TY - JOUR AU - พิจาริน เอ่งฉ้วน AU - กมลวัลย์ ลือประเสริฐ PY - 2020/07/08 Y2 - 2024/03/29 TI - กรณีศึกษาต้นทุนคุณภาพในงานสถาปัตยกรรมในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม JF - การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 JA - ncce25 VL - 25 IS - 0 SE - วิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง DO - UR - https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/112 AB - โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยแบบคอนโดมิเนียม มักเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูง มีรายละเอียดการตกแต่งภายในห้องพักรวมทั้งข้อกำหนดทางคุณภาพของผู้ซื้อห้องชุดที่ต้องการความปราณีต เรียบร้อยและสวยงาม ส่งผลต่อการตรวจรับและการส่งมอบห้องชุดของลูกค้า ทำให้ต้นทุนคุณภาพของบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น  การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาต้นทุนความล้มเหลวที่เกิดจากการแก้ไขงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนคุณภาพของงานสถาปัตยกรรมในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม โดยนำคำสั่งการแก้ไขงานสถาปัตยกรรมของโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม 46 ชั้น 554 ห้องชุด ที่มีราคาขายเริ่มต้นห้องละ 3.99 ล้านบาท มาวิเคราะห์แยกออกเป็น 5 หมวดหลัก ได้แก่ข้อบกพร่องใน หมวดพื้น หมวดผนัง หมวดฝ้า หมวดประตู-หน้าต่าง และหมวดสุขภัณฑ์ พบว่าประเภทและลักษณะของข้อบกพร่องสำคัญที่เกิดขึ้น ด้วยหลักการพาเรโต้ 80/20 หรือรายการคำสั่งแก้ไขที่มีจำนวนรวม 80% ของคำสั่งทั้งหมด พบว่ามีข้อบกพร่องสำคัญ 12 รายการจากทั้งหมด 33 รายการ โดยหมวดที่พบข้อบกพร่องสำคัญมากที่สุดคือหมวดผนังโดยเป็นข้อบกพร่องเกี่ยวกับผนังปูนฉาบเรียบ 22.34% และมุมผนัง 15.23% และเมื่อนำข้อบกพร่องผนังปูนฉาบเรียบไปแยกแยะลักษณะ พบว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความเรียบร้อยของงานปูน 34.08% ส่วนของปัญหามุมผนัง จะเกิดจากมุมผนังไม่ได้ดิ่ง 20.87%  โดยรวมพบว่ามีห้องชุดจำนวน 420 ห้อง (75.81%) ที่มีคำสั่งแก้ไขข้อบกพร่องในงานสถาปัตยกรรม การดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจะถูกดำเนินการรวมกันเป็นหมวดงานที่ต้องแก้ไขในครั้งเดียว โดยไม่แยกแก้ไขข้อบกพร่องเป็นรายห้องหรือรายคำสั่ง ทำให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไขข้อบกพร่องเนื่องจากรอแก้ไขพร้อมกันจำนวนมากในครั้งเดียว ทำให้ระยะเวลาการส่งมอบห้องชุดล่าช้า ส่งผลถึงต้นทุนคุณภาพโดยรวม ER -