@article{เสมสวัสดิ์_สุจิวรกุล_2020, title={การศึกษาจุดเชื่อมต่อทางแนวดิ่งของผนังรับแรงคอนกรีตสำเร็จรูปที่ถูกใช้ในอาคารพักอาศัยภายใต้แรงถอน}, volume={25}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/683}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการถอน และประเมินสมรรถนะของจุดเชื่อมต่อทางแนวดิ่งของผนังรับแรงคอนกรีตสำเร็จรูป จุดเชื่อมต่อทางแนวดิ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบันและได้ทำการศึกษามี 2 รูปแบบซึ่งประกอบด้วย จุดเชื่อมต่อโดยใช้เหล็กข้ออ้อย (Dowel connection) และจุดเชื่อมต่อโดยการเชื่อมเหล็กเส้นกับแผ่นเหล็ก (Plate connection) ผนังคอนกรีตที่ใช้ทดสอบมีขนาดหน้าตัด 1200mm x600mm ความหนา 100 mm ติดตั้งเหล็กตะแกรง 6mm@100mm เป็นเหล็กเสริมตรงกลางความหนาผนัง และมีเหล็กเสริมพิเศษ 1-DB12 รัดรอบเพื่อป้องกันการแตกร้าว จุดเชื่อมต่อของผนังทั้ง 2 รูปแบบมีการเชื่อมต่อโดยใช้เหล็กเสริมขนาด DB12 สำหรับใช้ในการทดสอบการถอนของจุดเชื่อมต่อผนัง ผลที่ได้จากการทดสอบคือ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงถอนกับระยะการเคลื่อนตัวซึ่งวัดโดยอุปกรณ์ LVDT ที่ติดตั้งบนหัวของเหล็กเสริม ตัวแปรที่ทำการศึกษาคือ รูปแบบของจุดเชื่อมต่อ และระยะฝังต่าง ๆ ของเหล็กเสริมที่ใช้ในจุดเชื่อมต่อแต่ละแบบ จากผลการศึกษาพบว่าแรงถอนสูงสุดจะเพิ่มขึ้นเมื่อระยะฝังเพิ่มมากขึ้น โดยงานวิจัยนี้ช่วยให้ผู้ออกแบบเข้าพฤติกรรมการถอน รูปแบบการวิบัติจากการถอน และให้ทราบถึงระยะฝังที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบต่อไป&nbsp;</p&gt;}, journal={การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25}, author={เสมสวัสดิ์สุรัตน์ and สุจิวรกุลชูชัย}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={STR23} }