@article{ยิ้มย่อง_กุหลาบ_2020, title={การศึกษาความจุที่เป็นไปได้ของจุดกลับรถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย : กรณีศึกษาจุดกลับรถหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา}, volume={25}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/674}, abstractNote={<p>การปรับปรุงขยายถนนมีผลกระทบต่อความต้องการเปลี่ยนทิศทางการจราจรไปยังทิศทางที่ต้องการ ทำให้เกิดปริมาณความต้องการในการกลับรถมาก ซึ่งการกลับรถนั้นจะส่งผลกระทบต่อสภาพการจราจรทั้งในทิศทางเดียวกันและในฝั่งตรงข้าม งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความจุที่เป็นไปได้ (Potential Capacity) ของจุดกลับรถบนถนนพุทธมณฑล สาย 5 หรือ ทางหลวงหมายเลข 3414 กิโลเมตรที่ 9+500 บริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา เพื่อเป็นเกณฑ์บ่งชี้ให้ดำเนินการปรับปรุงให้เป็นจุดกลับในลำดับต่อไป โดยใช้หลักในการพิจารณา ความจุที่เป็นไปได้ จากการวิเคราะห์ถึง ช่องว่างวิกฤติ (Critical Gap) กระแสจราจรที่ขัดแย้งกัน (Conflicting Flow) อัตราการไหลของกระแสจราจรสายหลัก (Main flow) และเวลาของการเคลื่อนที่ตามกัน (Follow-up time) จากผลแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาเร่งด่วนมีปริมาณรถที่ต้องการกลับรถเกินความจุที่เป็นไปได้และยังเป็นจุดกลับรถที่อันตรายเนื่องจากมีการตัดกระแสของรถทางตรงเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป เห็นควรจะทำการศึกษาผลกระทบด้านจราจรในกรณีเพิ่มความจุในจุดกลับรถ เช่น การเพิ่มจำนวนช่องกลับรถ ในทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ</p&gt;}, journal={การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25}, author={ยิ้มย่องสิริศักดิ์ and กุหลาบณรงค์}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={TRL45} }