TY - JOUR AU - ภัทรพล สีดอกบวบ PY - 2020/07/08 Y2 - 2024/03/28 TI - การศึกษาสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าความขรุขระกับค่าความฝืดของผิวทาง และการศึกษาสมการการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทาง ในสภาวะการใช้งานจริง JF - การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 JA - ncce25 VL - 25 IS - 0 SE - วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์ DO - UR - https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/98 AB - การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าความขรุขระกับค่าความฝืดของผิวทาง และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทาง เพื่อสร้างสมการการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทางในสภาวะการใช้งานจริง โดยทำการศึกษาบนผิวทางชนิด AC 60-70 และ ผิวทางชนิด Para Slurry Seal ที่ อายุ 2-3 ปี โดยตัวที่ทำการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 กลุ่มคุณลักษณะสภาพผิวทาง ส่วนกลุ่มที่ 2 กลุ่มแรงที่กระทำต่อสภาพผิวทาง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ค่าความขรุขระของผิวทางมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ค่อนข้างสัมพันธ์กันมากกับค่าความฝืดของผิวทางทั้งผิวทางชนิด AC 60-70 และ ผิวทางชนิด Para Slurry Seal ซึ่งสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าความขรุขระ กับค่าความฝืดของผิวทางชนิด AC 60-70 คือ y = 1.0413x – 0.0098 และของผิวทางชนิด Para Slurry Seal คือ y = 0.9475x – 0.0775 และผลการวิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทาง พบว่า ตัวแปรอุณหภูมิผิวทาง, อายุผิวทาง(ปี), ปริมาณรถสะสม และรถบรรทุกสะสม เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทางชนิด AC60-70 และของผิวทางชนิด Para Slurry Seal อย่างมีนัยสำคัญ และด้วยวิธีทางสถิติการวิเคราะห์ Multiple Regression Analysis พบว่ารูปแบบของสมการที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาสมการการเสื่อมสภาพค่าความฝืดของผิวทาง ในสภาวะการใช้งานจริง ของผิวทางชนิด AC 60-70 คือ  ค่าความฝืดของผิวทางชนิด AC 60-70 = 0.89 – 0.028อายุผิวทาง(ปี) + 2.473x10-8ปริมาณรถสะสม – 1.1x10-7รถบรรทุกสะสม และของผิวทางชนิด Para Slurry Seal คือ ค่าความฝืดของผิวทางชนิด Para Slurry Seal = 1.036 – 0.085อายุผิวทาง(ปี) – 6.863x10-9 ปริมาณรถสะสม – 8.432x10-8 รถบรรทุกสะสม ER -