TY - JOUR AU - ภูริเดช โคตะนิวงษ์ AU - ปริญญา จินดาประเสริฐ AU - พัชรพล โพธิ์ศรี PY - 2020/07/07 Y2 - 2024/03/29 TI - กำลังอัด กำลังเฉือน และความสามารถการทำงานได้ของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต ที่มีส่วนผสมของมวลรวมแอสฟัลท์คอนกรีตรีไซเคิล เพื่อใช้เป็นวัสดุซ่อมแซม JF - การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 JA - ncce25 VL - 25 IS - 0 SE - วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง DO - UR - https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/267 AB - งานวิจัยนี้ ทำการศึกษากำลังอัด กำลังเฉือน และความสามารถการทำงานได้ของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต ที่มีส่วนผสมของมวลรวมแอสฟัลท์คอนกรีตรีไซเคิล เพื่อใช้เป็นวัสดุซ่อมแซม โดยมีส่วนผสมคือ เถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ประเทศไทย โซเดียมซิลิเกต โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 10 โมลาร์ อัตราส่วนโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์มีค่า 1 ต่อ 1 ใช้ทรายแม่น้ำเป็นมวลรวมละเอียด ใช้หินธรรมชาติเป็นมวลรวมหยาบ มวลรวมแอสฟัลท์คอนกรีตรีไซเคิล ถูกนำมาคัดขนาด คือ ขนาดหยาบ (4.75– 19.0 มม.) และขนาดละเอียด (1.18 – 4.75 มม.) โดยผสมในอัตราส่วนขนาดหยาบและขนาดละเอียดเท่ากับ 1 ต่อ 3 และนำมวลรวมแอสฟัลท์คอนกรีตรีไซเคิลแทนที่มวลรวมหยาบธรรมชาติ ในปริมาณร้อยละ 20 และ 40 โดยน้ำหนักมวลรวมหยาบธรรมชาติ และทำการปรับปรุงคุณสมบัติของจีโอโพลีเมอร์คอนกรีตโดยแทนที่เถ้าลอยด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักเถ้าลอย บ่มที่อุณหภูมิห้องจนกระทั้งอายุครบ 28 วัน ทำการทดสอบกำลังรับแรงอัด กำลังเฉือน ความหนาแน่น และค่าการไหลแผ่ ผลการทดสอบพบว่า กำลังอัดมีค่าระหว่าง 313 และ 432 กก./ตร.ซม. กำลังเฉือนมีค่าระหว่าง 93 และ 139 กก./ตร.ซม. การไหลแผ่มีค่าระหว่าง 69 และ 75 ซม. และความหนาแน่นมีค่าระหว่าง 2,283 และ 2,356 กก./ลบ.ม. และผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า สามารถใช้จีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่มีส่วนผสมของมวลรวมแอสฟัลท์คอนกรีตรีไซเคิลในงานโครงสร้างคอนกรีตได้ นอกจากนี้ยังมีค่าการไหลแผ่ที่เหมาะสำหรับเป็นวัสดุซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต ER -