TY - JOUR AU - เบญจวรรณ องอาจ AU - เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร PY - 2020/07/08 Y2 - 2024/03/28 TI - การประเมินผลการเปิดช่องจราจรสวนทางบนทางพิเศษฉลองรัช JF - การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 JA - ncce25 VL - 25 IS - 0 SE - วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์ DO - UR - https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/211 AB - จากปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษฉลองรัชขาเข้าเมืองในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ให้บริการทางพิเศษ 1.9 ล้านเที่ยวต่อวัน จึงเกิดเป็นแถวคอยสะสมตั้งแต่ทางลงถนนพระราม 9 ยาวไปถึงถนนรามอินทรา แต่ในทางกลับกันมีปริมาณจราจรเบาบางในช่องขาออก กทพ. จึงได้ทำการเปิดช่องจราจรสวนทางช่วยระบายการจราจรฝั่งขาเข้า ตั้งแต่ กม.12+100 ถึง กม.7+700 ด้วยมาตรการ Reversible Lane เริ่มจากการศึกษาปริมาณการจราจร พบว่า รถฝั่งขาเข้ามีปริมาณ 7,849 คัน/ชม. ฝั่งขาออกมีปริมาณ 2,540 คัน/ชม. เป็นอัตราส่วน 76:24 ซึ่งเหมาะสมแก่การทำในทางทฤษฎี ตำแหน่งจุดเปิดทางออก ได้ขยับจาก กม.7+700 ไปเป็นตำแหน่ง กม. 6+400 เพื่อให้เลยพ้นทางลงถนนพระราม 9 ซึ่งเป็นจุดที่การจราจรติดขัด เป็นไปตามหลักการของการเปิดช่องจราจรสวนทางที่ให้พ้นช่วงติดขัดไป มีการปรับปรุงด้านกายภาพ ช่องเปิดเกาะกลางบริเวณ กม.12+100 และ กม. 6+400 ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ยาวมากขึ้นจากเดิม 20 เมตร เป็น 35 เมตร ซึ่งเป็นความกว้างมากสุดเท่าที่จะดำเนินการได้ โครงสร้างจุดเปิดมีการก่อสร้างใหม่ให้ลื่น เปิด-ปิด เบากว่าเดิมเพื่อลดภาระเจ้าหน้าที่ มีการติดตั้งป้ายเตือนแขวนสูงแบบถาวรที่ระยะ 500 และ 1,000 เมตร ด้านความปลอดภัยการจราจร ได้มีป้ายไฟประจำช่องทางเพื่อเตือนผู้ใช้ทางในช่องขาออก พร้อมกับขึ้นข้อความเตือนบนป้ายแสดงข้อความ (Variable Message Sign) และป้ายเตือนช่องทาง (Matrix Sign) พร้อมออกประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่อง “การเดินรถแบบสวนทางบนทางพิเศษ” การจัดการจราจรได้จัดให้มีการวางกรวยยางตลอดแนวเป็นระยะทางกว่า 6 กม. จัดรถคุ้มครองที่มีไฟวับวาบบริเวณจุดเข้าจุดออกเพื่อให้สังเกตเห็นชัดเจน ได้เปิดใช้งานจริง ระหว่างเวลา 6.30-9.00 น. สรุปประเมินผลก่อนและหลังดำเนินการ 6.30 - 9.00 น. พบว่าระบายจราจรเฉลี่ยได้เพิ่มขึ้น 10.8% ระยะเวลาการเดินทางลดลงจาก15.7 นาที เหลือ 13.3 นาทีในช่องทางหลักเหลือ 8.3 นาที ในช่องจราจรสวนทาง คิดเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ 11.4 ล้านบาทต่อกิโลเมตรต่อปี หรือ 36 ล้านบาทต่อปี ER -