@article{มุขตารี_โลลุพิมาน_เจริญสุข_จันทร์ทิพย์_ศรีสมพร_2020, title={การศึกษาดัชนี CSI ที่ทำให้เกิดฝนพาความร้อน (Convective rain) สำหรับการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน}, volume={25}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/445}, abstractNote={<p>น้ำท่วมฉับพลัน คือภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขณะฝนตกหรือหลังฝนตก สาเหตุจากมีปริมาณความเข้มฝนมากตกเกินขีดความสามารถของการรองรับน้ำหรือระบายน้ำของพื้นที่. พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันมักเป็นพื้นที่ลาดชันสูง อยู่บริเวณต้นน้ำหรือเชิงเขา รวมถึงพื้นที่เมืองใหญ่ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างรวดเร็ว&nbsp; โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ระบบระบายน้ำเดิมไม่เพียงพอกับสภาพพื้นที่ปัจจุบันส่งผลให้ความสามารถการระบายน้ำลดลง การคาดการณ์เหตุการณ์ที่ฝนจะตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝนพาความร้อน (Convective rain) จึงเป็นเรื่องที่ท้าท้ายและเป็นประโยชน์ ดังนั้นการศึกษานี้ได้นำค่า CAPE และ CIN ที่เป็นพารามิเตอร์หลักต่อการเกิดฝน convective ของฝนคาดการณ์รายชั่วโมงจากแบบจำลองคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้นแบบคู่ควบ WRF-ROMS มาวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์เพื่อทำเป็นดัชนีความเสี่ยงการเกิดพายุฝนพาความร้อนในพื้นที่ หรือ Convective Storm Index (CSI) และได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝนและเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันในอดีต จากผลการศึกษาพบว่า CSI index ที่มีค่าเกณฑ์สูงสามารถเตือนฝน convective ล่วงหน้าได้ และเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับเกณฑ์ปริมาณฝนวิกฤต ทำให้สามารถเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน และสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เสี่ยงได้</p&gt;}, journal={การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25}, author={มุขตารีอภิมุข and โลลุพิมานทิชา and เจริญสุขธีรพล and จันทร์ทิพย์สถิตย์ and ศรีสมพรปิยมาลย์}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={WRE24} }