TY - JOUR AU - ชยณัฐ คีรีนารถ AU - อังคณา พุ่มพวง AU - อนิรุทธ์ ลดาวดี AU - สรวิศ สุภเวชย์ AU - อนุเผ่า อบแพทย์ PY - 2020/07/09 Y2 - 2024/03/29 TI - การวิเคราะห์อัตราการทรุดตัวของชั้นดินของกรุงเทพมหานครด้วยข้อมูล InSAR JF - การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 JA - ncce25 VL - 25 IS - 0 SE - วิศวกรรมปฐพี DO - UR - https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/670 AB - การสำรวจรังวัดระดับการทรุดตัวของแผ่นดินบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2521 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ทำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับดิน รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดการยุบตัว การอัดตัวและติดตามการรังวัดหาระดับความสูงจากหมุดหลักฐานในระยะเวลาต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดยกรมแผนที่ทหาร ในการสำรวจระดับชั้นที่ 1 โดยใช้วิธีการเดินระดับเครือข่ายหมุดหลักฐานในแต่ละปี ซึ่งสถานีวัดการยุบตัวหรือการอัดตัวของชั้นดินในระดับความลึกต่าง ๆ จะตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหมุดหลักฐาน โดยข้อมูลจากการสำรวจเหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนในการคำนวณปริมาณการเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง เพื่อแสดงค่าการทรุดตัวโดยรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ แต่ความหนาแน่นของตำแหน่งหมุดหลักฐานเมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังมีความหนาแน่นไม่มากพอที่จะนำมาใช้แสดงถึงการทรุดตัวเป็นพื้นที่ที่สอดคล้องกับลักษณะของชั้นดินที่อยู่ใต้ดิน งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีอนุกรมเวลาจากอินซาร์ (Time-Series InSAR) ซึ่งสามารถตรวจวัดอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินที่มีความหนาแน่นของจุดสำรวจเพียงพอต่อการแสดงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ได้และยังได้เสนอวิธีการคำนวณเพื่อประมาณอัตราการทรุดตัวของแต่ละชั้นดินในระดับที่ลึกลงไป โดยวิธีการจำแนกอัตราการเคลื่อนตัวของชั้นดินจากการสกัดข้อมูล Time-Series InSAR แล้วแบ่งข้อมูลตามชนิดของความลึกฐานรากของอาคาร ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้นแบ่งระดับความลึกของฐานรากออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ความลึก 20 40 และ 80 เมตร ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาที่ช่วงระดับความลึก 20 เมตร ถึง 40 เมตร ได้ผลอัตราการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งจากการศึกษาด้วยข้อมูลจากเทคนิคTime-Series InSAR เป็น 0.350 มิลลิเมตรต่อปี ER -