@article{เหลืองวิลัย_กาญจนชมภู_2020, title={เงื่อนไขและข้อพิจารณาในการติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับแรงกระแทกจากการชนบนทางยกระดับ}, volume={25}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/461}, abstractNote={<p>ทางยกระดับดอนเมือง ได้ติดตั้ง Crash Cushion บริเวณหัวเกาะทางลงทางยกระดับ จำนวน 9 จุด เป็นอุปกรณ์ตามมาตรฐาน NCHRP 350 ระดับ TL 2 รองรับการชนที่ความเร็ว 80 กม/ชม มีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ประสบเหตุต้องชดใช้ค่าเสียหายและทางยกระดับฯ ต้องจัดหาอุปกรณ์ชุดใหม่ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงเช่นกัน จึงมีความประสงค์จะทบทวน เหตุผลความจำเป็น รวมถึงพิจารณาอุปกรณ์ประเภทอื่น ที่ลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุได้ AASHTO Roadside Design Guide ได้ให้ข้อพิจารณาการเลือกชนิดของ Crash Cushion ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเร็วรถ ปริมาณการจราจร ความถี่ของอุบัติเหตุ และการบำรุงรักษา แต่มิได้มีข้อกำหนดเชิงปริมาณหรือเงื่อนไขที่จำเป็นที่ต้องติดตั้ง ยังคงเป็นวิจารณญาณของวิศวกรบนพื้นฐานลักษณะกายภาพทาง โครงสร้างถาวรที่อาจถูกชนและสถิติอุบัติเหตุเป็นสำคัญ ในกรณีของทางยกระดับในประเทศไทย อุบัติเหตุที่รุนแรงคือ รถตกทาง ข้อพิจารณาหลักจึงได้แก่ 1) มีโอกาสชนปะทะโครงสร้างถาวรจนทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อผู้ใช้รถหรือไม่ และ 2) มีโอกาสรถตกทางหรือไม่ เหตุรถตกทางส่วนใหญ่ เกิดบนหัวเกาะกว้างรูปตัววาย (Y) บนทางยกระดับดอนเมือง มีเฉพาะหัวเกาะแคบรูปตัวไอ (I) และตัววี (V) ในส่วนของตัววี ถึงแม้จะกว้างเพียง 0.9-2.0 เมตร แต่ก็กว้างพอที่รถจะพลิก ตกทางลงไปได้ หัวเกาะทางลงทั้งหมด 13 จุด จุดที่ควรให้ความสำคัญเพื่อติดตั้ง Crash Cushion คือที่บริเวณหัวเกาะรูปตัววีซึ่งมีเพียง 3 จุด ด้วยเหตุผลของการป้องกันรถตกทาง อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจในการให้บริการทางยกระดับอย่างปลอดภัย ทางยกระดับดอนเมือง ยังคงไว้ซึ่ง Crash Cushion ทั้ง 9 จุด และจะเสริมด้วยมาตรการความปลอดภัยด้านอื่นๆ ต่อไป</p&gt;}, journal={การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25}, author={เหลืองวิลัยเอกรินทร์ and กาญจนชมภูวิทวงศ์}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={TRL28} }