@article{ศิริประเสริฐ_โรจนานุกูล_2020, title={การพัฒนาและต่อเติมโครงข่ายทางหลวงชนบท เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด เพื่อให้เกิดความยั่งยืน}, volume={25}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/83}, abstractNote={<p>ร่างแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉบับที่ 3 ได้กำหนดความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ให้ก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญให้เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด ดังนั้น กรมทางหลวงชนบทจึงมีความจำเป็นต้องนิยามคำจำกัดความ และจำแนกประเภทของถนนสายรองที่สำคัญ ตลอดจนพัฒนาต่อเติมโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญให้สอดคล้องกับสาระที่กำหนดไว้ในร่างแผนดังกล่าว โดยให้สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 4 (เพชรบุรี) เป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ซึ่งปรากฏผลว่า ถนนสายรองที่สำคัญที่กรมทางหลวงชนบทต้องรับผิดชอบ คือ ถนนสายรองที่แบ่งประเภทตามยุทธศาสตร์ของกรมทางหลวงชนบทและพื้นที่ โดยต้องใช้วิศวกรรมขั้นสูงในการดำเนินงานและมีมาตรฐานการออกแบบถนนแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน โดยจำแนกถนนสายรองที่สำคัญเป็น 7 ประเภท ตามยุทธศาสตร์ และเชื่อมต่อโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญ ได้ถนนทางหลวงชนบทที่เชื่อมระหว่างจังหวัด จำนวน 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,217.375 กิโลเมตร ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวอย่างในการจัดทำโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญที่เชื่อมระหว่างจังหวัดในภาพรวมของกรมทางหลวงชนบท ตลอดจนสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในการออกแบบถนนทางหลวงชนบท ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของถนนแต่ละประเภท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามนัยความรับผิดชอบ ในอนาคต</p&gt;}, journal={การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25}, author={ศิริประเสริฐอิชย์ and โรจนานุกูลไกวัลย์}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={TRL03} }