@article{วิน_นฤปิติ_บัณฑิตสกุลชัย_2020, title={ความพึงพอใจในระบบเดินทางแบ่งปันกันใช้ของนิสิตในเขตมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย}, volume={25}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/626}, abstractNote={<p>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่ถือกำเนิดขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทยตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยได้มีการสนับสนุนให้บริการรถโดยสารภายใน (CU Pop bus) แก่นิสิตและบุคลากรโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งได้ให้บริการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยและสามารถเชื่อมต่อกับสถานีขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย ในปัจจุบันพบว่ามีผู้เข้าใช้บริการ CU Pop bus เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและทำให้เกิดความแออัดเนื่องจากความสามารถในการให้บริการมีค่อนข้างจำกัด มหาวิทยาลัยยังให้บริการนวัตกรรมรูปแบบใหม่ คือ รถแบ่งปันกันใช้ (shared vehicle) ที่ขับเอง มีชื่อว่า <strong>Ha:mo</strong> <strong>&nbsp;</strong>รถที่เรียกบริการเดินทาง มีชื่อว่า<strong> Muvmi </strong>และ รถจักรยานแบ่งปันกันใช้ หรือ <strong>CU Bike </strong>ซึ่งเป็นทางเลือกในการเดินทาง เพิ่มความสะดวก การเข้าถึง และช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการเดินทางภายในและรอบ ๆ มหาวิทยาลัยนอกเหนือจาก CU Pop bus ที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก<strong>&nbsp; </strong>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการบริการแบ่งปันกันใช้ (Shared mobility) ในปัจจุบันและเพื่อวิเคราะห์ความต้องการใช้งานระบบแบ่งปันกันใช้ ที่มีความสัมพันธ์กับราคาค่าบริการ ข้อมูลมาจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามจำนวน ทั้งสิ้น 370 ตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา(Descriptive) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเส้นแบบการถดถอย(Multiple linear regression analyses) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในมหาวิทยาลัยคือรถโดยสารภายใน (CU Pop bus) การวิเคราะห์ความพึงพอใจในการให้บริการทำให้เห็นปัจจัยที่บ่งบอกได้ว่านิสิตมีความพึงพอใจกับการให้บริการในปัจจุบันและพบอีกว่าปัจจัยที่น่าสนใจของบริการรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ คือ Ha:mo และ Muvmi ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการและเวลาที่คอยเพื่อใช้บริการ ในแบบจำลองความต้องการเชิงเส้นแบบถดถอยของรูปแบบการเดินทางแบบ Ha:mo และ Muvmi พบว่าปริมาณการใช้งานทั้งหมดจะขึ้นกับนิสิตที่เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาติขับขี่ , เพศ , รวมถึงความพึงพอใจในเวลาเดินทาง ในงานวิจัยยังพบว่าการงดเว้นค่าบริการหรือลดอัตราค่าบริการนั้นจะสามารถเพิ่มแรงจูงใจให้กับนิสิตเพื่อใช้บริการรูปแบบการเดินทางเหล่านี้ได้ดี</p&gt;}, journal={การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25}, author={วินแซนด้า and นฤปิติสรวิศ and บัณฑิตสกุลชัยพงษ์ศักดิ์}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={TRL40} }