TY - JOUR AU - ขวัญชนก คุณกิตติ AU - สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง PY - 2020/07/08 Y2 - 2024/03/28 TI - การกำหนดระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล กรณีศึกษา: หาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา JF - การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 JA - ncce25 VL - 25 IS - 0 SE - วิศวกรรมแหล่งน้ำ DO - UR - https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/578 AB - ระยะถอยร่นเปรียบเสมือนแนวกันชนระหว่างทะเลกับผืนแผ่นดิน เพราะเป็นการรักษาความสมดุลของกระบวนการชายฝั่งไม่ให้ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์บนพื้นที่ชายฝั่ง และเป็นการลดผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากภัยธรรมชาติ และอื่นๆ ที่อาจมีต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดระยะถอยร่นชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ซึ่งกรณีศึกษาคือ หาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา โดยประเมินระยะถอยร่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในปี ค.ศ. 2100 จาก 3 กระบวนการ ได้แก่ การกัดเซาะที่เกิดจากพายุ อัตราการกัดเซาะในอดีต และการกัดเซาะอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ผลการศึกษาพบว่า อัตราการกัดเซาะที่เกิดจากพายุอยู่ที่ 50 เมตร อัตราการกัดเซาะในอดีตเท่ากับ 0.05 เมตรต่อปี และอัตราการกัดเซาะอันเนื่องมาจากการเพิ่มระดับน้ำขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีอัตราการกัดเซาะน้อยสุดเท่ากับ 21.49 เมตร(RCP 2.6) และมากสุดเท่ากับ 38.34 เมตร(RCP 8.5) จากผลดังกล่าวทำให้สามารถคำนวณหาระยะถอยร่นในกรณี RCP 2.6, 4.5, 6.0 และ 8.5 ได้เท่ากับ 75.99, 81.17, 82.04 และ 90.91 เมตร ตามลำดับ โดยผลการศึกษานี้จะใช้เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินระยะถอยร่นของชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล ของประเทศไทยในอนาคต ER -