การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 https://conference.thaince.org/index.php/ncce25 การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 The Engineering Institute of Thailand Under H.M. The King's Patronage th-TH การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 <p>บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ <span class="ILfuVd"><span class="e24Kjd">วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์</span></span></p> Sensitivity Analysis of Public Private Partnership Models for Thailand’s EEC Highspeed Rails https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/81 <p>PPP (Public Private Partnership) becomes more common and popular nowadays due to the limitation of the budget of governments. Therefore, PPP is used as a tool to invest in infrastructure projects. Although PP has advantages, it has risks of applying PPP and they have to be considered carefully. This study uses the High-Speed Rail Linking 3 Airports, Thailand, as a case study and aims to study on the sensitivity analysis by considering the benefits and risks of PPP compared to the traditional approach. Construction phase and operation phase are considered because they are different in terms of cost and revenue when the project is managed as PPP and the traditional approach. An analysis is conducted by official documentation analysis, a financial analysis, and content analysis. Results from the study show that the construction cost is more sensitive affecting the achievement of the project than the revenue. Although PPP can overcome some limitations and provide some benefits which the traditional approach cannot do, there are also risks because PPP is more complex than the traditional approach which results in complex costs. To optimize the application of PPP, a good plan and practice are required. In addition, the government and the private sector must have a good collaboration to make sure that the project will provide a satisfying outcome.</p> Jessada Sresakoolchai Sakdirat Kaewunruen Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 EEC01 EEC01 The State Railway of Thailand Line Capacity Evaluation using UIC 406 Method (Section Hua Ta Khe Station to Cha Choeng Sao Junction) https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/142 <p>This paper evaluates the State Railway of Thailand (SRT) freight line capacity from Hua Ta Khe Station to Cha Choeng Sao Junction using the International Union of Railway's methodology (UIC 406). The approach is to compress the timetable, calculate the capacity consumption and evaluate the possible additional train paths on a macroscopic level. &nbsp;</p> <p>Two Line Sections (LS) is defined for this Train Path Line Section (TPLS). The analysis shows the 100% capacity consumption for the whole TPLS but 49% and 55% for each LS (using 43% additional time). The new timetable is proposed by dividing the operation into 2 sections. 18 container freight trains and 2 commodity freight trains are added. The line section capacity consumption after the evaluation process is 82% and 91% respectively.</p> Niti Jaikaew Ackchai Sirikijpanichkul Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 EEC02 EEC02 การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/411 <p>เพื่อศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ในกรณีถนนสายรองของกรมทางหลวงชนบท (Feeder Road) ให้สามารถรองรับการพัฒนาพื้นที่ใหม่และแก้ไขปัญหาปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตของกรมทางหลวงชนบท ให้เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมอื่นๆ และเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง จากการวิเคราะห์ระดับบริการของสายทางในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยแบบจำลองด้านการจราจรและขนส่งในปีอนาคตที่ พ.ศ. 2565- 2585 จำนวนทั้งสิ้น 130 สายทาง ประกอบด้วยจังหวัดฉะเชิงเทรา 30 สายทาง จังหวัดชลบุรี 55 สายทาง และจังหวัดระยอง 45 สายทาง พบว่าในกรณีที่มีการพัฒนาพื้นที่ EEC แต่ไม่มีการปรับปรุงสายทางเพื่อรองรับ จะทำให้ระดับการให้บริการของสายทางอยู่ในระดับ D ซึ่งต่ำกว่าระดับการยอมรับได้ตามมาตรฐานของ American Association of State Highway and Transportation Official จำนวน 18 สายทาง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเบื้องต้นจึงได้ทำการออกแบบและปรับปรุงสำหรับสายทางดังกล่าว โดยขยายเป็น 4 ช่องจราจร ช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทาง 2.5 เมตร จำนวน 13 สายทาง และวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการปรับปรุงสายทางทั้ง 13 ทาง พบว่าค่า NPV และค่า B/C มีค่าเป็นบวก และค่า EIRR อยู่ระหว่าง 9% - 29%</p> อนงค์นาถ คำศิริ ปรีชา โสภารัตน์ สุเมธี วงศ์ศักดิ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 EEC03 EEC03 สาเหตุของงานบกพร่องในงานก่อสร้าง ต้นทุนในการแก้ไข และแนวทางป้องกันการเกิดซ้ำ : กรณีศึกษางานก่อสร้างโรงแรม 1 แห่ง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/66 <p>งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์รายการข้อบกพร่องของงานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่งภายใน โดยใช้กรณีศึกษางานก่อสร้างโรงแรม 1 แห่ง ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลรายการงานบกพร่องด้วยซอฟแวร์ “FINALCAD” ซึ่งเป็นซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บบันทึกรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติของรายการงานบกพร่อง โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงลึกเพื่อหาสาเหตุของการเกิดงานบกพร่องเหล่านั้น รวมทั้งทำการวิเคราะห์ต้นทุนทั้งด้านเวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการแก้ไขงานบกพร่อง นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาหาแนวทางป้องกันการเกิดซ้ำของข้อบกพร่องของงานเหล่านั้น โดยผลการวิจัยพบว่า สาเหตุหลัก 3 ประการของการเกิดรายการข้อบกพร่องของงานได้แก่ การควบคุมงานที่ไม่ดีพอ การจัดลำดับงานไม่เหมาะสม และช่างขาดทักษะฝีมือในการทำงาน ส่วนต้นทุนด้านเวลาในการแก้ไขข้อบกพร่องของงานเกิดความล่าช้าเฉลี่ย 7.87 วัน จากเวลาการทำงานปกติ 30 วัน และต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายในการแก้ไขข้อบกพร่องของงานเฉลี่ยร้อยละ 2.50 จากมูลค่างานตามสัญญา อีกทั้งยังพบว่า ปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย ที่เป็นแนวทางของการป้องกันการเกิดซ้ำของข้อบกพร่องของงาน ได้แก่ การจัดลำดับงานให้เหมาะสม การควบคุมงานที่เพียงพอ และการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบงานให้ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยคาดหวังว่าผลงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ โดยสามารถนำผลจากงานวิจัยนี้ไปใช้เป็นต้นแบบของการดำเนินโครงการที่คล้ายคลึงกันอื่น ๆ ต่อไป</p> เจริญทรัพย์ งอยจันทร์ศรี พิชญ์ สุธีรวรรธนา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 CEM01 CEM01 การใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารในการบริหารจัดการงานเหล็กเสริมคอนกรีตของธุรกิจบ้านจัดสรร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/91 <p>ในปัจจุบันแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในวงการก่อสร้างของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการใช้งานสิ่งก่อสร้าง บริษัทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่หลายรายได้เริ่มนำ&nbsp;BIM&nbsp;มาปรับปรุงกระบวนการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งมีข้อจำกัดความพร้อมด้านเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากร ยังไม่พบการนำ&nbsp;BIM&nbsp;เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กรของตนมากนัก ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี&nbsp;BIM&nbsp;กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาด&nbsp;SME&nbsp;โดยใช้โครงการบ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีศึกษา การศึกษานี้จะนำ&nbsp;BIM&nbsp;ไปใช้กับขั้นตอนการตรวจสอบความสามารถในการก่อสร้างได้ของแบบก่อสร้าง และการประมาณราคาก่อสร้าง ของแบบบ้านจัดสรร&nbsp;1&nbsp;ประเภท คือ บ้านขนาดพื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า&nbsp;200&nbsp;ตารางเมตร ซึ่งจะนำเทคโนโลยี BIM มาประยุกต์ใช้กับงานก่อสร้างในรูปแบบงานวิธีตัดเหล็กเสริม เพื่อที่จะนำมาศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการใช้เหล็กในการก่อสร้างหลากหลายรูปแบบ เนื่องจากโปรแกรมทำให้งานวิจัยนี้มีความแม่นยำมากขึ้นในส่วนของการคำนวณซึ่งได้ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง จากการศึกษาสรุปได้ว่า BIM สามารถลดขั้นตอนและการสูญเสียเหล็กเส้นด้านต้นทุนในการดำเนินงานในขั้นตอนเหล่านี้ได้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ BIM ในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อที่จะช่วยในขั้นตอนการตัดเหล็กเส้นให้เกิดอัตราสูญเสียที่น้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดทั้งต้นทุนค่าก่อสร้างได้ในจำนวนมากและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า</p> ฤทธิ์ทยุต ก้อนทอง อภิชาต บัวกล้า ธนกร ชมภูรัตน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM02 CEM02 กรณีศึกษาต้นทุนคุณภาพในงานสถาปัตยกรรมในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/112 <p>โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยแบบคอนโดมิเนียม มักเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูง มีรายละเอียดการตกแต่งภายในห้องพักรวมทั้งข้อกำหนดทางคุณภาพของผู้ซื้อห้องชุดที่ต้องการความปราณีต เรียบร้อยและสวยงาม ส่งผลต่อการตรวจรับและการส่งมอบห้องชุดของลูกค้า ทำให้ต้นทุนคุณภาพของบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น&nbsp; การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาต้นทุนความล้มเหลวที่เกิดจากการแก้ไขงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนคุณภาพของงานสถาปัตยกรรมในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม โดยนำคำสั่งการแก้ไขงานสถาปัตยกรรมของโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม 46 ชั้น 554 ห้องชุด ที่มีราคาขายเริ่มต้นห้องละ 3.99 ล้านบาท มาวิเคราะห์แยกออกเป็น 5 หมวดหลัก ได้แก่ข้อบกพร่องใน หมวดพื้น หมวดผนัง หมวดฝ้า หมวดประตู-หน้าต่าง และหมวดสุขภัณฑ์ พบว่าประเภทและลักษณะของข้อบกพร่องสำคัญที่เกิดขึ้น ด้วยหลักการพาเรโต้ 80/20 หรือรายการคำสั่งแก้ไขที่มีจำนวนรวม 80% ของคำสั่งทั้งหมด พบว่ามีข้อบกพร่องสำคัญ 12 รายการจากทั้งหมด 33 รายการ โดยหมวดที่พบข้อบกพร่องสำคัญมากที่สุดคือหมวดผนังโดยเป็นข้อบกพร่องเกี่ยวกับผนังปูนฉาบเรียบ 22.34% และมุมผนัง 15.23% และเมื่อนำข้อบกพร่องผนังปูนฉาบเรียบไปแยกแยะลักษณะ พบว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความเรียบร้อยของงานปูน 34.08% ส่วนของปัญหามุมผนัง จะเกิดจากมุมผนังไม่ได้ดิ่ง 20.87%&nbsp; โดยรวมพบว่ามีห้องชุดจำนวน 420 ห้อง (75.81%) ที่มีคำสั่งแก้ไขข้อบกพร่องในงานสถาปัตยกรรม การดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจะถูกดำเนินการรวมกันเป็นหมวดงานที่ต้องแก้ไขในครั้งเดียว โดยไม่แยกแก้ไขข้อบกพร่องเป็นรายห้องหรือรายคำสั่ง ทำให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไขข้อบกพร่องเนื่องจากรอแก้ไขพร้อมกันจำนวนมากในครั้งเดียว ทำให้ระยะเวลาการส่งมอบห้องชุดล่าช้า ส่งผลถึงต้นทุนคุณภาพโดยรวม</p> พิจาริน เอ่งฉ้วน กมลวัลย์ ลือประเสริฐ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM03 CEM03 การเปรียบเทียบการประมาณระยะเวลากิจกรรมงานก่อสร้างแบบ PERT โดยกลุ่มตัวอย่างบริษัทสมาชิกสามัญของสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/119 <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการประมาณระยะเวลากิจกรรมงานก่อสร้าง โดยใช้วิธี PERT เพื่อสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือ (reliability) ของทฤษฏี และการจัดระดับความสำคัญของปัจจัย ที่มีผลกระทบต่อการประมาณระยะเวลา กลุ่มตัวอย่างคือผู้วางแผนจากบริษัทรับสร้างบ้าน ที่เป็นสมาชิกสามัญของสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม โดยจำลองโครงการก่อสร้างบ้านพักอาศัย 1 ชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอย 80 ตร.ม. ประกอบด้วย 20 กิจกรรม ให้ผู้วางแผนประมาณระยะเวลาแต่ละกิจกรรมด้วยวิธี PERT และให้ระบุระดับความสำคัญของปัจจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) 2) การจัดเรียงระดับความสำคัญ (Likert Ranking Scale) ผลการวิจัยพบว่า (1) ระยะเวลาแผนงานที่น้อยที่สุดและมากที่สุด ต่างกันเท่ากับ 43.25 วัน หรือประมาณ 1 เดือน 13 วัน (2) ค่าความน่าจะเป็นของแผนงานที่โครงการจะแล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ที่ต่ำที่สุดและสูงที่สุด ต่างกันเท่ากับ 99.99 % (3) กิจกรรมที่ผู้วางแผนประมาณระยะเวลาต่างกันมากที่สุด คือ กิจกรรมงานฉาบผนัง (4) ค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญของปัจจัยสูงสุด จากทุกกิจกรรม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1.ทักษะฝีมือช่าง 2.สภาพอากาศ 3.สภาพหน้างาน 4.วัสดุ 5.การขนส่ง 6.เครื่องจักร 7.อุบัติเหตุในการทำงาน</p> นครินทร์ ซิ่วนัส วชรภูมิ เบญจโอฬาร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM04 CEM04 การศึกษาพฤติกรรมและกำหนดกลยุทธ์การเสนอราคางานก่อสร้างทาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/123 <p>ผู้บริหารมักเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ในการตัดสินใจเมื่อต้องการเข้าร่วมการประกวดราคางานก่อสร้าง โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐที่มีโอกาสเสนอราคาได้เพียงครั้งเดียว ฉะนั้นนอกจากการคำนวณต้นทุนให้แม่นยำแล้ว หากทราบถึงแบบแผนพฤติกรรมของคู่แข่งก็จะช่วยเพิ่มโอกาสชนะการประกวดราคาได้ไม่มากก็น้อย โดยการศึกษานี้ได้นำข้อมูลประวัติการเสนอราคาโครงการก่อสร้างงานทาง ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จำนวน 119 โครงการ มาวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจแนวโน้มและรูปแบบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้รับเหมาก่อสร้าง จากนั้นจึงหาแนวทางและกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่และคู่แข่ง ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จของโครงการและเป็นประโยชน์แก่ผู้รับเหมาที่สนใจเข้าร่วมการประกวดราคากับภาครัฐ จากการศึกษาพบว่า ผู้รับเหมามีแบบแผนในการเสนอราคา บางรายเสนอราคาต่ำเป็นประจำ บางรายเสนอราคาสูงเป็นประจำ หรือบางรายก็เสนอราคาแบบสุ่ม โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ (ก) จำนวนผู้เสนอราคามีผลต่อการประกวดราคา ยิ่งจำนวนคู่แข่งมาก ราคาก็จะยิ่งแตกต่างกันมาก (ข) ผู้รับเหมาคัดเลือกงานตามประเภทงานและพื้นที่ก่อสร้าง (ค) สามารถทำนายอัตราความสำเร็จของผู้รับเหมาด้วยค่า Average Mean Standardized Bid ท้ายที่สุดได้นำผลการศึกษาไปใช้ในการประกวดราคาโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กของหน่วยงานราชการท้องถิ่นหนึ่งในเจ้าของโครงการที่ทำการเก็บข้อมูล ซึ่งมีราคากลางเป็นจำนวนเงิน 745,200 บาท ด้วย Mark-Up -3.47% พบว่าสามารถทำให้ชนะการเสนอราคา โดยเป็นผู้เสนอราคาต่ำที่สุดได้จริง</p> ธนิดา บดีพงศ์ วชรภูมิ เบญจโอฬาร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM05 CEM05 ความคุ้มค่าคุ้มทุนในการนำพรินเตอร์ 3 มิติ ร่วมกับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) มาใช้ในกระบวนการออกแบบก่อสร้าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/194 <p>&nbsp; ในปัจจุบันการออกแบบอาคารในประเทศไทยมักพบปัญหาความล่าช้าที่เกิดจากขั้นตอนการออกแบบ การทำงานที่ซ้ำซ้อน&nbsp; ซึ่งส่งผลให้เกิดระยะเวลาในการทำงานที่นาน&nbsp; เกิดการสิ้นเปลืองต้นทุนและทรัพยากรบุคคล อีกทั้งแบบก่อสร้างไม่มีมาตรฐาน&nbsp;&nbsp; ก่อให้เกิดความผิดพลาดในการนำไปก่อสร้างอาคารของผู้รับเหมา&nbsp;&nbsp; เพื่อศึกษาความคุ้มค่า&nbsp; คุ้มทุนในการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร &nbsp;ใช้ในกระบวนการออกแบบก่อสร้าง การถอดราคาวัสดุ&nbsp; และการนำข้อมูลมาใช้โดยการแปลงไฟล์ซอฟต์แวร์เพื่อนำไป ใช้ขึ้นรูปอาคาร&nbsp; 3&nbsp; มิติ&nbsp; โดยเครื่องพรินเตอร์ 3&nbsp; มิติ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบความคุ้มค่า ความคุ้มทุน เวลาและมาตรฐานแบบก่อสร้าง การขึ้นชิ้นงาน 3 มิติ ซึ่งผลงานวิจัยเบื้องต้นพบว่าการออกแบบก่อสร้างอาคาร ทำให้ลดเวลาในการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร&nbsp; มีความแม่นยำกว่าการใช้ ทรัพยากรบุคคลในการถอดราคาแบบปัจจุบัน&nbsp;&nbsp; และสามารถนำข้อมูลการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร มาใช้ขึ้นรูปอาคารชิ้นงาน&nbsp; 3 มิติ&nbsp;&nbsp; ได้รวดเร็วกว่าปัจจุบันและชิ้นงานสามารถถอด ส่วน ประกอบอาคารให้เห็นรายละเอียดของอาคารได้ตามมาตรฐานถูกต้องตามแบบ และยังลดระยะเวลากับ ต้นทุนการใช้ทรัพยากรบุคคลในการตัดชิ้นงานอาคารได้ตามที่คาดการณ์ไว้</p> อาทิตยา ตาปัน เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง พรพจน์ นุเสน มานพ แก้วโมราเจริญ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM06 CEM06 สาเหตุความล่าช้าของงานราชการและแนวทางการแก้ปัญหา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/236 <p class="Contentnew"><span lang="TH" style="letter-spacing: -.1pt;">ปัจจุบันงานก่อสร้างของงานราชการภายในหน่วยราชการแห่งหนึ่ง <br>มีความล่าช้าอยู่หลายโครงการ อีกทั้งยังทำให้เกิดความเสียหายในการเบิกค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปีที่เบิกไม่ตรงตามกำหนด และไม่สามารถนำอาคารสิ่งปลูกสร้างไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะหาสาเหตุความล่าช้า ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 กลุ่มคือ ฝ่ายราชการ และฝ่ายเอกชน โดยมีขอบเขตของการศึกษาในงานก่อสร้างของหน่วยราชการแห่งหนึ่ง ที่ล่าช้าจำนวน 10 โครงการ โดยผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของล่าช้าที่เกิดจากฝ่ายราชการ คือ การส่งมอบพื้นที่ให้กับฝ่ายเอกชนล่าช้า และ ผู้ว่าจ้างขอเปลี่ยนแบบการก่อสร้างใหม่ ส่วนความล่าช้าที่พบจากฝ่ายเอกชนคือ ฝ่ายเอกชนขาดสภาพคล่องทางการเงิน นอกจากนี้ยังพบความล่าช้าที่ไม่ได้เกิดจากทั้ง 2 ฝ่าย ได้แก่ สภาพอากาศที่ฝนตกหนักทำให้ฝ่ายเอกชนไม่สามารถทำงานได้ และการพบโบราณสถานในพื้นที่ก่อสร้างทำให้ต้องมีการตรวจสอบ การศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัญหาความล่าช้า มีจำนวน 35 ปัญหา โดยแบ่งเป็นความล่าช้าประเภท </span><span style="letter-spacing: -.1pt;">Excusable Delay <span lang="TH">จำนวน 27 ปัญหา คิดเป็น ร้อยละ 77และความล่าช้าประเภท </span>Non-Excusable Delay <span lang="TH">จำนวน 8 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 2</span>3</span></p> พีรสิชฌ์ อัฑฒ์สุวีร์ วรรณวิทย์ แต้มทอง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM07 CEM07 การวิเคราะห์ข้อมูลในกระบวนการบริหารงานก่อสร้างโดยใช้ ธุรกิจอัจฉริยะในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/238 <p>การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีภารกิจในการจัดหา ให้บริการพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจทั้งด้านคุณภาพและบริการ จากการวิเคราะห์ปัญหาการปิดงานและขึ้นทรัพย์สินระหว่างก่อสร้าง พบว่าการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบเดิมเป็นการประมวลค่าตัวเลขทางสถิติที่มีความซับซ้อน มุมมองรูปแบบของรายงานจะออกมาเป็นตัวเลขและข้อความ ซึ่งเป็นมุมมองที่น่าเบื่อหน่าย ไม่มีแรงจูงใจในการติดตามข้อมูล จึงเป็นสาเหตุของการบริหารงานก่อสร้างที่ผิดพลาดส่งผลกระทบกับการปิดบัญชีและขึ้นทรัพย์สินงานระหว่างก่อสร้างไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงอัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุนขององค์กรไม่เป็นไปตามค่าเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำหนด โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในงานธุรกิจอัจฉริยะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว บทความนี้ได้ทดลองนำโปรแกรมสำเร็จรูประบบงานธุรกิจอัจฉริยะมาวิเคราะห์ เชื่อมต่อ แปลง และแสดงข้อมูลรายงานผลออกมาในรูปแบบเสมือนจริง ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ และบริหารจัดการงานก่อสร้างด้านการวางแผนงาน การจัดลำดับความสำคัญของงาน การบริหารพัสดุและงบประมาณ การเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายระดับปฏิบัติงาน รวมถึงเป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารระดับสูงใช้ในการประเมินติดตามงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดขององค์กรต่อไป</p> กิตติพงศ์ เชื้ออ้วน เบญญา สุนทรานนท์ สุนิตา นุเสน มานพ แก้วโมราเจริญ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM08 CEM08 การคัดเลือกแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ขนาดเล็กของโครงการ เทอรา ดา ลุธ จังหวัดเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/239 <p>โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กที่มีจำนวนยูนิตขายต่อโครงการไม่เกิน 10 แปลง ไม่ได้มีข้อกำหนดให้มีการจัดทำสาธารณูปโภคสำหรับส่วนกลางในโครงการลักษณะนี้ ลูกค้าที่ให้ความสนใจโครงการจึงมักมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย การจัดการสาธารณูปโภคภายในโครงการ รวมถึงต้นทุนด้านราคาที่ผู้พัฒนาโครงการจะจัดทำต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง งานวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะโครงการเทอรา ดา ลุธ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีบ้านเดี่ยวแบบ Pool Villa บนที่ดินขนาดตั้งแต่ 50 ตร.วา - 100 ตร.วา จำนวน 6 ยูนิต ราคาขายเริ่มต้นที่หลังละ 15 ล้านบาท ซึ่งยังไม่มีงานวิจัยใด ที่ได้ศึกษาถึงทางเลือกในการจัดการระบบสาธาณูปโภคและความปลอดภัยของโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบนี้ การวิจัยครั้งนี้จึงให้ความสนใจที่จะทำการศึกษาหาแนวทางเลือกโดยวิเคราะห์หาแนวทางการจัดการระบบสาธารณูปโภค ความปลอดภัย และระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้อยู่ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับเลือกใช้ของโครงการเทอรา ดา ลุธ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประสบปัญหานี้อยู่&nbsp; โดยทำการออกแบบแบบสอบถามสำหรับผู้ที่ให้ความสนใจโครงการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ จากนั้นออกแบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างเพื่อใช้ในการหาเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ในการแบ่งแบบปัจจัย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยกระบวนการวิเคราะห์ลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (modified Analytical Hierarchy Process: modified AHP) ผลจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้สามารถคัดเลือกแนวทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับโครงการรวมถึงความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ของแต่ละทางเลือก เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของโครงการได้ทราบถึงค่าดำเนินการในส่วนการดูแลระบบ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางการขาย และลูกค้าของโครงการทราบถึงระบบการจัดการความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระ เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อบ้านในโครงการลักษณะนี้</p> จิตราภรณ์ วุฒิการณ์ พิมพ์สิริ โตวิจิตร สุนิตา นุเสน มานพ แก้วโมราเจริญ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM09 CEM09 การวิเคราะห์แนวทางการตรวจรับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับงานก่อสร้างอาคารมหาวิทยาลัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/241 <p>ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจังหวัดเชียงใหม่แห่งหนึ่ง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; มีโครงการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอนและอาคารสำนักงานของบุคลากรในหน่วยงาน โดยได้มีการนำแบบจำลองสารสนเทศอาคารมาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้าง ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกิดจากบุคลากรในหน่วยงานไม่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจรับงานก่อสร้างอาคารบนพื้นฐานแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารในการตรวจรับงานก่อสร้างอาคารมหาวิทยาลัยและวิเคราะห์หาช่องว่างในการตรวจรับงานก่อสร้างอาคารมหาวิทยาลัยบนพื้นฐานของแบบจำลองสารสนเทศอาคาร โดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์บุคลากรและผู้บริหารในหน่วยงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจังหวัดเชียงใหม่แห่งหนึ่ง โดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามและสัมภาษณ์มาทำการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางและช่องว่างในการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อตรวจรับงานก่อสร้างอาคารมหาวิทยาลัยต่อไป ในงานวิจัยนี้เบื้องต้นพบว่าบุคลากรในสายปฏิบัติการทางด้านงานออกแบบและก่อสร้าง ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร อาจทำให้การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อตรวจรับงานก่อสร้างของหน่วยงาน&nbsp;&nbsp;&nbsp; เป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยบุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็น&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ให้หน่วยงานจัดอบรมหรือจัดให้บุคลากรเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับแบบจำลองสารสนเทศ</p> เบญจวรรณ พักดี เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง พรพจน์ นุเสน มานพ แก้วโมราเจริญ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM10 CEM10 การใช้ไม้ประดับในการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/256 <p>อาคารเป็นสถานที่ที่คนใช้อยู่อาศัยและดำเนินชีวิตประจำวัน คุณภาพอากาศภายในอาคารจึงมีความสำคัญที่ควรถูกออกแบบและจัดการให้เหมาะกับจำนวนคนและกิจกรรมภายในอาคาร เพื่อให้มีคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ดี งานวิจัยนี้จึงให้ความสำคัญกับเรื่องมลพิษทางอากาศภายในอาคาร คือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ที่สามารถสะสมอยู่ในระบบทางเดินหายใจและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ความเข้มข้นสูงที่เกิดจากการหายใจของผู้ใช้งานจำนวนมากภายในอาคาร ซึ่งส่งผลเสียต่อการปฏิบัติติงานในแต่ละวัน งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฝุ่นละอองของพืช 6 ชนิด อันได้แก่ พลูงาช้าง, ข้าหลวงหลังลาย, เฟิร์น-บอสตัน, เศรษฐีเรือนนอก, แก้วกาญจนา และเดหลี ในกล่องที่ติดตั้งเครื่องมือวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, เครื่องมือวัดปริมาณฝุ่นละออง, เครื่องมือวัดความเข้มแสง และพัดลมหมุนเวียนอากาศในกล่อง โดยทำการทดลองพืชแต่ละชนิดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อวิเคราะห์หาชนิดพืชที่ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฝุ่นละอองในอากาศ ผลการศึกษาพบว่า ต้นเด-หลีลดก๊าซ CO<sub>2</sub> และฝุ่น PM 10 ใน 1 วันได้มากที่สุด โดยสามารถลดก๊าซ CO<sub>2</sub> ได้ 16.45 * 10<sup>-4</sup> ppm/cm<sup>2</sup>/min และลดฝุ่น PM 10 ได้ 28.99 * 10<sup>-</sup><sup>5</sup> µg/m<sup>3</sup>/cm<sup>2</sup>/min อีกทั้งยังสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวันได้ดีที่สุด โดยสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 28.8470 * 10<sup>-4</sup> ppm/cm<sup>2</sup>/min ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้แนะนำให้ปลูกเดหลีในอาคารที่มีการใช้งานส่วนใหญ่ในช่วงเวลากลางวันอย่างห้องเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในให้ดีขึ้น</p> นวภา เฉยเจริญ วรรณวิทย์ แต้มทอง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM11 CEM11 การวิเคราะห์ความล่าช้าของการก่อสร้าง กรณีศึกษาอาคารชุดที่พักอาศัยรวมในจังหวัดเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/261 <p>การก่อสร้างโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยรวม มีปัจจัยความเสี่ยงหลายด้านทั้งภายในและภายนอก ที่ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการก่อสร้าง ทำให้ส่งผลกระทบเชิงลบกับทั้ง 2 ฝ่ายคือ เจ้าของโครงการ และ ผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างโครงการ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความล่าช้าของการก่อสร้างโครงการ รวมถึงขอบเขตของผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความล่าช้าที่เกิดขึ้น ทำให้สามารถป้องกันและลดผลกระทบต่อการดำเนินการก่อสร้างโครงการอย่างเหมาะสมในอนาคต ผู้วิจัยได้คัดเลือกโครงการก่อสร้างกรณีศึกษาอาคารชุดที่พักอาศัยรวม 7 ชั้นความสูงไม่เกิน 23 เมตร ภายในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการปฏิบัติงานก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนด จำนวน 1 โครงการ โดยใช้โปรแกรมไมโครซ๊อฟท์ โปรเจค ในการรวบรวมข้อมูลแผนงานก่อสร้าง และวิเคราะห์แผนงานด้วยวิธีการวิเคราะห์โดยลดเวลาของแผนงานที่ก่อสร้างจริง ผลจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้สามารถแบ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความล่าช้าของโครงการกรณีศึกษาได้ 7 ปัจจัย โดยพิจารณาจากปัจจัยทั้งหมดที่กระทบต่อความล่าช้าของแต่ละกิจกรรมในการก่อสร้าง และเมื่อวิเคราะห์แผนงานด้วยวิธีการวิเคราะห์โดยลดเวลาของแผนงานที่ก่อสร้างจริงแล้ว ทำให้ทราบจำนวนวันที่พบ และ จำนวนวันที่กระทบต่อระยะเวลาก่อสร้างของโครงการในแต่ละปัจจัย &nbsp;ซึ่งนำไปสู่การแบ่งขอบเขตความรับผิดชอบต่อความล่าช้าที่เกิดขึ้น คือ ความล่าช้าที่ผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบ จำนวน 5 ปัจจัย ความล่าช้าที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดชอบ จำนวน 1 ปัจจัย และ ความล่าช้าที่สามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้ จำนวน 1 ปัจจัย โดยประโยชน์ของการวิจัยทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเวลาในการก่อสร้างโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยรวมในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้สามารถนำไปเป็นข้อมูลอ้างอิงและป้องกันในการดำเนินการก่อสร้างโครงการในลักษณะคล้ายคลึงกันต่อไป</p> ศุภกร ชนะ ดำรงศักดิ์ รินชุมภู Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM12 CEM12 การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการทรัพยากรกายภาพของอาคารเรียนสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/274 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาสภาพกายภาพของอาคาร ระบบประกอบอาคาร การใช้งานอาคาร และการบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร วิเคราะห์ปัญหาการจัดการทรัพยากรกายภาพของอาคารเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาและบริหารจัดการอาคาร โดยการศึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือการวิเคราะห์ปัญหาด้านกายภาพของอาคาร จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันอาคารอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี สภาพปัญหาที่ต้องปรับปรุง เนื่องมาจากความเสื่อมสภาพของระบบประกอบอาคารตามอายุอาคาร โดยเป็นการบำรุงรักษาเชิงรับ ดังนั้นควรมีการเพิ่มนโยบายการดูแลรักษาในเชิงรุก ตรวจสอบติดตามผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอาคารให้มากยิ่งขึ้น และส่วนที่ 2 คือการวิเคราะห์ปัญหาด้านการบริหารจัดการอาคาร จากการเก็บรวบรวมแบบสอบถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลอาคารสถานที่ พบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการอาคารมากที่สุดคือ ด้านวัฒนธรรม ในการใช้อาคารโดยขาดความตระหนักในการช่วยดูแลรักษาอาคาร ดังนั้นควรมีการจัดการเพื่อกระตุ้นให้ความตระหนักในการช่วยกันดูแลรักษาอาคาร มีการจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้โดยเฉพาะ และพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งจะนำไปสู่ทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมดูแลรักษาอาคารของผู้ใช้อาคาร มีการวางแผน ติดตามผล และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป</p> จริยา เรืองเดช พิมพ์สิริ โตวิจิตร สุนิตา นุเสน มานพ แก้วโมราเจริญ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM13 CEM13 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความล่าช้าของงานก่อสร้าง: กรณีศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/286 <p>&nbsp; &nbsp;โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มีการใช้ทรัพยากรที่สูง ทั้งด้านเงินทุน และทรัพยากรอื่น ๆ ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นคือ ความล่าช้าในงานก่อสร้างของโครงการที่ไม่แล้วเสร็จตามสัญญา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้การดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าล่าช้า พร้อมทั้งหาแนวทางควบคุมปัจจัยดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) โดยการใช้แบบสอบถามในการสำรวจปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระยะเวลาในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ ของบริษัทผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานในโครงการ จากการใช้สูตร Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 82 คน ตัวแปรทางสถิติที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และจัดลำดับความรุนแรงของแต่ละปัจจัย (Severity Index) ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความล่าช้าของงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 5 อันดับแรก เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้&nbsp; 1. การอนุมัติแบบที่ใช้ในการก่อสร้าง (Shop Drawing) ล่าช้า 2. ความล่าช้าจากเจ้าของงานในการตอบคำถามจากผู้รับเหมา 3. การออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของแบบที่ใช้ในการก่อสร้างและรายละเอียดกำหนดการต่างๆ 4. การใช้บุคลากรไม่เหมาะสมกับงานและมีบุคลาการไม่เพียงพอ &nbsp;5. การที่มีแรงงานก่อสร้างไม่เพียงพอ ในด้านผลกระทบที่มีต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และในด้านความถี่ที่มีต่อโครงการอยู่ในระดับน้อย &nbsp;แนวทางในการป้องกันเบื้องต้น คือการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในงานก่อสร้างเพื่อลดขั้นตอนการทำงาน ควรสรรหาบุคลากรให้มีความเหมาะสมกับลักษณะงานโดยบุคลากรมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะขับเคลื่อนให้งานสำเร็จตามแผนงานที่ได้วางไว้</p> ชายรอง กิมเฮียะ อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM14 CEM14 กระบวนการพัฒนาองค์กรของบริษัทรับสร้างบ้านโดยใช้แนวทางแผนผังแบบจำลองธุรกิจ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/291 <p>รูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัทรับสร้างบ้านที่กำลังศึกษาในปัจจุบัน เป็นบริษัทที่ยังไม่มีรูปแบบองค์ประกอบทางธุรกิจที่ชัดเจน อีกทั้งยังขาดการรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงานภายในบริษัทเพื่อนำมาปรับปรุงสินค้า และบริการให้เกิดคุณค่าสูงสุดต่อลูกค้า จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาองค์กรที่เกี่ยวกับการรับสร้างบ้านด้วยแผนผังแบบจำลองธุรกิจ และเพื่อปรับปรุงรูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับบริษัทรับสร้างบ้านให้มีความน่าเชื่อถือ ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล รวมไปถึงการรักษาผลประกอบการให้มีผลกำไร โดยใช้การทำสนทนากลุ่มของพนักงานในบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับออกแบบสร้างบ้านในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน จำนวน 1 ครั้ง โดยใช้แผนผังแบบจำลองธุรกิจ&nbsp; การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค โอกาส และมาตราวัดแบบลิเคิร์ท ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงองค์ประกอบทางธุรกิจที่ควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับข้อจำกัดขององค์กรมากขึ้นในทั้ง 9 ด้าน เช่น การเพิ่มระบบบ้านอัจฉริยะ ในหมวดการนำเสนอคุณค่า การเพิ่มกลุ่มลูกค้าที่ต้องการปรับปรุงอาคารทั้งเพื่ออยู่อาศัยและประกอบธุรกิจ ในหมวดกลุ่มลูกค้า การปรับปรุงการประสานงานและการอำนวยความสะดวก ในหมวดความสัมพันธ์กับลูกค้า การเพิ่มช่องทางการติดต่อผ่านทางโซเชียลมีเดีย ในหมวดช่องทาง เพิ่มการใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศอาคารสำหรับงานสร้างบ้าน ในหมวดกิจกรรมหลัก การเพิ่มพนักงานด้านการตลาดและการพัฒนาศักยภาพของพนักงานเดิม ในหมวดทรัพยากรหลัก การส่งพนักงานเข้าอบรมกับคู่ค้าทางธุรกิจเพื่อเพิ่มตัวเลือกด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างและวัสดุแก่ลูกค้า ในหมวดคู่ค้าที่สำคัญต่อธุรกิจ ซึ่งผลการวิเคราะห์สถานการณ์ และวิธีการดำเนินธุรกิจขององค์กรที่จะนำมาปรับใช้ในอนาคตครั้งนี้นำมาซึ่งโอกาสที่โครงสร้างต้นทุนของการดำเนินธุรกิจจะลดลง และกระแสรายได้ที่มีโอกาสจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับองค์ประกอบทางธุรกิจเดิมในปัจจุบัน อีกทั้งประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้คือรูปแบบแนวทางการพัฒนาองค์กรด้วยแผนผังแบบจำลองธุรกิจ และได้แนวทางการ บูรณาการความคิดจากการทำสนทนากลุ่มเพื่อหาองค์ประกอบทางธุรกิจที่เหมาะสมกับการทำงาน รวมถึงโอกาสที่จะพบคุณค่ารูปแบบใหม่ที่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ในอนาคต</p> วรนันท์ อิ่มโอษฐ์ ดำรงศักดิ์ รินชุมภู Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM15 CEM15 การวิเคราะห์การวางแผนดำเนินการแบบจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับบ้านพักอาศัยขนาดเล็ก https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/312 <p>ปัจจุบันระบบสารสนเทศอาคาร (BIM) ได้ถูกใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานก่อสร้าง ในขณะเดียวกันในงานก่อสร้างอาคารพักอาศัยขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะใช้แบบก่อสร้างในรูปแบบ 2 มิติ ซึ่งเกิดปัญหาในงานก่อสร้างเป็นอย่างมาก&nbsp; การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศอาคารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานก่อสร้างให้กับอาคารพักอาศัยขนาดเล็กจึงมีความน่าสนใจ&nbsp; งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาต้นแบบการวางแผนดำเนินการสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารที่เหมาะสมกับกระบวนการก่อสร้างอาคารพักอาศัยขนาดเล็กโดยประยุกต์ใช้แผนปฏิบัติการแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIMxP) ขั้นตอนการวิจัยได้ทำการวิเคราะห์การวางแผนดำเนินการแบบจำลองสารสนเทศอาคารให้เหมาะสมกับกระบวนก่อสร้างอาคารพักอาศัยขนาดเล็ก โดยการเรียงลำดับกระบวนการทำงานเป็นหมวดหมู่ นำข้อมูลจากระบบสารสนเทศอาคารเข้าเชื่อมโยงกับกระบวนการทำงาน จากนั้นนำข้อมูลที่ทำการศึกษาไปสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์ในงานก่อสร้างเพื่อหาข้อเสนอแนะ และนำมาปรับปรุงแก้ไขจนได้ต้นแบบ การวางแผนดำเนินการแบบจำลองสารสนเทศอาคารให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างบ้านพักอาศัยขนาดเล็ก</p> สิทธิพงษ์ ใจปัญญา เอกพิสิษฐ์ บรรจงเกลี้ยง พรพจน์ นุเสน มานพ แก้วโมราเจริญ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM16 CEM16 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอาคารกับโครงการก่อสร้างจริง กรณีศึกษา โครงการ บูสท์ ฟิตเนส ยิม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/323 <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">ปัจจุบันการประมูลงานก่อสร้างมีการแข่งขันที่สูง ถูกบีบด้วยราคาประมูลและระยะเวลาในการถอดปริมาณงาน ความรวดเร็วและความแม่นยำในการถอดปริมาณงานเป็นสิ่งจำเป็นของบริษัทรับเหมาก่อสร้างทุกแห่ง บทความฉบับนี้มีจุดประสงค์หลัก เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศอาคาร </span><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">(Building Information Modeling : BIM) <span lang="TH">ในการเข้ามาประยุกต์หรือแทนที่แผนกสำรวจปริมาณงาน (</span>Quantity Surveyor) <span lang="TH">โดยเป็นกระบวนการสร้างแบบจำลองอาคาร ในระบบ 3 มิติ และสามารถถอดข้อมูลปริมาณงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้างได้ ใช้ในการประมาณราคาต้นทุนค่าก่อสร้างในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา </span>( Bill Of Quantities : BOQ) <span lang="TH">ที่ใช้ในการแข่งขันการประกวดราคาค่าก่อสร้าง ในการวิเคราะห์ผลมีการแบ่งชุดข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกปริมาณงานที่ได้จากแบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศอาคาร ส่วนที่สองปริมาณงานที่ได้จากบุคคลากรในแผนกสำรวจปริมาณงาน ส่วนที่สามปริมาณงานที่ได้จากการเก็บข้อมูลการก่อสร้างที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยที่จะทำการนำเสนอ ได้แก่ ผลการเทียบปริมาณงานโครงสร้าง ผลการเทียบระยะเวลาในการดำเนินการถอดปริมาณงาน และ ผลการเทียบจำนวนบุคคลากรในการถอดปริมาณงาน พร้อมทั้งนำผลวิเคราะห์ให้ทางบริษัทที่สนใจได้พิจารณาการจัดซื้อซอฟต์แวร์แบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศอาคารต่อไป</span></span></p> <p>&nbsp;</p> วิภาวี แป้นจุลสี อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM17 CEM17 สาเหตุความล่าช้าในการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ของสถานีไฟฟ้าย่อยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/370 <p>การไฟฟ้านครหลวงได้มีโครงการท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินมาใช้เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มทัศนียภาพของเมืองให้มีความน่าอยู่และลดปัญหาของกิ่งไม้ที่พาดผ่านสายไฟฟ้า อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายไฟในอนาคต&nbsp; แต่เนื่องจากโครงการก่อสร้างเกิดความล่าช้าไม่แล้วเสร็จตามสัญญาที่กำหนด จึงเป็นเหตุให้ผู้วิจัยทำการศึกษาเรื่อง สาเหตุความล่าช้าในการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของสถานีไฟฟ้าย่อยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยได้การทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางผู้เกี่ยวข้องในงานโครง การท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสถานีไฟฟ้าต้นทางคลองรังสิต โครงการสถานีไฟฟ้าต้นทางคลองด่าน และโครงการสถานีไฟฟ้าย่อยนิมิตรใหม่ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง ผู้รับเหมาย่อย และฝ่ายออกแบบของโครงการ ผลการศึกษาพบร้อยละของสาเหตุที่ก่อให้เกิดความล่าช้าต่อโครงการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของสถานีไฟฟ้าย่อยในพื้นที่กรุงเทพมหานครคือ ด้านสิ่งแวดล้อมและกายภาพพื้นที่ 27%&nbsp; ด้านวิธีการดำเนินงานและการออกแบบ 20% ด้านบุคลากร 18%&nbsp; ด้านการเงิน 14%&nbsp; ด้านวัสดุและอุปกรณ์ 12% ด้านเครื่องจักร 9% โดยสาเหตุความล่าช้าที่สำคัญคือ การขออนุญาตก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตจากทางผู้รับผิดชอบพื้นที่</p> ทรงยศ หวันสมาน วรรณวิทย์ แต้มทอง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM18 CEM18 เศษวัสดุประเภทเผื่อในโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/382 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาปริมาณเศษวัสดุในโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน ซึ่งทางผู้วิจัยได้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ เนื่องจากปริมาณเศษวัสดุประเภทเผื่อนั้นส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของโครงการเป็นอย่างมาก จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัสดุที่ต้องสั่งเผื่อเพื่อการนำมาใช้ในโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาจัดทำแนวทางในการป้องกันและแนวทางในการจัดการวัสดุ เพื่อลดปัญหาการสูญเสียของวัสดุ และสามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาขั้นตอนการทำงานในแต่ละโครงการให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน ความสูง 2-3 ชั้น จำนวน 3 โครงการ มูลค่า 44,000,000 – 216,000,000 บาท โดยทำการศึกษาวัสดุ 6 ชนิด ได้แก่ เหล็กเส้น คอนกรีต ปูนก่อและฉาบ อิฐบล็อก กระเบื้อง และแผ่นฝ้า เก็บข้อมูลโดยการสำรวจปัญหาในโครงการและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละโครงการ ประกอบด้วย ผู้จัดการโครงการ 1 คน วิศวกรสนาม 2 คน สโตร์ 1 คน และโฟร์แมนสนาม 1 คน ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละความสูญเสียของวัสดุเผื่อสำหรับ เหล็กเส้น คอนกรีต ปูนก่อและฉาบ อิฐบล็อก กระเบื้อง และแผ่นฝ้า มีค่าเท่ากับ 1.83-14.80, 5.25-9.81, 2.87-9.10, 3.00-10.88, 0.92-24.11 และ 4.68-13.95 ตามลำดับ สำหรับสาเหตุความสูญเสียของวัสดุในการศึกษาครั้งนี้พบว่าเกิดจาก กระบวนการออกแบบ</p> ธนพล พฤกษ์สุนทร วรรณวิทย์ แต้มทอง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM19 CEM19 การศึกษาปริมาณเศษวัสดุและการปรับปรุงผลิตภาพของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนบ้านสำเร็จรูป 2 ชั้น ด้วยวิธีการประเมินแบบราย 5 นาที https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/383 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<span lang="TH">เนื่องจากงานก่อสร้างในปัจจุบันพบปัญหาด้านแรงงานไม่เพียงพอ การขาดแคลนช่างฝีมือ ปัญหาด้านคุณภาพ ส่งผลกระทบในเรื่องของระยะเวลาในการก่อสร้างบ้าน จากปัญหาดังกล่าวจึงได้นำวิธีการก่อสร้างบ้านระบบพรีคาสท์มาใช้เพื่อควบคุมเวลาและคุณภาพในการก่อสร้างบ้าน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลิตภาพและศึกษาแนวทางการเพิ่มผลิตภาพในการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูป และศึกษาเศษวัสดุที่พบในกระบวนการผลิต ของโรงงานผลิตแผ่นพรีคาสท์ประเภทบ้านเดี่ยว </span>2<span lang="TH"> ชั้น จำนวน </span>1<span lang="TH"> สายการผลิต โดยได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการประเมินแบบราย </span>5<span lang="TH"> นาที</span> (Five Minutes Ratings) <span lang="TH">กับแรงงานจำนวน </span>4<span lang="TH"> ชุด ในงานเทคอนกรีต พบว่ามีผลิตภาพก่อนปรับปรุงเฉลี่ยของแรงงานชุดที่ </span>1, 2, 3, <span lang="TH">และ </span>4 <span lang="TH">มีเท่ากับ </span>72%, 89%, 77%, <span lang="TH">และ </span>88%<span lang="TH"> ตามลำดับ และหลังปรับปรุงมีผลิตภาพเฉลี่ยเท่ากับ </span>87%, 89%, 84%, <span lang="TH">และ </span>91%<span lang="TH"> ตามลำดับ ส่วนการศึกษาด้านเศษวัสดุพบปัญหาการจัดการเศษเหล็กตะแกรง (</span>Wire Mesh) <span lang="TH">ขนาด </span>6<span lang="TH"> มิลลิเมตร และ </span>8<span lang="TH"> มิลลิเมตรโดยพบเศษวัสดุคิดเป็น </span>18%<span lang="TH"> และ </span>23%<span lang="TH"> ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบปัญหาที่ส่งผลต่อผลิตภาพคือ ด้านเครื่องจักร ที่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทำให้เกิดการรองาน</span></p> สุภาณีย์ พิริยะสุรวงศ์ วรรณวิทย์ แต้มทอง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM20 CEM20 การวิเคราะห์ความเสี่ยงของค่าก่อสร้างเกินงบประมาณจากการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดุก่อสร้าง ของบ้านเดี่ยวสองชั้นในจังหวัดเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/408 <p>ปัญหาที่พบในการสร้างบ้าน ส่วนหนึ่งคือปัญหาเกี่ยวกับค่าก่อสร้างเกินงบประมาณ โดยมีปัจจัยที่สามารถควบคุมได้และไม่สามารถควบคุมได้ ในการศึกษาครั้งนี้ ศึกษาถึงปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดุก่อสร้าง ที่จะเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดุก่อสร้าง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่ ส่งผลให้เกิดต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นและระยะเวลาแล้วเสร็จต่อการสร้างบ้านเกิดความล่าช้า เพื่อศึกษาหามูลค่าความเสี่ยงของค่าก่อสร้างเกินงบประมาณที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดุก่อสร้างของบ้านเดี่ยวสองชั้น ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลเอกสารแสดงราคากลางในการก่อสร้างบ้านเดี่ยว 2 ชั้น และข้อมูลดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของกระทรวงพาณิชย์ 5 ปีย้อนหลังของการก่อสร้างบ้านแต่ละหลังจำนวน 5 ชุดข้อมูล ใช้แบบสถานการณ์จำลองมอนติคาร์โล บนโปรแกรม ModelRisk ในการวิเคราะห์ ผลจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้สามารถคาดการณ์ถึงโอกาสความเป็นไปได้ของค่าก่อสร้างเกินงบประมาณที่จะเกิดขึ้นในการสร้างบ้านเดี่ยว 2 ชั้น เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเอกสารแสดงราคากลางในการก่อสร้าง และทราบความแปรปรวนของราคาวัสดุก่อสร้างในแต่ละหมวด ประโยชน์ของการวิจัยทำให้ทราบถึงขั้นตอนการหามูลค่าความเสี่ยงของค่าก่อสร้างเกินงบประมาณที่เกิดจากการผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง โดยใช้เทคนิควิธีการจำลองสถานการณ์มอนติคาร์โล เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ วางแผนให้กับเจ้าของบ้านหรือผู้รับเหมาก่อสร้าง</p> ปาณัสม์ ลิ้มพัสถาน ดำรงศักดิ์ รินชุมภู Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM21 CEM21 แนวทางการศึกษาค่าใช้จ่ายความปลอดภัยที่เหมาะสมของโครงการก่อสร้างงานอาคาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/410 <p>สถิติการเกิดอุบัติเหตุและการได้รับบาดเจ็บของคนงานก่อสร้างในประเทศไทยนั้นมีอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศ&nbsp; นักวิจัยหลายท่านพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการประเมินหาค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น รัฐบาลไทยเองก็กำหนดนโยบายให้ผู้รับเหมาต้องนำเสนอแผนปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยพร้อมค่าใช้จ่ายเพื่อให้อุบัติเหตุลดน้อยลงอย่างไรก็ตามยังมีคนงานได้รับบาดเจ็บอยู่มากเช่นเดิม&nbsp; บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอกรอบแนวคิดในการศึกษาค่าใช้จ่ายระบบความปลอดภัยที่เหมาะสมของโครงการก่อสร้างงานอาคาร&nbsp; ซึ่งเก็บข้อมูลด้วยการสอบถามผู้รับเหมาในการลงทุนด้านความปลอดภัย&nbsp; และการสูญเสียอันเกิดจากอุบัติเหตุ&nbsp; จากนั้นคำนวณหาค่าสัดส่วนการลงทุนด้านความปลอดภัย&nbsp; สัดส่วนการสูญเสียจากอุบัติเหตุ และดัชนีการเกิดอุบัติเหตุ&nbsp;&nbsp; แล้วนำค่ามาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพความปลอดภัยกับมูลค่าโครงการตามสัญญาและค่าเปอร์เซ็นต์การลงทุนด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมกับมูลค่าโครงการตามสัญญา&nbsp;&nbsp; จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า รายการที่มีผลต่อการลงทุนด้านความปลอดภัย คือ ผู้ดูแลความปลอดภัย&nbsp; มาตรการป้องกัน&nbsp; การฝึกอบรมและการฝึกปฏิบัติ&nbsp; การรณรงค์ส่งเสริม และการเกิดอุบัติเหตุในหน่วยงาน&nbsp;&nbsp; ดังนั้นการที่สามารถประมาณค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมได้ล่วงหน้า จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาการอุบัติเหตุในงานก่อสร้างของไทยให้ลดน้อยลงได้</p> ทองพูล ทาสีเพชร วุฒิกร แก้วเงินลาด เสกสรรค์ ปลื้มสวาสดิ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM22 CEM22 การกำหนดเพื่อเลือกใช้แรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมก่อสร้างเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/583 <p>อุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทยขณะนี้กำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในประเทศ เนื่องด้วยแรงงานฝีมือเหล่านี้เปลี่ยนไปทำอาชีพที่มีรายได้แน่นอนกว่าและสูงกว่า ดังนั้นแรงงานต่างด้าวจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการพัฒนาฝีมือแรงงานต่างด้าวอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นที่เราต้องเข้าใจปัญหาและให้ความสนใจอย่างจริงจัง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบทำให้แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวแตกต่างกันในอุตสาหกรรมก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งโครงการก่อสร้างอาคารสูงและโครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยในมุมมองผู้ว่าจ้างคนไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้ประกอบการ 3 กลุ่ม ได้แก่ วิศวกรโครงการ วิศวกรคุมงานและโฟร์แมน จำนวน 32 คน ด้วยวิธีดัชนีความสำคัญสัมพัทธ์ ผลจากศึกษาพบว่าแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชาและพม่า ตามลำดับ ในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยพบว่ามีแรงงานต่างด้าวทำงานมากกว่าในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารสูง อีกทั้งพบว่าปัจจัยเพศและการจ่ายเงินล่วงเวลาให้ค่าดัชนีความสำคัญสัมพันธ์สูงทั้งงานอาคารสูงและอาคารที่พักอาศัย ส่งผลให้การเลือกใช้แรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมก่อสร้างเขตกรุงเทพมหานครเป็นที่น่าสนใจ</p> ฐิติวัฒน์ ตรีวงศ์ ถิรรัตน์ นาคาคง กนกวรรณ ไชยนุรักษ์ จำรูญ หฤทัยพันธ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM23 CEM23 การพัฒนาระบบควบคุมและตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้างอาคารภายใต้ การควบคุมดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/589 <p><span lang="TH">การพัฒนาระบบควบคุมและตรวจสอบคุณภาพ<a name="_Hlk38641764"></a>งานก่อสร้างอาคารภายใต้การควบคุมดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลของกลุ่มวิศวกร หัวหน้าส่วนโยธา นายช่างโยธา ผู้ช่วยช่างโยธา หรือผู้ที่มีหน้าที่ในการผู้ควบคุมงานและตรวจงานก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 19 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 38 ตัวอย่าง โดยศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นจากฝ่ายผู้ควบคุมงานในลักษณะการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อหาข้อดีและข้อบกพร่องของการควบคุมงานก่อสร้างระบบเดิมและได้แบบพิมพ์<a name="_Hlk16190041"></a>สำหรับบันทึกข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้างอาคารภายใต้การควบคุมดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบใหม่ขึ้นมา และนำไปทดลองใช้จริงในงานก่อสร้างอาคาร เพื่อวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า แบบพิมพ์สำหรับบันทึกข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้างอาคารแบบใหม่อยู่ในระดับดีมาก โดยหมวดงานที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ หมวดงานตรวจสอบหลังคามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.</span>5<span lang="TH">0 จาก 5.00 อยู่ในระดับดีมาก และหมวดงานที่ค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ บันทึกการควบคุมงานก่อสร้างประจำวันมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 จาก 5.00 อยู่ในระดับดี</span></p> กฤษณพงค ฟองสินธุ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM24 CEM24 ศึกษาสถานะของการประยุกต์ใช้แผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อลดปัจจัยความเสี่ยงสำหรับการบริหารโครงการก่อสร้างในสถานการณ์การเกิดอุทกภัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/603 <p>อุทกภัยเป็นหนึ่งในสถานการณ์ภาวะวิกฤตจากภัยธรรมชาติ ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการบริหารโครงการก่อสร้าง ยากต่อการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างให้อยู่ภายใต้งบประมาณและระยะเวลาตามแผนการดำเนินงาน ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างในอนาคตจำเป็นต้องมีการจัดทำแนวทางการเตรียมความพร้อมและสร้างแผนสำรองสำหรับการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่องและสูญเสียน้อยที่สุดเมื่อประสบสภาวะวิกฤต วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้น ศึกษาสถานะของการนำแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้บริหารโครงการก่อสร้างและปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบริหารโครงการก่อสร้างในสถานการณ์การเกิดอุทกภัย ซึ่งเป็นพื้นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับนำไปพัฒนาแผนการเตรียมความพร้อมและแนวทางปฏิบัติการบริหารโครงการก่อสร้างเพื่อรับมือต่อสถานการณ์การเกิดอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต วิธีการศึกษาพัฒนาแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 250 คน ประกอบด้วยวิศวกรโยธาตำแหน่งบริหารและปฏิบัติการ สรุปผลได้ว่าความตระหนักการตรียมแผนอยู่ในระดับกลาง ขาดความรู้ความเข้าใจ โครงการส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้หลักการแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในการบริหารจัดการโครงการ บริษัทแต่ละขนาดมีอันดับประเด็นของปัญหาและอุปสรรคที่แตกต่างกัน ทุกปัจจัยความเสี่ยงอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้</p> ชลลดา เลาะฟอ ยุทธศักดิ์ อนันตเดชศักดิ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM25 CEM25 ศึกษาการจัดการของเสียในสถานที่ก่อสร้างอย่างยั่งยืน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/629 <p>ในปัจจุบันมีการขยายตัวของโครงการก่อสร้างจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการก่อสร้างแต่ละขั้นตอนก่อให้เกิดของเสียที่กำจัดได้ยากตามมาเป็นจำนวนมาก แต่ของเสียที่เกิดจากกระบวนการก่อสร้างสามารถนำเข้าสู่กระบวนการ 3R เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้น และสามารถก่อให้เกิดมูลค่าได้ โดยการลดปริมาณจากแหล่งกำเนิด การนำกลับมาใช้ซ้ำ การนำไปแปรรูปใหม่ได้ ดังนั้นจึงทำการศึกษาแนวทางการจัดการของเสียในสถานที่ก่อสร้างอย่างเหมาะสมและยั่งยืน จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้นในสถานที่ก่อสร้างทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น (75 ตารางเมตรต่อหลัง) พบว่าเกิดของเสียแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ ของเสียที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ได้แก่ คอนกรีต หิน ดิน ทราย เหล็ก กระเบื้อง ไม้แบบ คิดเป็นร้อยละ 11.4 ของปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด และของเสียที่เกิดจากวัสดุบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ กระป๋องเหล็ก ถังสี ถุงพลาสติด ถุงปูน กล่องกระดาษ ไม้พาเลท คิดเป็นร้อยละ 88.6 ของปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่างๆ สามารถก่อให้เกิดมูลค่าได้โดยสามารถขายให้บริษัทรับซื้อบรรจุภัณฑ์ไปแปรรูปใหม่ได้ ส่งผลให้มีรายได้จากการขายบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ประมาณ 1,341-1,839 บาทต่อทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น 1 หลัง และไม่มีค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย ส่วนไม้พาเลทที่เกิดขึ้นจากการทำงานสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ และสามารถนำไปแปรรูปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ ส่วนเศษเหล็กที่มีการวางแผนการใช้อย่างเหมาะสมเป็นการลดปริมาณของเสียจากแหล่งกำเนิดแล้ว ส่วนที่เหลือยังสามารถขายก่อให้เกิดรายได้ สำหรับคอนกรีต หิน ดิน ทราย และกระเบื้อง สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุถม โดยมีค่าขนส่งของเสียประมาณ 100 บาทต่อทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น 1 หลัง เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการของเสียโดยใช้วิธีขนส่งของเสียทั้งหมดออกไปกำจัดนอกสถานที่โดยไม่มีการแยกประเภทของเสียที่เกิดขึ้นมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,750 บาทต่อทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น 1 หลัง ดังนั้นเมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการขนของเสียออกไปกำจัดภายนอกแบบอดีต กับรายได้จากการขายบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของการจัดการของเสียอย่างเป็นระบบที่เหมาะสมและยั่งยืน รวมเป็นเงินที่ไม่จำเป็นต้องสูญเสียและเงินที่ได้คืนกลับประมาณ 3,090 บาทต่อทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น 1 หลัง</p> วิมลมาศ บุญยั่งยืน ชลลดา เลาะฟอ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM26 CEM26 การประเมินปัจจัยในการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารสามมิติมาประยุกต์ใช้ในการทำแบบก่อสร้าง สำหรับช่างฝีมือ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/638 <p>การวิจัยเรื่องการประเมินปัจจัยในการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารสามมิติมาใช้ในการทำแบบก่อสร้างสำหรับช่างฝีมือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการประเมินปัจจัยในการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารสามมิติมาใช้ในการทำแบบก่อสร้างสำหรับช่างฝีมือ ดำเนินการวิจัยโดยการ สำรวจปัจจัยในการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารสามมิติมาใช้ในการทำแบบก่อสร้างเพื่อให้ทราบถึงความต้องการใช้งานแบบก่อสร้างของช่างฝีมือ ตัวอย่างในงานวิจัย ช่างฝีมือที่มีประสบการณ์ด้านงานก่อสร้างมากกว่า 15 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความต้องการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารมาใช้ในการทำแบบก่อสร้าง,แบบสอบถามเรื่องความพึงพอใจในการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารมาใช้ทำแบบก่อสร้าง,แบบสอบถามปัจจัยในการใช้แบบแบบจำลองสารสนเทศอาคารมาใช้ทำแบบก่อสร้าง และ ใช้วิธีเดลฟายในการวิเคราะห์ผล ผลการวิจัยพบว่าช่างฝีมือมีความต้องการที่เห็นพ้องกันให้นำแบบจำลองสารสนเทศอาคารมาใช้ในการทำแบปฏิบัติงานเพราะทราบถึงรายละเอียดของแบบก่อสร้างได้อย่างชัดเจน ละสามารถลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น</p> พันธกานต์ ปัญโญกิจ มานพ แก้วโมราเจริญ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM27 CEM27 การศึกษาอุปสรรคการบริหารด้านการเงินในโครงการก่อสร้าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/660 <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา สาเหตุของอุปสรรคการบริหารด้านการเงินในโครงการก่อสร้าง โดยการใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงในการช่วยค้นหา และแยกประเภทของปัจจัยความเสี่ยงที่กระทบต่อการบริหารการเงินในโครงการก่อสร้าง ทั้งในหน่วยงานเจ้าของโครงการ หน่วยงานรับเหมาก่อสร้าง และหน่วยงานที่ปรึกษาการบริหารงานก่อสร้าง การดำเนินการวิจัย เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลอุปสรรค และปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อการบริหารการเงิน จากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัจจัยที่กระทบต่อการบริหารด้านการเงินในงานก่อสร้าง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์สูงด้านการบริหารงานก่อสร้าง หลังจากนั้น คำนวณค่าความเสี่ยง และโอกาสความน่าจะเป็นที่เกิดผลกระทบต่อการบริหารด้านการเงิน โดยอ้างอิงจากข้อมูลเบื้องต้นที่ได้ทำการสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยการสร้างแผนภาพฟอลท์ทรี เพื่อหาสาเหตุและความสัมพันธ์ของสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงได้อย่างละเอียดและชัดเจนมากขึ้น เหตุการณ์อุปสรรคที่สำคัญนั้น ได้แก่ การอนุมัติแบบล่าช้า, การขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการตรวจสอบงาน, บุคลากรภายในโครงการไม่สามารถรับรู้ข้อมูลทางการเงิน งบประมาณ ต้นทุน หรือกำไร เนื่องจากเหตุผลด้านนโยบายของบริษัทในการรักษาข้อมูลการเงิน, มีความบกพร่องในการสื่อสารภายในองค์กร และหน่วยงานโครงการก่อสร้างไม่สามารถทราบค่าใช้จ่ายที่เป็นปัจจุบันหรือทำการติดตามงบประมาณของโครงการอย่างสม่ำเสมอได้ ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำมาประยุกต์เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการลดอุปสรรคในการบริหารด้านการเงินในโครงการก่อสร้างต่อไปในอนาคต</p> วิไลเลขา วิวัฒน์วานิชกุล วุฒิพงศ์ เมืองน้อย Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM28 CEM28 การบริหารวัสดุคงคลังในธุรกิจก่อสร้างขนาดเล็ก https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/669 <p>งานศึกษานี้ได้ดำเนินการศึกษาโดยการนำเสนอแนวทางในการบริหารวัสดุคงคลังซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็กซึ่งต้องจัดการวัสดุคงคลังที่มีปริมาณมากและหลายชนิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการวัสดุคงคลังคือ การจำแนกประเภทวัสดุคงคลังตามทฤษฎี ABC Classification System เพื่อนำมาใช้ในการจำแนกความสำคัญของวัสดุคงคลังโดยจะแบ่งประเภทของวัสดุคงคลังออกเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่ม A,B และ C โดยกลุ่ม A คือกลุ่มวัสดุที่มีมูลค่าและอัตราการหมุนเวียนของวัสดุสูงสุดรองลงมาคือกลุ่ม B และกลุ่ม C ตามลำดับ ซึ่งจะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากฝ่ายจัดซื้อและฝ่ายคลังวัสดุ เช่น รายการวัสดุที่มีการเบิกปริมาณการเบิกใช้วัสดุในแต่ละเดือน และราคาต่อหน่วยของวัสดุในช่วงเวลานั้น ๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมในปี พ.ศ.2561 และเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมในปีพ.ศ.2562 จากนั้นจึงนำมาคำนวณหามูลค่าวัสดุคงคลังแต่ละรายการและจำแนกวัสดุคงคลังออกเป็นสามกลุ่ม</p> <p>ผลการศึกษาการจัดแบ่งกลุ่มวัสดุคงคลังในคลังวัสดุก่อสร้างของธุรกิจก่อสร้างขนาดเล็กพบว่ามีวัสดุที่ถูกเบิกใช้จำนวน 162 รายการ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม A 20 รายการ วัสดุกลุ่ม B 26 รายการ และกลุ่ม C 116 รายการ โดยผลของการศึกษาจะสามารถนำไปกำหนดนโยบายในการควบคุมวัสดุคงคลังแต่กลุ่มอย่างเหมาะสมและสามารถลดต้นทุนวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นได้</p> ชนกานต์ ภิญโญภูมิมินทร์ ดำรงศักดิ์ รินชุมภู เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM29 CEM29 การศึกษาผลกระทบของโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา ในพื้นที่เขตลาดกระบัง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/672 <p>โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟทางคู่สายตะวันออก ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา เป็นส่วนหนึ่งของแผนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงการเพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับโครงการในอนาคต กลุ่มประชากร คือผู้อยู่อาศัยที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ช่วงแนวเส้นทางที่มีการก่อสร้างโครงการ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในเขตลาดกระบัง ที่อยู่ห่างจากตัวโครงการภายในรัศมี 1 กิโลเมตร การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีของ Taro Yamane โดยใช้วิธีกำหนดตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) กำหนดความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมให้เกิดระหว่างค่าจริงและค่าประมาณการร้อยละ 5 ได้จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สำเร็จรูป SPSS (statistical package for the social sciences) จากการศึกษาพบว่าภาพรวมระดับทัศนคติที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการของผู้อยู่อาศัยที่อยู่ตามแนวเส้นทางของโครงการอยู่ในระดับ “มาก” (จาก 5 ระดับ น้อยมาก น้อย ปานกลาง มากและมากที่สุด) และจากระดับทัศนคติต่อผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับในด้านปัญหาด้านมลภาวะมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ดังนั้นผู้จัดทำโครงการจึงควรมีวิธีการในการบรรเทาปัญหาด้านมลภาวะที่จะเกิดขึ้นเมื่อดำเนินโครงการแก่ผู้อยู่อาศัยโดยรอบและผู้ที่สัญจรผ่านบริเวณโครงการ</p> <p>&nbsp;</p> เศรษฐสิทธิ์ ตลอดไธสงดาภา แหลมทอง เหล่าคงถาวร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM30 CEM30 ปัจจัยปัญหาการควบคุมงานก่อสร้างภายในสถาบันอาชีวศึกษา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/676 <p>โครงการก่อสร้างภายในสถาบันอาชีวศึกษามีปัจจัยปัญหาการควบคุมงาน อันส่งผลให้เกิดอุปสรรคระหว่างขั้นตอนการดำเนินโครงการก่อสร้างภายในสถาบันอาชีวศึกษา&nbsp; เป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิดพลาด ล่าช้า ในการดำเนินการก่อสร้างและเกิดเป็นคดีความระหว่างภาครัฐและผู้รับเหมา&nbsp; งานวิจัยนี้รวบรวมปัจจัยปัญหากการควบคุมงานก่อสร้างภายในสถาบันอาชีวศึกษา&nbsp; โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสอบถามจากบุคลากรครูที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุมงานก่อสร้างของสถาบันอาชีวศึกษาของภาครัฐ&nbsp; โดยรวบรวมงานวิจัยและจำแนกปัจจัยปัญหาการควบคุมงานก่อสร้างภายในสถาบันอาชีวศึกษาออกเป็น 5 ปัจจัยพื้นฐาน คือ 1)ปัจจัยปัญหาด้านคุณลักษณะของผู้ควบคุมงาน,2)ปัจจัยปัญหาด้านการเตรียมงานก่อสร้าง, 3)ปัจจัยปัญหาขั้นตอนระหว่างควบคุมงานก่อสร้าง,4)ปัจจัยปัญหาด้านการรายงานผล และ 5)ปัจจัยปัญหาขั้นตอนปฏิบัติงานหลังเสร็จงานแล้ว จากการศึกษาได้จัดกลุ่มของปัจจัยปัญหาการควบคุมงานก่อสร้างและวิเคราะห์กลุ่มของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมงานก่อสร้าง</p> พรกนก พวงมาลา วุฒิชัย ชาติพัฒนานันท์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM31 CEM31 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ในหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา : หน่วยงานยุทธโยธา สังกัดกระทรวงกลาโหม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/728 <p class="Contentnew">ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศหรือ BIM มาใช้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีกรณีศึกษาสำหรับหน่วยงานภาครัฐ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและการใช้ BIM รวมถึงศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ BIM ในหน่วยงานยุทธโยธา สังกัดกระทรวงกลาโหม โดยการนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ความคาดหวังต่อการปฏิบัติงาน การรับรู้ถึงความยากง่ายในการใช้งาน มีผลต่อการยอมรับและการใช้ BIM ความเชื่อมั่นและความกังวลใจของผู้ใช้งาน BIM มีผลต่อการรับรู้ถึงความยากง่ายในการใช้งาน และปัจจัยสถานภาพทั่วไปได้แก่ เพศ และลักษณะที่งานที่รับผิดชอบมีความสัมพันธ์ต่อความเชื่อมั่นและความกังวลใจของผู้ใช้งาน BIM แนวทางในการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้งาน BIM ในองค์กรคือ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนในองค์กร จัดทำแผนงานและทำการทดลองก่อนนำเข้ามาประยุกต์ใช้ทั้งระบบ และจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม</p> สุวิชญา สุริยมงคล กวิน ตันติเสวี Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM32 CEM32 การวิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้างก่อสร้างสำหรับโครงการก่อสร้างซึ่งใช้ การจำลองสารสนเทศอาคาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/694 <p>ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) ได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการส่งมอบโครงการก่อสร้างสมัยใหม่ งานวิจัยจำนวนมากได้ศึกษาการนำ BIM ไปใช้ในแง่มุมต่าง ๆ เช่น กระบวนการทำงาน, แบบจำลอง BIM, และ BIM Uses แต่งานวิจัยที่เกี่ยวกับสัญญาจ้างก่อสร้างในโครงการก่อสร้างซึ่งใช้ BIM (โครงการ BIM) นั้นยังมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากโครงการ BIM แตกต่างจากโครงการก่อสร้างทั่วไปในหลาย ๆ ด้าน องค์ประกอบและการจัดการสัญญาจ้างในโครงการ BIM (สัญญา BIM) จึงมีลักษณะเฉพาะตัว ในบทความนี้เราจะศึกษาโครงสร้างของสัญญาซึ่งเหมาะสมกับโครงการ BIM ในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นศึกษาเอกสารและเนื้อหาสำคัญของสัญญาBIM การวิจัยเริ่มจากการรวบรวมและวิเคราะห์มาตรฐาน แนวทาง คู่มือ และเอกสารเกี่ยวกับ BIM ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วโลก จากนั้นจึงสำรวจปัญหาซึ่งประสบขณะบริหารจัดการสัญญา BIM ผลการศึกษาจะสามารถใช้ในการพัฒนาโครงสร้างสัญญาBIM และใช้สำหรับร่างเนื้อหาของเอกสารสัญญา BIM ซึ่งเหมาะสมกับระบบนิเวศน์ของโครงการ BIM (BIM project ecosystem) ในประเทศไทย</p> นพจิรา ฤกษ์ขจรนามกุล วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์ วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM33 CEM33 การพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อวิเคราะห์เวลาในการอพยพหนีไฟ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/715 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์เวลาในการอพยพหนีไฟออกจากอาคารโดยประยุกต์นำเทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) เพื่อจัดทำแนวทางการปรับปรุงระบบป้องกันอัคคีภัยสำหรับพื้นที่ภายในอาคารให้เป็นไปตามกฎกระทรวงและมาตรฐานการออกแบบเส้นทางหนีไฟ (มยผ. 8301) อาคารที่เลือกเป็นกรณีศึกษาเป็นอาคารโรงประลองที่มีความสูง 3 ชั้น จำนวน 5 อาคาร ตั้งอยู่ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลพื้นที่ในอาคารทั้งขนาด ขนาด ระยะ วัสดุและอื่นๆ เพื่อนำมาใช้สร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารพร้อมทั้งทำการตรวจสอบตามข้อกำหนดและมาตรฐาน วิธีการในการวิเคราะห์ระยะเวลาในการอพยพหนีไฟคือ การวิเคราะห์การไหล (Hydraulic analogy) ซึ่งมีตัวแปรที่สำคัญคือ จำนวนผู้ใช้อาคาร ขนาดพื้นที่ และความกว้างของประตู ผลการวิจัยแสดงถึงเวลาที่ใช้ในการอพยพหนีไฟของแต่ละอาคารและแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการป้องกันอัคคีภัยในรูปแบบ 3 มิติเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ</p> ณชาภทร แสงจันทร์ ดารารัตน์ พันชะนะ เพชร์รัตน์ ลิ้มสุปรียารัตน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM34 CEM34 ปัญหาการควบคุมงานก่อสร้างประเภทงานทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/599 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการควบคุมงานก่อสร้างประเภทงานทางภายใต้การบริหารงานก่อสร้างของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ให้การทำงานมีประสิทธิภาพและช่วยลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้รับจ้างงานอยู่ในปัจจุบันหรือผู้ที่เคยรับจ้างงานของเทศบาลเมืองบ้านบึง จำนวน 51 คน แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และ ส่วนที่ 2 คือการสอบถามถึงระดับความถี่และความรุนแรงของปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการควบคุมงานก่อสร้างประเภทงานทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความรุนแรง จากการวิเคราะห์พบว่าปัญหา 3 อันดับแรกที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการควบคุมงานก่อสร้างประเภทงานคือ (i) ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงาน (ii) ปัญหาที่เกิดจากผู้รับเหมาที่มีอิทธิพลในพื้นที่เข้ามารับงาน และ (iii) แบบที่ใช้เพื่อการก่อสร้างไม่ชัดเจน</p> วรรณวรางค์ รัตนานิคม สยาม ยิ้มศิริ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM35 CEM35 การศึกษาปัญหาในการบริหารงานก่อสร้างประเภทอาคารในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/600 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการบริหารงานก่อสร้างประเภทอาคารในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคาภายใต้การบริหารงานก่อสร้างของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ให้การทำงานมีประสิทธิภาพและช่วยลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้รับจ้างงานอยู่ในปัจจุบันหรือผู้ที่เคยรับจ้างงานของเทศบาลเมืองบ้านบึง จำนวน 51 คน แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และส่วนที่ 2 คือการสอบถามถึงระดับความถี่และความรุนแรงของปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคาของประเภทงานอาคาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความรุนแรง จากการวิเคราะห์พบว่าปัญหา 3 อันดับแรกที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคาของประเภทงานอาคารคือ (i) รายละเอียดของแบบและรายการประกอบแบบไม่ชัดเจน (ii) ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงาน และ (iii) ราคาพาณิชย์จังหวัดไม่เป็นปัจจุบัน ตามลำดับ</p> วรรณวรางค์ รัตนานิคม สยาม ยิ้มศิริ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM36 CEM36 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารงานก่อสร้างถนนขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/602 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารงานก่อสร้างถนนขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น&nbsp; โดยกำหนดพื้นที่การศึกษาเป็นเทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรีจำนวน 10 แห่ง และรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้บริหารองค์กร&nbsp; โดยศึกษาปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในผลกระทบ 3 มิติ ได้แก่ เวลา (Time), ค่าใช้จ่าย (Cost), และคุณภาพ (Quality) &nbsp;โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย &nbsp;และประมวลผลการวิจัยด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย &nbsp;และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาด้วยดัชนีความรุนแรงของปัญหา (Severity index: S.I.) เพื่อคัดเลือกปัจจัยที่เป็นปัญหาสำคัญ</p> สยาม ยิ้มศิริ วรรณวรางค์ รัตนานิคม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM37 CEM37 การประเมินทางเลือกและวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/105 <p>บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนก่อสร้างและการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนด้วยเทคโนโลยีเตาเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า ในพื้นที่ชุมชนขนาดใหญ่ มีปริมาณขยะมูลฝอยรวมกันไม่น้อยกว่า 500 ตันต่อวัน และบ่งชี้ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการแบบกระแสเงินสดคิดลด ใช้เกณฑ์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน และระยะคืนทุนที่คิดค่าปัจจุบันในการพิจารณา การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนก่อสร้าง ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการโดยการจำลองสถานการณ์มอนติ คาร์โล การวิเคราะห์การอ่อนไหวของโครงการ และประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริหารการก่อสร้างและการดำเนินโครงการ ผลการศึกษานี้แสดงผลวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อให้ทราบแนวทางในการตัดสินใจสำหรับการลงทุนก่อสร้างและบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอน</p> พรเทพ ม่วงสุขำ พิชญ์ สุธีรวรรธนา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM38 CEM38 การจัดการเศษวัสดุในโครงการก่อสร้างอาคารสูง: กรณีศึกษาโครงการแอสค็อตแอมบัสซี่สาทร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/227 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดเศษวัสดุในการก่อสร้างอาคารสูง&nbsp; และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา โครงการ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แอสค็อตแอมบัสซี่สาทร กรุงเทพมหานคร เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้เกิดเศษวัสดุ ประเภทของเศษวัสดุ ปริมาณการเกิดเศษวัสดุ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และพัฒนาสมการการประเมินเศษวัสดุจากการก่อสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคคลในโครงการก่อสร้าง กลุ่มที่ 2 ประชาชนในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และลงสำรวจภาคสนาม เพื่อประกอบการทำวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ความสำคัญที่มีผลทำให้เกิดเศษวัสดุมากที่สุดคือ ปัจจัยที่เกิดจากลักษณะของงานแต่ละประเภท เศษวัสดุที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ เศษคอนกรีต สมการประเมินเศษวัสดุจากการก่อสร้างอาคารสูงที่พัฒนา แทนค่าจะได้ W<sub>total </sub>=&nbsp;&nbsp; 1.2076&nbsp; กก./(ตร.ม.-เดือน) หรือเท่ากับ 4.50 ตัน/เดือน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมากที่สุดจากการก่อสร้างอาคารสูงนี้คือ ฝุ่นละอองกระจายในชั้นบรรยากาศ สำหรับแนวทางการลดเศษวัสดุที่เกิดจากตัวบุคคล คือ มีการอบรมช่างให้มีความชำนาญงาน กำกับดูแลการใช้วัสดุให้พอดีกับงาน ส่วนแนวทางการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีการติดตั้งแผ่นกันฝุ่น และเสียงบริเวณรอบโครงการ มีการจัดเก็บเศษวัสดุไปยังกองเก็บอย่างมีประสิทธิภาพง่ายต่อการกำจัด</p> เทพฤทธิ์ มนต์แก้ว จงรักษ์ ผลประเสริฐ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM39 CEM39 การศึกษาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและแนวทางในการป้องกันของงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน - มีนบุรี) https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/288 <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 36.0pt;">เนื่องจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้างรถไฟฟ้า มีปริมาณที่เพิ่มขึ้น บทความนี้จะเป็นการศึกษาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและแนวทางในการป้องกันของงานก่อสร้าง :กรณีศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน - มีนบุรี) เพื่อศึกษาสาเหตุของอุบัติเหตุ ศึกษาทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง และ ศึกษาการวางแผนนโยบายความปลอดภัยในงานก่อสร้าง โดยการสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สำเร็จรูป ในทีนี้ได้แบ่ง กลุ่มประชากรตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานการก่อสร้างของโครงการ ระดับวิศวกรก่อสร้างและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการบริหารงานก่อสร้างในโครงการ ได้ทำแบบสอบถามจำนวน 75 คน โดยเป็นการสอบถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางด้านความปลอดภัย และ นโยบายความปลอดภัยในงานก่อสร้าง กลุ่มที่ 2 ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานการก่อสร้างของโครงการ ระดับคนงานก่อสร้าง (ชาย - หญิง) จำนวน คนงานก่อสร้าง 186 คน โดยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ ภูมิหลังของตัวบุคคล สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการศึกษา จากผลวิเคราะห์พบว่า สาเหตุและลักษณะของอุบัติเหตุ ปัจจัยด้านคน อยู่ในอันดับที่ 1 ปัจจัยด้านเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ อยู่ในอันดับที่ 2 และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในอันดับที่ 3 ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 มีแนวทางในการป้องกัน โดยการจัดฝึกอบรมความปลอดภัยในงานก่อสร้าง โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ให้แก่บุคลากรในโครงการ เพื่อทำให้เกิดความตระหนักและมีการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในงานก่อสร้าง</p> ปุณพจน์ อักษร อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM40 CEM40 การศึกษาปัจจัยการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/556 <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของบุคลากรที่ทำงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัด จันทบุรี เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยด้านฮวงจุ้ยที่คาดว่าจะมีผลในการเลือกซื้อบ้านจัดสรร โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจำนวน 300 ชุดจากกลุ่มตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบ t-test ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคามีความสำคัญอยู่ในระดับมาก (4.00) และปัจจัยทางฮวงจุ้ยด้านความเชื่อด้านต่าง ๆ และ ด้านความเชื่อในทิศและทำเลที่ตั้งมีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง (~3.00 ) จากการวิเคราะห์ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่าความแตกต่างของรายได้มีผลในการให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกันในปัจจัยย่อยในเรื่อง 1) การลดราคาบ้าน ที่ดิน และเงินดาวน์ 2) การแจกหรือแถมอุปกรณ์เพิ่มเติมภายในบ้าน และ 3) พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการ&nbsp; ส่วนความแตกต่างของ เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ และระดับการศึกษามีผลต่อการให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในด้านอื่นและปัจจัยความเชื่อทางด้านฮวงจุ้ยไม่แตกต่างกัน</p> สรวัสส์ บุญหยง พนัชกร อาจสด Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM41 CEM41 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการซื้อสินค้าวัสดุก่อสร้าง จากพื้นฐานราคา เป็น พื้นฐานของคุณค่า https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/565 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติของวัสดุก่อผนังภายใน, กระบวนการและขั้นตอนการทำงาน เพื่อทำการเปรียบเทียบถึงปัจจัยต่าง ๆที่ส่งผลกระทบต่อ เวลา, ต้นทุน, คุณภาพ และ ความปลอดภัย ของโครงการก่อสร้างใน 7 ปัจจัยหลัก และ 20 ปัจจัยย่อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบ่งชี้ถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกใช้งานสินค้าวัสดุก่อผนังภายในประเภทต่าง ๆ ทั้ง 5 ชนิดได้แก่ ระบบก่อผนังแบบดั้งเดิม, ระบบแผ่นผนังสำเร็จรูปมวลเบา, ระบบแผ่นผนังสำเร็จรูปคอนกรีต, ระบบผนังหล่อในที่ และ ระบบผนังอิฐมวลเบาเสริมโครงเหล็ก ทำการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยแบบ การสำรวจ (Survey Research) ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลทาง แบบสอบถาม (Questionnaire) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปในการสรุปผลการวิจัย โดยผลจากการวิเคราะห์โดยวิธีทางสถิติจากการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามพบว่า วัสดุที่ มีดัชนีความรุนแรง (S.I.) ต่ำที่สุด เท่ากับ 0.32 เป็นวัสดุประเภท ระบบผนังหล่อในที่ และในแต่ละปัจจัยได้บ่งชี้ถึงวัสดุที่เหมาะสมแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆที่ศึกษา โดยความเห็นของทางบริษัทรับเหมาก่อสร้างและเจ้าของโครงการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน</p> วิษณุ ฉีดอิ่ม พิชญ์ สุธีรวรรธนา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM42 CEM42 กระบวนการคัดเลือกผู้รับเหมาสำหรับโครงการก่อสร้างแท่นขุดเจาะก๊าซน้ำมัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/705 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการประเมินและคัดเลือกผู้รับเหมาสำหรับการก่อสร้างแท่นหลุมผลิตน้ำมันและก๊าซโดยทำการรวบรวมรายละเอียดเชิงลึกในกระบวนการการคัดเลือกผู้รับเหมาหลักและผู้รับเหมาช่วงจากบริษัทที่ดำเนินกิจการผลิตและก่อสร้างแท่นขุดเจาะก๊าซน้ำมันจำนวน 6 บริษัท ประกอบด้วยบริษัทผู้ผลิต 1 บริษัท และบริษัทผู้รับเหมางานก่อสร้างอีก 5 บริษัท ด้วยการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้จัดการโครงการ ผู้จัดการฝ่ายก่อสร้าง ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อและวิศวกรที่มีส่วนร่วมในกระบวนการคัดเลือกผู้รับเหมา การสัมภาษณ์ส่วนใหญ่จะรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์การทำงานของผู้ถูกสัมภาษณ์เพื่อนำไปใช้กับแนวทางในกระบวนการจัดการงานก่อสร้าง จากการศึกษาพบว่า ขั้นตอนในการคัดเลือกผู้รับเหมาประกอบด้วยกัน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตรวจคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เสนอโครงการ 2) การจัดทำร่างข้อเสนองาน 3) การยื่นซองประกวดราคา 4) การประเมินผู้ประกวดราคา และ 5) การประกาศผลการคัดเลือก โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่อการพิจารณาผู้ชนะการประมูลงานประกอบด้วย ความสามารถทางเทคนิค การวางแผนโครงการ ความสามารถในการผลิต และความสามารถในการทางการเงิน และในการศึกษานี้ได้เสนอเกณฑ์การถ่วงน้ำหนักที่ได้จากการสัมภาษณ์สำหรับการประเมินและคัดเลือกผู้รับเหมาในงานก่อสร้างแท่นขุดเจาะก๊าซน้ำมันและโครงการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องอื่นๆต่อใปในอนาคต</p> วรรธณพล ชมภูเขียว อมรชัย ใจยงค์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM43 CEM43 การศึกษาปัญหาเชิงเปรียบเทียบแนวทางการใช้แบบจำลองสารสนเทศ (BIM) ในการการออกแบบและถอดปริมาณวัสดุสำหรับงานติดตั้งผนังประกอบอาคาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/725 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงแนวทางการใช้แบบจำลองสารสนเทศ(BIM) ในการออกแบบและถอดปริมาณวัสดุ ผนังกรอบอาคารสำหรับอาคารสูง 3 ประเภท ได้แก่ 1. ผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จ 2.ผนังม่านกระจก และ 3. อลูมิเนียมคอมโพสิท โดยมีขั้นตอนการศึกษาถึงระดับความต้องการของฝ่ายที่เกี่ยวข้องสำหรับงานก่อสร้างผนังประกอบอาคาร ได้แก่ ฝ่ายผู้รับเหมา ฝ่ายเจ้าของผลิตภัณฑ์ผละผู้ติดตั้ง และจัดทำแบบจำลองสารสนเทศ ซึ่งการขึ้นแบบจำลองของผู้วิจัยนั้นจะใช้โปรแกรม Revit 2019 ซึ่งในแต่ละผนังประกอบอาคารแต่ละชนิด ที่ผู้วิจัยได้เขียนขึ้นจะมีด้วยกัน 2 ระดับที่ใช้ในการทำงานได้จริง แล้วทำการรายงานผล/ปัญหาที่พบในการสร้างแบบจำลองสารสนเทศสำหรับผนังกรอบอาคารแต่ละประเภท</p> <p>&nbsp;</p> สิทธิเดช ชุณหะมณีวัฒน์ กวิน ตันติเสวี Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 CEM44 CEM44 การประเมินมูลค่าเวลาในการขนส่งสินค้าเกษตร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/69 <p>สินค้าเกษตรโดยเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพเปลี่ยนแปลงเนื่องจากระยะเวลาและอุณหภูมิ เป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อระยะเวลาของการขนส่ง ระยะเวลาที่นานเกินไปนำมาซึ่งทำความเสียหายแก่ผลผลิตได้ <br>การวิเคราะห์หามูลค่าเวลาของการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตร<br>ยังมีอยู่จำกัด งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษารูปแบบของการประเมินมูลค่าเวลาในการขนส่งสินค้าเกษตร โดยทำการศึกษาบนพื้นฐานของทฤษฎีอรรถประโยชน์ เพื่อนำมาพัฒนาแบบจำลองโลจิสติกส์ (Logistic Model) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างภายในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมเกษตรภาคกลาง การศึกษามูลค่าเวลาของการขนส่งสินค้าเกษตรในงานวิจัยนี้ ใช้รูปแบบของการเก็บข้อมูลโดยสร้างแบบสอบถามที่จำลองสถานการณ์ทางเลือกขึ้นมา ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษาตัวแปรหลักๆ ที่มีความสำคัญในกระบวนการขนส่งสินค้า ประกอบไปด้วย 3 ตัวแปรที่มีผลต่อการตัดสินใจในการขนส่งสินค้าแทบทุกประเภท คือ ค่าใช้จ่ายของการขนส่ง ระยะเวลาของการขนส่ง และความเสียหายจากการขนส่ง แบบสำรวจข้อมูลจะถูกสร้าง โดยนำค่าระดับของตัวแปร (Levels) แต่ละตัวมาออกแบบและสร้างสถานการณ์ทางเลือกตามรูปแบบวิธี State Preference (SP) เพื่อให้ผู้ขนส่งสินค้าพิจารณาเลือกทางเลือก<br>ที่เกิดอรรถประโยชน์สูงที่สุด จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์หามูลค่าเวลาของการขนส่งสินค้าเกษตร และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการขนส่ง เพื่อสะท้อนถึงปัจจัยหลักที่ผู้ขนส่งสินค้าใช้<br>ในการตัดสินใจของกระบวนการขนส่งสินค้า ซึ่งผลงานวิจัยนี้ได้เสนอแนวคิดในการประยุกต์ ใช้ผลลัพธ์ของมูลค่าเวลาของการขนส่งสินค้าเกษตร (VOT for Agricultural Product) ซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิร่วมกับมูลค่าเวลาของการเดินทาง (VOT for Travel) ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิเป็นแนวทางในการพัฒนาการประเมินผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงและนำไปใช้ให้เกิดผลประโยชน์ ในอนาคตต่อไป</p> ณัฐปคัลภ์ อินสมตัว ปนัดดา กสิกิจวิวัฒน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL01 TRL01 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความสว่างของแสงไฟถนนของ หลอดไฟประเภท high-pressure sodium(HPS) ในสภาวะการใช้งานจริง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/71 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางด้านแสงสว่างของหลอดโซเดียมความดันไอสูง High Pressure Sodium (HPS) ในสภาวะใช้งานจริง ในพื้นที่ความรับผิดชอบของกรมทางหลวง โดยมีการศึกษาตัวแปรที่สำคัญ คือ ค่าความสว่างของแสงไฟถนน (Lux), ระยะห่างระหว่างเสาไฟ, ช่วงเวลาต่างๆ ในเวลากลางคืน, อุณหภูมิ และความชื้นสัมพันธ์ในอากาศ ในลักษณะพื้นที่สภาพมีหมอกอากาศและลักษณะพื้นที่สภาพอากาศปกติ เป็นพื้นที่ในเมือง และเป็นพื้นที่นอกเมือง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 ลักษณะพื้นที่สภาพอากาศ ช่วงเวลาที่มีค่าความสว่างของแสงไฟถนนมากที่สุดคือ ช่วงเวลา 18.00 – 19.00 น. และช่วงเวลาที่มีค่าความสว่างของแสงไฟถนนน้อยที่สุดคือ ช่วงเวลา 01.00 – 02.00 น. ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสว่างของแสงไฟถนนของหลอด HPS ด้วยวิธีการทางสถิติ พบว่า ตัวแปรระยะห่างระหว่างเสาไฟกับตัวแปรความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ตัวแปรดังกล่าวทั้ง 2 ตัวแปร มีอิทธิพลที่ส่งผลกระทบต่อค่าความสว่างของแสงไฟถนนทำให้ลดประสิทธิภาพลงได้ และผลการวิเคราะห์เพื่อสร้างสมการในการออกแบบค่าความสว่างของแสงไฟถนน ได้สมการที่เหมาะสมคือ ค่าLux = 37.56 – 0.189ระยะห่างระหว่างเสา – 0.373อุณหภูมิ – 0.193ความชื้นสัมพันธ์</p> ภัทรพล สีดอกบวบ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL02 TRL02 การพัฒนาและต่อเติมโครงข่ายทางหลวงชนบท เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด เพื่อให้เกิดความยั่งยืน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/83 <p>ร่างแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉบับที่ 3 ได้กำหนดความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ให้ก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญให้เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด ดังนั้น กรมทางหลวงชนบทจึงมีความจำเป็นต้องนิยามคำจำกัดความ และจำแนกประเภทของถนนสายรองที่สำคัญ ตลอดจนพัฒนาต่อเติมโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญให้สอดคล้องกับสาระที่กำหนดไว้ในร่างแผนดังกล่าว โดยให้สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 4 (เพชรบุรี) เป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ซึ่งปรากฏผลว่า ถนนสายรองที่สำคัญที่กรมทางหลวงชนบทต้องรับผิดชอบ คือ ถนนสายรองที่แบ่งประเภทตามยุทธศาสตร์ของกรมทางหลวงชนบทและพื้นที่ โดยต้องใช้วิศวกรรมขั้นสูงในการดำเนินงานและมีมาตรฐานการออกแบบถนนแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน โดยจำแนกถนนสายรองที่สำคัญเป็น 7 ประเภท ตามยุทธศาสตร์ และเชื่อมต่อโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญ ได้ถนนทางหลวงชนบทที่เชื่อมระหว่างจังหวัด จำนวน 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,217.375 กิโลเมตร ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญที่เชื่อมระหว่างจังหวัดในภาพรวมของกรมทางหลวงชนบท ตลอดจนสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในการออกแบบถนนทางหลวงชนบท ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของถนนแต่ละประเภท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามนัยความรับผิดชอบ ในอนาคต</p> อิชย์ ศิริประเสริฐ ไกวัลย์ โรจนานุกูล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL03 TRL03 การศึกษาลักษณะกายภาพพื้นที่ของทางหลวงตามรูปแบบถนน เพื่อสร้างแบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/97 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะกายภาพของทางหลวงตามรูปแบบถนน ที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุบนถนน และสร้างแบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวง &nbsp;หากมีการเลือกชนิดของลักษณะกายภาพของทางหลวงตามรูปแบบถนนที่แตกต่างกัน โดยแบ่งลักษณะกายภาพของทางหลวงตามรูปแบบถนนไว้ 4 รูปแบบ และตั้งสมมุติฐานตัวแปรที่อาจมีผลต่อจำนวนการเกิดอุบัติเหตุบนถนนตามลักษณะทางกายภาพของถนนที่อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ 36 ปัจจัย จากการศึกษาพบว่า รูปแบบที่1 ลักษณะทางหลวงแบบประเภทเกาะกลางแบบยก มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุถึง 18 ปัจจัย รูปแบบที่2 คือ ลักษณะทางหลวงแบบประเภทเกาะกลางแบบกดเป็นร่อง มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุถึง 18 ปัจจัย รูปแบบที่3 คือ ลักษณะทางหลวงแบบประเภทเกาะกลางแบบเกาะสี มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุถึง 6 ปัจจัย และรูปแบบที่4 ลักษณะทางหลวงแบบประเภทเกาะกลางถนนแบบเป็นราวหรือกำแพงกั้น มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุถึง 5 ปัจจัย ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนทางหลวง และผลการวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผล ซึ่งได้แบบจำลองที่มีตัวแปรที่เหมาะสมที่สุด เพื่อสร้างแบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวง พบว่า รูปแบบที่1 ได้แบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวงคือ จำนวนอุบัติเหตุ(Y) = - 6.273 + 0.317สัดส่วนรถบรรทุกหนัก – 1.062จำนวนทางแยกในช่วงถนนที่สำรวจ +1.627มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ของสถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ - 0.026สัดส่วนรถจักรยานยนต์ + 0.458ความลาดชันของถนนที่สำรวจ + 0.508ความกว้างของเกาะกลาง&nbsp; รูปแบบที่2 ได้แบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวงคือ จำนวนอุบัติเหตุ(Y) = 2.168 + 0.621ความกว้างของเกาะกลาง – 0.063สัดส่วนของยอดยานที่ใช้ความเร็วเกินความเร็วจำกัด – 0.054สัดส่วนรถจักรยานยนต์ รูปแบบที่3 ได้แบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวงคือ จำนวนอุบัติเหตุ(Y) = 0.385 +1.264การใช้หรือไม่มีการประโยชน์พื้นที่ของสถานีคมนาคมและขนส่ง + 0.507เป็นลักษณะของพื้นที่ในเมือง + 0.104ความกว้างของเกาะกลาง – 0.12สัดส่วนรถบรรทุกหนัก และรูปแบบที่4 ได้แบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวงคือ จำนวนอุบัติเหตุ(Y) = 0.773 + 2.623ระยะห่างระหว่างช่องจราจรด้านขวากับเกาะกลาง ซึ่งเป็นแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการศึกษานี้</p> ภัทรพล สีดอกบวบ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL04 TRL04 การศึกษาสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าความขรุขระกับค่าความฝืดของผิวทาง และการศึกษาสมการการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทาง ในสภาวะการใช้งานจริง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/98 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าความขรุขระกับค่าความฝืดของผิวทาง และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทาง เพื่อสร้างสมการการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทางในสภาวะการใช้งานจริง โดยทำการศึกษาบนผิวทางชนิด AC 60-70 และ ผิวทางชนิด Para Slurry Seal ที่ อายุ 2-3 ปี โดยตัวที่ทำการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 กลุ่มคุณลักษณะสภาพผิวทาง ส่วนกลุ่มที่ 2 กลุ่มแรงที่กระทำต่อสภาพผิวทาง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ค่าความขรุขระของผิวทางมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ค่อนข้างสัมพันธ์กันมากกับค่าความฝืดของผิวทางทั้งผิวทางชนิด AC 60-70 และ ผิวทางชนิด Para Slurry Seal ซึ่งสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าความขรุขระ กับค่าความฝืดของผิวทางชนิด AC 60-70 คือ y = 1.0413x – 0.0098 และของผิวทางชนิด Para Slurry Seal คือ y = 0.9475x – 0.0775 และผลการวิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทาง พบว่า ตัวแปรอุณหภูมิผิวทาง, อายุผิวทาง(ปี), ปริมาณรถสะสม และรถบรรทุกสะสม เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทางชนิด AC60-70 และของผิวทางชนิด Para Slurry Seal อย่างมีนัยสำคัญ และด้วยวิธีทางสถิติการวิเคราะห์ Multiple Regression Analysis พบว่ารูปแบบของสมการที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาสมการการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทาง ในสภาวะการใช้งานจริง ของผิวทางชนิด AC 60-70 คือ&nbsp; ค่าความฝืดของผิวทางชนิด AC 60-70 = 0.89 – 0.028อายุผิวทาง(ปี) + 2.473x10<sup>-8</sup>ปริมาณรถสะสม – 1.1x10<sup>-7</sup>รถบรรทุกสะสม และของผิวทางชนิด Para Slurry Seal คือ ค่าความฝืดของผิวทางชนิด Para Slurry Seal = 1.036 – 0.085อายุผิวทาง(ปี) – 6.863x10<sup>-9</sup> ปริมาณรถสะสม – 8.432x10<sup>-8</sup> รถบรรทุกสะสม</p> ภัทรพล สีดอกบวบ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL05 TRL05 การประเมินระยะเวลาการใช้บริการของจุดตรวจค้นทางเข้าอาคารท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ระหว่างสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ปกติใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/150 <p>จุดตรวจค้นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศเป็นจุดคอขวดในการเดินทางสัญจร เนื่องด้วยท่าอากาศยานเชียงใหม่ด้วยมีข้อจำกัดของพื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสาร จึงไม่สามารถติดตั้งเครื่อง X-Ray สัมภาระได้ภายหลังจากการเช็คอิน ด้วยเหตุนี้ท่าอากาศยานเชียงใหม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่อง X-Ray ไว้ที่ทางเข้าอาคารผู้โดยสาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระยะเวลาการใช้บริการของจุดตรวจค้นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ของท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ โดยอาศัยการประยุกต์ใช้แบบจำลองการจราจรจุลภาคในการประเมินระยะเวลาการใช้บริการของผู้โดยสารเมื่อพฤติกรรมของผู้โดยสารที่เปลี่ยนไป จากลักษณะความเร็วในการเดินของช่วงสถานการณ์ปกติ และช่วงสถานการณ์ปกติใหม่ (New normal) ซึ่งเป็นค่าพารามิเตอร์ที่มีความสำคัญที่จะส่งผลต่อระยะเวลาในการใช้บริการ โดยงานวิจัยได้นำค่าความเร็วในการเดินของผู้โดยสารที่เปลี่ยนแปลง มาพัฒนาแบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค โดยแบ่งเป็น 2 เงื่อนไข คือ ความเร็วในเดินของผู้โดยสารในสถานการณ์ปกติ และความเร็วในการเดินของผู้โดยสารในสถานการณ์ปกติใหม่ (New normal) หลังจากนั้นวิเคราะห์ประเมินระยะเวลาในการใช้บริการ และระยะเวลาในการคอย ผลการศึกษาจากแบบจำลองพบว่าระยะเวลาในแถวคอยเฉลี่ยของผู้โดยสารทั้งหมด และระยะเวลาในการใช้บริการเฉลี่ยของผู้โดยสารทั้งหมด เพิ่มขึ้น</p> มาริษา คีรีมาศทอง ปรีดา พิชยาพันธ์ นพดล กรประเสริฐ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL06 TRL06 การพัฒนาแบบจำลองอุปสงค์และการจราจรของลิฟต์โดยสาร ในบริบทโลจิสติกส์โรงพยาบาล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/157 <p>ภายใต้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ กอปรกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติปัญหาความแออัดและการจัดการโลจิสติกส์โรงพยาบาลจากปริมาณผู้ป่วยและผู้ใช้บริการสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อระดับการให้บริการสุขภาพของโรงพยาบาล งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางบรรเทาปัญหาโลจิสติกส์โรงพยาบาล มุ่งเน้นการสัญจรภายในอาคารโรงพยาบาลด้วยลิฟต์โดยสาร โดยได้พัฒนาแบบจำลองการจราจรของลิฟต์โดยสารด้วยโปรแกรม <strong>ARENA </strong>ภายใต้ทฤษฎีแถวคอยและการจําลองสถานการณ์ อาศัยข้อมูลสำรวจผู้ใช้บริการลิฟต์โดยสารจำนวน 6 ตัว ของอาคารศรีพัฒน์ ขนาด 15 ชั้น ภายในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบจำลองรูปแบบการให้บริการ 3 รูปแบบ คือ แบบอิสระให้ลิฟต์จอดได้ทุกชั้น แบบแบ่งตามชั้นเลขคู่และเลขคี่ และแบบแบ่งตามระดับความสูงของชั้น พบว่า การจัดสรรลิฟต์แบบแบ่งตามระดับความสูงชั้น เป็นรูปแบบที่เพิ่มประสิทธิภาพการใหบริการดีที่สุด โดยรองรับผู้ใช้บริการในระบบได้สูงถึง 338 คน/นาที ใช้ระยะเวลาในแถวคอยเฉลี่ยน้อยที่สุด (1.85 นาที) และระยะเวลาในระบบเฉลี่ยน้อยที่สุด (5.94 นาที)</p> นเรศ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ อรรถวิทย์ อุปโยคิน Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL07 TRL07 การวิเคราะห์จุดจอดแล้วจรด้วยปัญหาพี-ฮับ ภายใต้ข้อจำกัดความจุ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/170 <p>ปัญหาการจราจรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและพบได้มากในพื้นที่เขตเมือง ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนิยมใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการเดินทาง ภายใต้ความจุของถนนที่มีอย่างจำกัดจึงมีการผลักดันให้มีการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อลดปริมาณการจราจรบนถนน การสร้างจุดจอดแล้วจร (Park and Ride) เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้เดินทางหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างยานพาหนะส่วนบุคคลและระบบขนส่งสาธารณะ การคัดเลือกตำแหน่งจุดจอดแล้วจรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเดินทางและความสามารถในการให้บริการของจุดจอดแล้วจรในพื้นที่ที่จะทำการคัดเลือก โดยการศึกษานี้พัฒนาแบบจำลองพี-ฮับบนพื้นฐานแบบจำลองพหุนามโลจิต (Multinomial Logit) เพื่อคัดเลือกตำแหน่งจุดจอดแล้วจรที่สามารถดึงดูดจำนวนผู้ใช้สูงสุด ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณและความจุของจุดจอดแล้วจร เทคนิค special ordered sets of Type 2 (SOS2) ได้นำมาปรับใช้เพื่อเปลี่ยนสมการข้อจำกัดแบบไม่เป็นเชิงเส้นตรง (Non-linear) ให้เป็นสมการข้อจำกัดแบบเชิงเส้น (Linear) ซึ่งผลจากการวิเคราะห์พบว่า แบบจำลองดังกล่าวที่เป็นโปรแกรมเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม (Mixed Integer Linear Programming (MILP)) ให้ผลลัพธ์สอดคล้องกับพฤติกรรมตามพหุนามโลจิต ภายใต้ข้อจำกัดเชิงกายภาพของพื้นที่ในการสร้างจุดจอดแล้วจร</p> ปิยธิดา นิยมสำรวจ ทรงยศ กิจธรรมเกษร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL08 TRL08 ทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/189 <p class="Contentnew"><a name="_Hlk41213554"></a><span lang="TH">เขตบริเวณโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนผู้เดินเท้าจำนวนมากโดยเฉพาะนักเรียน การข้ามถนนในบริเวณโรงเรียนที่มีจำนวนมากนำมาซึ่งโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการข้ามถนน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทัศนคติในการข้ามถนนและต้องการลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนในอนาคต โดยได้รวบรวมทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน ด้วยการใช้แบบสอบถามข้อมูลทัศนคติในการข้ามถนนและประสบการณ์ในการข้ามถนนบริเวณโรงเรียน นอกจากนี้งานวิจัยชิ้นนี้ยังศึกษาทัศนคติด้านความปลอดภัยในการข้ามถนนภายใต้สถานการณ์สมมติ โดยพิจารณาองค์ประกอบ 4 ปัจจัยได้แก่ สัญญาณไฟคนข้ามถนน สัญลักษณ์เตือนผู้ขับขี่ ทางแยกและสิ่งกีดขวางบริเวณทางข้าม ผลการศึกษาจากรวบรวมข้อมูลนักเรียนโดยการใช้แบบสอบถามเป็นจำนวน 430 ชุดพบว่า เพศหญิงจะมีทัศนคติต่อการข้ามถนนที่ดีกว่า ได้รับประสบการณ์ในการข้ามถนนที่แย่กว่า สำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองพบว่า สัญญาณไฟคนข้ามถนนเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการข้ามถนนมากที่สุด สถานการณ์ที่ทางข้ามที่มีสัญญาณไฟคนข้ามถนนจะมีคะแนนสูงกว่าทางข้ามที่ไม่มีสัญญาณไฟเฉลี่ย 2.14 คะแนน นอกจากนี้ยังพบว่าทางข้ามที่มีทางแยกและสิ่งกีดขวางร่วมกัน จะมีความปลอดภัยในการข้ามถนนต่ำกว่าทางข้ามอื่น</span></p> ณัฐสัญญ์ ปัญญาวิสุทธิชัย เกษม ชูจารุกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL09 TRL09 การประเมินผลมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ กรณีศึกษาด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษอโศก 3 และ อโศก 4 https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/201 <p>ปริมาณผู้ใช้ทางพิเศษมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็นก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด มาตรการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษให้มีความสามารถในการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น สามารถทำได้โดยการพัฒนาจากระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (ETC) ปรับเปลี่ยนเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติกรณียกเลิกไม้กั้น (Nonstop Lane; NSL) และการเพิ่มพนักงานเก็บและทอนเงินก่อนเข้าสู่ช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษสำหรับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด (MTC) แต่การเพิ่มพนักงานเก็บและทอนเงินจำเป็นต้องทราบว่าควรเพิ่มจำนวนเท่าไรจึงเหมาะสม การศึกษานี้จึงประเมินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพด่านฯ อโศก 3 และ อโศก 4 โดยการพัฒนาแบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค AIMSUN เพื่อประเมินประสิทธิภาพและวิเคราะห์ผลกระทบด้านจราจรต่างๆ ของแต่ละมาตรการ พบว่า มาตรการเพิ่มพนักงานเก็บและทอนเงินก่อนเข้าสู่ช่อง MTC จำนวน 10 คนต่อช่องทางร่วมกับมาตรการยกเลิกการใช้ไม้กั้น NSL สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับด่านฯ อโศก 3 ในชั่วโมงเร่งด่วนเย็น ทำให้ปริมาณจราจรบริเวณหน้าด่านฯ เพิ่มขึ้นจากเดิม 0.52% และมาตรการเพิ่มพนักงานเก็บและทอนเงินก่อนเข้าสู่ช่อง MTC จำนวน 5 คนต่อช่องทางร่วมกับมาตรการยกเลิกการใช้ไม้กั้น NSL สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับด่านฯ อโศก 4 ในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า ทำให้ปริมาณจราจรบริเวณหน้าด่านฯ เพิ่มขึ้นจากเดิม 12.73% ภายหลังนำมาตรการไปดำเนินงานบริเวณด่านฯ อโศก 3 และ อโศก 4 พบว่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริเวณหน้าด่านฯ ก็ต่อเมื่อเป็นช่วงที่มีปริมาณจราจรหนาแน่น</p> พรรณทิพา พันธ์ยิ้ม จิรวัฒน์ เพลิงศรีทอง ดวงกมล ชูสิงห์ เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL10 TRL10 การประเมินผลแนวทางแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ ด้วยการประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/203 <p>การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ให้บริการทางพิเศษเฉลิมมหานครเป็นทางพิเศษที่ช่วยให้การเดินทางจากภูมิภาคต่างๆ เข้าสู่<br>ย่านศูนย์กลางธุรกิจได้สะดวกและรวดเร็ว และทางพิเศษฉลองรัชเป็นทางพิเศษที่สามารถเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ โดยการเดินทางขาเข้าเมืองจากทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษเฉลิมมหานครเพื่อมุ่งหน้าท่าเรือ กระแสจราจรจะเข้ามารวมกันบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ ประมาณ 8,700 เที่ยวต่อชั่วโมงโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า โดยมีลักษณะเป็นเนินไต่ระดับจากระดับดินเพื่อขึ้นสู่ทางยกระดับซึ่งเป็นจุดคอขวดทำให้เกิดการจราจรติดขัดเป็นช่วงชะลอความเร็วยาวสะสมบนทางพิเศษเฉลิมมหานครเป็นระยะทางกว่า 3.15 กิโลเมตร จึงพัฒนาแบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค AIMSUN เพื่อประเมินประสิทธิภาพและวิเคราะห์ผลกระทบด้านจราจรต่างๆ ของแต่ละมาตรการเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ผลการวิเคราะห์พบว่ามาตรการปรับเปลี่ยนแนวช่องจราจรช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดด้วยการประเมินทั้งในด้านความยาวช่วงชะลอความเร็วสูงสุด ความเร็วเฉลี่ย เวลาเฉลี่ยการเดินทาง และปริมาณจราจรที่ระบายได้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์</p> พรรณทิพา พันธ์ยิ้ม จิรวัฒน์ เพลิงศรีทอง เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL11 TRL11 การประเมินผลการเปิดช่องจราจรสวนทางบนทางพิเศษฉลองรัช https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/211 <p>จากปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษฉลองรัชขาเข้าเมืองในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ให้บริการทางพิเศษ 1.9 ล้านเที่ยวต่อวัน จึงเกิดเป็นแถวคอยสะสมตั้งแต่ทางลงถนนพระราม 9 ยาวไปถึงถนนรามอินทรา แต่ในทางกลับกันมีปริมาณจราจรเบาบางในช่องขาออก กทพ. จึงได้ทำการเปิดช่องจราจรสวนทางช่วยระบายการจราจรฝั่งขาเข้า ตั้งแต่ กม.12+100 ถึง กม.7+700 ด้วยมาตรการ Reversible Lane เริ่มจากการศึกษาปริมาณการจราจร พบว่า รถฝั่งขาเข้ามีปริมาณ 7,849 คัน/ชม. ฝั่งขาออกมีปริมาณ 2,540 คัน/ชม. เป็นอัตราส่วน 76:24 ซึ่งเหมาะสมแก่การทำในทางทฤษฎี ตำแหน่งจุดเปิดทางออก ได้ขยับจาก กม.7+700 ไปเป็นตำแหน่ง กม. 6+400 เพื่อให้เลยพ้นทางลงถนนพระราม 9 ซึ่งเป็นจุดที่การจราจรติดขัด เป็นไปตามหลักการของการเปิดช่องจราจรสวนทางที่ให้พ้นช่วงติดขัดไป มีการปรับปรุงด้านกายภาพ ช่องเปิดเกาะกลางบริเวณ กม.12+100 และ กม. 6+400 ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ยาวมากขึ้นจากเดิม 20 เมตร เป็น 35 เมตร ซึ่งเป็นความกว้างมากสุดเท่าที่จะดำเนินการได้ โครงสร้างจุดเปิดมีการก่อสร้างใหม่ให้ลื่น เปิด-ปิด เบากว่าเดิมเพื่อลดภาระเจ้าหน้าที่ มีการติดตั้งป้ายเตือนแขวนสูงแบบถาวรที่ระยะ 500 และ 1,000 เมตร ด้านความปลอดภัยการจราจร ได้มีป้ายไฟประจำช่องทางเพื่อเตือนผู้ใช้ทางในช่องขาออก พร้อมกับขึ้นข้อความเตือนบนป้ายแสดงข้อความ (Variable Message Sign) และป้ายเตือนช่องทาง (Matrix Sign) พร้อมออกประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่อง “การเดินรถแบบสวนทางบนทางพิเศษ” การจัดการจราจรได้จัดให้มีการวางกรวยยางตลอดแนวเป็นระยะทางกว่า 6 กม. จัดรถคุ้มครองที่มีไฟวับวาบบริเวณจุดเข้าจุดออกเพื่อให้สังเกตเห็นชัดเจน ได้เปิดใช้งานจริง ระหว่างเวลา 6.30-9.00 น. สรุปประเมินผลก่อนและหลังดำเนินการ 6.30 - 9.00 น. พบว่าระบายจราจรเฉลี่ยได้เพิ่มขึ้น 10.8% ระยะเวลาการเดินทางลดลงจาก15.7 นาที เหลือ 13.3 นาทีในช่องทางหลักเหลือ 8.3 นาที ในช่องจราจรสวนทาง คิดเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ 11.4 ล้านบาทต่อกิโลเมตรต่อปี หรือ 36 ล้านบาทต่อปี</p> เบญจวรรณ องอาจ เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL12 TRL12 Modal Choice after Opening New Railway in Bangkok - Case of Dark Red Line – https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/215 <p>Although urban road traffic studies have been conducted extensively in Bangkok, the survey of demand elasticity for service levels such as travel time, fare, and frequency of the urban rail transit has not been insufficiently carried out and understood. Thus, it is impossible to estimate the number of railway passengers accurately and set the service levels for the urban railways currently being developed. Therefore, it is strongly required to clarify the influence of service levels on railway demand. For that purpose, we conducted a stated preference survey along the Dark Red Line (DRL) that is scheduled to open later this year. We estimated a discrete modal choice model and examined the choice preference concerning fare, travel time, and frequency. The survey was conducted in the vicinity of DRL stations, namely Rangsit and Thammasat University stations. Among the 243 samples collected, 174 are valid and completed. A multinomial logit (MNL) model was estimated where the likelihood-ratio and hit-ratio are satisfied. The results revealed that shorter travel time and more comfortable access transportation are significantly preferable. On the other hand, variation in fare level did not have a significant effect on mode choice.</p> Noriyasu Tsumita Bethala Aditya Varameth Vichiensan Jetpan Wetwitoo Atsushi Fukuda Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL13 TRL13 การพัฒนาวิธีประมาณระยะเวลาเดินทางบนทางยกระดับจากข้อมูลเครื่องตรวจจับสัญญาณบลูทูธ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/217 <p>ข้อมูลระยะเวลาเดินทางเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งช่วยในการตัดสินใจและวางแผนเลือกเส้นทางในการเดินทางจากต้นทางไปยังปลายทาง ช่วยให้ผู้ใช้ทางสามารถเลือกเส้นทางที่เหมาะสม และยังช่วยเจ้าหน้าที่บริหารจัดการและควบคุมการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสูด ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ใช้ในการคำนวณระยะเวลาเดินทางหลายวิธี เช่น การคำนวณจากข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนถนน (Roadside Sensor) การคำนวณจากข้อมูล Automatic Vehicle Identification (AVI) และการคำนวณจากข้อมูลสัญญาณบลูทูธ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการประมาณระยะเวลาเดินทางบนทางยกระดับ ซึ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งรถยนต์มีแนวโน้มที่จะมีอุปกรณ์บลูทูธเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ข้อมูลที่ใช้คือข้อมูล MAC Address ของอุปกรณ์ที่ติดตั้งในยานพาหนะและโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ทาง ที่สามารถตรวจวัดได้จากเครื่องตรวจจับสัญญาณบลูทูธ ที่ติดตั้งบนทางยกระดับอุตราภิมุข โดยผู้วิจัยได้พัฒนาการเก็บข้อมูล ขั้นตอนการกรองข้อมูล การคำนวณหาระยะเวลาเดินทาง และทำการเปรียบเทียบความถูกต้องของระยะเวลาเดินทางที่ได้จากเครื่องตรวจจับสัญญาณบลูทูธ และคำนวณหาสัดส่วนของปริมาณรถยนต์ที่ติดอุปกรณ์บลูทูธ กับปริมาณจราจรจริงจากกล้องบันทึกวิด๊โอบนทางยกระดับ จากผลการเปรียบเทียบข้อมูลพบว่า วิธีการหาระยะเวลาเดินทางที่พัฒนาขึ้นจากการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการคำนวณหาระยะเวลาเดินทาง เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทางและเจ้าหน้าที่พนักงานในการบริหารจัดการระบบจราจรได้</p> จุฑาทิพย์ อาจหาญ สโรช บุญศิริพันธ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL14 TRL14 การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูล Mobile Probe กับ Fixed Sensor เพื่อรายงาน สภาพจราจรบนทางพิเศษ กรณีศึกษา ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/247 <p>การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้ข้อมูลจาก Mobile Probe เพื่อการรายงานสภาพจราจรบนทางพิเศษ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและความแม่นยำของการรายงานสภาพจราจรให้กับผู้ใช้ทางพิเศษ และหาแนวทางในการลดงบประมาณในการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจรแบบติดตั้งบนทางที่ต้องมีต้นทุนในการดำเนินการค่อนข้างสูง การศึกษานี้ได้คัดเลือกพื้นที่ศึกษาบนทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ซึ่งมีโครงข่ายอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจรแบบอัตโนมัติที่สมบูรณ์จากการพัฒนาระบบจราจรอัจฉริยะ (ITS) ระยะทางทั้งสิ้น 22.5 กิโลเมตร ในการวิเคราะห์คณะผู้วิจัยได้เลือกใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค (Microscopic Simulation Model) ที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม AIMSUN 7.0 เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สัดส่วนของข้อมูลสภาพจราจรประเภท Mobile Probe ที่สามารถรายงานสภาพจราจรบนทางพิเศษที่ถูกต้องที่ระดับ 85 เปอร์เซ็นต์โดยปรับเทียบแบบจำลองด้วยข้อมูลจราจรที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจรแบบอัตโนมัติที่ติดตั้งบนทางพิเศษ โดยตัวแปรทางด้านจราจรที่ใช้ในพิจารณา ประกอบด้วยอัตราการไหลผ่านจุดอ้างอิงบนทางพิเศษ (Flow Rate ; คัน/ชั่วโมง) ความเร็วเฉลี่ยของการจราจรที่ผ่านจุดอ้างอิง (Average Speed ; กิโลเมตร/ชั่วโมง)ความหนาแน่นของการจราจรที่ผ่านจุดอ้างอิง (Density ; คัน/กิโลเมตร) จากผลการศึกษาพบว่า จำนวนข้อมูลที่ได้จาก Mobile Probe เพียงแค่ 3-5 % ของจำนวนรถในระบบก็เพียงพอต่อการรายงานสภาพความเร็วบนทางที่ระดับความเชื่อมั่น 85 เปอร์เซ็นต์นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาถึงข้อจำกัด ระหว่าง Mobile Probe และอุปกรณ์ตรวจวัดจราจรที่ติดตั้งบนทางพิเศษในเชิงเปรียบเทียบการนำข้อมูลไปใช้เพื่อการวิเคราะห์เชิงวิศวกรรมจราจร</p> ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล พรณรงค์ เลื่อนเพ็ชร เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL15 TRL15 การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงพฤติกรรมของการยอมรับมาตรการด้านราคาการใช้ถนนในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/257 <p>การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของจังหวัดเชียงใหม่ส่งผลต่อการขยายตัวทางด้านการค้า การใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งเชิงพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย รวมถึงการเดินทางที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเข้าสู่ศูนย์กลางเมืองที่เป็นแหล่งดึงดูดกิจกรรมการเดินทาง ทำให้เกิดการจราจรที่แออัดบริเวณเขตเมืองเชียงใหม่ แนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด จากการศึกษาที่ผ่านมานโยบายที่มีประสิทธิภาพที่ประสบความสำเร็จในทางปฏิบัติ อาทิ การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน การเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าพื้นที่ในประเทศสิงคโปร์ และประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามการนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติในต่างพื้นที่จำเป็นที่จะต้องได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ยานพาหนะส่วนใหญ่ และในหลายเมืองพบว่าไม่สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับมาตรการจัดการ อุปสงค์การเดินทาง โดยการเสียค่าธรรมเนียมการใช้ถนนภายในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ และรถยนต์จำนวน 120 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการยอมรับมาตรการด้านราคาการใช้ถนนในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) โดยจะทำการสอบถามความคิดเห็นในการยินยอมจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้ถนนภายในบริเวณถนนวงหวนมหิดล สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนโยบายด้านราคา ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความเชื่อ (Awareness of Consequences) ปัจจัยด้านความรู้สึก (Anticipated Emotion) ปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (Subjective Norm) และพฤติกรรมในอดีต (Past Behavior)</p> ปกรณ์ จินายะ อรรถวิทย์ อุปโยคิน เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL16 TRL16 แบบจำลองเชิงพฤติกรรมการใช้คาร์แชริ่ง: กรณีศึกษาผู้ใช้งานรถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/275 <p>รถจักรยานยนต์รับจ้างเป็นรูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมและมีความสำคัญอย่างมากในกรุงเทพมหานคร เป็นรูปแบบการขนส่งผู้โดยสารที่มีความคล่องตัวสูง สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วน และใช้เชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งสาธารณะได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพบว่าการให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร ยังประสบปัญหาหลายประการ เช่น ราคาค่าบริการที่ไม่แน่นอน ความไม่เพียงพอของจำนวนรถในบางช่วงเวลา พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น ดังนั้น บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งจะเป็นทางเลือกในเดินทางที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านการเดินทางของประชาชนได้ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของผู้โดยสารที่ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างมาเป็นการใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่ง โดยเจาะจงกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้โดยสารที่ใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างเพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่ย่านศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพมหานครจำนวน 372 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงกล่าวอ้าง และใช้แบบจำลองโลจิสติคทวินามบนพื้นฐานของทฤษฎีอรรถประโยชน์ในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรที่ส่งผลเชิงบวกต่อการเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งอย่างมีนัยสำคัญ คือ เพศ อายุ รายได้ การมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ &nbsp;ในขณะที่ จำนวนจักรยานยนต์และจำนวนรถยนต์ที่ครอบครอง ส่งผลเชิงลบต่อการเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่ง โดยที่แบบจำลองโลจิสติกแบบทวินามที่สร้างขึ้นสามารถพยากรณ์ได้ถูกต้องร้อยละ 73.43 และมีค่า Adjusted-R<sup>2</sup> เท่ากับ 0.2504 ทั้งนี้ ปัจจัยด้านเวลาเดินทาง ค่าโดยสาร และมูลค่าเวลาของผู้เดินทางในพื้นที่ศึกษา สามารถนำมาใช้เพื่อกำหนดรูปแบบและอัตราค่าบริการที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งต่อไป</p> วีรชัย โสธนนันทนฺ พงษ์สันธ์ บัณฑิตสกุลชัย Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL17 TRL17 การศึกษาการจัดการจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ กรณีก่อสร้างหรือซ่อมบำรุง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/277 <p>การดำเนินการก่อสร้าง หรือซ่อมบำรุงรักษาทางพิเศษจะส่งผลกระทบต่อการใช้บริการและความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง หรือแม้แต่ผู้ปฏิบัติงานจึงจำเป็นต้องมีการจัดการจราจรเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางและผู้ปฏิบัติงาน การจัดการจราจรกรณีก่อสร้างหรือซ่อมบำรุงบริเวณด่านฯ และบนทางพิเศษนั้นมีความแตกต่างกัน โดยในประเทศไทยยังไม่มีรูปแบบการจัดการจราจรบริเวณด่านฯ ที่ชัดเจน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบการจัดการจราจรที่ปลอดภัยกับการปฏิบัติงานบริเวณด่านฯ โดยทำการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงความเร็วรถขณะขับผ่านด่านฯ ที่มีลักษณะทางกายภาพของด่านฯ ที่แตกต่างกัน นำความเร็วรถที่ได้คำนวณเพื่อหาระยะเบี่ยงที่ปลอดภัย แล้วจึงนำมาเปรียบเทียบกับระยะการเบี่ยงการจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษตามมาตรฐานของ FDOT (Florida Department of Transportation) Design Standard, (2013) ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการเก็บข้อมูลความเร็วเฉลี่ยบริเวณด่านฯ อยู่ที่ 35 - 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คำนวณหาระยะเบี่ยงการจราจรได้เท่ากับ 20 - 70 เมตร ซึ่งคล้ายคลึงกับการจัดการจราจรตามมาตรฐานของ FDOT จากข้อมูลที่ได้สามารถกำหนดรูปแบบการจัดการจราจรที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ทางและผู้ปฏิบัติงานมากที่สุดคือการแบ่งพื้นที่จัดการจราจรบริเวณด่านฯ ออกเป็น 3 กรณี คือ 1) กรณีปฏิบัติงานบริเวณหน้าด่านฯ 2) การปฏิบัติงานบริเวณด่านฯ และ 3) การปฏิบัติงานบริเวณหลังด่านฯ</p> ปิยภัค มหาโพธิ์ จิรวัฒน์ เพลิงศรีทอง นันทวรรณ พิทักษ์พานิช เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL18 TRL18 การวิเคราะห์การจัดการอุปสงค์การเดินทางเพื่อสนับสนุนระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/281 <p>ปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองเชียงใหม่ช่วงเวลาเร่งด่วน เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการเดินทาง วิธีที่นิยมใช้ในการบรรเทาการจราจรติดขัด คือ การจัดการอุปสงค์การเดินทาง (Travel Demand Management) เนื่องจากเป็นการควบคุม หรือลดการเดินทางโดยรถส่วนบุคคล และสนับสนุนการเดินทางรูปแบบอื่นแทนการใช้รถส่วนบุคคล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกรอบงานในการวิเคราะห์หาปัจจัยในการกำหนดมาตรการจัดการอุปสงค์การเดินทางที่เหมาะสม สำหรับหน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการคัดกรองด้วยวิธีการวิเคราะห์สวอท (SWOT) และจัดอันดับความสำคัญของปัจจัยโดยใช้เทคนิคความสอดคล้อง (Concordance technique) การศึกษานี้ได้สำรวจข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการจราจรในเมืองเชียงใหม่ ผลการศึกษาทำให้ทราบข้อได้เปรียบ และข้อจำกัดของแต่ละมาตรการ รวมถึงความสำคัญของปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปัจจัยด้านผลกระทบต่อประชาชน ปัจจัยด้านการยอมรับ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในเมืองเชียงใหม่</p> กานต์ชนก ทองทิพย์ อรรถวิทย์ อุปโยคิน เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL19 TRL19 การวิเคราะห์ผลของการผันแปรอุณหภูมิ ต่อกำลังต้านทานการวิบัติของวัสดุโครงสร้างทางเดิมปรับปรุงด้วยบิทูเมนอิมัลชัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/318 <p>วัสดุที่ได้รับการปรับปรุงด้านความเชื่อมแน่นด้วยบิทูเมนอิมัลชัน และ/หรือซีเมนต์ ภายใต้หน่วยแรงกระทำเท่ากันจะมีคุณสมบัติเชิงกลด้านกำลังต้านทานการวิบัติมากกว่าวัสดุไม่เชื่อมแน่นหลายเท่า ทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น ทั้งนี้บางการศึกษาไม่ได้คำนึงถึงการผันแปรอุณหภูมิในขณะที่ทำการทดสอบ ซึ่งอุณหภูมิเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงพฤติกรรมเชิงกลด้านกำลังต้านทานการวิบัติ ที่มีความสำคัญร่วมกับปัจจัยอื่น ในการศึกษาด้านกำลังต้านทานแรงเฉือนของวัสดุปรับปรุงด้วยบิทูเมนอิมัลชันแบบผสมเย็น จะใช้การทดสอบกำลังต้านทานแรงเฉือนโดยไม่มีแรงดันล้อมรอบ อัตราส่วนของโครงสร้างชั้นผิวทางเดิมต่อโครงสร้างชั้นพื้นทางเดิม เป็นร้อยละ 25 ต่อ ร้อยละ 75 วัสดุโครงสร้างทางเดิมปรับปรุงด้วยบิทูเมนอิมัลชัน 2% และ 3% โดยน้ำหนัก, ใช้/ไม่ใช้ ซีเมนต์เป็นสารผสมเพิ่ม, ระดับอุณหภูมิ 30, 40 และ 50 องศาเซลเซียส ผลของการศึกษาทำให้ทราบถึงความสอดคล้องของปัจจัยที่ได้กล่าวมา นั่นคือ ระดับอุณหภูมิ ปริมาณบิทูเมนอิมัลชัน และปริมาณซีเมนต์ ที่จะส่งผลถึงกำลังต้านทานแรงเฉือนของวัสดุ</p> สิริกมล สายน้ำเย็น บุญชัย แสงเพชรงาม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL20 TRL20 ผลกระทบของระบบรางสายใหม่ต่อการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง: กรณีศึกษา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายใต้ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/348 <p class="Contentnew"><span lang="TH">การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากรูปแบบอื่นไปสู่ระบบราง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนไปและปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย งานวิจัยนี้จึงเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายใต้ ตั้งแต่สถานีปู่เจ้าฯจนถึงสถานีเคหะฯ ที่เดินทางเป็นประจำ มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางจากที่ทำงานหรือจากสถานศึกษากลับสู่ที่พัก ไม่มีการเปลี่ยนที่พัก ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาหลังจากที่ส่วนต่อขยายเปิด ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางทั้งก่อนและหลังการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และศึกษาแนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย โดยใช้คำถามสถานการณ์สมมติซึ่งมี 3 ตัวแปร คือ เวลาคอยขบวนรถ การเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีสำโรง และค่าโดยสาร ผลการศึกษาจากรวบรวมข้อมูลตัวอย่างผู้โดยสารพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเดินทางในอดีตโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ มีทั้งกลุ่มที่เดินทางโดยใช้รถไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทาง และกลุ่มที่เดินทางโดยไม่ใช้รถไฟฟ้า และพบว่า การเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีสำโรง เวลาคอยและค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้แนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายลดลง รวมทั้งปัจจัยอื่นที่นอกจากการให้บริการของรถไฟฟ้าก็มีผลต่อแนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเช่นกัน</span></p> ธนพร กรีวงษ์ เกษม ชูจารุกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL21 TRL21 การแก้ปัญหาการรับส่งเอกสารโดยวิธีการค้นหาย่านคำตอบข้างเคียงขนาดใหญ่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/375 <p>งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาการจัดเส้นทางการรับส่งเอกสาร ซึ่งนำเสนอการนำเส้นทางการรับส่งสินค้าแต่ละงานมารวมกันเป็นปัญหาการรับและส่ง โดยสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่พิจารณาถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ได้แก่ ความสามารถในการบรรทุกของยานพาหนะ และกรอบเวลาในการให้บริการ ซึ่งมีเป้าหมายในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดทั้งในแง่ของระยะทางที่สั้นที่สุด และการใช้ยานพาหนะจำนวนน้อยที่สุด ทั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตของการศึกษา ซึ่งมีสมมติฐานและลักษณะของปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ เส้นทางที่ดีที่สุดคือเส้นทางที่สั้นที่สุดโดยไม่ได้พิจารณาผลของการจราจร, พัสดุทุกชนิดมีขนาดเท่ากัน, ยานพาหนะทุกคันมีความสามารถในการบรรทุกเหมือนกัน และ ให้ความสำคัญกับเวลาการให้บริการ งานวิจัยนี้เลือกใช้วิธีการค้นหาย่านคำตอบขนาดใหญ่มาใช้ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และเหมาะกับปัญหาขนาดใหญ่มาใช้ในการแก้ปัญหาของการศึกษานี้ จากการศึกษาพบว่า การให้บริการแบบรวมงานสามารถลดต้นทุนการขนส่งรวมได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการให้บริการแบบทั่วไป</p> ธนาวัฒน์ สิทธิสันติกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL22 TRL22 การตรวจสอบความปลอดภัยภายหลังการดำเนินการ โครงการปรับปรุงความปลอดภัยทางแยกต่างระดับบางควาย บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/401 <p>บทความนี้นำเสนอผลการตรวจสอบความปลอดภัยภายหลังการดำเนินการโครงการปรับปรุงความปลอดภัยของทางแยกต่างระดับบางควาย บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ของกรมทางหลวง เพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุรถชนราวกันอันตรายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งบริเวณทางโค้งของทางแยกต่างระดับโดยเฉพาะกรณีรถพ่วง ภายหลังจากการดำเนินการปรับปรุงได้มีการตรวจสอบความปลอดภัยของโครงการ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุก่อนและหลังการดำเนินการโครงการ เพื่อยืนยันผลการวิเคราะห์และสัมฤทธิ์ของโครงการ โดยผลจากการตรวจสอบแสดงให้เห็นว่า ความกว้างของผิวการจราจรในช่วงทางโค้งที่ไม่เพียงพอ และการเข้าโค้งด้วยความเร็วที่เกินกว่าความเร็วที่กำหนดเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ และการแก้ไขปัญหาโดยการปรับความกว้างและแนวช่องจราจรใหม่ รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่าง ๆ ที่ช่วยลดความเร็ว ช่วยแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุดังกล่าวได้</p> ธันวิน สวัสดิศานต์ วันเสด็จ บุณยะวันตัง วสันต์ พฤกษางามชล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL23 TRL23 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของจุดเปิดเกาะกลางกลับรถแบบจำกัดยานพาหนะ โดยใช้แบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/446 <p>จุดเปิดเกาะกลางกลับรถแบบจำกัดยานพาหนะ หรือจุดกลับรถที่แยกไว้เฉพาะสำหรับรถจักรยานยนต์และรถยนต์ เป็นการออกแบบรูปแบบจุดเปิดเกาะกลางรูปแบบใหม่ที่ได้รับความสนใจและนำไปประยุกต์ใช้เพิ่มมากขึ้นบนถนนสายหลัก เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและความปลอดภัยบริเวณจุดเปิดเกาะกลาง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานของจุดเปิดเกาะกลางกลับรถแบบจำกัดยานพาหนะนี้ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประสิทธิภาพของรูปแบบจุดเปิดเกาะกลางกลับรถรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ (1) จุดเปิดเกาะกลางกลับรถแบบไม่มีช่องรอเลี้ยว (2) จุดเปิดเกาะกลางกลับรถแบบมีช่องรอเลี้ยว (3) จุดเปิดเกาะกลางกลับรถแบบแยกรถจักรยานยนต์กับรถยนต์ และ (4) จุดเปิดเกาะกลางกลับรถแบบแยกรถจักรยานยนต์และรถยนต์และมีสัญญาณไฟจราจร งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้แบบจำลองการจราจรระดับจุลภาคในการวิเคราะห์ ความยาวแถวคอย เวลาที่ใช้ในการเดินทาง และระดับการให้บริการบริเวณจุดเปิดเกาะกลางกลับรถบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กิโลเมตรที่ 364+356 จังหวัดน่าน ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบจุดเปิดเกาะกลางกลับรถแต่ละรูปแบบช่วยแนะนำถึงสภาพการจราจรที่เหมาะสมกับรูปแบบจุดเปิดเกาะกลางกลับรถแบบจำกัดยานพาหนะนี้ และสามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดเลือกรูปแบบจุดเปิดเกาะกลางกลับรถที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคต</p> พิกุล ผาหลัก นพดล กรประเสริฐ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL24 TRL24 การประเมินความปลอดภัยทางถนน และระดับดาวตามมาตรฐาน iRAP สำหรับโรงเรียนเสี่ยงในกรุงเทพมหานคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/447 <p>ในแต่ละปี เด็กจากทั่วโลกจำนวน 186,300 คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ประเทศไทยจัดเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถิติการเสียชีวิตสูง จากรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลกปี 2018 ได้ระบุไว้ว่าในแต่ละปีมีเด็กไทยเสียชีวิต 2,600 คน และ 72,000 คน ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนไทย ทั้งนี้เด็กเป็นกลุ่มผู้ใช้ทางที่มีความเปราะบาง เนื่องจากในแต่ละวันเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเรียนจะต้องเดินเท้า และข้ามถนนเพื่อเดินทาง ดังนั้นถนนในบริเวณโรงเรียนจำเป็นจะต้องมีความปลอดภัย งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนด้วยมาตรฐาน iRAP สำหรับโรงเรียน ผู้วิจัยได้คัดเลือกโรงเรียน 4 โรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย โรงเรียนวัดดอนเมือง โรงเรียนวัดสิงห์ โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และโรงเรียนวัดสุทธิวราราม โดยผู้วิจัยได้พิจารณาโรงเรียนตัวอย่างจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในอดีต และได้รวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการประเมินสำหรับถนนหลัก และถนนรองในบริเวณรอบโรงเรียน ผลจากการศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่าถนนบริเวณโดยรอบโรงเรียนยังมีระดับดาวที่ 1-2 ดาว ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าถนนที่มีความปลอดภัยควรผ่านการประเมินตั้งแต่ 3 ดาวขึ้นไป ซึ่งงานวิจัยนี้ได้แนะนำมาตรการเพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องนำไปยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการเดินทางของนักเรียนต่อไป</p> เกษม ชูจารุกุล เกริกฤทธิ์ ศรีรุ่งวิกรัย พิณทิพย์ ศิระอำพร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL25 TRL25 บริการรถเช่ากับการพัฒนาการเดินทางสำหรับเมืองท่องเที่ยวอย่างชาญฉลาด https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/448 <p>บางแสนเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียงมายาวนานของจังหวัดชลบุรี ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาพักผ่อนยังสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอยู่หลากหลายในเขตบางแสนจำนวนมาก อย่างไรก็ดีการเดินทางระหว่างแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ยังเดินทางไม่สะดวกหากนักท่องเที่ยวเดินทางไม่มีรถยนต์ส่วนตัว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความเป็นไปได้ของการให้บริการระบบคาร์แชร์ริ่งเพื่อเป็นตัวเลือกในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และยังจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่เคยขับรถยนต์ส่วนตัวมา ให้เปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาด้วยระบบขนส่งสาธารณะหรือแม้กระทั่งรถไฟความเร็วสูงที่จะดำเนินการในเวลาอันใกล้นี้พื้นที่ศึกษากำหนดให้ครอบคลุมพื้นที่เทศบาลแสนสุขและบริเวณใกล้เคียง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการจําลองสถานการณ์สมมติหรือ Stated Preference (SP) จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจำนวน 400 ชุด ในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ จากการศึกษานี้พบว่านักท่องเที่ยวร้อยละ 83.25 ไม่รู้จักระบบคาร์แชร์ริ่ง และมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเพียงร้อยละ 4.25 อย่างไรก็ดีร้อยละ 65.75 คิดว่ายินดีที่จะใช้บริการคาร์แชร์ริ่งหากมีการเปิดให้บริการและคิดว่าน่าจะทำให้สามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่ได้</p> ณัฐธิณี น้ำทิพย์ เอกพงศ์ เพาะกลาง ปิติ โรจน์วรรณสินธุ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL26 TRL26 การวิเคราะห์อุบัติเหตุสำหรับทางโค้งราบของทางหลวงชนบทสองช่องจราจร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/449 <p>ในประเทศไทย ช่วงถนนทางโค้งนับเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่สูงบนถนนสองช่องจราจร ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยทั่วไป ทางโค้งราบสามารถจำแนกตามประเภทของโค้งได้ 4 ประเภท ได้แก่ โค้งกลม โค้งผสม โค้งหลังหัก และโค้งสลับทาง ซึ่งความเสี่ยงของอุบัติเหตุบริเวณทางโค้งและมาตรการปรับปรุงแก้ไขทางโค้งแต่ละประเภทของทางโค้งนั้นจะแตกต่างกันออกไป งานวิจัยนี้วิเคราะห์จำแนกประเภทของโค้งสำหรับทางโค้งราบบนถนนสองช่องจราจรในโครงข่ายทางหลวงชนบท โดยอาศัยข้อมูลแนวเส้นทางจาก GPS Vehicle Tracking และวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางถนนและอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณทางโค้งแต่ละประเภท จากข้อมูลอุบัติเหตุในช่วง 3 ปีย้อนหลังบนโครงข่ายทางหลวงชนบท พบว่า ประเภทของทางโค้งส่งผลต่อความรุนแรงของอุบัติเหตุ โดยที่โค้งหลังหักส่งผลต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรุนแรงของรถจักรยานยนต์สูงสุด และโค้งสลับทาง ส่งผลต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรุนแรงของรถยนต์สูงสุด</p> เกษศิรินทร์ บุญตัน นพดล กรประเสริฐ ปฏิพัทธ์ กัณหา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL27 TRL27 เงื่อนไขและข้อพิจารณาในการติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับแรงกระแทกจากการชนบนทางยกระดับ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/461 <p>ทางยกระดับดอนเมือง ได้ติดตั้ง Crash Cushion บริเวณหัวเกาะทางลงทางยกระดับ จำนวน 9 จุด เป็นอุปกรณ์ตามมาตรฐาน NCHRP 350 ระดับ TL 2 รองรับการชนที่ความเร็ว 80 กม/ชม มีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ประสบเหตุต้องชดใช้ค่าเสียหายและทางยกระดับฯ ต้องจัดหาอุปกรณ์ชุดใหม่ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงเช่นกัน จึงมีความประสงค์จะทบทวน เหตุผลความจำเป็น รวมถึงพิจารณาอุปกรณ์ประเภทอื่น ที่ลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุได้ AASHTO Roadside Design Guide ได้ให้ข้อพิจารณาการเลือกชนิดของ Crash Cushion ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเร็วรถ ปริมาณการจราจร ความถี่ของอุบัติเหตุ และการบำรุงรักษา แต่มิได้มีข้อกำหนดเชิงปริมาณหรือเงื่อนไขที่จำเป็นที่ต้องติดตั้ง ยังคงเป็นวิจารณญาณของวิศวกรบนพื้นฐานลักษณะกายภาพทาง โครงสร้างถาวรที่อาจถูกชนและสถิติอุบัติเหตุเป็นสำคัญ ในกรณีของทางยกระดับในประเทศไทย อุบัติเหตุที่รุนแรงคือ รถตกทาง ข้อพิจารณาหลักจึงได้แก่ 1) มีโอกาสชนปะทะโครงสร้างถาวรจนทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อผู้ใช้รถหรือไม่ และ 2) มีโอกาสรถตกทางหรือไม่ เหตุรถตกทางส่วนใหญ่ เกิดบนหัวเกาะกว้างรูปตัววาย (Y) บนทางยกระดับดอนเมือง มีเฉพาะหัวเกาะแคบรูปตัวไอ (I) และตัววี (V) ในส่วนของตัววี ถึงแม้จะกว้างเพียง 0.9-2.0 เมตร แต่ก็กว้างพอที่รถจะพลิก ตกทางลงไปได้ หัวเกาะทางลงทั้งหมด 13 จุด จุดที่ควรให้ความสำคัญเพื่อติดตั้ง Crash Cushion คือที่บริเวณหัวเกาะรูปตัววีซึ่งมีเพียง 3 จุด ด้วยเหตุผลของการป้องกันรถตกทาง อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจในการให้บริการทางยกระดับอย่างปลอดภัย ทางยกระดับดอนเมือง ยังคงไว้ซึ่ง Crash Cushion ทั้ง 9 จุด และจะเสริมด้วยมาตรการความปลอดภัยด้านอื่นๆ ต่อไป</p> เอกรินทร์ เหลืองวิลัย วิทวงศ์ กาญจนชมภู Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL28 TRL28 การประยุกต์โครงข่ายประสาทเทียมร่วมกับความสัมพันธ์ของโครงข่ายถนนโดยรอบในการทำนายเวลาเดินทางบนถนนในเขตเมือง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/463 <p>เวลาเดินทางบนถนนในเขตเมืองมีลักษณะซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงและแกว่งตัวสูง เนื่องจากถูกรบกวนจากปัจจัยแวดล้อมหลายประการ อย่างไรก็ตามปัจจุบันวิธีการทำนายเวลาเดินทางล่วงหน้าบนถนนเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการอย่างง่าย เช่น พิจารณาใช้รูปแบบข้อมูลเวลาเดินทางในอดีตเป็นตัวแทน หรือใช้เวลาการเดินทางปัจจุบันเป็นค่าประมาณการเวลาเดินทางในอนาคต เป็นต้น มิได้มีการพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ระหว่างสภาพจราจรบนโครงข่ายถนนโดยรอบ ซึ่งมีอิทธิพลต่อสภาพจราจรและเวลาเดินทางบนถนนที่ศึกษา ในการพัฒนาแบบจำลองเพื่อทำนายเวลาเดินทาง บทความนี้นำเสนอกระบวนการประยุกต์โครงข่ายประสาทเทียมร่วมกับความสัมพันธ์ของสภาพจราจรของโครงข่ายถนนโดยรอบ ในการทำนายเวลาเดินทางบนถนนในเขตเมือง ผลการศึกษาจากสภาพจราจรจริงในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร พบว่าวิธีการที่นำเสนอให้ผลการทำนายเวลาเดินทางแม่นยำกว่าวิธีการพื้นฐานในทุกสถานการณ์ นอกจากนี้ได้นำเสนอแบบจำลองที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลเวลาเดินทางบนถนนที่ศึกษา เพื่อช่วยแก้ปัญหาการทำนายเวลาเดินทางบนถนนที่ไม่มีข้อมูลในอดีต ซึ่งเป็นจุดอ่อนของวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน</p> พรเทพ พวงประโคน สรวิศ นฤปิติ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL29 TRL29 การประเมินความสามารถในการประหยัดระยะเวลาการเดินทางของทางพิเศษ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/467 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการประหยัดเวลาการเดินทางของทางพิเศษ โดยการเปรียบเทียบระยะเวลาการเดินทางบนทางพิเศษกับระยะเวลาการเดินทางบนถนนระดับดิน ณ จุดต้นทางและจุดปลายทางการเดินทางเดียวกัน ที่มีลักษณะกายภาพการเดินทางคู่ขนานไปกับทางพิเศษ ซึ่งผู้ใช้ทางสามารถเลือกใช้ทางพิเศษหรือไม่ใช้ทางพิเศษได้ โดยมีปัจจัยจากค่าผ่านทางพิเศษ และมูลค่าการประหยัดเวลาในการเดินทาง การเก็บข้อมูลพิจารณาใช้วิธียานพาหนะทดสอบ ซึ่งติดตั้งระบบ GPS Data Logger สำหรับบันทึกข้อมูลการเคลื่อนที่ของยานพาหนะทดสอบ เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเดินทางระหว่างการใช้ทางพิเศษบนเส้นทางการใช้ทางพิเศษในเขตเมืองกับถนนระดับดิน จำนวน 4 เส้นทาง ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น ประกอบด้วย ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า ทิศทางรามอินทรา-พระราม 9 และ ทิศทางงามวงศ์วาน-ยมราช ช่วงเวลาเร่งด่วนเย็น ทิศทางพระราม 9-รามอินทรา และ ทิศทางพหลโยธิน-ศรีนครินทร์ ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การเดินทางด้วยทางพิเศษในช่วงเวลาเร่งด่วนสามารถประหยัดระยะเวลาการเดินทางลงได้โดยเฉลี่ยมากกว่า ร้อยละ 40 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการจราจรบนทางพิเศษโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานสามารถนำไปขยายผลเพื่อประเมินประสิทธิภาพสำหรับทางพิเศษเส้นทางอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต</p> ปิยพงษ์ จันทโชติ วิรภพ เมฆพฤกษาวงศ์ กิตติคุณ รอดสกุล ปณิก โพธิสาวัง พรณรงค์ เลื่อนเพ็ชร ธนานี ไต่เมฆ รวิพันธุ์ เด็ดแก้ว Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL30 TRL30 การศึกษาค่าเวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวบริเวณทางแยกสัญญาณไฟที่มีและไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์นับเวลาถอยหลังประกอบสัญญาณไฟ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/479 <p>เวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวของการจราจรบริเวณทางแยกสัญญาณไฟเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการออกแบบช่องจราจรและรอบสัญญาณไฟ นอกจากนี้ยังสามารถสะท้อนพฤติกรรมการขับขี่ที่แตกต่างกันในแต่ละท้องที่และบ่งชี้ประสิทธิภาพในการจัดการทางแยก การทราบค่าเวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มที่ถูกต้องทำให้สามารถออกแบบรอบสัญญาณไฟได้เหมาะสมและจัดการทางแยกได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ทำการศึกษาเวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวบริเวณทางแยกสัญญาณไฟที่มีการติดตั้งอุปกรณ์นับเวลาถอยหลังประกอบสัญญาณไฟซึ่งได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยทำการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างทางแยกที่มีและไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์นับเวลาถอยหลังจำนวนประเภทละ 3 ทางแยก ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่าเวลาสูญเสียเริ่มต้นเฉลี่ยของแต่ละทางแยกมีค่าระหว่าง 1.99 ถึง 4.50 วินาที เวลาสูญเสียเริ่มต้นเฉลี่ยบริเวณทางแยกที่มีและไม่มีการนับเวลาถอยหลังเท่ากับ 3.54 และ 3.28 วินาที ตามลำดับแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวเฉลี่ยของแต่ละทางแยกมีค่าระหว่าง 2.36 ถึง 2.75 วินาที ระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวเฉลี่ยบริเวณทางแยกที่มีและไม่มีการนับเวลาถอยหลังเท่ากับ 2.58 และ 2.50 วินาที ตามลำดับแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมุติฐานเปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมจราจรในและนอกช่วงเวลาเร่งด่วน พบว่าเวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน</p> พรเทพ พวงประโคน พงศกร ปัญญา แนววิทย์ บุญทา ซุกรอน เซ็งสาเมาะ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 TRL31 TRL31 แบบจำลองสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบการจราจรของการดำเนินงานระบบเครื่องชั่งน้ำหนักขณะรถวิ่ง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/486 <p>การจำกัดเวลาและเส้นทางการเดินรถบรรทุกส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรของรถบรรทุกที่หนาแน่น เกิดความล่าช้าในการเดินทาง ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงขึ้น และสร้างความเสียหายแก่โครงสร้างพื้นฐานทางถนนบนทางสายหลัก เพื่อเป็นการควบคุมมาตรฐานน้ำหนักรถบรรทุกให้เกิดประสิทธิภาพ หน่วยงานทางได้จัดให้มีด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุกบนโครงข่ายถนน แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตรวจสอบน้ำหนักรถบรรทุกส่งผลกระทบด้านการจราจรต่อการเดินทางของรถบรรทุกและการจราจร ซึ่งในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้ระบบการตรวจชั่งน้ำหนักแบบอัตโนมัติด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีตรวจชั่งขณะรถวิ่ง (Weigh-in-Motion) หรือ WIM มาช่วยในการตรวจสอบน้ำหนักบรรทุกและคัดแยกรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน&nbsp; วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจรของสถานีตรวจสอบน้ำหนักรถบรรทุกแบบอัตโนมัติบนถนนสายหลัก 4 ช่องจราจร โดยอาศัยการพัฒนาแบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค (Microscopic Traffic Simulation) ของด่านชั่งน้ำหนักรูปแบบต่าง ๆ และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลกระทบด้านการจราจร งานวิจัยนี้ได้พัฒนาแบบจำลองของด่านชั่งน้ำหนัก 3 รูปแบบเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ ได้แก่ (1) ด่านชั่งน้ำหนักถาวร (2) ด่านชั่งน้ำหนักถาวรแบบใช้เครื่องชั่งขณะรถวิ่ง (WIM) ในการคัดแยกรถบรรทุก และ (3) ด่านชั่งน้ำหนักแบบใช้เครื่องชั่งอัตโนมัติขณะรถวิ่ง (WIM) ในการตรวจสอบน้ำหนัก แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นประเมินผลกระทบด้านการจราจรด้วยดัชนีชี้วัดความเร็วเฉลี่ยในการเดินทาง ความล่าช้าในการให้บริการ และความยาวแถวคอย ผลของการวิจัยจะช่วยแนะนำถึงเงื่อนไขการจัดตั้งด่านชั่งน้ำหนักในรูปแบบต่าง ๆ และสภาพการจราจรที่เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้เครื่องชั่งขณะรถวิ่ง (Weigh-in-Motion)</p> โสรยา ปิยะวราภรณ์ นพดล กรประเสริฐ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL32 TRL32 การศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็วและพฤติกรรมการขับขี่บนถนนชานเมืองจังหวัดชลบุรี https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/498 <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษา “โครงการศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็วและพฤติกรรมของผู้ขับขี่บนโครงข่ายถนน จังหวัดชลบุรี” โดยเลือกผลการศึกษากรณีถนนชานเมืองมานำเสนอ การศึกษานี้ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการใช้ความเร็วและพฤติกรรมการขับขี่ของกลุ่มเป้าหมายซึ่งได้แก่ ผู้เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและจักรยานยนต์ส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 284 คน ถูกเลือกโดยเทคนิค Accidental random sampling เพื่อตอบคำถาม จากนั้นข้อมูลที่ได้ถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นหลายตัวแปร โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 กลุ่ม ตามรูปแบบการเดินทาง ผลการวิเคราะห์พบว่า พฤติกรรมการใช้ความเร็วเกินขีดจำกัดความเร็ว (Speed limit) สามารถอธิบายได้โดยประสบการณ์การถูกจับ/ปรับเนื่องจากใช้ความเร็วเกิน Speed limit ทั้งกลุ่มรถยนต์ส่วนบุคลและจักรยานยนต์ส่วนบุคคล นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้ความเร็วยังเป็นอีกตัวแปรที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการใช้ความเร็วเกิน Speed limit สำหรับกลุ่มรถยนต์ส่วนบุคคลด้วย</p> พิชญ์สินี กุลเอกสรชา จัตุรงค์ อินทะนู สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ อรรถวิทย์ อุปโยคิน Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL33 TRL33 Analysis of Impact of Introduction of Bus Rapid Transit on Land Price in Developing City - Case Study of Managua city, Republic of Nicaragua https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/525 <p>Most of the cities in developing countries are car-dependent, which causes traffic congestion. In order to decrease traffic congestion, Bus Rapid Transit (BRT) is introduced. In addition, it is not only necessary to convert demand from automobile-use but also to form urban corridors along the BRT routes and make significant changes to the urban structure. In that sense, it is also essential to estimate external effects such as urban development in the evaluation of BRT introduction. Therefore, in this study, we focused on changes in asset value as one of the external effects of introducing BRT and analyzed the impact of the introduction of BRT. This asset value is defined as land price. In analyzing the impact of its introduction, the land price data was collected from the website of real estate and a land price formula with explanatory variables such as the convenience of transportation, house quality, shopping convenience, and the Possibility of landslides, was derived by using the hedonic price approach. And then, the difference in land prices with/without the introduction of BRT was analyzed. As a result, land prices in the zones along BRT lines but also suburban zones have risen. This result means that was spread the impact of the introduction of the BRT system to the entire city. In conclusion, it was clarified that the introduction of BRT would have a substantial effect not only on the transportation market but also on the external market such as real estate and contribute to the development of the urban areas.</p> LISAKO KUGII Atsushi Fukuda Noriyasu Tsumita Hiroki Kikuchi Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL34 TRL34 การประเมินความเสี่ยงการชำรุดของประแจรางรถไฟ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/545 <p>ระบบขนส่งทางรางกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อประเทศไทย การใช้ระบบขนส่งทางรางให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการทรัพย์สิน (Assets) ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอการบริหารจัดการทรัพย์สินของระบบขนส่งทางรางโดยใช้หลักการจัดการความเสี่ยงตามมาตรฐาน ISO31000 ควบคู่กับการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบที่วิกฤติ (Failure Modes, Effects and Criticality Analysis, FMECA) โดยมีกรณีศึกษาคือ ประแจรางรถไฟหรือจุดสับราง (Railway switches and crossings) บนโครงข่ายแอร์พอร์ต&nbsp;เรล&nbsp;ลิงค์ (Airport Rail Link city line) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนเส้นทางของขบวนรถไฟ ผลการศึกษาจะแสดงในรูปแบบค่าวิกฤติของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของประแจรางรถไฟ พร้อมข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดลำดับความสำคัญรวมถึงการวางแผนซ่อมบำรุงประแจรางรถไฟอย่างมีประสิทธิภาพ</p> ธิตินันท์ รวมทรัพย์ โรจนัสถ์ รัตนวัน รัฐพงศ์ มีสิทธิ์ ภาสุรีย์ ล้ำสกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL35 TRL35 การวิเคราะห์ความหลากหลายของพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/575 <p>ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทางราง เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันครอบคลุมระยะทางกว่า 153 กิโลเมตร ทั้งนี้อิทธิพลของการขนส่งที่มีต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำให้เกิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการคาดการณ์ปริมาณการเดินทาง จำนวนประชากร จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องทราบอย่างถูกต้องของพื้นที่ รวมถึงพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยที่มีความหลากหลายหรือแตกต่างกันของแต่ละคน จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่นำมาพิจารณาในการคาดการณ์จำนวนประชากรของพื้นที่ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่หลากหลายของคนแต่ละกลุ่มที่มีต่อการเลือกลักษณะที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน (Heterogeneity Preference) เนื่องจากแต่ละคนมี รสนิยม ความชอบหรือความสนใจ Lifestyle ในการเลือกที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยเห็นว่าการวิเคราะห์แบบภาพรวมในลักษณะการเลือกแบบ Homogeneous จึงไม่ถูกต้องมากนัก สำหรับพฤติกรรมของการเลือกในสถานการณ์จริง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบจำลองแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete choice model) สำหรับการวิเคราะห์ โดยในการศึกษาในครั้งนี้ได้มีการเปรียบเทียบ 3 แบบจำลอง คือ แบบจำลอง Multinomial logit (MNL) แบบจำลอง Mixed logit (MMNL) และ แบบจำลอง Latent class (LC) และตรวจสอบระดับความสอดคล้องของแบบจำลอง(Goodness of fit) ด้วยวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์สูงสุด (Maximum likelihood Method) โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้น ได้มาจาการสำรวจจำนวน 2,400 ตัวอย่าง จากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่อาศัยในเขตจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดสถานการณ์จำลองขึ้น (Stated Preference หรือ SP Survey) ของการเลือกที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์ พบว่า พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของแต่ละคนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์การแบ่งกลุ่มคนที่มีลักษณ์ความชื่นชอบ รสนิยม หรือพฤติกรรมการเลือกเดียวกัน เข้าในกลุ่มเดียวกัน จากการแบ่งโดยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละคน เช่น จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้โดยเฉลี่ย และ สถานภาพ ของผู้ตอบแบบสอบแต่ละคน เป็นต้น</p> ธวัชชัย คงสุวรรณ์ วราเมศวร์ วิเชียรแสน Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL36 TRL36 การศึกษาพฤติกรรมของคนเดินเท้าบริเวณทางข้ามที่มีสัญญาณไฟ: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/579 <p>คนเดินเท้าที่ข้ามถนนเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากต่อการประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิต อัตราการเสียชีวิตโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดเป็น 13% ปัญหาอาจเกิดจากผู้คนไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร การศึกษาพฤติกรรมของคนเดินเท้าบริเวณทางข้ามที่มีสัญญาณไฟสำหรับคนเดินเท้า ในบริเวณเมืองเชียงใหม่ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบและวางแผนเวลาที่เหมาะสมของสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางข้ามสำหรับคนเดินเท้า เก็บข้อมูลความเร็ว และลักษณะการเดินของกลุ่มคนเดินเท้า ผลการศึกษาพบว่าความเร็วของคนเดินเท้าเพศชายมีความเร็วกว่าคนเดินเท้าเพศหญิง และคนเดินเท้าที่อยู่ในช่วงอายุเดียวกันจะมีความเร็วที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยความเร็วในการเดินบนทางข้ามทางเดินเท้าปกติเฉลี่ยในเพศชายและเพศหญิงอายุน้อยกว่า 18 ปี ระหว่าง 18 - 60 ปี และมากกว่า 60 ปี เท่ากับ 1.42, 1.30, 1.55, 1.50, 1.38 และ 1.37 m/s ตามลำดับ อัตราการไหลอิ่มตัวสูงสุดที่ทางข้ามถนนเท่ากับ 43 ped/m/s การประยุกต์ใช้แบบจำลองเสมือนจริงของยานพาหนะร่วมกับคนเดินเท้า พบว่าระยะเวลาที่เหมาะสมของสัญญาณไฟที่อนุญาตให้คนเดินเท้าข้ามและช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมของสัญญาณไฟที่ปล่อยให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ ต้องเหมาะสมตามปริมาณของเดินเท้าและปริมาณจราจรในขณะนั้นที่ปริมาณประชากรคนเดินเท้า 500-1,000, 1,001-2,000 และ 2,001-3,000 ped/h ระยะเวลาเหมาะสมที่อนุญาตให้คนเดินเท้าข้ามทางคือ 10, 20 และ 30 วินาที และระยะเวลาเหมาะสมของสัญญาณไฟที่ปล่อยให้ยานพาหนะเคลื่อนที่คือ 240-300, 120-240 และ 30-120 วินาที ตามลำดับ</p> ธนา น้อยเรือน พรภวิษย์ ตาจุมปา ภูมิพิชญ์ จันทร์เทพ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL37 TRL37 การพัฒนาแนวทางการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนสำหรับรถจักรยานยนต์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/622 <p>ปัจจุบันปัญหาอุบัติเหตุทางถนนสำหรับรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยสูงเป็นอันดับต้น ๆของโลก ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุประกอบด้วย พฤติกรรมผู้ขับขี่ รูปแบบของรถจักรยานยนต์ และลักษณะทางกายภาพของถนนและสิ่งแวดล้อม จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าในปัจจุบันมีที่เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน คือ ระบบ Road Safety Audit ซึ่งให้ความสำคัญกับรถจักรยานยนต์น้อยมาก ในขณะที่เครื่องมือมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนอย่าง iRap สามารถใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยของรถจักรยานยนต์ได้โดยวิธีการให้คะแนนระดับดาวหรือ star rating&nbsp; การศึกษาวิจัยครั้งนี้ต้องการพัฒนารายการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพื่อให้ทราบความเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ และเพื่อศึกษาความครอบคลุมการประเมินความปลอดภัยทางถนนสำหรับรถจักรยานยนต์ของ iRap กับรายการตรวจสอบความปลอดภัยที่พัฒนาขึ้นในบริบทถนนของเมืองไทย ผลของการศึกษาทำให้ทราบถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงในส่วนของระบบ Road Safety Audit หรือ iRap ในอนาคตต่อไป</p> ภูทริยา มีอุสาห์ บุญพล มีไชโย ทวีศักดิ์ แตะกระโทก Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL38 TRL38 การพิจารณาคัดเลือกวัสดุแอสฟัลต์เชื่อมประสานสำหรับงานผิวทางบนทางพิเศษ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/624 <p>ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศ (กทพ.) ให้บริการทางพิเศษเป็นระยะทางกว่า 224.6 กิโลเมตร จำนวน 8 สายทาง มีปริมาณจราจรในปัจจุบันจำนวน 1.91 ล้านเที่ยวต่อวัน (ณ ปีงบประมาณ 2562) จึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาทางพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานผิวทางของทางพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่รับแรงเสียดทานกับยานพาหนะเป็นลำดับแรก การก่อสร้างทางพิเศษทุกสายทางส่วนใหญ่จะก่อสร้างผิวทางด้วยแอสฟัลต์คอนกรีตชนิด AC 60/70 ปัญหาที่พบคือ ทางพิเศษแต่ละสายทางรองรับปริมาณจราจรและประเภทของยานพาหนะแตกต่างกัน ส่งผลให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผิวทางบนทางพิเศษแตกต่างกัน แต่ในปัจจุบันการเลือกแอสฟัลต์เชื่อมประสานเพื่อซ่อมบำรุงรักษาผิวทางยังไม่มีหลักเกณฑ์พิจารณาที่แน่นอน จึงอาจทำให้แอสฟัลต์เชื่อมประสาน ผู้เลือกใช้ไม่สามารถรองรับปริมาณจราจรในปัจจุบันได้ ทำให้ต้องมีการซ่อมบำรุงบ่อยครั้งและส่งผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณในการบำรุงรักษาผิวทาง ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การเลือกใช้แอสฟัลต์เชื่อมประสานสำหรับงานผิวทางบนทางพิเศษเพื่อเป็นการวางแผนการซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อไป</p> ฐิติพงศ์ สุขเสริม นันทวรรณ พิทักษ์พานิช เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL39 TRL39 ความพึงพอใจในระบบเดินทางแบ่งปันกันใช้ของนิสิตในเขตมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/626 <p>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่ถือกำเนิดขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทยตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยได้มีการสนับสนุนให้บริการรถโดยสารภายใน (CU Pop bus) แก่นิสิตและบุคลากรโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งได้ให้บริการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยและสามารถเชื่อมต่อกับสถานีขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย ในปัจจุบันพบว่ามีผู้เข้าใช้บริการ CU Pop bus เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและทำให้เกิดความแออัดเนื่องจากความสามารถในการให้บริการมีค่อนข้างจำกัด มหาวิทยาลัยยังให้บริการนวัตกรรมรูปแบบใหม่ คือ รถแบ่งปันกันใช้ (shared vehicle) ที่ขับเอง มีชื่อว่า <strong>Ha:mo</strong> <strong>&nbsp;</strong>รถที่เรียกบริการเดินทาง มีชื่อว่า<strong> Muvmi </strong>และ รถจักรยานแบ่งปันกันใช้ หรือ <strong>CU Bike </strong>ซึ่งเป็นทางเลือกในการเดินทาง เพิ่มความสะดวก การเข้าถึง และช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการเดินทางภายในและรอบ ๆ มหาวิทยาลัยนอกเหนือจาก CU Pop bus ที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก<strong>&nbsp; </strong>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการบริการแบ่งปันกันใช้ (Shared mobility) ในปัจจุบันและเพื่อวิเคราะห์ความต้องการใช้งานระบบแบ่งปันกันใช้ ที่มีความสัมพันธ์กับราคาค่าบริการ ข้อมูลมาจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามจำนวน ทั้งสิ้น 370 ตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา(Descriptive) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเส้นแบบการถดถอย(Multiple linear regression analyses) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในมหาวิทยาลัยคือรถโดยสารภายใน (CU Pop bus) การวิเคราะห์ความพึงพอใจในการให้บริการทำให้เห็นปัจจัยที่บ่งบอกได้ว่านิสิตมีความพึงพอใจกับการให้บริการในปัจจุบันและพบอีกว่าปัจจัยที่น่าสนใจของบริการรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ คือ Ha:mo และ Muvmi ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการและเวลาที่คอยเพื่อใช้บริการ ในแบบจำลองความต้องการเชิงเส้นแบบถดถอยของรูปแบบการเดินทางแบบ Ha:mo และ Muvmi พบว่าปริมาณการใช้งานทั้งหมดจะขึ้นกับนิสิตที่เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาติขับขี่ , เพศ , รวมถึงความพึงพอใจในเวลาเดินทาง ในงานวิจัยยังพบว่าการงดเว้นค่าบริการหรือลดอัตราค่าบริการนั้นจะสามารถเพิ่มแรงจูงใจให้กับนิสิตเพื่อใช้บริการรูปแบบการเดินทางเหล่านี้ได้ดี</p> แซนด้า วิน สรวิศ นฤปิติ พงษ์ศักดิ์ บัณฑิตสกุลชัย Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL40 TRL40 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิเทียบเท่าทางสรีรวิทยาและความสบายเชิงความร้อน เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการใช้ทางเดินเท้าสีเขียว https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/630 <p>ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การจัดสรรพื้นที่สีเขียวนับเป็นยุทธศาสตร์หลักในการวางแผนพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองอย่างยั่งยืน โดยทางเดินเท้าและพืชพรรณตามทางเดินจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของพื้นที่สีเขียว ที่เหล่าผู้พำนักอาศัยในเขตเมืองนิยมใช้เป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อนและกิจกรรมนันทนาการ การเข้าสัมผัสพื้นที่ดังกล่าวยังส่งผลดีต่อสุขภาวะทางกายและจิตใจของชาวเมืองอีกด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองทางร่างกายมนุษย์ภายหลังจากการเดินเท้าระยะสั้นบนทางเท้าภายในเขตเมือง โดยสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินอุณหภูมิเทียบเท่าทางสรีรวิทยาจากผลการสำรวจคนเดินเท้าที่สัญจรผ่านทางเดินเท้า และได้ประเมินการตอบสนองของร่างกายของคนเดินเท้าโดยพิจารณาอิทธิพลของแต่ละปัจจัย ครอบคลุมทั้งกลุ่มปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและกลุ่มปัจจัยด้านบุคคล และสำหรับตัวบ่งชี้ความสบายเชิงความร้อนของทางเดินเท้า ได้พิจารณาจากค่าอุณหภูมิเทียบเท่าทางสรีรวิทยา ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาทางเดินเท้าสีเขียว ทั้งในด้านกายภาพของทางเท้าและสิ่งแวดล้อมสองข้างทาง เพื่อส่งเสริมการใช้ทางเดินเท้าให้มากยิ่งขึ้น</p> ณัฐดนัย สุวรรณมณี เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ นพดล กรประเสริฐ ดำรงศักดิ์ รินชุมภู Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL41 TRL41 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทาง ในพื้นที่ศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/633 <p>มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา มีหลากหลายรูปแบบในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัย การเดินทางอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การเดินทางที่ได้ออกกำลังกาย (Active travel) และการเดินทางที่ไม่ได้ออกกำลังกาย (Non-active travel) ตัวอย่างการเดินทางที่ได้ออกกำลังกาย เช่น การเดิน และการปั่นจักรยาน การเลือกรูปแบบการเดินทางของนักศึกษาและบุคลากร โดยการเลือกรูปแบบการเดินทางแบ่งเป็น 6 ทางเลือก ได้แก่ รถรางสวัสดิการ รถจักรยาน รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์ส่วนบุคคล และการเดิน จากข้อมูลการสำรวจของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับคุณลักษณะการเดินทาง<br>และข้อมูลด้านทัศนคติ ความพึงพอใจ จำนวนทั้งสิ้น 923 คน พบว่า รูปแบบการเดินทางที่ถูกเลือกใช้ในการเดินทางเรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้ดังนี้ รถรางสวัสดิการ การเดิน รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยาน คิดเป็น 39.7%, 20.8%, 15.7%, 9.4%, 7.4% และ 7.0% ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุดของการเดินทางแบบ Active travel ได้แก่ ความต้องการเดินทางพร้อมทั้งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และวันที่มีสภาพอากาศเย็นสบายไม่ร้อนมากนัก จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของแบบจำลองซ้อนสัมพันธ์โลจิต (Nested Logit Model) พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทาง ได้แก่ ระยะทาง, ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ค่าความถูกต้องของการพยากรณ์ของชุดพัฒนาแบบจำลอง และชุดตรวจสอบแบบจำลอง เท่ากับ 83.23 และ 83.15 ตามลำดับ และ ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองที่สร้างขึ้นไปใช้คาดการณ์สัดส่วนการเลือกใช้รูปแบบการเดินทาง</p> พงษ์พิษณุ นาคคำ กิตติชัย ธนทรัพย์สิน Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL42 TRL42 การศึกษาความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบริการด้านคมนาคม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/635 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อการกำหนดกลยุทธ์ของธุรกิจการให้บริการด้านคมนาคมที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) เข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ต ในทุกสิ่ง (Internet of Things) โดยสิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้นวัตกรสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation) ที่หลุดพ้นจากกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหาเดิม ๆ ที่เคยถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีจากยุคโลกาภิวัตน์ และการที่นวัตกรรมเหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคไปอย่างสิ้นเชิง ในอัตราความเร็วที่ก้าวกระโดด ผู้ประกอบการธุรกิจการให้บริการด้านคมนาคมจึงจำเป็นต้องเร่งศึกษาทำความเข้าใจ <br>เพื่อปรับตัวให้ทันต่อคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลง และสามารถตอบสนองผู้บริโภคตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสอดคล้อง โดยจากการศึกษาข้อมูลการเดินทางในเมืองใหญ่รวมถึงกรุงเทพมหานคร พบว่า การเดินทางส่วนมากมีต้นกำเนิดมาจากการเคลื่อนที่ของผู้บริโภคด้วยจุดประสงค์หลากหลาย เช่น ธุรกิจ การศึกษา การอุปโภคและบริโภค <br>โดยเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนตัว บริการขนส่งสาธารณะ หรือรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ จากแหล่งที่พักเข้าหาสินค้าและบริการ แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้เอื้ออำนวยให้เกิดปรากฏการณ์กระแสจราจรกลับทิศ กลายเป็นผู้ให้บริการที่ต้องจัดส่งสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคแทนซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคลดพฤติกรรมการเดินทางลง และผู้ให้บริการมีความต้องการในการเดินทางมากขึ้น ตัวอย่างของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นมีมากมาย เช่น การทำงานในที่พัก (Work from Home) การศึกษาออนไลน์ ความสามารถในการเข้าถึงอาหารและสินค้าผ่านผู้ให้บริการบน Platform ต่าง ๆ โดยจากอดีตถึงปัจจุบัน ผู้บริโภคเลือกใช้บริการด้านคมนาคม เช่น ระบบทางพิเศษหรือระบบขนส่งมวลชนที่ให้ความสะดวกรวดเร็ว และความปลอดภัยในการเดินทาง แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้ใช้บริการในระบบทางพิเศษและรถไฟฟ้าจะเปลี่ยนไป พร้อม ๆ กับพฤติกรรมการเดินทางรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมการดำรงชีวิตในยุคอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง ปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในหลายด้านและหลายระดับ การศึกษาการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างโอกาส และกำหนดกลยุทธ์ในการรับมือกับโลกยุคใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น</p> ธนวัฒน์ เดชปรอท Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL43 TRL43 การศึกษาพฤติกรรมการเดินทางและความเป็นไปได้ของระบบ MaaS ในกรุงเทพมหานคร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/643 <p>&nbsp; การบริการเดินทางรวมครบวงจร Mobility as a Service (MaaS)&nbsp; เป็นการรวบรวมระบบขนส่งสาธารณะให้เชื่อมโยงอย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้การเดินทางสะดวกสบายเป็นอย่างมาก หากนำระบบ MaaS มาปรับใช้ในประเทศไทยก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ประชาชนหันมาเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น รวมถึงลดจำนวนรถยนต์ส่วนตัวในท้องถนนอันเป็นสาเหตุหลักของการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางจากผู้ที่ทราบหรือมีประสบการณ์ในการใช้บริการในการเดินทางที่หลากหลาย รวมถึงระบบแบ่งปันกันใช้ (Shared mobility) จึงทำให้เจาะจงสำรวจพฤติกรรมเดินทางกับกลุ่มนิสิตจุฬา ฯเป็นกรณีศึกษา และศึกษาความเป็นไปได้ของระบบ MaaS ในกรุงเทพมหานครจากการศึกษาเชิงคุณภาพและการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยข้อมูลด้านพฤติกรรมการเดินทางมาจากการสำรวจผ่านแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 681 ชุด จากกลุ่มตัวอย่างนิสิตจุฬา ฯ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลําดับชั้น (AHP) และการทำ Data Visualization สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบ MaaS ได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพกับผู้ให้บริการทั้งสิ้น 4 ราย ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA), รถไฟฟ้าบีทีเอส, Muvmi และ Ha:mo ผลการวิจัยพบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ลำดับความสำคัญของปัจจัยในการเดินทางจากมากไปน้อยตามดังนี้ เวลาการเดินทาง, ความสะดวกสบาย, ความน่าเชื่อถือของข้อมูล, ความเข้าถึงของระบบขนส่ง, ความปลอดภัยและค่าโดยสาร ตามลำดับ และพบว่าผู้ให้บริการทั้ง 4 รายให้ความสนใจและให้ความร่วมมือหากมีการนำระบบ MaaS เข้ามาใช้ในไทย แต่มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ แนวทางในการแบ่งปันข้อมูลอย่างเป็นธรรม และการแบ่งค่าโดยสารให้แก่ผู้ให้บริการแต่ละราย ดังนั้นจึงสรุปปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดระบบ MaaS ทั้งสิ้น 6 ปัจจัย คือ ความร่วมมือ, ความตระหนักถึงส่วนรวม, การปรับเปลี่ยนตามลักษณะส่วนบุคคล, ประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ, นวัตกรรม และการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาและทดสอบ MaaS แอปพลิเคชัน แสดงให้เห็นว่าผู้ทดลองใช้สามารถใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันเพื่อการเดินทางได้และระบุอยากใช้งานจริง</p> ณัฐกานต์ สุรางค์ศรีรัฐ นันทวัฒน์ ศรัณย์ภัทร สรวิศ นฤปิติ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL44 TRL44 การศึกษาความจุที่เป็นไปได้ของจุดกลับรถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย : กรณีศึกษาจุดกลับรถหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/674 <p>การปรับปรุงขยายถนนมีผลกระทบต่อความต้องการเปลี่ยนทิศทางการจราจรไปยังทิศทางที่ต้องการ ทำให้เกิดปริมาณความต้องการในการกลับรถมาก ซึ่งการกลับรถนั้นจะส่งผลกระทบต่อสภาพการจราจรทั้งในทิศทางเดียวกันและในฝั่งตรงข้าม งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความจุที่เป็นไปได้ (Potential Capacity) ของจุดกลับรถบนถนนพุทธมณฑล สาย 5 หรือ ทางหลวงหมายเลข 3414 กิโลเมตรที่ 9+500 บริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา เพื่อเป็นเกณฑ์บ่งชี้ให้ดำเนินการปรับปรุงให้เป็นจุดกลับในลำดับต่อไป โดยใช้หลักในการพิจารณา ความจุที่เป็นไปได้ จากการวิเคราะห์ถึง ช่องว่างวิกฤติ (Critical Gap) กระแสจราจรที่ขัดแย้งกัน (Conflicting Flow) อัตราการไหลของกระแสจราจรสายหลัก (Main flow) และเวลาของการเคลื่อนที่ตามกัน (Follow-up time) จากผลแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาเร่งด่วนมีปริมาณรถที่ต้องการกลับรถเกินความจุที่เป็นไปได้และยังเป็นจุดกลับรถที่อันตรายเนื่องจากมีการตัดกระแสของรถทางตรงเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป เห็นควรจะทำการศึกษาผลกระทบด้านจราจรในกรณีเพิ่มความจุในจุดกลับรถ เช่น การเพิ่มจำนวนช่องกลับรถ ในทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ</p> สิริศักดิ์ ยิ้มย่อง ณรงค์ กุหลาบ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL45 TRL45 การวิเคราะห์ทางสถิติของค่าการประเมินความปลอดภัยทางถนนของ (iRAP) บนทางหลวงชนบท https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/695 <p>ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาสำคัญที่คุกคามความสามารถในการแข่งขันของประเทศ&nbsp; แม้สาเหตุส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุทางถนนจะเกิดจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่แต่กายภาพของถนนก็ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุที่มีผลต่อความถี่และความรุนแรงของอุบัติเหตุ กรมทางหลวงชนบทจึงได้มีแนวคิดในการนำวิธีการประเมินความปลอดภัยทางถนนของ iRAP (International Road Assessment Programme) มาใช้บนสายทางที่อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท อย่างไรก็ตาม ค่าต่าง ๆ ของแบบจำลอง iRAP ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการศึกษาในต่างประเทศ โดยเฉพาะส่วนสำคัญอย่าง Accident Modification Factor (AMF) จึงมีคำถามว่า แบบจำลองที่ใช้ในปัจจุบันนั้นมีความเหมาะสมกับถนนของกรมทางหลวงชนบทหรือไม่ การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อประเมินความเหมาะสมของแบบจำลองประเมินความปลอดภัยทางถนนของ iRAP ร่วมกับข้อมูลสถิติอุบัติเหตุของกรมทางหลวงชนบท เพื่อประเมินความเหมาะสมของแบบจำลองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและเสนอแนะวิธีปรับปรุงแบบจำลองให้มีความเหมาะสมกับทางหลวงชนบทของประเทศไทยในอนาคต</p> ขจรศักดิ์ เจิมประไพ สันติภาพ ศิริยงศ์ ศาศวัต ภูริภัสสรกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL46 TRL46 การศึกษารูปแบบทางเลือกในการขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศเปรียบเทียบระหว่างทางรถไฟกับทางถนนกรณีศึกษา เส้นทางจากคลังน้ำมันที่อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น ถึงสถานีรถไฟท่านาแล้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/95 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาการตัดสินใจเลือกรูปแบบการขนส่งน้ำมันระหว่างทางถนนกับทางราง และเพื่อประเมินทางเลือกรูปแบบในการขนส่งที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดีที่สุด จากการศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ พบว่า ปัจจัยด้าน เวลา ค่าใช้จ่าย ความยืดหยุ่น ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ&nbsp; มีความสำคัญต่อการพิจารณาการเลือกรูปแบบการขนส่งน้ำมันระหว่างทางถนนกับทางราง โดยนักวิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูล และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถึงน้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัย บนเส้นทางขนส่งน้ำมัน จากคลังน้ำมันที่อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น ถึงสถานีรถไฟท่านาแล้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าในการวิเคราะห์การตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์ โดยวิธีกระบวนวิเคราะห์ตามลำดับชั้น โดยพบว่า ปัจจัยด้าน เวลาและค่าใช้จ่าย มีน้ำหนักความสำคัญมากกว่าความยืดหยุ่น ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือในรูปแบบการขนส่งน้ำมัน และเมื่อรวมค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักรวมทุกปัจจ้ยแล้ว พบว่าการขนส่งน้ำมันทางรางมีค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักรวมสูงกว่าทางถนน คิดเป็นคะแนน 0.63 และ 0.37 ตามลำดับ</p> Thannin Manipakone Ackchai Sirikijpanichkul Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL47 TRL47 การศึกษาอัตราการให้บริการสูงสุด สำหรับหรับช่องเก็บค่าผ่านทางรถบรรทุก ในระบบระบบเปิด และระบบปิด https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/566 <p class="Contentnew" style="margin-right: 0in;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">หนึ่งในเหตุของปัญหาด้านการติดขัดของการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางในช่วงเวลาเร่งด่วนนั้น เกิดจากจำนวนช่องเก็บค่าผ่านทางมีความสามารถในการให้บริการน้อยกว่าปริมาณจราจรที่เข้าใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องเก็บค่าผ่านทางที่เปิดให้บริการสำหรับรถบรรทุก พบว่าในช่วงเวลาที่มีปริมาณรถบรรทุกจำนวนมากเข้าใช้บริการก่อให้เกิดแถวคอยบริเวณหน้าด่านฯ เป็นระยะทางที่ยาว</span></p> <p class="Contentnew" style="margin-right: 0in;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">การศึกษาครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นในการวิเคราะห์อัตราการให้บริการสูงสุด(คัน/ชม) ของช่องเก็บค่าผ่านทางสำหรับรถบรรทุก ที่มีอยู่บนระบบเปิดและระบบปิด โดยมีการเก็บสำรวจข้อมูลจากสองหน่วยงาน ได้แก่ กรมทางหลวง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า อัตราการให้บริการสูงสุด จะขึ้นกับสัดส่วนของประเภทรถบรรทุกที่เข้ามาใช้บริการ โดยเมื่อแยกประเภทรถบรรทุก ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขนาด 6 ล้อ 10 ล้อ และมากกว่า 10 ล้อ (รถกึ่งพวง และรถพ่วง) พบว่าค่าอัตราการให้บริการสูงสุดสำหรับรถบรรทุกแต่ละประเภท ในระบบเปิด คือ 365</span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">, <span lang="TH">310</span>, <span lang="TH">255</span>, <span lang="TH">และ 240 คัน/ชั่วโมง ตามลำดับ และ ในระบบปิด คือ 240</span>, <span lang="TH">205</span>, <span lang="TH">180</span>, <span lang="TH">และ 165 คัน/ชั่วโมง ตามลำดับ จะพบว่าความสามารถในการระบายรถบรรทุกในระบบเปิดมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบปิดในช่วงระหว่าง 25 </span>– <span lang="TH">30 %</span></span></p> นพคุณ บุญกระพือ พฤกษชาติ เผือกพิพัฒน์ นิตยา มหาชิโนรส Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL48 TRL48 ความสัมพันธ์ของจำนวนช่องเก็บผ่านทางรถบรรทุก กับสัดส่วนและปริมาณรถบรรทุกที่เข้าใช้บริการ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/568 <p class="Contentnew" style="margin-right: 0in;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการวิเคราะห์จำนวนการเปิดช่องเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางให้มีความเหมาะสมกับปริมาณและสัดส่วนรถบรรทุกที่เข้ามาใช้บริการด่านเก็บค่าผ่านทาง ด่านฯ ทับช้าง (ระบบเปิด) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองถูกใช้เป็นกรณีศึกษาในงานวิจัยนี้ มีการใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค</span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;"> (Aimsun)<span lang="TH"> ในการจำลองด่านฯ โดยใช้ข้อมูลด้านเวลาเฉลี่ยในการเข้ารับบริการและอัตราการให้บริการสูงสุดของรถบรรทุกแต่ละประเภทในการปรับเทียบแบบจำลองให้มีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง จากนั้นได้มีการแปรเปลี่ยนทั้งปริมาณและสัดส่วนของรถบรรทุกแต่ละประเภทที่เข้าใช้บริการ เพื่อวิเคราะห์ จำนวนช่องเก็บค่าผ่านทางที่เหมาะสมในการเปิดให้บริการ โดยผลลัพท์ที่ได้จากงานวิจัยได้มีพัฒนาต้นแบบ ตารางความล่าช้าที่คาดว่าเกิดขึ้นตามปริมาณและสัดส่วนของรถบรรทุกแต่ละประเภทที่เข้าใช้บริการ เพื่อเป็นเครื่องในการกำหนดการเปิดจำนวนช่องเก็บค่าผ่านทางรถบรรทุกได้อย่างเหมาะสม และส่งผลให้ลดความล่าช้า และแถวคอยบริเวณหน้าด่านฯ ลงได้</span></span></p> นพคุณ บุญกระพือ กฤษดา สกุลเต็ม วีรพงศ์ นวลจันทร์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 TRL49 TRL49 การศึกษาเชิงทดสอบคอนกรีตเสริม FRP rebars ภายใต้แรงอัดในแนวแกน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/87 <p><span class="s16">บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาเชิงทดสอบ</span><span class="s16">ของคอนกรีตเสริม </span><span class="s16">FRP rebars </span><span class="s16">ภายใต้แรงอัด</span><span class="s16">ในแนวแกน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมทางกล ลักษณะการวิบัติ</span> <span class="s16">และกำลังของ</span><span class="s16">คอนกรีตเสริม </span><span class="s16">FRP rebars</span><span class="s16"> และเพื่อเปรียบเทียบผลที่ได้กับผลการทดสอบดังกล่าวของคอนกรีตและคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีตัวอย่างทดสอบเป็นตัวอย่างทดสอบหน้าตัดก</span><span class="s16">ลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 </span><span class="s16">มม</span><span class="s16">. และสูง 300 </span><span class="s16">มม</span><span class="s16">. รวม 84</span><span class="s16"> ตัวอย่าง มีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาคือ กำลังอัดประลัยของคอนกรีตได้แก่ </span><span class="s16">300ksc</span> <span class="s16">350ksc</span> <span class="s16">400ksc</span><span class="s16"> และ</span><span class="s16"> 500ksc</span><span class="s16"> และร้อยละของพื้นที่หน้าตัดวัสดุเสริมกำลัง</span><span class="s16"> (steel rebars </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">FRP rebars) </span><span class="s16">ต่อพื้นที่หน้าตัดของคอนกรีต ได้แก่ 0</span><span class="s16">%</span> <span class="s16">2</span><span class="s16">.</span><span class="s16">56</span><span class="s16">%</span><span class="s16"> 3</span><span class="s16">.</span><span class="s16">84</span><span class="s16">% และ </span><span class="s16">5</span><span class="s16">.</span><span class="s16">12</span><span class="s16">% และเหล็กปลอกมีค่าคงที่เท่ากันทุกตัวอย่างทดสอบ จากการทดสอบ พบว่า ตัวอย่างทดสอบ</span><span class="s16">คอนกรีตเสริม </span><span class="s16">FRP rebars </span><span class="s16">มีพฤติกรรมการรับแรงแบบเชิงเส้นในช่วงแรกสูงถึง </span><span class="s16">6</span><span class="s16">0-80% ของกำลังรับแรงสูงสุด</span><span class="s16">คล้ายคลึงกับคอนกรีตเสริมเหล็ก และสูงกว่าคอนกรีต จากนั้น </span><span class="s16">จะเข้าสู่พฤติกรรมแบบไร้เชิงเส้น (</span><span class="s16">nonlinear) </span><span class="s16">จนถึงจุดรับแรงสูงสุดและมีกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบการวิบัติของ</span><span class="s16">คอนกรีตเสริม </span><span class="s16">FRP rebars</span><span class="s16"> มีลักษณะเปราะมากกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่น้อยกว่าคอนกรีต และสุดท้าย </span><span class="s16">FRP rebars </span><span class="s16">สามารถเพิ่มกำลังรับแรงอัดของ</span><span class="s16">คอนกรีตได้เพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 18</span><span class="s16">-</span><span class="s16">45</span><span class="s16">% </span><span class="s16">เมื่อเปรียบเทียบกับเหล็กเสริมที่เสริมกำลังคอนกรีตได้ 22</span><span class="s16">-</span><span class="s16">70</span><span class="s16">%</span></p> สิทธิชัย แสงอาทิตย์ รัฐพงศ์ ดาขวา ศตาวิชญ์ ศีลธรรมพิทักษ์ วิมลวรรณ ธิมา ภารดา น้อยนรินทร์ ณปภา กัญหา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR01 STR01 การศึกษาพฤติกรรมของคานคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดโครงข้อแข็งแบบเวียร์เรนเดล ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/100 <p><span class="s16">บทความนี้มุ่งเน้นเพื่อศึกษา พฤติกรรมกำลังรับแรงดัด และทำนายการแอ่นตัวของโครงสร้างคานคอ</span><span class="s16">นกรีตเสริมเหล็กชนิดโครงข้อแข็ง</span><span class="s16">แบบเวียร์เรนเดล</span> <span class="s16">เปรียบเทียบพฤติกรรมเมื่อแบ่งช่องว่าง</span><span class="s16">ระหว่างชิ้นส่วนในแนวตั้งของคาน</span><span class="s16">ต่างกัน เพื่อหาความเหมาะสมของลักษณะ</span><span class="s16">ชิ้นส่วนที่เหมาะสมของคาน</span><span class="s16">โครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้การวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธี </span><span class="s16">“</span><span class="s16">ไฟไนต์เอลิเมนต์</span><span class="s16">” </span><span class="s16">โดยโปรแกรม </span><span class="s16">SAP</span><span class="s16">2000</span><span class="s16">V.</span><span class="s16">21 สร้างแบบจำลอง คานคอนกรีตเสริมเหล็ก</span><span class="s16">ชนิด</span><span class="s16">โครงข้อแข็ง</span><span class="s16">แบบเวียร์เรนเดล</span><span class="s16"> กว้าง 2000 มม. ลึก 5250 มม. ยาว 24450 มม. ทั้งหมด 5 รูปแบบดังนี้ 1.</span><span class="s16">กรณี</span><span class="s16">ช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนในแนวตั้งของคาน</span><span class="s16"> 1 ช่อง</span><span class="s16">, </span><span class="s16">2.</span><span class="s16">กรณี</span><span class="s16">ช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนในแนวตั้งของคาน</span><span class="s16"> 2 ช่อง</span><span class="s16">, </span><span class="s16">3.</span><span class="s16">กรณี</span><span class="s16">ช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนในแนวตั้งของคาน</span><span class="s16"> 3 ช่อง</span><span class="s16">, </span><span class="s16">4.</span><span class="s16">กรณี</span><span class="s16">ช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนในแนวตั้งของคาน</span><span class="s16"> 6 ช่อง</span><span class="s16">, </span><span class="s16">5.</span><span class="s16">กรณี</span><span class="s16">ช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนในแนวตั้งของคาน</span><span class="s16"> 12 ช่อง ซึ่งในแต่ละชิ้นส่วนของโครงข้อแข็งประกอบด้วย คอร์ดบน-ล่าง ขนาด 2000</span><span class="s16">x</span><span class="s16">1000 มม. ชิ้นส่วน</span><span class="s16">ใน</span><span class="s16">แนวตั้ง</span><span class="s16">ของคาน</span><span class="s16">ขนาด 900</span><span class="s16">x</span><span class="s16">1</span><span class="s16">350 มม. กำหนด คานเป็นส่วนหนึ่งของ</span><span class="s16">องค์</span><span class="s16">อาคารโรงพยาบาล น้ำหนักบรรทุกคงที่(</span><span class="s16">DL) </span><span class="s16">2400 กก./ลบ.ม. น้ำหนักบรรทุกคงที่เพิ่มเติม(</span><span class="s16">SDL) </span><span class="s16">400 กก./ตร.ม. น้ำหนักบรรทุกจร(</span><span class="s16">LL) </span><span class="s16">400 กก./ตร.ม. ตัวคุณแรงรวม 1.4</span><span class="s16">DL+</span><span class="s16">1.4</span><span class="s16">SDL+</span><span class="s16">1.7</span><span class="s16">LL (</span><span class="s16">ตามมาตรฐาน </span><span class="s16">ACI </span><span class="s16">9.2.1) ออกแบบตามมาตรฐาน วสท. </span><span class="s16">ACI </span><span class="s16">318-14 ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมทางผู้เขียนพบว่า</span><span class="s16">ช่วงความเหมาะสมของรูปแบบช่องเปิด สำหรับคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เวียร์เรนเดล ขนาด</span><span class="s16">กว้าง 2000 มม. ลึก 5250 มม. ยาว 24450 มม.</span><span class="s16"> คือช่วงระหว่างรูปแบบที่ 3 </span><span class="s16">–</span><span class="s16"> รูปแบบที่ 4 ทั้งสองรูปแบบ</span><span class="s16">การเสียรูปมีค่าระหว่าง </span><span class="s16">2.24</span><span class="s16">-</span><span class="s16">1.30</span><span class="s16"> เซนติเมตร</span><span class="s16"> ส่วนรูปแบบที่5 </span><span class="s16">คานช่องว่าง 12 </span><span class="s16">ค่าการเสียรูปเพียง 0.96 เซนติเมตร แต่ผลของการมีชิ้นส่วนในแนวตั้งเยอะเกินไป จะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองและเป็นการเพิ่มมูลค่างานก่อสร้าง ในขณะที่ค่าการเสียรูปแตกต่างกันเพียง 1.28 เซนติเมตร</span></p> <p>&nbsp;</p> ปริยานุช ใหม่จันทร์ อานนท์พร สุวรรณพลาย อาทิตย์ เพชรศศิธร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR02 STR02 การประมาณค่าตัวแปรทางพลศาสตร์ของเจดีย์วัดอุโมงค์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ย้อนกลับจากวิธีประวัติเวลา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/145 <p><span class="s18">บทความนี้นำเสนอ การประมาณค่าทางพลศาสตร์ของ</span><span class="s18">องค์เจดีย์</span><span class="s18">วัดอุโมงค์ ดำเนินการวิจัยโดยทำการติดตั้งอุปกรณ์วัดความเร่งตอบสนองของ</span><span class="s18">องค์เจดีย์</span><span class="s18">ที่บริเวณยอด</span> <span class="s18">และฐานของ</span><span class="s18">องค์เจดีย์</span><span class="s18">เพื่อ</span><span class="s19">วัดความเร่งตอบสนอง</span><span class="s18">ของ</span><span class="s18">องค์เจดีย์</span><span class="s18"> ทั้งทิศเหนือ-ใต้ และ ทิศตะวันออก-ตะวันตก &nbsp;</span><span class="s18">หลังจากนั้น</span><span class="s18">ทำการ</span><span class="s18">ประมาณความถี่ธรรมชาติขององค์เจดีย์ในเบื้องต้นด้วยการ</span><span class="s18">วิเคราะห์ฟูเรี</span><span class="s18">ยร์</span> <span class="s18">และ</span><span class="s18">ใช้</span><span class="s18">วิธีการ</span><span class="s18">วิเคราะห์</span><span class="s18">ย้อนกลับ &nbsp;เพื่อทำการวิเคราะห์</span><span class="s18">หา</span><span class="s18">ค่าทางพลศาสตร์ของ</span><span class="s18">องค์เจดีย์</span><span class="s18">วัดอุโมงค์</span><span class="s18">อันได้แก่</span><span class="s18"> ค่าความถี่ธรรมชาติ และสัมประสิทธิ์ความหน่วง</span><span class="s18">ของ</span><span class="s18">องค์</span><span class="s18">เจดีย์</span> <span class="s18">จากการวิเคราะห์ดังกล่าวพบว่าค่าความถี่ธรรมชาติที่ได้จากการวิเคราะห์ฟูเรี</span><span class="s18">ยร์</span><span class="s18"> และค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการ</span><span class="s18">วิเคราะห์</span><span class="s18">ย้อนกลับมีค่าใกล้เคียงกัน</span></p> ปิติ ประทุมขำ ชินพัฒน์ บัวชาติ ชยานนท์ หรรษภิญโญ นเรเมต ตันติสุขุมาล Mitsuhiro Miyamoto Manabu Matsushima Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR03 STR03 ผลตอบสนองต่อแรงลมของอาคารหน้าตัดรูปวงกลมและวิธีการลดผลตอบสนอง โดยใช้มวลหน่วงปรับค่าและมวลน้ำหน่วงปรับค่า https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/120 <p class="s19">หอสูงหน้าตัดวงกลมเป็นอาคารที่มีรูปร่างอ่อนแอซึ่งมีการตอบสนองต่อแรงลมอย่างมาก การสั่นไหวของอาคารจากแรงลมอาจรบกวนความสบายของผู้อยู่อาศัยและสร้างความเสียหายต่อองค์อาคารที่ไม่ใช่โครงสร้าง จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมการสั่นสะเทือนที่เรียกกันว่า Dampers เพื่อช่วยควบคุมการตอบสนองของโครงสร้างต่อแรงสั่นไหว โดยการเพิ่มความหน่วงเทียบเท่าให้กับระบบโครงสร้างโดยรวม ซึ่งมีข้อดีกว่าวิธีการออกแบบทั่วไปคือ ลดการสิ้นเปลืองวัสดุโครงสร้างและไม่กระทบการออกแบบส่วนอื่น ๆโดยงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเพื่อหาสมการคำนวณโดยประมาณสำหรับการออกแบบพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของ อุปกรณ์ประเภทมวลหน่วง 2 ชนิดได้แก่ มวลหน่วงปรับค่า(TMD) และมวลน้ำหน่วงปรับค่า (TLD) และประเมินอัตราหน่วงที่เทียบเท่าของโครงสร้างที่ได้เพิ่มขึ้นจากการติดตั้งอุปกรณ์ ทำการออกแบบโครงสร้างกับตัวอย่างศึกษาคือ หอชมเมืองแห่งหนึ่ง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการออกแบบโครงสร้างโดยใช้ Dampers เปรียบเทียบกับวิธีการทั่วไป ซึ่งผลวิจัยพบว่าการออกแบบโครงสร้างโดยใช้อุปกรณ์ สามารถลดปริมาณงานก่อสร้างลงได้อย่างชัดเจน</p> <p>&nbsp;</p> พัฒน์ศิริ ใจก้าวหน้า วิโรจน์ บุญญภิญโญ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR04 STR04 พฤติกรรมฐานรากเสาเข็มเจาะบนพื้นลาดเอียงภายใต้แรงกระทำด้านข้าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/169 <p><span class="s20">พื้นที่ในภาคเหนือของประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหว จึงมีอาคารที่ก่อสร้างในบริเวณเชิงเขา และข้อคำถามเกี่ยวกับความแข็งแรงของฐานรากอาคารในการต้านทานแรงแผ่นดินไหวจะถูกถามบ่อยครั้งจากผู้เข้าใช้อาคาร งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงทางด้านข้างของเสาเข็มเจาะที่ก่อสร้างบนเชิงเขาโดยทำการทดสอบ โครงสร้างเสาเข็มเจาะที่ใช้ในการศึกษามีต้นแบบจากอาคารที่พักบุคลากร มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งเป็นอาคารที่ก่อสร้างบนเชิงเขา และทำการเปรียบเทียบผลการทดสอบกับผลการวิเคราะห์แบบจำลองเสาเข็มที่มีสปริงแทนแรงดันดินด้านข้าง ผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างเสาเข็มเจาะที่ทำการก่อสร้างบนเชิงเขาสามารถต้านทานแรงด้านข้างได้ดี และการวิเคราะห์เสาเข็มที่มีสปริงเป็นแรงดันดินด้านข้างซึ่งวิศวกรใช้ออกแบบเสาเข็มกันทั่วไปแสดงถึงพฤติกรรมของเสาเข็มได้</span><span class="s20">ในทางที่ปลอดภัย</span><span class="s20">ถึงแม้ว่าจะเป็นเสาเข็มบนพื้นลาดเอียง</span></p> วิทวัส คำทิพย์ สมบูรณ์ เซี่ยงฉิน ปรีดา ไชยมหาวัน ธนกร ชมภูรัตน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR05 STR05 การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูลาร์ที่มีส่วนอโลหะจากกระบวนการรีไซเคิลแผงวงจรไฟฟ้าเป็นส่วนผสม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/178 <p>ในปัจจุบันมีแนวคิดและความสนใจเกี่ยวกับการนำขยะพลาสติกที่เหลือจากกระบวนการผลิตแผงวงจรไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางหนึ่งคือการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์คอนกรีต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของส่วนที่เป็นอโลหะ(Non-metallic fraction, NMF) ที่ได้จากกระบวนการรีไซเคิลแผงวงจรไฟฟ้า ต่อสมบัติเชิงกายภาพและสมบัติเชิงกลของคอนกรีตมวลเบาเซลลูลาร์ โดยการนำ NMF มาแทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วนที่ร้อยละ 10-50 โดยน้ำหนัก มีการควบคุมความหนาแน่นของคอนกรีตสดที่ 700 และ1,000 กก./ม.<sup>3</sup> โดยมีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 ทุกส่วนผสม และสารทำฟองโฟมที่ได้จากการผสมกับน้ำสะอาดที่อัตราส่วน 1 : 40 มีความหนาแน่นเท่ากับ 50 กก./ม.<sup>3</sup> ผลการศึกษาพบว่าการแทนที่ทรายด้วย NMF ส่งผลให้ความหนาแน่นแห้งของคอนกรีตมวลเบาเซลลูลาร์มีความแปรปรวนไปจากความหนาแน่นควบคุมของคอนกรีตเพียงเล็กน้อย และยังส่งผลให้กำลังอัดรวมถึงการดูดซึมน้ำของคอนกรีตมวลเบาเซลลูลาร์มีค่าเพิ่มขึ้น การศึกษาแสดงให้เห็นว่าสามารถผลิตคอนกรีตมวลเบาเซลลูลาร์ โดยใช้ NMF แทนที่ทรายบางส่วน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ</p> กาญจนาวรรณ์ ปัญญาวีร์ สุพพัต ควรพงษากุล เปรมฤดี กาญจนปิยะ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR06 STR06 พฤติกรรมการดัดของคานเหล็กกล่องกลวงที่มีการเติมคอนกรีตบางส่วน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/179 <p><span class="s16">โดยทั่วไปการกรอกคอนกรีตในคานช่วยให้เพิ่มความสามารถในการรับกำลังของคานได้</span><span class="s16">อย่างมีนัย</span><span class="s16">สำคัญ</span> <span class="s16">เนื่องจากคอนกรีตเป็นส่วนช่วยให้ความสามารถในการรับแรงอัดซึ่งเป็นส่วนประกอบของการดัดของคานเหล็กกล่องกลวงเพิ่มขึ้น กล่าวคือเดิมที่คานไม่เสริมคอนกรีตนั้นเหล็กด้านรับแรงอัดจะรับแรงจนกระทั่งเหล็กเกิดการโก่งเดาะเฉพาะที่ ซึ่งถือเป็นกำลังสูงสุดที่คานสามารถต้านทานการดัดได้ ต่อเมื่อมีการกรอกคอนกรีตลงในคานแล้ว คอนกรีตก็จะช่วยรับแรงอัดดังกล่าว ส่งผลให้คานสามารถรับการดัดได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามยังพบว่ากำลังรับการดัดของคานกรอกคอนกรีตยังคงถูกควบคุมด้วยการโก่งเดาะเฉพาะที่ของเหล็กอยู่ดี นอกจากนี้งานวิจัยที่ผ่านมายังแสดงให้เห็นว่าการโก่งเดาะเฉพาะที่มักเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่มีแรงดัดสูงสุด </span><span class="s16">ดังนั้นการศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการดัดของคานเหล็กกล่องกลวงที่มีการกรอกคอนกรีตบางส่วน โดยมีแนวคิดในการลดน้ำหนักบรรทุกคงที่ที่อาจไม่มีผลต่อการรับกำลังดัดลง การกรอกคอนกรีตจะกรอกเฉพาะบริเวณกลางคานโดยคิดเป็นการกรอกคอนกรีต 50 เปอร์เซ็นต์ของความยาวคาน คานเหล็กที่ทั้งกรอกคอนกรีตเต็มความยาว กรอกคอนกรีต 50 เปอร์เซ็นต์ของความยาวคาน และไม่กรอกคอนกรีต</span> <span class="s16">ผล</span><span class="s16">การศึกษาพบว่า</span><span class="s16">การ</span><span class="s16">กรอกคอนกรีตในคานบางส่วน</span><span class="s16">เทียบกับ</span><span class="s16">คาน</span><span class="s16">เหล็กกล่องกลวง</span><span class="s16">พบว่าสามารถ</span><span class="s16">ช่วย</span><span class="s16">เพิ่มกำลังดัดได้สูงสุด</span> <span class="s16">1.379-1.615 ตัน-เมตร</span> <span class="s16">และ</span><span class="s16">อภิปรายผลในบทความนี้</span></p> นพดล สุยะหลาน ประกิต ชมชื่น Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR07 STR07 การพัฒนาคอนกรีตพรุนจากส่วนอโลหะที่ได้จากกระบวนการรีไซเคิลแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/185 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ส่วนอโลหะ (Non - Metallic Part, NMP) จากการรีไซเคิลแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นมวลรวมละเอียดเพื่อแทนที่มวลรวมละเอียดธรรมชาติในการผลิตคอนกรีตพรุนที่ 10% , 20% , 30% , 40% และ 50% ของน้ำหนักมวลรวมละเอียดธรรมชาติ และใช้มวลรวมหยาบ 2 ช่วงขนาด คือ 4 – 8 มิลลิเมตร และ 8 – 16 มิลลิเมตร เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกลและการซึมผ่านน้ำ เปรียบเทียบกับคอนกรีตพรุนทั่วไป จากการศึกษาพบว่าเมื่อใส่ส่วนอโลหะแทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วนทำให้มีกำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นได้ถึง 89 % เมื่อเทียบกับคอนกรีตพรุนที่แทนที่ด้วยมวลรวมละเอียดธรรมชาติ เนื่องจากผงอโลหะมีขนาดเล็กจึงเข้าไปแทนที่รูพรุนทำให้มีความพรุนลดลง และเมื่อรูพรุนของคอนกรีตนั้นลดลงจึงทำให้อัตราการซึมผ่านน้ำของคอนกรีตลดลงไปด้วย โดยปริมาณส่วนอโลหะแทนที่มวลรวมละเอียดที่เหมาะสม คือ 40% ในมวลรวมขนาด 4 – 8 มิลลิเมตร และ 20 % ในมวลรวมขนาด 8 – 16 มิลลิเมตร ของน้ำหนักมวลรวมละเอียด</p> กชกร ศรีวัฒนกุล สุพพัต ควรพงษากุล เปรมฤดี กาญจนปิยะ จักรพันธ์ เทือกต๊ะ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR08 STR08 ผลตอบสนองทางพลศาสตร์สำหรับเคเบิ้ลยึดโยงแผงโซล่าเซลล์ลอยน้ำเมื่อรับการกระตุ้นที่ปลายด้านบน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/198 <p><span class="s18">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลตอบสนองทางพลศาสตร์เนื่องจากการกระตุ้นที่ปลายด้านบนของเคเบิ้ลที่ใช้ในการยึดโยงระบบโซล่าเซลล์ลอยน้ำ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของเคเบิ้ลจะพัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการงานเสมือน การวิเคราะห์หาสภาวะสมดุลสถิตแบบไม่เป็นเชิงเส้นของเคเบิ้ลจะทำโดยอาศัยกระบวนการไฟไนต์เอลิเมนต์แบบไม่เป็นเชิงเส้น ผลตอบสนองของเคเบิ้ลเนื่องจากการกระตุ้นที่ปลายด้านบนจะคำนวณโดยวิธีการอินทิเกรตตามเวลาด้วยกระบวนการของ </span><span class="s18">Newmark</span><span class="s18"> เงื่อนไขของการกระตุ้นที่ปลายด้านบนทั้งในแนวราบและแนวดิ่งจะนำไปกำหนดรวมเข้ากับสมการการเคลื่อนที่ของระบบผ่านกระบวนการ </span><span class="s18">penalty </span><span class="s18">งานวิจัยนี้นำเสนอผลของการเปลี่ยนแปลงขนาดการกระตุ้นและความถี่ของการกระตุ้นที่มีต่อค่าผลตอบสนองทางพลศาสตร์ของเคเบิ้ล</span></p> ธนิยพรรธน์ ศรีมนตริภักดี การันต์ คล้ายฉ่ำ ชัยณรงค์ อธิสกุล สมชาย ชูชีพสกุล ชัยยุทธ ชินณะราศรี Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR09 STR09 เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติและวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับป้อมก่ออิฐโบราณของไทย: กรณีศึกษาป้อมมหากาฬ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/205 <p><span class="s17">งานวิจัยนี้</span><span class="s17">นำเสนอการจัดทำข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติร่วมกับ</span><span class="s17">วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์</span><span class="s17">สำหรับการอนุรักษ์ป้อมก่ออิฐโบราณของไทย โดยอาศัย</span><span class="s17">ป้อมมหากาฬ</span><span class="s17">เป็นกรณีศึกษา ข้อมูลดิจิทัลจำนวนมากของป้อมจะได้รับการจัดเก็บผ่าน</span><span class="s17">เครื่องสแกนวัตถุ 3 มิติ</span><span class="s17">แบบภาคพื้นดิน </span><span class="s17">ข้อมูล</span><span class="s17">ที่ได้มา</span><span class="s17">ทั้งหมดจะ</span><span class="s17">นำไป</span><span class="s17">ประมวลผล</span><span class="s17">เป็นแบบจำลองกลุ่มจุดพิกัด 3 มิติของป้อม โดยงานวิจัยนี้จะนำเสนอขนาดมิติและค่าระดับในสภาวะปัจจุบันตามทิศทางหลักของป้อมมหากาฬ นอกจากนี้จะนำตัวอย่างวัสดุก่อโบราณในตำแหน่งต่างๆของป้อมมาทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบหาค่าความหนาแน่นและกำลังรับแรงอัดของวัสดุก่อ จากนั้นจะอาศัยข้อมูลกลุ่มจุดพิกัด 3 มิติมาพัฒนาเป็นแบบจำลองสมมุติฐานซึ่งจะนำไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์ แผนภาพแสดงการกระจายความเค้นในตำแหน่งต่างๆจะจัดทำขึ้นเพื่อระบุบริเวณที่จะเกิดค่าความเค้นสูงสุดทั้งในด้านที่เป็นแรงอัดและในด้านที่เป็นแรงดึง ผลการประเมินการเสียรูปของป้อมอันเนื่องมาจากน้ำหนักบรรทุกคงที่และน้ำหนักบรรทุกจรจะนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติในสภาพปัจจุบัน โดยผลการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถใช้ประกอบการประเมินเสถียรภาพและติดตามสภาพโครงสร้างของป้อมมหากาฬได้ต่อไปในอนาคต</span></p> กันตภณ จินทราคำ พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย ก้องภพ วัชรเสวี ชัยณรงค์ อธิสกุล พรเกษม จงประดิษฐ์ สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR10 STR10 การออกแบบและประเมินสมรรถนะของจุดยึดติดตั้งฐานต้นแบบตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/213 <p><span class="s16">จากปัญหาการเสื่อมสภาพของตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษเดิมที่ติดตั้งใช้งานบนทางพิเศษจึงเป็นที่มาของการพัฒนาและออกแบบต้นแบบตู้เก็บค่าผ่านทางฯ ให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม แข็งแรงปลอดภัยและทันสมัย โดยการออกแบบตู้เก็บค่าผ่านทางฯ จะต้องคำนึงถึง</span><span class="s16">การป้องกัน</span><span class="s16">กรณีการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ให้รอบด้าน </span><span class="s16">จึงเป็นที่มาของการ</span><span class="s16">ออกแบบจุดยึดติดตั้งฐานต้นแบบตู้เก็บค่าผ่านทางฯ ในบทความ</span><span class="s16">นี้ได้กล่าวถึงกรณีรถบรรทุกขนาด </span><span class="s16">6 ล้อ </span><span class="s16">(</span><span class="s16">น้ำหนัก 15 ตัน</span><span class="s16">)</span><span class="s16"> มีการเฉี่ยวชนในทิศทางที่ 0 องศา และ 45 องศาซึ่งเป็นองศาที่อาจเกิดการเฉี่ยวชนขึ้นจริงกับตู้เก็บค่าผ่านทาง เพื่อคำนวณหาจุดยึดที่มีความสามารถในการต้านทานแรงกระทำต่อการเฉี่ยวชน และหาลักษณะการเสียรูปของจุดยึดในองศาการเฉี่ยวชนดังกล่าว ด้วยวิธี </span><span class="s16">Finite Element </span><span class="s16">ผ่านโปรแกรมการวิเคราะห์แบบจำลอง</span><span class="s16"> ซึ่งผลจากการวิเคราะห์แบบจำลองแสดงให้เห็นว่า สมรรถนะของจุดยึดติดตั้งฐานต้นแบบตู้เก็บค่าผ่านทางฯ สามารถต้านทานแรงกระทำจากการเฉี่ยวชนที่องศาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจากการเฉี่ยวชนจะเกิดแรงอัดที่ส่งผลต่อสลักเกลียวกับแผ่นเหล็กซึ่งทำให้เกิดการฉีกขยายของแผ่นเหล็กเพียงเล็กน้อยเท่านั้น</span></p> ธราดล หงส์อติกุล นันทวรรณ พิทักษ์พานิช เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR11 STR11 การตรวจวัดค่าสัมประสิทธิ์การกระจายแรงและค่าตัวคูณแรงกระแทกของสะพาน Box Beam และ Plank Girder ประเภทพื้นต่อเนื่องของกรมทางหลวง เพื่อปรับปรุงการออกแบบ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/243 <p><span class="s16">บทความนี้นำเสนอการศึกษาการตรวจวัดพฤติกรรมการรับแรงของสะพาน </span><span class="s16">Box Beam </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">Plank Girder </span><span class="s16">ประเภทพื้นต่อเนื่องของกรมทางหลวงภายใต้การจราจรปกติ โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์การกระจายแรง (</span><span class="s16">Girder Distribution Factor, GDF) </span><span class="s16">และค่าตัวคูณแรงกระแทก (</span><span class="s16">Impact Factor, IM) </span><span class="s16">เปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากมาตรฐานการออกแบบสะพาน </span><span class="s16">AASHTO </span><span class="s16">ผลการวิเคราะห์ความเครียดพบว่า </span><span class="s16">GDF </span><span class="s16">จะเพิ่มขึ้นตามระดับการยึดรั้งและมุมเฉียงของสะพานไม่ได้ขึ้นกับจำนวนช่วงต่อเนื่องของสะพาน ค่า </span><span class="s16">GDF </span><span class="s16">ที่คำนวณตาม </span><span class="s16">AASHTO LRFD (</span><span class="s16">2007 </span><span class="s16">SI) </span><span class="s16">ให้ค่าใกล้เคียงกับค่า </span><span class="s16">GDF </span><span class="s16">ของสะพานที่มีการยึดรั้งจากช่วงพื้นต่อเนื่องเพียงอย่างเดียวและไม่มีมุมเฉียง ส่วนค่า </span><span class="s16">GDF </span><span class="s16">ที่คำนวณตาม </span><span class="s16">AASHTO STANDARD (</span><span class="s16">2002) ให้ค่าใกล้เคียงกับค่า </span><span class="s16">GDF </span><span class="s16">ของสะพานที่มีการยึดรั้งเพิ่มเติมเนื่องจากทางเท้าและสะพานมีมุมเฉียง ในส่วนของ </span><span class="s16">IM </span><span class="s16">ผลการศึกษาเป็นไปในแนวทางเดียวกับ </span><span class="s16">GDF </span><span class="s16">กล่าวโดยสรุป การออกแบบสะพานประเภท </span><span class="s16">Box Beam </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">Plank Girder </span><span class="s16">ประเภทพื้นต่อเนื่อง ยังคงสามารถใช้สูตรการออกแบบของ </span><span class="s16">AASHTO </span><span class="s16">ได้ โดยสะพานที่มีการยึดรั้งสูง มีทางเท้า มีมุมเฉียงมาก ควรใช้สูตรการคำนวณ </span><span class="s16">GDF </span><span class="s16">ตาม </span><span class="s16">AASHTO STANDARD (</span><span class="s16">2002) ซึ่งให้ค่าใกล้เคียงความเป็นจริงและปลอดภัยกว่าสูตรของ </span><span class="s16">AASHTO LRFD (</span><span class="s16">2007 </span><span class="s16">SI)</span></p> วุฒิชัย อมรประสิทธิ์ผล ราชวัลลภ กัมพูพงศ์ อารักษ์ มณฑา วิกรินทร์ สอนถม อรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR12 STR12 พฤติกรรมของรอยต่อระหว่างคานเหล็กกล่องกลวงกับเสาเหล็กกล่องกลวงเติมคอนกรีต https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/251 <p>การเติมคอนกรีตลงในเสาเหล็กกล่องกลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรับแรงอัดขององค์อาคารเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมวิธีหนึ่ง เนื่องจากคอนกรีตที่เติมลงไปนั้นนอกจากจะรับกำลังอัดได้สูงตามความสามารถรับกำลังอัดของคอนกรีตแล้วยังมีกำลังสูงกว่ากำลังระบุเนื่องจากได้รับการโอบรัดสมบูรณ์โดยรอบด้วยเหล็กกล่อง อย่างไรก็ตาม การเติมคอนกรีตลงในเสาไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพรับแรงอัดในเสาเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อพฤติกรรมของรอยต่อระหว่างคานกับเสาด้วย การศึกษานี้ศึกษาผลของการเติมคอนกรีตลงในเสาที่มีต่อพฤติกรรมของรอยต่อระหว่างคานกับเสาเหล็กกล่องกลวงหน้าตัดปิดที่ความกว้างคานน้อยกว่าความกว้างเสาด้วยการทดสอบแบบคานยื่น ผลการศึกษาพบว่าการเติมคอนกรีตลงในเสาส่งผลต่อพฤติกรรมของรอยต่ออย่างมีนัยยะสำคัญ สตีฟเนสของรอยต่อเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่า และกำลังรับโมเมนต์ของรอยต่อเพิ่มขึ้นประมาณ 3.9 เท่าเมื่อเทียบกับรอยต่อที่เสาไม่ได้เติมคอนกรีต</p> ธีรพล รักษาศิล ประกิต ชมชื่น พนิดา สีมาวุธ ชลดา เลาะฟอ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR13 STR13 ผลกระทบของการเยื้องศูนย์ของคานต่อพฤติกรรมของรอยต่อระหว่างคานเหล็กกล่องกลวง กับเสาเหล็กกล่องกลวงกรอกคอนกรีต https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/252 <p>พฤติกรรมของรอยต่อระหว่างคานกับเสาเหล็กกล่องกลวงนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย งานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลอย่างมากคือการเยื้องศูนย์ของคานในกรณีที่ความกว้างคานน้อยกว่าความกว้างเสา กล่าวคือเมื่อคานเยื้องศูนย์เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ทั้งสตีฟเนสและกำลังต้านทานโมเมนต์ของรอยต่อสูงขึ้น การศึกษานี้มุ่งศึกษาถึงผลของการเยื้องศูนย์ของคานเหล็กกล่องกลวงที่ต่อกับเสาเหล็กกล่องกลวงเติมคอนกรีตที่มีต่อพฤติกรรมของรอยต่อคาน-เสาด้วยการทดสอบแบบคานยื่น โดยการทดสอบนั้นประกอบด้วยชิ้นทดสอบที่เติมและไม่เติมคอนกรีต ผลการศึกษาพบว่าการเติมคอนกรีตในเสาส่งผลให้สตีฟเนสเริ่มต้นของรอยต่อที่เติมคอนกรีตเพิ่มขึ้น 1.72 เท่า และกำลังต้านทานโมเมนต์ของรอยต่อที่เติมคอนกรีตเพิ่มขึ้น 2.62 เท่าเมื่อเทียบกับรอยต่อที่ไม่ได้เตมคอนกรีต</p> ธีรพล รักษาศิล ประกิต ชมชื่น พนิดา สีมาวุธ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR14 STR14 การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของโครงสร้างฐานรากแผ่ สำหรับพื้นที่ชั้นดินเหนียว และชั้นทราย กรณีศึกษา : โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (USO NET) ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/309 <p>งานวิจัยนี้ฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของโครงสร้างฐานรากแผ่ กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (USO NET) โดยสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาแรงกระทำที่เกิดขึ้นจริงต่อฐานรากแผ่ และหาค่ารับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของดินที่รองรับฐานรากแผ่ (Spread Foundation) ประเภทฐานรากสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตั้งแต่ระดับพื้นดิน จนถึงระดับความลึกในแต่ละระดับชั้น ด้วยวิธีการเจาะสำรวจดินด้วยหลุมเจาะ (Boring Test) โดยทำการจำแนกประเภทของดินเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ชั้นดินเหนียว และชั้นทราย ของจังหวัดในแถบพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อนำมาหาค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือ (Reliability Index) ของโครงสร้างฐานรากแผ่ อีกทั้งค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือเป้าหมาย (Target Reliability Index) จากการศึกษาพบว่าสามารถนำข้อมูลค่าดรรชนีความน่าเชื่อถือของโครงสร้างฐานรากแผ่ เพื่อไปใช้อ้างอิงหรือเป็นประโยชน์ในการก่อสร้างฐานรากแผ่ในเขตพื้นที่นั้นๆต่อไป</p> เพ็ญวิสุทธิ์ ยิ้มเเฉ่ง สหรัฐ พุทธวรรณะ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR15 STR15 การวิเคราะห์และออกแบบโครงถักจำลองด้วยวัสดุไม้ไอศกรีมโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/307 <p class="s18"><span class="s15">โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์และออกแบบโครงถักจำลองด้วยวัสดุไม้ไอศกรีมโดยใช้โปรแกรม </span><span class="s15">Microsoft Excel </span><span class="s15">โดยเริ่มจากการศึกษาคุณสมบัติของวัสดุ เลือกรูปแบบโครงถักที่สนใจ และทำการสร้างสูตรสำหรับใช้ในการวิเคราะห์โครงถักด้วยโปรแกรม </span><span class="s15">Microsoft Excel </span><span class="s15">จากนั้นนำโครงถักที่ได้เลือกไว้ทั้งสิ้น 9 รูปแบบ มาทำวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม </span><span class="s15">Microsoft Excel, </span><span class="s15">โปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูป แล้วทำการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แรงภายในโครงถัก ของทั้งสองโปรแกรม และทำการประกอบโครงถักจำลองด้วยวัสดุไม้ไอศกรีมเพื่อนำไปทดสอบรับน้ำหนักบรรทุก และทำการเปรียบเทียบค่าการโก่งตัวจากการทดสอบ กับการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม </span><span class="s15">Microsoft Excel </span><span class="s15">และโปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูป</span></p> <p class="s18"><span class="s15">ผลจากการเปรียบเทียบโครงถักที่แตกต่างกันทั้งหมดจำนวน 9 รูปแบบ ที่น้ำหนักบรรทุกที่ใช้ในการวิเครา</span><span class="s15">ห์</span><span class="s15">สูงสุดเท่ากับ 50 กิโลกรัม พบว่าค่าแรงภายในจากการวิเคราะห์โครงถักด้วยโปรแกรม </span><span class="s15">Microsoft Excel </span><span class="s15">และโปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูป นั้นมีค่าที่แตกต่างกันเฉลี่ยอยู่ที่ 1.21 กิโลกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 4.10 และได้ผลการเปรียบเทียบค่าการโก่งตัวจากการทดสอบ กับการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม </span><span class="s15">Microsoft Excel </span><span class="s15">และโปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูป มีค่าใกล้เคียงกัน ต่างกันอยู่เพียงแค่ร้อยละ 2.62 จากผลการเปรียบเทียบข้างต้นจึงสามารถสรุปได้ว่าโปรแกรม </span><span class="s15">Microsoft Excel </span><span class="s15">สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์และการออกแบบโครงถักจำลองด้วยวัสดุไม้ไอศกรีม จำนวน 9 รูปแบบ แทนการใช้โปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์สำเร็จรูปได้</span></p> อาทร ชูพลสัตย์ ณรงค์ กุหลาบ เดชา จันทสิทธิ์ ธนพล ทองคงหาญ ณัฐพงษ์ เกยพระยา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR16 STR16 ผลของแรงโอบรัดด้านข้างต่อความเหนียวของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/327 <p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยการให้แรงโอบรัดทางด้านข้าง เสาเหล็กกรอกคอนกรีตตัวอย่างจะถูกนำมาทดสอบเพื่อศึกษาสมรรถนะด้านความเหนียวซึ่งประกอบด้วย ตัวประกอบความเหนียว ตัวประกอบการดูดซับพลังงาน และดัชนีงาน ซึ่งคำนวณจากกำลังรับแรงอัด และความสัมพันธ์ระหว่างแรงและการหดตัวจากการทดสอบกำลังรับแรงอัด ตัวแปรหลักในการศึกษานี้คือ หน่วยแรงโอบรัดด้านข้าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0, 2.4, 4.8 และ 7.2MPa คิดเป็น 0%, 11.4%, 22.9% และ 34.3% ของกำลังอัดของแกนคอนกรีต ปลอกเหล็ก มอก. SM490 ขนาด 98x98x350 มิลลิเมตร ถูกนำมาใช้ทำเป็นปลอกเสาเพื่อโอบรัดแกนคอนกรีตซึ่งมีกำลังอัด 20.98MPa. การให้แรงทางโอบรัดทางด้านข้างจะกระทำผ่านแจ็คเก็ต ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มหน่วยแรงโอบรัดด้านข้าง 11.4%-34.3% ของกำลังอัดของแกนคอนกรีต ทำให้กำลังรับแรงอัดของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพิ่มขึ้น 3.0-19.3% อย่างไรก็ตามในช่วงที่มีการให้แรงโอบรัดด้านข้างต่ำกำลังรับแรงอัดของเสาตัวอย่างเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่า การเพิ่มหน่วยแรงโอบรัดด้านข้างแก่เสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยใช้แจ็คเก็ต ไม่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงสมรรถนะความเหนียวของเสาซึ่งแตกต่างจากกรณีหน้าตัดวงกลม</p> ภัทรจีรา ไตรวงค์ย้อย วัชรา โพธิ์สาวัง วัจน์วงค์ กรีพละ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR17 STR17 Post-Buckling Behavior of Variable-Arc-Length Pipe due to Internal Fluid Motion https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/416 <p>This paper presents the large deflection of variable-arc-length pipe transporting fluid under a compressive load. The set of nonlinear governing equations of the pipe is derived by considering the equilibrium of force and moment and the geometric relation of the differential pipe segment in two-dimension. The set of governing equations yields the nonlinear first-order differential equation, which corresponds to the two-points boundary value problem. The numerical solution is solved by using the shooting method. The present numerical result is found to be accurate when compares with the elliptic integral solution provided in the available literature. Three equilibrium states can be found from the load-displacement curve of the pipe including stable, unstable, and critical equilibrium states. The numerical results also indicate that the effect of the pipe weight and the compression load at the end cause to decrease the critical velocity of the transporting fluid.</p> Wichawat Nathabumrung Panithan Padthomfang Tanakorn Tima Karun Klaycham Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR18 STR18 การศึกษาเปรียบเทียบแบบจำลองกำลังรับแรงเฉือนของกำแพงเตี้ยคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายใต้แรงแผ่นดินไหว https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/616 <p><span class="s16">บทความนี้ได้รวบรวมและทำการประเมินวิธีการคำนวณออกแบบแรงเฉือนของกำแพงเตี้ยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลผลการทดสอบ 657 ข้อมูล ซึ่งครอบคลุมตัวแปรสำคัญ วิธีการ</span><span class="s16">คำนวณออกแบบแรงเฉือนประกอบไปด้วย</span><span class="s16">วิธีการตาม </span><span class="s16">ACI </span><span class="s16">318-19</span> <span class="s16">[8]</span> <span class="s16">Sánchez-Alejandre</span> <span class="s16">และ </span><span class="s16">Alcocer</span><span class="s16"> [12]</span> <span class="s16">Gulec</span> <span class="s16">และ </span><span class="s16">Whittaker</span><span class="s16">[13]</span> <span class="s16">Kassem</span><span class="s16">[14]</span> <span class="s16">Ning</span> <span class="s16">และ </span><span class="s16">Lee</span><span class="s16"> [15]</span> <span class="s16">Hwang </span><span class="s16">และคณะ</span><span class="s16">[16]</span> <span class="s16">Baghi</span> <span class="s16">และคณะ</span><span class="s16">[</span><span class="s16">17</span><span class="s16">]</span><span class="s16"> ผลการศึกษาพบว่า วิธีการของ </span><span class="s16">Gulec</span> <span class="s16">และ </span><span class="s16">Whittaker </span><span class="s16">สามารถทำนายกำลังรับแรงเฉือนของ</span><span class="s16">กำแพงเตี้ยคอนกรีตเสริมเหล็กได้ถูกต้องกว่าวิธีการอื่น โดยมีค่าสัมประสิ</span><span class="s16">ท</span><span class="s16">ธิ</span><span class="s16">์</span><span class="s16">ความแปรปรวนและค่าเฉลี่ยร้อยละของความคลาดเคลื่อน ต่ำที่สุด ในขณะที่วิธีการตาม </span><span class="s16">ACI </span><span class="s16">318-19 มีความไม่แน่นอนสูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า วิธีการคำนวณทั้งหมดนี้ ให้ผลการทำนายที่ต่ำกว่าผลการทดสอบ เมื่อกำแพงมีค่ากำลังอัดคอนกรีตต่ำ</span></p> วีระพงษ์ ชมชายผล ปนัสย์ชัย เชษฐ์โชติศักดิ์ จารึก ถีระวงษ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR19 STR19 ค่าสัมประสิทธิ์ผลตอบสนองแรงแผ่นดินไหวในทุกอำเภอของอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.1301/1302-61) https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/641 <p>บทความนี้นำเสนอแนวทางการคำนวณโดยวิธีแรงสถิตเทียบเท่าตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ. 1301/1302-61) เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์แรงแผ่นดินไหว (Cs) 926 อำเภอทั่วประเทศสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นหรืออ้างอิงสำหรับการออกแบบ โดยกำหนดข้อมูลเป็นอาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น คำนวณที่ความสูง 6 เมตรและอาคารสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ชั้น คำนวณที่ความสูง 50 เมตร ความสำคัญอาคารแบ่งเป็นน้อย ปกติ สูงและสูงมาก ระบบโครงสร้างที่ใช้ประกอบด้วย โครงต้านแรงดัดเหล็กความเหนียวธรรมดา เหนียวปานกลาง และเหนียวพิเศษ ผลที่ได้คือค่า Cs ของ 925 อำเภอ ประเภทการออกแบบ ระบบโครงสร้างที่อนุญาตหรือห้ามใช้ และนำมาสรุปเป็นภาพรวมบริเวณที่จะต้องออกแบบอาคารต้านทานแรงแผ่นดินไหวในแต่ละภูมิภาคซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวง พ.ศ. 2550 เป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องให้มีความง่ายในการนำไปใช้งานต่อไป</p> สิวะลักษมณ์ ขำนุรักษ์ สรกานต์ ศรีตองอ่อน Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR20 STR20 การศึกษาเปรียบเทียบแบบจำลองความสัมพันธ์ของโมเมนต์และมุมหมุนพลาสติก ของเสาเหล็กหน้าตัดปีกกว้างรับแรงในแนวแกนร่วมกับโมเมนต์ดัด เมื่อใช้แบบจำลองจากมาตรฐาน ASCE41-13 และ ASCE41-17 https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/655 <p class="Contentnew"><span class="s12">บทความนี้ได้ทำการศึกษาแบบจำลองจุดหมุนพลาสติกที่ใ</span><span class="s12">ช้</span><span class="s12">ในการวิเคราะห์ด้วยวิธีสถิตไม่เชิงเส้นของชิ้นส่วนเสาเหล็กหน้าตัดปีกกว้างเมื่อรับแรงในแนวแกนร่วมกับโมเมนต์ดัดตามมาตรฐาน </span><span class="s12">ASCE41-13 </span><span class="s12">และ </span><span class="s12">ASCE41-17 </span><span class="s12">โดยการศึกษาเปรียบเทียบเสาหน้าตัดปีกกว้างจำนวน 10 หน้าตัดจะพบว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญและส่งผลต่อแบบจำลองจุดหมุนพลาสติกในเสาประกอบด้วย 1) ขนาดหน้าตัดของเสา 2) ความยาวของชิ้นส่วนเสาที่ปราศจากการค้ำยัน และ 3) อัตราส่วนแรงในแนวแกน การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าแบบจำลองจุดหมุนพลาสติกในเสาเหล็กหน้าตัดปีกกว้างที่อ้างอิงตามมาตรฐาน </span><span class="s12">ASCE41-13 </span><span class="s12">จะไม่ได้ให้ค่าความสัมพันธ์ของโมเมนต์และมุมหมุนพลาสติกในเสาที่อนุรักษ์กว่าค่าความสัมพันธ์ของโมเมนต์และมุมหมุนพลาสติกที่อ้างอิงตามมาตรฐาน </span><span class="s12">ASCE41-17 </span><span class="s12">เสมอไป เสาเหล็กหน้าตัดปีกกว้างที่มีหน้าตัดตั้งแต่ </span><span class="s12">W300x150x36.7 </span><span class="s12">กก.</span><span class="s12">/</span><span class="s12">ม.</span><span class="s12"> และขนาดเล็กกว่าลงไป มาตรฐาน </span><span class="s12">ASCE41-1</span><span class="s12">7</span> <span class="s12">อาจ</span><span class="s12">จะมีความอนุรักษ์กว่า </span><span class="s12">ASCE41-13</span></p> เพทาย อุดมการเกษตร เมธี บุญพิเชฐวงศ์ ธันยดา พรรณเชษฐ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR21 STR21 A Study of the Reinforcement of Steel Plates into RC Cantilever Stairs to Reduce Vibration Effects from Human Walking Activities https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/671 <p>Static loadings resistance is always the first design criteria. However, further investigation should also be conducted for a structure like floors, bridges, and stairs which are subjected to dynamic loadings in the form of human activities such as walking, running, or jumping; these loadings often result in vibrational effects associated with the user’s comfort. While most researches were mostly about walking force on flat surfaces, this study will mainly focus on reinforced concrete cantilever staircase which has been reported to encounter a significant level of vibration due to periodic walking motion. Therefore, this paper presents the attempt to study the characteristics and response of RC cantilever stair design once being subjected to human-induced vibration and to propose the application of extra reinforcing steel used to lessen the dynamic effects. Numerical analysis is done on an RC cantilever stairs model having dimensions of 100 centimeters in length, and 25<strong>&nbsp;</strong>centimeters in width. To keep the concept of “modern” structures, the thickness is maintained to be only 10 centimeters. Both ascending and descending motions are performed, and acceleration data is collected for evaluation. For the proposed reinforcement measures to be proven effective, several parameters must satisfy the recommended design criteria which are shear force, bending moment, deflection, and acceleration. The benefits of implementing this project are reducing user’s discomfort due to vibration within the staircase structure by introducing innovative reinforcement patterns while still maintaining slender dimensions as specified in the architectural plans.</p> <p>Keywords: RC cantilever stair, human walking load, vibration on stair, human comfort vibration</p> Lythean Mao Sopheak Seng Amornchai Jaiyong Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR22 STR22 การศึกษาจุดเชื่อมต่อทางแนวดิ่งของผนังรับแรงคอนกรีตสำเร็จรูปที่ถูกใช้ในอาคารพักอาศัยภายใต้แรงถอน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/683 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการถอน และประเมินสมรรถนะของจุดเชื่อมต่อทางแนวดิ่งของผนังรับแรงคอนกรีตสำเร็จรูป จุดเชื่อมต่อทางแนวดิ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบันและได้ทำการศึกษามี 2 รูปแบบซึ่งประกอบด้วย จุดเชื่อมต่อโดยใช้เหล็กข้ออ้อย (Dowel connection) และจุดเชื่อมต่อโดยการเชื่อมเหล็กเส้นกับแผ่นเหล็ก (Plate connection) ผนังคอนกรีตที่ใช้ทดสอบมีขนาดหน้าตัด 1200mm x600mm ความหนา 100 mm ติดตั้งเหล็กตะแกรง 6mm@100mm เป็นเหล็กเสริมตรงกลางความหนาผนัง และมีเหล็กเสริมพิเศษ 1-DB12 รัดรอบเพื่อป้องกันการแตกร้าว จุดเชื่อมต่อของผนังทั้ง 2 รูปแบบมีการเชื่อมต่อโดยใช้เหล็กเสริมขนาด DB12 สำหรับใช้ในการทดสอบการถอนของจุดเชื่อมต่อผนัง ผลที่ได้จากการทดสอบคือ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงถอนกับระยะการเคลื่อนตัวซึ่งวัดโดยอุปกรณ์ LVDT ที่ติดตั้งบนหัวของเหล็กเสริม ตัวแปรที่ทำการศึกษาคือ รูปแบบของจุดเชื่อมต่อ และระยะฝังต่าง ๆ ของเหล็กเสริมที่ใช้ในจุดเชื่อมต่อแต่ละแบบ จากผลการศึกษาพบว่าแรงถอนสูงสุดจะเพิ่มขึ้นเมื่อระยะฝังเพิ่มมากขึ้น โดยงานวิจัยนี้ช่วยให้ผู้ออกแบบเข้าพฤติกรรมการถอน รูปแบบการวิบัติจากการถอน และให้ทราบถึงระยะฝังที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบต่อไป&nbsp;</p> สุรัตน์ เสมสวัสดิ์ ชูชัย สุจิวรกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR23 STR23 การวิเคราะห์อุณหภูมิของหน้าตัดคอนกรีตเสริมเหล็กที่สัมผัสกับไฟ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/620 <p><span class="s19">บทความ</span><span class="s19">นี้ได้เสนอการวิเคราะห์อุณหภูมิในสภาวะชั่วครู่แบบไร้เชิงเส้น 2 มิติ</span><span class="s19">เพื่อศึกษาการกระจายอุณหภูมิของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก</span> <span class="s19">การศึกษาเป็นการสร้าง</span><span class="s19">แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์</span><span class="s19">โดยใช้โปรแกรม </span><span class="s19">ANSYS</span> <span class="s19">ใน</span><span class="s19">แบบจำลองใช้คุณสมบัติเชิงความร้อน ประกอบด้วย สภาพการนำความร้อน ความร้อนจำเพาะ และความหนาแน่น อ้างอิงจากมาตรฐาน </span><span class="s19">EN-</span><span class="s19">1992-1-2</span> <span class="s19">งานวิจัยนี้มี</span><span class="s19">จุดประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการทนไฟของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก</span><span class="s19">ที่สัมผัสความร้อนตามมาตรฐาน </span><span class="s19">ISO 834 </span><span class="s19">ภายใต้เกณฑ์อุณหภูมิวิกฤติที่ตำแหน่งเหล็กเสริมเป็นเกณฑ์ โครงสร้างที่ศึกษาประกอบด้วย โครงสร้าง</span><span class="s19">คาน พื้น และเสา</span><span class="s19"> โดยใช้ระยะหุ้มเหล็กตาม</span><span class="s19">ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 60 พ.ศ. 2549</span><span class="s19"> เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมระยะหุ้มคอนกรีตต่ออัตราการทนไฟที่กฎกระทรวงกำหนด</span> <span class="s19">จากผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองมีผลการกระจายตัวของอุณหภูมิที่สอดคล้องกับผลการทดสอบในอดีต และระยะหุ้มคอนกรีตตาม</span><span class="s19">กฎกระทรวง</span><span class="s19">ให้ค่าอัตราการทนไฟที่สอดคล้องตามที่กฎกระทรวงกำหนด</span></p> ณัฐนุช พูนปาน ปาณัสม์ อุปละ สพลเชษฐ์ อัตตะการอังกูร ชนะชัย ทองโฉม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR24 STR24 ผลของแรงโอบรัดด้านข้างต่อรูปแบบการวิบัติของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/707 <p><span class="s22">บทความนี้</span><span class="s22">มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรั</span><span class="s22">ส</span><span class="s22">โดยการให้แรงโอบรัดทางด้านข้าง </span><span class="s22">ตัวอย่าง</span><span class="s22">เสาเ</span><span class="s22">หล็กกรอก</span><span class="s22">คอนกรีตจะถูกนำมาทดสอบเพื่อศึกษา</span><span class="s22">กำลัง</span><span class="s22">และรูปแบบการวิบัติ</span><span class="s22">ภายใต้การรับแรงอัดตามแนวแกน</span> <span class="s22">ตัวแปรหลักในการศึกษานี้คือ หน่วยแรงโอบรัดด้านข้าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ </span><span class="s22">0, 2.4, 4.8 and 7.2</span> <span class="s22">MPa </span><span class="s22">คิดเป็น </span><span class="s22">0%, 11.4%, 22.9% </span><span class="s22">และ </span><span class="s22">34.3%</span><span class="s22">ของกำลังอัดของแกนคอนกรีต ปลอกเหล็ก </span><span class="s22">มอก</span><span class="s22">. SM490 </span><span class="s22">ขนาด</span><span class="s22"> 98x98x350 </span><span class="s22">มิลลิเมตร ถูกนำมาใช้ทำเป็นปลอกเสาเพื่อโอบรัดแกนคอนกรีตซึ่งมีกำลังอั</span><span class="s22">ด </span><span class="s22">20.98</span> <span class="s22">MPa. </span><span class="s22">การให้แรงทางโอบรัดทางด้านข้างจะกระทำผ่าน</span><span class="s22">แจ็ค</span><span class="s22">เก็ต</span><span class="s22"> ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า</span><span class="s22">การเพิ่มหน่วยแรงโอบรัดด้านข้าง 11.4%-34.3% ของกำลังอัดของแกนคอนกรีต ทำให้กำลังรับแรงอัดของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพิ่มขึ้น 3.0</span><span class="s22">1</span><span class="s22">-19.</span><span class="s22">21</span><span class="s22">% </span><span class="s22">สาเหตุ</span><span class="s22">หลัก</span><span class="s22">ของ</span><span class="s22">การวิบัติ</span><span class="s22">เกิดจาก</span><span class="s22">การวิบัติแบบเฉือนในแกนคอนกรีตดันให้</span><span class="s22">ปลอกเหล็กโก่งออกด้าน</span><span class="s22">นอก</span> <span class="s22">นอกจากนี้ ยังพบว่า </span><span class="s22">หน่วยแรงโอบรัดด้านข้าง</span><span class="s22">ส่งผลให้ระนาบการวิบัติ</span><span class="s22">ของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตเ</span><span class="s22">ป</span><span class="s22">ลี่ยนไป</span> <span class="s22">โดยระนาบวิบัติทำมุมกับแนวราบต่ำสุดเมื่อ</span><span class="s22">ให้หน่วยแรงโอบรัดด้านข้างเท่ากับ </span><span class="s22">11.4% </span><span class="s22">ของกำลังอัดของแกนคอนกรีต</span></p> วัชรา โพธิ์สาวัง เปรมปรีดา กงนะ วัจน์วงค์ กรีพละ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR25 STR25 ผลตอบสนองไม่เป็นเชิงเส้นทางสถิตศาสตร์และการสั่นอิสระของโครงสร้างเปลือกบางครึ่งใบ รูปทรงห่วงยางรับแรงดัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/716 <p>บทความนี้เสนอผลตอบสนองไม่เป็นเชิงเส้นทางสถิตศาสตร์และการสั่นอิสระของโครงสร้างเปลือกบางครึ่งใบรูปทรงห่วงยางรับแรงดันโดยใช้ทฤษฏีเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ ฟังก์ชันพลังงานของระบบโครงสร้างได้โดยใช้หลักการของงานเสมือนในเทอมของค่าการเสียรูป การหาค่าการเสียรูปและค่าความถี่ธรรมชาติจะสามารถทำได้โดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ผลการศึกษาเชิงตัวเลขพบว่ารูปร่างของโครงสร้างเปลือกบางครึ่งใบรูปทรงห่วงยางรับแรงดันคงที่จะเกิดลักษณะความไม่ต่อเนื่องของค่าการเสียรูปที่จุดบนสุดของโครงสร้าง นอกจากนั้นยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงค่าของความหนา และความยาวรัศมีของรูปหน้าตัดทรงโดนัทจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าการเสียรูปและค่าความถี่ธรรมชาติ</p> คมกร ไชยเดชาธร จีรศักดิ์ สุพรมวัน กิ่งสมร ทิพย์โยธา วีรพันธุ์ เจียมมีปรีชา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR26 STR26 พฤติกรรมโครงสร้างจุดต่อพื้น-เสาเสริมหมุดเหล็กภายใต้แรงด้านข้างแบบวัฏจักร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/719 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมตัวอย่างทดสอบโครงสร้างอาคารขนาดจริงของจุดต่อแผ่นพื้นและเสาที่ตั้งอยู่บริเวณกลางพื้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว แผ่นพื้นทดสอบเป็นแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรง (Post-Tension) ที่ติดตั้งลวดอัดแรงภายในแผ่นพื้นทดสอบจำนวน 8 เส้น ซึ่งมีค่า Pre-compression2.3 MPa และ เสริมกำลังด้วยหมุดเหล็ก (Stud rail) ในลักษณะเป็นมุมฉาก (Orthogonal layout) เพื่อต้านทานแรงเฉือนทะลุ ตามมาตรฐาน ACI 318 การทดสอบจะกระทำในลักษณะ Displacement-controlled method โดยออกแรงกระทำด้านข้างแบบวัฏจักร (Cyclic loading test) จนกระทั่งเกิดการวิบัติ จากการทดสอบสามารถหาความสัมพันธ์ของระยะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างชั้นและแรงที่กระทำด้านข้าง ในรูปแบบของกราฟ Hysteretic ซึ่งพบว่าตัวอย่างทดสอบมีความเหนียวสามารถต้านทานต่อการเฉือนทะลุ โดยมีค่าอัตราส่วนการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างชั้น (Drift ratio) ประมาณ 7.5% ที่จุดวิบัติ การเสริมกำลังแผ่นพื้นทดสอบด้วยหมุดเหล็ก (Stud rail) สามารถเพิ่มความเหนียวให้กับตัวอย่างทดสอบทดสอบได้อย่างมีนัยสำคัญ</p> ธนกร ขุนฤทธิ์ พิสณฑ์ อุดมวรรัตน์ ณัฐวุฒิ ธนศรีสถิตย์ อดิศร โอวาทศิริวงศ์ อํานาจ คําพานิช Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR27 STR27 การประเมินเสถียรภาพอิลาสติกคาที่มีความยาวส่วนโค้งแปรเปลี่ยนได้แบบปลายยึดแน่นโดยอาศัยแรงภายนอก: ผลเชิงทฤษฎีและการทดลอง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/67 <p>บทความนี้เป็นการนำเสนอการศึกษาเสถียรภาพของอิลาสติกคาภายใต้สนามของแรงโน้มถ่วงของโลก โดยอาศัยแรงในแนวราบกระทำที่กึ่งกลางของอิลาสติกคา ปลายด้านหนึ่งเป็นแบบยึดแน่นในขณะที่ปลายอีกด้านหนึ่งของอิลาสติกคาสามารถเพิ่มความยาวได้ผ่านจุดรองรับแบบสลีฟ (sleeve support) ที่กึ่งกลางของอิลาสติกคา มีแรงในแนวราบกระทำเพื่อทดสอบเสถียรภาพของอิลาสติกคาโดยการสังเกตเครื่องหมายของสติฟเนสของอิลาสติกคาต่อแรงในแนวราบ สมการอนุพันธ์ครอบคลุมปัญหาประกอบไปด้วย สมการสมดุลของชิ้นส่วนย่อยของอิลาสติกคา ความสัมพันธ์ระหว่างโมเมนต์และความโค้ง และความสัมพันธ์ทางด้านเรขาคณิตของอิลาสติกคา ผลเฉลยของปัญหาสามารถคำนวณได้โดยใช้วิธียิงเป้า โดยการอินทิเกรตสมการอนุพันธ์ครอบคลุมปัญหาโดยวิธีเชิงตัวเลขแบบรุงเง-คุตตาให้สอดคล้องกับเงื่อนไขขอบเขตที่กำหนด ผลที่ได้จากการคำนวณเชิงตัวเลขจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับผลการทดลอง จากการศึกษาพบว่าแรงโน้มถ่วงของโลกซึ่งอยู่ในรูปน้ำหนักของอิลาสติกคาสามารถทำให้เกิดการสูญเสียเสถียรภาพได้เมื่อความยาวส่วนโค้งทั้งหมดเพิ่มขึ้นจนเกินค่าวิกฤติ และจากการทดลองโดยใช้วัสดุแผ่นโพลีคาร์บอเนตที่มีความยืดหยุ่นสูงให้ค่าสอดคล้องและเป็นไปตามผลการคำนวณเชิงทฤษฎี</p> ฑีรยุทธ สมสุข บุญชัย ผึ้งไผ่งาม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR28 STR28 การหาความเหมาะสมของการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณด้วยวิธีความน่าเชื่อถือ สำหรับอาคารโครงการศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (USO Net) https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/129 <p><span class="s19">การวิเคราะห์หาความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารในประเทศไทยใช้ข้อกำหนด</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">CODE) </span><span class="s19">และมาตรฐานการออกแบบ</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">STANDARD DESIGN)</span><span class="s19"> เช่น </span><span class="s19">ACI Code, ASCE, AISC, EURO Code </span><span class="s19">และ วสท.</span><span class="s19">,</span><span class="s19">มยผ.</span><span class="s19">,</span><span class="s19">เทศบัญญัติ กทม.เป็นต้น</span> <span class="s19">เพื่อใช้หาค่าผลการคำนวณออกแบบที่เป็นแบบรูปรายการรวมทั้งรายการประกอบแบบทางโครงสร้างต่าง</span> <span class="s19">ๆ โดยผลลัพธ์ที่ได้นั้นมาจากเงื่อนไขการออกแบบ</span><span class="s19">(</span><span class="s19">Criteria Condition) </span><span class="s19">และควบคุมกระบวนการคำนวณหาตัวเลขด้วยค่าตัวคูณเพิ่มน้ำหนัก</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">Load Factor)</span> <span class="s19">กับค่าตัวคูณลดกำลังต้านทาน</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">Resistance Factor)</span> <span class="s19">ค่าการโก่งตัวที่ยอมให้และการตรวจสอบสอบความมั่นคงของโครงสร้าง</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">Stability)</span> <span class="s19">ซึ่งเป็นการคำนวณออกแบบด้วยสภาวะขีดจำกัด</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">Limit State) </span><span class="s19">การวิเคราะห์หาความน่าเชื่อถือของโครงสร้าง</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">Reliability of Structure) </span><span class="s19">นั้นเป็นการใช้การวิเคราะห์หาความน่าจะเป็นของความปลอดภัยของโครงสร้าง</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">Probability of Survival) </span><span class="s19">โดยมองที่ความน่าจะเป็นที่จะเกิดการวิบัติ</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">Probability of Failure) </span><span class="s19">ที่เป็นค่าตรงข้ามกันถ้ารวมกันแล้วต้องมีค่าเท่ากับ 1 และควบคุมด้วยค่าดัชนีความน่าเชื่อถือ</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">Reliability Index) </span><span class="s19">เมื่อคำนวณได้ค่าออกมาแล้วต้องไม่เกินค่าดัชนีความน่าเชื่อถือเป้าหมาย(</span><span class="s19">Reliability Index Target) </span><span class="s19">ที่กำหนดวางไว้ ซึ่งอาศัยการรวบรวมข้อมูลจากทางหน้างานที่มีการก่อสร้างมาเข้ารูปแบบตารางสถิติแล้วหาค่าพารามิเตอร์ทางสถิติที่ต้องใช้ในสมการเพื่อคำนวณต่อไปได้แก่ ค่าเฉลี่ย(</span><span class="s19">Mean) </span><span class="s19">ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(</span><span class="s19">Standard Deviation) </span><span class="s19">ค่าความแปรปรวน(</span><span class="s19">Covariance) </span><span class="s19">ค่าเอนเอียง(</span><span class="s19">Bias)</span></p> พันกฤษ โยธินธนะรัชต์ สหรัฐ พุทธวรรณะ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR29 STR29 กรณีศึกษาการปฏิบัติตามมาตรฐานการตรวจสอบ การประเมิน การซ่อมแซม และการเสริมความมั่นคงแข็งแรง โครงสร้างอาคารเก่า และโครงสร้างอาคารที่เสียหาย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/144 <p>กรมโยธาธิการและผังเมืองได้มีการจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบ การประเมิน การซ่อมแซม และการเสริมความมั่นคงแข็งแรง โครงสร้างอาคารเก่า และโครงสร้างอาคารที่เสียหาย (มยผ. 1902-62) ขึ้น โดยบทความนี้จะเป็นกรณีศึกษาการตรวจสอบ การประเมิน และแนะนำวิธีการซ่อมแซมโครงสร้างอาคารที่เสียหายตามแนวทางของมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งจะแสดงผลการดำเนินการตรวจสอบโครงสร้างอาคาร การประเมินระดับ ความเสียหายของโครงสร้างอาคารตามสมรรถนะโครงสร้าง และแนะนำวิธีการซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร สำหรับการดำเนินการดังกล่าว จะมีกรณีศึกษา 3 กรณี ได้แก่ โครงสร้างอาคารที่ทรุดตัว โครงสร้างที่เสียหายเนื่องจากคลอไรด์ และโครงสร้างอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ จากผลการตรวจสอบ การประเมิน และแนะนำวิธีการซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร โดย 3 กรณีศึกษา พบว่ากรณีโครงสร้างอาคารที่ทรุดตัว มีความปลอดภัยในการใช้งาน แต่ต้องดำเนินการซ่อมแซมและเสริมความมั่งคงแข็งแรง เพื่อให้สามารถใช้งานอาคารได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น กรณีโครงสร้างที่เสียหาย เนื่องจากคลอไรด์ จะต้องระงับการใช้งานอาคาร เพื่อซ่อมแซมโครงสร้างส่วนที่เสียหาย กรณีโครงสร้างอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ไม่สามารถใช้งานอาคารได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะต้องระงับการใช้งานอาคาร เพื่อดำเนินการรื้อถอนต่อไป โดยผลจากการตรวจสอบ การประเมิน และแนะนำการซ่อมแซม สามารถใช้เป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติได้ กรณีที่พบโครงสร้างที่เสียหายในลักษณะดังกล่าว</p> สุวัฒน์ รามจันทร์ วงศกร พงษ์ภักดี ทยากร จันทรางศุ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR30 STR30 ประสิทธิภาพการรับแรงบิดของคานคอนกรีตกำลังอัดต่ำเสริมแรงด้วย แผ่นเหล็กเหนียวอัดแรงรัดรอบภายหลัง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/182 <p><span class="s22">งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพการรับแรงบิดของคานคอนกรีต</span><span class="s22">กำลัง</span><span class="s22"> &nbsp; </span><span class="s22">อัดต่ำ</span><span class="s22">เสริมแรงด้วยแผ่นเหล็กเหนียวอัดแรงรัดรอบภายหลัง</span> <span class="s22">ซึ่งแรงบิด</span><span class="s22">ที่เกิดขึ้นในอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทำให้โครงสร้างเกิดความเสียหาย อาจเกิดจากการรับน้ำหนักบรรทุกที่กระทำเยื้องศูนย์ หรือเกิด&nbsp;</span><span class="s22">จากแผ่นดินไหว</span> <span class="s22">ทำให้โครงสร้างเกิดการบิด โดยการทดสอบจะประกอบ</span><span class="s22">ไปด้วย</span> <span class="s22">ตัวอย่างคานคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน </span><span class="s22">4</span><span class="s22"> คาน ตัวแปรที่ทำการศึกษา คือ คอนกรีตที่มีค่ากำลังอัดต่ำเท่ากับ </span><span class="s22">15 MPa</span> <span class="s22">ระยะห่างของเหล็กปลอก (5</span><span class="s22">0</span><span class="s22"> และ 1</span><span class="s22">0</span><span class="s22">0 </span><span class="s22">มม.</span><span class="s22">) ระยะห่างของการรัดรอบเสริมกำลังโดยแผ่นเหล็กเหนียว</span><span class="s22">อั</span><span class="s22">ดแรง ผลการทดสอบที่จะทำการนำเสนอ ได้แก่ การวิบัติของแรงบิดในคานคอนกรีตเสริมเหล็กและมุมบิด, ค่าน้ำหนักสูงสุดและรูปแบบการวิบัติ, รูปแบบและพฤติกรรมรอยร้าว, การวิเคราะห์พฤติกรรมการแอ่นตัวของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก</span></p> ณัฐพร คันทะประดิษฐ์ อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ ทนงศักดิ์ อิ่มใจ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR31 STR31 ศึกษาค่าตัวประกอบปรับผลการตอบสนองที่เหมาะสมสำหรับหอถังสูง ที่รองรับด้วยผนังคอนกรีตเสริมเหล็กแบบทรงกระบอกกลวงในประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/184 <p>ปัจจุบันการออกแบบโครงสร้างอาคารเพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหวในประเทศไทยอ้างอิงตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1301/1302-61) ซึ่งได้กำหนดค่าตัวประกอบปรับผลตอบสนอง (<em>R</em>) ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการออกแบบระบบโครงสร้างต่าง ๆ ไว้ แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงระบบโครงสร้างหอถังสูงรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะหอถังสูงที่รองรับด้วยผนังคอนกรีตเสริมเหล็กแบบทรงกระบอกกลวง มีเพียงค่า<em>&nbsp;R</em>&nbsp;ที่ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร เช่น ค่า&nbsp;<em>R</em>&nbsp;สำหรับระบบโครงสร้างกำแพงรับแรงเฉือนธรรมดาซึ่งมีค่าเท่ากับ 4 แต่จากผลการศึกษาพบว่าค่า&nbsp;<em>R&nbsp;</em>ของหอถังสูงจากแบบก่อสร้างมาตรฐานในประเทศไทยทั้งแบบขนาดความจุ 300 ลูกบาศก์เมตร และขนาดความจุ 500 ลูกบาศก์เมตรซึ่งมีโครงสร้างรองรับเป็นระบบโครงสร้างกำแพงรับแรงเฉือน ได้ค่า&nbsp;<em>R</em>&nbsp;เท่ากับ 6.46 และ 6.27 ตามลำดับ ซึ่งได้ค่าที่มากกว่าเมื่อเทียบกับค่า&nbsp;<em>R</em>&nbsp;ที่กำหนดในมาตรฐานสำหรับระบบโครงสร้างกำแพงรับแรงเฉือนที่ใช้สำหรับในอาคาร</p> ธนากร ใจปิติ ณัฐวุฒิ ธนศรีสถิตย์ พิสณฑ์ อุดมวรรัตน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR32 STR32 ข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติ และสมบัติวัสดุก่อของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/208 <p>งานวิจัยเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์ในการจัดทำข้อมูลกลุ่มจุดพิกัด 3 มิติของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร การศึกษานี้ใช้เครื่องสแกนวัตถุ 3 มิติแบบภาคพื้นดินเก็บข้อมูล 3 มิติของบริเวณวัด โดยนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและพัฒนาเป็นแบบจำลองกลุ่มจุดพิกัด 3 มิติของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ผ่านโปรแกรม Scene จากนั้นนำแบบจำลอง 3 มิติที่ได้มาดำเนินการประเมินขนาดของพระเจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร และบริเวณโดยรอบภายในวัด ด้วยโปรแกรมเฉพาะทาง Autodesk Recap และ Autodesk Revit นอกจากนี้ยังทำการเก็บตัวอย่างวัสดุก่อจากโครงการบูรณะวัดราชบพิธครั้งใหญ่มาศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยการศึกษานี้จะนำเสนอสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุก่อที่สำคัญได้แก่ ความหนาแน่น ความพรุน การดูดซึมน้ำ และกำลังรับแรงอัด โดยข้อมูลกลุ่มจุดพิกัด 3 มิติพร้อมทั้งข้อมูลด้านสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุก่อที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการติดตามสภาพโครงสร้างและประกอบการบำรุงรักษาในระยะยาวได้ต่อไปในอนาคต</p> ศิวนนท์ ต้นเกตุ พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย ณัฐนันท์ วงศ์อนันต์ ชนาธิป บินซาอิส สุรพัศ นิธิปฏิคม สุวัจน์ชัย แก้วมาคูณ ชัยณรงค์ อธิสกุล วีรชาติ ตั้งจิรภัทร สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR33 STR33 กำลังรับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างวัสดุจีโอโพลีเมอร์ หรือคอนกรีตและเหล็กเสริม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/550 <p>งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเกี่ยวกับกำลังยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กข้ออ้อยและคอนกรีต และทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆ ระหว่างคอนกรีตจากพอร์ตแลนด์ซีเมนต์และจีโอโพลีเมอร์คอนกรีตจากเถ้าลอยโรงไฟฟ้าแม่เมาะ คอนกรีตที่ออกแบบมี 2 กำลังอัดเหล็กเสริมข้ออ้อยขนาด 12 16 และ 20 มิลลิเมตรและแต่ละตัวอย่างใช้ระยะเวลาการบ่มที่ 28 วัน จากการศึกษาพบว่ากำลังรับแรงยึดเหนี่ยวมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มกำลังรับแรงอัดหรือเมื่อลดขนาดหน้าตัดของเหล็กเสริมลงตามที่คาดการณ์ไว้ กำลังยึดเหนี่ยวของคอนกรีตจากพอร์ตแลนด์ซีเมนต์กับเหล็กเสริมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นผลมาจากระยะเวลาการบ่มตัวอย่าง แต่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเพิ่มกำลังอัด กำลังยึดเหนี่ยวของจีโอโพลีเมอร์คอนกรีตจากเถ้าลอยมีค่ากำลังอัดสูงกว่าที่ออกแบบไว้เล็กน้อยเนื่องจากระยะเวลาที่ใช้บ่ม อย่างไรก็ตามค่ากำลังยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริมขึ้นอยู่กับขนาดของเหล็กอย่างมีนัยสำคัญ</p> ตะวัน หงษ์อุบล อรุษ เพชรเชิดชู Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR34 STR34 การเสริมกำลังโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีอัดแรงภายนอก https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/592 <p>บทความนี้นำเสนอการเสริมกำลังโครงสร้างพื้นคอนกรีตแสริมเหล็กด้วยวิธีอัดแรงภายนอกสำหรับอาคารที่มีการปรับเปลี่ยนน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่ได้รับการออกแบบไว้เดิม ผู้เขียนได้สรุปแนวทางการออกแบบเสริมกำลัง วิธีการวิเคราะห์และประเมินตรวจสอบโครงสร้าง ตลอดจนวิธีการดำเนินการในการติดตั้งระบบเสริมกำลังและผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะได้รับภายหลังการเสริมกำลังแล้วเสร็จ จากการศึกษาพบว่า การเสริมกำลังพื้นดัวยวิธีอัดแรงภายนอกสามารถเพิ่มกำลังการรับโมเมนต์ดัดได้เป็นอย่างดี ช่วยลดการแอ่นตัวเนื่องจากมีความแข็งเกร็งที่เพิ่มขึ้น และช่วยลดการสั่นไหวในโครงสร้างจากการเปลี่ยนแปลงความถี่ธรรมชาติของการสั่นไหว</p> พิสณฑ์ อุดมวรรัตน์ อดิศร โอวาทศิริวงศ์ อํานาจ คําพานิช ณัฐวุฒิ ธนศรีสถิต Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR35 STR35 Effect of Ground Motion Horizontal Definition in Seismic Analysis and RC Moment Frame Structures in Mandalay Region https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/605 <p><span class="s16">Since Myanmar is one of the earthquake-prone zones in Southeast Asia, the seismic performance analysis is recommended in this region. Myanmar National Building Code</span><span class="s16">, 2016</span><span class="s16">which is adapted from ASCE 7-05 is stipulated to examine the analysis by the Federation of Myanmar Engineering Society (Fed. MES). The geometric mean of the two horizontal spectral accelerations is typically used by the earth scientists as the intensity measure for hazard analysis and early effort to account for the seismic design of the structure. Shortcoming of the geomean ground motion intensity definition, the maximum spectral acceleration of the two orthogonal components in any orientation is used in the recent ASCE 7-16 for structural design. In this study, the factors which are the ratio of maximum spectral acceleration (Sa</span><span class="s19">RotD100</span><span class="s16">) to median spectral acceleration (Sa</span><span class="s19">RotD50</span><span class="s16">) at discrete period is used to predict the maximum spectral acceleration over all orientations. The objective of the study is to analyze the effect of the two-horizontal definition</span><span class="s16">s</span><span class="s16">in ground motion selection. The comparison of the regular and irregular shaped RC building structural responses is also explored with </span><span class="s16">e</span><span class="s16">quivalent lateral force analysis (ELF), </span><span class="s16">r</span><span class="s16">esponse spectrum analysis (RSA) and Linear response history analysis (LRHA). The final response results show the great potential in the performance-based design of the civil system.</span></p> Khine Mon Myint Teraphan Ornthammarath Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR36 STR36 Effect of Scaling Factor in Ground Motion Selection of Seismic Analysis and Design of RC Moment Frame Structures https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/606 <p><span class="s16">Selection and Scaling of ground motion plays a major role in designing the structural analysis since the collected data will be applied as seismic load to the structure. Spectrum matching to a smooth target spectrum with the specific input parameters of the scenario; magnitude and source-to-site-distance are focused; is considered in the research. Target spectrum is selected by using the ASCE code guideline. The paper includes three analysis procedures (1) Equivalent lateral force, (2) Response spectrum analysis and; (3) Time history analysis</span><span class="s10">; </span><span class="s16">are applied to the structures which are multi-degree-of-freedom structures with different fundamental periods of vibrations. Seven sets of ground motion suites are collected based on different scale factor ranges from PEER-NGA website. Using scale factor more than limit 4, effect the lateral displacement demand of the structural analysis which lead to bias in some cases. This study indicated that using scale factor less than 1 tend to underestimate the structural response and more cracking than the limit 4 tend to overestimate the demand which is not convenient in practice.</span></p> Thiri Thaw Teraphan Ornthammarath Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR37 STR37 การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตโดยใช้คอนกรีตผสมมวลรวมรีไซเคิลแบบย่อยซ้ำ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/614 <p><span class="s16">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ</span><span class="s16">ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม</span><span class="s16">จากเศษคอนกรีตที่เหลือใช้</span><span class="s16">จากการทุบทำลายสิ่งก่อสร้าง</span><span class="s16">นั้น</span><span class="s16">มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น </span><span class="s16">โดยงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นไปที่</span><span class="s16">การ</span><span class="s16">ศึกษาคุณสมบัติ</span><span class="s16">ของคอนกรีตผสมมวลรวมหยาบรีไซเคิล (</span><span class="s16">RCA</span><span class="s16">)</span> <span class="s16">และคอนกรีตผสมมวลรวมหยาบรีไซเคิลแบบย่อยซ้ำ (</span><span class="s16">MRCA</span><span class="s16">)&nbsp;</span><span class="s16">อัน</span><span class="s16">ได้แก่ การทดสอบ</span><span class="s16">การ</span><span class="s16">หาค่าความหนาแน่น</span><span class="s16">, </span><span class="s16">การทดสอบ</span><span class="s16">การ</span><span class="s16">หาค่า</span><span class="s16">อัตรา</span><span class="s16">การดูดซึมน้ำ</span><span class="s16">,</span> <span class="s16">การทดสอบ</span><span class="s16">การ</span><span class="s16">หา</span><span class="s16">ค่ากำลังรับแรงอัด และการทดสอบ</span><span class="s16">หาอัตราการ</span><span class="s16">กัดกร่อนของเหล็กเสริมด้วยวิธีวัดค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์</span><span class="s16"> (</span><span class="s16">Half-cell potential</span><span class="s16">)</span> <span class="s16">และ</span><span class="s16">นำผลการทด</span><span class="s16">สอบที่ได้</span><span class="s16">ไปเปรียบเทียบกับ</span><span class="s16">ผลการทดสอบของคอน</span><span class="s16">กรีตผสมมวลรวมหยาบจากธรรมชาติ (</span><span class="s16">NCA</span><span class="s16">)</span> <span class="s19">โดยตัวอย่าง</span><span class="s19">จะใช้</span> <span class="s19">RCA </span><span class="s19">และ </span><span class="s19">MRCA</span> <span class="s19">โดย</span><span class="s19">นำไป</span><span class="s19">แทนที่ </span><span class="s19">NCA </span><span class="s19">ใน</span><span class="s19">อัตราส่วนร้อยละ 25</span><span class="s19">, 50, 75 </span><span class="s19">และ 100 </span><span class="s19">โดยปริมาตรตามลำดับ</span> <span class="s16">ค่ากำลัง</span><span class="s16">รับแรง</span><span class="s16">อัดที่ออกแบบไว้เท่ากับ 240 กก/ตร.ซม.</span> <span class="s16">จากผล</span><span class="s16">การทดสอบ</span><span class="s16">ที่อายุ 28 วัน</span><span class="s16"> พบว่า</span><span class="s16">เมื่อแทนที่ด้วย</span><span class="s16"> RCA </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">MRCA </span><span class="s16">ในอัตราส่วนร้อยละ 25</span> <span class="s16">จะมีค่าความหนาแน่นและค่ากำลังรับแรงอัดมากที่สุด เมื่อ</span><span class="s16">แทนที่ด้วย</span><span class="s16"> RCA</span> <span class="s16">และ </span><span class="s16">MRCA</span> <span class="s16">ในอัตราส่วน</span><span class="s16">ร้อยละ </span><span class="s16">100</span> <span class="s16">จะ</span><span class="s16">มีค่าอัตราการดูดซึมน้ำ</span><span class="s16">มาก</span><span class="s16">ที่สุด </span><span class="s16">ส่วนการทดสอบ</span><span class="s16">การ</span><span class="s16">กัดกร่อนของเหล็กเสริมด้วยวิธีวัดค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์</span> <span class="s16">เมื่อแทนที่ด้วย </span><span class="s16">RCA </span><span class="s16">ใน</span><span class="s16">อัตราส่วนร้อยละ 25 </span><span class="s16">จะมีค่าอัตราการเกิดสนิมของเหล็กเสริมช้าที่สุด</span> <span class="s16">โดย</span><span class="s16">ค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์สูงที่สุดที่ทำให้คอนกรีต</span><span class="s16">มีสนิมและ</span><span class="s16">เกิดรอยร้าวจะ</span><span class="s16">ใช้ระยะเวลา</span><span class="s16">รวม</span><span class="s16">ทั้งสิ้น</span><span class="s16">ประมาณ</span><span class="s16"> 17 วัน </span><span class="s16">เมื่อแทนที่ด้วย </span><span class="s16">RCA </span><span class="s16">ใน</span><span class="s16">อัตราส่วนร้อยละ </span><span class="s16">100</span> <span class="s16">จะมีค่าอัตราการเกิดสนิมของเหล็กเสริม</span><span class="s16">เร็ว</span><span class="s16">ที่สุด</span> <span class="s16">โดย</span><span class="s16">ค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์สูงที่สุดที่ทำให้คอนกรีต</span><span class="s16">มีสนิมและ</span><span class="s16">เกิดรอยร้าวจะ</span><span class="s16">ใช้ระยะเวลา</span><span class="s16">รวม</span><span class="s16">ทั้งสิ้น</span><span class="s16">ประมาณ</span> <span class="s16">5</span><span class="s16"> วัน </span><span class="s16">จาก</span><span class="s16">ผลการวิจัย</span><span class="s16">สรุปได้</span><span class="s16">ว่าค่าความหนาแน่นและค่ากำลังรับแรงอัด</span><span class="s16">ของมวลรวมรีไซเคิล</span><span class="s16">จะมีค่าลดลงตามอัตราส่วนการแทนที่ของ</span><span class="s16">RCA </span><span class="s16">และ</span> <span class="s16">MRCA </span><span class="s16">ที่เพิ่ม</span><span class="s16">มาก</span><span class="s16">ขึ้น </span><span class="s16">ส่วน</span><span class="s16">การหา</span><span class="s16">ค่า</span><span class="s16">อัตรา</span><span class="s16">การดูดซึมน้ำ</span><span class="s16">ของมวลรวม&nbsp;</span><span class="s16">รีไซเคิล</span><span class="s16">จะ</span><span class="s16">มีค่าเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนการแทนที่</span><span class="s16">ของ</span><span class="s16"> RCA </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">MRCA </span><span class="s16">ที่เพิ่ม</span><span class="s16">มาก</span><span class="s16">ขึ้น</span> <span class="s16">และ</span><span class="s16">การหา</span><span class="s16">ค่า</span><span class="s16">อัตรา</span><span class="s16">การกัดกร่อนของเหล็กเสริม</span><span class="s16">ด้วยวิธี</span><span class="s16">วัดค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์</span> <span class="s16">โดย</span><span class="s16">ค่าอัตรา</span><span class="s16">การเกิดสนิม</span><span class="s16">ของเหล็กเสริมจะมี</span><span class="s16">ค่า</span><span class="s16">เพิ่ม</span><span class="s16">มาก</span><span class="s16">ขึ้นตามอัตราส่วนการแทนที่ของ</span> <span class="s16">RCA </span><span class="s16">ที่เพิ่มขึ้น</span></p> คณุตม์ สมบูรณ์ปัญญา ภูษิต บุญยฤทธิ์ วงศกร สิมมา ชิษณุพงศ์ สุธัมมะ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR38 STR38 ผลกระทบของช่องเปิดต่อพฤติกรรมเชิงโครงสร้างของโครงต้านแรงดัดคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีผนังอิฐก่อ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/621 <p>บทความวิจัยนี้นำเสนอผลการศึกษาพฤติกรรมของโครงต้านแรงดัดคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีผนังอิฐก่อโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยพิจารณาผลกระทบของรูปแบบ ขนาด และตำแหน่งของช่องเปิด รวมไปถึงแรงเฉือนที่เกิดขึ้นในเสาของโครงต้านแรงดัด โดยใช้แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์อย่างง่ายแบบ 2 มิติ ทำการวิเคราะห์โครงต้านแรงดัดที่มีผนังอิฐก่อที่มี 1 ชั้นและ 1 ช่วงเสา โดยการวิเคราะห์โครงสร้างแบบสถิตย์ไร้เชิงเส้นภายใต้แรงในแนวราบร่วมกับแรงคงที่ในแนวดิ่ง จากผลการศึกษาพบว่าอัตราการลดลงของกำลังต้านทานและสติฟเนสของผนังอิฐมีความสัมพันธ์กับรูปแบบ ขนาดและตำแหน่งของช่องเปิด เมื่อพื้นที่ช่องเปิดมีค่าประมาณร้อยละ 40-50 ของพื้นที่ผนัง ผนังจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อพฤติกรรมโดยรวมของโครงสร้าง ในทางกลับกันผนังยังมีผลกระทบอย่างมีนัยต่อแรงเฉือนที่เกิดขึ้นในเสาของโครงต้านแรงดัด บนพื้นฐานของผลการวิเคราะห์บทความวิจัยนี้จึงเสนอสมการสำหรับประมาณค่ากำลังต้านทานและสติฟเนสที่ลดลงของผนังอิฐก่ออันเป็นผลมากจากช่องเปิด รวมถึงได้แนะนำวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับประเมินค่าแรงเฉือนที่เพิ่มขึ้นในเสาของโครงต้านแรงดัดซึ่งเป็นผลจากแรงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผนังอิฐก่อและเสา</p> จรัญ ศรีชัย สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR39 STR39 กำลังดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผสมเส้นใยเหล็กภายใต้สิ่งแวดล้อมคลอไรด์แบบวัฏจักรเปียกสลับแห้ง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/640 <p>บทความนี้มุ่งศึกษากำลังดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผสมเส้นใยเหล็กภายใต้สิ่งแวดล้อมคลอไรด์แบบวัฏจักรเปียกสลับแห้ง รวมทั้งกำลังอัดและกำลังดึงแบบผ่าซีกของคอนกรีตด้วย โดยใช้เส้นใยเหล็กในปริมาณ 0.50% โดยปริมาตรของคอนกรีต ทำการทดสอบกำลังอัดและกำลังแบบผ่าซีกของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน และทดสอบกำลังดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กภายหลังเผชิญวัฏจักรเปียกสลับแห้งด้วยสารละลายคลอไรด์เข้มข้น 5.0% เป็นเวลา 2 ปี จากผลการทดลอง พบว่า กำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมเส้นใยเหล็กและคอนกรีตควบคุมไม่แตกต่างกัน แต่กำลังดึงของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กสูงกว่าคอนกรีตควบคุมที่ไม่ผสมเส้นใยเหล็ก กำลังดัดของคานคอนกรีตที่ผสมเส้นใยเหล็กสูงกว่าคานคอนกรีตที่ผสมเส้นใยเหล็ก และกำลังดัดของคานคอนกรีตที่เผชิญกับสิ่งแวดล้อมคลอไรด์ต่ำกว่าคานคอนกรีตที่เผชิญกับน้ำเปล่า</p> ลีน่า ปรัก ทวีชัย สำราญวานิช Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR40 STR40 การใช้ตะกอนประปา ในมอร์ต้าร์เกร้าท์รอยต่อผิวทางคอนกรีตสำเร็จรูป https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/652 <p>วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อน าตะกอนประปามาใช้ในงานเกร้าท์รอยต่อของผิวทาง คอนกรีตส าเร็จรูป โดยแทนที่ในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ล้วนในสัดส่วนต่าง ๆ เพื่อศึกษาก าลังและ ความเหมาะสมในการน าตะกอนประปามาใช้ในงานเกร้าท์รอยต่อผิวทางคอนกรีตส าเร็จรูป&nbsp;&nbsp; การศึกษาก าลังของเพสต์ตะกอนประปาที่แทนที่ในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยน าตะกอน ประปามาแทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 5 และ 10 ทดสอบก าลังอัดของมอร์ต้าร์แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยตะกอนประปาในสัดส่วนต่าง ๆ ตามที่ออกแบบทดสอบแรงยึดเหนี่ยวของมอร์ต้าร์ที่ ออกแบบไว้ด้วย วิธีการให้ก าลังดัดทดสอบแรงยึดเหนี่ยวของมอร์ต้าร์ที่ออกแบบไว้ด้วยวิธีการให้ก าลัง ดึง โดยการทดสอบแรงยึดเหนี่ยวนี้จะน าเอามอร์ต้าร์ที่ให้ก าลังดีที่สุดมาใช้งาน&nbsp;&nbsp; การแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยตะกอนประปาในอัตราส่วนร้อยละ 5 ของน้ าหนักปูนซีเมนต์ให้ผล การทดสอบได้ดีที่สุด แต่เมื่อใช้อัตราส่วนการแทนที่ที่ร้อยละ 10 จะพบว่ามีค่าลดลง เนื่องจากตะกอน ประปามีการดูดซึมน้ าสูง ซึ่งจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าตะกอนประปาสามารถน ามาใช้เป็นวัสดุ ผสานในการพัฒนาการท ารอยต่อถนนคอนกรีตให้มีประสิทธิภาพและเป็นการลดปริมาณปูนซีเมนต์อีก วิธีทางหนึ่ง</p> ตะวัน เพชรอาวุธ จตุพล ตั้งปกาศิต Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR41 STR41 คุณสมบัติเชิงพลศาสตร์ของประตูระบายน้ำล้น https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/680 <p><span class="s22">บทความนี้</span><span class="s22">นำเสนอ</span><span class="s22">การศึกษา</span><span class="s22">คุณสมบัติเชิง</span><span class="s22">พลศาสตร์</span><span class="s22">ของ</span><span class="s22">ประตูระบายน้ำจากแผ่นดินไหว</span><span class="s22"> ปัจจุบันนอกเหนือจากการประเมินความปลอดภัยของเขื่อนแล้วยังจำเป็นต้องพิจารณาความปลอดภัยของอาคารประกอบเขื่อนและอุปกรณ์ต่างๆ ร่วมด้วย เนื่องจาก</span><span class="s22">ความผิดปกติของอาคารประกอบเขื่อน</span><span class="s22">หรืออุปกรณ์ต่างๆ อาจส่งผลทำให้เกิด</span><span class="s22">การพิบัติของเขื่อน</span><span class="s22">หรือ</span><span class="s22">ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อพื้นที่ท้ายน้ำ</span><span class="s22"> สำหรับการศึกษานี้มุ่งเป้าไปที่ประตูระบายน้ำ เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในอาคารระบายน้ำ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอาจจะส่งผลทำให้ไม่สามารถกักเก็บหรือควบคุมน้ำในอ่างกักเก็บได้และก่อให้เกิดน้ำท่วมแบบฉับพลันในบริเวณ</span><span class="s22">พื้นที่</span><span class="s22">ท้ายน้ำ</span><span class="s22"> &nbsp;</span><span class="s22">ใน</span><span class="s22">การศึกษาครั้งนี้</span><span class="s22">ประตูระบายน้ำตัวแทนที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้ทำการคัดเลือกมาจากพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนบน โดยนำมาสร้างแบบจำลอง</span><span class="s22">จากนั้นทำการวิเคราะห์การตอบสนองไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลา (</span><span class="s22">Nonlinear Response </span><span class="s22">Time-</span><span class="s22">History </span><span class="s22">Analysis</span><span class="s22">) </span><span class="s22">ด้วยแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์</span><span class="s22">โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวที่สอดคล้องกับ</span><span class="s22">แผ่นดินไหวรุนแรงสูงสุดที่พิจารณา(</span><span class="s22">Maximum Considered Earthquake, MCE)</span><span class="s22"> ตาม</span><span class="s22">มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1302-</span><span class="s22">61</span><span class="s22">)</span><span class="s22"> สำหรับผลการวิเคราะห์จากการศึกษานี้ได้นำเสนอ</span><span class="s22">คุณสมบัติเชิง</span><span class="s22">พลศาสตร์</span><span class="s22">ของประตูระบายน้ำ</span><span class="s22">รวมถึงข้อสังเกตในด้านความปลอดภัยของเขื่อน</span><span class="s22">จากแผ่นดินไหว</span><span class="s22">ร่วมด้วย</span></p> ราชันย์ ขันทกสิกรรม พุทธรักษ์ จรัสพันธุ์กุล ชยานนท์ หรรษภิญโญ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR42 STR42 การสำรวจอัตราการเกิดคาร์บอเนชันของโครงสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามในเขตชุมชนจังหวัดชลบุรี https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/700 <p>การศึกษานี้เป็นการตรวจสอบการเกิดคาร์บอเนชันของโครงสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามในเขตชุมชนจังหวัดชลบุรี โดยทำการวัดความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และความชื้นสัมพัทธ์ของสิ่งแวดล้อม วัดระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมและประเมินกำลังอัดประลัย พร้อมเจาะเก็บชิ้นตัวอย่างคอนกรีตเพื่อทดสอบความลึกคาร์บอเนชันของของโครงสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามที่ตั้งอยู่ในเขตชุมชนของจังหวัดชลบุรี โดยเลือกใช้โครงสร้างสะพานลอยคนเดินข้าม 4 สะพาน ข้อมูลที่ได้นำมาหาการเกิดคาร์บอเนชันและทำนายอายุของโครงสร้างสะพานลอยคนเดินข้าม โดยใช้สมการของ Fick's first law of diffusion และมาตรฐานการออกแบบความคงทนสำหรับโครงสร้างที่เผชิญคาร์บอเนชันของกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) ผลการศึกษาพบว่า ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมของโครงสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามที่ตั้งอยู่ในเขตชุมชนของจังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 31 ถึง 44 มิลลิเมตร และกำลังอัดประลัยของคอนกรีตมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 307 ถึง 367 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และความลึกคาร์บอเนชันมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 32 ถึง 41 มิลลิเมตร ส่วนสัมประสิทธิ์ความลึกคาร์บอเนชันมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 6.4 ถึง 7.1 มิลลิเมตร/ปี<sup>1/2</sup> สุดท้ายด้วยวิธีการตามสมการ Fick's first law of diffusion และมาตรฐาน มยผ. สามารถทำนายและคำนวณอายุปลอดการซ่อมแซมของโครงสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามที่ตั้งอยู่ในเขตชุมชนของจังหวัดชลบุรีที่สัมผัสกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ โดยผลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบวางแผนดูแลบำรุงรักษาโครงสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามที่ต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมคาร์บอเนชัน ตลอดจนป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้</p> <p>&nbsp;</p> สุพจน์ ธรรมนิทา ปิติศานต์ กร้ำมาตร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR43 STR43 คอนกรีตกำลังสูงที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันบดละเอียดในปริมาณสูง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/704 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่นและการหดตัวรวมของคอนกรีตกำลังสูงที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันซึ่งบดจนมีขนาดอนุภาคค้างบนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 325 ไม่เกินร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก เป็น<br>วัสดุปอซโซลานแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในอัตราส่วน<br>ร้อยละ 60, 70 และ 80 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน กำหนดปริมาณ<br>วัสดุประสานในส่วนผสมคอนกรีตเท่ากับ 560 กก/ม<sup>3</sup> อัตราส่วนน้ำต่อ<br>วัสดุประสาน (W/B) เท่ากับ 0.25 และใช้สารลดน้ำพิเศษเพื่อควบคุม<br>ค่ายุบตัวของคอนกรีตสดให้อยู่ในช่วง 150-200 มม ทำการทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 7, 14 และ 28 วัน และทดสอบโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน นอกจากนี้ยังมีการทดสอบการหดตัวรวมของคอนกรีตที่อายุ 1, 3, 7, 14 และ 28 วัน ผลการวิจัยพบว่าคอนกรีตกำลังสูงที่ใช้เถ้าปาล์มน้ำมันบดละเอียดแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในปริมาณสูงที่อัตราการแทนที่ร้อยละ 70 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน สามารถให้<br>กำลังอัดสูงถึง 69.2 เมกะปาสคาล ที่อายุ 28 วัน ซึ่งมีกำลังอัดใกล้เคียงกับคอนกรีตควบคุม ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันบดละเอียดแปรผันตรงตามกำลังอัดของคอนกรีต และผลการทดสอบ<br>การหดตัวรวมของคอนกรีตที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันบดละเอียด พบว่าเมื่ออัตราส่วนการแทนที่ของเถ้าปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การหดตัวรวมของคอนกรีตมีค่าลดลง</p> เทพฤทธิ์ เจริญสุข วีรชาติ ตั้งจิรภัทร ชัย จาตุรพิทักษ์กุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR44 STR44 การต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ปราศจากความเหนียว https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/736 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกาการต้านทานแรงแผ่นดินไหวของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ปราศจากความเหนียวในประเทศไทย อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กนำมาใช้เพื่อประเมินความสามารถในการต้านทานแรงแผ่นดินไหวโดยอาคารจะถูกสมมติให้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทยที่มีระดับความรุนแรงในการเกิดแผ่นดินไหวแตกต่างกัน <strong>3</strong> ระดับ ได้แก่ บริเวณพื้นที่เฝ้าระวัง บริเวณที่ <strong>1</strong> และบริเวณที่ <strong>2</strong> โดยโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กจะถูกพิจารณาเป็นแบบจำลองสองมิติ พฤติกรรมความเสียหายของอาคารจะแสดงอยู่ในรูปของจุดหมุนพลาสติกซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมุมหมุนกับโมเมนต์ดัด ซึ่งกฎของความสัมพันธ์นี้จะถูกควบคุมด้วยโมเมนต์ที่จุดคราก โมเมนต์สูงสุดและมุมหมุนสูงสุด จากผลการศึกษาเส้นโค้งสมรรถนะของโครงสร้างพบว่า โครงสร้างอาคารจะยังคงมีพฤติกรรมแบบยืดหยุ่นเมื่อแรงแผ่นดินไหวที่กระทำไม่เกิน <strong>10653 </strong>กิโลกรัม และโครงสร้างอาคารสามารถต้านทานแรงสูงสุดในช่วงไม่ยืดหยุ่นได้ไม่เกิน <strong>17,140 </strong>กิโลกรัมก่อนที่โครงสร้างจะเข้าสู่สภาวะพังทลายและเมื่ออาคารถูกกระทำด้วยแรงแผ่นดินไหวจากพื้นที่เสี่ยงภัยทั้ง <strong>3</strong> โซน พบว่า อาคารเกิดความเสียหายที่เสาและคานอย่างรุ่นแรง โดยพฤติกรรมโดยรวมของอาคารเกิดกว่าระดับสมรรถนะป้องกันการพังทลายนั่นหมายถึงอาคารจะเกิดการวิบัติเมื่อถูกกระทำด้วยแรงแผ่นดินไหวสูงสุดจากเขตพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว</p> อมรชัย ใจยงค์ ชานนท์ กวางเจริญ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR45 STR45 พฤติกรรมของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่ถูกโอบรัดด้วยสายรัดเหล็กแบบให้แรง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/741 <p>ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเสริมกำลังเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Column) โดยใช้สายรัดเหล็กโอบรัดรอบแบบให้แรงก่อน (Prestressed Steel Straps) โดยการทดสอบเสาตัวอย่างจำนวน<br>5 ตัวอย่าง มีขนาดหน้าตัดเท่ากับ 150x150 มิลลิเมตร มีความสูงเท่ากับ 1.20 เมตร โดยตัวแปรที่ได้ทำการศึกษาคือระยะห่างของสายเหล็กรัดรอบประกอบด้วย 150 และ 75 มิลลิเมตร โดยทดสอบภายใต้การรับแรงอัดแบบ<br>ตรงศูนย์ผลที่ได้จากการบันทึกจากการทดสอบประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำตามแนวแกนและระยะหดตัว และลักษณะการวิบัติของเสาตัวอย่าง จากผลการทดสอบพบว่า การเสริมกำลังเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก<br>ด้วยสายรัดเหล็กแบบให้แรงกระทำก่อนสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการรับแรงกระทำตามแนวแกนได้ 30-33 เปอร์เซนต์ และสามารถเพิ่มความเหนียวได้ 71-118 เปอร์เซ็นต์ ระยะห่างระหว่างสายเหล็กรัดรอบไม่มีผลต่อ<br>ความสามารถในการรับแรงตามแนวแกนแต่มีผลต่อความเหนียว เมื่อเทียบกับเสาตัวอย่างควบคุม</p> อิทธิพล พสิษฐ์โยธิน สายันต์ ศิริมนตรี ชนะชัย ทองโฉม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR46 STR46 Seismic Strengthening of Soft-Story RC Moment Frames https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/742 <p>This study was conducted to compare seismic strengthening techniques for soft-story RC buildings and to retrofit actual buildings as a pilot case. Two methods were selected, a strengthening technique using Buckling Restrained Braces (BRBs) and a conventional method using concrete column jacketing. Two soft-story RC buildings located in northern Thailand having the same structural framing and details were strengthened using the two different approaches. Background works that formed the basis for the strengthening design concepts of these buildings are briefly presented. Nonlinear analyses are used to assess the performance of the two buildings and to compare their response with that of the un-retrofitted structure. The effectiveness of using passive energy dissipating devices such as BRBs in controlling the excessive soft story drift is discussed in comparison with that of using the concrete jacketing method. The differences and limitations of the two strengthening techniques are also discussed.</p> Wongsa Wararuksajja Sutat Leelataviwat Pennung Warnitchai Li Bing Hasan Tariq Nattakan Naiyana Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR47 STR47 แรงอัดวิกฤติของโครงสร้างคาน-เสาที่มีความยาวส่วนโค้งแปรเปลี่ยนได้ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/415 <p><span class="s17">บทความนี้นำเสนอค่าแรงอัด</span><span class="s17">วิกฤติ</span><span class="s17">ของโครงสร้างคาน-เสาที่มีความยาวส่วนโค้งแปรเปลี่ยนได้ คาน-เสาที่มีความยาวส่วนโค้งแปรเปลี่ยนได้เป็นโครงสร้างประ</span><span class="s17">เภ</span><span class="s17">ทอิลาสติกคา ซึ่งปลายของโครงสร้างนี้สามารถเลื่อนผ่านจุดรองรับเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกที่มากระทำ ส่งผลให้ความยาวส่วนโค้งของคานเปลี่ยนไป สมการครอบคลุมปัญหาของคาน-เสาสร้างจากความสัมพันธ์เชิงเรขาคณิตของเส้นโค้งในระนาบของชิ้นส่วนย่อยของโครงสร้างคาน-เสา และจากการพิจารณาสมดุลของแรงและโมเมนต์ ชุดสมการครอบคลุมปัญหาเป็นสมการเชิงอนุพันธ์อันดับที่ 1 แบบไม่เป็นเชิงเส้น ซึ่งจัดเป็นปัญหาเงื่อนไขขอบเขตแบบ 2 จุด ผลคำตอบเชิงตัวเลขหาได้โดยใช้ระเบียบวิธียิงเป้า ผลการศึกษาเชิงตัวเลขมุ่งเน้นศึกษาผลกระทบของแรงกระทำทางขวาง ได้แก่น้ำหนักของโครงสร้างต่อค่าแรงอัด</span><span class="s17">วิกฤติ</span><span class="s17">สำหรับ 4 โหมดแรกของการโก่งเดาะ และพฤติกรรมหลังการโก่งเดาะของโครงสร้างคาน-เสา ผลคำตอบเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่าผลของแรงกระทำทาง</span><span class="s17">ด้านข้าง</span><span class="s17">ทำให้แรงอัด</span><span class="s17">วิกฤติ</span><span class="s17">ลดลงและทำให้โครงสร้างเสียเสถียรภาพ</span></p> ธนภัทร วัฒนาบุญศิริ อินทัช ด่านปาน ธนนพ เหมือนเหลา Karun Klaycham Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 STR48 STR48 การประเมินดีกรีการอัดตัวคายน้ำสำหรับดินเหนียวอ่อนกรุงเทพด้วยวิธีอาซาโอกะ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/65 <p><span class="s16">การปรับปรุงดินเหนียวอ่อนด้วยวิธีการใช้แผ่นระบายน้ำแนวดิ่งร่วมกับน้ำหนักกดทับเป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วโลก โดยเฉพาประเทศไทยซึ่งมีโครงการก่อสร้างใหญ่ ๆ ที่ใช้วิธีนี้เช่น โครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์สายกรุงเทพ-ชลบุรี &nbsp;โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอก และโครงการปรับปรุงคุณภาพดินสำหรับทางจอด ทางวิ่ง และทางขับเครื่องบิน ที่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นต้น การประเมินดีกรีการอัดตัวคายน้ำนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อใช้เป็นหนึ่งในดัชนีสำหรับการตัดสินใจย้ายน้ำหนักกดทับออกจากพื้นที่ปรับปรุง</span><span class="s16">คุณภาพ</span><span class="s16">ดิน การวิเคราะห์นี้สามารถทำได้โดยการสังเกตในสนามจากการวัดการทรุดตัวของดินที่ปรับปรุงจากแผ่นวัดการทรุดตัว ข้อมูลการทรุดตัวในสนามถูกวิเคราะห์ด้วยวิธีของอาซาโอกะเพื่อ</span><span class="s16">ทำนาย</span><span class="s16">ค่าการทรุดตัวสูงสุดเนื่องจากน้ำหนักกดทับ</span><span class="s16">และดีกรีการอัดตัวคายน้ำ</span> <span class="s16">รวมถึง</span><span class="s16">การวิเคราะห์ย้อนกลับของข้อมูลการทรุดตัวสามารถให้ค่าสัมประสิทธิ์ของการอัดตัวคายน้ำตามแนวราบได้ วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือ การศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อ</span><span class="s16">การทำนายค่าการทรุดตัวสูงสุด </span><span class="s16">ดีกรีการอัดตัวคายน้ำ</span><span class="s16"> และ</span><span class="s16">ค่าสัมประสิทธิ์ของการอัดตัวคายน้ำตามแนวราบ</span><span class="s16">ด้วย</span><span class="s16">วิธีอาซาโอกะ </span><span class="s16">โดยอาศัยข้อมูลการทรุดตัวในสนามของโครงการ</span><span class="s16">ปรับปรุงคุณภาพดินสำหรับทางจอด ทางวิ่ง และทางขับเครื่องบิน ที่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ</span> <span class="s16">จากผลการศึกษาพบว่า </span><span class="s16">เมื่อใช้ช่วงเวลาประเมินที่ยาวนาน</span><span class="s16">จะ</span><span class="s16">ได้</span><span class="s16">ค่าการทรุดตัวสูงสุดที่</span><span class="s16">เพิ่มขึ้น</span> <span class="s16">ส่งผล</span><span class="s16">ให้ได้</span><span class="s16">ดีกรีการอัดตัวคายน้ำที่</span><span class="s16">ลด</span><span class="s16">ลง</span><span class="s16">และสัมประสิทธิ์</span><span class="s16">ของการอัดตัวคายน้ำตามแนวราบ</span><span class="s16">น้อยลงด้วย</span><span class="s16"> และ </span><span class="s16">ความห่างของข้อมูล</span><span class="s16">ไม่มีผลต่อ</span><span class="s16">การทำนายค่าการทรุดตัวสูงสุด</span> <span class="s16">ดีกรีการอัดตัวคายน้ำ</span><span class="s16"> &nbsp;และสัมประสิทธิ์</span><span class="s16">ของการอัดตัวคายน้ำตามแนวราบ</span><span class="s16"> นอกจากนี้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างการทรุดตัวกับเวลาสามารถสร้างได้โดยง่ายจากคำนวณย้อนหลัง ซึ่งหากระยะเวลาอ่านข้อมูลมากก็จะให้ผลที่สอดคล้องกับข้อมูลในสนามมาก</span></p> สินาด โกศลานันท์ ชัยศาสตร์ สกุลศักดิ์ศรี อลงกต ไชยอุปละ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 GTE01 GTE01 การประเมินความแม่นยำของแบบจำลองปริมาณน้ำฝนสะสมวิกฤติ (AP-Model) ในการคาดการณ์พื้นที่ระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มล่วงหน้า https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/85 <p><span class="s17">ศู</span><span class="s17">นย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐ</span><span class="s17">านราก มหาวิทยาลัย</span><span class="s17">เกษตรศาสตร์ </span><span class="s17">พัฒนาเกณฑ์ปริมาณน้ำฝน</span><span class="s17">สะสม</span><span class="s17">วิกฤติ</span> <span class="s17">จากการรวบรวมตำแหน่ง</span><span class="s17">และ</span><span class="s17">ข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตกจริ</span><span class="s17">ง</span><span class="s17">ในช่วงเวลาเกิด</span><span class="s17">เหตุการณ์ดินถล่มในอดีตมา</span><span class="s17">สร้างความสัมพันธ์ระหว่</span><span class="s17">างปริมาณน้ำฝนสะสม 3 วันก่อน</span><span class="s17">หน้า</span><span class="s17">และปริมาณน้ำ</span><span class="s17">ฝนรายวันที่</span><span class="s17">นำไปใช้ในแบบจำลองปริมาณน้ำฝน</span><span class="s17">สะสมวิกฤติ </span><span class="s17">(Antecedent Precipitation Model, AP-Model) </span><span class="s17">ซึ่งเป็น</span><span class="s17">แบบ</span><span class="s17">จำลองที่ใช้คาดการณ์</span><span class="s17">พื้นที่</span><span class="s17">ระดับความ</span><span class="s17">อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มล่วงหน้า โดยแบบจำลอง </span><span class="s17">AP-Model </span><span class="s17">นั้นวิเคราะห์โดย</span><span class="s17">ใช้ข้อมูลน้ำฝนคาดการณ์จากแบบจำลอง </span><span class="s17">WRF (Weather Research and Forecasting Model) </span><span class="s17">ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ</span><span class="s17"> (</span><span class="s17">องค์การมหาชน) เข้าสู่กระบวนการคำนวณปริมาณน้ำฝนสะสม 3 วันก่อนหน้าและปริมาณน้ำฝนรายวันเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปริมาณน้ำฝน</span><span class="s17">สะสม</span><span class="s17">วิกฤติ จากการวิเคราะห์ของแบบจำลองในข้างต้น แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดในการใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝน เนื่องจากแบบจำลอง </span><span class="s17">AP-Model </span><span class="s17">ใช้ปริมาณน้ำฝนของแบบจำลอง</span><span class="s17"> WRF</span><span class="s17"> ซึ่งมีความถูกต้องอยู่ที่ร้อยละ 69 ในการคำนวณปริมาณน้ำฝนสะสม 3 วั</span><span class="s17">นก่อนหน้า ด้วยข้อจำกัดนี้อาจจะ</span><span class="s17">ส่งผลให้แบบจำลอง </span><span class="s17">AP-Model </span><span class="s17">มีความแม่นยำในการคาดการณ์พื้นที่</span><span class="s17">ระดับ</span><span class="s17">ความ</span><span class="s17">ความ</span><span class="s17">อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มลดลง ดังนั้น บทควา</span><span class="s17">มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน</span><span class="s17">ความแม่นยำในการคาดการณ์พื้นที่ระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มล่วงหน้า</span><span class="s17">ด้วยวิธี </span><span class="s17">ROC</span><span class="s17"> โดยเปรียบเทียบข้อมูลพื้นที่</span><span class="s17">ระดับความ</span><span class="s17">อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มจากการแบบจำลอง </span><span class="s17">AP-Model </span><span class="s17">และข้อมูลสถิติของเหตุการณ์เกิดดินถล่ม</span><span class="s17">ใน</span><span class="s17">พ.ศ. 255</span><span class="s17">7</span><span class="s17"> ถึง</span><span class="s17">พ.ศ. 2562</span><span class="s17"> จากการประเมินความถูกต้อง พบว่า</span> <span class="s17">Area Under Curve</span> <span class="s17">(</span><span class="s17">AUC) </span><span class="s17">สำหรับการเตือนภัยดินถล่มใน</span><span class="s17">พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม</span><span class="s17">ในช่วงร้อยละ 2</span><span class="s17">0</span><span class="s17">-50</span><span class="s17"> (ระดับเตรียมพร้อมรับมือ </span><span class="s17">พื้นที่สีเหลือง)</span><span class="s17"> เท่ากับ 0.736 อยู่ในระดับ ดี</span><span class="s17">และ </span><span class="s17">AUC </span><span class="s17">สำหรับการเตือนภัยดินถล่มใน</span><span class="s17">พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม</span><span class="s17">มากกว่าร้อยละ 5</span><span class="s17">0 (ระดับอพยพ </span><span class="s17">พื้นที่สีแดง)</span> <span class="s17">เท่ากับ 0.639</span> <span class="s17">อยู่ในระดับ ปานกลาง</span></p> สลิลยา เศษเพ็ง เทพไท ไชยทอง สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 GTE02 GTE02 การติดตั้งอุปกรณ์วัดทางเทคนิคธรณีเพื่อการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับอ่างเก็บน้ำเก่า กรณีศึกษา: อ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว จังหวัดตรัง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/90 <p><span class="s21">บทความนี้เสนอผลการศึกษาเสถียรภาพของอ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว จ.ตรัง &nbsp;</span><span class="s21">โดย</span><span class="s21">เริ่มต้น</span><span class="s21">จาก</span><span class="s21">การตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์วัดทางเทคนิคธรณีที่ติ</span><span class="s21">ด</span><span class="s21">ตั้งในตัวอ่าง</span><span class="s21">ฯ</span> <span class="s21">ประกอบด้วย เซ็นเซอร์วัดแรงดันน้ำ หลุมเจาะสังเกตระดับน้ำ และเกจวัดน้ำฝน</span> <span class="s21">จากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมของอ่าง</span><span class="s21">ฯ </span><span class="s21">โดยใช้ไฟไนต์เอลิเมนต์ผ่านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ </span><span class="s21">Plaxis</span> <span class="s21">แบบจำลองโครงสร้างอ่างฯ </span><span class="s21">สร้าง</span><span class="s21">โดยการอ้างถึงแบบก่อสร้างร่วมกับการสำรวจภาคสนามเพื่อตรวจสอบมิติ ของตัวอ่างฯ ในสภาพปัจจุบัน &nbsp;แล้วจึงได้กำหนดให้ระดับน้ำในอ่างฯ เปลี่ยนแปลงระหว่างระดับต่ำสุดและสูงสุด &nbsp;ผลการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์แสดงให้เห็นว่า อ่างฯ ยังมีสภาพการใช้งานได้ตามปกติสำหรับกรณีระดับน้ำสูงสุด</span> <span class="s21">แต่สำหรับกรณีระดับลดต่ำสุด</span><span class="s21">อย่างรวดเร็ว</span><span class="s21">จะส่งผลให้บริเวณหน้าเขื่อนเกิดการทรุดตัวหลายจุด &nbsp;ผลการศึกษาที่ได้จะมีประโยชน์สำหรับการนำไปใช้ป้องกันการเสียหายของอ่างฯ เก่า รวมทั้งการนำไปออกแบบอ่างฯ ใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาการวิบัติเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำอย่างรวดเร็ว</span></p> วิษุวัฒน์ อายุสุข ภาณุ พร้อมพุทธางกูร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 GTE03 GTE03 ลักษณะการไหลซึมผ่านของน้ำแบบสองมิติในดินและตาข่ายการไหล จากการทดสอบด้วยแบบจำลองกายภาพ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/109 <p><span class="s17">งานวิจัยนี้ได้พัฒนาแบบจำลองกายภาพย่อส่วนโครงสร้างดินขึ้น </span><span class="s17">2 </span><span class="s17">แบบ ได้แก่ </span><span class="s17">1. </span><span class="s17">งานขุดที่ป้องกันด้วยเข็มพืด และ </span><span class="s17">2. </span><span class="s17">คันดินกั้นน้ำ</span> <span class="s17">เพื่อการศึกษาการซึมผ่านของน้ำแบบสองมิติและพัฒนาตาข่ายการไหล โดยจำลองการซึมผ่านของน้ำในดินภายใต้สภาวะคงตัว ในการทดสอบได้ทำการกำหนดค่าระดับน้ำด้านท้ายน้ำให้คงที่แต่ทำการแปรผันค่าระดับน้ำด้านเหนือน้ำให้แตกต่างกัน เพื่อให้มีอัตราการไหลและแรงดันน้ำแตกต่างกัน การทดสอบใช้ชุดท่อปลายเปิดเพื่ออ่านค่าแรงดันน้ำที่ตำแหน่งต่าง ๆ ในดิน ซึ่งข้อมูลที่ได้ถูกนำมาสร้างแผนภาพแสดงเส้นสมศักย์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ยังได้ใช้สารย้อมสีเพื่อหาเส้นการไหลของน้ำในดินแล้วจึงได้พัฒนาตาข่ายการไหลจากเส้นสมศักย์ที่ได้จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเส้นการไหลที่ได้จากการทดสอบ จากการคำนวณอัตราการไหลจากตาข่ายการไหลที่ได้จากการทดสอบ และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลการวิเคราะห์การไหลแบบสองมิติด้วยโปรแกรม </span><span class="s17">SEEP/W </span><span class="s17">พบว่า มีความใกล้เคียงกันทั้ง </span><span class="s17">1. </span><span class="s17">เส้นสมศักย์ </span><span class="s17">2. </span><span class="s17">เส้นการไหล</span> <span class="s17">3. </span><span class="s17">ตาข่ายการไหล และ </span><span class="s17">4. </span><span class="s17">อัตราการไหลของน้ำ ดังนั้นแบบจำลองย่อส่วนและผลจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับนักศึกษาได้เป็นอย่างดีต่อไป</span></p> วรกมล บัวแสงจันทร์ ฐิติยารัตน์ นนทวงศ์ ธนพล สุขเอี่ยม วรัช ก้องกิจกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 GTE04 GTE04 การพัฒนาโต๊ะตะแคงสองทิศทางเพื่อการทดสอบสมบัติกำลังรับแรงเฉือนของอินเตอร์เฟส https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/110 <p><span class="s19">กำลังรับแรงเฉือนของอินเตอร์เฟสเป็นตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างทางด้านวิศวกรรมเทคนิคธรณี ในปัจจุบันนิยมใช้การประมาณค่าแทนการทดสอบจริง ซึ่งมักทำให้ได้ค่ากำลังรับแรงเฉือนของอินเตอร์เฟสแตกต่างจากค่าที่เกิดขึ้นจริงในสนาม งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาโต๊ะตะแคงเพื่อใช้ทดสอบ</span><span class="s19">กำลังรับแรงเฉือนสองทิศทางของอินเตอร์เฟส</span><span class="s19">ต่าง ๆ ที่นิยมใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ มอร์ต้า ไม้ และ จีโอเทกซ์ไทล์แบบไม่ถัก กับดินทรายในสภาวะหน่วยแรงตั้งฉากต่ำ จากนั้นเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์ความเสียดทานกับการทดสอบในสภาวะหน่วยแรงตั้งฉากสูงที่ได้จากการทดสอบแรงเฉือนตรง จากผลการทดสอบพบว่า เส้นโค้งการวิบัติที่ได้จากการทดสอบโดยโต๊ะตะแคงมีลักษณะเป็นวงกลมที่รัศมีเพิ่มขึ้นตามหน่วยแรงตั้งฉากที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สัมประสิทธิ์ความเสียดทานจากการทดสอบแรงเฉือนตรงมีค่าสูงกว่าค่าที่ได้จากการทดสอบโดยโต๊ะตะแคง</span></p> กังวาน กานดาวรวงศ์ ธนวรรณ แจ้งกระจ่าง ยศพล เปมานุกรรักษ์ วรัช ก้องกิจกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 GTE05 GTE05 การทำนายพฤติกรรมการคืบจากพฤติกรรมการคลายความเค้นของทรายภายใต้แรงอัดสามแกน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/113 <p><span class="s16">การศึกษาพฤติกรรมการคืบในวัสดุเม็ดหยาบมีความเกี่ยวข้องกับความหนืดในวัสดุ</span> <span class="s16">โดยคุณสมบัติความหนืดสามารถหาได้จาก การเปลี่ยนอัตราความเครียด, </span><span class="s16">การให้แรงคงที่ในระหว่างที่ให้แรงกระทำอย่างต่อเนื่อง</span><span class="s16">ที่อัตราความเครียดคงที่ และการให้แรงกระทำ</span><span class="s16">อย่างต่อเนื่อง</span><span class="s16">ที่ค่าอัตราความเครียดคงที่ค่าต่าง ๆ การศึกษาครั้งนี้</span><span class="s16">นำ</span><span class="s16">ผลการทดสอบมาจากการศึกษาในอดีต</span><span class="s16">และ</span><span class="s16">หาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการจำลองเพื่อ</span><span class="s16">จำลองและ</span><span class="s16">เปรียบเทียบ พฤติกรรมการคืบสามารถทำนายได้จากพฤติกรรมการคลายความเค้นซึ่งใช้เวลา</span><span class="s16">ทดสอบน้อยกว่า การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบจำลองสามองค์ประกอบไม่เชิงเส้น </span><span class="s16">(Non-linear three-component</span><span class="s16">, </span><span class="s16">NTC) </span><span class="s16">จำลองประวัติเวลาความเครียดจากการคืบและการคลายความเค้น โดยระยะเวลาที่ใช้สำหรับจำลองการคืบและการคลายความเค้นคือ 10 ปีที่อัตราส่วนความเค้นต่าง ๆ </span><span class="s16">เพื่อสร้าง</span><span class="s16">ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเพิ่มขึ้นของความเครียดไม่คืน</span><span class="s16">ค่า</span><span class="s16">สำหรับการคืบและการคลายความเค้นที่อัตราความเครียดไม่คืน</span><span class="s16">ค่า</span><span class="s16">ค่าเดียวกัน การทำนายประวัติเวลาของการคืบจากประวัติเวลาของการคลายความเค้นประกอบไปด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือความสัมพันธ์ระหว่างเวลาของการคืบกับ</span><span class="s16">เวลาของ</span><span class="s16">การคลายความเค้น ส่วนที่สองเป็นความสัมพันธ์ของความเครียดไม่คืน</span><span class="s16">ค่า </span><span class="s16">โดย</span><span class="s16">ระยะ</span><span class="s16">เวลาของการคืบที่ได้จากการทำนายมีแนวโน้มมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนความเค้น</span></p> โฆษิต จริยาทัศน์กร วรัช ก้องกิจกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 GTE06 GTE06 ผลกระทบของกำลังรับแรงดึงสูงสุดและระยะห่างระหว่างชั้นของตาข่ายเสริมกำลังแบบสองทิศทางที่มีต่อกำลังอัดและการเสียรูปของทรายเสริมกำลัง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/114 <p><span class="s16">การออกแบบ</span><span class="s16">โครงสร้างดินเสริมกำ</span><span class="s16">ลั</span><span class="s16">ง </span><span class="s16">(GRS)</span> <span class="s16">ในปัจจุบันได้มีการนำเสนอแนวคิดที่ว่า โครงสร้างดินที่เสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมแรงที่มีอัตราส่วนระหว่างกำลังรับแรงดึงสูงสุดและระยะห่างของวัสดุเสริม</span><span class="s16">กำลัง</span><span class="s16"> (</span><span class="s16">T</span><span class="s19">ult</span><span class="s16">/</span><span class="s16">S</span><span class="s19">v</span><span class="s16">)</span> <span class="s16">เท่ากันจะให้</span><span class="s16">กำลังอัดสูงสุดเท่ากัน</span><span class="s16"> อย่างไรก็ตาม</span><span class="s16">จาก</span><span class="s16">การศึกษา</span><span class="s16">จำนวนมากพบว่าแนวคิดนี้ไม่ถูกต้องนัก</span> <span class="s16">นอกจากนี้ งานวิจัยในอดีตมักใช้การทดสอบแรงอัดแบบระนาบความเครียด</span><span class="s20">ใ</span><span class="s16">นงานวิจัยนี้ได้</span><span class="s16">นำ</span><span class="s16">ตาข่ายเสริมแรงสองทิศทาง </span><span class="s16">(biaxial geogrid) </span><span class="s16">ประเภท </span><span class="s16">โพลีเอสเตอร์</span><span class="s16"> (Polyester)</span> <span class="s16">ที่มี </span><span class="s16">T</span><span class="s19">ult</span> <span class="s16">แตก</span><span class="s16">ต่างกัน 4 ค่า ได้แก่ </span><span class="s16">40,</span> <span class="s16">60,</span> <span class="s16">80 </span><span class="s16">และ</span><span class="s16"> 120 kN/m</span> <span class="s16">มาเสริมแรงกับตัวอย่างทรายแล้วทำการทดสอบแรงอัดสามแกน </span><span class="s16">(</span><span class="s16">Triaxial compression test) </span><span class="s16">การศึกษานี้กำหนดให้ค่า </span><span class="s16">T</span><span class="s19">ult</span><span class="s16">/S</span><span class="s19">v</span> <span class="s16">หรือ </span><span class="s16">TVR </span><span class="s16">เท่ากับ 500</span><span class="s16">, 1000 </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">1500</span> <span class="s16">kN/m/m </span><span class="s16">ดังนั้นจำนวนชั้นของตาข่ายเสริมกำลังจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณี ทั้งนี้</span><span class="s16">เพื่อ</span><span class="s16">ที่จะ</span><span class="s16">มุ่ง</span><span class="s16">ศึกษาอิทธิพลของค่ากำ</span><span class="s16">ลังรับแรงดึงสูงสุด เมื่ออัตราส่</span><span class="s16">วน</span> <span class="s16">TVR </span><span class="s16">มีค่าคงที่ และ</span> <span class="s16">อิทธิพลของค่าอัตราส่วน </span><span class="s16">TVR</span> <span class="s16">เมื่อ </span><span class="s16">T</span><span class="s19">ult</span> <span class="s16">มีค่าคงที่</span> <span class="s16">ผลการศึกษาพบว่า</span><span class="s16">การเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังที่มีค่า </span><span class="s16">T</span><span class="s19">ult</span> <span class="s16">ต่ำแต่เสริมถี่ </span><span class="s16">ๆ</span><span class="s16">ให้ค่ากำลังอัดสูงสุดมากกว่า เสริมด้วยตาข่ายเสริมกำลังที่มีค่า </span><span class="s16">T</span><span class="s19">ult</span> <span class="s16">สูงแต่เสริมห่างๆ </span><span class="s16">ในทางเดียวกันการเสริมกำลังด้วยตาข่ายเสริมกำลังที่มีค่า </span><span class="s16">T</span><span class="s19">ult</span> <span class="s16">ต่ำแต่เสริมถี่ </span><span class="s16">ๆ</span><span class="s16">ทำให้ตัวอย่างมีการเสียรูป</span><span class="s16">ด้านข้าง</span><span class="s16">ที่น้อยกว่าการเสริมด้วยตาข่ายเสริมกำลังที่มีค่า </span><span class="s16">T</span><span class="s19">ult</span> <span class="s16">สูงแต่เสริมห่างๆ</span></p> อรอนง สุมะนัสชัย วรัช ก้องกิจกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 GTE07 GTE07 คุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินซีเมนต์ผสมยางพาราและดินซีเมนต์ผสมยางสไตรีนอะคริลิค https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/127 <p><span class="s18">ในปัจจุบันการปรับปรุงคุณสมบัติดิน</span><span class="s18">เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน</span><span class="s18">มีหลายวิธีและเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย &nbsp;</span><span class="s18">งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรม</span><span class="s18">ของดินที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์ผสมยางพาราและ</span><span class="s18">ดินซีเมนต์ผสมยางสไตรีนอะคริลิค โดยนำ</span><span class="s18">หินที่เหลือทิ้งจากโรงโม่</span><span class="s18">และ</span><span class="s18">ไม่ผ่านตามมาตราฐานที่กรมทางหลวงกำหนด</span> <span class="s18">มาปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีขึ้น</span><span class="s18"> โดยใช้อัตราส่วนในการผสมดังนี้ซีเมนต์ร้อยละ </span><span class="s18">2</span><span class="s18"> ต่อน้ำหนักดิน อัตราส่วนระหว่างน้ำและยางพาราร้อยละ </span><span class="s18">50</span><span class="s18"> ต่อน้ำหนักดิน อัตราส่วนระหว่างน้ำและยางพารา</span> <span class="s21">ยางสไตรีนอะคร</span><span class="s21">ิ</span><span class="s21">ลิค</span><span class="s18">ร้อยละ </span><span class="s18">50</span><span class="s18"> ต่อน้ำหนักดินเช่นเดียวกัน จากนั้นมีการทดสอบ </span><span class="s18">3</span> <span class="s18">ชนิดคือ การทดสอบเพื่อหาค่าการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน </span><span class="s18">การ</span><span class="s18">ทดสอบแบบไร้แรงดันด้านข้าง</span> <span class="s18">และ</span><span class="s18">การทดสอบการดูดซึมน้ำในมวลดิน</span> <span class="s18">โดยตัวอย่างกา</span><span class="s18">ร</span><span class="s18">ทดสอบจะทำการบ่มระยะเวลา </span><span class="s18">7 </span><span class="s18">วัน ผลทดสอบ ปรากฏว่า ค่าความหนาแน่นแห้งของ</span><span class="s18">ดินซีเมนต์ผสมยางสไตรีนอะคริลิ</span><span class="s18">ค</span><span class="s18">นั้นสูง</span><span class="s18">ดินซีเมนต์ผส</span><span class="s18">ม</span><span class="s18">ยางพารา กำลังรับแรงอัดของ</span><span class="s11">ดินซีเมนต์ผสมยางสไตรีนอะคริลิค</span><span class="s18">นั้นสูงกว่าดินซีเมนต์ผสมยางพารา</span> <span class="s18">และ</span><span class="s18">การทดสอบการดูดซึมน้ำในมวลดิน</span><span class="s18">นั้น</span> <span class="s18">ดินที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์ผสมยางพารามีค่า</span><span class="s18">ร้อยละ</span><span class="s18">การดูดซึมน้ำในมวลดิน</span><span class="s18">สูงกว่า</span> <span class="s18">ดินซีเมนต์ผสมพอลิเมอร์ยางสไตรีนอะคริลิค</span></p> ไอรดาภรณ์ หาดแก้ว กรกฎ นุสิทธิ์ ทวีศักดิ์ แตะกระโทก พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 GTE08 GTE08 การประยุกต์เสาเข็มท่อเหล็กไมโครไพล์เป็นเสาเข็มพลังงานเพื่อถ่ายเทความร้อนจากระบบปรับอากาศในอาคารบ้านพักอาศัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/130 <p><span class="s16">เสาเข็มพลังงาน ทำหน้าที่สองประการ ได้แก่ (</span><span class="s16">1) </span><span class="s16">รับน้ำหนักอาคาร ส่งถ่ายแรงสู่ชั้นดินฐานรากที่มีความแข็งแรงเพียงพอ ลดการทรุดตัวของอาคาร และ (</span><span class="s16">2) </span><span class="s16">ส่งถ่ายความร้อน (หรือความเย็น) จากระบบปรับอากาศสู่ดิน เนื่องจากดินมีความสามารถถ่ายเทความร้อนดีกว่าอากาศ ในประเทศไทย พบว่าพื้นดินมีอุณหภูมิคงที่ตลอดปีที่ประมาณ </span><span class="s16">28-30 </span><span class="s16">องศา จึงสามารถใช้ดูดซับความร้อนจากระบบปรับอากาศเพื่อลดการใช้พลังงานในอาคารได้ บทความนี้นำเสนอการประยุกต์เสาเข็มท่อเหล็กไมโครไพล์ขนาด </span><span class="s16">6 </span><span class="s16">นิ้วเป็นเสาเข็มพลังงานเพื่อถ่ายเทความร้อนจากระบบปรับอากาศจากอาคารบ้านพักอาศัย โดยอธิบายการติดตั้งเสาเข็มพลังงานจำนวน </span><span class="s16">13 </span><span class="s16">ต้น ที่ความลึก </span><span class="s16">17-18 </span><span class="s16">เมตร ปลายเข็มอยู่ในชั้นทราย จากผลการทดสอบการตอบสนองทางอุณหภูมิของเสาเข็มพบว่าชั้นดินมีค่าสัมประสิทธิการนำความร้อนประมาณ </span><span class="s16">1.49-</span><span class="s16">2 </span><span class="s16">วัตต์ต่อเมตรต่อองศาเซลเซียส</span> <span class="s16">การวิเคราะห์ในเบื้องต้นคาดว่าเสาเข็มพลังงานนี้สามารถใช้งานกับระบบปรับอากาศขนาด </span><span class="s16">9000 BTU/hr </span><span class="s16">ได้โดยไม่ทำให้อุณหภูมิโดยรอบเสาเข็มสูงเกิน 6 องศา หากใช้งานตลอด 24 ชม.ติดต่อกัน 6 เดือน</span></p> อภินิติ โชติสังกาศ ธิติ ชาญชญานนท์ อรรถพร วิเศษสินธุ์ สกาวรัตน์ สัตยานันท์ สินีนาฏ อ่อนคำ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE09 GTE09 อิทธิพลของระยะห่างระหว่างหัวเจาะต่อการทรุดตัวของผิวดินจากการก่อสร้าง อุโมงค์คู่ - การวิเคราะห์เชิงตัวเลขแบบสามมิติ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/139 <p>การทำนายค่าการทรุดตัวของผิวดิน (Surface settlement) จากการขุดเจาะอุโมงค์คู่ โดยหัวเจาะแบบปรับความดันดินสมดุล (Earth pressure balance shield) มีความสำคัญในการประเมินผลกระทบเบื้องต้นที่จะเกิดขึ้นในขณะการก่อสร้างเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการขุดเจาะอุโมงค์ ที่ผ่านมามีการนำเสนอวิธีการประมาณค่าการทรุดตัวของผิวดินจากอุโมงค์คู่หลายวิธี ใช้วิธีทับซ้อนกราฟ (Superposition technique) โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับสมการ Gaussian เป็นการรวมแนวการทรุดตัวของผิวดินจากอุโมงค์ตัวแรกเข้ากับแนวการทรุดตัวจากอุโมงค์ตัวที่สองซึ่งค่าที่ได้จะเป็นแนวการทรุดตัวโดยรวมที่เกิดจากการก่อสร้างอุโมงค์คู่ อย่างไรก็การศึกษาก่อนหน้ายังไม่ได้พิจารณาระยะห่างระหว่างหัวเจาะ (Lagging Distance) ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าของการทรุดตัวของผิวดิน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาอิทธิพลของระยะห่างระหว่างหัวเจาะต่อการทรุดตัวของผิวดิน จากการขุดเจาะอุโมงค์คู่เพื่อให้เข้าใจและเป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาสมการต่อไป โดยจะใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลขแบบสามมิติ วิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ กับปัญหาต้นแบบอุโมงค์รถไฟฟ้ามหานครที่มีผลตรวจวัดให้ปรับเทียบได้ ในการวิเคราะห์ได้แปรเปลี่ยนค่าระยะห่างระหว่างหัวเจาะ และระยะห่างระหว่างอุโมงค์ทั้งสอง เพื่อตรวจสอบการทรุดตัวโดยรวมที่เกิดขึ้น</p> ทิพวรรณ อิ่มเอิบ ประทีป หลือประเสริฐ พรเกษม จงประดิษฐ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE10 GTE10 ผลของการดูดน้ำของรากพืชต่อการเคลื่อนตัวของผิวดินบนโครงสร้างพื้นฐาน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/140 <p><span class="s19">โครงสร้างพื้นฐานเช่นถนนและคันดินรางรถไฟในกรุงเทพฯและปริมณฑลตั้งอยู่บนพื้นที่ดินเหนียวอ่อน และมักจะพบปัญหาเกิดจากการหดและขยายตัวของดินเหนียวตามฤดูกาล</span> <span class="s19">และนำไปสู่ปัญหาการทรุดตัวที่แตกต่างกัน (</span><span class="s19">differential settlement) </span><span class="s19">ซึ่งความรุนแรงของปัญหานี้อาจจะเพิ่มขึ้นได้เมื่อมีต้นไม้ไกล้เคียง เนื่องการดูดน้ำของพืชก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงดันน้ำในดิน (</span><span class="s19">pore</span><span class="s19"> water pressure)</span><span class="s19"> ที่มากขึ้นบริเวณไกล้รากต้นไม้</span> <span class="s19">การศึกษาที่ผ่านมามักจะอ้างอิงระยะปลอดภัยระหว่างต้นไม้และสิ่งก่อสร้างจากค่าความสูงของต้นไม้แต่ไม่ได้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำในดิน</span> <span class="s19">ดังนั้นการพิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำในดินที่จากอิทธิพลการดูดน้ำของพืชจะช่วยให้เข้าใจการทรุดตัวของดินและหลีกเลี่ยงปัญหาการทรุดตัวที่จะเกิดกับโครงสร้างพื้นฐาน บทความนี้จะทำการศึกษาผลของการดูดน้ำของพืชต่อความปลอดภัยและความสามารถในการใช้งานของโครงสร้างใกล้เคียง บทความนี้ได้อ้างอิงวิธีการจำลองการดูดน้ำของพืชอย่างง่ายเพื่อพิจารณาผลของการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำที่เกิดขึ้นจากพืชต่างชนิดกัน โดยใช้แบบจำลองไฮโปพลาสติก</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">hypoplastic model) </span><span class="s19">สำหรับดินไม่อิ่มน้ำ </span><span class="s19">(unsaturated soil)</span><span class="s19"> เพื่อจำลองพฤติกรรมแบบไม่เป็นเส้นตรงทั้งเชิงกลและเชิงชลศาสตร์ควบคู่กัน </span><span class="s19">(coupled</span> <span class="s19">non-linear hydro-mechanical behavior) </span><span class="s19">ค่าตัวแปรต่าง ๆ ของดินและต้นไม้มาจากการสอบเทียบกับข้อมูลภาคสนาม โดยผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า</span><span class="s19"> หากโครงสร้างพื้นฐานอยู่ใกล้กับต้นไม้เกินไปจะส่งผลต่อความสามารถในการใช้งานและความปลอดภัยได้</span></p> พัฒนพงศ์ จารุกมล วิรุฬห์ คำชุม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE11 GTE11 ผลกระทบจากการรบกวนตัวอย่างดินต่อพารามิเตอร์หน่วยแรงประสิทธิผลของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/154 <p><span class="s18">บทความนี้เสนอ</span><span class="s18">การศึกษา</span><span class="s18">ผลกระทบจากกระบวนการเก็บตัวอย่างดินต่อพารามิเตอร์กำลังรับแรงเฉือนในสภาวะไม่ระบายน้ำ </span><span class="s18">(</span><img class="s19" src="data:application/pdf;base64,JVBERi0xLjMKJcTl8uXrp/Og0MTGCjQgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCA1IDAgUiAvRmlsdGVyIC9GbGF0ZURlY29kZSA+PgpzdHJlYW0KeAFtjkEKwkAMRfee4i11M00yndpuFQ9QCHiAoguhQh28v61jEUH+4pPk834meiZklhqaeFw4c6c6ZmXI74OQhyUTJNbSSadlO49qiSZYbJu4x0ItjaXNMHJwtE2F+nEfqdwVxa9snzv8xslL+X+wBW0XsSKjLW8Kq/8i8xfZvwD15y06CmVuZHN0cmVhbQplbmRvYmoKNSAwIG9iagoxMzIKZW5kb2JqCjIgMCBvYmoKPDwgL1R5cGUgL1BhZ2UgL1BhcmVudCAzIDAgUiAvUmVzb3VyY2VzIDYgMCBSIC9Db250ZW50cyA0IDAgUiA+PgplbmRvYmoKNiAwIG9iago8PCAvUHJvY1NldCBbIC9QREYgL1RleHQgXSAvQ29sb3JTcGFjZSA8PCAvQ3MxIDcgMCBSID4+IC9Gb250IDw8IC9UVDEgOCAwIFIKPj4gPj4KZW5kb2JqCjkgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCAxMCAwIFIgL04gMyAvQWx0ZXJuYXRlIC9EZXZpY2VSR0IgL0ZpbHRlciAvRmxhdGVEZWNvZGUgPj4Kc3RyZWFtCngBnZZ3VFPZFofPvTe90BIiICX0GnoJINI7SBUEUYlJgFAChoQmdkQFRhQRKVZkVMABR4ciY0UUC4OCYtcJ8hBQxsFRREXl3YxrCe+tNfPemv3HWd/Z57fX2Wfvfde6AFD8ggTCdFgBgDShWBTu68FcEhPLxPcCGBABDlgBwOFmZgRH+EQC1Py9PZmZqEjGs/buLoBku9ssv1Amc9b/f5EiN0MkBgAKRdU2PH4mF+UClFOzxRky/wTK9JUpMoYxMhahCaKsIuPEr2z2p+Yru8mYlybkoRpZzhm8NJ6Mu1DemiXho4wEoVyYJeBno3wHZb1USZoA5fco09P4nEwAMBSZX8znJqFsiTJFFBnuifICAAiUxDm8cg6L+TlongB4pmfkigSJSWKmEdeYaeXoyGb68bNT+WIxK5TDTeGIeEzP9LQMjjAXgK9vlkUBJVltmWiR7a0c7e1Z1uZo+b/Z3x5+U/09yHr7VfEm7M+eQYyeWd9s7KwvvRYA9iRamx2zvpVVALRtBkDl4axP7yAA8gUAtN6c8x6GbF6SxOIMJwuL7OxscwGfay4r6Df7n4Jvyr+GOfeZy+77VjumFz+BI0kVM2VF5aanpktEzMwMDpfPZP33EP/jwDlpzcnDLJyfwBfxhehVUeiUCYSJaLuFPIFYkC5kCoR/1eF/GDYnBxl+nWsUaHVfAH2FOVC4SQfIbz0AQyMDJG4/egJ961sQMQrIvrxorZGvc48yev7n+h8LXIpu4UxBIlPm9gyPZHIloiwZo9+EbMECEpAHdKAKNIEuMAIsYA0cgDNwA94gAISASBADlgMuSAJpQASyQT7YAApBMdgBdoNqcADUgXrQBE6CNnAGXARXwA1wCwyAR0AKhsFLMAHegWkIgvAQFaJBqpAWpA+ZQtYQG1oIeUNBUDgUA8VDiZAQkkD50CaoGCqDqqFDUD30I3Qaughdg/qgB9AgNAb9AX2EEZgC02EN2AC2gNmwOxwIR8LL4ER4FZwHF8Db4Uq4Fj4Ot8IX4RvwACyFX8KTCEDICAPRRlgIG/FEQpBYJAERIWuRIqQCqUWakA6kG7mNSJFx5AMGh6FhmBgWxhnjh1mM4WJWYdZiSjDVmGOYVkwX5jZmEDOB+YKlYtWxplgnrD92CTYRm40txFZgj2BbsJexA9hh7DscDsfAGeIccH64GFwybjWuBLcP14y7gOvDDeEm8Xi8Kt4U74IPwXPwYnwhvgp/HH8e348fxr8nkAlaBGuCDyGWICRsJFQQGgjnCP2EEcI0UYGoT3QihhB5xFxiKbGO2EG8SRwmTpMUSYYkF1IkKZm0gVRJaiJdJj0mvSGTyTpkR3IYWUBeT64knyBfJQ+SP1CUKCYUT0ocRULZTjlKuUB5QHlDpVINqG7UWKqYup1aT71EfUp9L0eTM5fzl+PJrZOrkWuV65d7JU+U15d3l18unydfIX9K/qb8uAJRwUDBU4GjsFahRuG0wj2FSUWaopViiGKaYolig+I1xVElvJKBkrcST6lA6bDSJaUhGkLTpXnSuLRNtDraZdowHUc3pPvTk+nF9B/ovfQJZSVlW+Uo5RzlGuWzylIGwjBg+DNSGaWMk4y7jI/zNOa5z+PP2zavaV7/vCmV+SpuKnyVIpVmlQGVj6pMVW/VFNWdqm2qT9QwaiZqYWrZavvVLquNz6fPd57PnV80/+T8h+qwuol6uPpq9cPqPeqTGpoavhoZGlUalzTGNRmabprJmuWa5zTHtGhaC7UEWuVa57VeMJWZ7sxUZiWzizmhra7tpy3RPqTdqz2tY6izWGejTrPOE12SLls3Qbdct1N3Qk9LL1gvX69R76E+UZ+tn6S/R79bf8rA0CDaYItBm8GooYqhv2GeYaPhYyOqkavRKqNaozvGOGO2cYrxPuNbJrCJnUmSSY3JTVPY1N5UYLrPtM8Ma+ZoJjSrNbvHorDcWVmsRtagOcM8yHyjeZv5Kws9i1iLnRbdFl8s7SxTLessH1kpWQVYbbTqsPrD2sSaa11jfceGauNjs86m3ea1rakt33a/7X07ml2w3Ra7TrvP9g72Ivsm+zEHPYd4h70O99h0dii7hH3VEevo4bjO8YzjByd7J7HTSaffnVnOKc4NzqMLDBfwF9QtGHLRceG4HHKRLmQujF94cKHUVduV41rr+sxN143ndsRtxN3YPdn9uPsrD0sPkUeLx5Snk+cazwteiJevV5FXr7eS92Lvau+nPjo+iT6NPhO+dr6rfS/4Yf0C/Xb63fPX8Of61/tPBDgErAnoCqQERgRWBz4LMgkSBXUEw8EBwbuCHy/SXyRc1BYCQvxDdoU8CTUMXRX6cxguLDSsJux5uFV4fnh3BC1iRURDxLtIj8jSyEeLjRZLFndGyUfFRdVHTUV7RZdFS5dYLFmz5EaMWowgpj0WHxsVeyR2cqn30t1Lh+Ps4grj7i4zXJaz7NpyteWpy8+ukF/BWXEqHhsfHd8Q/4kTwqnlTK70X7l35QTXk7uH+5LnxivnjfFd+GX8kQSXhLKE0USXxF2JY0muSRVJ4wJPQbXgdbJf8oHkqZSQlKMpM6nRqc1phLT4tNNCJWGKsCtdMz0nvS/DNKMwQ7rKadXuVROiQNGRTChzWWa7mI7+TPVIjCSbJYNZC7Nqst5nR2WfylHMEeb05JrkbssdyfPJ+341ZjV3dWe+dv6G/ME17msOrYXWrlzbuU53XcG64fW+649tIG1I2fDLRsuNZRvfbore1FGgUbC+YGiz7+bGQrlCUeG9Lc5bDmzFbBVs7d1ms61q25ciXtH1YsviiuJPJdyS699ZfVf53cz2hO29pfal+3fgdgh33N3puvNYmWJZXtnQruBdreXM8qLyt7tX7L5WYVtxYA9pj2SPtDKosr1Kr2pH1afqpOqBGo+a5r3qe7ftndrH29e/321/0wGNA8UHPh4UHLx/yPdQa61BbcVh3OGsw8/rouq6v2d/X39E7Ujxkc9HhUelx8KPddU71Nc3qDeUNsKNksax43HHb/3g9UN7E6vpUDOjufgEOCE58eLH+B/vngw82XmKfarpJ/2f9rbQWopaodbc1om2pDZpe0x73+mA050dzh0tP5v/fPSM9pmas8pnS8+RzhWcmzmfd37yQsaF8YuJF4c6V3Q+urTk0p2usK7ey4GXr17xuXKp2737/FWXq2euOV07fZ19ve2G/Y3WHruell/sfmnpte9tvelws/2W462OvgV95/pd+y/e9rp95Y7/nRsDiwb67i6+e/9e3D3pfd790QepD14/zHo4/Wj9Y+zjoicKTyqeqj+t/dX412apvfTsoNdgz7OIZ4+GuEMv/5X5r0/DBc+pzytGtEbqR61Hz4z5jN16sfTF8MuMl9Pjhb8p/rb3ldGrn353+71nYsnE8GvR65k/St6ovjn61vZt52To5NN3ae+mp4req74/9oH9oftj9MeR6exP+E+Vn40/d3wJ/PJ4Jm1m5t/3hPP7CmVuZHN0cmVhbQplbmRvYmoKMTAgMCBvYmoKMjYxMgplbmRvYmoKNyAwIG9iagpbIC9JQ0NCYXNlZCA5IDAgUiBdCmVuZG9iagozIDAgb2JqCjw8IC9UeXBlIC9QYWdlcyAvTWVkaWFCb3ggWzAgMCAxMiAxNV0gL0NvdW50IDEgL0tpZHMgWyAyIDAgUiBdID4+CmVuZG9iagoxMSAwIG9iago8PCAvVHlwZSAvQ2F0YWxvZyAvUGFnZXMgMyAwIFIgPj4KZW5kb2JqCjggMCBvYmoKPDwgL1R5cGUgL0ZvbnQgL1N1YnR5cGUgL1RydWVUeXBlIC9CYXNlRm9udCAvQ1dTU0lTK1RpbWVzTmV3Um9tYW5QUy1JdGFsaWNNVAovRm9udERlc2NyaXB0b3IgMTIgMCBSIC9FbmNvZGluZyAvTWFjUm9tYW5FbmNvZGluZyAvRmlyc3RDaGFyIDExNSAvTGFzdENoYXIKMTE3IC9XaWR0aHMgWyAzODkgMCA1MDAgXSA+PgplbmRvYmoKMTIgMCBvYmoKPDwgL1R5cGUgL0ZvbnREZXNjcmlwdG9yIC9Gb250TmFtZSAvQ1dTU0lTK1RpbWVzTmV3Um9tYW5QUy1JdGFsaWNNVCAvRmxhZ3MKOTYgL0ZvbnRCQm94IFstNDk4IC0zMDcgMTM1MiAxMDIzXSAvSXRhbGljQW5nbGUgLTggL0FzY2VudCA4OTEgL0Rlc2NlbnQgLTIxNgovQ2FwSGVpZ2h0IDY2MiAvU3RlbVYgMCAvTGVhZGluZyA0MiAvWEhlaWdodCA0MzAgL0F2Z1dpZHRoIDQwMiAvTWF4V2lkdGggMTMxMgovRm9udEZpbGUyIDEzIDAgUiA+PgplbmRvYmoKMTMgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCAxNCAwIFIgL0xlbmd0aDEgNzYyOCAvRmlsdGVyIC9GbGF0ZURlY29kZSA+PgpzdHJlYW0KeAGdOQl0VFWyVfe+XrJ00kmTdIcmea/z0p2QztqdkIUO6aygEQkkjN3IkgCBgCBBQIEvBlyhUXFGxW0UnU2GoHnpgDagklHGcRm/MzoqOh7FGUQdB0VHHL5C3q/3OoPi+WfmnP9u6tatW1V3qaq7ddZeta4HkmEzcAguWtndB/qX1U4oZ9HVa6U4nTwNwLRzSd/SlXHadgzA0L10xYYlcTprPQD/urene3GchrOEJ/VSRZzGCsJ5vSvXkpz2ZTVTlrxi1aIxfpbWr3ll9/qx/uFdoqUru1f2EKYv+17KKvpWrVmrk5CtyRX0XdUzJo8hgMSTcd73cqQyhy8hANeDARhYoRRmAwj3sBAIRGt8A0DbzcfnLUgNnDZnmXXln4uxp7XCc6b135w1nLs18TVzGUkn6PIag/RMrtEWuCzxurOGb9oTXwMHmDTG+Y8PdUJDMn8KygiCBA8TKAQGdYQfGm5p8QVjhL0lOo4WTPQd0BnjPb7NDTZ+CHYRDBK8SiDQLA6BSMD4ITYI+SCS8IFoplPXikUbG8cKk6rjheHCYt/7DYk8Bp8TMB7jB6AgrjVcUOI71ZBKFTQL/iQgAad5i/wZfhi8utDhaF6h7wB/gm+J1oqpDXY+DFYeBYmgnaCP4BiBkUY3DO8TfE6gEgiQzndH/7JNfIbvwivwfmr1XrjTjMFksV/oN7B+1s/ZgkNMAVRH0B7NWuKLqSPDPeOX0Lg34xqt4ml+I9q1AakjbDBa7g/GCJXoaJjspJHDnvw4drnjeIKk46gcl87yP/wU2UkhOMYG9/Mgd02kjr4crvXU+Z7i12sJas2wXwy65/pzYjTPuYtJ4LNhd4l/HJGaY5Y9w7eQjSJ6nqLVlfqsGm/m5b5kDV8605er4anTfSmEo63+RELBBM9UX7q7KaQLRX1+TSda6E/XRKvqfOmHqME68KtfBTPcdX6Hu/Jyn9XtqfAZ3YX+ZOo/po4G89zF/uTaUr/vPvce90H3i27B4J5EXF+1L6t2Ym11LXe47dTgvgJ3tVt4im/RErjNELSKqaI2eHG9yJLEMj/N6othUZ/2Zk4JRBLKEKsWmAZNbIFx0Mhy95J8wt5S6vjdYOJeMdeXK3tnaVPqj0706yhXM0p/NEei1j56Msfr9+WQMbSI7X/ikhk+n6fI35Cofsb7oYYmdoawl/DfSKXWL5HmcH2rj6zcP1xa6yM79JM7dZKiVG/f4xc07kUXV2iYDKkjl99BVDA525/rKfP5cj3+aur/TDDRQ50neJwuX+QZ6gp5v5bAQxMrEatEY6mx3sh3sUF2mL3KhF18kB/mr3JhFUnt4Fzkpbyez+ALuCG1oZKdJBcvoHwXwfsEHEoprydYpVODFEMIMyinFmkTKKW8Xi/Va1Gscxb8gKOtD+RRHmUnKSmUqJXg+CqEMgwiQ4QEZGAGu532i/Q0c7Ahif0Xk6ECLFin51V67gyOr7DsqLDcWGHprbCEKyydFZZpFZaiCktBhaXByipBAgtzajme1fPn9Lxdz4uC4yXLKcnyjGS5S7JskCzLJUu3ZFkgWZolS4MFp2A1WKBOz8v0PFvL8dy+1OmpkHAYz8F0sPAhMm0GiCwj6qkQY2xc1FNPyBzNOSQ2ZDEj5JiRuAaCAQJhDHMQBa0eoVzbBfBbkPFHhB+PegrFGD4WRwNamw0ZuBs8mjb+EnLQTfgXMKDTP4NyHT8yhh+MyitI+6caakjAB0DWOqEO/HonV0c9JcReES2/SmxIwyuoT63vXsjTxVooRDTx+jE1OZrzkPgUuiCHhiki7PNsEM+RvjsqfuOPmTEq/k9ejA1ExY89MSTqQ+LdHxWPlxMVTBL/Wn5c/Ev5NvE1T4zhE+IfPK+Ir7hjAgk+SRIk+LhHb2RvDlWS/EPl88V7PA+Jd8bbjuTpQjeQMQeCNvF6mtI6+bjYR80slq8S58ebmifrI5h9Qm+4g8ZD7c/w65WXerSGbeLU8qViq2dAbCp/RZwizxdrRap/QqzJOy5WyfoQSmRdvTCHJkcjmSgPiPnlA+LsqqfweTBhhMAbLDH1m1ablpmWmNpMQVO1aZKp2JRrcpnGmdPNVnOKOdmcaDabjWbBzMxgHhdTjwW92lE4zmjVkJFOKQRBL1uZVqaMcmBoZnAxKDbexto6GpUqb1vMpM5Sqr1tSkL75aEhxNvD2KaMLIK2hZLydYccw8SZcxSD3IhKehu0dTY6SFhhW2MInaEYqprGTU4lvSlEhxgGb7rNqeHwTbeFw5B5db2jPn1KWk1r8/+RdemVXc3e7z7Hd0W95MhWdrZ1hJQ92WHFpxXU7HCbMrVDmhs6wDax/2ppPsCu1VA4dABb2aaWWVo9tjaHz4tRQF1LYhTUhDSxfsjRxCi6+3Wx+XprtDw2aWJuDWliu0HUxUTcrYlRmGlyQwNiS/OQSBnJCH0woMsMCH1xGbcuc+J7MgYrnNBlThisend2XSQvj5oppywcGsrNI4GhvFydPfM7thxnb4qzN+nsK79j++PsPXH2HmL/wHj/b7Kn8T+ptizraMS29tCQGRrDTWQWDWda+6bocZC2v26z8yBO4G9DkjesJMqNSpLcCPX1Dq81gKXzjMmKkepMBFrYTHY5rnMeFIBMroknU7VljFXcUNygsSicNVYKVaeOsRzXTXZRJ7vHWFaqTqNOKI5LOigur2hRCrsIyc1hcLQsa6a/MbSGvnXr1q1Zs5bydetIwdPRptTNnBMa8nhalKyu5rC3xbGsee2/MQK0KYWkVK8pmUwtSpCU1qzx6npe77p4gdrWij/81sbrtC684CWlsQ8JA42NEJJJY+p7wzkT9FN3v9fv8Hj9B9RTfMtQul+TD+MabXykT63F29BKWpkWuuF2gktAJJjAV4MDQP2A4GMNRi9WzxpoNx7tVf/Cp5Dw3WNAiD437IbbMQk20S29BXzwC3gJroA+mAmDdHM/hW/BVPKGG66BiRCEc5CJ3dCKVUTdDnb1JeJcrn7CTtB+cx9sodv+OngTFsHzdD29H/2QB9Xwe6hTl4LNcBQmwc1wt/pnMAkV8Es4qr6rjsI0+BkcxQB28M2GKXAZbIRr4Va0YyFW47XgoTGsh6dhhFkT9tNLaTpcCp0QgqWwj04VRu+HdhjEN3gT9RSC7ViJI+peOoDdpFkMDTiJedWDkAOFdKRPhnq4Ce6Ce+EtLME6Xi4cADvNqRsOYApmYi4eVn8KIqXpMJdGeivshD3wMryMInayUt5l+PXox5ACq2iEm2A7vAFfYCJehutZjD82Wq8uV4fVI6RdRf000567nqTuodk9Ck/ACPyGbHIUs7Ed78HPhLUG37kto38cPaZmql9AKo11NvTCldAP28g/D8Gz8A4chzMooBnT8FlWxt7hKcJDBrsK6i3kNYneUg1krfVwC2yldIA0fosSFqAf1+KbLIWlshXsOjbA/s630S3ir8JHapO6W32ObP4JvZZkSh6YRV7dRF7bQb7bC4/DfojBC/A3OAVfkSWX43Ycwv34TzaOPcbeEM4ajhpOqQ+qZyGJrO2GIiij5CcLToWLaCxXwv3kqRfhFXgXvoFv0Ik1eB3eghG8He/Gnfg+fs1upkvhe3wn/zVX+AsCCj5huWG74Zhxpql7dOfo/Wobzc5GbVdQ3EwhG/ZQLK6hmPgp2TEKT8JhGts/4Vuyi41mm4eTcRaux2txC+7Ah/FtNo0tZ6tYH0eezWWez7cKojAg/FF4x7DRsH3UMxpWS/SzMZGiYTKNO0RpASyhXjZS2k52GISnyFu/o6j9hKL5NHxLvTHycxJmoAvzsYXSbPJ6COdjN/biJvw5DuA7+BmzMgfLZTvYXezn7DX2EV/N7+QP8GH+Oh8VVEOSwUepzRCm+Q4YvjTONm4zNZoWmh41//5c4bkXzr03mjyaMZo/2jF64+ghNaRerV6jPqI+qj6mDqoj2kKly/FdkE3xJVHKhxJaOW1wCcyn8V8BqykmI3AH/JjSozSHYdgHRyji/givwXvwPqUT8DF59lN9TqfhLM3JgTKWU7xU4VxciEuwDzfq6Xq8F+/DB1DBwziCL+Hr+BYexWOUvsZ/4hmWzmyslFWxZjaVzWCz2CLWw/rocXkve4D9ij3JDrLfkpffZG+xD9kon0CeaOHT+Dw+nyyygZ5Kj/An+Z/4G/wo/4CfIdsI5COXIAtuoVZYKtwgHDMUkJ0WG5YbdlF61phkXE4vpWHjy8aPTUZTgWmaqd30K1PUpNJKGYSf0Cr93kcRtxsnsstplByfY/vwTnyFRYWTLAXDuJEDKxaKKManwwm2jbtxCl+PTlrHt8FFjJMNU9iDbCpFt/bNolXspzjsNLwuZOCjdJe6mW6z7fAq7TttJLMVDoJbPQpp8GP1CtiPdlpRPep9tBY2YxuO0BpaylazvwlnuZUi9AP+NsXNCVr7FbjT+DLMZV6KtjrYBZn0bssnL21AiZXAHLiPbyVPuyALCoUVBtrD8Ut60uxhO9k2tk99kS52f6d9b44wlS58x2jfL6Tr86fwOI3tJfY624b7BSM+gjNoDBPop4X5FMt57EHo4etQYJvZP4Sj8DarYXN4EX4plHMO7eSnGyCMn6IZ9uJOdgZdcDduptl/iJ+yD2Et/ANVdo7vYL34Av4OM5kXG3kZjLIPcCGNJg8+M9jpmllF68hIcXWC7eFL6HnwuuFZ/q4wnT8BAj6DVewsl1gzTufV6klwG89wy+gbahM0M1X9iZB07nOyzmp4Wz3Ci4Vu4eJv93/7KrPjT/hKQ0j9cnST4QY2BZYYPjHVwQbWRDvEq3QWDUIhfs7Gk91FqqklS9mFO779ls2EbHYKT8N63EGrI49m0kk7xyAspRuHh2xnpB36XviGXjfPwnS+jvaZJ+AIRfu1tLfb2CI6Z3pxFl2dS5BeVJTup2j4QlgGG2Az+f9pOk0HqJRj+OVoEP6b9r0f0Vr8M26nVTeN1Qgh6KCz9HrIBQg2dAbrp9QFJtfWVFdVVvh95WWlJcVF3sKJBfked56c65LEnOwJzvFZDntmxjhbepo1NcWSnJSYYDYZDQKnp1FRi9zaJSmeLkXwyNOmFWu03E0V3d+r6FIkqmq9UEaRNL1uYl0gGSTJJT+QDMYlg+cl0SoFIFBcJLXIkvJKsyzFcM7MEJVva5bDknJSL0/Xy3foZQuVXS5SkFocvc2Sgl1Si9J6dW+kpau5uAiHkhKb5KaexOIiGEpMomISlRS73DeE9imoF5i9pXaIHuYWmqIyXm6mm5lMqtQMd7d0L1baZ4Zamp0uV7i4SMGmRfJCBbTboVcXgSa9G8XYpJj0bqRlCs0GtktDRSORW2NWWNjlTV4sL+6eG1J4N7XRoqR5qd9mxb7xuOM7khqnK+ot3+c6eYTubpImHIncIikPzwx9T9fp0loIh6kN0mXu1q5IK3V9K3kKHaU0OG342lTik+qRW7SaruWSkiA3yr2R5V3kj/ERBWZtcEXHjw8eUI/B+BYp0hmSXUq9Uw53N08YGgeRWRuGs4JS1oWc4qIha1rcmkMpqWOFZMv3Cz1k6ThPL+niWqlt1nlzojYi+SK61CrSIolGEpJpItVa1lMNkUXVZHX6wkhaymJywzIloakrYq3V6smUqBjcVlmKnAZyu3zy7xfWdI/VGN3W06AxteA4H18KHaJjsaZ4vUphoRYXpiZyJI1xik5XFhddHWOfyX1WiRCZD9pDpBauLSWbu1yaV7fHgrCQCGXzzFCclmChMwrBUnpEsC6NM/IvTsZsjbP5X5zz6l0yhe8+uh0AZChmz/m/VGumraW3VsHMf8PuifPbOuQ2eiJILZGusVBt67yAivM1g5LdiDdWUmxNIe5kWmhTiTm5zqVInDvnvAgRoWRFcNOfUY/kxTGTmUJRr0GpVbF2TYvn4USXa2yh/CelmHpK09LRd2pj01BqvWMDjQ9bmXwBfcHwkiO8rZP2GdbWOScSSbyA10o7WCTSKkutka5Id0zdvFCWrHLkAN0BlUhfC+09cY/G1IPbnUrrrWGaSi/WUtwyaByScevMoSBu7ZgTOkC/b0hbO0NRhqypqzEcLiZnGWvonMtWT9K7MEAk6h6k/2/QLk/idHvkeg0dVPpXAW/S72EMJ9DJOYH+/cDpNly/j+EZoynGlgRtYBDOcEg0CWcQssxGwxn6/R4vHk742bv0mP06cC5wqfWrwPRzAainsvUsZeVlrjRXmpsynCDAWYmPnA0a6N4oCSP0Q/tJ9WO6C26jm/KTwTwfoj3Xaa03JwmpjqSM1Np8Q0GSnHof56VYT0f2ArrYxlAIJpY8D2UmQ95EU1YM9wcrMp532JOy89KSWASex2B6Un07Ir6YUvsH6Zh0SuL90g5plzQiCdLD5lrP3eMjWc876Kf9oK2i0hEsI3DlVjzsGHEwx7XlB7EZFwNN5vQ8ej5+dZLSvHnnvprnPU6/vJ6sDxw/Gc/nlZfhvHlemIdc9njkXGPGuEx7Jp1SRjk3n2iTbPNnZvp9kyor8ktYZcUkv4/Yfl8V+6jObeidPuWi7PLrL3nsxmnzXenFdned23jVokvC1gnD/ttWSeNTlqZ5s/m20Vdu3thc5gpMuv2OYO8juckl2HzvdbOnFOQG/rS8svtmA88vJe8F1I/5EbJhAO8J3miuzapl6ZXlU8s7A8szN2RszNyb8Vv4JiNhdknn5OUJvC2jE+Zk8EkQyGCugok1bCABazz1BTMKFhSczvg683SNadzkQMCWkOjJr66pzbQb/BkBmyffWVfi94tOaZzTKXlNAQof+rnaFhhnswUcKUlOW12B5AzYrImRhC4eYzzoDDxmCzZV2oKOrApbMKNStM2wLbDtsO2yGWwxVhFM9rudwRIscUt3pzvJGdHaSg0Nk7iOx2XEcVGFjoNZckFFmTPofNjJnVl1CU67zU6dJl7zHP1GZg0EyFcUeZrLvF7aCfY7g3J6vd4QRYOGhzJriBXG6V+dnGclnxJxnJxLutaA1zoyQgF7S0qJ17DJegQc9YF6jUghAtPSa2oI0u011hetL96SYg0cKS8jt6+ep33UV9CR4UiqyXAk10Bucs1kgjKCHAJtMFqfFCNaeFAwVNmNJgoQT2VF1aQqNlayUYxQxBhN+ZOqKEwohkxj8lNYVRU/8ni+JSltYkfOjI4qf36Rxdq258OFJcGiy6S0xIzCi8W2zuAkd2nB/PysDNfyoTUNmXz1ub03yelp4gr7psmeIjm3+uIzo5/8KVje9gBWrnImp+V0Za6t8pa6J20fffpG2WZv/Ovv3r5EW/60C6if7/mN6oLF8e3gBzkn+kf0JtT2kfSxncRIN0Bouqyj46IOb+eylT1rLu25Ztaqld1XtncUX7S2e8WyRdM7SeF/ARPp0jMKZW5kc3RyZWFtCmVuZG9iagoxNCAwIG9iago1NTI1CmVuZG9iagoxIDAgb2JqCjw8IC9Qcm9kdWNlciAoaU9TIFZlcnNpb24gMTMuNS4xIFwoQnVpbGQgMTdGODBcKSBRdWFydHogUERGQ29udGV4dCkgL0NyZWF0aW9uRGF0ZQooRDoyMDIwMDYyOTE3MjM1MlowMCcwMCcpIC9Nb2REYXRlIChEOjIwMjAwNjI5MTcyMzUyWjAwJzAwJykgPj4KZW5kb2JqCnhyZWYKMCAxNQowMDAwMDAwMDAwIDY1NTM1IGYgCjAwMDAwMDk0MjUgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMDI0NyAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAzMTk0IDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDAwMjIgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMDIyOCAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAwMzI3IDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDMxNTkgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMzMyNSAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAwNDI0IDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDMxMzggMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMzI3NSAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAzNTIyIDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDM3ODkgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwOTQwNCAwMDAwMCBuIAp0cmFpbGVyCjw8IC9TaXplIDE1IC9Sb290IDExIDAgUiAvSW5mbyAxIDAgUiAvSUQgWyA8ODk2ODM2ZDU0OWIxMTNhZDE0OGNlOTdmZmVkODZiYTU+Cjw4OTY4MzZkNTQ5YjExM2FkMTQ4Y2U5N2ZmZWQ4NmJhNT4gXSA+PgpzdGFydHhyZWYKOTU4NgolJUVPRgo="><span class="s18">) </span><span class="s18">และหน่วยแรงประสิทธิผลของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ โดยศึกษารูปแบบการเก็บตัวอย่างดินแบบไ</span><span class="s18">ม่ถูกรบกวนโดยใช้กระบอกเปลือกบาง</span><span class="s18">และพิจารณาวิธีการเก็บตัวอย่าง การขนส่ง</span> <span class="s18">และจัดเก็บรักษาตัวอย่าง</span> <span class="s18">ซึ่งมีอิทธิพลต่อหน่วยแรงประสิทธิผลของก้อนตัวอย่างดิน</span><span class="s18">และ</span><span class="s18">อาจทำให้มีค่าหน่วยแรงประสิทธิผลแตกต่างจากสภาวะในสนาม โดยใช้วิธีการทดสอบกำลังรับแรงอัดแบบไร้ขอบเขตชนิดวัดแรงดูด</span> <span class="s18">(SUC) </span><span class="s18">หรือ</span><span class="s18">แรงดันน้ำในโพรงดินที่มีค่าติดลบ</span><span class="s18">ด้วยการประยุกต์ใช้เครื่องมือเทนซิโอมิเตอร์ตรวจวัดแรงดูดก้อนดินภายหลังการเก็บตัวอย่าง</span><span class="s18"> ซึ่ง</span><span class="s18">จะทำให้ทราบสภาวะของหน่วยแรงประสิทธิผลที่คงค้างในดินและทำการเปรียบเทียบกับการทดสอบกำลังต้านทานแรงเฉือนโดยใช้ใบพัด</span> <span class="s18">(FVT)</span><span class="s18"> ซึ่งพบว่าค่า</span> <img class="s20" src="data:application/pdf;base64,JVBERi0xLjMKJcTl8uXrp/Og0MTGCjQgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCA1IDAgUiAvRmlsdGVyIC9GbGF0ZURlY29kZSA+PgpzdHJlYW0KeAGt0sEKwjAMBuC7T/EfFaRr0qXtroreB0Uv3oYehAmz+P52zjrEy8BRaGgbPkKaDjU66LTYKwHZtN3POOKGYhsJTXw9asSmz1PaaEfENNymIzNbsfCqss46A6OE2FayaFpsAsjLKzXH0KIIgUAIFyzXK4QrdmEo4i881aDxrZ+W8/FlVf36q2m+KMuahKb1ht+9ecyHczk2J/P7+Xgj/tObzB/m40vXj+fwtZkP03hKUylCDlaRd3kmDfegRo7fdBzp+glG7qVKCmVuZHN0cmVhbQplbmRvYmoKNSAwIG9iagoyMDEKZW5kb2JqCjIgMCBvYmoKPDwgL1R5cGUgL1BhZ2UgL1BhcmVudCAzIDAgUiAvUmVzb3VyY2VzIDYgMCBSIC9Db250ZW50cyA0IDAgUiA+PgplbmRvYmoKNiAwIG9iago8PCAvUHJvY1NldCBbIC9QREYgL1RleHQgXSAvQ29sb3JTcGFjZSA8PCAvQ3MxIDcgMCBSID4+IC9Gb250IDw8IC9UVDEgOCAwIFIKL1RUMiA5IDAgUiA+PiA+PgplbmRvYmoKMTAgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCAxMSAwIFIgL04gMyAvQWx0ZXJuYXRlIC9EZXZpY2VSR0IgL0ZpbHRlciAvRmxhdGVEZWNvZGUgPj4Kc3RyZWFtCngBnZZ3VFPZFofPvTe90BIiICX0GnoJINI7SBUEUYlJgFAChoQmdkQFRhQRKVZkVMABR4ciY0UUC4OCYtcJ8hBQxsFRREXl3YxrCe+tNfPemv3HWd/Z57fX2Wfvfde6AFD8ggTCdFgBgDShWBTu68FcEhPLxPcCGBABDlgBwOFmZgRH+EQC1Py9PZmZqEjGs/buLoBku9ssv1Amc9b/f5EiN0MkBgAKRdU2PH4mF+UClFOzxRky/wTK9JUpMoYxMhahCaKsIuPEr2z2p+Yru8mYlybkoRpZzhm8NJ6Mu1DemiXho4wEoVyYJeBno3wHZb1USZoA5fco09P4nEwAMBSZX8znJqFsiTJFFBnuifICAAiUxDm8cg6L+TlongB4pmfkigSJSWKmEdeYaeXoyGb68bNT+WIxK5TDTeGIeEzP9LQMjjAXgK9vlkUBJVltmWiR7a0c7e1Z1uZo+b/Z3x5+U/09yHr7VfEm7M+eQYyeWd9s7KwvvRYA9iRamx2zvpVVALRtBkDl4axP7yAA8gUAtN6c8x6GbF6SxOIMJwuL7OxscwGfay4r6Df7n4Jvyr+GOfeZy+77VjumFz+BI0kVM2VF5aanpktEzMwMDpfPZP33EP/jwDlpzcnDLJyfwBfxhehVUeiUCYSJaLuFPIFYkC5kCoR/1eF/GDYnBxl+nWsUaHVfAH2FOVC4SQfIbz0AQyMDJG4/egJ961sQMQrIvrxorZGvc48yev7n+h8LXIpu4UxBIlPm9gyPZHIloiwZo9+EbMECEpAHdKAKNIEuMAIsYA0cgDNwA94gAISASBADlgMuSAJpQASyQT7YAApBMdgBdoNqcADUgXrQBE6CNnAGXARXwA1wCwyAR0AKhsFLMAHegWkIgvAQFaJBqpAWpA+ZQtYQG1oIeUNBUDgUA8VDiZAQkkD50CaoGCqDqqFDUD30I3Qaughdg/qgB9AgNAb9AX2EEZgC02EN2AC2gNmwOxwIR8LL4ER4FZwHF8Db4Uq4Fj4Ot8IX4RvwACyFX8KTCEDICAPRRlgIG/FEQpBYJAERIWuRIqQCqUWakA6kG7mNSJFx5AMGh6FhmBgWxhnjh1mM4WJWYdZiSjDVmGOYVkwX5jZmEDOB+YKlYtWxplgnrD92CTYRm40txFZgj2BbsJexA9hh7DscDsfAGeIccH64GFwybjWuBLcP14y7gOvDDeEm8Xi8Kt4U74IPwXPwYnwhvgp/HH8e348fxr8nkAlaBGuCDyGWICRsJFQQGgjnCP2EEcI0UYGoT3QihhB5xFxiKbGO2EG8SRwmTpMUSYYkF1IkKZm0gVRJaiJdJj0mvSGTyTpkR3IYWUBeT64knyBfJQ+SP1CUKCYUT0ocRULZTjlKuUB5QHlDpVINqG7UWKqYup1aT71EfUp9L0eTM5fzl+PJrZOrkWuV65d7JU+U15d3l18unydfIX9K/qb8uAJRwUDBU4GjsFahRuG0wj2FSUWaopViiGKaYolig+I1xVElvJKBkrcST6lA6bDSJaUhGkLTpXnSuLRNtDraZdowHUc3pPvTk+nF9B/ovfQJZSVlW+Uo5RzlGuWzylIGwjBg+DNSGaWMk4y7jI/zNOa5z+PP2zavaV7/vCmV+SpuKnyVIpVmlQGVj6pMVW/VFNWdqm2qT9QwaiZqYWrZavvVLquNz6fPd57PnV80/+T8h+qwuol6uPpq9cPqPeqTGpoavhoZGlUalzTGNRmabprJmuWa5zTHtGhaC7UEWuVa57VeMJWZ7sxUZiWzizmhra7tpy3RPqTdqz2tY6izWGejTrPOE12SLls3Qbdct1N3Qk9LL1gvX69R76E+UZ+tn6S/R79bf8rA0CDaYItBm8GooYqhv2GeYaPhYyOqkavRKqNaozvGOGO2cYrxPuNbJrCJnUmSSY3JTVPY1N5UYLrPtM8Ma+ZoJjSrNbvHorDcWVmsRtagOcM8yHyjeZv5Kws9i1iLnRbdFl8s7SxTLessH1kpWQVYbbTqsPrD2sSaa11jfceGauNjs86m3ea1rakt33a/7X07ml2w3Ra7TrvP9g72Ivsm+zEHPYd4h70O99h0dii7hH3VEevo4bjO8YzjByd7J7HTSaffnVnOKc4NzqMLDBfwF9QtGHLRceG4HHKRLmQujF94cKHUVduV41rr+sxN143ndsRtxN3YPdn9uPsrD0sPkUeLx5Snk+cazwteiJevV5FXr7eS92Lvau+nPjo+iT6NPhO+dr6rfS/4Yf0C/Xb63fPX8Of61/tPBDgErAnoCqQERgRWBz4LMgkSBXUEw8EBwbuCHy/SXyRc1BYCQvxDdoU8CTUMXRX6cxguLDSsJux5uFV4fnh3BC1iRURDxLtIj8jSyEeLjRZLFndGyUfFRdVHTUV7RZdFS5dYLFmz5EaMWowgpj0WHxsVeyR2cqn30t1Lh+Ps4grj7i4zXJaz7NpyteWpy8+ukF/BWXEqHhsfHd8Q/4kTwqnlTK70X7l35QTXk7uH+5LnxivnjfFd+GX8kQSXhLKE0USXxF2JY0muSRVJ4wJPQbXgdbJf8oHkqZSQlKMpM6nRqc1phLT4tNNCJWGKsCtdMz0nvS/DNKMwQ7rKadXuVROiQNGRTChzWWa7mI7+TPVIjCSbJYNZC7Nqst5nR2WfylHMEeb05JrkbssdyfPJ+341ZjV3dWe+dv6G/ME17msOrYXWrlzbuU53XcG64fW+649tIG1I2fDLRsuNZRvfbore1FGgUbC+YGiz7+bGQrlCUeG9Lc5bDmzFbBVs7d1ms61q25ciXtH1YsviiuJPJdyS699ZfVf53cz2hO29pfal+3fgdgh33N3puvNYmWJZXtnQruBdreXM8qLyt7tX7L5WYVtxYA9pj2SPtDKosr1Kr2pH1afqpOqBGo+a5r3qe7ftndrH29e/321/0wGNA8UHPh4UHLx/yPdQa61BbcVh3OGsw8/rouq6v2d/X39E7Ujxkc9HhUelx8KPddU71Nc3qDeUNsKNksax43HHb/3g9UN7E6vpUDOjufgEOCE58eLH+B/vngw82XmKfarpJ/2f9rbQWopaodbc1om2pDZpe0x73+mA050dzh0tP5v/fPSM9pmas8pnS8+RzhWcmzmfd37yQsaF8YuJF4c6V3Q+urTk0p2usK7ey4GXr17xuXKp2737/FWXq2euOV07fZ19ve2G/Y3WHruell/sfmnpte9tvelws/2W462OvgV95/pd+y/e9rp95Y7/nRsDiwb67i6+e/9e3D3pfd790QepD14/zHo4/Wj9Y+zjoicKTyqeqj+t/dX412apvfTsoNdgz7OIZ4+GuEMv/5X5r0/DBc+pzytGtEbqR61Hz4z5jN16sfTF8MuMl9Pjhb8p/rb3ldGrn353+71nYsnE8GvR65k/St6ovjn61vZt52To5NN3ae+mp4req74/9oH9oftj9MeR6exP+E+Vn40/d3wJ/PJ4Jm1m5t/3hPP7CmVuZHN0cmVhbQplbmRvYmoKMTEgMCBvYmoKMjYxMgplbmRvYmoKNyAwIG9iagpbIC9JQ0NCYXNlZCAxMCAwIFIgXQplbmRvYmoKMyAwIG9iago8PCAvVHlwZSAvUGFnZXMgL01lZGlhQm94IFswIDAgMjguNSAxNi41XSAvQ291bnQgMSAvS2lkcyBbIDIgMCBSIF0gPj4KZW5kb2JqCjEyIDAgb2JqCjw8IC9UeXBlIC9DYXRhbG9nIC9QYWdlcyAzIDAgUiA+PgplbmRvYmoKOSAwIG9iago8PCAvVHlwZSAvRm9udCAvU3VidHlwZSAvVHJ1ZVR5cGUgL0Jhc2VGb250IC9CTEdXWFArVGltZXNOZXdSb21hblBTLUl0YWxpY01UCi9Gb250RGVzY3JpcHRvciAxMyAwIFIgL0VuY29kaW5nIC9NYWNSb21hbkVuY29kaW5nIC9GaXJzdENoYXIgNzAgL0xhc3RDaGFyCjExNyAvV2lkdGhzIFsgNjExIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgNTU2IDAgNjExIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAKMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMzg5IDAgNTAwIF0gPj4KZW5kb2JqCjEzIDAgb2JqCjw8IC9UeXBlIC9Gb250RGVzY3JpcHRvciAvRm9udE5hbWUgL0JMR1dYUCtUaW1lc05ld1JvbWFuUFMtSXRhbGljTVQgL0ZsYWdzCjk2IC9Gb250QkJveCBbLTQ5OCAtMzA3IDEzNTIgMTAyM10gL0l0YWxpY0FuZ2xlIC04IC9Bc2NlbnQgODkxIC9EZXNjZW50IC0yMTYKL0NhcEhlaWdodCA2NjIgL1N0ZW1WIDAgL0xlYWRpbmcgNDIgL1hIZWlnaHQgNDMwIC9BdmdXaWR0aCA0MDIgL01heFdpZHRoIDEzMTIKL0ZvbnRGaWxlMiAxNCAwIFIgPj4KZW5kb2JqCjE0IDAgb2JqCjw8IC9MZW5ndGggMTUgMCBSIC9MZW5ndGgxIDkwOTIgL0ZpbHRlciAvRmxhdGVEZWNvZGUgPj4Kc3RyZWFtCngBnXoLfFNVmvh3zrl5NG3am6Zp0oT03uQ2aWn6TFL6IG1vnyCl0kIZG6TQAoWCIkUeAisWn0BRcWdGfIvO7KwOoKQpSMBXVxlnnFnHHR8jzvpTZqyoM1NlXHFYpb373ZuOj/n/d/f323N6zne+833n9T3O46abr93SD2mwCxjIK9f3DYIWcpYi2LZy62YxiafNBTAcWD24Zn0St54F0PWtuXr76iSeMw6QEhno71uVxOESwlkDWJHESRhh3sD6zduSeE4zQsfVG1ZO03PeQDx9fd+26fHhHcTFa/rW9yf5pQ6E4cENmzZP4yLCssFr+6f5STeAaWKg8yEb1t+VGB9DmA5AENPDZxCBm0AHFHgohcUA3D20GzjEVboOoO228Z7lGZELxhwjVgD8WEg8q8IXDdu+vKSbvN30mrEMuVM0fpWA7QyeqRa4wnTDJd2XHabXwAEGlfB10I90QUMaewbKMMmYHsEUw6RTxtjToy0tQTmBMFCiwXjBzOBJjeD0B3c1WNnTcBDTUUyvYuIAMBcwUfY0PQr5ICDzyXi2S2uViDc2ThdmVSULo4XFwfcaTCwBn2KiLMFOQkGy1WhBSfB8QwZW4CrYCSCYGK5bYM+x5yGgMT0fzysMnmRPsRvjNUJGg52NAs/iIGLqwDSI6SwmPc5uFN7D9CkmBRMHmezx+B/2Cs+xg+Qqcj/2ei/8wEjkNGGIG9LRITrE6PKnaQyIMkbs8ZzVwYQyNtrvXI3z3kU2qRXPsluIXZ2QMkaPxstDcgJBiQZGUU4qOurPT0KPLwlniBqMS0nunNAjz6CcYpjO0qPHmcw8M3Ggz0Zr/LXBZ9hNaoQaIxwXZN/SUG4C17l0FTJ8MuorCWUhqipm7XPsRpTRsJanq3WlQV6ldV4ZTFPh5Z1BrwrntAfTEcZbQyYEcop/TjDT19StMcWDIbVNvDCUqbJW1gYzn8YOayGkfC7bfLUhh6/iyiDv84eDel9hKA3HTyhTcp6vOJRWUxoK3uc75Dvle9nH6XyzkBqsCubUzKypqmEOnx07PFbgq/Jxz7Ab1Qg+I8i8kCGokxe2CTRVKAvhqv4yKmjL3sUwgoBMNqFyueGogS7XH9VT7xHkTzlSigO/I5uOCN6gVwosVJc0FJ8Z0oBXFcpQPFfE3j48kRsIBXNRGKrFDj01f0Ew6C8KNZiUT9gQVOPCLiIMIPwjNqkJidhytL41iFIeGi2tCaIchlCdGopWqvXvD3Eq9bJ5YRWiIDXgCTkQk9PcIa+/LBj0+kNVOP5F2eTHwVP8Lk9w+DkcirAhNYIfF1YiVAr6Un29nh2kR+nz9FXKHWRH2fPsVcZtQK79jAmslNWzBWw502U0VNAJVPFyzA9ieg8Tg1LM6zFt0LCjaEMEFmCOPeImUIp5vVaqV61Yoyz/O4rqH4TFWZxOYIxhxF5kZyWBMiITSgikEApGsNtxv8i0GOWGVPoPVIIwmEmtlldquUt2hs37w+ZbwuaBsDkaNneFzXPD5qKwuSBsbuBpBYhgpi41J5e0/EUt79DyItkpms+L5udE8w9F83bRvE4094nm5aK5WTQ3mEkdqQIz1Gp5mZa71ZxMHstoz4CU58kktIOZjaBobSBQW9wfFhI0K+6vR2CM5z4tNORQPeQaCVJ1mA5j4qYhA4FT6wmUq7sA+Qok8j2ET8b9hUKCPJEEh9U+G2zkcfCrrclPIJf4EP4THNbwH0G5Bh+dhg/Fpaux9YMqaEghD4CkDoIDhLRBtsb9JUi+Ol5+rdBgIVfhmOrYA5CnsbWgiajs9dPNpHjuw8IzxAO5OE2BwDH/dmES2/viwpehhJHEhf/MS9DDceEjf4Ig9gHS7o8L4+WIyanC++Xjwh/K9wqv+ROUPCX8m/8V4RVfgkPGE8iBjE/6tU6O5GIl8j9cvky4x/+w8INk38N5GtPNKMzDslW4CZe0RRoXBrGbVdK1wrJkVz2SNoPF57SOF+F8sP8FIa3ycr/asVWYU75GaPUfFprKXxHqpGVCjYD1TwnVeeNCpaRNoUTSmhfm4uJwJjOlw0J++WFhceUz5CUwkGFMAbnEMGTYaFhrWG1oM8iGKsMsQ7HBa/AYsoyZRt6YbkwzmoxGo97IGakRjFkJ5awcUI/CLD2vAj2eUgQ4rcxTtYwZ5kCJkcI8iFlZG21b1BirDLQlDMrCWFWgLZbScWX3CCF3RklbbGwltK0QY18skhLE1LkkppMaSSyzDdq6Gh3IHKN7EgS6uhNEUVvc6oplNnXjIUbkW+9wqTB66x3RKGRvrXfUZ9ZZqlub/z9Zr1bZ2xz4Jji+KWolhzt2oG1Rd+yQOxoLqgXFHW2LzVkkLu0+SXfSf2hpPkmvV0G0+yRppTtbFqr1pLU5+jUbGtT1yIZGjUBlG4JclQ2te0hjW6b1hu6xU2XzqUBlexwEjU0gj6tsaGYq38hhoaV5RMAMebhBOKzxHOYGkzw+jefct3h0PJzTeM7peG04u8aSl4fdlGMW7R7x5iHDSJ5XI3d+Q5aS5J1J8k6NfM035FCSfChJPoTkvxPe/xntb/zfmrasXdRI2jq6R4zQGG1Csagwmx+s0+zAcrx2l+sUmcHehtRANGaSGmOpUiPU1zsCfISU9ujTYnqsM2BSzWa2x3GD6xQHKHKVPQ2rzdOk4obiBpWE5qyS0rE6Y5rkuGG2Bwd5fJrEY7UFB0E7LlmEdnlVS6ywF4HUHAVHy9pm/JsGmzBs2bJl06bNmG/Zgg38i9pitZ1Lukf8/pZYTm9zNNDiWNu8+X8QArTFCrFRvdrIYGiJydho06aA1i4Q2JIsYN9q8e/D5mSdOkQAAthoOhCEgHNDQFCkCeXd0dwZ2ql7PBBy+AOhk8p5duNIZkjlj5JN6vywPfaW7EMtqWV0dN2dmOaDgGkG2wgOAOX3mD5S09Q85ZIOd+OpAeUPrA6Z755OCDD44HG4k6TCTrylt0AQ/gl+CVfBIHTCUby5nydvwRzUhg+ug5kgwyRkkz5oJZWI3Ql25ZdIuVL5mJ7D/eY+uBFv+1vgt7ASXsLr6f0kBHlQBf8KtcoasOrOwCy4De5W/h0MXBh+AmeUd5QpmAs/gjMkQhaxXbo6uAJ2wPVwO7GTQlJFrgc/zmEbPAtjlE85ji+ldrgcuqAb1sAxPFUovh864Ch5kzXhSN2wj1SQMeUIHsA+bFkMDWQWDSinIBcK8UifDfVwK/wQ7oW3SAmpZeXcSbDjmvrgJEkn2cRLnlceBAFjOyzFmd4OB+AQ/Ap+RQTSRUtZr+6nUx/hw2YDznAn7IM34S/ERK4g22iCPTFVr6xTRpXT2LoSx2nGPXcbct2Dq3sMnoIx+BeUyRniJh3kHvIJt1kXnLxx6jdTZ5Vs5S+QgXNdDANwDQzBXtTPw/AC/A7G4SLhiJFYyAu0jP6OpXMP6+wKKLtRayK+pRpQWttgN+zBeBJb/IyIpICEyGbyW5pOM+jV9AZ6mP6Z7cVbxPvch0qT8rjyIsr8Y3wtSRj9sBC1uhO1th91dwSehOOQgF/AH+E8fI6SXEf2kRFynPyVZtEn6JvcJd0Z3XnlIeUSpKK0fVAEZRhDKME5cBnO5Rq4HzX1MrwC78CX8CVxkWpyA9lNhsmd5G5ygLxHvqC34aXwXXaA/ZTF2C84wgW5dbp9urP6TkPf1IGp+5U2XJ0V+w6j3dShDPvRFjehTTyIcozDCXge5/ZX+ArlYsXV5pHZZCHZRq4nN5L95BHyNp1L19ENdJAR5mYSy2d7OIE7zP2G+51uh27flH8qqpRoZ6MJrWE2zrsb43JYjaPswLgP5XAUnkFt/Ryt9mO05gvwFY5GUc+pxEY8JJ+0YFyMWu8my0gfGSA7yY/JYfI78gnlqYN66X76Q/pj+hr9kG1kP2APsFH2OpviFF2qLoixTRfF9R7WfaZfrN9raDSsMDxm/NfJwslfTL47lTZlm8qfWjR1y9TTSreyVblOeVR5THlCOaqMqY6Kl+MfghvtS8SYDyXoOW0wH5bh/K+CjWiTw3AX/CPGx3ANo3AMTqPF/QZeg3fhPYzn4CPU7J+0NV2AS7gmB5FIOdpLJVlKVpDVZJDs0OJN5F5yH3mAxMjzZIz8krxO3iJnyFmMX5C/kos0k1ppKa2kzXQOXUAX0pW0nw7i4/Je+gD9Z3qCnqI/Qy3/lr5FP6BTbAZqooXNZT1sGUpkOz6VHmUn2BvsTXaG/Z5dRNlwqCMPJ3E+roZbw93MndUVoJxW6dbpDmJ8QZ+qX4cvpVH9r/QfGfSGAsNcQ4fhnw1xg4KechS+j176rYAW9ziZSa/EWTLyIj1GfkBeoXFugqaTKNnBgBZzRWjj7XCO7mU+Use2ERf68R1wGWUow3T6EJ2D1q2GhejFIbTDLt3rnI08hnep2/A22wGv4r7Thjx74BT4lDNggX9UroLjxI4e1a/ch76wi7SRMfShNXQj/SN3ifFoob9nb6PdnEPfD5MD+l/BUhpAa6uFg5CN77Z81NJ2ItISWAL3sT2oaQ/kQCF3tQ73cPIZPmkO0QN0Lz2mvIwXuz/jvreEm4MXvrO47xfi9flP8CTO7Zf0dbqXHOf05FGyAOcwAz8tLENbzqMPQT/bQji6i/4HdwbeptV0CSsin3HljEEH6ulmiJI/ESMcIQfoReKBu8kuXP0H5E/0A9gM/0EUOsn20wHyC/Jzkk0DpJGVwRT9PVmBs8mDT3R2vGZWoh/p0a7O0UNsNT4PXte9wN7h2tlTwJHnSCW9xETaTNpZlTIBPv1FZp56U2mCZqoo3+dSJz9F6WyEt5XTrJjr4+Z9dfyrV6mdfJ+t13Urn03t1N1M62C17mNDLWynTbhDvIpn0VEoJJ9SJ8pdwJoalJSdu+urr2gnuOl5cgG2kf3oHXm4ki7cOY7CGrxx+FF2etyh74Uv8XXzArSzLbjPPAWn0dqvx73dSlfiOTNAFuLVuYTgiwrj/WgNf+HWwnbYhfp/Fk/Tw1jK1f1kSoZf4773PfTFfyf70Ovm0mquGxbhWXoTeAHkhi65vq42MrumuqqyIhwKlpeVlhQXBQpnFuT7fXmS1yMKue4ZLmeOw55ty7JmWviMdHNaqinFaNDrOIZPo6IWqbVXjPl7Y5xfmju3WMWlPqzo+1ZFb0zEqtbv8sREtV0fkr7DKSPn6r/jlJOc8techBcjECkuElskMfZKsyQmyJLObizf0SxFxdiEVm7XyndpZTOWPR5sILY4BprFGOkVW2KtWweGW3qbi4vISKqpSWrqNxUXwYgpFYupWIrZpcERYq8jWoHaW2pG8GFuxiXGnFIz3swkbIrdMF9L36pYR2d3S7PL44kWF8VI00ppRQzU22FAY4EmbZiYvilm0IYR18ZwNbBPHCkaG749wcOK3kDaKmlV39LuGOvDPlpilgCO2xyz7xh3fINi53hF3f1tqosN491NVJmHh3eLsUc6u7/V1uVRe4hGsQ9sS32tvcOtOPTtqCniKMXJqdNXl5JcVL/Uotb0rhNjKVKjNDC8rhf14RyOwcLtnrjTKZ9UzoKzRRzu6pY8sXqXFO1rnjGSBcMLt4/myGLOdynFRSO8JSnNkfSM6UKa+duFfpR0kqaVNHa11Lbwa3ESdUbSZXipjYkrRZxJt4QLqVKz/ioYXlmFUscQJdgqtgrVsDaW0tQ7zNeo9ShKEtP5eEkcvgCodmniz9+t6Zuu0fv4C6ASVeP42r5ieIhO21osEIgVFqp2YWhCReIc6zS8orhoa4J+Ig3yIgIUH3R0Y7NoTSnK3ONRtbovIcMKRGK7OruTuAgrXHGQS/ERQXtVytjfKLbFKmXX3yhfN++V0HyP4e0AwBYz+r/+y+CzrS0DNTGS/T+Q+5P0tkVSGz4RxJbh3mlTbev6DpakqwJFuSFtuhSzNnUzF1VNG0vUxTQqWuLSJV+zINKdFuN8+KfXLHlVwmBEU9RqiNga43vnJvOoyeOZdpT/rVFCOa+20sA3zaaXEasJTE80Oe3Y7O/g35le2jBr68J9hrZ1LRkeNn2H1oo72PBwqyS2DvcO9yWUXSskkZeGT+IdMDY82IJ7T1KjCeXUPles9fYoLmWA1KDdUmgckciezhGZ7Fm0pPskft8Q93R1xymhTb2N0WgxKktfTWZw7yu/5jbBfu59AsytTOAbMYIkomkTcD/XwzrEW/G+qur3vwt4mOEt6/8acFA8W9QQxrfEJ/Qttp17GDFKZiBhBpIY3rzrj1FyUW9I0NWyFXTcRQYmA3eRQI5Rr7uIvxWQeaMpP3oHH85fRCYjl/OfR9onI1CPZf4SZuVlHovH4sMMFw2XRDZ2SdbhHVXkxvCj/q9xnCi+AUvJ3OM2b4alrhy/78s359SEdem29Hv8j/mf5Y5bTvgNJD0dSHpGBhiKzOblRrch2213Z+cPlJb2Fbjz9XMp7dO59baMLLeN8xFfbp7bBxkZue7cLLc7t7TER0vM6ek2H822Gd1lBbluXv9TwM9W9FXDewZqyP8++Mv8sr/DP+jX+Z3l8EbGKUYgl7XIaZkZbsFd6ma73MSdIJueKkvBkctMWBy5hB+D+EgggIvu2YjGfhLcyq5Rv73ejSYzWuDQoJxajBWyo9otW6rV9y++jNvHJ8cv57/Y2D5e2rNxXO2DH0OR1WdWl0Ym+Ind6SUB3U7+tAP4CcKP9SRBycSfgb9AkkAjJIu7dXxk52kDj6ImPfgyZ6HgrMoQk2ZVhP2SxPS2rGy7wVM5S4tWtdYvVXqS9Hy/RO9/JL7tunr/HQUZnRuObRUrr0qb/Mh8ubPA6vJ96naG5qdxM1b5Uy+rLtin4yY/nLd9KjOSX9s0tWZ9nq/A4PPRNIt75i5WvrLK6cv0Tf20rqCxnTeh1e5H3QZRtx78WCgxOTO13uzlq4+bidWZ5bZmplrcmTq2h4p7PJQnekKexrufCTyo/1RLtYdHyx/Ee2uCGWXexZtSU3Odriyn05Uyw+TCb7pyFlDPs/iiNlkzjU5vgYtPfS3Tqf46FAqHNRgoSUJpZhLmihqUUx3O8JDzoPOokzkTNPeEN8Vpd3pNa06yeTCtUP4LFCQG1Olxp5yVVq92GLdXa/1KmRp6ItNa55SDOfUaZ5RMBKa1GKiPXIrwk5FI5G96DOzgz/fg2Ro4jaWzWKgKnCb8BD9ZndRsMp9WX1IzqBiJqKoLhVB3oWDlrFmVRPLq9QaJFHH6DX5rsfeOq6Y+D8mdJWmT8VTn5YXu0kKS07llf/cMn27+1L0L6i7zzbi0JDbTX+7z5Viid7EXI9euxQ+f+KVF97Kmlx5Zxl8pTSaLMcvo0nv0NovM08wqS61tdk61WO2Zy8+37LRcb73Tst/2UNaDtmdt6f3CKpE+aHnS8oyFiRKRVIGL3rAK4+4KDXW6NHS0pEaDclFhRUqGyZ3iFF1up5EY3MYci8Odk8HzuUCygLcAsfC85BGzPB4xoWyVM3nwiM6cnJQUI/VASqmFWBJ0OM7f4DmFn4MIaTwOMjoX4Jgyj1tFBj48yvB6y0GONyXBOkdeQDWqPonO0D7+xefjPapvRXiMgd1cSSAdXWu3scShFaZ97NuKSJZH9LSpq1tOWWm5yfIjS9zCQU8UVaRpuweD5u+C8m4cRYVfwhDk4oRGslQfj0IP6dFpviahrxlQbXoDI+iC6H35aoVaRUjloLFpbp6J2lOvaLCaUjuo5XvZGSX1aeReU7m7cv3WSXxorv1ebnHE5yPemdlrLr1FX9tSIthdBZzPx2U41z361We4i04oH+HrfS8K4YScFyTE7nXx9cZULsORasuoydcVpEoZ9zFWSurxkbUcP0UkCCebSl6CMoMub6YhJ0GOy2HbSw57qjvPkkqH4SWiumsHIeTl9Jp/E8+K50U2JO4XD4pjIic+Yqzx3+0cznnJoWrAGq5wyGWYPN7wI44xB3VcX36KNJNV6Ez8BdWPPp/A2NMziQoZx9/KJuoj4xPJvEe1+Z4ASotJuCt5tb0qG98VesmLHuA1SNZQdjbuZxXh/BJaEZ4VCtpVvJJ+WOvTDbTXXeYuv2n+E7fMXebJLLb7an36a1fOj/IzRkN3bBCd6WssATfbO/XKbTuayzyRWXfeJQ886k0rIc333rC4rsAbeWNdRd9tOpZfirtVRPmInUYZRsg98i3GmpwamllRPqe8K7Iue7ttR/YR28/gS1vK4pKu2etSWJutC5bY2CyI2KinYGY1PZxCqv31BQsKlhdcsH2RfaHakDU7ErGmmPz5VdU12XZdyBax+vNdtSWhkOASs1wuMWCI4CGPPzBaI1lWa8SRnuqy1haIroiVNw2n9LIEZbIr8oRVbqqwyo6csFW2VQjWBdbl1v3Wg1adNUHDclrI55JLSIlPvDvTpbpgTYUKRpFdg1m2JCwKa1DOkQrCZS7Z9YiLuXJqU1x2qx0HNV33orbv4Uk27TZYULc+l4x7ndYRWoMKR7I16ybtn0/08KhT5BtH5eIBph1h6hn2tz0PHOhzKqJ6G7FkVldjyrRX8y/zL+9O5yOny8tQ7RtVT1JdSXbYHKnVNkdaNXjTqmdjKsOUiwnHwBAlaCPafoiHmx3dR/L6K8J4pNHpUtLZvHpDPnpZKIg2ZJjmr6OVlez0k/nmVMvMRbkLFlWG8ovMfNuhD1aUyEVXiBaTrXCe0NYlz/KVFizLz7F51o1sashmGyeP3CplWoSr7Ttn+4skb9W8i1MfvyGXtz1AKja40iy5vdmbKwOlvln7pp69RbLaG9//+dvz8e6EX7A/PfQvigdWqRer/yfosWYmfnGtxjc4/hcKBgKZ03c8Pb7coXH+nCu6OwJda9f3b7q8/7qFG9b3XdOxqPiyzX1Xr13Z3oUN/gtjYS+BCmVuZHN0cmVhbQplbmRvYmoKMTUgMCBvYmoKNjYzMgplbmRvYmoKOCAwIG9iago8PCAvVHlwZSAvRm9udCAvU3VidHlwZSAvVHJ1ZVR5cGUgL0Jhc2VGb250IC9VSktZT0crVGltZXNOZXdSb21hblBTTVQgL0ZvbnREZXNjcmlwdG9yCjE2IDAgUiAvRW5jb2RpbmcgL01hY1JvbWFuRW5jb2RpbmcgL0ZpcnN0Q2hhciA0MCAvTGFzdENoYXIgNDQgL1dpZHRocyBbIDMzMwozMzMgMCAwIDI1MCBdID4+CmVuZG9iagoxNiAwIG9iago8PCAvVHlwZSAvRm9udERlc2NyaXB0b3IgL0ZvbnROYW1lIC9VSktZT0crVGltZXNOZXdSb21hblBTTVQgL0ZsYWdzIDMyIC9Gb250QkJveApbLTU2OCAtMzA3IDIwMDAgMTAwNl0gL0l0YWxpY0FuZ2xlIDAgL0FzY2VudCA4OTEgL0Rlc2NlbnQgLTIxNiAvQ2FwSGVpZ2h0CjY2MiAvU3RlbVYgMCAvTGVhZGluZyA0MiAvWEhlaWdodCA0NDcgL0F2Z1dpZHRoIDQwMSAvTWF4V2lkdGggMjAwMCAvRm9udEZpbGUyCjE3IDAgUiA+PgplbmRvYmoKMTcgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCAxOCAwIFIgL0xlbmd0aDEgODQyMCAvRmlsdGVyIC9GbGF0ZURlY29kZSA+PgpzdHJlYW0KeAGlWQt8VMW5/2bmnN1NwiabkBcEsrs52RDIhoTwDluyeWx4LI8AAXapmg0hvCHBBHwUTKxFcUGDShGsAmp5VLCcbIRu0Eq0ta1aC9ZH1WsFK9YnLfV12wo593/OLii9/d37u7+7k+/75nvMzDfffGfOzEn79eubaQB1kiBv05rGVjJ+uV6QvKYN7Q6DJds+IvNbS1uXrYnx2RuJ5O5lq29aGuNz0Y4PXt7cuCTG00XQccshiPFsDGj+8jXtN8b43FJQ2+qWprg+V2+XuKbxxvj49DZ4x9rGNc0xe0cU1N3a0tYe57cZ/PXNcXsWIErxLZ/zUAbk26Pn+kCTiRg4iT4jDz1EZuJkoxJaAM//JH1CMnhdL/OuC+ltixpSPF9aBlkgIHrkvaHP6vQX5hu3fN1+aZuNLOiMEgx7XYF2Zme/jxba6Ov2f56xxUbSNZd/Ui/Vi097xAh7RWWGOEch8RHtFe/TGYBENkhsqFUAWlHXALLWJ97t8fnKvFHQopEGjRQOL+vVFZHBQ8p+Lt7lR2gY2SE4E8nMMTTvRKqq4pVxE2KVnhHFZWcqE8U79FcAF++IM1QYa9VTOLLsQqUVAiZuoRTGyE77xB9JBXDyird68gvK9p4Uv4X+BfE8LTGaPR+xppahw1+Ln1Ea2cVxcSyuOdaTnFpGlW3iLsSkD/g04CzgAkCiFnGQOgBdgKMAiVKA7YASwGxdIg6Lw/BzP9qnAJcAWgBdAAkhfAzyVToWh8RKykPbbWIHZYBuFfcZ9Megg8E/Anku6MPgdbo3zv8IVNc/EJfvBp8Jflec3g95Dvid4HX6wzi/Qaw32rXH6T7RFsm12ypzoXcASgECtR2o7UDodoAjYCZuE6sND7pBy9DjmhjFqm2KOBVjjTb1ZA0q24eQbkLoNyFymxC5TSTBZuNlm40xm2KxETYbYbMRNhsRlVLRhvHasGAEbAM4AAJxb0PcdbkK3Ac4DRD0A+DtgH06J25AHIfDqzvFykihHcm2rGeit6ziSbEUofaKpT2DhpZ1fcMlJOqJuLQnITlOU3TbZsO2uSdhgC5t7hk8NEZhtaoyWTTR9wCc0oHzAWMANQBJNEXyS+wnxCxaYyFvsr2Dd4gOqUOWSmtY2klRRnV4Au2UJorJA4Ph9gYPGx9KaE3oTBC2BEdCaYI3oS5BbhEdoksIuygRFWK2aBByVOuLmMtHg3inmMpHb0/al6Qm9SWdTpJVU5/ptOms6YJJdphKTV5TnSlkajV1mrab9pkStpu2m3koqTWpM0nYkhxJpUnepLok2W5m+yo3i8WYJgHbAK2A7QAJMW6A3CGuAzRgNRoQtusgJ2ACZwOcRv0sqAwuBXYpsEuBNAXSFEgJWNfUAUKAVoCuNV3RXG6j21/QNYBh0Cajp2Ti6CcZctQA08FZwVnBWWF1ml+EhzZgB6AOIAzZWdSQNcCXdaVxfQjURLr+AoAb7XSdFyD4RW/jsL7hTB3O9g1n24czr6eissybB5SWltagNLgaChv2Sy1Ki6ulsGW/NFuZ7ZpdOHu/VKFUuCoKK/ZLJUqJq6SwZL9kV+wue6F9v9Q14+iMkzNOzZAaZrTM6JghxmPpeiJFpWUGzXPp9Fhk0OCy8SmVk/hRTKcBeC/gDECQHbgEUAFoAUj8KLCdPw7p45A+TrMBDQAZLR5H+xRgXa/rdPlegGzUzqDGr9LjZciPRMpHz66cji23AbAXIND3EbQ/YljHakcNuQp81pDPBtbt9wF0L49caSOwwS3S/QC2AyoADYBWgEynxEK8HBbqPQPbAa2AowBJLEJZKBbyx1GO8CPC7bWOyrBTZibeNmmpFluljQ9ADljZIQPvMvCdBq4wcL43ebr1q+nWp6dbb59uHYYKL6RKNNhhYKc3qdL6RKV1dqV1eKUVvWWRk6w8w8AmHbNPDDzLwG5vutP6D6f1c6f1b07rQ07rOqf1O0693RA8u1aebuAkHbOdBp5u4AJvkt36K7t1od063m6ttLI9DD5QlYFzDZyjY/bZEyk1KZTwJPuMatAfi3iG26OcDMK0iKfSHmX9Ec8UkEsRzx6Qf0Y899mfYv9gxiuNfRXJP2evzGBfsGkSXnHs8zj9G5tGh8FfAF0GeoA8zAX644jnVt3+UbR/APwjlGfR2z1MdUb7vWyaIX8o3u7BiHsxRv1RxH0TRn2A3Ey3vj/iPgfpfRH3nSD3RtyrQboiLt3BlRHPCHtlKltG+Vy3bSIX1z2ZER9xKnpeDX5KrLEv4tZb1egDRFl1RBkFMkz38immUJ0xnD2iGJMcSorh3BBSDKdzyGXQZJZiOG+lPINaIsqt6MX0hOuc/T89T+oTpy9ZSmSP/b2nML8FYP/EpkUO21/u1cMVsZ9yR5nruP13ypP25/KjbEHE3ueOWqA46Y5ydszejSCrsOXsuP2oe5n9ccXQ7legxVLv9RTbf6Qssu92gY/Yb3U/pbtBazDjBVAH3ZPtMzyH7bWuKIPa68Fg3kR7uXK9fSLEE6JsWs9h+6j8qO5KKfo4fNw+AiMWKIYr88ef4GPJzNZ73eZ282LzAvMc8yTzaHOx2WEeah5iTrekWWyWZMsAS6LFYjFZJAu3kCU9qp31FunHtXSTcWozYdtmJBl1G7ZGhgfQOM1xZuF4dtSBws/986qYmuYnf32VOr7IHzVrc9UJRX7VUvfdQDdjdwfBqXxLlFF9IMo0XbQ5R02rDvQSYyWb78rR6cbNdwWDzK/2NZF/sUP9ah7mkThnkSorVdmUuaEiuyJtcurE2pp/g0KGMFRT9M0v+5sqatlD1Z3+eQH1saFBtUyvaEODfnXKPMc1gV6+jrf4anp5q06CgV52M1/nm6vL2c01wStmlMdbYUYenehmPZSnm1Ee6zHMZhi9IU3zfDXdeUC60bNsmm6E9HnWMFpmGCHH1+l91ekEZjyX8o2+8nmuboZ8iHWW8u3OBhBLMTpLGUBGZ0N0o26XC+O5gYKB7vEuGHS7xhvqw9+oFUPdy4KkG/SSiwWNcZgxTqyLwpgNsiBuwy2wuSqM/1+muer/0APraXx7SZOvWfGFFF8zIKRu3bA8W+1c7HB0L3lbVzhUURBa3LRcp43N6ttKc426RKlxdDca7f5F3aSrG5Wabmry1Qe6m7zNNZFGb6NPaawJ9hzoqPZfNdadV8aq7vg3Y3XonVXrYx0w2v3LWH5dfUAfy6+P5dfHOuA9YIzln1vF/HWBbgtVBauxgDrt4UmJeB5COc5gVaatdbLxcExyZt+Sc0IivLaSioLqAKVKtQL056a4srhSV+Hp1FXJEKfEVdm3THLmnGCH4iobxKlKFRVRtm9FzZW/tra2dh3Wry8Cbl+vK1HBQ+uc51dr5ywKqB7V41O9oZog01dtffxXHfDaTnpOeXiLp8PT5dnrOeqR168PQpx2Mu9UHm/Ia8nryOvK25t3NM+kK64JHPd69ub9NU+sRzaxdvx8+lAYGhR/Otu+Hs60tREGaQPEhitaX1QdqMyjJpx2GU7mxTQQoABGA+YBZPoF8CuA9wCfAyS6Dfg+wKOAHl0iikWxL3tFjT5iED32UrYo6ykdWzYhCtq4NEbnLYpR36wY9VSWZUMfqRidWJmCgzejE8AvAN4CfAz4J0AWZaLM6Bw+679gG7UVMUSLwLTrqK2onRWhwvRwt7cVFcFA5yEAh9ga4QUf/xFrW08IBRYEBEaGvE1vhjHQNv7TFdiK5bsBM8gOGILbVQ6R9i7gHODD/unaRXkVKf0rtbNiIIwfjwORi3bSXsqnC2wUPUt92MkP4KhTRztoCp2io/g4cBN7EdFUcMI4hP3Cjn2/lrKYTLvpTbqGrqf36SxuzX56h6WhHx+14tY4UfsI2E9btF5YJVI1/ZROsNVsHr4rVNNU7kYkXNSl9VEWFWovaW+Ae4jeZ/laN01F7c+UitN5B92Da/RKekHTv5Lk02I6yDayj3C2CtFWaYwU1lbRJDpGrzE/ajPpJvmNhGM4HdxDj7Is1qed0T6gp/EubUZP36ct8DhCfXykqJb3kYMK6Ds0ixqh/R69yQayUcKrDdOqtN2QHqTPeBH/lTDDjyKaRg10Fz2MaLxO53AUSGJj2UPsMMrL7C/yG/DNT+vpZuqE5wfQ9gj1slFsFM/C+ZBjhsNpPnRdtB/j99Bp5mdB1seeEfvl0v4KLV3L0D7QNBpBAXi4l57BGF+wUthgBJEn2qVcqV0uu3QrZriEHqTT9DL8eAdx/5L+zkagvMtv4R3aQu2Q9j58seDsMIHm0CJqoQ10Az2CVX2Wfkl/Y1/zBFiekp6Tb5YvaPcitgVUBd9nw3oe+t6KVYpQFOV1zDKVOTCLCWwWm8uWsS62k0XZm+xNbuJOvCo/Fqp4UbwtjZNlrRw9Zeo3eWTJQlqOFbgF0b4X8z1Ez9HzLIMVsGLM6HW0/4pP4jUoj/JT/B2xWXRJF+Xb+8/2f9L/tRbGt6ca5F0A0XwMUfgry4QPw9lK1sbeg+fb+RMiWdiEIsaKSlEvgmKL2CF+I34nXS8dlt6Sp8mN8mFzY//a/pc1v/YDxILhrpaLTHLTGBqP/FmKbFoF/1pRrqeNdCuF6W7ky720D+fdKJ2k5+k1+iN9ihUg5oTPKzD6GmTdZnY3ym52hD3DnmPPs3fZV3rheSiFfByv4NW8li/jm1F28NP8df6hGCKacP/uRNmDT0FvYpeWJE0uQ5kqb5UPml40F5qnmhdbfnvx/KURl4KX3umn/sH93+3f2f9M/wfaAu0m+O+iYhoJT++Al7uRg/tRHkMmHqdf0W/pD4avnzHOZGR8NlOQDW6sWgWbgqPGNDaTzUGZj7KQLUJpZIvZcpQO1sm+z25jP2B3sR8aZRfmtp/9hB1H+Rk7gfIaO8P+zD5mn3EkMRfIZhcfxkv4RMy0mk/hs/lclGW8BaWVX883YIUO8h7ey18XA4ULu22jWCd2i5+KZ8Wr4h8Sl9xSieSRFkjLpNukU9LL0hvS17Jd9snL5T3ys6Yc0xjTfNNK0y7TUdOHpotmk7kOx9WN5lfNmsWFHevXmPcxrOk3vxLTKdYmp0s38jN4LrJFq3wHm4+ImXi9WC3uFr+Xl7ILwsHeYmGxQqzSHhW1/O+ihS3gJ1mesMvl+JSzjTR2mL/Lv+AfSBmsnn/ECqV72M94i6jm+MaAPfUVKUO6Tf4QXwP+QOV8E+vjz+HL1W3az6lc3sPOyHv4y+SQzvKBdAZP9R38fjT6HV/Bt1JAGiN/TSsQ95/INyLek/kWNkK8Ku2h94XCP8ftaid2jZfYdCmfX8cnssPYcS+xXDrP1lEr+yF52ZPsjyyKM/EhcZDN4AOwWiq3svH42PKScLJXRSIFdR9ZAc9gdfwCny+eMp0WY3HtOU2/p5uZYKXIncu/flqLJ2AHH4Y9zYfd5BVWRtl0P/b7L/qf0nds+Q15K/LsYeGmuVRK1/IXqRzPxvsoAbod3+hOIAe3UCnfRRu1TrYE+/5M7J+ccG+jEpaE3TILvnXgfZHJ87AXNmDov2P/fwG7vp/9hW5gDjxZfVQo6Zptkg87Uwj771aUJXQtuAfpXtMx+RWazbLwSdrRvwdZ/jZdh3fOexh/ML5Q34Od7WHJDa8d2JnXocWD/VPJi3I7vcg4bYLPk/Gc10lTsfPu1FZihivwjpqBd+LztEK7n6qxdnO127St1KA9rF2DG+487RD23w1ahMbRHXKQL5CLpDHYY59nv8T76D/YVuzbU+kt7Eculk0fo/wU/k+Wn6Sw9AfsnRXaNu01fGUtxJfX3dhnpmP3WkN/Qdymij4a3T+Ld2u1ohVvqDM0Rzuo2VkiLddWY+d9ivabZew9nZQr70fubpWW8lL4O5wyWQmk18h7ibxV8+u9FZO/45lUPnHC+HFjx4wuG1VaMrLYXTRieOGwAle+kud02HOHDskZPCg7KzN9YFqqLSXZOiApMcFiNsmSwFXa7VNqQw61IKRKBcrUqcU6rzRC0PgtQUh1QFR7tY3q0Ns1QnWVpReWS//F0huz9F6xZDaHhzzFbodPcagv1SiOKFs0J4D6XTVK0KGeN+ozjfp2o25F3elEA4cve3mNQ2Uhh0+t3bA87AvVFLtZd1JitVLdnFjspu7EJFSTUFOzlNZuljWZGRWe5Svv5mSxYorqYKXGpw5S0BTdCJevcYlaNyfgq8lxOoPFbpVVNymLVdJPzUWGCVUbw6imatVsDONYoWI2tNXR7e4Lb4vaaHGoaMASZUnjNQFVNKIPn5pahHFr1Kybz2V/w6JznM/v+LY2R4RxQnToxuHwHQ5135zAt9rmOPUegkH0oXJXbShci4G3YZ38+vVN5ZuDAZVtxoC4YbiMOcVmF7v+uEIrHWqCUqUsD68MYWEGh1Wae5MzMniwt1c7S4N9jnB9QHGqFTlKsLFmSHc6hefe1DPI6xh0tabY3W1LjYW1OzklXhlg/XalGSGP6YyaYa7X/HOvxJXpPirTcGlQHU0OeBJQMKcJOmqeQOGmCQg/fkGGVuoSrMcKNaE6FLaVQ27DFJkqu2yKI/wlYf2V859eLWmMS0wu25ekK/UsuZJoKl5y8aRTi4rUESP0BDFXY0Xh42SDH1vs3hDlqtJqc4Dg9kh1iG1jsLwEwXc69eXdGvXSYjBq55xAjHfQ4pwIeUtwy+IhXdN3WZMxX9d0XtZcaR5SkMdP4B1OlKFaCq78pdgyB/qWl6ss839QN8f0/nmKH3cwhy8ciuesv/4qLqbXA4q4QRevsVhDBFyVXKrJNU1B6s3FZQ4C/MmuWsW3IjQVjxp8VAdWB0QORwd6jecIoyvk7zWLLvenM4EBel+Sy2Tk/5Ko2YIENiTMUavaQlNjOJjodMYfr/+tUVS7oLcyyDfN4nNWy4vis4rNUZ10FX+VewPCwl+P3Yn76xeFw4lX6Wqx74XDtYqjNhwKN0a1zsWKw6aEe0VABMKtPuxYseWPaie25qi124KYynJWjiTnVNWtsC1zur1sy7xFgV58/HJsqQ9EOOPVoaqgHi9eXR+I+2tEHh7rK4ElN01kQ/hjVA8YiU9layHCkRKY8F9kE6WDFuLeGvuOhn9XGBrCfWYTPc2s4DgbgtPHEP1fIDgXz+zm7En+NFqa+ckIyVKUP/2EoESzXjnGaJDFJJ+EnpNgwymBrWLXUXaR7SvPJc8s2xeemZc8VIG67SLQqFJnqjPVBcSGSHTRIfouemX6GqeYPvhT3z+db8RtciCVe5WdqQdT+e0D7kzlibsSUmkX7kn4/3PCoeS8OhMzdabXX6cPcu35Sx6PDSOcrzg/CucGdi3LKBhWwMfaaHyGycQz0rNyOd94f/P2B1nZV9/bM8s5ePqm/hbXjKX3sPCrbBzT1o6o+bR/53OvHw0ffAA+jIQPCwwfJnrzh0sjLFNlgcFT4cRAHIcSEuFA7J9UwtSZEfjxf3eCXTtwbGZWZlqGjcxjx41LGztm2Eg+cldz14P9p/7ze3tnOgf5N8pLRviX3tt/w2v9L/SztS7fJ2zVc6+p4QO6B2v7D7Nd9Bvc3uZ5hwV5MOuXmSIhKzTo9CCRwMgsSSmWNDqe5h2QJJWnZNgzOjNERpSNwPfalIYUnjIo+0E4hchfO/PStecRmHNpE1lqWtbEUaUIzrqBcAkeFSh5ZpOSVzB2zLjRZZkZ6aa1y9YlmM1JrrT0UeX+cVXLuvoPu/O66gZaE9ITykePqm1rWNatJwoSSv9pTpya/t1PgjAJeZZiKBnuZ7HMM+G8R/On+4OzpxTVr1jT3Dar+Ya5LWsa19bNm1lP9F+Ej1L+CmVuZHN0cmVhbQplbmRvYmoKMTggMCBvYmoKNTgzMgplbmRvYmoKMSAwIG9iago8PCAvUHJvZHVjZXIgKGlPUyBWZXJzaW9uIDEzLjUuMSBcKEJ1aWxkIDE3RjgwXCkgUXVhcnR6IFBERkNvbnRleHQpIC9DcmVhdGlvbkRhdGUKKEQ6MjAyMDA2MjkxNzIzNTJaMDAnMDAnKSAvTW9kRGF0ZSAoRDoyMDIwMDYyOTE3MjM1MlowMCcwMCcpID4+CmVuZG9iagp4cmVmCjAgMTkKMDAwMDAwMDAwMCA2NTUzNSBmIAowMDAwMDE3MTA5IDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDAzMTYgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMzI3NiAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAwMDIyIDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDAyOTcgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMDM5NiAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAzMjQwIDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMTA3MTMgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMzQxMSAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAwNTA0IDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDMyMTkgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMzM2MSAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAzNzAzIDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDM5NzAgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAxMDY5MiAwMDAwMCBuIAowMDAwMDEwOTA3IDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMTExNjYgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAxNzA4OCAwMDAwMCBuIAp0cmFpbGVyCjw8IC9TaXplIDE5IC9Sb290IDEyIDAgUiAvSW5mbyAxIDAgUiAvSUQgWyA8MTk3NmNjM2YzNGJkZTUwMDk5ZTk5MGVmZDQ3ZDJiZTM+CjwxOTc2Y2MzZjM0YmRlNTAwOTllOTkwZWZkNDdkMmJlMz4gXSA+PgpzdGFydHhyZWYKMTcyNzAKJSVFT0YK"> <span class="s18">แบบไม่ถูกรบกวน</span><span class="s21"> ซึ่ง</span><span class="s21">ปรับแก้ด้วย</span><span class="s21">ดัชนีพลาสติก</span> <span class="s21">(</span><img class="s22" src="data:application/pdf;base64,JVBERi0xLjMKJcTl8uXrp/Og0MTGCjQgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCA1IDAgUiAvRmlsdGVyIC9GbGF0ZURlY29kZSA+PgpzdHJlYW0KeAFtjrEKAkEMRHu/YkptcpssyZ2tYmF5EPADFi2EE8/9f3DXZRFBUkyYDG+yYsaKUIYFbKR4XXHBA8MxM1L+nAJyqikKkUWbVXYRMTUYjVO1IymL7XWTFhwcPLVkV18wuDMYfsP2uYPfcfJW/x8sxGoFbMTT2LFR6rMBXX+x5y92fgP7CS5BCmVuZHN0cmVhbQplbmRvYmoKNSAwIG9iagoxMzUKZW5kb2JqCjIgMCBvYmoKPDwgL1R5cGUgL1BhZ2UgL1BhcmVudCAzIDAgUiAvUmVzb3VyY2VzIDYgMCBSIC9Db250ZW50cyA0IDAgUiA+PgplbmRvYmoKNiAwIG9iago8PCAvUHJvY1NldCBbIC9QREYgL1RleHQgXSAvQ29sb3JTcGFjZSA8PCAvQ3MxIDcgMCBSID4+IC9Gb250IDw8IC9UVDEgOCAwIFIKPj4gPj4KZW5kb2JqCjkgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCAxMCAwIFIgL04gMyAvQWx0ZXJuYXRlIC9EZXZpY2VSR0IgL0ZpbHRlciAvRmxhdGVEZWNvZGUgPj4Kc3RyZWFtCngBnZZ3VFPZFofPvTe90BIiICX0GnoJINI7SBUEUYlJgFAChoQmdkQFRhQRKVZkVMABR4ciY0UUC4OCYtcJ8hBQxsFRREXl3YxrCe+tNfPemv3HWd/Z57fX2Wfvfde6AFD8ggTCdFgBgDShWBTu68FcEhPLxPcCGBABDlgBwOFmZgRH+EQC1Py9PZmZqEjGs/buLoBku9ssv1Amc9b/f5EiN0MkBgAKRdU2PH4mF+UClFOzxRky/wTK9JUpMoYxMhahCaKsIuPEr2z2p+Yru8mYlybkoRpZzhm8NJ6Mu1DemiXho4wEoVyYJeBno3wHZb1USZoA5fco09P4nEwAMBSZX8znJqFsiTJFFBnuifICAAiUxDm8cg6L+TlongB4pmfkigSJSWKmEdeYaeXoyGb68bNT+WIxK5TDTeGIeEzP9LQMjjAXgK9vlkUBJVltmWiR7a0c7e1Z1uZo+b/Z3x5+U/09yHr7VfEm7M+eQYyeWd9s7KwvvRYA9iRamx2zvpVVALRtBkDl4axP7yAA8gUAtN6c8x6GbF6SxOIMJwuL7OxscwGfay4r6Df7n4Jvyr+GOfeZy+77VjumFz+BI0kVM2VF5aanpktEzMwMDpfPZP33EP/jwDlpzcnDLJyfwBfxhehVUeiUCYSJaLuFPIFYkC5kCoR/1eF/GDYnBxl+nWsUaHVfAH2FOVC4SQfIbz0AQyMDJG4/egJ961sQMQrIvrxorZGvc48yev7n+h8LXIpu4UxBIlPm9gyPZHIloiwZo9+EbMECEpAHdKAKNIEuMAIsYA0cgDNwA94gAISASBADlgMuSAJpQASyQT7YAApBMdgBdoNqcADUgXrQBE6CNnAGXARXwA1wCwyAR0AKhsFLMAHegWkIgvAQFaJBqpAWpA+ZQtYQG1oIeUNBUDgUA8VDiZAQkkD50CaoGCqDqqFDUD30I3Qaughdg/qgB9AgNAb9AX2EEZgC02EN2AC2gNmwOxwIR8LL4ER4FZwHF8Db4Uq4Fj4Ot8IX4RvwACyFX8KTCEDICAPRRlgIG/FEQpBYJAERIWuRIqQCqUWakA6kG7mNSJFx5AMGh6FhmBgWxhnjh1mM4WJWYdZiSjDVmGOYVkwX5jZmEDOB+YKlYtWxplgnrD92CTYRm40txFZgj2BbsJexA9hh7DscDsfAGeIccH64GFwybjWuBLcP14y7gOvDDeEm8Xi8Kt4U74IPwXPwYnwhvgp/HH8e348fxr8nkAlaBGuCDyGWICRsJFQQGgjnCP2EEcI0UYGoT3QihhB5xFxiKbGO2EG8SRwmTpMUSYYkF1IkKZm0gVRJaiJdJj0mvSGTyTpkR3IYWUBeT64knyBfJQ+SP1CUKCYUT0ocRULZTjlKuUB5QHlDpVINqG7UWKqYup1aT71EfUp9L0eTM5fzl+PJrZOrkWuV65d7JU+U15d3l18unydfIX9K/qb8uAJRwUDBU4GjsFahRuG0wj2FSUWaopViiGKaYolig+I1xVElvJKBkrcST6lA6bDSJaUhGkLTpXnSuLRNtDraZdowHUc3pPvTk+nF9B/ovfQJZSVlW+Uo5RzlGuWzylIGwjBg+DNSGaWMk4y7jI/zNOa5z+PP2zavaV7/vCmV+SpuKnyVIpVmlQGVj6pMVW/VFNWdqm2qT9QwaiZqYWrZavvVLquNz6fPd57PnV80/+T8h+qwuol6uPpq9cPqPeqTGpoavhoZGlUalzTGNRmabprJmuWa5zTHtGhaC7UEWuVa57VeMJWZ7sxUZiWzizmhra7tpy3RPqTdqz2tY6izWGejTrPOE12SLls3Qbdct1N3Qk9LL1gvX69R76E+UZ+tn6S/R79bf8rA0CDaYItBm8GooYqhv2GeYaPhYyOqkavRKqNaozvGOGO2cYrxPuNbJrCJnUmSSY3JTVPY1N5UYLrPtM8Ma+ZoJjSrNbvHorDcWVmsRtagOcM8yHyjeZv5Kws9i1iLnRbdFl8s7SxTLessH1kpWQVYbbTqsPrD2sSaa11jfceGauNjs86m3ea1rakt33a/7X07ml2w3Ra7TrvP9g72Ivsm+zEHPYd4h70O99h0dii7hH3VEevo4bjO8YzjByd7J7HTSaffnVnOKc4NzqMLDBfwF9QtGHLRceG4HHKRLmQujF94cKHUVduV41rr+sxN143ndsRtxN3YPdn9uPsrD0sPkUeLx5Snk+cazwteiJevV5FXr7eS92Lvau+nPjo+iT6NPhO+dr6rfS/4Yf0C/Xb63fPX8Of61/tPBDgErAnoCqQERgRWBz4LMgkSBXUEw8EBwbuCHy/SXyRc1BYCQvxDdoU8CTUMXRX6cxguLDSsJux5uFV4fnh3BC1iRURDxLtIj8jSyEeLjRZLFndGyUfFRdVHTUV7RZdFS5dYLFmz5EaMWowgpj0WHxsVeyR2cqn30t1Lh+Ps4grj7i4zXJaz7NpyteWpy8+ukF/BWXEqHhsfHd8Q/4kTwqnlTK70X7l35QTXk7uH+5LnxivnjfFd+GX8kQSXhLKE0USXxF2JY0muSRVJ4wJPQbXgdbJf8oHkqZSQlKMpM6nRqc1phLT4tNNCJWGKsCtdMz0nvS/DNKMwQ7rKadXuVROiQNGRTChzWWa7mI7+TPVIjCSbJYNZC7Nqst5nR2WfylHMEeb05JrkbssdyfPJ+341ZjV3dWe+dv6G/ME17msOrYXWrlzbuU53XcG64fW+649tIG1I2fDLRsuNZRvfbore1FGgUbC+YGiz7+bGQrlCUeG9Lc5bDmzFbBVs7d1ms61q25ciXtH1YsviiuJPJdyS699ZfVf53cz2hO29pfal+3fgdgh33N3puvNYmWJZXtnQruBdreXM8qLyt7tX7L5WYVtxYA9pj2SPtDKosr1Kr2pH1afqpOqBGo+a5r3qe7ftndrH29e/321/0wGNA8UHPh4UHLx/yPdQa61BbcVh3OGsw8/rouq6v2d/X39E7Ujxkc9HhUelx8KPddU71Nc3qDeUNsKNksax43HHb/3g9UN7E6vpUDOjufgEOCE58eLH+B/vngw82XmKfarpJ/2f9rbQWopaodbc1om2pDZpe0x73+mA050dzh0tP5v/fPSM9pmas8pnS8+RzhWcmzmfd37yQsaF8YuJF4c6V3Q+urTk0p2usK7ey4GXr17xuXKp2737/FWXq2euOV07fZ19ve2G/Y3WHruell/sfmnpte9tvelws/2W462OvgV95/pd+y/e9rp95Y7/nRsDiwb67i6+e/9e3D3pfd790QepD14/zHo4/Wj9Y+zjoicKTyqeqj+t/dX412apvfTsoNdgz7OIZ4+GuEMv/5X5r0/DBc+pzytGtEbqR61Hz4z5jN16sfTF8MuMl9Pjhb8p/rb3ldGrn353+71nYsnE8GvR65k/St6ovjn61vZt52To5NN3ae+mp4req74/9oH9oftj9MeR6exP+E+Vn40/d3wJ/PJ4Jm1m5t/3hPP7CmVuZHN0cmVhbQplbmRvYmoKMTAgMCBvYmoKMjYxMgplbmRvYmoKNyAwIG9iagpbIC9JQ0NCYXNlZCA5IDAgUiBdCmVuZG9iagozIDAgb2JqCjw8IC9UeXBlIC9QYWdlcyAvTWVkaWFCb3ggWzAgMCAxMiAxNi41XSAvQ291bnQgMSAvS2lkcyBbIDIgMCBSIF0gPj4KZW5kb2JqCjExIDAgb2JqCjw8IC9UeXBlIC9DYXRhbG9nIC9QYWdlcyAzIDAgUiA+PgplbmRvYmoKOCAwIG9iago8PCAvVHlwZSAvRm9udCAvU3VidHlwZSAvVHJ1ZVR5cGUgL0Jhc2VGb250IC9DU0ZZRUUrVGltZXNOZXdSb21hblBTLUl0YWxpY01UCi9Gb250RGVzY3JpcHRvciAxMiAwIFIgL0VuY29kaW5nIC9NYWNSb21hbkVuY29kaW5nIC9GaXJzdENoYXIgNzMgL0xhc3RDaGFyCjExMiAvV2lkdGhzIFsgMzMzIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAKMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCA1MDAgXSA+PgplbmRvYmoKMTIgMCBvYmoKPDwgL1R5cGUgL0ZvbnREZXNjcmlwdG9yIC9Gb250TmFtZSAvQ1NGWUVFK1RpbWVzTmV3Um9tYW5QUy1JdGFsaWNNVCAvRmxhZ3MKOTYgL0ZvbnRCQm94IFstNDk4IC0zMDcgMTM1MiAxMDIzXSAvSXRhbGljQW5nbGUgLTggL0FzY2VudCA4OTEgL0Rlc2NlbnQgLTIxNgovQ2FwSGVpZ2h0IDY2MiAvU3RlbVYgMCAvTGVhZGluZyA0MiAvWEhlaWdodCA0MzAgL0F2Z1dpZHRoIDQwMiAvTWF4V2lkdGggMTMxMgovRm9udEZpbGUyIDEzIDAgUiA+PgplbmRvYmoKMTMgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCAxNCAwIFIgL0xlbmd0aDEgNzc5MiAvRmlsdGVyIC9GbGF0ZURlY29kZSA+PgpzdHJlYW0KeAGtOQl4VNXV59z7ZksyyWTf82byMkPIZJ1JyEJIXpYJS4wGEuwMsiRAICBoELBgxcQdgkpbFbe6dZMSNC8TwAmgpC6tS62t/la0footUq2iaF2oJvP+896kCP7/137f//3vzr3nnnvOuffcc8697955m67Y3AMxMAAc5BXru/tAf9LbCfSuuHKTPYLHzAEw7V7Vt3p9BE88DmDoXr1u66oInj4OICzo7eleGcFhguCMXmqI4FhOMK93/aYtETy9mWDMustXTNHTQ4Sb13dvmRof3iLcfln3+p4If04twfK+yzdumsKTCOb3XdEzxY9+gKhTI58/e/rFW+569a83Hp0ePvjVnYDExeEzqIXrwAAMbFACC0nTu5gfBMI1ugGg9aYTS5bF1X5hTjfr3f9MDD2hVZ42bfl6wjB5S9Qr5lLituj8GoHkTI6wD74Xdc2E4ev2qFcgDUwa4ezDRzqhIYYfgVLKMuWHKCuUDeo4Pzzq83nkEEF3sQ6D+dM9Yzohw+UZaEjkh+FBysOUX6Ys0CwOg0iZ8cNsGKaBSMxjwZRMXSoUbGycqsyoilRGC4o87zRE8RB8QpnxEB+D/IjUaH6x53RDHDXQLPjjgJQ5zVvkT/Kj4NaZjgbzCjxj/CC/NlgjxjWk8lGw8SDYKbdT7qN8nLKRtBuFdyh/QlmlLEAC3xP8yw7xSf4gXor3Uq93w+1mlGPEfqHfwPpZP2fLDjMFUB3H1GD6Kk9IHR/tyVhFeg/gRq3hCX4DpmoKqeNsOFjmlUMEinUwSnbS0FHXtAh0OCMwy67DoBThTvc+dITspFA+zoYPcJk7ptNAn43WuGZ5jvDrtAQ1Zjggys7F3pwQzXPxSmL4eNRZ7E0iVHPMmif5tWSjQb2M1dpKPDaNNv8ST4wGL5zvydXg7DZPLMFgizeKgGxxzfYkOJv8OlPQ49VkggXeBI21cpYn4TB1OAu86udysnOWN81ZcYnH5nSVe4zOAm8MjR9Sw3Kes8gbU1Pi9dzj3Os85HzeKRicM4jqqfKk10yvqarhac5U6nB/vrPKKRzh12oJnGaQbWKcqCkvbhFZtFjqpVl9Oirq0x7glEAkpmSxcplp2MSWGYeNLHcf8Vv2ldDAb8lR+8RcT67kXqBNqT843auDXM0o/cEcO/X2t8dz3F5PDhlDi9j+gxdc5PG4Cr0NUerHvB+qaWJnCLoJ/p1Earx2khytb/GQlftHS2o8ZId+cqeOUpTq/bu8gkadO69cg2RIHTi8aYTJMdneXFepx5Pr8lbR+GfkKBcNbnFlOjyDT9JQyPu1BC6aWLFYKRpLjPVG/iAbZkfZy0x4kA/zo/xlLlxOXLs4F3kJr+cX8WXcENdQwU6Ri5dR+SDldyhzKKGynvLlOjZMMYRwEZXUI20CJVTW67V6LYp1yrLvULT1gTzIg+wUJYUS9SJnVCKUoowMESzIwAypqbRfJMSb5YZo9gMmQTlYcZZeVuplppxRbt1Vbr2h3Npbbg2UWzvLrXPKrYXl1vxya4ONVYAdrCxTK3FCL5/Wy3a9LJQz7NbTduuTdusddutWu3Wt3dptty6zW5vt1gYr1mEVWGGWXpbqZbZW4uT+uLY4sBzFSWgDKx8h0yaDyJKDrnIxxJKCrnoC5mDOYbEhnRkhx4xENVAeoixMQQ6ioLUjlGm7AH4DEl5M8LGgq0AM4aMRMKT12ZCMe8ClSeMvIAedBH8OQzr+UyjT4cNT8P6gtI6kf6KBBgveB5I2CA3g1Qe5MugqJvK6YNkVYkM8XkpjamP3Qp7O5qMQ0djrp8SkYM4D4hF0QA6pKSLsd20VJ0neGRS/9obMGBT/mRdiQ0HxfVcICXuPaPcGxRNlhMnR4l/LToh/KdshvuIKMTwo/sH1kviSMyQQ4+PEQYyPufRO9uVQI/E/ULZUvMv1gHh7pO/BPJ3pejLmkJwoXkdT2iydEPuom5XSFeLSSFdLJF2DhSf1jjtIH+r/Iq/eeKFL6zhRnF22WmxxDYlNZS+JddJSsUak9oNidd4JsVLSVSiWdPGCHJocaTJdGhKnlQ2JCyuP4G/AhIOU3XKxqd+0wbTGtMrUapJNVaYZpiJTrslhSjInmG3mWHOMOcpsNhvNgpmZwZwUUo/Lbu1VmGS0acBIbykEQa/bmFangkpgaGYwD5RE3spaOxqVSndryKQuUKrcrYql/RL/COJtAWxVxldA63K78mWHFMKo+YsUg9SISkIrtHY2phGzwraHEDr9IVQ1iRszlYQmP73EUL7x1kwNBm68NRCAlCvr0+oT6uKrW5r/l6JLb+xqdn/7pH1b1Wtp2cru1g6/sjc7oHi0ipodaFVmd9gX+8fYNvYDX/MYu1oDAf8YtrBtvgVaO7Y0B86yUUBdTWwU1AQ0tn7I0dgouvt1tqV6b7Q8tmlsTg1obHtA1NlE3KOxUZhpfCNDoq95RKSCeIQ+GNJ5hoS+CI9T5zl5Do/BBid1npMGmz5cqs6Sl0fdlFER8I/k5hHDSF6uTp7/LVmKkLdFyNt08mXfkr0R8t4IeS+Rv2O8/zPa0/ifRH1rOhqxtd0/YobGQBOZRYMptr46PQ7iD8wayDyEWfwNiHYHlCipUYmWGqG+Ps1tq8WSJcYYxUhtJspa2Mx0pF2TeUgAMrnGHkPN1ilSUUNRg0aicNZIsdQcN0VKu2amgwbZM0WyUXM8DUJxXNxBcXmpTynoIiA1ByDNt6aZflNgIz2bN2/euHETlZs3k4Cro1WZNX+Rf8Tl8inpXc0Bty9tTfOmf2MEaFUKSKheEzKZfIpMQhs3unU5t3tzpEJ9a9XvPpsibdoQbnCT0NSDBIF0I4Bk0pD69mhOlv7WPeD2prnc3jH1NL92JMGr8Qdwo6YfyVNvkT60mlanhW64jfIFIFLO4hsgDUB9l/L7Wg7PUycMtBuHe9W/8DpivnMqE6DHCXvgNoyGbXRK94EHfg4vwKXQB/NhmE7up/F1mE3ecML3YTrIMAkp2A0tWEnYbZCqvkCUS9QP2Enab+6Ba+m0vxn+BCvgN3Q8vRe9kAdV8DuYpa6GRMMxmAE3wZ3qn8EklMMv4Jj6lhqGOfBTOIa12MEHDHXwPbgKroZbMBULsAqvBhfpsAWegHFmsxygm1IbXAid4IfVsJ/eKozuD+0wjK/xJhrJDzuxAsfVffQCdpJkETTgDOZWD0EOFNArfSbUw41wB9wNr2MxzuJlwhik0py6YQxjMQVz8aj6ExAptcFi0vQW2A174UV4EUXsZCW8y/Cr8PsQC5eThttgJ7wGn2IUfg+3sBB/NFyvrlVH1WdIupLGaaY9dwtx3UWzewQOwjj8mmxyDLOxHe/Cj4VNBs/kteE/ho+rKeqnEEe6LoReuAz6YQf55wF4Ct6EE3AGBTRjPD7FStmbPFZ4wJCqgnozec1Od6kGstYWuBm2UxojiWfRjvnoxU34JxbL4tg6dg0bYh/xHXSK+KvwN7VJ3aM+TTb/gG5LEiUXLCCvbiOv7SLf7YPH4ACE4Dn4O5yGz8mSa3EnjuAB/IolsUfZa8KE4ZjhtHq/OgHRZG0nFEIpJS9ZcDbMJV0ug3vJU8/DS/AWfA1fYyZW4zV4Mw7ibXgn7sZ38Et2Ex0K3+a7+a+4wp8TUPAIaw07DceN803d4d3he9VWml0i9V1OcVNHNuyhWNxIMfETsmMQHoejpNtX8A3ZJZFmm4czcQFuwavxWtyFD+EbbA5byy5nfRx5Npf4NL5dEIUh4Y/Cm4arDDvDrnBALdbfjVEUDTNJbz+lZbCKRrmK0k6ywzAcIW/9lqL2A4rmL+AbGo2Rn6MxGR04DX2UFpLX/bgUu7EXt+HPcAjfxI+ZjaWxXLaL3cF+xl5hf+Mb+O38Pj7KX+VhQTVEGzyUWg0Bmu+Q4TPjQuMOU6NpuekR8+8mCyafm3w7HBNODk8Ld4RvCB9W/eqV6vfVh9VH1EfVYXVcW6h0OL4Dsim+7JSmQTGtnFa4AJaS/pfCBorJQfgh/IjSIzSHUdgPz1DE/RFegbfhHUon4X3y7If6nL6ACZpTGkpYRvFSiYtxOa7CPrxKT9fh3XgP3ocKHsVxfAFfxdfxGB6n9CV+hWdYAktkJaySNbPZ7CK2gK1gPayPLpd3s/vYL9nj7BB7lrz8J/Y6e4+FeRZ5wsfn8CV8KVlkK12VHuaP8//ir/Fj/F1+hmwjkI8cgiQ4hRphtXC9cNyQT3ZaaVhreJDSU8Zo41q6KY0aXzS+bzKa8k1zTO2mX5qCJpVWyjD8mFbpOQ9F3B6czi4hLTk+zfbj7fgSCwqnWCwG8CoOrEgopBhvg5NsB3diHd+CmbSOb4W5jJMNY9n9bDZFt/YsoFXspTjsNLwqJOMjdJa6iU6z7fAy7TutxLMdDoFTPQbx8CP1UjiAqbSietR7aC0MYCuO0xpazTawvwsT3EYR+i5/g+LmJK39ctxtfBEWMzdF2yx4EFLo3jaNvLQV7awYFsE9fDt52gHpUCCsM9Aejp/RlWYv2812sP3q83Sw+4j2vUXCbDrwHad9v4COzx/CY6TbC+xVtgMPCEZ8GC8iHbLor4WlFMt57H7o4ZtRYAPsH8IxeINVs0W8ED8TyjiHdvLT9RDAD9EM+3A3O4MOuBMHaPbv4YfsPdgE/0CVTfJdrBefw99iCnNjIy+FMHsXl5M2efCxIZWOmZW0jowUVyfZXr6KrgevGp7ibwlt/CAI+CRWsgluZ83YxqvUU+A0nuHW8GtqEzQzVf2xED35CVlnA7yhPsOLhG5h3jcHvnmZpeKP+XqDX/0svM1wPauDVYYPTLNgK2uiHeJlehcNQwF+wjLI7iK11JClUoUffvMNmw/Z7DR+AVtwF62OPJpJJ+0cw7CaThwusp2Rdui74Wu63TwFbXwz7TMH4RmK9qtpb09kK+g904sL6OhcjHSjonQvRcOnwhrYCgPk/yfobTpEtRzDL8Iy/J72vYtpLf4Zd9Kqm8OqBT900Lv0OsgFkBs65fq6WbUza6qrKivKvZ6y0pLiokJ3wfT8aS5nnpTrsIs52VmZGelpqSnJSYkJ8ba4WGtMdJTFbDIaBE5Xo0Kf1NJlV1xdiuCS5swp0nCpmxq6z2noUuzU1HI+j2LX5LqJdB6nTJyrvsMpRzjls5xos9dCbVGh3SfZlZeaJXsIF833U/3WZilgV07p9Ta9/kO9bqW6w0ECdl9ab7NdwS67T2m5snfQ19VcVIgj0VFNUlNPVFEhjERFUzWaakqq1DeCqXWoV1iqr2aELuZWmqKSITXTyUwiUeqGO33dK5X2+X5fc6bDESgqVLBphbRcAe106NZZoEkfRjE2KSZ9GPsahWYDO+0jheODt4RssLzLHbNSWtm92K/wburDp8S7adxmJfWqE2nfotQ5HVFvPpeayQfp7GbXmAcHb7YrD833nyOb6dB6CASoD5JlzpauwRYa+hbyFKaVkHKa+tpUIpPqkXxaS9dau2KRGqXewbVd5I+MQQUWbHUEMzLkMfU4ZPjsg51+yaHUZ0qB7uaskSQYXLB1NF22p59PKSocscVHrDkSGzdVibGeW+khS0doek1n12qtC86aEzWNpLl0qFXsK+ykiV+iiVRpRU8VDK6oIqvTE0CSUlaSG9YolqauQVuN1k6mRMXgtEn2wS+A3C6d+uj8lu6pFqPT9gVoRC04zsaXQi/RqVhT3G6loECLC1MTOZJ0rNPxiqLCK0PsY6nPZidA5oN2P4kFakrI5g6H5tWdIRmWE6IMzPdHcDsszwyCXEKXCNalUcb/RUleqFEG/kU5K94lUfjup9MBQLJidp39xdlSEn29NQqm/BtyT4Te2iG10hXB7hvsmgrV1s7zsAhdMyjZjWhTNSWxyc8zmRbaVGOZXKdSJC5edJaFEH+MIjjpZ9QjeWXIZKZQ1FvQ3qLYuuZEykCUwzG1UP6TUEg9rUnp4FuxqWkoNe4pRSNqKzPPw89TL2aQt3bSPsNaOxcNDkadR2uhHWxwsEWytwx2DXaH1IHlkt0mDY7RGVAZ7PPR3hPxaEg9tDNTabklQFPpxRqKWwaNIxJunz8i4/aORf4x+n/Dvr3TH2TImroaA4EicpaxGrPYXnVcADWHUNQ9SN83aJdfRPhc+utd8+n/30OvPHrK0cOm0zsii97AWfQZg9Opun4/wzNGU4itkhPBIJzhEGUSziCkm42GM/QdAOeNWn76Fl2Kv6ydrL3Q9nlt22Qt1FPdNkFFWakj3hHvpAKzBJiw8/EJ2UDnT7swrv1hT0PMoftdDt6+H3PjqlPovijLcYl1IMbZ2cLUexJHM/mAHZmFZzNLAiakJWYnYDpkY3yULTs+LT09xxKVZLFEJcQz+lPIIuZHWWxpR1gipHOEKJYoxyfEWURLiaXfsstisAykVVvo60DQXaGBx70VFtk1rVyry6n5FQOWccsfLMctp4lTjq+2yHHxdZYQbjwoWiypFjHqEG7ERKB/d2y1bjfN1O1eol1W3RsoiOVki5wQXW+Rk2KoSLFSkRpbr/dsyYonLCdBx0btiRocGHWlRmB+WqQ9LkeHwWm6hrIlWaq3DMSlR4jRU8LRCaQQfd2QdHxAthRRL3J+ks41klStq3N+EcC2E5MnNJVt4+SW+tqbY4vdsdtsz6SB7RRS2znlkghSVopLlmxwu50mR+UMPSXOqCh3uaRKh8llMhpN3JiclJKC/4yefCW2M7Mw2SF9lJNR0RbDYqJlsajE+aE9vdLpdLKY+JySrdyzqjwjL9HpxLikef0Tv98gpkuJwNSc8Dz+HN9BdzYPdsitC/HWmPtjHo05YjVUJ7dCS2xL8pyChcae2M2xWzP25Y+Zj0wfK3g+I7Yptx0ujqWTWnmuDByteWWe2FhIyUgtTUmOTSpNlnyZIXxEjs3PLZXaIA9LXAiZJSF+q5wrCGDKp7uuFCtmZCZlZGS68qKiSSouAzO8+ZkZtsJD9MnDRPFRXGHSwmR6BEzTgZxsrzDJYsVFJpTpsN5nesg0bjKYDvGZFMTu/ZmSFMrQgspTkaE5W6vLCVmEZGaXf5KBmenejNQM7XtOzcjFkRiyfa7Hz1Xvp5XYTk1qFqfng4irNmi+OqX5yky+cqfVQy05Kj6hGihX27445Z6gs+A5vrs51lZLz7ZndO8tgSVomjHD66EDGEi5rmkRl3k1j86o1N0p5ZoqElO8njpOvpVyjSZ81rd+KBC4Jnzvx5620rkpqeVtlvD0qCUNeZOpoj27/LK6NeXrVi9omFu27tUyvuPkwKpbN7wVrk7JCocvSE0R451Ooaqfr+tIyswxTZtMnFdzxZ0vrGhfeOaX2s5C+4v6yd5fqw5YqaH/4+HUUkhnTG2vS5ja24x0SoWmjpaAz+fuXLO+Z+OFPd9fcPn67svaO4rmbupet2ZFWycJ/DdAZvUZCmVuZHN0cmVhbQplbmRvYmoKMTQgMCBvYmoKNTU1MAplbmRvYmoKMSAwIG9iago8PCAvUHJvZHVjZXIgKGlPUyBWZXJzaW9uIDEzLjUuMSBcKEJ1aWxkIDE3RjgwXCkgUXVhcnR6IFBERkNvbnRleHQpIC9DcmVhdGlvbkRhdGUKKEQ6MjAyMDA2MjkxNzIzNTJaMDAnMDAnKSAvTW9kRGF0ZSAoRDoyMDIwMDYyOTE3MjM1MlowMCcwMCcpID4+CmVuZG9iagp4cmVmCjAgMTUKMDAwMDAwMDAwMCA2NTUzNSBmIAowMDAwMDA5NTI4IDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDAyNTAgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMzE5NyAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAwMDIyIDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDAyMzEgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMDMzMCAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAzMTYyIDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDMzMzAgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMDQyNyAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAzMTQxIDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDMyODAgMDAwMDAgbiAKMDAwMDAwMzYwMCAwMDAwMCBuIAowMDAwMDAzODY3IDAwMDAwIG4gCjAwMDAwMDk1MDcgMDAwMDAgbiAKdHJhaWxlcgo8PCAvU2l6ZSAxNSAvUm9vdCAxMSAwIFIgL0luZm8gMSAwIFIgL0lEIFsgPDI2MGRkMWNjMmI0YmYzYTgxYTdiMmZmMThmZjQ3MDEzPgo8MjYwZGQxY2MyYjRiZjNhODFhN2IyZmYxOGZmNDcwMTM+IF0gPj4Kc3RhcnR4cmVmCjk2ODkKJSVFT0YK"><span class="s21">)</span> <span class="s21">และไม่ปรับแก้</span> <span class="s18">ให้ค่าสูงกว่า </span><img class="s20" src="data:application/pdf;base64,JVBERi0xLjMKJcTl8uXrp/Og0MTGCjQgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCA1IDAgUiAvRmlsdGVyIC9GbGF0ZURlY29kZSA+PgpzdHJlYW0KeAGtkkELwjAMhe/+infcQGqTLmm9Kv4AseLF29CDMEGH/9/OWUX0MHAEGtKEj8fjXbDGBTYVByMgTc/1gB3OmC1bQt0+lhZt3d0Z66wnYup/08jMKopg5urVOzgjxDqXSd1gEUFBHqe5xwazGAmEeEQxLRFPWMVexF/wpMHik74vRsTbH/xyGF+MsiWhYd7w05vbeHCuqpc5Gb8ZD+/c25uM346HrzR8qV8Ow1NKpQh5qKHgcyYdd3m3yL1PTVbevtHrOzYtpTsKZW5kc3RyZWFtCmVuZG9iago1IDAgb2JqCjIwMAplbmRvYmoKMiAwIG9iago8PCAvVHlwZSAvUGFnZSAvUGFyZW50IDMgMCBSIC9SZXNvdXJjZXMgNiAwIFIgL0NvbnRlbnRzIDQgMCBSID4+CmVuZG9iago2IDAgb2JqCjw8IC9Qcm9jU2V0IFsgL1BERiAvVGV4dCBdIC9Db2xvclNwYWNlIDw8IC9DczEgNyAwIFIgPj4gL0ZvbnQgPDwgL1RUMSA4IDAgUgovVFQyIDkgMCBSID4+ID4+CmVuZG9iagoxMCAwIG9iago8PCAvTGVuZ3RoIDExIDAgUiAvTiAzIC9BbHRlcm5hdGUgL0RldmljZVJHQiAvRmlsdGVyIC9GbGF0ZURlY29kZSA+PgpzdHJlYW0KeAGdlndUU9kWh8+9N73QEiIgJfQaegkg0jtIFQRRiUmAUAKGhCZ2RAVGFBEpVmRUwAFHhyJjRRQLg4Ji1wnyEFDGwVFEReXdjGsJ7601896a/cdZ39nnt9fZZ+9917oAUPyCBMJ0WAGANKFYFO7rwVwSE8vE9wIYEAEOWAHA4WZmBEf4RALU/L09mZmoSMaz9u4ugGS72yy/UCZz1v9/kSI3QyQGAApF1TY8fiYX5QKUU7PFGTL/BMr0lSkyhjEyFqEJoqwi48SvbPan5iu7yZiXJuShGlnOGbw0noy7UN6aJeGjjAShXJgl4GejfAdlvVRJmgDl9yjT0/icTAAwFJlfzOcmoWyJMkUUGe6J8gIACJTEObxyDov5OWieAHimZ+SKBIlJYqYR15hp5ejIZvrxs1P5YjErlMNN4Yh4TM/0tAyOMBeAr2+WRQElWW2ZaJHtrRzt7VnW5mj5v9nfHn5T/T3IevtV8Sbsz55BjJ5Z32zsrC+9FgD2JFqbHbO+lVUAtG0GQOXhrE/vIADyBQC03pzzHoZsXpLE4gwnC4vs7GxzAZ9rLivoN/ufgm/Kv4Y595nL7vtWO6YXP4EjSRUzZUXlpqemS0TMzAwOl89k/fcQ/+PAOWnNycMsnJ/AF/GF6FVR6JQJhIlou4U8gViQLmQKhH/V4X8YNicHGX6daxRodV8AfYU5ULhJB8hvPQBDIwMkbj96An3rWxAxCsi+vGitka9zjzJ6/uf6Hwtcim7hTEEiU+b2DI9kciWiLBmj34RswQISkAd0oAo0gS4wAixgDRyAM3AD3iAAhIBIEAOWAy5IAmlABLJBPtgACkEx2AF2g2pwANSBetAEToI2cAZcBFfADXALDIBHQAqGwUswAd6BaQiC8BAVokGqkBakD5lC1hAbWgh5Q0FQOBQDxUOJkBCSQPnQJqgYKoOqoUNQPfQjdBq6CF2D+qAH0CA0Bv0BfYQRmALTYQ3YALaA2bA7HAhHwsvgRHgVnAcXwNvhSrgWPg63whfhG/AALIVfwpMIQMgIA9FGWAgb8URCkFgkAREha5EipAKpRZqQDqQbuY1IkXHkAwaHoWGYGBbGGeOHWYzhYlZh1mJKMNWYY5hWTBfmNmYQM4H5gqVi1bGmWCesP3YJNhGbjS3EVmCPYFuwl7ED2GHsOxwOx8AZ4hxwfrgYXDJuNa4Etw/XjLuA68MN4SbxeLwq3hTvgg/Bc/BifCG+Cn8cfx7fjx/GvyeQCVoEa4IPIZYgJGwkVBAaCOcI/YQRwjRRgahPdCKGEHnEXGIpsY7YQbxJHCZOkxRJhiQXUiQpmbSBVElqIl0mPSa9IZPJOmRHchhZQF5PriSfIF8lD5I/UJQoJhRPShxFQtlOOUq5QHlAeUOlUg2obtRYqpi6nVpPvUR9Sn0vR5Mzl/OX48mtk6uRa5Xrl3slT5TXl3eXXy6fJ18hf0r+pvy4AlHBQMFTgaOwVqFG4bTCPYVJRZqilWKIYppiiWKD4jXFUSW8koGStxJPqUDpsNIlpSEaQtOledK4tE20Otpl2jAdRzek+9OT6cX0H+i99AllJWVb5SjlHOUa5bPKUgbCMGD4M1IZpYyTjLuMj/M05rnP48/bNq9pXv+8KZX5Km4qfJUilWaVAZWPqkxVb9UU1Z2qbapP1DBqJmphatlq+9Uuq43Pp893ns+dXzT/5PyH6rC6iXq4+mr1w+o96pMamhq+GhkaVRqXNMY1GZpumsma5ZrnNMe0aFoLtQRa5VrntV4wlZnuzFRmJbOLOaGtru2nLdE+pN2rPa1jqLNYZ6NOs84TXZIuWzdBt1y3U3dCT0svWC9fr1HvoT5Rn62fpL9Hv1t/ysDQINpgi0GbwaihiqG/YZ5ho+FjI6qRq9Eqo1qjO8Y4Y7ZxivE+41smsImdSZJJjclNU9jU3lRgus+0zwxr5mgmNKs1u8eisNxZWaxG1qA5wzzIfKN5m/krCz2LWIudFt0WXyztLFMt6ywfWSlZBVhttOqw+sPaxJprXWN9x4Zq42Ozzqbd5rWtqS3fdr/tfTuaXbDdFrtOu8/2DvYi+yb7MQc9h3iHvQ732HR2KLuEfdUR6+jhuM7xjOMHJ3snsdNJp9+dWc4pzg3OowsMF/AX1C0YctFx4bgccpEuZC6MX3hwodRV25XjWuv6zE3Xjed2xG3E3dg92f24+ysPSw+RR4vHlKeT5xrPC16Il69XkVevt5L3Yu9q76c+Oj6JPo0+E752vqt9L/hh/QL9dvrd89fw5/rX+08EOASsCegKpARGBFYHPgsyCRIFdQTDwQHBu4IfL9JfJFzUFgJC/EN2hTwJNQxdFfpzGC4sNKwm7Hm4VXh+eHcELWJFREPEu0iPyNLIR4uNFksWd0bJR8VF1UdNRXtFl0VLl1gsWbPkRoxajCCmPRYfGxV7JHZyqffS3UuH4+ziCuPuLjNclrPs2nK15anLz66QX8FZcSoeGx8d3xD/iRPCqeVMrvRfuXflBNeTu4f7kufGK+eN8V34ZfyRBJeEsoTRRJfEXYljSa5JFUnjAk9BteB1sl/ygeSplJCUoykzqdGpzWmEtPi000IlYYqwK10zPSe9L8M0ozBDuspp1e5VE6JA0ZFMKHNZZruYjv5M9UiMJJslg1kLs2qy3mdHZZ/KUcwR5vTkmuRuyx3J88n7fjVmNXd1Z752/ob8wTXuaw6thdauXNu5Tnddwbrh9b7rj20gbUjZ8MtGy41lG99uit7UUaBRsL5gaLPv5sZCuUJR4b0tzlsObMVsFWzt3WazrWrblyJe0fViy+KK4k8l3JLr31l9V/ndzPaE7b2l9qX7d+B2CHfc3em681iZYlle2dCu4F2t5czyovK3u1fsvlZhW3FgD2mPZI+0MqiyvUqvakfVp+qk6oEaj5rmvep7t+2d2sfb17/fbX/TAY0DxQc+HhQcvH/I91BrrUFtxWHc4azDz+ui6rq/Z39ff0TtSPGRz0eFR6XHwo911TvU1zeoN5Q2wo2SxrHjccdv/eD1Q3sTq+lQM6O5+AQ4ITnx4sf4H++eDDzZeYp9qukn/Z/2ttBailqh1tzWibakNml7THvf6YDTnR3OHS0/m/989Iz2mZqzymdLz5HOFZybOZ93fvJCxoXxi4kXhzpXdD66tOTSna6wrt7LgZevXvG5cqnbvfv8VZerZ645XTt9nX297Yb9jdYeu56WX+x+aem172296XCz/ZbjrY6+BX3n+l37L972un3ljv+dGwOLBvruLr57/17cPel93v3RB6kPXj/Mejj9aP1j7OOiJwpPKp6qP6391fjXZqm99Oyg12DPs4hnj4a4Qy//lfmvT8MFz6nPK0a0RupHrUfPjPmM3Xqx9MXwy4yX0+OFvyn+tveV0auffnf7vWdiycTwa9HrmT9K3qi+OfrW9m3nZOjk03dp76anit6rvj/2gf2h+2P0x5Hp7E/4T5WfjT93fAn88ngmbWbm3/eE8/sKZW5kc3RyZWFtCmVuZG9iagoxMSAwIG9iagoyNjEyCmVuZG9iago3IDAgb2JqClsgL0lDQ0Jhc2VkIDEwIDAgUiBdCmVuZG9iagozIDAgb2JqCjw8IC9UeXBlIC9QYWdlcyAvTWVkaWFCb3ggWzAgMCAyOC41IDE2LjVdIC9Db3VudCAxIC9LaWRzIFsgMiAwIFIgXSA+PgplbmRvYmoKMTIgMCBvYmoKPDwgL1R5cGUgL0NhdGFsb2cgL1BhZ2VzIDMgMCBSID4+CmVuZG9iago5IDAgb2JqCjw8IC9UeXBlIC9Gb250IC9TdWJ0eXBlIC9UcnVlVHlwZSAvQmFzZUZvbnQgL01FRkhQTytUaW1lc05ld1JvbWFuUFMtSXRhbGljTVQKL0ZvbnREZXNjcmlwdG9yIDEzIDAgUiAvRW5jb2RpbmcgL01hY1JvbWFuRW5jb2RpbmcgL0ZpcnN0Q2hhciA2NyAvTGFzdENoYXIKMTE3IC9XaWR0aHMgWyA2NjcgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgNTAwIDAgNzIyIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMAowIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAwIDAgMCAzODkgMCA1MDAgXSA+PgplbmRvYmoKMTMgMCBvYmoKPDwgL1R5cGUgL0ZvbnREZXNjcmlwdG9yIC9Gb250TmFtZSAvTUVGSFBPK1RpbWVzTmV3Um9tYW5QUy1JdGFsaWNNVCAvRmxhZ3MKOTYgL0ZvbnRCQm94IFstNDk4IC0zMDcgMTM1MiAxMDIzXSAvSXRhbGljQW5nbGUgLTggL0FzY2VudCA4OTEgL0Rlc2NlbnQgLTIxNgovQ2FwSGVpZ2h0IDY2MiAvU3RlbVYgMCAvTGVhZGluZyA0MiAvWEhlaWdodCA0MzAgL0F2Z1dpZHRoIDQwMiAvTWF4V2lkdGggMTMxMgovRm9udEZpbGUyIDE0IDAgUiA+PgplbmRvYmoKMTQgMCBvYmoKPDwgL0xlbmd0aCAxNSAwIFIgL0xlbmd0aDEgOTAyNCAvRmlsdGVyIC9GbGF0ZURlY29kZSA+PgpzdHJlYW0KeAGdOgl4U1W6/znnZumSNE3aJm3a3pvcJi1Nm7ZJShfS9pYuILVSaJlpkUILLRQEAQEFBFtUEIrKzDig4oLMjMpQtGnKEhal4zbj9nyj4wz6/BRnEHW0yvhAeQq97783FWXe++Z93zun//nPOf9/tn85y01X37SmG+KhDxhIC5Z1rgA1pM5BdNuCm1cL0XL8VADdroUrFi2Lli2nATSdi5auWxgtp34OoD/X093ZFS3DJcQTe7AiWiYBxFk9y1avjZZTaxHbli5fME5PfQ/LxmWda8fHB6Us3Ni5rDvKL8YjDqxYvmp1tOxU6IUrbuoe5yetALGjQ+dfPPfq3fe/9bfNJyeMHf5mJxDk0sJXEITbQQMUTFAAswC4+2krcFhW6BqAhi1n2uclBC/oU/Vq97/mI88omed1a7+9pLl8d+yb+kLkjlH5FQK20znG6uCnsbdd0nzbFPsm2ECnEK4E7VALVMezE1CIICE8hhBC0Mgj7PhwXZ1PiiD2eFUczpngO6oS0ty+vmoLOw57EAYR3kDgADDlESg7TgchG3hkPhpOsautIuHJk8czE0ujmeHcfN8H1bEsAl8iUBZhRyEn2mo4x+s7V52AFbgKdgQIAsN18+xZdhI8KtPJcFau7yg7zDaFy/mEaisbBhMLg4DQhLAC4TSCFmc3DB8gfIkgI3BgZvvCf93GP8v2kBvIbuz1AbhPT6R4vpfr1dBe2svovOM0BEQeIdZw6kJfRB4Z7k5biPPuI6uUimfYncSqTEgeoYPhIr8UQeRV0TDKSSkOu7Oj2OGK4nRBxWExyp3qf+wEyimEcJoOHmISc0zAgb4aLndX+E6w25UI5Xo4xEuuOf7MCK5zThcyfDHs8vqTsKgoZvGzbBPKqF9NjUpdgc+k0GZc74tX8HUzfE4FT2n0GRGH6/2xiKQY9xSf2VXTqjKFfX6lTTjXb1ZYSyp85uPYYQX45fNSsqvCb3MVX+8zudwBn9aV64/H8SPymJTlyvfHlxf4fQ+69ruOuV52cRrXRKT6Sn2p5RPKS8uZzWXFDg/muEpd3Am2SYng0oNk4hN4ZfL8Wp7G8YV+XNU/hnl12X0MI/DIlMyXzNMN6ug87aCWOg8gf8yBAhz4PSn2AO/0OUXPTGVJveEJfhU5FaH0hjMF7O3jI5kevy8ThaFYbO/ha6f7fO48f3Ws/AXrhTJc2EXEHsR/xyblfgFbDlfV+1DKvcMF5T6UQy+qUy2ilar9u/2cQr1mWkDBKEgVOfw2LEnxGX6nu9Dnc7r9pTj+RSnWjYPHuO0OX/+zOBRhvUoENy7My5fw2gJtlZbtoYP0JH2DcnvYIDvJ3mDccuTawRjPClgVm87mMU1CdTEdRRXPw3QPwgcIDAowrUJYrpYG0YYITMcUe8RNoADTKjVXpVixSpn3TxTFPwgLszAdxRjCiL1IaSUEColEKCEQQyjowWrF/cKcqJeq4+itVIQAGEiFmpaoqV1KCxh2BAx3Bgw9AUNbwNASMEwNGPIChpyAodpEi0EAA7UrKbmkps+raZOa5klpguGcYHhWMPxSMKwTDEsEQ6dgmCcYagVDtYFUklIwQIWaFqpphpKSywcTGhMg5iS5DI1gYEMo2mTgaXLYHeAjNCnsrkKkD2ce56tTqRYy9QSpGoQBBG4cM+A5pZ5AkbILkO9AJD9B/HTYnctHyFNRNKD0WZ1M9oFbaU0eh0ziQvwbGFDLv4IiFe8dx4+ExaXY+mEFVceQh0BUBsEB/OogN4fdXiQvDRfdxFcnkhtwTGXsHshS2erQRBT2qvFmYjjzUf4EcUAmTpMncNC9jr+M7V1h/lt/RE/C/H9lRehAmP/EHSFY+ghpu8P8mSIsSXH834rO8H8t2sa/6Y5Qcpj/d/fr/OuuCIeMR5ADGZ92q50cyMRK5H+0aC5/v/tR/r5o3/1ZKtMdKMwBycLfjktaI57hV2A3XeJN/NxoV+2iOoNZZ9WOm3E+2P90v1p5nVvp2MJPKVrE17sH+Jqi1/lKcS5fzmP9Yb4s6wxfIqpT8Ipq89xMXBzOZII4wGcXDfCzSk6Ql0BH+hE8klfXq1upW6xbqGvQSbpS3URdvs6pc+iS9Ga9SW/Ux+tj9Xq9Vs/pqR70SRH5tORRjsIkrUlBWjylCHBq3kSVPCaYAiV6CtMgZGENtKF5cqjE0xDRyTNDpZ6GUEzT9a1DhNzbRhpCIwugYb4Q+rpZjJDYGbNDGnEyCZkboKFlsg2ZQ3RrhEBLa4TISovN9pC5phUPMSJtvseu4LbN97S1QcrNVbYqc2ViWX3t/5J0qJUdtZ4fgu2HrJqzZYR2NTS3hvZntIV8SkbOaGsITWkW5rQepRvprXW1R+kGBbW1HiX1dGPdTKWe1Ne2XWFDg9qAbGjUiBS2XshU2NC6e1W2uWpv6B4bFTaXghS2fcCrbDzZp7ChmSl8QwN8Xe0QjwnycCtgQOUZ4FZEeVwqz9kf8WhMcFblOasxqcNZVZasLOymCJO21iFnFjIMZTlV8owfyGKUvDFK3qiSb/yB7I+S90fJ+5H8T8L7fxe7J/9fTesWN08mDU2tQ3qY3FaDYlFwimlFpWoHiYcq+uzHSDp7B+I8baFYcXIoTpwMVVU2jylICtq18SEt1ukQFLOZ5LDdZj/GAYpcYY/HasM4Kb86v1ohoTkrJCNWJ4yTbLdNcuAg+8ZJJqxOxEHQjr3NaJc31IVyOxCJtW1gq1tci3/jaBWGNWvWrFq1GtM1a7CBu7khVDFjduuQ210XSu2obfPU2RbXrv4XQoCGUC42qlIa6XR1IQkbrVrlUdt5PGuiGexbyf5zWB2tU4bwgAcbjQeCGHBuiAiKNCK/P5yZrp66hzx+m9vjPyqfY5uGzH6Fv42sUuaH7bG3aB9KTsmjo2vuRbgWeIR0thJsAPKHCJ8oMDZNvqTB3XisR/4rq0TmneOACIML9sG9JA424i29DnzwG3gFboAVMAMG8eZ+jvwFpqA2XHALTAAJLkMK6YR6UoKle8Eqv4KU6+VP6Vncbx6ETXjbXwN/hgXwEl5PdxM/ZEEpvAYV8iKwaE7BRNgCO+X/AB0XgMfhlPyePAZT4VdwigRJM+vTVMJPYT1sgLuJleSSUrIB3DiHtfAMjFBTzCF8KTXCddACrbAIDuKpQvH90ASD5G1WgyO1wnZSTEbkA3gAu7BlPlSTidQjH4NMyMUjfRJUwWb4JTwAfyFeUsGKuKNgxTV1wlFiJCnESU7KDwOPsRHm4Ezvhl2wH16FVwlPWmgB69D8duwTMMJynOFG2A5vwz9ILPkpWUsj7KmxKnmJPCy/gK1LcJxa3HPXItf9uLon4TCMwO9QJqdIBmki95MvuNUa3+VNY38cOy2nyP+ABJzrLOiBG6EXtqF+HoXn4F04AxcJR/QkkTxHC+m7zMg9qrHKIN+FWhPwLVWN0loLd8FWjEexxYtEIDnET1aTP1MjTaBL6W10gH7OtuEt4m/cx3KNvE9+HmX+Kb6WRIxumIla3Yha24G6OwBPwyGIwB/g73AOzqMkl5DtZIgcIt/QJPoUfZu7pDmlOSc/Il+COJS2C/KgEKMfJTgFrsG53Ai7UVMvw+vwHnwL3xI7KSO3kbtIP7mX7CS7yAfka7oFL4Xvs13styzE/sARzsct0WzXnNbO0HWO7RrbLTfg6izYdwDtphJl2I22uApt4mGUYxiOwEmc2zfwHcrFgqvNIpPITLKWbCCbyA7yGHmHTqVL6HK6ghGWwUSWzbZyPDfA/ZF7V7Nes33MPdYme9WzMRatYRLOuxXjPFiIo6zHuB3lMAgnUFu/R6v9FK35AnyHo1HUcxxJJg6STeowzkKtt5K5pJP0kI3k12SAvEu+oCZqo066g/6S/pq+ST9mK9l97CE2zN5iY5ysidP4MDZo2nC9A5qvtLO023STdfN1T+pfu5x7+Q+X3x+LH0seyx5rHrtz7LjcKt8s3yLvlZ+Un5IH5RHFUfFy/EvIQPsSMGaDFz2nAa6FuTj/G2Al2mQ//Ax+jvFJXMMwHIQX0OL+CG/C+/ABxrPwCWr2M3VNF+ASrslGRFKE9lJC5pD5ZCFZQdar8XbyAHmQPERC5CQZIa+Qt8hfyClyGuPX5BtykZqphRbQElpLp9DpdCZdQLvpCnxcPkAfok/QI/QYfRG1/Gf6F/oRHWPpqIk6NpW1s7kokXX4VNrLjrA/sbfZKfYhu4iy4VBHDk7kXFw5t4i7gzutyUE5dWmWaPZgfE4bp12CL6Vh7avaT3RaXY5uqq5J94QurJPRUwbhF+ilPwpocfvIBHo9zpKR5+lBch95nYa5UWokbWQ9A5rP5aGNN8JZuo25SCVbS+zox/fANZShDI30EToFrVsJM9GL/WiHLZq3uGTyJN6ltuBttgnewH2nAXm2wjFwyacgEX4u3wCHiBU9qlt+EH2hjzSQEfShRXQl/Tt3iZnQQj9k76DdnEXfD5Bd2ldhDvWgtVXAHkjBd1s2amkdEagXZsODbCtq2gGpkMst1eAeTr7CJ81+uotuowfll/Fi9znue7O5KXjhO437fi5enz+Dp3Fur9C36DZyiNOSvWQ6ziEdPy3MRVvOoo9AN1tDONpH/5M7Be/QMjqb5ZGvuCLGoAn1dAe0kc+IHg6QXfQiccBO0oer/4h8Rj+C1fCfRKaX2Q7aQ/5Afk9SqIdMZoUwRj8k83E2WfCFxorXzBL0Iy3a1Vm6ny3E58FbmufYe1wjOwwceZaU0EtMoLWkkZXKo+DSXmSGsbflGqilsvwLLu7ylyidlfCO/ALL5zq5ad8d+u4NaiW/YMs0rfJXYxs1d9BKWKj5VFcB62gN7hBv4Fk0CLnkS5qGcuexphwlZeV+9t13dAZk0HPkAqwlO9A7snAlLbhzDMIivHG4UXZa3KEfgG/xdfMcNLI1uM8chhfQ2jfg3m6hC/Cc6SEz8ersJfiiwrgbreEf3GJYB32o/2fwNB3AXKbm8TEJ/g33vZ+gL/4H2Y5eN5WWca3QjGfp7eAEkKpbpKrKiuCk8rLSkuKA31dUWODNz/PkTsjJdruyRKdD4DMz0u1pqTZrSnKSxZxoSjAa4uNiY/Q6rYZj+DTKqxPrO4SQuyPEucWpU/OVstiJFZ0/qugICVhVfzVPSFDadSLpKk4JORf+E6cU5ZSucBKTEIRgfp5QJwqh12tFIUJmz2jF/D21YpsQGlXzjWr+Z2regHmHAxsIdbaeWiFEOoS6UP3NPf11HbX5eWQoLrZGrOmOzc+Dodg4zMZhLmQVVwwRayVRM9RaVz6ED3MDLjGUJtbizUzEptgNc9V1doWaZrTW1dodjrb8vBCpWSDOD4FyO/SoLFCjDhPS1oR06jDC4hCuBrYLQ3kj/XdHTDC/wxPfJXZ1zmkNsU7soy6U6MFxa0PW9WdsPxSxc7yi3vVjqp31491NUJj7++8SQo/NaP1RW7tD6aGtDfvAttRV39Ffj0PfjZoitgKcnDJ9ZSnRRXWLdUpNxxIhFCNOFnv6l3SgPtL6QzBznSOcliYdlU9DWp3Q39IqOkJVdrGtszZ9KAn6Z64bTpWE1Ksp+XlDpsSoNIeMCeOZeMOPM90o6ShNzansSq5h5hVxEmVG4jV4qQ0JCwScSauICylVku5S6F9QilLH0EawVagL1bA4FFPT0W8qV+pRlCSkcZlEof8CoNrF0c+vrukcr9G6TBdAISrGccW+QniIjttayOMJ5eYqdqGrQUXiHCvVcnF+3s0R+oW4wiQgQvFBUys2aysvQJk7HIpWt0ckmI+FUN+M1mhZgPn2MEgF+IigHQpl5HtK8iyF0vc95UrzDhHN9yDeDgCSQ3r3lb8EU4qlrqc8RFL+Bbk7Sm9oFhvwiSDU9XeMm2pDy1WlKF0RKMoNaeO5kKWmldmpYtqYo3amUtES58y+woKF1vgQ58I/rWrJXRGdHk1RrSFCfcjUMTWatsU6HOOO8n81isjnlFYq+qHZ+DJC5Z7xiUanHZp0Vfmq6cX3s4YW3GdoQ8vs/v7Yq2j1uIP199eLQn1/R39nRO6bLwomsf8o3gFD/SvqcO+JajQiH9tuD9Xf3YZL6SHlaLcUJg+JZOuMIYlsbZ7dehS/bwhbW1rDlNCajsltbfmoLG0ZSdf8BPrxXWjU/B7eZRnyKOaDSCKqNgH3cy2+aABq8DxX9PuvAh5oeNP6/wccGk+YaAjgy+IoHWLNnPLLCyXpSEpHIsMbeNVBSi5qdRG6ULKAhrvIIFbHXSSQqtdqLuJvBmTacMyv3sMH9NfBy8HrTOeDjZ ณัฐสิทธิ์ ทองเลิศ อภินิติ โชติสังกาศ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE12 GTE12 คุณสมบัติของดินลูกรังแทนที่ด้วยเถ้าก้นเตาสำหรับวัสดุงานทาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/159 <p><span class="s18">งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาการนำเถ้าก้นเตาซึ่งเป็นวัสดุพลอยได้จากการผลิตกระแสไฟฟ้าในการแทนที่ดินลูกรังสำหรับชั้นรองพื้นทางหรือชั้นพื้นทาง โดยคัดขนาดดินลูกรังตามมาตรฐานรองพื้นทาง ทล.-ม. 205/2532 </span><span class="s18">Type B </span><span class="s18">และ </span><span class="s18">Type D </span><span class="s18">และเถ้าก้นเตาจากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี จังหวัดระยอง สัดส่วนการแทนที่เถ้าก้นเตาของ </span><span class="s18">Type B </span><span class="s18">ที่ร้อยละ 10</span><span class="s18">, </span><span class="s18">20</span><span class="s18">, </span><span class="s18">30</span><span class="s18">, </span><span class="s18">40 และ 50 และของ </span><span class="s18">Type D </span><span class="s18">ที่ร้อยละ 10</span><span class="s18">, </span><span class="s18">20</span><span class="s18">, </span><span class="s18">30</span><span class="s18">, </span><span class="s18">40</span><span class="s18">, </span><span class="s18">50 และ 60 โดยศึกษาคุณสมบัติด้านกายภาพ การบดอัด กำลังรับน้ำหนักด้วยการทดสอบ </span><span class="s18">California Bearing Ratio </span><span class="s18">และกำลังรับแรงเฉือนตรงด้วยการทดสอบ </span><span class="s18">Direct Shear </span><span class="s18">สำหรับคุณสมบัติการบดอัดพบว่าค่าความหนาแน่นแห้งสูงสุดของดินลูกรังผสมเถ้าก้นเตามีค่าลดลงเมื่ออัตราส่วนการแทนที่เถ้าก้นเตามากขึ้น แต่ค่าความชื้นเหมาะสมเพิ่มขึ้น สำหรับดินทั้งสองชนิด และผลการทดสอบคุณสมบัติด้านกำลังรับน้ำหนัก พบว่าเมื่อผสมเถ้าก้นเตาที่สัดส่วนการแทนที่ร้อยละ 30 ของดิน </span><span class="s18">Type B </span><span class="s18">และที่</span><span class="s18">อัตราส่วน</span><span class="s18">การแทนที่ร้อยละ 50 ของดิน </span><span class="s18">Type D </span><span class="s18">จะให้ค่า </span><span class="s18">CBR </span><span class="s18">สูงสุด</span> <span class="s18">โดยมีค่าผ่านมาตรฐานชั้นรองพื้น</span><span class="s19">ทาง</span><span class="s19">และชั้นพื้นทาง</span> <span class="s19">และการแทนที่ด้วยเถ้าก้นเตา</span><span class="s19">มีผล</span><span class="s19">ทำให้ค่ามุมเสียดทานภายในและแรงยึดเหนี่ยวมีค่าลดลงไม่มากนักตามปริมาณเถ้าก้นเตาที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าเถ้าก้นเตาสามารถนำมาใช้แทนที่ดินลูกรังสำหรับวัสดุงานทาง</span></p> อรฑิฌา จันทร์สิงห์ วีรยา ฉิมอ้อย Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE13 GTE13 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานไฟฟ้ากับกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำของดิน เพื่อวิเคราะห์ถนนเลียบคันคลอง ในบริเวณดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/166 <p><span class="s16">ถนนเลียบคันคลองที่ก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ (</span><span class="s16">Bangkok Soft Clay) </span><span class="s16">คลอบคลุมพื้นที่มากกว่า 14 จังหวัด ในเขต</span><span class="s16"> &nbsp; &nbsp; &nbsp; </span><span class="s16">ภาคกลางและภาคตะวันออก จากวิกฤตการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลให้ถนนหลายเส้นทางเกิดการทรุดตัว เนื่องจากระดับน้ำในคลอง&nbsp;</span><span class="s16">ลดระดับอย่างรวดเร็ว รัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก&nbsp;</span><span class="s16">ในการซ่อมแซม การวิเคราะห์เสถียรภาพถนนเลียบคันคลอง</span><span class="s16">เพื่อหาแนวทางป้องกันก่อนเกิดเหตุ เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาข้างต้น โดยปัจจุบันข้อมูลตัวแปรของชั้นดิน (</span><span class="s16">Parameters) </span><span class="s16">ที่นำมาใช้</span><span class="s16">ในการวิเคราะห์ ล้วนเป็นข้อมูลที่ได้จากการเจาะสำรวจดินในสนาม&nbsp;</span><span class="s16">(</span><span class="s16">Field Investigation) </span><span class="s16">ซึ่งเป็นข้อมูลดินเพียงไม่กี่จุด เพื่อเป็นตัวแทน&nbsp;</span><span class="s16">บอกลักษณะชั้นดินในบริเวณที่ต้องการวิเคราะห์เสถียรภาพ การสำรวจ&nbsp;</span><span class="s16">ค่าความต้านทานทางไฟฟ้าของดิน (</span><span class="s16">Resistivity Survey) </span><span class="s16">ซึ่งเป็น</span><span class="s16">เครื่องมือสำรวจสภาพธรณีวิทยา</span> <span class="s16">ที่ใช้ในการทดสอบค่าความต้านทาน</span><span class="s16">ทางไฟฟ้าของดิน</span> <span class="s16">ซึ่งทดสอบได้ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง</span><span class="s16">แต่ยังไม่สามารถใช้หาค่ากำลังของดินได้ ดังนั้นในงานวิจัย</span><span class="s16">ฉบับ</span><span class="s16">นี้</span><span class="s16">จึงเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้านไฟฟ้าและกำลัง</span><span class="s16">รับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำของดิน (</span><span class="s16">Undrained Shear Strength) </span><span class="s16">ที่ได้จากการทดสอบด้วยวิธี </span><span class="s16">Screw Driving Sounding Test (SDS) </span><span class="s16">เมื่อทราบค่ากำลังรับแรงเฉือนของชั้นดิน จะสามารถนำไปแปลงเป็นตัวแปรอื่นได้ &nbsp;เช่น หน่วยแรงยึดเกาะ</span><span class="s16">, </span><span class="s16">มุมเสียดทานภายใน และหน่วยแรงอัด</span><span class="s16">ของดิน เป็นต้น</span></p> ณัฐ สุทธิ ศลิษา ไชยพุทธ ทวีพงษ์ สุขสวัสดิ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE14 GTE14 การวิเคราะห์การทรุดตัวของฐานรากเสาเข็มแบบแผ่สำหรับอาคารสูงด้วยวิธีไฟไนท์อีลิเมนต์แบบสามมิติ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/176 <p><span class="s18">บทความนี้นำเสนอผลการวิจัยพฤติกรรมการทรุดตัวของฐานราเสาเข็ม</span><span class="s18">แบบ</span><span class="s18">แผ่</span> <span class="s18">(mat) </span><span class="s18">สำหรับอาคารสูง </span><span class="s18">โดยใช้ข้อมูลแรงกระทำจากโครงสร้างส่วนบน, ผลการทดสอบเสาเข็มเจาะขนาด 1000 มิลลิเมตร และ </span><span class="s18">&nbsp; &nbsp; &nbsp;</span><span class="s18">1500 มิลลิเมตร และผลการตรวจวัดการทรุดตัวของ </span><span class="s18">mat </span><span class="s18">ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจนสิ้นสุดการก่อสร้าง พบว่าการทรุดตัวของ </span><span class="s18">mat </span><span class="s18">มีลักษณะเป็นรูปถ้วยโดยการทรุดตัวเกิดที่ส่วนกลางของฐานมากที่สุด ค่าการทรุดตัวของ </span><span class="s18">mat </span><span class="s18">สูงกว่าการทรุดตัวของเสาเข็มทดสอบที่น้ำหนักบรรทุกออกแบบประมาณ</span> <span class="s18">6 เท่า งานวิจัยจึงได้ใช้ไฟไนท์อีลิเมนต์โปรแกรม </span><span class="s18">PLAXIS 3D </span><span class="s18">วิเคราะห์กลับเพื่อหาค่า </span><span class="s18">Young’s modulus </span><span class="s18">โดยใช้ข้อมูลการทรุดตัวจาก</span><span class="s18">ผลการทดสอบเสาเข็มพบว่าค่าที่ได้นั้นต่ำกว่ากา</span><span class="s18">รวิเคราะห์กลับโดยใช้ผลการตรวจวัดการทรุดตัวของฐานราก </span><span class="s18">งานวิจัยได้ทำ</span><span class="s18">การ</span><span class="s18">ศึกษา</span><span class="s18">อิทธิพลของรูปแบบการจัดเรียงเสาเข็มต่อการทรุดตัวและโมเมนต์ดัดใน </span><span class="s18">mat </span><span class="s18">โดยใช้วิธีวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง </span><span class="s18">E</span><span class="s18">TABS </span><span class="s18">กับ</span> <span class="s18">PLAXIS 3D </span><span class="s18">พบว่า</span><span class="s18">การจัดเรียงเสาเข็มโดยมีการแปรผันความยาวเสาเข็มสามารถลดการ</span><span class="s18">ทรุดตัวที่</span><span class="s18">แตกต่าง</span><span class="s18">กันภายใน </span><span class="s18">mat </span><span class="s18">และลดโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นใน</span><span class="s18">&nbsp;</span><span class="s18">mat </span><span class="s18">ได้</span></p> ยอดตะวัน รักษารมย์ พรพจน์ ตันเส็ง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE15 GTE15 อิทธิพลของการเสื่อมสภาพต่อกำลังรับแรงเฉือนของหินทรายแป้งและเสถียรภาพเชิงลาด https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/210 <p><span class="s17">บทความนี้ได้นำเสนอพฤติกรรมการเสื่อมสภาพของหินทรายแป้งที่เกิดขึ้นระหว่างการขุด</span><span class="s17">-</span><span class="s17">ถม และส่งผลต่อเสถียรภาพเชิงลาดของกองดินถม โดยหินตัวอย่างที่ศึกษาได้เก็บจาก โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง สภาพแวดล้อม</span><span class="s17">และภูมิอากาศ</span><span class="s17"> สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของหินทรายแป้ง ซึ่งสามารถจำลองในห้องปฏิบัติการด้วยกระบวนการ</span><span class="s17">เ</span><span class="s17">ปียกสลับแห้ง และการเปลี่ยนแปลงหน่วยแรงกด ความคงสภาพและเสื่อมสภาพของหินทรายแป้ง สามารถวิเคราะห์ได้จากผลการทดสอบ </span><span class="s17">Slaking Test, Crumb</span><span class="s17"> Test</span><span class="s17"> และ </span><span class="s17">Grain Size Distribution Analysis &nbsp;</span><span class="s17">ด้วยอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมทำให้ค่ากำลังรับแรงเฉือนของวัสดุมีการเปลี่ยนแปลง และสังเกตได้จากผลการทดสอบ </span><span class="s17">Direct Shear Test </span><span class="s17">และ </span><span class="s17">Unconfined Compressive Strength Test </span><span class="s17">กำลังรับแรงเฉือนของหินทรายแป้งทั้งแบบระบายน้ำและไม่ระบายน้ำ</span><span class="s17">ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเสื่อมสภาพ</span><span class="s17"> ได้ถูกนำมา</span><span class="s17">ใช้</span><span class="s17">จำลอง</span><span class="s17">ในการวิเคราะห์</span><span class="s17">เสถียรภาพเชิงลาด</span><span class="s17"> เพื่อประเมินค่าความปลอดภัยในสภาวะต่างๆ ซึ่งพบว่า</span><span class="s17">ปัจจัย</span><span class="s17">สำคัญที่ส่งผลต่อค่าอัตราส่วนความปลอดภัย คือ</span><span class="s17"> การเปลี่ยนแปลงสถานะของวัสดุจาก </span><span class="s17">Soft Rock </span><span class="s17">เป็น </span><span class="s17">Hard Soil </span><span class="s17">ซี่งมีผลต่อการระบายน้ำและ</span><span class="s17">แรงดันน้ำส่วนเกิน</span><span class="s17">เมื่อถูกแรงเฉือน</span><span class="s17"> ซึ่งขึ้นกับ</span><span class="s17">อัตราการเสื่อมสภาพ</span><span class="s17">ของวัสดุ</span> <span class="s17">โดยการ</span><span class="s17">พิบัติของเชิงลาด</span><span class="s17">มีโอกาส</span><span class="s17">เกิดขึ้นสูง </span><span class="s17">(F.S. &lt; 1.3) </span><span class="s17">เมื่อ </span><span class="s17">r</span><span class="s20">u</span><span class="s17"> &gt; 0.53</span> <span class="s17">และ </span><span class="s17">s</span><span class="s20">u</span> <span class="s21">≤</span> <span class="s17">460</span><span class="s17"> kPa.</span></p> นวัต ปรีชาศิลป์ บารเมศ วรรธนะภูติ อภินิติ โชติสังกาศ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE16 GTE16 การปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนกรุงเทพด้วยปูนซีเมนต์ผสมผงตะกรันเหล็กและเถ้าชีวมวล จากโรงงานผลิตกระดาษ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/216 <p><span class="s17">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของการใช้ตะกรันเหล็กบดละเอียดจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเถ้าชีวมวลจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตกระดาษมาปรับปรุงคุณภาพของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ โดยผสมกับปูนซีเมนต์ตามหลักการของวิศวกรรมปฐพีสิ่งแวดล้อม </span><span class="s17"><br></span><span class="s17">จากการศึกษาพบว่าสัดส่วนผสมระหว่าง ปูนซีเมนต์ </span><span class="s17">: </span><span class="s17">ผงตะกรันเหล็ก </span><span class="s17"><br></span><span class="s17">: </span><span class="s17">เถ้าชีวมวล เท่ากับ </span><span class="s17">0.75</span><span class="s17">0</span><span class="s17"> : 0.125 : 0.125 </span><span class="s17">เป็นสัดส่วนผสมที่ดีที่สุด </span><span class="s17"><br></span><span class="s17">เมื่อนำสารเชื่อมประสานมาผสมกับดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ ที่อัตราส่วน 150, 200 และ 250 </span><span class="s17">kg/m</span><span class="s20">3</span><span class="s17"> พบว่าดินมีกำลังเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตามอายุการบ่ม โดยพิจารณาจากกำลังรับแรงอัดแกนเดียว </span><span class="s17">(Unconfined Compressive Strength, UCS) </span><span class="s17">และเปอร์เซ็นต์</span> <span class="s17">CBR</span> <span class="s17">(California Bearing Ratio) </span><span class="s17">ผลจากการทดสอบคุณสมบัติดินทางด้าน </span><span class="s17">Physico</span><span class="s17"> – chemical Properties </span><span class="s17">โดย</span><span class="s17"> X-ray Diffractometer (XRD) </span><span class="s17">ผลการทดลองยืนยันศักยภาพของการใช้กากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นสารเชื่อมประสานในการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียว ซึ่งค่ากำลังรับแรงอัดผ่านเ</span><span class="s17">ก</span><span class="s17">ณฑ์ในการนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง</span></p> วฤธ รัตนรุ่งโรจน์ ศุภกิจ นนทนานันท์ อัครชัย เรืองแสงทอง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE17 GTE17 การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังด้อยมาตรฐานด้วยวัสดุผสมซีเมนต์-โพลีเมอร์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/244 <p><span class="s18">บทความนี้</span><span class="s18">นำเสนอการปรับปรุงคุณภาพของดินลูกรังด้อยมาตรฐาน</span> <span class="s18">ด้วยวัสดุผสม ซีเมนต์-โพลีเมอร์ (</span><span class="s18">cement-polymer mixture</span><span class="s18">)</span> <span class="s18">เพื่อลดปริมาณการใช้ซีเมนต์ลงในการปรับปรุงคุณภาพดิน ให้สามารถรับกำลังรับแรงอัดได้ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ซึ่งในปัจจุบัน ซีเมนต์ถูกใช้เพื่อการปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังอยู่ด้วย แต่เนื่องด้วยดินปรับปรุงด้วยซีเมนต์ จะมีค่ากำลังรับแรงอัดที่สูง</span><span class="s18">แต่มีความสามารถในการรับแรงดัดต่ำ และ</span><span class="s18">ก็ไวต่อ</span><span class="s18">การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจาก</span><span class="s18">น้ำและความชื้น งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างซีเมนต์และโพลีเมอร์ (</span><span class="s18">Polymers</span><span class="s18">)</span><span class="s18"> ที่นำมาปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังด้อยมาตรฐาน โดยมีเป้าประสงค์ที่จะให้โพล</span><span class="s18">ี</span><span class="s18">เมอร์มาช่วยในการพัฒนาความสามารถในการรับแรดดัดและการทนต่อการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากน้ำและความชื้น</span><span class="s18">โดย</span><span class="s18">การศึกษานี้</span><span class="s18">พิจารณาการพัฒนากำลังรับแรงอัดแกนเดียว</span><span class="s18"> กำลังการรับแรงดัด และความสามารถในการดูดซึมน้ำ</span><span class="s18">ของดินลูกรังด้อยมาตรฐานที่ผสมซีเมนต์ประเภทที่ 1 และโพลีเมอร์ ในการทำเป็นตัวเชื่อมประสานของดินลูกรัง โดยแทนที่ซีเมนต์ด้วยโพลีเมอร์ที่ </span><span class="s18">0</span><span class="s18">,</span><span class="s18"> 5</span><span class="s18">,</span><span class="s18"> 10</span><span class="s18">,</span><span class="s18"> 15</span><span class="s18">,</span><span class="s18"> 20</span><span class="s18">% </span><span class="s18">และที่อายุการบ่ม 7 และ 28 วัน </span><span class="s18">จากผลการทดสอบ</span><span class="s18">พบว่าอัตราส่วนการแทนที่ด้วยโพลีเมอร์ 10</span><span class="s18">% </span><span class="s18">มี</span><span class="s18">ค่า</span><span class="s18">กำลังรับแรงอัดแกนเดียวดีที่สุด</span><span class="s18"> และมีการพัฒนาการรับแรงดัด ร่วมกับการซึมได้ของน้ำที่ต่ำ ดังนั้น ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสมนี้จะสามารถนำ</span><span class="s18">ไป</span><span class="s18">ใช้ในการ</span><span class="s18">รักษาเสถียรภาพ</span><span class="s18">ดินลูกรังด้อยมาตรฐานสำหรับการใช้งานบน</span><span class="s18">ถนน</span></p> กัญจน์ สลีวงศ์ พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม กรกฎ นุสิทธิ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE18 GTE18 ผลศึกษาเบื้องต้นของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ค่าความซึมได้ของดินทรายแป้ง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/266 <p><span class="s17">งานวิจัยนี้มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ค่าความซึมได้ของดินทรายแป้งในเขตอุบลราชธานี โดยใช้การทดสอบหาค่าความซึมได้แบบความดันแปรผันของดินทรายแป้งและลูกปัดขนาดต่างๆ โดยทำการแปรผันค่าความหนาแน่นของตัวอย่างทดสอบ การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มุ่งเน้นที่ตัวแปรที่มีผลต่อนำค่าความซึมได้ คือ </span><span class="s17">ขนาดช่องว่างประสิทธิผล ค่าอัตราส่วนช่องว่าง</span><span class="s17"> ค่าขนาดประสิทธิผลเม็ดดิน &nbsp;ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ค่า</span> <span class="s17">e </span><span class="s17">(</span><span class="s17">void ratio</span><span class="s17">)</span> <img class="s20"><span class="s17">และ </span><img class="s20"><span class="s17">มีผลอย่างมีนัยยะต่อค่าความซึมได้</span></p> ธีราพัทธ์ รฐาหิรัญโรจน์ ฉัตรภูมิ วิรัตนจันทร์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE19 GTE19 อิทธิพลของมุมเอียงเสาเข็มเดี่ยวต่อกำลังรับน้ำหนักในแนวดิ่ง บนพื้นฐานการทดสอบแบบจำลองกายภาพ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/273 <p><span class="s17">บทความนี้เสนอการศึกษาอิทธิพลของมุมเอียงเสาเข็มเดี่ยวต่อกำลังรับ</span><span class="s17">น้ำหนัก</span><span class="s17">ในแนวดิ่ง</span><span class="s17"> การศึกษาได้เน้นไปที่การทดสอบแบบจำลอง</span><span class="s17">ทางกายภาพ</span><span class="s17">ในห้องปฏิบัติการ โดย</span><span class="s17">การประยุกต์</span><span class="s17">ใช้สเตนเลสที่มีผิวเรียบและปลายปิด</span><span class="s17">เป็นแบบจำลองเสาเข็</span><span class="s17">ม</span><span class="s17">ที่ติดตั้งในแนวเอียงกับแนวดิ่งเท่ากับ </span><span class="s17">0, 5, 10</span><span class="s17">และ</span><span class="s17"> 15 </span><span class="s17">องศา </span><span class="s17">ในส่วนของแบบจำลองดินที่ขึ้นรูปด้วยทรายแห้งที่มีการกระจายขนาดคละอย่างสม่ำเสมอ &nbsp;โดยเตรียม</span><span class="s17">แบบจำลองดินและเสาเข็ม</span><span class="s17">เอียง</span><span class="s17">เข้าด้วยกันที่ความหนาแน่นสัมพัทธ์ </span><span class="s17">6</span><span class="s17">0%</span><span class="s17">, 70% </span><span class="s17">และ </span><span class="s17">80%</span> <span class="s17">ซึ่งการทดสอบจะสมมติให้เป็นพฤติกรรมภายหลังการติดตั้งเสาเข็มแล้วเสร็จ</span><span class="s17"> ในระหว่างการทดสอบได้บันทึกแรงและการทรุดตัว</span><span class="s17">ในแนวดิ่ง</span><span class="s17">ที่ด้านบนเสาเข็ม</span> <span class="s17">จากผลการทดสอบพบว่า</span><span class="s17">แนวโน้มกำลัง</span><span class="s17">รับน้ำหนัก</span><span class="s17">เสาเข็มเอียง</span><span class="s17">มีความ</span><span class="s17">แตกต่างกันเนื่องจากมุมเอียงที่เพิ่มขึ้น</span><span class="s17"> สำหรับ</span><span class="s17">มวลดินหลวม</span><span class="s17">(D</span><span class="s20">r</span><span class="s17">=60%)</span><span class="s17"> มีแนวโน้ม</span><span class="s17">กำลัง</span><span class="s17">รับน้ำหนัก</span><span class="s17">เพิ่มขึ้น</span> <span class="s17">ในทางกลับกัน</span><span class="s17">มวลดินแน่น</span><span class="s17"> (D</span><span class="s20">r</span><span class="s17">=80%)</span> <span class="s17">มีแนวโน้ม</span><span class="s17">กำลัง</span><span class="s17">รับน้ำหนัก</span><span class="s17">ลดลง </span><span class="s17">สำหรับมวลดินแน่นปานกลาง </span><span class="s17">(D</span><span class="s20">r</span><span class="s17">=70%)</span> <span class="s17">แนวโน้ม</span><span class="s17">กำลัง</span><span class="s17">รับน้ำหนัก</span><span class="s17">เสาเข็มเอียง</span><span class="s17">ยังไม่ชัดเจน</span> <span class="s17">ในส่วนอิทธิพลของความหนาแน่นของมวลดินพบว่า</span><span class="s17">กำลัง</span><span class="s17">รับน้ำหนัก</span><span class="s17">ของเสาเข็มในมวลดินแน่นมีค่าสูงกว่าในมวลดินหลวมในทุกมุมเอียง</span></p> คเชนทร์ จักร์แก้ว สุริยะ ทองมุณี พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม จักรพันธ์ ธงทอง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE20 GTE20 การปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนด้วยจีโอโพลิเมอร์ดินขาว-เถ้าแกลบกระตุ้นด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/283 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงดินเหนียวกรุงเทพโดยใช้ดินขาวและเถ้าแกลบกระตุ้นด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ นำดินขาว (KA) ผสมให้เข้ากันดีกับเถ้าแกลบ (RA) ในสัดส่วน KA: RA 90:10, 80:20, 70:30, 60:40 และ 50:50 จากนั้นผสมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 8 โมลาร์โดยใช้ปริมาณความชื้นเหมาะที่สุด ตัวอย่างที่ให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด (qu) คือตัวอย่างที่มีสัดส่วน KA: RA 70:30 ซึ่งใช้เป็นสารปรับปรุงดิน นำดินเหนียวตัวอย่างมาปรับปรุงด้วยการแทนที่ด้วย KA-RA จีโอโพลิเมอร์ 10, 20, 30, 40 และ 50% โดยน้ำหนักของดินแห้ง บ่มตัวอย่างที่อุณหภูมิ 25, 70 และ100°c เป็นเวลา 7, 14, 28, 60 และ 120 วัน นำตัวอย่างมาทดสอบสมบัติทางวิศวกรรมประกอบด้วยความแข็งแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด (qu) ความคงทนภายใต้สภาวะแห้งและเปียก และการซึมผ่าน ตัวอย่างดินถูกแทนที่ด้วย KA-RA geopolymer 30% ที่ระยะเวลาบ่ม 60 วันและอุณหภูมิการบ่ม 70°c ให้ค่า qu 115.38 ksc ซึ่งใกล้เคียงกับ qu ที่อุณหภูมิการบ่ม 100°c แต่มีข้อดีคือประหยัดพลังงานมากขึ้น นอกจากนี้ค่า qu หลังจากสภาวะเปียกและแห้ง 12 รอบเท่ากับ 93.55 ksc ซึ่งสอดคล้องกับ ASTM D559 ผลการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน (k) เท่ากับ 7.25 x 10<sup>-7</sup> cm / s ซึ่งสามารถใช้เป็นวัสดุที่ไม่อนุญาตให้น้ำซึมผ่านและยืดอายุการใช้งานได้เช่นกัน</p> ฆนากานต์ มาศโอสถ พานิช วุฒิพฤกษ์ อิทธิพล มีผล สยาม แกมขุนทด ศิริศักดิ์ คงสมศักดิ์สกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE21 GTE21 การหาความสัมพันธ์ระหว่างผลทดสอบตอกหยั่งแบบเบา กับ การตอกทดสอบมาตรฐาน ด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติจากฐานข้อมูลการทดสอบจริงในสนาม เพื่อใช้ในงานออกแบบฐานรากระดับตื้น https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/302 <p>การออกแบบทางวิศวกรรมปฐพีทุกชนิดจำเป็นจะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานต่างๆเพื่อใช้เป็นสมมุติฐานหรือเงื่อนไขในการออกแบบ ข้อมูลพื้นฐานอันหนึ่งซึ่งจำเป็นต่อการออกแบบได้แก่ ภาคตัดของดิน ซึ่งแสดงถึงประเภทและคุณสมบัติของดิน ณ ความลึกระดับต่างๆ ในปัจจุบันมักจะดำเนินการทดสอบด้วยวิธีการตอกทดสอบมาตรฐาน(SPT) อย่างไรก็ตามการทดสอบแบบนี้เหมาะสำหรับดำเนินการในบริเวณที่รถยนต์สามารถเข้าถึงได้เพราะต้องขนอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากและมีค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสูง ในกรณีที่ต้องการสำรวจในช่วงความลึกไม่มากหรือ ต้องการสำรวจเพียง 2~3 ตำแหน่งต่อการขนย้ายหนึ่งครั้ง อาจใช้วิธีการอื่นๆ ที่ทำได้สะดวกว่า เช่น วิธีการทดสอบตอกหยั่งแบบเบา (DPL, EN ISO 22476) ซึ่งอุปกรณ์มีน้ำหนักเบาและสามารถขนย้ายด้วยจำนวนคน 1~2 คน ในการศึกษานี้ได้ทำประเมินอิทธิพลจากแรงเสียดทานระหว่างก้านเจาะกับชั้นดินโดยรอบว่ามีผลต่อค่าตรวจวัดตามวิธีการตอกหยั่งแบบเบาอย่างไร โดยผู้ศึกษาได้ทำการวัดพลังงานระหว่างการตอกในช่วงความลึกต่างๆ เปรียบเทียบกับพลังงานบนผิวดิน เพื่อนำไปปรับปรุงสมการสหสัมพันธ์ระหว่างผลการตอกทดสอบมาตรฐานและผลการทดสอบตอกหยั่งแบบเบาให้ดีขึ้นต่อไป</p> ธนกฤต โรจนชัยศรี ฐิรวัตร บุญญะฐี Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE22 GTE22 วิธีการตรวจสอบการกัดเซาะย้อนกลับผ่านฐานรากเขื่อนที่เป็นดินไม่เชื่อมแน่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/308 <p><span class="s16">เนื่องจากความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นอย่างมากจากทั้งการเพิ่มของประชากรและการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ &nbsp;ขณะที่แหล่งน้ำแห่งใหม่พัฒนาขึ้นได้ลำบาก &nbsp;สถานการณ์เช่นนี้คล้ายบังคับให้หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องทบทวนการเพิ่มปริมาตรเก็บกักในอ่างเก็บน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ &nbsp;การเพิ่มปริมาตรน้ำยิ่งทำให้แรงดันน้ำเพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการรั่วซึมโดยเฉพาะที่ฐานรากเขื่อน &nbsp;ในกรณีที่ฐานรากเขื่อนเป็นดินตะกอนทรายหรือทรายแป้งที่มี </span><span class="s16">PI </span><span class="s16">น้อยกว่า 7 จะอ่อนไหวต่อกลไกการพิบัติแบบการกัดเซาะย้อนกลับ แม้ว่าเขื่อนได้เก็บน้ำไว้เป็นเวลานานแล้วก็ตาม &nbsp;ความปลอดภัยจากกลไกการพิบัตินี้จำเป็นต้องถูกตรวจสอบ &nbsp;ในขั้นการออกแบบ การไหลซึมผ่านฐานรากเขื่อนอาจถูกประเมินไว้ได้ด้วยสมการเชิงประสบการณ์ หรือลาดระดับวิกฤติที่จุดออก ซึ่งต่อมาได้</span><span class="s16">เพิ่มการ</span><span class="s16">พิจารณา</span><span class="s16">ตัวคูณปรับแก้เพื่อหาค่าลาดระดับน้ำวิกฤตจากผ</span><span class="s16">ลการทดสอบการไหลทางขึ้น &nbsp;รวมทั้ง</span><span class="s16">การ</span><span class="s16">ทดสอบด้วยแบบจำลองทางกายภาพที่พบว่าความต้านทานของดินไม่มีความเชื่อมแน่นต่อการไหลซึมสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์ความ</span><span class="s16">สม่ำเสมอของดินฐานราก &nbsp;บทความนี้ได้นำวิธีการตรวจสอบข้างต้นมาทดลองใช้กับ</span><span class="s16">กรณีศึกษาเขื่อนมูลบน </span><span class="s16">เพราะเคยมีประวัติการรั่วซึม</span> <span class="s16">ผลการตรวจสอบพบว่า</span><span class="s16">วิธีสมการเชิงประสบการณ์</span><span class="s16">และ</span><span class="s16">ลาดระดับวิกฤติที่จุดออก</span><span class="s16">เหมาะสมกับดินฐานรากที่มีขนาดคละกันดีและมีเสถียรภาพภายใน &nbsp;แต่ถ้าดินฐานรากเป็นดินที่ขนาดคละไม่ดี วิธี</span><span class="s16">การตรวจสอบด้วย</span><span class="s16">แบบจำลอง</span><span class="s16">แสดงผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสนาม</span></p> ณัฐฐา ไชโสกเชือก สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ชิโนรส ทองธรรมชาติ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE23 GTE23 กำลังอัดของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วยเถ้าขยะ จีโอโพลีเมอร์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/353 <p><span class="s16">งานวิจัย</span><span class="s16">นี้</span><span class="s16">ศึกษา</span><span class="s16">กำลังอัดของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วยเถ้าขยะ จีโอโพลีเมอร์</span> <span class="s16">ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน</span><span class="s16">ได้จากบ่อลูกรัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เถ้าขยะได้จาก</span><span class="s16">โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ</span> <span class="s16">(</span><span class="s16">Waste to Energy Power Plant</span><span class="s16">) </span><span class="s16">จังหวัด</span><span class="s16">สงขลา</span> <span class="s16">งาน</span><span class="s16">วิจัยนี้ใช้</span><span class="s16">อัตราส่วน</span><span class="s16">ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน</span><span class="s16">ต่อ</span><span class="s16">เถ้าขยะ</span><span class="s16">เท่ากับ 100</span><span class="s16">:</span><span class="s16">0 9</span><span class="s16">0</span><span class="s16">:</span><span class="s16">10</span> <span class="s16">8</span><span class="s16">0</span><span class="s16">:</span><span class="s16">2</span><span class="s16">0 </span><span class="s16">และ 70</span><span class="s16">:</span><span class="s16">30</span> <span class="s16">อัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกต </span><span class="s16">(</span><span class="s16">Na<sub>2</sub></span><span class="s16">SiO<sub>3</sub></span><span class="s16">) </span><span class="s16">ต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ </span><span class="s16">(</span><span class="s16">NaOH</span><span class="s16">) </span><span class="s16">เท่ากับ 20</span><span class="s16">:</span><span class="s16">8</span><span class="s16">0 </span><span class="s16">1</span><span class="s16">0</span><span class="s16">:</span><span class="s16">9</span><span class="s16">0 </span><span class="s16">และ 0</span><span class="s16">:</span><span class="s16">10</span><span class="s16">0 </span><span class="s16">ความเข้มข้นของสารละลาย</span><span class="s16">โซเดียมไฮดรอกไซด์ </span><span class="s16">(</span><span class="s16">NaOH</span><span class="s16">) </span><span class="s16">เท่ากับ 8 โมลาร์ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่ากำลังอัดแช่น้ำที่อายุบ่ม 7 วัน ของ</span><span class="s16">ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วยเถ้าขยะ จีโอโพลีเมอร์</span><span class="s16">มีค่าเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณเถ้าขยะ และอัตราส่วน</span><span class="s16"> Na<sub>2</sub></span><span class="s16">SiO<sub>3</sub></span><span class="s16">:</span><span class="s16">NaOH</span><span class="s16"> ที่เพิ่มขึ้น กำลังอัดแช่น้ำสูงสุดที่อายุบ่ม 7 วัน </span><span class="s16">ของ</span><span class="s16">ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วยเถ้าขยะ จีโอโพลีเมอร์</span><span class="s16">พบที่ปริมาณเถ้าขยะร้อยละ </span><span class="s16">2</span><span class="s16">0 และอัตราส่วน </span><span class="s16">Na<sub>2</sub></span><span class="s16">Sio<sub>3</sub></span><span class="s16">:</span><span class="s16">NaOH </span><span class="s16">เท่ากับ </span><span class="s16">1</span><span class="s16">0</span><span class="s16">:</span><span class="s16">9</span><span class="s16">0</span></p> เพทาย อุตราช เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ ชยกฤต เพชรช่วย จักษดา ธำรงวุฒิ วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE24 GTE24 อิทธิพลของเถ้าขยะต่อกำลังอัดของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานผสมปูนซีเมนต์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/360 <p><span class="s19">งานวิจัย</span><span class="s19">นี้</span><span class="s19">ศึกษา</span><span class="s19">กำลังอัดของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วย</span><span class="s19">ปูนซีเมนต์ และ</span><span class="s19">เถ้าขยะ</span> <span class="s19">ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน</span><span class="s19">ได้จากบ่อลูกรัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เถ้าขยะได้จาก</span><span class="s19">โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ</span> <span class="s19">(</span><span class="s19">Waste to Energy Power Plant) </span><span class="s19">จังหวัด</span><span class="s19">สงขลา</span> <span class="s19">งาน</span><span class="s19">วิจัยนี้ใช้</span><span class="s19">ปริมาณวัสดุประสาน </span><span class="s19">(</span><span class="s19">ปูนซีเมนต์</span> <span class="s19">และเถ้าขยะ</span><span class="s19">) </span><span class="s19">เท่ากับร้อยละ 0</span><span class="s19"> 1 3 </span><span class="s19">และ 5</span> <span class="s19">โดยน้ำหนัก</span><span class="s19">ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน</span><span class="s19">อัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อเถ้าขยะเท่ากับ 100</span><span class="s19">:0 95:5 90:10 85:15</span> <span class="s19">80:20 75:25 </span><span class="s19">และ</span><span class="s19">70:30 </span><span class="s19">ปริมาณความชื้นเท่ากับ </span><span class="s19">0.8OWC 1.0OWC </span><span class="s19">และ</span> <span class="s19">1.2OWC </span><span class="s19">(</span><span class="s19">OWC </span><span class="s19">คือปริมาณความชื้นที่เหมาะสม) ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่ากำลังอัดแช่น้ำที่อายุบ่ม 7 วัน ของ</span><span class="s19">ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วย</span><span class="s19">ปูนซีเมนต์ และ</span><span class="s19">เถ้าขยะ</span> <span class="s19">มีค่</span><span class="s19">าลดลง</span><span class="s19">ตามปริมาณเถ้าขยะที่เพิ่มขึ้น อัตราส่วนที่เหมาะสม</span><span class="s19">ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วย</span><span class="s19">ปูนซีเมนต์ และ</span><span class="s19">เถ้าขยะ</span><span class="s19">พบที่อัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อเถ้าขยะเท่ากับ </span><span class="s19">8</span><span class="s19">0:</span><span class="s19">2</span><span class="s19">0</span><span class="s19">และปริมาณความชื้นเท่ากับ </span><span class="s19">1.0OWC</span></p> เชาวรินทร์ เชียรพิมาย เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง นันทชัย ชูศิลป์ จุฑามาศ ลักษณะกิจ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE25 GTE25 อิทธิพลของขนาดแผ่นเหล็กเกลียวต่อกำลังการรับแรงแบกทาน โดยใช้ข้อมูลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/380 <p><span class="s17">การออกแบบกำลังรับแรงแบกทานของเสาเข็มแผ่นเหล็กเกลียว</span><span class="s17">โดยทั่วไปจะ</span><span class="s17">ใช้วิธีการคล้ายกับพฤติกรรมเสาเข็มลึก จาก</span><span class="s17">ผลการวิจัยที่ผ่านมา</span><span class="s17">พบว่าการเสริมแผ่นเหล็กเกลียวทำให้กำลังรับแรงแบกทานเพิ่มขึ้นตามการเพิ่ม</span><span class="s17">ขึ้นของขนาดแผ่นเหล็กเกลียว แต่แนวโน้ม</span><span class="s17">การเพิ่มขึ้นไม่ได้มีอัตราเพิ่มขึ้นเหมือนกับการเพิ่มของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มลึก ส่งผลให้การประเมินหรือออกแบบกำลังรับแรงแบกทานของเสาเข็มเหล็กเกลียวไม่สอดคล้องกับกำลังรับแรงแบกทานที่แท้จริง</span> <span class="s17">บทความนี้จึงทำการศึกษาถึงอิทธิพลของขนาดแผ่นเหล็กเกลียวที่ใช้เสริมกำลังต่อกำลังแบกทานของเสาเข็มเหล็กเกลียว ภายใต้การรับแรงอัดในแนวแกน โดยใช้ข้อมูลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ แล้วจึงเปรียบเทียบกับผลการออกแบบ</span> <span class="s17">ผลการศึกษาพบว่าขนาดของแผ่นเหล็กเกลียวมีอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของกำลังแบกทานของเสาเข็มเหล็กเกลียว อันเกิดจากพื้นที่หน่วยแรง "</span><span class="s17">stress zone" </span><span class="s17">ภายใต้แผ่นเหล็กเกลียว โดยการเพิ่มขนาดแผ่นเหล็กเกลียว ส่งผลให้กำลังรับแรงแบกทานที่ปลายเสาเข็มเพิ่มขึ้นในลักษณะเอกซ์โพเนนเชียล ตามการเพิ่มขึ้นของขนาดแผ่นเหล็กเกลียว ส่วนแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มคงที่</span></p> จักรพันธ์ ธงทอง สุริยะ ทองมุณี คเชนทร์ จักร์แก้ว Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE26 GTE26 การศึกษาติดตามคันทางดินมวลเบา Air Foam Mixed Stabilized Soil หลังเปิดใช้งานนานกว่า 12 ปี https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/392 <p><span class="s16">จากปัญหาการทรุดตัว</span><span class="s16">ต่างระดับ</span><span class="s16">บริเวณส่วนต่อระหว่างคั</span><span class="s16">นทางถนน</span><span class="s16">กับ</span><span class="s16">โครงสร้าง</span><span class="s16">สะพานทางหลวง (</span><span class="s16">Transition Zone</span><span class="s16">) อันเนื่องมาจากการขาดเสถียรภาพและการทรุดตัวในระยะยาวของสิ่งก่อสร้างในเขตพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่ประกอบไปด้วยดินเหนียวอ่อนที่มีปริมาณน้ำในดินสูง ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้ใช้ทางหลวงเป็นอย่างมาก กรมทางหลวงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันวิจัยโยธาธิการของประเทศญี่ปุ่น (</span><span class="s16">Public Work Research Institute, PWRI</span><span class="s16">) ในการศึกษางานก่อสร้างถนนบนดินอ่อนด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างคันทางดินมวลเบาและจัดทำแปลงทดลองคันทางดินมวลเบาโดยวิธีการผสมฟองอากาศในดิน </span><span class="s16"><br></span><span class="s16">(</span><span class="s16">Air</span><span class="s16">-</span><span class="s16">foam Mixed Stabilized Soil </span><span class="s16">หรือ </span><span class="s16">AMS</span><span class="s16">) บนทางหลวงหมายเลข 35 (พระราม 2) ช่วง กม. 72+</span><span class="s16">712.</span><span class="s16">5</span><span class="s16"> ถึง กม. 72+845 (ขาเข้า) ฝั่งขวาทาง </span><span class="s16"><br></span><span class="s16">จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีสถาบัน </span><span class="s16">PWRI </span><span class="s16">ให้การสนับสนุนเครื่องผสมดินมวลเบาและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น ในการควบคุม</span><span class="s16">และกำกับ</span><span class="s16">ดูแลงานก่อสร้างร่วมกับสำนักสำนักวิจัยและพัฒนางานทาง </span><span class="s16">กรมทางหลวง</span> <span class="s16">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ</span><span class="s16">รายงานผลการ</span><span class="s16">ติดตามประสิทธิ</span><span class="s16">ผล</span><span class="s16">และ</span><span class="s16">ผล</span><span class="s16">การตรวจวัดค่าการทรุดตัวตั้งแต่เปิดใช้งานมานานกว่า 1</span><span class="s16">2</span><span class="s16"> ปี โดยพิจารณาจากประวัติการบำรุงสายทาง ปริมาณการจราจร </span><span class="s16">ระดับ</span><span class="s16">น้ำใต้ดิน </span><span class="s16">ค่าการทรุดตัวช่วงบริเวณคอสะพาน </span><span class="s16">และ</span><span class="s16">ผล</span><span class="s16">การเจาะเก็บตัวอย่า</span><span class="s16">ง</span><span class="s16">เพื่อทดสอบคุณสมบัติ</span><span class="s16">ของ</span><span class="s16">ดินมวลเบา</span> <span class="s16">AMS </span><span class="s16">จากผลการติดตามตรวจวัด</span><span class="s16">ในสนามและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์</span><span class="s16">พบว่า คอสะพานฝั่งที่ใช้คัน</span><span class="s16">ทาง</span><span class="s16">ดินมวลเบามีค่าการทรุดตัวลดลงกว่าร้อยละ </span><span class="s16">50 </span><span class="s16">เมื่อเทียบกับค่าการทรุดตัวของคันทาง</span><span class="s16">ถมปกติ</span><span class="s16"> นอกจากนี้ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการ</span><span class="s16">แสดงว่า</span><span class="s16"> ตัวอย่างวัสดุ</span> <span class="s16">AMS </span><span class="s16">ยัง</span><span class="s16">มี</span><span class="s16">สภาพใช้งานที่ดี</span><span class="s16">แม้ในสภาวะ</span><span class="s16">ท่วมขังของ</span><span class="s16">ระดับ</span><span class="s16">น้ำใต้ดิน</span><span class="s16">สูง</span> <span class="s16">ตัวอย่าง</span><span class="s16">มี</span><span class="s16">ความแข็งแรง</span><span class="s16">และ</span><span class="s16">ทนทาน</span><span class="s16">ตามข้อกำหนดการออกแบบ</span></p> ธิติพัทธ์ รู้หลัก อัคคพัฒน์ สว่างสุรีย์ อรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช เศกชัย อนุเวชศิริเกียรติ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE27 GTE27 อิทธิพลของแรงกระทำด้านข้างแบบวัฏจักรต่อค่าสติฟเนสของดินโดยรอบเสาเข็มเดี่ยวจำลอง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/421 <p><span class="s17">การศึกษานี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์อิทธิพลของเสาเข็มเดี่ยวจำลองที่ฝังตัวในทรายภายใต้แรงกระทำซ้ำด้านข้างแบบวัฏจักร</span><span class="s17">โดยควบคุม</span><span class="s17">แอมพลิจูด</span><span class="s17">จาก</span><span class="s17">ระยะ</span><span class="s17">กระทำซ้ำ</span><span class="s17">ที่ส่งผลต่อ</span><span class="s17">การเปลี่ยนแปลง</span><span class="s17">ค่าสติฟเนสของดินโดยรอบ</span> <span class="s17">แบบจำลองนี้ได้ทำการจำลองลักษณะของเสาเข็ม</span><span class="s17">รองรับ</span><span class="s17">สะพานแบบอินทิกรัลซึ่งมีการรับแรงกระทำซ้ำด้านข้าง</span><span class="s17">แบบวัฏจักร</span><span class="s17">จากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปของตัวสะพาน จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสะพานส่งผลให้การขยายตัวและหดตัวมี</span><span class="s17">แอพลิจูดจากระยะทาง</span><span class="s17">การเคลื่อนที่</span><span class="s17">คงที่ </span><span class="s17">ซึ่ง</span><span class="s17">แปรเปลี่ยนตามเวลาและฤดูกาลจึงเป็นที่มาของการศึกษานี้</span> <span class="s17">โดยศึกษาพฤติกรรมของเสาเข็มเดี่ยว</span><span class="s17">ประกอบด้วย โมเมนต์ดัด การเสียรูป แรงเฉือน </span><span class="s17">และแรงปฏิกิริยาของดิน</span><span class="s17">ตาม</span><span class="s17">แนวแกนของ</span><span class="s17">เสาเข็ม</span><span class="s17"> เพื่อหาค่าสติฟเนสของดินด้วยการเขียนรหัสในโปรแกรม</span> <span class="s17">MATLAB</span><span class="s20">®</span><span class="s17"> ในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงค่าส</span><span class="s17">ติฟเนสของดินจาก</span><span class="s17">จำนว</span><span class="s17">นรอบ</span><span class="s17">การให้แรงกับเสาเข็มภายใต้แรงกระทำซ้ำแบบวัฏจักร โดยการเปรียบเทียบ</span><span class="s17">ที่</span><span class="s17">ระดับความลึกและค่า</span><span class="s17">ระยะทาง</span><span class="s17">สูงสุดที่กระทำต่อเสาเข็มเดี่ยวที่แตกต่าง</span><span class="s17">กัน จากการศึกษาค่าสติฟเนสของดิน</span><span class="s17">เริ่มต้นของดิน </span><span class="s17">(Nc=1) </span><span class="s17">จะเพิ่มตามระดับความลึกของชั้นดินซึ่งเกิดจากผลของระดับความเครียดของดิน หลังจากนั้นจะ</span><span class="s17">มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว</span><span class="s17">จากสมบัติพลาสติกของดิน</span><span class="s17"> นอกจากนี้</span><span class="s17">ค่าสติฟเนส</span><span class="s17">จะ</span><span class="s17">คงที่อันเกิดจากสมบัติยืดหยุ่นของดิน แล้วในระดับความลึกที่ไม่มากค่าสติฟเนสของดินจะเพิ่มขึ้นกับจำนวนรอบ </span><span class="s17">ซึ่งสาเหตุเกิดจาก</span><span class="s17">อิทธิพลของการสะสมทิศทางเดียว</span><span class="s17"> นั้นคือเมื่อดิน</span><span class="s17">ทราย</span><span class="s17">เกิดการ</span><span class="s17">เสียรูป</span><span class="s17">แบบเชิงรุกไปแล้ว</span> <span class="s17">การคืนกลับไปที่เดิมจำเป็นจะต้องใช้แรง</span><span class="s17">ดันดิน</span><span class="s17">ด้านข้างมากขึ้น เมื่อแรง</span><span class="s17">ดันดิน</span><span class="s17">ด้านข้างมากขึ้น</span><span class="s17">ทำให้ระดับ</span><span class="s17">ความเค้น</span><span class="s17">ในมวลดิน</span><span class="s17">มากขึ้น</span><span class="s17"> ดังนั้นค่า</span><span class="s17">โมดูลัสและค่า</span><span class="s17">สติฟเนสของดินก็จะมากขึ้นตามไปด้วย</span> <span class="s17">อย่างไรก็ตามการพัฒนา</span><span class="s17">ค่าสติฟเนสของดิน</span><span class="s17">ยัง</span><span class="s17">มีความสัมพันธ์กับ</span> <span class="s17">ระดับความลึกของดิน</span><span class="s17">และ</span><span class="s17">ค่า</span><span class="s17">ระยะสูงสุดที่กระทำต่อเสาเข็ม</span><span class="s17">อย่างมีนัยสำคัญ</span></p> พงศ์ภัค สืบถวิลกุล วรัช ก้องกิจกุล พงศธร กระจ่างผล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE28 GTE28 ความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานทางไฟฟ้ากับสมบัติทางวิศวกรรมเทคนิคธรณีของดิน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/425 <p><span class="s17">งาน</span><span class="s17">วิจัยนี้</span><span class="s17">ศึกษาพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงสภาพต้านทานไฟฟ้าในวัสดุดิน </span><span class="s17">ได้แก่</span> <span class="s17">ดินลูกรัง</span><span class="s17">และทรายละเอียด ซึ่ง</span><span class="s17">อาจ</span><span class="s17">เปลี่ยนแปลง</span><span class="s17">ตาม</span><span class="s17">สมบัติทางวิศวกรรมเทคนิคธรณีของดิน </span><span class="s17">อาทิ</span><span class="s17"> ปริมาณความชื้นและความหนาแน่นแห้งของดิน </span><span class="s17">ทั้งนี้</span><span class="s17">สมบัติการต้านทานไฟฟ้า</span><span class="s17">อาจมีความสัมพันธ์กับ</span><span class="s17">สมบัติทางวิศวกรรมเทคนิคธรณี</span><span class="s17">ของดิน</span> <span class="s17">การศึกษานี้ได้</span><span class="s17">ทดลองความต้านทานไฟฟ้า โดยจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟผ่าน</span><span class="s17">ตัวอย่างดิน</span> <span class="s17">ที่บรรจุใน</span><span class="s17">แบบจำลองกล่องดิน (</span><span class="s17">Soil box)</span> <span class="s17">โดยใช้ตัวอย่าง</span><span class="s17">ดินลูกรัง</span><span class="s17">จาก อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย</span><span class="s17"> ประเทศไทย</span><span class="s17"> และทราย</span><span class="s17"> มจธ</span><span class="s17">. (</span><span class="s17">ทรายที่ผ่านตะแกรง</span><span class="s17">เบอร์</span><span class="s17"> 40 และค้างบนตะแกรง</span><span class="s17">เบอร์</span><span class="s17"> 100</span><span class="s17">)</span> <span class="s17">และทำการทดสอบการบดอัด</span><span class="s17">เพื่อหา</span><span class="s17">ค่าความหนาแน่นแห้งสูงสุด </span><span class="s17">(maximum dry density) </span><span class="s17">และความชื้นที่เหมาะสม</span><span class="s17"> (optimum moisture content)</span><span class="s17"> จากนั้นจึงกำหนด</span><span class="s17">ปริมาณ</span><span class="s17">ความชื้น</span><span class="s17">และความหนาแน่นแห้ง</span> <span class="s17">และทำการบดอัดดินที่เตรียมไว้ที่ความชื้นที่กำหนดลงในกล่อง</span><span class="s17">ทดลองให้ได้ความหนาแน่นแห้ง</span><span class="s17">ตาม</span><span class="s17">ที่กำหนด</span> <span class="s17">และควบคุมความต่างศักย์ของการทดสอบให้อยู่ใน</span><span class="s17">ช่วง</span><span class="s17">ระหว่าง 3 ถึง 30 โวลต์ </span><span class="s17">การทดสอบพบว่า</span><span class="s17">ความชื้นและความหนาแน่นแห้ง</span><span class="s17">มีความสัมพันธ์กับความ</span><span class="s17">ต้านทานไฟฟ้า</span> <span class="s17">และ</span><span class="s17">ได้มีการใช้การวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคูณในการสร้างสมการทำนาย และมีการใช้วิธีพื้นผิวตอบสนองในการช่วยวิเคราะห์ ซึ่งความสัมพันธ์ที่ได้จากการทำนายดังกล่าวมีแนวโน้มโดย ค่า</span><span class="s17">ความ</span><span class="s17">ต้านทานมีแนวโน้มที่จะลดลงตามการเพิ่มขึ้นของทั้งความชื้นและความหนาแน่นแห้ง</span></p> วรัชญ์ สกุลพจน์วรชัย วรัช ก้องกิจกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE29 GTE29 การปรับปรุงคุณภาพดินทรายโดยใช้เถ้าก้นเตาและปูนซีเมนต์เพื่อใช้เป็นวัสดุถมและวัสดุงานทาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/437 <p><span class="s16">เถ้าก้นเตาเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาถ่านหินเพื่อใช้เป็นพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า</span> <span class="s16">ก่อให้เกิดปัญหาการสูญเสียพื้นที่กองทิ้งและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้ได้เล็งเห็นถึงการใช้ประโยชน์โดยนำเสนอการปรับปรุงคุณภาพดินทรายโดยใช้เถ้าก้นเตาและปูนซีเมนต์เพื่อใช้เป็นวัสดุถมและวัสดุงานทาง </span><span class="s16">การ</span><span class="s16">ศึกษาประกอบไปด้วยการทดสอบกำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด</span> (UCS)<span class="s16">การทดสอบ </span>California Bearing Ratio (CBR)<span class="s16"> &nbsp;</span><span class="s16">การทดสอบค่าโมดูลัสคืนตัว </span>(M<span class="s17">r</span>) <span class="s16">และการทดสอบแบบไม่ทำลายโดยใช้คลื่นสั่นสะเทือน </span>Free-Free Resonance (FRR)<span class="s16"> &nbsp;</span><span class="s16">สามารถนำมาใช้ในการประเมินกำลังของดินทรายปรับปรุงคุณภาพได้และสามารถใช้ในการหาคุณสมบัติด้านโมดูลัสสั่นสะเทือนและอัตราส่วนปัวส์ซอง</span> <span class="s16">ผลการทดสอบพบว่าความเร็วคลื่น </span>P-wave และ S-wave <span class="s16">รวมไปถึงค่าโมดูลัสสั่นสะเทือนมีความสอดคล้องกันกับผลการทดสอบกำลังรับแรงอัด ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าปริมาณการแทนที่ดินทรายด้วยเถ้าก้นเตาปริมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่ทุกสัดส่วนซีเมนต์และระยะเวลาบ่มมีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากค่ากำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด </span>(UCS) ค่า California bearing ratio (CBR) <span class="s16">และค่าโมดูลัสคืนตัว </span>(M<span class="s17">r</span>) <span class="s16">มีค่าสูงสุดที่สัดส่วนนี้ ดินทรายปรับปรุงคุณภาพด้วยเถ้าก้นเตาและซีเมนต์สามารถจำแนกได้เป็นชั้นพื้นทางดินซีเมนต์ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ทล.-ม. 204/2556 กรมทางหลวง ประเทศไทย</span></p> <p>&nbsp;</p> วุฒิกรณ์ โสพรรณรัตน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE30 GTE30 การวิเคราะห์การยกตัวของถนนผิวคอนกรีตจากผลการทดสอบศักยภาพในการบวมตัวของดิน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/510 <p>บทความนี้นำเสนอแนวทางในการคาดการณ์การยกตัวของผิวทางที่อาจเกิดขึ้นจากการบวมตัวของชั้นดินที่อยู่ใต้ผิวทางนั้น โดยได้ใช้ถนนคอนกรีตสายหนึ่งในพื้นที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ที่เกิดการแตกหักเสียหายอย่างหนักเป็นกรณีศึกษา กิจกรรมที่ได้ดำเนินการนั้นประกอบด้วยการเจาะสำรวจชั้นดินและเก็บตัวอย่างดินด้วยกระบอกบาง การทดสอบปริมาณความชื้นของตัวอย่างดินที่เก็บมา การทดสอบการบวมตัวอย่างอิสระของดิน การทดสอบความดันจากการบวมตัวของดิน และนำผลการทดสอบที่ได้มาประมาณการยกตัวของผิวทางจากระดับเดิม จากผลการทดสอบและคำนวณทำให้สามารถสรุปได้ว่า ความเสียหายของผิวทางคอนกรีตนั้นเกิดขึ้นจากการบวมตัวของชั้นดินที่อยู่ข้างใต้ และพบว่าผลการประมาณการยกตัวที่ได้นั้น ใกล้เคียงกับการยกตัวของผิวถนนคอนกรีตที่วัดได้จริง ดังนั้นจึงถือได้ว่าแนวทางที่ได้ใช้ในการวิเคราะห์นี้สามารถนำไปประมาณการยกตัวของผิวถนนสายอื่นๆ ที่ถูกสร้างบนชั้นดินที่มีศักยภาพในการบวมตัว</p> สุธินันท์ กันเงิน เศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE31 GTE31 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการข้อมูลสำรวจหาค่าความหนาแน่นในสนาม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/511 <p><span class="s19">ปัจจุบัน</span><span class="s19">เทคโนโลยี</span><span class="s19">การสื่อสารเข้ามามีบทบาทในการทำงานเกือบทุกภาคส่วน ความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูลทำให้การทำงานหลายอย่างเปลี่ยนไป </span><span class="s19">การศึกษานี้เป็น</span><span class="s19">การประยุกต์</span><span class="s19">ใช้</span><span class="s19">เทคโนโลยี</span><span class="s19">การสื่อสารในงานสำรวจ</span><span class="s19">และ</span><span class="s19">เก็บข้อมูลค่า</span><span class="s19">ความหนาแน่นและ</span><span class="s19">ความชื้นในสนาม</span><span class="s19">ด้วยวิธีการใช้ทราย</span><span class="s19"> โดย</span><span class="s19">ได้ทำการพัฒนาระบบและ </span><span class="s19">Mobile application </span><span class="s19">สำหรับการ</span><span class="s19">วางแผนการสำรวจ </span><span class="s19">การ</span><span class="s19">เก็บรวบรวมข้อมูลหน้าสนาม </span><span class="s19">การ</span><span class="s19">วิเคราะห์ผลใน</span><span class="s19">ห้องปฏิบัติการ</span> <span class="s19">การ</span><span class="s19">สรุปผล และ</span><span class="s19">การ</span><span class="s19">แสดงผลลัพธ์ </span><span class="s19">โดยระบบที่พัฒนาขึ้น</span><span class="s19">จะทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลของแต่ละกระบวนการข้างต้น ทำให้สามารถจ่ายงานผ่านทาง </span><span class="s19">Web application </span><span class="s19">ให้กับผู้สำรวจ ผู้สำรวจ</span><span class="s19">สามารถ</span><span class="s19">ใช้ </span><a name="_Hlk40093982"></a><span class="s19">Mobile application</span> <span class="s19">บันทึกแต่ละขั้นตอนการทำงานในภาคสนามและส่งข้อมูล เช่น</span> <span class="s19">รูปภาพ ตำแหน่งสำรวจ และข้อมูลผลการตรวจวัดในสนามไปยังฐานข้อมูลกลาง เมื่อตัวอย่างดินถูกส่งถึงห้องป</span><span class="s19">ฏิ</span><span class="s19">บัติการ ผู้ทดสอบสามารถเรียกดูข้อมูลและรายงานผลการทดสอบ ผ่านทาง </span><span class="s19">Web application </span><span class="s19">และผู้ใช้ข้อมูลสามารถเรียกดูข้อมูลในมิติต่างๆ</span> <span class="s19">เช่น กราฟหรือแผนที่</span><span class="s19">ได้</span></p> กวินธิดา ปิ่นทอง สุสิทธิ์ ฉายประกายแก้ว อภินิติ โชติสังกาศ พงษ์พันธุ์ อิศโรทัยกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE32 GTE32 การทำนายค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำในดินลูกรังบดอัด https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/527 <p class="s24"><span class="s20">เป้าหมายของ</span><span class="s20">งาน</span><span class="s20">วิจัย</span><span class="s20">ชิ้น</span><span class="s20">นี้</span><span class="s20">ทำ</span><span class="s20">เพื่อศึกษา</span><span class="s20">ตัวแปร</span><span class="s20">ที่มีผลต่อ</span><span class="s20">ค่า</span><span class="s20">การซึมผ่านของดินลูกรังบดอัดและเพื่อสร้างสมการ</span><span class="s20">สำหรับการใช้</span><span class="s20">ทำนายค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน</span> <span class="s20">ใช้</span><span class="s20">ดินลูกรังจาก 3 </span><span class="s20">แหล่ง</span><span class="s20">ซึ่ง</span><span class="s20">ได้มาจากภาคกลาง</span><span class="s20">, </span><span class="s20">ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย </span><span class="s20">เริ่มด้วยการ</span><span class="s20">ทดสอบหาขนาดคละการกระจายตัวของตัวอย่าง</span><span class="s20">ดิน</span><span class="s20">ทั้ง</span><span class="s20">ก่อนและหลัง</span><span class="s20">ได้รับ</span><span class="s20">การบดอัด</span><span class="s20">ด้วยพลังงานที่แตกต่างกัน 5 ระดับ </span><span class="s20">เพื่อ</span><span class="s20">หาค่า</span><span class="s20">ความหนาแน่นแห้ง</span><span class="s20"> ณ ระดับพลังงาน</span><span class="s20">ต่างๆ </span><span class="s20">จากนั้น</span><span class="s20">การหาค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านนั้นดำเนินการโดยใช้</span><span class="s20">วิธีความดัน</span><span class="s20">คงที่</span><span class="s20">ในโมลทดสอบแบบผนังแข็ง</span> <span class="s20">สุด</span><span class="s20">ท้าย</span><span class="s20">ข้อมูลทั้งหมด</span><span class="s20">จะ</span><span class="s20">ถูกวิเคราะห์โดย</span><span class="s20">วิธี</span><span class="s20">การถดถอยเชิงเส้น</span><span class="s20">แบบพหุ</span><span class="s20">เพื่อสร้างสมการทำนายค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของดินลูกรังบดอัด</span> <span class="s20">ซึ่งพบว่าตัวแปร</span><span class="s20">การกระจายตัวของ</span><span class="s20">เม็ดดิน</span><span class="s20">, ปริมาณดินเม็ดละเอียด, ความหนาแน่น</span><span class="s20">แห้ง</span><span class="s20">และอัตราส่วนช่องว่างของดินลูกรังบดอัด</span><span class="s20">นั้นล้วน</span><span class="s20">ส่งผลโดยตรงต่อค่า</span><span class="s20">การซึมผ่านซึ่ง</span><span class="s20">มีค่า</span><span class="s20">อยู่</span><span class="s20">ในช่วง</span><span class="s20">ระหว่าง </span><span class="s20">7.89</span><img class="s22"><span class="s20">10</span><span class="s23">-9</span> <span class="s20">ถึง</span><span class="s20"> 2.16</span><img class="s22"><span class="s20">10</span><span class="s23">-5</span><span class="s20"> ซม./วินาที</span><span class="s20"> สุดท้าย</span><span class="s20">สมการการทำนายซึ่งสร้างขึ้นจาก</span><span class="s20">ตัวแปร</span><span class="s20">หลัก</span> <span class="s20">5 </span><span class="s20">ตัวแปร</span><span class="s20">ที่มีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของดินลูกรัง</span><span class="s20">บด</span><span class="s20">อัด</span><span class="s20"> ได้แก่ ปริมาณดินเม็ดละเอียด, ตัวแปรด้านขนาดคละ</span><span class="s20">, อัตราส่วนช่องว่าง, ระดับพลังงานบดอัดและความหนาแน่นแห้งส่งผลให้สมการมี</span><span class="s20">ความแม่นยำสูง</span> <span class="s20">R</span><span class="s23">2</span><span class="s20">≥</span><span class="s20">0.99</span></p> <p><span class="s20">คำสำคัญ: ดินลูกรังบดอัด</span><span class="s20">, </span><span class="s20">ระดับ</span><span class="s20">พลังงานใน</span><span class="s20">การบดอัด</span><span class="s20">, </span><span class="s20">การกระจาย</span><span class="s20">ตัวของ</span><span class="s20">ขนาด</span><span class="s20">เม็ดดิน</span><span class="s20">, </span><span class="s20">การทำนายค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน</span></p> สยาม อุ่นมงคลมิตร อุทัยฤทธิ์ โรจนวิภาต พิทยา แจ่มสว่าง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE33 GTE33 สมรรถนะของเสาเข็มกรวดซีเมนต์เถ้าลอยภายใต้การอัดตัวคายน้ำ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/539 <p><span class="s20">การศึกษานี้ได้ทำการ</span><span class="s20">เพิ่มความแข็งแรงในดินเหนียวอ่อนซึ่งเป็นปัญหาหลักของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ</span> <span class="s20">โดยใช้</span><span class="s20">เสาเข็มกรวดเถ้าลอยซีเมนต์เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินให้สามารถรองรับคันทางหรือโครงสร้างขนาดเล็กได้ </span><span class="s20">ด้วยการใช้กรวดขนาด 4.75-19.50 มิลลิเมตร</span> <span class="s20">ผสมกับ เถ้าลอยและซีเมนต์ แล้ว</span><span class="s20">ดำเนินการ</span><span class="s20">ทดสอบโดยใช้</span><span class="s20">แบบจำลอง</span><span class="s20">ทาง</span><span class="s20">กายภาพ</span><span class="s20">ในท่อ </span><span class="s20">PVC </span><span class="s20">ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 300 มิลลิเมตร และ สูง 450 มิลลิเมตร</span><span class="s20"> กำหนด</span><span class="s20">ขนาดของเสาเข็มกรวดซีเมนต์เถ้าลอย</span><span class="s20">ที่ใช้ในการทดสอบ</span><span class="s20">มีขนาดความ</span><span class="s20">สูง 200 มิลลิเมตร ขนาด</span><span class="s20">เสาเข็มมี</span><span class="s20">เส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 50</span><span class="s20">, </span><span class="s20">75</span><span class="s20"> และ 100 มิลลิเมตร</span><span class="s20">วางในชั้นดินเหนียวอ่อน </span><span class="s12">โดย</span><span class="s20">ผลการทดสอบพบว่า</span><span class="s20">เมื่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็มเพิ่มขึ้นส่งผลให้การทรุดตัว</span><span class="s20">ระบายน้ำ</span><span class="s20">มีค่าลดลงและใช้เวลาทรุดตัว</span><span class="s20">ระบายน้ำ</span><span class="s20">น้อยลง ในด้านความเค้นของดินจะลดลงแต่ความเค้นในเสาเข็มเพิ่มขึ้น &nbsp;ในส่วนการศึกษาแรงดันน้ำส่วนเกินที่ระดับความสูงเดียวกันพบว่าที่รัศมีใกล้เสาเข็มมีค่าต่ำกว่าที่ไกลออกไปที่เวลาเดียวกัน และที่ระดับลึกต่างกันพบว่าจะมีค่าแรงดันน้ำสูงขึ้นตามระดับความลึกที่</span><span class="s20">เพิ่มขึ้น</span><span class="s20">เนื่องจากความเค้นที่ผิวดินสูงกว่าทำให้แรงดันน้ำด้านล่างสูงขึ้น</span> <span class="s20">จากการวิจัยสามารถ</span><span class="s20">สรุป</span><span class="s20">ผล</span><span class="s20">ได้</span><span class="s20">ว่า</span><span class="s20">เสาเข็มกรวดเถ้าลอยซีเมนต์ช่วยเพิ่มความความสามารถในการรับน้ำหนักของชั้นดิน</span> <span class="s20">และทำให้เกิดการทรุดตัวระบายน้ำลดลงตามขนาดเสาเข็มที่เพิ่มขึ้น</span> <span class="s20">อีกทั้ง</span><span class="s12">เสาเข็มมีความพรุนทำให้ให้ระบายน้ำได้ดีส่งผลให้</span><span class="s20">แรงดันน้ำส่วนเกินใกล้เสาเข็มจะต่ำกว่าที่ไกลออกไป</span></p> สุวิจักขณ์ วิรัตน์ พิทยา แจ่มสว่าง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE34 GTE34 การวิเคราะห์กำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำของดินถมบ่อถูกปรับปรุงด้วยวิธี Vacuum Consolidation Method https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/555 <p><span class="s19">ในอดีตมียืมบ่อน้ำถูกทิ้งร้างซึ่งเต็มไปด้วยน้ำในกรุงเทพมหานครฯ ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันบ่อน้ำถูกถมกลับด้วยก้อนดินโดยไม่มีการสูบน้ำออก ก้อนดินที่นำมาใช้สำหรับถมกลับลงในบ่อยืมดินส่วนมากจะมีความชื้นในดินสูง และมีค่ากำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำต่ำซึ่งเรียกว่าดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ ดินเหนียวอ่อนที่ถูกถมกลับมีลักษณะเป็นก้อน ก้อนดินถมบ่อถูกถมลงในบ่อยืมดินอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้น้ำไม่สามารถระบายออกได้ทันที และถูกขังอยู่ระหว่างช่องว่างของก้อนดินถมบ่อ กำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำของดินถมบ่อมีค่าต่ำตลอดทั้งความลึกเกิดจากการถมกลับใหม่ การวิเคราะห์ค่ากำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ ประการที่หนึ่งการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำหลังจากปรับปรุงคุณภาพด้วยวิธีสุญญากาศ (</span><span class="s19">Vacuum Consolidation Method) </span><span class="s19">ซึ่งถูกวิเคราะห์จากการทดสอบในสนามด้วยวิธี </span><span class="s19">Cone Penetration Test </span><span class="s19">การทดสอบจากห้องปฏิบัติการด้วยวิธีการทดสอบแรงอัดแบบไม่จำกัด และทฤษฎีของ </span><span class="s19">Mesri</span><span class="s19"> and Khan (</span><span class="s19">2011) ประการที่สอง ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำ เช่น สิ่งแวดล้อมรอบข้าง การทำถนนเพื่อถมดินกลับ คุณสมบัติของดิน และการลดลงของแรงดันน้ำในชั้นทรายเนื่องจากการสูบน้ำบาดาล</span></p> ศาสตร์ศิลป์ ภักดีเมฆ ปิยวัฒน์ เงินบำรุง สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE35 GTE35 Standup time estimation of undercut moist sand slope using numerical simulation https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/581 <p><span class="s14">Undercut slope is defined as a slope</span><span class="s14">,</span><span class="s14"> which is excavated at </span><span class="s14">its</span><span class="s14"> toe. </span><span class="s14">A</span><span class="s14">n</span><span class="s14"> undercut slope </span><span class="s14">would</span><span class="s14"> be failed if undercut width is equal to or greater than </span><span class="s14">its </span><span class="s14">maximum undercut width. Sometimes, the undercut slope is </span><span class="s14">temporarily </span><span class="s14">stable.</span><span class="s14"> T</span><span class="s14">he undercut slope could displace slowly over a period and it finally fails. The period of undercut slope in stable is called standup time. In this paper, the standup time was estimated by using numerical simulations. A series of numerical simulations using 3DEC was performed to study of standup time of undercut slopes. The numerical models were applied the physical properties and creep parameters of moist sand, which were tested in laboratory. Mohr-Coulomb and Burgers model were assigned to the numerical simulations. The slope inclination of the numerical models was varied. The slope inclination</span><span class="s14">s</span><span class="s14"> were 50</span><span class="s17">ᵒ</span><span class="s14">, 30</span><span class="s17">ᵒ</span><span class="s14">, 18</span><span class="s17">ᵒ</span><span class="s14">and 15</span><span class="s17">ᵒ</span><span class="s14">. The undercut slope models showed a relationship between slope inclination, undercut width and standup time. When the slope inclination was shallower than the friction angle of bedding plane, its standup time and undercut width were longer and wider than the steeper. The slope inclination was inversely proportional to undercut width while the undercut width was proportion to the standup time.</span></p> Laddawon Dul Cheowchan Leelasukseree Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE36 GTE36 การประเมินเสถียรภาพของฐานรากคันทางโดยวิธี Plate Bearing Test และ Dynamic Penetration Test https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/591 <p><span class="s20">บทความ</span><span class="s20">นี้นำเสนอวิธีการทดสอบหาค่า</span><span class="s20">ความสามารถในการรับน้ำหนักของ</span><span class="s20">ฐานราก</span><span class="s20">คันทาง</span><span class="s20"> ซึ่ง</span><span class="s20">มี</span><span class="s20">ความ</span><span class="s20">สำคัญใน</span><span class="s20">การออกแบบ</span><span class="s20">ความหนาของ</span><span class="s20">ชั้นโครงสร้าง</span><span class="s20">ทาง</span><span class="s20">และเสถียรภาพของคันทาง</span><span class="s20">ให้มีความ</span><span class="s20">มั่นคง</span><span class="s20">แข็งแรง</span><span class="s20"> การ</span><span class="s20">ศึกษานี้</span><span class="s20">เลือก</span><span class="s20">โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย </span><span class="s20">– </span><span class="s20">จีน (ช่วงกลางดง-ปางอโศก) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร </span><span class="s20">ดำเนินการ</span><span class="s20">ก่อสร้างโดยศูนย์สร้างทาง</span><span class="s20"><br></span><span class="s20">หล่มสัก กรมทางหลวง</span> <span class="s20">ซึ่ง</span><span class="s20">มี</span><span class="s20">งาน</span><span class="s20">ทดสอบ</span> <span class="s20">Plate </span><span class="s20">Bearing</span> <span class="s20">T</span><span class="s20">est</span> <span class="s20">(</span><span class="s20">PBT</span><span class="s20">)</span> <span class="s20">และ </span><span class="s20">Dynamic Penetration Test</span><span class="s20">(</span><span class="s20">DPT</span><span class="s20">)</span> <span class="s20">ในโครงการดังกล่าว </span><span class="s20">ผล</span><span class="s20">การทดสอบ</span><span class="s20">แสดงให้เห็นว่า</span> <span class="s20">ค่าความสา</span><span class="s20">มา</span><span class="s20">รถในการรับน้ำหนักของฐานราก</span><span class="s20">คันทาง</span><span class="s20">ทดสอบ</span><span class="s20">โดย</span><span class="s20">วิธี</span> <span class="s20">PBT </span><span class="s20">และ </span><span class="s20">DPT</span><span class="s20"> ผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดของโครงการ </span><span class="s20">แสดงว่า</span><span class="s20">ฐานราก</span><span class="s20">คันทาง</span><span class="s20">ของโครงการมี</span><span class="s20">เสถียรภาพ</span><span class="s20">ความ</span><span class="s20">มั่นคง</span><span class="s20">แข็งแรง</span></p> ชนิดา ใสสุขสอาด ศิวาเวช อบมา อัคคพัฒน์ สว่างสุรีย์ อรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE37 GTE37 ความแม่นยำของกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มจากการคำนวณ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/610 <p><span class="s16">งานวิจัยนี้</span><span class="s16">ศึกษา</span><span class="s16">ความแม่นยำและความแปรปรวน</span><span class="s16">ของ</span><span class="s16">ก</span><span class="s16">ารออกแบบกำลังของเสาเข็มจาก</span><span class="s16">การ</span><span class="s16">คำนวณ</span><span class="s16">ด้วยวิธี </span><span class="s19">Meyerhof (</span><span class="s19">1976)</span> <span class="s16">ด้วยการ</span><span class="s16">เทียบ</span><span class="s16">สอบ</span><span class="s16">กับกำลังของเสาเข็มจากการทดสอบด้วยวิธีสถิตศาสตร์</span><span class="s16">และวิธีพลศาสตร์</span><span class="s16">สำหรับเสาเข็มที่มีปลายฝังในชั้นทราย</span> <span class="s16">โดย</span><span class="s16">ส่วนของ</span><span class="s16">แรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็ม</span><span class="s16">จะเทียบสอบกับผลการ</span><span class="s16">ทดสอบด้วยวิธีพลศาสตร์</span><span class="s16"> &nbsp;และส่วนของ</span><span class="s16">แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม</span><span class="s16">จะเทียบสอบกับผลการ</span><span class="s16">ทดสอบด้วยวิธี</span><span class="s16">สถิต</span><span class="s16">ศาสตร์และ</span><span class="s16">พลศาสตร์</span><span class="s16"> &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า</span><span class="s16">กำลัง</span><span class="s16">ของเสาเข็ม</span><span class="s16">จากการทดสอบด้วยวิธีพลศาสตร์</span><span class="s16">มีค่าเป็น 63</span><span class="s16">% </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">68% </span><span class="s16">ของ</span><span class="s16">กำลัง</span><span class="s16">ของเสาเข็ม</span><span class="s16">จากการทดสอบด้วยวิธี</span><span class="s16">สถิต</span><span class="s16">ศาสตร์</span><span class="s16">สำหรับ</span><span class="s16">เสาเข็มเจาะ</span><span class="s16">และเ</span><span class="s16">สาเข็มตอก</span><span class="s16">ตามลำดับ </span><span class="s16">แรงต้านที่ปลายเสาเข็มจาก</span><span class="s16">การ</span><span class="s16">คำนวณ</span><span class="s16">มีค่า 21</span><span class="s16">% </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">52% </span><span class="s16">ของแรงต้านที่ปลายเสาเข็มจริง</span><span class="s16">สำหรับ</span><span class="s16">เสาเข็มเจาะ</span><span class="s16">และเ</span><span class="s16">สาเข็มตอก</span><span class="s16">ตามลำดับ </span><span class="s16">และ</span><span class="s16">แรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มจากการคำนวณ</span><span class="s16">มีค่า</span> <span class="s16">42% </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">54% </span><span class="s16">ของแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มจริง</span><span class="s16">สำหรับ</span><span class="s16">เสาเข็มเจาะ</span><span class="s16">และเ</span><span class="s16">สาเข็มตอก</span><span class="s16">ตามลำดับ</span> <span class="s16">ส่วน</span><span class="s16">กำลัง</span><span class="s16">ของเสาเข็ม</span><span class="s16">จากการคำนวณ</span><span class="s16">มีค่า </span><span class="s16">34% </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">59% </span><span class="s16">ข</span><span class="s16">องกำลัง</span><span class="s16">จากการ</span><span class="s16">ทดสอบด้วยวิธี</span><span class="s16">สถิต</span><span class="s16">ศาสตร์สำหรับ</span><span class="s16">เสาเข็มเจาะ</span><span class="s16">และเ</span><span class="s16">สาเข็มตอก</span><span class="s16">ตามลำดับ </span><span class="s16">ความแปรปรวนของ</span><span class="s16">ผลการคำนวณ</span><span class="s16">แรงต้านที่ปลายเสาเข็มจะมากกว่า</span><span class="s16">ของ</span><span class="s16">แรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็ม </span><span class="s16">โดยแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม</span><span class="s16">ให้ค่า </span><span class="s16">COV </span><span class="s16">เท่ากับ </span><span class="s16">0.88 </span><span class="s16">และ 0.74 สำหรับ</span><span class="s16">เสาเข็มเจาะ</span><span class="s16">และเ</span><span class="s16">สาเข็มตอก</span><span class="s16">ตามลำดับ &nbsp;</span><span class="s16">และ</span><span class="s16">แรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มให้ค่า </span><span class="s16">COV </span><span class="s16">เท่ากับ </span><span class="s16">0.46 </span><span class="s16">และ 0.32 สำหรับ</span><span class="s16">เสาเข็มเจาะ</span><span class="s16">และเ</span><span class="s16">สาเข็มตอก</span><span class="s16">ตามลำดับ </span><span class="s16">ดังนั้นจึงเสนอ</span><span class="s16">ค่า</span><span class="s16">สัดส่วนปลอดภัย</span><span class="s16">เท่ากับ</span><span class="s16"> 5</span><span class="s16">,</span><span class="s16"> 1.5</span><span class="s16">,</span><span class="s16"> และ 2.5 สำหรับแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม</span><span class="s16">,</span><span class="s16"> แรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็ม</span><span class="s16">,</span><span class="s16"> และกำลังประลัยของเสาเข็ม</span><span class="s16"> ตามลำดับ</span></p> ทินกร ทานา สยาม ยิ้มศิริ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE38 GTE38 การศึกษาการรับแรงแบกทานของดินโดยวิธีการกระจายน้ำหนักผ่านแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/627 <p class="s18"><span class="s15">งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของดินผ่านแผ่นเหล็ก ในเขตพื้นที่การศึกษาโคกสี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการออกแบบฐานรากตื้นในการสร้างอาคารฝึกปฏิบัติงาน โดยทำการทดสอบหากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของดินด้วยวิธีการทดสอบ </span><span class="s15">Plate Bearing Test. </span><span class="s15">ตามมาตรฐาน </span><span class="s15">มทช. </span><span class="s15">105-2545</span></p> <p class="s18"><span class="s15">การทดสอบครั้งนี้ใช้แผ่นเหล็กสี่เหลี่ยม ขนาด </span><span class="s15">0.3</span><span class="s15">0</span><span class="s15">x0.3</span><span class="s15">0</span> <span class="s15">เมตร แผ่นเหล็กมีความหนา </span><span class="s15">0.025 </span><span class="s15">เมตร และทดสอบที่ระดับความลึก</span> <span class="s15">-</span><span class="s15">1.00 </span><span class="s15">เมตร จากผิวดินเดิม จำนวน </span><span class="s15">3 </span><span class="s15">หลุมทดสอบ</span><span class="s15"> โดยใช้น้ำหนักในการออกแบบที่ </span><span class="s15">10 </span><span class="s15">ตัน</span><span class="s15">/</span><span class="s15">ตารางเมตร มีอัตราความปลอดภัยเท่ากับ </span><span class="s15">3</span><span class="s15"> และมีการจำแนกประเภทดินด้วยระบบ </span><span class="s15">Unified soil Classification </span><span class="s15">เพื่อใช้เป็นข้อมูลการออกแบบฐานรากตื้น</span></p> <p class="s18"><span class="s15">ผลจากการศึกษาพบว่าค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของดิน</span><span class="s15">ทั้ง </span><span class="s15">3 </span><span class="s15">หลุมการทดสอบพบว่า </span><span class="s15">มีค่ารุดตัวเฉลี่ยของแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมเท่ากับ </span><span class="s15">3.633</span> <span class="s15">มิลลิเมตร</span><span class="s15"> และมีค่าความสามารถรับน้ำหนักโดยปลอดภัยเท่ากับ </span><span class="s15">47.52</span><span class="s15"> ตัน</span><span class="s15">/</span><span class="s15">ตารางเมตร </span><span class="s15">เมื่อเทียบกับน้ำหนักที่ออกแบบสามารถนำไปออกแบบฐานรากตื้นได้</span><span class="s15">อย่างปลอดภัย</span><span class="s15"> และจำแนกประเภทดินเป็นดิน </span><span class="s15">SP-SC </span><span class="s15">คือ ดินทรายคละตัวไม่ดีและมีดินเหนียวปนทราย</span></p> อัตพล บุบพิ ยงยุทธ ศิริศรีเพ็ชร์ จงศิลป์ สุขุมจริยพงศ์ ณัฐพงษ์ เกษสัญชัย วัชร พิศวิมล เพชรานี อุ่นทะยา กัญญารักษ์ มีอ่อน Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE39 GTE39 การเปรียบเทียบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มจากการคำนวณด้วยวิธีสถิตศาสตร์ และจากผลการทดสอบแบบพลศาสตร์สำหรับชั้นดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/649 <p><span class="s17">งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา</span><span class="s17">เปรียบเทียบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม</span><span class="s17">ตอก</span><span class="s17">จากการคำนวณด้วยวิธีสถิตศาสตร์และจากผลการทดสอบแบบพลศาสตร์</span><span class="s17">ของเสาเข็มจำนวน </span><span class="s17">13 </span><span class="s17">ต้น จากโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ หัวหิน </span><span class="s17">- </span><span class="s17">ประจวบคีรีขันธ์</span><span class="s17"> โดยค่ากำลังรับแรงเฉือนที่ใช้ในการทำนายกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มได้จากสมการแปลค่า </span><span class="s17">SPT-N </span><span class="s17">สี่สมการได้</span><span class="s17">แก่</span> <span class="s17">Terzaghi</span> <span class="s17">(1967) NAVFAC (</span><span class="s17">1986</span><span class="s17">) Stroud</span><span class="s17"> (1974)</span> <span class="s17">และ </span><span class="s17">Pitupakorn</span> <span class="s17">(1982)</span> <span class="s17">ผลการศึกษาพบว่า </span><span class="s17">สมการแปลผลค่า </span><span class="s17">SPT-N </span><span class="s17">เป็นค่ากำลังรับแรงเฉือนของดินของ</span> <span class="s17">NAVFAC (1986) </span><span class="s17">มีความถูกต้องมากและแม่นยำมากที่สุดในการทำนายค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มตอกสำหรับชั้นดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีความเอนเอียงเฉลี่ยเท่ากับ 1.05 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันเท่ากับ 0.19</span></p> สิทธิภัสร์ เอื้ออภิวัชร์ เรืองวิทย์ โชติวิทยาธานินทร์ นิพันธ์ แสงศรี Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE40 GTE40 กำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพผสมจีโอโพลิเมอร์จากเถ้าชานอ้อย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/650 <p><span class="s17">งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพปรับปรุงด้วยเถ้าชานอ้อย</span><span class="s17">จีโอโพลิเมอร์</span><span class="s17">ที่แปรผันตัวแป</span><span class="s17">ร</span><span class="s17">ต่าง ๆ เพื่อหาความเป็นไปได้ในการใช้ปรับปรุงดินเหนียวอ่อนทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์ เถ้าชานอ้อยเป็นวัสดุเหลือทิ้งที่ได้มาจากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม</span><span class="s17">ซึ่ง</span><span class="s17">ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นของจีโอโพลิเมอร์ สารอัลคาไลน์ที่ใช้ได้มาจากโซเดียมไฮดรอกไซด์ (</span><span class="s17">NaOH</span><span class="s17">) และโซเดียมซิลิเกต </span><span class="s17">(Na</span><span class="s20">2</span><span class="s17">SiO</span><span class="s20">3</span><span class="s17">)</span><span class="s17"> งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสม</span><span class="s17">ของสาร</span><span class="s17">อัลคาไลน์</span><span class="s17"> และ</span><span class="s17">ความเข้มข้นของ</span><span class="s17"> &nbsp; &nbsp; &nbsp;</span><span class="s17">โซเดียมไฮดรอกไซด์</span><span class="s17"> ใช้</span><span class="s17">ปริมาณความชื้นของดิน</span><span class="s17">ที่พิกัดเหลวของดิน</span><span class="s17"> และ</span><span class="s17">ใช้</span><span class="s17">ปริมาณเถ้าชานอ้อย</span><span class="s17">ที่ร้อยละ</span> <span class="s17">30</span> <span class="s17">ที่อายุบ่ม</span><span class="s17">ต่าง </span><span class="s17">ๆ</span> <span class="s17">จากการศึกษาพบว่าค่ากำลังอัดแกนเดียวที่</span><span class="s17">อายุบ่ม </span><span class="s17">28 </span><span class="s17">วัน</span><span class="s17"> มีค่าสูงสุดที่อัตราส่วนโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่อโซเดียมซิลิเกตที่ </span><span class="s17">6</span><span class="s17">0:</span><span class="s17">4</span><span class="s17">0 </span><span class="s17">ปริมาณความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่</span><span class="s17"> 7.5 </span><span class="s17">โมลาร์ ปริมาณเถ้าชานอ้อยที่</span><span class="s17">ร้อยละ </span><span class="s17">30</span> <span class="s17">ของน้ำหนักดินแห้ง และปริมาณความชื้นของดินที่ขีดจำกัดเหลว</span></p> วีรวัฒน์ ดีสวัสดิ์ ชยกฤต เพชรช่วย เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ จักษดา ธำรงวุฒิ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE41 GTE41 อิทธิพลของปริมาณดินเม็ดละเอียดและปริมาณซีเมนต์ต่อกำลังอัดแกนเดียวของดินลูกรังผสมซีเมนต์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/666 <p><span class="s16">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของปริมาณดินเม็ดละเอียดและปริมาณซีเมนต์ต่อกำลังอัดแกนเดียวของดินลูกรังผสมซีเมนต์ ดินลูกรังที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานชั้นรองพื้นทางของกรมทางหลวงจากอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้ถูกนำมาเป็นวัสดุตัวอย่างในการศึกษา โดยนำมาปรับให้มีปริมาณเม็ดละเอียดเท่ากับร้อยละ </span><span class="s16">0, 20, 30 </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">40 </span><span class="s16">ของน้ำหนักดินแห้งรวม จากนั้นทำการปรับปรุงเสถียรภาพดินแต่ละตัวอย่างโดยการผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในอัตราส่วนร้อยละ </span><span class="s16">0, 4, 6 </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">8 </span><span class="s16">ของน้ำหนักดินแห้งรวม เตรียมตัวอย่างโดยการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐานที่ปริมาณความชื้นที่เหมาะสมและบ่มที่อายุ </span><span class="s16">7, 14 </span><span class="s16">และ </span><span class="s16">28 </span><span class="s16">วัน ตามลำดับ จากนั้นทำการทดสอบหากำลังอัดแกนเดียวของตัวอย่างทั้งหมดตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ผลการศึกษา</span><span class="s16">พบว่า</span><span class="s16"> ที่ปริมาณเม็ดละเอียด </span><span class="s16">20% </span><span class="s16">เป็นจุดแบ่งของคุณลักษณะการเปลี่ยนแปลงค่ากำลังอัดแกนเดียว เทียบกับ ร้อยละปริมาณเม็ดละเอียด</span> <span class="s16">โดย</span><span class="s16">ค่ากำลังอัดแกนเดียว</span><span class="s16">ของ</span><span class="s16">ตัวอย่างที่ผสมซีเมนต์อัตราส่วนร้อยละ 4 มีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณเม็ดละเอียดเพิ่มขึ้น</span><span class="s16">จาก</span><span class="s16">ร้อยละ</span> <span class="s16">0 </span><span class="s16">ถึง</span><span class="s16"> 20 จากนั้นค่ากำลังลดลง</span><span class="s16">และแสดงค่าแนวโน้มที่ค่อนข้างจะคงที่</span><span class="s16"> ส่วนตัวอย่างที่ผสมซีเมนต์อัตราส่วนร้อยละ 6 และ ร้อยละ 8 พบว่าค่ากำลังอัดแกนเดียวลดลง</span><span class="s16">อย่างรวดเร็ว เมื่อปริมาณเม็ดละเอียดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 ถึง 20 จากนั้นค่ากำลังลดลงและแสดงค่าแนวโน้มที่ค่อนข้างจะคงที่</span><span class="s16"> เมื่อปริมาณดินเม็ดละเอียดเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ปริมาณซีเมนต์ และ อายุบ่มที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่ากำลังอัดแกนเดียวเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะตัวอย่างที่มีสัดส่วนดินเม็ดละเอียด ร้อยละ </span><span class="s16">0</span></p> สุทธิพงศ์ คำดี สุริยะ ทองมุณี พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE42 GTE42 การจำลองสถานการณ์การก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียก https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/668 <p>บทความนี้นำเสนอการจำลองสถานการณ์การก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรูปแบบการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมและวิเคราะห์หาค่าอัตราผลผลิต โดยใช้โครงการก่อสร้างโครงการอาคารศูนย์บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศ จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา โดยเริ่มจากการศึกษาขั้นตอนการก่อสร้าง ซึ่งสามารถแบ่งกิจกรรมออกได้เป็น 5 กิจกรรม หลังจากนั้นทำการเก็บข้อมูลเวลาที่ใช้ในการทำงานของแต่ละกิจกรรม จากนั้นมาจำลองสถานการณ์ด้วยวิธี ABC (Activity-Based Construction) โดยใช้ข้อมูลเวลาที่เก็บมาเป็นระยะเวลาของกิจกรรมพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดสรรทรัพยากรที่ให้เหมาะสมเพื่อหาค่าอัตราผลผลิตโดยคำนึงถึงทั้งด้านต้นทุนและเวลา จากการจำลองสถานการณ์ก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียกพบว่าการจัดสรรทรัพยากรที่ส่งผลให้ได้ระยะเวลาและต้นทุนที่เหมาะสมของการก่อสร้าง คือใช้ Drilling Rig 4 เครื่อง Service Crawler crane 3 เครื่อง คนงาน 1 ทีม ซึ่งใช้เวลาในการทำงาน 74.83 วัน โดยมีต้นทุนทั้งหมด&nbsp; 13,544,230 บาท</p> ภิรมย์ญา ถิ่นนุช ธรรมศักดิ์ รุจิระยรรยง วิสูตร จิระดำเกิง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE43 GTE43 การวิเคราะห์อัตราการทรุดตัวของชั้นดินของกรุงเทพมหานครด้วยข้อมูล InSAR https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/670 <p><span class="s18">การสำรวจรังวัดระดับการทรุดตัวของ</span><span class="s18">แผ่น</span><span class="s18">ดิน</span><span class="s18">บริเวณกรุงเทพมหานคร</span><span class="s18">และปริมณฑล</span><span class="s18">ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2521 </span><span class="s18">กรมทรัพยากรน้ำบาดาล</span><span class="s18">ได้ทำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับดิน</span> <span class="s18">รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดการยุบตัว</span> <span class="s18">การอัดตัว</span><span class="s18">และ</span><span class="s18">ติดตาม</span><span class="s18">การ</span><span class="s18">รังวัดหาระดับความสูงจากหมุดหลักฐานในระยะเวลาต่าง</span> <span class="s18">ๆ</span> <span class="s18">ที่ดำเนินการ</span><span class="s18">โดยกรมแผนที่ทหาร</span> <span class="s18">ใน</span><span class="s18">การสำรวจระดับชั้นที่ 1</span> <span class="s18">โดยใช้วิธี</span><span class="s18">การเดินระดับเครือข่ายหมุดหลักฐานในแต่ละปี </span><span class="s18">ซึ่ง</span><span class="s18">สถานีวัดการยุบตัวหรือการอัดตัวข</span><span class="s18">องชั้นดินในระดับความลึกต่าง</span> <span class="s18">ๆ</span> <span class="s18">จะตั้งอยู่</span><span class="s18">ในบริเวณใกล้เคียงหมุดหลักฐาน</span> <span class="s15">โดย</span><span class="s15">ข้อมูล</span><span class="s15">จากการสำรวจ</span><span class="s15">เหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนในการคำนวณปริมาณการเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง เพื่อแสดงค่าการทรุดตัวโดยรวมของกรุงเทพมหานครและ</span><span class="s15">ปริมณฑล</span><span class="s15">ได้ </span><span class="s15">แต่</span><span class="s15">ความหนาแน่นของตำแหน่งหมุด</span><span class="s18">หลักฐาน</span><span class="s15">เมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริ</span><span class="s15">มณฑล </span><span class="s15">ยัง</span><span class="s15">มีความหนาแน่น</span><span class="s15">ไม่</span><span class="s15">มากพอ</span><span class="s15">ที่จะนำมาใช้แสดงถึงการทรุดตัวเป็นพื้นที่</span><span class="s15">ที่</span><span class="s15">สอดคล้องกับลักษณะของชั้นดินที่อยู่ใต้ดิน</span> <span class="s15">งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยี</span><span class="s15">อนุกรมเวลาจากอินซาร์</span> <span class="s15">(</span><span class="s15">Time-Series</span> <span class="s15">InSAR</span><span class="s15">)</span> <span class="s15">ซึ่งสามารถตรวจวัดอัตราการทรุดตัว</span><span class="s15">ของแผ่นดิน</span><span class="s15">ที่มีความหนาแน่นของจุดสำรวจเพียงพอต่อกา</span><span class="s15">รแสดงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ได้</span><span class="s15">และยังได้เสนอวิธีการคำนวณเพื่อประมาณอัตราการทรุดตัวของแต่ละชั้นดินในระดับที่ลึกลงไป โดยวิธีการจำแนกอัตราการเคลื่อนตัวของชั้นดินจากการสกัดข้อมูล </span><span class="s15">Time-Series</span> <span class="s15">InSAR </span><span class="s15">แล้วแบ่งข้อมูลตามชนิดของความลึกฐานรากของอาคาร ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้นแบ่งระดับความลึกของฐานรากออกได้เป็น </span><span class="s15">3 </span><span class="s15">กลุ่ม คือ ความลึก </span><span class="s15">20 40 </span><span class="s15">และ </span><span class="s15">80 </span><span class="s15">เมตร </span><span class="s15">ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาที่ช่วงระดับความลึก 20 เมตร ถึง 40 เมตร ได้ผล</span><span class="s15">อัตรา</span><span class="s15">การเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง</span><span class="s15">จากการศึกษาด้วย</span><span class="s15">ข้อมูลจากเทค</span><span class="s15">นิค</span><span class="s15">Time-Series</span><span class="s15"> InSAR</span> <span class="s15">เป็น </span><span class="s15">0.</span><span class="s15">3</span><span class="s15">50</span> <span class="s15">มิลลิเมตรต่อปี</span></p> ชยณัฐ คีรีนารถ อังคณา พุ่มพวง อนิรุทธ์ ลดาวดี สรวิศ สุภเวชย์ อนุเผ่า อบแพทย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE44 GTE44 การศึกษาการถ่ายแรงจากดินคันทางสู่เสาเข็มรองรับในดินอ่อน ด้วยวิธีความสัมพันธ์ทางภาพถ่าย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/673 <p><span class="s16">ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทำให้วิศวกรจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างบนชั้นดินอ่อน</span> <span class="s16">แรงกระทำภายนอกที่พื้นผิวดิน</span><span class="s16">จ</span><span class="s16">ะทำให้เกิดการทรุดตัว</span><span class="s16">ที่แตกต่างกันอย่างมาก การทรุดตัวเหล่านี้จะเป็นจะต้องถูกจำกัดเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงของโครงสร้าง </span><span class="s16">ในบรรดาวิธีการต่าง ๆ ของ</span><span class="s16">วิธี</span><span class="s16">การ</span><span class="s16">ปรับปรุง</span><span class="s16">ดิน</span><span class="s16"> วิธี</span><span class="s16">การปรับปรุงดินโดย</span><span class="s16">ใช้เสาเข็มซึ่ง</span><span class="s16">เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเทคนิคแบบดั้งเดิมมากขึ้นถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง </span><span class="s16">บทความนี้นำเสนอการศึกษา</span><span class="s16">กลไก</span><span class="s16">การถ่ายแรง</span><span class="s16">ที่เกิดขึ้นใ</span><span class="s16">นชั้นดินถมที่วางอยู่บนชั้นดินอ่อนที่เสริมกำลังด้วยเสาเข็มภายใต้หน่วยแรงคงที่และแบบวัฏจักร โดยใช้แบบจำลองแบบสามมิติในห้องปฏิบัติการ แบบจำลองที่ใช้ศึกษาจะประกอบไปด้วยเสาเข็ม</span><span class="s16">ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง </span><span class="s16">4 </span><span class="s16">ซม. </span><span class="s16">จำนวน </span><span class="s16">20 </span><span class="s16">ต้น</span> <span class="s16">ฝังในชั้นดินอ่อน</span><span class="s16">เสมือน</span><span class="s16"> การประยุกต์ใช้วิธี</span><span class="s16">การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของภาพถ่าย (</span><span class="s16">Digital Image Correlation, DIC)</span><span class="s16"> จะถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์กลไกในการถ่ายแรง </span><span class="s16">จากการทดสอบพบว่า</span><span class="s16">การทรุดตัวสะสมและการเพิ่มขึ้นของแรงที่ถูกถ่ายไปยังหัวเสาเข็มในระหว่างการให้แรงแบบวัฏจักรสามารถตรวจวัดได้ การวิเคราะห์ภาพถ่ายช่วยให้สามารถเข้าใจถึงการเคลื่อนที่ในชั้นถ่ายแรง</span></p> ชัยสิทธิ์ เพ็งจันทร์ นิพันธ์ อินสุข อภิวิชญ์ ทองรักษา กรกฎ นุสิทธ์ สุริยาวุธ ประอ้าย Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE45 GTE45 การปรับปรุงเสถียรภาพของลาดดินด้วยเสาเข็ม กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/679 <p class="Heading0new" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 14.2pt;"><span class="s19">ทางหลวงในพื้นที่ภูเขาสูงโดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยมักจะเจอปัญหาของการพังทลายและการเคลื่อนตัวเชิงลาดถนนเป็นอย่างมาก ดังนั้นการศึกษาเสถียรภาพของลาดดิน รวมถึงการออกแบบโครงสร้างและการบำรุงรักษาเชิงลาดของทางหลวงในพื้นที่ดังกล่าว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ความละเอียดของลักษณะภูมิประเทศมีความสำคัญเมื่อทำการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยทำให้เราสามารถมีข้อมูลด้านภูมิประเทศที่มีความแม่นยำสูงรวมถึงข้อมูลความชันโดยละเอียดสำหรับการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน งานวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบการปรับปรุงเสถียรภาพของเชิงลาดด้วยเสาเข็มขนาดเล็กของทางหลวง หมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์ ระหว่าง กม.19+585.00 – 19+750.00 โดยการนำเสนอวิธีการที่รวมระบบนำทางด้วยดาวเทียม (</span><span class="s19">Global Positioning System : GPS) </span><span class="s19">และวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ แบบ 3 มิติ ทำการศึกษารูปแบบการกระจายแรงในดินและการเคลื่อนตัวของดิน ผลของการสร้างแบบจำลองแสดงให้เห็นว่าความละเอียดของการเลือกตัวอย่างพื้นผิวมีผลกระทบต่อความแม่นยำในการคาดการณ์พื้นที่ของการพิบัติของลาดดินที่อาจเกิดขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์ความปลอดภัยเพิ่มขึ้นจากการเสริมกำลังด้วยเสาเข็ม และค่าการเคลื่อนตัวของลาดดินของการวิเคราะห์มีค่าใกล้เคียงกับรายงานการตรวจวัดในสนาม</span></p> ปรัชญา แสนแปง พงษ์พินันท์ บูรณะกิติ ขวัญสิรินภา ธนะวงศ์ สุริยาวุธ ประอ้าย Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE46 GTE46 คุณลักษณะการหดตัวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพผสมปูนซีเมนต์และเถ้าลอย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/86 <p>บทความนี้นำเสนอพฤติกรรมการหดตัว โดยการใช้เทคนิคภาพถ่ายของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพที่ปรับปรุงคุณสมบัติด้วยปูนซีเมนต์และเถ้าลอย วัสดุที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วยดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 และเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ สัดส่วนการผสมของดินผสมปูนซีเมนต์จะกำหนดไว้ที่ อัตราส่วนเปอร์เซ็นต์ระหว่างปูนซีเมนต์ต่อน้ำในดิน (C/W<sub>c</sub>) เท่ากับ 0.3 และ 0.4 และการแทนที่ด้วยเถ้าลอยปริมาณ 0 15 30 45 และ 60 เปอร์เซ็นต์ การวิเคราะห์การหดตัวจะใช้วิธีภาพถ่ายแบบ 2 มิติรวมกับการใช้โปรแกรม PCAS และ ImageJ ซึ่งสามารถคำนวณค่าจำนวนรอยแตก ความยาวรอยแตกเฉลี่ย ความกว้างรอยเฉลี่ย พื้นที่รอยแตก และค่าความเข้มรอยแตก สุดท้ายของงานวิจัยนี้จะสรุปอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมสำหรับดินเหนียวอ่อนกรุงเทพผสมปูนซีเมนต์และเถ้าลอยสำหรับนำไปใช้การปรับปรุงคุณภาพดิน</p> อนุพงศ์ คำปลอด ธนกร ชมภูรัตน์ อภิชาต บัวกล้า Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE47 GTE47 แบบจำลองความสัมพันธ์สำหรับพฤติกรรมของผิวสัมผัสระหว่างทรายกับโครงสร้างผิวเรียบ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/714 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผิวสัมผัสระหว่างทรายกับโครงสร้างโดยใช้เครื่องมือ Direct shear test ทรายที่ใช้ทดสอบเป็นทรายแม่น้ำในสภาพแห้ง ซึ่งมีความหนาแน่นสูงสุดเท่ากับ ૪<sub>max</sub> = 17.90 kN/m<sup>3</sup> และความหนาแน่นต่ำสุดเท่ากับ ૪<sub>min</sub> = 15.50 kN/m<sup>3</sup> ในการทดสอบจะใช้ทรายที่มีความหนาแน่นเริ่มต้น 2 ความหนาแน่น (Dr = 35% และ Dr = 85%) โดยใช้หน่วยแรงกระทำขนาด &nbsp;100 , 200 , 300 kPa ภายใต้สภาวะ Constant Normal Load (CNL) และ Constant Normal Stiffness (CNS) จากการศึกษาพบว่าการทดสอบกำลังรับแรงเฉือนโดยตรงแบบ CNL หน่วยแรงตั้งฉาก มีผลต่อกำลังรับแรงเฉือน (τ&nbsp;) และการเคลื่อนที่เชิงปริมาตร (การยุบตัวหรือขยายตัว [u]) ขึ้นอยู่กับสภาพเริ่มต้นของตัวอย่าง ในขณะที่การทดสอบภายใต้สภาวะ CNS ค่าหน่วยแรงตั้งฉากจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีแรงเฉือนมากระทำ ทรายหลวมเมื่อมีการยุบตัวจะทำให้หน่วยแรงตั้งฉากลดลง ในขณะที่ทรายแน่นการขยายตัวจะทำให้หน่วยแรงตั้งฉากเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าค่า Stiffness ทำให้หน่วยแรงตั้งฉากเปลี่ยนไป ในการทำแบบจำลองเชิงตัวเลข ตัวแปรต่าง ๆ ที่อธิบายพฤติกรรมของผิวสัมผัสระหว่างทรายกับโครงสร้างสามารถหาได้จากการทดสอบแรงเฉือนโดยตรงไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใด ๆ แบบจำลองที่ได้สามารถอธิบายพฤติกรรมของผิวสัมผัสระหว่างทรายกับโครงสร้างได้เป็นที่น่าพอใจ</p> เอกรินทร์ สุดใจ สุริยาวุธ ประอ้าย นิพันธ์ อินสุข ขวัญสิรินภา ธนะวงศ์ ธีระวัชร เกี๋ยงคำ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE48 GTE48 การใช้กันชนคาพิวลารีสำหรับควบคุมการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งของน้ำใต้ดินเค็มในดิน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/735 <p>กระบวนการคาพิวลารีเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาดินเค็มในการนำความเค็มจากน้ำใต้ตินที่มีความเค็มสู่ชั้นผิวดิน แรงคาพิวลารีในชั้นดินไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ ทำให้น้ำใต้ดินเค็มเคลื่อนที่ในแนวดิ่งสู่ผิวดิน และเมื่อมีกระบวนการระเหยบนผิวดิน มากระตุ้นจึงทำให้เกิดการสะสมของความเค็มและเกิดคราบเกลือบริเวณผิวดิน&nbsp; ทำให้ส่งผลเสียต่อคุณภาพดิน ส่งกระทบต่อหลายภาคส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปัญหาดินเค็มคลอบคลุมพื้นที่มากกว่า 11.5 ล้านไร่ หรือร้อยละ 18 ของพื้นที่ ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าวลดลง นอกจากนี้พื้นที่อีกกว่า 3 แสนไร่ถูกทิ้งร้างไม่สามารถทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ ได้&nbsp; โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเกษตรกรรม หรือแม้กระทั้งงานทางด้านวิศวกรรมโยธา ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้ผลกระทบจากปัญหาดินเค็ม งานวิจัยนี้จึงศึกษาเกลือที่ละลายแทรกอยู่ในช่องว่างเล็ก ๆ ระหว่างอนุภาคของดิน ที่มีการแตกตัวเพื่อแลกประจุบวก เป็นผลให้ดินเกิดการกระจายตัว และเกิดการไฮเดรชันขึ้น ทำให้การก่อสร้างบนชั้นดินเค็มหรือมีการขุดดินในพื้นที่ดินเค็มไปใช้ในงานทางวิศวกรรมโยธา จำเป็นต้องทำการปรับปรุงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินให้ดีขึ้น ซึ่งการปรับปรุงคุณสมบัติของดินมีหลายวิธี ซึงแต่ละวิธีจะถูกออกแบบภายใต้เงื่อนไขของชนิดดินและกำลังรับแรงอัดที่ต้องการ แต่การป้องกันการเคลื่อนที่ของไม่ให้น้ำใต้ดินเค็มด้วยการใช้กันชนคาพิวลารีในห้องปฏิบัติการผ่านแบบจำลองการ 1 มิติ&nbsp; ถูกนำขึ้นมาบนผิวดินหรืออยู่ในระดับตื้นจนมีผลกระทบต่อโครงสร้างเป็นวิธีที่ถูกศึกษาเพิ่มเติม วิธีการแทรกวัสดุเพื่อเป็นกันชนในชั้นดินเพื่อลดการเคลื่อนที่ของน้ำใต้ดินเค็มไปยังผิวดินถูกออกแบบในห้องปฏิบัติการ โดยการจำลองชั้นดินในห้องปฏิบัติการด้วยการบดอัดดินตัวอย่างลงในท่อทรงกระบอกหลอดอะครีลิคใสขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 15 ซม. การทดสอบแบ่งออกเป็น 2 การทดสอบ ได้แก่ 1) การทดสอบแบบที่ไม่มีกันชนแทรกในชั้นดิน และ 2)&nbsp; ใช้กรวดขนาด 2.38 มม. - 4.75 มม. หนา 5 ซม. เป็นกันชน ระดับน้ำใต้ดินเค็มในระหว่างการทดสอบถูกควบคุมไว้คงที่ที่ระดับ 70 ซม. จากผิวดิน ความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมคลอไลด์ 2 กรัมต่อลิตร และติดตั้งเครื่องมือวัดความชื้นไว้ 5 ตำแหน่งของหลอดตัวอย่าง จากผลการทดสอบกำหนดระดับน้ำใต้ดินคงที่ 70 ซม. จากผิวดิน และมีความเข้มที่ 2% ชั้นกันชนแทรกอยู่ที่ระดับ 20 ซม. จากผิวดิน ได้เปรียบเทียบวัสดุกันชน 4 ชนิดคือ แผ่นใยสังเคราะห์ กรวดเล็ก กรวดใหญ่ และทราย พบว่า ความชื้นของจากน้ำใต้ดินเค็มภายใต้กระบวนการคาพิวลารีสามารถเคลื่อนที่ขึ้นถึงผิวดินสำหรับการทดสอบที่ไม่มีกันชน สูงได้ถึงชั้นกันชนโดยไม่สามารถเคลื่อนที่ถึงผิวดินได้แต่ความชื้นดังกล่าวไม่สามารถเคลื่อนที่ถึงผิวดินได้ในการทดสอบที่มีกันชน เนื่องจากโพรงของวัสดุที่ใช้ทำกันชนมีขนาดใหญ่กว่าดินตัวอย่าง แรงคาพิวลารีในชั้นกันชนจึงมีค่าต่ำไม่สามารถดึงความชื้นขึ้นทะลุผ่านชั้นดังกล่าวได้&nbsp; ดังนั้นการแก้ปัญหาการแพร่กระจายของดินเค็มโดยการแทรกชั้นกันชนจึงเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถใช้สำหรับการป้องกันความเค็มขึ้นมาสู่ผิวดิน</p> วิโรจน์ ล้อมวงษ์ สมใจ ยุบลชิต Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE49 GTE49 อิทธิพลของการลดระดับน้ำต่อเสถียรภาพความลาดของเขื่อนดินแบบแบ่งส่วน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/471 <p>เขื่อนดินแบบแบ่งส่วน เป็นเขื่อนประเภทหนึ่งซึ่งพบได้มากในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะก่อสร้างตามลักษณะภูมิประเทศและวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งมีการตรวจวัดและเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของเขื่อนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของเขื่อน สำหรับการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในเขื่อนอันเนื่องมากจากสภาวะการใช้งานก็เป็นปัจจัยนึงที่มีอิทธิพลต่อการไหลของน้ำในเขื่อนและเสถียรภาพความลาดของเขื่อน ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดของเขื่อน อันเนื่องมาจากสภาวะการลดลงของระดับน้ำในเขื่อนอย่างรวดเร็ว ด้วยอัตราการลดลงของระดับน้ำตั้งแต่ 0.25,0.50,0.75 และ 1.00 ม./วัน จากที่ระดับเก็บกักปกติ โดยเปรียบเทียบกับการลดลงของระดับน้ำในเขื่อนที่เปลี่ยนไปด้วยอัตราส่วนตั้งแต่ 1/2, 1/4, 1/8 และ 1/16 เท่าของความสูงเขื่อน ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการศึกษาจำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี และอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งผลการศึกษาพบว่าอัตราการลดลงของค่าของระดับน้ำในเขื่อนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงของระดับน้ำในเขื่อนที่มากขึ้นนั้น จะส่งผลต่อเสถียรภาพความลาดชันของเขื่อน ทำให้ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยที่ได้จากการวิเคราะห์เสถียรภาพดังกล่าวจะมีค่าลดลง</p> มนชล ศรีชัยกูล วีรยา ฉิมอ้อย Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE50 GTE50 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าการแอ่นตัวที่ได้จากการทดสอบด้วยเครื่องมือ Falling Weight Deflectometer กับ Light Weight Deflectometer https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/513 <p><span class="s16">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าการแอ่นตัวที่ได้จากการทดสอบด้วยเครื่องมือ </span><span class="s16">Falling Weight Deflectometer (FWD) </span><span class="s16">กับค่าการแอ่นตัวที่ได้จากการทดสอบด้วยเครื่องมือ </span><span class="s16">Light Weight Deflectometer (LWD) </span><span class="s16">ในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาได้ทำการทดสอบหาค่าการแอ่น</span><span class="s16">ตัว</span><span class="s16">บนผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตของโครงสร้างถนนลาดยางประเภทต่างๆ</span> <span class="s16">ในตำแหน่งจุดทดสอบใกล้เคียงกัน</span> <span class="s16">จากแปลงทดสอบจำนวนทั้งสิ้น </span><span class="s16">20 </span><span class="s16">แปลง บนทางหลวง </span><span class="s16">12 </span><span class="s16">สายทางทั่วประเทศ </span><span class="s16">ซึ่ง</span><span class="s16">ตั้งอยู่</span><span class="s16">ใกล้สถานี</span><span class="s16">ชั่งน้ำหนัก</span><span class="s16">รถบรรทุก</span> <span class="s16">แปลงทดสอบมี</span><span class="s16">ความยาวประมาณ </span><span class="s16">250 </span><span class="s16">เมตร ทำการทดสอบทุกระยะ </span><span class="s16">25 </span><span class="s16">เมตร จากผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างค่าการแอ่นตัวที่วัดได้จากเครื่องมือ </span><span class="s16">FWD </span><span class="s16">และเครื่องมือ </span><span class="s16">LWD</span> <span class="s16">มีแนวโน้มเป็นเส้นตรง ค่าการแอ่นตัวจากการทดสอบด้วยเครื่องมือ </span><span class="s16">FWD</span> <span class="s16">(</span><span class="s16">มีค่าระหว่าง</span> <span class="s16">35</span><span class="s16"> ถึง </span><span class="s16">732 </span><span class="s16">ไมครอน</span><span class="s16"> และมีค่าเฉลี่ย </span><span class="s16">231 </span><span class="s16">ไมครอน</span><span class="s16">)</span> <span class="s16">สูงกว่าค่าการแอ่นตัวจากการทดสอบด้วยเครื่องมือ </span><span class="s16">LWD</span><span class="s16"> (</span><span class="s16">มีค่าระหว่าง</span> <span class="s16">2</span><span class="s16"> ถึง</span> <span class="s16">104</span><span class="s16"> ไมครอน</span><span class="s16"> และมีค่าเฉลี่ย </span><span class="s16">24 </span><span class="s16">ไมครอน</span><span class="s16">)</span> <span class="s16">ประมาณ </span><span class="s16">10</span> <span class="s16">เท่า </span><span class="s16">ในขณะที่ค่าการแอ่นตัวที่ได้จากการคำนวณโด</span><span class="s16">ย </span><span class="s16">Elastic Solution</span><span class="s16"> ต่างกัน</span><span class="s16">ประมาณ </span><span class="s16">6</span> <span class="s16">เท่า</span> <span class="s16">ความแตกต่าง</span><span class="s16">เกิดจาก</span><span class="s16">หน่วยแรงกระทำของเครื่องมือทั้งสอง</span><span class="s16">ชนิด</span><span class="s16">ต่างกัน</span></p> ธีรภัทร์ ศิริรัตนฉัตร ดนัยณัฐ ถาวร สุรนนท์ เยื้อยงค์ อัคคพัฒน์ สว่างสุรีย์ อรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-09 2020-07-09 25 GTE51 GTE51 การบูรณะชั้นพื้นทางเดิม โดยการหมุนเวียนชั้นทางเดิมมาใช้งานใหม่ บนทางหลวงหมายเลข 12 ตอน วังทอง - เข็กน้อย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/162 <p><span class="s17">จุดประสงค์ของงานวิจัย</span><span class="s17">นี้</span><span class="s17">เพื่อต้องการหาปริมาณปูนซีเมนต์ และอัตราส่วนผสมระหว่างดินซีเมนต์กับหินคลุกที่เหมาะสมของชั้นพื้นทางดินซีเมนต์เดิมที่เกิดความเสียหาย บนทางหลวงหมายเลข 12 ตอ</span><span class="s17">น</span><span class="s17"> ว</span><span class="s17">ั</span><span class="s17">งทอง - เข็กน้อย และทำการบูรณะปรับปรุงชั้นพื้นทาง โดยวิธีการหมุนเวียนวัสดุ</span><span class="s17">ชั้นทาง</span><span class="s17">เดิม</span><span class="s17">มาใช้งานใหม่</span> <span class="s17">แบบปรั</span><span class="s17">บปรุงคุณภาพในที่ ซึ่งได้ทำการออกแบบอัตราส่วนผสมเพื่อให้ได้</span><span class="s17">ค่ากำลังอัดแกนเดียว ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ในอัตราส่วนผสม</span><span class="s17">ของ</span><span class="s17"> (</span><span class="s17">ดินซีเมนต์ </span><span class="s17">: </span><span class="s17">หินคลุก</span><span class="s17">) </span><span class="s17">จำนวน 4 รูปแบบ </span><span class="s17">คือ </span><span class="s17">&nbsp;</span><span class="s17">100 </span><span class="s17">: 0, 75 : 25, 50 : 50 </span><span class="s17">และ 25 </span><span class="s17">: 75 </span><span class="s17">และเติมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 </span><span class="s17">ใน</span><span class="s17">ระหว่าง</span><span class="s17">ปริมาณ 3 </span><span class="s17">–</span><span class="s17"> 7</span><span class="s17">% </span><span class="s17">รวม </span><span class="s17">144 </span><span class="s17">ตัวอย่าง</span> <span class="s17">ทำการบ่มตัวอย่างที่ระยะเวลา 1</span><span class="s17">,</span><span class="s17"> 3</span><span class="s17">,</span><span class="s17"> 5</span><span class="s17">,</span><span class="s17"> 7</span><span class="s17">,</span><span class="s17"> 14 และ 28 วัน ซึ่งผลของงานวิจัยพบว่า อัตราส่วนที่มีความเหมาะสม คือ ใช้อัตราส่วนผสม </span><span class="s17">(</span><span class="s17">ดินซีเมนต์ </span><span class="s17">: </span><span class="s17">หินคลุก</span><span class="s17">)</span><span class="s17"> ที่ </span><span class="s17">50 : 50</span> <span class="s17">ใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ประมาณ 4</span><span class="s17">%</span> <span class="s17">ที่ระยะเวลาการบ่ม 5 วัน ซึ่งค่ากำลังอัดแกนเดียวที่ได้ มีค่ามากกว่า 24.50 </span><span class="s17">กิโลกรัม</span><span class="s17">ต่อตารางเซ็นติเมตร </span><span class="s17">(</span><span class="s17">ksc</span><span class="s17">)</span></p> <p>&nbsp;</p> ชัจจักร์ ศรีประเสริฐ ชวเลข วณิชเวทิน พิพัฒน์ สอนวงษ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 INF01 INF01 การศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้างคอสะพานแบบกำแพงกันดินเสริมแรง : กรณีศึกษา สะพานวังเย็น อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/212 <p>ปัจจุบันคอสะพานหลายแห่งเกิดการวิบัติมากขึ้น สาเหตุหลักเกิดจากกระแสน้ำที่มีความเร็วสูงและการกัดเซาะรุนแรง ความชื้นในโครงสร้างที่สูงเนื่องจากน้ำล้นตลิ่งและน้ำใต้ดิน ประกอบกับโครงสร้างเดิมของคอสะพานเกิดการเสื่อมสภาพตามระยะเวลา &nbsp; การซ่อมแซมคอสะพานที่เสียหายต้องมีการสำรวจและออกแบบโครงสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด โดยใช้งบประมาณที่คุ้มค่า การเก็บข้อมูลสำรวจทางด้านกายภาพ ทางด้านวิศวกรรมปฐพี และการศึกษาพฤติกรรมของน้ำใต้ดินและความชื้นในบริเวณคอสะพานเป็นสิ่งสำคัญ การศึกษาครั้งนี้ได้สำรวจเก็บข้อมูลก่อนการก่อสร้าง โดยพิจารณาออกแบบโครงสร้างระบบกำแพงกันดินเสริมแรงโดยใช้ กรณีศึกษา สะพานวังเย็น อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดแรงดันน้ำในวัสดุมวลรวมและความชื้นภายในกำแพงกันดินเสริมแรง &nbsp;รวมถึงการตรวจวัดการเอียงตัวที่ด้านหน้ากำแพง ซึ่งสามารถแสดงผลได้ทันทีทันใดโดยระบบโทรมาตร &nbsp;ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงความชื้น และค่าการเอียงตัวอยู่ในระดับที่ปลอดภัย</p> <p>&nbsp;</p> ประกิต ไชยศรี อภินิติ โชติสังกาศ สุสิทธิ์ ฉายประกายแก้ว บวรพงศ์ สุขเจริญ พิสิฐ ศรีวรานันท์ อิชย์ ศิริประเสริฐ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 INF02 INF02 การเปรียบเทียบพฤติกรรมของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในสะพานคอนกรีตอัดแรง เมื่อรับน้ำหนักของรถบรรทุกไทยตามข้อกำหนดใหม่ของกรมทางหลวง และรถบรรทุกตามมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา (AASHTO-HL93) https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/489 <p><span class="s16">บทความนี้นำเสนอความแตกต่างของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในสะพานคอนกรีตอัดแรง เมื่อรับน้ำหนักของรถบรรทุกไทยที่ประกาศใช้ใหม่ตามมาตรฐาน</span><span class="s16">ของ</span><span class="s16">กรมทางหลวง และรถบรรทุก</span><span class="s16">ตาม</span><span class="s16">มาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีการกำหนดให้ใช้น้ำหนักบรรทุกที่หลากหลายตามประกาศใหม่ของกรมทางหลวงสำหรับการออกแบบสะพาน ส่วนการออกแบบสะพานแบบดั้งเดิมจะอ้างอิงจากมาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกากันอย่างแพร่หลาย โดยนำเอาน้ำหนักรถบรรทุกและค่าตัวคูณกำลัง รวมทั้งวิธีการออกแบบมาใช้งาน ทั้งนี้การศึกษาจะใช้วิธีการจำลองโครงสร้างสะพานคอนกรีตอัดแรงแบบต่อเนื่องสามช่วงสะพาน ด้วย</span><span class="s16">ระเบียบ</span><span class="s16">วิธีไฟไน</span><span class="s16">ต</span><span class="s16">์</span><span class="s16">เอลิเมน</span><span class="s16">ต์</span><span class="s16">รับน้ำหนักรถบรรทุกไทยตามประกาศ</span><span class="s16">ของ</span><span class="s16">กรมทางหลวงที่ประกาศใช้ใหม่และน้ำหนักรถบรรทุก</span><span class="s16">ตาม</span><span class="s16">มาตรฐานของสมาคมทางหลวงและการขนส่งสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดให้น้ำหนักกระทำบนสะพานที่มีความยาวช่วงเท่ากับ </span><span class="s16">35 </span><span class="s16">เมตร จำนวน 3 ช่วง </span><span class="s16">ความยาวสะพานรวมทั้งหมดเท่ากับ</span><span class="s16"> 105 เมตร</span> <span class="s16">พร้อมเปรียบเทียบพฤติกรรมของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในสะพานคอนกรีตอัดแรงกับค่าหน่วยแรงที่ยอมให้</span> <span class="s16">เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการกำหนดน้ำหนักรถบรรทุกและการนำมาปรับใช้สำหรับการออกแบบสะพานในประเทศไทย</span></p> อัฏฐวิทย์ สุจริตพงศ์ วรียส ถิรดุลย์กุล ภูมิเกียรติ สว่างวงศ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 INF03 INF03 การหาความสัมพันธ์ของพื้นที่ถนนกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการวางผังเมืองรวมด้วยแบบจำลองต้นไม้เพื่อการตัดสินใจ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/557 <p><span class="s16">ถนนโครงการที่มีขนาดเขตทางตั้งแต่ </span><span class="s16">20 </span><span class="s16">เมตรขึ้นไปตามแผนผังแสดงโครงการด้านคมนาคมและขนส่ง จะเป็นถนนที่รองรับการเดินทางระหว่างชุมชนที่ต้องสอดคล้องกับ</span><span class="s16">แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนก</span><span class="s16">ประ</span><span class="s16">เภท</span><span class="s16"> งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ</span><span class="s16">สร้างแบบจำลองด้วยวิธีต้นไม้ตัดสินใจเพื่อกำหนดพื้นที่ถนนโครงการที่มีเขตทางตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไปตามร่างแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง </span><span class="s16">โดยมีการรวบรวม</span><span class="s16">ข้อมูลจำนวน 10 แอดทริบิวต์ 22 อินสแตนส์ ผลการสร้างแบบจำลองพบว่ามีกฎสำหรับกำหนดพื้นที่ถนนโครงการในรูปแบบ </span><span class="s16">If-then </span><span class="s16">จำนวน 7 กฎ แต่เมื่อมีการทดสอบประสิทธิภาพของแบบจำลองด้วยวิธี </span><span class="s16">Split test </span><span class="s16">กับ </span><span class="s16">Cross- validation test </span><span class="s16">พบว่า แบบจำลองต้นไม้เพื่อการตัดสินใจ ไม่มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดพื้นที่ถนนโครงการที่มีเขตทางตั้งแต่ 20 เมตรขึ้น</span><span class="s16">ไป</span></p> ชิษณุ อัมพรายน์ โยธิน มัชฌิมาดิลก สุรพันธ์ สันติยานนท์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 INF04 INF04 การศึกษาประสิทธิภาพของผนังสำเร็จรูปจากคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่า https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/558 <p><span class="s17">งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างผนังคอนกรีตสำเร็จรูปปกติและผนังคอนกรีตสำเร็จรูปมวลเบาระบบเซลลูล่า โดยทางผู้วิจัยได้ทำการหล่อตัวอย่างผนังคอนกรีตสำเร็จรูปขนาด สูง 200 </span><span class="s17">× </span><span class="s17">60 </span><span class="s17">× </span><span class="s17">10 เซนติเมตร เพื่อนำมาทำการทดสอบ จำนวน 6 ประเภท ได้แก่ ผนังคอนกรีตปกติ กับคอนกรีตปกติเสริมเหล็ก</span><span class="s17">, </span><span class="s17">ผนังคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่ากับคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าเสริมเหล็กและผนังคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบกับคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบเสริมเหล็ก โดยทดสอบหาหน่วยน้ำหนัก อัตราการดูดซึมน้ำและความทนการกระแทก ผลการทดสอบหน่วยน้ำหนักพบว่า คอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่ามีหน่วยน้ำหนักออยู่ที่ 1600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบมีหน่วยน้ำหนักอยู่ที่ 1995 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผลการทดสอบอัตราการดูดซึมน้ำพบว่าคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่ามีอัตราการดูดซึมน้ำ ร้อยละ 25.81 และคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบมีอัตราการดูดซึมน้ำ ร้อยละ 16.32 การทดสอบความทนการกระแทกผนังด้วยลูกตุ้มน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ทดสอบตามมาตรฐาน มอก. 2226 – 2548 ผลการทดสอบเมื่อเปรียบเทียบผนังทั้ง 6 ประเภท พบว่าคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบและคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบเสริมเหล็ก มีการโก่งตัวสูงที่สุด เนื่องด้วยภายในเนื้อของคอนกรีตมวลเบาเซลลูล่ามีลักษณะเป็นรูพรุน จึงไม่มีความสามารถในการยึดเกาะมวลรวมได้ดี ส่งผลให้คอนกรีตมวลเบาเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบมีค่ากำลังรับแรงอัดที่น้อยที่สุด ผลการทดสอบความทนการกระแทกจึงมีค่าการโก่งตัวมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐาน มอก 2226 – 2548 พบว่าแผ่นผนังอยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานซึ่งมีค่าการโก่งตัว ไม่เกิน 2 มิลลิเมตร</span></p> จารุวัฒน์ ถาวรไพศาลชีวะ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 INF05 INF05 การศึกษาระดับการรับรู้ของบุคคลจากการสั่นสะเทือนของโครงสร้างทางพิเศษยกระดับบูรพาวิถี https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/726 <p><span class="s15">งาน</span><span class="s15">วิจัยนี้ทำการศึกษาระดับการสั่นสะเทือนของโครงสร้างทางพิเศษยกระดับที่มีผลต่อการรับรู้ของบุคคล โดยพิจารณากรณีศึกษาการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงาน ณ ด่านชำระค่าผ่านทางทางพิเศษยกระดับบูรพาวิถีจำนวน 3 ด่าน ได้แก่ ด่านชลบุรี ด่านวงแหวนรอบนอก และด่านบางนา </span><span class="s15">ซึ่ง</span><span class="s15">มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและเป็นข้อมูลประกอบแนวทางในการประเมินโครงสร้างทางพิเศษยกระดับบูรพาวิถี</span><span class="s15"> การศึกษา</span><span class="s15">ได้ทำการทดสอบภาคสนามทั้งสามด่านเป็นเวลาด่านละประมาณ 12 ชั่วโมง โดยตรวจวัดค่าความเร่งการสั่นสะเทือนในแนวดิ่ง บริเวณด่านรับชำระค่าผ่านทางช่องซ้ายสุดซึ่งเป็นช่องบริการสำหรับยานพาหนะทุกประเภท และพิจารณาผลกระทบเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ </span><span class="s15">เช่น</span><span class="s15">ประเภทยานพาหนะ ลักษณะทางกายภาพของด่าน ระดับการสั่นสะเทือนที่ผิวทางและบริเวณตู้รับชำระค่าผ่านทาง จากนั้นจึงทำการประเมินระดับการรับรู้การสั่นสะเทือนจากค่าแอมพลิจูดของสัญญาณความเร่งและความถี่ของการสั่นสะเทือน โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสากล</span><span class="s15">ต่างๆ </span><span class="s15">จากการศึกษาพบว่าด่านชลบุรีมีระดับการสั่นสะเทือนที่รุนแรงที่สุดเมื่อเทียบกับอีกสองด่าน โดยมีระดับสูงสุดถึงระดับไม่พอใจ และระดับสูงสุดของทั้งด่านวงแหวนรอบนอกและด่านบางนาอยู่ในระดับรู้สึกได้ ซึ่งพบว่าอาจมีสาเหตุจากลักษณะของด่านชลบุรีซึ่งมีช่องบริการ</span><span class="s15">รถบรรทุกหนัก</span><span class="s15">อยู่ในตำแหน่งปลายยื่นของ</span><span class="s15">หน้าตัด</span><span class="s15">คานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง จึงเกิดความเร่ง</span><span class="s15">การสั่นสะเทือน</span><span class="s15">ที่สูงกว่าด่านอื่น </span><span class="s15">อีกทั้งยังพบว่า</span><span class="s15">เกาะติดตั้งตู้รับชำระค่าผ่านทางสามารถลดความรุนแรงของการสั่นสะเทือนได้</span><span class="s15">เมื่อเทียบกับที่ผิวทาง</span><span class="s15"> โดยมีแอมพลิจูดที่ต่ำกว่าที่ผิวทาง</span><span class="s15">โดย</span><span class="s15">เฉลี่ยที่ประมาณร้อยละ 17 &nbsp;อีกทั้งพบว่าการ</span><span class="s15">เคลื่อนที่ในจังหวะ</span><span class="s15">ออกตัวของยานพาหนะที่ในเวลาที่ใกล้เคียงกับช่องจราจรข้างเคียงสามารถเพิ่มแอมพลิจูดของการสั่นสะเทือนและระดับการรับรู้ได้รุนแรงมากขึ้น</span><span class="s15">อย่างมีนัยสำคัญ</span></p> พัทรพงษ์ อาสนจินดา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 INF06 INF06 การศึกษาความต้านทานกระสุนขนาด 7.62X51 มม. ของผนังคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/197 <p>งานวิจัยนี้ ทำการศึกษาการต้านทานกระสุนของผนังคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก สัดส่วน 2% โดยปริมาตร ภายใต้การยิงด้วยกระสุนขนาด 7.62x51 มม. ซึ่งผนังทดสอบ มีขนาด 400x400 มม. แปรผันความหนาตั้งแต่ 10 – 100 มม. สำหรับการติดตั้งตัวอย่างและการทดสอบ ทำได้โดยการติดตั้งตัวอย่างบนแท่นทดสอบ ห่างจากแนวยิงเป็นระยะ 50 ม. ติดตั้งกล้องถ่ายภาพความเร็วสูง ที่มีอัตราเร็วในการถ่ายภาพ 40,000 เฟรมต่อวินาที ในระยะตั้งฉากกับตัวอย่างทดสอบ และทำการทดสอบด้วยการยิงกระสุน จำนวน 1 นัด บริเวณกึ่งกลางผนังทดสอบ ซึ่งจากภาพถ่ายความเร็วสูง สามารถคำนวณเป็นความเร็วของกระสุน (ก่อนและหลังการปะทะตัวอย่าง) และวิเคราะห์ผลทดสอบในรูปแบบของลักษณะการวิบัติ ความสามารถในการดูดซับพลังงาน เส้นผ่านศูนย์กลางความเสียหาย และการสูญเสียน้ำหนัก ซึ่งผนังทดสอบ ที่มีความหนา 60 มม. สามารถต้านทานการทะลุผ่านของกระสุนได้ และความหนาตั้งแต่ 80 มม. ขึ้นไป บริเวณด้านหลังของผนังทดสอบ ไม่พบความเสียหายใด ๆ จากแรงกระแทกของกระสุน</p> อภิสิทธิ์ เตชพัฒนากร สิทธิศักดิ์ เเจ่มนาม ปิติ สุคนธสุขกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 DET01 DET01 ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเอง โดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียชนิดชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/94 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการซ่อมแซมตัวเองของมอร์ตาร์ที่ผสมไมโครแคปซูลของสปอร์แบคทีเรียชนิดชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต โดยห่อหุ้มสปอร์ของแบคทีเรียด้วยโซเดียมอัลจิเนตเพื่อให้สปอร์สามารถดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของการขึ้นรูปมอร์ตาร์ได้ ปริมาณไมโครแคปซูลที่เลือกใช้ในการศึกษา คือ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ร้อยละ 0, 0.5 และ 1.0 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ จากการศึกษาพบว่า<br>ไมโครแคปซูลส่งผลให้อัตราการซ่อมแซมรอยแตกเพิ่มขึ้น โดยมอร์ตาร์ที่มีปริมาณไมโครแคปซูลร้อยละ 1.0 สามารถซ่อมแซมรอยแตกได้สมบูรณ์ภายใน 7 วัน นอกจากนี้งานวิจัยยังศึกษาผลของปริมาณไมโครแคปซูลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วันของมอร์ตาร์ จากผลการทดสอบพบว่าปริมาณไมโครแคปซูลไม่ส่งผลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน<br>ของมอร์ตาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อเติมสารอาหารสำหรับแบคทีเรียลงในมอร์ตาร์จะส่งผลให้กำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วันของมอร์ตาร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ</p> วนาลี ภานุพรประพงศ์ ภีม เหนือคลอง พิชชา จองวิวัฒสกุล วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT01 MAT01 Analytical investigation on bond behavior between concrete and FRP bars of near-surface mounted and embedded through-section strengthening methods https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/106 <p>The strengthening techniques are to enhance the performance of existing reinforced concrete (RC) structures. This research aims to investigate the bond behavior between fiber-reinforced polymer (FRP) bars and concrete interfaces of near-surface mounted (NSM) strengthening method and the embedded through-section (ETS) strengthening technique. Bond models for two strengthening methods are developed considering various crucial parameters. The effects of concrete compressive strength, embedment length, and modulus of elasticity of FRP bars on the bond responses between two retrofitting methods are analytically investigated to interpret the results through bond models.</p> Nakares Kongmalai Linh Van Hong Bui Pitcha Jongvivatsakul Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT02 MAT02 สมบัติทางกลของอิฐทดแทนเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/199 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมบัติทางกลของอิฐทดแทนเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย โดยทำการทดสอบสมบัติทางกลของอิฐในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ กำลังวัสดุ ความหนาแน่น และ ความพรุน โดยนำเสนอผลการทดสอบกำลังรับแรงอัดของอิฐทั้งในรูปแบบเต็มแผ่นตามแนวราบและอิฐรูปแบบลูกบาศก์ และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำลังรับแรงอัดของอิฐและความหนาแน่นของอิฐทั้งในรูปแบบเต็มแผ่นตามแนวราบและรูปแบบลูกบาศก์ นอกจากนี้ทำการประเมินผลของการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดของอิฐต่อกำลังรับแรงอัดของอิฐ รวมถึงทำการทดสอบกำลังรับแรงอัดของกลุ่มอิฐก่อในรูปแบบปริซึมโดยทำการเปรียบเทียบกับกำลังรับแรงอัดของอิฐก้อนเดี่ยว จากการทดสอบพบว่า อิฐทดแทนมีความหนาแน่นแห้งอยู่ในช่วง 1.28 ก./ซม.<sup>3 </sup>- 1.63 ก./ซม.<sup>3</sup> มีความพรุนอยู่ในช่วง 30.15 % - 35.14 % และค่ากำลังรับแรงอัดของอิฐทดแทนรูปแบบเต็มแผ่นตามแนวราบมีค่าสูงกว่ารูปแบบลูกบาศก์ กำลังรับแรงอัดกับความหนาแน่นมีความสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งท้ายสุดทำให้สามารถหาสมการสำหรับประมาณค่ากำลังรับแรงอัดของกลุ่มอิฐก่อในรูปแบบปริซึมได้ในรูปของค่าความหนาแน่นและกำลังรับแรงอัดของอิฐก้อนเดี่ยว</p> สุนัย โตศิริมงคล พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย วีรชาติ ตั้งจิรภัทร สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ชัยณรงค์ อธิสกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT03 MAT03 การศึกษากลสมบัติด้านกำลังของจีโอพอลิเมอร์ผสมถ่านเปลือกกล้วยน้ำวา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/231 <p>จีโอพอลิเมอร์เป็นวัสดุชนิดใหม่ที่เป็นทางเลือกสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง ซึ่งไม่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์และก่อให้เกิด CO<sub>2</sub> น้อยมาก โดยเกิดจากการทำปฎิกิริยาจีโอพอลิเมอร์ไรเซชั่นของสารอัคคาไลที่มีความเข้มข้นสูง และออกไซด์ของซิลิกอนและอลูมิเนียม กลายเป็นวัสดุที่มีโครงสร้างแข็งแรง จึงเป็นวัสดุทางเลือกที่ใช้ทดแทนปูนซีเมนต์ได้ และเมื่อนำมาผสมกับผงถ่านเปลือกกล้วยน้ำวา ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งในผลผลิตทางเกษตรกรรมพืชผลกล้วยน้ำวา จึงได้ศึกษาวิจัยการนำมาผสมเพิ่มที่อัตราส่วนที่ออกแบบเริ่มต้นไว้ เพื่อศึกษากลสมบัติต่างๆ สำหรับตั้งต้นการนำไปใช้ต่อยอดทางอุตสาหกรรมการก่อสร้าง โดยในการนำผงถ่านเปลือกกล้วยน้ำวามาผสมกับวัสดุจีโอพอลิเมอร์ ในอัตราส่วนผสมเพิ่มที่เปอร์เซนต์ร้อยละ 0, 5, 10, และ 15 โดยน้ำหนัก&nbsp; ซึ่งออกแบบอัตราส่วนของวัสดุจีโอพอลิเมอร์ที่สัดส่วนเถ้าลอยร้อยละ 50 เปอร์เซนต์ ผสมกับอัตราส่วนผสมระหว่าง สารโซเดียมซิลิเกต 1 ส่วน กับสารโซเดียมไฮดรอไซด์ 12 โมลาร์&nbsp; 1 ส่วน รวมกันเป็นเปอร์เซนต์ร้อยละ 50 ของทั้งหมด และผสมกับทรายแม่น้ำที่ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 16 ในอัตราส่วนของจีโอพอลิเมอร์มอร์ต้า 1 ส่วนต่อทราย 2 ส่วน โดยน้ำหนัก แล้วนำไปทดสอบค่ากลสมบัติ และทดสอบด้วยเครื่อง scanning electron microscope (SEM) และ Energy Dispersive X-Ray Analysis (EDS) พบว่าผลการศึกษากลสมบัติด้านกำลังของจีโอพอลิเมอร์ที่ผสมกับผงถ่านเปลือกกล้วยน้ำวาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านกำลังรับแรงอัด,กำลังรับแรงดัด&nbsp; และค่าอัตราส่วนของการดูดซึมน้ำ ได้ในอัตราส่วนผสมเพิ่มที่เหมาะสม</p> ไตรทศ ขำสุวรรณ ภาคภูมิ มงคลสังข์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT04 MAT04 คุณสมบัติทางกายภาพของดินเหนียวเผามวลเบาทำจากไดอะตอมไมต์ผสมโฟม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/260 <p>บทความนี้รายงานการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของดินเหนียวเผามวลเบาที่ทำจากไดอะตอมไมต์หรือดินเบาผสมโฟมชนิดเติมฟองอากาศในปริมาณร้อยละ 5 – 20 ของน้ำหนักดินแห้ง ดินเหนียวเผามวลเบาผ่านการเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 12 ชั่วโมง นำไปทดสอบกำลังรับแรงอัด การดูดซึมน้ำ หน่วยน้ำหนักแห้ง และ โครงสร้างระดับจุลภาค ผลการศึกษาพบว่าหน่วยน้ำหนักแห้งของดินเหนียวเผามวลเบาอยู่ระหว่าง 510 - 1100 kg/m<sup>3</sup> ซึ่งลดลงตามปริมาณโฟมที่เพิ่มขึ้น กำลังรับแรงอัดของดินเหนียวเผามวลเบาลดลงตามระดับหน่วยน้ำหนักที่ลดลงโดยมีกำลังรับแรงอัดอยู่ระหว่าง 20 - 50 kg/cm<sup>2</sup> &nbsp;ซึ่งค่ากำลังรับแรงอัดใกล้เคียงกับอิฐก่อสร้างสามัญท้องตลาด ส่วนค่าการดูดซึมน้ำเพิ่มขึ้นตามระดับหน่วยน้ำหนักที่ลดลง โดยมีการดูดซึมน้ำอยู่ระหว่างร้อยละ 29 - 47 ซึ่งสูงกว่าอิฐก่อสร้างสามัญท้องตลาด อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักของงานวิจัยนี้เพื่อที่จะนำเอาไดอะตอมไมต์มาใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตอิฐก่อสร้างสามัญหรืออิฐมอญน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงและเป็นการยกระดับคุณภาพของอิฐมอญให้สูงขึ้นสามารถแข่งขันในตลาดได้</p> ณัฐพล ฐาตุจิรางค์กุล คำภี จิตชัยภูมิ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT05 MAT05 กำลังอัด กำลังเฉือน และความสามารถการทำงานได้ของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต ที่มีส่วนผสมของมวลรวมแอสฟัลท์คอนกรีตรีไซเคิล เพื่อใช้เป็นวัสดุซ่อมแซม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/267 <p>งานวิจัยนี้ ทำการศึกษากำลังอัด กำลังเฉือน และความสามารถ<br>การทำงานได้ของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต ที่มีส่วนผสมของมวลรวมแอสฟัลท์คอนกรีตรีไซเคิล เพื่อใช้เป็นวัสดุซ่อมแซม โดยมีส่วนผสมคือ เถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ประเทศไทย โซเดียมซิลิเกต โซเดียม<br>ไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 10 โมลาร์ อัตราส่วนโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียม<br>ไฮดรอกไซด์มีค่า 1 ต่อ 1 ใช้ทรายแม่น้ำเป็นมวลรวมละเอียด ใช้หินธรรมชาติเป็นมวลรวมหยาบ มวลรวมแอสฟัลท์คอนกรีตรีไซเคิล ถูกนำมาคัดขนาด คือ ขนาดหยาบ (4.75– 19.0 มม.) และขนาดละเอียด (1.18 – 4.75 มม.) โดยผสมในอัตราส่วนขนาดหยาบและขนาดละเอียดเท่ากับ <br>1 ต่อ 3 และนำมวลรวมแอสฟัลท์คอนกรีตรีไซเคิลแทนที่มวลรวมหยาบธรรมชาติ ในปริมาณร้อยละ 20 และ 40 โดยน้ำหนักมวลรวมหยาบธรรมชาติ และทำการปรับปรุงคุณสมบัติของจีโอโพลีเมอร์คอนกรีตโดยแทนที่เถ้าลอยด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักเถ้าลอย บ่มที่อุณหภูมิห้องจนกระทั้งอายุครบ 28 วัน ทำการทดสอบกำลังรับแรงอัด กำลังเฉือน ความหนาแน่น และค่าการไหลแผ่ ผลการทดสอบพบว่า กำลังอัดมีค่าระหว่าง 313 และ 432 กก./ตร.ซม. กำลังเฉือนมีค่าระหว่าง 93 และ 139 กก./ตร.ซม. การไหลแผ่มีค่าระหว่าง 69 และ 75 ซม. และความหนาแน่นมีค่าระหว่าง 2,283 และ 2,356 กก./ลบ.ม. และผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า สามารถใช้จีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่มีส่วนผสมของมวลรวมแอสฟัลท์คอนกรีตรีไซเคิลในงานโครงสร้างคอนกรีตได้ นอกจากนี้ยังมีค่าการไหลแผ่ที่เหมาะสำหรับเป็นวัสดุซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต</p> ภูริเดช โคตะนิวงษ์ ปริญญา จินดาประเสริฐ พัชรพล โพธิ์ศรี Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT06 MAT06 ผลิตภัณฑ์บล็อกประสานจากฝุ่นหินแกรนิตผสมป้ายไวนิลเหลือทิ้ง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/319 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำขยะป้ายไวนิลเหลือทิ้ง มาเป็นส่วนผสมในการทำผลิตภัณฑ์บล็อกประสาน โดยใช้อัตราส่วนผสมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ต่อ ฝุ่นหินแกรนิตที่อัตราส่วนผสม 1 : 3 และได้เพิ่มปริมาณไวนิลเหลือทิ้งบดละเอียดในอัตราส่วนผสมร้อยละ 0, 1.0, 1.5, 2.0 และ 2.5 โดยน้ำหนักของวัสดุผสมตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าที่ปริมาณไวนิลเหลือทิ้งในอัตราส่วนผสมร้อยละ 1.0, 1.5, 2.0 และ 2.5 โดยน้ำหนักของวัสดุผสม มีค่ากำลังต้านแรงอัดเฉลี่ย 66.51, 52.19, 47.22 และ 38.03 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ที่อายุ 28 วันตามลำดับ ซึ่งผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนอิฐบล็อกประสาน (มผช. 602/2547) กระทรวงอุตสาหกรรม ชนิดไม่รับน้ำหนัก โดยการเพิ่มปริมาณไวนิลเหลือทิ้งบดละเอียด ในส่วนผสมจะทำให้ค่ากำลังต้านทานแรงอัด ค่าความหนาแน่นลดลง ค่าการดูดกลืนน้ำเพิ่มสูงขึ้น แต่จะส่งผลดีต่อการเป็นฉนวนกันความร้อน และเป็นการลดปัญหาขยะจากไวนิลเหลือทิ้งในสิ่งแวดล้อมได้อีกแนวทางหนึ่ง</p> ขวัญชัย พิมเพราะ อภิสิทธิ์ เกษมจิต อนุวัช แสงจันทร์ อาทร ชูพลสัตย์ ณรงค์ กุหลาบ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT07 MAT07 คุณสมบัติทางกลคอนกรีตเสริมเส้นใยสังเคราะห์ที่ใช้กรวดแม่น้ำเป็นมวลรวมหยาบ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/345 <p>คอนกรีตเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติต้านทานแรงดึงและกำลังดัดต่ำเมื่อเทียบกับกำลังอัด &nbsp;และหากมีการนำกรวดแม่น้ำธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมของมวลรวมหยาบจะทำให้กำลังดึงยิ่งลดลงไปอีก&nbsp; แนวทางหนึ่งเพื่อเสริมกำลังดึงคือการใช้เส้นใยสังเคราะห์เสริมคอนกรีต &nbsp;งานวิจัยนี้เลือกใช้เส้นใยสังเคราะห์ 3 ชนิด ได้แก่ เส้นใยแก้ว เส้นใยโพลีโพรพิลีน และเส้นใยโพลีเอสเตอร์ เพิ่มเข้าไปในคอนกรีตที่อัตราส่วนร้อยละ 0, 0.5, 1.0 และ 1.5 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ ซึ่งในแต่ละส่วนผสมจะใช้คอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบ 2 ชนิด คือ หินย่อยจากภูเขา และกรวดแม่น้ำธรรมชาติ จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการณ์พบว่าค่าการยุบตัว (Slump) มีค่าลดลงร้อยละ 50-57 เมื่อปริมาณเส้นใยเพิ่มขึ้น ค่ากำลังต้านทานแรงอัดเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ส่วนด้านของกำลังรับแรงดึงมีค่าที่เพิ่มมากสุดถึง ร้อยละ 42 เพิ่มขึ้นตามปริมาณที่ใช้ ความสามารถในการแอ่นตัวและความยืดหยุ่นมีเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณเส้นใยสังเคราะห์อย่างเห็นได้ชัด</p> วรชัย ใจกาศ ชยานนท์ หรรษภิญโญ ธีวรา สุวรรณ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT08 MAT08 คอนกรีตมวลเบาเซลลูล่ากำลังสูงทำจากเพอร์ไลต์เผาขยาย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/364 <p>บทความนี้รายงานการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของคอนกรีตมวลเบาเซลลูล่ากำลังสูงทำจากเพอร์ไลต์เผาขยายผสมกับโฟมชนิดเติมฟองอากาศ ความหนาแน่นแห้งของคอนกรีตมวลเบาประมาณ 800 kg/m<sup>3</sup> ผ่านการบ่มไอน้ำเมื่อมีอายุ 1 วัน ภายในห้องควบคุมอุณหภูมิที่ 60 °C, 80 °C, และ 100 °C ความชื้นสัมพัทธ์ 80±5 % ความดัน 2±1 kg/cm<sup>2</sup> เป็นเวลานาน 12 ชั่วโมง คอนกรีตมวลเบาเซลลูล่าที่แข็งตัวแล้วได้ทำการทดสอบคุณสมบัติ กำลังรับแรงอัด การดูดซึมน้ำ ความหนาแน่นแห้ง และ โครงสร้างระดับจุลภาค &nbsp;ผลการศึกษาพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดอยู่ระหว่าง 22 - 48 kg/cm<sup>2</sup> &nbsp;ซึ่งมีกำลังอัดสูงขึ้นตามอุณหภูมิบ่มไอน้ำที่เพิ่มขึ้น ส่วนการดูดซึมน้ำอยู่ระหว่างร้อยละ 31 – 44 ซึ่งลดลงตามตามอุณหภูมิบ่มไอน้ำที่เพิ่มขึ้น</p> คำภี จิตชัยภูมิ ปริญญา จินดาประเสริฐ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT09 MAT09 การพัฒนาคอนกรีตโมดูลัสยืดหยุ่นสูงสำหรับโครงสร้างแข็งเกร็งพิเศษ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/398 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณสมบัติโมดูลัสยืดหยุ่น (Elastic modulus) ของคอนกรีตให้มีค่ามากกว่าคอนกรีตกำลังสูงทั่วไป เพื่อประยุกต์ใช้ในส่วนโครงสร้างที่ต้องการความแข็งเกร็ง (Rigidity) เป็นพิเศษ เช่น เสาตอม่อโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือผนังรับแรงเฉือนในอาคารสูงชะลูด เพื่อลดการเคลื่อนตัวของโครงสร้างภายใต้แรงกระทำ แม้การใช้คอนกรีตกำลังสูงจะสามารถให้ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่มากขึ้น แต่เนื่องจากมีราคาแพงจึงไม่มีประสิทธิภาพ ในงานวิจัยนี้จะอาศัยการปรับเปลี่ยนวัสดุมวลรวมหยาบเป็นหินบะซอลต์ขนาดระหว่าง 9.5-25 มม. และตะกรันจากเตาอาร์คไฟฟ้า (EAF slag) ขนาดระหว่าง 9.5-19 มม. ซึ่งมีคุณสมบัติทางกลดีกว่าหินปูน การศึกษาพิจารณาแหล่งหินบะซอลต์จากโรงโม่หินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 2 แหล่ง และแหล่งตะกรันจากโรงหลอมเหล็กในเขตภาคตะวันออกอีก 1 แหล่ง โดยทำการออกแบบส่วนผสมที่เหมาะสม แล้วหล่อตัวอย่างคอนกรีตเพื่อทำการทดสอบหาค่ากำลังรับแรงอัดและค่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่อายุ 14 และ 28 วัน จากนั้นจึงเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากตัวอย่างคอนกรีตที่พัฒนาขึ้นกับคอนกรีตทั่วไปที่ใช้วัสดุมวลรวมเป็นหินปูน จากผลการทดสอบพบว่าการใช้ตะกรันจากเตาอาร์คไฟฟ้า สามารถเพิ่มค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตได้มาก ทั้งประหยัดกว่าการใช้คอนกรีตกำลังสูงอย่างมีนัยสำคัญ</p> ณรงค์ชัย ปักษา ทศพล ปิ่นแก้ว Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT10 MAT10 อิทธิพลของอัตราส่วนการแทนที่มวลรวมละเอียดด้วยเม็ดพลาสติกรีไซเคิล HDPE ต่อคุณสมบัติของคอนกรีตสดไหลอัดแน่นด้วยตัวเอง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/436 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการแทนที่มวลรวมละเอียดด้วยเม็ดพลาสติกรีไซเคิล HDPE ต่อสมบัติของคอนกรีตสดไหลอัดแน่นด้วยตัวเอง อัตราส่วนการแทนที่ที่ใช้ในการศึกษานี้เท่ากับร้อยละ 0 5 10 และ 15 โดยน้ำหนักของมวลรวมละเอียด ค่า W/C เท่ากับ 0.4 แบ่งเป็นปริมาณซีเมนต์ 660 kg/m3 และ 560 kg/m3 ทดสอบการเสียรูปโดยใช้ค่าการไหลแผ่ Slump flow การแยกตัวโดย V-funnel การไหลผ่านสิ่งกีดขวางในแนวนอน L-box และ J-ring พบว่าที่การแทนที่ร้อยละ 5 การไหลแผ่สูงขึ้นและสูงกว่าอัตราส่วนผสมควบคุมประมาณร้อยละ 4-6 แต่เมื่อเพิ่มการแทนที่มากกว่าร้อยละ 5 การไหลแผ่ลดลงประมาณร้อยละ 15-30 ของอัตราส่วนควบคุม ค่าการแยกตัวของทุกอัตราส่วนผสมสูงกว่าเกณฑ์อย่างมากและแปรผันตามการเพิ่มของร้อยละการแทนที่ ซึ่งบ่งชี้ชัดว่าอัตราส่วนผสมของการศึกษานี้หนืดมากจึงมีแนวโน้มสูงที่จะทำให้มวลรวมเกิดการแยกตัวขณะเท สำหรับการไหลผ่านสิ่งกีดขวางในแนวนอนของอัตราส่วนผสมที่มีปริมาณซีเมนต์ 660 kg/m3 มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน ขณะที่ค่าของอัตราส่วนผสมที่มีปริมาณซีเมนต์ 560 kg/m3 มีแนวโน้มลดลงชัดเจน โดยที่การแทนที่มากกว่าร้อยละ 5 มีค่าการไหลผ่าน L-box ลดลงประมาณร้อยละ 67-76 ของอัตราส่วนควบคุม สรุปได้ว่าการแทนที่มวลรวมละเอียดด้วยเม็ดพลาสติกรีไซเคิลร้อยละ 5 ทำให้คอนกรีตสดไหลอัดแน่นด้วยตัวเองมีสมบัติการไหลแผ่ การไหลผ่านสิ่งกีดขวางในแนวนอน L-box และ J-ring ไม่แตกต่างจากเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามมาตรฐาน ASTM และ EFNARC</p> นันทชัย ชูศิลป์ จุฑามาศ ลักษณะกิจ อรุณ ลูกจันทร์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT11 MAT11 ลักษณะการยึดเกาะของจีโอโพลิเมอร์เพสต์กับมวลรวมละเอียดต่างชนิดกัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/542 <p>บทคัดย่อ</p> <p>เป็นที่ทราบกันดีว่าการยึดเกาะกันระหว่างจีโอโพลิเมอร์เพสต์และผิวของมวลรวมเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการยึดเกาะระหว่างเพสต์กับมวลรวมละเอียดหรือมวลรวมหยาบล้วนส่งผลต่อความสามารถในการรับแรงได้ของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์หรือจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต ในการทดสอบความสามารถในการยึดเกาะของจีโอโพลิเมอร์เพสต์กับมวลรวมครั้งนี้ ได้ทำการรวบรวมลักษณะการยึดเกาะกันระหว่างจีโอโพลิเมอร์เพสต์และมวลรวมละเอียดที่ต่างชนิดกัน ได้แก่ ทรายแม่น้ำ เศษคอนกรีตรีไซเคิล เศษหินปูนย่อย และเศษแก้ว โดยทำการตรวจสอบรอยต่อระหว่างจีโอโพลิเมอร์เพสต์และผิวมวลรวมละเอียดด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Micro Scope) จากการตรวจสอบพบว่า จีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ที่มีทรายแม่น้ำเป็นส่วนผสมให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด เนื่องจากการยึดเกาะกันระหว่างมวลรวมละเอียดและจีโอโพลิเมอร์เพสต์มีความทึบแน่นซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> ธวัชชัย โทอินทร์ แสงสุรีย์ พังแดง สุบรร ผลกะสิ สมหมาย สงบาง สิทธิศักดิ์ อันทะผาลา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT12 MAT12 การศึกษาการซึมผ่านน้ำในคอนกรีตพรุนโดยใช้มวลรวมหยาบรีไซเคิล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/563 <p>บทความนี้นำเสนอการศึกษาการซึมผ่านน้ำในคอนกรีตพรุนโดยใช้มวลรวมหยาบรีไซเคิล จากการนำเศษวัสดุคอนกรีตเก่าเหลือทิ้งมาใช้เป็นมวลรวมหยาบในงานคอนกรีตพรุนแทนที่มวลรวมหยาบจากธรรมชาติ&nbsp; โดยการนำคอนกรีตเก่า(ลูกปูน) มาย่อยและคัดแยกขนาดเดียว (Single Grade) ได้มวลรวมหยาบรีไซเคิล 3 ขนาด ได้แก่ หินขนาด 1/2 นิ้ว, 3/8 นิ้ว และหินที่ค้างบนตะแกรงเบอร์ 4&nbsp; ใช้ปริมาณซีเมนต์เพสต์ร้อยละ 10, 15 และ 20 โดยปริมาตร ที่อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (W/C Ratio) เท่ากับ 0.30 หล่อเป็นก้อนตัวอย่างรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ความสูง 20 เซนติเมตร ผลการทดสอบพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดของคอนกรีตขึ้นอยู่กับขนาดหินและปริมาณซีเมนต์เพสต์ &nbsp;โดยคอนกรีตพรุนจะมีกำลังรับแรงอัดอยู่ในช่วงระหว่าง 23-95 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งเป็นผลมาจากช่องว่างในมวลรวมหยาบของหินขนาดเดียวกัน&nbsp; อีกทั้งมีเพสต์เก่าและมอร์ตาร์เกาะติดอยู่ จึงทำให้ต้องใช้ปริมาณซีเมนต์เพสต์เคลือบผิวมากขึ้นและการดูดซึมน้ำเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่มีช่องว่างของอัตราส่วนโพรงที่ดีซึ่งอยู่ในช่วงร้อยละ 25 - 37&nbsp; ทำให้มีค่าการซึมผ่านน้ำได้มาก&nbsp; โดยมวลรวมหยาบรีไซเคิลขนาด 1/2 นิ้ว มีค่าการซึมผ่านน้ำได้มากที่สุดเท่ากับ 0.989 เซนติเมตรต่อวินาที &nbsp;ที่ปริมาณซีเมนต์เพสต์เท่ากัน</p> กมล ตรีผอง รณกร เทพวงษ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT13 MAT13 การศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตเสริมเส้นใยสังเคราะห์ พลาสติกโพลิโพรพิลีน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/584 <p>คอนกรีตเสริมเส้นใยสังเคราะห์ พลาสติกโพลิโพรพิลีน(POLYPROPYLENE SYNTHETIC FIBER REINFORCED CONCRETE) มีคุณสมบัติรับแรงดัดได้สูงกว่าคอนกรีตทั่วไป เนื่องจากเส้นใยภายในเนื้อแมทริกซ์จะช่วยดึงคอนกรีตบริเวณที่เกิดรอยร้าวจากการดัดเข้าไว้ด้วยกัน(bridging effect) จนกว่าเส้นใยจะถูกดึงออกจากเนื้อคอนกรีตหรือถูกดึงจนเส้นใยขาด โดยพฤติกรรมดังกล่าวนั้นทำให้คอนกรีตมีความเหนียว (ductile) เพิ่มขึ้น ในบทความนี้จะนำเสนอข้อมูลการศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดของคานคอนกรีตเสริมเส้นใยสังเคราะห์ พลาสติกโพลิโพรพิลีน ที่มีลักษณะเส้นใยยาวขนาด 45-58 มิลลิเมตร รูปแบบผิวขรุขระที่มีกำลังรับแรงดึงประมาณ 520 และ 640MPa โดยใส่ผสมลงไปในคอนกรีตที่มีสัดส่วนผสมคล้ายกับสัดส่วนที่ใช้ผลิตคอนกรีตสำหรับพื้นโรงงานอุตสาหกรรม และพื้นถนน โดยใช้สัดส่วนที่ให้มีกำลังอัดทรงลูกบาศก์ที่อายุ 28 วันคือ 280 และ 320 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร คล้ายที่ใช้โดยทั่วไปในงานออกแบบและก่อสร้าง โดยผสมเส้นใยลงไปในปริมาณ 0, 2 และ 3 กิโลกรัม ต่อคอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตรและทำการทดสอบการดัดของคานบากด้วยการทดสอบแรงดัดแบบ 3 จุดตามที่ระบุในมาตรฐาน EN 14651 ผลการศึกษาพบว่าการผสมเส้นใยสังเคราะห์เพิ่มในคอนกรีตนั้นช่วยให้คานคอนกรีตรับแรงดัดหลังการแตกร้าวของคอนกรีตโดยการใส่เส้นใยเพิ่ม 2 และ 3 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรจะช่วยให้คานคอนกรีตรับแรงดัดหลังเกิดการแตกร้าวได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 และ 131 ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่ไม่มีการเสริมเส้นใยสังเคราะห์ ถือได้ว่าการใส่เส้นใยสังเคราะห์ในคอนกรีตจะช่วยให้คอนกรีตมีความเหนียวเพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนเส้นใยในเนื้อคอนกรีตจะเพิ่มความเหนียวให้คอนกรีตเช่นกัน แต่จะต้องทำการควบคุมการผลิตให้เส้นใยกระจายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความแปรปรวนของกำลังของคอนกรีตเสริมเส้นใยสังเคราะห์</p> สิริพงศ์ เกิดบุญมา อาณสิทธิ์ การินทอง นิติพงษ์ ประภาพันธ์กุล วิทิต ปานสุข Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT14 MAT14 ความต้านทานคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมซีโอไลท์สังเคราะห์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/593 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตผสมซีโอไลท์สังเคราะห์ โดยวัสดุประสานที่ใช้ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และซีโอไลท์สังเคราะห์ ใช้อัตราส่วนซีโอไลท์สังเคราะห์ต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.01, 0.03, 0.05 และ 0.10 ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.50 และ 0.60 การแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งและกำลังอัดของคอนกรีตทดสอบที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 7, 28, 56 และ 91 วัน จากผลการทดลองพบว่า คอนกรีตที่ผสมซีโอไลท์สังเคราะห์มีความต้านทานคลอไรด์ดีกว่าคอนกรีตล้วนทุกอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน โดยคอนกรีตที่ใช้อัตราส่วนซีโอไลท์สังเคราะห์ต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.03 มีความต้านทานคลอไรด์ดีที่สุด แต่คอนกรีตที่ผสมซีโอไลท์สังเคราะห์มีกำลังอัดต่ำกว่าคอนกรีตล้วน</p> อัญชนา กิจจานนท์ ทวีชัย สำราญวานิช ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT15 MAT15 ผลกระทบของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ต่อปริมาณคลอไรด์วิกฤตของคอนกรีต https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/594 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของสิ่งแวดล้อมต่อปริมาณคลอไรด์วิกฤตของคอนกรีต โดยศึกษาอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมที่ 30°C และ 50°C และความชื้นสัมพัทธ์ของสิ่งแวดล้อมที่ 30% และ 90% ในการศึกษานี้ใช้อัตราส่วนเถ้าลอยต่อวัสดุประสาน 0.20 และ 0.40 อัตราส่วนซิลิก้าฟูมต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.075 ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.50 สำหรับทุกส่วนผสม จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อ ความชื้นสัมพัทธ์คงที่ 90% คอนกรีตที่เผชิญอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม 30°C มีระยะเวลาเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมนานกว่าคอนกรีตที่อุณหภูมิ 50°C แต่มีปริมาณคลอไรด์วิกฤตของคอนกรีตต่ำกว่า ในขณะที่เมื่ออุณหภูมิคงที่ 50°C คอนกรีตที่เผชิญความชื้นสัมพัทธ์สิ่งแวดล้อม 30% มีระยะเวลาเริ่มเกิดสนิมนานกว่าคอนกรีตที่เผชิญความชื้นสัมพัทธ์สิ่งแวดล้อม 90% แต่มีปริมาณคลอไรด์วิกฤตที่ต่ำกว่าเช่นกัน หากพิจารณาดัชนีความต้านทานการเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต (CRI<sub>DT</sub>) พบว่า คอนกรีตที่เผชิญอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมต่ำมีค่า CRI<sub>DT</sub> มากกว่าคอนกรีตที่เผชิญอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมสูง และคอนกรีตที่เผชิญความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมี CRI<sub>DT</sub> มากกว่าคอนกรีตที่เผชิญความชื้นสัมพัทธ์สูง คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 40 มีค่า CRI<sub>DT</sub> มากที่สุด คอนกรีตที่ใช้ซิลิก้าฟูมแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 7.5 มีค่า CRI<sub>DT</sub> สูงกว่าคอนกรีตซีเมนต์ล้วน</p> <p>&nbsp;</p> อัญชนา กิจจานนท์ ทวีชัย สำราญวานิช ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT16 MAT16 ผลกระทบของซิลิก้าฟูมต่อความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีต https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/595 <p>งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตผสมซิลิก้าฟูม โดยแทนที่วัสดุประสานที่ร้อยละ 5, 7.5, 10 และ 15 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 และ 0.50 ทดสอบการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 7, 28 และ 91 วัน และทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 7, 14, 28, 56 และ 91 วัน จากผลการทดลองพบว่า การใช้ซิลิก้าฟูมแทนที่ประสานในคอนกรีตทำให้ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตดีขึ้นและกำลังอัดของคอนกรีตสูงขึ้น โดยการใช้ซิลิก้าฟูมแทนที่ร้อยละ 15 ทำให้คอนกรีตความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดดีที่สุด นอกจากนี้ คอนกรีตที่ผสมซิลิก้าฟูมที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานต่ำมีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดดีกว่าที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานสูง</p> <p>&nbsp;</p> อัญชนา กิจจานนท์ ทวีชัย สำราญวานิช ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT17 MAT17 กำลังอัดและการซึมผ่านน้ำของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็ก https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/596 <p>งานวิจัยนี้มุ่งศึกษากำลังอัดและการซึมผ่านน้ำของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็ก โดยใช้คอนกรีตซีเมนต์ล้วนที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน (w/b) 0.50 และ 0.60 ผสมเส้นใยเหล็กที่ 0.5% และ 1.0% โดยปริมาตรของคอนกรีต ทดสอบกำลังอัดและการซึมผ่านน้ำที่อายุ 7 วัน และ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า การใช้ปริมาณเส้นใยเหล็ก 0.5% โดยปริมาตรของคอนกรีต ส่งผลให้คอนกรีตมีค่ากำลังอัดสูงที่สุดและอัตราการซึมผ่านน้ำต่ำที่สุดทั้งคอนกรีตที่ใช้ w/b ที่ 0.50 และ 0.60 แต่เมื่อใช้ปริมาณเส้นใยเหล็กสูงมากกว่า 0.5% กลับทำให้กำลังอัดต่ำลงและการซึมผ่านน้ำสูงขึ้น ซึ่งเป็นเพราะว่าปริมาณเส้นใยเหล็กที่มากเกินไปทำให้เกิดมีโพรงช่องว่างระหว่างเส้นใยและเนื้อคอนกรีต ส่งผลให้คอนกรีตมีความพรุนและการซึมผ่านน้ำสูง และกำลังอัดคอนกรีตต่ำลง</p> ลีน่า ปรัก ทวีชัย สำราญวานิช Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT18 MAT18 ปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤตและระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมของคอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบด https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/597 <p>งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของตะกรันเตาถลุงเหล็กบดต่อปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤต และระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริม และกำลังอัดของคอนกรีต โดยใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสานที่ร้อยละ 30, 40, 50 และ 70 ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.50 และระยะหุ้มเหล็กเสริม 2 เซนติเมตร จากผลการทดลองพบว่า ปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤตและระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของคอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบดมีค่าสูงกว่าคอนกรีตซีเมนต์ล้วนทุกส่วนผสม ปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤตมีค่าลดลงและระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีตมีค่านานขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณการแทนที่ซีเมนต์ด้วยตะกรันเตาถลุงเหล็กบด คอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบดที่ร้อยละ 30 มีปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤตสูงที่สุด ในขณะที่ระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมนานที่สุดเมื่อใช้คอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบดที่ร้อยละ 40 อย่างไรก็ตาม กำลังอัดของคอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบดที่ 28วัน มีค่าต่ำกว่าคอนกรีตซีเมนต์ล้วน และยิ่งลดลงเมื่อใช้ปริมาณตะกรันเตาถลุงเหล็กบดมากขึ้น</p> ลีน่า ปรัก ทวีชัย สำราญวานิช Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT19 MAT19 การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์จากวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมน้ำตาล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/604 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์ และศึกษากำลังรับแรงอัดและความหนาแน่น โดยใช้เถ้าชานอ้อย และ กากปูนขาวมาแทนที่ซีเมนต์และสามารถนำคอนกรีตมวลเบาที่พัฒนามาจากเถ้าชานอ้อย และ กากปูนขาวมาใช้ในงานก่อสร้าง โดยใช้การเทียบเท่าด้วย มอก.2601-2556 ชั้นคุณภาพ C9 ซึ่งมีค่ากำลังรับแรงอัดมากกว่า 25.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และค่าความหนาแน่นมีค่าเท่ากับ 801-900 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในการคำนวณส่วนผสมของเถ้าชานอ้อยและกากปูนขาวได้ใช้การคำนวณจากสูตรต้นแบบ ที่อัตราส่วนผสมระหว่างปูนต่อทรายที่ 1.00 : 1.00 และส่วนผสมระหว่างน้ำต่อซีเมนต์ (W/C) 0.50 : 1.00 ที่มีความหนาแน่น และค่าของกำลังรับแรงอัด ใกล้เคียงกับ มอก.2601-2556 ชั้นคุณภาพ C9 มากที่สุด ในอายุการบ่ม 7, 14 และ 28 วัน โดยการนำเถ้าชานอ้อยและกากปูนขาวมาแทนที่ร้อยละ 5 ถึง 35 ในอัตราส่วนผสมของซีเมนต์จากการทดสอบพบว่าการแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยที่มีค่าความหนาแน่นมากที่สุด เมื่อแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยร้อยละ 20 และมีกำลังรับแรงอัดที่ได้มากสุดเมื่อแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยร้อยละ 15 ส่วนการแทนที่ด้วยกากปูนขาวพบว่ามีค่าความหนาแน่นที่มากสุดเมื่อแทนที่ด้วยกากปูนขาวร้อยละ 30 และกำลังรับแรงอัดที่มีมากที่สุดเมื่อแทนที่ด้วยกากปูนขาวร้อยละ 5 เมื่อนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับ มอก.2601-2556 ชั้นคุณภาพ C9 แล้วพบว่า เถ้าชานอ้อยไม่สามารถนำมาแทนที่ซีเมนต์ และคอนกรีตมวลเบาที่แทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยและกากปูนขาว ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาดได้ ส่วนกากปูนขาวสามารถนำมาแทนที่ซีเมนต์ได้และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างได้จริงซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ของเหลือจากอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด</p> ภานุวัฒน์ โสภณวาณิชย์ ยิ่งใหญ่ มาลัยเจริญ ชิษณุพงศ์ สุธัมมะ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT20 MAT20 ผลกระทบของการเติมแคลเซียมออกไซด์อิสระในเถ้าลอยต่อความสามารถในการเก็บกักคลอไรด์ ของเพสต์ผสมเถ้าลอยและผงหินปูน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/607 <p>งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบของแคลเซียมออกไซด์อิสระ (free CaO) ในเถ้าลอยต่อความสามารถในการเก็บกักคลอไรด์<br>ของเพสต์ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 (OPC) แทนที่ด้วยเถ้าลอยและผงหินปูน โดยนำเถ้าลอยตั้งต้นมาเติมแคลเซียมออกไซด์เพื่อให้ free CaO ในเถ้าลอยมีปริมาณต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าการแทนที่ OPC ด้วย<br>ผงหินปูนร้อยละ 10 ทำให้ปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดในเพสต์มีค่าน้อยลง <br>แต่ความสามารถในการเก็บกักคลอไรด์กลับมีค่ามากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ<br>กับของเพสต์ OPC ล้วน ส่วนเพสต์การแทนที่ OPC ด้วยเถ้าลอยร้อยละ 30 นั้น มีปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดและอัตราส่วนความสามารถในการเก็บกัก<br>คลอไรด์ใกล้เคียงกับของเพสต์ OPC ล้วน นอกจากนี้เพสต์การแทนที่ OPC ด้วยเถ้าลอยร้อยละ 20 ร่วมกับผงหินปูนร้อยละ 10 ให้ค่าปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดใกล้เคียงกัน แต่อัตราส่วนความสามารถในการเก็บกักคลอไรด์<br>มีแนวโน้มที่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับของเพสต์ OPC ล้วน สุดท้ายปริมาณ free CaO ในเถ้าลอยที่ต่างกันไม่มีผลต่อปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดและความสามารถในการเก็บกักคลอไรด์ของเพสต์</p> พร้อมพงศ์ ฉลาดธัญญกิจ ปิติศานต์ กร้ำมาตร ทวีชัย สำราญวานิช สมนึก ตั้งเติมศิริกุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT21 MAT21 สมบัติทางกลของจีโอพอลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้มวลรวมละเอียดรีไซเคิลจากเศษหินแกรนิต https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/612 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกลของจีโอพอลิเมอร์ คอนกรีตที่ใช้มวลรวมละเอียดรีไซเคิล โดยขยะอุตสาหกรรมแกรนิตถูกใช้ แทนที่ทรายธรรมชาติในปริมาณร้อยละ 0, 25, 50 และ 100 โดยน้้าหนัก ของมวลรวมละเอียด ผลการทดสอบถูกน้ามาเปรียบเทียบกับคอนกรีต ควบคุมที่ใช้มวลรวมละเอียดจากทรายธรรมชาติ จากผลการทดสอบพบว่า การใช้มวลรวมรีไซเคิลจากเศษหินแกรนิตสามารถเพิ่มก้าลังรับแรงอัดของ คอนกรีตที่อายุ 7 วัน ก้าลังรับแรงดัดมีค่าเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มปริมาณของ มวลรวมจากเศษหินแกรนิต นอกจากนั้นยังพบว่าจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้ เศษหินแกรนิตเป็นมวลรวมร้อยละ 50 มีค่าความเหนียวสูงที่สุด</p> กานต์ธิปก ฮามคำไพ ภีม เหนือคลอง พิชชา จองวิวัฒสกุล เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT22 MAT22 การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของการนำเศษอิฐมอญมาใช้เป็นวัสดุทดแทนมวลรวมละเอียดและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วนในงานคอนกรีต https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/618 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของการนำเศษอิฐมอญมาใช้ประโยชน์ในการเป็นวัสดุทดแทนมวลรวมละเอียดและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วน เศษอิฐมอญบดที่มีขนาดคละใกล้เคียงกับมวลรวมละเอียด ถูกนำมาใช้แทนที่ทรายบางส่วน ในขณะที่เศษอิฐมอญบดขนาดละเอียดที่ผ่านตะแกรงขนาด 325 จะถูกนำมาใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสานทดแทน การแทนที่ทรายด้วยเศษอิฐมอญในปริมาณร้อยละ 25 ให้ค่ากำลังอัดสูงกว่าคอนกรีตควบคุมตั้งแต่อายุบ่มที่ 7 วันขึ้นไป ส่วนการศึกษาการแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วน พบว่าการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเศษอิฐมอญบดในปริมาณร้อยละ 20 สามารถเร่งการพัฒนากำลังอัดของมอร์ตาร์ให้เทียบเท่ากับมอร์ตาร์ควบคุมอายุบ่ม 28 วัน ในสภาพการบ่มปกติได้ภายใน 24 ชั่วโมงด้วยการบ่มแบบอบไอน้ำ ทั้งนี้น่าจะเกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างซิลิกาที่มีโครงสร้างเป็นผลึกในเศษอิฐมอญกับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของปูนซิเมนต์ ภายใต้แรงดันที่สูงของไอน้ำ ซึ่งทำให้เกิดผลิตภัณฑ์เชื่อมประสานเพิ่มมากขึ้น</p> ทรงสุดา วิจารณ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT23 MAT23 การวิจัยศึกษากำลังอัดและกำลังดัดของมอร์ต้าโดยวิธีการอัดขึ้นรูปที่มีการแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่น และเสริมเส้นใยปาล์มน้ำมัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/619 <p>การวิจัยประยุกต์ใช้วิธีการอัดขึ้นรูปเพื่อผลิตมอร์ต้าที่มีการเสริมเส้นใยปาล์มน้ำมัน และมีการแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่น และศึกษาผลกระทบของการแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่นและการเสริมเส้นใยปาล์มน้ำมันที่มีต่อกำลังรับแรงอัดและกำลังรับแรงดัด โดยเตรียมตัวอย่างมอร์ต้าทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10.16 เซนติเมตร สูง 11.68 เซนติเมตร สำหรับการทดสอบกำลังอัด และตัวอย่างคานขนาด 10×10×35 เซนติเมตร สำหรับการทดสอบกำลังดัด ในการศึกษานี้มีการแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่นในอัตราส่วนร้อยละ 60 และ 100 โดยน้ำหนัก และมีการผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันที่อัตราส่วนร้อยละ 2, 4, และ 6 โดยปริมาตร แล้วทำการทดสอบกำลังรับแรงอัดและกำลังรับแรงดัดในอายุการบ่ม 28 วัน จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ในกรณีที่ไม่มีการผสมเส้นใยปาล์มน้ำมัน การแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่นที่ร้อยละ 60 ให้ค่ากำลังรับแรงอัดมากที่สุด แต่เมื่อมีการผสมเส้นใยปาล์มน้ำมัน พบว่าปริมาณเส้นใยปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทำให้กำลังรับแรงอัดมีค่าลดลง อย่างไรก็ตาม เส้นใยปาล์มน้ำมันนั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแรงดัดอย่างมาก ทั้งค่ากำลังรับแรงดัดคงค้างและความเหนียวดัด</p> อำพล แพรสิน มาโนช สรรพกิจทิพากร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT24 MAT24 การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้จากกระบวนการแต่งแร่เฟลด์สปาร์ เพื่อทดแทนวัสดุมวลรวมชั้นรองพื้นทาง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/644 <p>บทความวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำวัสดุเหลือใช้จากการแต่งแร่เฟลด์สปาร์ (BF) มาประยุกต์ใช้เป็นส่วนผสม เพื่อทดแทนการใช้ดินลูกรังในชั้นรองพื้นทาง ในการศึกษานี้ได้กำหนดอัตราส่วนผสมซึ่งมีดินลูกรัง (S) เป็นวัสดุตั้งต้น แล้วแทนที่ด้วยวัสดุที่เหลือใช้จากการแต่งแร่เฟลด์สปาร์ (BF) ตามอัตราส่วนผสมร้อยละ 0, 10, 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80, 90 และ 100 โดยน้ำหนัก ทำการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานสำหรับใช้เป็นวัสดุชั้นรองพื้นทางของกรมทางหลวง จากการศึกษาพบว่า ทุกอัตราส่วนผสมผ่านเกณฑ์มาตรฐานสำหรับใช้เป็นวัสดุชั้นรองพื้นทางตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ยกเว้นอัตราส่วนผสมร้อยละ 100&nbsp; ในขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาค่า CBR แบบแช่น้ำในแต่ละอัตราส่วนผสมที่ผ่านเกณฑ์ พบว่ามีแนวโน้มลดลงเมื่อแทนที่วัสดุเหลือใช้จากการแต่งแร่เฟลด์สปาร์ในอัตราส่วนผสมร้อยละ 10-40 แต่กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อแทนที่ในอัตราส่วนผสมร้อยละ 50-90 โดยอัตราส่วนผสมร้อยละ 80 ให้ค่า CBR สูงสุด ที่ร้อยละ 81 เหมาะสมและสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุทดแทนชั้นรองพื้นทางตามมาตรฐานวัสดุรองพื้นทางมากที่สุด</p> ปณิธาน เต็งยะ พิชชาภรณ์ พัฒนศุภสุนทร ภูวดล พรหมชา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT25 MAT25 Sustainability Indicators Review of Hemp Shiv as Alternative Materials for the Construction Industry in Thailand https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/656 <p>ปัจจุบันกัญชงได้รับการส่งเสริมให้ปลูกในหลายพื้นที่ทั่วโลกเนื่องจากสามารถประยุกต์ใช้ส่วนต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ตามในประเทศไทยข้อจำกัดเกี่ยวกับการปลูกและใช้งานกัญชงยังอยู่ในช่วงทดลองหาความเหมาะสม ต้นกัญชงสามารถใช้งานได้ทุกส่วน โดยดอก ใบ และรากของต้นกัญชงสามารถใช้ผลิตยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และวิตามิน เป็นต้น ลำต้นให้เส้นใยที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและยังมีการทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อนำไปประยุกต์ในอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสหกรรมอื่น ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า ในประเทศที่มีการปลูกและใช้งานกัญชงในระดับอุตสาหกรรม แกน ก้านหรือเศษขนาดเล็กที่เหลือจะถูกนำมาใช้เพื่อทดแทนไม้หรือนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างในรูปแบบต่าง ๆ ได้ แต่ในประเทศไทยปริมาณวัตถุดิบในส่วนนี้หรือที่เรียกว่าเฮมพ์ไชฟ์ (Hemp shiv) ยังมีไม่มากพอรองรับอุตสาหกรรม เฮมพ์ไชฟ์ มีคุณสมบัติที่เป็นที่ต้องการของวัสดุก่อสร้างและสามารถใช้เป็นส่วนผสมแทนที่มวลรวมหยาบเช่นในเฮมพ์ คอนกรีต (Hemp Concrete) และบล๊อกเฮมพ์ หรือเรียกว่าเฮมพ์กรีต (Hemprete) ที่ผ่านมามีงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่ประเมินความสามารถของเฮมพ์กรีตและเฮมพ์คอนกรีตในการเป็นวัสดุผนัง ผลลัพท์ที่แสดงให้เห็นว่าเฮมพ์ คอนกรีตและแฮมพ์กรีตมีศักยภาพในการเป็นผนังที่รับและไม่รับแรง อย่างไรก็ตามปริมาณของแกนกัญชงที่จำเป็นในการสนับสนุน/ส่งเสริมการผลิตเชิงอุตสาหรกรรมอาจทำให้เกิดความต้องการในการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการปลูกพืชอาหารเป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ไม่สามารถบริโภคได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งให้เกิดความเสี่ยงและอาจเพิ่มความอ่อนแอในการต้านทานผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความยั่งยืนของกัญชงในฐานะวัสดุทางเลือกสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศไทย โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบผลกระทบของกัญชงเชิงอุตสาหกรรมและการทดแทนคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Offest) ผ่านตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนด้านทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ จากการทดแทนมวลรวมหยาบในผลิตภัณฑ์ด้สนเฮมพ์ ไชฟ์ รวมถึงการทำการสำรวจความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและการเพิ่มศักยภาพของการสร้างมมูลค่าเพิ่มโดยการใช้กากกัญชงในผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง</p> Teerawat Sinsiri Komchai Thaiying Pannipa Prastsoong Sanan Tangsathit Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT26 MAT26 กำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่นและอัตราส่วนปัวซองของคอนกรีตที่มีการแข็งตัวเร็ว https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/657 <p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่นและอัตราส่วนปัวซองของคอนกรีตที่มีการแข็งตัวเร็วจากเถ้าลอยแคลเซียมสูงผสมกากดินล้างและซิลิก้าฟูม โดยใช้สัดส่วนของเถ้าลอยแคลเซียมสูงต่อ<br>กากดินล้างต่อซิลิกาฟูมเท่ากับ 100:0:0, 90:10:0, 90:5:5, 80:20:0, 80:15:5, 80:10:10, 70:30:0, 70:25:5, 70:20:10 และ 70:15:15 ตามลำดับ งานวิจัยนี้ใช้สารละลายโซเดียมซิลิเกตและสารละลายโซเดียม<br>ไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 10 โมลาร์ เป็นสารละลายด่างในส่วนผสม โดยทำการทดสอบระยะเวลาการก่อตัว กำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่นและอัตราส่วนปัวซองของคอนกรีตที่มีการแข็งตัวเร็ว ผลการทดสอบ พบว่า <br>การใช้กากดินล้างแทนที่เถ้าลอยแคลเซียมสูงสำหรับการผลิตคอนกรีตที่มีการแข็งตัวเร็วช่วยชะลอระยะเวลาการก่อตัวได้ กำลังอัดและโมดูลัสยืดหยุ่นของเถ้าลอยแคลเซียมสูงจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตมีแนวโน้มลดลงตามปริมาณการใช้กากดินล้างและซิลิกาฟูม จากผลการทดสอบสามารถสรุปได้ว่า คอนกรีตที่มีการแข็งตัวเร็วจากเถ้าลอยแคลเซียมสูงผสมกากดินล้างร้อยละ 10 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนผสมควบคุม</p> สมพร งามทวี รุ่งโรจน์ อยู่รอด นราศักดิ์ แสนกล้า กริชฌากรณ์ มูลเสนา ศตคุณ เดชพันธ์ ณัฐพงศ์ ดำรงวิริยะนุภาพ ธนากร ภูเงินขำ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT27 MAT27 การศึกษาเปรียบเทียบการใช้เอฟจีดียิปซั่มและแคลเซียมซัลเฟตต่อสมบัติเชิงกลและการหดตัวแห้ง ของวัสดุอัลคาไลมอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/662 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการเปรียบเทียบผลของเอฟจีดียิปซั่มและแคลเซียมซัลเฟตต่อสมบัติเชิงกลและการหดตัวแห้งของวัสดุอัคลาไลมอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง โดยเถ้าลอยแคลเซียมสูงถูกแทนที่ด้วยเอฟจีดียิปซั่ม ร้อยละ 5 และแคลเซียมซัลเฟตร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ปริมาณการแทนที่ของเอฟจีดียิปซั่มและแคลเซียมซัลเฟตที่เลือกใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นปริมาณการแทนที่จากการศึกษาในงานวิจัยก่อนหน้าที่ทำให้ได้ค่าการหดตัวของวัสดุอัคลาไลเพสต์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูงมีค่าต่ำที่สุด สารละลายโซเดียมซิลิเกตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 10 โมลาร์ เป็นสารละลายด่างในส่วนผสม ผลการทดสอบ พบว่าการแทนที่ด้วยเอฟจีดียิปซั่ม และแคลเซียมซัลเฟตในเถ้าลอย ส่งผลต่อสมบัติของวัสดุอัคลาไลมอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง โดยการแทนที่ด้วยเอฟจีดียิปซั่มและแคลเซียมซัลเฟตในเถ้าลอยส่งผลทำให้ค่าระยะเวลาการก่อตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตามยังช่วยพัฒนากำลังรับแรงอัดของวัสดุอัลคาไล สำหรับค่ากำลังรับแรงอัดและค่ากำลังรับแรงดัดของสดุอัคลาไลมอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูงที่อายุปลายในกรณีที่มีการแทนที่ด้วยแคลเซียมซัลเฟตมีค่าลดลง สำหรับการใช้เอฟจีดียิปซั่มและแคลเซียมซัลเฟตในวัสดุอัคลาไลมอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูงส่งผลทำให้ค่าการหดตัวแห้งลดลงเมื่อเทียบกับส่วนผสมควบคุม</p> สกลวรรณ ห่านจิตสุวรรณ์ บวรรัก อินทร์จอหอ ขัตติย ชมพูวงศ์ ชุดาภัค เดชพันธ์ ศตคุณ เดชพันธ์ ธนากร ภูเงินขำ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT28 MAT28 การศึกษาเบื้องต้นของผงอัลคาไล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/687 <p>งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาวัสดุอัลคาไลผงเพื่อใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสานในงานก่อสร้าง วัสดุตั้งต้นในการผลิตวัสดุจีโอโพลิเมอร์เพสต์ประกอบด้วยเถ้าลอยและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยมีการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในเถ้าลอยร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 10 โมลาร์ และสารละลายโซเดียมซิลิเกตเป็นสารละลายอัลคาไลกระตุ้น ศึกษาอัตราส่วนสารละลายต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.4 และ 0.5 อัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 1.0 และ 2.0 ในแต่ละส่วนผสมและบ่มตัวอย่างที่อุณหภูมิ 25 และ 60 องศาเซลเซียส นำวัสดุจีโอโพลิเมอร์เพสต์ที่เตรียมได้มาบดและเรียกว่าวัสดุอัลคาไลผงเพื่อใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสานในงานวัสดุก่อสร้าง สำหรับวัสดุเชื่อมประสานในงานก่อสร้างประกอบด้วยวัสดุอัลคาไลผง ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และซิลิกาฟูม โดยมีการแทนที่วัสดุอัลคาไลผงด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และซิลิกาฟูมที่ร้อยละ 40 และ 10 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ตามลำดับ ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2 โมลาร์กับน้ำโดยกำหนดให้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.45 ในทุกส่วนผสมและบ่มตัวอย่างที่อุณหภูมิห้อง</p> <p>จากผลการศึกษาค่ากำลังอัดของของวัสดุจีโอโพลิเมอร์เพสต์พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณการแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในวัสดุประสาน และผลการศึกษาค่าระยะเวลาก่อตัวของวัสดุอัลคาไลผง พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในวัสดุจีโอโพลิเมอร์เพสต์ ส่งผลทำให้วัสดุอัลคาไลผงมีการก่อตัวที่รวดเร็ว และเมื่อเพิ่มอุณหภูมิการบ่มของวัสดุจีโอโพลิเมอร์เพสต์เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้วัสดุอัลคาไลผงมีการก่อตัวที่ต่ำลง จากผลการศึกษาข้างต้นจะเป็นข้อมูลในการพัฒนาวัสดุอัลคาไลผงในงานวัสดุก่อสร้างต่อไป</p> กรกนก จอยนอก ขัตติย ชมพูวงศ์ ชุดาภัค เดชพันธ์ ศตคุณ เดชพันธ์ สกลวรรณ ห่านจิตสุวรรณ์ ธนากร ภูเงินขำ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT29 MAT29 ความสามารถทำงานได้และกำลังอัดของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง ผสมปูนซีเมนต์และเถ้าปาล์มน้ำมัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/693 <p>บทความนี้เป็นการศึกษาความสามารถทำงานได้และกำลังอัดของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูงผสมปูนซีเมนต์และเถ้าปาล์มน้ำมัน โดยการแทนที่ปูนอินทรีทองในเถ้าลอยร้อยละ 0, 20 และ 20 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน และการแทนที่เถ้าปาล์มน้ำมันในเถ้าลอยร้อยละ 0, 0 และ 40 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน และใช้สารกันซึมเป็นสารผสมเพิ่มในอัตราส่วนร้อยละ 0, 0.5, 1, 1.5 และ 2 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน การศึกษาใช้สารละลายโซเดียมซิลิเกตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 10 โมลาร์ เป็นสารละลายด่างในการทำปฏิกิริยา โดยใช้อัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 1.0 อัตราส่วนของทรายต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.5 และ 1.0 และบ่มที่อุณหภูมิห้องทุกอัตราส่วนผสมผลการทดสอบพบว่าปริมาณการแทนที่ปูนอินทรีทองที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้กำลังรับแรงอัดของจีโอโพลิเมอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการแทนที่เถ้าปาล์มน้ำมันในเถ้าลอยทำให้ระยะเวลาการก่อตัวของจีโอโพลิเอมร์เพิ่มขึ้น</p> ปัทมาวดี แก้วระวัง ทศพร ศรีคำมา ธนากร ภูเงินขำ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT30 MAT30 จีโอโพลิเมอร์บล๊อกปูพื้นจากเถ้าถ่านหินและเถ้าปาล์มน้ำมัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/698 <p>งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการทดลองผลิตจีโอโพลิเมอร์บล๊อคปูพื้นจากเถ้าถ่านหินและเถ้าปาล์มน้ำมัน โดยปรับปรุงคุณภาพเถ้าปาล์มน้ำมันด้วยการบดแบบควบคุมเวลาที่ 15 นาที ใช้อัตราส่วนเถ้าถ่านหินต่อเถ้าปาล์มน้ำมันในอัตราส่วน 90:10 80:20 70:30 60:40 50:50 และ 40:60 โดยน้ำหนัก ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 14 โมลาร์ แล้วนำไปทดสอบกำลังรับแรงอัดที่อายุการบ่ม 7 14 28 และ 60 วัน และเลือกส่วนผสมที่ใช้ให้ค่ากำลังอัดในช่วง 20 – 40 กก./ตร.ซม. และใช้ปริมาณเถ้าปาล์มน้ำมันมากที่สุด เพื่อผลิตจีโอโพลิเมอร์บล๊อกทางเท้าที่มีอัตราส่วนวัสดุประสานต่อหินฝุ่น เท่ากับ 1:3 1:5 และ 1:7 โดยน้ำหนัก อัดขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดบล๊อคให้มีขนาด 30x30x5 ซม. ทดสอบกำลังอัดและค่าการดูดซึมน้ำของจีโอโพลิเมอร์บล๊อกปูพื้น พบว่า เถ้าปาล์มน้ำมันสามารถแทนที่เถ้าถ่านหินได้ถึงร้อยละ 50 มีค่ากำลังอัดที่อายุ 7 วัน เท่ากับ 21 กก./ตร.ซม. และเมื่อทดสอบสมบัติของบล๊อคจีโอโพลิเมอร์ปูทางเท้า พบว่า อัตราส่วนวัสดุประสานต่อหินฝุ่น เท่ากับ 1:5 โดยน้ำหนักให้ค่ากำลังอัดสูงที่สุด เท่ากับ 273 และ 438 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 7 และ 28 วัน ตามลำดับ และมีค่าการดูดกลืนน้ำต่ำที่สุด เท่ากับร้อยละ 11.7 ที่อายุ 28 วัน</p> รัฐพล สมนา ประชุม คำพุฒ ธีรพล เสาวพันธ์ เกียรติสุดา สมนา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT31 MAT31 การประเมินกำลังและการหดตัวของคอนกรีตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ทําจากมวลรวมรีไซเคิลและใช้ เถ้าก้นเตาร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียดเป็นวัสดุประสาน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/703 <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่น และการหดตัวของคอนกรีตที่ใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียด (GBA) ร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียด (GCR) เป็นวัสดุประสานในอัตราส่วน 70:30 โดยน้ำหนัก และใช้มวลรวมหยาบจากการย่อยเศษคอนกรีตแทนที่มวลรวมหยาบจากธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ปูนซีเมนต์และหินย่อยจากธรรมชาติ และใช้สารละลายด่างเป็นตัวเร่งปฎิกิริยา คือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ในอัตราร้อยละ 0, 0.5, 1 และ 3 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.30 และปริมาณวัสดุประสานเท่ากับ 550 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ผลการทดสอบพบว่าคอนกรีตที่ทำจากวัสดุประสานที่ใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียดผสมร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียด (CBN) มีการพัฒนากำลังอัดที่ช้ากว่าคอนกรีตทั่วไปที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัสดุประสาน แต่เมื่อใช้สารละลายโซเดียม&nbsp;&nbsp;&nbsp; ไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา คอนกรีตที่ใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียดร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียด และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในอัตราร้อยละ 1 (CB1N) มีกำลังอัดที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 34.8 เมกะปาสคาล ซึ่งใกล้เคียงกับคอนกรีต CT ที่ทำจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ปริมาณปูนซีเมนต์ 400 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และใช้มวลรวมหยาบจากธรรมชาติ &nbsp;นอกจากนี้คอนกรีตที่ทำจากวัสดุประสานที่ได้จากเถ้าก้นเตาบดละเอียดผสมร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียด และใช้มวลรวมหยาบจากเศษคอนกรีตส่งผลให้ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตลดลงเมื่อเทียบกับคอนกรีต CT การใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียดผสมร่วมกับกากแคลเซียมคาร์ไบด์บดละเอียดเป็นวัสดุประสานสามารถลดการหดตัวของคอนกรีตได้เมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีต CT &nbsp;</p> ปิ่นพงศ์ กันหาลา วีรชาติ ตั้งจิรภัทร ชัย จาตุรพิทักษ์กุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 MAT32 MAT32 การศึกษาความสูงและความเร็วการบินถ่ายภาพ ที่มีผลต่อความถูกต้องในการทำแผนที่ด้วยด้วยอากาศยานไร้คนขับ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/196 <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความถูกต้องของการทำแผนที่ด้วยภาพถ่ายทางอากาศโดยศึกษาผลกระทบของความสูงบิน และความเร็วที่ใช้ในการบินถ่ายภาพด้วยอากาศยานไร้คนขับราคาถูก&nbsp; โดยทำการบินถ่ายภาพเหนือพื้นที่บ่อฝังกลบขยะมูลฝอยขนาด 10 ไร่ มีรูปแบบการบิน 4 กรณี คือ การบินแบบเคลื่อนที่พร้อมถ่ายภาพและแบบหยุดนิ่งเพื่อถ่ายภาพแต่ละรูปแบบกำหนดความสูงบินให้มีความละเอียดของจุดภาพที่ 3.5 และ 5 ซม./จุดภาพ กำหนดการซ้อนทับของภาพด้านหน้าและด้านข้าง 80% และ 75% ตามลำดับ ใช้จุดควบคุมภาพและจุดตรวจสอบจำนวน 5 และ 15 จุดตามลำดับ โดยใช้การรังวัดดาวเทียมแบบจลน์ในการหาค่าพิกัดของจุดดังกล่าว จากนั้นทำการประมวลผลด้วยโปรแกรม Agisoft Photoscan Professional V.1.4.4 เพื่อสร้างความหนาแน่นของจุดระดับสำหรับแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข และภาพถ่ายดิ่งจริง งานวิจัยนี้ใช้ค่า RMSE ในการประเมินความถูกต้องทั้งทางราบและทางดิ่ง โดยใช้มาตรฐาน ASPRS 2014 ในการระบุชั้นคุณภาพของงาน จากการคำนวณพบว่า รูปแบบการบินที่ให้ค่าความถูกต้องดีที่สุดคือ การบินถ่ายภาพแบบหยุดนิ่งเพื่อถ่ายภาพที่ความละเอียดของจุดภาพ 5 ซม./จุดภาพ สามารถผลิตภาพถ่ายดิ่งจริง สำหรับใช้ในงานที่มีความละเอียดสูงสุดได้ และให้ผลความถูกต้องทางดิ่งอยู่ในชั้นความถูกต้องทางดิ่งที่ 5 ซม.</p> ปาริชาต สุขนาค นพรุจ เพชรทอง อภิสิทธิ์ ภาสดา คมศิลป์ วังยาว ธีระ ลาภิศชยางกูล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI01 SGI01 การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศจากการสำรวจ ด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่องานวิศวกรรมในการสร้างแบบจำลองสิ่งปลูกสร้าง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/441 <p>การสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่องานวิศวกรรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น การทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสร้างแบบจำลอง 3 มิติ และแบบรูปด้านหน้าเฉพาะส่วนของอุโบสถวัดคูเต่า ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยการบินสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งผลที่ได้จะอยู่ในรูปของการประเมินค่าความถูกต้องแบบจำลอง 3 มิติ เหตุผลที่เลือกพื้นที่ศึกษาวัดคูเต่า เนื่องจากต้องการสร้างแบบจำลองสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานได้ โดยการประเมินค่าความถูกต้องแบบจำลอง 3 มิติ จะนำมาเปรียบเทียบระยะที่วัดด้วยกล้อง total station ผลลัพธ์ที่ได้อยู่ในเกณฑ์งานก่อสร้างทางวิศวกรรม</p> รจณา คูณพูล พรนรายณ์ บุญราศรี สมใจ หมื่นจร ปวิตร ฏิระวณิชย์กุล จิรวัฒน์ จันทองพูน Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI02 SGI02 การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงและการคาดการณ์ การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน โดยใช้แบบจำลอง CA-MARKOV https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/459 <p class="Contentnew"><span lang="TH">เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองเชิงพื้นที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินการเปลี่ยนแปลงและการคาดการณ์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในปัจจุบัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินจากข้อมูลดาวเทียม ติดตามการเปลี่ยนแปลงและคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในอนาคต วิธีการศึกษาเริ่มจากการจำแนกข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในปี 25</span>60, 2561 <span lang="TH">และ </span>2562<span lang="TH"> จากข้อมูลดาวเทียม </span>Sentinel-2A<span lang="TH"> จากนั้นทำการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในระหว่างปี พ.ศ. </span>2560-2562 <span lang="TH">หลังจากนั้นใช้แบบจำลอง </span>CA-MARKOV <span lang="TH">คาดการณ์และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินที่จะเกิดขึ้นในปี </span>2563 <span lang="TH">ผลการศึกษาพบว่า การทดสอบแบบจำลองที่ใช้ในการคาดการณ์มีค่าความถูกต้องโดยรวมร้อยละ </span>80.46 <span lang="TH">และค่าสัมประสิทธิ์แคปปาร้อยละ </span>76.70 <span lang="TH">ผลการตรวจสอบเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในปี 2563 มีพื้นที่เกษตรกรรม ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และแหล่งน้ำ เพิ่มขึ้น เท่ากับ 6</span>,<span lang="TH">00</span>9 <span lang="TH">ไร่</span>, 287 <span lang="TH">ไร่ และ </span>716 <span lang="TH">ไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่เบ็ดเตล็ดมีพื้นที่ลดลง เท่ากับ </span>5,687 <span lang="TH">ไร่ และ </span>1,326 <span lang="TH">ไร่ ตามลำดับ การบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกับแบบจำลองเชิงพื้นที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงและการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ</span></p> ติณณ์ ถิรกุลโตมร วิลาวัณย์ ประสมทรัพย์ อธิวัฒน์ ภิญโญยาง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI03 SGI03 การศึกษารูปแบบของจุดควบคุมภาพที่มีผลต่อความถูกต้องของแผนที่ จากการรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/477 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและจำนวนของจุดควบคุมภาพที่ส่งผลต่อความถูกต้องเชิงตำแหน่งในการทำแผนที่บ่อฝังกลบขยะมูลฝอยแบบถูกหลักสุขาภิบาลของเทศบาลนครนครปฐม ขนาด 33 ไร่ ในการศึกษาได้กำหนดจุดควบคุมภาพและจุดตรวจสอบ ทั้งหมด 37 จุด กำหนดค่าความละเอียดของจุดภาพบนพื้นดิน (Ground Sample Distance, GSD) เท่ากับ 5 ซม./จุดภาพ การซ้อนทับภาพด้านหน้าและด้านข้างเท่ากับร้อยละ 80 และ 75 ตามลำดับ โดยกำหนดรูปแบบจุดควบคุมภาพออกเป็น 6 แบบ ได้แก่ การกระจายตัวแบบขอบ แบบส่วนกลาง แบบมุม แบบแบ่งครึ่ง แบบไขว้ และแบบกริด จากการประมวลผลด้วยโปรแกรม Agisoft PhotoScan Professional V.1.4.4 เพื่อสร้างความหนาแน่นของจุดภาพ แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข และภาพถ่ายดิ่ง พบว่าในภาพรวมการกระจายตัวแบบกริดให้ความถูกต้องในแนวราบและแนวดิ่งได้ดีที่สุด จากนั้นทำการศึกษาจำนวนจุดควบคุมภาพที่เหมาะสมตั้งแต่ 4, 6, 8, 10, 12, 14, และ 16 จุด ผลการศึกษาพบว่าความถูกต้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อจำนวนจุดควบคุมภาพเพิ่มขึ้น และเริ่มคงที่เมื่อจุดควบคุมภาพตั้งแต่ 8 จุด สำหรับแนวราบและแนวดิ่ง โดยเมื่อเทียบกับมาตรฐาน ASPRS 2014 พบว่าภาพถ่ายดิ่งจริงที่ได้สามารถนำไปใช้สำหรับงานที่มีความถูกต้องสูงสุดได้และให้ผลความถูกต้องทางดิ่งของแบบจำลองระดับสูงเชิงเส้นอยู่ในชั้นความถูกต้องทางดิ่งที่ 5 ซม.</p> รัฐภูมิ ตั้งภูมิจิต สราวุธ ส่งแสง อภิสิทธิ์ ภาสดา คมศิลป์ วังยาว ธีระ ลาภิศชยางกูล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI04 SGI04 การประยุกต์ใช้ระบบกล้องชุดถ่ายภาพเฉียงบนอากาศยานไร้คนขับเพื่อรังวัดวัดรอยพิมพ์ฐานอาคาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/491 <p>บทความนี้นำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายเฉียงที่ได้จากระบบกล้องชุดถ่ายภาพเฉียงติดตั้งบนอากาศยานไร้คนขับชนิด VTOL (Vertical Take-off and Landing) เพื่อรังวัดรอยพิมพ์ฐานอาคารสำหรับงานออกแบบทางด้านวิศวกรรมโยธาและการวางผังเมือง โดยระบบกล้องชุดถ่ายภาพเฉียงประกอบด้วยกล้องถ่ายภาพจำนวน 2 กล้องวางตัวเฉียงกับแนวดิ่งและแนวบินถ่ายภาพ กล้องทั้งสองถูกโยงยึดไว้ด้วยอุปกรณ์แท่นยึดกล้อง (Camera-Rig) โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงการเลื่อนที่ (Translation) และการหมุน (Rotation) ที่สัมพัทธ์ต่อกัน ทำการบินถ่ายภาพแบบกริดตามหลักการทางโฟโตแกรมเมตรีโดยมีส่วนซ้อนด้านหน้า (Front Overlap) 80% และส่วนซ้อนด้านข้าง (Side Overlap) 60% และบันทึกภาพทั้งสองกล้องพร้อมกัน&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า การรังวัดรอยพิมพ์ฐานอาคารจากภาพถ่ายเฉียงที่ได้ มีความถูกต้องใกล้เคียงกับวิธีรังวัดภาคพื้นดินด้วยกล้องสำรวจแบบประมวลผลรวม (Total Station) และมีความถูกต้องเพียงพอที่จะแสดงผลบนแผนที่มาตราส่วน 1:1,000 ไปจนถึงแผนที่มาตราส่วนที่เล็กกว่า</p> จเด็จ ไพศาลสิทธิกานต์ ไพศาล สันติธรรมนนท์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI05 SGI05 การสร้างแผนที่น้ำท่วมโดยใช้แหล่งข้อมูลเปิดและซอฟต์แวร์รหัสเปิด https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/493 <p>งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอวิธีการประมวลผลข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเปิดด้วยซอฟต์แวร์รหัสเปิดเพื่อหาพื้นที่ขอบเขตน้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานี และนำมาใช้เป็นชั้นข้อมูลภัยพิบัติจากน้ำท่วมเพื่อทำการทดสอบการประมวลผลข้อมูลแลนด์สแกน (Landscan) ซึ่งเป็นข้อมูลการกระจายตัวของประชากรที่มีความละเอียดสูง โดยสร้างมาจากแบบจำลอง Dasymetric หรือการทำแผนที่ด้วยวิธีแบบละเอียด ที่ใช้ในการประมาณค่าความหนาแน่นของประชากร และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับข้อมูลจำนวนประชากรของกรมการปกครองในการหาจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ตลอดจนการค้นหาพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายสูงสุดจากน้ำท่วมโดยใช้ดาวเทียมเซนทิเนลวัน (Sentinel-1) จากสหภาพยุโรป ซึ่งสามารถดาวน์โหลดข้อมูลพื้นที่ประสบภัยมาทำการวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิด เช่นโปรแกรม SNAP และ QGIS เป็นต้น ในการทำงานร่วมกัน ทำให้สามารถประมวลผลทุกขั้นตอนได้โดยไม่มีอุปสรรคทางข้อจำกัดในด้านซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ สำหรับผลลัพธ์ที่ได้คือพื้นที่น้ำท่วมสูงสุดของจังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562 มีพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 346.70 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 216,688.13 ไร่ และผลการวิเคราะห์ของวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562 เปรียบเทียบกับข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมที่วิเคราะห์โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ จะมีพื้นที่แตกต่างกันอยู่ที่ประมาณ 20.40 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 12,750 ไร่ จากนั้นเมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนประชากรในจังหวัดอุบลราชธานีที่ประมวลผลโดยใช้ข้อมูลแลนด์สแกน (Landscan) จะได้จำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,615,388&nbsp; คน เมื่อนำมาวิเคราะห์จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบจากพื้นที่น้ำท่วมคิดเป็นร้อยละ 37.14 ของจำนวนประชากรทั้งจังหวัด โดยมีความคลาดเคลื่อนจากการ เปรียบเทียบกับข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อยู่ที่ร้อยละ 13 นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำวิจัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหาแนวโน้มของพื้นที่น้ำท่วมเพื่อเตรียมการป้องกัน การเฝ้าระวังหรือทำการอพยพประชากรได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดการเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง แต่การใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเปิดนั้นจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำไปใช้จริง เพื่อให้การประเมินสถานการณ์อยู่ในระดับความคลาดเคลื่อนที่สามารถยอมรับได้</p> ภัทรรุตม์ สุขพานิช กัญจน์ อัศวพิภพไพศาล สุณัฐชา จันทร์พิศาล กัญญาวี สุขยิ่ง อนุเผ่า อบแพทย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI06 SGI06 การสร้างแบบจำลองสามมิติเพื่อหาปริมาตรของต้นไม้โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ กรณีศึกษาต้นฟ็อกเทล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/494 <p>การวิจัยนี้แสดงผลการศึกษาและทดสอบขั้นตอนการรังวัดและสำรวจภาพถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) ร่วมกับการประมวลผลด้วยโปรแกรมประยุกต์รหัสเปิด Open Drone Map เพื่อสร้างแบบจำลองสามมิติเพื่อหาปริมาตรของต้นไม้โดยใช้ต้นฟ็อกเทลเป็นกรณีศึกษา โดยเปรียบเทียบค่าปริมาตรที่ได้ระหว่างซอฟต์แวร์รหัสเปิด Open Drone Map กับ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ Agisoft Photoscan จากนั้นทำการเก็บข้อมูลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกและความสูงของต้นฟ็อกเทลโดยใช้กล้องวัดมุม Theodolite เพื่อใช้ในการประเมินความถูกต้องที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับและเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับการวัดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ความสูงระดับอก จากการวิจัยหาปริมาตรของต้นฟ็อกเทล พบว่าปริมาตรของต้นฟ็อกเทลที่ได้จากซอฟต์แวร์รหัสเปิด Open Drone Map เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ Agisoft Photoscan มีเปอร์เซ็นความแตกต่างกันเท่ากับ 0.008 ลูกบาศก์เมตรหรือ +2.52 % ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกัน จึงสามารถใช้ค่าจากซอฟต์แวร์รหัสเปิด Open Drone Map ได้ เมื่อเปรียบเทียบการใช้กล้องวัดมุม Theodolite มีเปอร์เซ็นความแตกต่างจากซอฟต์แวร์รหัสเปิด Open Drone Map อยู่ที่ 0.003 ลูกบาศก์เมตรหรือ +1.33 % ดังนั้นในการหาปริมาตรของต้นไม้ชนิดอื่นก็สามารถนำวิธีการที่นำเสนอไปประยุกต์ใช้ทดแทนการสำรวจต้นไม้ในสนามแบบเดิม เนื่องจากอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก มีความละเอียดสูงและมีความสะดวกรวดเร็วในการเก็บข้อมูล และยังสามารถนำไปใช้งานในการหาปริมาตรหรือพื้นที่ในงานวิศวกรรมด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย</p> พลพจน์ เอี่ยมสอาด วิชญ์ภาส อภิญญารัตน์ เสฏฐวุฒิ แจ้งจั่น ไพรัช ชูเลิศ อนุเผ่า อบแพทย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI07 SGI07 การหาค่าระดับสูงของหมุดระดับตามถนนทางหลวงชนบทเลียบชายฝั่งตะวันตก จังหวัดชุมพรด้วยวิธีโครงข่ายดาวเทียม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/509 <p>การหาค่าระดับสูงเหนือระดับทะเลปานกลางโดยวิธีการรังวัดด้วยโครงข่ายดาวเทียมGNSSได้ถูกนำมาใช้แทนที่วิธีการหาระดับสูงแบบดั้งเดิมภายหลังจากได้มีโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทยโดยที่โครงการอยู่ห่างจากหมุดระดับชั้นที่ 1 ของกรมแผนที่ทหารประมาณ 20 กิโลเมตร ได้มีการสร้างหมุดระดับจำนวน 17 หมุด ห่างกันประมาณ 500 เมตร ตามข้างถนนทางหลวงชนบทเลียบชายฝั่งตะวันตก จังหวัดชุมพร ได้มีการรังวัดหาค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของหมุดชั่วคราวที่สร้างไว้ใกล้เคียงกับหมุดระดับด้วยวิธีสถิตย์ใช้เทคนิคการรังวัดแบบสัมพัทธ์โดยการรังวัดพร้อมกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง คำนวณหาค่ายีออยด์อันดูเลชันจากTGM2017 แล้วคำนวณหาค่าระดับสูงด้วยวิธีโครงข่ายดาวเทียมและได้มีการรังวัดหาค่าระดับของสูงหมุดระดับด้วยวิธีการระดับแบบครบวงจรโดยการอ่านสามสายใย การหาค่าระดับสูงของหมุดระดับวิธีโครงข่ายดาวเทียมมีความถูกต้องดีกว่าหรือเท่ากับ12 mm√K หรือเกณฑ์งานระดับชั้นที่ 3 และทำงานได้รวดเร็วกว่าการหาค่าระดับสูงเหนือระดับทะเลปานกลางแบบการระดับสำหรับพื้นที่โครงการนี้</p> ประกอบ มณีเนตร ธนศักดิ์ วิศรี ธีรพงษ์ ฉวีราช ภุชงค์ วงษ์เกิด รณชัย บำเพ็ญอยู่ กฤษฎา มณีเนตร อรุณยุพา บัวทรัพย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI08 SGI08 เปรียบเทียบการหาค่าระดับสูงระหว่างวิธีรังวัดโครงข่ายดาวเทียมและวิธีการระดับตามลำแม่น้ำยม จังหวัดแพร่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/512 <p>จากการได้มีโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทยการหาค่าระดับสูงโดยวิธีการรังวัดโครงข่ายดาวเทียมได้ถูกนำมาใช้แทนที่วิธีการระดับแบบดั้งเดิมในโครงการนี้ได้มีการสร้างหมุดถาวรจำนวน 6 หมุดบนสะพานและบนดินตามลำแม่น้ำยม อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้มีการรังวัดหาค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของหมุดถาวรด้วยวิธีสถิต โดยใช้เทคนิคการรังวัดแบบสัมพัทธ์โดยการรังวัดพร้อมกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง คำนวณหาค่ายีออยด์อันดูเลชันจากTGM2017 แล้วคำนวณหาค่าระดับสูงด้วยวิธีโครงข่ายดาวเทียมได้มีการรังวัดหาค่าระดับสูงด้วยวิธีการระดับโดยกล้องระดับแบบดิจิทัลเมื่อเปรียบเทียบค่าระดับสูงที่ได้จากการรังวัดทั้งสองวิธี ค่า RMSE จากการหาค่าระดับสูงวิธีโครงข่ายดาวเทียมGNSS ให้ผลเท่ากับหรือดีกว่า 12 mm√K หรือเกณฑ์งานระดับชั้นที่ 3 การหาค่าระดับวิธี GNSS จึงดีกว่าการหาค่าระดับสูงแบบการระดับสำหรับพื้นที่โครงการนี้</p> ประกอบ มณีเนตร ภุชงค์ วงษ์เกิด รณชัย บำเพ็ญอยู่ กฤษฎา มณีเนตร อรุณยุพา บัวทรัพย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI09 SGI09 การสำรวจและทำแผนที่เพื่อออกแบบและการลงตำแหน่งก่อสร้างอาคารโรงโม่สุราษฎร์ผาทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/514 <p>ในโครงการได้มีการสร้างหมุดควบคุมทางราบและหมุดควบคุมทางดิ่งจำนวน สี่ หมุดกระจายในพื้นที่โครงการโดยโยงยึดกับหมุดหลักฐานของกรมทางหลวงชนบทจำนวน สอง หมุดมีความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ Order C1-II ของ FGCC1989 ได้ทำแผนที่โดยการบินถ่ายภาพด้วยอากาศยานไร้คนขับและใช้โปรแกรม Pix 4D. ในการประมวลผลค่าพิกัดและระดับของวัตถุและพื้นดินหาได้จากภาพออร์โธ และหาโดยRobotic Total Station และวิธีRTKจากการตรวจสอบความถูกต้องแผนที่จำนวน 9 จุดแผนที่มีความถูกต้องเทียบเท่าแผนที่มาตราส่วน 1: 500ตามมาตรฐาน วสท. และASPRS โดยความถูกต้องแผนที่มีระดับความเชื่อมั่น 95% และได้มีการลงตำแหน่งอาคารตามพิกัดที่ได้ออกแบบไว้จำนวน 11 จุดที่ระดับความเชื่อมั่น 95%ตามมาตรฐานวสท. และตามมาตรฐาน FGDC</p> ประกอบ มณีเนตร ภุชงค์ วงษ์เกิด รณชัย บำเพ็ญอยู่ กฤษฎา มณีเนตร อรุณยุพา บัวทรัพย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI10 SGI10 การเปรียบเทียบค่าระดับสูงที่รังวัดด้วยดาวเทียมกับค่าระดับสูงของหมุดกรมแผนที่ทหาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/515 <p>การหาระดับสูงเหนือทะเลปานกลางของจุดต่างๆจากรังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSSโดยคำนวณจากความสัมพันธ์ระหว่างความสูงเหนือทรงรีและความสูงจีออยด์ ซึ่งความสูงจีออยด์หาได้จากแบบจำลอง TGM2017 โครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทย โครงการนี้อยู่บริเวณ ตำบล เขาน้อย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี โดยได้มีการรังวัดหาค่าระดับสูงวิธีดาวเทียม GNSS ที่หมุดระดับชั้นที่ 1 กรมแผนที่ทหารจำนวน 6 หมุด ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการ เมื่อเปรียบเทียบค่าระดับสูงที่ได้จากการรังวัดทั้งสองวิธีได้ค่าRMSE เท่ากับ 0.023 เมตร ซึ่งดีกว่า 12 มม√K หรือเกณฑ์งานระดับชั้นที่ 3 การหาค่าระดับสูงวิธีดาวเทียม GNSS ใช้เวลาทำงานได้รวดเร็วกว่า และค่าใช้จ่ายน้อยกว่าวิธีการระดับ</p> ประกอบ มณีเนตร ภุชงค์ วงษ์เกิด สาคร เชื่อมั่น ปฏิภาณ เชื่อมั่น บุรินทร์ ทับสายทอง สุทธิโชค หิรัตพรม อรุณยุพา บัวทรัพย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI11 SGI11 การประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่อการสำรวจรังวัดปริมาตรหิน บริเวณเหมืองหินเขาบันไดนางศิลา จังหวัดสงขลา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/611 <p>บทความนี้นำเสนอการศึกษาเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสำรวจด้วยการรังวัดภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับหรือ UAVs ขนาดเล็กสำหรับการสำรวจเพื่อหาปริมาตรหินในเหมืองหิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้การประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศจาก UAVs รังวัดปริมาตรหินและเปรียบเทียบปริมาตรหินจากผลการประมวลผลภาพถ่ายฯ จากจำนวนจุดควบคุมภาคพื้นดินที่แตกต่างกัน รังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS วิธี NRTK พื้นที่ศึกษาเหมืองหินเขาบันไดนาง จังหวัดสงขลา บินถ่ายภาพที่ความสูงบิน 120 ม. จำนวน 250 ภาพ ขนาดจุดภาพ 3.38 ซม. ผลการรังวัดภาพถ่ายฯ ค่าความคลาดเคลื่อนของปรับแก้บล็อค 0.138 จุดภาพ ผลการคำนวณปริมาตรหิน แบบไม่ใช้จุดควบคุมภาคพื้นดินคิดเป็นปริมาตรได้ 1,100,405.80 ลบ.ม. จุดควบคุม 1 จุด 1,194,680.07 ลบ.ม. จุดควบคุม 2 จุด 1,194,893.64 ลบ.ม. จุดควบคุม 3 จุด 1,194,701.21 ลบ.ม.จุดควบคุม 4 จุด 1,194,099.52 ลบ.ม. และแบบวิธีการใช้จุดวบคุม ตามมาตรฐาน 5 จุด คิดปริมาตรได้ 1,765,878.93 ลบ.ม. จุดควบคุม 6 จุด 1,765,801.67 ลบ.ม.</p> ต่อลาภ การปลื้มจิตร วีระวัฒน์ เกตุทอง ณัฐวุฒิ พูลภักดี ศุภกิตติ์ พรหมเมศร์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI12 SGI12 การสำรวจผลกระทบพายุปาบึก ในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง ระบบหาด E5-RYG https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/636 <p>แนวชายฝั่งทะเลประเทศไทยความยาวประมาณ 3,151 กม. ซึ่งจากข้อมูลรายงานสถานภาพชายฝั่งทะเล พ.ศ. 2560 โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่า ประเทศไทยยังคงมีพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งประมาณ 145.73 กม. การแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลชายฝั่งที่ชัดเจน เพื่อใช้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ งานวิจัยนี้จึงได้มีการสำรวจรังวัด จัดทำเส้นแนวชายฝั่ง และภาพตัดขวางชายหาด เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งในแต่ละช่วงฤดูกาล โดยใช้การรังวัดระบบเครือข่ายดาวเทียมแบบจลน์ (RTK) ด้วยการหาค่าโดยระบบดาวเทียม (GNSS) ในพื้นที่ระบบหาด E5-RYG (มาบตาพุด-แม่รำพึง,ก้นอ่าว) และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลกระทบจากคลื่นพายุซัดฝั่ง เปรียบเทียบเส้นแนวชายฝั่งระหว่าง 2 ช่วง จากช่วงก่อนและหลัง พายุปาบึก จากผลการศึกษาพบว่า มีพื้นที่ชายฝั่งสะสมตัว 0.005 ตร.กม. และมีพื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง 0.048 ตร.กม. จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ควรมีการเฝ้าระวัง และติดตามสถานภาพชายฝั่งในระยะยาว เพื่อวางแผน และมาตรการในการรองรับภัยพิบัติในอนาคต</p> สุภวรรณ วรรณนุช สรวิศ สุภเวชย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 SGI13 SGI13 แผนที่ 3 มิติ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/646 <p>การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ภายในโรงเรียน นับเป็นปัญหาสำคัญของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น หากนักเรียนคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุต่อนักเรียนในการเดินทางในโรงเรียนได้ ด้วยเหตุนี้นักเรียนจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนให้คุ้นเคยกับเข้าใจในตำแหน่งและทิศทางของอาคารและสิ่งสำคัญต่าง ๆ ภายในโรงเรียนจะช่วยให้นักเรียนสามารถเดินทางไปในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ภายในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง</p> <p>งานวิจัยนี้เป็นการทดสอบตัวแปรการรับรู้เชิงสัมผัส เพื่อสร้างแผนที่ 3 มิติของอาคารภายในโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นฝึกให้นักเรียนเข้าใจถึงสัญลักษณ์ และรายละเอียดในแผนที่ ท้ายสุดได้ทดสอบนักเรียนโดยการเดินตามแผนที่ไปยังสถานที่ที่กำหนด และทำการตอบแบบสอบถามโดยการสัมภาษณ์ตามหัวข้อการศึกษา 7 หัวข้อ</p> <p>ผลที่ได้แสดงดังนี้</p> <ol> <li class="show">ความพึงพอใจในการใช้งานแผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 86%</li> <li class="show">ความสะดวกในการใช้แผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 84%</li> <li class="show">ความเข้าใจในรายละเอียดของแผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 86%</li> <li class="show">ความเหมาะสมของสัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 86%</li> <li class="show">ความเหมาะสมของขนาดแผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 76%</li> <li class="show">ความเหมาะสมของวัสดุที่ใช้ในแผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 76%</li> <li class="show">ประโยชน์ที่ได้รับในชีวิตประจำวันจากแผนที่ 3 มิติมีคะแนนเฉลี่ย 84%</li> </ol> <p>จะเห็นได้ว่าโดยรวมแล้วแผนที่3มิติสามารถใช้งานได้ดี และยังนำไปใช้ในการเรียนการสอนในวิชาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนตาบอดด้วยการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และการเคลื่อนไหว</p> ภาณุ อุทัยศรี แววพลอย ศรีมณี ณัฐพล เพชรนาค สันติชัย นำพลสัก Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI14 SGI14 การพัฒนาระบบและเทคนิคการสอบเทียบเพื่อจัดทำแผนที่ 3 มิติความถูกต้องสูง ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/648 <p>บทความนี้นำเสนอนำเสนอการพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจจัดทำแผนที่ 3 มิติแบบเคลื่อนที่ และเทคนิคการสอบเทียบระบบ โดยใช้กล้อง Total Station, terrestrial Laser Scanner และ Computer Measuring Machine (CMM) เพื่อให้ได้ค่า Lever Arm และ Bore-Sight ของระบบที่มีความถูกต้องสูงเมื่อเปรียบเทียบกับจุดศูนย์กลางของระบบ จากนั้นจัดทำ Ground Control Point (GCP) บนพื้นที่ทดสอบด้วยกล้อง Total Station จากนั้นวิ่งทดสอบระบบ MMS ในพื้นที่ทดสอบที่เตรียมจุดควบคุมไว้และนำข้อมูลไปประมวลผลโดยโปรแกรม Qinertial โดยใช้ค่า Lever Arm และ Bore-Sight ที่ได้จากการสอบเทียบข้างต้น จะได้ข้อมูล 2 ส่วนคือ ภาพถ่าย 360 องศา และข้อมูล Point Cloud ซึ่งนำมาเปรียบเทียบกับ GCP ที่ทำไว้ ได้ผลการเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนทางราบ ±5 เซนติเมตร และทางดิ่ง ±7 เซนติเมตร ที่ระยะ 15 เมตรจากจุดเปิดถ่าย</p> ณัฐกิตติ์ เสงี่ยม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI15 SGI15 การประมาณค่าปริมาณการใช้น้ำของข้าวแบบนาหว่านน้ำตมในเขตพื้นที่ชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/659 <p>ปริมาณการใช้น้ำของพืชเป็นองค์ประกอบข้อมูลหนึ่งที่สำคัญในการวางแผนการจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชลประทานเพื่อให้มีความเหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุนและมีประสิทธิภาพ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการประมาณค่าปริมาณการใช้น้ำของข้าวแบบนาหว่านน้ำตม (ET) ในเขตชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีผลต่างพืชพรรณแบบนอร์มอลไลซ์ (NDVI) ที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 กับค่าสัมประสิทธิ์พืช (Kc) ที่อ้างอิงจากกรมชลประทาน โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและคำนวณค่า ET โดยการคูณค่าสัมประสิทธิ์พืช (Kc) ที่ได้จาก NDVI กับค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (ETo) ผลการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างแปลงนา พบว่าค่าเฉลี่ยของค่า Kc ที่ได้จาก NDVI มีค่าต่ำสุด 0.8162 ค่าสูงสุด 1.6366 และมีค่าเฉลี่ย 1.3321 และค่า ET ที่คำนวนโดยใช้ค่า Kc ที่ได้จาก NDVI มีค่าต่ำสุด 3.1079 มม./วัน ค่าสูงสุด 6.9011 มม./วัน และมีค่าเฉลี่ย 5.4411 มม./วัน</p> ณัฐพล เย็นสกุลสุข ธงทิศ ฉายากุล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI16 SGI16 การประเมินค่าความสูงออร์โทเมตริกจากข้อมูลแบบจำลองความสูงยีออยด์ ด้วยโครงข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่อง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/661 <p>ในการศึกษานี้ มุ่งหมายเพื่อประเมินความถูกต้องของค่าความสูงออร์โทเมตริกที่ได้จากการรังวัดค่าความสูงอิลิปซอยด์ ด้วยระบบดาวเทียมนำทาง (GNSS) โดยใช้ข้อมูลจากโครงข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่อง (GNSS CORS network หรือ NRTK) ร่วมกับข้อมูลแบบจำลองความสูงยีออยด์ต่างชนิด ได้แก่ แบบจำลองท้องถิ่น (TGM2017) และแบบจำลองสากล (EGM2008, EGM96) และทำการเปรียบเทียบความถูกต้องของค่าความสูงออร์โทเมตริกจากแบบจำลองความสูงแต่ละชนิด กับข้อมูลความสูงจากงานระดับชั้นที่ 1 ของกรมแผนที่ทหาร โดยใช้พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเป็นพื้นที่ศึกษาด้วยการรังวัดแบบจลน์ แนวคิด&nbsp; (Virtual Reference Station: VRS) จากการศึกษาพบว่าค่าความสูงออร์โทเมตริกที่ได้จากการรังวัดโดยใช้แบบจำลองความสูงที่ต่างชนิดกัน เทียบกับค่าความสูงหมุดระดับชั้นที่ 1นั้น ข้อมูลแบบจำลองความสูงยีออยด์ TGM2017 EGM2008 และ EGM96 มีค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (RMSE) 0.030 เมตร, 0.841 เมตร และ 0.933 เมตร ตามลำดับ โดยแบบจำลองความสูงยีออยด์ท้องถิ่น TGM2017 นั้น ให้ค่าความถูกต้องที่ดีกว่าแบบจำลองความสูงสากล ดังนั้น การใช้โครงข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่องร่วมกับแบบจำลองความสูงยีออยด์ท้องถิ่น จะเป็นทางเลือกสำหรับงานสำรวจหาค่าระดับความสูงของภูมิประเทศที่มีความแม่นยำและยังสามารถลดระยะเวลาในการสำรวจเทียบค่าระดับน้ำทะเลปานกลางเช่นกัน</p> พงษ์ศักดิ์ จินดาศรี พัชราวดี จิตสุทธิ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI17 SGI17 การประเมินระดับความเสี่ยงของต้นไม้ในเมืองด้วยเทคโนโลยีเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/682 <p>การประเมินความเสี่ยงของต้นไม้เป็นคุณสมบัติที่สามารถทำได้จากการประเมินความเสี่ยงโดยการสอนผู้ประเมินผลให้ทำตามรูปแบบที่สอดคล้องกันในการตรวจสอบต้นไม้ หากผู้ประเมินความเสี่ยงมีคุณสมบัติเหมาะสมจะสามารถประเมินต้นไม้ได้อย่างถูกต้องเป็นกลางส่งผลให้ต้นไม้ในเมืองสุขภาพดี ลดความร้อน ลดมลพิษ และทำให้คุณภาพชีวิตของคนเมืองดีขึ้น ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีเครื่องสแกนด้วยเลเซอร์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Laser Scanner : TLS) มาปรับปรุงความถูกต้องในการประเมินความเสี่ยงของต้นไม้ โดยเลือกต้นจามจุรีทรงปลูกในรัชกาลที่ 9 จำนวน 4 ต้น ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สูง 15-20 เมตร โดยสร้างแบบจำลองต้นไม้ขึ้นในรูปแบบต้นไม้เดี่ยว (single-tree) จากข้อมูล TLS ประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์ Scan Master ในระบบ point cloud แบบ 3 มิติ แล้วนำไปกรอกในแบบฟอร์มการประเมินความเสี่ยงของต้นไม้ ระดับ 2 Basic Tree Risk Assessment</p> <p>&nbsp;</p> วาริน ชุบขุนทด ชัยโชค ไวภาษา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI18 SGI18 การประมวลผลและการติดตามภัยแล้งระหว่างฤดูปลูกพืชเศรษฐกิจด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ค่าผิดปกติ ผลต่างดัชนีพืชพรรณ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/684 <p>งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการ แนวทาง และเครื่องมือในการวิเคราะห์ติดตามผลกระทบของภัยแล้งในระหว่างฤดู (in-season) &nbsp;ปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยวิเคราะห์จากข้อมูลเส้นฐานค่าผลต่างดัชนีพืชพรรณ (Normalized Difference Vegetation Index, NDVI) ที่จัดทำขึ้นจากข้อมูล NDVI รายสัปดาห์จากระบบประมวลผลเพื่อการหาพื้นที่เสี่ยงภาวะแห้งแล้งแบบอัตโนมัติ (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ) ระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2561 ในรูปแบบของเส้นฐาน NDVI รายสัปดาห์รายจุดภาพ เพื่อประเมินค่าผิดปกติ (anomaly) ของปีแล้ง 2562 (แล้งสูงสุดในรอบ 50 ปี) และทำการวิเคราะห์ผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมรายจังหวัดตามสัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรม รวมถึงแสดงข้อมูลเชิงปริมาณและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรายจุดภาพ (ขนาด 1x1 ตารางกิโลเมตร) พร้อมทั้งเสนอแนวทางการติดตามผลกระทบในฤดูปลูกพืชเศรษฐกิจปี 2563 (กรณีศึกษาพืชอ้อยสำหรับผลิตน้ำตาล) โดยได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับติดตามประมวลผลข้อมูลจากระบบบริการข้อมูลสำหรับนักวิจัยของประเทศสามารถนำไปใช้งาน รายละเอียดของเครื่องมือและวิธีการใช้งานได้อธิบายไว้แล้ว ในส่วนเนื้อหา และส่วนสรุปผลของงานวิจัยนี้ ค่าผิดปกติของดัชนีพืชพรรณมีผลต่างติดลบสามารถอนุมานได้ว่าบริเวณที่ปรากฏพืชที่ไม่สมบูรณ์หรือพืชลดลง คือบริเวณที่กำลังประสบภัยแล้ง</p> ธีรวัฒน์ ปานช้างไชยสิทธิ์ ภูกฤษ ศรีวิลาศ สรวิศ สุภเวชย์ อนุเผ่า อบแพทย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI19 SGI19 การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของประเทศไทยในรอบ 10 ปี https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/697 <p>งานวิจัยนี้ได้แสดงการประมวลผลข้อมูลอุณหภูมิพื้นผิวของประเทศไทยต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 ถึงปี 2563 จากข้อมูลความร้อนพื้นผิว (land surface temperature) ข้อมูลจากเซนเซอร์ติดตั้งบนดาวเทียมระบบ VIIRS (Suomi NPP) ความละเอียดเชิงพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร แสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิรายพื้นที่ และแสดงการประมวลผลเส้นฐานอุณหภูมิ (baseline temperature) สำหรับใช้ประมวลผลค่าผิดปกติ (anormaly) ของอุณหภูมิพื้นผิวรายสัปดาห์ต่อเนื่องในปีที่ประเทศไทยประสบภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี เมื่อปี 2562 และยังได้แสดงค่าผิดปกติของอุณหภูมิรายสัปดาห์ต่อเนื่องในปี 2563 &nbsp;การประมวลผลทุกขั้นตอนในการคำนวณข้อมูลเส้นฐานอุณหภูมิ จากการศึกษาพบว่าในปี พ.ศ. 2563 โดยภาพรวมมีค่าค่าผิดปกติอุณหภูมิสูงกว่าปี พ.ศ.2562 &nbsp;เฉลี่ย +0.302 องศาเซลเซียส&nbsp; ซึ่งปีพ.ศ.2563 มีแนวโน้มการเกิดภาวะภัยแล้งรุนแรงกว่าปีก่อน &nbsp;ตลอดจนค่าผิดปกติรายสัปดาห์จากงานวิจัยนี้ ได้ถูกนำมาใช้พัฒนาเครื่องมือสำหรับเผยแพร่ให้นักวิจัยการสำรวจระยะไกลของประเทศไทย ได้นำไปประยุกต์ใช้ประมวลผลข้อมูลจากระบบให้บริการข้อมูลพื้นผิวอัตโนมัติของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการติดตามแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต</p> อังคณา พุ่มพวง สรวิศ สุภเวชย์ อนุเผ่า อบแพทย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI20 SGI20 การปรับปรุงวิธีการจำแนกพรรณไม้ในเมืองด้วยภาพถ่ายทางอากาศความละเอียดสูง ด้วยการใช้รูปตัดตามแนวลองจิจูด และข้อมูลเสริมจากการสำรวจด้วยไลดาร์ทางอากาศ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/490 <p>ปัจจุบันโลกให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการบริหารจัดการและติดตามต้นไม้ในเขตเมืองที่ยั่งยืนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากต้นไม้ให้ประโยชน์อย่างมากในทุกด้านไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม และปัจจุบันการอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าปัจจุบันประเทศไทย มีพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยต่อคนต่ำกว่ามาตราฐาน ดังนั้นการศึกษาเรื่องการกระจายตัวของต้นไม้ และการจำแนกพรรณไม้ในพื้นที่เมืองจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงวิธีการจำแนกพรรณไม้ในเมืองด้วยภาพถ่ายทางอากาศ DMC ด้วยวิธีการจำแนกแบบต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) โดยใช้รูปตัดตามแนวลองจิจูด (Longitudinal Profiles) และข้อมูลเสริมจากการสำรวจด้วยไลดาร์ (LiDAR) ทางอากาศ ในพื้นที่ศึกษาบริเวณสวนสาธารณะสวนหลวง ร.9 กรุงเทพมหานคร พบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถจำแนกต้นไม้ที่มีความซับซ้อน ในลักษณะต้นเดี่ยวและกลุ่มได้จริง โดยให้ค่าความถูกต้องโดยรวม (Overall Accuracy) 83.34 % และมีค่าสถิติแค็ปปา (Kappa Statistics) 0.833 ขึ้นไป ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการจำแนกต้นไม้ในเมืองพื้นที่อื่นๆ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นไม้ในเมืองในเขตร้อนชื้นให้ดียิ่งขึ้น</p> สุภาภรณ์ รักษาล้ำ ชัยโชค ไวภาษา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI21 SGI21 การประมาณค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยข้อมูลแบบจำลองภูมิประเทศเชิงตัวเลข จากอากาศยานไร้คนขับ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/457 <p>ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่สวนทางกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย ทำให้การพัฒนาพลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานลม เป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ผู้วิจัยจึงได้มีแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีช่วยในการสำรวจค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยข้อมูลแบบจำลองภูมิประเทศเชิงตัวเลข (DTM) ที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับบนพื้นที่โล่ง ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เพื่อนำเสนอพื้นที่ต้นแบบในการคำนวณปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ต่อพื้นที่รับแสง (Area Solar Radiation) ที่มีค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในระดับต่าง ๆ ก่อนการลงสำรวจพื้นที่จริง จากการศึกษาพบว่าค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้จากแบบจำลองภูมิประเทศเชิงตัวเลขจะให้ค่าพลังงานสูงสุดและต่ำสุด เท่ากับ 5,670.96 และ 2.65927 MWh ตามลำดับ หลังจากทำการตัดสิ่งปกคลุมดิน (สิ่งปลูกสร้าง และแหล่งน้ำ) ค่าพลังงานสูงสุดและต่ำสุด เท่ากับ 5,645.61 และ 382.715 MWh ตามลำดับ เมื่อนำมาแบ่งระดับค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ตามช่วงของข้อมูลเชิงเรขาคณิตออกเป็น 5 ระดับ พบว่าบริเวณพื้นที่เปิดโล่งทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของมหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่ที่ให้ค่าปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุด (เนื้อที่ 22,869.04 ตารางเมตร) ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการพิจารณาพื้นที่เหมาะสมหากมีแผนในการจัดหาพื้นที่ในการติดตั้งเซลล์รับพลังงานแสงอาทิตย์ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน</p> วิลาวัณย์ ประสมทรัพย์ ติณณ์ ถิรกุลโตมร ธนกร ทอดสูงเนิน ศิลาภรณ์ จันทะลุน ภาณุวิชญ์ เอ็นดู Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI22 SGI22 การหาค่าระดับความสูงแนวคันกั้นน้ำคลองระพีพัฒน์แยกตกโดยเทคโนโลยี MMS สำหรับการบริหารจัดการน้ำ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/647 <p>ปัจจุบันเทคโนโลยีสำรวจได้มีการพัฒนาไปจากเดิมมาก สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวข้อหลักของการการพัฒนาคือความรวดเร็วของการได้มาซึ่งข้อมูลสำรวจ ทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน.ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจ Mobile Mapping System (MMS) สำหรับใช้สำรวจหาค่าระดับและจัดทำแผนที่แบบ 3 มิติ ในงานวิจัยนี้ได้ดำเนินการประยุกต์ใช้ MMS ใช้กับการบริหารจัดการน้ำโดยการหาความเหมาะสมและข้อจำกัดของระบบเพื่อจะได้นำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการได้กำหนดพื้นที่ทำการสำรวจคือแนวคันกั้นน้ำคลองระพีพัฒน์แยกตกเพื่อเปรียบเทียบผลของระบบ MMS กับการตรวจวัดแบบ Real Time Kinematic (RTK) พื้นที่ทดสอบ 14 กิโลเมตร จากการดำเนินการพบว่าผลลัพธ์การสำรวจของทั้งสองระบบมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน เวลาที่ใช้ในการสำรวจพบว่าการสำรวจด้วย MMS ใช้เวลาน้อยกว่าการสำรวจแบบ RTK 12 เท่า การสำรวจทั้ง 2 แบบมีค่า RMSE 0.386 ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่เข้าใกล้ศูนย์แสดงถึงมีความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตามกัน การนำระบบสำรวจ MMS ไปใช้งานในการหาค่าระดับจึงเป็นระบบที่ให้ผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วทันต่อการที่จะนำข้อมูลค่าระดับมาทำการวิเคราะห์เพื่อบริการจัดการน้ำอย่างเร่งด่วนได้</p> อำนาจ สมภาร ปานฤทัย ตั้งประเสริฐ ณัฐกิตติ์ เสงี่ยม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 SGI23 SGI23 ประสบการณ์การใช้เกณฑ์การประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรตามแนวทาง ABET และ AUN-QA https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/101 <p>รัฐบาล โดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสภาวิศวกร มีนโยบายในการนำแนวทางการรับรองหลักสูตรของ ABET มาประยุกต์ใช้ เพื่อการรับรองหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ไทยสู่ระดับสากล โดย อว. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการขับเคลื่อนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับการรับรองจาก ABET ภายในปี พ.ศ.2565 ซึ่งสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยในช่วงสามปีการศึกษาที่ผ่านมา สาขาฯ ได้ดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ทั้งในระบบ AUN-QA ระบบ TABEE และ ระบบ ABET โดยตามระบบ ABET ได้รับการ mock-up visit จากผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศสหรัฐอเมริกา รวม 2 ครั้ง จากประสบการณ์ข้างต้น บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเปรียบเทียบเกณฑ์การประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรตามแนวทาง ABET และ AUN-QA เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการนำเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องมาลงปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของหลักสูตรและสู่การรับรองหลักสูตรของ ABET ในอนาคต</p> สิทธิชัย แสงอาทิตย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 CEE01 CEE01 นโยบายสนับสนุนทุนการศึกษาของบัณฑิตศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/195 <p>นโยบายสนับสนุนทุนการศึกษาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยให้หลักสูตรสามารถวิเคราะห์และวางแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการของหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทุนการศึกษามีส่วนช่วยดึงดูดความสนใจและเพิ่มอัตรารับเข้าของนักศึกษาในแต่ละปี รวมทั้งเป็นการสนับสนุนผู้ที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมและมีศักยภาพสูงให้เข้าศึกษาในหลักสูตร จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ที่ต้องการทราบจุดแข็งของนโยบายสนับสนุนทุนการศึกษาที่สัมพันธ์กับจำนวนการรับเข้าและระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา โดยได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่เข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) ในช่วงปีการศึกษา 2553-2561 จำนวน 76 คน ของระบบฐานข้อมูลของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและข้อมูลระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาทั้งในกรณีได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาและกรณีไม่ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษา การศึกษานี้ได้อ้างอิงข้อมูลจาก 2 แหล่งทุนหลักที่หลักสูตรได้เข้าร่วม ได้แก่ (1) โครงการทุนรัฐบาลนอร์เวย์ (Norwaygian Government Scholarship Program : Capacity Building for Institute in Myanmar, CBIM) และ (2) ทุนการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Postgraduate Scholarship, MUPostGrad) ผลการศึกษาพบว่า การให้การสนับสนุนทุน CBIM ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษารับเข้าของหลักสูตร เนื่องจากแหล่งทุนจำกัดจำนวนการให้ทุนและระบุการให้ทุนเฉพาะนักศึกษาสัญชาติเมียนมาเท่านั้น ในขณะที่การให้การสนับสนุนทุน MUPostGrad นั้น ส่งผลต่อจำนวนรับเข้าของนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นถึง 2.46 เท่า ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2562 เนื่องจากพิจารณาการให้ทุนจากคุณสมบัติทางการศึกษาของผู้สมัครเป็นหลัก นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าการให้ทุนสนับสนุนทั้ง 2 ประเภท ส่งผลต่อระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาที่เร็วขึ้น กล่าวคือ ระยะเวลาสำเร็จการศึกษาของผู้รับทุน CBIM อยู่ในช่วงระหว่าง 2-2.5 ปี และอยู่ในช่วงระหว่าง 2.5-3.0 ปี สำหรับผู้รับทุน MUPostGrad</p> สุลินดา นวลประสงค์ อารียา ฤทธิมา รันจนา จินดัล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 CEE02 CEE02 การประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษาวิศวกรรมโยธา: มุมมองผู้ผลิตและผู้บริโภค https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/268 <p>การฝึกงาน เป็นรายวิชาบังคับของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา ในสถาบันอุดมศึกษาไทยทุกแห่ง บัณฑิตวิศวกรรมโยธาทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการนี้ จึงจะสามารถสำเร็จการศึกษาได้ การฝึกงานมุ่งหวังให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้สภาพการทำงานจริงเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะสำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพเป็นวิศวกรโยธาในอนาคต สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจึงพยายามควบคุมคุณภาพของการฝึกงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกสถานประกอบการ การตรวจเยี่ยม และการประเมินผล บทความนี้วิเคราะห์ผลการประเมินการฝึกงานของนักศึกษาเมื่อพิจารณามุมมองของทั้งผู้ผลิต (สถาบันการศึกษา) และมุมมองของผู้บริโภค (สถานประกอบการ) โดยศึกษาจากฐานข้อมูลการฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 67 ราย การประเมินโดยคณาจารย์ที่ไปตรวจเยี่ยมใช้เกณฑ์ 9 ข้อ ข้อละ 6 คะแนน รวม 54 คะแนน การประเมินโดยพี่เลี้ยงของสถานประกอบการใช้เกณฑ์ 18 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน รวม 90 คะแนน คะแนนเฉลี่ยของการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเชิงพรรณาพบว่า คะแนนเฉลี่ยจากทั้งสองกลุ่มการประเมินมีค่าไม่ต่ำกว่า 80% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี ผ่านการประเมินทั้งหมด นำคะแนนแต่ละเกณฑ์มาวาดกราฟแมงมุม ทำให้ทราบได้ว่านักศึกษามีจุดเด่นและจุดด้อยในเกณฑ์ใด เมื่อพิจารณาคะแนนการประเมินจากทั้งสองกลุ่มตามเกณฑ์ที่มีความคล้ายคลึงกัน ทำให้สามารถทราบได้ว่าคณาจารย์ (ผู้ผลิต) และพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ (ผู้บริโภค) มีมุมมองต่อคุณภาพของว่าที่บัณฑิตที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นประโยขน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการผลิตบัณฑิต วิธีการเรียนการสอนให้ทันสมัยสามารถตอบโจทย์ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคได้</p> ทัศนีย์ จันทร์เชื้อแถว สมชาย ปฐมศิริ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 CEE03 CEE03 ข้อสังเกตุเกี่ยวกับการฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา กรณีศึกษาภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/279 <p>การฝึกงานวิศวกรรม (Engineering Training) มีวัตถุประสงค์ที่จะให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้สภาพการทำงานจริงเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะสำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพเป็นวิศวกรโยธาในอนาคต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา ของสถาบันอุดมศึกษาไทยทุกแห่งจึงมีรายวิชาการฝึกงาน และเป็นไปตามข้อกำหนดของสภาวิศวกร บทความนี้จะดำเนินการศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาฝึกงานในแง่มุมต่างๆ เช่น สถานประกอบการที่เลือกไปฝึกงาน สถานที่ฝึกงานจริง ลักษณะของสถานประกอบการ ลักษณะของสถานที่ฝึกงานจริง ค่าตอบแทน เป็นต้น โดยวิเคราะห์ฐานข้อมูลการฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2561 ผลการวิเคราะห์พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่จะเลือกสถานประกอบการที่ตรงสาขา ส่วนมากนักศึกษาเป็นผู้สรรหาสถานประกอบการเอง นักศึกษามักไม่ทราบล่วงหน้าว่าสถานที่ฝึกงานจริงเป็นที่ใดและมักจะแตกต่างจากสถานประกอบการที่เลือกไว้ นักศึกษาส่วนมากฝึกงานโดยได้รับค่าตอบแทน และระบุว่าการเดินทางสะดวก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่านักศึกษาได้พิจารณาเลือกสถานที่ฝึกงานเอง หรือย้ายทำเลที่ตั้งไปพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสถานที่ฝึกงานจริง ผลลัพธ์จากการศึกษา ทำให้ทราบถึงความต้องการของนักศึกษาในการเลือกสถานที่ฝึกงาน พฤติกรรมการฝึกงานของนักศึกษา ลักษณะของสถานประกอบการแต่ละแห่ง ซึ่งบอกเป็นนัยว่านักศึกษามีกระบวนการพิจารณาตัดสินใจเลือกสถานประกอบการสำหรับฝึกงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเองโดยพิจารณาจากหลายปัจจัยประกอบกัน ผลการศึกษาวิจัยสามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการเตรียมสถานประกอบการได้อย่างเหมาะสม เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการฝึกงานให้ดียิ่งขึ้น</p> ทัศนีย์ จันทร์เชื้อแถว สมชาย ปฐมศิริ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 CEE04 CEE04 ผลสัมฤทธิ์ของการผลิตมหาบัณฑิตด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) ณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/331 <p>ในปัจจุบันมีหลากหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศเปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 การศึกษานี้ต้องการศึกษาประเมินผลสัมฤทธิ์ของการผลิตมหาบัณฑิตด้านนี้ โดยใช้ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างมหาบัณฑิตซึ่งสำเร็จการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2552 – 2562 จากหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) ของภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิเคราะห์โดยใช้วิธีสถิติเชิงพรรณา ผลการวิเคราะห์พบว่า มหาบัณฑิตเกือบทั้งหมดไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในระยะเวลา 2 ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร กลุ่มนักศึกษาต่างชาติมีผลการเรียนดีกว่าและใช้ระยะเวลาการศึกษาสั้นกว่ากลุ่มนักศึกษาไทย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะนักศึกษาต่างชาติผ่านการคัดกรองมากกว่า หรือมีข้อจำกัดมากกว่า หรือมีแรงจูงใจให้เร่งสำเร็จการศึกษาโดยเร็ว ไม่สามารถพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ตลอดไป ผลการศึกษาสามารถบ่งบอกได้ถึงศักยภาพของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายต่างๆ โดยหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ สามารถนำผลลัพธ์ที่ได้มาไปพัฒนาศักยภาพการผลิตมหาบัณฑิตด้านนี้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น</p> สุลินดา นวลประสงค์ สมชาย ปฐมศิริ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 CEE05 CEE05 ลักษณะของกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) ณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/506 <p>ในปัจจุบัน หลักสูตรบัณฑิตศึกษามีการแข่งขันสูงมาก ทั้งจากภายในมหาวิทยาลัยเดียวกัน จากต่างมหาวิทยาลัย และจากต่างประเทศ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหานักศึกษาที่มีคุณภาพเข้ามาเรียน การศึกษานี้วิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาโทที่เข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) ซึ่งเปิดสอนภายใต้ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างปีการศึกษา 2553 – 2562 โดยวิเคราะห์จากฐานข้อมูลของหลักสูตรฯ และบัณฑิตวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 63 ตัวอย่าง ใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิเคราะห์พบว่า นักศึกษาส่วนมากอายุระหว่าง 22 – 30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมาไม่เกิน 2 ปี เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นักศึกษาต่างชาติมีสัดส่วนร้อยละ 33.33 นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่มาจากภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และได้รับทุนสนับสนุนการศึกษา หลักสูตรฯ มีนักศึกษาที่มีพื้นฐานปริญญาตรีหลากหลาย โดยที่มีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมโยธาเข้าเรียนร้อยละ 22.22 เกือบทั้งหมดเป็นศิษย์เก่าของภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมเอง ผลการศึกษาสื่อให้เห็นว่า ศิษย์เก่าสาขาวิศวกรรมโยธาเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ และทุนสนับสนุนการศึกษาเป็นเครื่องมือในการสรรหานักศึกษาที่มีความสำคัญในตลาดแข่งขันอุดมศึกษา ซึ่งช่วยให้หลักสูตรสามารถวางแผนกลยุทธ์ในการรับนักศึกษาได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น</p> สุลินดา นวลประสงค์ สมชาย ปฐมศิริ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 CEE06 CEE06 การพัฒนาชุดฝึกทักษะออนไลน์ เรื่อง ระบบแรงและการสมดุล สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมโยธา มทร.ศรีวิชัย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/727 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะอิเลกทรอนิกส์ออนไลน์ เรื่อง ระบบแรงและการสมดุล รายวิชา รหัสวิชา 04-411-101 ชื่อวิชา กลศาสตร์วิศวกรรม 1&nbsp; เพื่อศึกษาและวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน &nbsp;<br>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ชั้นปีที่ 1 และ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย&nbsp; แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 33 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 27 คน&nbsp; เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย <br>1) แบบทดสอบก่อนเรียน 2) แบบทดสอบหลังเรียน และ 3) ชุดฝึกทักษะอิเลกทรอนิกส์ออนไลน์ &nbsp;วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ&nbsp; คะแนนค่าเฉลี่ย&nbsp; ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; และ t-test dependent ผลการศึกษาพบว่า <br>1) ชุดฝึกทักษะฯ ที่พัฒนาขึ้น มีรูปแบบให้นักศึกษาเลือกคำตอบ (Selection Type) แบบจับคู่ (Matching) จำนวน 40 ข้อ&nbsp; 2) ชุดฝึกทักษะมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.6/63.0 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 เฉพาะตัวแรกที่กำหนดไว้&nbsp; 3) กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะฯ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน&nbsp; แต่ความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกับกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีปกติ&nbsp; และ &nbsp;4) กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะฯ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีปกติ&nbsp; แต่ความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> จุฑามาศ ลักษณะกิจ จำรูญ สมบูรณ์ นฤมล แสงดวงแข Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-06 2020-07-06 25 CEE07 CEE07 Journey of Offshore Wellhead Platform Reuse Project https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/152 <p>Several Wellhead Platforms (WHPs) operated by Chevron Thailand Exploration and Production., Ltd. (CTEP) in the Gulf of Thailand are approaching the end of well depletion life. With effective asset integrity management program, most of WHPs are still in good condition. Therefore, an initiative of reused existing WHP topsides, jacket and partial pile sections instead of new procurement and fabrication the whole WHP becomes attractive opportunity as it can enable marginal economic projects, support energy conservation and minimize waster from decommissioning. The 1<sup>st</sup> pilot project on Topsides reuse was successfully performed in 2017 by relocating pre‐cut Topsides from its jacket and placing on top of new jacket executed by a heavy lifting barge. In 2018, the 2<sup>nd</sup> campaign for 3 Topsides reuses was executed successfully. &nbsp;</p> <p>After topside reuse project has been executed successfully. The total reuse concept was continued to explore the opportunity and expand the scope of Reuse project. With this initiative challenge, it would be the first ever conventional fixed WHP to be totally reused and relocated to continue its production at the new site which may create more alternatives and opportunities on reuse of existing assets in oil &amp; gas industry. &nbsp;To overcome unforeseen challenges, a conceptual study following with FEED was performed starting in Q2’17 to test on operational constraints, engineering concept, constructability and high-level commercial evaluation. A fatigue analysis is another key study apart from other constructability analyses. Referring to FEED results in Q1’18 with project assurance process from internal Subject Matter Experts and external 3<sup>rd</sup> party engineering consultant, it can be concluded that total WHP reuse innovation is “technically feasible” and “commercially attractive” without any major project risk.</p> Nontiwat Hutangkura Witthayakom Putchakarn Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 ENV01 ENV01 การเพิ่มศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยการปรับสภาพหญ้าเนเปียร์โดยสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์หมักร่วมกับเศษอาหาร https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/165 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นในการหมักร่วมระหว่างหญ้าเนเปียร์และเศษอาหารและทำการเปรียบเทียบปริมาณก๊าซชีวภาพก่อนและหลังการปรับสภาพด้วยสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ 4% w/v ใช้ระยะเวลาในการปรับสภาพเท่ากับ 0.5 และ 1 ชั่วโมง ตามลำดับ โดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบไร้อากาศขนาด 1.5 ลิตร ทำการเติมวัสดุหมักเพียงครั้งเดียวระยะเวลาทำการทดลอง 45 วัน โดยผสมวัสดุหมักระหว่างหญ้าเนเปียร์และเศษอาหารที่อัตราส่วน 25:75 โดยหญ้าเนเปียร์ที่ไม่ผ่านการปรับสภาพ&nbsp; พบว่าผลการทดลอง เซลลูโลสเท่ากับร้อยละ 36.21 เฮมิเซลลูโลส เท่ากับร้อยละ 6.64 และมีปริมาณลิกนินเท่ากับร้อยละ 15.66 และเมื่อทำการปรับสภาพหญ้าด้วยสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 4 ที่ระยะเวลา 0.5 ชั่วโมง และ 1.0 ชั่วโมง พบว่าปริมาณของเซลลูโลสเพิ่มขึ้น โดยเท่ากับร้อยละ 3.94 และ 4.38 ตามลำดับ เฮมิเซลลูโลสมีอัตราการลดลงเท่ากับร้อยละ 3.94 และ 4.37 และ ลิกนินเท่ากับร้อยละ 6.28 และ 8.05 ตามลำดับ ดังนั้นจึงเลือกใช้หญ้าเนเปียร์ที่ผ่านการปรับสภาพด้วยการแช่ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ความเข้มข้นร้อยละ 4 w/v เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในกระบวนการหมักร่วมกับเศษอาหารเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ เนื่องจากสามารถสลายพันธะของลิกนินและเฮมิเซลลูโลสได้สูงสุด และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการทดลองทำการวัดปริมาณก๊าซชีวภาพ พบว่าในถังที่ทำการปรับสภาพด้วยด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ 4% w/v ที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง มีปริมาณก๊าซชีวภาพสะสมสูงกว่าถังที่ไม่มีการปรับสภาพ โดยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.37&nbsp; แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีกระบวนการปรับสภาพด้วยด่างนั้นใช้ในการกำจัดลิกโนเซลลูโลสในหญ้าเนเปียร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพ</p> คฑาพล ปิ่นพัฒนพงศ์ ฐนียา รังษีสุริยะชัย Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 ENV03 ENV03 การผลิตปุ๋ยหมักจากเศษอาหารช้างร่วมกับมูลช้างและการมูลหมัก ด้วยวิธีการหมักแบบไร้อากาศ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/171 <p>การศึกษาการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษอาหารช้างร่วมกับมูลช้างและกากมูลหมักด้วยวิธีการหมักแบบไร้อากาศ โดยทำการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการในชุดการทดลองการหมักไร้อากาศแบบขั้นตอนเดียวที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่ 55 องศาเซลเซียส โดยทำการหมักในอัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ : เหง้าสับปะรด : มูลช้าง : กากมูลหมักจากกระบวนการหมักแก๊สชีวภาพ เท่ากับ 2.5 : 2.5 : 3.5 : 1.5&nbsp; โดยปริมาตร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของปุ๋ยหมักแบบไร้อากาศที่เกิดขึ้นจากการหมักปุ๋ยด้วยวัสดุผสมระหว่าง เศษหญ้าเนเปียร์ เหง้าสับปะรด กากมูลหมัก และมูลช้าง จากผลการทดลองพบว่าที่ระยะเวลาการทดลอง 45 วัน ปุ๋ยที่ได้มีลักษณะทางกายภาพคือมีลักษณะเป็นปุ๋ยของแข็งกึ่งเหลว สีน้ำตาล กลิ่นของปุ๋ยมีลักษณะเป็นกลิ่นเปรี้ยว ปัจจัยควบคุมต่าง ๆ ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 5-6 ค่าความชื้นอยู่ในช่วงร้อยละ 70-80 และค่าอุณหภูมิอยู่ในช่วง 50-55 องศาเซลเซียส ในส่วนของค่าธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในวันสุดท้ายของการหมัก มีค่าเท่ากับร้อยละ 0.42 0.57 และ 0.035 ตามลำดับ พบว่ามีค่าที่เป็นไปตามค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร ยกเว้นโพแทสเซียมที่มีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งผลผลิตจากการหมักนี้สามารถใช้ฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นได้</p> <p>&nbsp;</p> เก่งกาจ จันทร์กวีกูล ฐนียา รังษีสุริยะชัย Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 ENV02 ENV02 การประเมินประสิทธิภาพต้นแบบกำแพงกั้นเสียงที่ผลิตจากวัสดุไวนิล https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/248 <p>ปัจจุบันอัตราการขยายตัวของสังคมเมืองกรุงเทพมหานครที่เพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ว่างเปล่าได้ถูกพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่โดยรอบโครงข่ายทางพิเศษ ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวทำให้พื้นที่โดยรอบทางพิเศษได้รับผลกระทบด้านมลภาวะทางเสียงจากการจราจรบนทางพิเศษ จึงเป็นที่มาของการกำหนดมาตรการในการติดตั้งกำแพงกั้นเสียงบนทางพิเศษเพื่อช่วยลดทอนเสียงการจราจรให้ลดน้อยลง อย่างไรก็ตามในการติดตั้งกำแพงกั้นเสียงอาจมีการเสื่อมประสิทธิภาพตามอายุการใช้งาน จึงจำเป็นต้องมีการประเมินประสิทธิภาพ ปรับปรุง และพัฒนากำแพงกั้นเสียงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถกั้นเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในงานวิจัยนี้จะประเมินประสิทธิภาพของต้นแบบกำแพงกั้นเสียงชนิดสะท้อนเสียงที่ได้ออกแบบและพัฒนาจากวัสดุไวนิลและใช้ยางพารามาเป็นส่วนประกอบภายใน ซึ่งง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการติดตั้งใหม่และการติดตั้งทดแทนกำแพงกั้นเสียงเดิมที่เสื่อมสภาพหรือชำรุดเสียหาย โดยผลจากการประเมินประสิทธิภาพของต้นแบบกำแพงกั้นเสียงชนิดนี้สามารถลดทอนเสียงได้มากกว่ากำแพงกั้นเสียงชนิดสะท้อนเสียงจากวัสดุแผ่นกระเบื้องและแบบไฟเบอร์แผ่นเรียบเดิมที่เคยติดตั้งใช้งาน</p> ธราดล หงส์อติกุล เกื้อกูล เอี่ยมชูแสง นันทวรรณ พิทักษ์พานิช เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 ENV04 ENV04 การประเมินด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมสำหรับรูปแบบการควบคุมทางแยกภายในสถานศึกษา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/424 <p>ในปัจจุบันปัญหาการจราจรติดขัดบนท้องถนนส่งผลให้เกิดการความสูญเสียพลังงานและผลกระทบทางด้านมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางแยกในเขตสถานศึกษาที่มีการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก การออกแบบและควบคุมการจราจรบริเวณทางแยกที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยให้สภาพการจราจรคล่องตัว ลดความล่าช้าในการเดินทางแล้ว ยังจะช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงและมลพิษทางอากาศ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมสำหรับการออกแบบควบคุมทางแยกรูปแบบต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองการจราจรระดับจุลภาคและแบบจำลองการปล่อยมลพิษทางอากาศ สำหรับวิเคราะห์ปริมาณการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการเดินทางและมลภาวะทางอากาศของรูปแบบการควบคุมทางแยก 4 รูปแบบ ได้แก่ (1) ทางแยกไม่มีสัญญาณไฟจราจร (2) ทางแยกที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจรแบบ 2 จังหวะ (3) ทางแยกที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจรแบบ 4 จังหวะ และ (4) ทางแยกรูปแบบวงเวียน ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้สภาพการจราจรเดียวกัน รูปแบบการควบคุมทางแยกต่าง ๆ จะก่อให้เกิดผลกระทบด้านการใช้พลังงานและมลภาวะทางอากาศในปริมาณที่แตกต่างกัน การออกแบบควบคุมทางแยกที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ใช้รถใช้ถนนและต่อชุมชนมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน</p> ชญาดา รวิวรรณ นพดล กรประเสริฐ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 ENV05 ENV05 การออกแบบและควบคุมระบบบำบัด น้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่แบบกึ่งอัตโนมัติ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/478 <p class="Contentnew"><span lang="TH">งานวิจัยนี้ศึกษาและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำทิ้งชุมชนคลองบางเขนใหม่กลับมาใช้ใหม่ทดแทนกิจกรรมการใช้น้ำภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลการศึกษาพบว่า การใช้ระบบเอสบีอาร์ร่วมกับระบบกรองด้วยทรายและเมมเบรนมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำทิ้งดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐาน </span>U.S. EPA <span lang="TH">สำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในชุมชน (</span>Urban Reuse) <span lang="TH">โดยประสิทธิภาพการบำบัดสารอินทรีย์ในรูปซีโอดี บีโอดี และทีโอซี คิดเป็นร้อยละ 66.2</span>, <span lang="TH">51.9 และ 31 ตามลำดับ สารอาหารในรูปไนโตรเจน และฟอสฟอรัสทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 79.7 และ 94.7 ตามลำดับ และปริมาณโคลิฟอร์มทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 99 การใช้ระบบกึ่งอัตโนมัติทำให้กำลังการผลิตน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 2 เท่า ขณะที่การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำภายในคลองบ่อยครั้งไม่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำที่ผลิตได้สำหรับกรณีการใช้น้ำสำหรับกิจกรรมแบบไม่สัมผัสโดยตรง</span></p> ณัฐภัทร เที้ยธิทรัพย์ เจนจิต เอี่ยมจตุรภัทร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 ENV06 ENV06 การใช้เศษยางรถยนต์เก่าเป็นวัสดุตัวกลางในชั้นระบายน้ำของระบบชั้นกันซึม https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/521 <p>ยางรถยนต์เก่าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปร่างลักษณะของเศษยางรถยนต์เก่าที่เหมาะสมในการใช้งานเป็นวัสดุตัวกลางในชั้นระบายน้ำของระบบชั้นกันซึม ตัวอย่างที่ใช้มี 3 ลักษณะ คือแบบเส้นแบนกว้าง แบบเส้นแบนแคบ และแบบเป็นก้อน ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านได้ขณะที่ตัวอย่างถูกกระทำด้วยหน่วยแรงกดทับที่แตกต่างกัน ผลการศึกพบว่าเศษยางรถยนต์เก่าทั้ง 3 ลักษณะที่ทดสอบในสภาพที่ไม่ถูกกดทับมีค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านได้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้เป็นตัวกลางในชั้นระบายน้ำได้ การกดทับมีผลทำให้ตัวอย่างมีการยุบตัวและมีค่าอัตราส่วนช่องว่างลดลง ส่งผลทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านได้ลดลง ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านได้ของเศษยางรถยนต์เก่าที่อยู่ภายใต้หน่วยแรงกดทับ 80 กิโลปาสคาล มีค่าเท่ากับ 7.74×10<sup>-5</sup>, 3.45×10<sup>-4</sup> และ 9.95×10<sup>-4</sup> เมตรต่อวินาที สำหรับตัวอย่างแบบเส้นแบนกว้าง แบบเส้นแบนแคบ และแบบเป็นก้อน ตามลำดับ โดยเศษยางรถยนต์เก่าแบบเป็นก้อนจะมีการเสียรูปจากการยุบตัวและมีการเปลี่ยนแปลงของค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านได้จากการกระทำของหน่วยแรงกดทับน้อยที่สุด จึงมีความเหมาะสมในการใช้งานเป็นวัสดุตัวกลางในชั้นระบายน้ำมากกว่าตัวอย่างลักษณะอื่น</p> ทวีศักดิ์ วังไพศาล Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 ENV07 ENV07 การศึกษาเปรียบเทียบค่าฟอสฟอรัสในกระบวนการหมักปุ๋ยแบบไร้อากาศเมื่อมีการเติม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/639 <p>งานวิจัยนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับการเปรียบเทียบค่าฟอสฟอรัสในกระบวนการหมักปุ๋ยแบบไร้อากาศเมื่อมีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณฟอสฟอรัสที่เกิดขึ้นจากการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการหมักปุ๋ยแบบไร้อากาศจากมูลช้างร่วมกับกากมูลหมักและเศษอาหารช้าง ในการทดลองได้ทำการเลือกเศษอาหาร ได้แก่ เหง้าสัปปะรดและหญ้าเนเปียร์ โดยทำการผสมหญ้าเนเปียร์ : เหง้าสับปะรด : มูลช้าง : กากมูลหมักจากกระบวนการหมักแก๊สชีวภาพ เท่ากับ 2.5 : 2.5 : 3.5 : 1.5 โดยปริมาตร ตามลำดับ ทำการหมักแบบไร้อากาศเป็นระยะเวลา 45 วัน ในระบบปิดด้วยชุดการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ โดยในการทดลองประกอบด้วยการทดลองทั้งหมด 2&nbsp; ชุด คือ ชุดทดลองที่ 1 เป็นชุดควบคุม จะไม่มีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และชุดทดลองที่ 2 จะมีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาตร 2 ลิตรต่อนาที โดยทำการเติมแบบกะ เป็นเวลา 20 นาทีต่อวัน ผลการทดลองพบว่าลักษณะทางกายภาพของปุ๋ยหมักขวดที่ 1 และ 2 &nbsp;เมื่อสิ้นสุดการหมักในระยะเวลาที่ 45 วัน มีลักษณะเป็นปุ๋ยของแข็งกึ่งเหลว สีน้ำตาล และมีกลิ่นเปรี้ยว เหมือนกันทั้ง 2 ชุดการทดลอง ค่าความเป็นกรด-ด่างของชุดควบคุมเท่ากับ 6.16 และชุดการเติมก๊าซเท่ากับ 5.19 ปริมาณความชื้นของทั้ง 2 ชุดจะอยู่ในช่วงร้อยละ 75-85&nbsp; ในส่วนของค่าฟอสฟอรัสทั้งหมด พบว่าในชุดควบคุมมีปริมาณร้อยละฟอสฟอรัสมากกว่าเมื่อมีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีค่าร้อยละ 0.58 และ 0.09 ตามลำดับ การเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในระบบทำให้จุลินทรีย์บางตัวที่ไม่ชอบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยใช้ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตทำให้ต้องใช้ฟอสฟอรัสเพิ่มมากขึ้น จึงมีค่าฟอสฟอรัสในปุ๋ยลดลง</p> ศศิประภา เกตุพิมล คฑาพล ปิ่นพัฒนพงศ์ ฐนียา รังสีสุริยะชัย ภาวัต น้ำใส Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 ENV08 ENV08 ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน กรณีศึกษา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าโบสถ์ จังหวัดชัยนาท https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/148 <p>การศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าโบสถ์ ประกอบด้วย &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;1) ด้านการบริหารจัดการน้ำ 2) ด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษาระบบชลประทาน 3) ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ดำเนินการโดยรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ใช้น้ำในเขตชลประทานด้วยแบบสอบถามจำนวน &nbsp;400 คน โดยแบ่งพื้นที่รับน้ำในการศึกษาออกเป็น 3 ช่วง คือ 1) ช่วงต้นคลอง &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;2) ช่วงกลางคลอง และ 3) ช่วงปลายคลอง แล้วนำผลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ บริเวณพื้นที่รับน้ำต้นคลองและบริเวณพื้นที่รับน้ำกลางคลองช่วงฤดูแล้ง มีความ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พึงพอใจอยู่ในระดับสูงในทุกๆประเด็น ส่วนบริเวณพื้นที่รับน้ำปลายคลองมีความพึงพอใจในระดับสูงสำหรับประเด็นที่ 1) และ 3) แต่มีความพึงพอใจในระดับปานกลางสำหรับประเด็นที่ 2) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำน้อย และเมื่อส่งน้ำไปตามระบบการส่งน้ำของโครงการชลประทานไปให้พื้นที่เพาะปลูกทุกแห่งในเขตพื้นที่ชลประทาน ช่วงต้นคลองและกลางคลองจะได้รับปริมาณน้ำเพียงพอ แต่จะไม่เพียงพอสำหรับพื้นที่ชลประทานช่วงปลายคลอง และระดับความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ศึกษาทั้งหมดช่วงฤดูฝน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงทั้ง 3 ประเด็น</p> ปรมะ สิงห์ชัย ชวเลข วณิชเวทิน พิพัฒน์ สอนวงษ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE01 WRE01 การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเชิงกลยุทธ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/168 <p>งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณสถานี C.2 ค่ายจิรประวัติ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ถึงบริเวณปากอ่าวไทย อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือการศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในการจำลองการเกิดน้ำท่วมได้ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ iRIC (Nays2DFlood) และแบบจำลองความสูงเชิงเลข Digital Elevation Model จาก NASA Earth science data ที่มีความละเอียด 30*30 เมตร ในระบบพิกัด UTM โดยอ้างอิงจาก WGS1984 UTM Zone 47N และใช้ข้อมูลอัตราการไหลจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเกิดมหาอุทกภัยปี 2554 ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ถึง 30 ตุลาคม เป็นข้อมูลป้อนเข้าแบบจำลอง เพื่อศึกษาลักษณะการไหลของน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำและประเมินผล รวมถึงคาดการณ์พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมภายใต้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานี C.2 และนำผลที่ได้จาก Nays2DFlood มาจัดทำแผนที่น้ำท่วม ซึ่งแผนที่จะแสดงค่าความลึกและบริเวณพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม เพื่อหาแนวทางหรือมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต</p> ชนะศักดิ์ แสงสกุล รณกร สนธิแก้ว สนิท วงษา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE02 WRE02 การหาปริมาณน้ำไหลเข้ากว๊านพะเยาโดยใช้โปรแกรม IFAS บนหลักการแบบจำลองถังร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/174 <p>กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำสำคัญในเขตตัวเมืองของจังหวัดพะเยา มีพื้นที่รับน้ำ 1227 ตารางกิโลเมตรแต่มีความจุเก็บกักแค่ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีลำน้ำไหลเข้ากว๊าน 13 สาย และไหลออกจากกว๊านเพียง 1 สายเท่านั้น จึงมักเกิดอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจรอบกว๊านอยู่เป็นประจำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำสาขาที่ไหลเข้ากว๊านพะเยาโดยใช้โปรแกรม IFAS (Integrated Flood Analysis System) บนหลักการแบบจำลองถัง 2 ชั้น ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยใช้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากสถานีวัดน้ำฝน 8 สถานี และข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ และได้แบ่งลุ่มน้ำสาขาของกว๊านพะเยาออกเป็นลุ่มน้ำย่อย 6 ลุ่มน้ำ โดยเป็นลุ่มน้ำสาขาที่มีสถานีวัดน้ำท่าติดตั้งอยู่จำนวน 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำอิงตอนบน ลุ่มน้ำแม่ต๋ำ และลุ่มแม่ต๊ำ จึงสามารถนำข้อมูลน้ำท่าที่วัดได้จากสถานีวัดดังกล่าวมาสอบเทียบกับค่าของแบบจำลองจากโปรแกรม โดยทำการปรับค่าพารามิเตอร์จำเพาะของลุ่มน้ำต่างๆตามลักษณะการใช้ที่ดิน ได้แก่ SKF(Final Infiltration Capacity) , SNF(Roughness Coefficient of Ground Surface) และAUD(Regulation Coefficient of Rapid Intermediate Outflow) เมื่อได้พารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับลุ่มน้ำที่มีสถานีวัดน้ำทั้งสามแล้วจึงนำค่าพารามิเตอร์ชุดดังกล่าวไปใช้กับลุ่มน้ำที่ไม่มีสถานีวัดปริมาณน้ำ โดยเลือกชุดพารามิเตอร์ของลุ่มน้ำที่มีลักษณะภูมิประเทศและการใช้ที่ดินที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งการมีอยู่ของโครงสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา แล้วจึงทำการหาปริมาณน้ำท่ารายชั่วโมงและรายวันจากแต่ละลุ่มน้ำสาขาที่ไหลเข้าสู่กว๊านพะเยาเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญสนับสนุนการตัดสินใจปล่อยน้ำจากกว๊านโดยไม่ให้เกิดน้ำท่วมกระทบกับพื้นที่เศรษฐกิจรอบกว๊าน</p> เปรม เชิดโชติกานต์ ชูโชค อายุพงศ์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE03 WRE03 Scour Protection Around Bridge Pier Using Based Ramp https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/219 <p>The purposes of this study will innovate the scour protection system around bridge piers reducing the depth and size of scour by using based ramp protection. Bridge piers are substructure which strongly used to support bridges. It appears that one of the main causes of bridge pier failure is scour. Scour is a hydrodynamic process that remove the sediment around bridge piers caused by flow separation as well as vortexes developing also known as scour hole. For the reason, bridge piers able to fail in case there is not enough protection and attentive consideration. The experiments were carried out in the large-sized open-channel flume at KMUTT. The scour mechanism and the time-varied development of scour depth were studied. The based ramps for scour protection were designed and differentiated into four different size and shape in order to find the most effective protection and reduction for scour. Maximum depth and 12-measuring points around the curb of the scour hole were measured and collected. In the first 60 minutes, the measuring point reading was recorded every 10 minutes, and then every 30 minutes until reaching 120 minutes. The test results show the maximum scouring depth is increasing in the function of time. An unprotection pier without based ramp was conducted to be the reference. The cases with based ramp protection then carried out to compare and analyze the protection efficiency.</p> Tussanun Thunyaphun Duangrudee Kositgittiwong Chaiwat Ekkawatpanit Rachapol Sukjan Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE04 WRE04 A study of the energy reduction of flow through concrete and natural rubber tetrapods https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/221 <p>ยางพาราเป็นวัสดุที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลายซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้านวิศวกรรมอย่างยาวนาน แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังคงประสบปัญหายางพาราราคาตก และปัญหายางพาราล้นตลาด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการผลิตยางพาราเป็นอย่างมาก แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศอันดับต้น ๆในการผลิตและส่งออกยางพารา แต่ยังคงประสบกับปัญหาเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษาการนำยางพารามาประยุกต์ใช้ในงานด้านการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและแม่น้ำอันเนื่องมาจากคุณสมบัติพิเศษของยางพาราที่สามารถนำมาใช้ในการป้องกันการกัดเซาะได้รวมถึงเพิ่มมูลค่าสินค้าของยางพาราอีกด้วย โดยวิธีการศึกษาของงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของน้ำที่ไหลผ่านก้อนคอนกรีตและยางพาราทรงสี่ขาสมมาตรในห้องปฏิบัติการชลศาสตร์ โดยการศึกษานี้ดำเนินการในรางชลศาสตร์ ( ยาว 12 เมตร, กว้าง 0.6 เมตร และ สูง 0.8 เมตร) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล่าธนบุรี การวิจัยนี้ได้มีการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการลดพลังงานน้ำที่ไหลผ่านคอนกรีตและยางพาราทรงสี่ขาสมมาตร ซึ่งจากผลการทดลองพบว่ายางพาราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านการป้องกันการกัดเซาะได้ โดยก้อนยางพาราสามารถสลายพลังงานน้ำที่ไหลผ่านได้เช่นกันเมื่อเทียบกับก้อนคอนกรีต และยิ่งไปกว่านั้นยางพาราเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ดังนั้นจึงควรนำมาใช้เป็นวัสดุที่ยึดกับสิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายได้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้หวังว่าจะเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ยางพาราเพื่อสามารถนำมาป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและแม่น้ำ รวมถึงแก้ปัญหายางพาราล้นตลาดในอนาคตได้อีกด้วย</p> Watusiri Suwannarat Duangrudee Kositgittiwong Chaiwat Ekkawatpanit Rachapol Sukjan Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE05 WRE05 การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมแสงสว่างในเวลากลางคืนคาดการณ์การใช้น้ำประปาของประเทศไทย https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/224 <p>บทความนี้นำเสนอการใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายแสงไฟในเวลากลางคืนของประเทศไทยจากดาวเทียม DMPS มาคาดการณ์ใช้น้ำประปาของประเทศไทย โดยวิธีการหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนประชากร จำนวนผู้ใช้น้ำประปา รายได้ของประชาชนในแต่ละจังหวัดของประเทศไทยเปรียบเทียบกับความเข้มของแสงสว่างที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียม โดยการประยุกต์ใช้โปรแกรม ArcMap 10.2 แปลงค่าแสงสว่างฯ จากดาวเทียม ออกมาเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 - 63 เมื่อนำผลลัพธ์ที่ได้มาวิเคราะห์โดยการพล๊อตกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มของแสงไฟกับจำนวนประชากร , มูลค่า GPP และจำนวนผู้ใช้น้ำประปารายจังหวัด รายอำเภอ รายตำบล พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างแสงสว่างฯ กับจำนวนประชากร ค่า GPP และจำนวนผู้ใช้น้ำประปา ดังที่ได้กล่าวถึงแล้วนั้น มีแนวโน้มสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแสงสว่างฯ จากดาวเทียมสามารถนำมาเป็นตัวชี้วัดและนำมาใช้ประโยชน์ในการคาดการณ์การใช้น้ำประปาในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> เจษฎายุทธ ไกรนรา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE06 WRE06 การคาดการณ์ภัยแล้งในอนาคตภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยดัชนี SPI https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/232 <p>เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันนั้นเริ่มส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ในการศึกษาครั้งนี้จึงนำข้อมูลที่คำนวณจากแบบจำลอง HadGEM2-ES จากช่วงเวลาอดีต 35 ปี (ปี ค.ศ. 1971-2005) นำมาหาค่าอคติที่อาจเกิดจากระบบของแบบจำลอง จากนั้นนำค่าอคติที่หาได้มาปรับแก้ข้อมูลที่ทำนายจากแบบจำลอง HadGEM2-ES ในช่วงเวลาอนาคต (ปี ค.ศ. 2020-2040) ภายใต้ Scenario การเพิ่มความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ CMIP5 RCP 4.5 เพื่อใช้คาดการณ์การเกิดภัยแล้งในอนาคตอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากดัชนี SPI ซึ่งผลการศึกษาพบว่าข้อมูลปริมาณฝนจากแบบจำลอง HadGEM2-ES การปรับแก้ค่าอคติด้วยวิธีแบบบวก ให้ค่าใกล้เคียงมากกว่าการปรับแก้ค่าอคติแบบคูณ และในช่วงปี 2020 ถึงปี 2040 ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีแนวโน้มปริมาณฝนเฉลี่ยในอนาคตมีค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ลักษณะการตกของฝนจะเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต คือ จากที่ฝนตกไม่แรงมาก แต่ตกหลายวันสม่ำเสมอตลอดปี เปลี่ยนเป็นฝนจะตกแรงมากขึ้นแต่จำนวนวันที่ฝนตกจะน้อยลง ผลการศึกษาแสดงค่าดัชนี SPI เฉลี่ยในพื้นที่จังหวัดนครนายกมีค่าระหว่าง -2.0 ถึง 2.0 พบว่าในปี 2020 ถึงปี 2040 เกิดสภาวะชื้นหรือฝนตกมากกว่าปกติ จำนวน 35 เดือน และเกิดสภาวะแห้งแล้ง จำนวน 27 เดือน</p> ปริชาติ เวชยนต์ วสันต์ สกุลกิจกาญจน์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE07 WRE07 การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำปิง และน่านเชิงกลยุทธ์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/250 <p class="Contentnew"><span lang="TH">จากเหตุการณ์วิกฤติน้ำท่วมปี 2554 ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยบริเวณลุ่มน้ำปิงและน่านตอนล่าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ก่อให้เกิดความเสียหายในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทางผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการจัดการความเสี่ยงน้ำในแต่ละพื้นที่ที่จะเกิดน้ำท่วม โดยจุดประสงค์การทำวิจัยคือเพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านชลศาสตร์ของลุ่มน้ำภายใต้การบริหารจัดการน้ำ และเพื่อประเมินผล รวมถึงคาดการณ์พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่อาจจะเกิดในอนาคต ด้วยการใช้โปรแกรม </span>ArcGIS <span lang="TH">เป็นเครื่องมือในการเตรียมข้อมูล </span>Digital Elevation Model<span lang="TH"> จาก</span> EarthData - NASA <span lang="TH">ของพื้นที่ศึกษา ซึ่งมีความละเอียด 30</span>*30 <span lang="TH">เมตร และใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ </span>iRIC (Nays2D Flood) <span lang="TH">เป็นเครื่องมือในการจำลองลักษณะการไหลของลุ่มน้ำ โดยลุ่มน้ำปิงศึกษาการไหลตั้งแต่ท้ายเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และลุ่มน้ำน่านศึกษาตั้งแต่ท้ายเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ และนำผลการคำนวณมาจัดทำแผนที่น้ำท่วมและแผนที่ความเสี่ยงน้ำท่วม ซึ่งจะแสดงจังหวัดที่เกิดน้ำท่วม เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและระดับความลึกของน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำหากเกิดน้ำท่วมในอนาคต</span></p> จิรนันท์ เพชรนุ้ย ณัฐธิดา คงมาก ณัฐวาณี เรียงสมบูรณ์ ภาวินี น้อยท่าทอง สนิท วงษา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE08 WRE08 การประเมินความต้องการใช้น้ำกลุ่มที่พักอาศัยในพื้นที่รับผิดชอบของการประปานครหลวงแบบรายพื้นที่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/254 <p>ในการวางแผนการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคและการออกแบบระบบประปา ต้องมีการประเมินความต้องการใช้น้ำของผู้พักอาศัยในพื้นที่ ปัจจุบันการประปานครหลวงใช้ตัวเลขความต้องการใช้น้ำซึ่งเป็นค่าเฉลี่ย 250 ลิตรต่อคนต่อวัน ในการวางแผนและออกแบบ ค่าดังกล่าวนี้มีความคลาดเคลื่อนจากพฤติกรรมการใช้น้ำจริงของประชากรซึ่งเป็นผลจากหลายปัจจัย อาทิเช่น ฐานะรายได้ ความเป็นอยู่ ลักษณะที่อยู่อาศัยและการใช้ที่ดิน เป็นต้น การศึกษานี้ประเมินความต้องการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำกลุ่มที่พักอาศัย (M1) ในพื้นที่รับผิดชอบของการประปานครหลวง โดยวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการใช้น้ำจากฐานข้อมูลผู้ใช้น้ำของการประปานครหลวงย้อนหลัง 7 ปี (ปี พ.ศ. 2555 - 2561) จำแนกเป็นรายเขต/อำเภอ พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์และองค์ประกอบระหว่างจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ ลักษณะอสังหาริมทรัพย์ (แนวดิ่ง/แนวราบ) ในพื้นที่ และจำนวนประชากรแฝงในรูปแบบของแรงงานธุรกิจบริการจำนวน 62 พื้นที่ (กรุงเทพมหานคร 50 เขต จังหวัดสมุทรปราการ 6 อำเภอ และจังหวัดนนทบุรี 6 อำเภอ) ทั้งนี้ การศึกษานี้แบ่งพื้นที่อยู่อาศัยออกเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 พื้นที่เมืองเก่าที่ยังคงสภาพเดิม กลุ่มที่ 2 พื้นที่ธุรกิจการค้าและที่พักแนวดิ่ง กลุ่มที่ 3 พื้นที่พักอาศัยแนวราบขนาดเล็ก กลุ่มที่ 4 พื้นที่พักอาศัยแนวราบขนาดกลาง กลุ่มที่ 5 พื้นที่พักอาศัยแนวราบขนาดใหญ่ และกลุ่มที่ 6 พื้นที่อุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่าอัตราการใช้น้ำเฉลี่ยของกลุ่มที่พักอาศัยในพื้นที่รับผิดชอบของการประปานครหลวงอยู่ในช่วง 125 – 263 ลิตรต่อคนต่อวัน โดยกลุ่มที่ 1 มีความต้องการใช้น้ำต่ำที่สุดเท่ากับ 125 ลิตรต่อคนต่อวัน กลุ่มที่ 5 มีความต้องการใช้น้ำสูงสุดเท่ากับ 263 ลิตรต่อคนต่อวัน นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มที่ 3 พื้นที่พักอาศัยแนวราบขนาดเล็กซึ่งครอบคลุมพื้นที่เขตคลองสามวา อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางบัวทอง มีอัตราการเจริญเติบโตของกลุ่มผู้ใช้น้ำมากที่สุด ซึ่งอาจส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำในอนาคตในปริมาณมากเกินกว่าที่การประปานครหลวงเคยคาดการณ์ไว้ในอดีต ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้น้ำเชิงพื้นที่ย่อยซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการพัฒนาของเมืองในการศึกษานี้จะสนับสนุนให้การวางแผนการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมีความถูกต้องยิ่งขึ้น</p> สขิลา ลีลาชัย สิตางศุ์ พิลัยหล้า Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE09 WRE09 การจำลองระบบล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิง ในพื้นที่เฝ้าระวัง สำนักงานประปาสาขาทุ่งมหาเมฆ การประปานครหลวง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/255 <p>การประปานครหลวงได้กำหนดมาตรการในการล้างเส้นท่อในพื้นที่เฝ้าระวังอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำประปาขุ่นและค่าคลอรีนอิสระคงเหลือไม่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาถึงขอบเขตเส้นท่อที่ถูกล้างและระยะเวลาในการเปิดหัวดับเพลิงที่เหมาะสม ดังนั้นการจำลองระบบการล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิง สามารถใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมทางด้านชลศาสตร์ของกระบวนการดังกล่าว</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้ได้ทำการจำลองระบบการล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิงในพื้นที่เฝ้าระวัง 05-05-05 ของสำนักงานประปาสาขาทุ่งมหาเมฆ ด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ EPANET โดยได้ทำการวัดแรงดันน้ำในพื้นที่เฝ้าระวังทั้งหมด 3 จุดเป็นระยะเวลา 5 วัน และเปิดน้ำล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิงเพื่อจำลองกระบวนการล้างเส้นท่อ ผลการจำลองระบบการล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิงสามารถแสดงขอบเขตอิทธิพลของการระบายน้ำล้างเส้นท่อที่มีผลกระทบต่อค่าแรงดันน้ำที่ลดลง และทำให้ทราบว่าระยะเวลาในการระบายน้ำล้างเส้นท่อไม่มีผลต่อค่าคลอรีนอิสระคงเหลือแต่เป็นการดึงน้ำใหม่เข้ามาในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น&nbsp; ปัจจัยที่สำคัญในการล้างเส้นท่อให้มีประสิทธิภาพคือ ความเร็วการไหลในเส้นท่อต้องไม่น้อยกว่า 0.91 เมตร/วินาที ตามมาตรฐาน AWWA standard ANSI/AWWA C651-14 [1] ซึ่งผลการจำลองสามารถแสดงค่าความเร็วการไหลในระบบโครงข่ายท่อ ทำให้สามารถประเมินประสิทธิภาพของการล้างเส้นท่อได้ และสามารถนำแบบจำลองที่ได้ไปกำหนดแผนการระบายน้ำล้างเส้นท่อที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ</p> สกุณี พัฒนโภครัตนา สุรชัย ลิปิวัฒนาการ อดิชัย พรพรหมินทร์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE10 WRE10 การติดตามและวิเคราะห์ความเค็มรุกตัวด้วยระบบคาดการณ์ความเค็มรุกตัวในแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงพายุโซนร้อนปาปึก 2562 https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/284 <p>ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เผชิญพายุโซนร้อนปาบึก ที่มีความรุนแรงในรอบ 2 ทศวรรษหลังจากพายุไต้ฝุ่นลินดาในปี พ.ศ. 2540 โดยพายุโซนร้อนปาบึกได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง บริเวณอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างความเสียหายต่อพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันอิทธิพลของพายุโซนร้อนปาบึกได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นอีกสถานที่ได้รับอิทธิพลของคลื่นลมจากพายุโซนร้อนปาบึกส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น &nbsp;ทำใหความเค็มจากน้ำทะเลรุกตัวเข้าสู่บริเวณสถานีสูบน้ำผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้ติดตามสถานการณ์ความเค็มรุกตัวด้วยระบบติดตามและคาดการณ์ความเค็มรุกตัว 7 วันล่วงหน้าในแม่น้ำเจ้าพระยา ร่วมกับระบบคาดการณ์คลื่นพายุซัดฝั่งและเตือนภัยล่วงหน้าในอ่าวไทย (Storm Surge Forecasting and Early Warning System in The Gulf of Thailand) ผลการคาดการณ์ความเค็มรุกตัวช่วงปาบึกล่วงหน้า 1 วัน 2 วัน 3 วัน มีความถูกต้องอยู่ที่ 68% 55% และ 50% ผลการคาดการณ์ความเค็มรุกตัวอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ อย่างไรก็ตามระบบคาดการณ์ความเค็มรุกตัวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก ด้วยเนื่องจากการบริหารจัดการน้ำที่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งความไม่แน่นอนของผลการคาดการณ์อากาศและคาดการณ์คลื่นพายุซัดฝั่งล้วนแล้วมีผลกระทบต่อระบบคาดการณ์ความเค็มรุกตัว</p> ธีรพล เจริญสุข คชาภรณ์ เจตนาวณิชย์ วาทิน ธนาธารพร ปิยมาลย์ ศรีสมพร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE11 WRE11 The Effect of Depths of Partial Breakwater on Wave Transmissibility by Physical Model https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/289 <p>Coastal erosion in Thailand becomes more dangerous nowadays, especially in the Upper Gulf of Thailand, where is the mudflat. Some kinds of mitigation structures face the subsidence problem because of the lack of the strength capacity of the muddy ground. Therefore, not every type of protection structure can be constructed on this clay. Only the structure that transfers its weight directly and deeply into the ground can initiate in this muddy area. In Khun Samut China village located in Samut Prakan province, the villagers applied the piles with the partial wall on the water surface, as called “partial breakwater”, to protect their land. This kind of structure is an appropriate alternative and has a higher potential for muddy coast protection. However, the effectiveness of the partial breakwater was studied only from the influence of the wave characteristics. The impact of the appearance of the structure is not yet proved. This study aims to investigate the relationship between the physical attributes of the breakwater and the transmission ability of waves through it. The experiment was conducted by varying the depth of the partial breakwater and measuring wave height before and after it hit the structure. After that, the transmission coefficient was calculated. Besides, the influence distance after the structure was considered. The results showed that the more structure depth is, the less wave transmission coefficient becomes. In conclusion, the inverse variation is the tread of the relationship between these two parameters. The results of the study will be usefully revealed to support the design of the mitigation structure for the erosion problem of the muddy coast in the future.</p> นันทวุฒิ อินทรียงค์ Anuruk Sriariyawat Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE12 WRE12 Assessing Forecast Quality of HII Flood Forecast Service in Chao Phraya River Basin https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/293 <p>Hydrometeorological forecasts are essential to water management plans including early warning and flood damage prevention. Forecasting models have varying levels of skill depending on the forecast location and period of the year. Measure of skills can have a strong influence on how forecasts impact decisions related to water management, and they must be communicated to the users of the forecasts. Various forecast verification methods are available for assessing the multiple facets of forecast performance including notions such as accuracy, reliability and sharpness. This paper describes a variety of complementary performance metrics to verify Hydro Informatic Institute (HII)’s flood forecasts in Chao Phraya River Basin. The accuracy of the forecasts is evaluated using the continuous rank probability score (CRPS) which quantifies the difference between a forecast distribution and observation. The sharpness of forecasts is calculated using the ratio of inter quantile range (IQRs) of streamflow forecasts and a historical reference. The reliability of forecasts is also considered using attribute diagrams and Kolmogorov-Smirnov (KS) test. In addition, this paper applies the traditional continuous verification methods and statistics such as Bias, Mean Absolute Error (MAE), Root Mean Square Error (RMSE), Nash-Sutcliffe Efficiency Coefficient (NSE), Coefficient of determination (R<sup>2</sup>) and Pearson Correlation Coefficient (r). The comparison of the forecast and observed discharge indicate that the MIKE11 model can predict well. The trends are similar in almost all key stations and the overall correlation is acceptable. This study definitely answers the question regarding the correlation between the forecast and observed streamflow and the performance of the forecasts. Based on the verification statistics, it was demonstrated that HII’s flood forecasts are reliable.</p> Kay Khaing Kyaw Theerapol Charosesuk Watin Thanathanphon Piyamarn Sisomphon Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE13 WRE13 แบบจำลองอุทกพลศาสตร์ MIKE11 สำหรับประเมินอุทกภัยในทุ่งโพธิ์พระยา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/303 <p>การผันน้ำเข้าทุ่งเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญสำหรับบรรเทาความเสี่ยงอุทกภัยจากน้ำเหนือไหลหลากในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้พัฒนาแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ MIKE11 สำหรับประเมินความลึกของระดับน้ำและพื้นที่น้ำท่วมในทุ่ง &nbsp;จากผลกระทบของการปล่อยน้ำเข้าทุ่ง แบบจำลอง MIKE11 เป็นแบบจำลองที่ได้รับการยอมรับในการอธิบายการไหลในแม่น้ำ แต่ได้ถูกปรับปรุงให้สามารถประเมิน -- เป็นกริด(grid) -- สถานการณ์น้ำท่วมคาดการณ์ในทุ่งได้ โดยสมมติอาคารชลศาสตร์จินตภาพในการกระจายน้ำตามพื้นที่ และอาศัยข้อมูลจากแบบจำลองระดับความสูงเชิงตัวเลข (DEM)&nbsp; แบบจำลองMIKE11ที่ปรับปรุงนี้ได้ถูกพัฒนา สำหรับอธิบายอุทกภัยในทุ่งโพธิ์พระยา โดยใช้ข้อมูลของเหตุการณ์น้ำท่วมในปี พ.ศ.2559 และ พ.ศ.2560 ในการปรับเทียบและสอบทาน ตามลำดับผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ (1) น้ำไหลในลำน้ำ และ (2) ล้นตลิ่ง ในกรณี (1)แบบจำลอง ซึ่งใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระในช่วง 0.025– 0.035 ให้ระดับน้ำหน้า ปตร.โพธิ์พระยาใกล้เคียงกับผลตรวจวัด (ค่าสัมประสิทธิ์ R<sup>2</sup>=0.72 – 0.83 และ ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยRMSE =0.15 – 0.23 ม.) ในกรณี (2) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระของพื้นที่ทุ่งน้ำท่วมเท่ากับ 0.045 – 0.050 แบบจำลองสามารถประมาณการระดับน้ำท่วมในพื้นที่ทุ่ง (0.90 – 1.20 ม.) ซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจวัดพอสมควร จากผลการพัฒนาแบบจำลองพอสรุปได้ว่า แนวคิดที่นำเสนอในการปรับปรุงแบบจำลองMIKE11 สามารถนำไปใช้ในการอธิบายอุทกภัยในทุ่งอื่นได้</p> ชวลิต ชาลีรักษ์ตระกูล เอกลักษณ์ จันดี Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE14 WRE14 วิธีการผันน้ำเพื่อการชลประทานสำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูแล้ง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/333 <p>การผันน้ำให้ตรงตามแผนการส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่ชลประทาน เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างระหว่างช่วงฤดูแล้งให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษานี้จึงนำเสนอวิธีการผันน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งประกอบด้วยความสัมพันธ์ถดถอยแบบควอนไทล์ (quantile regression) ระหว่างข้อมูลระดับน้ำเหนือเขื่อนกับอัตราการผันน้ำเข้าแม่น้ำและคลองที่สนใจ (2540 - 2561) และการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบการแจกแจงล็อกนอร์มอล(lognormal distribution) ของข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุนรวมของเขื่อนภูมิพลและสิริกิตติ์สำหรับช่วงฤดูแล้ง (2540-2561) ความสัมพันธ์ถดถอยแบบควอนไทล์เหมาะสมกว่าการถดถอยแบบกำลังสองน้อยที่สุด (least squares regression) เพราะงานวิจัยนี้สนใจฟังก์ชั่นแบบมีเงื่อนไขกับควอนไทล์ นอกจากนี้ มันยังแปรปรวนน้อยกว่า เมื่อต้องใช้ประมาณการกรณีสุดโต่งด้วย ขั้นตอนการประยุกต์ใช้วิธีการที่พัฒนาขึ้นนี้เริ่มต้นโดยใช้แบบจำลองหาระดับความน่าจะเป็นของข้อมูลน้ำต้นทุนรวม จากนั้นประยุกต์ความสัมพันธ์ถดถอย ในการประมาณการอัตราการผันน้ำด้วยระดับความน่าจะเป็นที่ได้พร้อมทั้งข้อมูลระดับน้ำเหนือเขื่อน ผลการประยุกต์วิธีการผันน้ำที่เสนอเข้าสู่แม่น้ำน้อยผ่านทางประตูระบายน้ำบรมธาตุ และแม่น้ำท่าจีนผ่านทางประตูระบายน้ำพลเทพ พบว่า วิธีการนี้สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานได้ตรงตามแผนมากกว่าข้อมูลการผันน้ำเดิม</p> ชวลิต ชาลีรักษ์ตระกูล คุณานนต์ ศรีสุทิวา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE15 WRE15 ผลของระดับน้ำหน้าเขื่อนต่อการเปลี่ยนแปลงระยะฐานของการออกแบบเขื่อนคอนกรีตกราวิตี้แบบไม่ให้น้ำไหลข้ามสันเขื่อน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/340 <p>ในการออกแบบเพื่อหาระยะฐานสำหรับเขื่อนคอนกรีตแบบไม่ให้น้ำไหลข้ามสันเขื่อนด้วยวิธีออกแบบขั้นตอนเดียวนั้น จะต้องระบุค่าระดับต่างๆที่สำคัญ เช่น ค่าระดับน้ำด้านหน้าเขื่อน ค่าระดับตะกอน ค่าความสูงของเขื่อนและระยะสัดส่วนของเขื่อนต่างๆ ก่อน และหาระยะฐานออกมา โดยให้ระยะฐานนั้นเป็นฟังก์ชันของการวิเคราะห์แรงต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นแรงเนื่องจากความดันน้ำ ความดันยกของน้ำใต้ฐานเขื่อน ความดันตะกอน น้ำหนักตัวเขื่อนและฐานราก แผ่นดินไหว เป็นต้น ทั้งนี้ระยะที่สำคัญอย่างมากและมีความเกี่ยวข้องกับแรงหลายประเภทคือระดับน้ำด้านหน้าเขื่อน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์หาการเปลี่ยนแปลงระยะฐานจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำด้านหน้าเขื่อน โดยมีเงื่อนไขให้แรงลัพธ์ที่เกิดขึ้นต้องตกอยู่ในระยะ middle third ของฐาน และต้องมีเสถียรภาพจากการเลื่อนไถลและการพลิกคว่ำ ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ของระยะฐานที่ปลอดภัยจะมีความสัมพันธ์กับค่าระดับน้ำหน้าเขื่อนในลักษณะสมการพหุนามกำลังสอง และนอกจากนี้ยังพบว่าหากอัตราส่วนระหว่างระยะฐานที่ได้ต่อระดับน้ำมีค่าน้อยกว่าหนึ่ง ระยะฐานที่ได้จะมีเสถียรภาพโดยไม่ต้องทำการขยายฐาน</p> ปุณยวีร์ ประดงจงเนตร ธนพร สุปริยศิลป์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE16 WRE16 การประยุกต์โปรแกรม iRIC-Nays2DFlood ศึกษาพฤติกรรม และผลกระทบจากการหลากของน้ำท่วมเนื่องจากการวิบัติของเขื่อนเซเปียน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/363 <p>เนื่องเหตุการณ์วิบัติของเขื่อนเซเปียน บริเวณเขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ D ที่ตั้งอยู่ที่เมืองสะหนามไซ แขวงอัตตะปือ ประเทศลาว &nbsp;ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อพื้นที่บริเวณนั้น ผู้วิจัยจึงประยุกต์ใช้โปรแกรม iRIC-Nays2DFlood เพื่อสร้างแบบจำลอง ที่แสดงพฤติกรรมการไหล ขอบเขตพื้นที่ ระดับความลึก และระยะเวลาการท่วมขังของน้ำท่วม จากการศึกษาได้นำผลคำนวณไปสร้างแผนที่น้ำท่วมและแผนที่ความเสี่ยงน้ำท่วม พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางป้องกันและเตรียมการรับมือเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต</p> กุลยา ขันธ์วรวงศ์ ภัทรานิษฐ์ ชุ่มมิ สนิท วงษา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE17 WRE17 ผลกระทบของการวิเคราะห์ค่าความลำเอียงแบบเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ต่อความถูกต้องของน้ำฝนเรดาร์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/365 <p class="Contentnew" style="text-indent: 36.0pt;"><span lang="TH">แฟกเตอร์ปรับแก้ความลำเอียงมีความสำคัญมากต่อความถูกต้องในการประเมินน้ำฝนด้วยเรดาร์ กล่าวคือเป็นที่ยอมรับว่าแฟกเตอร์ดังกล่าวสามารถลดความคลาดเคลื่อนในการประเมินน้ำฝนเรดาร์จากการใช้ความสัมพันธ์ </span>Z-R (<span lang="TH">ระหว่างค่าการสะท้อนกลับจากเรดาร์ (</span>Z) <span lang="TH">และน้ำฝนจากเรดาร์ (</span>R)) <span lang="TH">ได้ อย่างไรก็ตามเทคนิคการวิเคราะห์ค่าแฟกเตอร์ปรับแก้ความลำเอียงมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความซับซ้อนในการวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์แฟกเตอร์การปรับแก้ที่เหมาะสม บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลกระทบของการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์แฟกเตอร์ความลำเอียงแบบเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่และเวลา ต่อความถูกต้องในการประเมินน้ำฝนเรดาร์เมื่อเทียบกับการใช้แฟกเตอร์ความลำเอียงแบบเฉลี่ยคงที่ทั้งพื้นที่ โดยได้เลือกใช้วิธีประมาณค่าระหว่างช่วงจำนวน 2 วิธีคือ </span>Inverse Distance Weighted Interpolation (IDW) <span lang="TH">และ </span>Ordinary Kriging Interpolation (OK) <span lang="TH">สำหรับใช้วิเคราะห์ค่าแฟกเตอร์ความลำเอียงแบบเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่แบบรายกริด ข้อมูลค่าการสะท้อนกลับจากเรดาร์ ณ สถานีเรดาร์สัตหีบ และข้อมูลน้ำฝนจากสถานีวัดน้ำฝนอัตโนมัติ จำนวน 297 สถานี ในปี พ.ศ. 2556 ได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมื่อประยุกต์ใช้เทคนิคความลำเอียงเชิงพื้นที่ร่วมกับความสัมพันธ์ </span>Z-R <span lang="TH">นำไปสู่ความถูกต้องในการประเมินน้ำฝนที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการใช้ค่าเฉลี่ยเชิงพื้นที่แบบ </span>MFB <span lang="TH">ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมที่จะนำเทคนิคการปรับแก้ความลำเอียงแบบเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเกิดฝนในพื้นที่ศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานพัฒนาด้านแหล่งน้ำของประเทศต่อไป</span></p> ชูวิท มากมี พรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE18 WRE18 ผลกระทบของลักษณะลมและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อภัยแล้ง https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/386 <p>ดัชนีฝนมาตรฐาน (Standard Precipitation Index, SPI) เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ สำหรับประเมินสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยปกติ ดัชนี SPI จะแปรตามลักษณะกายภาพของพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงของฝนจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ดังนั้น ในที่นี้ บทความจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลกระทบของลักษณะลมที่พัดผ่านพื้นที่ ต่อภัยแล้งที่เกิดขึ้น และ (2) วิเคราะห์แนวโน้มของภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำที่พิจารณา การศึกษาใช้ข้อมูลฝนรายเดือนยาว 35 ปี (1981 – 2015) จำนวน 5 สถานี ในพื้นที่ลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งมีลมพัดพามวลอากาศชื้นผ่าน และ 9 สถานี ในพื้นที่ลำตะคอง ซึ่งอับลม ผลการวิเคราะห์พบว่า ลักษณะการรับลมของพื้นที่ส่งผลต่อสถานการณ์ภัยแล้ง เพราะพื้นที่นครนายกเผชิญภัยแล้งทั้งในระดับรุนแรงมากและปานกลาง น้อยครั้งกว่าพื้นที่ลำตะคอง นอกจากนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ยังแสดงให้เห็นว่า สภาวะโลกร้อนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาวะแห้งแล้งของความชื้นในดิน ในขณะที่ความแห้งแล้งของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของทั้งสองลุ่มน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ</p> ชวลิต ชาลีรักษ์ตระกูล ดุลยพล เหล็งพั้ง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE19 WRE19 การศึกษาการวิบัติของสะพานคลองวังยาวเนื่องจากน้ำท่วมปี 2560 โดยการใช้แบบจำลองประยุกต์ iRIC https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/393 <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาการวิบัติของสะพานคลองวังยาวเนื่องจากน้ำท่วมปี 2560 โดยใช้แบบจำลองทางชลศาสตร์ iRIC เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมทางชลศาสตร์ ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลค่าระดับคราบน้ำท่วมจริงในพื้นที่และวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการวิบัติของสะพานโดยแบ่งเป็น 4 กรณี คือ กรณีที่ 1 มีสิ่งกีดขวางแบบไม่มีการเปลี่ยนแปลงท้องน้ำ กรณีที่ 2 มีสิ่งกีดขวางแบบมีการเปลี่ยนแปลงท้องน้ำ กรณีที่ 3 มีสิ่งกีดขวางแบบมีการเปลี่ยนแปลงท้องน้ำและกัดเซาะตลิ่ง กรณีที่ 4 มีสิ่งกีดขวางแบบมีการเปลี่ยนแปลงท้องน้ำ กัดเซาะตลิ่ง และมีการเปลี่ยนขนาดตอม่อสะพาน จากกรณีศึกษาทั้ง 4 กรณี พบว่าพฤติกรรมการไหลของน้ำมีการไหลที่ผิดปกติ อันเนื่องมาจากสิ่งกีดขวางหรือตอม่อสะพาน ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะบริเวณตอม่อของสะพานคลองวังยาวจึงเป็นสาเหตุให้เกิดการวิบัติของสะพาน จากการศึกษาพบว่าการออกแบบตอม่อสะพานให้เล็กลงและสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะบริเวณริมตลิ่งสามารถช่วยป้องกันการกัดเซาะในบริเวณสะพานคลองวังยาวได้</p> <p>&nbsp;</p> หะริน คัมภีรศาสตร์ สนิท วงษา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE20 WRE20 สัมประสิทธิ์ความขรุขระของทางน้ำเปิดที่มีขยะและผักตบชวา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/412 <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อที่จะหาสัมประสิทธิ์ความขรุขระของทางน้ำเปิด (Manning’s roughness coefficient, n) ของทางน้ำที่มีขยะและผักตบชวา โดยศึกษาในห้องปฏิบัติการและทดลองในรางน้ำเปิดหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 0.60 เมตร ยาว 16 เมตร สูง 0.75 เมตร ที่มีการไหลเวียนของน้ำ ในห้องปฏิบัติการแบบจำลองชลศาสตร์และชายฝั่งทะเล ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษานี้ได้จำลองขยะที่ลอยอยู่บนผิวน้ำด้วยวัสดุพลาสติกถ่วงน้ำหนักและไม้ จำนวน 75 การทดลอง และผักตบชวา 50 การทดลอง โดยข้อมูลความลึกการไหลในรางน้ำอยู่ระหว่าง 0.45 เมตร ถึง 0.60 เมตร และอัตราการไหลของน้ำอยู่ระหว่าง 7.87 ลิตรต่อวินาที ถึง 17.4 ลิตรต่อวินาที ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ทางน้ำที่มีขยะและผักตบชวาทำให้ค่า n ลดลงสูงสุดประมาณ 20% และ 17% ตามลำดับ ความยาวของขยะและผักตบชวาที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่า n เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ระยะจมของขยะและผักตบชวาเพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่า n เพิ่มขึ้น</p> สุวิภา กุศลจูง เสรี จันทรโยธา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE21 WRE21 การศึกษาความเหมาะสมของระยะห่างในการติดตั้งสถานีวัดน้ำฝน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/427 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพข้อมูลน้ำฝนและศึกษาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) ของข้อมูลน้ำฝนที่ตรวจวัดจากสถานีวัดน้ำฝนเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ระยะห่างของตำแหน่งที่ตั้งสถานีวัดน้ำฝนที่เหมาะสมได้ โดยเลือกพื้นที่อำเภอตรอนและอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นพื้นที่ศึกษา ในการศึกษาได้ใช้วิธี Double Mass Curve เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลน้ำฝนจากสถานีวัดน้ำฝน และได้วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของข้อมูลน้ำฝนที่ตรวจวัดจากสถานีวัดน้ำฝนในพื้นที่ศึกษาโดยใช้ข้อมูลน้ำฝนสะสมรายปี ผลการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลน้ำฝนด้วยวิธี Double Mass Curve ของสถานีวัดน้ำฝน 10 สถานีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอตรอนและอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่ามีสถานีวัดน้ำฝนผ่านการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลน้ำฝน 9 สถานี และต้องมีการปรับแก้ข้อมูลน้ำฝน 1 สถานี สำหรับพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีสถานีวัดน้ำฝนทั้งหมด 11 สถานี ซึ่งผ่านการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลน้ำฝนทั้ง 11 สถานี ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของข้อมูลน้ำฝนสะสมรายปีในแต่ละสถานีวัดน้ำฝนเพื่อใช้วิเคราะห์ระยะทางที่เหมาะสมในการติดตั้งสถานีวัดน้ำฝน พบว่าพื้นที่ของอำเภอตรอนและอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้ระยะทางที่เหมาะสมในการติดตั้งสถานีวัดน้ำฝนอยู่ในช่วง 5 ถึง 10 กิโลเมตร</p> รัชเวช หาญชูวงศ์ ธนัท นกเอี้ยงทอง วลัยรัตน์ บุญไทย Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE22 WRE22 การสร้างแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่าสำหรับน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่เมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/440 <p>น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่เมืองเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่น้ำท่วมฉับพลันมีสาเหตุมาจากฝนตกหนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณน้ำฝนส่วนเกิน<br>ไม่กี่ชั่วโมง จึงมีเวลาสั้นมากในการเตือนภัย ส่งผลให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก น้ำท่วมฉับพลันในเมืองบ้านไผ่ในลุ่มน้ำห้วยจิก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2562 ได้ถูกนำมาศึกษา ซึ่งการศึกษานี้มีความท้าทายเพราะไม่มีสถานีตรวจวัดน้ำท่าในพื้นที่ศึกษา วัตถุประสงค์หลักของการศึกษา คือ การสร้างแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า เพื่อประเมินปริมาณและระยะเวลาการเกิดน้ำท่วมสูงสุด การสร้างแบบจำลองโดยใช้โปรแกรม QGIS ช่วยในการประมาณค่าพารามิเตอร์จากแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข, แผนที่การใช้ที่ดิน และแผนที่ลักษณะของดิน สำหรับการสอบเทียบแบบจำลองใช้ข้อมูลตรวจวัดปริมาณน้ำฝนรายชั่วโมงถูกคำนวณเปลี่ยนเป็นปริมาณน้ำท่าสังเคราะห์ โดยที่ปริมาณน้ำท่าสังเคราะห์นี้เปรียบเทียบกับค่าประมาณปริมาณน้ำท่าที่จุดออกของลุ่มน้ำห้วยจิก ซึ่งประมาณค่านี้จากโค้งปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำแก่งละว้า ผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่าสามารถคำนวณปริมาณและระยะเวลาการเกิด<br>น้ำท่วมสูงสุดเป็นที่ยอมรับได้ สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม จะนำการวิเคราะห์และการออกแบบปริมาณน้ำฝนมาร่วมสร้างแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนระบบเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้า</p> ธีรเมธ หิรัญวัฒนานนท์ วรพงษ์ โล่ห์ไพศาลกฤช Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE23 WRE23 การศึกษาดัชนี CSI ที่ทำให้เกิดฝนพาความร้อน (Convective rain) สำหรับการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/445 <p>น้ำท่วมฉับพลัน คือภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขณะฝนตกหรือหลังฝนตก สาเหตุจากมีปริมาณความเข้มฝนมากตกเกินขีดความสามารถของการรองรับน้ำหรือระบายน้ำของพื้นที่. พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันมักเป็นพื้นที่ลาดชันสูง อยู่บริเวณต้นน้ำหรือเชิงเขา รวมถึงพื้นที่เมืองใหญ่ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างรวดเร็ว&nbsp; โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ระบบระบายน้ำเดิมไม่เพียงพอกับสภาพพื้นที่ปัจจุบันส่งผลให้ความสามารถการระบายน้ำลดลง การคาดการณ์เหตุการณ์ที่ฝนจะตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝนพาความร้อน (Convective rain) จึงเป็นเรื่องที่ท้าท้ายและเป็นประโยชน์ ดังนั้นการศึกษานี้ได้นำค่า CAPE และ CIN ที่เป็นพารามิเตอร์หลักต่อการเกิดฝน convective ของฝนคาดการณ์รายชั่วโมงจากแบบจำลองคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้นแบบคู่ควบ WRF-ROMS มาวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์เพื่อทำเป็นดัชนีความเสี่ยงการเกิดพายุฝนพาความร้อนในพื้นที่ หรือ Convective Storm Index (CSI) และได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝนและเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันในอดีต จากผลการศึกษาพบว่า CSI index ที่มีค่าเกณฑ์สูงสามารถเตือนฝน convective ล่วงหน้าได้ และเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับเกณฑ์ปริมาณฝนวิกฤต ทำให้สามารถเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน และสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เสี่ยงได้</p> อภิมุข มุขตารี ทิชา โลลุพิมาน ธีรพล เจริญสุข สถิตย์ จันทร์ทิพย์ ปิยมาลย์ ศรีสมพร Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE24 WRE24 การประเมินมูลค่าความเสียหายจากน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกรรมโดยการใช้ปัจจัยที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/547 <p>พื้นที่เกษตรกรรมในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับผลผลกระทบจากน้ำท่วมมาตั้งแต่อดีต โดยความเสียหายจะแตกต่างกันไปตามลักษณะพื้นที่และลักษณะครัวเรือน การประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมหากพิจารณาเพียงความเสียหายที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียวจะทำให้มูลค่าความเสียหายต่ำหรือไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง การนำปัจจัยความเสียหายที่จับต้องไม่ได้มาพิจารณาร่วมจะทำให้ผลการวิเคราะห์มีถูกต้องมากยิ่งขึ้น การศึกษาในครั้งนี้ประกอบไปด้วย การจัดทำแบบจำลองทางชลศาสตร์เพื่อจำลองพื้นที่น้ำท่วมในรอบการเกิดซ้ำต่างๆ จากนั้นนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยเทคนิคการซ้อนทับกับปัจจัยความเสียหายที่แยกเป็นมูลค่าที่จับต้องได้และมูลค่าที่จับต้องไม่ได้ซึ่งได้แก่ การหยุดชะงักของการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การฟื้นฟูดินและน้ำ การรวมกลุ่มครือข่ายชุมชน ฯลฯ เพื่อให้ได้มูลค่าความเสียหายที่มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพื่อใช้เป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการเสนอแนะแนวทางการป้องกันความเสียหายและมาตรการบริหารจัดการน้ำท่วมทั้งมาตรการที่ไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างอย่างเหมาะสมต่อไป ผลของการศึกษาพบว่า คาบการเกิดน้ำท่วมรอบ 10 ปี 25 ปี 50 ปี และ 100 ปี ส่งผลให้พื้นที่เกษตรกรรมได้รับผลกระทบคิดเป็นพื้นที่ 91.09 ตร.กม. 108.97 ตร.กม. 119.72 ตร.กม. และ 127.50 ตร.กม.ตามลำดับ หากนำมูลค่าความเสียหายจากปัจจัยผลประโยชน์ที่จับต้องไม่ได้มาใช้พิจารณาร่วมจะส่งผลให้มีมูลค่าความเสียหายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.89 % เมื่อเทียบกับการใช้ปัจจัยผลประโยชน์ที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียว</p> สาโรจน์ โพธิ์เกษม สมฤทัย ทะสดวก Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE25 WRE25 การศึกษาการปรับปรุงร่องน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/553 <p class="Contentnew"><span lang="TH">แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญในภาคกลาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการคมนาคม การขนส่งสินค้า และเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ</span><span lang="TH">เพื่อการเกษตรกรรม ในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์ครั้งนี้จึงมีความจำเป็นต้องการศึกษาหาแนวทางในการขุดลอกเพื่อการระบายน้ำ และบรรเทาน้ำท่วม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำลองสภาพการไหลในแม่น้ำด้วยแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ </span>MIKE<span lang="TH"> 21 และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำกรณีก่อนและหลังจาการขุดลอกด้วยแบบจำลอง </span>MIKE<span lang="TH"> 21 แบบ </span>Flexible Mesh<span lang="TH"> ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่สถานีวัดน้ำท่า </span>C.2 <span lang="TH">ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ไปจนถึงเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และได้ทำการปรับเทียบแบบจำลองด้วยระดับน้ำด้านเหนือน้ำของประตูระบายน้ำ 4 แห่ง ในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ปตร.มโนรมย์ ปตร.บรมธาตุ ปตร.พลเทพ และปตร.มหาราช ผลการศึกษาพบว่าหลังจากขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาระดับน้ำมีค่าลดลง และพื้นที่ส่วนใหญ่มีความเร็วและอัตราการไหลเพิ่มขึ้น</span></p> กรชนก จำวัน จิระวัฒน์ กณะสุต Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE26 WRE26 การกำหนดระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล กรณีศึกษา: หาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/578 <p>ระยะถอยร่นเปรียบเสมือนแนวกันชนระหว่างทะเลกับผืนแผ่นดิน เพราะเป็นการรักษาความสมดุลของกระบวนการชายฝั่งไม่ให้ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์บนพื้นที่ชายฝั่ง และเป็นการลดผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากภัยธรรมชาติ และอื่นๆ ที่อาจมีต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดระยะถอยร่นชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ซึ่งกรณีศึกษาคือ หาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา โดยประเมินระยะถอยร่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในปี ค.ศ. 2100 จาก 3 กระบวนการ ได้แก่ การกัดเซาะที่เกิดจากพายุ อัตราการกัดเซาะในอดีต และการกัดเซาะอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ผลการศึกษาพบว่า อัตราการกัดเซาะที่เกิดจากพายุอยู่ที่ 50 เมตร อัตราการกัดเซาะในอดีตเท่ากับ 0.05 เมตรต่อปี และอัตราการกัดเซาะอันเนื่องมาจากการเพิ่มระดับน้ำขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีอัตราการกัดเซาะน้อยสุดเท่ากับ 21.49 เมตร(RCP 2.6) และมากสุดเท่ากับ 38.34 เมตร(RCP 8.5) จากผลดังกล่าวทำให้สามารถคำนวณหาระยะถอยร่นในกรณี RCP 2.6, 4.5, 6.0 และ 8.5 ได้เท่ากับ 75.99, 81.17, 82.04 และ 90.91 เมตร ตามลำดับ โดยผลการศึกษานี้จะใช้เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินระยะถอยร่นของชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล ของประเทศไทยในอนาคต</p> ขวัญชนก คุณกิตติ สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-08 2020-07-08 25 WRE27 WRE27 การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณแหลมงู ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/586 <p>ชายหาดแหลมงูซึ่งอยู่ริมทะเลด้านทิศตะวันออกของเกาะลันตาน้อย ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาได้อีกมากแต่ถูกกัดเซาะบริเวณฐานของถนนและดินฐานรากเป็นประจำทุกปี หากไม่มีการป้องกัน จะสร้างความเสียหายต่อถนนและตัดการสัญจรทำให้ชุมชนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก การออกแบบโครงสร้างป้องกันชายฝั่งจึงต้องใช้ความรอบคอบและผสมผสานระหว่างวิศวกรรมชายฝั่ง สิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย&nbsp; แนวทางการทำงานออกแบบโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในบทความนี้ เป็นแนวทางที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการอยู่และสามารถใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นตัวอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป</p> สุวัชร์ บัวแย้ม เชิดวงศ์ แสงศุภวานิช ลัดดาวัลย์ วิระมิตรชัย เยาวลักษณ์ จรัสเอี่ยม Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 WRE28 WRE28 ดัชนีคุณภาพน้ำสำหรับระบบจ่ายน้ำประปา https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/590 <p>ระบบจ่ายน้ำที่ดีมีหน้าที่จ่ายน้ำให้ผู้ใช้น้ำโดยให้ผู้ใช้น้ำได้รับน้ำที่แรงดันเพียงพอและคุณภาพเหมาะสม ในการควบคุมคุณภาพน้ำ สารที่นิยมใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำคือคลอรีน งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ค่าดัชนีคุณภาพน้ำจากค่าความเข้มข้นคลอรีนอิสระคงเหลือในระบบจ่ายน้ำ คือ ดัชนีคุณภาพน้ำของแคนาดาแบบปรับปรุง (MCWQI) และดัชนีคุณภาพน้ำเพื่อความปลอดภัย (SWQI) ในพื้นที่เฝ้าระวังของการประปานครหลวง</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ค่าดัชนีคุณภาพน้ำเพื่อความปลอดภัยมีค่าเท่ากับ 69.30 แสดงว่าคุณภาพน้ำของพื้นที่เฝ้าระวังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ส่วนค่าดัชนีคุณภาพน้ำของแคนาดาแบบปรับปรุงมีค่าเท่ากับ 93.98 แสดงว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม อย่างไรก็ตามค่า MCWQI ไม่ได้ระบุว่าเหตุการณ์คุณภาพน้ำส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์เกิดจากค่าปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือสูงหรือต่ำเกินไป และเมื่อวิเคราะห์ค่า MCWQI รายชั่วโมงพบว่ามีค่าผันแปรตามเวลาส่งผลให้ค่าเกณฑ์คุณภาพน้ำผันแปรตามเวลาตั้งแต่พอใช้ถึงดีเยี่ยม ดังนั้นการวิเคราะห์ค่า MCWQI รายชั่วโมงสามารถนำมาประกอบการบริหารจัดการคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น</p> บุศรินทร์ ไชยเสน นิสภัสร์ วงศ์พัฒน์ เหมภัทร ชาติวัฒนานนท์ อธี อัมพรายน์ ปาริฉัตร ปั้นทอง กมล วิศาลสวัสดิ์ จิรเมธ ช้างคล่อม อดิชัย พรพรหมินทร์ สุรชัย ลิปิวัฒนาการ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 WRE29 WRE29 การประเมินศักยภาพการลำเลียงน้ำในแม่น้ำลำพระเพลิงด้วยแบบจำลอง HEC RAS https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/601 <p>ในปัจจุบัน หลายพื้นที่ในประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งการศึกษาศักยภาพการลำเลียงน้ำของแม่น้ำสายหลักจึงมีความสำคัญ ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อลดความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วม และเพื่อทราบศักยภาพในการลำเลียงน้ำเพื่อการเกษตร โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการลำเลียงน้ำในแม่น้ำลำพระเพลิง ด้วยแบบจำลอง HEC RAS จากการศึกษาพบว่า แม่น้ำลำพระเพลิงมีศักยภาพในการลำเลียงน้ำได้ 56.43 – 667.80 ลบ.ม. ต่อวินาที หรือโดยเฉลี่ย 222.11 ลบ.ม. ต่อวินาที ในกรณีที่เกิดน้ำท่วม แม่น้ำลำพระเพลิงสามารถระบายน้ำท่วมได้ที่คาบการเกิดซ้ำ 100 ปี ทั้งนี้ แม่น้ำลำพระเพลิงมีศักยภาพในการระบายน้ำได้ดีตลอดแม่น้ำลำพระเพลิง แต่มีเพียง 7 หน้าตัดการไหลเท่านั้น จาก 32 หน้าตัดการไหล ที่สามารถระบายน้ำท่วมได้ต่ำกว่า ณ คาบการเกิดซ้ำ 100 ปี สำหรับศักยภาพการระบายน้ำท่วม ณ คาบการเกิดซ้ำ 2 5 10 25 และ 50 ปี เท่ากับ 55.88, 124.95, 156.61, 189.82, 211.89 ลบ.ม.ต่อวินาที ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาพรวมในการระบายน้ำของแม่น้ำลำพระเพลิงคือสามารถระบายน้ำได้ดีในช่วงกลางน้ำและช่วงปลายน้ำของแม่น้ำลำพระเพลิง โดยมีเพียง 5 หน้าตัดการไหลที่เป็นคอคอด ได้แก่ กิโลเมตรที่ 20+535 และจากกิโลเมตรที่ 79+861 ถึง 90+034 ซึ่งเป็นช่วงแม่น้ำที่ควรพิจารณาการขยายศักยภาพการระบายน้ำ</p> ปรียาพร โกษา ธนัช สุขวิมลเสรี Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 WRE30 WRE30 Investigation of Shoreline Change in Phan Thiet Bay, Binh Thuan, Vietnam https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/608 <p>Phan Thiet bay in VIetnam has eroded and accreted for many years. That causes serious consequences because main activities of community in Phan Thiet bay are tourism and fishery which depend on shoreline significantly. Not only the economy but also people’s life and environment are affected by erosion and accretion. Both natural factors and human factors may cause shoreline change such as waves, currents, structures along the coast or changing of sediment from river. This study aims to investigate the effect of jetties on shoreline in Phan Thiet bay, Binh Thuan, Vietnam by analyzing the Landsat satellite images by using Geographic Information System (GIS), and determining End Point Rate of shoreline change by Digital Shoreline Analysis System (DSAS). The result could be one source for an appropriate plan of coastal management in this area. The study found that after the Jetties were built in 1997 and 2004, the shoreline change rate was lower than that recent years from 2016 to 2020.</p> Thi Phuoc Hoai Pham Anurak Sriariyawat Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 WRE31 WRE31 Impacts of Future Climate Change on Inflow to Pasak Jolasid Dam in Pasak River Basin, Thailand https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/625 <p class="Contentnew">The impacts of future climate change on inflow to the Pasak Jolasid Dam in the Pasak River Basin was assessed by using the hydrologic modelling system (HEC-HMS) and the bias-corrected climate change projection derived by averaging the outputs of three regional climate models (RCMs) namely: ACCESS, CNRM and MPI. The hydrological response of the Pasak River Basin to future climate projection for the periods 2020s (2011-2040), 2050s (2041-2070), and 2080s (2071-2100) was quantified using the calibrated and validated climate change trends and the HEC-HMS hydrological model which was calibrated and verified using the daily observed data from 1970-2010 and 2007-2015 respectively. The simulation results showed that the future precipitation trend fluctuates and slightly decreases until the end of 21st century by –5.69% and -12.68% under RCP4.5 and RCP8.5 at Lom Sak Station. The projected mean annual maximum and minimum temperatures were found to increase by 4.99% and 6.49% respectively for RCP4.5; by 6.58% and 8.46% respectively for RCP8.5, during twenty-first century. The future inflow to Pasak Jolasid Dam calculated from RCP4.5 and RCP8.5 was found to decrease by -0.61% and -3.39% for 2020s, by -2.82% and -6.15% for 2050s, and by -7.56% and -9.21% for 2080s respectively. However, these long term prediction on the change of future precipitation and temperature is only an estimate. The results can be used as a guideline for long-term sustainable water resources project planning and water resources management as well as in proposing appropriate adaptation strategies for the Pasak River Basin.<u></u></p> ธนสิทธิ์ พรหมพิงค์ Tawatchai Tingsanchali Supatchaya Chuanpongpanich Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 WRE32 WRE32 การศึกษาประสิทธิภาพโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/663 <p class="Contentnew"><span lang="TH">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งทำการวิเคราะห์ตั้งแต่สถานีวัดน้ำ </span>Z.<span lang="TH">14 สถานีวัดน้ำ </span>Z.<span lang="TH">13 อ.มะขาม จ.จันทบุรี จนถึงปากแม่น้ำจันทบุรี อ.เมือง จ.จันทบุรี ซึ่งทำการปรับเทียบแบบจำลอง 2 ส่วนคือ แบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า และแบบจำลองชลศาสตร์ ซึ่งผลการปรับเทียบและตรวจพิสูจน์แบบจำลองน้ำฝน</span>-<span lang="TH">น้ำท่า ได้ค่าพารามิเตอร์ </span>U<sub>max</sub> = <span lang="TH">10.-19.1 มม.</span>, L<sub>max</sub> = <span lang="TH">101-104 มม.</span>, CQOF = <span lang="TH">0.38-0.87 ชม.</span>, CKIF = <span lang="TH">213.6-214.9</span>, CK<span lang="TH">1</span>,<span lang="TH">2 = 16.4</span>, TOF = <span lang="TH">0.42-0.51</span>, TIF = <span lang="TH">0.15-0.24</span>, TG = <span lang="TH">0.9 และ </span>CKBF = <span lang="TH">3901 มีค่าดัชนีการยอมรับ</span> (IA)<span lang="TH"> อยู่ในระหว่าง 0.89-0.92 และแบบจำลองชลศาสตร์มีค่า </span>Manning’s M <span lang="TH">เท่ากับ 20-22 และผลการปรับเทียบและตรวจพิสูจน์มีค่าดัชนีการยอมรับ</span> (IA)<span lang="TH"> อยู่ในช่วง 0.79-0.92 จากนั้นนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์วิเคราะห์ประสิทธิภาพโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี จากข้อมูลอุทกภัยปี พ.ศ.2542 และมีการผันน้ำที่อัตราการไหลเท่ากับ 300 ลบ.ม./วินาที และเมื่อศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากข้อมูลปี พ.ศ.2542 ร้อยละ 25</span>, <span lang="TH">50</span>, <span lang="TH">75 และ 100 จากผลการศึกษาพบว่าโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี สามารถบรรเทาอุทกภัยในปี พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบกับอุทกภัยที่รุนแรง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อข้อมูลปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากข้อมูลปี พ.ศ.2542 อีกร้อยละ </span>50<span lang="TH"> จะทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเมืองจันทบุรี</span></p> เกรียงไกร ตรีฤทธิวิทยา ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์ อลงกต ไชยอุปละ จักรพันธุ์ วงษ์พา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 WRE34 WRE34 สภาพความชื้นต่อกำลังของหินศิลาแลงสำหรับการก่อสร้างที่ไม่ใช้วัสดุเชื่อมประสาน https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/664 <p>งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของหินศิลาแลงเพื่อการก่อสร้างโครงสร้างทางวัฒนธรรมโบราณที่มีการกำหนดไม่ให้มีการใช้วัสดุเชื่อมประสานเพื่อคงความเป็นอัตลักษณ์และความสวยงาม โดยทำการศึกษาวัสดุศิลาแลงธรรมชาติจากพื้นที่อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ทำการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุศิลาแลงที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพความชื้น พบว่าวัสดุที่มีสภาพความชื้นที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่สภาพแห้งในอากาศจนถึงสภาพเปียกน้ำมีหน่วยน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น แต่ความแข็งแรงลดลงตามลำดับ โดยที่สภาพเปียกน้ำวัสดุจะหนักและอ่อนแอที่สุด คือ มีหน่วยน้ำหนักท่ากับ 2769 กก/ม<sup>3</sup> ค่ากำลังรับแรงอัดเท่ากับ 53 กก/ซม<sup>2</sup> ค่าโมดูลัสแตกร้าวเท่ากับ 2 กก/ซม<sup>2</sup> ค่ากำลังรับแรงเฉือนเท่ากับ 13 กก/ซม<sup>2</sup> &nbsp;และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตย์ที่ผิวเท่ากับ 0.56 การเลือกใช้คุณสมบัติของวัสดุศิลาแลงนี้ในสภาพวิกฤตคืออยู่ในสภาพเปียกน้ำในการออกแบบโครงสร้าง จะทำให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งานจริงและโครงสร้างมีความปลอดภัย</p> แสงสุรีย์ พังแดง ดารุณี แก้วพิกุล ธวัชชัย โทอินทร์ ศราวรณ์ ศาศวัตภิรมย์ Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 WRE35 WRE35 การประมาณค่าข้อมูลน้ำฝนรายวันที่ขาดหายไปด้วยวิธีควอนไทล์ https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/709 <p>การประมาณค่าข้อมูลน้ำฝนรายวันที่ขาดหายไปมีความสำคัญเพื่อเติมชุดข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้วิเคราะห์ผลในการศึกษาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ วิธีที่นิยมใช้ในการเติมค่าข้อมูลน้ำฝนรายวันที่ขาดหายไปได้แก่ วิธีค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์ วิธีระยะทางผกผัน (Inverse Distance Weighting method, IDW) วิธีการเหล่านี้มักมีข้อจำกัดหลัก ได้แก่ มักให้ค่าปริมาณฝนรายวันที่ต่ำกว่าความเป็นจริง จำนวนวันฝนตกที่มากเกินไป ดังนั้นในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาวิธีการเติมค่าสูญหายข้อมูลฝนด้วยวิธีการทางสถิติ คือ วิธีควอนไทล์ (Quantile method, QT) โดยการสร้างกราฟการแจกแจงความถี่แบบเบอร์นูลี่-แกมมา (Bernoulli-Gamma Distribution) จากข้อมูลฝนรายวันของสถานีเป้าหมายที่จะเติมค่าและสถานีอ้างอิงที่คัดเลือก โดยใช้สถานีตรวจวัดฝนในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน จำนวน 6 สถานี ทำการทดสอบการเติมค่าสูญหายที่เปอร์เซ็นต์สูญหาย 20% และ 40% ผลการศึกษา พบว่า วิธี QT ให้ค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าฝนรายวันมากที่สุด ฝนรายวันเฉลี่ย ความแปรปรวน และค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 99 ดีกว่าวิธี IDW แต่ให้ค่า RMSE และ MAE มากกว่าวิธี IDW เล็กน้อยเนื่องมาจาก QT มีค่าความแปรปรวนมากกว่า</p> ศรีสุนี วุฒิวงศ์โยธิน กุลสตรี ศรีจุมปา คมกฤษณ์ โสภา Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2020-07-07 2020-07-07 25 WRE36 WRE36