@article{ชาลีรักษ์ตระกูล_จันดี_2020, title={แบบจำลองอุทกพลศาสตร์ MIKE11 สำหรับประเมินอุทกภัยในทุ่งโพธิ์พระยา}, volume={25}, url={https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/303}, abstractNote={<p>การผันน้ำเข้าทุ่งเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญสำหรับบรรเทาความเสี่ยงอุทกภัยจากน้ำเหนือไหลหลากในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้พัฒนาแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ MIKE11 สำหรับประเมินความลึกของระดับน้ำและพื้นที่น้ำท่วมในทุ่ง &nbsp;จากผลกระทบของการปล่อยน้ำเข้าทุ่ง แบบจำลอง MIKE11 เป็นแบบจำลองที่ได้รับการยอมรับในการอธิบายการไหลในแม่น้ำ แต่ได้ถูกปรับปรุงให้สามารถประเมิน -- เป็นกริด(grid) -- สถานการณ์น้ำท่วมคาดการณ์ในทุ่งได้ โดยสมมติอาคารชลศาสตร์จินตภาพในการกระจายน้ำตามพื้นที่ และอาศัยข้อมูลจากแบบจำลองระดับความสูงเชิงตัวเลข (DEM)&nbsp; แบบจำลองMIKE11ที่ปรับปรุงนี้ได้ถูกพัฒนา สำหรับอธิบายอุทกภัยในทุ่งโพธิ์พระยา โดยใช้ข้อมูลของเหตุการณ์น้ำท่วมในปี พ.ศ.2559 และ พ.ศ.2560 ในการปรับเทียบและสอบทาน ตามลำดับผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ (1) น้ำไหลในลำน้ำ และ (2) ล้นตลิ่ง ในกรณี (1)แบบจำลอง ซึ่งใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระในช่วง 0.025– 0.035 ให้ระดับน้ำหน้า ปตร.โพธิ์พระยาใกล้เคียงกับผลตรวจวัด (ค่าสัมประสิทธิ์ R<sup>2</sup>=0.72 – 0.83 และ ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยRMSE =0.15 – 0.23 ม.) ในกรณี (2) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระของพื้นที่ทุ่งน้ำท่วมเท่ากับ 0.045 – 0.050 แบบจำลองสามารถประมาณการระดับน้ำท่วมในพื้นที่ทุ่ง (0.90 – 1.20 ม.) ซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจวัดพอสมควร จากผลการพัฒนาแบบจำลองพอสรุปได้ว่า แนวคิดที่นำเสนอในการปรับปรุงแบบจำลองMIKE11 สามารถนำไปใช้ในการอธิบายอุทกภัยในทุ่งอื่นได้</p&gt;}, journal={การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25}, author={ชาลีรักษ์ตระกูลชวลิต and จันดีเอกลักษณ์}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={WRE14} }