็น 3 เฟส คือ กระบวนการผลิต กระบวนการขนส่ง กระบวนการโครงการก่อสร้าง และแบ่งกลุ่มของผลกระทบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผลกระทบทางด้านเวลา และผลกระทบทางด้านต้นทุนโครงการ ด้วยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจง ในผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมกระจก&nbsp; จากการศึกษาพบว่า ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อโครงการมากที่สุด คือ ปัญหาการผลิตชิ้นงานขาดที่มีรูปแบบหรือจำนวนผิดพลาดจากความต้องการเนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายแบบและผู้ออกแบบของเจ้าของโครงการ และความผิดพลาดเฉพาะบุคคลที่มีความรับผิดชอบหลักในการทำงานในแต่ละขั้นตอนของการผลิตตั้งแต่การถอดแบบปริมาณงานและการสั่งผลิต ดังนั้นจึงควรปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่ ให้มีผู้รับผิดชอบและผู้ตรวจสอบในแต่ละขั้นตอนรวมทั้งนำเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น Zoom, Microsoft Teams เพื่อลดระยะเวลาในการประสานงาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้น</p> 2021-06-24T09:41:18+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1249 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเบิกงวดงานล่าช้าของงานตกแต่งภายใน 2021-06-28T14:58:00+07:00 นิภาพร ประทีปคีรี nokia_9664@hotmail.com <p>ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย การดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน การประกอบธุรกิจต่างๆต้องมีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้น รวมถึงโครงการบ้านพักอาศัย คอนโด หอพักต่างๆ ที่มีหลักการตลาดที่เปลี่ยนไป ถึงแม้เศรษฐกิจจะถดถอย แต่ก็ยังมีโครงการที่อาศัยความแตกต่างจากการขายแบบเดิมนำมาเป็นจุดขายของโครงการ โดยเพิ่มความสวยงามด้วยการตกแต่งภายในเป็นทางเลือกเสริมให้ลูกค้า และได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี [1] ทำให้งานตกแต่งภายในเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในงานก่อสร้าง แต่ปัญหาหลักที่มักเกิดขึ้นกับผู้รับเหมางานตกแต่งภายในคือ การเบิกงวดงานเป็นไปอย่างล่าช้า งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเบิกงวดงานล่าช้าของงานตกแต่งภายใน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลของกลุ่ม ที่ปรึกษาเจ้าของโครงการ (Consultant) และผู้รับเหมา (Contractor) ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Mean) และการลำดับความสำคัญ (Ranking) เพื่อทราบถึงปัจจัยสำคัญที่ผู้รับเหมาและที่ปรึกษาเจ้าของโครงการเห็นร่วมกันว่าเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความล่าช้า และทดสอบทางสถิติด้วยวิธี Independent – Sample t-test เพื่อทราบถึงปัจจัยวิกฤติที่ผู้รับเหมา และที่ปรึกษาเจ้าของโครงการมีความเห็นร่วมกันว่าเป็นปัจจัยวิกฤติที่ทำให้การเบิกงวดงานของงานตกแต่งภายในเป็นไปอย่างล่าช้า ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ทำให้เบิกงวดงานล่าช้ามี 4 ปัจจัย คือ การไม่ให้ความร่วมมือในการปฎิบัติงาน ไม่ร่วมมือกันปฎิบัติตามขั้นตอนการสื่อสารที่ตกลงไว้ การวางแผนที่ไม่สอดคล้องกับแรงงานและทรัพยากร การวางแผนที่ไม่สอดคล้องกับงวดงาน นอกจากนี้ยังพบปัจจัยวิกฤติย่อยจำนวน 10 ปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อการเบิกงวดงานล่าช้า เช่น ความไม่ชัดเจนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ขาดการวางแผนการจัดส่งวัสดุ การจ่ายเงินล่าช้าของเจ้าของโครงการ เป็นต้น</p> 2021-06-24T09:41:48+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1253 การศึกษาผลิตภาพในงานก่อสร้างของงานพื้นคอนกรีตอัดแรงประเภทอาคารสูง 2021-06-28T14:58:49+07:00 ธนพัฒน์ เอกพงษ์ s6201082856026@email.kmutnb.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลิตภาพของแรงงานและต้นทุนในการก่อสร้างพื้นคอนกรีตอัดแรงประเภทอาคารสูง โดยการศึกษาผลิตภาพนั้นจะประกอบด้วย 6 ขั้นตอนการก่อสร้าง คือ งานติดตั้งโต๊ะประกอบแบบ งานติดตั้งไม้แบบ งานติดตั้งเหล็กเสริม งานวางลวดสลิงร้อยท่อ งานเทคอนกรีตและงานดึงลวดสลิงอัดน้ำปูน &nbsp;โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลิตภาพในงานก่อสร้างของงานพื้นคอนกรีตอัดแรงประเภทอาคารสูงจำนวน 2 โครงการและรวบรวมกิจกรรมการทำงานของคนงานเพื่อวิเคราะห์โดยการแบ่งประเภทงานออกเป็น 3 ประเภทคือ งานที่ได้ประสิทธิผล งานสนับสนุน และงานที่ไร้ประสิทธิผล ในส่วนการวิเคราะห์ผลิตภาพนั้นได้เลือกใช้ทฤษฎีการประเมินผลิตภาพเพื่อวิเคราะห์หาสัดส่วนการใช้คนงานที่เป็นประโยชน์ จากผลการศึกษาเพื่อหาค่าผลิตภาพในงานก่อสร้างส่วนงานพื้นคอนกรีตอัดแรงพบว่าค่าผลิตภาพในงานก่อสร้างพื้นคอนกรีตอัดแรงจะอยู่ระหว่าง 6.5 - 14.8 ตารางเมตร/คน:วันและ ค่าสัดส่วนการใช้คนงานที่เป็นประโยชน์ในงานก่อสร้างอยู่ที่ระหว่าง 72% ถึง 74% ทางผู้วิจัยได้วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าสัดส่วนการใช้แรงงานที่เป็นประโยชน์ได้แก่ ความซับซ้อนในการออกแบบอาคาร การใช้เหล็กลวดตะแกรงเพื่อแทนที่การวางเสริมเหล็กเส้นแบบธรรมดา วิธีการเทคอนกรีตที่เหมาะสม และการจัดขนาดของชุดช่างที่พอดีกับประเภทงาน นอกจากในด้านผลิตภาพแล้วงานวิจัยนี้ยังศึกษาในส่วนด้านการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนค่าแรงทั้งสองแนวทางที่ผู้รับเหมาใช้เป็นวิธีในการคิดค่าแรงเพื่อกำหนดต้นทุนในด้านแรงงานของงานลวดอัดแรง โดยวิธีแรกเป็นการคิดค่าแรงจ้างเหมาด้วยการคำนวณจากปริมาณน้ำหนักเส้นลวดซึ่งวิธีนี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในผู้รับเหมาช่วงเพื่อกำหนดต้นทุนการประมูลงานจากผู้รับเหมาหลักหรือเจ้าของงาน ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือการคำนวณต้นทุนตามจำนวนแรงงานต่อวันทำงานทั้งหมดที่ใช้จนงานแล้วเสร็จซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนค่าแรงจริงของผู้รับเหมาช่วง ผลการศึกษาพบว่า วิธีคิดค่าแรงจ้างเหมาด้วยคำนวณจากปริมาณน้ำหนักเส้นลวดจะมีราคาเท่ากับ 26-37 บาทต่อตารางเมตร ในขณะที่แบบวิธีคิดค่าแรงแบบรายวันจะมีราคาเท่ากับ 10-12 บาทต่อตารางเมตร ดังนั้นความแตกต่างของต้นทุนแรงงานที่คำนวณโดยทั้งสองวิธีน่าจะเป็นส่วนต่างกำไรสำหรับผู้รับเหมาช่วง</p> 2021-06-24T09:44:04+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/923 ปัญหาการควบคุมงานก่อสร้างประเภทงานอาคารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2021-06-28T14:59:25+07:00 วรรณวรางค์ รัตนานิคม wanwarangr@eng.buu.ac.th สยาม ยิ้มศิริ ysiam@buu.ac.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการควบคุมงานก่อสร้างประเภทงานอาคารภายใต้การบริหารงานก่อสร้างของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ให้การทำงานมีประสิทธิภาพและช่วยลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้รับจ้างงานอยู่ในปัจจุบันหรือผู้ที่เคยรับจ้างงานของเทศบาลเมืองบ้านบึง จำนวน 51 คน แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และ ส่วนที่ 2 คือการสอบถามถึงระดับความถี่และความรุนแรงของปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการควบคุมงานก่อสร้างประเภทงานอาคาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความรุนแรง จากการวิเคราะห์พบว่าปัญหา 3 อันดับแรกที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการควบคุมงานก่อสร้างประเภทงานอาคารคือ (i) ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงาน (ii) แบบที่ใช้เพื่อการก่อสร้างไม่ชัดเจน และ (iii) ปัญหาที่เกิดจากผู้รับเหมาที่มีอิทธิพลในพื้นที่เข้ามารับงาน</p> 2021-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1067 การวิเคราะห์ต้นทุนงานฉาบผิวบางบนพื้นผิวผนัง 3 ประเภท 2021-06-28T15:00:04+07:00 ขจิตกาญจน จันทรกระจ่าง s6201082856018@email.kmutnb.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาศึกษาผลิตภาพแรงงานและต้นทุนต่อตารางเมตรของงานฉาบผิวบางบนผนัง 3 ประเภทคือ ผนังโครงสร้างคอนกรีตหล่อในที่ ผนังแผ่นมวลเบา และผนังผิวปูนฉาบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนทางตรงและทางอ้อมและผลิตภาพของการทำงานบนผิวผนัง 3 แบบโดยเก็บข้อมูลจำนวน 3 โครงการ การเก็บข้อมูลที่หน้างานทำโดยการจดบันทึกการใช้ทรัพยากรในการทำงานในแต่ละวันคือ เวลา แรงงาน วัสดุ และอุปกรณ์การทำงาน ลงในตารางบันทึกรายงานประจำวัน เพื่อวิเคราะห์หาต้นทุนทางตรงและทางอ้อม ส่วนการวิเคราะห์ผลิตภาพนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อวิเคราะห์ความชันของเส้นการเรียนรู้สำหรับใช้ประมาณเวลาการ ทำงานในอนาคตเพื่อการวางแผนการดำเนินงานสร้างความมั่นใจในการประมูลงานและลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนของการรับเหมางานฉาบผิวบางบนผนัง 3 แบบต่อไป</p> <p><strong><em>&nbsp;</em></strong></p> <p><strong><em>คำสำคัญ</em></strong><strong><em>:</em></strong><em> ค่าแรง</em><em>, งานฉาบผนัง, ต้นทุน, ทฤษฎีการเรียนรู้</em></p> 2021-06-24T09:45:26+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1082 การระบุปัจจัยความเสี่ยงของการควบคุมงานก่อสร้างในโครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร ท่าอากาศยานขอนแก่น 2021-06-28T15:00:41+07:00 ฐิติวัฒน์ ตรีวงศ์ titiwat.t@cit.kmutnb.ac.th <p>ความเสี่ยงจากโครงการงานก่อสร้างเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ โครงการงานก่อสร้างท่าอากาศยานนับว่ามีความเสี่ยงมากกว่างานก่อสร้างทั่วไป อีกทั้งก่อให้เกิดปัญหาการควบคุมงานก่อสร้างในโครงการ อาคารที่พักผู้โดยสารนับเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในท่าอากาศยานที่ไม่ได้อยู่ในเขตการบิน แต่ส่งผลต่อความล่าช้าของโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานไม่น้อย &nbsp;วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อระบุปัจจัยความเสี่ยงและศึกษาปริมาณผลกระทบต่อการควบคุมงานก่อสร้างโครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร ท่าอากาศยานขอนแก่น เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในหน่วยงาน ผู้ควบคุมงานฝ่ายที่ปรึกษา 10 คน และผู้ควบคุมงานฝ่ายผู้รับเหมาก่อสร้าง 10 คน ที่รับผิดชอบงานก่อสร้างในครั้งนี้ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเป็นสำคัญ จากนั้นผู้ประเมินสามารถใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงและจัดกลุ่มความเสี่ยงที่สำคัญ พบว่า ปัจจัยความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการควบคุมงานก่อสร้างโครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร ท่าอากาศยานขอนแก่นสามารถจำแนกได้ 12 ด้านได้แก่ 1) ด้านสัญญา &nbsp;&nbsp;2) ด้านออกแบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบ 3) ด้านการเงิน 4) ด้านแผนงาน 5) ด้านบุคคล 6) ด้านแรงงาน 7) ด้านวัสดุ 8) ด้านเครื่องจักร 9) ด้านผู้รับเหมารายย่อย 10) ด้านการเมือง 11) ด้านเศรษฐกิจ 12) ด้านธรรมชาติ ปัจจัยความเสี่ยงด้านแผนงานมีระดับความเสี่ยงมากที่สุด และปัจจัยความเสี่ยงด้านการเมืองมีระดับความเสี่ยงน้อยที่สุด ซึ่งปัจจัยความเสี่ยงดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการจัดความเสี่ยงให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ควบคุมงานทั้งสองฝ่ายในโครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารของท่าอากาศยานขอนแก่น</p> 2021-06-24T09:46:33+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/823 ปัจจัยที่มีผลต่อค่าฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนจากกิจกรรมในงานก่อสร้างอาคารบ้านพักอาศัย 2021-06-28T15:01:26+07:00 นายศรัณย์ มุ่งสุจริตการ saruncon@gmail.com มานพ แก้วโมราเจริญ manop@eng.cmu.ac.th <p><strong>ปัจจุบันงานก่อสร้างในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการขยายที่อยู่พักอาศัยทำให้เกิดโครงการใหม่ๆ ขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน และจากปัญหาในภาคเหนือของประเทศไทยมักประสบปัญหาค่าฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เกินค่ามาตรฐาน โดยปัญหาฝุ่นละอองจากบริเวณที่มีการก่อสร้าง จัดได้ว่าเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลภาวะเกี่ยวกับฝุ่น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมในงานก่อสร้างที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แต่ละกิจกรรม และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ถูกวัดค่าก่อน และหลังการก่อสร้างในแต่ละกิจกรรมของขั้นตอนการก่อสร้าง ผ่านอุปกรณ์วัดแบบพกพา โดยเลือกประเภทของกิจกรรมการก่อสร้างที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง จำนวน 6 กิจกรรม โดยทำการวัดซ้ำกิจกรรมละ 3 รอบ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แต่ละกิจกรรม และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลกระทบและวิธีการป้องกันรับมือปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กต่อไป ในงานวิจัยนี้เบื้องต้นพบว่ามีกิจกรรม การตัดและการขัดทำให้เกิดฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มากที่สุด</strong></p> 2021-06-24T09:47:21+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/891 กรณีศึกษาความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ในช่วงการขายถึงส่งมอบ 2021-06-28T15:02:01+07:00 กัลยารัตน์ สมดี s6101081811518@email.kmutnb.ac.th กมลวัลย์ ลือประเสริฐ kamolwan@kmutnb.ac.th <p>ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีปัจจัย มีผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการทั้งในด้าน ต้นทุน และชื่อเสียงของบริษัท การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ประเมินปัจจัยเสี่ยงของผู้ประกอบการในโครงการอสังหาริมทรัพย์บ้านพักอาศัย ตั้งแต่ช่วงการขายจนถึงช่วงส่งมอบบ้านให้กับลูกค้า โดยการศึกษาข้อมูลจากโครงการบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ราคา 4-7 ล้านบาท จำนวน 331 ยูนิต โดยศึกษาผลกระทบของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในช่วงการขายถึงช่วงส่งมอบบ้านโดยคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงการก่อสร้าง จากการเก็บข้อมูลพบว่าความเสี่ยงที่พบมากที่สุด คือ ความเสี่ยงที่ธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อ ร้อยละ 12&nbsp; และความเสี่ยงที่ลูกค้ายกเลิกการจองเพราะไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ร้อยละ 4 และความเสี่ยงที่ลูกค้าเปลี่ยนใจไม่โอนบ้าน ร้อยละ 4 ช่วงที่พบความเสี่ยงมากที่สุดคือช่วงการขอสินเชื่อ มีความเสี่ยงร้อยละ 14 รองลงมาอยู่ที่ช่วงของการโอน มีความเสี่ยงร้อยละ 8 และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้นมีผลกระทบกับต้นทุนมากที่สุด</p> 2021-06-24T09:48:05+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/804 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารมิติที่เจ็ดสำหรับอาคารศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา 2021-06-28T15:02:39+07:00 ปัณณพงศ์ กุลพัฒน์เศรษฐ mumfin_volkswagen@hotmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในนั้นคือ แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในกระบวนการออกแบบและก่อสร้าง โดยการสร้างแบบจำลองที่มาพร้อมกับข้อมูลสารสนเทศ แบบจำลอง BIM มีเป้าหมายเพื่อบูรณาการการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ ของการออกแบบและก่อสร้างเพื่อลดความซ้ำซ้อนและความผิดพลาด และเพิ่มความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการทำงาน ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แบบจำลอง BIM มิติที่เจ็ด ในการจัดการอาคารศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยมุ่งเน้นไปที่ด้านการจัดการบำรุงรักษาอาคาร คือ ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบปรับอากาศ และการจัดการทรัพยากรภายในอาคาร คือ การบริหารทรัพยากรหมวดหมู่หนังสือ สุดท้ายของงานวิจัยนี้จะนำเสนอผลการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ด้วยการใช้ แบบจำลอง BIM และผลลัพธ์ที่ได้จากข้อมูลการตรวจวัดค่าไฟฟ้าจริงที่เกิดขึ้นและแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้ดูแลด้านการบริหารทรัพยากรอาคาร</p> 2021-06-24T09:48:45+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/905 ปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนด้านสังคมขององค์กรผู้รับเหมาก่อสร้าง 2021-06-28T15:03:21+07:00 สิรภัทร ลิ้นประเสริฐ 60011066@kmitl.ac.th สิรภพ ลิ้นประเสริฐ 60011063@kmitl.ac.th สิทธิพงษ์ ท่าพิมาย 60011058@kmitl.ac.th <p>ในปัจจุบันการแข่งขันในอุตสาหกรรมก่อสร้างมีความรุนแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความต้องการของสังคมและชุมชนที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้รับเหมาในฐานะหน่วยหนึ่งของสังคมควรพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนด้านสังคมเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เหนือกว่าคู่แข่ง อย่างไรก็ตามจากการทบทวนวรรณกรรมยังไม่พบนักวิจัยใดแนะนำปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนด้านสังคมขององค์กรผู้รับเหมาระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนขององค์กรผู้รับเหมาในด้านสังคมระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการ โดยการออกแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นจากองค์กรผู้รับเหมาในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนขององค์กรผู้รับเหมา หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เพื่อหาปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนด้านสังคมขององค์กรผู้รับเหมาระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ ผลการวิเคราะห์สามารถจัดกลุ่มปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนด้านสังคมขององค์กรผู้รับเหมาได้ดังนี้ (1) ความรู้และความสามารถของบุคลากรในองค์กร (2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กร (3) สุขภาพและความปลอดภัย (4) สวัสดิการในองค์กร (5) ความพึงพอใจของเจ้าของโครงการ พนักงาน และสาธารณ ซึ่งจากผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางให้ผู้รับเหมาพัฒนาองค์กรที่มีความเห็นร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการ แล้วนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านสังคมโดยรวมขององค์กรผู้รับเหมาต่อไป</p> <p><em>คำสำคัญ</em><em> : ปัจจัย</em><em>, ความยั่งยืนด้านสังคม, ผู้รับเหมา, ฝ่ายบริหาร, ฝ่ายปฏิบัติการ</em></p> 2021-06-24T09:49:15+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/908 การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารมิติที่ห้าสำหรับโครงการหมู่บ้านจัดสรร 2021-06-28T15:03:56+07:00 ปัณณพงศ์ กุลพัฒน์เศรษฐ mumfin_volkswagen@hotmail.com <p>การถอดปริมาณวัสดุเป็นกระบวนการที่สำคัญในงานก่อสร้าง และเป็นกระบวนการที่ทำให้ทราบถึงต้นทุนของการก่อสร้างทั้งโครงการขนาดเล็กและโครงการขนาดใหญ่ โดยลักษณะที่ซับซ้อนของโครงการจะส่งผลให้ความผิดพลาดในการคิดต้นทุนมากขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันการถอดปริมาณวัสดุเพื่อการประมาณราคาจะใช้บุคลากรในองค์กรในการคำนวณ ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดที่มาจาก การขาดทักษะความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ความเข้าใจในการอ่านแบบก่อสร้าง หรือแหล่งข้อมูลด้านวัสดุและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ จึงทำให้ผลลัพธ์มีความแตกต่างกัน รวมทั้งใช้เวลานานในการประมาณราคา การศึกษาครั้งนี้ พบว่า การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร หรือ Building Information Modeling (BIM) มาใช้ในการประมาณราคาในอาคารบ้านสองชั้นในโครงการบ้านจัดสรร ช่วยลดความผิดพลาดในการถอดปริมาณวัสดุและการประมาณราคา ซึ่งทำให้การคิดต้นทุนในโครงการบ้านจัดสรร&nbsp; &nbsp;มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น</p> 2021-06-24T09:49:46+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1001 การศึกษาการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย 2021-06-28T15:04:38+07:00 อรณิช ธนากรรฐ์ oranit0962@gmail.com นพดล จอกแก้ว oranit0962@gmail.com <p><strong>ในปัจจุบันอุตสาหกรรมก่อสร้างยังประสบปัญหาในหลายๆด้าน ได้แก่ ปัญหาการพึ่งพาแรงงานต่างชาติ การควบคุมมาตรฐานในการก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งการผลักดันการก่อสร้างให้เป็นระบบอุตสาหกรรม (Industrialized building system, IBS) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากเป็นรูปแบบการก่อสร้างที่ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลาการก่อสร้าง อีกทั้งยังลดความสูญเปล่าของวัสดุในขั้นตอนการก่อสร้าง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในการใช้การก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม โดยงานวิจัยนี้จะเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์และแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญในฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่น เจ้าของโครงการ ผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ ผู้ผลิต เป็นต้น จากการศึกษารูปแบบการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมพบว่า วิธีการก่อสร้างในประเทศไทยที่เข้าข่ายเป็นการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรมมากที่สุดคือ การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูประบบแผ่น นอกจากนี้ยังรวบรวมและประเมินปัจจัยภายในและภายนอกได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในการใช้การก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม ผลการประเมินปัจจัยภายในพบว่าผู้รับเหมาในประเทศไทยมีศักยภาพในการก่อสร้างด้วยระบบ IBS แต่ผู้ออกแบบยังขาดแนวคิดในการออกแบบงานให้สามารถก่อสร้างด้วยระบบอุตสาหกรรม จากการประเมินปัจจัยภายนอกพบว่า ความต้องการงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเป็นโอกาสในการนำการก่อสร้างด้วยระบบอุตสาหกรรมมาใช้ แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในการนำการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมเข้ามาปรับใช้ให้แพร่หลายมากขึ้น</strong></p> 2021-06-24T09:50:22+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1039 การประเมินความพร้อมสำหรับการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติของบริษัทรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย 2021-06-28T15:05:13+07:00 รวีวรรณ ภู่สุวรรณ catninelove@hotmail.com นพดล จอกแก้ว noppadon.j@chula.ac.th <p>ปัจจุบันอุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วโลกยังคงประสบปัญหาด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงานการขาดแคลนแรงงานและต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมก่อสร้างคือการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากระบบอัตโนมัติช่วยลดการพึ่งพาแรงงาน ต้นทุนการก่อสร้าง และระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งมีความสำคัญต่อบริษัทรับเหมาก่อสร้าง โดยการพัฒนาระดับของอุตสาหกรรมมี 5 ระดับ ได้แก่ ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป (Prefabrication) การนำเครื่องจักรมาใช้ (Mechanisation) ระบบอัตโนมัติ(Automation) หุ่นยนต์ (Robotic) และการทำซ้ำ (Reproduction) ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทยยังคงอยู่ใน 2 อันดับแรก คือ การนำระบบชิ้นส่วนสำเร็จและเครื่องจักรกลมาใช้ในการก่อสร้างโดยที่อุตสาหกรรมก่อสร้างในต่างประเทศเริ่มมีการก้าวข้ามระดับมาใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น จึงมีการประเมินความพร้อมของบริษัทรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยสำหรับการนำระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ โดยงานวิจัยนี้มีขั้นตอนการดำเนินงานคือการรวบรวมปัจจัยภายในและภายนอกเพื่อพัฒนาแบบสอบถามโดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis)เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัจจัยและความพร้อมของบริษัทรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยสำหรับการนำระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้โดยวิธีการประเมินปัจจัยภายในและภายนอก (IFE &amp; EFE Matrix) และตารางเมทริกซ์ปัจจัยภายในและภายนอก (IE Matrix) ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้คือปัจจัยภายในและภายนอกที่สำคัญ และความพร้อมของบริษัทรับเหมาก่อสร้างสำหรับการนำระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้</p> 2021-06-24T09:50:53+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1056 ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในโครงการก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม 2021-06-28T15:05:51+07:00 ลิขิต พันธุเทพ rossukon.koy@npu.ac.th <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; โครงการก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนครพนม มักจะมีอุปสรรคในการก่อสร้างเกิดขึ้นเสมอเนื่องจากสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ ทำให้งานไม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายการวิจัยในครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในโครงการก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนครพนม โดยรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง โดยใช้แบบสอบถาม 200 ชุด&nbsp; โดยหาค่าเฉลี่ยความถี่ ค่าเฉลี่ยความรุนแรง ในมุมมองของแต่ละฝ่ายและมุมมองรวม นำมาหาค่าดัชนีความสำคัญของปัจจัย จัดลำดับความสำคัญของปัจจัยและทำการวิเคราะห์หาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้า โดยพิจารณาปัจจัยที่มีค่าดัชนีความสำคัญตั้งแต่ระดับ 5 จากคะแนนเต็ม&nbsp; 25 ขึ้นไป</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าสูงสุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย การเสนอราคาจ้างเหมาแข่งกัน ฟันราคากัน ทำให้ค่าจ้างก่อสร้างจ้างราคาต่ำ ซึ่งมีค่าดัชนีความสำคัญของปัจจัย 10.02 การขาดแคลนแรงงานก่อสร้างเนื่องจากฤดูการทำเกษตรกรรม ซึ่งมีค่าดัชนีความสำคัญของปัจจัย 9.55 และผู้รับจ้างเข้าดำเนินการในพื้นที่ล่าช้าซึ่งมีค่าดัชนีความสำคัญของปัจจัย 9.03 โดยปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าทั้งหมดควรได้รับการตรวจสอบและดูแลใกล้ชิดจากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้บริหารโครงการก่อสร้าง</p> <p>คำสำคัญ : ความล่าช้า ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้า โครงการก่อสร้างถนน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น</p> 2021-06-24T09:51:18+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1102 การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับในการตรวจสอบโครงการก่อสร้างอาคาร 2021-06-28T15:06:37+07:00 อินทนนท์ อินทโชติ intanon_i@cmu.ac.th ชินพัฒน์ บัวชาติ chinapat@eng.cmu.ac.th <p>ในปัจจุบันเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน (Drone) มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในด้านต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ตั้งแต่การ วางแผนการสำรวจ ออกแบบก่อสร้าง การควบคุมงาน การตรวจสอบ และการส่งมอบ ในงานวิจัยนี้ การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับที่มีการติดตั้งกล้องดิจิตัลเพื่อใช้ในการบันทึกกิจกรรมในการตรวจสอบโครงการก่อสร้าง จะทำการศึกษาการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณของการเก็บข้อมูลด้วยตัวเองกับการเก็บข้อมูลด้วยอากาศยานไร้คนขับ เพื่อรวบรวมเป็นความรู้ ขั้นตอน และวิธีการตรวจสอบอาคารด้วยอากาศยานไร้คนขับ โดยวิธีการทดสอบจะนำเสนอความละเอียดของวัตถุกับระยะโดรนเข้าใกล้วัตถุในระยะที่เหมาะสมในจุดต่าง ๆ เช่น ผนังด้านนอกอาคารสูง บริเวณรอยเชื่อมหรือจุดต่อของโครงหลังคา การศึกษาในครั้งนี้ได้วิเคราะห์ทั้ง (1) ข้อดีข้อเสียของการใช้โดรนตรวจงานก่อสร้างอาคาร (2) ลักษณะการตรวจสอบหน้างานโดยใช้คนสำรวจ (3) วิเคราะห์ประโยชน์ที่จะได้รับ (4) สรุปผลและข้อจำกัดของการใช้โดรนตรวจงานในแต่ละจุด</p> 2021-06-24T09:58:31+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1207 Study of causes and problems related to engineering in Condominium development projects 2021-06-28T15:07:16+07:00 wasaporn techapeeraparnich wasaporn.tac@mahidol.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม โดยเริ่มจากการทบทวนวรรณกรรม การสืบค้นปัญหาที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้างคอนโดมิเนียมกับผู้บริโภคจากข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ข้อมูล สคบ. แล้วจึงนำไปพัฒนาแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำมารวบรวมวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุด้วยแผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)&nbsp; โดยจัดกลุ่มของปัญหาออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1) ปัญหาในช่วงก่อนก่อสร้าง จำนวน 4 ปัญหา 2) ปัญหาในช่วงระหว่างก่อสร้าง จำนวน 4&nbsp; ปัญหา 3) ปัญหาในช่วงหลังก่อสร้าง&nbsp; ผลงานวิจัยพบว่าปัญหาที่พบมากที่สุดในช่วงก่อนก่อสร้าง คือ โครงการไม่ริเริ่มก่อสร้าง รองลงมาคือ ปัญหาโครงการไม่ผ่าน EIA และปัญหาเรื่องที่ดิน ต่อมาคือ ปัญหาระหว่างก่อสร้างที่พบมากที่สุดคือ โครงการไม่แล้วเสร็จตามเป้าหมาย รองลงมาคือ ปัญหาการก่อสร้างไม่ตรงตามแบบ และปัญหาผู้รับเหมารายย่อยทิ้งงาน สุดท้ายคือ ปัญหาช่วงหลังก่อสร้าง ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ น้ำรั่วซึม รองลงมาคือ รอยร้าว และการก่อสร้างแล้วเสร็จแต่ไม่เรียบร้อย โดยนำเสนอปัญหาเหล่านี้ด้วยแผนผังสาเหตุและผล</p> 2021-06-24T09:59:16+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/760 การศึกษาผลกระทบต่อพฤติกรรมการทรุดตัวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯเนื่องจากวงจรการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอันเนื่องมาจากการใช้งานเสาเข็มพลังงาน 2021-06-28T15:44:37+07:00 ธิติ ชาญชญานนท์ thiti.chan@ku.th อภินิติ โชติสังกาศ fengatj@ku.ac.th รศ.ดร.ก่อโชค จันทวรางกูร fengkcc@ku.ac.th <p>นวัตกรรมเสาเข็มพลังงานเพื่ออาคารประหยัดพลังงานเป็นการประยุกต์เสาเข็มเพื่อระบายความร้อนที่เกิดจากระบบปรับอากาศ ไปยังมวลดินรอบเสาเข็ม ในระหว่างการใช้งานเสาเข็มพลังงานสามารถส่งผลให้อุณหภูมิมวลดินรอบเสาเข็มเปลี่ยนแปลงไป โดยเกิดการเพิ่มและลดของอุณหภูมิแบบวัฏจักร เพื่อประเมินอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในชั้นดินเหนียวอ่อนรอบเสาเข็มพลังงาน ในการศึกษานี้เน้นไปยังผลกระทบด้านการทรุดตัวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ในลักษณะความล้าจากวัฏจักรการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ (Thermal cyclic induced creep) ในระยะยาว โดยการจำลองการทรุดตัวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพด้วยอุปกรณ์โออิโดมิเตอร์ (Oedometer) ณ ค่าอัตราส่วนอัดเกินตัว (OCR) = 1.3 ที่ความเค้นแนวดิ่งประสิทธิผล 65 kPa อุปกรณ์ดัดแปลงให้มีระบบควบคุมอุณหภูมิด้วยน้ำ ที่อุณหภูมิ 30 - 40 องศาเซลเซียส ทำการทดลองทั้งหมดจำนวน 100 รอบ<br>วัฏจักรอุณหภูมิ นอกจากนั้น ได้นำเสนอผล Thermal conductivity จากการทดลอง Thermal Response Test ในแปลงทดลองเสาเข็มพลังงานขนาดเท่าจริง สามชนิด ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีต Spun Pile (เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ลึก 9 เมตร), เสาเข็มเหล็ก Micro Pile (เส้นผ่านศูนย์กลาง 14 - 16.5 เซนติเมตร ลึก 16 เมตร) และ เสาเข็มเหล็ก Screw Pile (เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติมาตร ลึก 13.5 เมตร) ผลการศึกษาสามารถนำไปประเมินผลกระทบจากการถ่ายเทความร้อนจากเสาเข็มพลังงานต่อการทรุดตัวของดินเหนียวรอบเสาเข็มได้</p> 2021-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/763 การศึกษาพฤติกรรมการกระจายความชื้นในสนามของกำแพงกันดินเสริมแรงด้วยวัสดุสังเคราะห์ที่ใช้วัสดุถมต่างกัน 2021-06-28T15:45:21+07:00 บวรพงศ์ สุขเจริญ borwonpong.s@ku.th อภินิติ โชติสังกาศ fengatj@ku.ac.th วรากร ไม้เรียง fengwkm@ku.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">การเปลี่ยนแปลงความชื้นภายในวัสดุถมมีอิทธิพลต่อการเสียรูปของกำแพงกันดินเสริมแรงด้วยวัสดุสังเคราะห์อย่างมาก บทความนี้จึงทำการศึกษาพฤติกรรมการกระจายตัวของความชื้นภายในกำแพงกันดินเสริมกำลังด้วยวัสดุสังเคราะห์ </span>(Mechanically stabilized earth wall, MSE wall) <span lang="TH">ซึ่งใช้วัสดุถมแตกต่างกัน ได้แก่ กรวดซึ่งระบายน้ำได้ดี และ ดินลูกรังบนพื้นที่ภูเขา จากข้อมูลการตรวจวัดในสนาม โดยทำการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดแรงดันน้ำและความชื้นภายในกำแพงกันดินและติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดการเคลื่อนตัวของกำแพง </span>(KU in placed inclinometer) <span lang="TH">บริเวณด้านหน้าของกำแพง ซึ่งผลการศึกษาพบว่าวัสดุถมมีอิทธิพลต่อการกระจายตัวของความชื้นภายในกำแพงกันดินเสริมกำลังและเป็นปัจจัยหนึ่งของการเสียรูปของกำแพง</span></p> 2021-06-24T10:06:04+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/778 การเปรียบเทียบค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มทดสอบกับสูตรการตอกเสาเข็มสำหรับเสาเข็มตอกในชั้นทราย 2021-06-28T15:46:02+07:00 วัฒนา มกรโรจน์ฤทธิ์ mr.watthana@gmail.com ปิญชาน์ ต่อกิตติกุล pincha_t@hotmail.com สกลวรรณ ห่านจิตสุวรรณ์ yim_kachan@yahoo.com <p>บทความนี้นำเสนอผลการเปรียบเทียบค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มตอกในชั้นทรายด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic pile load test) วิธีสถิตยศาสตร์ (Static pile load test) และวิธีการคำนวณโดยใช้สูตรการตอกเสาเข็ม (Dynamic formula method) โดยใช้โครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ เป็นกรณีศึกษา เสาเข็มที่นำมาเปรียบเทียบเป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปสี่เหลี่ยมตันความยาว 14 ถึง 19 เมตร จำนวน 28 ต้น โดยปลายของเสาเข็มทุกต้นวางอยู่ในชั้นทรายหรือกรวดสภาพแน่นถึงแน่นมาก โดยกำหนดให้เสาเข็มมีค่ากำลังรับน้ำหนักปลอดภัยเท่ากับ 75 และ 90 ตัน สำหรับเสาเข็มขนาด 0.35x0.35 เมตร และ 0.40x0.40 เมตร ตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่าการทดสอบเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ได้ค่าอัตราส่วนปลอดภัยเฉลี่ยเท่ากับ 2.99 ส่วนการทดสอบการตอกสิบครั้งสุดท้ายพบว่าสูตรการตอกเสาเข็มของ Pacific Coast Uniform Building Code (PCUBC) มีค่าใกล้เคียงกับผลการทดสอบเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์มากที่สุดโดยได้ผลการคำนวณค่าอัตราส่วนปลอดภัยเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 สำหรับสูตรของ Gate, Canadian National Building Code และ Hiley ได้ผลการคำนวณค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มต่ำกว่าที่ได้จากผลการทดสอบเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ โดยมีค่าอัตราส่วนปลอดภัยเฉลี่ยเท่ากับ 1.74, 2.46, และ 2.73 ตามลำดับ สำหรับสูตรของ Janbu, Danish, Modified ENR, Eytelwein และ Navy-McKay ได้ผลการคำนวณค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มสูงกว่าที่ได้จากผลการทดสอบเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ โดยมีค่าอัตราส่วนปลอดภัยเฉลี่ยเท่ากับ 3.91, 5.27, 9.89, 13.31, และ 24.79 ตามลำดับ สำหรับผลการทดสอบเสาเข็มด้วยวิธีสถิตยศาสตร์ได้ค่าอัตราส่วนปลอดภัยมากกว่า 2.5 โดยที่ไม่สามารถทราบค่าที่แท้จริงได้เนื่องจากเป็นการทดสอบแบบไม่ทำลายโดยทดสอบไปจนถึง 2.5 เท่าของกำลังรับน้ำหนักปลอดภัยและเสาเข็มมีการทรุดตัวประมาณ 5.5 และ 8 มิลลิเมตร สำหรับเสาเข็มขนาด 0.35x0.35 เมตร และ 0.40x0.40 เมตร ความยาว 17 เมตร ตามลำดับ</p> 2021-06-24T10:06:33+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/786 อิทธิพลของระยะห่างระหว่างเสาเข็มและปีกวงแหวนต่อกำลังรับน้ำหนักของกลุ่มเสาเข็มเจาะปลายขยาย – การศึกษาด้วยแบบจำลองกายภาพ 2021-06-28T15:46:41+07:00 วรัช ก้องกิจกุล warat.kon@kmutt.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">เสาเข็มเจาะปลายขยาย คือ เสาเข็มคอนกรีตประเภทเจาะและหล่อในที่ชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนปีกเพิ่มขึ้นมาหนึ่งหรือสองปีกที่บริเวณส่วนปลายของเสาเข็ม การเพิ่มขึ้นมาของส่วนปีกทำให้ความสามารถในการรับแรงแบกทานของเสาเข็มเพิ่มขึ้นมากกว่าเสาเข็มทั่วไป งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของระยะห่างระหว่างปีกวงแหวนกับระยะห่างระหว่างเสาเข็มที่มีต่อกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่ม ด้วยการทดสอบกับแบบจำลองกายภาพที่ใช้อัตราการย่อขนาดเท่ากับ </span>1:50<span lang="TH"> โดยใช้ทรายสะอาดในการจำลองชั้นดินในสนาม และทำการวิเคราะห์พื้นที่วงอิทธิพลจากแผนภูมิของความเครียดสูงสุดจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายด้วยวิธีดิจิทัลอิมเมจคอร์รีเลชั่น จากงานวิจัยนี้พบว่า </span>1. <span lang="TH">กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเดี่ยวมีค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าถึงสามเท่าเมื่อทำให้ปลายเสาเข็มขยายตัว </span>2. <span lang="TH">การเพิ่มจำนวนปีกไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการเพิ่มกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเดี่ยวและกลุ่มเสาเข็ม </span>3. <span lang="TH">การเพิ่มระยะห่างในแนวราบระหว่างเสาเข็มจะทำให้กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้น และ</span> 4. <span lang="TH">การเพิ่มขึ้นของกำลังรับน้ำหนักในเสาเข็มสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของพื้นที่วงอิทธิพลที่เกิดขึ้น กล่าวคือ การที่เสาเข็มเดี่ยวมีส่วนปีกเพิ่มขึ้นทำให้พื้นที่วงอิทธิพลมีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อกลุ่มเสาเข็มที่มีระยะห่างระหว่างเสาเข็มที่เพิ่มขึ้นการซ้อนทับของวงอิทธิพลจะลดลง ทำให้พื้นที่รวมของวงอิทธิพลมีค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้นค่ากำลังรับน้ำหนักและประสิทธิภาพการรับน้ำหนักของเสาเข็มเดี่ยวและกลุ่มเสาเข็มสามารถอธิบายได้จากพื้นที่วงอิทธิพล</span></p> 2021-06-24T10:07:05+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/787 อิทธิพลของจำนวนรอบและระดับน้ำขึ้นลงต่อการกัดเซาะของดินกระจายตัว - การศึกษาด้วยแบบจำลองกายภาพ 2021-06-28T15:49:25+07:00 วรัช ก้องกิจกุล warat.kon@kmutt.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของจำนวนรอบและระดับน้ำขึ้นลงต่อการกัดเซาะของดินกระจายตัว โดยใช้แบบจำลองกายภาพจำลองปรากฏการณ์น้ำขึ้นลงซึ่งทำให้เกิดการไหลซึมผ่านชั้นดิน ตัวอย่างดินที่ใช้ทดสอบมีทั้งหมด </span>4 <span lang="TH">ชนิด ซึ่งมีค่าร้อยละการกระจายตัวที่แตกต่างกันเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละการกระจายตัวของตัวอย่างดิน (%</span>D), <span lang="TH">จำนวนรอบน้ำขึ้นลง (</span>N<sub>c</sub>) <span lang="TH">และปริมาณอนุภาคแขวนลอยของดินในน้ำ (</span>M) <span lang="TH">ที่อายุการออกแบบ จากผลการศึกษาพบว่า </span>1. <span lang="TH">เมื่อจำนวนรอบน้ำขึ้นลงเพิ่มขึ้น อนุภาคของดินจะถูกพัดพาออกมาตามจำนวนรอบด้วยอัตราที่ช้าลงจนกระทั่งอัตราคงที่ แต่ในดินกระจายตัวเมื่อจำนวนรอบยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป อัตราการพัดพาอนุภาคของดินที่ออกมากับจำนวนรอบจะกลับมาเพิ่มขึ้น </span>2. <span lang="TH">เมื่อเปรียบเทียบที่จำนวนรอบเท่ากัน ดินที่มีร้อยละการกระจายตัวมากกว่าจะมีปริมาณอนุภาคของดินที่ถูกพัดพาออกมามากกว่า และ </span>3. <span lang="TH">มวลของอนุภาคของดินที่ถูกพัดพาออกมามีความสัมพันธ์กับค่าร้อยละการกระจายตัวของดิน (%</span>D) <span lang="TH">และจำนวนรอบ (</span>N<sub>c</sub>) <span lang="TH">ซึ่งสามารถทำนายด้วยสมการเชิงประจักษ์ที่นำเสนอในงานวิจัยนี้</span></p> 2021-06-24T10:07:38+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/798 การใช้อุณหภูมิเพื่อเร่งการเกิดความเครียดคงค้างเมื่อตาข่ายเสริมกำลังชนิดโพลิโพรไพลีนรับแรงแบบวัฏจักร 2021-06-28T15:54:29+07:00 วรกมล บัวแสงจันทร์ worakamol.bua@mail.kmutt.ac.th วรัช ก้องกิจกุล warat.kon@mail.kmutt.ac.th <p>ปัจจุบัน งานก่อสร้างโครงสร้างดินเสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์ได้รับความนิยมเป็นอย่างแพร่หลายในงานด้านวิศวกรรมเทคนิคธรณี เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับราคา แต่หากเปรียบเทียบกับวัสดุเสริมแรงชนิดอื่น อาทิ แถบเหล็กเสริมแรง จะเห็นได้ว่าวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์สามารถเกิดการเสียรูปได้สูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับแรงแบบวัฏจักรความเครียดที่เกิดขึ้นในวัสดุเสริมแรงมีทั้งส่วนที่สามารถกลับคืนมาได้เมื่อมีการถอนแรง และส่วนที่ไม่สามารถกลับคืนได้แม้ทำการถอนแรงแล้ว หรือที่เรียกว่าความเครียดคงค้าง งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาเกี่ยวกับการใช้อุณหภูมิในการเร่งการเกิดความเครียดคงค้างของตาข่ายเสริมกำลังโพลิเมอร์ชนิดโพลิโพรไพลีน (PP) เมื่อรับแรงแบบวัฏจักร (Cyclic residual strain) โดยทำการทดสอบแรงดึงด้วยเงื่อนไขการให้แรงและอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. แรงกระทำแบบต่อเนื่อง (Monotonic loading, ML) ภายใต้อุณหภูมิคงที่ (Constant temperature, CT) (ML-CT) ที่ 30, 35, 40, 45 และ 50 <sup>o</sup>C 2. แรงกระทำแบบ&nbsp;&nbsp; วัฏจักร (Cyclic loading, CL) ภายใต้การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเป็นลำดับขั้น (Stepped by increased temperature, SIT) (CL-SIT) จาก 30 -&gt; 35 -&gt; 40 -&gt; 45 -&gt; 50 <sup>o</sup>C และ 3. แรงกระทำแบบวัฏจักร (CL) ภายใต้อุณหภูมิคงที่ (CT) (CL-CT) ที่ 30 <sup>o</sup>C จากการศึกษาพบว่าค่าความเครียดคงค้างของตาข่ายเสริมกำลังโพลิเมอร์ชนิดโพลิโพรไพลีนเมื่อรับแรงแบบวัฏจักรที่ได้จากการทดสอบแบบ CL-SIT สามารถใช้ในการทำนายค่าความเครียดคงค้างเมื่อรับแรงแบบวัฏจักรในระยะยาว (CL-CT) ได้</p> 2021-06-24T10:08:21+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/802 อิทธิพลของไฟเบอร์และแผ่นตาข่ายเสริมกำลังต่อกำลังอัดและความแข็งแกร่งของทรายในการ ทดสอบแรงอัดสามแกน 2021-06-28T16:19:53+07:00 ปัญจพาณ์นนท์ ชัยวาณิชยา panjapanon.ch@mail.kmutt.ac.th วรัช ก้องกิจกุล warat.kon@kmutt.ac.th <p>การเพิ่มกำลังรับน้ำหนักแก่ดินในปัจจุบันไม่ได้มีแค่การเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังเพียงเท่านั้น ยังมีการเพิ่มกำลังด้วยการผสมวัสดุดินถมด้วยเส้นใยไฟเบอร์อีกด้วย อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยในอดีตพบว่าการศึกษาเกี่ยวกับการเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังร่วมกับการผสมวัสดุดินถมด้วยเส้นใยไฟเบอร์ ยังคงมีจำนวนน้อยมากงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาอิทธิพลของการใช้เส้นใยโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ (Polyvinyl alcohol, PVA) ผสมกับทรายสะอาดร่วมกับการเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังสองทิศทาง (biaxial geogrid) ประเภทโพลีเอสเตอร์ (Polyester) โดยทำการทดสอบแรงอัดสามแกนแบบระบายน้ำ ตัวอย่างทรายที่ใช้มีรูปทรงปริซึมขนาด 12x12x12 ซม. เตรียมจากทรายสะอาดที่ผสมด้วยเส้นใย PVA ที่ร้อยละ 0, 0.2, 0.4, 0.8 และ 1.0 โดยน้ำหนักของทรายแห้งและไม่เสริมหรือเสริมแรงด้วยตาข่ายเสริมกำลังจำนวน 3 ชั้น ผลการศึกษาพบว่าการเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังร่วมกับการผสมทรายด้วยเส้นใยไฟเบอร์ช่วยเพิ่มค่ากำลังรับแรงอัด นอกจากนี้หากเพิ่มปริมาณเส้นใยไฟเบอร์ในทรายจะส่งผลให้ความสามารถในการต้านทานแรงเฉือนสูงสุดมีค่าเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับทรายไม่เสริมกำลัง</p> 2021-06-24T10:08:58+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/812 สมรรถนะของคันทางรองรับด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์และเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนไม้ 2021-06-28T16:55:41+07:00 กังวาน กานดาวรวงศ์ kangwan.kan@mail.kmutt.ac.th ชนา พุทธนานนท์ chana.put13@gmail.com พรเกษม จงประดิษฐ์ pornkasem.jon@kmutt.ac.th <p>การปรับปรุงคุณภาพดินมีความจำเป็นในงานก่อสร้างคันทางถนนบนดินฐานรากที่มีกำลังรับแรงแบกทานต่ำและความยุบตัวสูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการทรุดตัวส่วนเกิน การเคลื่อนตัวด้านข้างสูงรวมถึงปัญหาเรื่องเสถียรภาพของคันทาง โดยงานวิจัยในอดีตยืนยันว่าเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนคอนกรีตมีสมรรถนะเหนือกว่าเสาเข็มดินซีเมนต์แบบปกติเมื่อรองรับน้ำหนักจากคันทาง ถึงแม้จะมีการศึกษาว่ากำลังรับแรงแบกแทนตามแนวแกนของเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนไม้มีความใกล้เคียงกับเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนคอนกรีต แต่ยังไม่มีงานวิจัยยืนยันว่าเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนไม้จะมีสมรรถนะที่ดีเมื่อรองรับคันทางที่มีแรงกระทำด้านข้างรวมถึงโมเมนต์ดัดภายในเสาเข็ม งานวิจัยนี้วิเคราะห์และเปรียบเทียบสมรรถนะของเสาเข็มดินซีเมนต์แบบปกติกับเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนไม้รองรับคันทางด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ กรณึศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้คือทางหลวงหมายเลข 3117 (บางบ่อ-คลองด่าน) ซึ่งก่อสร้างบนชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพและปรับปรุงคุณภาพดินโดยใช้เสาเข็มดินซีเมนต์ ผลตรวจวัดในสนามถูกนำมาใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์ รวมถึงศึกษาอิทธิพลของพารามิเตอร์ต่อสมรรถนะของคันทาง จากผลการวิเคราะห์พบว่าคันทางรองรับด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนไม้ที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดของเสาเข็มเล็กกว่า มีสมรรถนะที่สูงกว่าคันทางรองรับด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์แบบปกติ การเพิ่มกำลังและพื้นที่หน้าตัดของเสาเข็มทำให้สมรรถนะของคันทางเพิ่มขึ้น สำหรับเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนไม้ ความยาวของแกนเสริมมีผลกระทบต่อสมรรถนะของคันทางมากกว่าพื้นที่หน้าตัดของแกนเสริม</p> 2021-06-24T10:09:31+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/818 การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของคันทางรองรับด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกน 2021-07-01T15:59:45+07:00 ศศิพิมพ์ แสนบุญศิริ sasipim.736@mail.kmutt.ac.th ชนา พุทธนานนท์ chana.put13@gmail.com พรเกษม จงประดิษฐ์ pornkasem.jon@kmutt.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมคันทางบนดินอ่อนรองรับด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกน โดยทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับต้นทุนการก่อสร้างของคันทางที่รองรับด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนกับเสาเข็มดินซีเมนต์ปกติ งานศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลขโดยใช้แบบจำลองสามมิติแบบสมมาตรเพื่อตรวจสอบตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อสมรรถนะของคันทาง ซึ่งทำการศึกษาเสาเข็มสามประเภท คือเสาเข็มดินซีเมนต์ เสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนคอนกรีต และเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนไม้ โดยควบคุมราคาการก่อสร้างของเสาเข็มดินซีเมนต์และเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนคอนกรีตให้เท่ากัน และใช้ขนาดแกนไม้เท่ากับแกนคอนกรีต จากการศึกษาพบว่า การใช้เสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนคอนกรีตสามารถลดการทรุดตัว การเคลื่อนตัวด้านข้าง และการทรุดตัวที่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเสาเข็มดินซีเมนต์ แต่เมื่อเปรียบเทียบการใช้แกนคอนกรีตกับแกนไม้ พบว่าพฤติกรรมของเสาเข็มแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ในขณะที่แกนไม้ใช้ราคาก่อสร้างที่ต่ำกว่ามาก เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของคันทางในด้านต่าง ๆ กับต้นทุนค่าก่อสร้าง พบว่า ต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเสาเข็มได้ในช่วงแรกเท่านั้น เมื่อถึงจุดหนึ่ง การเพิ่มต้นทุนค่าก่อสร้างไม่มีนัยสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของเสาเข็มในการรองรับคันทาง</span></p> 2021-06-24T10:10:01+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/955 ผลของความล่าช้าในการบดอัดต่อกำลังของพื้นทางหินคลุกผสมซีเมนต์ 2021-07-01T16:00:26+07:00 Apichit Kampala apichit.ku@rmuti.ac.th <p>เทคนิคการปรับปรุงดินด้วยซีเมนต์แบบผสมตื้น เป็นหนึ่งวิธีในการประยุกต์ใช้ซีเมนต์ในการปรับปรุงวัสดุงานทาง ซึ่งเป็นดินแข็งที่มีปริมาณความชื้นต่ำ ในการปรับปรุงดินด้วยวิธีนี้นั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการบดอัดเพื่อให้อนุภาคดิน น้ำ และซีเมนต์รวมเป็นเนื้อเดียวกัน การพัฒนากำลังของดินซีเมนต์แบบเป็นจะผลมาจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นที่เกิดขึ้นระหว่างซีเมนต์และน้ำ โดยการก่อตัวจะเริ่มขึ้นหลังจากที่ซีเมนต์สัมพันธ์กับน้ำแล้วประมาณ 2-3 ชั่วโมง ดังนั้น ในมาตรฐานการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ของกรมทางหลวง ระยะเวลาในการทำงาน ตั้งแต่การการเริ่มผสมจนกระทั่งบดอัดแล้วเสร็จ ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ที่มีพื้นที่ในการก่อสร้างจำกัดและมีการเปิดการจราจรในเส้นทางที่ก่อสร้าง อาจทำให้เกิดความล่าในการบดอัด งานวิจัยนี้จะนำเสนอผลการทดสอบกำลังของดินตัวอย่างผสมซีเมนต์ เพื่อวัดความสามารถในการทำงาน โดยการทดสอบจะทำการแปรผันความล่าช้าในการบดอัดเป็นเวลา 1, 2, 3 และ 4 ชั่วโมง ภายหลังการผสม ผลจากการทดสอบ พบว่า การใช้ปริมาณซีเมนต์ที่สูงขึ้นมีผลทำให้สามารถมีเวลาในการบดอัดที่สูงขึ้น การผสมซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 2 ของน้ำหนักดินแห้ง สามารถทำการบดอัดได้ในภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง สำหรับหินคลุกผสมซีเมนต์ และ การผสมซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 4 ของน้ำหนักดินแห้ง สามารถทำการบดอัดได้ในภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง สำหรับหินคลุกและวัสดุผิวทางหมุนเวียนผสมซีเมนต์</p> 2021-06-24T10:10:35+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1077 การศึกษาคุณสมบัติของมวลรวมที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์สำหรับงานทาง 2021-07-01T16:01:07+07:00 ไอรดาภรณ์ หาดแก้ว Iradapron@gmail.com กรกฎ นุสิทธิ์ Korakod@nu.ac.th พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม iradapron@gmail.com สุริยาวุธ ประอ้าย iradapron@gmail.com ณัฐนนท์ คุ้มครุฑ iradapron@gmail.com <p>ในปัจจุบันการจราจรที่มากขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างชั้นทางมีการรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นอายุการใช้งานจึงสั้นลง อีกทั้งบางพื้นที่ถนนอาจมีน้ำท่วมขัง ทำให้เกิดความชื้น (Moisture) และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ชั้นทางเกิดการทรุดตัว โครงการนี้จึงได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของมวลรวมที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์ โดยการทดสอบนี้ใช้มวลรวมคือ หินคลุก และวัสดุผิวทางเก่า นำมาปรับปรุงคุณภาพซีเมนต์พอลิเมอร์ชนิดสไตรีนอะคริลิค (SA) และพอลิเมอร์สไตรีนบิวตาไดอีน (SBR) จากนั้นทำการทดสอบด้านกำลังรับแรงได้แก่ การทดสอบกำลังรับแรง<br>อัดแกนเดียว (UCS) และการทดสอบกำลังรับแรงดึงทางอ้อม (IDT) และการทดสอบด้านทนทานความชื้นได้แก่ การทดสอบการดูดซึมน้ำในมวลดิน และการทดสอบความทนทาน (Durability Test) โดยวิธีเปียกสลับแห้ง ผลทดสอบพบว่า กำลังรับแรงอัดของวัสดุที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์ทั้งสองประเภทของหินคลุกมีค่าสูงกว่าวัสดุผิวทางเก่า ตรงกันข้ามผลการทดสอบกำลังรับแรงดึงทางอ้อมของวัสดุที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์<br>ทั้งสองประเภทของวัสดุผิวทางเก่ามีค่าสูงหินคลุก อีกทั้งผลการทดสอบการดูดซึมน้ำในมวลดิน และการทดสอบความทนทานของทั้งสองวัสดุพบว่าการปรับปรุงมวลรวมด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์ชนิดพอลิเมอร์สไตรีนบิวตาไดอีน (SBR) ส่งผลดีในด้านการทนทานความชื้น</p> 2021-06-24T10:11:19+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1081 การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของพฤติกรรมการคืบของหินดินเหนียวแม่เมาะ 2021-07-01T16:02:05+07:00 กตัญญู นิรันดร์กุลสิทธิ์ namo_2540@hotmail.com พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม peerapong@eng.cmu.ac.th <p>เหมืองถ่านหินแม่เมาะเป็นเหมืองเปิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันเหมืองมีการดำเนินงานขุดเหมืองอย่างต่อเนื่องและจะมีการดำเนินการทำเหมือนต่อไปที่ระดับความลึกที่มากกว่า 300 เมตรในอนาคต ซึ่งจะต้องคำนึงถึงเสถียรภาพในระยาวของบ่อเหมือง ที่มีหินดินเหนียว (Claystone) เป็นองค์ประกอบหลักของลาดเหมืองแม่เมาะ โดยการคืบ(Creep) ซึ่งเป็นคุณสมบัติด้านการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเวลาของวัสดุ ภายใต้สภาวะความเค้นคงที่เป็นเวลานาน ดังนั้นการขุดเปิดเหมืองในระดับลึกจะส่งผลโดยตรงต่อการคืบของลาดเหมืองแม่เมาะและจะยังผลต่อเสถียรภาพของลาดเหมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บทความนี้เป็นการศึกษาและจำลองพฤติกรรมการคืบของหินดินเหนียวแม่เมาะบนพื้นฐานการทดสอบการคืบหลายระดับ(muti-stage creep tests) ที่ได้รับการออกแบบเพื่อทดสอบโดยเฉพาะ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการคืบถูกนำมาใช้ในการจำลองพฤติกรรมการคืบของหินดินเหนียวแม่เมาะ 3 แบบจำลอง ได้แก่ Maxwell model, Kelvin model และ Bugers Creep model จากการศึกษาพบว่าแบบจำลอง Bugers Creep model มีความสัมพันธ์ที่ดี มีความสอดคล้องกันระหว่างผลการทดสอบกับแบบจำลอง ซึ่งสามารถนำแบบจำลองนี้มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมการคืบของหินดินเหนียวแม่เมาะได้</p> 2021-06-24T10:21:32+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1084 การศึกษารูปแบบเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมกำลังกำแพงเข็มพืดโดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ 2021-07-01T16:02:50+07:00 พเนส โอภากุลวงษ์ panes.opa@hotmail.com ศลิษา ไชยพุทธ salisa.ch@kmitl.ac.th ธนาดล คงสมบูรณ์ thanadol.ko@kmitl.ac.th <p class="Text1">ปัจจุบันการก่อสร้างและออกแบบอาคารสูงในกรุงเทพมหานครนิยมออกแบบให้มีชั้นใต้ดินเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า การก่อสร้างชั้นใต้ดินนิยมใช้กำแพงเข็มพืดเป็นระบบป้องกันแรงดันดินด้านข้าง เนื่องจากระบบกำแพงเข็มพืดใช้พื้นที่น้อยเมื่อเทียบกับโครงสร้างในระบบอื่น งานวิจัยนี้เป็นการศึกษารูปแบบของเสาเข็มดินซีเมนต์ (Soil Cement Columns, SCC) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกำแพงเข็มพืด (Sheet pile) แบบมีค้ำยันในงานขุดดินลึก 7 เมตร โดยมีการศึกษา 3 รูปแบบประกอบด้วย รูปแบบกำแพงเข็มพืดแบบไม่เสริมกำลังด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์ รูปแบบกำแพงเข็มพืดประกบด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์ในแนวตั้ง และรูปแบบกำแพงเข็มพืดเสริมเสาเข็มดินซีเมนต์ในแนวนอนใต้ระดับบ่อขุดดิน ผลจากการตรวจวัดการเคลื่อนตัวในแนวราบด้วยมาตรวัดการเอียงตัว (Inclinometer) ในพื้นที่ก่อสร้าง ถูกนำมาเปรียบเทียบกับผลการเคลื่อนตัวจากการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อหารูปแบบของเสาเข็มดินซีเมนต์ที่เหมาะสมช่วยลดการเคลื่อนตัวของกำแพงเข็มพืด จากการศึกษาพบว่าการใช้รูปแบบเสาเข็มดินซีเมนต์ในแนวนอนใต้ระดับขุดดิน สามารถลดการเคลื่อนตัวของกำแพงเข็มพืดได้มากที่สุด 12.7 % นอกจากนี้รูปแบบกำแพงเข็มพืดเสริมเสาเข็มดินซีเมนต์ในแนวนอนใต้ระดับบ่อขุดดิน ยังช่วยให้การขุดดินสามารถทำได้โดยสะดวกมากขึ้นกว่ารูปแบบกำแพงเข็มพืดประกบด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์ในแนวตั้ง</p> 2021-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1086 อิทธิพลของขนาดคละต่อกำลังรับแรงของหินคลุกผสมซีเมนต์พอลิเมอร์สำหรับชั้นพื้นทาง 2021-07-01T16:03:32+07:00 ณัฐนนท์ คุ้มครุฑ nattanonk40@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของขนาดคละที่ส่งผลต่อกำลังรับแรงของหินคลุกผสม ซีเมนต์-พอลิเมอร์<br>(cement-Polymer mixture) สำหรับงานชั้นพื้นทาง โดยทำการปรับขนาดคละของหินคลุกแหล่งเดียวกัน แบ่งตัวอย่างเป็น 3 ประเภท คือ หินคลุก<br>มวลรวมปกติหินคลุกมวลละเอียดร้อยละ 20 และหินคลุกมวลละเอียดร้อยละ 30 จากนั้นทำการปรับปรุงคุณภาพด้วยซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่<br>1 และ พอลิเมอร์(Polymer) ชนิดสไตรีนอะคริลิค (SA) เป็นสารผสมเพิ่มในอัตราส่วนผสมซีเมนต์พอลิเมอร์90:10 ที่อายุการบ่ม 7 วัน และ 28 วัน<br>นำมาทดสอบกำลังรับแรงทั้งกำลังอัดแกนเดียว(Unconfined Compression Test) และทดสอบหากำลังการรับแรงดึงทางอ้อม (Indirect Tensile<br>Strength) ตามมาตรฐานกรมทางหลวง และได้มีทำการทดสอบหากำลังรับน้ำหนักของดินที่บดอัด (California Bearing Ratio) ที่อายุบ่ม 7 วัน จาก<br>ผลการทดสอบพบว่าเมื่ออัตราส่วนของปริมาณมวลละเอียดเพิ่มขึ้น อิทธิพลของขนาดคละจะส่งผลทำให้ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวและกำลังรับแรง<br>ดึงทางอ้อมที่อายุบ่ม 7 และ 28 วัน มีค่ากำลังรับแรงลดลงและมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ และเมื่ออัตราส่วนของปริมาณมวลละเอียดเพิ่มขึ้น อิทธิพล<br>ของขนาดคละจะส่งผลทำให้ค่า ซี.บี.อาร์ของวิธีการทดสอบแบบแช่น้ำ และแบบไม่แช่น้ำ มีแนวโน้มลดลง</p> 2021-06-24T10:25:17+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1093 การใช้หญ้าแฝกและจุลินทรีย์เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในห้องปฏิบัติการ 2021-07-01T16:06:02+07:00 รัตติยา ไชยรา s6001081814062@email.kmutnb.ac.th พิทยา แจ่มสว่าง pitthaya_kmutnb@hotmail.com อุทัยฤทธิ์ โรจนวิภาต uthairith.r@eng.kmutnb.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังรับแรงเฉือนของดินทรายเสริมกำลังด้วยหญ้าแฝกควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตโดยจุลินทรีย์ (MICP) เพื่อควบคุมการชะล้างพังทลายของดินทราย โดยการทดสอบกำลังรับแรงเฉือนในห้องปฏิบัติการสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ ดินทรายที่ไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพ, ดินทรายเสริมกำลังด้วยหญ้าแฝก, ดินทรายปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการ MICP และดินทรายเสริมกำลังด้วยหญ้าแฝกควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการ MICP ผลการศึกษาพบว่า ดินทรายที่ไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพจะมีค่ากำลังยึดเกาะเท่ากับ 2.7 กิโลปาสคาล ในขณะที่ดินทรายเสริมกำลังด้วยหญ้าแฝก, ดินทรายปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการ MICP และดินทรายเสริมกำลังด้วยหญ้าแฝกควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการ MICP จะมีค่ากำลังยึดเกาะเท่ากับ 7.3, 16.0 และ 18.9 กิโลปาสคาลตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับอัตราส่วนการปรับปรุงที่ 2.7, 5.9 และ 6.0 เท่าของดินทรายที่ไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพ อย่างไรก็ตามการเพิ่มกำลังด้วยการใช้หญ้าแฝกควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการ MICP มีผลเล็กน้อยต่อมุมเสียดทานภายใน ซึ่งผลจากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) แสดงให้เห็นถึงผลึกของแคลไซต์และธาตุประกอบของแคลเซียม โดยผลึกของแคลไซต์จะถูกเติมเต็มเข้าไปในช่องว่างระหว่างอนุภาคของเม็ดทราย เนื่องจากตัวอย่างดินทรายที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการ MICP จะทำให้ค่ากำลังยึดเกาะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการใช้หญ้าแฝกควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการ MICP จะช่วยให้กำลังรับแรงเฉือนมีค่าเพิ่มมากขึ้นและช่วยลดปัญหาการพังทลายของดินทราย</p> 2021-06-24T10:25:53+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1180 การศึกษากำแพงกันดินจากอิฐประสานแบบจุดต่อแห้งเสริมแรง GFRP 2021-07-01T16:07:46+07:00 อัตพล บุบพิ attaphol009tum@gmail.com <p>โครงการนี้เป็นการศึกษาแบบจ าลองก าแพงกันดิน โดยใช้อิฐประสานเสริมแรงด้วย GFRP, มีวัตถุประสงค์หลัก คือการศึกษาพฤติกรรมการ<br>เคลื่อนตัวในแนวราบของก าแพงกันดินที่สร้างจาก อิฐประสานในลักษณะก่อครึ่งแผ่นแบบจุดต่อแห้งมีGFRP เสริมแรงให้แรงโดยที่ 10 ปอนด์20 <br>ปอนด์และ 30 ปอนด์ขนาดของก าแพงกันดิน กว้าง 2 เมตร สูง 1.6 เมตร หนา 0.1 เมตร เสริมแรงด้วย GFRP ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 <br>มิลลิเมตร จ านวน 16 เส้น โดยจ าลองให้แรงดันดินด้านข้างผ่านการทรุดตัวของทรายภายในโมลเหล็กและมีการวัดการเคลื่อนที่ในแนวราบของ<br>ก าแพง ผลการทดสอบการเคลื่อนที่ของก าแพงกันดินอิฐประสาน, มีค่าการเคลื่อนตัวในแนวราบสูงสุดที่ 4.87,4.42,3.25 มิลลิเมตร. ตามล าดับ<br>GFRP เป็นวัสดุทางเลือกใหม่ส าหรับก าแพงกันดินเนื่องจากรับแรงดึงได้ดีและวัสดุไม่เกิดสนิมเมื่ออยู่ในความชื้นใต้ดิน<br>ค าส าคัญ: ก าแพงกันดินอิฐประสาน ,เสริมแรง ,ไฟเบอร์กลาส</p> 2021-06-24T10:26:29+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/849 ความสัมพันธ์ระหว่าง N-Value จากการทดสอบเจาะทะลุทะลวงมาตรฐาน (SPT) กับมุมเสียดทานภายในสำหรับทรายกรุงเทพฯ 2021-07-01T16:08:28+07:00 คณิติน วงษ์สละ kanitin.w@mail.kmutt.ac.th สมโพธิ อยู่ไว sompote.you@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่า N ของการเจาะทะลุทะลวงมาตรฐานกับมุมเสียดทานภายในของทรายกรุงเทพโดยมีความความหนาแน่นสัมพัทธ์ที่แตกต่างกัน การหาความสัมพันธ์ดังกล่าวหาได้จากการทดสอบโดยใช้อุปกรณ์สอบเทียบที่พัฒนาขึ้นในห้องปฏิบัติการในสภาพความหนาแน่นของทรายกรุงเทพที่แตกต่างกัน นอกจากนี้งานวิจัยยังทดสอบหาความสัมพันธ์ของค่ามุมเสียดทานภายในของทรายกรุงเทพกับความหนาแน่นโดยใช้การทดสอบการอัดตัวแบบสามแกน จากผลการทดสอบจะได้ว่า ค่า N แปรผันตรงกับความหนาแน่นสัมพัทธ์ของทรายและมุมเสียดทานภายในของทรายกรุงเทพ งานวิจัยนี้ยังได้นำเสนอสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่ามุมเสียดทานภายในของทรายกรุงเทพและค่า N ของการเจาะทะลุทะลวงมาตรฐานในสภาพความหนาแน่นสัมพัทธ์ที่แตกต่างกันของทรายกรุงเทพ ความสัมพันธ์ที่นำเสนอดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการออกแบบฐานรากในชั้นดินกรุงเทพ</p> 2021-06-24T10:27:20+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1024 Application of Ground Improvement for Launching and Arrival of TBM Shield Machine on MRT Orange Line (East Section) Project 2021-07-01T16:09:11+07:00 Ochok Duangsano ochok_d@gfe.co.th Wiset Jangjit wiset_j@gfe.co.th Auttakit Asanprakit auttakit_a@gfe.co.th Chinawut Chanchaya chinawut999@gmail.com Keerati Muangsaen keerati_ck@yahoo.com <p>Ground stabilization and improvement techniques play a significant role in successful implementation of soft ground tunnelling in urban areas. Many methods have been recently utilized to solve geotechnical problems. However, jet grouting is the most typical one which commonly adopted in various manners in tunnelling works, particularly launching and arrival of tunnel boring machine (TBM) at underground stations, intervention shafts and transition between cut &amp; cover tunnel and bored tunnel. The main purposes of jet grouting at these locations are to enhance strength of soil deposits, to ensure the stability at the face of the TBM, to avoid the inflow of groundwater inside the underground structures, and to limit the potential settlements on the surface. Moreover, a special operation of the TBM for break-in and break-out is required to avoid risk of instability and the excessive loads on diaphragm walls. Therefore, this paper aims to introduce design concepts and criteria of ground improvement techniques by jet grouting for TBM break-in and break-out in Bangkok subsoil conditions on the MRT Orange Line (East Section) project. In addition, verification of the effectiveness of the provided ground improvement, the main procedures in practice used for work operations and the major details for construction are also presented.</p> 2021-06-24T10:27:50+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1151 ตัวแปรแสดงสถานะของดินเหนียวที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์ในสภาวะความเค้นที่แตกต่างกัน 2021-07-01T16:09:51+07:00 นายศุภณัฐ ดิ้นเมือง nuts1995@hotmail.com <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของดินเหนียวป่าสักที่ถูกปรับปรุงด้วยซีเมนต์ที่สภาวะของความเค้นที่ต่างกันไปด้วยการทดสอบแรงอัดสามแกน นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอตัวแปรแสดงสถานะ (y<sub>i</sub>) ที่เหมาะสมของดินชนิดนี้รวมทั้งมีการหาสมการอัตราส่วนช่องว่างประสิทธิผลของดินที่สภาวะคงค้างอีกด้วย (effective void ratio at steady state ) จากผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรแสดงสถานะสามารถใช้แสดงพฤติกรรมของดินเหนียวผสมซีเมนต์ได้ กำลังและความแข็งแรงของดินเหนียวป่าสักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อค่าตัวแปรแสดงสถานะลดลง สมการที่พัฒนามาจากตัวแปรแสดงสถานะสามารถทำนายค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำของดินเหนียวป่าสักผสมซีเมนต์ได้เป็นอย่างดี งานวิจัยนี้ยังมีการนำเสนอเส้นการตอบสนองของความเค้นที่มีต่อการเพิ่มขึ้นความเครียดของดินเหนียวป่าสักผสมซีเมนต์ที่มีอัตราส่วนผสมของซีเมนต์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีการนำเสนอสมการอัตราส่วนช่องว่างประสิทธิผลของดินที่สภาวะคงค้าง (e<sub>ssl</sub>) อีกด้วย</p> 2021-06-24T10:28:24+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/813 การทำนายความผิดปกติทางธรณีวิทยาบริเวณหน้าอุโมงค์ด้วยคลื่นไหวสะเทือน 2021-07-01T16:10:27+07:00 พลพัชร นิลวัชราภรณ์ Ponlapat.nil@gmail.com <div class="page" title="Page 1"> <div class="layoutArea"> <div class="column"> <p>ความผิดปกติทางธรณีวิทยา เช่น บริเวณที่ชั้นหินแตกต่างจากสภาพโดยรอบ บริเวณโพรงถํ้าที่มีปริมาณนํ้าสูง อาจทําให้เกิดปัญหาในระหว่าง การขุดเจาะอุโมงค์ได้ เช่น การสูญเสียเสถียรภาพของหน้าอุโมงค์ การไหลทะลักของนํ้า และประสิทธิภาพในการขุดเจาะที่ลดลง ดังนั้นการทราบถึง ตําแหน่งของความผิดปกติทางธรณีวิทยาล่วงหน้าจึงเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนความปลอดภัย และแผนปฏิบัติงานขุดเจาะอุโมงค์ ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยไดศ้ึกษาความเป็นไปได้ในการนําเทคนิคการตรวจวัดแบบTunnelSeismicPredictionมาคาดการณ์ความผิดปกติทางธรณีวิทยาบริเวณหน้า อุโมงค์ โดยจําลองการแพร่กระจายคลื่นแบบสังเคราะห์ด้วยวิธี Spectral Element Method ในแบบจําลองชั้นหินที่มีความผิดปกติทางธรณีวิทยา แล้วนําข้อมูลคลื่นที่สังเคราะห์ได้มาประมวลผลด้วยฟิลเตอร์แบบ F-K และการแปลผลแบบ Kirchhoff’s migration โดยคํานึงถึงทิศทางในการสั่น ไหวของคลื่น จากการศึกษาพบว่าวิธีการดังกล่าวตัดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากคลื่นสะท้อนในทิศทางที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ และทําให้สามารถ ทํานายตําแหน่งของความผิดปกติทางธรณีวิทยาได้ใกล้เคียงกับแบบจําลองตั้งต้นที่ใช้ในการสร้างคลื่นสังเคราะห์ได้</p> </div> </div> </div> 2021-06-24T10:28:54+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/827 พฤติกรรมแผ่นคอนกรีตดาดหน้าภายใต้แรงแผ่นดินไหวของเขื่อนหินถมดาดหน้าคอนกรีต 2021-07-01T16:11:08+07:00 ชยุตม์ ฐิติรัตน์เอกลาภ Chayut.g@mail.kmutt.ac.th <p>ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยเกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางถึงรุนแรง เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้รับความสนใจทั้งในวงวิชาการและวิศวกรรม บทความนี้ทำการศึกษาการวิเคราะห์แผ่นดินไหวของเขื่อนหินถมดาดหน้าคอนกรีตผ่านการจำลองเชิงตัวเลขโดยมุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบของแผ่นดาดหน้าคอนกรีตเป็นหลัก โดยเขื่อนน้ำงึ้ม 2 ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่และมีความสูง 182 เมตร จะถูกใช้เป็นกรณีศึกษาและใช้ชุดข้อมูลจากการทดสอบที่รวบรวมจากเขื่อนน้ำงึม 2 การวิเคราะห์ทำโดยใช้ไฟไนท์เอลิเมนต์แบบสามมิติ วัสดุหินถมถูกจำลองด้วยโดยแบบจำลองการแข็งตัวด้วยความเครียดที่ความเครียดต่ำ โดยการตอบสนองของเขื่อนหินถมดาดหน้าคอนกรีตภายใต้แรงแผ่นดินไหวถูกเปรียบเทียบเพื่อหาความจำเป็นในการวิเคราะห์แผ่นดินไหวของเขื่อนหินถมดาดหน้าคอนกรีต การกระจายความเค้นและการเสียรูปของแผ่นคอนกรีตถูกนำเสนอภายใต้การพิจารณาแบบคงที่และแบบไดนามิก จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้คือแนวทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับการออกแบบเขื่อนหินถมดาดหน้าคอนกรีตภายใต้แผ่นดินไหว</p> 2021-06-24T10:29:26+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1069 การอัดตัวคายน้ำของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์ 2021-07-01T16:12:42+07:00 ศุภกร ลือพงศ์พัฒนะ supakorn-13@hotmail.com <p>บทความนี้ศึกษาการอัดตัวคายน้ำของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์ ดินเหนียวอ่อนเก็บที่ความลึก 5-8 เมตร บริเวณคลองเตย กรุงเทพฯ ตัวแปรต้นที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ปริมาณความชื้นของดินเหนียวอ่อน (W<sub>n</sub>) เท่ากับ 1LL, 2LL และ 3LL (LL คือขีดจำกัดเหลว) และอัตราส่วนดินเหนียวอ่อนต่อเถ้าลอย (SC:FA) เท่ากับ 90:10, 70:30 และ 50:50 ในขณะที่อัตราส่วนอัลคาไลน์ต่อเถ้าลอยเท่ากับ 0.6 อัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Na<sub>2</sub>SiO<sub>3</sub>/NaOH) เท่ากับ 1 และความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 8 โมลาร์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปริมาณความชื้น (W<sub>n</sub>) และอัตราส่วนดินเหนียวอ่อนต่อเถ้าลอย (SC:FA) ส่งผลกระทบต่อค่าการทรุดตัวของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์ การทรุดตัวของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณช่องว่างในตัวอย่างเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการทรุดตัวของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์มีค่าลดลงตามปริมาณเถ้าลอยเพิ่มขึ้น เนื่องจากอัลคาไลน์สามารถชะซิลิก้า และอลูมิน่าออกจากเถ้าลอย เพื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียม ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาปอซโซลาน&nbsp;</p> 2021-06-24T10:33:17+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/759 การศึกษาค่าพารามิเตอร์ α β และ Nq ที่เหมาะสมกับการออกแบบเสาเข็มภายในมหาวิทยาลัยพะเยา 2021-07-01T16:13:21+07:00 thanakit thepumong thanakit.th@up.ac.th ธนกร ชมภูรัตน์ thanakorn.ch@up.ac.th อภิชาต บัวกล้า apichat_bk@hotmail.com <p>การจัดตั้งมหาวิทยาลัยพะเยา และศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้จังหวัดพะเยามีการเติบโตของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง &nbsp;โดยในอนาคตยังมีเป้าหมายให้ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขประจำภูมิภาคล้านนาตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน เพื่อรองรับการขยายตัวและความต้องการที่สามารถเล็งเห็นได้นี้ ส่งผลทำให้เริ่มมีการก่อสร้างอาคารสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ อาคารเรียน หอพัก และโรงแรม โดยการก่อสร้างอาคารสูงต้องอาศัยฐานรากลึกหรือเสาเข็มเพื่อรองรับทั้งขนาดและน้ำหนักของอาคาร อย่างที่ทราบกันดีว่าเสาเข็มเป็นพื้นฐานของการออกแบบฐานราก ซึ่งค่าตัวแปรที่ใช้ในการออกแบบเสาเข็มนั้นจะแตกต่างกันไปเพื่อให้เหมาะสมที่สุดกับแหล่งที่นำไปใช้ ตามวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบ หรือปัจจัยอื่น ๆ ดังนั้นวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าตัวแปรหลัก ได้แก่ และ &nbsp;ที่เหมาะสมกับการออกแบบเสาเข็มที่ใช้ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา และศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา รวมถึงพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งประกอบไปด้วยหอพักขนาดสูงเป็นจำนวนมาก ท้ายที่สุดของงานวิจัยนี้ได้สรุปค่าตัวแปรดังกล่าวที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบเสาเข็มในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งได้รายงานจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าการรับน้ำหนักของเสาเข็มจากวิธีสถิตยศาสตร์และวิธีพลศาสตร์ของอาคารที่ก่อสร้างภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการขยายตัวในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ของทั้งมหาวิทยาลัยพะเยา ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับนำไปใช้วิเคราะห์ออกแบบเสาเข็มหรือทำการศึกษาต่อไปในอนาคต</p> 2021-06-24T10:33:46+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/772 ผลกระทบของการปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวต่ออัตราการไหลของโพลิเมอร์พีเอชพีเอ 2021-07-01T16:14:10+07:00 เบญจพล เบญจวรางกูล benjapon.benjawarangkul@gmail.com วีรยุทธ โกมลวิลาศ veerayut.k@chula.ac.th ฐิรวัตร บุญญะฐี tirawat.b@chula.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">การก่อสร้างเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ในชั้นดินกรุงเทพฯ จำเป็นต้องใช้สารละลายช่วยในการรักษาเสถียรภาพของหลุมเจาะ สารละลายที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือสารละลายโพลิเมอร์พีเอชพีเอ เนื่องจากสารละลายโพลีเมอร์พีเอชพีเอสามารถไหลซึมเข้าไปในชั้นดินทรายได้ง่ายจึงเกิดการสูญเสียเป็นปริมาณมากในระหว่างการก่อสร้าง งานวิจัยนี้จึงศึกษาคุณสมบัติด้านวิทยากระแสของสารละลายดังกล่าวเพื่อใช้ในการอธิบายพฤติกรรมการไหลผ่านชั้นดิน นอกจากนี้ฝุ่นดินเหนียวที่เกิดขึ้นระหว่างการขุดเจาะผ่านชั้นดินเหนียวกรุงเทพฯ ก็ส่งผลต่อพฤติกรรมการไหลของสารละลาย งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาผลกระทบจากการปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวด้วย โดยทำการทดสอบคุณสมบัติด้านวิทยากระแสของสารละลายโพลิเมอร์พีเอชพีเอที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ทั้งในกรณีปนเปื้อนและไม่ปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวด้วยเครื่องทดสอบรีโอมิเตอร์ แล้วนำไปวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความหนืดกับอัตราเฉือนของสารละลายและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สามารถใช้ในการอธิบายคุณสมบัติด้านวิทยากระแสของสารละลายโพลิเมอร์พีเอชพีเอทั้งแบบปนเปื้อนและไม่ปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียว</span></p> 2021-06-24T10:34:15+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/883 สมการควบคุมอัตราส่วนกำลังอัดของดินเหนียวกรุงเทพผสมปูนซีเมนต์ภายใต้การทดสอบกำลังรับแรงอัดแกนเดียว 2021-07-01T16:18:41+07:00 อนุพงศ์ คำปลอด anupong.arena36@gmail.com <p>งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการสร้างสมการควบคุมอัตราส่วนกำลังรับแรงอัดภายใต้ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพผสมปูนซีเมนต์ที่มีอัตราส่วนเปอร์เซ็นต์ระหว่างปูนซีเมนต์ต่อน้ำในดิน (C/<em>w</em><sub>c</sub>) เท่ากับ 0.2 0.3 และ 0.4 และดัชนีเหลว เท่ากับ 1.0 1.3 และ 1.6 วัสดุที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วยดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 สมการควบคุมอัตราส่วนกำลังอัดสามารถบ่งบอกคุณสมบัติด้านกำลังรับแรงอัดและความแข็งของดินผสมปูนซีเมนต์ที่มีปริมาณน้ำสูงได้ สุดท้ายในงานวิจัยนี้จะนำเสนอสมการควบคุมอัตราส่วนกำลังอัดในพจน์อัตราส่วนเปอร์เซ็นต์ระหว่างปูนซีเมนต์ต่อน้ำในดิน (C/<em>w</em><sub>c</sub>) และพจน์ของอัตราส่วนความพรุนต่อปริมาณปูนซีเมนต์ (η/C<sub>iv</sub>) สำหรับทำนายค่ากำลังรับแรงอัดของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพที่ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์</p> 2021-06-24T10:36:17+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1044 การตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ในดินเหนียวกรุงเทพโดยใช้ไมโครแคปซูลของสปอร์แบคทีเรีย 2021-07-01T16:21:27+07:00 เบญญาภา ผันน้อย lukmaibp@gmail.com <p><span lang="TH">การตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงคุณภาพดินซึ่งมักให้ผลดีในดินทรายที่มีความพรุนสูง งานวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้วิธีชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ในดินเหนียว โดยเลือกใช้แบคทีเรียยูรีโอไลติคในรูปแบบของไมโครแคปซูลในสภาพแห้งด้วยเทคนิคแช่แข็งแห้งและกระตุ้นให้เกิดเอนไซม์ยูเรียเพื่อให้เกิดกิจกรรมย่อยสลายยูเรียและชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต ตัวอย่างดินที่ใช้ศึกษาเป็นดินเหนียวกรุงเทพสร้างใหม่เพื่อควบคุมปริมาณความชื้นและสัดส่วนผสมได้ง่าย จากนั้นดำเนินการทดสอบตัวอย่างดินเหนียวกรุงเทพที่ปรับปรุงด้วยการทดสอบทั้งแบบทำลายและไม่ทำลายเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางวิศวกรรม ทางเคมี และโครงสร้างทางจุลภาค ได้แก่ การทดสอบการรับแรงอัดแกนเดียว การทดสอบโดยคลื่นความถี่เรโซแนนท์ การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ และวิเคราะห์ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด นำผลการทดสอบทั้งหมดมาวิเคราะห์ปริมาณไมโครแคปซูลแบคทีเรียที่เหมาะสมที่จะทำให้สารเชื่อมประสานทางชีวภาพหรือตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตส่งผลให้ดินเหนียวกรุงเทพมีกำลังและความแข็งที่เหมาะต่อการนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพดิน</span></p> 2021-06-24T10:36:58+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1103 การวิเคราะห์ความเสียหายของอาคารโรงงานเนื่องจากดินบวมตัวใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 2021-07-01T16:22:10+07:00 จุฬาลักษณ์ ทองแท่ง yeemmy1@hotmail.com เศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา sethapong09@gmail.com <p>บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ความเสียหายของอาคารโรงงานหลังหนึ่งใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พบว่าอาคารเกิดรอยร้าวตามผนังและพื้นไปทั่วทั้งอาคาร ที่สำคัญที่สุดคือเครนชนิดเคลื่อนที่ได้ภายในอาคารนี้ไม่สามารถวิ่งไปตามคานที่รองรับได้เนื่องจากคานมีการโก่งตัวมากเกินไป จากการรวบรวมข้อมูลความเสียหายในเบื้องต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2563 พบว่าคานดังกล่าวมีค่าระดับที่ต่างกันมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนั้นยังพบรอยแตกขวางบนเสาเข็มต้นหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะของการวิบัติจากแรงดึง จากการเก็บตัวอย่างดินไปทดสอบหาค่าการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ในห้องปฏิบัติการ พบว่าดินที่อยู่ภายใต้อาคารหลังดังกล่าวมีแร่มอนต์มอริลโลไนต์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ดินมีความสามารถในการพองตัวและหดตัวได้หากมีการเปลี่ยนแปลงความชื้นภายในดิน จากการทดสอบการพองตัวอย่างอิสระและการทดสอบความดันจากการพองตัว พบว่าดินมีศักยภาพในการพองตัวได้สูงมาก จึงสามารถสรุปได้ว่าความเสียหายของอาคารหลังนี้เกิดจากการออกแบบอาคารและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดินใต้อาคาร ซึ่งมีด้วยกันสามประเด็นหลัก ได้แก่ 1) อาคารได้รับการออกแบบให้พื้นชั้นล่างของอาคารวางอยู่บนดินโดยตรง ไม่มีการเว้นช่องว่างใต้พื้นไว้เผื่อการพองตัวของดิน 2) เสาเข็มที่รองรับเสาของอาคารมีความยาวไม่เพียงพอที่จะต้านทานแรงดันจากการพองตัวของดิน และ 3) มีการก่อสร้างแหล่งเก็บน้ำใกล้กับอาคาร ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุของความชื้นในดินที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นจากการทดสอบแรงดันในการบวมตัวของตัวอย่างดินที่เก็บมาแบบคงสภาพ ยังพบว่าดินที่อยู่ภายใต้อาคารหลังดังกล่าวยังสามารถพองตัวได้อีก</p> 2021-06-24T10:37:42+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/744 การพัฒนาดัชนีความเหมาะสมทางกายภาพของการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าบนถนนในเมือง 2021-07-01T16:25:41+07:00 ปรัตถกร กษิรวัฒน์ parattakorn.kasi@gmail.com จิตติชัย รุจนกนกนาฎ jittichai@hotmail.com <p>วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยสภาพทางกายภาพที่มีผลต่อการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าบนถนนและทางเท้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มผู้ใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้ามีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นด้วย และประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับพาหนะชนิดนี้ ในการศึกษานี้ ได้ใช้ข้อมูลจากการทดสอบของอาสาสมัครผู้ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 30 คน ในเส้นทางที่กำหนดไว้ 54 เส้นทาง ซึ่งมีลักษณะเส้นทางและองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป เพื่อประเมินคะแนนความรับรู้ความพึงพอใจในด้าน ความสะดวกสบาย ความเร็ว ความปลอดภัย และผลในภาพรวมของการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกแบบเรียงลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ในส่วนของถนน ปัจจัยสภาพทางกายภาพที่มีผลต่อความสะดวกสบาย คือ ไม่มีความเสียหายของพื้นผิว มีช่องทางจักรยาน และพื้นผิวลาดยาง ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็ว คือ ไม่มีความเสียหายของพื้นผิว มีช่องทางจักรยาน พื้นผิวลาดยาง และเป็นทางตรง และปัจจัยที่ส่งผลด้านความปลอดภัย คือ การมีช่องทางจักรยาน พื้นผิวลาดยาง ความเร็วของยานพาหนะ และปริมาณจราจร ในส่วนของทางเท้านั้น ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์ก็มีความใกล้เคียงกัน โดยเพิ่มความกว้างสุทธิของทางเท้า และสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสิ่งรบกวนข้างทางเข้ามาประกอบด้วย ทั้งนี้พบว่าปัจจัยด้านความปลอดภัยมีผลต่อภาพรวมของการใช้งานมากที่สุดทั้งกรณีถนนและทางเท้า ผลที่ได้จากการวิเคราะห์นี้นำมาซึ่งแนวทางในการออกแบบปรับปรุงหรือคัดเลือกเส้นทางที่มีความเหมาะสมของการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ในการจัดทำคู่มือและแผนที่แนะนำเส้นทางในพื้นที่ได้ต่อไป</p> 2021-06-24T13:20:48+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/810 การศึกษาผลกระทบต่อธุรกิจผู้ให้บริการด้านคมนาคมจากความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรในประเทศไทย 2021-07-01T16:27:17+07:00 Tanawat Dachparot tanawat.d@bemplc.co.th <p class="Text1"><span lang="TH">จากความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรในประเทศไทย ที่จะนำมาซึ่งความท้าทายใหม่ให้กับผู้ให้บริการธุรกิจบริการด้านคมนาคม เช่น ธุรกิจทางพิเศษ และรถไฟฟ้า เป็นต้น โดยในอีก 10 ปีข้างหน้า โครงสร้างเศรษฐกิจไทยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตามโครงสร้างประชากรที่คนไทยมากกว่า 40% จะเข้าสู่วัยเกษียณและเตรียมเกษียณ ส่งผลให้การบริโภคจะเริ่มชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดสินค้าในประเทศจึงไม่สามารถเติบโตได้มากเหมือนในอดีต นอกจากนี้ยังคาดว่าจะเกิดการขาดแคลนแรงงานซ้ำเติมให้ไทยไม่สามารถดึงดูดการลงทุนได้เช่นเดิม ธุรกิจดั้งเดิมที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จะไม่สามารถขยายตัวได้ อีกทั้งสังคมสูงวัยดังกล่าว ยังไปสร้างแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และเงินบาทแข็งค่า สร้างความท้าทายและข้อจำกัดต่อนโยบายทางการเงินและการคลังอีกด้วย บทความนี้จึงจะศึกษารวบรวมองค์ความรู้ที่จะสามารถนำไปประกอบการกำหนดกลยุทธของผู้ประกอบการด้านคมนาคม เพื่อให้สามารถปรับตัวในการรับมือกับความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยหาโอกาสทางธุรกิจให้สอดคล้องไปกับโครงสร้างประชากรในอนาคต ทั้งด้านการเน้นพัฒนาทักษะแรงงาน และเทคโนโลยี เพื่อชดเชยแรงงานที่หายไป และเพื่อให้เห็นว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ ไทยจะต้องเจอกับความท้าทายสำคัญด้านใดบ้าง โครงสร้างเศรษฐกิจจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ธุรกิจคมนาคมจะเติบโตไปในทิศทางไหน อะไรจะเป็นแรงขับเคลื่อน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง นำไปสู่ข้อเสนอแนะในการเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการธุรกิจผู้ให้บริการด้านคมนาคมต่อไป </span></p> 2021-06-24T13:21:07+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/936 การจัดตำแหน่งช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษเพื่อรองรับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) 2021-07-01T16:28:00+07:00 พรรณทิพา พันธ์ยิ้ม punyimmy_ju@hotmail.com ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล siwat.exat@gmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร thepp9@hotmail.com <p>การติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความล่าช้าในการเดินทางบนทางพิเศษ กระทรวงคมนาคมจึงได้มีนโยบายให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้รถสามารถผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษได้โดยเร็วไม่หยุดชะงัก และลดความแออัดของรถบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ โดยหนึ่งในมาตรการที่สำคัญ คือ การพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือเรียกว่า ระบบ M-Flow ซึ่งเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติรูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยี ระบบปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบการอ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติร่วมกับระบบการตรวจจับยานพาหนะอัตโนมัติ เพื่อใช้ตรวจสอบยานพาหนะและระบุตัวตนผู้ใช้บริการในการเรียกเก็บค่าผ่านทางพิเศษ เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาจราจรมีประสิทธิภาพ จึงประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค AIMSUN วิเคราะห์ความเหมาะสมของการจัดตำแหน่งช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษและผลกระทบด้านจราจรต่าง ๆ บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษจตุโชติ ทางพิเศษฉลองรัช ให้รองรับช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) และระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษที่มีอยู่เดิมทั้งช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (Easy Pass) และช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษ</p> 2021-06-24T13:21:17+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1008 การศึกษาความเร็วในการใช้ทางข้ามถนนของผู้เดินเท้าในเขตกรุงเทพมหานคร 2021-07-01T16:28:38+07:00 พรเทพ พวงประโคน puangprakhon@gmail.com ณัฐภรณ์ กลั่นอ่ำ 5611110479@mutacth.com วลัยรัตน์ บุญไทย bwalairat@gmail.com <p><strong>ผู้เดินเท้าเป็นส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่งในระบบจราจร โดยทั่วไปสามารถพบเห็นผู้เดินเท้าได้เป็นจำนวนมากในพื้นที่เขตเมือง ถึงแม้ในภาพรวมจำนวนผู้เดินเท้าจะมีไม่มากเมื่อเทียบกับผู้ใช้ถนนกลุ่มอื่นๆ แต่ผู้เดินเท้าจัดเป็นกลุ่มผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยงสูง อุบัติเหตุที่เกิดกับผู้เดินเท้ามักจะก่อให้เกิดความเสียหายและอันตรายรุนแรง ดังนั้นการจัดให้มีทางข้ามถนนที่เหมาะสมจะช่วยลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุอันอาจเกิดแก่ผู้เดินเท้าได้ บทความนี้ทำการศึกษาความเร็วในการข้ามถนนของผู้เดินเท้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการออกแบบทางข้ามถนน โดยพื้นที่ศึกษาประกอบด้วยทางข้ามบนถนนขนาด 4 ช่องจราจร จำนวน 4 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นทางข้ามที่ตั้งอยู่บริเวณทางแยก 2 แห่ง และอยู่ระหว่างช่วงถนน 2 แห่ง เป็นทางข้ามที่มีสัญญาณไฟคนข้าม 2 แห่ง และไม่มีสัญญาณไฟคนข้าม 2 แห่ง ทำการเก็บข้อมูลผู้เดินเท้าที่ใช้ทางข้ามถนนทั้งในและนอกช่วงชั่วโมงเร่งด่วนโดยใช้การบันทึกวีดีโอจำนวน 848 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความเร็วในการข้ามถนนของกลุ่มตัวอย่างโดยจำแนกตามเพศ ช่วงอายุ และลักษณะการข้ามคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม โดยผลจากการศึกษาจะสามารถนำไปใช้พัฒนาและปรับปรุงทางข้ามให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้นในอนาคตได้</strong></p> 2021-06-24T13:21:27+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1038 การศึกษาพฤติกรรมและความเร็วของยานพาหนะเมื่อขับขี่ผ่านสันชะลอความเร็ว 2021-07-01T16:29:16+07:00 พรเทพ พวงประโคน puangprakhon@gmail.com อัครวัฒน์ เพียงตา 6111410005@mutacth.com อนุรัตน์ ธรรมะ 6111410007@mutacth.com สันติสุข ดวงพันตรี 6111410018@mutacth.com <p><strong>การใช้สันชะลอความเร็วเป็นหนึ่งในมาตรการควบคุมการจราจรเพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปริมาณจราจรไม่คับคั่งมากนัก วัตถุประสงค์หลักของการใช้สันชะลอความเร็ว คือ เพื่อชะลอความเร็วของยานพาหนะและช่วยลดปริมาณการจราจรในบริเวณพื้นที่ติดตั้ง การใช้สันชะลอความเร็วอย่างเหมาะสมจะช่วยลดอุบัติเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามสันชะลอความเร็วจัดเป็นอุปสรรคที่ติดตั้งอยู่บนผิวจราจร การใช้งานสันชะลอความเร็วอย่างไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ความเร็วในช่วงก่อนและหลังสันชะลอความเร็วของยานพาหนะประเภทต่างๆ โดยทำการเก็บข้อมูลด้วยการบันทึกวีดีโอสภาพจราจรบริเวณที่มีการติดตั้งสันชะลอความเร็วรูปแบบต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร จากนั้นนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลความเร็วของยานพาหนะประเภทต่างๆ ก่อนและหลังตำแหน่งที่ติดตั้งสันชะลอความเร็ว รวมทั้งใช้สถิติเพื่อทดสอบระดับนัยสำคัญ ผลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้และติดตั้งสันชะลอความเร็วอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ใช้ถนนต่อไป</strong></p> 2021-06-24T13:21:40+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1078 การใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารรูปแบบรถยนต์ในกลุ่มประชากรคนกรุงเทพมหานคร 2021-07-01T16:29:54+07:00 วัฒนา เล้าสินวัฒนา mr.na@outlook.com <p>การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคมเมือง จำนวนประชากรและความต้องการในการเดินทางเพิ่มสูงขึ้น การเข้ามาของแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร (Ride-hailing applications: RHA) เข้ามาเป็นตัวเลือกในการเดินทางของผู้คนในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน และมีความน่าเชื่อถือ ทำให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับรูปแบบการเดินทางประเภทนี้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อรองรับการเติบโตของสังคมเมืองในประเทศไทยในอนาคต งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ วัตถุประสงค์ของการเดินทางด้วยบริการนี้ และรูปการเดินทางอื่นที่ถูกแทนที่โดยแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารกับปัจจัยด้านคุณลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และปัจจัยด้านทัศนคติ โดยใช้แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression) จากผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อย รายได้สูง และผู้ที่เดินทางด้วยรถแท็กซี่ที่บ่อย เป็นปัจจัยที่มีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่จะใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร&nbsp; นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่ใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารส่วนมากมีวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อทำธุระส่วนตัวและพบปะสังสรรค์ จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเป็นกลุ่มเดียวกับผู้ใช้บริการแท็กซี่ ซึ่งแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารมีแนวโน้มในการถูกนำมาใช้ทดแทนแท็กซี่ ดังนั้นการกำกับดูแลจึงมีความจำเป็นในการรักษาความเท่าเทียมในการแข่งขัน</p> 2021-06-24T13:21:52+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/896 การอธิบายความพยายามเดินทางด้วยจักรยานโดยใช้แบบจำลอง Goal Directed Behavior ผ่านคุณลักษณะของเพศ และการมีรถยนต์ในครอบครองของผู้เดินทางในพื้นที่เขตเมือง จังหวัดชลบุรี 2021-07-01T16:31:15+07:00 ผศ.ดร. สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ suramesp@eng.buu.ac.th นายจัตุรงค์ อินทะนู suramesp@eng.buu.ac.th <p><strong>บทความนี้นำเสนอการอธิบายความพยายามเดินทางด้วยจักรยานของผู้เดินทางในพื้นที่เขตเมือง จังหวัดชลบุรี โดยตัวอย่างจำนวน 750 ตัวอย่าง ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) จากผู้เดินทางในเขตเมืองชลบุรี ศรีราชา และบางละมุง หลังการคัดกรองข้อมูล ข้อมูลของตัวอย่างที่สมบูรณ์จำนวน 597 ชุด ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างเพื่อตรวจสอบและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ส่งอิทธิพลต่อความพยายามที่จะเดินทางด้วยจักรยานตามทฤษฎี The Model of Goal Directed Behavior โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบตามตัวแปรเพศ (ชาย และหญิง) และการมีรถยนต์ในครอบครอง (มี และไม่มีรถยนต์ในครอบครอง) ผลการวิเคราะห์ พบว่า พฤติกรรมการใช้จักรยานในอดีต เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อความพยายามเดินทางด้วยจักรยานในปัจจุบันของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งแบบมีอิทธิพลต่อกระบวนการคิดอย่างมีขั้นตอนเชิงเหตุผล และแบบมีอิทธิพลโดยตรงต่อตัวแปรความพยายามโดยไม่ผ่านกระบวนการคิดอย่างมีขั้นตอนเชิงเหตุผล ทั้งการวิเคราะห์เปรียบเทียบตามตัวแปรเพศ และตัวแปรการมีรถยนต์ในครอบครองของกลุ่มตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังพบว่าบรรทัดฐานสังคม ความรู้สึกเชิงบวกและลบที่มีต่อการใช้จักรยาน และทัศนคติ มีอิทธิพลต่อความต้องการใช้จักรยานของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญ</strong></p> 2021-06-24T13:22:41+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/840 ผลกระทบของความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรต่อความล่าช้า การใช้เชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษ กรณีศึกษาทางแยกวัดโคกนาว จังหวัดสงขลา 2021-07-01T16:32:00+07:00 นายกนต์ธร จันทร์ลาม kontorn8977@gmail.com ปรเมศวร์ เหลือเทพ paramet.l@psu.ac.th สิทธา เจนศิริศักดิ์ sittha.j@ubu.ac.th <p>ความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรของทางแยกในเขตเมืองหลายพื้นที่ มักถูกกำหนดให้มีเวลานานซึ่งไม่สอดคล้องกับปริมาณการจราจรในแต่ละช่วงเวลา ส่งผลต่อความล่าช้าในการเดินทาง การสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษ บทความนี้เสนอผลกระทบของความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรที่ระยะเวลาต่าง ๆ ต่อความล่าช้าในการเดินทาง การสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง การปล่อยก๊าซ CO<sub>2</sub> และมูลค่าความสูญเสียเชิงเศรษฐศาสตร์โดยรวมจากผลกระทบข้างต้น โดยใช้ทางแยกวัดโคกนาว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษา พบว่า การกำหนดความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรจากปัจจุบัน 129 วินาที ให้ยังมียาวมากกว่า 120 วินาที (150 180 210 และ 240 วินาที) จะเพิ่มมูลค่าความสูญเสียเชิงเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 19 31 43 และ 51 ตามลำดับ แต่หากลดความยาวรอบสัญญาณไฟจราจรให้น้อยกว่า 120 วินาที ตามปริมาณการจราจร (90 วินาที) จะช่วยลดมูลค่าความสูญเสียเชิงเศรษฐศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญที่ร้อยละ 28 ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดรอบสัญญาณไฟจราจรที่เหมาะสมให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป</p> 2021-06-24T13:22:55+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/837 ประสิทธิผลของทางคนเดินข้ามอัจฉริยะ กรณีศึกษาทางข้ามถนนกาญจนวณิชย์ จังหวัดสงขลา 2021-07-01T16:32:43+07:00 พงศธร เพชรตีบ Pechteep@hotmail.com ปรเมศวร์ เหลือเทพ Pechteep@hotmail.com นพดล กรประเสริฐ Pechteep@hotmail.com <p class="Text1"><span lang="TH">ในประเทศไทย คนเดินเท้าเป็นกลุ่มผู้ใช้ทางที่มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกรถชนและได้รับความรุนแรงเมื่อถูกชน โดยมีอัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ </span>7.6<span lang="TH"> บทความนี้นำเสนอการประเมินประสิทธิผลของทางคนเดินข้ามอัจฉริยะแบบมีสัญญาณไฟจราจรและเครื่องตรวจวัดกระแสจราจรและคนข้าม โดยเลือกทางม้าลายที่มีอยู่บนถนนกาญจนวณิชย์ช่วงก่อนถึงทางแยกน้ำกระจายเป็นกรณีศึกษา ในการศึกษาได้สำรวจข้อมูลลักษณะกายภาพ ปริมาณการจราจร ปริมาณคนเดินเท้า ความเร็วของยานพาหนะและคนเดินเท้าที่ผ่านทางม้าลาย พฤติกรรมการขับขี่และการเดินข้ามทางม้าลาย ก่อนและหลังติดตั้งทางคนเดินข้ามอัจฉริยะ ทั้งในวันทำงานและวันหยุด ช่วงเร่งด่วนและไม่เร่งด่วน ข้อมูลดังกล่าวถูกนำมาวิเคราะห์ประสิทธิผลของทางคนเดินข้ามอัจฉริยะ ทั้งประเด็นความปลอดภัยของคนข้ามและยานพาหนะที่แล่นผ่าน และประเด็นการจราจร เช่น ปริมาณการไหล และความล่าช้า ผลการศึกษา พบว่า ทางคนเดินข้ามอัจฉริยะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนข้ามอย่างชัดเจน เนื่องจากสัญญาณไฟจราจรที่ติดตั้งทำให้ยานพาหนะลดความเร็วก่อนถึงทางข้ามได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งเพิ่มปริมาณคนข้ามถนนในแต่ละครั้งให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การชะลอความเร็วของยานพาหนะขณะผ่านทางข้าม อาจทำให้เกิดความล่าช้าและแถวคอยของยานพาหนะบ้าง แต่ในภาพรวมของการติดตั้งทางคนเดินข้ามอัจฉริยะนี้ได้เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางของทั้งคนเดินเท้าและยานพาหนะที่ผ่านช่วงถนนศึกษา</span></p> 2021-06-24T13:23:10+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1173 การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ทางในการเบี่ยงการจราจรบนทางยกระดับ 2021-07-01T16:30:36+07:00 เอกรินทร์ เหลืองวิลัย ekarin.lue@tollway.co.th <p>ทางยกระดับดอนเมือง มีหน่วยงานกู้ภัยเพื่อแก้ไขเหตุ ให้สามารถเปิดการจราจรได้อย่างรวดเร็ว ขณะปฏิบัติงานบนทาง แม้จะมีการวางกรวยยางและเปิดไฟวับวาบตลอดเวลา แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกชนซ้ำ กลายเป็นอุบัติเหตุซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นอันตรายทั้งต่อเจ้าหน้าที่และผู้ใช้ทาง และในอดีตได้เคยเกิดเหตุมาแล้ว เพื่อเป็นการยกระดับความปลอดภัย จึงมีความประสงค์จะศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ทางยกระดับฯ ในการตอบสนองต่อป้ายไฟสัญญาณหลังรถฉุกเฉินประเภทต่างๆ การวิจัยได้ตรวจวัดระยะเบี่ยงของผู้ใช้ทางด้วยการสังเกตุการณ์จากกล้อง CCTV พบว่า กรณีทีมีรถทั่วไปจอดกีดขวาง ผู้ใช้ทางจะเบี่ยงหลบที่ระยะ 124 เมตร สำหรับรถฉุกเฉินที่มีไฟวับวาบ จะมีระยะเบี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 141-165 เมตร จำนวนไฟวับวาบ ส่งผลต่อระยะเบี่ยงมากกว่าขนาดของรถ ระยะเบี่ยงระหว่าง 124-165 เมตรนี้จะสอดคล้องกับความเร็วช่วง 80-90 กม./ชม. เท่านั้น ไม่เพียงพอกับความเร็วที่ผู้ใช้ทางทั่วไปใช้ จำเป็นต้องมีมาตรการเสริมด้วย การแจ้งเตือนล่วงหน้าด้วยป้าย Matrix Sign ซึ่งให้ผลดีชัดแจ้งจากกรณีรถดูดกวาด</p> 2021-06-24T13:23:26+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/893 การติดตั้งระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติ ทางพิเศษฉลองรัช 2021-07-01T16:33:20+07:00 ฐิติพงศ์ สุขเสริม what_zup25@hotmail.com นันทวรรณ พิทักษ์พานิช mai_ba@hotmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร thepp9@hotmail.com <p><strong>การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้วิเคราะห์หาแนวทางในการบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษฉลองรัชที่เกิดจากการติดขัดสะสมจากถนนประดิษฐ์มนูธรรม (ทางลงเกษตร - นวมินทร์) พบว่าการจัดช่องจราจรด้วยเส้นทึบบริเวณทางลงสามารถบรรเทาปัญหาได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับมาตรการอื่น ๆ กทพ. จึงได้นำมาตรการดังกล่าวไปดำเนินการและทำการประเมินผลก่อนและหลังดำเนินมาตรการ (Before &amp; After Analysis) พบว่ามาตรการการบรรเทาปัญหาด้วยเส้นทึบทำให้การจราจรบริเวณดังกล่าวคล่องตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษฉลองรัชในระยะแรกโดยการจัดช่องจราจรด้วยเส้นทึบนั้น ยังมีผู้ใช้ทางบางกลุ่มฝ่าฝืนเครื่องหมายบังคับใช้จราจร (เส้นทึบ) ทำให้ประสิทธิภาพในการบรรเทาปัญหาลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างยั่งยืน มีประสิทธิภาพ และมีการบังคับใช้กฎหมายเกิดขึ้น จึงได้มีแนวคิดในการดำเนินโครงการติดตั้งระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติ (Automatic Lane Control System) เพื่อให้ตำแหน่งดังกล่าวทำงานโดยอัตโนมัติและเป็นต้นแบบของการแก้ปัญหาจราจรโดยใช้เทคโนโลยีช่วยจัดการการจราจร ซึ่งจะลดการทำงานของเจ้าหน้าที่จัดการจราจรที่คอยอำนวยความสะดวกบริเวณนี้ โดยระบบสามารถทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้คาดว่าระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยให้ผู้ฝ่าฝืนเครื่องหมายบังคับใช้จราจร (เส้นทึบ) ลดลง และการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนลดลง เนื่องจากมีการให้ข้อมูลสภาพจราจรและอุบัติเหตุแก่ผู้ใช้ทางผ่านป้ายข้อความประชาสัมพันธ์ (Variable Message Sign : VMS)</strong></p> 2021-06-24T13:26:42+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/938 การประเมินประสิทธิภาพของป้ายแจ้งเตือนความเร็วแบบพลังงานแสงอาทิตย์บนทางพิเศษบูรพาวิถี 2021-07-01T16:34:00+07:00 จิรวัฒน์ เพลิงศรีทอง jirawat.exat@gmail.com ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล siwat.exat@gmail.com พรณรงค์ เลื่อนเพชร pornnarong_lue@exat.co.th เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร thepparit_r@exat.co.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพก่อนและหลังการติดตั้งป้ายแจ้งเตือนความเร็วแบบพลังงานแสงอาทิตย์ บริเวณ กม. 14+600 I, 24+100 O และ 32+500 I บนทางพิเศษบูรพาวิถี ซึ่งได้รับการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ (Dangerous Factor) ว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จากผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้ความเร็วภายในพื้นที่ศึกษามีความแตกต่างกันตามประเภทของยานพาหนะและตำแหน่งที่ดำเนินการติดตั้ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับขีดจำกัดความเร็วตาม พรบ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ด้วยการพิจารณาค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ร้อยละ 85 ของความเร็ว พบว่า ยานพาหนะส่วนใหญ่มีแนวโน้มใช้ความเร็วมากกว่าขีดจำกัดความเร็วที่กฎหมายกำหนด เมื่อพิจารณาค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ร้อยละ 85 ของความเร็วเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการติดตั้งป้ายแจ้งเตือนความเร็วแบบพลังงานแสงอาทิตย์บนทางพิเศษบูรพาวิถี พบว่า ยานพาหนะส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดการใช้ความเร็วลงโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2.72 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแนวโน้มการใช้ความเร็วจะลดลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับขีดจำกัดความเร็ว ตาม พรบ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 พบว่า การใช้ความเร็วของยานพาหนะยังมีค่ามากกว่าความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงควรพิจารณาดำเนินการกำหนดขีดจำกัดของความเร็วที่เหมาะสม รวมทั้งปรับปรุงลักษณะทางกายภาพด้วยการนำมาตรการควบคุมความเร็วต่าง ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งจะสามารถควบคุมการใช้ความเร็วของยานพาหนะและนำไปสู่การลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากความเร็วบนทางพิเศษบูรพาวิถีได้</p> 2021-06-24T13:27:59+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1035 การลดปัญหาจราจรติดขัดบนทางหลวงหมายเลข 3242 (ถนนเอกชัย) 2021-07-01T16:34:41+07:00 ณัฐพงศ์ โมราบุตร natthphongm@gmail.com รศ.ดร.วินัย รักสุนทร rwinai@engr.tu.ac.th <p>ทางหลวงหมายเลข 3242 หรือ ถนนเอกชัย ปัจจุบันมีสภาพการจราจรที่หนาแน่น ส่งผลให้เกิดการจราจรติดขัดสะสมเป็นระยะทางยาว 1.80 กิโลเมตร จากการศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม พบสาเหตุหลัก 2 อย่าง ที่ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดดังกล่าว ประกอบไปด้วย 1) ปัญหาช่องจราจรไม่เพียงพอต่อการเดินทาง และ 2) ปัญหาการจัดการทางแยกด้วยสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยกบางบอน 3 ในการศึกษานี้ ได้ทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบแต่ละแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยแบบจำลองการจราจร พบว่า การจัดการทางแยกโดยการปรับปรุงสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยกบางบอน 3 พร้อมกับการเพิ่มช่องจราจรบริเวณสะพานต่างระดับเอกชัย สามารถเพิ่มความเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะได้ร้อยละ 20.5 และลดระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางได้ &nbsp;ร้อยละ 20.4 &nbsp;</p> 2021-06-24T13:28:19+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1047 การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบทางข้ามถนนแบบอัจฉริยะบนช่วงถนนในเขตเมืองด้วยแบบจำลองการจราจร 2021-07-01T16:35:28+07:00 ธนวัฒน์ โสภาวัน maxiscena@hotmail.com ผศ.ดร.นพดล กรประเสริฐ nopkron@eng.cmu.ac.th พงศ์เทพ พิเศษสิทธิ์ fproteus@hotmail.com <p>ทางข้ามถนนบนช่วงถนนเป็นจุดขัดแย้งระหว่างคนเดินเท้าและยานพาหนะซึ่งสร้างปัญหาการจราจรติดขัดและอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางข้ามถนนบนช่วงถนนในเขตเมือง ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีขนส่งอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ในการจัดการการจราจรและความปลอดภัยบนโครงข่ายถนนอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ&nbsp; ทางข้ามถนนแบบอัจฉริยะ (Intelligent Pedestrian Crossing) เป็นทางข้ามถนนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบอัตโนมัติมาเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่คนเดินและผู้ขับขี่ โดยตรวจจับกระแสจราจรของยานพาหนะที่แล่นเข้าสู่ทางข้ามและการเคลื่อนไหวของคนเดินที่กำลังข้ามถนน ควบคุมจังหวะสัญญาณไฟแก่คนข้ามและยานพาหนะ และปรับระยะเวลาสัญญาณไฟคนข้ามให้สอดคล้องกับการใช้งานของคนเดินข้าม &nbsp;งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค PTV Vissim เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของทางข้ามแบบอัจฉริยะ และวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพกับทางข้ามทางม้าลาย ทางข้ามมีสัญญาณไฟแบบกดปุ่ม และทางข้ามที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ทางข้ามถนนบนช่วงถนนในรูปแบบต่าง ๆ มีประสิทธิภาพการให้บริการในสภาพการจราจรของคนเดินข้ามและยานพาหนะที่แตกต่างกัน โดยแบบจำลองการจราจรของรูปแบบทางข้ามสามารถนำไปใช้พัฒนาเป็นเกณฑ์พิจารณารูปแบบทางข้ามอัจฉริยะบนช่วงถนนที่เหมาะสมในสภาพพื้นที่และสภาพการจราจรต่าง ๆ บนโครงข่ายถนนในเขตเมืองได้</p> 2021-06-24T13:28:36+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/792 การประเมินผลกระทบของทางต่างระดับต่อราคาที่ดินในเมืองเชียงใหม่ 2021-07-01T16:36:10+07:00 ธีรโชติ สมบูรณ์พาณิชกิจ Teerachot_s@cmu.ac.th ปรีดา พิชยาพันธ์ preda@eng.cmu.ac.th <p>หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างทางต่างระดับในเมืองเชียงใหม่ คือ การเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ดิน ซึ่งมีผลกระทบจากปัจจัยในด้านต่าง ๆ ของที่ดินรายแปลง ได้แก่ ปัจจัยทางด้านกายภาพ ปัจจัยทางด้านตำแหน่งที่ตั้ง และปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม ในการศึกษานี้ได้ใช้แบบจำลอง Hedonic Price รูปแบบสมการถดถอยเชิงเส้นตรง (Linear Regression) เพื่อวิเคราะห์ราคาที่ดิน โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วยข้อมูลที่ดินรายแปลงบริเวณทางต่างระดับในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นข้อมูลราคาประเมินที่ดิน จากกรมธนารักษ์ที่ใช้ระหว่าง พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ.2562 พบว่าราคาที่ดินที่ใกล้ทางต่างระดับมีราคาประเมินสูง เนื่องจากการประเมินราคาที่ดินของทางกรมธนารักษ์อ้างอิงตามราคามูลค่าถนน ซึ่งทางต่างระดับส่วนใหญ่ก่อสร้างตามถนนสายสำคัญ ส่งผลให้ราคาประเมินที่ดินมีราคาสูงตาม จากการประมาณค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลองด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square) และการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial Analysis Technique) พบว่าราคาประเมินที่ดินภายในรัศมี 1 กิโลเมตร จากทางลอดจะมีราคาเพิ่มขึ้น 45,034 บาทต่อตารางวา ในขณะที่ทางยกระดับจะมีราคาลดลง 200 บาทต่อตารางวา นอกจากนี้ยังพบว่าระยะห่างจากตำแหน่งที่ดินถึงสถานที่สำคัญต่าง ๆ มีผลต่อราคาที่ดินมากที่สุด คือ โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานที่ราชการ ระบบขนส่งสาธารณะ ตลาดและห้างสรรพสินค้า ตามลำดับ</p> 2021-06-24T13:28:54+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/892 การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบการใช้บริการจัดส่งอาหารตามต้องการแบบออนไลน์ ก่อนและหลังการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา 2019 2021-07-01T16:36:51+07:00 มัณฑนา วิเทศสนธิ mantana6935@gmail.com ผศ.ดร. เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ kriangkrai@eng.cmu.ac.th ผศ.ดร. อรรถวิทย์ อุปโยคิน auttawit@yahoo.com <p>ความต้องการบริการจัดส่งอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีสารสนเทศนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนจากการเดินทางไปรับประทานอาหารที่ร้านไปสู่การสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งธุรกรรมทั้งหมดในกระบวนการสั่งอาหารสามารถดำเนินการได้โดยสะดวกด้วยแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์แบบเคลื่อนที่ นอกจากนี้ด้วยความตื่นตัวและใส่ใจในสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากวิกฤติการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา 2019 ตลอดจนมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและการจำกัดการเดินทาง ยิ่งมีส่วนผลักดันให้ปริมาณและความถี่ในการใช้บริการจัดส่งอาหารตามต้องการแบบออนไลน์เพิ่มสูงยิ่งขึ้น</p> <p>งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมการเดินทางและการสั่งอาหารแบบออนไลน์ของผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารภายในเขตเมือง ที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากผลกระทบของการระบาดใหญ่ โดยอาศัยแบบสอบถามความพึงพอใจแบบระบุไว้ก่อนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีความคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจของพฤติกรรมในกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการระบาด พบว่า ความต้องการใช้บริการจัดส่งอาหารแบบออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างชัดเจน อีกทั้งยังทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจที่จะเดินทางหรือจะใช้บริการจัดส่งอาหาร อย่างไรก็ตามผลการศึกษาได้ชี้ให้เห็นอีกว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่ได้คงอยู่อย่างถาวร เพราะแม้ว่าผู้บริโภคยังคงใช้งานแอปพลิเคชันจัดส่งอาหารอยู่ แต่ความถี่ของการใช้ลดต่ำลงกว่าช่วงขณะที่เริ่มมีการแพร่ระบาด</p> 2021-06-24T13:29:15+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/907 การวางแผนพัสดุคงคลังที่ทดแทนกันได้ 2021-07-01T16:37:51+07:00 นพพล รัตนบุรี Noppon_rattanaburi@outlook.com มาโนช โลหเตปานนท์ Manoj.L@chula.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบการใช้พัสดุชิ้นส่วนยานยนต์ที่ทดแทนกันได้ พัสดุตะกั่วถ่วงล้อรถยนต์ โดยการกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุของมูลค่าพัสดุจากทางเลือกที่ทำให้ต้นทุนการใช้ต่อครั้งถูกที่สุดเพื่อกำหนดนโยบายการสั่งซื้อพัสดุ ด้วยนโยบายการสั่งซื้อคงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ นโยบายการสั่งซื้อคงที่แบบไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ นโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ และ นโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ กำหนดตัวชี้วัดดังนี้ ระดับพัสดุคงคลังสิ้นงวด ระดับการเติมเต็มพัสดุ และต้นทุนรวมของพัสดุ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการสั่งซื้อคงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 13.99% ระดับการเติมเต็มพัสดุที่ 89.5% และต้นทุนรวมลดลง 5.5% นโยบายการสั่งซื้อคงที่แบบไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 15.40% ระดับการเติมเต็มพัสดุที่ 91.5% และต้นทุนรวมลดลง 9.1% นโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 12.49% ระดับการเติมเต็มพัสดุที่ 96% และต้นทุนรวมลดลง 10.5% และนโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 10.92% ระดับการเติมเต็มพัสดุที่ 94.6% และต้นทุนรวมลดลง 8.5% ดังนั้นนโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุสามารถตอบสนองได้ดีที่สุด</p> 2021-06-24T13:29:33+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1028 การประเมินความปลอดภัยทางถนนด้วยระดับดาวของ iRAP สำหรับโรงเรียนในเขตเมือง เขตชานเมือง และเขตชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ 2021-07-01T16:38:32+07:00 ศุภกร มีลาภ supakron_meela@cmu.ac.th ผศ.ดร.นพดล กรประเสริฐ nopkron@eng.cmu.ac.th <p>การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยยังอยู่ในอัตราที่สูง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน บริเวณพื้นที่หน้าโรงเรียนและถนนโดยรอบโรงเรียนนับเป็นจุดอันตรายต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของนักเรียนนักศึกษา ดังนั้นการประเมินระดับความปลอดภัยทางถนนสำหรับโรงเรียนจึงมีความจำเป็นเพื่อเป็นการระบุพื้นที่เสี่ยงอันนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้การประเมินความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล (iRAP) สำหรับโครงข่ายถนนโดยรอบโรงเรียน โดยเปรียบเทียบระดับความปลอดภัยของถนนของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และคนเดินเท้า ของโรงเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนในเขตเมือง (Urban area) กลุ่มโรงเรียนในเขตชานเมือง (Suburban area) และกลุ่มโรงเรียนในเขตชนบท (Rural area)&nbsp; โดยงานวิจัยได้คัดเลือกโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ศึกษา จากผลการศึกษาประเมินระดับคะแนนความเสี่ยงและระดับคะแนนดาวตามมาตรฐานสากล (iRAP Star Rating) พบว่า ปัจจัยทางสภาพจราจรและลักษณะกายภาพทางถนนส่งผลต่อระดับความปลอดภัยของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้ความปลอดภัยทางถนนในเขตโรงเรียนมีระดับคะแนนดาว 3 ดาวขึ้นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มาตรการจัดการความปลอดภัยและปรับปรุงแก้ไขของถนนในเขตหน้าโรงเรียน จำเป็นต้องเสนอแนะให้เหมาะสมกับปัจจัยเสี่ยงทางถนนและสภาพการจราจรในแต่ละพื้นที่</p> 2021-06-24T13:30:13+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/791 การกำหนดที่ตั้งจุดบริการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมบนทางหลวงโดยตัวแบบครอบคลุมความต้องการสูงสุด: กรณีศึกษาจังหวัดตาก 2021-07-02T10:03:09+07:00 กฤติน เจนสิราสุรัชต์ kittin7524@gmail.com ทรงยศ กิจธรรมเกษร songyot@eng.cmu.ac.th <p>จุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการช่วยเหลือและเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุ ด้วยระยะเวลาการตอบสนองในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุที่มีความรวดเร็ว และมีตำแหน่งที่ตั้งจุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่มีความเหมาะสมในพื้นที่ งานวิจัยนี้นำเสนอตำแหน่งจุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินโดยใช้วิธีการจัดสรรตำแหน่งที่สามารถครอบคลุมความต้องการของผู้ป่วยฉุกเฉินให้มากที่สุด (Maximal Covering Location Problem ;MCLP) จำนวนอุบัติเหตุ และระยะเวลาการตอบสนองของจุดบริการทางแพทย์ฉุกเฉินในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ ถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาตำแหน่งที่ตั้งจุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินบนถนนทางหลวงที่เหมาะสมและครอบคลุมความต้องการในพื้นที่สูงที่สุด จากกรณีศึกษาจุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดตาก พบว่า จำนวนจุดบริการที่กรมทางหลวงมีการวางแผน อาจไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุได้ตามมาตรฐานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ การเพิ่มจำนวนจุดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินมีความจำเป็นในการลดระยะเวลาในการเข้าช่วยเหลือ และบางกรณีควรพิจารณาตำแหน่งที่ตั้งที่สามารถดำเนินงานร่วมกันหากมีผู้ประสบอุบัติเหตุจำนวนมาก</p> 2021-06-24T13:30:26+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/820 ปัจจัยกำหนดอุปสงค์การใช้บริการเรียกรถรับส่งแบบออนไลน์ ท่ามกลางการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา 2019 2021-07-01T16:39:53+07:00 ประภาพร พาพิมพ์ prapaporn_pa@cmu.ac.th เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ kriangkrai@eng.cmu.ac.th มานพ แก้วโมราเจริญ manop@eng.cmu.ac.th <p>ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่และความต้องการบริการเดินทางที่น่าเชื่อถือและพร้อมปรับตามความประสงค์ของผู้ใช้ นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันธุรกิจการเรียกใช้บริการรถรับส่งแบบออนไลน์ได้รับความนิยมทั่วโลกตลอดช่วงทศวรรษ การให้บริการรถรับส่งถูกพัฒนาบนแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้เดินทางสามารถวางแผนการเดินทางและลักษณะการให้บริการที่สอดคล้องตามความต้องการ ตลอดจนการจองรถและชำระค่าโดยสารผ่านทางแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยวิกฤติการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และมาตรการลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่ตามมาทั้งการเว้นระยะห่างทางสังคมและการทำงานจากที่บ้าน ล้วนส่งผลให้พฤติกรรมการเดินทางเปลี่ยนแปลงไป</p> <p>งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงและลักษณะของผลกระทบจากการระบาดใหญ่ที่มีต่อพฤติกรรมการเดินทางของผู้คนในเขตเมืองโดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้ใช้บริการเรียกรถรับส่ง บทความนี้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจ โดยใช้ข้อมูลซึ่งรวบรวมจากกลุ่มผู้ใช้บริการเรียกรถรับส่งแบบออนไลน์ในเมืองเชียงใหม่ ด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจแบบระบุไว้ก่อน ผลการวิเคราะห์ยืนยันถึงผลกระทบของการระบาดใหญ่ซึ่งพลิกผันอุปสงค์การขนส่งสาธารณะ อีกทั้งยังสามารถบ่งชี้ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้บริการเรียกรถรับส่ง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม สิ่งอำนวยความสะดวกและรูปแบบการขนส่ง และทัศนคติทางสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม</p> 2021-06-24T13:30:59+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/937 การประเมินประสิทธิภาพของระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติที่รองรับความเร็วสูงบนทางพิเศษบูรพาวิถี 2021-07-01T16:40:37+07:00 พลฉัตร ยงญาติ ponlachat.y@gmail.com พรรณทิพา พันธ์ยิ้ม punyimmy_ju@hotmail.com ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล siwat.exat@gmail.com เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร thepp9@hotmail.com <p>การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีแผนการพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษ โดยการนำเทคโนโลยีระบบการเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบไม่มีไม้กั้นในรูปแบบหลายช่องทาง (Multi - Lane Free Flow: MLFF) มาใช้กับระบบทางพิเศษ ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีระบบตรวจจับยานพาหนะอัตโนมัติ (Automatic Vehicle Identification: AVI) ร่วมกับระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition: ALPR) ดังนั้น จึงได้มีการทดสอบประสิทธิภาพด้านความแม่นยำของระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติที่รองรับความเร็วสูง และระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติที่ไม่รองรับความเร็วสูง โดยการติดตั้งอุปกรณ์ 1) กล้อง ALPR 2) อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจร (Microwave Radar Sensor) และ 3) อุปกรณ์ตรวจจับยานพาหนะ (Detector) บนโครงป้ายคร่อมช่องจราจร (Gantry) ตำแหน่ง กม. 32+500 ทิศทางมุ่งหน้าบางนา ทางพิเศษบูรพาวิถี จากการทดสอบทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืนนั้น พบว่า อุปกรณ์ Detector สามารถตรวจจับยานพาหนะได้ทั้งหมด 80,364 คัน แบ่งเป็นยานพาหนะที่ใช้ความเร็วสูงกว่า 120 กม./ชม. จำนวน 31% ยานพาหนะที่ใช้ความเร็วระหว่าง 100-120 กม./ชม. จำนวน 58% และยานพาหนะที่ใช้ความเร็วต่ำกว่า 100 กม./ชม. จำนวน 11% โดยระบบอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์จากกล้อง ALPR ที่รองรับความเร็วสูงมีความแม่นยำในการตรวจจับยานพาหนะ จำนวน 76,291 คัน คิดเป็น 94.93% และระบบอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์จากกล้อง ALPR ที่ไม่รองรับความเร็วสูงมีความแม่นยำในการตรวจจับยานพาหนะ จำนวน 41,740 คัน คิดเป็น 51.94% ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้จะสามารถนำไปใช้สำหรับระบบการเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบไม่มีไม้กั้นในรูปแบบหลายช่องทาง (MLFF) ได้ในอนาคต</p> 2021-06-24T13:33:38+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/928 ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ต่อพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2021-07-01T16:41:24+07:00 จณิตตา จารุวัฒนานนท์ 6270028521@student.chula.ac.th <p><strong>ปัจจุบันทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จากสถานการณ์ดังกล่าวทางรัฐบาลไทยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนลดลง รวมถึงความกังวลส่วนบุคคลต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 ทำให้ประชาชนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมในการเดินทาง เช่น การหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะและเปลี่ยนไปใช้รูปแบบการเดินทางอื่น เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้สามารถส่งผลกระทบต่อปริมาณจราจรบนท้องถนน ประสิทธิภาพของระบบขนส่งสาธารณะ และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดีการมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดีสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และลดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางได้ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการป้องกัน COVID-19 ได้แก่ มาตรการด้านการกักตัว การใส่หน้ากาก ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม และทัศนคติเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางในสถานการณ์สมมติที่มีเงื่อนไขของจำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศและเปอร์เซ็นต์การได้รับวัคซีนที่แตกต่างกัน โดยใช้ข้อมูลจาก Stated Preference Survey สำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าในการเดินทาง และมีทางเลือกในการเดินทางเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล และวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการและปัจจัยอื่น ๆ โดยใช้สถิติเชิงพรรณา และแบบจำลอง Multinomial Logit ในการวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการเดินทางในแต่ละสถานการณ์ โดยผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้กำหนดนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เดินทางได้</strong></p> 2021-06-24T13:34:05+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/788 การประเมินประสิทธิภาพพื้นที่รับส่งผู้โดยสารในท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ 2021-07-01T16:42:10+07:00 Kasidit Chanma kasidit_ch@cmu.ac.th ปรีดา พิชยาพันธ์ preda@eng.cmu.ac.th <p>การเดินทางโดยเครื่องบินมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ประสบปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่รับส่งผู้โดยสาร เนื่องจากไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการจอดรับส่งผู้โดยสารภายในท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ โดยใช้แบบจำลองการขนส่งและจราจรระดับจุลภาคช่วยในการวิเคราะห์หารูปแบบการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งประเมินจากพฤติกรรมของผู้โดยสารบริเวณจุดรับส่งและความเร็วของยานพาหนะที่เข้ามาภายในพื้นที่รับส่งผู้โดยสาร โดยเงื่อนไขในแบบจำลองแบ่งเป็น 4 เงื่อนไขหลัก คือ (1) การจัดพื้นที่การรับส่งผู้โดยสารแบบปัจจุบันของท่าอากาศยาน (2) แบบแบ่งบริเวณเป็นกลุ่มยานพาหนะ(Sections) (3) การรับส่งแบบ FIFO (First In First Out) และ (4) แบบกำหนดช่องเดินรถเฉพาะประเภท เพื่อทำการวิเคราะห์และประเมินระยะเวลาการรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งจะแสดงถึงความล่าช้าที่เกิดขึ้นในการรับส่งผู้โดยสารแต่ละครั้ง ซึ่งผลการวิเคราะห์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและการจราจรบริเวณท่าอากาศยาน ทั้งยังเป็นมาตรการในการรับมือกับปัญหาจราจรที่จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี</p> 2021-06-24T13:34:13+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/962 วิธีการผ่อนปรนปัญหาแบบลากรานจ์สำหรับแบบจำลองการจัดเส้นทางยานพาหนะร่วมกับโดรน 2021-07-01T16:44:52+07:00 พีรวิชญ์ เจริญวุฒิ perawit.cha@gmail.com มาโนช โลหเตปานนท์ manoj.l@chula.ac.th <p>การขนส่งสินค้าปัจจุบันนี้มีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเนื่องจากการมาของระบบการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตทำให้หลายบริษัทได้พัฒนาการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ เพื่อตอบสนองตลาดและลดต้นทุน หนึ่งในนั้นคือการใช้โดรนไร้ผู้บังคับร่วมกับยานพาหนะอื่นเช่นรถบรรทุก โดยโดรนสามารถออกจากทั้งคลังสินค้าหรือจากรถบรรทุกเพื่อไปส่งสินค้าแล้วกลับมาที่ฐานพัก เพื่อรอรถบรรทุกมารับกลับหรือบินกลับคลังสินค้าเอง ปัญหาการจัดเส้นทางของยานพาหนะร่วมกับโดรน (Vehicle Routing Problem with Drone) ที่ศึกษาเป็นปัญหาการจัดเส้นทางการส่งสินค้าของรถบรรทุกและโดรนไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่มากจึงไม่สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบทั่วไปได้ งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเทคนิคการผ่อนปรนปัญหาแบบลากรานจ์ (Lagrangian Relaxation) เพื่อนำมาใช้ควบคู่กับเทคนิค Brach-and-Price ในการคำนวนขอบเขตล่างของคำตอบในแต่ละขั้นของ Branch-and-Price ซึ่งขอบเขตล่างของลากรานจ์นั้นจะมีค่าใกล้คำตอบมากกว่าคำตอบจาก Column Generation ในขั้นนั้น ส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการหาคำตอบลดลง</p> 2021-06-24T13:34:59+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/970 การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสัญจรไปสู่ Active Mobility 2021-07-01T16:45:44+07:00 ทรงวุฒิ พันธุมจินดา 63601141@kmitl.ac.th ปรีดา จาตุรพงศ์ preeda.ch@kmitl.ac.th รัฐพงศ์ มีสิทธิ์ ratthaphong.me@eng.buu.ac.th สุเมธี สนธิกุล khunchay16@gmail.com สุพัตรา สำราญจิตร์ ait.strike@gmail.com <p><strong>จากสภาวะการณ์ของโลกในปัจจุบัน เช่น มลพิษทางอากาศ การมีโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ ทำให้การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นเรื่องยาก ด้วยเหตุนี้ World Health Organization หรือ WHO จึงมีแนวคิดที่จะทำให้คนในสังคมมีสุขภาพดียิ่งขึ้นโดยการสนับสนุนให้คนมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอในกิจวัตรประจำวัน (Physical Activities, PA) หนึ่งในกิจวัตรประจำวันที่สำคัญที่ได้นำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้คือการเดินทาง หรือเรียกว่า Active Mobility ซึ่งหมายถึงการเดินทางที่ผู้เดินทางต้องมีการขยับเขยื้อนร่างกายอย่างแข็งขัน เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน เป็นต้น แนวคิดใหม่นี้ถูกนำไปใช้จนประสบผลสำเร็จในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น ประเทศไทยเองก็ได้ริเริ่มการผสมผสานแนวคิดนี้กับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับคนเดินเท้าและคนปั่นจักรยานที่มีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบันในบางพื้นที่ยังคงเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการเดินทาง ประกอบกับเหตุผลด้านอื่น ๆ เช่น แรงจูงใจที่สามารถดึงดูดคนให้มาเดินทางแบบ Active Mobility ยังมีอยู่น้อย ดังนั้นโครงการนี้จึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางไปสู่ Active Mobility ในเบื้องต้นได้เลือกสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นพื้นที่ศึกษา ท้ายสุดผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปกำหนดเป็นมาตรการเพื่อทำให้คนในพื้นที่ศึกษามีความสนใจที่จะเปลี่ยนมาเดินเท้าหรือปั่นจักรยานมากยิ่งขึ้นในอนาคต</strong></p> 2021-06-24T13:35:13+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1048 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับรถแท็กซี่ในช่วงวิกฤตโควิด-19 2021-07-01T16:46:43+07:00 ชัยวิทย์ สิทธิเลิศจันยา chaiwit.32408@mail.kmutt.ac.th วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์ viroat.sri@kmutt.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">วิฤตไวรัสโคโรนา</span><span lang="EN-US">-19 (</span><span lang="TH">โควิด</span><span lang="EN-US">-19) </span><span lang="TH">ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดนโยบายต่าง ๆ จากทางภาครัฐ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส เช่น นโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ นโยบายการทำงานที่บ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองส่งผลให้รูปแบบการเดินทางของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการให้บริการของรถแท็กซี่ในช่วงวิกฤติโควิด</span><span lang="EN-US">-19 </span><span lang="TH">วิเคราะห์เปรียบเทียบการให้บริการรถแท็กซี่ในช่วงวิกฤตโควิด</span><span lang="EN-US">-19 </span><span lang="TH">และ ช่วงหลังวิกฤตโควิด</span><span lang="EN-US">-19 </span><span lang="TH">โดยศึกษาเฉพาะพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ข้อมูลนำเข้ารูปแบบ </span><span lang="EN-US">GPS Tracking System </span><span lang="TH">และใช้โปรแกรม </span><span lang="EN-US">ArcGIS </span><span lang="TH">ในการวิเคราะห์เชิงพื้นที่และเวลา </span><span lang="EN-US">Spatial-temporal analysis</span></p> 2021-06-24T13:35:30+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/747 การพัฒนาแบบจำลองการอพยพผู้โดยสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน กรณีศึกษา สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจตุจักร 2021-07-01T16:47:24+07:00 ภูวัต ศรีทาโส phuwat.srithaso731@mail.kmutt.ac.th <p><strong>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอพยพในสถานการณ์ฉุกเฉินของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจตุจักรโดยใช้การสร้างแบบจำลองการอพยพเพื่อหาความเป็นไปได้ในการลดเวลาการอพยพของระบบในตัวสถานี ใช้โปรแกรมPTV VISWALKโดยทำการสอบเทียบกับข้อมูลของการซ้อมอพยพของทางสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจตุจักร จากหน่วยงานของรถไฟฟ้ามหานคร เพื่อมาทำการสอบเทียบกับโมเดลที่สร้างขึ้นมา 3 โมเดล โดยแต่ละโมเดลที่สร้างขึ้นนั้นได้ทำการแบ่งจำนวนคนเป็น2ฝั่งตามแบบข้อมูลการซ้อมอพยพโดยแบ่งจำนวนคนภายในสถานีเป็น 3 แบบเพื่อมาทำการสอบเทียบคือ 1.อัตราส่วนฝั่งละ 0.5 , 2.อัตราส่วนฝั่งละ 0.48 กับ 0.52 และ 3.อัตราส่วนฝั่งละ 0.45 และ 0.55 จากนั้นนำผลที่ได้จากแบบจำลองมาทำการสอบเทียบโดยใช้เกณฑ์จากการซ้อมอพยพเป็นเวลาการอพยพระยะสั้น(จากชาญชาลาจนถึงชั้นจำหน่ายตั๋ว)และระยะยาว(จากชาญชาลาจนถึงทางเท้า)โดยเท่ากับ 3.78 นาที และ 8.4 นาที โดยหาโมเดลที่มีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดมาทำเป็นโมเดลต้นแบบในการสร้างแบบจำลองอื่น ๆเพื่อหาทางลดเวลาอพยพให้น้อยลงต่อไปในระบบขนส่งสาธารณะรถไฟฟ้าใต้ดินจตุจักร</strong></p> <p><em>คำสำคัญ<strong>:</strong> การอพยพ,แบบจำลอง, PTV VISWALK</em></p> 2021-06-24T13:35:44+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/781 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเดินเท้า เพื่อเข้าถึงพื้นที่สีเขียวภายในหมู่บ้านจัดสรร 2021-07-01T16:48:14+07:00 เผด็จ สุขพัฒนาเจริญ sukpattanacharoen@hotmail.com เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ sukpattanachareon@hotmail.com ดำรงศักดิ์ รินชุมภู sukpattanachareon@hotmail.com <p><strong>การสัญจรด้วยการเดินเท้า ได้รับการคำนึงถึงมากขึ้นในการวางแผนและตัดสินใจทางการขนส่งในปัจจุบัน องค์ประกอบหลักส่วนหนึ่งของการสร้างชุมชนพอเพียงและน่าอยู่ คือ ชุมชนที่สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้คนสามารถเดินเท้าเพื่อเข้าถึงพื้นที่กิจกรรมและปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างสะดวก อย่างไรก็ตามการพัฒนาชุมชน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพแต่เพียงส่วนเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนผู้ใช้งาน ทั้งคุณลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเดินเท้า งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความสามารถในการเดินเท้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นพฤติกรรมการเดินเท้าของผู้อยู่อาศัยเพื่อเข้าถึงพื้นที่สวนสาธารณะภายในหมู่บ้านจัดสรร บทความนี้นำเสนอการประยุกต์แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม ด้วยข้อมูลที่รวบรวมจากผู้อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านจัดสรรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเดินเท้า ซึ่งในที่นี้คือระยะเดินเท้าจากบ้านไปยังสวนสาธารณะ กับปัจจัยอิทธิพลที่เป็นไปได้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อยู่อาศัยและปัจจัยสิ่งแวดล้อมเชิงกายภาพ ผลการวิเคราะห์พบว่า ระยะทางเดินเท้าแตกต่างกันตามปัจจัยด้านเพศ อายุ และรายได้ โดยกลุ่มชายวัยกลางคนที่มีรายได้สูงมีแนวโน้มที่จะมีระยะเดินเท้าไกลที่สุด ขณะที่กลุ่มหญิงสูงวัยรายได้ต่ำมีระยะเดินเท้าใกล้สุด นอกจากนี้ยังพบอีกว่าสภาพชุมชนทำให้พฤติกรรมการเดินเท้าเปลี่ยนแปลงไป เช่น ทางเท้าที่ร่มรื่นช่วยให้เดินได้ระยะทางไกลมากขึ้น ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และเจ้าหน้าที่ในการวางแผน กำหนดตำแหน่ง และจัดสรรพื้นที่สีเขียวสำหรับหมู่บ้านจัดสรร</strong></p> 2021-06-24T13:35:57+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/784 การศึกษาการใช้พลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตและพลาสติกโพลิโพรพิลีน เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์คอนกรีต 2021-07-01T16:48:55+07:00 สุทธิชัย เจริญกิจ suttichai1108@gmail.com กิตติศักดิ์ สิริพลวัฒน์ siripollawat@hotmail.com ปิยะชาย ชาญสุข Piyachai.chansuk@gmail.com สราวุธ จริตงาม Jaritngam@gmail.com <p><span style="text-decoration: underline;"><strong>บทคัดย่อ</strong></span></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณสมบัติด้วยพลาสติกรีไซเคิลประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate: PET) และพลาสติกประเภทโพรลิโพพิลีน (Polypropylene : PP) หรือที่พบเห็นได้ในรูปแบบของขวดน้ำดื่มใสและถุงพลาสติกชนิดถุงร้อน ผู้วิจัยเล็งเห็นความเป็นไปได้ในการใช้พลาสติกรีไซเคิลที่ถือเป็นอีกหนึ่งตัวการของปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโดยการนำแอสฟัลต์คอนกรีตชนิด AC 60/70 ผสมกับพลาสติก PET และ PP ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน&nbsp; โดยน้ำหนัก จากนั้นทำการทดสอบหาค่าคุณสมบัติดัชนีซึ่งเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพวัสดุ โดยทำการทดสอบการจิ้มด้วยเข็ม การทดสอบจุดอ่อนตัว การทดสอบจุดวาบไฟและจุดติดไฟ การทดสอบการยืดตัว เมื่อทราบค่าคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว ผู้วิจัยจึงทำการทดสอบการรับกำลังและการใช้งานโดยการทดสอบแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยวิธีมาร์แชล ซึ่งผลการทดสอบแสดงทำให้ทราบ ค่าเสถียรภาพมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 2,133 lbs. ของตัวอย่างแอสฟัลต์ที่ไม่ผสมพลาสติกPET เพิ่มขึ้นเป็น 2,824 lbs. &nbsp;เมื่อผสม PET ที่อัตราส่วน ร้อยละ 10 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.40) และเมื่อใช้พลาสติก PP ผสมเพิ่มที่อัตราส่วนร้อยละ 10 ค่าเสถียรภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.92 อยู่ที่ 2,430 lbs. จาก 2,152 lbs. ของตัวอย่างแอสฟัลต์ไม่ผสมพลาสติก PP กล่าวคือจากการศึกษาทำให้ทราบว่าการใช้พลาสติกรีไซเคิลผสมกับแอสฟัลต์สามารถปรับปรุงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์คอนกรีตได้อย่างมีนัยยะสำคัญ</p> 2021-06-24T13:36:24+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/917 การศึกษาระบบนำส่งผู้โดยสาร (Feeder) ด้วยรถโดยสารประจำทาง เพื่อสนับสนุนการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า 2021-07-01T16:49:59+07:00 ทรงพร สุวัฒิกะ fon.songporn@gmail.com <p>บทความนี้เป็นการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์รูปแบบการเดินทางที่สบับสนุนการเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู้ระบบรถไฟฟ้า เพื่อทดสอบการให้บริการของระบบนำส่งผู้โดยสาร (Feeder) โดยเส้นทางของรถไฟฟ้าที่ทำการศึกษา คือเส้นทางรถไฟฟ้า (MRT) สายสีม่วง ช่วงสถานีเตาปูน – คลองบางไผ่ ขั้นตอนแรกเป็นการรวบรวมข้อมูลทางกายภาพ ได้แก่ ข้อมูลความหนาแน่นของประชากรและระบบขนส่งมวลชนต่างๆ โดยรอบเส้นทางรถไฟฟ้า ขั้นตอนต่อมาเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารด้วยระบบรถไฟฟ้าและทำการคัดเลือกและออกแบบเส้นทางระบบนำส่งผู้โดยสารจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดได้ทั้งหมด 13 เส้นทาง หลังจากนั้นทำการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการ และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการทดลองระบบนำส่งผู้โดยสาร เป็นระยะเวลา 1 เดือน 1 เส้นทาง คือ เส้นทางสถานีแยกติวานนท์ – ท่าน้ำนนทบุรี โดยคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารได้ที่ 761 คน/วันในวันธรรมดาและ 656 คน/วันในวันหยุด ในการทดลองให้บริการในวันธรรมดาและวันหยุดมีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ย 218 คน/วันและ 106 คน/วันเรียงตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนการประเมินผลการให้บริการ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมากที่สุด โดยหากมีการให้บริการเส้นทางนี้ในอนาคตส่วนใหญ่จะยังคงใช้บริการโดยเลือกรูปแบบของรถบริการขนาด 10 - 20 ที่นั่ง มีค่าโดยสารที่เหมาะสมและมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม เช่น GPS ระบุตำแหน่งรถ การชำระค่าโดยสารผ่านระบบออนไลน์ และตารางระบุเวลา เป็นต้น สุดท้ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งผู้โดยสารสามารถต่อยอดจากบทความนี้ในการพัฒนาระบบนำส่งผู้โดยสารในการเดินทางมายังรถไฟฟ้าเพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสารในเส้นทางสายอื่นๆ ได้ต่อไป</p> 2021-06-24T13:36:36+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/929 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับกลยุทธ์มาตรการจ่ายค่าธรรมเนียมการจอดรถในเมืองเชียงใหม่ 2021-07-01T16:51:03+07:00 ปกรณ์ จินายะ pakorn300194@gmail.com อรรถวิทย์ อุปโยคิน auttawit.u@cmu.ac.th เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ kriangkrai@eng.cmu.ac.th ผศ.ดร.สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ pakorn300194@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงปัจจัยด้านคุณลักษณะของการเดินทาง ที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมการจอดรถในเมืองเชียงใหม่ โดยทำการสำรวจข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ที่จอดรถในเขตเทศบาล จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ราย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการสร้างแบบจำลองรีเกรสชั่น เพื่อทดสอบความเป็นอิสระของตัวแปรต่างๆ ได้แก่ อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้, จำนวนใบอนุญาตขับขี่, จำนวนยานพาหนะที่ครอบครอง ความถี่ในการเดินทาง ระยะเวลาในการเดินทาง วัตถุประสงค์ในการเดินทาง และรูปแบบในการเดินทาง เป็นต้น โดยผลที่ได้จากการศึกษาจะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการด้านราคาค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมในการจอดรถในเขตเมืองเชียงใหม่</p> 2021-06-24T13:41:02+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/934 การศึกษาประสิทธิภาพต่อการระบายการจราจรกับลักษณะกายภาพของทางพิเศษในปัจจุบัน กรณีศึกษายกเลิกไม้กั้นช่องทางอัตโนมัติ ด่านฯ อาจณรงค์ ด่านฯ ท่าเรือ 1 และด่านฯ สาธุประดิษฐ์ 1 2021-07-01T16:51:43+07:00 เบญจวรรณ องอาจ polyben46@hotmail.com <p>จากการศึกษาและเก็บข้อมูลช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติ (ETC) ณ ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษอาจณรงค์ เพื่อหาจำนวนตัวอย่างที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการ ควบคู่กับการแก้ปัญหาจราจรสะสมหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ พบว่า ระยะเวลาในการให้บริการ (Service Time) ตั้งแต่ผู้ใช้บริการหยุดรถเพื่อทำการจ่ายค่าผ่านทางพิเศษจนกระทั่งออกจากด่านฯ มีระยะเวลาโดยเฉลี่ย 2 วินาทีต่อคัน โดยกำหนดจุดเริ่มต้น (Start) จากบริเวณหัวเกาะเป็นจุดสมมติจุดที่หนึ่งเพื่อทำการจ่ายค่าผ่านทางพิเศษจนสิ้นสุดเป็นจุดสมมติจุดที่สอง (End) ของการเก็บข้อมูล ค่าที่ได้นี้สามารถนำไปคำนวณหาปริมาณรถสูงสุด (Capacity) ที่วิ่งผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษได้ เพื่อหาความสามารถในการระบายรถสำหรับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ซึ่งพบว่าระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษในรูปแบบเงินสด (MTC) ระบายรถได้ 360 คันต่อชั่วโมง ใกล้เคียงกับผลศึกษาในอดีตที่อยู่ในช่วง 300 - 450 คันต่อชั่วโมง และพบว่าระบบเก็บค่าผ่านทางแบบอัตโนมัติ (ETC) 1 ช่องจราจร ระบายรถได้ 1,800 คันต่อชั่วโมง เมื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับปริมาณจราจรที่ผ่านได้จริงในวันเก็บข้อมูลจำนวน 6 ชั่วโมง (6.00 - 12.00 น.) กรณียกเลิกไม้กั้นช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติ เพื่อศึกษาความสามารถในการวิ่งผ่านของรถว่าเต็มประสิทธิภาพความจุของด่านหรือไม่ พบว่า ก่อนและหลังวันทดสอบ ณ ด่านฯ อาจณรงค์ มีปริมาณการระบายการจราจรเพิ่มขึ้น 1.42% ณ ด่านฯ สาธุประดิษฐ์ 1 มีปริมาณการระบายการจราจรเพิ่มขึ้น 2.16% ณ ด่านฯ ท่าเรือ 1 <br>มีปริมาณการระบายการจราจรเพิ่มขึ้น 0.33% ทั้งนี้ ได้ทำการทดสอบรวม 3 วันทำการ พบว่า สามารถระบายการจราจรได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.3% อย่างไรก็ตาม จากผลการทดสอบยกไม้กั้นด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติทั้ง 3 ด่าน พบว่า ปริมาณจราจรในช่วงเวลาที่ทำการทดสอบยกไม้กั้นสามารถช่วยระบายการจราจรได้ แต่ยังไม่เต็มกับความจุที่สูงสุดที่สามารถทำได้ เนื่องจากพบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังคงชะลอขณะเข้าใช้ช่องทางเสมือนมีไม้กั้นและสภาพทางกายภาพของแต่ละด่านที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ การทดสอบในครั้งนี้ยังได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพความแม่นยำของระบบการอ่านป้ายทะเบียนเพิ่มเติมเพื่อใช้เก็บข้อมูลกรณีมีรถขับผ่านโดยพลการอีกด้วย</p> <p><strong><em>คำสำคัญ: ประสิทธิภาพต่อการระบายการจราจร, กรณีศึกษายกเลิกไม้กั้นช่องทางอัตโนมัติ</em></strong></p> 2021-06-24T13:41:11+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1040 ค่าปรับแก้สำหรับรถเลี้ยวขวาสำหรับเฟสที่เปิดให้สัญญาณพร้อมรถทางตรงในทิศทางตรงข้าม 2021-07-01T16:52:21+07:00 ภัคพล ศรีคงดวง puckapol@hotmail.com วินัย รักสุนทร Rwinai@engr.tu.ac.th <p>การให้สัญญาณไฟจราจรแบบแยกเฟสระหว่างรถเลี้ยวขวากับรถทางตรงในทิศทางตรงข้าม (Protected phasing) เป็นที่นิยมใช้สำหรับทางแยกส่วนใหญ่ในประเทศไทย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนทางแยก แต่ในบางครั้ง การใช้สัญญาณไฟจราจรในลักษณะดังกล่าวอาจทำให้เกิดการเสียเวลาของยานพาหนะ และสิ้นเปลืองไฟเขียวเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บนทางแยกที่มีปริมาณจราจรในระดับต่ำ ทั้งนี้ ผู้วิจัยยังไม่พบงานวิจัยที่มีการศึกษาเพื่อหาผลกระทบของรถเลี้ยวขวาสำหรับเฟสที่เปิดให้สัญญาณพร้อมรถทางตรงในทิศทางตรงข้าม ดังนั้น การศึกษานี้ จะทำการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อให้ได้หาซึ่งค่าปรับแก้สำหรับรถเลี้ยวขวาสำหรับเฟสเปิดให้สัญญาณพร้อมรถทางตรงในทิศทางตรงข้าม สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบสัญญาณไฟให้มีความเหมาะสมกับทางแยกที่มีปริมาณจราจรในระดับต่ำ</p> <p>&nbsp;</p> 2021-06-24T13:41:20+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1252 A STUDY OF FACTORS AFFECTING WRONG-WAY RIDING BEHAVIORS AMONG MOTORCYCLISTS: THE CASE OF URBAN ARTERIAL ROAD IN KHON KAEN CITY, THAILAND 2021-07-01T16:53:02+07:00 นายเจษฎา คำผอง Jetsada.kumphong@gmail.com เอกรินทร์ สุรินอุด Mez.surinaud@gmail.com <p class="Text1" style="margin: 6.0pt 0cm 6.0pt 0cm;">The wrong-way riding behaviors are increasingly found in Thailand, which could result from personal habits or inappropriate road design. The aim of the present study was to explain variables affecting the wrong-way riding behaviors of motorcyclists on Mittraphap Road, Khon Kaen City, Thailand. Data was collected from 200 motorcyclists and analyzed using the Structural Equation Model (SEM) and the Theory of Planned Behavior (TPB), which is a traffic psychology module including Attitude (ATT), Subjective Norm (SN) and Perceived Behavioral Control (PBC). The results indicated that the wrong-way riding intention model and wrong-way riding behavior could explain 58% and 39% of the variance of intentions, respectively, where the most significant factor of intention (IN) was subjective norm (SN). The outcome of this study is useful for responsible agencies to determine the required traffic safety strategies in order to reduce motorcycle accidents in the area of Khon Kaen City.</p> 2021-06-24T13:41:31+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/869 การศึกษาความจุและคุณภาพการให้บริการสถานีขนส่งสาธารณะ 2021-07-01T16:53:57+07:00 บุญวณิช อาตม์อุย boonwanit.95@gmail.com อำพล การุณสุนทรวงษ์ ampolk@gmail.com <p>การเดินทางโดยเรือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนเมืองและมีแนวโน้มการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรทางบกที่ติดขัดได้ การศึกษาความจุและคุณภาพการให้บริการสถานีขนส่งสาธารณะ กรณีศึกษา ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความจุท่าเรือ และแนวทางการปรับปรุงท่าเรือเพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต โดยจะใช้เกณฑ์การวัดจากคู่มือ TCRP Report 165- TCQSM 3rd Edition และ TCRP Report 47 – A Handbook for Measuring Customer Satisfaction and Service Quality</p> 2021-06-24T13:41:39+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1224 ศึกษาประสิทธิภาพโครงการแก้ไขจุดอันตราย (กรณีศึกษา โค้งร้อยศพ จังหวัดเลย) 2021-07-01T16:54:36+07:00 ธันยารัตน์ เสถียรนาม stn.thanyarat@gmail.com <p>จากการศึกษา ศึกษาประสิทธิภาพการแก้ไขจุดอันตราย (กรณีศึกษา โค้งร้อยศพ&nbsp; จังหวัดเลย) เป็นประเมินผลการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยบริเวณจุดอันตรายและศึกษาพฤติกรรมผู้ขับขี่บริเวณจุดอันตราย สายทาง ลย.2002 แยกทางหลวงหมายเลข 21 – บ้านนาซำแซง จังหวัดเลย (โค้งร้อยศพ) ซึ่งเป็นถนนที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้งทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน&nbsp; โดย ประเมินผลการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยได้แก่ อุปกรณ์ ราวลูกกลิ้งป้องกันภัยสาธารณะ (Roller Barrier) ผิวทางประเภท ผิวจราจรพอรัสแอสฟัลติกคอนกรีต (Porous Asphaltic) อุปกรณ์ แบริเออร์คอนกรีตหุ้มยางพารา (Rubber Fender Barrier) เก็บข้อมูลจากการวัดความเสียดทานของผิวทาง การวัดความเร็วในการขับขี่ และสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณที่ติดตั้งอุปกรณ์ ศึกษาพฤติกรรมผู้ขับขี่บริเวณจุดอันตรายโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์สรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยความเสียดทานของพื้นที่ศึกษาขณะถนนหลังดำเนินการสูงขึ้น ความเร็วเฉลี่ยในการขับขี่ของพื้นที่ศึกษาหลังดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ ลดลง ร้อยละ 6.9 สถิติเกิดอุบัติเหตุลดลง&nbsp;&nbsp; และพฤติกรรมการขับขี่ ช่วงเวลาใช้ถนนมากที่สุด คือ ช่วงเช้า ร้อยละ 45.00 ความถี่ในการใช้เส้นทางส่วนใหญ่&nbsp; 4-6 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 50.50 ส่วนใหญ่ใช้ความเร็วในการขับขี่ต่ำกว่า 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ร้อยละ 55.00 ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการติดตั้ง ราวกันอันตราย/แบริเออร์คอนกรีต, ผิวทาง/ไหล่ทาง, ป้ายจราจรในระดับมาก ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด อุบัติเหตุบนถนน สูงสุดคือ ปัจจัยผู้ใช้ถนน รองลงมาคือ ปัจจัยสภาพแวดล้อม, ปัจจัยถนน และ ปัจจัยยานพาหนะ</p> 2021-06-24T13:41:53+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/965 การแก้ไขปัญหาจราจรบนทางหลวงหมายเลข 2 (บริเวณสี่แยกต้นตาล-สี่แยกโรงพยาบาลพล) 2021-07-01T16:55:43+07:00 ธวัช ภู่เจริญโภคา Thawachpj@gmail.com <p>ผลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด และติดสะสมบนทางหลวงหมายเลข 2 (ช่วงอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น)บริเวณสี่แยกต้นตาล สี่แยกอำเภอพล และสี่แยกโรงพยาบาลพล ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆในภาคอีสานทำให้มีความต้องการใช้เส้นทางเดินทางนี้สูงมาก เป็นเหตุให้มีปริมาณจราจรหนาแน่นจึงเกิดปัญหาการจราจรติดขัดและติดสะสมขึ้นทุก ๆปี</p> <p>จากการศึกษาเบื้องต้นบนทางหลวงหมายเลข 2 (ช่วงอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น)ช่วงสี่แยกต้นตาล สี่แยกอำเภอพล และสี่แยกโรงพยาบาลพล โดยสี่แยกทั้ง 3 เป็นทางแยกหลักที่เชื่อมต่อกันบนทางหลวงหมายเลข 2 ผู้วิจัยพบว่าปัญหาจราจรติดขัดและติดสะสม&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เกิดจาก 2 ปัจจัย คือ 1.) ปริมาณจราจรที่หนาแน่น 2.) ปริมาณรถโดยสารและรถบรรทุกสินค้า (6 ล้อขึ้นไป)ที่หนาแน่น ทั้งยังใช้ช่องจราจรในการเดินทางทั้ง 2 ช่องจราจร โดยผู้วิจัยจะทำศึกษา วิเคราะห์หาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาจราจรตามหลักวิศวกรรมด้วยแบบจำลองจราจรเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อให้รองรับการเดินทางของผู้สัญจรไป-กลับ และส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ช่วงเวลาเร่งด่วน หรือวันหยุดสั้นให้น้อยที่สุด และสร้างความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : <em>สี่แยก,แบบจำลองจราจร,การจราจรติดขัด</em></p> 2021-06-24T13:42:03+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1018 การประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในเมืองเชียงใหม่ 2021-07-01T16:56:21+07:00 ณฐพนธ์ พักตรผิว nathaphon_north@hotmail.com <p>ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาทางการจราจรบนถนนเป็นอย่างมากและมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งทำการป้องกันและแก้ไข ซึ่งประเทศไทยเคยมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกๆปี อุบัติเหตุส่งผลกระทบทั้งสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและจิตใจ งานวิจัยเล่มนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในเมืองเชียงใหม่ ด้วยวิธี Kishi’s Logit Model Price Sensitivity Measurement (KLP) และเพื่อเปรียบเทียบมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในเมืองเชียงใหม่ของแต่ละกลุ่มผู้เดินทางที่ใช้รถจักรยานยนต์ รถยนต์และรถขนส่งสาธารณะในการเดินทางเป็นประจำ จากการศึกษาจะสามารถทราบมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของแต่ละกลุ่มผู้เดินทางและความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่าย โดยผลการศึกษาที่ได้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบการตัดสินใจเพื่อการวางแผนนโยบายป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ประเมิณความคุ้มค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับถนนในอนาคต และยังสามารถสะท้อนให้เห็นความตระหนักถึงผลกระทบจากอุบัติเหตุของประชากรในประเทศได้อีกด้วย</p> 2021-06-24T13:42:15+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/769 A STUDY OF BANK SLOPE BEHAVIOR AND EROSION PROTECTION THROUGH NATURAL GEOTEXTILE AND GEOCELL 2021-07-01T16:57:21+07:00 จิดาภา จงดำเกิง jidapa.jdk@mail.kmutt.ac.th ดวงฤดี โฆษิตกิตติวงศ์ Duangrudee.kos@kmutt.ac.th ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์ Chaiwat.ekk@kmutt.ac.th <p>Bank erosion problem occurs in many areas causing the damages to the resident and properties, hence geotextiles and geocells which normally use for strengthening the soil layer on the road is then introduced to protect the erosion that occurs in the bank slope area. Today, people are turning their attention to more environmentally friendly materials due to the impacts of global warming situation. This situation occurs from the large amount of plastic and microplastic being exposed into the environment. In order to reduce the use of plastic, alternative material should be introduced. According to the research, water hyacinths present in large amounts all around the world causing an obstruction to the source of transportation and drainage system. Therefore, this study aims to find the possibility of using water hyacinth which is abundant in many areas as the alternative resource for geotextile and geocell and identify the roughness coefficient of its surface layer. The experiment was conducted in the large-sized open-channel flume, with the bank slope ratio of 2:1 which protected by geotextile and geocell on its surface. Different materials of geotextile and geocell were tested. The deformation of the slope from the erosion under different Reynolds number and time was observed and collected in order to see the erosion protection efficiency of each types of material and roughness coefficient by the flow in open-channel. After the bank slope protection materials was installed, the results show that the erosion protection efficiency of geotextile and geocell for both using water hyacinth fiber and plastic give a remarkably result comparing with the slope without protection. The roughness coefficient of the geocell surface give the same number for both plastic and natural material. Therefore, water hyacinth fiber can be used as an alternative material which helps in reducing of its large amount and eco-friendly material.</p> 2021-06-24T13:45:51+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/967 การประเมินประสิทธิภาพของพารามิเตอร์คิวมูลัสจากแบบจำลองคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้น WRF สำหรับการคาดการณ์อากาศชั้นบน 2021-07-01T16:58:02+07:00 รติ สว่างวัฒนไพบูลย์ rati@hii.or.th สุภลักษณ์ วิมาลา supaluk@hii.or.th จิราวรรณ คำมา jirawan@haii.or.th กนกศรี ศรินนภากร kanoksri@hii.or.th <p class="Text1"><a name="_Hlk61282733"></a><span lang="TH">การคาดการณ์อากาศชั้นบน (อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และทิศทางลม) โดยใช้แบบจำลองคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้น (</span><span lang="EN-US">Weather Research and Forecasting: WRF)</span><span lang="TH"> จำเป็นต้องกำหนดรูปแบบพารามิเตอร์คิวมูลัส บทความนี้ได้ทำการศึกษาการประเมินประสิทธิภาพของพารามิเตอร์คิวมูลัส </span><span lang="EN-US">3</span><span lang="TH"> แบบ ได้แก่ </span><span lang="EN-US">Betts-Miller-Janjic Scheme (BMJ), Grell 3D Ensemble Scheme (G3), </span><span lang="TH">และ </span><span lang="EN-US">Non-Cumulus Scheme </span><span lang="TH">เมื่อใช้กับแบบจำลอง</span><span lang="EN-US"> WRF </span><span lang="TH">ที่ความละเอียด </span><span lang="EN-US">3 × 3 </span><span lang="TH">กิโลเมตร คาดการณ์อากาศชั้นบนบริเวณประเทศไทย ในช่วงพายุโซนร้อนเซินกา เมื่อวันที่ </span><span lang="EN-US">26-28 </span><span lang="TH">กรกฎาคม </span><span lang="EN-US">2560 </span><span lang="TH">โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลตรวจวัดสภาพอากาศชั้นบนจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตรจำนวน </span><span lang="EN-US">4 </span><span lang="TH">สถานี ที่ความกดอากาศ </span><span lang="EN-US">1000-100 </span><span lang="TH">เฮคโตปาสกาล (</span><span lang="EN-US">Hectopascal: hPa) </span><span lang="TH">เวลา </span><span lang="EN-US">00 UTC </span><span lang="TH">ความแม่นยำของการคาดการณ์วัดด้วยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (</span><span lang="EN-US">Root Mean Square Error: RMSE) </span><span lang="TH">ซึ่งผลการวิเคราะห์ความแม่นยำเมื่อคาดการณ์ด้วยแบบจำลอง </span><span lang="EN-US">WRF </span><span lang="TH">ที่ใช้พารามิเตอร์คิวมูลัสทั้งสามแบบพบว่า การคาดการณ์อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ที่ใช้พารามิเตอร์คิวมูลัส </span><span lang="EN-US">G3 </span><span lang="TH">ให้ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและค่า </span><span lang="EN-US">RMSE </span><span lang="TH">ดีที่สุด ซึ่งก็คือผลการคาดการณ์ใกล้เคียงกับข้อมูลตรวจวัดมากที่สุด และสำหรับตัวแปรความเร็วลม และทิศทางลม การใช้พารามิเตอร์ </span><span lang="EN-US">Non-Cumulus </span><span lang="TH">ให้ผลดีที่สุด</span></p> <p>&nbsp;</p> 2021-06-24T13:46:01+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/987 การพัฒนาดัชนีความแห้งแล้งเรอเนสซองซ์สำหรับเตือนภัยแล้งประเทศไทย 2021-07-01T16:58:41+07:00 Somphinith Muangthong somphinith.mu@rmuti.ac.th <p>ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม บ่อยครั้งประสบปัญหาด้านน้ำ ทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง รัฐบาลไทยพยายามแก้ไขปัญหา โดยการจัดการโครงสร้างแหล่งน้ำสำหรับการส่งน้ำเพื่อการเกษตรด้วยระบบชลประทาน แต่ก็ยังคงเผชิญกับภัยแล้งในฤดูแล้งโดยเฉพาะพื้นที่เกษตรน้ำฝน การจัดการแบบไม่ใช่โครงสร้างอย่างหนึ่งซึ่งสามารถใช้เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ความแห้งแล้งทางการเกษตรคือการเตือนเกษตรกร โดยใช้ตัวบ่งชี้ความแห้งแล้ง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้ดัชนีภัยแล้งเรอเนสซองซ์ เพื่อระบุสถานการณ์ความแห้งแล้งในแง่ของความรุนแรงและเชิงพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนสังเกตการณ์คำนวณดัชนี จากนั้นเปรียบเทียบดัชนีกับข้อมูลปริมาณน้ำฝนตรวจวัดเพื่อหาค่าความสอดคล้องและประสิทธิภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าดัชนีภัยแล้งเรอเนสซองซ์สามารถนำไปใช้ติดตามความแห้งแล้งของประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ดี (0.52-0.64) และระบุความแห้งแล้งเชิงพื้นที่ในภาพรวมของประเทศไทย ซึ่งแผนที่ดัชนีภัยแล้งเรอเนสซองซ์ชี้ให้เห็นว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งที่รุนแรงที่สุด ภาคเหนือและภาคกลางเป็นลำดับที่รองตามลำดับ</p> 2021-06-24T13:46:08+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1108 การเปลี่ยนแปลงของชายหาดบ้านกรูดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล 2021-07-01T16:59:28+07:00 ขวัญชนก คุณกิตติ khwanchanok.ku@gmail.com สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง fengstr@ku.ac.th <p>การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของภัยคุกคามจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมชายหาด ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ชายหาดที่เปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในปี ค.ศ 2100 โดยใช้แบบจำลองบรูนร่วมกับการสำรวจข้อมูลภาคสนาม ซึ่งพื้นที่ศึกษาคือ ชายหาดบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีลักษณะเป็นหาดทรายและมีค่าความลาดชันของชายหาดอยู่ในช่วง &nbsp;5-11 องศา โดยประเมินระยะเปลี่ยนแปลงชายหาดเพื่อรองรับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ระยะชายหาดที่เปลี่ยนแปลงของ RCP 2.6, 4.5, 6.0 และ 8.5 มีค่าเท่ากับ -19.70, -24.34, -25.12 และ -33.06 เมตร ตามลำดับ ซึ่งจากผลดังกล่าวทำให้สามารถหาพื้นที่ชายหาดที่เปลี่ยนแปลงของ RCP 2.6, 4.5, 6.0 และ 8.5 ได้เท่ากับ -0.132, -0.163, -0.168 และ -0.221 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ โดยงานวิจัยนี้สามารถใช้เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณริมชายฝั่งทะเลจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล รวมถึงหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อใช้จัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยในอนาคต</p> 2021-06-24T13:46:18+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1175 METEOROLOGICAL DROUGHT HAZARD ASSESSMENT FOR AGRICULTURE AREA IN EASTERN REGION OF THAILAND 2021-07-01T17:00:07+07:00 ธนสิทธิ์ พรหมพิงค์ Thanasit@eng.src.ku.ac.th ธวัชชัย ติงสัญชลี tawatchai@eng.src.ku.ac.th <p>Drought disasters in the eastern region of Thailand occur more frequently now than in the past.&nbsp; The trend of observed rainfall or precipitation is reducing as a consequence of climate change and global warming. This study investigates the assessment of meteorological drought on rice, field crops and orchard fruits using Standard Precipitation Index (SPI) and observed daily rainfall data (1951-2017) from 16 meteorological stations. The analysis considers the observed daily rainfall delineating into 4 timesteps; 1960s (1951-1970); 1980s (1971-1990); 2000s (1991-2010) and 2020s (2011-2017). The Theory of Runs (ToR) was used to define the drought characteristics such as drought duration (DD), drought event (DE), drought severity (DS) and drought intensity (DI) based on the result from SPI values. The result of drought hazard in May 2015 was categorized into five levels; very low (0.05%); low (12.80%); medium (49.11%); high (29.31%) and very high (8.70%). In a long-term period from 1960s to 2000s, all drought characteristics tend to slightly increase from 1.90 to 2.06 months for drought duration; 54 to 59 events for drought event; -1.31 to -1.50 for drought severity; -0.66 to -0.72 for drought intensity respectively.&nbsp;</p> 2021-06-24T13:46:26+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1178 ASSESSMENT OF FUTURE DROUGHT HAZARD TO AGRICULTURAL AREA IN MUN RIVER BASIN, THAILAND 2021-07-01T17:00:52+07:00 ธนสิทธิ์ พรหมพิงค์ Thanasit@eng.src.ku.ac.th ชุติภัทร์ ฝอยหิรัญ chutipat@eng.src.ku.ac.th <p>The Mun River Basin is one of the river basin in Thailand that is faced drought disaster. It impacts to agriculture area of country which was a huge loss of income. Thus, this research presents an assessment of drought to agricultural area in Mun River Basin under climate change projection from three Reginal Climate Models (RCMs) under two Representative Concentration Pathway (RCP4.5 and 8.5). The future projection is considered into three future period 2020s, 2050s and 2080s. The study used Standardized Precipitation Index (SPI), the distance from surface water resources, and groundwater yield to analyze the future drought hazard with Analytic Hierarchy Process (AHP) for determination the weighting factor. The drought period bases on standing shortage of rainfall for rice, field crops and fruit crops so the SPI were evaluated as SPI1, SPI3, and SPI6, respectively. The future drought hazard maps were showed as four drought levels: very low, low, medium, and high. The results found that SPI1 under RCP4.5 and 8.5 have a trend of drought level as low and medium level in 2020s – 2080s. For SPI3 under both RCP4.5 and 8.5, the drought level has trended to decrease both in 2050s and 2080s by compare with in 2020s, changing form high to medium and low level. For SIP6 under RCP4.5, the drought hazard level has trended to decrease severity under RCP4.5 both in 2050s and 2080s by changed from high to medium. Whereas, the drought hazard level under RCP8.5 was the high hazard level in 2050s and 2080s.</p> 2021-06-24T13:46:35+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1051 การคาดการณ์ปริมาณฝนตามระดับการใช้ภาพฉายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบใหม่ในพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนลำปาว 2021-07-01T17:02:06+07:00 หริส ประสารฉ่ำ haris.pr@rmuti.ac.th <p>การคาดการณ์ปริมาณฝนตามระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกแบบใหม่มีความสำคัญต่อการวางแผนจัดการทรัพยากรน้ำในระดับภูมิภาค การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝนในพื้นอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์และอ่างเก็บน้ำลำปาวในพื้นที่ลุ่มน้ำชี โดยใช้ข้อมูลปริมาณฝนปีฐาน ระหว่าง พ.ศ. 2550-2559 จากกรมอุตุนิยมวิทยา และใช้ข้อมูลจากแบบจำลองภูมิอากาศโลกภายใต้กรณีคาดการณ์ RCP4.5 และ RCP8.5 ระหว่าง พ.ศ.2563-2593 จำนวน 5 แบบจำลอง ได้แก่ HadGEM2_AO_RA,&nbsp; HadGEM2_AO_RegCM, HadGEM2_AO_YSU_RSM,&nbsp; CORDEX_SEA_EC_ EARTH และ CORDEX_SEA_MPI_ESM_MR ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง HadGEM2_AO_RA มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการคาดการณ์ปริมาณฝนในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์และอ่างเก็บน้ำลำปาวมากที่สุด เนื่องจากมีผลต่างจากปริมาณฝนปีฐานน้อยที่สุด โดยมีผลต่างในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ กรณีคาดการณ์ ที่ RCP 4.5 เท่ากับ -1.9% และที่ RCP 8.5 เท่ากับ -0.3% และมีผลต่างในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำลำปาวกรณีคาดการณ์ ที่ RCP 4.5 เท่ากับ -3%&nbsp; และที่ RCP 8.5 เท่ากับ 2% ผลของการศึกษานี้คาดว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำ ให้เหมาะสมสำหรับภาคการเกษตรกรรม การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งน้ำ การอุตสาหกรรมและการอุปโภค-บริโภคในอนาคต</p> 2021-06-24T13:46:47+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/880 การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการประเมินพลังงานในโครงข่ายท่อน้ำประปา 2021-07-01T17:02:47+07:00 ณัชพล จารุวิมลกุล natchapol.ch@ku.th ชัยพร เจริญฉิม chaiyaporn.cha@ku.th จิรเมธ ช้างคล่อม jiramate.ch@ku.th สุรชัย ลิปิวัฒนาการ fengsuli@ku.ac.th อดิชัย พรพรหมินทร์ adichai_p@yahoo.com <p>ปัจจุบัน การประเมินพลังงานมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการระบบโครงข่ายท่อน้ำประปา เนื่องจากโครงข่ายท่อน้ำประปาเป็นระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานอย่างมากเพื่อสามารถจ่ายน้ำที่มีปริมาณและแรงดันเพียงพอไปยังผู้ใช้น้ำ การประเมินพลังงานในโครงข่ายท่อน้ำประปาทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพของระบบที่มีอยู่ได้ โดยการประเมินพลังงานจำเป็นที่ต้องทำสมดุลของพลังงาน โดยเบื้องต้น พลังงานเข้าระบบ <em>(E<sub>in</sub>)</em> จะถูกเปลี่ยนอยู่ในรูปพลังงาน 3 องค์ประกอบดังนี้ 1) พลังงานที่ส่งถึงผู้ใช้น้ำ <em>(E<sub>U</sub>)</em> 2) พลังงานที่ออกจากระบบในรูปแบบน้ำสูญเสีย <em>(E<sub>l</sub>) </em>และ 3) พลังงานที่สูญเสียเนื่องจากแรงเสียดทาน <em>(E<sub>F</sub>) </em>การทราบถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของแต่ละองค์ประกอบและทำให้สามารถวางแผนจัดการและเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพได้ เช่น การลดน้ำสูญเสียเพื่อลด <em>E<sub>l</sub></em> การปรับปรุงขยายขนาดท่อเพื่อลด <em>E<sub>F</sub></em> เป็นต้น ปัจจุบันการทำสมดุลพลังงานได้อย่างละเอียดนั้นจำเป็นต้องดึงผลลัพธ์จากแบบจำลองชลศาสตร์ด้วยมือซึ่งทำให้ต้องใช้ระยะเวลาและความละเอียดในการคำนวณอย่างมาก งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถประเมินพลังงานโดยนำเข้าแบบจำลอง EPANET เพื่อความสะดวกในการทำสมดุลพลังงาน โดยได้ทดสอบการใช้งานกับโครงข่ายท่อประธานของสำนักงานการประปานครหลวงสาขาสมุทรปราการ จากข้อมูลเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2561 พบว่า <em>E<sub>in</sub></em> เท่ากับ 36,920 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/วัน (100%) ได้ถูกเปลี่ยนเป็น <em>E<sub>U</sub></em> 16,914 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/วัน (45.8%) <em>E<sub>l</sub></em> เท่ากับ 1039 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/วัน (2.8%) และ <em>E<sub>F</sub></em> สูงถึง 18,967 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/วัน (51.4%) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าควรขยายขนาดท่อเพื่อลด <em>E<sub>F</sub></em></p> 2021-06-24T13:46:55+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/951 การวิเคราะห์อนุกรมเวลาของค่าความเค็มสำหรับการพยากรณ์เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการเตือนภัยล่วงหน้า: กรณีศึกษาลุ่มน้ำเจ้าพระยา 2021-07-01T17:03:27+07:00 ภควัต ลำจวน phakawat.la@ku.th <p><strong>แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีความสำคัญต่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม ในปัจจุบันปัญหาค่าความเค็มในแม่น้ำมีค่าเกินมาตรฐานความเค็มน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาที่ต้องต่ำกว่า 0.25 กรัมต่อลิตร ที่สถานีสูบน้ำดิบสำแล จังหวัดปทุมธานีของการประปานครหลวง ซึ่งเป็นสถานีสำคัญ ทำหน้าที่สูบน้ำดิบสำแลรับน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อผลิตน้ำประปาส่งต่อให้สถานีสูบจ่ายน้ำประปาฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 ถึง พฤษภาคม พ.ศ.2563 ค่าความเค็มได้เกินมาตรฐานน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาหลายเดือนติดต่อกัน &nbsp;ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำดิบของการประปานครหลวงร่วมกับการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อนุกรมเวลาของตัวแปรความเค็มกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ สำหรับการพยากรณ์เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการเตือนภัยล่วงหน้า โดยใช้ข้อมูลความความเค็มที่สถานีสูบน้ำสำแล ความความเค็มของสถานีอื่นๆของการประปานครหลวง ข้อมูลระดับน้ำของสถานีวัดน้ำของกรมชลประทาน ตลอดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ด้วยวิธี Multiple linear regression (MLR) และวิธี Multiple non-linear regression (MNLR) โดยหาความสัมพันธ์ข้อมูลดังกล่าวในช่วงปี 2557-2563 (แบ่งข้อมูลช่วงเรียนรู้และทดสอบเป็น 80% และ 20% ของข้อมูลทั้งหมด) ซึ่งกรณีได้ผลที่ดีที่สุดคือวิธี MLR ในการพยากรณ์ความเค็มล่วงหน้า 24 ชั่วโมง (EI=0.7460) จากการศึกษานี้จะใช้เพื่อเป็นแนวทางการพยากรณ์เบื้องต้นสำหรับวิธีอื่นๆในการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับการเตือนภัยความเค็มเพื่อสูบน้ำดิบของการประปานครหลวง ร่วมกับการบริหารจัดการน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างของกรมชลประทานต่อไป</strong></p> 2021-06-24T13:47:02+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/886 การป้องกันพื้นที่น้ำท่วมในลุ่มน้ำลำพระเพลิงด้วยแบบจำลอง Hec Ras 2021-07-01T17:04:12+07:00 ปรียาพร โกษา kosa@sut.ac.th ธนัช สุขวิมลเสรี fengtnsr@ku.ac.th ภาณุพงษ์ ทีฆบุญญา Panu_teeka@hotmail.com ธนภัทร อุทารสวัสดิ์ tanapat.utansawat@gmail.com <p>ลุ่มน้ำลำพระเพลิงมีอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิงเพื่อเก็บกักน้ำ ถ้ามีฝนตกมากในทางเหนืออ่างเก็บน้ำ น้ำจะระบายลงสู่ทางด้านท้ายน้ำ โดยเฉพาะที่อำเภอปักธงชัยที่จะได้รับผลกระทบน้ำท่วมโดยตรง ดังเหตุการณ์น้ำท่วมหนักในปี 2553 และปี 2562 การศึกษาจึงนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินพื้นที่น้ำท่วม ณ คาบการเกิดซ้ำ 2 5 10&nbsp; 25 50 100 และ 500 ปี และ (2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางสำหรับการป้องกันและลดความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วมในลุ่มน้ำลำพระเพลิง โดยแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษานี้ได้แก่ แบบจำลอง Hec Ras ซึ่งเป็นแบบจำลองที่สามารถจำลองสภาพการไหลได้ทั้ง 1 มิติ และ 2 มิติ จากผลการศึกษาพบว่า ณ คาบการเกิดซ้ำ 2 5 10&nbsp; 25 50 100 และ 500 ปี มีพื้นที่น้ำท่วม 4.62, 25.53, 37.28, 48.42, 55.63, 61.83, และ 73.74 ตร.กม. ตามลำดับ และแนวทางสำหรับการป้องกันและลดความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วม ประกอบด้วย (1) การสร้างพนังกั้นน้ำ (2) การเพิ่มศักยภาพการส่งน้ำและการระบายน้ำ (3) การศึกษาและออกแบบการติดตั้งระบบเตือนภัยน้ำท่วมตามแนวแม่น้ำลำพระเพลิง (4) การศึกษา ออกแบบ และติดตั้งสถานวัดน้ำท่า (5) การศึกษาและออกแบบระบบโครงข่ายแม่น้ำ และ (6) การจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการป้องกันน้ำท่วมและน้ำแล้ง</p> 2021-06-24T13:49:19+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1115 ดัชนีความยืดหยุ่นของคลอรีนสำหรับระบบประปา 2021-07-01T17:04:51+07:00 พรนภัส คงบูชาเกียรติ pornnapus.ko@ku.th อดิชัย พรพรหมินทร์ fengacp@ku.ac.th สุรชัย ลิปิวัฒนาการ fengsuli@ku.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">คลอรีนเป็นหนึ่งในสารเคมีที่นิยมใช้ในระบบจ่ายน้ำประปา เนื่องด้วยความสามารถในการคงอยู่ในระบบ ที่ช่วยป้องกันเชื้อโรค โดยมีค่าต่ำสุดที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลกให้ไม่น้อยกว่า </span>0.2 <span lang="TH">มิลลิกรัม/ลิตร ในขณะที่ค่าที่มากเกินไปจะส่งผลให้น้ำประปามีกลิ่น และรสคลอรีน รวมทั้งอาจก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง การพิจารณาค่าคลอรีนจากค่าดัชนีทำให้การบริหารจัดการดีขึ้น ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอดัชนีความยืดหยุ่นด้านคลอรีนในระบบจ่ายน้ำประปา โดยนำมาประยุกต์กับพื้นที่จ่ายน้ำประปา </span>DMA170605 <span lang="TH">ในสำนักงานประปา สาขาสมุทรปราการ ผลการศึกษาพบว่าค่าดัชนีความยืดหยุ่นของคลอรีนในภาพรวมมีค่าเท่ากับ </span>0.77 <span lang="TH">แสดงว่าในพื้นที่นี้มีคลอรีนอยู่ที่ระดับ </span>77% <span lang="TH">ของปริมาณที่เหมาะสม และเมื่อพิจารณาค่าดัชนียืดหยุ่นของคลอรีนตามเวลาพบว่ามีค่าผันแปรอยู่ระหว่าง </span>0.67 <span lang="TH">และ </span>0.84 <span lang="TH">โดยที่ในช่วง </span>01.00-04.00 <span lang="TH">น. เป็นช่วงที่มีค่าความยืดหยุ่นต่ำ เนื่องจากเป็นช่วงที่จ่ายคลอรีนค่อนข้างต่ำ และเมื่อทำการทดสอบกรณีไม่มีน้ำสูญเสียพบว่าค่าดัชนีความยืดหยุ่นในภาพรวมมีค่าเท่ากับ </span>0.49 <span lang="TH">ลดลง </span>0.28 (36%) <span lang="TH">ค่าดัชนีความยืดหยุ่นของคลอรีนตามเวลาลดลงเหลืออยู่ระหว่าง </span>0.39 <span lang="TH">และ </span>0.56 <span lang="TH">แสดงว่าการลดลงของน้ำสูญเสียมีผลทำให้ดัชนีความยืดหยุ่นของคลอรีนต่ำลง ซึ่งทำให้ผู้ใช้น้ำอาจมีความเสี่ยงต่อเชื้อโรคมากขึ้น เนื่องจากอายุน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อน้ำสูญเสียน้อยลง ดังนั้นเมื่อมีกิจกรรมการลดน้ำสูญเสียหลักในพื้นที่จ่ายน้ำประปาอาจจำเป็นต้องพิจารณาการจ่ายคลอรีนเข้าพื้นที่ใหม่ เพื่อให้ความเข้มข้นของคลอรีนอยู่ในระดับที่เหมาะสม</span></p> 2021-06-24T13:49:30+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/770 การประเมินประสิทธิภาพของการใช้ geocell และ geotextile จากธรรมชาติ เพื่อป้องกันการกัดเซาะบริเวณรอบตอม่อสะพาน 2021-07-01T17:05:34+07:00 กรกนก ฉิมบ้านไร่ kornkanok.c@mail.kmutt.ac.th duangrudee Kositkittiwong Duangrudee.kos@kmutt.ac.th Chaiwat ekkawatpanit chaiwat.ekk@mail.kmutt.ac.th <p><strong>The bridge is the structure that builds for crossing the physical obstacle. There are many designs to support the purpose of use. In civil engineering, the important substructure of the bridge that affects the stability of the bridge is the bridge pier. The bridge piers have problems with the foundation surrounding the pier from the erosion by the streamflow that called scour. This study aims to determine the efficiency of geocell and geotextile to protect the riverbed around the bridge pier from the scour. Since, the geocell and geotextile are made from plastic, as time passed, the plastic was decomposed to be microplastic which is the major cause of the environmental problems. Nowadays, Water hyacinth has become a major pest in waterways around the world, so the products that make from water hyacinth are helpful for water hyacinth management. Accordingly, the water hyacinth was made to be the geocell and geotextile to compare the efficiency with the plastic material in this study. The experiments were carried out in the large open channel flume at KMUTT. The scour mechanism, and the effect of scouring on the riverbed was studied. Geocell and geotextile were installed in 4 different cases in order to find the most effective protection and reduction from the scour. Maximum depth and cylindrical coordinate points around the pier were measured and collected. The experimental results show the maximum scouring depth is increasing in the function of velocity. The bridge pier without geocell and geotextile was conducted to be the reference. The cases of geocell and geotextile that produce by plastic and water hyacinth for protection were carried out to compare and analyze the protection efficiency. For the results, the case of installing geocell with geotextile in both plastic and water hyacinth materials on the riverbed give the most protection efficiency.</strong></p> 2021-06-24T13:49:39+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1049 การศึกษาวิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตรวจวัดได้จากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ 2021-07-01T17:06:12+07:00 วลัยรัตน์ บุญไทย bwalairat@gmail.com รัชเวช หาญชูวงศ์ rhanchoowong@gmail.com ธนัท นกเอี้ยงทอง thanatn@gmail.com ศิริลักษณ์ ชุ่มชื่น schumchean@gmail.com <p><strong>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตรวจวัดได้จากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติด้วยวิธี Double mass curve ร่วมกับการพิจารณาลุ่มน้ำและจำนวนสถานีข้างเคียงที่นำมาใช้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสถานีที่ต้องการตรวจสอบ ในการศึกษาพิจารณาใช้สถานีโทรมาตรข้างเคียงที่ตั้งอยู่ภายในรัศมี 50 กม. ที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุด โดยแบ่งเป็น 5 กรณีศึกษาดังนี้ 1) เลือกสถานีข้างเคียงที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดเพียง 1 สถานี 2) เลือกสถานีข้างเคียงที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันเพียง 1 สถานี 3) เลือกสถานีข้างเคียงที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันในแต่ละ Quadrant มา 1 สถานี 4) เลือกสถานีข้างเคียงที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันหรือไม่ก็ได้ในแต่ละ Quadrant มา 1 สถานี และ 5) เลือกสถานีข้างเคียงที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันหรือไม่ก็ได้ในแต่ละ Quadrant มาอย่างน้อย 1 สถานี โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตรวจวัดได้จากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลในช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนเมษายน 2563 จำนวน 101 สถานี ผลการศึกษาพบว่าการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลปริมาณน้ำฝนด้วยวิธี Double mass curve โดยใช้สถานีโทรมาตรอัตโนมัติที่ตั้งอยู่ภายในรัศมี 50 กิโลเมตร ที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันหรือไม่ก็ได้ในแต่ละ Quadrant มาอย่างน้อย 1 สถานี ให้ความพร้องกันของข้อมูลปริมาณน้ำฝนของสถานีที่ต้องการตรวจสอบกับสถานีข้างเคียงมากกว่ากรณีอื่นๆ</strong></p> 2021-06-24T13:51:04+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/863 การวิเคราะห์สภาพปัญหาด้านน้ำรายตำบลในจังหวัดพัทลุงที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี 2021-07-01T17:06:57+07:00 พงศธร พวงพวา pongsatorn.phua@gmail.com <p class="Text1"><span lang="TH">น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนการขยายตัวของภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันปัญหาด้านน้ำก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในจังหวัดพัทลุงซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศและการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ โดยจากข้อมูลพบว่าจังหวัดพัทลุงมีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยประมาณ 186</span>,<span lang="TH">000 ไร่ และพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง 2</span>,<span lang="TH">500 ไร่ ซึ่งในบทความนี้จะนำเสนอผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาด้านน้ำรายตำบลในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและระดับของปัญหา ทั้งด้านน้ำอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการผลิต น้ำท่วม คุณภาพน้ำ สภาพป่าต้นน้ำ <br>และการบริหารจัดการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้รับผ่านแบบสอบถามจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ กับข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ในแต่ละด้าน เช่น พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก น้ำแล้งซ้ำซาก พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม รวมทั้งการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม โดยจะแสดงผลการเปรียบเทียบปัญหาและความรุนแรงในลักษณะของแผนที่รายตำบล</span></p> 2021-06-24T13:51:14+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1007 การศึกษาผลกระทบต่อสภาพฝนของประเทศไทยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้เทคนิคปรับแก้ความคลาดเคลื่อนแบบสเกลเชิงเส้น 2021-07-01T17:07:58+07:00 วินัย เชาวน์วิวัฒน์ winai@hii.or.th จิราวรรณ คำมา jirawan@hii.or.th กนกศรี ศรินนภากร kanoksri@hii.or.th <p>ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับภูมิภาคหรือลุ่มน้ำนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศระยะยาวจากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลกมาใช้ประกอบการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามข้อมูลสภาพภูมิอากาศจากแบบจำลองโลกมีสเกลที่ค่อนข้างหยาบหรือมีสเกลมากกว่า 100 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป และมีความคลาดเคลื่อนไปจากค่าสภาพภูมิอากาศตรวจวัดไปค่อนข้างมาก ดังนั้นการนำข้อมูลภูมิอากาศมาใช้ในการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศหรือระดับลุ่มน้ำจึงมีความจำเป็นต้องปรับแก้ความคลาดเคลื่อนของข้อมูลก่อนนำมาใช้งานสำหรับการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่มีผลต่อสภาพฝนในแง่ของแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบฝน รายเดือน รายฤดู และรายปี ในการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่มีผลต่อรูปแบบของสภาพฝนของประเทศไทยในแต่ละภูมิภาค โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนข้อมูลด้วยวิธีสเกลเชิงเส้น ร่วมกับข้อมูลฝนตรวจวัดจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลฝนจากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก CMIP6 จำนวน 3 แบบจำลอง ได้แก่ CESM2, MRI-ESM2-0, BCC-CSM2-MR, GFDL-ESM4 และ CanESM และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยค่าสหสัมพันธ์ ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนยกกำลังสอง ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน</p> 2021-06-24T13:51:25+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1011 การศึกษาค่าความเป็นไปได้ของค่าดัชนีฝนสุดขั้วของประเทศไทย ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต 2021-07-01T17:08:51+07:00 วินัย เชาวน์วิวัฒน์ winai@hii.or.th กนกศรี ศรินนภากร kanoksri@hii.or.th สมพินิจ เหมืองทอง Somphinith.mu@rmuti.ac.th <p>ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกส่งผลกระทบต่อภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำของประเทศไทย โดยเฉพาะน้ำท่วม และภัยแล้ง ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น และทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมในอดีต ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำเพื่อรับมือกับน้ำท่วมและภัยแล้งในอนาคตจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อค่าดัชนีฝนสุดขั้วของประเทศไทยในอนาคต อย่างไรก็ตามค่าดัชนีฝนสุดขั้วจากชุดข้อมูลฝนจากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลกมีแนวโน้มที่แตกต่างกันตามสมมุติฐานของแบบจำลอง ซึ่งทำให้การวิเคราะห์แนวโน้มของค่าดัชนีฝนสุดขั้วจากแบบจำลองใดแบบจำลองหนึ่งไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนในการบ่งชี้แนวโน้มของภัยพิบัติจากน้ำได้ ดังนั้นการวิเคราะห์แนวโน้มของดัชนีฝนสุดขั้วจึงได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ค่าความเป็นได้มาใช้วิเคราะห์แนวโน้มของค่าดัชนีฝนสุดขั้ว โดยได้พัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ร่วมกับการวิเคราะห์ฝนสุดขั้ว 10 ดัชนี เพื่อใช้ในการประเมินผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อดัชนีฝนสุดขั้วของประเทศไทย ได้แก่ จำนวนวันฝนตกต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง จำนวนวันที่ฝนตกมากว่า 10 มิลลิเมตร 20 มิลลิเมตร 40 มิลลิเมตร สัดส่วนของวันที่ฝนตกมาก ปริมาณฝนสูงสุด 1 วัน 3 วัน และ 5 วัน ความเข้มของฝน และปริมาณฝนรวมทั้งปี โดยใช้จากข้อมูลฝนตรวจวัดจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลฝนจากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก CMIP6 ที่ปรับแก้ความคลาดเคลื่อนแล้ว จำนวน 5 แบบจำลอง ได้แก่ CESM2, MRI-ESM2-0, BCC-CSM2-MR, GFDL-ESM4 และ CanESM</p> 2021-06-24T13:51:35+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/848 การใช้สมการการหมุนวนร่วมกับสมการการไหลแบบปั่นป่วนในการจำลองพฤติกรรมการไหล บนทางน้ำที่มีความชันสูง 2021-07-01T17:09:29+07:00 ปนัยเทพ พงศ์เจริญพิทย์ panaitep.pong@gmail.com <p><strong>สมการการไหลแบบหมุนวนสำหรับการไหลแบบปั่นป่วนในปัจจุบันได้ถูกพัฒนา และทดสอบกับข้อมูลในห้องปฏิบัติการโดยมีพื้นฐานมาจากการไหลแบบปั่นป่วนในท่อเรียบ สำหรับบทความนี้ได้นำสมการดังกล่าวมาพัฒนาเพื่อใช้สำหรับการไหลในทางน้ำเปิดแบบขั้นบันได โดยที่สามารถแบ่งสมการออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกสมการลอกาลิทึมซึ่งอธิบายผลที่เกิดจากความเค้นเฉือนระหว่างชั้นการไหล กำหนดค่าคงที่ของวอนคาแมนเท่ากับ 0.41 ส่วนที่สองสมการพหุนามดีกรี 3 ซึ่งอธิบายผลที่เกิดจากความเค้นเฉือนบริเวณผนัง และส่วนสุดท้ายสมการพหุนามดีกรี 4 ซึ่งอธิบายผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปรงความดันของการไหล หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับความเค้นเฉือนแบบไร้ผนัง โดยเสนอค่าคงที่การไหลแบบหมุนวนของโคลส์เท่ากับ 0.126 การทดสอบใช้ข้อมูลทั้งหมด 68 ชุด มีอัตราการไหลอยู่ระหว่าง 0.0233-3.285 ลบ.ม/วินาที มีความลาดเอียงของการไหลอยู่ระหว่าง 14-30 องศา และมีความสูงของขั้นบันได้อยู่ระหว่าง 0.0380-0.610 ม. พบว่าสมการที่พัฒนาสมารถอธิบายลักษณะการไหลในทางน้ำเปิดแบบขั้นบันไดได้ดีกว่าสมการการไหลแบบปั่นป่วนในท่อเรียบ ทำให้ทราบได้ว่าความแม่นยำของสมการไม่เกี่ยวข้องกับ องศาของทางระบายน้ำล้น หรืออัตราการไหล แต่จะขึ้นอยู่กับความสูงของขั้นบันได</strong></p> 2021-06-24T13:51:44+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/977 การประเมินผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่มีต่ออัตราการไหลของน้ำ โดยใช้แบบจำลอง MIKE SHE 2021-07-01T17:10:09+07:00 ฐิติรักษ์ อภิรักษ์สันติ thitirak.a@gmail.com ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์ chaiwat.ekk@mail.kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำที่มีต่ออัตราการไหลของน้ำโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ MIKE SHE พร้อมทั้งทำการปรับเทียบและตรวจพิสูจน์แบบจำลองให้เหมาะสม โดยแบบจำลอง MIKE SHE นี้ใช้ในการวิเคราะห์น้ำท่า ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ข้อมูลทางอุตุ-อุทกวิทยาในลุ่มน้ำแม่แจ่ม จากนั้นทำเส้นโค้งแสดงสภาพการไหลของน้ำ (Flow Duration Curves)&nbsp; เพื่อเปรียบเทียบอัตราการไหลของแต่ละปี ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ซึ่งสามารถนำผลที่ได้มาใช้ทำการวิเคราะห์หาความเหมาะสมเพื่อนำมาบริหารจัดการที่ดินหรือหาแนวทางป้องกันต่าง ๆ ได้ในอนาคต</p> 2021-06-24T13:51:51+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/919 Assessment of Catchment Conditions Affecting Water-related Ecosystem 2021-07-01T17:10:49+07:00 Phanith Kruy phanith.kruy@gmail.com <p><strong>Sustainable Development Goal 6 </strong>(<strong>SDG 6</strong>) <strong>is developed to ensures availability and sustainable development of water sanitation for all by 2030</strong>. <strong>SDG 6 includes monitoring change in the extent of water</strong>-<strong>related ecosystems over time</strong>. <strong>Water</strong>-<strong>related ecosystems provide ecological functions and biodiversity for nature and humans, however, they are at risk from human activities</strong>. <strong>Asian Water Development Outlook </strong>(<strong>AWDO</strong>) <strong>also considers environmental water security as one of the key dimensions</strong>. <strong>It is reported in AWDO 2020 that an effective assessment of aquatic ecosystem health is vital to understanding this key dimension</strong>. <strong>The environmental water security</strong> <strong>in AWDO 2020 assesses the health of rivers, wetlands, and groundwater systems and measures the progress in restoring aquatic ecosystems to health on a national and regional scale which is divided into two main indicators which is catchment and aquatic system condition and environmental governance</strong>. <strong>This study focuses on catchment conditions including change in land cover, surface water area, and groundwater depletion that affect water</strong>-<strong>related ecosystem</strong>. <strong>The objective is to analyze changes in riparian land cover, surface water area, riverine connectivity, and groundwater depletion during 2009 </strong>– <strong>2018 in Lower Chao Phraya, Tha Chin and East Coast River Basins</strong>.<strong> The data used for study riparian land cover and surface water area are obtained from satellite data</strong>. <strong>Riverine connectivity analysis is carried out using data from satellite</strong> <strong>and existing large</strong>-<strong>scale spatial data set </strong>(<strong>HydroSHEDs, HydroFALLS, HydroLAKES,</strong> <strong>GRanD, GOODD, WaterGAP, GRIP, GIEMS</strong>-<strong>D15, and DMSP</strong>-<strong>OLS</strong>)<strong>, and the groundwater depletion data are from Department of Groundwater and Gravity Recovery and Climate Experiment </strong>(<strong>GRACE</strong>). <strong>The impacts from agricultural, livestock, and industrial activities as well as urbanization in the three river basins are prominent</strong>. <strong>Restoring ecological system and proper management of water resources to support livelihood and economic development are very important</strong>.</p> 2021-06-24T13:51:59+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/979 การทดสอบการแจกแจงความถี่สำหรับสภาพการไหลต่ำสุดในลุ่มน้ำยม กรณีพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2021-07-01T17:11:31+07:00 ขนิษฐา บุญมา fa_natalee_aimbun2@hotmail.com ผศ.ดร. สมฤทัย ทะสดวก fengsrt@ku.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอการทดสอบทฤษฎีการแจกแจงความถี่ที่เหมาะสมกับข้อมูลอัตราการไหลสูงสุด ในลุ่มน้ำปิง วัง ยม และน่าน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของลุ่มน้ำ และปริมาณอัตราการไหล ซึ่งมีความสำคัญในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำและการออกแบบอาคารชลศาสตร์ ดังนั้นทฤษฎีการวิเคราะห์การแจกแจงความถี่ด้วยวิธีเดิมอาจไม่เหมาะสมกับสภาพการไหลสูงสุดในปัจจุบัน ผู้ศึกษาจึงทำการทดสอบทฤษฎีการแจกแจงความถี่ที่เหมาะสมกับข้อมูลอัตราการไหลสูงสุดใหม่&nbsp; เพื่อเปรียบเทียบทฤษฎีการแจกแจงความถี่ที่นิยมใช้เดิม โดยใช้ข้อมูลน้ำท่าจากสถานีตัวแทนที่มีช่วงข้อมูลไม่ต่ำกว่า 20 ปี และมีลักษณะการไหลแบบธรรมชาติ ทั้งหมด 25 สถานี ทำการเปรียบเทียบทฤษฎีการแจกแจงความถี่ 6 ทฤษฎีคือ ทฤษฎีล็อกเพียรซัน-ประเภทสาม ทฤษฎีไวบูลล์สาม-พารามิเตอร์ ทฤษฎีล็อกนอร์มอลสามพารามิเตอร์ ทฤษฎีแกมมาสองพารามิเตอร์ ทฤษฎีไวบูลล์สองพารามิเตอร์ และ ทฤษฎีกัมเบล ใช้วิธีทดสอบ 3 วิธีคือ วิธีไครสแควร์ วิธีโคลโมโกรอฟ-สเมอรนอฟ และวิธีกำลังสองน้อยที่สุด พบว่าทฤษฎีแกมมาสองพารามิเตอร์ ประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีความน่าจะเป็นสูงสุด มีความเหมาะสมกับข้อมูลอัตราไหลสูงสุดในพื้นที่ศึกษามากที่สุด และมีค่าความเหมาะสมมากกว่าทฤษฎีการแจกแจงความถี่ที่นิยมใช้เดิม</p> 2021-06-24T13:53:48+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1026 การหาแรงพลวัตรจากการไหลในทางน้ำเปิดที่กระทำต่อวัตถุรูปทรงกระบอกที่มีรูปตัดต่างๆ กัน 2021-07-01T17:14:50+07:00 ยุทธนา แก้วคำแจ้ง yuddhana.k@mail.rmutk.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอวิธีการในการหาแรงพลวัตรที่เกิดขึ้นจริงจากการไหลในทางน้ำเปิดที่กระทำต่อวัตถุรูปทรงกระบอกที่มีหน้าตัดต่างๆ กัน ในการศึกษาได้มีการจำลองสภาพการไหลในทางน้ำเปิดให้มีการไหลผ่านวัตถุรูปทรงกระบอกที่ตั้งอยู่ในแนวดิ่งจำนวน 4 หน้าตัด ได้แก่ สี่เหลี่ยมจัตุรัส, สี่เหลี่ยมคางหมู, สามเหลี่ยมด้านเท่า และวงกลม ซึ่งแต่ละรูปตัดจะมีพื้นที่ทาบในแนวตั้งฉากกับการไหลเท่ากัน โดยได้ทำการศึกษาในสภาพการไหลที่มีค่าตัวเลขเรย์โนลด์ (R<sub>e</sub>) อยู่ในช่วง 50,000 ถึง 210,000 &nbsp;สำหรับแรงพลวัตรจากการไหลของน้ำที่เกิดขึ้นจริงกับวัตถุรูปทรงกระบอกในแต่ละหน้าตัดจะสามารถหาค่าได้โดยใช้หลักการสมดุลของโมเมนต์ที่เกิดขึ้นกับวัตถุรูปทรงกระบอก ซึ่งสามารถนำค่าแรงพลวัตรที่เกิดขึ้นจริงไปแสดงความสัมพันธ์กับค่าแรงพลวัตรที่คำนวณได้ในทางทฤษฎีในรูปของค่าสัมประสิทธิ์ของแรงพลวัตร จากผลการศึกษาพบว่าแรงพลวัตรจากการไหลจะแปรผันตรงกับตัวเลขเรย์โนลด์ สำหรับค่าสัมประสิทธิ์ของแรงพลวัตรที่หาค่าได้จะพบว่า มีค่ามากกว่า 1.00 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าค่าแรงพลวัตรจากการไหลที่คำนวณได้ในทางทฤษฎีมีค่าน้อยกว่าค่าแรงพลวัตรที่เกิดขึ้นจริงอันเป็นผลมาจากสมมติฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ</p> <p><strong><em>คำสำคัญ: แรงพลวัตรของการไหลในทางน้ำเปิด, สัมประสิทธิ์ของแรงพลวัตร, แรงเนื่องจากการไหล</em></strong><em><br></em></p> 2021-06-24T13:53:59+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1034 การศึกษาระบบสมดุลตะกอนบริเวณระบบหาดบางเบิด 2021-07-01T17:15:38+07:00 พชรวรรณ วนพฤกษ์ pomwanapruek@gmail.com ผศ.ดร. สมฤทัย ทะสดวก fengsrt@ku.ac.th <p><strong>บทความนี้ทำการศึกษาระบบสมดุลตะกอนบริเวณระบบหาดบางเบิด อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร โดยพิจารณาระบบสมดุลตะกอนบริเวณเนินทรายลมหอบและชายหาดที่มีกระบวนการการเคลื่อนที่ของตะกอนเนื่องจากคลื่นและกระแสน้ำ โดยใช้แนวคิดระบบสมดุลตะกอนระหว่างชายหาดและเนินทราย ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (DEMs) แต่ละปีที่มีในพื้นที่ เพื่อแบ่งขอบเขตชายหาดและเนินทราย โดยเส้นระดับน้ำขึ้นเต็มที่ยอดสูงปานกลาง (MHHW) แบ่งเขตระหว่างทะเลและชายหาด ส่วนเส้นศักยภาพพืช (PVL) แบ่งเขตระหว่างชายหาดและเนินทราย โดยสองเส้นนี้ทำให้ทราบความสูง ความกว้างและความชันของชายหาด ต่อมาแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ย่อย จะได้ขอบเขตชายหาดและเนินทรายที่ชัดเจน เพื่อจำแนกประเภทของเนินทราย จากนั้นคำนวณปริมาณตะกอนชายหาดและเนินทรายแต่ละพื้นที่ย่อย โดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) นำผลที่ได้แต่ละปีมาเปรียบเทียบจะได้อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณตะกอนชายหาดและเนินทราย โดยมีประเภทของเนินทรายเป็นเกณฑ์ พบว่าพื้นที่เนินทรายที่มีการพัฒนามีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณตะกอนเนินทรายสูงกว่าเนินทรายที่ไม่มีการพัฒนา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มของเนินทรายที่หายไปขึ้นอยู่กับประเภทของเนินทราย นอกจากนั้นอาจขึ้นอยู่กับความกว้างของชายหาดและอิทธิพลของกระบวนการทางทะเลและลม ปัจจุบันชายหาดมีอัตราการกัดเซาะระดับปานกลางและในอนาคตอาจมีอัตราการกัดเซาะสูงขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลต่อปริมาณตะกอนเนินทรายด้วยเช่นกัน</strong></p> 2021-06-24T13:54:20+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1089 การพัฒนาระบบจัดการการระบายน้ำสำหรับพื้นที่ชุมชนเมือง ที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำในลุ่มน้ำกก 2021-07-01T17:16:19+07:00 ปุณยวีร์ ประดงจงเนตร Punyawee_p@cmu.ac.th ชูโชค อายุพงศ์ cendru1@gmail.com <p class="Text1"><span lang="TH">การพัฒนา<a name="_Hlk63620405"></a>ระบบจัดการการระบายน้ำสำหรับพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำในลุ่มน้ำกก ทำโดยการเก็บข้อมูลรายละเอียดของสาเหตุและสภาพปัญหาจาก</span><span lang="AR-SA">การกีดขวางทางน้ำ</span><span lang="TH">ในลำน้ำคูคลองและถนนที่กีดขวางทางน้ำพร้อมระบุพิกัดและประเมินระดับความเสี่ยงของแต่ละตำแหน่ง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้านอุทกวิทยาที่ใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการหาปริมาณน้ำหลากสูงสุด ได้แก่ สร้างกราฟความสัมพันธ์ของความเข้ม – ช่วงเวลา – ความถี่ (</span>Intensity – duration – frequency curves) <span lang="TH">สำหรับพื้นที่แต่ละอำเภอในลุ่มน้ำกก <a name="_Hlk63618297"></a>และวิเคราะห์ด้วยหลักความถี่การเกิดโดยพิจารณาทั้งลุ่มน้ำรวม (</span>Regional flood frequency analysis<span lang="TH">) </span><span lang="TH">แล้วนำข้อมูลต่าง ๆ มาวางแนวคิดออกแบบเบื้องต้นการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพของการกีดขวางทางน้ำ โดยผลลัพธ์ที่ได้เป็นแนวคิดและ</span><span lang="AR-SA">วิธีการ</span><span lang="TH">เบื้องต้นในการ</span><span lang="AR-SA">แก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำที่เกิดขึ้นในแต่ละแห่ง</span><span lang="TH">ของ</span><span lang="AR-SA">พื้นที่ชุมชนเมืองในลุ่มน้ำกก</span> <span lang="TH">ซึ่งมีตำแหน่งที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำมีทั้งหมด </span>75<span lang="TH"> จุดที่มีระดับความเสี่ยงต่างๆกัน โดยมีสาเหตุของการกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ </span>40<span lang="TH"> และสาเหตุที่เกิดจากมนุษย์คิดเป็นร้อยละ </span>60 <span lang="TH">โดยข้อมูลและผลลัพธ์ทั้งหมดถูกจัดเก็บลงในฐานข้อมูลสารสนเทศของระบบจัดการการระบายน้ำ</span></p> <p><strong><em><span lang="AR-SA">คำสำคัญ</span>: </em><em><span lang="AR-SA">ระบบจัดการระบายน้ำ</span></em>, <em><span lang="AR-SA">ปัญหาการกีดขวางทางน้ำ</span></em>, <em><span lang="AR-SA">ปริมาณน้ำหลากสูงสุด</span></em>, <em><span lang="AR-SA">ลุ่มน้ำกก</span></em></strong></p> 2021-06-24T13:54:29+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/871 แนวทางการประยุกต์ใช้กูเกิลเอิร์ธเอนจินเพื่อการเฝ้าติดตามและประเมินผลความเสียหายจากภัยธรรมชาติ 2021-07-01T17:17:02+07:00 พ.อ.ดร.พงศ์พันธุ์ จันทะคัต pongpun.ju@crma.ac.th <p>การเฝ้าติดตามและประเมินผลความเสียหายจากภัยธรรมชาติเป็นข้อมูลที่มีค่าและประโยชน์เพื่อการจัดการภัยธรรมชาติ การสื่อสาร และการบรรเทาสาธารณภัยในช่วงเวลาของการเกิดภัยธรรมชาติ การศึกษานี้ได้เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้กูเกิลเอิร์ธเอนจินเพื่อการเฝ้าติดตามและประเมินผลความเสียหายจากภัยธรรมชาติโดยการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-1 Synthetic Aperture Radar (SAR) ซึ่งการศึกษานี้ได้มุ่งเน้นการวิเคราะห์และประเมินผลภัยน้ำท่วมช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2563 ในพื้นที่อำเภอปักธงชัย และอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และไฟป่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ในบริเวณพื้นที่เทือกเขา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าภัยน้ำท่วมช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2563 ในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา คาดการณ์ว่ามีพื้นที่น้ำท่วมขัง 65 ตร.กม. จำนวนผู้ประสบภัย 7,126 คน พื้นที่เพาะปลูกที่ถูกผลกระทบ 883 ตร.กม. และพื้นที่ชุมชมที่ถูกผลกระทบ 68 ตร.กม. และในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา คาดการณ์ว่ามีพื้นที่น้ำท่วมขัง 34 ตร.กม. จำนวนผู้ประสบภัย 25,505 คน พื้นที่เพาะปลูกที่ถูกผลกระทบ 709 ตร.กม. และพื้นที่ชุมชนที่ถูกผลกระทบ 1,420 ตร.กม. สำหรับพื้นที่ความเสียหายจากไฟป่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ในบริเวณพื้นที่เทือกเขา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก คาดการณ์ว่ามีพื้นที่ความเสียหายจากไฟไหม้ป่าในระดับความรุนแรงมาก ~0.2 ตร.กม. (0.36% ของพื้นที่ศึกษา) ระดับความรุนแรงปานกลาง ~11 ตร.กม. (20.44% ของพื้นที่ศึกษา) ระดับความรุนแรงต่ำ ~16 ตร.กม. (29.42% ของพื้นที่ศึกษา) ขนาดพื้นที่ที่มีการฟื้นฟูของป่าไม้ในระดับการฟื้นฟูต่ำ ~2.43 ตร.กม. (4.39% ของพื้นที่ศึกษา) ระดับการฟื้นฟูสูง ~0.08 ตร.กม. (0.14% ของพื้นที่ศึกษา) และพื้นที่ที่คาดการณ์ว่าไม่ได้ถูกผลกระทบจากไฟไหม้ป่า ~25 ตร.กม. (45.25% ของพื้นที่ศึกษา)</p> 2021-06-24T13:54:40+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/771 การประเมินประสิทธิภาพของการรังวัดแบบ Virtual RINEX สำหรับงานรังวัดที่ดินในประเทศไทย 2021-07-01T17:18:12+07:00 สิรีธร เปรียบจัตุรัส 6170305721@student.chula.ac.th ธีทัต เจริญกาลัญญูตา Teetat.C@chula.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">ในปัจจุบัน งานรังวัดที่ดินในประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ (</span>Network-based Real time Kinematic - NRTK) <span lang="TH">ด้วยเทคนิคสถานีฐานอ้างอิงเสมือน (</span>Virtual Reference Station - VRS)<span lang="TH"> มาประยุกต์ใช้งาน โดยเทคนิคสถานีฐานอ้างอิงเสมือนเป็นเทคนิคการรับสัญญาณ </span>GNSS <span lang="TH">จากสถานีฐานอ้างอิงแบบรับสัญญาณต่อเนื่องถาวร (</span> Continuously Operating Reference Stations -CORS)<span lang="TH"> แล้วจะส่งไปยังศูนย์ควบคุม จากนั้นศูนย์ควบคุมจะทำการคำนวณสร้างแบบจำลองค่าแก้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งเครื่องรับของผู้ใช้งานจะส่งตำแหน่งโดยประมาณของตนเอง (ค่าพิกัดในรูปแบบ </span>NMEA)<span lang="TH"> ไปยังศูนย์ควบคุม จากนั้นศูนย์ควบคุมจะใช้ข้อมูลจากสถานี </span>CORS <span lang="TH">ที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้งานจำนวนอย่างน้อย 3 สถานีเพื่อจำลองสถานีเสมือน ณ ตำแหน่งโดยประมาณของเครื่องรับให้ผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ อย่างไรก็ตามเทคนิคสถานีฐานอ้างอิงเสมือนยังสามารถทำงานแบบการประมวลผลภายหลัง (</span>Post processing)<span lang="TH"> ได้โดยการสร้างไฟล์สถานีฐานอ้างอิงเสมือน </span>Virtual RINEX<span lang="TH"> ผ่านเว็บไซต์ </span>CORS WEB<span lang="TH"> โดยงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการรังวัดแบบ </span>Virtual RINEX <span lang="TH">สำหรับงานรังวัดที่ดินในประเทศไทย</span></p> 2021-06-24T11:14:49+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/841 การทำนายปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนจากข้อมูลความลึกเชิงแสง ของอนุภาคแขวนลอยในอากาศและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2021-07-01T17:18:49+07:00 ชญานนท์ เทพแสงพราว t.chayanonth@hotmail.com <p>ในพื้นที่กรุงเทพฯฝุ่นละอองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM<sub>2.5</sub>) เกินค่ามาตรฐานนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี<br>โดย PM<sub>2.5 </sub>นั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐกิจและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก การตรวจวัดโดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศมีข้อจำกัดที่จากผลการตรวจวัดนั้นมีความสัมพันธ์กับพื้นที่โดยรอบในรัศมีไม่มากและด้วยข้อจำกัดด้านจำนวนสถานี ทำให้การวัดปริมาณความเข้มข้น PM<sub>2.5 </sub>มีความน่าเชื่อถือที่ลดลงและไม่สอดคล้องกับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งประเด็นไปที่การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาปริมาณความเข้มข้นของ PM<sub>2.5</sub> ด้วยการวิเคราะห์เชิงพหุคูณโดยใช้ค่าความลึกเชิงแสงของอนุภาคแขวนลอยในอากาศที่ได้จากข้อมูลดาวเทียมเซนเซอร์ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) อัลกอริทึม Multi-Angle Implementation of Atmospheric Correction (MAIAC) ความละเอียดเชิงพื้นที่ 1 กิโลเมตรร่วมกับข้อมูลอุตุนิยมวิทยาที่ได้จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ ความเร็วลมในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ โดยใช้ข้อมูลในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง เดือนมีนาคม ในปี 2560-2563 ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาในแต่ละสถานีนั้นมีค่าสัมประสิทธิ์ตัวกำหนด (R<sup>2</sup>) อยู่ที่ 0.41-0.58 และค่า RMSE อยู่ที่ 9.078-15.876 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นจะเป็นประโยชน์ในการหาปริมาณ PM<sub>2.5</sub> ในพื้นที่ที่ไม่มีสถานีตรวจคุณภาพอากาศภาคพื้นดิน ช่วยลดความผิดพลาดในการแจ้งเตือนปริมาณ PM<sub>2.5</sub> และสามารถใช้ในการบริหารจัดมลพิษทางอากาศในระยะยาวได้</p> 2021-06-24T11:15:22+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/882 การประเมินค่าความถูกต้องทางตำแหน่งโดยใช้ค่าแก้จากระบบดาวเทียม SBAS ร่วมกับการรังวัดด้วยระบบดาวเทียม GPS สำหรับการประมวลผลการรังวัดตำแหน่งแบบจุดเดี่ยว ในพื้นที่ประเทศไทย 2021-07-01T17:19:27+07:00 พูนทรัพย์ ทะริ 6170234821@student.chula.ac.th เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ chalermchon.s@chula.ac.th <p>Satellite Based Augmentation System (SBAS) เป็นระบบเสริมดาวเทียมที่ให้บริการค่าแก้สำหรับดาวเทียม GNSS ซึ่งครอบคุมพื้นที่บริการเป็นบริเวณกว้างและมีการพัฒนาในประเทศต่างๆทั่วโลก เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้อยู่ในพื้นที่บริการแต่ก็รับสัญญาณจากระบบดาวเทียม SBAS ได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาการประเมินค่าความถูกต้องทางตำแหน่งโดยการใช้ค่าแก้จากระบบดาวเทียม SBAS ประมวลผลร่วมกับข้อมูลรังวัดด้วยดาวเทียมนำหน GPS สำหรับการประมวลผลการรังวัดตำแหน่งแบบจุดเดี่ยวในพื้นที่ประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันประเทศไทยสามารถรับสัญญาณจากระบบดาวเทียม SBAS ได้ 3 ระบบ คือ AUSBAS, GAGANและ BDSBAS ซึ่งค่าแก้ทั้ง 3 ระบบข้างต้น ไม่สามารถเพิ่มค่าความถูกต้องทางตำแหน่งทางราบได้โดยเฉลี่ย และค่าแก้จาก AUSBAS และ BDSBAS ไม่สามารถเพิ่มค่าความถูกต้องทางตำแหน่งทางดิ่งได้โดยเฉลี่ย แต่ค่าแก้จาก GAGAN สามารถเพิ่มค่าความถูกต้องทางตำแหน่งทางดิ่งได้โดยเฉลี่ย เทียบกับ การประมวลผลค่าพิกัดจากการรังวัดด้วยดาวเทียมนำหน GPS เพียงอย่างเดียว</p> 2021-06-24T11:15:54+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1116 การพัฒนาเว็บระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับต้นไม้บริเวณถนนเทศบาลนครนครราชสีมา 2021-07-01T17:20:04+07:00 Kittikhun Srithumma kittikhunsrithumma@hotmail.co.th เยาวเรศ จันทะคัต yaowaret.ja@rmuti.ac.th ทิฆัมพร หัดขุนทด Lt3thikamporn.hud@gmail.com <p class="Text1"><span lang="TH">ต้นไม้บริเวณริมถนนในเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโครงสร้างของการพัฒนาเมืองสีเขียว โดยมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำความสะอาดส่งเสริมการใช้ชีวิตและปรับปรุงสุขภาพจิต ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ การพัฒนาเว็บระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือ เว็บ </span><span lang="EN-US">GIS </span><span lang="TH">สำหรับต้นไม้บริเวณเทศบาลนครนครราชสีมา โดยเลือกถนนโพธิ์กลางและจอมสุรางค์ยารต์เป็นกรณีศึกษา และการพัฒนาเว็บ </span><span lang="EN-US">GIS </span><span lang="TH">อาศัยหลักการวงจรการพัฒนาระบบ ซึ่งมี </span><span lang="EN-US">4 </span><span lang="TH">ขั้นตอน คือ </span><span lang="EN-US">(1) </span><span lang="TH">ศึกษาเว็บ</span><span lang="EN-US"> GIS </span><span lang="TH">ปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง </span><span lang="EN-US">(2) </span><span lang="TH">รวบรวมความต้องการของผู้ใช้ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่เทศบาลฯ 4 คน และผู้ที่อาศัยบริเวณสองถนนแบบการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 160 คน </span><span lang="EN-US">(3) </span><span lang="TH">การออกแบบเว็บ </span><span lang="EN-US">GIS </span><span lang="TH">ด้วยแผนภาพบริบท และแผนภาพกระแสข้อมูล และ </span><span lang="EN-US">(4) </span><span lang="TH">พัฒนาเว็บ</span><span lang="EN-US"> GIS </span><span lang="TH">บน </span><span lang="EN-US">ArcGIS </span><span lang="TH">ออนไลน์ ร่วมกับ</span><span lang="EN-US"> Word Press </span><span lang="TH">และ </span><span lang="EN-US">Data Studio Google </span><span lang="TH">รวมถึงการทดสอบ ผลการพัฒนาเว็บ </span><span lang="EN-US">GIS </span><span lang="TH">บน </span><span lang="EN-US">ArcGIS </span><span lang="TH">ออนไลน์ แบ่งออกเป็น </span><span lang="EN-US">4 </span><span lang="TH">ส่วนหลัก คือ </span><span lang="EN-US">(1) </span><span lang="TH">แดชบอร์ด </span><span lang="EN-US">(2) </span><span lang="TH">รายงานผลการสำรวจข้อมูลต้นไม้บริเวณถนน </span><span lang="EN-US">(3) </span><span lang="TH">การแสดงผลชั้นข้อมูล </span><span lang="EN-US">GIS </span><span lang="TH">และ </span><span lang="EN-US">(4) </span><span lang="TH">การรายงานผล และการเข้าถึงเว็บ </span><span lang="EN-US">GIS </span><span lang="TH">นี้ แบ่งเป็น </span><span lang="EN-US">2 </span><span lang="TH">ระดับ คือ </span><span lang="EN-US">(1) </span><span lang="TH">ผู้จัดการเว็บ </span><span lang="EN-US">GIS </span><span lang="TH">และ</span><span lang="EN-US">(2) </span><span lang="TH">ผู้ใช้ทั่วไป ต่อมาเว็บ </span><span lang="EN-US">GIS </span><span lang="TH">บน </span><span lang="EN-US">ArcGIS </span><span lang="TH">ออนไลน์ ได้นำมาประเมินการยอมรับเทคโนโลยีกับผู้เชี่ยวชาญ </span><span lang="EN-US">3 </span><span lang="TH">ท่าน และเจ้าหน้าที่เทศบาลฯ จำนวน </span><span lang="EN-US">4 </span><span lang="TH">ท่าน พบว่าผลประเมินอยู่ในระดับพอใช้โดยมีข้อเสนอแนะ คือ </span><span lang="EN-US">(1) </span><span lang="TH">เพิ่มการแสดงผลข้อมูลด้านวัน เดือน ปี ของการปลูกและการย้ายต้นไม้ และ </span><span lang="EN-US">(2) </span><span lang="TH">เพิ่มการแสดงผลแบบ </span><span lang="EN-US">3 </span><span lang="TH">มิติ ส่วนผลการทดสอบเว็บ </span><span lang="EN-US">GIS </span><span lang="TH">เป็นไปตามเป้าหมายของผู้วิจัยที่ได้กำหนดไว้ </span></p> <p><strong><em><span lang="TH">คำสำคัญ</span><span lang="EN-US">:</span></em></strong> <em><span lang="TH">เว็บระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์</span><strong><span lang="EN-US">, </span></strong><span lang="TH">ต้นไม้บริเวณถนน และเมืองสีเขียว</span></em></p> 2021-06-24T11:16:47+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1119 การประยุกต์ใช้ข้อมูลการรับรู้ระยะไกลสำหรับการจำแนกการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้ในเทศบาลนครนครราชสีมา 2021-07-01T17:20:44+07:00 เยาวเรศ จันทะคัต yaowaret.ja@rmuti.ac.th <p>ปัจจุบันการประยุกต์ใช้ข้อมูลระยะไกลในการจำแนกการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้ในเมืองได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการประเมินต้นไม้และพื้นที่สีเขียวของเมือง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อประยุกต์ใช้ข้อมูลการับรู้ระยะไกลสำหรับการจำแนกการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้ในเทศบาลนครนครราชสีมา โดยมีวิธีการศึกษา คือ (1) การเลือกและเตรียมข้อมูลดาวเทียมจากโปรแกรมกูลเกิลเอิร์นในปี พ.ศ. 2563-2564 (2) การจำแนกการใช้ที่ดินและการปกคลุมเรือนยอดด้วยการแปลตีความด้วยสายตา&nbsp; และ (3) การประเมินความถูกต้องจากภาคสนามและตารางเมตริซ์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ามีการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้ในเทศบาลฯ (พื้นที่เทศบาลฯ ทั้งหมด 37.78 ตร.กม.) ประมาณ 66.48 ตร.กม. (17.14%) โดยพบการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้ในพื้นที่ชุมชน 43.12 ตร.กม. พื้นที่เกษตร 15.24 ตร.กม. พื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติ 6.11 ตร.กม. และพื้นที่อื่นๆ เช่น ถนน และบริเวณริมขอบน้ำ 2.10 ตร.กม. โดยมีการประเมินความถูกต้องจากภาคสนามประมาณ 81.56% ผลการศึกษาที่ได้นี้จะนำไปใช้เป็นสารสนเทศเชิงพื้นที่สำหรับการพัฒนาเมืองสีเขียวในเทศบาลฯ โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับงานต่อไป คือ ควรศึกษาปัจจัยที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ที่ดินและการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้</p> 2021-06-24T11:17:44+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1135 เปรียบเทียบการรังวัดเพื่อคำนวณปริมาตรด้วยเครื่องเลเซอร์สแกนภาคพื้นดิน และอากาศยานไร้คนขับในพื้นที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 2021-07-01T17:21:30+07:00 ธีรดนย์ ทองคำ 597050@egat.co.th ธเนศพล บุญประกอบ 594717@egat.co.th บุญฤทธิ์ เขียวอร่าม boonyarit.k@egat.co.th ภานุวัฒน์ ทะนะอ้น panuwat.t@egat.co.th อัษฎาวุธ ตอนจักร์ arsadawut.t@egat.co.th จักรกฤษณ์ สิทธิยศ jakgrit.s@egat.co.th วีระเชษฐ์ แปงเขียว weerachet.p@egat.co.th วรวุฒิ สวัสดี worrawut.sa@egat.co.th ธนนันท์ แสนคำลือ thananan.san@egat.co.th <p><strong>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการรังวัดปริมาตรดินและถ่านหินในเหมืองแม่เมาะโดยใช้การรังวัดด้วยเครื่องเลเซอร์สแกนภาคพื้นดิน ซึ่งเป็นวิธีการรังวัดที่มีความถูกต้องสูงและใช้ตรวจสอบปริมาตรการขุดขนดินและถ่านหินของเหมืองแม่เมาะในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับการรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ ที่ใช้หลักการประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานแบบปีกตรึง (Fix wing) รุ่น Wingtra One ประมวลผลแบบ Post Processing Kinematic (PPK) พร้อมหมุดควบคุมภาพถ่ายทางอากาศ โดยผลของการเปรียบเทียบค่าแตกต่างของการรังวัดปริมาตรในพื้นที่ตัวอย่าง 3 พื้นที่ บริเวณเขตบ่อเหมืองแม่เมาะ พบว่าปริมาตรที่รังวัดได้หารด้วยขนาดพื้นที่แตกต่างกันในระดับไม่เกิน 8 เซนติเมตร ซึ่งสามารถนำมาใช้ในงานรังวัดเก็บรายละเอียดที่ไม่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูงมากได้ โดยประหยัดเวลาการทำงานภาคสนามและเพิ่มพื้นที่การรังวัดในแต่ละวันได้กว้างมากยิ่งขึ้น</strong></p> 2021-06-24T11:18:12+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/885 การวิเคราะห์ค่าความรุนแรงพื้นที่เผาไหม้จากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 2021-07-01T17:22:11+07:00 อนุเผ่า อบเเพทย์ fengaha@ku.ac.th ภูภัส ทองจับ phuphat.t@ku.th วันสิริ สุกสีนวล wunsiri.s@ku.th อาทิตยา ยีบ๊ะ atittaya.y@ku.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลการศึกษาพื้นที่เผาไหม้จากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 ร่วมกับการประมวลผลด้วยโปรแกรม QGIS เพื่อสร้างแผนที่วิเคราะห์ค่าความรุนแรงการเผาไหม้ (Burn Severity) โดยใช้เหตุการณ์การการเกิดไฟป่าเมื่อกลางเดือนมีนาคม ค.ศ.2020 จังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา โดยทำการดาวน์โหลดภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 จากhttps://earthexplorer.usgs.gov ในสองช่วงเวลาคือช่วงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2019 เป็นข้อมูลภาพก่อนเกิดไฟป่าและเดือนเมษายน ค.ศ.2020 เป็นภาพหลังเกิดไฟป่า จากนั้นทำการประมวลผลค่าความรุนแรงการเผาไหม้(Burn Severity) โดยใช้โปรแกรม QGIS ในการประมวลผล จากการประมวลผลมีขั้นตอนในการประมวลผลหลายขั้นตอนทำให้ใช้เวลาในการทำงานมากเกินความจำเป็นและได้แก้ไขโดยสร้าง Model Designer ในโปรแกรม QGIS เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงาน จากการประมวลผลค่าความรุนแรงการเผาไหม้แสดงผลเป็นข้อมูล Raster จึงนำมาแปลงเป็นข้อมูลPolygonเพื่อให้ทราบถึงขอบเขตพื้นที่การเผาไหม้จากนั้นนำมาคำนวณหาดัชนีการเผาไหม้ (dNBR) โดยการจัดกลุ่ม (classification) ชั้นข้อมูลเป็น5ระดับความรุนแรงตาม USGS กำหนด แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับจุดความร้อนที่มีค่า FRP &gt; 30 บนจังหวัดเชียงใหม่ในพื้นที่เดียวกัน ดังนั้นผลการศึกษาสามารถนำมาทำแผนที่แสดงพื้นที่ความเผาไหม้ (Burned area mapping) ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพิบัติภัยและพัฒนาใช้กับศาสตร์อื่นๆ</p> <p><em>คำสำคัญ</em><em>:</em> <em>ดาวเทียม</em><em>เซนติเนล</em><em>-2</em><em>, ค่าความรุนแรงการเผาไหม้, </em><em>โมเดล ดีไซน์เนอร์</em><em>, ดัชนีการเผาไหม้, </em><em>พลังงานการแผ่รังสีความร้อน</em></p> 2021-06-24T11:18:44+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/906 การวิเคราะห์ดัชนีต่างๆของที่ดินที่สร้างขึ้นและที่ดินเปล่าในเมืองย่างกุ้งประเทศเมียนมาร์ 2021-07-01T17:22:49+07:00 Su Nandar Tin - sunandar.tin@student.mahidol.edu Wutjanun Muttitanon wutjanun.mut@mahidol.edu <p>Land distribution guidelines and recognition of national trends are important in preparing and evaluating changes in the land description data. This paper focuses primarily on the basic extraction from the satellite images of LANDSAT 5,7,8 and Sentinel 2A from USGS within thirty years of the urbanization from 1990 to 2020 of the built-up area for urban planning. GIS techniques for built-up area modeling are used in this research to calculate indices such as the Enhanced Built-up and Bareness Index (EBBI), the Normalized Difference Built-up Index (NDBI), the Urban Index (UI), and Normalized difference bareness index (NDBAI). Therefore, this research points out a variable approach to automatically mapping standard of enhanced built-up and bare land index (EBBI) changes with simple indices and according to index outputs. The number of outputs between the EBBI index and NDBI and UI rate was to use the entire Landsat imagery spectral range, generating less spectral variability between modifications in the built-up area and higher precision compared to the other indices. The percentage of Landsat's and Sentinel-2A's imaginary outputs was to use the entire spatial range of Landsat images that created less spectral complexity for higher accuracies between built-up area improvements compared to the other Landsat feature index, where the urban expansion area increased from 43.6 percent in 1990 to 92.5 percent in 2020. This research has an overall assessment accuracy of an average of 78% in Landsat and 93% in sentinel 2A with the value of the coefficient of linear regression 0.972 is rated as substantial. The modeling method was efficient, simple to implement quickly, which can be used to figure out the extraction of the built-up area.</p> 2021-06-24T11:19:18+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/969 การศึกษาพัฒนาการของจุดความร้อนจากไฟในภาคเหนือของประเทศไทยโดยใช้การประมาณความหนาแน่นแบบเคอร์เนล 2021-07-01T17:23:27+07:00 อุนนดา แพศรีวโรทัย ounnada.pa@gmail.com กรวิก ตนักษรานนท์ ounnada.pa@gmail.com <p>การเผาชีวมวลจำพวกเศษวัชพืชและต้นไม้นั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากส่งผลให้เกิดควันพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ กระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ อีกทั้งยังบดบังทัศนะวิสัยอีกด้วย ซึ่งรูปแบบและสาเหตุของการเผานั้นยังไม่สามารถบ่งบอกชัดเจนได้โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ป่าสงวน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถสำรวจภาคพื้นสนามอย่างละเอียดได้&nbsp; ในปัจจุบันไฟป่าและไฟจากการเผาสามารถติดตามได้ค่อนข้างเรียลไทม์จากระบบเซนเซอร์บนดาวเทียม นั่นคือ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) และระบบใหม่ที่สามารถให้ความละเอียดที่ยิ่งขึ้น นั่นคือ Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) ในบทความวิจัยนี้ได้นำวิธีการประมาณความหนาแน่นแบบเคอร์เนล (Space-Time Kernel Density Estimation) ในการวิเคราะห์ข้อมูลจุดความร้อนเชิงพื้นที่และเวลาที่ได้มาจากระบบ VIIRS ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม&nbsp; พ.ศ. 2562 และ วันที่ 4 เมษายน&nbsp; พ.ศ. 2563 การวิเคราะห์ดังกล่าวแสดงให้เห็นบริเวณที่มีไฟเกิดขึ้นหนาแน่นและการเปลี่ยนแปลงของไฟตามเวลา ซึ่งผลที่ได้จากการวิเคราะห์ได้นำมาแสดงผลในรูปแบบของ 3 มิติเชิงพื้นที่และเวลาทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปรียบเทียบระหว่างเวลาได้ ทั้งยังเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของบริเวณกลุ่มความร้อนเริ่มต้นจากขนาดเล็กจนขยายกว้างและสามารถบ่งชี้บริเวณเริ่มต้นของไฟ โดยเพื่อการประเมินความถูกต้องนั้น บทความนี้ยังได้รายงานเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้และข่าวเกี่ยวกับการเกิดไฟป่า ผลการวิเคราะห์เหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันอัคคีภัยและยังสามารถใช้ในการพยากรณ์การเกิดไฟได้อีกด้วย</p> 2021-06-24T11:19:47+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1080 การศึกษาหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการสร้างอ่างเก็บน้ำ กรณีศึกษา อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2021-07-01T17:24:47+07:00 ปภัสสร นามจิรโชติ Baiporpps@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาพื้นที่เหมาะสมในการสร้างแหล่งเก็บน้ำต้นทุนที่เหมาะสมพอกับปริมาณความต้องการน้ำในการ<br>อุปโภค-บริโภค และ การเกษตรกรรมของประชาชนในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับกระบวนการวิเคราะห์แบบศักภาพเชิงพื้นที่ ในการจำลองพื้นที่กักเก็บน้ำ ใช้ปัจจัยสำหรับทำการศึกษา 5 ปัจจัย ซึ่งหาค่าน้ำหนัก<br>ปัจจัยโดยการวิเคราะห์ศักภาพเชิงพื้นที่ ได้ดังนี้ ปริมาณน้ำฝนค่าน้ำหนักเท่ากับ 4 สภาพใช้ที่ดินในปัจจุบันค่าน้ำหนักเท่ากับ 4 การรายน้ำของดิน<br>ค่าน้ำหนักเท่ากับ 3 ลักษณะภูมิประเทศค่าน้ำหนักเท่ากับ 2 ลักษณะทางธรณีวิทยาค่าน้ำหนักเท่ากับ 2 นำมาซ้อนทับข้อมูลทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อหาพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนาอ่างเก็บน้ำได้ 3 ระดับดังนี้ พื้นที่เหมาะสมมาก 125,280,155.52 ตารางเมตรคิดเป็นพื้นที่<br>ร้อยละ14.19 เหมาะสมปานกลาง 125,280,155.52 ตารางเมตรคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 64.25 และเหมาะสมน้อย 190,427,396.25 ตารางเมตร<br>คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 21.56 และการนำข้อมูลมาบูรณาการคำนวณหาความจุของพื้นที่อ่างเก็บน้ำ รวมทั้งความต้องการใช้น้ำของประชาชน<br>ในพื้นที่นั้น พบว่าควรพัฒนาสร้างอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ดังนี้ อ่างเก็บน้ำที่ 1 ตั้งอยู่ ตำบล นาหลวง อำเภอ ทุ่งสง จังหวัด นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่<br>พิกัด WGS 1984 UTM Zone 47N โดยมีพิกัด E: 575728 N: 906188 เก็บกักน้ำจากคลองวังหีบ มีความจุอ่างเก็บน้ำ 109,837,759.45 ลูกบาศก์เมตร และอ่างเก็บน้ำที่ 2 ตั้งอยู่ ตำบล ถ้ำใหญ่ อำเภอ ทุ่งสง จังหวัด นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่พิกัด WGS 1984 UTM Zone 47N โดยมีพิกัด<br>E: 581171 N: 906188 เก็บน้ำจากคลองเปิก มีความจุอ่างเก็บน้ำ 66,584,757.92 ลูกบาศก์เมตร ความจุอ่างเก็บทั้ง 2 อ่างมีความจุรวมกัน176,422,517.37 ลูกบาศก์เมตร โดยความต้องการน้ำสูงสุดรายเดือนมีปริมาณ 150,259,910.22 ลูกบาศก์เมตร เหลือปริมาณน้ำเก็บกัก 26,162,607.15 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งปริมาณน้ำเก็บกักมีแนวโน้มของน้ำเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามฤดูกาล สามารถเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้งได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช</p> <p>&nbsp;</p> 2021-06-24T11:20:18+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1150 การสร้างข้อมูลเส้นชั้นความสูงจากแปรแกรมฟรีแวร์ 2021-07-01T17:25:26+07:00 ติณณ์ ถิรกุลโตมร Tinn.th@rmuti.ac.th <p>การศึกษาการสร้างข้อมูลเส้นชั้นความสูงจากโปรแกรมฟรีแวร์ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาวิธีการสร้างข้อมูลเส้นชั้นความสูงจากโปรแกรม Google Earth Pro ร่วมกับโปรแกรม TCX converter และเพื่อเปรียบเทียบความถูกต้องของข้อมูลเส้นชั้นความสูงที่สร้างขึ้นกับฐานข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงที่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ วิธีการสร้างข้อมูลเส้นชั้นความสูงใช้จุดความสูงจาก Google Earth แปลงเป็นข้อมูล DEM และสร้างเป็นเส้นชั้นความสูงโดยใช้โปรแกรม QGIS สำหรับวิธีการเปรียบเทียบความถูกต้องของข้อมูลเส้นชั้นความสูงที่สร้างขึ้น อาศัยข้อมูลความสูงจาก ALOS DEM ในการเปรียบเทียบ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลความสูงจาก Google Earth สามารถนำมาใช้สร้างเป็นข้อมูลเส้นชั้นความสูงได้ ในการศึกษานี้ สร้างเส้นชั้นความสูงที่มีระยะห่างระหว่างเส้นชั้น 1 เมตร และมีความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root Mean Squared Error, RMSE) เท่ากับ 28.96 เมตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ ที่ยอมรับในความคลาดเคลื่อนระดับนี้ได้</p> 2021-06-24T11:21:11+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/918 ประเมินผลกระทบความแห้งแล้งที่มีต่อพื้นที่พืชพรรณในภาคกลางประเทศไทย 2021-10-15T09:49:13+07:00 สหัชศุภางค์ พิพัฒน์สันติกุล sahatsuparng.pia@student.mahidol.edu <p>Many countries in the world against with mainly natural disaster like drought including Thailand. Thailand is an agricultural country.&nbsp; Especially in the central region that is a corrugated plain area suitable for agriculture. Causing the central region is an important agricultural area (Meteorological Development Bureau, 2015).&nbsp; Hence, the central region is interesting to assess the impact of drought. The objectives of this research were to obtain maps and compare them together and assess drought in central region. This research aims to assess drought in vegetation area in central region of Thailand by using Normalized Difference Drought Index (NDDI) and Vegetation Health Index (VHI) indexes. NDDI and VHI were created by evaluate the index from satellite images of MODIS09 terra 500 m resolution. Satellite images 10 years from January 2010 to December 2019, Monthly data were used in this research and cloud in every image was removed by using conditional. The calculation of NDDI and VHI was based on Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) index. NDDI was calculated by using NDVI and Normalized Difference Water Index (NDWI) indexes while VHI was calculated by using Vegetation Condition Index (VCI) and Thermal Condition Index (TCI) which VCI was calculated from NDVI relationships. NDDI and VHI maps were created to compare with Meteorological map that were created by using meteorological data (rainfall, highest temperature, and lowest temperature) from 26 stations and spatial interpolation technique. The research was shown in the form of map of NDDI and VCI with in last 10 years, the assessment of drought using NDDI shown most of drought are in 2010, 2014 to 2016, and 2018 to 2019. In 2010, there was an abnormally low rainfall due to El Nino especially in May and June. Since 2014, Thailand has had abnormally low rainfall and rainy season was slower than usual, possibly as late as June and lightly than before.</p> 2021-06-24T11:21:54+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/991 การคำนวณหาแบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดทางราบสำหรับกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF2005 ไปสู่ ITRF2008 ของประเทศไทย 2021-07-01T17:28:15+07:00 กรกฎ บุตรวงษ์ 6270004421@student.chula.ac.th ทยาทิพย์ ทองตัน thayathip@nimt.or.th เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ chalermchon.s@chula.ac.th <p><strong>ปัจจุบันองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ในระดับสากล ได้ทำการปรับปรุงกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF (The International Terrestrial Reference Frame) ให้สอดคล้องกับการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะกรมแผนที่ทหารซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่กำหนดโครงข่ายอ้างอิงของประเทศ (Zero Order Geodetic Network) ได้ประกาศใช้ค่าพิกัดบนกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF2008 ที่ epoch2013.10 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นค่าพิกัดบนกรอบพิกัดอ้างอิงสากลที่ได้มีการปรับปรุงล่าสุดและใช้งานในปัจจุบัน บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดทางราบสำหรับกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF2005 ไปสู่ ITRF2008 ของประเทศไทย ประกอบด้วย (1)พารามิเตอร์ของการแปลงค่าพิกัด (Transformation Parameters) ใช้วิธีการแปลงค่าพิกัดฉากสามมิติ (Cartesian Coordinate) ด้วยพารามิเตอร์ 7 ตัว (Helmert Transformation) และ (2)แบบจำลองค่าเศษเหลือ (Grid Residuals) ใช้วิธีการประมาณค่าในช่วง (Interpolation) 4 วิธี คือ IDW, Natural Neighbor, Kriging และ Spline แล้วประเมินค่าความถูกต้องทางราบด้วยค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสอง (RMSE) ด้วยหมุดตรวจสอบจำนวน 100 หมุดที่กระจายตัวทั่วประเทศไทย ผลปรากฎว่าแบบจำลองค่าปรับแก้พิกัดทางราบที่สร้างด้วยวิธี IDW, Kriging, Natural Neighbor และ Spline ให้ค่าความถูกต้องทางราบอยู่ที่ 2.1, 2.2, 2.3 และ 2.4 ซม.ตามลำดับ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนค่าพิกัดให้มีความถูกต้องกับการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกตามมาตรฐานสากล และเป็นการเชื่อมโยงค่าพิกัดของหน่วยงานในประเทศไทยให้สอดคล้องกัน อีกทั้งเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับกรอบพิกัดอ้างอิงสากลอื่นๆ ในอนาคตได้</strong></p> 2021-06-24T11:22:19+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1149 เทคนิคการสำรวจระยะไกลเพื่อการสำรวจและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 2021-07-01T17:29:04+07:00 ติณณ์ ถิรกุลโตมร Tinn.th@rmuti.ac.th <p>การศึกษาเทคนิคการสำรวจระยะไกลเพื่อการสำรวจและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ (1) เพื่อจำแนกข้อมูลพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ในปี 2558 และ 2563 จากภาพดาวเทียม Landsat 8 และ (2) เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ระหว่างปี 2558 และ 2563 วิธีการสำรวจพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ใช้วิธีการจำแนกข้อมูลภาพดาวเทียมแบบกำกับดูแล (Supervised classification) สำหรับการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ใช้วิธีการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของผลการจำแนกข้อมูลใน 2 ช่วงเวลา (Post classification comparison) ผลการศึกษาพบว่า ปี 2558 และ 2563 มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง เท่ากับ 155,944.69 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 62.13 และ 156,438.00 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 62.33 ของพื้นที่ศึกษา ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์ Kappa (Kappa hat coefficient) ในการจำแนกข้อมูลเท่ากับ ร้อยละ 82.49 และ 81.29 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังระหว่างปี 2558-2563 พบว่า พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 124,281.56 ไร่ มีการเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เกษตรกรรมอื่น 31,376.25 ไร่ เปลี่ยนเป็นพื้นที่ป่าไม้ 235.13 ไร่ เปลี่ยนเป็นพื้นที่แหล่งน้ำ 51.75 ไร่ และมีพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่นที่มีการเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ได้แก่ พื้นที่เกษตรกรรมอื่น พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ำ โดยมีพื้นที่เท่ากับ 31,929.19 ไร่ 89.44 ไร่ และ 137.81 ไร่ ตามลำดับ</p> 2021-06-24T11:22:45+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/958 การสร้างแบบจำลองความสูงยีออยด์จาก ข้อมูลระบบนำทางด้วยดาวเทียม ด้วยวิธีแบบสถิตและแบบจลน์ โดยการประมาณค่าฟังก์ชันโพลิโนเมียล จากการสร้างกันชนหลายขนาด บนข้อมูลสถานีร่วมค่าความสูงออร์โทเมตริก 2021-07-01T17:29:45+07:00 ฐิติน บัวทอง titin.b96@gmail.com ศ.ดร.เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ chalermchon.s@chula.ac.th ผศ.ดร.พุทธิพล ดำรงชัย puttipol.d@cmu.ac.th <p>ปัจจุบันการสำรวจรังวัดค่าความสูงออร์โทเมตริก (Orthometric Height) นอกเหนือการทำระดับด้วยกล้องระดับ ยังมีการใช้งานที่แพร่หลายของสมการค่าต่างระหว่างค่าความสูงยีออยด์จากแบบจำลองความสูงยีออยด์ และความสูงทรงรีที่ได้จากการรังวัดโดยระบบนำทางด้วยดาวเทียม (GNSS) ซึ่งมีความรวดเร็วสูงกว่า แต่อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวมีความคาดเคลื่อนขนาดใหญ่ที่เกิดจากการประมาณค่าผิวยีออยด์ รวมถึงค่าคาดเคลื่อนที่เกิดจากการรังวัดข้อมูลทางดิ่งของ GNSS ที่มีมากกว่าการรังวัดข้อมูลทางราบ อยู่ประมาณ 2-3 เท่า แม้จะใช้แบบจำลองยีออยด์ล่าสุด TGM2017 และแบบจำลองยีออยด์ลูกผสม (Hybrid Geoid Model) ในบริเวณกรุงเทพและปริมณฑล หากต้องการถ่ายระดับสำหรับบริเวณใดๆ ซึ่งมีเกณฑ์งานขั้นต่ำสุดที่ 12mm &nbsp;&nbsp;ซึ่งการรังวัดค่าความสูงด้วยวิธี GNSS ยังมีค่าความถูกต้องต่ำกว่าเกณฑ์งานดังกล่าวในระยะทางต่ำกว่า 5 กิโลเมตร ยิ่งไปกว่านั้นการเพิ่มระยะทางดังกล่าวนี้ ยังเป็นการเพิ่มช่วงค่าคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้อีกด้วย ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของข้อมูลในการใช้งานจริง จึงไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้</p> <p>ในการศึกษานี้ จึงมุ่งเน้นในการสร้างแบบจำลองความสูงยีออยด์ที่พอดีที่สุด (Best Fit) ในพื้นที่ใดๆ เพื่อกำจัดค่าคลาดเคลื่อนขนาดใหญ่จากการประมาณค่าแบบจำลอง ให้ข้อมูลมีความถูกต้องทางดิ่งผ่านเกณฑ์งานระดับและให้สามารถควบคุมความถูกต้องทางดิ่งได้ดีขึ้น ด้วยการทดสอบการสร้างแบบจำลองความสูงยีออยด์จากการสร้างกันชน (Buffer) หลายขนาด โดยการประมาณค่าฟังก์ชันโพลิโนเมียล (Polynomial Interpolation)</p> <p><strong><em>คำสำคัญ:</em></strong> <em>แบบจำลองความสูงยีออยด์<strong>, </strong>ค่าความสูงออร์โทเมตริก<strong>,</strong> ระบบนำทางด้วยดาวเทียม<strong>,</strong> การประมาณฟังก์ชันโพลิโนเมียล</em></p> 2021-06-24T11:23:12+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1095 การเปรียบเทียบแปลงค่าพิกัดภูมิศาสตร์กับพิกัดฉากยูทีเอ็ม 2021-07-01T17:30:26+07:00 กนกศักดิ์ ซื่อธานุวงศ์ kanoksak.s@mail.rmutk.ac.th <p>การเปรียบเทียบแปลงค่าพิกัดภูมิศาสตร์(f,l) กับ ค่าพิกัดฉากยูทีเอ็ม(N,E) เป็นการคำนวณระบบพิกัดที่ยึดโยงกับ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พื้นหลักฐาน(Datum) ระบบพิกัด(Coordinates System) และการฉายแผนที่(Map Projection) โดยใช้สูตรสมการของ NGS(Nation Geodetic Survey) , Kruger , Snyder , Redfearn เป็นสูตรสมการในการคำนวณแปลงค่าระบบพิกัด การเปรียบเทียบระบบค่าพิกัดทำการเปรียบเทียบค่าพิกัดภายในสูตรสมการไปกลับ และเปรียบเทียบค่าระหว่างสูตรสมการ พื้นหลักฐานใช้พื้นหลักฐานอ้างอิง(WGS84 : World Geodetic System 1984) การฉายแผนที่ใช้รูปทรงกระบอกขวางรักษารูปร่าง(Transverse Mercator Projection Conformal)</p> <p>ข้อมูลค่าพิกัดภูมิศาสตร์จากโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทย โดยเลือกข้อมูลค่าพิกัดให้เป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด &nbsp;การคำนวณแปลงค่าระบบพิกัดใช้โปรแกรมเอ็กซ์เซล โดยคำนวณบนตารางและเขียนโปรแกรมวีบีเอบนเอ็กซ์เซล</p> <p>ผลการคำนวณแปลงค่าพิกัดภูมิศาสตร์(f,l) ไปเป็นค่าพิกัดฉากยูทีเอ็ม(N,E) และแปลงค่าพิกัดกลับจากค่าพิกัดฉากยูทีเอ็ม(N,E) ไปเป็นค่าพิกัดภูมิศาสตร์(f,l) ในแต่ละสูตรสมการให้ความคลาดเคลื่อนน้อยกว่ามิลลิเมตร และน้อยกว่า 0.001 พิลิปดา การเปรียบเทียบระหว่างสูตรสมการ ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ต่างกัน 0.001 พิลิปดา และค่าพิกัดฉากยูทีเอ็มต่างกันน้อยกว่ามิลลิเมตร</p> <p>การเปรียบเทียบแปลงค่าพิกัดภูมิศาสตร์(f,l) กับ ค่าพิกัดฉากยูทีเอ็ม(N,E) ทำให้รู้ เข้าใจ และสามารถนำสมการสูตรไปคำนวณได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแต่ละสมการมีการพิสูจน์สูตรที่มีความคล้ายคลึงกัน แตกต่างกัน และมีการปรับปรุงการคำนวณที่เรียบง่ายขึ้น ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับระยะทาง ซึ่งก็ยังมีอีกหลายสูตร และก็ให้ผลลัพธ์ที่ยอมรับได้ในงานด้านวิศวกรรมสำรวจ</p> <p>&nbsp;</p> 2021-06-24T11:23:39+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1174 การประมาณค่าช่วงยีออยด์อันดูเรชั่น 2021-07-01T17:31:05+07:00 กนกศักดิ์ ซื่อธานุวงศ์ kanoksak.s@mail.rmutk.ac.th <p>การประมาณค่าช่วงยีออยด์อันดูเรชั่น เป็นการหาค่าเฉลี่ยของฐานข้อมูลยีออยด์อันดูเรชั่นในโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทย โดยใช้สมการเส้นตรง(Bi-Linear) สมการเส้นโค้งกำลังสอง(Bi-Quadratic) และสมการเส้นโค้งกำลังสาม(Bi-Cubic) เปรียบเทียบกับข้อมูลยีออยด์อันดูเรชั่นของโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทย</p> <p>ยีออยด์อันดูเรชั่น(Geoid Undulation) เป็นค่าระยะทางดิ่งระหว่างพื้นหลักฐานอ้างอิงรูปทรงรีกับพื้นหลักฐานอ้างอิงระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยพื้นหลักฐานอ้างอิงรูปทรงรีใช้(World Geodetic System 1984 : WGS84) และพื้นหลักฐานอ้างอิงระดับน้ำทะเลปานกลางใช้วิธีการเดินระดับ(Spirit Leveling) หรือการรังวัดแรงโน้มถ่วงโลก(Gravimetry) ค่ายีออยด์อันดูเรชั่นมีความสำคัญมากกับการรังวัดด้วยดาวเทียมกำหนดตำแหน่งโลก(Global Navigation Satellite System : GNSS) เนื่องจากค่าความสูงที่รังวัดได้เป็นค่าความสูงบนพื้นหลักฐานอ้างอิงรูปทรงรี(Ellipsoid Height) ซึ่งในการก่อสร้างต้องการค่าความสูงบนระดับน้ำทะเลปานกลาง(Orthometric Height)</p> <p>ฐานข้อมูลยีออยด์อันดูเรชั่นจากโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทย ที่ความละเอียดขนาดหนึ่งลิปดา หรือระยะกริดประมาณ 1852x1852 เมตร ขอบเขตเริ่มต้นละติจูดที่ 3 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 95 องศาตะวันออก ข้อมูลกริดขนาด 780 หลัก 1200 แถว เป็นฐานข้อมูลสำหรับการประมาณค่าช่วงเพื่อหาค่าเฉลี่ยยีออยด์อันดูเรชั่น โดยการสร้างแบบจำลองบนโปรแกรมเอ็กซ์เซล และเปรียบเทียบค่ายีออยด์อันดูเรชั่นจากสมการเส้นตรง สมการเส้นโค้งกำลังสอง และสมการเส้นโค้งกำลังสาม</p> <p><strong>การประมาณค่าช่วงหาค่ายีออยด์อันดูเรชั่น ใช้ข้อมูล 411 ข้อมูล ได้ค่าต่างยีออยด์อันดูเรชั่นจากสมการเส้นตรงสูงสุด 0.032 เมตร ค่าต่ำสุด 0.000004 เมตร และอยู่ในช่วงค่าต่าง 0.000004-0.001 เมตร จำนวน 299 ข้อมูล สมการเส้นโค้งกำลังสองค่าสูงสุด 0.025 เมตร ค่าต่ำสุด 0.000001 เมตร และอยู่ในช่วงค่าต่าง 0.000001-0.001 เมตร จำนวน 319 ข้อมูล สมการเส้นโค้งกำลังสามค่าสูงสุด 0.025 เมตร ค่าต่ำสุด 0.000002 เมตร และอยู่ในช่วงค่าต่าง 0.000002-0.001 เมตร จำนวน 303 ข้อมูล</strong></p> 2021-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/780 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเก็บพิกัดต้นไม้ในงานก่อสร้างทาง ระหว่างกล้องโททอลสเตชันและอุปกรณ์จีพีเอสแบบพกพา และโทรศัพท์สมาร์ตโฟน 2021-07-01T17:31:45+07:00 ยศนันทน์ สุวรรณ yotsanansuwan@gmail.com <p>ในการก่อสร้างถนนการเก็บพิกัดวัตถุต่าง ๆที่อยู่บนพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างถือเป็นกระบวนการการทำงานอันดับแรกๆของการก่อสร้างถนน และมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการเวลาการก่อสร้างของโครงการเพราะหากบริหารจัดการในกระบวนการสำรวจรังวัดได้ดีมีประสิทธิภาพไม่ล่าช้าย่อมส่งผลให้การก่อสร้างในส่วนอื่น ๆของโครงการเริ่มก่อสร้างได้รวดเร็วยิ่งขึ้นทำให้เพิ่มโอกาสที่จะก่อสร้างถนนได้เสร็จก่อนหมดอายุสัญญา ดังนั้นการเลือกวิธีการ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสำรวจรังวัดจึงถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในงานก่อสร้างถนนเพราะจะทำให้ใช้ต้นทุน เวลา และทรัพยากรที่มีได้อย่างคุ้มค่า โดยในการศึกษาครั้งนี้จะทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเก็บข้อมูลพิกัดของต้นไม้ที่ติดขัดการก่อสร้างถนน โดยจะเปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ กล้องโททอลสเตชั่น (Total Station) เครื่องรับสัญญาณGPS และแอพพลิเคชั่นหาพิกัดGPSบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสอดคล้องตามสมมุติฐานที่วางไว้โดยได้เสนอแนะส่วนที่พบเห็นในบทสรุป</p> 2021-06-24T11:24:59+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1000 การประเมินประสิทธิภาพและความถูกต้องของเครื่องรับและเสาอากาศรับสัญญาณดาวเทียมราคาประหยัดแบบ สองความถี่สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานด้านอากาศยานไร้คนขับ ด้วยวิธีการหาตำแหน่งจุดเดี่ยวความละเอียดสูง 2021-07-01T17:32:24+07:00 เจตนิพัทธ์ กิตติบุญเกศ 6270376921@student.chula.ac.th ธีทัต เจริญกาลัญญูตา teetat.c@chula.ac.th ไพศาล สันติธรรมนนท์ Phisan.S@Chula.ac.th ธีรรักษ์ มณีนาถ 6270376921@student.chula.ac.th <p><strong><span lang="AR-SA">ปัจจุบันการใช้เครื่องรับและเสาอากาศรับสัญญาณราคาประหยัดแบบสองความถี่ในงานสำรวจเริ่มแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพที่ดีขึ้นพร้อมกับราคาที่เข้าถึงได้ จึงมีการนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่าง</span> <span lang="AR-SA">ๆ</span> <span lang="AR-SA">ที่ต้องการความถูกต้องในระดับเซนติเมตรถึงเดซิเมตร เช่น การใช้ในงาน </span><span lang="EN-US">UAV photogrammetry mapping</span> <span lang="EN-US">, topographic </span><span lang="AR-SA">หรือ </span><span lang="EN-US">surface model </span><span lang="AR-SA">วิธีการหาตำแหน่งจุดเดี่ยวความละเอียดสูง (</span><span lang="EN-US">PPP</span><span lang="AR-SA">) เป็นที่น่าสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถให้ค่าพิกัดที่มีความถูกต้องสูงได้ด้วยข้อมูลรังวัดจากเครื่องรับเพียงเครื่องเดียว ความถูกต้องขึ้นกับข้อมูลนาฬิกาดาวเทียมและอีฟิเมอริสความละเอียดสูง ซึ่งใช้งานง่าย ไม่ต้องอาศัยสถานีฐานและประหยัดค่าใช้จ่าย งานวิจัยนี้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทดสอบประสิทธิภาพและความถูกต้องของค่าพิกัดที่ได้จากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมราคาประหยัดประเภทสองความถี่ </span><span lang="EN-US">(u-blox ZED-F9P) </span><span lang="AR-SA">โดยทำการทดสอบด้วยจานรับสัญญาณราคาประหยัดที่ต่างกัน </span><span lang="EN-US">2</span><span lang="AR-SA"> แบบคือ </span><span lang="EN-US">BT-147 </span><span lang="AR-SA">และ </span><span lang="EN-US">Helix </span><span lang="AR-SA">สำหรับใช้งานภาคพื้นดินและติดบน </span><span lang="EN-US">UAV</span><span lang="AR-SA"> โดยทดสอบ </span><span lang="EN-US">ppp – kinematic </span><span lang="AR-SA">ด้วยการจำลองการทำงานของ </span><span lang="EN-US">UAV </span><span lang="AR-SA">ด้วยการติดตั้งบนรถแล้วทดสอบวิ่งบนทางด่วนด้วยความเร็ว </span><span lang="EN-US">10 m/s </span><span lang="AR-SA">และ </span><span lang="EN-US">20 m/s </span><span lang="AR-SA">แทนการบินด้วยโดรนประเภท </span><span lang="EN-US">multi-rotor </span><span lang="AR-SA">และ </span><span lang="EN-US">fixed wing </span><span lang="AR-SA">ตามลำดับ แล้วนำมาเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องรับแบบ </span><span lang="EN-US">geodetic</span> <span lang="EN-US">(R7 Trimble zephyr2)</span> <span lang="AR-SA">ทั้งแบบวิธี </span><span lang="EN-US">ppp-static </span><span lang="AR-SA">และ </span><span lang="EN-US">ppp-kinematic </span><span lang="AR-SA">เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับความละเอียดถูกต้องที่ต้องการ</span></strong></p> 2021-06-24T11:25:27+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1153 เทคนิคการสำรวจระยะไกลสำหรับการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2A โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลภาพเชิงวัตถุ 2021-07-01T17:33:14+07:00 วิลาวัณย์ ประสมทรัพย์ wilawan.pra@gmail.com <p><strong>ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน เป็นข้อมูลพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีผู้ต้องการใช้งานที่หลากหลาย แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงจากข้อมูลการรับรู้จากระยะไกลอยู่เสมอ ๆ ฉะนั้น ขั้นตอนวิธีการที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนำไปใช้ในการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาค่าพารามิเตอร์การแบ่งส่วนภาพที่เหมาะสมที่สุดสำหรับใช้ในการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินด้วยวิธีการจำแนกภาพเชิงวัตถุ ในการศึกษาครั้งนี้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2A ถูกนำมาใช้การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินบริเวณอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินที่ระดับค่าสเกลพารามิเตอร์ 15 20 และ 25 ให้ค่าความถูกต้องโดยรวมร้อยละ 91.59 89.03 และ 88.30 และมีสัมประสิทธิ์แคปปาเท่ากับ 0.90 0.87 และ 0.86 ตามลำดับ นอกจากนี้ จากการทดสอบค่า Z ระหว่างการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินที่ระดับค่าสเกลพารามิเตอร์ 15 20 และ 25 พบว่า ผลการจำแนกที่ระดับค่าสเกลพารามิเตอร์ 15 กับ 20 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 80 ในขณะที่ผลการจำแนกที่ระดับค่าสเกลพารามิเตอร์ 20 กับ 25 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทุกระดับความเชื่อมั่น จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าการแบ่งส่วนภาพที่ระดับค่าสเกลพารามิเตอร์ที่ 15 เหมาะสมที่สุดสำหรับการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินด้วยวิธีการจำแนกภาพเชิงวัตถุ</strong></p> 2021-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1070 การประเมินความถูกต้องของแบบจำลองระดับภูมิประเทศเชิงเลขจากเทคนิคการจำแนกกลุ่มจุดพิกัดสามมิติ ของการรังวัดภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก 2021-07-01T17:33:55+07:00 ต่อลาภ การปลื้มจิตร torlap_rmutsv@hotmail.com <p>บทความนี้เป็นการนำเสนอการประเมินความถูกต้องของแบบจำลองระดับภูมิประเทศเชิงเลขจากเทคนิคการจำแนกกลุ่มจุดพิกัดสามมิติของการรังวัดภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพและเปรียบเทียบความถูกต้องเชิงตำแหน่งของแบบจำลองระดับภูมิประเทศเชิงเลขที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กที่เป็นที่นิยมในท้องตลาดกับการสำรวจภาคสนามโดยใช้วิธีการสำรวจระดับ และเปรียบเทียบค่าความต่างระดับระหว่างแบบจำลองระดับภูมิประเทศเชิงเลขและแบบจำลองพื้นผิวเชิงเลข ประเมินคุณภาพความถูกต้องเชิงตำแหน่งโดยใช้จุดตรวจสอบทั้งหมดจำนวน 30 จุดบริเวณพื้นที่บ้านสวนตูล จังหวัดสงขลา จากทั้งหมด 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นตั้นไม้หนาแน่น พื้นตั้นไม้โปร่งไม่หนาแน่น และพื้นที่อาคารสิ่งปลูกสร้างพบว่าผลการประเมินค่าความละเอียดถูกต้องทางดิ่ง เท่ากับ 0.111 เมตร และผลการประเมินค่าความละเอียดถูกต้องที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ 0.217 เมตร สามารถนำไปสร้างแผนที่เส้นชั้นความสูงที่มีช่วงของเส้นชั้นความสูง ไม่น้อยกว่า 0.364 เมตร และสามารถผลิตเป็นแผนที่เส้นชั้นความสูงได้ละเอียดที่สุดเท่ากับมาตรส่วน 1:500 ส่วนการตรวจสอบค่าระดับระหว่างแบบจำลองพื้นผิวเชิงเลขกับแบบจำลองลักษณะภูมิประเทศเชิงเลขที่ได้จากอากาศยาน สามารถสกัดความสูงของต้นไม้บริเวณพื้นที่ต้นไม้หนาแน่นและพื้นที่ต้นไม้ไม่หนาแน่นได้ดีในช่วงบริเวณต้นไม้ที่มีความสูงมากว่า10 เมตร เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 14.325 เมตร ส่วนช่วงบริเวณต้นไม้ที่มีความสูงน้อยกว่า 10 เมตร เฉลี่ยอยู่ที่ 6.175 เมตร และแบบจำลองลักษณะภูมิประเทศเชิงเลขสามารถสกัดความสูงของพื้นที่อาคารได้ดีในช่วงบริเวณที่มีความสูงอาคารมากกว่า 5 เมตร เฉลี่ยอยู่ที่ 8.780 เมตร ส่วนช่วงบริเวณที่มีความสูงอาคารน้อยกว่า 5 เมตร เฉลี่ยอยู่ที่ 4.798 เมตร&nbsp;</p> 2021-06-24T11:27:00+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1062 การเลือกพืชไม้ประดับเพื่อใช้ในผนังพืชแนวดิ่งสำหรับลดฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ภายในอาคาร 2021-06-28T15:08:27+07:00 อิทธิ ผลิตศิริ s6201081911015@email.kmutnb.ac.th วรรณวิทย์ เเต้มทอง wannawit@gmail.com <p>ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหามลพิษทางอากาศ จากฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากร อย่างไรก็ตามฝุ่น PM2.5 ไม่ได้อยู่แต่ในที่โล่งแจ้งเท่านั้น ยังพบว่ามีปริมาณฝุ่น &nbsp;PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานในทางเดินภายในอาคาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้อาคาร งานวิจัยนี้ทำการเลือกพืชไม้ประดับ 10 ชนิด เพื่อนำมาใช้ในการลดฝุ่น PM2.5 บริเวณทางเดินภายในอาคารซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการปรับอากาศ โดยทำการทดลองในกล่องให้อยู่ในลักษณะผนังแนวดิ่งและติดตั้งพัดลมหมุนเวียนอากาศบริเวณด้านล่างของผนังพืช การทดลองแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ เปิดพัดลมหมุนเวียนอากาศ และ ไม่เปิดพัดลมหมุนเวียนอากาศ เพื่อวิเคราะห์หาวิธีการติดตั้งและชนิดของพืชที่ช่วยลดฝุ่น PM2.5 ผลการศึกษาพบว่า ต้นพรมญี่ปุ่นสามารถลดฝุ่น PM2.5 ได้ดีที่สุด โดยลดได้ 6.17 * 10<sup>-3</sup> µg/m<sup>3</sup>/cm<sup>2</sup>/hrs เมื่อเปิดพัดลมหมุนเวียนอากาศ และ 6.32 * 10<sup>-3</sup> µg/m<sup>3</sup>/cm<sup>2</sup>/hrs เมื่อไม่เปิดพัดลมหมุนเวียนอากาศ อีกทั้งยังค้นพบว่าการเปิดพัดลมหมุนเวียนอากาศภายในกล่องทดลองผ่านผิวใบของพืช สามารถควบคุมปริมาณฝุ่น PM2.5 ให้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานได้ ภายใน 30 นาที ในขณะที่การทดลองในรูปแบบไม่เปิดพัดลมหมุนเวียนอากาศ สามารถควบคุมปริมาณฝุ่น PM2.5 ให้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานได้ภายใน 2 ชั่วโมง 30 นาที ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ แนะนำให้ใช้ต้นพรมญี่ปุ่นติดตั้งในรูปแบบผนังพืชแนวดิ่งและใช้พัดลมสำหรับดูดฝุ่น PM2.5 ผ่านผิวใบของพืชเพื่อลดมลพิษทางอากาศภายในอาคาร</p> 2021-06-24T10:00:24+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1037 ระบบตรวจวัดฝุ่นละอองในโครงการก่อสร้างอาคารโดยเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ 2021-06-28T15:09:03+07:00 ภูมิ ฉั่วสุวรรณ์ chua06mufc@gmail.com ธนิต ธงทอง tanit.t@chula.ac.th <p>ในปัจจุบันปัญหามลพิษทางอากาศนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก โดยเมืองใหญ่ทั่วโลกต่างประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กมีค่าเกินมาตรฐาน&nbsp; โดยในบางช่วงเวลานั้นกรุงเทพมหานครติดอันดับเมืองที่มีมลพิษสูงสุดของโลก ซึ่งอุตสาหกรรมการก่อสร้างมักได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างอาคาร เนื่องจากฝุ่นละอองจากการก่อสร้างอาคารสามารถปลิวหรือฟุ้งกระจายไปได้ไกล งานวิจัยนี้จึงต้องการนำเสนอการตรวจวัดฝุ่นละอองในโครงการก่อสร้างอาคาร โดยนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับและเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10 มาใช้ในการตรวจวัดการกระจายตัวของฝุ่นละออง เนื่องจากการวัดปริมาณฝุ่นละอองในปัจจุบันนั้นเป็นการติดเครื่องมือวัดไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง ดังนั้นการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาใช้นั้นจะทำให้สามารถวัดปริมาณฝุ่นละอองได้ทุกจุดที่ต้องการ ทำให้ทราบปริมาณฝุ่นละอองที่กระจายตัวอยู่บริเวณโดยรอบอาคารและพื้นที่ข้างเคียง หลังจากนั้นทำการทดสอบเครื่องมือโดยการเปรียบเทียบกับเครื่องมือวัดฝุ่นอื่นๆเพื่อทดสอบการทำงานและความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดฝุ่น และทำการทดลองวัดฝุ่นละอองในสเกลขนาดเล็กพบว่ามีความคลาดเคลื่อนน้อย ให้ค่าที่รวดเร็วและแม่นยำ สะดวกในการนำไปวัดฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10</p> 2021-06-24T10:00:58+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1055 การศึกษาปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน จากการเผาตอซังต้นข้าวโพด 2021-06-28T15:10:54+07:00 ศุภรดา ปั้นมยุรา kneshaha@outlook.com ชลิดา อู่ตะเภา chalida.ut@kmitl.ac.th <p>ปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทยประมาณร้อยละ 54 มีสาเหตุมาจากการเผาในที่โล่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเผาเพื่อกำจัดเศษวัสดุทางการเกษตร อาทิ ตอชังข้าวโพด อ้อย ฟางข้าว เป็นต้น โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นมีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ในประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่า 7 ล้านไร่ การกำจัดตอซังต้นข้าวโพดโดยการเผานั้น จะใช้เวลาไม่นานและมีต้นทุนต่ำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM<sub>2.5</sub>) จากการเผาตอซังต้นข้าวโพด โดยทำการทดลองเผาตอซังต้นข้าวโพดในพื้นที่ปิด เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนจากปัจจัยภายนอก โดยขนาดห้องที่ทำการทดลองมีปริมาตรอากาศ 60 ลูกบาศก์เมตร แล้วตรวจวัดปริมาณฝุ่นด้วยเครื่อง DustTrak II Aerosol Monitor Model 8532 โดยน้ำหนักของตอซังต้นข้าวโพดที่ใช้ในการทดลองเผามีน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 214.463 – 388.143 กรัม และมีความชื้นในตอซังต้นข้าวโพดร้อยละ 4 ถึง 77 จากการทดลองพบว่าปริมาณฝุ่นละอองขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้น โดยที่ความชื้น 4-10%, 26-49%, 65-77% ก่อให้เกิดฝุ่นละอองภายในห้องทดลอง 14.46-40.08, 15.04-56.64, 21.92-64.24 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ และพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อย (Emission factor) ของฝุ่นละออง PM<sub>2.5 </sub>อยู่ในช่วงระหว่าง 3.02 ± 1.6 กรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งพบว่าการปล่อยตอซังต้นข้าวโพดทิ้งไว้แห้งหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้ระยะเวลามากกว่า 5 สัปดาห์ จะทำให้ความชื้นในตอซังลดลง 10 เท่า ส่งผลให้ปริมาตรฝุ่นที่เกิดขึ้นลดลงร้อยละ 36</p> 2021-06-24T10:01:28+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/809 การหาค่าที่เหมาะสมของตารางงานก่อสร้างเพื่อควบคุมกิจกรรมที่เป็นต้นกำเนิดฝุ่นจิ๋ว 2021-06-28T15:11:31+07:00 พงษ์อำมาตย์ แขนงแก้ว pongammard1489@gmail.com เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ kriangkrai@eng.cmu.ac.th พรพจน์ นุเสน pornpote@rmutl.ac.th มานพ แก้วโมราเจริญ manop@eng.cmu.ac.th <p>มลพิษทางอากาศเป็นภาวะที่อากาศมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าปกติ โดยมลพิษทางอากาศที่พบมากที่สุดคือ ฝุ่นละอองในอากาศ กิจกรรมการก่อสร้างอาคารถือเป็นส่วนหนึ่งในการให้กำเนิดฝุ่นละอองในบริเวณการก่อสร้างซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนงานในหน่วยงานก่อสร้างรวมถึงบรรยากาศโดยทั่วไปรอบบริเวณการก่อสร้าง งานศึกษานี้จึงได้ดำเนินการศึกษาโดยการนำเสนอแนวทางในการหาค่าที่เหมาะสมของตารางงานก่อสร้าง เพื่อทำการควบคุมกิจกรรมในการก่อสร้างอาคารที่เป็นต้นกำเนิดของฝุ่นละอองในอากาศ ณ บริเวณการก่อสร้างอาคาร โดยทำการศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ที่เกิดจากกิจกรรมการก่อสร้างจากนั้นทำการศึกษาการวิเคราะห์ตารางงานก่อสร้างให้สมดุลกับการจัดการปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมการก่อสร้างโดยทำการวิเคราะห์การวางแผนงานทั้งแบบโครงข่ายและแบบการวางแผนงานแบบระบบตารางเวลา เพื่อใช้ในการจัดการตารางเวลาและทำการศึกษาและวิเคราะห์การปรับแผนงานก่อสร้าง เพื่อสมดุลของทรัพยากรในโครงการในการโยกย้ายหรือปรับปรุงกิจกรรมจากแผนงานที่วางไว้ให้ดำเนินไปได้อย่างสม่ำเสมอและทำการคำนวณต้นทุนในการก่อสร้างจากการเร่งโครงการ เพื่อทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายจากการปรับแผนงานให้มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในการปรับปรุงแผนงานและการเร่งโครงการ เพื่อให้ผลของการศึกษาสามารถเป็นแนวทางของการวางแผนตารางงานที่จะใช้ในการควบคุมปริมาณฝุ่นละอองที่จะเกิดขึ้นได้อย่างสมดุลที่สุด</p> 2021-06-24T10:01:57+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/836 ปัจจัยที่มีผลต่อฝุ่นละอองจากกิจกรรมก่อสร้าง:วิธีการแบบจำลองสมการโครงสร้าง 2021-06-28T15:12:16+07:00 นภัส บุญติ naphat2210@gmail.com เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ kriangkrai@eng.cmu.ac.th พรพจน์ นุเสน pornpote@rmutl.ac.th มานพ แก้วโมราเจริญ manop@eng.cmu.ac.th <p>เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการขยายตัวของตัวเมืองส่งผลให้ธุรกิจก่อสร้างมีแนวโน้มขยายตัวไปด้วยมีการก่อสร้างขยายสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงการก่อสร้างอาคาร ซึ่งปัญหาที่ตามมาจากการก่อสร้างคือฝุ่นละออง พบว่าฝุ่นละอองที่เกิดจากงานก่อสร้างเป็นสิ่งที่ยากต่อการควบคุม ซึ่งส่งผลกระทบต่อบริเวณใกล้เคียงอย่างมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดฝุ่นละอองในงานก่อสร้าง โดยทำการเก็บรวบรวมปัจจัยสาเหตุการเกิดฝุ่นละอองในงานก่อสร้างจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้เครื่องเซ็นเซอร์ดิจิตอลในการตรวจจับอนุภาคค่าฝุ่นละออง และทำการวิเคราะห์ปัจจัยด้วยเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการตรวจสอบปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดฝุ่นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่ ซึ่งผลงานวิจัยเบื้องต้นพบว่า ปัจจัยจากกิจกรรมงานก่อสร้างที่มีการขุด ตอก เจาะ ทุบ ส่งผลต่อค่าความเข้มของฝุ่นละอองมีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงประจักในระดับที่สูง และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้านการขนส่ง การเคลื่อนย้ายกองวัสดุที่ส่งผลต่อค่าความเข้มฝุ่นเช่นกัน ซึ่งความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นสามารถระบุปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดฝุ่น และสามารถนำไปพยากรณ์ค่าฝุ่นที่จะเกิดขึ้นในงานก่อสร้างเพื่อหาวิธีการในการป้องกัน ควบคุมฝุ่นละอองไม่ให้เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด</p> 2021-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/859 การประยุกต์ใช้เศษพลาสติกชนิด UPVC ในวัสดุมอร์ตาร์งานก่อฉาบ 2021-06-28T15:13:11+07:00 อภิภูมิ ไชยพร aphiphoom.c@outlook.co.th <p>บทความนี้ได้ทำการศึกษาการนำเศษพลาสติกชนิด Unplasticized Polyvinyl Chloride (UPVC) ที่เกิดจากกระบวนการตัดประตูหรือหน้าต่างที่ผลิตด้วย UPVC มาใช้งานในวัสดุมอร์ตาร์สำหรับงานก่อฉาบเพื่อลดเศษเหลือทิ้งสู่ธรรมชาติ เศษผง UPVC ถูกนำไปแทนที่ทรายในอัตราส่วนร้อยละ0 5 10 15 และ 20 โดยน้ำหนัก เปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำเพื่อควบคุมค่าการไหลที่ร้อยละ 115±5 ผลการศึกษาพบว่ามอร์ตาร์ที่มีเศษ UPVC มีหน่วยน้ำหนักลดลงตามลำดับจาก 2150 กก/ม<sup>3</sup> ถึง 1820 กก/ม<sup>3</sup> มีค่าการดูดซึมน้ำเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีปริมาณโพรงที่เพิ่มมากขึ้น และมีค่ากำลังรับแรงอัดลดลงจาก 468 กก/ซม<sup>2</sup> เป็น 410 341 254 และ 180 กก/ซม<sup>2</sup>&nbsp; พบว่าค่ากำลังอัดของมอร์ตาร์ที่มีส่วนผสมของเศษ UPVC สูงกว่าเกณฑ์ใช้งานที่กำหนดโดยมาตรฐานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้เศษ UPVC ในอัตราส่วนร้อยละ 5 และ 10 สามารถลดการหดตัวแห้งของมอร์ตาร์ได้ จะเห็นได้ว่าสามารถใช้เศษผง UPVC&nbsp; ในวัสดุมอร์ตาร์สำหรับงานก่อและฉาบได้ในปริมาณไม่เกินร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก โดยยังคงคุณสมบัติของวัสดุให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม การใช้เศษ UPVC ในวัสดุก่อสร้างถือเป็นการลดการเหลือทิ้งเศษวัสดุพลาสติกสู่ธรรมชาติและเพิ่มคุณค่าของวัสดุเหลือทิ้งและวัสดุมอร์ตาร์ให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม</p> <p>&nbsp;</p> 2021-06-24T10:03:28+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/864 แบบจำลองเพื่อศึกษาความสามารถการเป็นฉนวนกันความร้อนของหลังคาเขียว 2021-06-28T15:13:49+07:00 ฐาปกรณ์ สากลปัญญา 62601009@kmitl.ac.th วิรุฬห์ คำชุม viroon.ka@kmitl.ac.th <p><strong>การเติบโตของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวมีบริเวณลดน้อยลง และก่อให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อน ส่งผลให้มีปริมาณความร้อนเพิ่มสูงขึ้นทั้งภายนอกและภายในอาคาร หลังคาเขียวหรือหลังคาที่มีพืชปกคลุมสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบเกาะความร้อนและเป็นฉนวนป้องกันความร้อนจากสภาพอากาศเข้าสู่ตัวอาคาร ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของหลังคาเขียวนี้อาจเปลี่ยนแปลง ขึ้นกับการเจริญเติบโตของรากในดิน งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของดินและพืช จากแบบจำลองหลังคาคอนกรีตแบบโมดูล่าร์ โดยคำนึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลงจากรากพืชต่อการป้องกันความร้อนของหลังคาเขียว โดยแบบจำลองหลังคา ทำจากคอนกรีตเพื่อจำลองหลังคาชั้นดาดฟ้าของอาคาร และมีการปลูกหญ้าเบอร์มิวด้าอยู่ด้านบนเพื่อจำลองเป็นหลังคาเขียวชนิด Extensive มีการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดค่าอุณหภูมิแบบสามารถเก็บค่าได้จาก Arduino โดยมีวิธีการทดสอบด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิบริเวณด้านบนและด้านล่างของหลังคา ทำการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิความร้อนระหว่างภายในและภายนอกของแบบจำลองโดยเปรียบเทียบระหว่าง 3 กรณีคือ 1.หลังคาคอนกรีต หรือหลังคาชั้นดาดฟ้าของอาคาร, 2.หลังคาคอนกรีตที่มีชั้นดิน โดยมีปริมาณน้ำในดินเปลี่ยนแปลง และ 3.หลังคาเขียว หรือ หลังคาคอนกรีตที่มีชั้นดินและพืชปกคลุมผิวดิน โดยศึกษาช่วงการเจริญเติบโตของพืชที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่าหลังคาเขียวสามารถเป็นฉนวนกันความร้อน ลดอุณหภูมิภายในอาคารได้มากกว่าหลังคาคอนกรีตถึง 9 องศาเซลเซียส และพบว่าเมื่อมีปริมาณน้ำในดินเพิ่มสูงขึ้น ความสามารถการเป็นฉนวนป้องกันความร้อนของหลังคาจะมีค่าลดลง</strong></p> 2021-06-24T10:03:57+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/843 การศึกษาอิทธิพลของระยะห่างของการขุดอุโมงค์คู่แบบด้านต่อด้านที่มีผลต่อเสาเข็มที่มีอยู่เดิมโดย วิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ 3 มิติ 2021-07-01T17:35:01+07:00 สมเกียรติ เลิศกุลทานนท์ somkiat.tong@mail.kmutt.ac.th ชนา พุทธนานนท์ chana.put13@gmail.com นฤนาท เหมะ Narunat2835@gmail.com พรเกษม จงประดิษฐ์ pornkasem.jon@kmutt.ac.th โอโชค ด้วงโสน ochok_d@gfe.co.th <p class="Text1"><span lang="TH">ในปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนระบบขนส่งมวลชนใต้ดินในชุมชนเมืองที่มีความหนาเเน่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุโมงค์คู่ ด้วยเหตุนี้อุโมงค์จึงถูกก่อสร้างใกล้กับโครงสร้างที่มีอยู่เดิม </span>(<span lang="TH">เช่น โครงสร้างเสาเข็ม</span>)<span lang="TH"> อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการศึกษาในอดีตพบว่าการก่อสร้างอุโมงค์ใหม่นั้นสามารถก่อให้เกิดการเคลื่อนตัวของดินที่มากเกินไป ซึ่งการเคลื่อนตัวนี้สามารถทำให้ความเสียหายต่อเสาเข็มใกล้เคียงที่มีอยู่เดิม ดังนั้นผลกระทบของการขุดอุโมงค์คู่ที่มีต่อเสาเข็มที่มีอยู่เดิมนั้นควรถูกพิจารณา แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนมากนั้นจะพิจารณาเฉพาะอิทธิพลของตำแหน่งสัมพัทธ์ระหว่างอุโมงค์และเข็ม แต่ผลกระทบที่สำคัญของระยะห่างระหว่างหน้าอุโมงค์คู่ต่อการเคลื่อนตัวของดินกลับไม่เคยถูกนำมาพิจารณา ในการการศึกษาครั้งนี้การวิเคราะห์เชิงตัวเลขแบบสามมิติถูกนำมาใช้สำหรับวิเคราะห์อิทธิพลของอุโมงค์คู่แบบด้านต่อด้านต่อพฤติกรรมของเสาเข็มเดี่ยวที่มีอยู่เดิม สำหรับขั้นตอกการทำไฟไนต์เอลิเมนต์ และ พารามิเตอร์ของดินจะถูกนำมาสอบเทียบกับการขุดอุโมงค์ของโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงเทพสายสีน้ำเงิน เพื่อที่จะเข้าใจอิทธิพลของระยะห่างระหว่างผิวหน้าของการขุดอุโมงค์คู่ต่อพฤติกรรมของเสาเข็มที่มีอยู่เดิม </span>5<span lang="TH"> ระยะห่างที่แตกต่างกันถูกนำมาใช้เป็นกรณีศึกษา </span>(<span lang="TH">อาทิ </span>0Ls, <span lang="TH">1</span>Ls, <span lang="TH">3</span>Ls, <span lang="TH">5</span>Ls, <span lang="TH">และ 8</span>Ls <span lang="TH">เมื่อ </span>Ls<span lang="TH"> คือความยาวของตัวหัวขุด</span>) <span lang="TH">ผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่าระยะห่างระหว่างผิวหน้าของการขุดอุโมงค์คู่ไม่เพียงส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเสียรูปของดินแต่ยังส่งผลต่อพฤติกรรมของเสาเข็มที่มีอยู่เดิมด้วย</span></p> 2021-06-24T10:38:16+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/857 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจำลองค่ามลพิษอากาศสำหรับวางแผนโครงสร้างพื้นฐานสิ่งแวดล้อม ชุมชนเมือง 2021-06-28T13:47:51+07:00 นาย สัตยา มะโนแก้ว sattayazazaza@hotmail.co.th ดำรงศักดิ์ รินชุมภู damrongsak.r@cmu.ac.th <p>ปัจจุบันแบบจำลองสารสนเทศมีการนำมาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างมากมาย ส่งผลให้การบริหารงานก่อสร้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถมองภาพรวมของกระบวนการการทำงานต่างๆ ได้ง่ายด้วยระบบข้อมูลแบบ 3 มิติ ทำให้การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันและสามารถแก้ปัญหาร่วมกันได้ แต่โดยทั่วไปแบบจำลองสารสนเทศจะถูกนำไปใช้ในการบริหารการก่อสร้างอาคารเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งที่จริงแล้วแบบจำลองสารสนเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานได้หลากหลาย หนึ่งในนั้นคืองานก่อสร้างทางหลวง โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงการก่อสร้างทางหลวงในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในประเทศไทยนั้นยังไม่พบการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศของโครงสร้างพื้นฐานมาใช้ในงานบริหารการก่อสร้างทางหลวง จึงเป็นความท้าทายด้านวิชาการที่จะหาแนวทางในการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานก่อสร้างทางหลวง โดยมีวัตถุประสงค์ในการทบทวนเอกสารงานวิจัยเชิงวิชาการ คู่มือการทำงานและแนวทางปฏิบัติที่ได้การยอมรับในระดับสากล อย่างเป็นระบบ เพื่อระบุขั้นตอนและกระบวนการทำงานที่ใช้ในการบูรณาการแบบจำลองสารสนเทศของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานก่อสร้างทางหลวง ภายใต้ความเป็นไปได้ในบริบทประเทศไทย เป็นประโยชน์สำหรับการวิจัยและใช้งานในอนาคต ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ยกระดับของการก่อสร้างทางหลวงในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2021-06-24T10:38:50+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/900 การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างตู้รถไฟโดยสารเพื่อการใช้งานบนทางวิ่งขนาด 1.0 เมตรของประเทศไทย 2021-07-01T17:35:43+07:00 พงศกร ภู่หมี pongsakornp94@gmail.com <p>ในปัจจุบันประเทศไทยมีการลงทุนและพัฒนาระบบขนส่งทางรางทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวรถไฟ ทั้งนี้ก็เพื่อยกระดับเทคโนโลยีภายในประเทศรวมทั้งช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการผลิตรถไฟขึ้นเองภายในประเทศยังมีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างรถไฟให้เหมาะสมกับบริบทของการใช้งานในประเทศ งานวิจัยได้ทำการศึกษาแนวทางการออกแบบโครงสร้างตู้รถไฟโดยสารเพื่อการใช้งานในประเทศไทย ซึ่งให้บริการบนทางวิ่งขนาด 1.0 เมตร โดยการออกแบบจะดำเนินการตามมาตรฐานสากล EN-12663, UIC-518 และมาตรฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับความปลอดภัยต่างๆทั้งในเชิงสถิตย์ (static) และพลวัต (dynamic) และทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของรูปแบบโครงสร้างที่ต่างกันคือ แบบ Differential construction และแบบ Hybrid construction ในส่วนของการวิเคราะห์โครงสร้างได้ทำการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ทั้งในส่วนของชิ้นส่วนและบริเวณจุดต่อเพื่อตรวจสอบถึงพฤติกรรมของโครงสร้างภายใต้ภาระแรงกระทำต่างๆ โดยผลการศึกษาจะแสดงถึงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ น้ำหนัก สมรรถนะการใช้งาน รวมไปถึงราคาค่าก่อสร้างของตู้โดยสารรถไฟที่ใช้รูปแบบของโครงสร้างที่ต่างกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและผลิตตู้รถไฟที่เหมาะสมต่อการใช้งานในประเทศไทยต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> 2021-06-24T10:39:28+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/851 ผลกระทบของรอยต่อต่อผลตอบสนองของอุโมงค์แบบชิ้นส่วนประกอบด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ 2021-07-01T17:36:29+07:00 พงศกร พรนิพนธ์วิทยา Pongsakorn.namo@gmail.com พัฒนศักดิ์ ชัยพรรณา pattanasak.ca@rmuti.ac.th ชนา พุทธนานนท์ Chana.put13@gmail.com พรเกษม จงประดิษฐ์ pornkasem.jon@kmutt.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;เป็นที่ทราบกันว่าการประกอบชิ้นส่วนดาดอุโมงค์เข้าด้วยกันนั้นถูกเชื่อมด้วยสลักเกลียวที่บริเวณรอยต่อของดาดอุโมงค์ ซึ่งพฤติกรรมรอยต่อของดาดอุโมงค์มีความสำคัญอย่างมากต่อสมรรถนะโดยรวมของโครงสร้างดาดอุโมงค์ ในกรณีที่โครงสร้างดาดอุโมงค์ได้รับผลกระทบอาจส่งผลให้เกิดการเปิดอ้าของรอยต่อทำให้โครงสร้างดาดอุโมงค์เกิดความเสียหายได้ เพื่อความเข้าใจสำหรับการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างดาดอุโมงค์ในอนาคตบทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์พฤติกรรมของรอยต่อของอุโมงค์แบบชิ้นส่วนประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ แม้ว่ามีการศึกษาพฤติกรรมของรอยต่อที่ถูกเชื่อมด้วยสลักเกลียวจะได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย แต่มีการศึกษาเพียงเล็กน้อยที่ตรวจสอบผลวิเคราะห์ด้วยการเปรียบเทียบกับผลการทดสอบในสนาม ในการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาแบบจำลองรอยต่อของโครงสร้างดาดอุโมงค์โดยใช้แบบจำลองสปริงในการจำลองสลักเกลียวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของโครงสร้างดาดอุโมงค์ การจำลองได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยเปรียบเทียบกับผลการทดสอบแบบขนาดจริงในห้องปฏิบัติการของการศึกษาที่ผ่านมา โดยพิจารณาความเครียดที่เกิดขึ้นที่สลักเกลียว และการเปิดอ้าของรอยต่อของโครงสร้างดาดอุโมงค์ มากไปกว่านั้นมีการพิจารณาพฤติกรรมการเสียรูปของโครงสร้างดาดอุโมงค์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย</p> <p>&nbsp;</p> 2021-06-24T10:39:55+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/972 การวิเคราะห์แผ่นดินไหวของโครงสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับต่อแรงกระทำแผ่นดินไหวโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบ 2 มิติ และ 3 มิติในโดเมนเวลา 2021-07-01T17:37:19+07:00 วัชรวีร์ วัฒนาดิลกกุล watcharawee.wa@ku.th <p class="Text1"><span lang="TH">บทความนี้เป็นการนำเสนอผลของการตอบสนอง เช่น ระยะเคลื่อนที่ ความเร็ว และความเร่ง ของตัวโครงสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับรวมทั้งแรงดันน้ำส่วนเกินในโพรงดินต่อแรงกระทำแผ่นดินไหวในโดเมนเวลาโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบ 2 มิติ และ 3 มิติ แบบจำลองของชั้นดินฐานรากยืดหยุ่นและแบบชั้นดินฐานรากแข็งถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ โดยฐานรากยืดหยุ่นเท่านั้นที่ได้มีการพิจารณาแรงดันน้ำส่วนเกินในโพรงดิน ผลของการตอบสนองที่ได้จากแบบจำลองที่ใช้ฐานรากยืดหยุ่นจะมีค่ามากกว่าผลของการตอบสนองที่ได้จากแบบจำลองที่ใช้กับฐานรากแข็งทั้งในแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ นอกจากนั้นแล้วผลจากการวิเคราะห์ของแบบจำลอง 2 มิติ และ 3 มิติ จะถูกนำมาเปรียบเทียบเพื่อศึกษาความแตกต่าง</span></p> 2021-06-24T10:40:23+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1087 การศึกษาความคงทนของกระสอบพลาสติกแบบมีปีก 2021-06-28T14:02:10+07:00 ชิตพล วงศ์สกุลเกียรติ chidpon.wo@ku.th อภินิติ โชติสังกาศ fengatj@ku.ac.th อรทัย จงประทีป fengotj@ku.ac.th ศิรประภา ปิติภัทรบูรณ์ siraprapa.pi@ku.th <p>ดินถล่มเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้แก่มนุษย์และทรัพย์สินเป็นอย่างมาก การนำกระสอบมีปีกมาประยุกต์ใช้ป้องกันและปรับปรุงเสถียรภาพของลาดดินจัดเป็นวิธีที่เหมาะสมรูปแบบหนึ่ง กระสอบมีปีกถูกออกแบบให้มีส่วนปีกเพื่อเสริมแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน การนำไปใช้งานไม่ซับซ้อน และถือเป็นโครงสร้างชั่วคราว การประยุกต์ใช้งานในสภาพแวดล้อมระยะยาวจึงจำต้องศึกษาวิเคราะห์ความคงทนของกระสอบมีปีก โดยงานวิจัยนำเสนอผลการทดสอบรูปแบบของกระสอบมีปีกที่มีการพัฒนาขึ้นสองรูปแบบได้แก่ &nbsp;ก)กระสอบมีปีกแบบเดิม(ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทีลีนชนิดความหนาแน่นสูง และโพลีโพรพิลีน) ข)กระสอบมีปีกแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล) และการทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมของกระสอบมีปีก คือ การทดสอบกำลังรับแรงดึง การทดสอบกำลังรับแรงกดทะลุ การทดสอบความทนต่อสภาวะแวดล้อมโดยวิธีเร่งสภาวะ และวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลของการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของคุณสมบัติทางวิศวกรรมของกระสอบมีปีกในแต่ละรูปแบบข้างต้นในระยะยาวและข้อจำกัดในการนำกระสอบมีปีกมาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมปฐพี</p> 2021-06-24T10:40:50+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1216 ศึกษาผลของการเลือกใช้วาล์วน้ำล้นและวาล์วส่งน้ำ ต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องตะบันน้ำ 2021-07-01T17:38:13+07:00 พนิดา สีมาวุธ panidaja@gmail.com <p>บทความนี้นำเสนอการศึกษาผลของการเลือกใช้วาล์วน้ำล้น (Waste valve) และวาล์วส่งน้ำ (Delivery valve) ต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องตะบันน้ำที่ถูกจัดสร้างตามแบบของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในโครงการการผลิตและการใช้งานระบบสูบน้ำเชิงกลสำหรับชุมชน เพื่อใช้เป็นชุดสาธิตให้เกษตรกรโดยเลือกใช้เช็ควาล์วสวิง เช็ควาล์วสปริงและวาล์วหัวกะโหลก เนื่องจากเป็นวาล์วที่เกษตรกรหาซื้อง่ายมีขายตามท้องตลาดทั่วไปและราคาไม่แพง จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเครื่องตะบันน้ำนี้จะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อต้องใช้ความสูงของน้ำเหนือทางเข้าไม่น้อยกว่า 1 เมตร สำหรับการศึกษานี้ได้ใช้ความสูงของน้ำเหนือท่อทางเข้าชุดทดสอบ 4.5 &nbsp;เมตร พบว่าการใช้เช็ควาล์วสวิงเป็นทั้งวาล์วน้ำล้นและวาล์วส่งน้ำตามแบบของ สวทช. ให้ค่าประสิทธิภาพสูงสุดเท่ากับ 53% &nbsp;&nbsp;สามารถส่งน้ำได้สูง 12.3 เมตร โดยสูบน้ำส่งได้ 6.66 ลิตรต่อนาที มีอัตราของน้ำที่ล้นออก 14.56 ลิตรต่อนาที แสดงว่าสามารถส่งน้ำได้ 31.38% ของน้ำที่ไหลเข้าเครื่องตะบัน ส่วนการใช้เช็ควาล์วสวิงเป็นวาลวน้ำลนและวาล์วสปริงเป็นวาลวสงน้ำ ให้ค่าประสิทธิภาพการทำงานรองลงมาเท่ากับ 31 % สามารถส่งน้ำได้สูง 9.5 เมตร โดยสูบน้ำส่งได้ 6.2 ลิตรต่อนาที มีอัตราของน้ำที่ล้นออก 23 ลิตรต่อนาที สามารถส่งน้ำได้ 21.23 % ของน้ำที่ไหล ส่วนการใช้วาล์วหัวกะโหลกเป็นวาล์วน้ำล้นพร้อมกับใช้เช็ควาล์วสปริงเป็นวาล์วส่งน้ำจะได้ประสิทธิภาพเท่ากับต่ำที่สุดเพียง 17.95 %</p> <p>&nbsp;</p> 2021-06-24T10:41:17+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/834 การประเมินพฤติกรรมแผ่นคอนกรีตดาดหน้าของเขื่อนหินถมสูงด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ 2021-07-01T17:38:55+07:00 ธนาธิป ศรีสุระ tanatip.s@mail.kmutt.ac.th รักษ์ศิริ สุขรักษ์ sukkarak.r@gmail.com พรเกษม จงประดิษฐ์ pornkasem.jon@kmutt.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์พฤติกรรมแผ่นคอนกรีตดาดหน้าของเขื่อนหินถมสูงด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำเข้าสู่เขื่อนขึ้นอยู่กับแผ่นคอนกรีตดาดหน้าซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ติดตั้งอยู่บริเวณผิวหน้าของเขื่อนในทิศทางต้นน้ำ แม้ว่าพฤติกรรมของแผ่นคอนกรีตจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่มีการศึกษาเพียงเล็กน้อยที่ตรวจสอบผลวิเคราะห์ด้วยข้อมูลที่ติดตั้งภายในเขื่อนและส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การเสียรูปของแผ่นคอนกรีต การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของแผ่นคอนกรีตดาดหน้าประกอบด้วยการเคลื่อนตัวบริเวณรอยต่อ การเสียรูปของแผ่นคอนกรีตและความเค้นในแผ่นคอนกรีต ช่วงระหว่างการก่อสร้างและการเติมน้ำเข้าสู่เขื่อน แบบจำลอง <strong>3 </strong>มิติของเขื่อนน้ำงึม <strong>2</strong> ถูกจำลองตามข้อมูลการตรวจวัด ประสิทธิภาพของแบบจำลองรอยต่อแบบ <strong>3 </strong>มิติได้รับการตรวจสอบโดยเปรียบเทียบผลตรวจวัดจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในโครงสร้างเขื่อนและผลวิเคราะห์จากวิธีเชิงตัวเลข งานวิจัยแสดงให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาแบบจำลองปฏิสัมพันธ์ของแผ่นคอนกรีตที่มีผลต่อการประเมินความปลอดภัยของเขื่อน ผลการวิเคราะห์อาจเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับวิศวกรผู้ออกแบบเขื่อนในอนาคต</p> 2021-06-24T10:41:45+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/855 การแก้ปัญหาลาดคันทางวิบัติโดยวิธีชีววิศวกรรมปฐพี: กรณีศึกษา ถนนทางหลวงชนบท กจ.4088 กม 16+700 อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 2022-07-07T23:28:11+07:00 ประกิต ไชยศรี pagith_punch@hotmail.com <p>ลาดคันทางของถนนบริเวณพื้นที่อุทยานส่วนใหญ่เกิดการวิบัติระดับตื้นหรือเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน โดยสาเหตุหลักเกิดจากการไหลบ่าของน้ำผิวดิน และระบบระบายน้ำของถนนไม่มีประสิทธิภาพประกอบกับมีแรงดันของน้ำใต้ผิวดินเพิ่มสูงขึ้นช่วงฝนตกหนัก บทความนี้นำเสนอการออกแบบโดยวิธีชีววิศวกรรมปฐพี ได้แก่การใช้กระสอบแบบมีปีก ร่วมกับแถวเสาเข็มเหล็กสกรู พร้อมกับไม้ปักชำลึก ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถก่อสร้างได้ง่าย ดำเนินงานได้โดยไม่ต้องเครื่องจักรหนัก มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และสามารถฟื้นฟูธรรมชาติได้เร็ว จึงเหมาะสมกับการดำเนินงานในพื้นที่อุทยาน รวมถึงยังเน้นการใช้แรงงานที่ชำนาญในงานปลูกพืชพรรณเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ในการศึกษานี้ยังได้ทำการติดตามพฤติกรรมของลาดคันทางโครงสร้างชีววิศวกรรม เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยอุปกรณ์วัดความชื้น แรงดันน้ำ และการเอียงตัวของเสาเข็มสกรู เพื่อยืนยันประสิทธิภาพในระยะยาว</p> 2021-06-24T10:42:14+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/889 ความปลอดภัยของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เมื่อกักเก็บน้ำสูงกว่าระดับน้ำเก็บกัก (รนก.) เป็นระยะเวลานาน 2021-07-01T17:40:27+07:00 กรกนก ในจิตต์ i.preaw_treize@hotmail.com <p class="Text1"><a name="_Hlk61010162"></a><span lang="TH">จากการตรวจสอบสภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์โดยกรมชลประทาน ยังคงพบรอยแตกตามยาวบนถนนสันเขื่อน ซึ่งในปี 2553 ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ได้ทำการหาสาเหตุของรอยแตกตามยาว โดยการประเมินศักยภาพการบวมตัวของดินถมตัวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่เป็นเขื่อนดินถมประเภทแบ่งส่วน จาก </span>Consolidation-Method B (ASTM D <span lang="TH">4659-96) พบว่าดินถมเขื่อนเป็นดินเหนียวที่มีความเหนียวสูง (</span>CH) <span lang="TH">มีแร่</span> Montmorillonites<span lang="TH"> เป็นส่วนประกอบ ประเมินระดับการบวมตัวของดินถมเขื่อนอยู่ที่ระดับปานกลางถึงระดับสูง จากสถิติการเก็บน้ำของเขื่อนในแต่ละปีจะมีการเก็บน้ำไว้สูงกว่าระดับน้ำเก็บกัก (รนก.) คือ +4</span>2<span lang="TH"> ม.รทก. เป็นระยะเวลา </span>3<span lang="TH">-</span>5<span lang="TH"> เดือน ซึ่งมาตรวัดความดันน้ำ (</span>Piezometer) <span lang="TH">และบ่อวัดระดับน้ำใต้ดิน (</span>Observation Well, OW) <span lang="TH">ซึ่งค่าที่บันทึกได้จากการตรวจวัดเครื่องมือ ในช่วงที่เกิดน้ำท่วมด้านท้ายน้ำ มีการแสดงค่าที่สูงขึ้นผิดปกติ จึงได้สร้างแบบจำลองพฤติกรรมการไหลซึม ให้สอดคล้องกับสภาวะที่มีในประวัติการใช้งานของเขื่อน และการวิเคราะห์เสถียรภาพลาดเขื่อน ที่จะนำคุณสมบัติดินบวมตัว เมื่อดินบวมตัวอยู่สภาวะเปียก-แห้ง มาปรับใช้ร่วมด้วย เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยของลาดชันเขื่อน</span></p> 2021-06-24T10:42:38+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/775 การปรับปรุงสะพานทางหลวงจากผลกระทบแผ่นดินไหวด้วยระบบแยกฐานและการเสริมค่าความหน่วงโดยใช้เหล็กเดือย 2021-07-01T17:41:07+07:00 ยงศักดิ์ จิวะตระกูลธรรม yongsak.jie@gmail.com อาณัติ เรืองรัศมี anat.r@chula.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมหรือผลตอบสนองของชิ้นส่วนโครงสร้างสะพานที่ถูกออกแบบด้วยระบบแยกฐาน (</span>Isolated bridge system) <span lang="TH">ภายใต้แรงกระทำแผ่นดินไหว แม้ว่าการเลือกใช้ระบบแยกฐานจะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันกลับทำให้โครงสร้างสะพานส่วนบนเกิดการเคลื่อนตัวที่มากขึ้นเป็นผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้างส่วนบนเคลื่อนตัวกระทบกัน (</span>Pounding effect) <span lang="TH">และเกิดการวิบัติจากระยะรองรับช่วงสะพานที่ไม่เพียงพอ (</span>Unseating) <span lang="TH">ในงานวิจัยนี้จึงเลือกปรับปรุงโครงสร้างสะพานโดยติดตั้งเหล็กเดือยเป็นอุปกรณ์ยึดรั้ง การศึกษาเลือกพิจารณาสะพานตัวอย่างจากแบบมาตรฐานโครงสร้างสะพานของกรมทางหลวง ซึ่งเป็นสะพานแบบคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ มีความยาวช่วงเสา 20 เมตร ทั้งหมด 5 ช่วง มีการติดตั้งแผ่นยางรองคานสะพาน (</span>Elastomeric bearing) <span lang="TH">เป็นอุปกรณ์แยกฐาน และสมมติว่าเป็นสะพานที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทย นอกจากนี้จะทำการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวจากฐานข้อมูลของศูนย์วิจัยด้านแผ่นดินไหวแห่งแปซิฟิก โดยชุดคลื่นแผ่นดินไหวจะมีขนาด 5.7 ถึง 6.5 และมีระยะทางจากแหล่งกำเนิดถึงสถานีตรวจวัดไม่เกิน 30 กิโลเมตร หลังจากทำการสร้างแบบจำลองโครงสร้างสะพานจะทำการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงพลศาสตร์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์การตอบสนองไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลา โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง </span>SAP<span lang="TH">2000 เพื่อเปรียบเทียบผลการตอบสนองของโครงสร้างระหว่างโครงสร้างสะพานเดิม กับโครงสร้างสะพานที่ถูกปรับปรุงด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ยึดรั้งโดยใช้เหล็กเดือย ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวจะช่วยลดระยะการเคลื่อนตัวของโครงสร้างสะพานส่วนบน และสามารถสลายพลังงานที่มีผลต่อการตอบสนองของชิ้นส่วนโครงสร้างสะพาน</span></p> 2021-06-24T10:43:05+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1053 กรณีศึกษาการปรับปรุงโคงสร้างทางรถไฟส่วนล่างด้วยวัสดุเสริมกำลังทางปฐพี 2021-07-01T17:41:44+07:00 ธวัช จิ้วบุญชู tawat.je@railway.co.th <p><strong>โครงสร้างทางรถไฟแบบหินโรยทางเป็นโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยกัน 2 ส่วนคือโครงสร้างส่วนบน (Superstructure) และโครงสร้างส่วนล่าง (Substructure) ซึ่งความสมบูรณ์ของทางจาก 2 ส่วนดังกล่าวส่งผลถึงความปลอดภัยในการสัญจรและความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ที่ผ่านมาการซ่อมบำรุงรักษาทางรถไฟมีข้อจำกัดหลายประการอันเนื่องมาจากระยะเวลาในการซ่อมบำรุงที่มีจำกัด ส่งผลให้การวางแผนการซ่อมบำรุงนั้นมุ่งเน้นไปสู่การเปลี่ยนวัสดุที่สามารถเปลี่ยนได้ในระยะเวลาอันสั้น อันได้แก่ ราง เครื่องยึดเหนี่ยวราง หรือหมอนรองราง โดยมิได้ทำการพิจารณาในส่วนของชั้นหินโรยทางซึ่งเป็นวัสดุที่สำคัญต่อการรับน้ำหนักของทางรถไฟ ซึ่งในปัจจุบันการเสื่อมสภาพของชั้นหินโรยทางนั้นส่งผลถึงความเสียหายหลายรูปแบบเช่น การเกิดโคลนทะลักในทาง เป็นต้น อันเนื่องมาจากการปนเปื้อนของมวลละเอียดในชั้นหินโรยทาง การแตกปนของหิน รวมไปถึงสภาพโครงสร้างที่ไม่สามารถระบายน้ำออกจากทางได้ จากการศึกษาทางรถไฟในเส้นทางสายใต้ตอนกลางหว่างจังหวัดชุมพรถึงนครศรีธรรมราช ซึ่งมีระยะทางประมาณ 557 กิโลเมตร พบทางที่มีค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนของสภาพทางระหว่าง 20-40% อันเป็นเกณฑ์ที่จะต้องปรับปรุงประมาณ 25 กิโลเมตร ซึ่งโดยวิธีการซ่อมบำรุงทางในรูปแบบทั่วไปของฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย จะทำการแก้ไขโดยทำการระบายน้ำออก และเติมหินและอัดหินโรยทางเพื่อบรรเทาความเสียหายในจุดดังกล่าวเป็นการชั่วคราว ดังนั้นการใช้งานวัสดุเสริมกำลังจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นำใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว บทความนี้จึงนำเสนอวิธีการปรับปรุงโครงสร้างทางรถไฟส่วนล่างด้วยวัสดุสังเคราะห์และตาข่ายเสริมแรงเพื่อปรับปรุงกำลังของชั้นหินโรยทางอีกทั้งช่วยในการแยกชั้นระหว่างหินโรยทางและดินคันทาง รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำในกับทางรถไฟ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของทางรถไฟให้สามารถรับน้ำหนักได้ดีขึ้น</strong></p> 2021-06-24T10:43:34+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1220 การสร้างแบบจำลองเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการผลิต : กรณีศึกษางานผลิตสะพานรูปกล่องตัวกลาง 2021-07-01T17:42:25+07:00 ชิษณุ อัมพรายน์ chisanu.am@spu.ac.th <p>โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา ช่วง กม. 65+300.000 ถึง กม. 70+085.000 รวมระยะทาง 4.785 กิโลเมตร ใช้รูปแบบสะพานแบบกล่องสำเร็จรูป รวมทั้งสิ้น 622 ชิ้น สะพานรูปกล่องตัวกลางเป็นประเภทที่มีจำนวนชิ้นมากที่สุดเท่ากับ 382 ชิ้น มีขั้นตอนการผลิตจำแนกได้ 9 กิจกรรมย่อย ผลการสำรวจพบว่าระยะเวลาในการผลิตในสภาพปัจจุบันคือ 786 วัน มีค่าผลิตภาพเท่ากับ 0.49 ชิ้นต่อวัน โดยกิจกรรมย่อยที่ 9 คือ การเทคอนกรีต เป็นขั้นตอนที่ความล่าช้ามากที่สุด การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อหาวิธีเพิ่มค่าผลิตภาพของการผลิตสะพานรูปกล่องตัวกลางในกิจกรรมย่อยที่ 9 การเทคอนกรีต ด้วยการจำลองสถานการณ์จากโปรแกรม EZStrobe เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนรถขนส่งคอนกรีต ระยะเวลาในการผลิต และ ค่าใช้จ่ายในการผลิต ผลการจำลองสถานการณ์พบว่าเมื่อใช้รถขนส่งคอนกรีตตั้งแต่ 2 คัน ถึง 4 คัน จะมีค่าผลิตภาพเพิ่มขึ้นเป็น 0.61 0.67 และ 0.69 ชิ้นต่อวัน ตามลำดับ และสามารถลดระยะเวลาผลิตลงได้ 164 216 และ 232 วัน ตามลำดับ</p> <p><strong><em>คำสำคัญ:</em></strong> <em>รูปแบบสะพานแบบกล่องสำเร็จรูป<strong>, </strong>สะพานรูปกล่องตัวกลาง<strong>, </strong>ค่าผลิตภาพ<strong>, </strong>ระยะเวลาในการผลิต, ค่าใช้จ่ายในการผลิต</em></p> 2021-06-24T10:44:16+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1232 การศึกษาถนนทดลองแอสฟัลต์คอนกรีตผสมขยะพลาสติก 2021-07-01T17:43:06+07:00 ทวี แสงสุวรรณโณ phittayoot.c@gmail.com ณัฐวิทย์ เวียงยา phittayoot.c@gmail.com สกนธ์ พิทักษ์วินัย phittayoot.c@gmail.com พิทยุตม์ เจริญพันธุ์ phittayoot.c@gmail.com <p class="Text1"><span lang="TH">บทความนี้นำเสนอการศึกษาการนำขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้มาทำถนนและศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กรมทางหลวงชนบทได้ทดลองนำขยะพลาสติกมาเป็นส่วนผสมของผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต ซึ่งได้ผลที่ดีในห้องปฏิบัติการจึงขยายผลการศึกษาลงสู่ถนนที่มีปริมาณการจราจร น้ำหนักบรรทุกและสภาพแวดล้อมจริง เพื่อศึกษาถึงกระบวนการก่อสร้าง ข้อจำกัดปัญหาอุปสรรคต่างๆและคุณสมบัติทางวิศวกรรมเพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมต่อไป โดยการศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรม เช่น ค่าการแอ่นตัว (</span>Deflection) <span lang="TH">ความเค้น (</span>Stress) <span lang="TH">ความเครียด (</span>Strain) <span lang="TH">ที่เกิดขึ้นจริงของถนน โดยมีตัวแปรจริงตามธรรมชาติ ทำให้จำเป็นต้องใช้วิธีการออกแบบความหนาโครงสร้างชั้นทางโดยวิธีเชิงวิเคราะห์ (</span>Analytical Method) <span lang="TH">ซึ่งสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ตัวแปรในการออกแบบจากห้องปฏิบัติการ เช่น คุณสมบัติของวัสดุ เกณฑ์ความเสียหายของวัสดุ ผลการออกแบบโครงสร้างชั้นทางของแปลงทดลองมีชั้นผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต หนา 0.05 เมตร พื้นทางแบบใช้วัสดุเดิมปรับปรุงคุณภาพความหนา 0.20 เมตร ได้ทำการก่อสร้างแปลงทดลองสมรรถนะผิวทางที่ถนนสาย สบ.1002 แยกทางหลวงหมายเลข 1 - บ้านสองคอน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ</span>, <span lang="TH">แก่งคอย จังหวัดสระบุรี ช่วงกิโลเมตรที่ 9+175 - 9+855 ปัจจุบันสำนักวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา กรมทางหลวงชนบทได้ใช้เป็นแปลงทดลองเพื่อติดตาม พฤติกรรมและสมรรถนะทางวิศวกรรมต่อไป</span></p> 2021-06-24T10:44:43+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/797 สมมรรถนะด้านโครงสร้างของทางวิ่งยกระดับในเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน 2021-07-01T17:43:46+07:00 ศรัณย์ เรืองศรี sarun.ruangsee@gmail.com นคร วงศ์สว่างทรัพย์ nakhorn04@hotmail.com วัฒนา มณีโชติ pondce_1724@hotmail.com ทศพล ปิ่นแก้ว tospol.p@chula.ac.th <p class="Text1"><span lang="TH">ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูงสายแรกขึ้น โดยในช่วงแรกเริ่มงานออกแบบก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา นั้นจำเป็นต้องทำการทดสอบโครงสร้างจริงในภาคสนามของทางวิ่งยกระดับที่ใช้ในโครงการเพื่อยืนยันถึงสมรรถนะของโครงสร้างที่ได้ออกแบบก่อสร้าง ทั้งนี้การทดสอบจะพิจารณาทางวิ่งยกระดับช่วงเดี่ยวซึ่งมีช่วงพาดยาว 32.7</span>0<span lang="TH"> เมตรทั้งเชิงสถิตและเชิงพลวัต เพราะเป็นรูปแบบช่วงพาดที่ใช้มากที่สุดในโครงการ (</span>Typical span<span lang="TH">) โดยยึดตามเกณฑ์การทดสอบของประเทศจีน</span> (TB 2092-2003) <span lang="TH">บทความนี้จะศึกษาพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้างทางวิ่งยกระดับจากผลการทดสอบโครงสร้างจริงทั้งเชิงสถิตและเชิงพลวัต แล้วนำผลการทดสอบมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์สมรรถนะที่กำหนดโดยมาตรฐานของจีน (</span>TB 10621-2014<span lang="TH">) ซึ่งจะพิจารณาในแง่ของความปลอดภัยในการใช้งาน ความสะดวกสบายในการใช้บริการ และความคงทนของโครงสร้าง โดยการทดสอบเชิงสถิตจะให้แรงกระทำที่ระดับ 1.0, 1.2, 1.6 และ 2.0 ของน้ำหนักบรรทุกออกแบบ ซึ่งคิดเป็นแรงกระทำที่ต้องให้กับสะพานทดสอบสูงถึง 700, 1000, 1500 และ 2000 ตันตามลำดับ ในระหว่างการให้แรงกระทำจะตรวจสอบค่าการแอ่นตัว ค่าความเอียง และค่าความเค้นของโครงสร้างในตำแหน่งวิกฤติต่างๆ ส่วนการทดสอบเชิงพลวัตจะให้แรงกระแทกบริเวณกึ่งกลางช่วงด้วยถุงทรายหนัก 1 ตัน แล้วตรวจวัดผลตอบสนองค่าความเร่งที่ตำแหน่ง </span>L/3, L/2 <span lang="TH">และ </span>2L/3 <span lang="TH">เพื่อหาค่าความถี่ธรรมชาติของโครงสร้าง ผลการทดสอบทั้งหมดจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ตามมาตรฐานของจีน ซึ่งจะทำให้สามารถสรุปถึงสมรรถนะด้านโครงสร้างของทางวิ่งยกระดับที่ทำการทดสอบได้อย่างน่าเชื่อถือต่อไป</span></p> 2021-06-24T10:45:13+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/877 การส่งเสริมทักษะทั่วไปและทักษะเฉพาะทางสำหรับสาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำโดยใช้การเรียนการสอนเชิงรุก 2021-06-28T15:14:45+07:00 Duangrudee Kositgittiwong duangrudee.kos@kmutt.ac.th <p>ในปัจจุบันการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based education) โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการศึกษาที่ได้รับการยอมรับมากในหลักสูตรทั่วโลก และเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการศึกษาดังกล่าวรูปแบบการจัดการเรียนรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย วิธีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปคือปรับเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เช่น การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน หรือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนการแบบการสอนดังกล่าวในวิชาทางด้านวิศวกรรมยังมีจำนวนไม่มากนัก ดังนั้นบทความนี้จะเป็นการนำเสนอวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาทางสาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่จะช่วยพัฒนาทักษะทั่วไปและทักษะเฉพาะทางของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการวัดประเมินผลเฉพาะทางของผู้เรียนที่ได้รับจากการทำแบบทดสอบหรือจากการสอบปากเปล่า การวัดประเมินผลด้านทักษะที่เกิดขึ้นของผู้เรียนโดยใช้การเก็บข้อมูลด้วยการสังเกต และประเมินผลตามกรอบของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี KMUTT QF (Qualification framework) โดยรูปแบบการประเมินแบบรูบริค (Rubric scale) และประเมินด้านทัศนคติของผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกด้วยใช้แบบสอบถามหรือแบบสะท้อนกลับ ผลสรุปจากการศึกษาจะสามารถระบุผลกระทบต่อการจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียน และสามารถระบุผลลัพธ์ทางการศึกษาที่ได้จากการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ&nbsp; นำไปสู่การเป็นต้นแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อผู้เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับวิศวกรรมศาสตร์ได้</p> 2021-06-23T22:42:50+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/895 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการรังวัดที่ดินด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ “RTK GNSS Network” ด้วยวิธีผสมผสาน 2021-06-28T15:15:24+07:00 ประทุมทิพย์ รอดเกิด pratumthip@gmail.com ประสิทธิ์ ประมงอุดมรัตน์ prasit.p@fte.kmutnb.ac.th ศิริศักดิ์ คงสมศักดิ์สกุล pratumthip@gmail.com <p>การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการรังวัดที่ดินด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์</p> <p>“RTK GNSS Network” ด้วยวิธีผสมผสาน</p> <p>ประทุมทิพย์ รอดเกิด<sup>1</sup>, ประสิทธิ์ ประมงอุดมรัตน์<sup>2</sup> และ ศิริศักดิ์ คงสมศักดิ์สกุล<sup>3,*</sup></p> <p><sup>1 </sup>ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการศึกษา, คณะครุศาสตร์อุสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,</p> <p>จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย</p> <p><sup>2,3 </sup>ผู้ช่วยศาสตราจารย์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย</p> <p><sup>*</sup>Corresponding author address: pratumthip@gmail.com</p> <p>บทคัดย่อ</p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการรังวัดที่ดินด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ “RTK GNSS Network” ด้วยวิธีผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) การประเมินสภาวะแวดล้อม หัวหน้างานในสถานประกอบการต้องการให้บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับการรังวัดที่ดินด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ “RTK GNSS Network” และนักศึกษามีความต้องการฝึกอบรมการรังวัดที่ดินด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ “RTK GNSS Network” ด้วยวิธีผสมผสาน 2) การประเมินปัจจัยเบื้องต้น หลักสูตรประกอบด้วยการฝึกอบรมออนไลน์ 2 หัวข้อ และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 5 หัวข้อ โดยแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องหัวข้อเรื่องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 3) การประเมินกระบวนการ จากการนำหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านผู้เชี่ยวชาญประเมินไปทดลองใช้ และประเมินผลสัมฤทธิ์ในการทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ 4) การประเมินผลผลิต นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมการรังวัดที่ดินด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ “RTK GNSS Network”</p> <p><strong><em>คำสำคัญ</em></strong><strong><em>:</em></strong> <em>หลักสูตรฝึกอบรม</em><em>, </em><em>การรังวัดที่ดิน</em><em>, </em><em>RTK GNSS Network</em><em>, วิธีผสมผสาน</em></p> 2021-06-23T22:43:10+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1090 Concrete STRENGTH DEVELOPMENT OF HIGH STRENGTH CONCRETE MADE WITH RECLAIMED AGGREGATE 2021-10-04T11:11:40+07:00 Md. Rakibul Hasan mdrakibul.has@student.mahidol.edu <p><strong>This paper aimed at evaluating the efficiency of using the reclaimed aggregate in fresh concrete without taking any special measures. Normally recycled concrete aggregates mainly come from the construction site or demolition waste. The production process of the recycled concrete aggregate is followed by two steps – crushing and screening process. The recycling and reuse of aggregates save natural resources and decrease construction costs without compromising the strength and durability properties. Concrete used for making recycled concrete aggregate as a replacement of conventional aggregate in concrete was collected from the construction site, Mahidol University, Kanchanaburi campus. Aggregate tests were conducted to analyze the properties of natural aggregate and recycled concrete aggregate. The concrete mixes were prepared of 40 MPa, 50 MPa, and 60 MPa grade respectively with different W/C ratio and the recycled concrete aggregate was replaced with different percentages (0%, 25%, 50%, 75%, and 100%) with natural aggregate to evaluate the strength and durability properties. The main purpose of this study is to compare different properties of natural aggregate and recycled concrete aggregate and also compare the compressive strength of concrete made with natural aggregate and recycled concrete aggregate. The experimental results showed that some properties of the recycled concrete aggregates vary from natural aggregates and there was not much difference in compressive strength of concrete made with natural aggregate and recycled concrete aggregate.</strong></p> 2021-06-23T22:43:27+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1091 THE EFFECT OF SBR ON THE STRENGTH OF CONCRETE 2021-10-04T11:12:24+07:00 dongdong sui suidongdong9101@hotmail.com <p class="Text1" style="margin: 6.0pt 0cm 6.0pt 0cm;">This research aimed at evaluating the effect of the SBR on the strength of concrete. For normal concrete which is made of cement, sand, stone and water, but sometimes some extra admixtures like SBR need to be added into concrete to change the characters of concrete. Whether the SBR would change the strength of concrete is a question need to be considered before using it. There are two common methods to use SBR with concrete, mixing concrete with SBR and coating concrete surface with SBR modified mortar. In this experiment, the first method was that SBR were added into concrete mix by weight of cement 5%, 10% and 20% separately, meanwhile, casted some normal concrete samples with the same water cement ratio. For the second one was making a coat with SBR modified mortar on the surfaces of each concrete sample and cast some samples with SBR modified mortar as well. After demold, put them into a curing room and checked their strength after 7 days and 28 days separately.</p> <p class="Text1" style="margin: 6.0pt 0cm 6.0pt 0cm;">After checked the strength of these concrete samples, the results showed that the 7-day strength of SBR modified concrete sample was a little bit lower than that of normal concrete; but for the 28-day strength of SBR modified concrete was almost same as that of normal concrete.</p> 2021-06-23T22:43:40+07:00 Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์