TY - JOUR AU - คณุตม์ สมบูรณ์ปัญญา AU - ภูษิต บุญยฤทธิ์ AU - วงศกร สิมมา AU - ชิษณุพงศ์ สุธัมมะ PY - 2020/07/09 Y2 - 2024/03/28 TI - การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตโดยใช้คอนกรีตผสมมวลรวมรีไซเคิลแบบย่อยซ้ำ JF - การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 JA - ncce25 VL - 25 IS - 0 SE - วิศวกรรมโครงสร้าง DO - UR - https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/614 AB - งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากเศษคอนกรีตที่เหลือใช้จากการทุบทำลายสิ่งก่อสร้างนั้นมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตผสมมวลรวมหยาบรีไซเคิล (RCA) และคอนกรีตผสมมวลรวมหยาบรีไซเคิลแบบย่อยซ้ำ (MRCA) อันได้แก่ การทดสอบการหาค่าความหนาแน่น, การทดสอบการหาค่าอัตราการดูดซึมน้ำ, การทดสอบการหาค่ากำลังรับแรงอัด และการทดสอบหาอัตราการกัดกร่อนของเหล็กเสริมด้วยวิธีวัดค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ (Half-cell potential) และนำผลการทดสอบที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบของคอนกรีตผสมมวลรวมหยาบจากธรรมชาติ (NCA) โดยตัวอย่างจะใช้ RCA และ MRCA โดยนำไปแทนที่ NCA ในอัตราส่วนร้อยละ 25, 50, 75 และ 100 โดยปริมาตรตามลำดับ ค่ากำลังรับแรงอัดที่ออกแบบไว้เท่ากับ 240 กก/ตร.ซม. จากผลการทดสอบที่อายุ 28 วัน พบว่าเมื่อแทนที่ด้วย RCA และ MRCA ในอัตราส่วนร้อยละ 25 จะมีค่าความหนาแน่นและค่ากำลังรับแรงอัดมากที่สุด เมื่อแทนที่ด้วย RCA และ MRCA ในอัตราส่วนร้อยละ 100 จะมีค่าอัตราการดูดซึมน้ำมากที่สุด ส่วนการทดสอบการกัดกร่อนของเหล็กเสริมด้วยวิธีวัดค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ เมื่อแทนที่ด้วย RCA ในอัตราส่วนร้อยละ 25 จะมีค่าอัตราการเกิดสนิมของเหล็กเสริมช้าที่สุด โดยค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์สูงที่สุดที่ทำให้คอนกรีตมีสนิมและเกิดรอยร้าวจะใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 17 วัน เมื่อแทนที่ด้วย RCA ในอัตราส่วนร้อยละ 100 จะมีค่าอัตราการเกิดสนิมของเหล็กเสริมเร็วที่สุด โดยค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์สูงที่สุดที่ทำให้คอนกรีตมีสนิมและเกิดรอยร้าวจะใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 5 วัน จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าค่าความหนาแน่นและค่ากำลังรับแรงอัดของมวลรวมรีไซเคิลจะมีค่าลดลงตามอัตราส่วนการแทนที่ของRCA และ MRCA ที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนการหาค่าอัตราการดูดซึมน้ำของมวลรวม รีไซเคิลจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนการแทนที่ของ RCA และ MRCA ที่เพิ่มมากขึ้น และการหาค่าอัตราการกัดกร่อนของเหล็กเสริมด้วยวิธีวัดค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ โดยค่าอัตราการเกิดสนิมของเหล็กเสริมจะมีค่าเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนการแทนที่ของ RCA ที่เพิ่มขึ้น ER -