TY - JOUR AU - ทินกร ทานา AU - สยาม ยิ้มศิริ PY - 2020/07/09 Y2 - 2024/03/29 TI - ความแม่นยำของกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มจากการคำนวณ JF - การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 JA - ncce25 VL - 25 IS - 0 SE - วิศวกรรมปฐพี DO - UR - https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/610 AB - งานวิจัยนี้ศึกษาความแม่นยำและความแปรปรวนของการออกแบบกำลังของเสาเข็มจากการคำนวณด้วยวิธี Meyerhof (1976) ด้วยการเทียบสอบกับกำลังของเสาเข็มจากการทดสอบด้วยวิธีสถิตศาสตร์และวิธีพลศาสตร์สำหรับเสาเข็มที่มีปลายฝังในชั้นทราย โดยส่วนของแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มจะเทียบสอบกับผลการทดสอบด้วยวิธีพลศาสตร์  และส่วนของแรงต้านที่ปลายเสาเข็มจะเทียบสอบกับผลการทดสอบด้วยวิธีสถิตศาสตร์และพลศาสตร์  ผลการศึกษาพบว่ากำลังของเสาเข็มจากการทดสอบด้วยวิธีพลศาสตร์มีค่าเป็น 63% และ 68% ของกำลังของเสาเข็มจากการทดสอบด้วยวิธีสถิตศาสตร์สำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ แรงต้านที่ปลายเสาเข็มจากการคำนวณมีค่า 21% และ 52% ของแรงต้านที่ปลายเสาเข็มจริงสำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ และแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มจากการคำนวณมีค่า 42% และ 54% ของแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มจริงสำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ ส่วนกำลังของเสาเข็มจากการคำนวณมีค่า 34% และ 59% ของกำลังจากการทดสอบด้วยวิธีสถิตศาสตร์สำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ ความแปรปรวนของผลการคำนวณแรงต้านที่ปลายเสาเข็มจะมากกว่าของแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็ม โดยแรงต้านที่ปลายเสาเข็มให้ค่า COV เท่ากับ 0.88 และ 0.74 สำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ  และแรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มให้ค่า COV เท่ากับ 0.46 และ 0.32 สำหรับเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกตามลำดับ ดังนั้นจึงเสนอค่าสัดส่วนปลอดภัยเท่ากับ 5, 1.5, และ 2.5 สำหรับแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม, แรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็ม, และกำลังประลัยของเสาเข็ม ตามลำดับ ER -