@article{ก้องกิจกุล_2021, title={อิทธิพลของระยะห่างระหว่างเสาเข็มและปีกวงแหวนต่อกำลังรับน้ำหนักของกลุ่มเสาเข็มเจาะปลายขยาย – การศึกษาด้วยแบบจำลองกายภาพ}, volume={26}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/786}, abstractNote={<p class="Text1"><span lang="TH">เสาเข็มเจาะปลายขยาย คือ เสาเข็มคอนกรีตประเภทเจาะและหล่อในที่ชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนปีกเพิ่มขึ้นมาหนึ่งหรือสองปีกที่บริเวณส่วนปลายของเสาเข็ม การเพิ่มขึ้นมาของส่วนปีกทำให้ความสามารถในการรับแรงแบกทานของเสาเข็มเพิ่มขึ้นมากกว่าเสาเข็มทั่วไป งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของระยะห่างระหว่างปีกวงแหวนกับระยะห่างระหว่างเสาเข็มที่มีต่อกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่ม ด้วยการทดสอบกับแบบจำลองกายภาพที่ใช้อัตราการย่อขนาดเท่ากับ </span>1:50<span lang="TH"> โดยใช้ทรายสะอาดในการจำลองชั้นดินในสนาม และทำการวิเคราะห์พื้นที่วงอิทธิพลจากแผนภูมิของความเครียดสูงสุดจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายด้วยวิธีดิจิทัลอิมเมจคอร์รีเลชั่น จากงานวิจัยนี้พบว่า </span>1. <span lang="TH">กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเดี่ยวมีค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าถึงสามเท่าเมื่อทำให้ปลายเสาเข็มขยายตัว </span>2. <span lang="TH">การเพิ่มจำนวนปีกไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการเพิ่มกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเดี่ยวและกลุ่มเสาเข็ม </span>3. <span lang="TH">การเพิ่มระยะห่างในแนวราบระหว่างเสาเข็มจะทำให้กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้น และ</span> 4. <span lang="TH">การเพิ่มขึ้นของกำลังรับน้ำหนักในเสาเข็มสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของพื้นที่วงอิทธิพลที่เกิดขึ้น กล่าวคือ การที่เสาเข็มเดี่ยวมีส่วนปีกเพิ่มขึ้นทำให้พื้นที่วงอิทธิพลมีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อกลุ่มเสาเข็มที่มีระยะห่างระหว่างเสาเข็มที่เพิ่มขึ้นการซ้อนทับของวงอิทธิพลจะลดลง ทำให้พื้นที่รวมของวงอิทธิพลมีค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้นค่ากำลังรับน้ำหนักและประสิทธิภาพการรับน้ำหนักของเสาเข็มเดี่ยวและกลุ่มเสาเข็มสามารถอธิบายได้จากพื้นที่วงอิทธิพล</span></p&gt;}, journal={การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26}, author={ก้องกิจกุลวรัช}, year={2021}, month={มิ.ย.}, pages={GTE-04} }